ฉบับที่ 243 ผลทดสอบผลิตภัณฑ์กันยูวี

        แสงแดดบ้านเราร้อนแรงขึ้นทุกปี ผลิตภัณฑ์กันแดดจึงกลายเป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่ทุกบ้านต้องมีไว้ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้ขอนำผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดดที่สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ทำไว้ในช่วงต้นปี 2564 มาฝากสมาชิกกันอีกครั้ง คราวนี้เป็นครีม/สเปรย์กันยูวี ที่มีค่า SPF ระหว่าง 15 - 50 ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอนำเสนอเพียง 20 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น*         คราวนี้นอกจากจะให้ความสำคัญกับความสามารถในการป้องกันรังสี UVA/UVB (ร้อยละ 65)  ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น การซึมลงผิว และ ความรู้สึกไม่เหนียวเหนอะหนะ (ร้อยละ 20) แล้ว ทีมทดสอบยังให้ความสำคัญกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 10) และฉลากที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคด้วย (ร้อยละ 5)         แม้จะไม่ได้ให้สัดส่วนคะแนนสำหรับการงดใช้สารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์ (Endocrine Disrupting Chemicals หรือ EDCs) เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ให้การตอบรับและยกเลิกการใช้ไปแล้ว แต่ทีมทดสอบก็พบว่ามีอย่างน้อยสองผลิตภัณฑ์ที่ยังใช้สารเคมีกลุ่มดังกล่าวอยู่ (Hawaiian Tropic Satin Protection SPF 30 และ Lancaster Sun Beauty Sublime Tan)*หมายเหตุ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้าทดสอบ เป็นผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อโดยองค์กรผู้บริโภคในสเปน อิตาลี โปรตุเกส  ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ และราคาที่แสดงเป็นราคาที่แปลงจากหน่วยเงินยูโรในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 โปรดตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจข้อมูลจาก National Ocean Service ภายใต้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกาhttps://oceanservice.noaa.gov/news/sunscreen-corals.html

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 241 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะที่ (ยาแต้มสิว)

                        ‘สิว’ เป็นปัญหาผิวที่กวนใจใครหลายคน ยิ่งในช่วงนี้ที่มีทั้งมลพิษจากฝุ่น PM 2.5 และโรคโควิด-19 ระบาด ผู้คนจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยกันแทบจะตลอดเวลา ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ผิวหน้าเกิดสิวขึ้นได้จึงไม่แปลกใจเลยที่จะเห็น ‘ยาแต้มสิว’หลายยี่ห้อหลากสรรพคุณละลานตาอยู่บนชั้นขายเวชสำอางทั้งหลาย ชูจุดขายตามกลยุทธ์การตลาดแตกต่างกันไป ผู้บริโภคจึงควรใส่ใจในการเลือกใช้ยาแต้มสิวมารักษาให้ได้ผล โดยไม่ให้เกิดปัญหาบานปลายเข้าข่ายหนีเสือปะจระเข้         เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะที่(ยาแต้มสิว)  จำนวน 10 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนกันยายน 2563 - มกราคม 2564 เพื่อสำรวจฉลากยาแต้มสิวเหล่านี้ว่ามีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่         พาราเบน (Paraben) และ เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylisothiazolinon : MIT) เป็นสารกันเสียที่อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองและส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ปัจจุบัน อย.ระบุให้ใช้ได้ตามปริมาณและเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น        แอลกอฮอล์และน้ำหอม อาจมีผลทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้           ผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะที่(ยาแต้มสิว)        พบว่า ยี่ห้อ มิซึมิ เปปไทด์ แอคเน่ เจล และสมูทอี แอคเน่ ไฮโดรเจน พลัส ไม่มีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวังในการแสดงฉลาก มี 5 ตัวอย่างระบุว่ามี พาราเบน , มี 1 ตัวอย่างระบุว่ามี เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน , มี 6 ตัวอย่างระบุว่ามี แอลกอฮอล์ , มี 4 ตัวอย่างระบุว่ามี น้ำหอม         ข้อสังเกต        - โอลด์ร๊อค แอนตี้ แอคเน่ สปอต เจล พลัส แม้บนฉลากบอกว่าไม่มีแอลกอฮอล์ แต่ในส่วนประกอบมี Benzyl alcohol        - จากทั้งหมด 10 ตัวอย่าง มี จุฬาเฮิร์บ แมริโกลด์ แอคเน่ เจล ตัวอย่างเดียวที่ทาแล้วต้องล้างออก เพราะมีส่วนผสมของ MIT ซึ่งเป็นสารกันเสียที่กำหนดให้ใช้ได้ในเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องล้างออกเท่านั้น        - มี 9 ตัวอย่างอยู่ในรูปของเจล ทั้งนี้เพราะเจลมีเนื้อสัมผัสบางเบา ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดี และไม่มีน้ำมัน         - มี 4 ตัวอย่าง ที่ระบุถึงระยะเห็นผลสิวยุบไว้ คือ มิซึมิ เปปไทด์ แอคเน่ เจล (3 วัน) สมูทอี แอคเน่ ไฮโดรเจน พลัส (3 วัน) โปรวาเมด แอคเน่ สปอต เจล (12 ชั่วโมง) และ เมนโทลาทั่ม แอคเน่ส์ ซีลลิ่ง เจล (3วัน)         - ยี่ห้อ ดร.สมชายแอคเน่ สปอตทัช เจล ระบุว่าเป็นสูตรเร่งด่วน และเดอร์มาแองเจิ้ล แอคเน่ แคร์ อินเท็นซีฟ เจล ระบุว่าทำให้สิวยุบไว แต่ทั้งคู่ไม่ได้บอกระยะเวลาเห็นผลไว้           ข้อแนะนำจากฉลาดซื้อ        การเลือกยาแต้มสิวมาใช้ผลัดสิวหลุด หยุดสิวโผล่ให้เห็นผลผู้บริโภคต้องรู้ก่อนว่าตัวเองเป็นสิวแบบไหน โดยปัญหาสิวส่วนใหญ่เกิดจากความมันส่วนเกินบนใบหน้าไปอุดตันรูขุมขน จนเกิดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบตามมา ลักษณะของสิวมี 2 แบบหลักๆ คือ        1. สิวอุดตัน กดแล้วไม่เจ็บ ได้แก่ สิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวเสี้ยน รักษาโดยกำจัดความมันและผลัดเซลล์ผิว        2. สิวอักเสบ มักจะบวมแดง กดแล้วเจ็บ เกิดจากการติดเชื้อ P.acnes หรือเชื้อโรคอื่นๆ รักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาภายนอก          ผู้บริโภคควรเลือกใช้ยาแต้มสิวให้เหมาะกับลักษณะและความรุนแรงของสิว เพื่อให้ได้ผลและลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ด้วย เพราะสารสำคัญในยาแต้มสิวมีหลายชนิดและออกฤทธิ์แตกต่างกัน         1.  สารออกฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว เช่น กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid หรือ BHA) กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid หรือ AHA) และกรดเรทิโนอิก        2. สารออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย P.acnes เช่น ยาปฏิชีวนะคลินดามัยซิน (clindamycin) มักใช้คู่กับเบนโซอิน เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา, Oligopeptide-10 , Tea Tree Oil  กำมะถัน(sulfur) สารสกัดเปลือกมังคุด และสารสกัดดอกดาวเรือง        3. สารออกฤทธิ์ลดการระคายเคือง จะช่วยทำให้อาการปวดระบม บวม แดง ของสิวอักเสบดีขึ้น เช่น อัลลานโทอิน (Allantoin) สารสกัดจากดอกคาโมมายล์ (Chamomile และBisabolol) และว่านหางจระเข้         การใช้ยาแต้มสิว เป็นวิธีรักษาที่เหมาะกับสิวไม่อักเสบไปจนถึงอักเสบเล็กน้อย ผู้บริโภคควรอ่านวิธีใช้และคำเตือนบนฉลากของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้เข้าใจก่อนใช้เสมอ แต่หากเป็นสิวอักเสบรุนแรงควรไปรักษากับหมอผิวหนังโดยตรงดีกว่า เช่นเดียวกันถ้าใช้ยาแต้มสิวต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์แล้วยังไม่เห็นผลว่าสิวยุบลง หรือสิวกลับเห่ออักเสบมากกว่าเดิม ควรหยุดใช้ แล้วไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษาทันการณ์          ระวัง! สำหรับคนท้องหรือแม่ที่ให้นมลูกอยู่ หากมีปัญหาสิว ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผิวหนังก่อน อย่าซื้อยาแต้มสิวมาใช้เองเด็ดขาด เพราะอาจมีสารออกฤทธิ์ที่เป็นอันตรายได้           อย่างไรก็ตาม หากไม่อยากกลับมาเป็นสิวซ้ำอีก ผู้บริโภคควรลดพฤติกรรมทำร้ายผิวต่างๆ และหันมาดูแลสุขภาพโดยรวม เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวและเสริมสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคให้ร่ายกาย เช่น ไม่นอนดึก พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ ลดอาหารมันๆ กินผักและผลไม้เป็นประจำ รวมทั้งการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 240 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่เหลวและแชมพูสำหรับเด็ก

        สบู่เหลวและแชมพูสำหรับเด็ก เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีโอกาสสัมผัสผิวหนัง เส้นผม และดวงตาของเด็กอยู่เป็นประจำ คุณพ่อคุณแม่ควรพิถีพิถันในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากสารเคมีและส่วนผสมต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองต่อเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารกและเด็กเล็ก         เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สบู่เหลวและแชมพูสำหรับเด็ก จำนวน 16 ตัวอย่าง จากห้างค้าปลีกและร้านค้าทั่วไปในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ในช่วงเดือนกันยายน 2563 - มกราคม 2564 เพื่อสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่เหลวและแชมพูสำหรับเด็กว่า มีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่         โซเดียมลอริธซัลเฟต (Sodium Laureth sulfate : SLES ) : สารลดแรงตึงของน้ำ ทำให้เกิดฟอง ถ้าล้างออกช้าหรือล้างออกไม่หมด อาจทำให้ผิวแห้ง ผมร่วง และแสบตาได้         เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylisothiazolinone : MIT) : สารกันเสียที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วต้องล้างออกเท่านั้น อาจทำให้ผิวระคายเคือง หากเกิดอาการแพ้จะทำให้ผิวอักเสบและมีผื่นแดงขึ้น         พาราเบน (Paraben) : สารกันเสียที่มีรายงานว่าอาจเสี่ยงต่อสุขภาพส่งผลให้เป็นมะเร็ง         ไตรโคลซาน (Triclosan): สารกันเสียที่อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา หากใช้ระยะเวลานานจะมีความเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาด้วย         (หมายเหตุ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยืนยันว่าสาร ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั้ง 4 ชนิดนี้มีความปลอดภัย เมื่อใช้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด)         แอลกอฮอล์ : อาจระคายเคืองผิว ทำให้ผิวของเด็กแห้งเกินไปจนเกิดเป็นผื่นได้         น้ำหอม : น้ำหอมสังเคราะห์อาจทำให้เกิดผื่นแพ้ตามผิวหนังและหนังศีรษะ แม้แต่น้ำมันหอมระเหยจากพืชธรรมชาติก็ยังมีโอกาสทำให้เกิดอาการระคายเคืองในเด็กที่ผิวแพ้ง่ายได้ ผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่เหลวและแชมพูสำหรับเด็ก         พบว่า ยี่ห้อ ละมุน ออร์แกนิค และ อะราอุ เบบี้ ไม่มีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวังในการแสดงฉลาก มี  9 ตัวอย่าง ระบุว่ามีโซเดียมลอริธซัลเฟต 5 ตัวอย่าง ระบุว่ามีเมทิลไอโซไทอะโซลิโนน  2 ตัวอย่างระบุว่า มีแอลกอฮอล์  14 ตัวอย่างระบุว่า มีน้ำหอม และ ไม่มีการระบุใช้พาราเบนและไตรโคลซาน ในทุกตัวอย่าง         ข้อสังเกต        -เบบี้มายด์ อัลตร้ามายด์ ไบโอแกนิก แม้บนฉลากระบุว่า Alcohol free แต่ในส่วนประกอบมี Benzyl alcohol         -น้ำหอมพบมากที่สุด(14 ตัวอย่าง) มีเพียง MooNoi ออร์แกนิคที่ระบุว่าเป็น baby perfume         - ในฉลากของ เพียวรี เบบี้ ระบุว่า ‘0% SLS’ ก็คือไม่มีโซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate : SLS) ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ SLES แต่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้มากกว่า ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กส่วนใหญ่จะใช้ SLES ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่า ดังนั้นแม้จะระบุว่า‘0% SLS’ หรือ ‘No SLS’ ก็ต้องดูว่ามี SLES ไหม ถ้ามีก็แสดงว่ายังมีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ระคายเคืองจากสารที่ทำให้เกิดฟองตัวนี้ได้         - จอห์นสัน ท็อปทูโท เบบี้ บาธ และ อาวีโน่ เบบี้ มีข้อความในฉลากว่า Hypoallergenic แสดงว่าผู้ผลิตได้เลี่ยงการใช้หรือลดอัตราส่วนของสารประกอบที่จะทำให้แพ้ระคายเคืองต่างๆ ที่เชื่อว่าผู้ใช้จะมีโอกาสแพ้ระคายเคืองน้อยลงได้ โดยไม่ได้ระบุว่าผ่านการทดสอบจากแพทย์ผิวหนังแล้วหรือไม่         -จากทั้งหมด 16 ตัวอย่าง มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ทั้งสระผมและอาบน้ำในขวดเดียว 12 ตัวอย่าง และใช้เฉพาะอาบน้ำ 4 ตัวอย่าง หากไม่สังเกตแล้วเผลอหยิบผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะอาบน้ำมาสระผม อาจมีสารประกอบที่ไม่เหมาะกับหนังศีรษะและเส้นผมจนทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้           ข้อแนะนำจากฉลาดซื้อ         นอกจากสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวัง คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจการแสดงข้อมูลอื่นบนฉลาก ได้แก่         สัญลักษณ์/ข้อความว่าผ่านการทดสอบการแพ้ : ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กควรผ่านการทดสอบ Hypoallergenic หรือการทดสอบอาการแพ้ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ผิวหนัง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยให้ผู้บริโภค         pH Balance : ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ควรใกล้เคียงกับผิวเด็ก คือ 5.5 เพื่อช่วยรักษาสมดุลผิวของเด็ก ปกป้องไม่ให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ง่าย            สูตรอ่อนโยนต่อดวงตา : เด็กใช้แล้วไม่แสบตา ไม่เคืองตา ให้สังเกตคำว่า no more tear หรือ tear free         สารสกัดจากธรรมชาติปลอดสารพิษ (organic) : ทำให้มั่นใจในเบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์นั้นอ่อนโยนและปลอดภัยต่อผิวเด็ก ช่วยลดความเสี่ยงของการแพ้และระคายเคืองที่เกิดจากสารเคมีได้          คำเตือนผู้บริโภค : แสดงถึงความใส่ใจของผู้ผลิตที่เตือนให้ผู้บริโภคระมัดระวังและแนะนำวิธีการใช้ที่ปลอดภัยด้วย          วันที่ผลิตและวันหมดอายุ : ต้องระบุให้ชัดเจน ควรมีอายุไม่เกิน 3 ปีนับจากวันที่ผลิต 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 233 เปรียบเทียบฉลากแป้งเด็ก

        อย. ยืนยันแป้งฝุ่นโรยตัวเด็กที่ขายในไทยปราศจากการปนเปื้อนแร่ใยหิน  ย้ำ ! มีการเฝ้าระวังสถานที่ผลิตและนำเข้าอย่างเข้มงวด และเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจ (https://www.komchadluek.net/news/regional/431652)           การที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องออกโรงยืนยันอีกครั้งเรื่องแป้งฝุ่นไม่มีอันตรายนั้น เป็นเพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องสำอาง จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประกาศยุติการขายแป้งเด็กในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากมีข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของบริษัทฯ ปนเปื้อนแร่ใยหินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีจำนวนมากจากผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เสียหาย (คดีแรกนั้นย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2559 ศาลชั้นต้นแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ตัดสินให้จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน จ่ายเงินจำนวน 72 ล้านดอลลาร์ให้กับสุภาพสตรีรายหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย ซึ่งฟ้องร้องว่าสาเหตุของโรคนั้นมาจากแป้งฝุ่น)         กรณีประเทศไทย อย.ยืนยันว่าได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์แป้งฝุ่นโรยตัวเด็กจำนวน 18 ตัวอย่าง (แป้งจอห์นสัน 4 ตัวอย่าง) พบว่าทุกรายการไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหิน (จากสารทัลค์ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในแป้งฝุ่น) จึงขอให้ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรการเฝ้าระวังของ อย.         อย่างไรก็ตามหากจำกันได้ ย้อนไปเมื่อปี 2559 นิตยสารฉลาดซื้อได้สำรวจและเปรียบเทียบฉลากแป้งฝุ่นโรยตัวเช่นกัน โดยเน้นเรื่องส่วนประกอบสำคัญและคำเตือน ซึ่งตีพิมพ์เป็นข้อสรุปไว้เมื่อฉบับที่ 182 ดังนี้        1.ไม่พบคำเตือนที่บอกถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการทาแป้งฝุ่นกับการเกิดมะเร็ง         2. พบผลิตภัณฑ์ 4 ตัวอย่าง ไม่ระบุคำเตือนใดๆ         3. คำเตือนที่พบคือ ระวังอย่าให้แป้งเข้าจมูกและปากเด็ก ระวังอย่าให้แป้งเข้าตา ห้ามใช้โรยสะดือเด็กแรกเกิด ถ้ามีการผสมสารเพื่อป้องกันแสงแดด จะระบุเพิ่ม หากใช้แล้วมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นต้องหยุดใช้และปรึกษาแพทย์        4. พบ 34 ตัวอย่าง มีทัลค์ (Talc) เป็นส่วนประกอบสำคัญ และ 1 ตัวอย่างไม่มีทัลค์          ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสินค้าและบริการตามสถานการณ์ของนิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เราจึงเก็บตัวอย่างแป้งเด็ก ทั้งชนิดแป้งฝุ่นและชนิดเนื้อโลชั่น รวม 40 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อเปรียบเทียบฉลากโดยดูส่วนประกอบและคำเตือน พร้อมเปรียบเทียบปริมาณน้ำหนักต่อราคา ไว้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจซื้ออีกครั้ง สรุปการเปรียบเทียบฉลากระหว่างปี 2559 และ 2563 แป้งเด็ก แป้งฝุ่น ผลิตจากอะไร        แป้งเด็กและแป้งฝุ่นส่วนใหญ่มีส่วนประกอบหลักเป็นผงทัลค์ (Talc) หรือ แมกนีเซียม ซิลิเกท (Magnesium Silicate) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับความชื้น ลดการเสียดสีของผิวหนัง และป้องกันผดผื่น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางรายอาจแต่งกลิ่น สี หรือผสมสารอื่นเพิ่มเติม เช่น สารป้องกันความชื้น สารที่ทำให้ผิวเย็น สารสกัดธรรมชาติเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม เป็นต้น         ผงทัลคัมทำมาจากแร่หินทัลค์ซึ่งประกอบด้วยธาตุแมกนีเซียม ออกซิเจน ซิลิกอน และบางส่วนอาจมีเส้นใยแร่ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติอย่างแร่ใยหิน ซึ่งถือเป็นสารก่อมะเร็งปะปนอยู่ อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นที่มีผงทัลค์เป็นส่วนประกอบจำนวน 73 ตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2558 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการตรวจสอบของ อย. ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 18 ตัวอย่าง พบว่าทุกตัวอย่างไม่มีแร่ใยหินปนเปื้อน ทั้งนี้ แร่ใยหินเป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง หากเครื่องสำอางใดตรวจพบแร่ใยหินจะถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเก็บตัวอย่างเดือนมิถุนายน 2563ราคาคำนวณจากราคาที่ซื้อ ณ จุดขาย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 232 ผลิตภัณฑ์กันยุงชนิดปลอดจาก DEET

        เข้าหน้าฝนยุงเริ่มเป็นปัญหากวนใจ ดังนั้นแม้โรคโควิด-19 ยังต้องระวัง แต่ต้องไม่ลืมปัญหาไข้เลือดออกจากยุงลายที่เป็นพาหะ หรือโรคอื่นๆ ที่เกิดจากยุง การป้องกันยุงทำได้หลายวิธี ทั้งการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ การฉีดพ่นสเปรย์สารเคมีเพื่อฆ่ายุงโดยตรง หรือการใช้ยาจุดกันยุงแบบขดให้เกิดควันเพื่อไล่ยุง เรายังมีผลิตภัณฑ์ทากันยุงทั้งชนิดสเปรย์ ชนิดโลชั่นหรือปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ชนิดแผ่นแปะไล่ยุงออกมาเป็นทางเลือกเพื่อความสะดวกอีกด้วย  อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ทากันยุงส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีที่เรียกว่า DEET เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ เพราะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงสูง แต่ก็มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์เช่นกัน จึงมีผลิตภัณฑ์ชนิดปลอด DEET หรือการใช้สารธรรมชาติพวกน้ำมันหอมระเหยออกมาแข่งขันในตลาดมากขึ้น        ฉลาดซื้อเคยสำรวจผลิตภัณฑ์ทากันยุงไว้ในฉบับที่ 187 (ผู้อ่านสามารถดูผลการสำรวจได้ที่ www.ฉลาดซื้อ.com) ซึ่งส่วนใหญใช้ DEET เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ และตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพิ่มขึ้น ดังนั้นฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสำรวจเพิ่มในส่วนของผลิตภัณฑ์ทากันยุง/ป้องกันยุง ที่ปลอดจากสาร DEET พร้อมเปรียบเทียบราคาต่อปริมาตรเพื่อเป็นข้อมูลใน สารทากันยุงชนิดอื่นนอกจาก  DEET        ·  น้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) เป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอม จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันตะไคร้หอม ควรปิดฝาให้สนิท อย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟหรือความร้อน        ·   พิคาริดิน (Picaridin, KBR3023) เป็นสารสกัดจากพืชชนิดหนึ่ง หากมีความเข้มข้นสูง เช่น 20% จะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ DEET แต่ระยะเวลาสั้นกว่า        ·   น้ำมันยูคาลิปตัส (oil of Lemon eucalyptus) ซึ่งมีพีเอ็มดี (PMD: P-menthane-3,8-diol) เป็นส่วนประกอบ มีประสิทธิภาพเป็นครึ่งหนึ่งของ DEET เช่น PMD 30% มีประสิทธิภาพเทียบเท่า DEET 15%        ·   ไออาร์ 3535 (IR3535: Ethyl butylacetylamino propionate) เป็นสารสังเคราะห์ จากการศึกษาหนึ่งพบว่า IR3535 มีประสิทธิภาพรองจาก DEET และ Picaridin         ·   ไบโอยูดี (BioUD: 2-undecanone) เป็นสารสกัดจากพืชชนิดหนึ่ง เพิ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (EPA) การใช้ผลิตภัณฑ์ทากันยุงเพื่อความปลอดภัยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) และปฏิบัติตามฉลากแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดไม่ควรใช้ยาทากันยุงที่มีส่วนผสมของดีอีอีที เอทิลบิวทิลอเซติลามิโนโพรพิโนเอตหรือพิคาริดิน มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เพราะความเข้มข้นของสารเคมีในระดับดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงมากขึ้นและอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ทายากันยุง (แต่อาจต่ำกว่า 4 ปีได้ ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์)ควรคอยเฝ้าดูขณะเด็กใช้ยาทากันยุง และหลีกเลี่ยงการทายากันยุงบริเวณมือเด็ก เพราะเสี่ยงต่อการนำนิ้วเข้าปากหรือขยี้ตาไม่ควรทายากันยุงบริเวณที่เป็นแผลไม่ควรใช้สเปรย์กันยุงฉีดใบหน้าโดยตรง ควรฉีดพ่นลงบนฝ่ามือก่อนนำมาทาบนใบหน้า หลีกเลี่ยงการทาบริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสูตรผสมระหว่างครีมกันแดดและยาทากันยุง เพราะอาจทำปฏิกิริยาต่อกันจนส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพลดลง อีกทั้งการทายากันยุงซ้ำบ่อย ๆ อาจทำให้ได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากเกินไปที่มา https://www.pobpad.com

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 231 ลิปสติกสีแดง

        ช่วงปลายปีที่แล้วนิตยสารเกอชัวร์ซีร์ Que Choisir  ซึ่งเป็นนิตยสารขององค์กรผู้บริโภคฝรั่งเศสที่เป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ได้ทำการตรวจหา “สารไม่พึงประสงค์” ใน “ลิปสติกสีแดง” ยอดนิยม 20 ยี่ห้อ หลายยี่ห้อมีขายในเมืองไทย ฉลาดซื้อเลยถือโอกาสนำมาเผยแพร่ให้สมาชิกสายบิวตี้ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจ        การทดสอบซึ่งทำโดยห้องปฎิบัติการในกรุงเบอลิน เยอรมนี ครั้งนี้เป็นการตรวจหา        - โลหะหนัก ซึ่งมักพบในสารให้สี ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม พลวง และปรอท        -  สารไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันมิเนอรัล Mineral oil saturated hydrocarbons (MOSH),  Mineral oil aromatic hydrocarbons (MOAH) และไฮโดรคาร์บอนสังเคราะห์ Polyolefin Oligomeric saturated hydrocarbons (POSH)         ก่อนหน้านี้ฉลาดซื้อฉบับเดือนตุลาคม 2560 เคยนำเสนอผลทดสอบลิปบาล์มทั้งในแง่ความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ใช้ แต่คราวนี้เราเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักจึงไม่มีการนำเสนอด้วย “ดาว” เราจะขอแยกเป็น “ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย” “ผลิตภัณฑ์ที่พอรับได้” และ “ผลิตภัณฑ์ที่ไม่แนะนำ”  ในภาพรวมเราพบสารตะกั่วในลิปสติก 19 จาก 20 ยี่ห้อ แต่ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานยุโรป (แต่ถ้าใช้เกณฑ์ของเยอรมนีที่เข้มข้นกว่าจะพบว่ามีสองยี่ห้อที่ไม่ผ่าน คือ L’OREAL และ BOHO Green) ส่วนยี่ห้อที่ไม่พบตะกั่วเลยได้แก่ Two Faced … แต่ถึงแม้จะไม่มีตะกั่ว ยี่ห้อนี้ป็นหนึ่งในห้ายี่ห้อในกลุ่ม “ไม่แนะนำ” เพราะมีสารไฮโดรคาร์บอนเกินร้อยละ 10 ... พลิกหน้าต่อไปเพื่อดูกันเต็มๆ ว่ายี่ห้อไหนบ้างที่คู่ควรกับคุณ-----น้ำมันมิเนอรัล (หรือพาราฟินเหลว) เป็นผลพลอยได้จากการผลิตปิโตรเลียม สารนี้เป็นที่นิยมใช้ในเครื่องสำอางหลายชนิดเพราะหาได้ง่าย ราคาถูก และไม่เน่าเสีย แต่ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีข้อห่วงใยว่ามันอาจเป็นสารก่อมะเร็งหรือเร่งการเกิดเนื้องอกได้ ผู้ผลิตหลายเจ้าจึงหันไปหาทางเลือกอื่น------ค่าทดสอบอยู่ที่ตัวอย่างละ 350 ถึง 500 ยูโร (ประมาณ 12,000 ถึง 17,500 บาท) และต้องใช้ลิปสติกอย่างน้อย 16  แท่งต่อหนึ่งตัวอย่าง-----            “ลิปสติกเอ็ฟเฟ็กต์” คือข้อสันนิษฐานที่ว่าเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เครื่องสำอางโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิปสติกจะขายดีขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคยังต้องการเป็นเจ้าของ “สินค้าหรูหรา” แต่ยังเป็นห่วงเงินในกระเป๋า จึง “ลดสเปก” จากสินค้าราคาสูง (เช่น กระเป๋าแบรนด์เนม) มาเป็นลิปสติกที่พอจะสู้ราคาไหวนั่นเอง ในขณะที่บางคนก็เลือกประหยัดงบด้านอื่นเพื่อเก็บไว้ซื้อลิปสติก ... จริงเท็จอย่างไรยังฟันธงไม่ได้ แต่มีข่าวลือว่าหลังเหตุการณ์ 9/11 ในนิวยอร์ก ยอดขายลิปสติกในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว        ลิปสติกจะหมดเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่การใช้ของแต่ละคน เรื่องนี้พูดยาก แต่งานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2005 ที่วัดปริมาณลิปสติกของของผู้ใช้ลิปสติกเป็นประจำ 360 คน (อายุระหว่าง 19 – 65 ปี) ในช่วงสองสัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างทาลิปสติกเฉลี่ยวันละ 2.4 ครั้ง (ร้อยละ 11 ใช้มากกว่าวันละ 4 ครั้ง) ในแต่ละครั้งเนื้อลิปสติกจะหมดไปประมาณ 5 มิลลิกรัม (มีถึงร้อยละ 12 ที่ใช้ 20 มิลลิกรัมหรือมากกว่า) โดยรวมแล้วมีการใช้ลิปสติกระหว่าง 24 - 80 มิลลิกรัมในแต่ละวัน… แน่นอนว่าในปริมาณนี้บางส่วนก็ถูกผู้ใช้กลืนลงกระเพาะไปบ้าง ส่วนผสมในลิปสติกจึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องใส่ใจ นอกจากสีสัน เนื้อสัมผัส หรือราคา

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 230 ผลทดสอบเจลแอลกอฮอล์

        สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ในขณะนี้ นอกจากหน้ากากอนามัยแล้ว เจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือแบบอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ทำความสะอาดมือเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ซึ่งเป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมากจนทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าและมีสินค้าไม่ได้มาตรฐานออกมาวางจำหน่าย         ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสินค้าและคุ้มครองผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงดำเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือจำนวน 39 ตัวอย่าง แบ่งเป็นสองกลุ่มตัวอย่าง คือผลิตภัณฑ์จากร้านค้าทั่วไป ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก จำนวน 25 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์จากร้านค้าออนไลน์ จำนวน 14 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม – 17 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อตรวจหาปริมาณร้อยละของแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ และตรวจหาการปนเปื้อนของเมธิลแอลกฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค สรุปผลทดสอบผลทดสอบ พบว่า-   จำนวน 26 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอลต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ไม่ผ่านเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2563  แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ(1) จำนวน 14  ตัวอย่าง คือมีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ทั้งนี้ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ระบุวันผลิตตั้งแต่ประกาศฯ มีผลบังคับ คือ 10 มีนาคม 2563(2) จำนวน 8 ตัวอย่าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตก่อนวันที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ฯ มีผลบังคับ(3) จำนวน 4 ตัวอย่าง ไม่ระบุวันผลิต ได้แก่ยี่ห้อ เมดเดอร์ลีน, Sweet Summer, BFF บีเอฟเอฟ และ TOUCH        -  จำนวน 13 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ทั้งนี้แบ่งเป็น(1) ผลิตภัณฑ์ที่มีวันผลิตก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2563 จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ Skin Heaven Hand Safe, Anti-A gel (2 ตัวอย่าง) ,ไลฟ์บอย แฮนด์ ซานิไทเซอร       (2) ผลิตหลังวันที่ 10 มีนาคม 2563 จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ Ver.88, WE Cleanser, ก๊กเลี้ยง, โพรเทค และ CAVIER       (3) ไม่ระบุวันผลิต 4 ตัวอย่าง ได้แก่ยี่ห้อ  CCP LAB BLUE, D GEL , ETC อาย-ตา-นิค และพันตรา     -   พบผลิตภัณฑ์ 4 ตัวอย่าง ไม่มีเลขจดแจ้ง แบ่งเป็น 3 ตัวอย่าง (2 ยี่ห้อ) ไม่แสดงเลขจดแจ้ง ได้แก่ Anti-A gel, Top Clean Hand Sanitizer และมี 1 ตัวอย่างแสดงเลข อย.ซ้ำกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ได้แก่ ยี่ห้อ L Care     -  พบ 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ ANANTA Spray(อนันตา สเปรย์) ใช้เมธานอลเป็นส่วนผสมในการผลิต   ฉลาดซื้อแนะการใช้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือที่ถูกต้อง1.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป (ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน) ทำไมต้อง 70% ถ้าใช้สัดส่วนที่ต่ำกว่านั้น ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค COVID-19 ได้2.ลูบให้ทั่วฝ่ามือและนิ้วมือ ทิ้งไว้ 20-30 วินาที จนแอลกอฮอล์แห้ง หากใช้แล้วไม่รอให้แห้งไปหยิบจับสิ่งต่างๆ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพลดน้อยลง3.ควรใช้เจลแอลกอฮอล์เฉพาะมือเท่านั้น ห้ามสัมผัสหรือเช็ดล้างบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ใบหน้าและดวงตาโดยเด็ดขาด4.ผลิตภัณฑ์ชนิดที่มีส่วนผสมอื่นนอกจากตัวแอลกอฮอล์จะช่วยทำให้ตัวแอลกอฮอล์ระเหยได้ช้าลง สัมผัสกับผิวได้นานขึ้น ช่วยลดการระคายเคืองของแอลกอฮอล์และคงความชุ่มชื้นต่อผิว5.ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ทำให้ต้องระมัดระวังการเก็บหรือการใช้ อย่าวางเจลใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เพราะแอลกอฮอล์ติดไฟได้ง่าย อาจเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 ครีมถนอมมือ

        เมื่อเราล้างมือหรือใช้เจลทำความสะอาดมือบ่อยๆ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือผิวหนังแห้งกร้าน ในบางรายอาจเป็นขุยหรือรู้สึกคันด้วย ทางออกที่ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังแนะนำคือครีมทามือ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงไม่รอช้า รีบหาผลทดสอบแฮนด์ครีมมาฝากคุณ คราวนี้สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้แบ่งคะแนนการทดสอบ* ออกเป็นสามด้าน ได้แก่        - ประสิทธิภาพในการบำรุงผิว (ร้อยละ 60)         - ความพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อกลิ่น เนื้อครีม (ร้อยละ 30) และ        - การปลอดสารรบกวนฮอร์โมน/พาราเบนส์/สารก่อภูมิแพ้ (ร้อยละ 10) * ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอเลือกมาพียง 20 ยี่ห้อ ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยหรือสั่งซื้อได้จากร้านค้าออนไลน์           ·  การทดสอบครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,000 ยูโร (ประมาณ 107,000 บาท) ต่อผลิตภัณฑ์        ·  หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่าพาราเบนส์ (ซึ่งนิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอาง) เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่หลายประเทศก็ให้ความสนใจและเฝ้าระวังสารนี้เป็นพิเศษ สหรัฐฯ ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ โรลออน ครีมกันแดด เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก สหภาพยุโรปเน้นยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว อังกฤษให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง และเกาหลีใต้เน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตา เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 แชมพู “กู้” ผมเสีย

           ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจผู้ที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์เพื่อกอบกู้สภาพเส้นผม เรามีผลการทดสอบแชมพูสำหรับผมเสีย ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ได้ทำการทดสอบไว้ แต่เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด เราจึงขอนำเสนอเพียง 26 ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในบ้านเราทั้งในห้างและร้านค้าออนไลน์ในภาพรวม แชมพูทั้งหมดได้คะแนนการชำระความสกปรกออกจากเส้นผมในระดับห้าดาว แต่คะแนนด้านอื่นๆ ยังแตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและฉลากที่อวดอ้างว่าสามารถ “ซ่อมแซม” ผมเสียได้ อยากรู้ว่าผลิตภัณฑ์ไหนน่าซื้อหามาใช้ที่สุด เชิญติดตามรายละเอียดได้ในหน้าถัดไป---   คะแนนเต็ม 100 ในการทดสอบ แบ่งสัดส่วนออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้40 คะแนน       ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ทดลองสระผมให้อาสาสมัคร แล้วตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพผมทั้งขณะแห้งและเปียก รวมถึงปริมาณฟองด้วย            30 คะแนน      ความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้ ความรู้สึกสะอาด อาการระคายเคือง และปริมาณฟอง10 คะแนน      การสระผงสีออกจากเส้นผมในห้องปฏิบัติการ เพื่อวัดความสะอาด10 คะแนน      ส่วนประกอบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม           10 คะแนน       ฉลากที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์สามารถ “ซ่อมแซม” ผมเสีย---             · การทดสอบครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตัวอย่างละประมาณ 105,000 บาท          มีอาสาสมัครร่วมทดสอบทั้งหมด 375 คน เป็นหญิง/ชาย อายุระหว่าง 18 – 75 ปี ที่มีผมยาวตั้งแต่ 10 เซ็นติเมตรขึ้นไป สภาพผมเสียปานกลางถึงเสียมาก อาสาสมัครเหล่านี้มีกลุ่มที่ผมเส้นเล็กและเส้นใหญ่           และผมตรงถึงผมหยิกปานกลาง          อาสาสมัครหนึ่งคนจะใช้เพียงสองผลิตภัณฑ์เท่านั้น    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 218 น้ำยาทำความสะอาดมือ

        น้ำยาทำความสะอาดมือ(Hand Anticeptic) เป็นสารที่ใช้เพิ่มเติมเป็นทางเลือกของการทำความความสะอาดมือ โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีน้ำ ปัจจุบันมีทั้งรูปแบบเจล โฟมและสารละลายเหลว เมื่อฉบับที่แล้วฉลาดซื้อได้สุ่มสำรวจผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือไป ฉบับนี้จึงขอต่อเนื่องมาที่ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ แบบที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำกันบ้าง ซึ่งได้รับความนิยมมากพอสมควรมีหลายผลิตภัณฑ์ให้เลือกซื้อหา ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่พบมีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อบนผิวหนัง นอกจากนั้นก็จะมีการผสมสารประเภทที่ให้ความชุ่มชื้น ครีมบำรุงและสารประเภทน้ำหอมเพิ่มเติม ซึ่งไม่มีประโยชน์ในงานทำความสะอาดแต่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ โดยลดความกังวลเรื่องที่มืออาจแห้งกร้านเนื่องจากการสัมผัสแอลกอฮอล์            จากการสุ่มตัวอย่างพบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือแบบไม่ใช่น้ำ จำนวน 11 ผลิตภัณฑ์ มีส่วนผสมหลักดังที่กล่าวไปข้างต้น แต่มีอยู่สองตัวที่มีส่วนผสมของ ไตรโคลซาน ซึ่งฉลาดซื้อเคยนำเสนอไปว่า เป็นสารที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสารที่มีอันตรายสูง ทำให้มีปัญหากับระบบนิเวศดังนั้นควรหลีกเลี่ยง         น้ำยาทำความสะอาดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ดีควรเป็นอย่างไร            1.ควรมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ระหว่าง 60-85 % เพื่อให้เพียงพอสำหรับการฆ่าเชื้อ            2.มีฉลากระบุวันผลิตและวันสิ้นอายุที่ชัดเจน(ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ)  รวมทั้งคำเตือนที่จำเป็น เช่น ห้ามใช้หรือวางใกล้เปลวไฟ            3.มีเลขจดแจ้งที่ชัดเจน น้ำยาทำความสะอาดมือจัดเป็นเครื่องสำอาง ดังนั้นต้องมีเลขที่จดแจ้งตามกฎหมายเครื่องสำอาง  ความสะอาดมือบ่อยๆ        การล้างมือเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันการติดเชื้อที่ดี โดยทั่วไปหากมือสกปรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่ เพื่อชะล้างคราบสกปรกออกไป แต่หากเป็นกรณีที่มือไม่มีคราบสกปรกแต่อาจสัมผัสกับจุดเสี่ยง เช่น การสัมผัสกับสิ่งของสาธารณะ สัตว์เลี้ยง การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือแบบไม่ต้องใช้น้ำ ก็ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่ถูกต้อง         เจลล้างมือควรใช้ในปริมาณ 3-5 ซีซี หรือปริมาณเท่าขนาดเล็บหัวแม่มือของผู้ใช้ ถูให้ทั่วฝ่ามือและซอกเล็บ ถูจนเจลระเหยหมดภายในครึ่งนาที (หากเจลระเหยอย่างรวดเร็วก่อน 15 วินาที อาจหมายถึงใช้เจลในปริมาณน้อยไป ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อโรค) ระวัง!เจลล้างมือติดไฟได้ หากถูกสะเก็ดไฟ         เจลล้างมือมีส่วนผสมสำคัญคือแอลกอฮอล์ ที่นอกจากมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค และยังสามารถติดไฟได้ง่าย ดังนั้นเจลล้างมือจึงติดไฟได้ง่ายเช่นกัน โดยเฉพาะในผู้สูบบุหรี่ ผู้ที่ใช้เจลล้างมือหลังชโลมเปียกทั่วมือแล้วจึงควรรอให้แห้งก่อน ซึ่งใช้เวลาประมาณครึ่งนาที

อ่านเพิ่มเติม >