ก่อนที่สมาชิกทั้งสาวเล็กสาวใหญ่จะน้อยใจเพราะฉลาดซื้อว่างเว้นจากการนำเสนอผลทดสอบผลิตภัณฑ์ความงามมาพักใหญ่ เรารีบเอาใจคุณด้วยผลทดสอบ Beauty Balm หรือ Blemish Balm หรือ บีบีครีม แถมด้วย Color Correcting Cream หรือ ซีซีครีมด้วย แรกเริ่มเดิมที บีบีครีมถูกพัฒนาขึ้นโดยแพทย์ผิวหนังในเยอรมนีสำหรับคนไข้ที่เข้ารับการรักษาด้วยเลเซอร์ ต่อมาครีมนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยกระแสในประเทศเกาหลี ที่ทำให้มันเป็นที่รู้จักกันไปทั่วเอเชีย แล้วย้อนกลับไปฮิตในยุโรปและอเมริกาในที่สุด ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่นิยมเพราะมัน (เคลมว่า) ทำได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตั้งแต่บำรุงผิว ปรับสภาพผิวก่อนแต่งหน้า รองพื้น ปกปิดจุดด่างดำ และป้องกันแดด ฉบับนี้เรานำเสนอบีบีครีมและซีซีครีมจำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ ที่มีขายในประเทศไทยทั้งตามเคานท์เตอร์และที่นิยมสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ท จากทั้งหมด 34 ผลิตภัณฑ์ที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ส่งไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการ Institutes Dr. Schrader ในเยอรมนี คะแนนที่ให้นั้นเน้นคุณสมบัติในการบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นเป็นหลัก (เพราะสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ) รวมถึงคุณสมบัติในการป้องกันแสงแดด และป้องกันรังสี UVA ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ทดลองใช้โดยไม่ทราบชื่อผลิตภัณฑ์ มาดูกันเลยดีกว่า ว่าคุณควรเลือกตัวไหนไว้เติมคอลเลคชั่นเมคอัพ นี่เป็นอีกครั้งที่เราพบว่าราคาแพงอาจไม่รับรองคุณภาพหรือความพึงพอใจเสมอไป และเนื่องจากทีมทดสอบเขาหักคะแนนครีมที่มีส่วนประกอบที่อาจก่ออาการแพ้หรือมีสารรบกวนฮอร์โมนด้วย จึงทำให้ครีมบางตัวได้คะแนนรวมน้อย แม้จะได้คะแนนด้านคุณสมบัติและความพึงพอใจของผู้ใช้มากก็ตาม เครื่องสำอางก็ “เจ” ได้นะ ในขณะที่เครื่องสำอางจากต่างประเทศที่จะมาวางตลาดในประเทศจีนจะต้องส่งตัวอย่างให้ทางการจีนทดสอบกับสัตว์เช่น หนู หรือกระต่าย เพื่อรับรองว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ในหลายๆประเทศได้ประกาศห้ามการกระทำดังกล่าว (เช่นกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป อินเดีย และอิสราเอล) อีกหลายประเทศยังที่ไม่มีการบังคับแต่ก็ไม่ได้ห้ามการทดสอบดังกล่าว แต่เรามักเห็นป้าย “ไม่ทดลองกับสัตว์” ที่ดูเหมือนเป็นจุดขายของเครื่องสำอางหลายแบรนด์ ทั้งนี้เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทำให้สามารถทดสอบได้โดยไม่ต้องเบียดเบียนสัตว์อีกต่อไป (เช่น การคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้ตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่มีผู้บริจาคให้ หรือแม้แต่การใช้อาสาสมัคร เป็นต้น) ถ้าอยากมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือก “เจ” จริงๆ ให้สังเกตตราสัญลักษณ์จากองค์กรเหล่านี้: Choose Cruelty Free The Leaping Bunny และ PETA เป็นต้น หรือไม่ก็มองหาฉลากที่ระบุว่าไม่ทดลองกับสัตว์ "not tested on animals" หรือ "against animal testing" บนกล่องก็ได้เช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม >ต่อจากคราวที่แล้วนะคะ ที่ว่าด้วยเรื่องการทำแพ็กเก็จให้ใหญ่ไว้ก่อน แต่ของข้างในอาจใส่ลงไปแค่ 60 % หรือ 70 % ของผู้ผลิตสินค้า ซึ่งหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้กำหนดขนาดมาตรฐานอะไรไว้ในพวกสินค้าทั่วไป เพราะถือว่าเป็นการค้าเสรีผู้ผลิตมีสิทธิบรรจุน้ำหนักเท่าไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่ต้องพิจารณาฉลากให้ดี และเปรียบเทียบน้ำหนักราคากันเอง และในหลายครั้งการทำแพ็กเก็จใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ก็เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดไปว่ามีการเพิ่มน้ำหนักสินค้าเพื่อถือโอกาสปรับราคาเพิ่ม ทั้งที่จริงๆ แล้วน้ำหนักเท่าเดิม หรือทำเผื่อไว้เพื่อลดน้ำหนักที่บรรจุให้น้อยลงสักหน่อย แต่ยังคงขายในราคาเดิม กรณีต้นทุนสินค้ามันเพิ่ม โดยผู้ซื้อไม่ทันรู้ตัวว่าถูกหลอก ฉลาดซื้อเลยนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง แป้งฝุ่น โลชั่น ยาสระผม สบู่เหลว มาทดลองหาน้ำหนักที่กระป๋องหรือขวดที่ผู้ผลิตใช้ในการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดนั้น ว่าสามารถบรรจุน้ำหนักเต็มที่ได้เท่าไหร่ เพื่อเทียบกับปริมาณที่บรรจุจริงตามฉลาก แล้วหาสัดส่วนของพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ว่าเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ฉบับที่แล้วลงเรื่อง “แป้ง” กับ ”โลชั่น” ฉบับนี้จึงเป็นคิวของ “ยาสระผม” และ “สบู่เหลว”
สำหรับสมาชิก >สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง ยาสระผม สบู่เหลว แป้งฝุ่น โลชั่น ทุกวันนี้เริ่มมีแต่เสียงสะท้อนว่า “กระป๋องใหญ่ไปไหม ข้างในมีอยู่นิดเดียว” หรือ “เพิ่งซื้อมาใช้ ทำไมหมดเร็วจัง” ซึ่งจริงๆ แล้วสินค้าประเภทนี้ น้ำหนัก ประมาณ 200 – 250 กรัม(มิลลิลิตรในกรณีของเหลว) คนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้หรอกว่าจริงๆ แล้วมันคือแค่ไหน ทุกคนก็อาศัยมองดูลักษณะเอาจากตัวแพ็กเก็จหรือบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นธรรมดาที่เราจะมองว่าแพ็กเก็จใหญ่ของข้างในก็น่าจะเยอะสิ ยิ่งถ้าดูยี่ห้อหนึ่งที่กระป๋องใหญ่แล้วราคาถูกกว่าอีกยี่ห้อ บางทีก็ไม่ได้ดูฉลากว่าน้ำหนักบรรจุเท่าไหร่รีบคว้าไปจ่ายเงินทันที ทั้งที่อีกยี่ห้อที่มองข้ามอาจบรรจุน้ำหนักสินค้ามากกว่าก็ได้ เพียงแต่กระป๋องดูเล็กกว่า ด้วยจิตวิทยาแบบนี้ ผู้ผลิตจึงมักเลือกออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใหญ่สักหน่อย หรือทำให้ดูเหมือนใหญ่เพื่อดึงความสนใจของคนซื้อ แต่ของข้างในอาจใส่ลงไปแค่ 60 % หรือ 70 % เหลือที่ว่างอีกเยอะ ทางหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้กำหนดขนาดมาตรฐาน เช่น ยาสระผมขนาดกลางทุกยี่ห้อ ต้องบรรจุน้ำหนักที่ 200 มล. เท่ากันหมด เพราะถือว่าเป็นการค้าเสรีผู้ผลิตมีสิทธิบรรจุน้ำหนักเท่าไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อต้องพิจารณาฉลากกันเอาเอง แต่รัฐจะไปเน้นควบคุมที่เรื่องราคาขายปลีกแทนและดูแลไม่ให้โกงน้ำหนักที่ผิดไปจากฉลาก กรณีทำแพ็กเก็จให้ใหญ่ยังอาจใช้เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดว่ามีการเพิ่มน้ำหนักสินค้าเพื่อการปรับขึ้นราคา ทั้งที่บรรจุน้ำหนักเท่าเดิม และในทางกลับกันแพ็กเก็จก็อาจเท่าเดิม(คือใหญ่มาแต่แรก) เพื่อเผื่อไว้สำหรับลดน้ำหนักที่บรรจุให้น้อยลงแต่ขายในราคาเดิม โดยผู้ซื้อไม่ทันรู้ตัวว่าน้ำหนักได้ลดลงไปแล้ว แต่เรื่องแบบนี้ถ้าพูดอย่างเดียวอาจถูกมองว่ารู้สึกไปเองหรือเปล่า ฉลาดซื้อเลยนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง แป้งฝุ่น โลชั่น ยาสระผม สบู่เหลว มาทดลองหาน้ำหนักที่กระป๋องหรือขวดที่ผู้ผลิตใช้ในการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดนั้น ว่าสามารถบรรจุน้ำหนักเต็มที่ได้เท่าไหร่ เพื่อเทียบกับปริมาณที่บรรจุจริงตามฉลาก แล้วหาสัดส่วนของพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ว่าเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ สำหรับฉบับนี้ขอลงแค่ “แป้ง” กับ ”โลชั่น” ก่อน ฉบับหน้าจึงเป็นคิวของยาสระผมและสบู่เหลว แป้งฝุ่น เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก เพราะพบว่าส่วนใหญ่บรรจุน้ำหนักลงไปแค่ครึ่งหนึ่งของกระป๋องเท่านั้น เหลือพื้นที่ว่างอยู่ ราวๆ 50% คาดว่าน่าจะช่วยให้สามารถเขย่าแป้งได้สะดวกขึ้น **สำรวจเดือนตุลาคม 2557 สคบ.วอนเอกชนลดขนาดบรรจุภัณฑ์ โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ 24 ก.ค. 2557 นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ สคบ.จะเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านสินค้าอุปโภค และบริโภค รายใหญ่ เข้ามาหารือเพื่อขอให้ช่วยลดขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้า ทั้ง แชมพู สบู่เหลว ครีมบำรุงผิว ผงซักฟอก อาหาร และขนมขบเคี้ยว ลงจากเดิม หลังจากได้ส่งทีมออกสุ่มตรวจสินค้าแล้วเห็นว่า ขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้าหลายชนิดมีขนาดใหญ่เกินจริง แต่ปริมาณสินค้าที่บรรจุมีขนาดเท่าเดิม จึงอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เลือกซื้อสินค้าโดยที่ไม่ได้ทันสังเกต ขณะเดียวกันการปรับลดปริมาณของบรรจุภัณฑ์ลง ยังส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตลดลงด้วย “จากการสุ่มตรวจสินค้าหลากชนิด เช่น ครีมบำรุงผิวหลายยี่ห้อ ขนาดขวดที่ใช้บรรจุครีมมีพื้นที่ว่างอยู่ถึง 17-31% ส่วนแชมพูก็มีพื้นที่ว่าง 23-41% แม้จะเข้าใจว่า การทำขนาดขวดที่บรรจุให้ใหญ่ จะเป็นการแข่งขันทางการตลาดของผู้ประกอบการ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคมาเลือกซื้อสินค้า ซึ่งบางรายอาจจะเข้าใจผิดได้ว่า สินค้านี้ขวดใหญ่ขึ้น อาจมีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่พอมาใช้แล้ว กลับมีอยู่นิดเดียวไม่แตกต่างจากขวดธรรมดา ขณะเดียวกันการเพิ่มขนาดยังทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มโดยไม่จำเป็น อีกอย่างยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุอีกด้วย” ทั้งนี้ในระยะแรก สคบ.จะขอความร่วมมือตามความสมัครใจก่อน หรือถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้ลดลงเท่าที่จำเป็น เบื้องต้นอาจกำหนดให้พื้นที่ว่างภายในบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกิน 15% หรือมีสินค้าที่บรรจุภายในอยู่เกิน 3 ใน 4 ของบรรจุภัณฑ์ ส่วนในระยะยาว ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อออกมาตรการควบคุมให้ชัดเจน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน. ที่มา http://www.thairath.co.th/content/438498
อ่านเพิ่มเติม >อะไรเอ่ย ... มาช้าไม่ว่า ไม่มาเลยยิ่งดี? แต่ถ้ามันมาแล้วก็ถึงเวลาที่ ฉลาดซื้อ จะพาสมาชิกไปพิสูจน์ประสิทธิภาพครีมบำรุงผิวที่อ้างว่าสามารถลบเลือนลายเส้นที่แวะมาฝังตัวบนใบหน้าของเราได้ ว่ามันสามารถทำได้อย่างที่อ้างหรือไม่ และถ้าจะลงมือควักกระเป๋า เราควรเลือกยี่ห้อไหน … ครีมลดริ้วรอยในการทดสอบครั้งนี้เป็นครีมที่ติดอันดับขายดีในยุโรปและเอเชีย (ซึ่งมีฮ่องกง และเกาหลีใต้ส่งตัวอย่างเข้าร่วมทดสอบด้วย) ทั้งยี่ห้อที่ซื้อผ่านเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายยาทั่วไป วิธีการทดสอบ ทดสอบโดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research& Testing) ครั้งนี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทดสอบทั้งหมด 995 คน ทั้งหมดเป็นผู้หญิงเชื้อสายคอเคเซียนที่อายุระหว่าง 31 – 70 ปี (อายุเฉลี่ยของอาสาสมัคร คือ 53 ปี) แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีผู้ทดลองใช้ 30 – 31 คน หลังจากอาสาสมัครใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้ง (เช้า-ค่ำ) เป็นเวลา 1 เดือน (ที่ไม่โดนแสงแดดเลย) ทีมวิจัยได้วัดความยาวและความลึกของริ้วรอย เพื่อเปรียบเทียบกับค่าก่อนการใช้ นอกจากนี้ยังตรวจวัดความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยวิธี corneometry สอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ใช้ผลิตภัณฑ์ และการพิจารณาความถูกต้องของฉลากด้วย สัดส่วนการให้คะแนน (คะแนนเต็ม 100) ริ้วรอยลดลง ร้อยละ 50 ผิวนุ่มชุ่มชื้น ร้อยละ 25 ผู้ใช้พึงพอใจ* ร้อยละ 15 ฉลากถูกต้อง** ร้อยละ 10 *ลักษณะเนื้อครีม ความเหนียว ความมัน การซึมลงสู่ผิว กลิ่น **มีชื่อ/ที่อยู่ผู้ผลิต วันผลิต/วันหมดอายุ ปริมาตร ส่วนประกอบ ข้อควรระวัง ฯ จากการทดสอบครั้งนี้ เราพบว่ายังไม่มีครีมยี่ห้อไหนได้คะแนนในระดับ 5 ดาว ครีมที่ดีที่สุดในการทดสอบครั้งนี้คือ EUCERIN Hyaluron-filler ที่ได้คะแนนในระดับ 4 ดาว ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ได้คะแนนในระดับ 3 ดาวเท่านั้น และที่น่าสนใจคือ มีผลิตภัณฑ์ที่ให้อาสาสมัครทดสอบ 2 ตัวที่เป็นครีมบำรุงผิวธรรมดาที่ไม่ได้อ้างสรรพคุณลดริ้วรอย แต่ได้คะแนนจากการทดสอบค่อนข้างดีคือ NIVEA Pure natural soin de jour hydratant* และ VICHY Aqualia thermal* ดีกว่าครีมราคาแพงอีกหลายยี่ห้อด้วย //
อ่านเพิ่มเติม >อันว่าภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้น เป็นหนึ่งในสัญญาณบ่งบอกสภาวะเสื่อมถอยทางกาย(แก่นั่นแหละ) และหลายคนก็อาจมีสาเหตุทางด้านจิตใจ หรือเกิดจากการใช้ยาประจำบางอย่าง โดยไม่รู้ถึงผลข้างเคียง ดังนั้นควรได้รับการวินิจฉัยปัญหาอย่างรอบคอบและแก้ไขที่ต้นเหตุ มิใช่ว่า ต้องฝืนปลุกนกเขาให้ขันตลอด ด้วยการโด๊ปยาอย่างที่หลายท่านชอบทำ เรื่องของเรื่องคือ เมื่อเฝ้าดูรายการโทรทัศน์ในช่องเคเบิลและดาวเทียมทั้งหลายแล้ว ทำให้แจ้งในใจว่า คุณผู้ชายส่วนใหญ่วุ่นวายใจกับเรื่อง หย่อนสมรรถภาพทางเพศจริงจังมาก ไม่ว่ายาอะไรโฆษณาว่าดี ว่ายอดเป็นต้องหามาลองโดยไม่ได้มองถึงอันตรายใดๆ ยาพวกนี้เวลาโฆษณาจนติดแล้วในช่องทางเคเบิล ก็มาโผล่ในฟรีทีวี หรือคัตเอ้าต์ระดับสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยสรรพคุณบำรุงร่างกาย(แต่คนได้ยินชื่อก็รู้ล่ะว่า เป็นยาเพื่อเรื่องอย่างว่า) ยาประเภทนี้มักมาในรูปของยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ ผสมสารพัดสมุนไพร แน่นอนราคาแพงมาก(ไม่รู้แพงเพราะตัวยาหรือโฆษณา) ซึ่งสรรพคุณเด่นดังในทางบำรุงร่างกาย(เพศชาย) นี่เอง ที่ทำให้เกิดปัญหาว่า ยาเหล่านี้อาจมีการผสมยาแผนปัจจุบันลงไป เข้าอีหรอบเดียวกับกาแฟลดน้ำหนัก ที่ใส่ตัวยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นข่าวมาโดยตลอด ล่าสุดได้รับรายงานผลการทดสอบจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (เชียงใหม่และอุบลราชธานี) ว่า เจอยาแผนปัจจุบัน(Tadalafil และ Sildenafil ตัวหลังนี้มีชื่อการค้าว่า ไวอากร้า) ในยาบำรุงร่างกาย เกร็กคู จิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง และแคปปร้า หรือ cappra อันนี้โชว์ป้ายโฆษณาท้าทายสายตาอยู่ ณ สนามบินสุวรรณภูมิด้วย สรุปผล นกเขาขันเพราะยาแผนปัจจุบัน ก็เป็นอันตอบคำถามได้ว่า ทำไมยาแผนโบราณชื่อดังเหล่านี้จึงตอบโจทย์ท่านชายได้ ไอ้ที่ว่าได้ผลดีเยี่ยม ก็เพราะแอบใส่ยาแผนปัจจุบันเข้าไปนี่เอง การรับประทานยาด้วยความเข้าใจผิดแบบนี้ อันตรายต่อสุขภาพมาก เพราะหนึ่งการรับประทานยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ หลายท่านยังเข้าใจผิดว่า ปลอดภัย (อย่างน้อยก็ปลอดภัยกว่าสารเคมีสังเคราะห์) ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลย มันก็อันตรายด้วยกันทั้งสองแบบ แต่ยาแผนโบราณดีกว่านิดหน่อยเพราะไม่ได้ออกฤทธิ์รวดเร็วเท่ายาแผนปัจจุบัน อีกทั้งผลข้างเคียงอาจน้อยกว่า แต่เมื่อมาในรูปของการแอบแฝง ทำให้คุณผู้ชายอาจรับประทานยาเกินขนาดและขาดความระมัดระวัง ซึ่งตัวยา Sildenafil และ Tadalafil มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์หลายอย่าง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด คนที่เป็นโรคหัวใจและกินยาโรคหัวใจอยู่ โดยเฉพาะยาในกลุ่มไนเตรท เช่น ยาไนซอดิล ยาอมใต้ลิ้นที่ชื่อไนโตรกลีเซอรีล หรือยาไนโตรเดิร์ม ยารักษาโรคหัวใจเหล่านี้จะไปเสริมฤทธิ์กับยา Sildenafil ซึ่งอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ ดังนั้นโปรดใช้สติในการซื้อหามารับประทานกันด้วยนะครับ ------------------------------------------------------------------------------------------------------ Sildenafil หรือ VIAGRA ที่เป็นชื่อทางการค้า ของบริษัท PFIZER ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เกิดขึ้นมาด้วยความบังเอิญ Sildenafil Citrate (ชื่อสามัญทางยา) เกิดจากการวิจัยเพื่อผลิดยาขยายหลอดเลือดเพื่อช่วยรักษาเรื่องหัวใจขาดเลือด แต่กลับพบว่าผลข้างเคียงที่ได้ คือทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว คณะนักวิจัยจึงได้วิจัยต่อมาเพื่อเป็นยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และในปี 1998 ได้ผ่าน FDA ของอเมริกาโดยบริษัท PFIZER เป็นเจ้าของสิทธิบัตร หลังจากได้วางขายยา VIAGRA มันก็เป็นที่นิยมมาก นัยว่าเป็นยาชุบชีวิตของท่านชายหลายคนที่ประสบกับปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และนับจากนั้นไม่นานก็ได้แพร่หลายเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศ อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้ต้องจ่ายโดยแพทย์เป็นผู้สั่งเท่านั้น เพราะมีผลข้างเคียงไม่พึ่งประสงค์มากมาย ------------------------------------------------------------------------------------------------------ พระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 “ยาสมุนไพร” หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือ แร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุงหรือแปรสภาพ “ยาแผนโบราณ” หมายถึง ยาที่มุ่งหมายสาหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศหรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือ ยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตารับยาเป็นยาแผนโบราณ ------------------------------------------------------------------------------------------------------ มะเขือเผา นกเขาหลับ ทำไงดี เป็นคำสแลงไว้เรียก อาการที่องคชาติไม่แข็งตัว จัดว่าเป็นภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า อิมโพเทน (impotence) หรือ เมล อิเรคไท ดิสออเดอร์ (male erectile disorder) หรือ อิเรคไท ดิสฟังชั่น (erectile dysfunction) เรียกย่อๆ ว่า อีดี (ED) ซึ่งมีคำแปลว่า “ภาวะบกพร่องของการแข็งตัวขององคชาต” ภาวะนี้สร้างความทุกข์ใจอย่างมาก และแน่นอนเมื่อเกินจะเยียวยาก็ต้องหาหนทางบำบัดอาการ ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม >กระดาษทิชชู่ หรือ กระดาษชำระ ถือเป็นกระดาษอเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีกระดาษทิชชู่ให้เลือกใช้สารพัดอย่างแบ่งตามประเภทการใช้งาน ทั้งกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดมือ ฯลฯ คิดว่าคนส่วนใหญ่คงตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษทิชชู่จาก ยี่ห้อ ราคา หรือแม้แต่สีสันของบรรจุภัณฑ์ และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษทิชชู่ นั้นคือ “จำนวนแผ่นกระดาษทิชชู่” เปรียบเทียบดูว่ายี่ห้อไหนมีจำนวนที่คุ้มค่าคุ้มราคากว่ากัน แต่จะมีใครมั้ย? ที่เคยลองตรวจสอบดูว่าจำนวนกระดาษทิชชู่ที่อยู่ในกล่องกับตัวเลขที่ระบุบนฉลากข้างกล่องถูกต้องตรงกันหรือเปล่า ฉลาดซื้อเราจึงขอรับอาสาเช็คความถูกต้องของกระดาษทิชชู่ โดยเราเลือกกระดาษเช็ดหน้าชนิดบรรจุกล่องมาลองนับกันแบบแผ่นต่อแผ่นว่าแต่ละยี่ห้อที่เรานำมาสำรวจมีปริมาณแผ่นกระดาษเช็ดหน้าตรงกับที่แจ้งไว้หรือเปล่า วิธีการทดสอบ เราใช้อาสาสมัคร 3 คน เพื่อตรวจนับจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้า อาสาสมัครทั้ง 3 คนจะนับกันคนละ 1 ครั้งต่อ 1 ตัวอย่าง เท่ากับว่าแต่ละตัวอย่างเราจะทำการตรวจนับจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้าถึง 3 ครั้ง เพื่อตรวจสอบจำนวนและทวนความถูกต้อง ผลการทดสอบ เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่กระดาษเช็ดหน้าทุกยี่ห้อที่เรานำมาสำรวจจำนวนแผ่นกระดาษ พบว่าทั้งหมดตรงตามจำนวนที่ระบุไว้ในรายละเอียดข้างกล่อง แถมฉลาดซื้อยังพบว่ามีหลายยี่ห้อให้จำนวนกระดาษมาเกินกว่าที่ระบุเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ เชลล็อกกระดาษเช็ดหน้าโรชี่ ที่ระบุจำนวนไว้ว่า 150 แผ่น แต่จากการสำรวจเรานับจำนวนได้ 154 แผ่นทั้ง 3 ครั้ง นอกจากนี้ยังมียี่ห้อ ซิลค์ ที่เรานับจำนวนได้ 124 แผ่น แต่ข้างกล่องระบุไว้ 120 แผ่น, ยี่ห้อ เลดี้สก๊อตต์ ที่นับจำนวนได้ 152 แผ่น ขณะที่ข้างกล่องระบุไว้ 150 แผ่น และยี่ห้อ เทสโก้ (กล่องเล็ก) ที่นับได้ 52 แผ่น แต่ระบุจำนวนที่ข้างกล่องไว้ 50 แผ่น ถือว่าเป็นกำไรของผู้บริโภค ตารางแสดงผลการสำรวจจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้า เปรียบเทียบกับจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ ชื่อสินค้า จำนวนที่นับได้ จำนวนที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ ขนาดแผ่น วัน/เดือน/ปีที่ผลิต ราคา (บาท) เชลล็อกกระดาษเช็ดหน้าโรชี่ 154 150 - 27 03 13 42 เลดี้สก๊อตต์ 152 150 - 16 04 13 - คุ้มค่า 150 150 20x20 ซม. 04 04 56 18.50 บิ๊กซี 150 150 20x20 ซม. 14 02 56 - แฮปปี้บาท 150 150 20x20 ซม. 30 03 56 - คลีเน็กซ์ 150 150 - 07 04 13 54 ซิลค์ 124 120 - 13 04 13 27 สก็อต 120 120 - 14 04 13 94 เทสโก้ กล่องเล็ก 52 50 13x20 ซม. 02 01 13 42 ฉลาดซื้อแนะนำ การเลือกซื้อกระดาษชำระ -กระดาษชำระที่ดี เนื้อของกระดาษแต่ละแผ่นต้องมีสีที่สม่ำเสมอกัน -ไม่มีรอยตัด ฉีกขาด (ยกเว้นรอยปะสำหรับฉีก) -ไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในกระดาษ -กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ และกระดาษชำระ ถือเป็นสินค้าควบคุมฉลาก -บนฉลากต้องแสดงขนาดความกว้าง – ยาว ของแผ่นกระดาษ เป็นเซนติเมตร -ถ้าในฉลากมีการระบุประเภทของกระดาษ เช่น “กระดาษเช็ดหน้า” “กระดาษเช็ดปาก” “กระดาษเช็ดมือ” หรือ “กระดาษชำระ” กระดาษนั้นก็ต้องมีคุณลักษณะที่ตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของกระดาษ -เพราะฉะนั้นเราควรใช้กระดาษชำระให้ถูกต้องตามประเภทการใช้งาน เพราะกระดาษแต่ละชนิดถูกผลิตออกมาเพื่องานที่แตกต่างกัน ความหนานุ่ม ความยืดหยุ่น และการดูดซับน้ำ รวมถึงเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จึงมีความแตกต่างกัน ที่มา: ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กำหนดกระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ และกระดาษชำระ เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- การแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม การแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคอย่างเราควรรู้ ลองมาดูกันดีกว่าว่าแบบไหนคือการแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากหรือบนผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องเหมาะสมได้ใจผู้บริโภค 1.ต้องแสดงปริมาณสุทธิหรือจำนวนที่แท้จริงของสินค้า โดยต้องไม่รวมน้ำหนักของสิ่งที่ใช้บรรจุหรือสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ 2.ต้องแสดงปริมาณตามมาตราชั่ง มาตราตวง หรือมาตราวัด ในระบบเมตริกหรือแสดงเป็นหน่วย (กรัม, มิลลิกรัม, ชิ้น, แผ่น ฯลฯ) แล้วแต่ชนิดของสินค้าหีบห่อ โดยใช้ตัวเลขไทยหรือตัวเลขอารบิคและอักษรไทย 3.มีข้อความภาษาไทยว่า “ปริมาณสุทธิ” หรือที่มีความหมายเช่นเดียวกัน อยู่หน้าปริมาณของสินค้า 4.แสดงปริมาณของสินค้าไว้บนฉลาก บรรจุภัณฑ์ ให้สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน ตัวเลขและตัวอักษรมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร และต้องติดอยู่ถาวรไม่ลบเลือน 5.แสดงปริมาณของสินค้าทุกแห่งให้ตรงกันในกรณีที่มีการแสดงปริมาณไว้หลายแห่ง 6.ในกรณีที่เป็นสินค้าที่เป็นห่อใหญ่แล้วบรรจุมีสินค้าชนิดเดียวกันที่มีปริมาณเท่ากัน ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป และแต่ละห่อสามารถขายแยกต่างหากจากห่อใหญ่ได้ การบรรจุสินค้าห่อใหญ่ดังกล่าวจะต้องแสดงจำนวนห่อเล็กและปริมาณของสินค้าในห่อเล็กด้วย ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดชนิดและวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าหีบห่อ พ.ศ. 2543 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- รู้มั้ยว่า? ปริมาณสินค้าที่แจ้งบนฉลากกับปริมาณสินค้าจริงๆ อาจไม่ตรงกันเสมอไป!!! แม้เรื่องของปริมาณสินค้าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องแจ้งกับผู้บริโภค แต่บางครั้งปริมาณของสินค้าจริงๆ กับปริมาณที่แจ้งไว้อาจไม่ตรงกันก็ได้ แต่อย่าเพิ่งตกใจ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้นั้นเป็นเพราะกฎหมายเขาอนุโลมให้การแสดงปริมาณสุทธิของสินค้าต่างๆ สามารถแสดงปริมาณแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับสินค้าที่แสดงปริมาณโดยนับเป็นหน่วย ปริมาณที่แสดงบนหีบห่อ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดร้อยละของปริมาณที่แสดง ไม่เกิน 35 หน่วย - มากกว่า 35 หน่วย แต่ไม่เกิน 50 หน่วย 3 มากกว่า 50 หน่วย ขึ้นไป 2 อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับสินค้าที่แสดงปริมาณเป็นมาตราชั่ง ปริมาณที่แสดงบนหีบห่อ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดร้อยละของปริมาณที่แสดง ไม่เกิน 200 กรัม 6 มากกว่า 200 กรัม แต่ไม่เกิน 1 กก. 3 มากกว่า 1 กก. แต่ไม่เกิน 5 กก. 2 มากกว่า 5 กก. แต่ไม่เกิน 15 กก. 1.5 มากกว่า 15 กก. แต่ไม่เกิน 50 กก. 1 ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดชนิดและวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าหีบห่อ พ.ศ. 2543
อ่านเพิ่มเติม >เราอาจไม่มีโอกาสเห็นซูเปอร์มูน Supermoon เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเนื่องจากท้องฟ้ามีเมฆมาก แต่สิ่งที่เราไม่มีทางพลาดเด็ดขาดคือ “ซูเปอร์ซัน” ที่มาให้เจอแทบทุกวัน ทำให้เราต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดกันตลอด ฉลาดซื้อ ฉบับนี้เลยขอนำเสนอผลทดสอบครีมกันแดดที่มีค่า SPF ระหว่าง 15 - 50 ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ทำไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา และนาทีนี้สิ่งที่องค์กรผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษ(และเริ่มได้รับการตอบรับจากผู้ผลิตหลายรายแล้ว) คือการรณรงค์ให้งดใช้สารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์ จึงทำให้ผลการทดสอบคราวนี้ นอกจากเขาจะให้คะแนนในเรื่องความสามารถในการป้องกันรังสี UVA/UVB และความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์แล้ว เขายังให้ดาวในเรื่องการปราศจากสารเคมีที่รบกวนฮอร์โมนไว้ด้วย ... เพื่อคุณจะได้ไม่ต้องพบกับสารเคมีที่ไม่คู่ควร ----------------------------------------------------------------------------------- อย่าลืมว่าถ้าคุณต้องการผลิตภัณฑ์กันแดดที่สามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือชะลอการเหี่ยวย่นของผิวหนังได้ ก็ควรเลือกที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงเกิน 50 เพราะคุณอาจได้รับสารเคมีเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานว่าค่า SPF ที่สูงเกิน 50 จะทำให้คุณได้รับรังสีอันตรายจากแสงอาทิตย์น้อยลง ----------------------------------------------------------------------------------- NIVEA Sun Protect & Bronze Sun Lotion 20 ปริมาณ 200 ml. ราคา 1.62 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 5 ไม่เหนอะหนะ 5 ผิวชุ่มชื้น 4 MIXA Lait solaire SPF 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.43 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 5 ผิวชุ่มชื้น 5 Garnier Ambre solaire Lait Protecteur Embellisseur Golden Protect 20 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.43 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 5 ผิวชุ่มชื้น 5 LOREAL Lait bronzage Ideal FPS 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.84 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 5 ผิวชุ่มชื้น 5 La Roche Posay ANTHELIOS Spray 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 4.06 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 5 ไม่เหนอะหนะ 4 ผิวชุ่มชื้น 4 Vichy Capital Soleil Spray ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.24 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 4 ซึมเร็ว 5 ไม่เหนอะหนะ 4 ผิวชุ่มชื้น 4 Eau thermale Avène Spray 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.65 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 4 ผิวชุ่มชื้น 4 Biotherm Lait Solaire medium 15 ปริมาณ 200 ml. ราคา 4.46 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 4 ผิวชุ่มชื้น 4 LAVERA SPRAY SOLAIRE FAMILLE IP 15 ปริมาณ 125 ml. ราคา 4.46 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 4 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 5 ผิวชุ่มชื้น 4 Roc Lait spray désaltérant IP30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.24 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 3 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 5 ไม่เหนอะหนะ 5 ผิวชุ่มชื้น 5 Biafine Soleil Biafine lait solaire ultra hydratant 30 ปริมาณ 150 ml. ราคา 4 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 3 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 4 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 5 ผิวชุ่มชื้น 4 Eucerin Sonnen Allergie Schutz Creme-Gel 25 ปริมาณ 150 ml. ราคา 4.87 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 5 ไม่เหนอะหนะ 5 ผิวชุ่มชื้น 5 Carrefour Les cosmétiques Sun protection ปริมาณ 250 ml. ราคา 2 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB 4 ป้องกัน UVA 4 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 4 ผิวชุ่มชื้น 5 Clarins Spray Solaire Lait-Fluide Douceur UVB/UVA 20 ปริมาณ 150 ml. ราคา 7.30 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB 3 ป้องกัน UVA 3 ทาง่าย 5 ซึมเร็ว 5 ไม่เหนอะหนะ 4 ผิวชุ่มชื้น 4 Sephora SPF 15-30-50 Adjustable sunscreen ปริมาณ 100 ml. ราคา 9.33 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB 3 ป้องกัน UVA 2 ทาง่าย 4 ซึมเร็ว 4 ไม่เหนอะหนะ 4 ผิวชุ่มชื้น 4
อ่านเพิ่มเติม >ที่ผ่านมาตลาดน้ำยาบ้วนปากมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หรือผู้ผลิตอยู่ไม่กี่ราย แต่มีผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายชนิดมากจนสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้อะไรดี ฉลาดซื้อจึงอาสาพาไปสำรวจตลาดน้ำยาบ้วนปากเพื่อไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ จากการสำรวจตลาดทั่วไปจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อ ฉลาดซื้อพบผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากหลากหลายมาก ซึ่งแบ่งประเภทออกมาได้ห้ากลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย 2) กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์ ซึ่งได้นำเสนอไปในฉบับที่แล้ว คราวนี้เรามาต่อกันในกลุ่มที่เหลือ ได้แก่ กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น ลดการเสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) กลุ่มสำหรับเด็ก และ กลุ่มครอบจักรวาล คือรวมกลุ่ม 1 – 3 ไว้ในขวดเดียวกัน กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น เสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) ในการสำรวจพบว่า น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มที่ลดอาการเสียวฟัน จะใช้สาร Potassium Nitrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ร่วมกับการใช้สารฆ่าเชื้อ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ แต่ไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเสียวฟันซึ่งส่อให้เห็นว่าสุขภาพฟันกำลังมีปัญหา ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุด้วย ส่วนกลุ่มที่ลดคราบหินปูน และช่วยลดคราบต่างๆ ที่มาติดฟันจนดูเหมือนว่าช่วยทำให้ฟันขาวขึ้น นิยมใช้ สาร Zinc Chloride, Zinc Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ นิยมใช้ สาร Zinc Chloride, Zinc Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสาร ออกฤทธิ์สำคัญผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็ก กลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก สารออกฤทธิ์ตัวสำคัญจึงเป็น สารฟลูออไรด์ ซึ่งจะไม่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และไม่มีแอลกอฮอล์ผสม และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันแทบไม่มีที่ผสมแต่เพียงฟลูออไรด์อย่างเดียวโดยไม่ผสมสารฆ่าเชื้อร่วมด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้องการแต่ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุอย่างเดียว ก็สามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มสำหรับเด็กได้ ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี และสำหรับเด็กที่ฟันผุมาก ผู้ปกครองอาจเสริมด้วยน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็กหลังการแปรงฟันได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีแล้ว น้ำยาบ้วนปากก็ไม่จำเป็น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มครอบจักรวาล(Total care) กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า โทเทิล แคร์ คือดูแลหมดทุกสิ่งอย่าง ทั้งฆ่าเชื้อ ทำให้ปากสดชื่น ป้องกันฟันผุ ลดคราบหินปูน และลดเสียวฟัน ซึ่งไม่จำเป็นเท่าไหร่ ควรเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการดีกว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้แก่ -------------------------------------------------------------------------------------------------- ที่มาของน้ำยาบ้วนปาก จากหนังสือพิมพ์ Periodontology 2000 กล่าวไว้ว่าน้ำยาบ้วนปากตัวแรกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการรักษาปัญหากลิ่นปากเรื้อรังที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบ แพทย์ได้แนะนำให้กลั้วปากด้วยปัสสาวะเด็ก ที่กรีก ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ แนะนำให้กลั้วปากด้วยส่วนผสมของเกลือ สารส้มและน้ำส้มสายชู ในคู่มือทันตกรรมที่มีชื่อเสียง ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1530 ได้เขียนถึงสิ่งที่ทำงานใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากในปัจจุบัน โดยระบุว่า “หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กลั้วปากด้วยไวน์หรือเบียร์เพื่อชะล้างสิ่งที่ติดฟันและทำให้ฟันผุ ผลิตกลิ่นเหม็นและทำลายฟัน” ย้อนไปปี ค.ศ. 1895 เมื่อ Joseph and Jordan Lambert นำของเหลวที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่นำมาจากการผ่าตัดและไปผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปาก การผสมผสานของ thymol, menthol, eucalyptol และ methyl salicylate จึงเกิดขึ้น นักธุรกิจคู่นี้ใช้ชื่อน้ำยาบ้วนปากว่า Listerine และขายให้แก่ทันตแพทย์ในปีนั้นเอง “Listerine ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 เพื่อฆ่าเชื้อโรค มันถูกกลั่นออกมาในรูปแบบของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและรักษาโรคหนองใน” ที่มา http://therabreaththailand.com/article10.php -------------------------------------------------------------------------------------------------- แอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปาก เคยมีผู้สงสัยว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งในช่องปากหรือไม่ เพราะโรคมะเร็งในช่องปากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ รองลงมาคือ การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ ณ ปัจจุบันผลการวิจัยที่ออกมายังไม่สามารถฟันธงได้ เพราะผลการวิจัยก็มีทั้งที่ระบุว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง และระบุว่าไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ในประเทศไทยจึงยังไม่มีการสรุปในเรื่องนี้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมกันได้มีข้อแนะนำว่าสำหรับคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากอยู่แล้ว ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสม -------------------------------------------------------------------------------------------------- ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปาก จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้ชั่วคราว โดยจะควบคุมกลิ่นปากได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ตอนเช้าควบคุมได้ไปจนถึงเย็น เพราะฉะนั้นอาจใช้น้ำยาบ้วนปากได้เป็นครั้งคราวกรณีที่ต้องการความมั่นใจ แต่ถ้าจะใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ป้องกันไม่ให้มีกลิ่นปาก ควรที่จะป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำความสะอาดลิ้น เพราะฝ้าขาวบนลิ้นเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก ขณะเดียวกันควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน ถ้ามีกลิ่นปากก็ต้องหาสาเหตุว่ามาจากตรงไหน เช่น ฟันผุ เป็นโรคเหงือก โรคระบบทางเดินอาหาร ทอนซิลอักเสบ หรือ ไซนัส ก็ควรแก้ที่ต้นเหตุจะดีกว่า เพราะน้ำยาบ้วนปากแค่ระงับกลิ่นปากชั่วคราวแต่ไม่ได้แก้ที่สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก น้ำยาบ้วนปากกับเด็ก เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเลยทุกประเภท ไม่ว่าจะมีแอลกอฮอล์หรือไม่มีแอลกอฮอล์ เพราะการควบคุมการกลืนยังไม่ดี ขณะที่บ้วนปากเด็กอาจกลืนกินน้ำยาบ้วนปากลงไปด้วย น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมจึงมีคำเตือนห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ความจริงน้ำยาบ้วนปากของเด็กมักจะใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยผู้ปกครองจะซื้อให้เด็กใช้ในกรณีที่ลูกฟันผุมาก ๆ แต่อยากจะบอกว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้หากให้เด็กแปรงฟันให้สะอาด ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงนนทินี ตั้งเจริญดี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่มา http://202.183.204.137/km/?p=558
อ่านเพิ่มเติม >ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอพาคุณย่ำยุโรปเพื่อสังเกตการณ์การทดสอบหาสารเคมีรบกวนฮอร์โมน ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางยอดนิยมของคนแถวนั้นดูบ้าง โครงการนี้เป็นความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคในยุโรป European Environment and Health Initiative (EEHI) และองค์กรทดสอบสากล (International Consumer Research & Testing) เขาอยากรู้ว่าในบรรดาสารเคมีต่างๆที่เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางนั้น ความจริงแล้วมีในปริมาณเท่าใด แต่ละตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ และถ้าคิดรวมๆกันแล้วผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีสารที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคในปริมาณเท่าใด ผลทดสอบที่ได้จะเป็นข้อมูลสนับสนุนข้อเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรป ทบทวนนโยบายการจัดการกับสารรบกวนฮอร์โมนและการนำมาใช้ในเครื่องสำอางนั่นเอง งานนี้ใช้ต้นทุนในการทดสอบ (ค่าซื้อสินค้าและค่าห้องปฏิบัติการ) ไปถึง 45,500 ยูโร (ประมาณ 1,700,000 บาท) การทดสอบครั้งนี้ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม 2555 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องสำอางขายดีในอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งหมด 66 ผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยแชมพู ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัว ครีมทาหน้า ครีมทาผิว รองพื้น ยาทาเล็บ ลิปสติก ครีมกันแดด ทีมทดสอบเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงเป็นหลัก เพราะผู้หญิงมีแนวโน้มจะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้บ่อยครั้งกว่าและยังมีความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในช่วงตั้งครรภ์ด้วย ------------------------------------------------------------------------------------------------- โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางวันละ 10 - 20 ชนิด แต่ละผลิตภัณฑ์ก็ประกอบขึ้นด้วยส่วนผสมของสารเคมีจำนวนไม่น้อย แม้จะมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าการได้รับสารเคมีบางตัวอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อถูกรบกวน แต่ทุกวันนี้ยังไม่งานวิจัยว่าด้วยผลกระทบต่อสุขภาพหรือต่อสิ่งแวดล้อมจากการได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าไปพร้อมๆกัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน นั่นหมายความว่า แม้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นจะมีสารเคมีรบกวนฮอร์โมนแต่ละตัวในปริมาณที่ไม่เกินกฎหมายกำหนด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปลอดภัย 100% ------------------------------------------------------------------------------------------------- ตัวอย่างสารเคมีที่มีหลักฐานยืนยันว่าส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมน คุณสมบัติ 1. ไซโคลเตตราไซโลเซน (ซิลิโคน) เป็นตัวทำละลาย ปรับสภาพผิว/ผม 2. โพรพิลพาราเบน สารกันเสีย 3. บิวทิลพาราเบน สารกันเสีย 4. ไอโซโพรพิลพาราเบน สารกันเสีย 5. ไอโซบิวทิลพาราเบน สารกันเสีย 6. บิวทิล ไฮโดรไซยานิโซล (BHA) สารต้านอนุมูลอิสระ 7. เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 8. เบนโซฟีโนน-1 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 9. เบนโซฟีโนน-2 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 10. เบนโซฟีโนน-3 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 11. เบนโซฟีโนน-4 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 12. ไตรโคลซาน สารกันเสีย/ดับกลิ่น หมายเหตุ: เอททิลพาราเบน และ เมททิลพาราเบน กฎหมายกำหนดให้ใช้ในปริมาณต่ำมาก จึงไม่น่าจะเป็นอันตราย ผลทดสอบในภาพรวม ย้ำอีกทีว่า สารรบกวนฮอร์โมนไม่ได้มีอยู่ในเครื่องสำอางทุกชนิด เพราะฉะนั้นผู้หญิงไม่จำเป็นต้องหยุดสวย แต่ต้องไม่ลืมเรายังมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารรบกวนฮอร์โมนจากแหล่งอื่นรอบๆตัวได้อีก ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้ง 66 ผลิตภัณฑ์นั้น ไม่พบผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรบกวนฮอร์โมนในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายของยุโรปกำหนดเลย แต่จากการทดสอบและคำนวณปริมาณการใช้เฉลี่ยในแต่ละวันของผู้บริโภค (ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์วันละมากกว่าหนึ่งชนิด) พบว่ามีความเป็นไปได้ที่ร่างกายจะได้รับสารเคมีดังกล่าวมากพอที่จะส่งผลรบกวนฮอร์โมนในร่างกายได้ โดยสารที่ต้องระวังให้มากคือ เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท และโพรพิลพาราเบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสาวๆที่ใช้ทั้งเครื่องสำอางร่วมกับครีมกันแดด สารที่พบมากที่สุดได้แก่ เมททิลพาราเบน ซึ่งพบใน 40 ผลิตภัณฑ์ ตามด้วยโพรพิลพาราเบน ใน 38 ผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สารเคมียอดฮิตอันดับ 3 และ 4 ได้แก่ ฟีโนซีเอทานอล และ บีเอชที (BHT) ในขณะที่ไตรโคลซานดูเหมือนจะได้รับความนิยมน้อยลง พบเพียงใน 2 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น เราพบสารเคมีที่อยู่ผิดที่ผิดทางด้วยเช่นกัน เช่น สารกรองแสงยูวี เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท พบใน 18 ผลิตภัณฑ์ (ซึ่งในนั้นมีสบู่ และโรลออนด้วย) แต่ที่น่าสนใจคือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารนี้มากที่สุดกลับเป็นครีมบำรุงผิวหน้า ไม่ใช่ครีมกันแดด บางครั้งเราพบสารเคมีที่ไม่ได้ระบุไว้บนฉลาก เช่น พบฟีโนซีเอทานอล ใน Dettol nettoyant savon liquide pour les mains และ Nivea Diamond Touch และพบบิวทิลพาราเบนใน Max factor ageless elixir 2 in 1 และบางครั้งก็ไม่พบสารที่ระบุไว้บนฉลาก เป็นต้น รองพื้น ครีมทาผิวกาย และครีมบำรุงผิวหน้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารดังกล่าวหลายตัวด้วยกันเป็นส่วนประกอบ รองพื้นและครีมบำรุงผิวหน้า มักจะมีทั้งสารกันเสียและสารกรองรังสียูวี ที่เป็นสารรบกวนฮอร์โมน ------------------------------------------------------------------------------------------------- ห้ามรบกวน DO NOT DISTURB! แม้ฮอร์โมนจะเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการและผลิตขึ้นในปริมาณเพียงน้อยนิด (บางครั้งเพียง 1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน เท่านั้น) แต่มันมีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการรักษาสมดุลทางเคมีที่ละเอียดอ่อนมากๆ ในร่างกาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่มีอะไรไปรบกวนมัน แต่โชคร้ายที่เราถูกแวดล้อมด้วยสารเคมีหลายตัวที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อ บางตัวอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้แม้จะได้รับเพียงปริมาณเล็กน้อย ที่สำคัญคือมีหลักฐานว่าการได้รับสารดังกล่าวในวัยเด็ก (ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเกิดพัฒนาการ) แม้ในปริมาณไม่มากก็อาจทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงได้ และผลของสารรบกวนฮอร์โมนสามารถถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้ด้วย อันตรายของมันอาจไม่แสดงออกอย่างเฉียบพลัน แต่การได้รับสารดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ การพัฒนาสมอง ทำให้เด็กสมาธิสั้น มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น แขน ขา หรือการเบี่ยงเบนทางเพศ และการเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น ล่าสุดมีการศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับสารเหล่านี้กับการเกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวานด้วย สารเหล่านี้ บางตัว “รบกวน” การทำงานของฮอร์โมน บางตัว “เลียนแบบ” ฮอร์โมน และบางตัวก็ “ขัดขวาง” การทำงานของฮอร์โมน บางตัวสามารถย่อยสลายไปเองอย่างรวดเร็วและชนิดที่ไม่ยอมสลายไปโดยง่าย และสารเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเท่านั้น ------------------------------------------------------------------------------------------------- พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง เมื่อ 3 ปีก่อน ฉลาดซื้อ ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิกอีก 12 ประเทศ (มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน เกาหลีใต้ อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย) ทำการสำรวจฉลากเพื่อดูส่วนประกอบของเครื่องสำอางที่มีขายในประเทศเหล่านั้น เราพบว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของเครื่องสำอาง (ทั้งหมด 259 ตัวอย่าง) มีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งพาราเบนส์เป็นสารที่องค์การอาหารและยาในประเทศต่างๆ อนุญาตให้ใช้ เพราะร่างกายสามารถกำจัดได้ ------------------------------------------------------------------------------------------------- ฉลาดซื้อ TIPS - ในฐานะผู้บริโภค คุณมีสิทธิเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้ ผลิตภัณฑ์ใดๆก็ได้ - อย่าลืมให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ล้างออก เช่น ครีมทาผิว ครีมทาหน้า ฯลฯ - ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงสารรบกวนฮอร์โมน เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีโพรพิลพาราเบน (propylparaben) และบิวทิลพาราเบน (butylparaben) และถ้าคุณไม่ได้ต้องเผชิญแสงแดดก็ไม่จำเป็นต้องใช้ครีมบำรุงผิวหน้าหรือรองพื้นที่มีสารกรองแสง เป็นต้น - หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทาผิวหลายๆ ชนิดในวันเดียวกัน (เช่น ครีมกันแดด ครีมทาผิว ครีมบำรุงผิวหน้า) - ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรนำผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ไปใช้กับเด็ก - แม้ผลิตภัณฑ์นั้นจะระบุว่า “ปราศจากสาร ..xx..” แต่เราก็ควรอ่านดูส่วนผสมให้ละเอียด เพราะอาจมีสารที่เราต้องการหลีกเลี่ยงอยู่ในรายการส่วนประกอบบนฉลากด้านหลังของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างของครีมทาผิวกาย ครีมบำรุงผิวหน้า และครีมรองพื้น ที่มีพาราเบนเป็นส่วนประกอบ (ตัวเลขที่แสดงมีหน่วยเป็นกรัม/กิโลกรัมของเอสเทอร์ของกรดเบนโซอิก) แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีการใช้พาราเบนส์ร่วมกันมากกว่าหนึ่งตัวซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ที่น่าสนใจคือบางครั้งผู้ผลิตก็ใช้ทั้งพาราเบนส์และสารทดแทนพาราเบนด้วย Body Lotion Nivea Lait hydratant douceur - peaux très sèches - Smooth milk เมททิลพาราเบน 2.43 เอททิลพาราเบน
สำหรับสมาชิก >ที่ผ่านมาตลาดน้ำยาบ้วนปากมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หรือผู้ผลิตอยู่ไม่กี่ราย แต่ถ้าดูจากโฆษณาที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ณ ปัจจุบันต้องบอกว่า ดุเดือดเอาเรื่อง และมีผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายชนิดมากจนสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้อะไรดี หรือไม่ต้องใช้ได้ไหม ฉลาดซื้อจึงอาสาพาไปสำรวจตลาดน้ำยาบ้วนปากกันสักครั้ง เพื่อไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ น้ำยาบ้วนปากจำเป็นหรือไม่จำเป็น ถ้านำคำถามเรื่อง จำเป็นไม่จำเป็น ไปถามทันตแพทย์ ก็จะได้คำตอบทั้งจำเป็นและไม่จำเป็น โดยมีปัจจัยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันมาเป็นตัวตัดสิน กล่าวคือ หากคุณแปรงฟันได้ถูกวิธี ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ น้ำยาบ้วนปากก็ไม่มีความจำเป็นอะไรเลย แต่ถ้าคุณจัดอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและแปรงฟันไม่ค่อยถูกวิธี น้ำยาบ้วนปากก็เป็นอะไรที่ช่วยเสริมในการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากได้บ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาในช่องปาก ไม่ว่าจะฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีกลิ่นปาก (ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนหันมาใช้น้ำยาบ้วนปากนั้น) คุณต้องพบทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการเหล่านั้นที่ต้นเหตุเสียก่อน เพราะน้ำยาบ้วนปากไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย หากไม่รักษาให้ถูกวิธี ประเภทของน้ำยาบ้วนปาก การสำรวจตลาดทั่วไปจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อ ฉลาดซื้อพบผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากหลากหลายมาก ซึ่งแบ่งประเภทออกมาได้ห้ากลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย 2) กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์ 3) กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น ลดการเสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) 4) กลุ่มสำหรับเด็ก และ 5) ครอบจักรวาล คือรวมกลุ่ม 1 – 3 ไว้ในขวดเดียวกัน กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมที่ได้จากน้ำยาบ้วนปากในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) ซึ่งไม่เพียงให้กลิ่นหอมและความรู้สึกเย็นสดชื่น ยังมีฤทธิ์ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ด้วย โดยน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ได้แก่ Methyl Salicylate, Thymol, Menthol, Eucalyptol, Peppermint oil, Clove oil(น้ำมันกานพลู) เป็นต้น น้ำยาบ้วนปากกลุ่มนี้ช่วยกลบกลิ่นปากได้ราว 2 - 3 ชั่วโมงหลังใช้(เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค) แต่กลิ่นหอมที่เกิดจากน้ำยาบ้วนปากจะอยู่ได้ไม่นานประมาณ 20 นาทีก็จะจางไป เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจะออกฤทธิ์ได้ดีในแอลกอฮอล์ น้ำยาบ้วนปากกลุ่มนี้จึงผสมแอลกอฮอล์ในความเข้มข้นที่ 10 - 30 % ซึ่งทำให้เกิดภาวะแสบร้อนที่ไม่พึงประสงค์ หลายคนจึงใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไม่นานเท่าที่คำแนะนำระบุ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลงไป ปัจจุบันจึงมีสูตรไร้แอลกอฮอล์ออกมาเป็นทางเลือก ยาสีฟันในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการลดภาวะฟันผุ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) มีแอลกอฮอล์ผสม ลิสเตอรีน เฟรช ซิทรัส 250 65 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol 20/30 5.20 มี ลิสเตอรีน คูลมินต์ 250 65 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol 20/30 5.20 มี มายบาซิน คลูมินต์ 250 51 Thymol Menthol Methyl Salicylate Eucalyptol Mentha viridis (spearmint) 15-20/30 4.08 มี มายบาซิน สูตรเข้มข้น(ผสมน้ำก่อนใช้) ออริจินอล 1000 98 Thymol Menthol Eucalyptol Methyl Salicylate ผสมน้ำก่อนใช้หรือ ครั้งละ 4 ช้อนชา(20 ซีซี)/30 1.96 ไม่ระบุบนฉลาก* มายบาซิน รสชาเขียวผสมฝรั่ง สูตรโฟร์ ทเวนตี้โฟร์อาวส์ 500 99 Thymol Menthol Eucalyptol Guava Leaf,Green Tea, Aloe Vera Extracts 15-20/30 3.96 มี มายบาซิน เฟรช ออเร็นจ์ 750 116 Thymol Eucalyptol Methyl Salicylate Menthol Natural orange extract 15-20/30 3.09 ไม่ระบุบนฉลาก* ซิสเท็มมา บลูคาริบเบียน 250 54 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ) mansaku extract 10/30 2.16 มี ซิสเท็มมา กรีนฟอเรสต์ 250 54 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ) mansaku extract 10/20 2.16 ไม่มี ซิสเท็มมา สูตร Quick care 500 100 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ) mansaku extract 10/20 2 มี เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก คูลมินท์ 250 46 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol 20/30 3.68 มี เดนทิสเต้ 190 139 Menthol Eucalyptol เสจ(Sage Extract) น้ำมันกานพลู(Clove oil) 1 ฝา 7.3 (10 มล.) ไม่มี ดอกบัวคู่ สูตรกานพลู 250 75 Menthol น้ำมันกานพลู(Clove oil) เสจ(Sage Extract) สารสกัดจากชะเอมเทศ(Glycyrrhizic Acid) 15-20/30 6 ไม่มี หมายเหตุ น้ำยาบ้วนปากที่มี Thymol (ไธมอล) เป็นองค์ประกอบ มักพบว่าเป็นชนิดที่มีแอลกอฮอล์ผสมในปริมาณค่อนข้างสูง (เพื่อช่วยในการละลายของไธมอลที่ละลายได้ไม่ดีในน้ำ) จึงไม่ควรใช้บ่อยหรือในปริมาณมากกว่าที่กำหนด และอย่าเผลอกลืนเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกต่าง ๆ ได้ กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์ การเติมสารฆ่าเชื้อหรือระงับเชื้อจุลินทรีย์ลงในน้ำยาบ้วนปากก็เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ในปากลง เนื่องจากจุลินทรีย์ก่อให้เกิดกลิ่นปาก แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้องคือใช้ในระยะเวลาที่ไม่นานพอที่สารจะถูกดูดซับไว้ในช่องปาก ก็แทบไม่มีผลอะไรในการระงับเชื้อ ดังนั้นต้องใช้ให้ตรงตามคำแนะนำ ปัจจุบันสารฆ่าเชื้อหรือระงับเชื้อที่นิยมใช้ ได้แก่ กลุ่มน้ำมันหอมระเหย อย่าง ไธมอล หรือ เมนทอล และกลุ่ม Quaternary ammonium salts ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีและไม่เป็นพิษ ในความเข้มข้นที่ใช้(ไม่เกิน 0.5%) ตัวที่ควรรู้จัก คือ Cetylpyridinum chloride (เซธิลไพริดิเนียม คลอไรด์) น้ำยาบ้วนปากสูตรไร้แอลกอฮอล์ หรือที่โฆษณาว่า สดชื่นไม่แสบปาก จะนิยมใส่สาร Cetylpyridinum chloride เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อ แทนการใช้กลุ่มน้ำมันหอมระเหยที่จะออกฤทธิ์ได้ไม่ดีหากไม่ใช้แอลกอฮอล์ในการทำละลาย ส่วนข้อเสียของ Cetylpyridinum chloride คือจะให้รสขมติดปาก ดังนั้นในการผลิตจึงต้องมีการใส่วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อช่วยปรับรสชาติ สำหรับฟลูออไรด์ที่ผสมในน้ำยาบ้วนปาก จะมีผลในการป้องกันฟันผุได้จริง แต่ต้องใช้ให้ถูกต้อง คือ อมหรือกลั้วปากให้นานอย่างน้อย 1 นาที และไม่บ้วนน้ำตาม (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไม่ควรดื่มน้ำหรือกินอาหารหลังการบ้วนปากเป็นเวลา 30 นาทีด้วย) น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ซึ่งเป็นคำเตือนที่ต้องระบุไว้บนฉลากสินค้า ปกติคนเราจะได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มและยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์อยู่แล้ว(เพราะเราแปรงฟันทุกวัน) การรับเพิ่มจากน้ำยาบ้วนปากก็มีข้อต้องระวังคือ หากรับฟลูออไรด์มากไป อาจเกิดปัญหาฟันตกกระได้ แต่สำหรับในคนที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย เช่น มีฟันผุเกิดขึ้นใหม่ทุกปี ต้องไปอุดฟันบ่อยๆ หรือคนที่กินขนมหวาน น้ำอัดลมมากๆ การแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างเดียวอาจไม่พอ ก็สามารถเพิ่มน้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ได้ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหงือกร่น การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์จะป้องกันฟันผุที่รากฟันได้ด้วยเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ลิสเตอรีน (Listerine) ทีธ แอนด์ กัม โพรเทคชัน 250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Sodium fluoride 20/30 5.72 มี ลิสเตอรีน (Listerine) เนเชอรัล กรีนที 250 72 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Camellia Sinensis(Green Tea) Sodium fluoride 20/30 5.76 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เฟรชที 250 61 Cetylpyridinum chloride Menthol Camellia Sinensis(Green Tea) Sodium fluoride 20/30 4.88 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เกลือสมุนไพร 250 65 Sodium Chloride Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride 20/30 5.2 มี คอลเกต พลักซ์ ไอซ์ 250 69 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride 20/30 5.52 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ ฟรุ้ตตี้ 250 65 Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride 20/30 5.2 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เฟรชมินท์ 250 65 Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride 20/30 5.2 ไม่มี ฟลูโอคารีล 0% แอลกอฮอล์ พลัส ซีพีซี 500 95 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10-15/30-60 1.9(10 มล.) ไม่มี ฟลูโอคารีล เอ็กซ์ตร้า เซ็นซิทีฟ พีเอช เฟอร์เฟค 500 105 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10-15/60 2.1(10 มล.) มี ฟลูโอคารีล ออร์โธ 123 500 98.50 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10 -15/120 1.97(10 มล.) ไม่มี ออรัล บี โปรเฮลธ์ ทูธแอนด์กัมแคร์ เฟรชมิ้นต์ 350 99 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride 15/30 4.2 ไม่มี ออรัล บี โปรเฮลธ์ ทูธแอนด์กัมแคร์ สเปียร์มิ้นต์ 500 128 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride 15/30 3.84 ไม่มี ออรัลเมด ชัวร์มิ้นต์ คูล 480 98 Menthol Eucalyptol Methyl Salicylate Cetylpyridinum chloride Propolis Extract Sodium fluoride 1-2 ฝา 2.04(10 มล.) ไม่มี 3.กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น เสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) ในการสำรวจพบว่า น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มที่ลดอาการเสียวฟัน จะใช้สาร Potassium Nitrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ร่วมกับการใช้สารฆ่าเชื้อ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ แต่ไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเสียวฟันซึ่งส่อให้เห็นว่าสุขภาพฟันกำลังมีปัญหา ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุด้วย ส่วนกลุ่มที่ลดคราบหินปูน และช่วยลดคราบต่างๆ ที่มาติดฟันจนดูเหมือนว่าช่วยทำให้ฟันขาวขึ้น นิยมใช้ สาร Zinc Chloride, Zinc Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ลิสเตอรีน (Listerine) ไบรท์ & คลีน 250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride 20/30 5.72 มี ลิสเตอรีน (Listerine) ทาร์ทาร์ โพรเทคชัน 250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride 20/30 5.72 มี มายบาซิน สูตรทาร์ทาร์คอนโทรล 250 52 Thymol Methyl Salicylate Menthol Spearmint l Eucalyptol Zinc lactate 15-20/30 4.16 มี มายบาซิน สูตรไวท์ โพรเทคชั่น 500 86 Methyl Salicylate Eucalyptol Menthol spearmint peppermint Zinc lactate 15-20/30 3.44 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เนเชอรัล ไวท์ 500 119 Tetrapotassium Pyrophosphate Zinc Citrate 20/30 4.76 มี ซิสเท็มมา มิดไนท์ แฟนตาซี 500 95 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ) mansaku extract Zinc Lactate 10/20 1.9 มี ซิสเท็มมา มิดไนท์ พาราไดซ์ 500 95 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ) mansaku extract Zinc Lactate 10/20 1.9 มี เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก ทาร์ทาร์ โพรเทคชั่น 250 52 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride 20/30 4.16 มี อีโมฟอร์ม 240 98 Sodium chloride Potassium Nitrate 1 ฝาผสมน้ำครึ่งแก้ว บ้วนปากวันละ 1-3 ครั้ง 4.08(10 มล.) ไม่มี 4.น้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็ก กลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก สารออกฤทธิ์ตัวสำคัญจึงเป็น สารฟลูออไรด์ ซึ่งจะไม่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และไม่มีแอลกอฮอล์ผสม และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันแทบไม่มีที่ผสมแต่เพียงฟลูออไรด์อย่างเดียวโดยไม่ผสมสารฆ่าเชื้อร่วมด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้องการแต่ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุอย่างเดียว ก็สามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มสำหรับเด็กได้ ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี และสำหรับเด็กที่ฟันผุมาก ผู้ปกครองอาจเสริมด้วยน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็กหลังการแปรงฟันได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีแล้ว น้ำยาบ้วนปากก็ไม่จำเป็น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ฟลูโอคารีล คิดส์ 6+ กรีน (เบนเท็น) 250 59 Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10/60 2.36 ไม่มี ออรัลเมด คิด ทุตตี้ ฟรุตตี้ 240 42.50 Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 1 ฝา 0.04(10 มล.) ไม่มี 5.กลุ่มครอบจักรวาล(Total care) กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า โทเทิล แคร์ คือดูแลหมดทุกสิ่งอย่าง ทั้งฆ่าเชื้อ ทำให้ปากสดชื่น ป้องกันฟันผุ ลดคราบหินปูน และลดเสียวฟัน ซึ่งไม่จำเป็นเท่าไหร่ ควรเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการดีกว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก โทเทิล แคร์ 250 61 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride Sodium fluoride ไม่มีคำเตือนว่ามีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 20/30 4.88 มี มายบาซิน โททอล 15 500 99 Thymol Methyl Salicylate Menthol Eucalyptol Zinc lactate Sodium fluoride 15-20/30 3.96 มี ฟลูโอคารีล 40+เนเจอร์แคร์ 500 105 Potassium Nitrate Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10-15/60 2.1 มี คอลเกต เซนซิทีฟ โปรรีลีฟ 400 119 ส่วนผสมของอาร์จินีนและแคลเซียมคาร์บอเนต Sodium fluoride 20/30 5.95 มี ลิสเตอรีน (Listerine) โทเทิลแคร์ เซนซิทีฟ 250 83 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Potassium Nitrate Sodium fluoride 20/30 6.64 มี ------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ที่มาของน้ำยาบ้วนปาก จากหนังสือพิมพ์ Periodontology 2000 กล่าวไว้ว่าน้ำยาบ้วนปากตัวแรกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการรักษาปัญหากลิ่นปากเรื้อรังที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบ แพทย์ได้แนะนำให้กลั้วปากด้วยปัสสาวะเด็ก ที่กรีก ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ แนะนำให้กลั้วปากด้วยส่วนผสมของเกลือ สารส้มและน้ำส้มสายชู ในคู่มือทันตกรรมที่มีชื่อเสียง ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1530 ได้เขียนถึงสิ่งที่ทำงานใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากในปัจจุบัน โดยระบุว่า “หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กลั้วปากด้วยไวน์หรือเบียร์เพื่อชะล้างสิ่งที่ติดฟันและทำให้ฟันผุ ผลิตกลิ่นเหม็นและทำลายฟัน” ย้อนไปปี ค.ศ. 1895 เมื่อ Joseph and Jordan Lambert นำของเหลวที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่นำมาจากการผ่าตัดและไปผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปาก การผสมผสานของ thymol, menthol, eucalyptol และ methyl salicylate จึงเกิดขึ้น นักธุรกิจคู่นี้ใช้ชื่อน้ำยาบ้วนปากว่า Listerine และขายให้แก่ทันตแพทย์ในปีนั้นเอง “Listerine ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 เพื่อฆ่าเชื้อโรค มันถูกกลั่นออกมาในรูปแบบของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและรักษาโรคหนองใน” ที่มา http://therabreaththailand.com/article10.php ------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปาก เคยมีผู้สงสัยว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งในช่องปากหรือไม่ เพราะโรคมะเร็งในช่องปากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ รองลงมาคือ การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ ณ ปัจจุบันผลการวิจัยที่ออกมายังไม่สามารถฟันธงได้ เพราะผลการวิจัยก็มีทั้งที่ระบุว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง และระบุว่าไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ในประเทศไทยจึงยังไม่มีการสรุปในเรื่องนี้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมกันได้มีข้อแนะนำว่าสำหรับคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากอยู่แล้ว ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสม ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปาก จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้ชั่วคราว โดยจะควบคุมกลิ่นปากได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ตอนเช้าควบคุมได้ไปจนถึงเย็น เพราะฉะนั้นอาจใช้น้ำยาบ้วนปากได้เป็นครั้งคราวกรณีที่ต้องการความมั่นใจ แต่ถ้าจะใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ป้องกันไม่ให้มีกลิ่นปาก ควรที่จะป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำความสะอาดลิ้น เพราะฝ้าขาวบนลิ้นเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก ขณะเดียวกันควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน ถ้ามีกลิ่นปากก็ต้องหาสาเหตุว่ามาจากตรงไหน เช่น ฟันผุ เป็นโรคเหงือก โรคระบบทางเดินอาหาร ทอนซิลอักเสบ หรือ ไซนัส ก็ควรแก้ที่ต้นเหตุจะดีกว่า เพราะน้ำยาบ้วนปากแค่ระงับกลิ่นปากชั่วคราวแต่ไม่ได้แก้ที่สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก น้ำยาบ้วนปากกับเด็ก เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเลยทุกประเภท ไม่ว่าจะมีแอลกอฮอล์หรือไม่มีแอลกอฮอล์ เพราะการควบคุมการกลืนยังไม่ดี ขณะที่บ้วนปากเด็กอาจกลืนกินน้ำยาบ้วนปากลงไปด้วย น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมจึงมีคำเตือนห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ความจริงน้ำยาบ้วนปากของเด็กมักจะใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยผู้ปกครองจะซื้อให้เด็กใช้ในกรณีที่ลูกฟันผุมาก ๆ แต่อยากจะบอกว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้หากให้เด็กแปรงฟันให้สะอาด ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงนนทินี ตั้งเจริญดี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่มา http://202.183.204.137/km/?p=558
อ่านเพิ่มเติม >