ฉบับที่ 149 ครีมกันแดด 2013

เราอาจไม่มีโอกาสเห็นซูเปอร์มูน Supermoon เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเนื่องจากท้องฟ้ามีเมฆมาก แต่สิ่งที่เราไม่มีทางพลาดเด็ดขาดคือ “ซูเปอร์ซัน” ที่มาให้เจอแทบทุกวัน ทำให้เราต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดกันตลอด ฉลาดซื้อ ฉบับนี้เลยขอนำเสนอผลทดสอบครีมกันแดดที่มีค่า SPF ระหว่าง 15 - 50 ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ทำไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา และนาทีนี้สิ่งที่องค์กรผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษ(และเริ่มได้รับการตอบรับจากผู้ผลิตหลายรายแล้ว) คือการรณรงค์ให้งดใช้สารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์ จึงทำให้ผลการทดสอบคราวนี้ นอกจากเขาจะให้คะแนนในเรื่องความสามารถในการป้องกันรังสี UVA/UVB และความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์แล้ว เขายังให้ดาวในเรื่องการปราศจากสารเคมีที่รบกวนฮอร์โมนไว้ด้วย ... เพื่อคุณจะได้ไม่ต้องพบกับสารเคมีที่ไม่คู่ควร ----------------------------------------------------------------------------------- อย่าลืมว่าถ้าคุณต้องการผลิตภัณฑ์กันแดดที่สามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือชะลอการเหี่ยวย่นของผิวหนังได้ ก็ควรเลือกที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงเกิน 50 เพราะคุณอาจได้รับสารเคมีเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานว่าค่า SPF ที่สูงเกิน 50 จะทำให้คุณได้รับรังสีอันตรายจากแสงอาทิตย์น้อยลง -----------------------------------------------------------------------------------   NIVEA Sun Protect & Bronze Sun Lotion 20 ปริมาณ 200 ml. ราคา 1.62 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    4       MIXA Lait solaire SPF 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.43 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5         Garnier Ambre solaire Lait Protecteur Embellisseur Golden Protect 20 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.43 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5       LOREAL Lait bronzage Ideal FPS 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.84 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5     La Roche Posay ANTHELIOS  Spray 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 4.06 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4     Vichy Capital Soleil Spray ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.24 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       4 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4       Eau thermale Avène Spray 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.65 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4       Biotherm Lait Solaire medium 15 ปริมาณ 200 ml. ราคา 4.46 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4         LAVERA SPRAY SOLAIRE FAMILLE IP 15 ปริมาณ 125 ml. ราคา 4.46 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       4 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    4     Roc Lait spray désaltérant IP30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.24 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 3 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5     Biafine Soleil Biafine lait solaire ultra hydratant 30 ปริมาณ 150 ml. ราคา 4 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 3 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       4 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    4     Eucerin Sonnen Allergie Schutz Creme-Gel 25 ปริมาณ 150 ml. ราคา 4.87 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5     Carrefour Les cosmétiques Sun protection ปริมาณ 250 ml. ราคา 2 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    5     Clarins Spray Solaire Lait-Fluide Douceur UVB/UVA 20 ปริมาณ 150 ml. ราคา 7.30 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB                              3 ป้องกัน UVA                              3 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4       Sephora SPF 15-30-50 Adjustable sunscreen ปริมาณ 100 ml. ราคา 9.33 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB                              3 ป้องกัน UVA                              2 ทาง่าย                                       4 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 148 น้ำยาบ้วนปาก ตอน 2

ที่ผ่านมาตลาดน้ำยาบ้วนปากมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หรือผู้ผลิตอยู่ไม่กี่ราย แต่มีผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายชนิดมากจนสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้อะไรดี ฉลาดซื้อจึงอาสาพาไปสำรวจตลาดน้ำยาบ้วนปากเพื่อไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ จากการสำรวจตลาดทั่วไปจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อ ฉลาดซื้อพบผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากหลากหลายมาก ซึ่งแบ่งประเภทออกมาได้ห้ากลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย  2) กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์  ซึ่งได้นำเสนอไปในฉบับที่แล้ว คราวนี้เรามาต่อกันในกลุ่มที่เหลือ ได้แก่ กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น ลดการเสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว)  กลุ่มสำหรับเด็ก และ กลุ่มครอบจักรวาล คือรวมกลุ่ม 1 – 3 ไว้ในขวดเดียวกัน   กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น เสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) ในการสำรวจพบว่า น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มที่ลดอาการเสียวฟัน จะใช้สาร Potassium Nitrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ร่วมกับการใช้สารฆ่าเชื้อ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ แต่ไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเสียวฟันซึ่งส่อให้เห็นว่าสุขภาพฟันกำลังมีปัญหา ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุด้วย ส่วนกลุ่มที่ลดคราบหินปูน และช่วยลดคราบต่างๆ ที่มาติดฟันจนดูเหมือนว่าช่วยทำให้ฟันขาวขึ้น นิยมใช้ สาร Zinc Chloride,  Zinc Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ นิยมใช้ สาร Zinc Chloride, Zinc  Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสาร ออกฤทธิ์สำคัญผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่   กลุ่มน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็ก กลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก สารออกฤทธิ์ตัวสำคัญจึงเป็น สารฟลูออไรด์ ซึ่งจะไม่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และไม่มีแอลกอฮอล์ผสม และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันแทบไม่มีที่ผสมแต่เพียงฟลูออไรด์อย่างเดียวโดยไม่ผสมสารฆ่าเชื้อร่วมด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้องการแต่ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุอย่างเดียว ก็สามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มสำหรับเด็กได้ ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี และสำหรับเด็กที่ฟันผุมาก ผู้ปกครองอาจเสริมด้วยน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็กหลังการแปรงฟันได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีแล้ว น้ำยาบ้วนปากก็ไม่จำเป็น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มครอบจักรวาล(Total care) กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า โทเทิล แคร์ คือดูแลหมดทุกสิ่งอย่าง ทั้งฆ่าเชื้อ ทำให้ปากสดชื่น ป้องกันฟันผุ ลดคราบหินปูน และลดเสียวฟัน ซึ่งไม่จำเป็นเท่าไหร่ ควรเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการดีกว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้แก่ --------------------------------------------------------------------------------------------------   ที่มาของน้ำยาบ้วนปาก จากหนังสือพิมพ์ Periodontology 2000 กล่าวไว้ว่าน้ำยาบ้วนปากตัวแรกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการรักษาปัญหากลิ่นปากเรื้อรังที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบ แพทย์ได้แนะนำให้กลั้วปากด้วยปัสสาวะเด็ก ที่กรีก ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ แนะนำให้กลั้วปากด้วยส่วนผสมของเกลือ สารส้มและน้ำส้มสายชู ในคู่มือทันตกรรมที่มีชื่อเสียง ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1530 ได้เขียนถึงสิ่งที่ทำงานใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากในปัจจุบัน โดยระบุว่า “หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กลั้วปากด้วยไวน์หรือเบียร์เพื่อชะล้างสิ่งที่ติดฟันและทำให้ฟันผุ ผลิตกลิ่นเหม็นและทำลายฟัน” ย้อนไปปี ค.ศ. 1895 เมื่อ Joseph and Jordan Lambert นำของเหลวที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่นำมาจากการผ่าตัดและไปผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปาก การผสมผสานของ thymol, menthol, eucalyptol และ methyl salicylate จึงเกิดขึ้น นักธุรกิจคู่นี้ใช้ชื่อน้ำยาบ้วนปากว่า Listerine  และขายให้แก่ทันตแพทย์ในปีนั้นเอง “Listerine ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 เพื่อฆ่าเชื้อโรค มันถูกกลั่นออกมาในรูปแบบของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและรักษาโรคหนองใน” ที่มา  http://therabreaththailand.com/article10.php   --------------------------------------------------------------------------------------------------  แอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปาก เคยมีผู้สงสัยว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งในช่องปากหรือไม่ เพราะโรคมะเร็งในช่องปากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ รองลงมาคือ การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ  ณ ปัจจุบันผลการวิจัยที่ออกมายังไม่สามารถฟันธงได้ เพราะผลการวิจัยก็มีทั้งที่ระบุว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง และระบุว่าไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ในประเทศไทยจึงยังไม่มีการสรุปในเรื่องนี้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมกันได้มีข้อแนะนำว่าสำหรับคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากอยู่แล้ว ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสม  --------------------------------------------------------------------------------------------------   ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปาก จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้ชั่วคราว โดยจะควบคุมกลิ่นปากได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ตอนเช้าควบคุมได้ไปจนถึงเย็น เพราะฉะนั้นอาจใช้น้ำยาบ้วนปากได้เป็นครั้งคราวกรณีที่ต้องการความมั่นใจ แต่ถ้าจะใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ป้องกันไม่ให้มีกลิ่นปาก ควรที่จะป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำความสะอาดลิ้น เพราะฝ้าขาวบนลิ้นเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก ขณะเดียวกันควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน ถ้ามีกลิ่นปากก็ต้องหาสาเหตุว่ามาจากตรงไหน เช่น ฟันผุ เป็นโรคเหงือก โรคระบบทางเดินอาหาร ทอนซิลอักเสบ หรือ ไซนัส ก็ควรแก้ที่ต้นเหตุจะดีกว่า เพราะน้ำยาบ้วนปากแค่ระงับกลิ่นปากชั่วคราวแต่ไม่ได้แก้ที่สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก   น้ำยาบ้วนปากกับเด็ก เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเลยทุกประเภท ไม่ว่าจะมีแอลกอฮอล์หรือไม่มีแอลกอฮอล์ เพราะการควบคุมการกลืนยังไม่ดี ขณะที่บ้วนปากเด็กอาจกลืนกินน้ำยาบ้วนปากลงไปด้วย น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมจึงมีคำเตือนห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ความจริงน้ำยาบ้วนปากของเด็กมักจะใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยผู้ปกครองจะซื้อให้เด็กใช้ในกรณีที่ลูกฟันผุมาก ๆ แต่อยากจะบอกว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้หากให้เด็กแปรงฟันให้สะอาด ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์   ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงนนทินี ตั้งเจริญดี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่มา http://202.183.204.137/km/?p=558

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 เพราะคุณไม่คู่ควร

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอพาคุณย่ำยุโรปเพื่อสังเกตการณ์การทดสอบหาสารเคมีรบกวนฮอร์โมน ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางยอดนิยมของคนแถวนั้นดูบ้าง โครงการนี้เป็นความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคในยุโรป European Environment and Health Initiative (EEHI) และองค์กรทดสอบสากล (International Consumer Research & Testing) เขาอยากรู้ว่าในบรรดาสารเคมีต่างๆที่เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางนั้น ความจริงแล้วมีในปริมาณเท่าใด แต่ละตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ และถ้าคิดรวมๆกันแล้วผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีสารที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคในปริมาณเท่าใด ผลทดสอบที่ได้จะเป็นข้อมูลสนับสนุนข้อเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรป ทบทวนนโยบายการจัดการกับสารรบกวนฮอร์โมนและการนำมาใช้ในเครื่องสำอางนั่นเอง งานนี้ใช้ต้นทุนในการทดสอบ (ค่าซื้อสินค้าและค่าห้องปฏิบัติการ) ไปถึง 45,500 ยูโร (ประมาณ 1,700,000 บาท) การทดสอบครั้งนี้ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม 2555 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องสำอางขายดีในอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งหมด 66 ผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยแชมพู ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัว ครีมทาหน้า ครีมทาผิว รองพื้น ยาทาเล็บ ลิปสติก ครีมกันแดด ทีมทดสอบเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงเป็นหลัก เพราะผู้หญิงมีแนวโน้มจะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้บ่อยครั้งกว่าและยังมีความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในช่วงตั้งครรภ์ด้วย -------------------------------------------------------------------------------------------------   โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางวันละ 10 - 20 ชนิด แต่ละผลิตภัณฑ์ก็ประกอบขึ้นด้วยส่วนผสมของสารเคมีจำนวนไม่น้อย แม้จะมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าการได้รับสารเคมีบางตัวอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อถูกรบกวน  แต่ทุกวันนี้ยังไม่งานวิจัยว่าด้วยผลกระทบต่อสุขภาพหรือต่อสิ่งแวดล้อมจากการได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าไปพร้อมๆกัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน นั่นหมายความว่า แม้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นจะมีสารเคมีรบกวนฮอร์โมนแต่ละตัวในปริมาณที่ไม่เกินกฎหมายกำหนด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปลอดภัย 100% ------------------------------------------------------------------------------------------------- ตัวอย่างสารเคมีที่มีหลักฐานยืนยันว่าส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมน คุณสมบัติ 1. ไซโคลเตตราไซโลเซน (ซิลิโคน) เป็นตัวทำละลาย ปรับสภาพผิว/ผม 2. โพรพิลพาราเบน สารกันเสีย 3. บิวทิลพาราเบน สารกันเสีย 4. ไอโซโพรพิลพาราเบน สารกันเสีย 5. ไอโซบิวทิลพาราเบน สารกันเสีย 6. บิวทิล ไฮโดรไซยานิโซล (BHA) สารต้านอนุมูลอิสระ 7. เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 8. เบนโซฟีโนน-1 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 9. เบนโซฟีโนน-2 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 10. เบนโซฟีโนน-3 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 11. เบนโซฟีโนน-4 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 12. ไตรโคลซาน สารกันเสีย/ดับกลิ่น หมายเหตุ: เอททิลพาราเบน และ เมททิลพาราเบน กฎหมายกำหนดให้ใช้ในปริมาณต่ำมาก จึงไม่น่าจะเป็นอันตราย ผลทดสอบในภาพรวม ย้ำอีกทีว่า สารรบกวนฮอร์โมนไม่ได้มีอยู่ในเครื่องสำอางทุกชนิด เพราะฉะนั้นผู้หญิงไม่จำเป็นต้องหยุดสวย แต่ต้องไม่ลืมเรายังมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารรบกวนฮอร์โมนจากแหล่งอื่นรอบๆตัวได้อีก ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้ง 66 ผลิตภัณฑ์นั้น ไม่พบผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรบกวนฮอร์โมนในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายของยุโรปกำหนดเลย แต่จากการทดสอบและคำนวณปริมาณการใช้เฉลี่ยในแต่ละวันของผู้บริโภค (ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์วันละมากกว่าหนึ่งชนิด) พบว่ามีความเป็นไปได้ที่ร่างกายจะได้รับสารเคมีดังกล่าวมากพอที่จะส่งผลรบกวนฮอร์โมนในร่างกายได้  โดยสารที่ต้องระวังให้มากคือ เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท และโพรพิลพาราเบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสาวๆที่ใช้ทั้งเครื่องสำอางร่วมกับครีมกันแดด สารที่พบมากที่สุดได้แก่ เมททิลพาราเบน ซึ่งพบใน 40 ผลิตภัณฑ์ ตามด้วยโพรพิลพาราเบน ใน 38 ผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สารเคมียอดฮิตอันดับ 3 และ 4 ได้แก่ ฟีโนซีเอทานอล และ บีเอชที (BHT)  ในขณะที่ไตรโคลซานดูเหมือนจะได้รับความนิยมน้อยลง พบเพียงใน 2 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น เราพบสารเคมีที่อยู่ผิดที่ผิดทางด้วยเช่นกัน เช่น สารกรองแสงยูวี  เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท พบใน 18 ผลิตภัณฑ์ (ซึ่งในนั้นมีสบู่ และโรลออนด้วย) แต่ที่น่าสนใจคือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารนี้มากที่สุดกลับเป็นครีมบำรุงผิวหน้า ไม่ใช่ครีมกันแดด บางครั้งเราพบสารเคมีที่ไม่ได้ระบุไว้บนฉลาก เช่น พบฟีโนซีเอทานอล ใน Dettol nettoyant savon liquide pour les mains และ  Nivea Diamond Touch และพบบิวทิลพาราเบนใน Max factor ageless elixir 2 in 1  และบางครั้งก็ไม่พบสารที่ระบุไว้บนฉลาก เป็นต้น รองพื้น ครีมทาผิวกาย และครีมบำรุงผิวหน้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารดังกล่าวหลายตัวด้วยกันเป็นส่วนประกอบ รองพื้นและครีมบำรุงผิวหน้า มักจะมีทั้งสารกันเสียและสารกรองรังสียูวี ที่เป็นสารรบกวนฮอร์โมน -------------------------------------------------------------------------------------------------   ห้ามรบกวน DO NOT DISTURB! แม้ฮอร์โมนจะเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการและผลิตขึ้นในปริมาณเพียงน้อยนิด (บางครั้งเพียง 1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน เท่านั้น) แต่มันมีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการรักษาสมดุลทางเคมีที่ละเอียดอ่อนมากๆ ในร่างกาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่มีอะไรไปรบกวนมัน แต่โชคร้ายที่เราถูกแวดล้อมด้วยสารเคมีหลายตัวที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อ บางตัวอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้แม้จะได้รับเพียงปริมาณเล็กน้อย ที่สำคัญคือมีหลักฐานว่าการได้รับสารดังกล่าวในวัยเด็ก (ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเกิดพัฒนาการ) แม้ในปริมาณไม่มากก็อาจทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงได้ และผลของสารรบกวนฮอร์โมนสามารถถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้ด้วย อันตรายของมันอาจไม่แสดงออกอย่างเฉียบพลัน แต่การได้รับสารดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ การพัฒนาสมอง ทำให้เด็กสมาธิสั้น มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น แขน ขา  หรือการเบี่ยงเบนทางเพศ และการเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น ล่าสุดมีการศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับสารเหล่านี้กับการเกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวานด้วย สารเหล่านี้ บางตัว “รบกวน” การทำงานของฮอร์โมน บางตัว “เลียนแบบ” ฮอร์โมน และบางตัวก็ “ขัดขวาง” การทำงานของฮอร์โมน บางตัวสามารถย่อยสลายไปเองอย่างรวดเร็วและชนิดที่ไม่ยอมสลายไปโดยง่าย และสารเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเท่านั้น -------------------------------------------------------------------------------------------------   พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง เมื่อ 3 ปีก่อน ฉลาดซื้อ ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิกอีก 12 ประเทศ (มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน เกาหลีใต้ อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย) ทำการสำรวจฉลากเพื่อดูส่วนประกอบของเครื่องสำอางที่มีขายในประเทศเหล่านั้น เราพบว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของเครื่องสำอาง (ทั้งหมด 259 ตัวอย่าง) มีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งพาราเบนส์เป็นสารที่องค์การอาหารและยาในประเทศต่างๆ อนุญาตให้ใช้ เพราะร่างกายสามารถกำจัดได้ ------------------------------------------------------------------------------------------------- ฉลาดซื้อ TIPS -     ในฐานะผู้บริโภค คุณมีสิทธิเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้ ผลิตภัณฑ์ใดๆก็ได้ -         อย่าลืมให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ล้างออก เช่น ครีมทาผิว ครีมทาหน้า ฯลฯ -        ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงสารรบกวนฮอร์โมน เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีโพรพิลพาราเบน (propylparaben) และบิวทิลพาราเบน (butylparaben) และถ้าคุณไม่ได้ต้องเผชิญแสงแดดก็ไม่จำเป็นต้องใช้ครีมบำรุงผิวหน้าหรือรองพื้นที่มีสารกรองแสง เป็นต้น -         หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทาผิวหลายๆ ชนิดในวันเดียวกัน (เช่น ครีมกันแดด ครีมทาผิว ครีมบำรุงผิวหน้า) -         ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรนำผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ไปใช้กับเด็ก -         แม้ผลิตภัณฑ์นั้นจะระบุว่า “ปราศจากสาร ..xx..” แต่เราก็ควรอ่านดูส่วนผสมให้ละเอียด เพราะอาจมีสารที่เราต้องการหลีกเลี่ยงอยู่ในรายการส่วนประกอบบนฉลากด้านหลังของผลิตภัณฑ์   ตัวอย่างของครีมทาผิวกาย ครีมบำรุงผิวหน้า และครีมรองพื้น ที่มีพาราเบนเป็นส่วนประกอบ (ตัวเลขที่แสดงมีหน่วยเป็นกรัม/กิโลกรัมของเอสเทอร์ของกรดเบนโซอิก) แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีการใช้พาราเบนส์ร่วมกันมากกว่าหนึ่งตัวซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ที่น่าสนใจคือบางครั้งผู้ผลิตก็ใช้ทั้งพาราเบนส์และสารทดแทนพาราเบนด้วย   Body Lotion Nivea Lait hydratant douceur - peaux très sèches - Smooth milk เมททิลพาราเบน               2.43 เอททิลพาราเบน             

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 147 น้ำยาบ้วนปาก

  ที่ผ่านมาตลาดน้ำยาบ้วนปากมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หรือผู้ผลิตอยู่ไม่กี่ราย แต่ถ้าดูจากโฆษณาที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ณ ปัจจุบันต้องบอกว่า ดุเดือดเอาเรื่อง และมีผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายชนิดมากจนสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้อะไรดี หรือไม่ต้องใช้ได้ไหม ฉลาดซื้อจึงอาสาพาไปสำรวจตลาดน้ำยาบ้วนปากกันสักครั้ง  เพื่อไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ น้ำยาบ้วนปากจำเป็นหรือไม่จำเป็น ถ้านำคำถามเรื่อง จำเป็นไม่จำเป็น ไปถามทันตแพทย์ ก็จะได้คำตอบทั้งจำเป็นและไม่จำเป็น โดยมีปัจจัยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันมาเป็นตัวตัดสิน กล่าวคือ หากคุณแปรงฟันได้ถูกวิธี ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ น้ำยาบ้วนปากก็ไม่มีความจำเป็นอะไรเลย แต่ถ้าคุณจัดอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและแปรงฟันไม่ค่อยถูกวิธี น้ำยาบ้วนปากก็เป็นอะไรที่ช่วยเสริมในการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากได้บ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาในช่องปาก ไม่ว่าจะฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีกลิ่นปาก (ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนหันมาใช้น้ำยาบ้วนปากนั้น) คุณต้องพบทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการเหล่านั้นที่ต้นเหตุเสียก่อน เพราะน้ำยาบ้วนปากไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย หากไม่รักษาให้ถูกวิธี   ประเภทของน้ำยาบ้วนปาก การสำรวจตลาดทั่วไปจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อ ฉลาดซื้อพบผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากหลากหลายมาก ซึ่งแบ่งประเภทออกมาได้ห้ากลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย  2) กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์  3) กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น ลดการเสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) 4) กลุ่มสำหรับเด็ก และ 5) ครอบจักรวาล คือรวมกลุ่ม 1 – 3 ไว้ในขวดเดียวกัน   กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมที่ได้จากน้ำยาบ้วนปากในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil)  ซึ่งไม่เพียงให้กลิ่นหอมและความรู้สึกเย็นสดชื่น ยังมีฤทธิ์ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ด้วย โดยน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ได้แก่ Methyl Salicylate, Thymol,  Menthol, Eucalyptol, Peppermint oil,  Clove oil(น้ำมันกานพลู) เป็นต้น น้ำยาบ้วนปากกลุ่มนี้ช่วยกลบกลิ่นปากได้ราว 2 - 3 ชั่วโมงหลังใช้(เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค) แต่กลิ่นหอมที่เกิดจากน้ำยาบ้วนปากจะอยู่ได้ไม่นานประมาณ 20 นาทีก็จะจางไป เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจะออกฤทธิ์ได้ดีในแอลกอฮอล์ น้ำยาบ้วนปากกลุ่มนี้จึงผสมแอลกอฮอล์ในความเข้มข้นที่ 10 - 30 % ซึ่งทำให้เกิดภาวะแสบร้อนที่ไม่พึงประสงค์ หลายคนจึงใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไม่นานเท่าที่คำแนะนำระบุ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลงไป  ปัจจุบันจึงมีสูตรไร้แอลกอฮอล์ออกมาเป็นทางเลือก ยาสีฟันในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการลดภาวะฟันผุ   ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) มีแอลกอฮอล์ผสม ลิสเตอรีน เฟรช ซิทรัส   250 65 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol     20/30 5.20 มี ลิสเตอรีน คูลมินต์   250 65 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol   20/30 5.20 มี มายบาซิน คลูมินต์   250 51 Thymol Menthol Methyl Salicylate Eucalyptol Mentha viridis (spearmint) 15-20/30 4.08 มี มายบาซิน สูตรเข้มข้น(ผสมน้ำก่อนใช้) ออริจินอล   1000 98 Thymol Menthol Eucalyptol Methyl Salicylate   ผสมน้ำก่อนใช้หรือ ครั้งละ 4 ช้อนชา(20 ซีซี)/30 1.96 ไม่ระบุบนฉลาก* มายบาซิน รสชาเขียวผสมฝรั่ง สูตรโฟร์ ทเวนตี้โฟร์อาวส์   500 99 Thymol Menthol Eucalyptol   Guava Leaf,Green Tea, Aloe Vera Extracts 15-20/30 3.96 มี มายบาซิน เฟรช ออเร็นจ์   750 116 Thymol Eucalyptol Methyl Salicylate Menthol   Natural orange extract 15-20/30 3.09 ไม่ระบุบนฉลาก* ซิสเท็มมา บลูคาริบเบียน   250 54 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract     10/30 2.16 มี ซิสเท็มมา กรีนฟอเรสต์   250 54 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract   10/20 2.16 ไม่มี ซิสเท็มมา สูตร Quick care   500 100 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract   10/20 2 มี เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก คูลมินท์   250 46 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol   20/30 3.68 มี เดนทิสเต้   190 139 Menthol Eucalyptol เสจ(Sage Extract) น้ำมันกานพลู(Clove oil)   1 ฝา 7.3 (10 มล.) ไม่มี ดอกบัวคู่ สูตรกานพลู   250 75 Menthol น้ำมันกานพลู(Clove oil) เสจ(Sage Extract) สารสกัดจากชะเอมเทศ(Glycyrrhizic Acid) 15-20/30 6 ไม่มี   หมายเหตุ น้ำยาบ้วนปากที่มี Thymol (ไธมอล) เป็นองค์ประกอบ มักพบว่าเป็นชนิดที่มีแอลกอฮอล์ผสมในปริมาณค่อนข้างสูง (เพื่อช่วยในการละลายของไธมอลที่ละลายได้ไม่ดีในน้ำ)  จึงไม่ควรใช้บ่อยหรือในปริมาณมากกว่าที่กำหนด   และอย่าเผลอกลืนเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกต่าง ๆ ได้   กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์ การเติมสารฆ่าเชื้อหรือระงับเชื้อจุลินทรีย์ลงในน้ำยาบ้วนปากก็เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ในปากลง เนื่องจากจุลินทรีย์ก่อให้เกิดกลิ่นปาก แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้องคือใช้ในระยะเวลาที่ไม่นานพอที่สารจะถูกดูดซับไว้ในช่องปาก ก็แทบไม่มีผลอะไรในการระงับเชื้อ ดังนั้นต้องใช้ให้ตรงตามคำแนะนำ ปัจจุบันสารฆ่าเชื้อหรือระงับเชื้อที่นิยมใช้  ได้แก่ กลุ่มน้ำมันหอมระเหย อย่าง ไธมอล หรือ เมนทอล  และกลุ่ม Quaternary ammonium salts  ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีและไม่เป็นพิษ ในความเข้มข้นที่ใช้(ไม่เกิน 0.5%) ตัวที่ควรรู้จัก คือ  Cetylpyridinum chloride (เซธิลไพริดิเนียม คลอไรด์) น้ำยาบ้วนปากสูตรไร้แอลกอฮอล์ หรือที่โฆษณาว่า สดชื่นไม่แสบปาก จะนิยมใส่สาร  Cetylpyridinum chloride เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อ แทนการใช้กลุ่มน้ำมันหอมระเหยที่จะออกฤทธิ์ได้ไม่ดีหากไม่ใช้แอลกอฮอล์ในการทำละลาย ส่วนข้อเสียของ Cetylpyridinum chloride คือจะให้รสขมติดปาก ดังนั้นในการผลิตจึงต้องมีการใส่วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อช่วยปรับรสชาติ สำหรับฟลูออไรด์ที่ผสมในน้ำยาบ้วนปาก จะมีผลในการป้องกันฟันผุได้จริง แต่ต้องใช้ให้ถูกต้อง คือ อมหรือกลั้วปากให้นานอย่างน้อย 1 นาที และไม่บ้วนน้ำตาม (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไม่ควรดื่มน้ำหรือกินอาหารหลังการบ้วนปากเป็นเวลา 30 นาทีด้วย) น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ซึ่งเป็นคำเตือนที่ต้องระบุไว้บนฉลากสินค้า ปกติคนเราจะได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มและยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์อยู่แล้ว(เพราะเราแปรงฟันทุกวัน) การรับเพิ่มจากน้ำยาบ้วนปากก็มีข้อต้องระวังคือ หากรับฟลูออไรด์มากไป อาจเกิดปัญหาฟันตกกระได้ แต่สำหรับในคนที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย เช่น มีฟันผุเกิดขึ้นใหม่ทุกปี ต้องไปอุดฟันบ่อยๆ หรือคนที่กินขนมหวาน น้ำอัดลมมากๆ  การแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างเดียวอาจไม่พอ ก็สามารถเพิ่มน้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ได้ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหงือกร่น การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์จะป้องกันฟันผุที่รากฟันได้ด้วยเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ลิสเตอรีน (Listerine) ทีธ แอนด์ กัม โพรเทคชัน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Sodium fluoride 20/30 5.72 มี ลิสเตอรีน (Listerine) เนเชอรัล กรีนที   250 72 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Camellia Sinensis(Green Tea) Sodium fluoride 20/30 5.76 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เฟรชที   250 61 Cetylpyridinum chloride Menthol Camellia Sinensis(Green Tea) Sodium fluoride 20/30 4.88 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เกลือสมุนไพร   250 65 Sodium Chloride Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride 20/30 5.2 มี คอลเกต พลักซ์ ไอซ์   250 69 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   20/30 5.52 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ ฟรุ้ตตี้   250 65 Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride       20/30 5.2 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เฟรชมินท์   250 65 Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride       20/30 5.2 ไม่มี ฟลูโอคารีล 0% แอลกอฮอล์ พลัส ซีพีซี 500 95 Cetylpyridinum chloride   Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate   10-15/30-60 1.9(10 มล.) ไม่มี ฟลูโอคารีล เอ็กซ์ตร้า เซ็นซิทีฟ พีเอช เฟอร์เฟค   500 105 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol   Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate     10-15/60 2.1(10 มล.) มี ฟลูโอคารีล ออร์โธ 123   500 98.50 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate   10 -15/120     1.97(10 มล.) ไม่มี ออรัล บี โปรเฮลธ์ ทูธแอนด์กัมแคร์ เฟรชมิ้นต์ 350 99 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   15/30 4.2 ไม่มี ออรัล บี โปรเฮลธ์ ทูธแอนด์กัมแคร์ สเปียร์มิ้นต์ 500 128 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   15/30 3.84 ไม่มี ออรัลเมด ชัวร์มิ้นต์ คูล   480 98 Menthol Eucalyptol Methyl Salicylate Cetylpyridinum chloride Propolis Extract Sodium fluoride   1-2 ฝา 2.04(10 มล.) ไม่มี   3.กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น เสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) ในการสำรวจพบว่า น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มที่ลดอาการเสียวฟัน จะใช้สาร Potassium Nitrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ร่วมกับการใช้สารฆ่าเชื้อ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ แต่ไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเสียวฟันซึ่งส่อให้เห็นว่าสุขภาพฟันกำลังมีปัญหา ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุด้วย ส่วนกลุ่มที่ลดคราบหินปูน และช่วยลดคราบต่างๆ ที่มาติดฟันจนดูเหมือนว่าช่วยทำให้ฟันขาวขึ้น นิยมใช้ สาร Zinc Chloride,  Zinc Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ลิสเตอรีน (Listerine) ไบรท์ & คลีน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 5.72 มี ลิสเตอรีน (Listerine) ทาร์ทาร์ โพรเทคชัน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 5.72 มี มายบาซิน สูตรทาร์ทาร์คอนโทรล 250 52 Thymol Methyl Salicylate Menthol Spearmint l Eucalyptol Zinc lactate   15-20/30 4.16 มี มายบาซิน สูตรไวท์ โพรเทคชั่น   500 86 Methyl Salicylate Eucalyptol Menthol spearmint peppermint Zinc lactate   15-20/30 3.44 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เนเชอรัล ไวท์   500 119 Tetrapotassium Pyrophosphate Zinc Citrate       20/30 4.76 มี ซิสเท็มมา มิดไนท์ แฟนตาซี   500 95 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract Zinc Lactate   10/20 1.9 มี ซิสเท็มมา มิดไนท์ พาราไดซ์   500 95 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract Zinc Lactate   10/20 1.9 มี เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก ทาร์ทาร์ โพรเทคชั่น   250 52 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 4.16 มี อีโมฟอร์ม   240 98 Sodium chloride Potassium Nitrate   1 ฝาผสมน้ำครึ่งแก้ว บ้วนปากวันละ 1-3 ครั้ง 4.08(10 มล.) ไม่มี   4.น้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็ก กลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก สารออกฤทธิ์ตัวสำคัญจึงเป็น สารฟลูออไรด์ ซึ่งจะไม่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และไม่มีแอลกอฮอล์ผสม และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันแทบไม่มีที่ผสมแต่เพียงฟลูออไรด์อย่างเดียวโดยไม่ผสมสารฆ่าเชื้อร่วมด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้องการแต่ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุอย่างเดียว ก็สามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มสำหรับเด็กได้ ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี และสำหรับเด็กที่ฟันผุมาก ผู้ปกครองอาจเสริมด้วยน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็กหลังการแปรงฟันได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีแล้ว น้ำยาบ้วนปากก็ไม่จำเป็น   ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ฟลูโอคารีล คิดส์ 6+ กรีน (เบนเท็น)   250 59 Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10/60 2.36 ไม่มี ออรัลเมด คิด ทุตตี้ ฟรุตตี้   240 42.50 Sodium fluoride   Sodium monofluorophosphate 1 ฝา 0.04(10 มล.) ไม่มี   5.กลุ่มครอบจักรวาล(Total care) กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า โทเทิล แคร์ คือดูแลหมดทุกสิ่งอย่าง ทั้งฆ่าเชื้อ ทำให้ปากสดชื่น ป้องกันฟันผุ ลดคราบหินปูน และลดเสียวฟัน ซึ่งไม่จำเป็นเท่าไหร่ ควรเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการดีกว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก โทเทิล แคร์   250 61 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride Sodium fluoride ไม่มีคำเตือนว่ามีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 20/30 4.88 มี มายบาซิน โททอล 15   500 99 Thymol Methyl Salicylate Menthol Eucalyptol Zinc lactate Sodium fluoride 15-20/30 3.96 มี ฟลูโอคารีล 40+เนเจอร์แคร์   500 105 Potassium Nitrate Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10-15/60 2.1 มี คอลเกต เซนซิทีฟ โปรรีลีฟ   400 119 ส่วนผสมของอาร์จินีนและแคลเซียมคาร์บอเนต Sodium fluoride 20/30 5.95 มี ลิสเตอรีน (Listerine) โทเทิลแคร์ เซนซิทีฟ   250 83 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Potassium Nitrate Sodium fluoride     20/30 6.64 มี   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ที่มาของน้ำยาบ้วนปาก จากหนังสือพิมพ์ Periodontology 2000 กล่าวไว้ว่าน้ำยาบ้วนปากตัวแรกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการรักษาปัญหากลิ่นปากเรื้อรังที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบ แพทย์ได้แนะนำให้กลั้วปากด้วยปัสสาวะเด็ก ที่กรีก ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ แนะนำให้กลั้วปากด้วยส่วนผสมของเกลือ สารส้มและน้ำส้มสายชู ในคู่มือทันตกรรมที่มีชื่อเสียง ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1530 ได้เขียนถึงสิ่งที่ทำงานใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากในปัจจุบัน โดยระบุว่า “หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กลั้วปากด้วยไวน์หรือเบียร์เพื่อชะล้างสิ่งที่ติดฟันและทำให้ฟันผุ ผลิตกลิ่นเหม็นและทำลายฟัน” ย้อนไปปี ค.ศ. 1895 เมื่อ Joseph and Jordan Lambert นำของเหลวที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่นำมาจากการผ่าตัดและไปผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปาก การผสมผสานของ thymol, menthol, eucalyptol และ methyl salicylate จึงเกิดขึ้น นักธุรกิจคู่นี้ใช้ชื่อน้ำยาบ้วนปากว่า Listerine  และขายให้แก่ทันตแพทย์ในปีนั้นเอง “Listerine ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 เพื่อฆ่าเชื้อโรค มันถูกกลั่นออกมาในรูปแบบของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและรักษาโรคหนองใน” ที่มา  http://therabreaththailand.com/article10.php   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------   แอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปาก เคยมีผู้สงสัยว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งในช่องปากหรือไม่ เพราะโรคมะเร็งในช่องปากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ รองลงมาคือ การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ  ณ ปัจจุบันผลการวิจัยที่ออกมายังไม่สามารถฟันธงได้ เพราะผลการวิจัยก็มีทั้งที่ระบุว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง และระบุว่าไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ในประเทศไทยจึงยังไม่มีการสรุปในเรื่องนี้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมกันได้มีข้อแนะนำว่าสำหรับคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากอยู่แล้ว ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสม   ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปาก จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้ชั่วคราว โดยจะควบคุมกลิ่นปากได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ตอนเช้าควบคุมได้ไปจนถึงเย็น เพราะฉะนั้นอาจใช้น้ำยาบ้วนปากได้เป็นครั้งคราวกรณีที่ต้องการความมั่นใจ แต่ถ้าจะใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ป้องกันไม่ให้มีกลิ่นปาก ควรที่จะป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำความสะอาดลิ้น เพราะฝ้าขาวบนลิ้นเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก ขณะเดียวกันควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน ถ้ามีกลิ่นปากก็ต้องหาสาเหตุว่ามาจากตรงไหน เช่น ฟันผุ เป็นโรคเหงือก โรคระบบทางเดินอาหาร ทอนซิลอักเสบ หรือ ไซนัส ก็ควรแก้ที่ต้นเหตุจะดีกว่า เพราะน้ำยาบ้วนปากแค่ระงับกลิ่นปากชั่วคราวแต่ไม่ได้แก้ที่สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก   น้ำยาบ้วนปากกับเด็ก เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเลยทุกประเภท ไม่ว่าจะมีแอลกอฮอล์หรือไม่มีแอลกอฮอล์ เพราะการควบคุมการกลืนยังไม่ดี ขณะที่บ้วนปากเด็กอาจกลืนกินน้ำยาบ้วนปากลงไปด้วย น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมจึงมีคำเตือนห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ความจริงน้ำยาบ้วนปากของเด็กมักจะใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยผู้ปกครองจะซื้อให้เด็กใช้ในกรณีที่ลูกฟันผุมาก ๆ แต่อยากจะบอกว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้หากให้เด็กแปรงฟันให้สะอาด ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์   ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงนนทินี ตั้งเจริญดี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่มา http://202.183.204.137/km/?p=558

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 ครีมบำรุงผิว

คงจะไม่ผิดกติกาถ้าเราจะเตรียมตัวป้องกันผิวแห้งตึงรับหน้าหนาวปีนี้กันแต่เนิ่นๆ ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอพาคุณลุยน้ำ ฝ่าพายุ ไปเลือกซื้อครีมบำรุงผิวมาทาตัวให้ชิลกันดีกว่า ผิวหนังของเราสูญเสียน้ำมันธรรมชาติซึ่งทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นด้วยหลายสาเหตุ ตั้งแต่การอาบน้ำ การอยู่ในสภาพอากาศที่แห้งและเย็น รวมถึงการมีอายุมากขึ้นด้วย ครีมบำรุงผิวจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญ นอกเหนือจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำการทดสอบครีมบำรุงผิวทั้งหมด 56 ผลิตภัณฑ์ (เป็นตัวอย่างที่เก็บจากตลาดยุโรป) ว่าครีมไหนสร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหนังได้มากกว่ากัน และครีมไหน ตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคได้ดีที่สุด ฉลาดซื้อ เลือกมา 20 ผลิตภัณฑ์จากยี่ห้อที่มีจำหน่ายในบ้านเรา สนนราคาก็มีให้เลือกตั้งแต่ 16 บาท ถึง 653 บาท ต่อปริมาณ 100 มิลลิลิตร ผลที่ได้ช่วยย้ำอีกครั้งว่า สำหรับเครื่องสำอางนั้น ราคาไม่ได้บ่งบอกถึงคุณภาพเสมอไป   ---------------------------------------------------------------------------- การทดสอบครั้งนี้มีอาสาสมัครอายุระหว่าง 18 -60 ปี ที่มีสภาพผิวแห้ง เข้าร่วมทั้งหมด 500 คน (แต่ละผลิตภัณฑ์มีผู้ทดสอบจำนวน 20 คน) การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน การสำรวจความพึงพอใจของอาสาสมัคร หลังจากทาผลิตภัณฑ์ที่ขา วันละครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน การทดสอบโดยห้องปฏิบัติการ ด้วยการใช้เครื่องคอร์นิโอมิเตอร์ วัดปริมาณน้ำในผิวหนังของอาสาสมัคร  หลังการทาผลิตภัณฑ์บนท้องแขน 1 ชั่วโมง / 24 ชั่วโมง /และ 15 วันหลังการใช้ เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการและอาสาสมัคร จะไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นยี่ห้อใด ----------------------------------------------------------------------------   LaRoche-Posay Lipikar milk              277 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      5 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                5 ไม่มันเยิ้ม                                     4   Vichy NutriExtra fluid                         125 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 5 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            5 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     4   Eucerin pH 5 Body lotion 77 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 5 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     4   Garnier Body Intensive 7 days                      77 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     5   Nivéa Smooth Milk Tripple Action 56 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 5 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     4   L'Oréal Nutri Soft 24H 106 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     5   Biotherm Oil Therapy Body Balm      630 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     5   Roc Enydrial mosturizing body lotion 306 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 5 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                3 ไม่มันเยิ้ม                                     4   Neutrogena Deep Moisture 75 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 5 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                3 ไม่มันเยิ้ม                                     3 Dove Body Milk essential 54 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            3 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     3 Nivéa Pure & Natural body milk 68 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            3 ไม่เหนอะหนะ                                3 ไม่มันเยิ้ม                                     4   Yves Rocher Nutrition                                    188 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         5 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            2 ไม่เหนอะหนะ                                3 ไม่มันเยิ้ม                                     4   Nivéa Nourishing body milk 79 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 5 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            2 ไม่เหนอะหนะ                                3 ไม่มันเยิ้ม                                     3   Dove Body Lotion Hydro nourishment 35 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                3 ไม่มันเยิ้ม                                     5   Clarins  Moisture-rich body lotion 653 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            3 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     5   Nivéa Express Moisturizing Lotion 63 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            3 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     3   Carrefour  discount Moisturizing body milk 16 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 3 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            3 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     4   Nivéa Cream 76 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      4 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 3 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            2 ไม่เหนอะหนะ                                3 ไม่มันเยิ้ม                                     3   Johnson's Body Care  moisturizing 24 hours 44 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      3 ผิวนุ่ม                                         4 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                3 ไม่มันเยิ้ม                                     5   The Body Shop White musk 206 บาท / 100 มิลลิลิตร ความชุ่มชื้นของผิวหนัง                      3 ผิวนุ่ม                                         3 ผิวเรียบเนียน                                 4 ซึมลงผิวได้รวดเร็ว                            4 ไม่เหนอะหนะ                                4 ไม่มันเยิ้ม                                     4

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 มาสคารา

ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลการทดสอบเปรียบเทียบมาสคารา ที่องค์กรผู้บริโภคในยุโรปร่วมกับองค์กรทดสอบสากล ICRT ทำไว้ มาฝากสมาชิกสาวน้อยสาวใหญ่ของเรา มีทั้งยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทยและที่ยังไม่ได้เข้ามาทำตลาด แต่รู้ไว้ไม่เสียหลายเพราะตลาดเครื่องสำอางบ้านเรานั้นมียี่ห้อใหม่ๆ เข้ามาตลอดเวลา หลายคนอาจจะอยากรู้ผลทดสอบของเครื่องสำอางจากเกาหลี เลยต้องบอกไว้ก่อนว่าเงินถึงเมื่อไร (ด้วยเงินจากค่าสมาชิกรายปีของเรา) ฉลาดซื้อจะจัดส่งตัวอย่างไปร่วมทดสอบกับเขาทันที มาสคารา ทั้ง 11 ยี่ห้อ ได้คะแนนรวมไม่ต่างกันมากนัก แต่อาจจะได้คะแนนในแต่ละประเภทแตกต่างกันเล็กน้อย แล้วแต่ว่าสาวๆ คนไหนจะให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในด้านใดมากกว่ากัน บางคนชอบให้ขนตาหนา บางคนเน้นขนตายาว บางคนต้องการความมั่นใจว่ากันน้ำได้ดี หรือบางคนต้องการผลิตภัณฑ์ที่ล้างออกง่ายไม่เสียเวลา เป็นต้น ใครชอบแบบไหนดูได้ในผลทดสอบหน้าถัดไป การทดสอบครั้งนี้เขาทดสอบหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และสารเคมีอันตรายหรือโลหะหนักด้วย ทุกยี่ห้อปลอดจุลินทรีย์ ยกเว้น Rimmel และทุกยี่ห้อปลอดสารเคมีอันตรายหรือโลหะหนักยกเว้น Lumene   H&M Full Lashes  12ml ราคา 120 บาท (10 บาท/ml) ขนตาหนา                                  3 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  3 ใช้ง่าย/สะดวก                            3 ล้างออกง่าย                               4           Gosh Show Me Volume  12ml ราคา 290 บาท (24บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  3 ใช้ง่าย/สะดวก                            4 ล้างออกง่าย                               4         Maybelline Jade The Colossal Volum' Express Mascara  10ml ราคา 270 บาท (27 บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    5 กันน้ำได้ดี                                  2 ใช้ง่าย/สะดวก                            4 ล้างออกง่าย                               4     Rimmel Max BoldCurves Extreme Volume & Lift Mascara  8ml ราคา 260 บาท (32.5บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  3 ใช้ง่าย/สะดวก                            3 ล้างออกง่าย                               4       MaxFactor False Lash Effect Fusion Volume & Length  13ml ราคา 465 บาท (35.7บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ขนตาดูเป็นธรรมชาติ                   4 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  3 ใช้ง่าย/สะดวก                            3 ล้างออกง่าย                               4       Lumene Blueberry Volume Mascara  7ml ราคา 315 บาท (45บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  4 ใช้ง่าย/สะดวก                            4 ล้างออกง่าย                               3       L'Oréal Volume Million Lashes  9ml ราคา 425 บาท (47.2บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  3 ใช้ง่าย/สะดวก                            4 ล้างออกง่าย                               4       Nilens jord Jumbo Volume Mascara  13ml ราคา 620 บาท (47.6 บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ดูเป็นธรรมชาติ                           3 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  3 ใช้ง่าย/สะดวก                            3 ล้างออกง่าย                               4       La Roche-Posay Respectissime Volumizing Mascara Waterproof 8.3ml ราคา 520 บาท (62.6บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  4 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  4 ใช้ง่าย/สะดวก                            4 ล้างออกง่าย                               4       Dr. Hauschka Volume Mascara            6ml ราคา 945 บาท (157.5บาท /ml) ขนตาหนา                                  3 ขนตายาว                                  3 ขนตางอน                                  3 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    3 กันน้ำได้ดี                                  2 ใช้ง่าย/สะดวก                            4 ล้างออกง่าย                               4         Helena Rubinstein Lash Queen Mascara Waterproof  7ml ราคา 1,400 บาท (200บาท/ml) ขนตาหนา                                  4 ขนตายาว                                  4 ขนตางอน                                  3 ดูเป็นธรรมชาติ                           4 สวยนาน                                    4 กันน้ำได้ดี                                  5 ใช้ง่าย/สะดวก                            4 ล้างออกง่าย                               4       ตำนาน “มาสคารา” ยุคอียิปต์ มาสคาราพิทักษ์วิญญาณ คนอียิปต์โบราณ (ช่วง 3,400 – 30 ก่อนคริสตกาล) ทั้งชายและหญิงจะเขียนตาด้วยถ่านและใช้ “มาสคารา” เพื่อทำให้ดวงตาดูลึกขึ้น ด้วยความเชื่อที่ว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของวิญญาณมนุษย์ เพื่อไม่ให้วิญญาณชั่วร้ายแทรกซึมเข้ามาได้โดยง่าย จึงต้องซ่อนดวงตาไว้ให้ดี  คนในยุคนั้นใช้ผงถ่าน เมล็ดอัลมอนด์ มูลจระเข้ น้ำ และน้ำผึ้ง มาผสมเป็น “มาสคารา” และใช้กระดูกสัตว์หรืองาช้างเป็นแปรงปัด บางตำราอธิบายว่า เนื่องจากคนอียิปต์โบราณถือว่าดวงตาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม้แต่ รา เทพแห่งดวงอาทิตย์ก็ยังถูกแทนสัญลักษณ์ด้วยรูปดวงตา การเขียนตาให้ดำขึ้น จึงหมายถึงการดึงดูดความสนใจขององค์เทพมาสู่ตนเองได้มากขึ้นด้วย ยุคโรมัน มาสคารารับรองพรหมจรรย์ เมื่อ 100 ปีก่อนคริสตกาล “มาสคารา” เคยทำหน้าที่ๆ สำคัญกว่าเครื่องสำอางมาแล้ว คนโรมันเชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์มากเกินไป เป็นสาเหตุให้ขนตาหลุดร่วง ดังนั้นหญิงสาวจึงต้องพิสูจน์พรหมจรรย์หรือความซื่อสัตย์ต่อสามี (ที่ไปรบที่อื่นเป็นเวลานาน) ด้วยการมีขนตาที่หนาและดำขลับนั่นเอง “มาสคารา” สูตรโรมันประกอบด้วยกลีบกุหลาบ เมล็ดอินทผลัม เขม่า และพลวง ยุควิคทอเรียน มาสคาราเพื่อลุคสวยสมบูรณ์แบบ ม าสคารากลับมาอินเทรนด์อีกครั้งในยุควิคทอเรียน (ค.ศ. 1830 – 1839) เมื่อสาวๆ หันมานิยมการมีขนตาที่ดูดำและหนาเป็นแพ กว่าออกจากบ้านได้ แต่ละนางจะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการทำสวย เดาว่าพวกนางน่าจะมีเวลาว่างมากทีเดียว เพราะมีเวลาผสมเครื่องสำอางเอาไว้ใช้เองด้วย “มาสคารา” สูตรวิคทอเรีย ทำจากการนำผงถ่านลงไปเคี่ยวรวมกับลูกอัลเดอร์เบอรี่ ยุคของปิโตรเลียมเจลลี ปิโตรเลียมเจลลีได้รับการจดทะเบียนในปีค.ศ. 1872 หลายปีต่อมามันจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของมาสคาราที่เราใช้กันในปัจจุบัน ยูจีน ริมเมล ก่อตั้งบริษัทเมย์บิลีนขึ้นในปี 1915 เครื่องสำอางชิ้นแรกที่บริษัทนี้ผลิตออกจำหน่ายในอีก 2 ปีต่อมา คือมาสคารา นั่นเอง มาสคารายุคแรกเกิดจากการผสมผงถ่านกับปิโตรเลียมเจลลี และยังไม่มีใครสามารถคิดค้นมาสคาราชนิดกันน้ำที่ปลอดภัยพอสำหรับผู้บริโภคได้ก่อนช่วงปีค.ศ. 1960 - 1969 ถ้าสาวๆ ต้องการมาสคาราที่ติดทนนาน พวกเธอต้องใช้มาสคาราผสมน้ำมันสนซึ่งทั้งเหม็นและทั้งเสี่ยงต่ออาการแพ้ด้วย ------------------------------------------------------------------------------- จุลินทรีย์ในมาสคารา เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดวงตา เช่น สเตรปโตค็อกคัส และ สตาฟิโลค็อกคัส มีโอกาสที่จะติดอยู่กับแปรงปัดและปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์ของมาสคาราได้ เราจึงไม่ควรใช้มาสคาราร่วมกับใคร และไม่ควรเก็บไว้นานเกินไปด้วย โดยทั่วไปผู้ผลิตจะใส่สารกันเสีย/กันเชื้อราในผลิตภัณฑ์ แต่สารเหล่านี้มีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น ------------------------------------------------------------------------------- นาทีนี้มาสคาราถูกสังคมคาดหวังไว้สูง ถ้าอยากโด่งดังในสังเวียนของมาสคาราแล้วละก็คุณจะต้องมาพร้อมคำสัญญาว่าจะทำให้ผู้ใช้สร้างความตกตะลึงให้กับฝูงชนได้ด้วยขนตายาวเฟื้อยและงอนงามในสามโลก ที่ผ่านมาจึงมีโฆษณามาสคาราหลายชิ้นถูกองค์กร Advertising Standards Agency ของอังกฤษสั่งหยุดเผยแพร่ เนื่องจากนำเสนอขนตานางแบบที่ดู ยาว หนาและงอนงามด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล จนเข้าข่ายเกินจริงไปหน่อย ตั้งแต่โฆษณาของ ลอรีอัล ในปี 2007 ที่มีเพเนโลปี ครูซ เป็นพรีเซ็นเตอร์ หรือโฆษณาของริมเมล ในปีเดียวกันที่มี เคท มอส เป็นนางแบบ ต่อมาในปี 2010 โฆษณาของริมเมล ที่มีพรีเซ็นเตอร์เป็นจอร์เจีย เมย์ แจกเกอร์ ก็ถูกแบนอีก เช่นเดียวกับโฆษณาของคัฟเวอร์ เกิร์ล ที่มีนิโคล ฟอกซ์ ผู้ชนะจากรายการยอดนางแบบอเมริกาเป็นพรีเซ็นเตอร์เมื่อปีที่แล้ว ------------------------------------------------------------------------------- งานวิจัยของบริษัทพร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิ้ล ระบุว่า ร้อยละ 40 ของคนที่ใช้มาสคารา ต้องการให้ขนตาดูหนาขึ้น จึงเป็นกลุ่มที่ใช้มาสคาราเปลืองมากๆ  โดยทั่วไปผู้หญิงจะปัดขนตาแต่ละข้างประมาณ 6 ครั้ง แต่กลุ่มนี้จะปัดถึง 30 – 40 ครั้งเพื่อให้ได้ขนตาหนาแน่นสมใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 ตามไปดู ยุทธการ Down size “การลดขนาดบรรจุภัณฑ์”

  ฉลาดซื้อฉบับนี้เราไปเดินช้อปปิ้งในห้างค้าปลีกยักษ์และร้านค้าปลีกย่อยกันอย่างขะมักเขม้นตามแรงผลักแรงเชียร์จากคุณผู้อ่านที่น่ารักของเรา แล้วก็พบว่า ผู้บริโภคเรากำลังถูกเล่นกลด้วยยุทธการที่เรียกว่า  Down size หรือ “การลดขนาดบรรจุภัณฑ์” ในสินค้าหลายประเภทตามที่ผู้อ่านของเราประสานเสียงกันมา ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่งผู้ผลิตเองก็กำลังประสบปัญหาต้นทุนราคาสินค้าพุ่ง แต่ตัวเองกลับขายแบบขึ้นราคาตรงๆ ไม่ได้ เลยต้องหันมาเล่นวิธีนี้กันเกลื่อนเมือง   ตัวอย่างที่ 1 ณ ซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า เห็นป้ายที่ชั้นวางเขียนว่า ลักส์ครีมอาบน้ำโกล์ว...220 ml. ราคา 66.50 บาท พิจารณาดูจากสูตรอื่นๆ ในยี่ห้อเดียวกันที่วางเรียงเป็นตับก็พบว่า ราคาเดียวกัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือ ลักส์ครีมอาบน้ำโกล์วอิ้ง ทัช นั้นที่ขวดเขียนว่า 200 ml. ไม่ใช่ 220 ตามที่ป้ายบอก พอเหลือบมองที่วันผลิตจึงเห็นว่า เป็นเดือน 11 ปี 2011 แต่ที่ป้ายตรงชั้นวางเป็นวันเวลาที่ระบุไว้ตั้งแต่ วันที่ 24 เดือน 8 ปี 2010   คราวนี้มือก็อยู่ไม่สุขจับขวดอื่นๆ มาส่องวันผลิตและน้ำหนัก สิ่งที่พบคือ ส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นขนาด 200 ml. หมดแล้ว มีเหลืออยู่สูตรเดียวที่มีน้ำหนัก 220 ml. คือ ลักส์ เวลเวท ทัช ซึ่งระบุวันผลิต เดือน 9 ปี 2011 ลักส์ เวลเวท ทัชจึงเป็นสูตรเดียวที่ราคาและน้ำหนักตรงกับป้ายแสดงราคาผลิตภัณฑ์ของห้างสรรพสินค้า   ตัวอย่างที่ 2 ณ ร้านสะดวกซื้อ ป้ายแสดงราคาสินค้าระบุ น้ำยาล้างจานไลปอนเอฟ ขนาด 170 ml. ราคา 11 บาท แต่เมื่อหยิบขวดน้ำยาล้างจานมาพิจารณาจริงๆ น้ำหนักที่ขวดระบุไว้ 160 ml. (เมื่อจ่ายเงิน ราคา 11 บาทซะงั้น) แล้วอีก 10 ml. ของฉันหายไปไหน   จริงๆ ปรากฏการณ์สินค้าน้ำหนักหายไปจากเดิมราว 5-10 % ในผลิตภัณฑ์ประเภทใช้แล้วหมดไปอย่างสบู่เหลว น้ำยาล้างจาน แชมพูสระผม เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่ปี 2554 แล้ว   “สมชาย พรรัตนเจริญ” นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย ได้เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า ขณะนี้ผู้ผลิตแชมพูสระผม ได้แจ้งลดขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้าลง จากขวดขนาด 80-85 มิลลิลิตร ลดเหลือ 70 มิลลิลิตร กาแฟซองเดิมห่อละ 30 ซอง ลดลงเหลือ 27-28 ซอง ส่วนปลากระป๋องแจ้งราคาขายส่งเพิ่มขึ้นลังละ 50 บาท เป็นต้น ทำให้ตลาดขายปลีกเวลานี้ปลากระป๋องปรับขึ้นกระป๋องละ 3 บาท นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตบางรายใช้วิธีปรับลดขนาดบรรจุและเปลี่ยนหีบห่อสินค้าให้เล็กลงแต่คงราคาขายเดิมเช่น กาแฟซอง เดิม 1 แพ็กจะมี 30 ซอง ก็จะเหลือ 27-28 ซอง เป็นต้น หรืออย่างสินค้าชำระล้าง สินค้าใช้แล้วหมดไป เช่น แชมพูสระผม ครีมนวดผม ยาสีฟัน ที่ลดปริมาณบรรจุ 5-10% แต่ขนาดกล่องเท่าเดิม ที่มา  http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000048921เวลา 14 ธันวาคม 2554 16:42 น.   นวัตกรรม หรือ ปรับราคา การลดขนาดของผลิตภัณฑ์ลงสามารถช่วยได้มากในแง่จิตวิทยาคือ ผู้ซื้อจะไม่รู้สึกว่าสินค้าราคาแพงขึ้น เพราะยังสามารถซื้อหาได้ในราคาเท่าเดิม รูปทรงผลิตภัณฑ์ก็เหมือนเดิม แต่หากวิธีนี้เกิดไม่เวิร์ก ผู้บริโภคเริ่มจับได้ อีกวิธีที่ผู้ผลิตนิยมนำมาใช้คือ การปรับสูตร  เปลี่ยนชื่อรุ่น เพื่อตั้งราคาขายใหม่ที่ดีกว่าเดิม หรือราคาเดิมแต่ปริมาณลดลง ไปจนถึงการถอดโปรโมชั่น เพื่อลดรายจ่ายด้านการตลาดลง อันที่จริงภาครัฐก็ควบคุมกำกับในเรื่องราคาสินค้าขายปลีก โดยบอกว่า ห้ามปรับราคา แต่ไม่ได้ห้ามลดขนาดสินค้าผลก็คือ ผู้ผลิตต้องหาทางออกด้วยการปรับลดขนาดกันยกใหญ่ ต่อไปเราก็คงได้เห็นรูปทรงและสินค้าสูตรใหม่ๆ ทยอยกันออกมาเรื่อยๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วอาจไม่ได้มีอะไรใหม่เลย   ตัวอย่างขนาดที่หลากหลายของแชมพูสระผม จากเดิมที่ขนาด 200-220 ml. ผลิตภัณฑ์แชมพู วันผลิต น้ำหนัก(ml.) ราคาต่อหน่วยบรรจุ(บาท) ราคาต่อ 1 ml.(บาท) ซันซิล ดรีม ซอฟท์แอนด์สมูท 13/12/2011 180 60.75 0.33 ซันซิล เพอร์เฟค สเตรท 02/11/2011 160     โดฟ แดเมจ เธอราพี อินเทนซ์ รีแพร์ 01/12/2011 175 69 0.39 แพนทีน โปรวี ลอง แบลค 20/01/2012 170 63.75 0.37 เอเชียนช์ ชายน์ เธอราพี 17/08/2011 220 118 0.53 เฮดแอนด์โชว์เดอร์ คลูเมนทอล 29/10/2011 180 75 0.41 รีจอยส์ ริช 11/09/2011 180 53.75 0.29 ราคาสำรวจ ณ วันที่ 8 ก.พ.2555 จับตาสินค้าสองมาตรฐาน นอกจากยุทธการ ดาวน์ไซส์ แบบหนีตายแล้ว ยังมีรายการ ดาวน์ไซส์ แบบน่าเกลียดด้วย กล่าวคือ ผู้ผลิตสินค้าได้ผลิตสินค้า 2 มาตรฐาน โดยการผลิตสินค้าในบรรจุภัณฑ์ขนาดเท่าเดิม เรียกว่ามองเผินๆ จะไม่เห็นความแตกต่าง แต่สิ่งที่ต่างคือ ปริมาณในบรรจุภัณฑ์กลับน้อยลง  สำหรับขายในร้านค้าปลีกขนาดยักษ์หรือโมเดิร์นเทรด ส่วนน้ำหนักขนาดเดิมจะส่งไปขายในร้านค้าแบบดั้งเดิม(โชห่วย) ทำให้เกิดความแตกต่างในด้านกำไรและความคุ้มค่าในการซื้อ เพราะผู้บริโภคจะเข้าใจว่า สินค้าหน้าตาเดียวกัน แต่ราคาในห้างค้าปลีกถูกกว่ามาก ดูที่ภาพประกอบ ภาพแพนทีนโปรวี(สีม่วง) ขนาด 180 ml.   วันผลิต 28/07/2011 ภาพแพนทีโปรวี(สีม่วง) ขนาด 160 ml.   วันผลิต 20/07/2011 ภาพข้าวตัง เจ้าสัว ขนาด 125 กรัม   วันผลิต 16/09/2011 ภาพข้าวตัง เจ้าสัว ขนาด 105 กรัม เชื่อถือได้นานกว่า 50 ปี   วันผลิต 07/09/2011 ภาพครีมเทียม สีม่วง ขนาด 200 กรัม ภาพครีมเทียม ขนาด 150 กรัม ภาพข้าวมาบุญครอง ถุงแดง   วันผลิต 16/09/54 ราคาข้างถุง 240 บาท ภาพข้าวมาบุญครอง ถุงเขียว   วันผลิต 11/09/54 ราคาข้างถุง 185 บาท     ด้านซ้ายเป็นตัวอย่างสินค้าในร้านค้าแบบดั้งเดิม   ส่วนด้านขวาเป็นสินค้าที่วางในห้างค้าปลีกยักษ์   การผลิตสินค้าสองมาตรฐานลักษณะนี้ แน่นอนว่าผู้ที่เสียเปรียบเห็นๆ ก็คือ ผู้บริโภค รวมทั้งร้านค้ารายย่อยที่อาจถูกมองว่าขายของในราคาแพง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วไม่ได้ขายแพง สินค้าที่วางในห้างค้าปลีกยักษ์ต่างหาก ที่น้ำหนักสินค้าหดหายไป อย่างไรก็ตาม มีการมองว่า ดำเนินการดังกล่าวของผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตสินค้าต่างๆ อาจเป็นเพราะได้รับการกดดันจากทางโมเดิร์นเทรด ซึ่งต้องมีการต่อรองค่าใช้จ่ายต่างๆ กรณีที่จะนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด ก็จะเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นหรือต้นทุนแอบแฝงของผู้ประกอบการ โดยอาจจะส่งผลให้มีการผลิตสินค้าสองแบบ ต่างจากร้านโชห่วยที่ไม่มีรายจ่ายหรือต้นทุนที่แอบแฝงในลักษณะเช่นนี้ ดังนั้นการผลิตสินค้าป้อนให้กับร้านโชห่วยก็จะเป็นไปตามปกติ     ฉลาดซื้อแนะ 1.แน่นอนว่าเราต้องสนับสนุนร้านค้ารายย่อย เพื่อเป็นการถ่วงดุลการเอาเปรียบจากห้างค้าปลีกขนาดยักษ์ 2.ถ้าพบสินค้าไม่ตรงราคาป้าย โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักที่หดหายไป รีบแจ้งผู้ประกอบการให้ปรับเปลี่ยนรายการสินค้าให้ถูกตรง และถ้าคุณรู้สึกอยากทดลองใช้สิทธิดูบ้าง ก็ขอให้ห้างค้าปลีกชดเชยค่าเสียหายจากน้ำหนักของสินค้าที่หายไปด้วย 3.ในสินค้าประเภทแชมพูสระผม น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ส่วนผสมหลักๆ นั้นไม่ต่างกัน สิ่งที่ต่างคือ การโฆษณา ยิ่งโฆษณาเยอะต้นทุนยิ่งสูง ราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้นเลือกที่คุณใช้แล้วรู้สึกว่าดี และราคาไม่แพง ย่อมจะดีกว่าในภาวะที่ทุกคนต้องประหยัดรายจ่ายมากขึ้น 4.ผลิตภัณฑ์หลายชนิด การซื้อในขนาดบรรจุที่ใหญ่จะช่วยให้ประหยัดได้เพิ่มขึ้น แต่ไม่แนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เพราะยิ่งซื้อมาสะสมมากยิ่งมีปัญหา เช่น น้ำมันพืช เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ช้อนตวงยา อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

  การกินยาสำหรับเด็กๆ อาจเป็นเรื่องยากและลำบากใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่ “ยาน้ำ” จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็กๆ หรือคนที่ไม่ชอบกินยาเม็ดหรือแคปซูล ซึ่งการกินยาน้ำแม้จะดูเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็ข้อพึ่งระวัง โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามอย่าง “ช้อนและถ้วยตวงยา” ด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และผู้ผลิตยาที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด จึงทำให้ลักษณะของช้อนและถ้วยตวงยาก็มีความหลากหลายทั้ง ขนาด รูปทรง วัสดุ ซึ่งความแตกต่างทั้งหมดของช้อนและถ้วยตวงยาที่กล่าวมาอาจมีผลต่อปริมาณของยาที่รับประทาน และอาจกลายเป็นผลเสียกับร่างกาย ฉลาดซื้อ จึงอยากชวนทุกคนใส่ใจและให้ความสำคัญกับช้อนและถ้วยตวงยาน้ำมากขึ้น ด้วยผลทดสอบความจุของช้อนและถ้วยตวงยาพลาสติก โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม มาดูกันซิว่าช้อนและถ้วยตวงยาที่เราใช้กันอยู่ได้มาตรฐานหรือเปล่า      ตารางแสดงผลทดสอบความจุของช้อนตวงยาพลาสติก ที่ปริมาตร 5 มิลลิลิตร ในยาน้ำสำหรับเด็ก      เครื่องหมายถูก = มี     เครื่องหมาย x = ไม่มี ผลทดสอบโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงครามหมายเหตุ : * ทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่มีจำหน่ายในร้านยา จังหวัดสมุทรสงคราม **  ตามเกณฑ์มาตรฐานช้อนตวงยาพลาสติกของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ มอก. 1411-2540 ***ผลทดสอบปริมาตรถ้วยตวงยา Dimetapp ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน เนื่องจากตัวอย่างถ้วยยาพลาสติกของตัวอย่าง lot การผลิตเดียวกัน มีความจุแตกต่างกันมาก มีทั้งผ่านมาตรฐาน และไม่ผ่านมาตรฐาน   สรุปผลทดสอบ - ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกที่นำมาทดสอบ มี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ รูปแบบช้อน และรูปแบบถ้วย ซึ่ง ช้อนยาตวงพลาสติกในรูปแบบถ้วยยานั้น ไม่เข้ามาตรฐานถ้วยตวงยาพลาสติกของ มอก. เนื่องจากมีปริมาตรสุทธิ ไม่ถึง 30 มิลลิลิตร ในการทดสอบนี้จึงใช้เกณฑ์มาตรฐานความจุของช้อนตวงยาพลาสติกโดยไม่สนใจลักษณะทางกายภาพ (คำนิยามของช้อนตวงยาพลาสติกของ มอก. หมายถึง ช้อนพลาสติกมีด้ามจับ ใช้สำหรับตวงยาน้ำเพื่อรับประทาน) - ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของช้อนตวงยาพลาสติก  มอก. ที่ 1411-2540 ระบุ ให้ช้อนตวงยาพลาสติกขนาด 1 ช้อนชา มีความจุ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร (มิลลิลิตร หรือซี.ซี.) โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ ± 0.25 ลูกบาศก์เซนติเมตร นั่นเท่ากับว่า ช้อนตวงยา 1 ช้อนชา มีความจุอยู่ระหว่าง 4.75 – 5.25 มิลลิลิตร - ช้อนตวงยาพลาสติกส่วนใหญ่ มีปริมาตรความจุ เกินกว่า 5 มิลลิลิตร ยกเว้น ช้อนตวงยาของยาที่มีช่วงการรักษาแคบ ที่มีปริมาตรความจุสุดท้ายน้อยกว่า 5 มิลลิลิตร - ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกที่ทำการทดสอบมีทั้งหมด 17 ตัวอย่าง แบ่งเป็นรูปแบบช้อนยา 12 ตัวอย่าง และรูปแบบถ้วยยาจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยการทดสอบ ผู้ทดสอบจะไม่ทราบว่า ช้อนมีเลขรหัสการผลิตหรือไม่อย่างไร ผู้แปรผลสุดท้ายจะทราบรายละเอียดทั้งหมดของช้อน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างในรูปแบบช้อนยา ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 3 ตัวอย่าง และตัวอย่างในรูปแบบถ้วยยาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 ตัวอย่าง โดยในจำนวนตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐานทั้งหมด มีเพียงตัวอย่างเดียวที่ไม่ระบุหมายเลขการผลิตของช้อนตวงยาพลาสติก (ช้อนตวงยาพลาสติกในผลิตภัณฑ์ BEE-COL ซึ่งเป็นตำรับยาบรรเทาหวัดสูตรผสมของ ห้างหุ่นส่วนจำกัด โบร์วู๊ด ฟาร์มาซูติคอล ส่วนตัวอย่างอื่นๆ ที่ผ่านมาตรฐาน ได้แก่ ช้อนตวงยาพลาสติกของผลิตภัณฑ์ PARACAP ของบริษัท ยูเมด้า จำกัด มีความจุ 5.13 มิลลิลิตร, DENAMOL 120 ของบริษัท ที.โอ. ฟาร์ม่า จำกัด มีความจุ 5.08 มิลลิลิตร, Tempra Kids ของ PT Taisho Pharmaceutical Indonesia Tbk. ผลิตให้กับ Taisho Pharmaceuticsl Co., Ltd. นำเข้าโดย DKSH (Thailand) Limited และ Calpol TM ของ SmithKline Beecham, Rizel, Philippines. นำเข้าโดย GlaxoSmithKline (Thailand) Limited. ที่มี Paracetamol 120 มิลลิกรัม เป็นส่วนประกอบ) - อย่างไรก็ตามมีตัวอย่าง ที่ไม่สามารถประเมินได้ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจาก ช้อนตวงยาพลาสติกที่นำมาทดสอบ ที่เก็บตัวอย่างจากรุ่นการผลิตเดียวกัน มีความจุสุทธิที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ (ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกในผลิตภัณฑ์ Dimetapp  ของบริษัทอินเตอร์ไทย ฟาร์มาซูติเคิ้ล แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นตำรับยาผสม ประกอบด้วย Brompheniramine Maleate 2mg และ Phenylephrine HCl 5 mg) - เป็นที่น่าสังเกต บริษัทผู้ผลิตยาส่วนใหญ่ ใช้ช้อนตวงยาพลาสติกเป็นของตนเอง โดยระบุชื่อผู้ผลิตหรือชื่อของผลิตภัณฑ์ไว้ที่ช้อนตวงยาพลาสติก อาทิเช่น บริเวณด้ามจับของช้อน พื้นที่ผิวด้านในของตัวช้อน ขอบบนของถ้วย และก้นถ้วย -BEE-COL มีส่วนผสมของยาแก้ปวด 2 ชนิด คือ N-Acetyl-p-aminophenol และ Salicylamide ซึ่งคือ Salicylic acid ที่มีคำสั่งกระทรวงที่ 193/2536 ให้ถอนออกจากตำรับ -ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) และ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) เป็นตัวยาที่นิยมผลิตเป็นยาน้ำลดไข้สำหรับเด็ก โดยมักจะต้องรับประทานยาทุก 4 – 6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเกิน 5 วัน นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำว่าไม่ควรรับประทานยา 2 ชนิดนี้พร้อมกัน เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ----------------------------------------------------------------------------------------   ลักษณะทั่วไปของช้อนและถ้วยตวงยา -ช้อนหรือถ้วยตวงยาต้องเป็นสีขาว มีลักษณะโปร่งใสหรือโปร่งแสง-พื้นผิวต้องเรียบ-ขอบของช้อนหรือถ้วยต้องมีลักษณะโค้งมน ไม่มีมุมหรือส่วนที่เป็นคม-ช้อนหรือถ้วยตวงยาต้องสามารถตั้งวางได้โดยไม่ทำให้ยาหก-ที่ช้อนหรือถ้วยตวงยาควรมีอักษรหรือเครื่องหมายแจ้งปริมาณ เช่น “1” หรือ “1 ช้อนชา”   การรับประทานยาโดยใช้ช้อนหรือถ้วยตวงยานั้น มีความจำเป็นอย่างมากับยาชนิดที่เป็นน้ำ ซึ่งยาน้ำมักจะเป็นยาสำหรับเด็กเพราะรับประทานง่ายกว่ายาชนิดเม็ด แถมเดี๋ยวยาน้ำรักษาโรคต่างๆ ก็นิยมผลิตออกมาให้มีรสหวานเพื่อให้เด็กรับประทานได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเวลาที่เด็กต้องรับประทานยา เด็กไม่ได้เป็นคนที่ตัดสินใจเลือกซื้อหรือเลือกว่าจะรับประทานยาชนิดไหน แต่เป็นหน้าที่ของพ่อ – แม่ ผู้ปกครองที่จะต้องเป็นคนเลือกว่าจะให้ลูกรับประทานยาอะไร จะพาไปหาหมอหรือซื้อยามารับประทานเอง การให้เด็กรับประทานยาเป็นเรื่องที่ต้องให้ความระมัดระวัง เพราะแม้แต่ผู้ใหญ่เองการรับประทานยาอย่างขาดความเข้าใจ ไม่ตรงกับโรค หรือรับประทานในปริมาณที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งหากเป็นเด็กผลเสียก็จะยิ่งมากกว่า   สิ่งที่ควรรู้เรื่องการใช้ยาสำหรับเด็ก 1.ร่างกายของเด็กกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน ระบบการทำงานต่างๆ ยังด้อยกว่าผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดูดซึมยาไปใช้หรือการการเผาผลาญหรือการขับยาส่วนเกินออกจากร่างกายยังทำได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ การกำหนดปริมาณสำหรับเด็กจึงมีความสำคัญมาก 2.ก่อนที่จะให้เด็กรับประทานยาใดๆ ต้องอ่านฉลากยา ศึกษาข้อควรระวังหรือคำเตือน ปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละวัย รวมถึงอาการผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นพร้อมวิธีรักษาหรือแก้ไข 3.การให้เด็กรับประทานยาควรใช้อุปกรณ์ตวงยาที่มาพร้อมกับยา หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับตวงยาโดยเฉพาะ ควรหลีกเลี่ยงช้อนทานข้าวหรือช้อนชงกาแฟที่ใช้อยู่ เพราะอาจทำให้ปริมาณยาคลาดเคลื่อนได้ 4.ไม่ควรใส่ยาลงในขวดนมหรือใส่ไปพร้อมกับอาหารที่เด็กรับประทานเป็นประจำ เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหารเหล่านั้นอีก ถ้าอยากให้ยามีรสหวานเพื่อให้เด็กรับประทานได้ง่ายขึ้น สามารถเติมน้ำเชื่อมเพิ่มลงไปได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 128 ถอนทะเบียนยา...ความปลอดภัยที่ยังมีช่องโหว่

  เพราะร่างกายของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดูแลรักษา ยิ่งในเวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วยตัวช่วยสำคัญที่จะมาทำหน้าที่รักษาบรรเทาโรคภัยต่างๆ คงหนีไม่พ้น "ยา" 1 ในปัจจัย 4 ที่แม้หลายๆ คนจะแอบภาวนาว่าถ้าเป็นไปได้ในชีวิตนี้ก็ไม่อยากพึ่งพาหรือฝากความหวังไว้กับการกินยา เพราะว่าไม่อยากป่วย แต่ในยามที่โรคภัยไข้เจ็บถามหา ยาก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเพราะคงไม่มีใครอยากจะต้องทนอยู่กับอาการเจ็บป่วยเป็นเวลานานๆ   เมื่อยารักษาโรค อาจกลายเป็นยาพิษ  แม้หน้าที่ของยา คือการบรรเทารักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งนี่ก็คือหน้าที่ที่ถือเป็นคุณประโยชน์ของยา แต่ว่าบางครั้งการใช้ยาก็อาจกลายเป็นโทษได้เหมือนกัน ทั้งจากการใช้ยาไม่ถูกกับโรค การแพ้ยา การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป การใช้ยาที่ไม่ได้คุณภาพหรือยาปลอม ซึ่งปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเรื่องของการใช้ยาเป็นเรื่องที่พูดได้เลยว่าเกี่ยวโยงกับความเป็นความตาย ยาดีก็ช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัยต่างๆ แต่ถ้ายาไม่ดีหรือใช้ยาผิดวิธี ก็อาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิต   การจัดการยาก่อนถึงมือผู้บริโภค การควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัยของยา เป็นหน้าที่ที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. จะคอยดูตรวจสอบและให้ข้อมูลกับประชาชน ในเรื่องของยาที่อาจเป็นอันตราย ซึ่ง อย.เองก็มีหน้าที่ทั้งการพิจารณาตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตในการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า ยาชนิดต่างๆ ก่อนที่จะนำมาวางขายหรือใช้ในโรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาลต่างๆ รวมถึงตามร้านขายยาทั่วไป เพื่อความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคหรือผู้ป่วยที่ต้องใช้ตัวยานั้นๆ ในการรักษาโรค ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อ อย.มีอำนาจในการออกใบอนุญาตให้กับยาชนิดต่างๆ การเพิกถอนทะเบียนยาที่เห็นว่าเมื่อนำมาใช้แล้วอาจเป็นอันตรายก็เป็นหน้าที่ของ อย. ซึ่ง อย. จะพิจารณาทบทวนเพื่อทำการเพิกถอนทะเบียนยานั้นๆ พร้อมไปกับการสร้างระบบมาตรฐานยาคุณภาพให้เกิดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเมื่อ อย. ได้มีการสั่งเพิกยาถอนยาตัวใดก็ตาม อย.ก็จะประกาศรายชื่อยาเหล่านั้นเผยแพร่สู่สาธารณะ หน้าที่ของผู้บริโภคจึงต้องคอยติดตามข่าวสาร เป็นการสร้างข้อมูลเรื่องยาให้กับตัวเอง   การเพิกถอนทะเบียนยา การเพิกถอนทะเบียนยา ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นผู้ออกคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่เห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หรือเป็นยาไม่มีคุณภาพไม่มีสรรพคุณตรงตามที่อ้าง หรือเมื่อใช้แล้วส่งผลร้ายกับร่างกายมากกว่าให้ผลในทางรักษาโรค หรือมีตัวยาใหม่ที่ให้ผลดีกว่า คณะกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ สำนักคณะกรรมการอาหารและยา ก็จะนำตัวยาที่เห็นว่ามีปัญหาเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม จากนั้นเมื่อที่ประชุมเห็นชอบให้มีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนยาตัวดังกล่าว ก็จะมีการออกเป็นคำสั่งกระทรวงให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นคนลงนามรับรอง ก่อนจะนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เป็นอันครบถ้วนกระบวนความว่าตัวยานั้นๆ ได้กลายเป็นยาที่ถูกถอนทะเบียนออกจากระบบยาในประเทศ ห้ามขาย ห้ามผลิต ห้ามใช้ ใครฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย  แม้ขั้นตอนการถอนทะเบียนยาดูเหมือนจะมีไม่มาก แต่เมื่อมาดูถึงระยะเวลากว่าจะถึงในขั้นตอนสุดท้ายคือการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สามารถดำเนินเอาผิดทางกฎหมายได้นั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ลองมาดูตัวอย่างระยะเวลาการดำเนินการในการถอนทะเบียนยาที่ผ่านมาว่าต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่  ตัวอย่างข้อมูลแสดงระยะเวลาการถอนทะเบียนยา   ชื่อยาที่ถอนทะเบียน สาเหตุ คำสั่งเลขที่ วันที่ประชุมคณะกรรมการยา วันที่ประกาศเป็นคำสั่งกระทรวง วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระยะเวลาตั้งแต่ประชุมถึงวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยาสูตรผสมของยามีแธนดีโนน (Methandienone) กับ ยาไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) สูตรยาไม่เหมาะสม เมื่อนำไปใช้ในเด็กอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 736/2552 14 พฤษภาคม 2551 5 มิถุนายน 2552 31 สิงหาคม 2552 475 วัน ยาคาริโซโพรดอล (Carisoprodol) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง สงบประสาทเป็นยานอนหลับและเสพติดได้ 547/2552 20 พฤศจิกายน 2551 23 เมษายน 2552 19 มิถุนายน 2552 212 วัน ยาผสมสูตรเมโธคาร์บามอล (Methocarbamol) และอินโดเมธาซิน (Indomethacin) ชนิดรับประทาน ไม่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยา 848/2552 11 กุมภาพันธ์ 2552 2 กรกฎาคม 2552 24 สิงหาคม 2552 195 วัน ยาคาสคารา ซากราดา (Cascara sagrada) เสี่ยงอันตรายจากสารที่เป็นส่วนประกอบ 859/2552 11 กุมภาพันธ์ 2552 2 กรกฎาคม 2552 19 มิถุนายน 2552 129 วัน *ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนรัฐมนตรีลงนาม ยาคลอร์ซ็อกซาโซน (Chlorzoxazone) ไม่มีประสิทธิผลในการคลายกล้ามเนื้อตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความเป็นพิษต่อตับ 1115/2552 8 เมษายน 2552 20 สิงหาคม 2552 26 มีนาคม 2553 353 วัน ยาฟีโนเวอรีน (Fenoverine) ตัวยาทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง คือ เซลล์กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อเกร็ง (rhabdomyolysis) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 1421/2552 12 มิถุนายน 2552 30 กันยายน 2552 21 กรกฎาคม 2553 405 วัน ยาฟีนอล์ฟธาลีน (Phenolphthalein) และแซนโตนิน (Santonin) | อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ยา โดยฟีนอล์ฟธาลีน เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงอาจทำให้เกิดมะเร็งในคนจากการใช้ยาในระยะยาว ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกขจัดออกอย่างช้า ๆ จึงเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปฏิกิริยาที่ผิวหนัง และระดับโปแตสเซียมต่ำ เป็นต้น แซนโตนิน มีฤทธิ์เพิ่มพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic) และมีรายงานการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงแม้ใช้ในขนาดต่ำ 985/2553 12 มิถุนายน 2552 20 พฤษภาคม 2553 23 มิถุนายน 2553 377 วัน ฟีนอล์ฟธาลีน (Phenolphthalein) เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงอาจทำให้เกิดมะเร็งในคนจากการใช้ยาในระยะยาว และร่างกายของคนจะขจัดยาออกอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยา 1923/2553 12 มิถุนายน 2552 19 ตุลาคม 2553 30 พฤศจิกายน 2553 537 วัน ยาโรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone) อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด 447/2554 22 ธันวาคม 2553 4 เมษายน 2554 18 พฤษภาคม 2554 148 วัน อีนาลาพริล มาลีเอท (Enalapril maleate) ยา Paril 5 เลขทะเบียน 1C 173/51 และยา Paril 20 เลขทะเบียน 1C 174/51 มีปริมาณตัวยาสำคัญ คือ อีนาลาพริล มาลีเอท (Enalapril maleate) ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เกินกว่าร้อยละยี่สิบ เข้าข่ายเป็นยาปลอม 462/2554 22 ธันวาคม 2553 4 เมษายน 2554 8 มิถุนายน 2554 169 วัน ยาน้ำตราบีเวลล์ ตรวจพบตัวยาวาร์เดนาฟิล (Vardenafil) ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาควบคุมพิเศษผสมอยู่ ยาดังกล่าวจึงไม่ใช่ยาแผนโบราณตามตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้และเป็นยาที่ไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ เข้าข่ายเป็นยาปลอม 506/2554 23 กันยายน 2553 12 เมษายน 2554 8 มิถุนายน 2554 259 วัน     ซึ่งหลังจากมีการลงนามโดยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบว่าควรเพิกถอนตัวยาดังกล่าว จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ผลิตหรือนำเข้ายาที่เห็นว่าจะเป็นอันตรายตัวดังกล่าว ต้องหยุดการผลิตและเก็บสินค้าที่ได้ส่งไปวางขายตามร้านหรือสถานพยาบาลต่างๆ ให้เสร็จสิ้น ก่อนที่จะมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะเมื่อถึงในขั้นตอนนี้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายหากพบว่ายังมีการกระทำฝ่าฝืนคำสั่งอยู่ แต่หลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วผู้ผลิตยาที่ถูกคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนก็ยังสามารถยื่นคำโต้แย้งไปยังศาลปกครองได้อีกภายใน 90 วัน ซึ่งช่วงระยะเวลาหลังจากคณะกรรมการยาพิจารณาเห็นชอบให้มีการถอนทะเบียนยาที่เห็นว่าอาจจะเป็นอันตราย ไปจนถึงการรอให้รัฐมนตรีฯ ลงนามรับรอง เพื่อแจ้งให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ายานั้นๆ ดำเนินการตามคำสั่งของกระทรวงนั้น เป็นช่วงที่ผู้บริโภคมีความเสี่ยงอันตรายจากการใช้ยาตัวที่เป็นปัญหา เพราะยาดังกล่าวยังคงมีอยู่ในท้องตลาด หากผู้ใช้ยาไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ขาดความรู้เรื่องข้อมูลยา ก็อาจหลงใช้ยาดังกล่าวจนเกิดอันตราย แม้แต่แพทย์ เภสัชกร ที่ไม่ทราบข้อมูลหรือนิ่งนอนใจรอการประกาศอย่างเป็นทางการหรือรอการดำเนินการจากผู้ผลิตยา ก็อาจสั่งจ่ายยาดังกล่าวให้กับผู้ป่วย   การเพิกถอนทะเบียนตำรับยานั้น เป็นไปในลักษณะที่ตรวจสอบทบทวนตำรับยาทั้งยาใหม่ที่รอการขึ้นทะเบียน และยาเก่าที่เคยได้รับการขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งการทบทวนทะเบียนยานั้นต้องทำในลักษณะต่อเนื่อง โดยต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ ประเมินดูสถานการณ์การใช้ยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งหมดก็เพื่อการใช้ยามีความปลอดภัยมากที่สุด   ------------------------------------------------------------------------------------------ การถอนทะเบียนยาโดยภาคประชาชน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 ชมรมเภสัชชนบท ร่วมกับกลุ่มศึกษาปัญหายา กลุ่มเภสัชกรภาคกลาง มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยา 4 รายการ คือ 1.ยาแอสไพรินชนิดผง 75-375 มก. 2.ยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ยาขับปัสสาวะที่มี Methylene blue เป็นส่วนประกอบ 3.ยาแก้ท้องเสียที่มี Furazolidone และ/หรือมียาปฏิชีวานะเป็นส่วนประกอบ และ 4.ยา Amoxycillin powder 125 มก.ชนิดซอง เพราะเห็นว่าเป็นยาที่มีความไม่เหมาะสม อาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้ แต่ยังพบเห็นยาดังกล่าวมีจำหน่ายทั้งในร้านยาและร้านขายของชำเป็นจำนวนมาก ------------------------------------------------------------------------------------------   สามารถตรวจสอบรายชื่อตำรับยาที่ถูกเพิกทอนทะเบียนทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ของ อย. http://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_law/law010.asp ------------------------------------------------------------------------------------------ ขณะนี้มียาที่รอการทบทวนอยู่ทั้งหมดถึง 50 รายการ จากการประชุมของคณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 ซึ่งทาง อย. ตั้งใจให้มีการทบทวนยาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในปี 2556 (หนึ่งในนั้นมียาที่มีส่วนผสมของ Methylene blue ที่ภาคประชาชนเสนอให้มีการทบทวนรวมอยู่ด้วย) ------------------------------------------------------------------------------------------   การรู้และเข้าถึงข้อมูลยา...ปัญหาใหญ่ของผู้บริโภค  เป็นเรื่องที่น่าเสียดายและน่าตกใจ ที่คนไทยเรายังเข้าถึงข้อมูลของยาต่างๆ ในระดับที่น้อยถึงน้อยมาก นั่นเป็นเพราะคนไทยเราค่อนข้างให้ความเชื่อถือในตัวสถานพยาบาล ตัวบุคลากร ซึ่งก็คือแพทย์ และเภสัชกร ว่าสามารถรักษาและดูแลเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยได้เป็นอย่างดี ทำให้หลายคนมองข้ามที่จะศึกษาข้อมูลยาต่างๆ ที่ใช้อยู่หรือได้เวลาไปพบแพทย์ ซึ่งหากใช้แล้วอาการดีขึ้นหรือรักษาโรคให้หายได้ก็คงไม่มีปัญหา แต่หากเกิดผลในทางตรงกันข้าม คือกินยาแล้วกลับเจ็บป่วยมากกว่าเดิม ได้โรคเพิ่มขึ้น หรือรุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งก็สายไปแล้วที่จะแก้ไข การรู้จักหรือเข้าถึงข้อมูลของยาที่ใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คำถามที่ตามมาคือแล้วผู้บริโภคธรรมดาๆ จะเข้าถึงข้อมูลยาได้ด้วยวิธีไหน ข้อมูลยาพื้นฐานที่เราทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุดก็คือ ข้อมูลบนฉลากยาและเอกสารกำกับยา ซึ่งต้องมีมาพร้อมกับยาที่เราซื้อมาใช้ หากไม่มีข้อมูลบนฉลากหรือเอกสารกำกับยาแนบมาให้ ก็ควรหลีกเลี่ยงอย่าซื้อมาใช้ ถ้าเป็นยาที่เราได้รับจากแพทย์ที่เราไปรับการรักษาตามสถานพยาบาลต่างๆ ที่มักจะจัดยามาเป็นชุด บรรจุอยู่ในซองยา ไม่ได้มีฉลากหรือเอกสารใดๆ แนบมา ผู้ที่รับยาก็ต้องสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผลของยา วิธีการใช้ยา ให้เข้าใจครบถ้วน เพื่อประโยชน์ของตัวเอง  แม้อาจจะมีอุปสรรคเรื่องภาษา ด้วยว่ายาที่เราใช้กันอยู่เป็นยาฝรั่ง นำเข้าหรือมีการผลิตคิดค้นในต่างประเทศ ชื่อสามัญทางยาชื่อจึงเป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ แถมยังเป็นคำศัพท์เฉพาะทาง อ่านยาก จดจำยาก แต่ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคอย่างเราที่อาจต้องใช้ความพยายามสักหน่อยในการทำความเข้าใจ ก็เพื่อความความปลอดภัยในการใช้ยาของตัวเราเอง  การเข้าถึงข้อมูลยาจึงมีประโยชน์ทั้งในเรื่องของความปลอดภัย เป็นข้อมูลสำคัญในการรักษาโรค โดยเฉพาะยิ่งเมื่อเรารู้ชื่อสามัญทางยา ไม่ยึดติดอยู่กับชื่อทางการค้าหรือชื่อยี่ห้อ ก็อาจช่วยให้เราได้ใช้ยาในราคาที่ถูกลง  นอกจากปัญหาที่คนขาดความสนใจ และขาดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลยาแล้ว อีกหนึ่งปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลยาที่น่ากังวลไม่แพ้กันก็คือ การรับข้อมูลยาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมที่ถูกเผยแพร่ผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้ง ทีวี เคเบิ้ลท้องถิ่น วิทยุชุมชน และตามเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้ข้อมูลเพื่อมุงหวังทางธุรกิจ คือเป็นการอวดอ้างสรรพคุณในทางรักษาโรคเกินจริง ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างมาก แม้ส่วนมากจะเป็นในลักษณะของอาหารเสริมแต่อ้างผลในการรักษาโรค สร้างความสับสันให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แถมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็จะอ้างเรื่องการรับรองจาก อย. ทำให้ผู้บริโภควางใจหาซื้อมารับประทาน จนเกิดผลร้ายกับร่างกายอย่างที่เคยปรากฏเป็นข่าวหรือที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ เช่น กรณีของคุณยายวัยหกสิบกว่าคนหนึ่งที่ทานผลิตภัณฑ์กวาวเครือขาวและกวาวเครือแดงอัดแคปซูลที่สั่งซื้อมาหลังจากได้ยินประกาศโฆษณาทางวิทยุว่ากินแล้ว บำรุงสมอง บำรุงประสาท เสริมสมรรถภาพทางเพศ โดยกินนติดต่อกันมาเป็นเวลาเดือนกว่าๆ ก็ปรากฏว่ามีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดของคุณยายติดต่อกันถึง 14 วัน เมื่อมาหาหมอ พบว่าเกิดความผิดปกติที่ผนังมดลูก ต้องรักษาด้วยการขูดผนังมดลูก สาเหตุน่าจะมาจากการได้รับสาร Phytoestrogen ที่อยู่ในกวาวเครือมากเกินไป โดยตัวคุณยายแกก็บอกว่าเห็นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ผ่าน อย. แล้ว ไม่น่าจะมีอันตราย  ซึ่งนี้ก็เป็นเพราะผู้บริโภคขาดความรู้ในเรื่องข้อมูลยา ไม่รู้ถึงสารที่อยู่ในตัวยา ไม่รู้สรรพคุณที่แท้จริง ไม่รู้ว่าตัวยาดังกล่าวมีความจำเป็นต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน แถมยังถูกป้อนข้อมูลที่ผิดๆ ฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบพัฒนาระบบและวิธีการที่จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงและตระหนักในการรับรู้ข้อมูลยาให้มากขึ้น รวมถึงการเฝ้าระวังการโฆษณาที่มีผลต่อการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องหรือมุ่งหวังแต่ผลทางการค้าเพียงอย่างเดียว ด้านผู้บริโภคเองก็ต้องสร้างทัศนคติเรื่องการใหม่ในการใช้ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ใช้ยาอย่างระมัดระวัง ให้คิดเสมอว่าการใช้ยาก็อาจให้โทษได้เช่นกัน และโทษของการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องหรือผิดวิธีนั่นร้ายแรงมาก ซึ่งคนที่รับผลนั่นก็คือสุขภาพร่างกายของเราเอง  ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย  1.รู้จักยาที่จะใช้ ไม่ว่ายานั้นจะได้มาจากการจ่ายยาของแพทย์ หรือผู้ป่วยหาซื้อเองจากร้านขายยา สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ใช้ยาต้องศึกษายาที่จะใช้ให้ดีว่ามีความปลอดภัย เหมาะสม ถูกต้องตรงตามอาการป่วยที่เราต้องการรักษา  ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยาที่ควรรู้ ก็คือ  -ชื่อสามัญทางยา การรู้จักชื่อสามัญทางยามีประโยชน์ เพราะเราจะสามารถทราบได้ว่ายาที่เราใช้ คือยาอะไร ตัวเรามีประวัติการแพ้ยาตัวนี้หรือไม่ หรือหากกำลังใช้ยาตัวนี้อยู่แล้วจะได้แจ้งกับแพทย์ที่จ่ายยาป้องกันการใช้ยาซ้ำซ้อน ซึ่งปกติยาที่ได้รับการรับรองอย่างถูกกฎหมายจะต้องมีการแจ้งชื่อสามัญทางยาไว้ในเอกสารกำกับยา หรือถ้าเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกรก็ต้องมีการเขียนแจ้งไว้ที่หน้าซองที่ใช้บรรจุยา  -เมื่อรู้จักชื่อสามัญทางยาแล้ว ก็ต้องรู้จักชื่อทางการค้าด้วย เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญหากพบว่าใช้ยาตัวดังกล่าวแล้วเกิดอันตราย -ลักษณะทางกายภาพของยา ทั้ง สี กลิ่น รูปร่าง เพราะหากวันหนึ่ง ยาตัวดังกล่าวเกิดมีลักษณะทางกายภาพผิดแปลก เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้หยุดใช้ยาตัวดังกล่าว เพราะการที่ยาเปลี่ยนแปลงลักษณะอาจเป็นสัญญาณบอกว่าชนิดนี้อาจเป็นอันตรายได้  -ข้อกำหนดในการใช้ยา ขนาดและวิธีใช้ ว่าต้องรับประทานในปริมาณเท่าไหร่ ทานเมื่อไหร่ อย่างไร และยาที่ทานอยู่สามารถทานได้นานแค่ไหน ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลาเท่าไหร่  -ต้องรู้ว่าในสถานการณ์ใดที่ควรหยุดใช้ยา เช่น ใช้ยาแล้วแสดงอาการไม่พึงประสงค์ หรือเกิดอาการแพ้ยา ซึ่งควรแจ้งลักษณะอาการด้วย เช่น ใจสั่น ปวดท้อง ฯลฯ  -คำเตือนและข้อห้ามในการใช้ยา  -ผลข้างเคียงของการใช้  -วิธีการเก็บรักษายา 2.อ่านฉลากและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  ทำความเข้าใจยาที่จะใช้อย่างถูกต้องครบถ้วน หากอ่านฉลากหรือเอกสารกำกับยาแล้วยงมีส่วนที่สงสัยให้ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือสอบถามไปที่ อย.  3.ต้องให้ข้อมูลกับแพทย์ เภสัชกร หรือคนที่มีหน้าที่จ่ายยาให้กับเราให้มากที่สุด  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประวัติการแพ้ยา ข้อกำจัดในการใช้ยา เช่น รับประทานยาแคปซูลไม่ได้ หรือปกติต้องทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวังสูงต้องหลีกเลี่ยงยาที่รับประทานแล้วทำให้เกิดอาการง่วงนอน รวมทั้งหากในตอนนั้นมีการใช้ยาตัวอื่นหรือรับประทานอาหารเสริมอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยก็ต้องแจ้งให้กับผู้ที่จ่ายยาทราบ ที่สำคัญคือคือตัวเราเองมีข้อสงสัยในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ยาต้องสอบถามให้เข้าใจก่อนใช้ยา  4.สอบถามถึงสาเหตุที่จะทำให้ปฏิกิริยาจากการใช้ยา  ต้องสอบถามกับแพทย์ เภสัชกร หรือคนที่มีหน้าที่จ่ายยาให้กับเรา ว่ายาที่เรารับประทานนั้นจะมีปฏิกิริยากับอาหาร อาหารเสริม หรือยาตัวอื่นๆ ที่เรารับประทานอยู่หรือไม่ อย่างไร แล้วหากทำปฏิกิริยากันจะแสดงอาการอย่างไร มีผลเสียหรือไม่ ต้องหยุดรับประทานยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานอยู่หรือไม่  5.ต้องคอยสังเกตดูผลจากการใช้ยาและอาการข้างเคียง  หากเกิดอาการใดๆ ที่รู้สึกผิดปกติระหว่างใช้ยา ต้องปรึกษาแพทย์ทันที และควรมีข้อมูลการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา  ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ข้อมูลประกอบบทความ : ยาวิพากษ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 กันยายน 2553, แผนงานสร้างกลไกลเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยาวิพากษ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เมษายน 2554, แผนงานสร้างกลไกลเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสิทธิผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา, ผศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ การใช้ยาอย่างปลอดภัย, กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ.... (ฉบับประชาชน), มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา และคณะศูนย์ข้อมูลยาปลอมและยาลักลอบนำเข้า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาhttp://wwwapp1.fda.moph.go.th/counterfeit/public/index.aspxสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาhttp://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_law/law010.asp  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 ใครคือแชมป์ ซักสะอาดหมดจด

  ถ้า “แฟ้บ” เป็นชื่อสามัญของ “ผงซักฟอก” ในเมืองไทย ก็ต้องนับว่าเขายังรักษาคุณภาพในการผลิตได้ดีมาจนถึงวันนี้ ฉลาดซื้อได้รับคำแนะนำจากผู้อ่านให้ทดสอบเรื่องผงซักฟอกมาก็นานแล้ว แต่ยังไม่ได้ฤกษ์เสียที จนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคขันอาสามาเป็นคณะทำงานทดสอบเรื่องประสิทธิภาพของผงซักฟอกให้ ผลก็คือ ข้อมูลที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้บริโภคทุกท่าน ที่หลายครั้งก็ให้งุนงงสงสัยในเรื่อง ประสิทธิภาพของผงซักฟอก ที่แสนจะหลากหลายสูตรหลายยี่ห้อ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็โฆษณากันได้น่าตื่นตาตื่นใจจริงๆ   ฉลาดซื้อและเครือข่ายนักวิชาการฯ แบ่งผลิตภัณฑ์ผงซักฟอกเป็นสองประเภทคือ ซักมือกับซักเครื่อง ฉบับนี้ขอนำเสนอเฉพาะ สูตรสำหรับซักด้วยมือก่อน เพราะมีหลายยี่ห้อมากและเป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายกันแพร่หลายกว่าชนิดซักเครื่อง จำนวนตัวอย่างที่นำมาทดสอบมีทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง สรุปผลได้ดังนี้  เยี่ยมทั้งซักและดีต่อสิ่งแวดล้อม1. แฟ้บ เพอร์เฟค2. บิ๊กซี แมคคัลเลอร์ ไบร์ท3. แฟ้บ คัลเลอร์4. บิ๊กซี แมคออกซี่ ไวท์ตี้5. โอโม คริสตัลบีตส์ ซักสะอาด ราคาไม่แพง 1.บิ๊กซี แมคออกซี่ ไวท์ตี้ (1.35 บาท/การใช้ 1 ครั้ง)2.บิ๊กซี แมคคัลเลอร์ ไบร์ท (1.50 บาท/การใช้ 1 ครั้ง)3.บัว (1.46 บาท/การใช้ 1 ครั้ง) --------------------------------------------------------------------- เกณฑ์การทดสอบ 1.ประสิทธิภาพในการซัก1.1 ทดสอบการแตกตัวของผงซักฟอก ถ้าผงซักฟอกมีการแตกตัวดีแสดงว่าผงซักฟอกมีสารกระตุ้นที่ทำให้ละลายในน้ำได้ดีแสดงว่ามีประสิทธิภาพที่ช่วยในการทำความสะอาดในซอกซอนอณูผ้าที่เล็กได้อย่างล้ำลึก 1.2 ทดสอบระดับแป้งที่ผสมในผงซักฟอก เนื่องจากมักมีการบอกเล่าต่อๆ กันว่า ผงซักฟอกมีการนำแป้งมาผสมเป็นการเพิ่มน้ำหนัก (เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า การทดสอบครั้งนี้ไม่พบแป้งปนอยู่ในผงซักฟอกยี่ห้อใดเลย) 1.3 ทดสอบประสิทธิภาพการทำความสะอาดได้ โดยการแช่เพียงอย่างเดียว(30 นาที) 1.4 ทดสอบความสามารถในการซักฟอก เมื่อแช่ผ้าไว้ 15 นาทีและขยี้   2.ทดสอบการรักษาสภาพเนื้อสีของผ้า 2.1 ทดสอบความคงสภาพสีเดิม เปรียบเทียบผ้าชิ้นที่ซัก(10 ครั้ง) กับผ้าที่ไม่ซัก ด้วยเครื่องวัดค่าสี ถ้าสีผ้าชิ้นที่1  กับผ้าชิ้นที่ 2 คงสภาพสีเท่ากันหรือแตกต่างเพียงเล็กน้อยแสดงว่าผงซักฟอกมีคุณสมบัติในการรักษาสภาพของสีของเนื้อผ้าได้ดี 2.2 ทดสอบความคงสภาพความขาวของเนื้อผ้า เปรียบเทียบผ้าชิ้นที่ซัก(10 ครั้ง) กับผ้าที่ไม่ซัก ด้วยเครื่องวัดค่าสี ถ้าสีผ้าชิ้นที่1  กับผ้าชิ้นที่ 2 คงสภาพความขาวเท่ากันหรือแตกต่างเพียงเล็กน้อยแสดงว่าผงซักฟอกมีคุณสมบัติในการรักษาสภาพความขาวของเนื้อผ้าได้ดี   3.ผลกระทบต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม 3.1 ทดสอบค่าความเป็น กรด-เบสโดยการวัดจากค่า pH 3.2 ทดสอบฟอสเฟต    ฟอสเฟตจากผงซักฟอกเมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้พืชน้ำเจริญเติบโต รวดเร็ว ทำให้ กีดขวางทางคมนาคมทางน้ำ ทำลายทัศนียภาพ ทำให้ออกซิเจนละลายน้ำไม่ได้ สิ่งมีชีวิตขาดออกซิเจนตายได้ และพืชน้ำเกิดมากอาจจะตายเน่า ทำให้น้ำเสีย ซึ่งข้อกำหนดปริมาณค่าฟอสฟอรัสรวมไม่เกิน  2 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร ก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำชุมชน (ข้อมูลจากมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน)   4.ข้อมูลทั่วไปบนฉลาก เกณฑ์ที่ใช้คือ คำอธิบายเรื่องวิธีการใช้ เข้าใจง่ายหรือไม่ การระบุปริมาณ การแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน การแสดงวันเดือนปีที่ผลิต แหล่งผลิต ส่วนประกอบ คำเตือน”ห้ามรับประทาน” รวมทั้งความชัดเจนของผลิตภัณฑ์ในเรื่องอื่นๆ ---------------------------------------------------------------------  กำเนิดผงซักฟอก สมัยโบราณ การซักผ้าก็ใช้วิธีการทุบด้วยไม้ ขยี้ด้วยมือหรือเหยียบด้วยเท้า เพื่อลดแรงตึงผิวของน้ำให้แทรกเข้าไปทำความสะอาดในใยผ้าได้ ต่อมามีสบู่ใช้ ก็ช่วยทำให้การซักผ้าง่ายขึ้นเพราะสบู่ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำได้ การซักผ้าก็ง่ายขึ้น ออกแรงน้อยลง แต่พอเข้ายุคสงครามโลกครั้งที่ 1 สบู่ขาดแคลนเนื่องจากหาไขมันสัตว์ไม่ได้ จึงมีการผลิตผงซักฟอกออกมาใช้แทนสบู่ พอหมดสงครามก็เลิกไป แต่มาได้รับความนิยมจริงจังอีกครั้งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และยาวมาจนถึงปัจจุบัน  ผงซักฟอกมีคุณสมบัติชะล้างเช่นเดียวกับสบู่ โดยมีส่วนประกอบสำคัญคือ สารลดแรงตึงผิว เป็นสารทำให้วัสดุเปียกน้ำได้ง่าย ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาเป็นอนุภาคเล็กๆ แล้วสารจะล้อมรอบสิ่งสกปรกเล็กๆ เอาไว้ในสารลดความตึงผิว ฟอสเฟต สารนี้ช่วยรักษาสภาพน้ำให้เป็นเบส ช่วยกระจายน้ำมัน สิ่งสกปรกออกเป็นอนุภาคเล็กๆ จนสามารถแขวนลอยได้ในน้ำ สารเพิ่มความสดใส(optical brightening agents) ช่วยดูดแสงอุลตร้าไวโอเลตไว้ ทำให้เกิดการเรืองแสงสะท้อนเข้าตา ผ้าดูขาวสะอาด สารเพิ่มฟอง(suds booster) เป็นสารที่จะทำให้เกิดฟองกับน้ำได้ดีสำหรับผงซักฟอกซักด้วยมือเนื่องจากการแข่งขันในตลาดผงซักฟอกที่สูงขึ้น ผู้ผลิตผงซักฟอกจึงจำเป็นต้องเพิ่มส่วนประกอบอื่นๆ เข้ามา เพื่อเป็นจุดขาย แต่สารเหล่านี้มีอยู่ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ได้แก่ สารกันหมอง แอนติออกซิแดนต์ เอนไซม์ น้ำหอม สี สารกันการจับตัวเป็นก้อน สารช่วยขับสิ่งสกปรก สารต้านจุลินทรีย์ สารละมุน สารคงสภาพการเก็บรักษา สารช่วยให้ผ้านุ่ม สารกันไฟฟ้าสถิตย์ สารกันการกัดกร่อนและสารอื่นๆ   ฉลาดซื้อ1. ตอนนี้มีโฆษณาผงซักฟอกกำจัดแบคทีเรียได้ ซึ่งดูแล้วทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกินจริงไปมาก จริงๆ แล้วก็ไม่จำเป็นเลย เนื่องจากผงซักฟอกมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ อยู่แล้วจึงสามารถฆ่าแบคทีเรียได้  2. เมื่อพิจารณาจากผลการทดสอบแล้วจะพบว่า ประสิทธิภาพการซักใกล้เคียงกันมาก สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาเพิ่มคือ เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและราคาที่ประหยัด  ทำไมจึงเรียกผงซักฟอกว่า “แฟ้บ”หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โลกเรานี้ก็ให้ความนิยมแก่ผงซักฟอกอย่างมาก และเมืองไทยเราก็มีผงซักฟอกยี่ห้อแรกเข้ามา ชื่อว่า “แฟ้บ” โดย บริษัทหลุยส์ทีเลียวโนเวนส์ จำกัด ปรากฏว่าเป็นที่นิยมของประชาชนโดยทั่วไป เพราะสามารถชำระล้างสิ่งสกปรกได้ดีกว่าสบู่และสะดวกในการใช้มากกว่า คนไทยจึงพากันเรียกผงซักฟอกว่า “แฟ้บ” จนในปี พ.ศ. 2500 บริษัท คอลเกตปาล์มโอลีฟ จำกัด จึงได้ตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายผงซักฟอกยี่ห้อ “แฟ้บ” ในประเทศไทยขึ้น และต่อมาได้มีผู้ผลิตผงซักฟอกเกิดขึ้นอีกหลายบริษัท  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point