ฉบับที่ 116 ประสิทธิภาพโลชั่นกันแดดเด็ก

       ฤดูฝนใกล้จะหมดลงแล้ว สมาชิกฉลาดซื้อหลายท่านอาจกำลังเตรียมจัดกระเป๋าเดินทาง หอบลูกจูงหลานไปเข้าโครงการไทยเที่ยวไทยกันอีกครั้ง บางท่านอาจวางแผนไปใช้เวลากลางแจ้งเพื่อใกล้ชิดกับธรรมชาติให้มากขึ้น ฉลาดซื้อฉบับนี้เลยนำผลทดสอบโลชั่นกันแดดมาฝากคุณอีกครั้ง คราวนี้เน้นที่โลชั่นกันแดดสำหรับเด็กโดยเฉพาะ(แต่ผู้ใหญ่จะใช้ด้วยก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด)     เช่นเคย การทดสอบครั้งนี้ทำโดยองค์กรทดสอบสากล International Consumer Research & Testing หรือ ICRT เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราคัดเลือกมา 14 ผลิตภัณฑ์ แต่ต้องบอกไว้ตรงนี้ว่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้าทดสอบคราวนี้เป็นตัวอย่างที่เก็บโดยองค์กรผู้บริโภคในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปเท่านั้น     การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบด้วยวิธี International-Sun Protection Factor-Test Method (I-SPF-TM) โดยแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีอาสาสมัคร 10 – 13 คนอุทิศพื้นที่ 36 ตารางเซนติเมตรบนแผ่นหลังเพื่อการทดสอบ แต่ละคนจะทาโลชั่นในปริมาณที่เท่าๆ กันคือ 2 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตร ( + 0.05 มิลลิกรัม) ซึ่งเป็นปริมาณที่เราควรใช้ เพื่อให้โลชั่นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบครั้งนี้ได้แก่ ห้องปฏิบัติการ Institut Dr. Schrader ในประเทศเยอรมนี(ค่าใช้จ่ายในการทดสอบโลชั่นกันแดดคราวนี้นั้นไม่ต่ำกว่า 140,000 บาทต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์)   ผลจะเป็นอย่างไร ใครจะกันแดด กันน้ำได้มากกว่ากัน เชิญติดตาม       • น่ายินดีที่คราวนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF ที่วัดได้ สูงกว่าค่าที่แจ้งไว้บนฉลาก จะมีก็เพียง 2 ผลิตภัณฑ์ได้แก่ AVON SUN + Kids 30 และ GARNIER Ambre Solaire Kids Rapido Spray SPF 30 ที่มีค่า SPF ที่วัดได้ น้อยกว่าค่าที่ระบุไว้บนฉลากเล็กน้อย                    • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพการกันแดดหลังจากผิวหนังถูกน้ำเหลืออยู่มากกว่าร้อยละ 50 มีเพียง 3 ผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่เหลือความสามารถในการกันแดดน้อยกว่านั้น   • ค่าการป้องกันรังสียูวีเอ UVA ซึ่งสามารถผ่านเข้าไปยังผิวหนังชั้นในและทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นของครีมกันแดดกลุ่มที่นำมาทดสอบนั้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และผ่านเกณฑ์ที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้แนะนำไว้ว่าไม่ควรจะต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่า SPF ซึ่งเป็นเป็นค่าการป้องกันรังสียูวีบี UVB       ธรรมชาติของผิวที่ควรรู้คนจะดำก็ต้องดำ โลชั่นหรือครีมกันแดดใดๆ ก็ไม่สามารถป้องกันผิวหนังจากการเปลี่ยนสีได้ หน้าที่ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือป้องกันไม่ให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบจากการถูกแดดเผาเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะร่างกายคนเรามีวิธีการป้องกันผิวหนังไม่ให้ถูกทำลายโดยรังสีจากดวงอาทิตย์ ด้วยการสร้างเม็ดสีหรือเมลานินเพิ่มขึ้นเวลาที่เราต้องเผชิญกับแสงแดด     การเลือกซื้อครีม/โลชั่นกันแดดผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เลือกซื้อโลชั่นหรือครีมกันแดดที่มีสารกรองรังสีทั้งยูวีเอและยูวีบี โดยสังเกตจากส่วนผสมบนฉลากว่ามีไทเทเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide micronized) ซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide micronized) หรือออกซีเบนโซน (Oxybenzone) อยู่หรือไม่ เพราะสารเหล่านี้สามารถกรองรังสีได้ทั้งสองชนิด อย่างไรก็ตามสารดังกล่าวอาจสลายตัวได้เมื่อโดนความร้อน จึงควรเลือกซื้อจากร้านที่มีการควบคุมอุณหภูมิ นอกจากนี้ยังควรเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดที่สามารถกันน้ำได้ แม้เราจะไม่ได้ไปว่ายน้ำที่ไหนแต่เนื้อครีม/โลชั่นก็อาจหลุดลอกออกไปเพราะเหงื่อจากตัวเราได้อยู่ดี    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว  อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้ แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552 พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์ จึงเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น   ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ • ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม • จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. Talc2. Mica3. Propylparaben4. Ethylparaben5. Dimethicone • บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส • เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ (ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง) • ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน • เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุของผู้ใช้ไว้ด้วย • การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70) ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40) • คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)   พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า • คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว • ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง • สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก • ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย • ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ • ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง • สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพผิว • สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71 เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง • ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)   ความรู้เรื่องพาราเบนส์• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ • ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย (มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ) • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน • สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย (ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ) • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น • โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก • บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น   ฉลาก• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94) ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ) • ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม • เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว”  กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป • สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น  ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส) จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต และจากตัวแทนขายตรง 1. มิสทีน2. ชีเน่3. สกินฟู้ด4. เคมา (KMA)5. บีเอสซี6. อาทิสตรี้7. เทลมี8. โอเรียนทอล พริ้นเซส9. คัฟเวอร์มาร์ค10. อินทูอิท11. กิฟฟารีน12. อิทูดี้13. คิวท์เพรส     รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)พาราเบนส์ เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัยข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย 1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้ 2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้ 3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก 4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 เปรียบเทียบครีมลดริ้วรอยรอบดวงตา

มาแล้วคุณสาวๆ ที่ไม่อยากแก่ เราจัดให้อีกครั้งหลังจากห่างหายไปนานสำหรับผลทดสอบครีมบำรุงผิว คราวนี้ ฉลาดซื้อ ขอนำเสนอเน้นๆ เฉพาะครีมลดริ้วรอยรอบดวงตา ให้สมาชิกที่ตั้งตารออยู่ได้รู้กันไปว่า “อายครีม” ยี่ห้อไหน มีประสิทธิภาพในการกำจัดริ้วรอยสูงกว่ากัน คราวนี้เราดูกันเส้นต่อเส้น และใช้วิธีตัดสินกันด้วยภาพถ่ายเลยทีเดียว   และเช่นเคย การทดสอบครั้งนี้ทำโดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT (International Consumer Research & Testing) ที่ฉลาดซื้อเราเป็นสมาชิกอยู่ คราวนี้มี “อายครีม” ที่อ้างว่าสามารถลดริ้วรอยและรอยย่นรอบดวงตาได้ เข้าลงแข่งถึง 18 ยี่ห้อด้วยกัน มีทั้งผลิตภัณฑ์จากฝรั่งเศส (5 ยี่ห้อ) อังกฤษ (4 ยี่ห้อ) และอเมริกา (9 ยี่ห้อ) ผู้เข้าร่วมการทดสอบทั้งหมดเป็นหญิงและชายที่มีสุขภาพดีจำนวน 107 คน ที่มีอายุระหว่าง 35 – 65 ปี แต่ละคนจะใช้ 2 ผลิตภัณฑ์ (คนละซีกหน้า) ทุกเช้า/เย็น เป็นเวลาทั้งหมด 6 สัปดาห์ โดยแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีผู้ทดลองใช้ระหว่าง 9 - 11 คน   --------------------------------------------------------------------------------------------------------  โฆษณาแฝง อุอุ ฉลาดซื้อ เป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบ ICRT จึงมีผลทดสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์มาฝากผู้อ่านได้อย่างสม่ำเสมอแม้จะไม่มีทุนมากพอที่จะส่งผลิตภัณฑ์ไปร่วมทดสอบเอง (ขอเมาท์ให้รู้โดยทั่วกันว่า การทดสอบครีมลดริ้วรอยรอบดวงตาครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายถึง 3,500 ยูโร หรือประมาณ 140,000 บาท ต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์) ความฝันอันสูงสุดของกองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ คือการมีสมาชิกมากพอที่จะทำให้เรามีทุนเพียงพอที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในบ้านเราไปร่วมทดสอบด้วย --------------------------------------------------------------------------------------------------------  เราทดสอบอะไร • ประสิทธิภาพในการลดความลึกและความยาวของริ้วรอย กรรมการจะดูจากภาพถ่ายที่ถ่ายไว้ (โดยกล้อง Canon EOS-ID Mark III ความละเอียด 21.1 megapixel) เพื่อเปรียบเทียบ ระหว่างสภาพผิวก่อนใช้ สภาพผิวหลังใช้หนึ่งชั่วโมง และสภาพผิวหลังการใช้ 6 สัปดาห์ ทั้งนี้กรรมการไม่ทราบว่าภาพแต่ละภาพนั้นถ่ายในช่วงเวลาใด • ประสิทธิภาพในการลดรอยคล้ำและถุงใต้ตา อาสาสมัครที่ทดลองใช้ตอบแบบสำรวจความพึงพอใจ ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถ้ามีผู้ใช้อย่างน้อย 9 คนเห็นด้วยว่ารอยคล้ำได้ตาดูจางลง หรือถุงใต้ตาดูลดลงผลิตภัณฑ์นั้นจะได้คะแนนในข้อนี้ไป   ผลทดสอบในภาพรวม • ต้องทำใจนะ ยังไม่มีครีมลดริ้วรอยรอบดวงตายี่ห้อไหนสามารถกำจัดริ้วรอยไม่พึงประสงค์ของเราได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ครีมลดริ้วรอยรอบดวงตาที่ได้คะแนนสูงสุดในการทดสอบครั้งนี้ สามารถลดริ้วรอยได้ประมาณ 60% • สิ่งที่ครีมเหล่านี้ทำได้ดีคือการลดความลึกของริ้วรอย แต่ยังทำได้ไม่ดีนักในเรื่องของการลดความยาวของริ้วรอย (ประสิทธิภาพในการลดความลึกของริ้วรอยตั้งแต่ 17% ถึง 61% ในขณะที่ประสิทธิภาพในการลดความยาวของรอยย่นตั้งแต่ 9.5% ถึง 46% เท่านั้น) • การทดสอบครั้งนี้ได้มีการทดสอบครีมบำรุงผิวด้วย 2 ยี่ห้อซึ่งปรากฏว่า หนึ่งในนั้นประสิทธิภาพติดหนึ่งในห้าอันดับต้น (Accantia Simple Kind to Skin Replenishing Rich Moisturizer) ในขณะที่อีกยี่ห้อหนึ่งอยู่ในอันดับที่สามจากท้าย (Neutrogena Oil Free Moisture For Sensitive Skin)   เคล็ดลับผิวสวย อ่อนเยาว์จากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง   1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อหน้าตาที่สดชื่นอิ่มเอิบ 2. ลดความเครียดสะสมในชีวิตประจำวัน เพราะความเครียดเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระตามอวัยวะต่างๆ รวมทั้งผิวหนังด้วย ลองเลือกวิธีการที่คุณชอบ เช่น ฟังดนตรี ดูภาพยนตร์อ่านหนังสือ พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ฟังธรรมะ นั่งสมาธิ ฯลฯ 3. หลังทำความสะอาดผิวหน้าทุกครั้ง ควรบำรุงผิวด้วยครีมหรือโลชั่นบำรุงผิว เพราะหลังล้างหน้า สารทำความสะอาดจากผลิตภัณฑ์จะชะเอาความชุ่มชื้นและน้ำมันธรรมชาติจากผิวหนังออกไป ทำให้ผิวหน้าตึงซึ่งเป็นสาเหตุให้ผิวหย่อนยานได้ 4. หลังจากทำความสะอาดผิวหน้าแล้ว ควรบำรุงผิวหน้าด้วยครีมบำรุงผิวชนิดสำหรับกลางคืน “Night cream” ซึ่งจะมีส่วนผสมของเนื้อครีมที่เข้มข้นด้วยสารอาหารสำหรับผิวหน้า เช่น วิตามินอี วิตามินเอ คอลลาเจน อีลาสตินและสารต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ โดยส่วนประกอบของน้ำมันมักจะหนักกว่าครีมสำหรับทาตอนกลางวัน เพื่อปกป้องผิวหน้าจากอากาศเย็นและแห้งในห้องแอร์ 5. ถ้ามีเวลาว่างในช่วงวันหยุดยาว ภายหลังการทำความสะอาดผิวหน้าแล้วอาจพอกหน้าด้วยแตงกวาสดหรือว่านหางจระเข้ โดยล้างให้สะอาด ตัดเป็นแว่นและวางบนผิวหน้า สารอาหารและความชุ่มชื้นจากแตงกวาหรือว่านหางจระเข้จะแทรกซึมเข้าฟื้นฟูและซ่อมบำรุงผิว 6. หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดในช่วงเวลา 8 โมงเช้า ถึง 3 โมงเย็น เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีรังสีอัลตร้าไวโอเลททั้งยูวีเอและยูวีบี ซึ่งสามารถทำลายเซลล์ผิวหนังทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น รูขุมขนกว้าง ผิวหนังหนา หยาบกร้านและดำคล้ำ แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดได้ ควรปกป้องผิวด้วยการใส่เสื้อแขนยาวหรือกางร่ม และทาผิวด้วยครีมกันแดดที่มีองค์ประกอบของสารที่สามารถกรองรังสีทั้งสองชนิดและมีค่า “เอสพีเอฟ” (SPF) อย่างน้อย 15 (จาก หนังสือ “สวยอย่างฉลาด” โดย รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 111 ครีมไวท์เทนนิ่ง ทดสอบความพึงพอใจ

เมื่อความ “ขาว” ถูกสร้างให้เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยจึงพยายามมองหาวิธีที่จะทำให้ตนเองมีผิวที่ขาวขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานวิตามิน การฉีดสารกลูตาไธโอน หรือ การใช้ครีมไวท์เทนนิ่ง ซึ่งดูจะมีต้นทุนในการเข้าถึงที่น้อยและปลอดภัยกว่า 2 วิธีแรก ทุกวันนี้มีผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่ง ที่อ้างว่าหรือโฆษณาในทำนองว่า ครีมไวท์เทนนิ่งสามารถเปลี่ยนแปลงสีผิวให้ขาวขึ้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เช่น ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส พิสูจน์ได้ภายใน 7 วัน หรือขาวขึ้นภายใน 28 วัน จนเกิดคำถามว่า ข้อความในโฆษณาที่กล่าวอ้างนั้นจริงหรือไม่ ฉลาดซื้อทดสอบ เมื่อเกิดคำถามเราก็ลองมาหาคำตอบกัน ฉลาดซื้อเปิดรับอาสาสมัคร 100 คน เข้าร่วมพิสูจน์การเปลี่ยนแปลงของสีผิวหลังการใช้ครีมไวท์เทนนิ่ง โดยการใช้เกณฑ์วัดความพึงพอใจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีผิวของผู้บริโภคหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ อาสาสมัครมีอายุตั้งแต่ 15 – 40 ปี โดยแต่ละคนจะได้รับครีมไวท์เทนนิ่งคนละยี่ห้อ โดยอาสาสมัครแต่ละคนจะไม่ทราบว่าตัวเองใช้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใด   ลักษณะการทดสอบและวัดผลครั้งนี้จะเป็นเพียงการวัดความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ตามที่ได้รับมอบเท่านั้น ผู้บริโภค 1 คน จะต้องใช้ครีมไวท์เทนนิ่งติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 28 วัน และในระหว่างที่ใช้ครีมผู้บริโภคที่เข้าร่วมทดลองต้องเลี่ยงการเผชิญแสงแดดที่ไม่ใช่การดำเนินชีวิตปกติ เช่น เที่ยวทะเล รวมทั้งห้ามใช้ครีมไวท์เทนนิ่งหรือครีมอื่นที่ช่วยให้ผิวขาวระหว่างการใช้ครีมที่ทดลอง  และต้องใช้ครีมกันแดดทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน นอกจากนั้นจะต้องวัดผลการทดลองด้วยแถบวัดสีผิวทุกๆ 7 วัน โดยการวัดผลต้องวัดในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทุกครั้ง ทั้งนี้ผู้บริโภคที่เข้าร่วมทดลองต้องหยุดใช้ครีมทันทีเมื่อเกิดอาการแพ้ ข้อจำกัดของการทดสอบ จากอาสาสมัคร 100 คน มีอาสาสมัครจำนวน 69 คน ที่สามารถใช้ครีมตัวอย่างที่ได้รับไปทดลองใช้จนครบ 28 วัน เนื่องจากมีผู้ทดลองบางคนที่เกิดอาการแพ้หรือละเลยเรื่องตัวแปรเช่น การออกแดด ฯลฯ ดังนั้นผู้บริโภคที่เข้าร่วมทดสอบครีมไวท์เทนนิ่งแต่ละยี่ห้อจึงมีจำนวนไม่เท่ากัน (จากเดิมอาสาสมัคร 20 คน ต่อ 1 ยี่ห้อ) ผลการทดสอบครั้งนี้จึงเป็นเพียงแนวทางเริ่มต้นเท่านั้น ในส่วนของข้อดี ข้อด้อย ที่อาสาสมัครนำเสนอ เช่น ใช้แล้วทำให้มีสิวขึ้น รูขุมขนกว้าง อาจขึ้นอยู่กับสภาพผิวของอาสาสมัครด้วย   ผลการทดสอบความพึงพอใจ       ฉลาดซื้อแนะนำ1. เลือกใช้ครีมไวท์เทนนิ่งให้เหมาะกับสภาพผิว  เนื่องจากสภาพผิวของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน สาวๆ ที่มีผิวแห้งไม่ควรเลือกใช้ครีมไวท์เทนนิ่งที่มีส่วนผสมจากกรดผลไม้ เพราะจะทำให้หน้าแห้งยิ่งขึ้น และอาจเกิดอาการแพ้ ส่วนใครที่มีผิวมันก็ไม่ควรใช้ครีมไวท์เทนนิ่งที่มีส่วนผสมของน้ำมัน 2. ไม่ควรเลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ สเตียรอยด์ (Steroids)และสารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) เพราะทางการแพทย์ระบุว่า สารดังกล่าวเป็นสารอันตรายที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว ทำให้ผิวเห่อแดง และอาจทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี รวมทั้งกัดผิวจนด่างขาวและทำให้ผิวลอกได้  3. ควรดูแลสุขภาพควบคู่ไปกับการใช้ครีมไวท์เทนนิ่ง เช่น ผู้บริโภคต้องพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง  รวมทั้งเลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใย และต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ครีมไวท์เทนนิ่งกับครีมกันแดดอย่างไหนสำคัญกว่า ?รศ.ดร.พิมลพรรณ  พิทยานุกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ครีมไวท์เทนนิ่งโดยทั่วไปมักจะมีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื่นมากกว่าสารที่ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว ดังนั้นถ้าผู้บริโถคไม่ต้องการให้ผิวเกิดความหมองคล้ำการใช้ครีมกันแดดจึงสามารถช่วยได้มากกว่าครีมไวท์เทนนิ่ง  อีกทั้งยังสามารถปกป้องผิวจากรังสียูวีเอและรังสียูวีบีได้อีกด้วย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 110 เลือกรองพื้นมิเนอรัล ยี่ห้อไหนดี

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่อ้างว่า “จากธรรมชาติ” หรือ “ปลอดสารเคมี” ที่ทำออกมาให้เราได้เลือกใช้กันนั้น จะปลอดสารหรือปลอดภัยจริงหรือไม่นั้น ฉลาดซื้อฉบับนี้มีคำตอบมาฝาก ขอขอบคุณข้อมูลจาก CHOICE  นิตยสารเพื่อผู้บริโภคของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรของเรา การทดสอบนี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทดลองใช้ทั้งหมด 29 คน แต่ละคนทดลองใช้รองพื้น 8 ยี่ห้อ โดยใช้แต่ละยี่ห้อเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันและตอบแบบสอบถามระดับความพึงพอใจของพวกเธอในประเด็นต่างๆ และนำมาจัดเป็นคะแนนเป็นกลุ่มๆ ซึ่งแยกออกได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้  การทำให้ผิวหน้าดูเรียบเนียน (ร้อยละ 40)  ความสะดวกในการใช้ (ร้อยละ 30) การปกปิดจุดด่างดำ (ร้อยละ 10) ลักษณะเนื้อรองพื้นบนผิวหน้า (ร้อยละ 10) และแปรง (ร้อยละ 10) หมายเหตุไว้ตอนท้าย* CHOICE ให้ความสำคัญกับเรื่องความสะดวกในการใช้ค่อนข้างมากเพราะรองพื้นแบบผงนี้ต้องใช้แปรงเป็นตัวช่วยในการนำมาทาลงบนใบหน้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใช้สะดวกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะคงไม่มีใครอยากทาครึ่งทิ้งครึ่ง หรือต้องทำความสะอาดผงรองพื้นที่ตกกระกระจายบนโต๊ะเครื่องแป้ง ** CHOICE พบว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดติดทนเกิน 8 ชั่วโมง แม้จะมีบางยี่ห้อโฆษณาเอาไว้ว่าอยู่ได้นานกว่านั้นก็ตาม*** เครื่องสำอางแบบมิเนอรัลนั้นมักนำเสนอเป็นจุดขายว่าช่วยรักษาปัญหาผิวและเหมาะกับคนที่ผิวแพ้ง่าย แต่การทดสอบครั้งนี้พบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ได้คุณสมบัติในการ “รักษา” แต่อย่างใด   ผลทดสอบ (เรียงอันดับ 1 – 14 ตัวที่ได้ 80 คะแนน ทำให้เด่นกว่าตัวอื่นๆ นอกนั้นทำเล็กลงมาหน่อย เพราะหน้าจำกัด) Elizabeth Arden Pure Finish Mineral Powder Foundation 80 คะแนนราคา  1,200 บาทปริมาณ   8.33 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก    5 MAC Mineralize Foundation Loose 80 คะแนนราคา  1,530 บาทปริมาณ   8.5 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก   4 bareMinerals Mineral Foundation 70 คะแนนราคา  บาทปริมาณ   กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก   4 Laura Mercier Mineral Powder 70 คะแนนราคา  1,200 บาทปริมาณ   9.6 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก   4 Prestige  Skin Loving Minerals Gentle Finish Mineral Powder Foundation 70 คะแนนราคา 830  บาทปริมาณ   6.5 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง                 4ใช้สะดวก   4 L’Oreal  Paris True Match Minerals 70 คะแนนราคา   550 บาทปริมาณ  10 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก   3 Nude by Nature Natural Mineral Cover 70 คะแนนราคา 1,000 บาทปริมาณ  15 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   4 The Body Shop Nature’s Mineral Foundation 60 คะแนนราคา   1,200 บาทปริมาณ 5 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   4 Revlon ColorStay Mineral Foundation 60 คะแนนราคา   550 บาทปริมาณ  9.9 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3 Bloom Pure Mineral Powder Foundation 60 คะแนนราคา  1,050 บาทปริมาณ  13 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       3จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   4 Maybelline NY Mineral Power Powder Foundation 60 คะแนนราคา   บาทปริมาณ  กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       3จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3                      Natio Natural Loose Foundation 60 คะแนนราคา   600 บาทปริมาณ  10 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       3จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3 Max Factor Natural Mineral Foundation 50 คะแนนราคา   1,000 บาทปริมาณ  10 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3 Rimmel London Lasting Finish Minerals Loose Powder Foundation50 คะแนนราคา   600 บาทปริมาณ  6.5 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3   ฉลาดซื้อแนะQ     เครื่องสำอางประเภทมิเนอรัลเหมาะกับผิวแพ้ง่ายหรือผิวที่มีสิว เพราะเป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติไม่มีการใช้สารเคมี  จริงหรือหลอก? A   ศัพท์คำว่า Mineral หรือแร่ธาตุ คือ สารหรือสสารที่เกิดโดยธรรมชาติ แร่ธาตุเหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปของของแข็งหรือสารอนินทรีย์ แต่มีโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอน ทั้งนี้แร่ธาตุบางชนิดก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังได้เช่นกันไม่ได้แปลว่าการได้มาจากธรรมชาติจะปลอดภัยเสมอไป เครื่องสำอางในกลุ่มของ Mineral Cosmetics  เช่น แป้งฝุ่น ครีมรองพื้น อายเชโด้ รวมทั้งแป้งแข็งและแป้งฝุ่นโรยตัวเด็กมักจะมีองค์ประกอบของแร่ธาตุเป็นพื้นฐาน เช่น ซิงค์ออกไซด์ ไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ บิสมัทช์ออกซี่คลอไรด์ และทาวคัม เครื่องสำอางที่กล่าวมามักจะมีแร่ธาตุเหล่านี้เป็นองค์ประกอบ บางชนิดมีเพียง 1 % เท่านั้น ก็มีการเคลมว่าเป็น Mineral Cosmetics แล้ว ความจริงเรื่องหนึ่งที่ต้องทราบคือ เรามักจะคิดว่าถ้ามาจากธรรมชาติต้องดีกว่าและปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี ข้อมูลนี้ไม่ถูกต้องเสมอไป แร่ธาตุและสารจากธรรมชาติมีมากมายที่ไม่เหมาะที่จะใช้ในเครื่องสำอาง ในทางตรงกันข้ามนักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาและสังเคราะห์สารเคมีขึ้นใหม่ โดยเลียนแบบจากธรรมชาติ แต่พัฒนาให้ข้อบกพร่องและพิษจากสารธรรมชาติหายไปหรือลดน้อยลงมากที่สุด ขอขอบคุณ รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกูล จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 93 ทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์กันแดด

ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งประเภทครีม โลชั่น และสเปรย์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มาฝากผู้อ่านกัน แต่ต้องย้ำกันตรงนี้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายในยุโรป และส่งเข้าทดสอบโดยองค์กรผู้บริโภคในยุโรปนั่นเอง  การทดสอบครั้งนี้จุดประสงค์อยู่ที่การสำรวจว่าในบรรดาผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้น แท้จริงแล้วมีค่า SPF และประสิทธิภาพในการกันน้ำ ตามที่ได้แจ้งไว้บนฉลากหรือในโฆษณาหรือไม่ โดยมีอาสาสมัครเป็นผู้ลงทุนอุทิศแผ่นหลังเพื่อการทดสอบ ประมาณ 10 – 14 คน ต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการทดสอบครั้งนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ถูกส่งเข้าทดสอบทั้งหมด 55 ผลิตภัณฑ์ แต่เราขอนำมาลงเฉพาะแบรนด์ที่พอจะพบเห็นกันได้ในบ้านเราเพียง 15 ผลิตภัณฑ์ จากการทดสอบพบว่า•    ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF ใกล้เคียงกับที่แจ้งไว้บนฉลาก หรือไม่ก็มากกว่า (มีอยู่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่เรานำเสนอในครั่งนี้ที่มีค่า SPF น้อยกว่าที่แจ้ง หนึ่งในนั้นมีไม่ถึงครึ่งของค่าที่แจ้งไว้ด้วย) •    ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังเหลือประสิทธิภาพในการกันแดด มากกว่าร้อยละ 50 หลังจากที่ผิวหนังสัมผัสกับน้ำ (เกณฑ์ที่ระบุไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถระบุที่ฉลากว่ากันน้ำได้ คือร้อยละ 50)-----ฉลาดซื้อสำรวจ การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด•    ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84) เคยใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด โดยเหตุผลที่ใช้คือ เพื่อป้องกันผิวเสีย ริ้วรอย และป้องกันปัญหาสุขภาพผิว•    เกือบร้อยละ 50 ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดทุกวัน ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร•    มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถาม ซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดประมาณ 5 ครั้งต่อปี•    แต่ทั้งนี้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62) ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีในผลิตภัณฑ์กันแดด•    มีถึงร้อยละ 16 ที่เคยได้รับผลข้างเคียงจากผลิตภัณฑ์กันแดด และร้อยละ 94 ของผู้ที่เคยได้รับผลข้างเคียงเชื่อว่าสาเหตุคือสารเคมีในผลิตภัณฑ์  •    ร้อยละ 86.5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม อ่านฉลากก่อนซื้อ•    ร้อยละ 87 เห็นด้วยว่าค่า SPF ในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ตามแต่ลักษณะการใช้ •    แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กันแดด อันดับหนึ่งได้แก่โฆษณาจากสื่อต่างๆ ตามด้วยเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด•    ปัจจัยในการเลือกซื้ออันดับหนึ่งคือประสิทธิภาพในการป้องกันแดด ตามด้วยราคา และสภาพผิว(* สำรวจในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 100 คน เป็นผู้หญิง 60 คน ผู้ชาย 40 คน)•    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าตลาดครีมกันแดดในประเทศไทยในปี 2551 จะมีมูลค่าประมาณ 750 ถึง800 ล้านบาท -----•    อย่าลืมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดใกล้ๆตัว แบบใช้แล้วใช้ซ้ำได้ เช่นเสื้อ กางเกงขายาว หมวก หรือแว่นกันแดด (ยอมรับกันเถอะพี่น้อง ว่าคนทั่วไปที่ไม่ใช่ดาราที่ต้องคอยระวังปาปารัซซี่แอบถ่าย ก็ใส่ได้)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 89 Moisturiser ของสิงห์สำอาง

สมัยนี้ไม่ใช่แค่สาวๆ ที่อยากมีผิวสวยใส ผู้ชายเองก็อยากให้หน้าเนียนเด้งไม่แพ้กัน โดยเฉพาะผู้ชายกลุ่ม Metrosexual ถ้าจำกันได้ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 80 เคยนำเสนอเรื่องเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายไปแล้ว โดยผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังได้ย้ำในบทความว่า “โครงสร้างของผิวหนังมนุษย์ผู้ชายหรือผู้หญิงนั้นไม่ได้ต่างกันขนาดที่จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์คนละตัวกัน  แต่ที่ต้องมีผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับท่านชายขึ้นมาก็เพื่อเหตุผลทางการตลาดนั่นเอง”  ส่วนสิ่งที่เปลี่ยนไปได้แก่ ลักษณะหรือสีสันของบรรจุภัณฑ์ หรือกลิ่นของเครื่องสำอางนั้นๆ มากกว่า และอาจเป็นได้ว่าผู้ชายนั้นมีความอดทนน้อยกว่าในการรอให้ครีมซึมลงสู่ผิวหนัง ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่า “เพื่อผู้ชาย” หรือ For Men จึงเน้นที่ความเร็วในการซึมลงสู่ผิวหนังด้วยฉลาดซื้อฉบับนี้เลยขอหยิบผลการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว “สำหรับผู้ชาย” โดยสมาชิกของวารสาร Choice (วารสารเพื่อผู้บริโภคของประเทศออสเตรเลีย) มาฝากสิงห์สำอางบ้านเรา วารสาร Choice ทดสอบผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคจำนวน 57 คน โดยหนุ่มๆ แต่ละคน (ที่มีผิวธรรมดา) จะได้ครีม/เจลบำรุงผิวไปคนละ 6 ยี่ห้อ และทดลองใช้แต่ละยี่ห้อเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน โดยไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ตนเองใช้นั้นเป็นยี่ห้อใด จากนั้นแต่ละคนจะตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจ ในหัวข้อต่อไปนี้ •    ประสิทธิภาพในการสร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า •    ความพึงพอใจลักษณะของเนื้อครีม/เจล •    ความพึงพอใจต่อกลิ่น และ•    การซึมลงสู่ผิวหนัง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 81 วัคซีน ความจำเป็นหรืออุบายขายโรค

โลกยุคนี้ข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องสำคัญมาก ให้ผลได้ทั้งบวกและลบกับทุกคนบนโลกใบนี้ ยิ่งเป็นข้อมูลด้านสุขภาพ ยิ่งสำคัญ และยิ่งต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะข้อมูลที่ถูกนำเสนอเพื่อให้ซื้อหรือใช้บริการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเด็ก  คุณพ่อคุณแม่ยิ่งต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ ฉลาดซื้อสนใจทำสำรวจ เรื่องการบริการวัคซีนในโรงเรียน ด้วยเหตุจากผู้ปกครองหลายคนสอบถามเข้ามาว่า จดหมายที่โรงเรียนนำมาแจกให้และมีข้อความเชิญชวนให้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคให้ลูกหลานนั้นจะทำอย่างไรดี ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อดี  ฉลาดซื้อจึงจัดเวทีเล็กๆ ร่วมกับเครือข่ายพ่อแม่เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พบว่า ยังมีผู้ปกครองหลายคนที่ไม่รู้เรื่องการให้บริการวัคซีนอย่างเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ ส่วนใหญ่ก็จะยินดีให้เด็กรับวัคซีนไว้ก่อน นัยว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”  ข้อดีคือป้องกันย่อมดีกว่ารักษา แต่ค่าบริการก็ไม่ใช่น้อยๆ และบางครั้งก็เป็นการฉีดวัคซีนซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายพ่อแม่ จึงได้ลองทำแบบสำรวจเล็กๆ เพื่อวัดความรู้เรื่องวัคซีนของคุณพ่อคุณแม่ขึ้น และดูแนวโน้มของการเสนอบริการวัคซีนทางเลือกที่รุกเข้าสู่สถานศึกษา  แบบสอบถามทั้งหมดได้จากผู้ปกครองจากโรงเรียนประเทืองทิพย์ พระมหาไถ่  สายน้ำทิพย์ อนุบาลโชคชัย  สายน้ำผึ้ง เทพศิรินทร์ วัฒนาวิทยาลัย และอื่นๆ จำนวน 301 ราย  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 78.4 ชั้นมัธยมศึกษาร้อยละ 21.6   ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่เป็นคุณแม่อายุ 31-45 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี  ร้อยละ 46.7 มัธยมปลาย ร้อยละ 21 ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 78 คิดว่า บุตรของตนได้รับวัคซีนครบตามมาตรฐาน แต่ความจริงคือ… วัคซีนบังคับ หมายถึง วัคซีนที่รัฐจัดบริการให้ฟรีแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด  เพื่อลดอัตราการป่วยและตายจากโรคติดเชื้อต่างๆ ได้แก่ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้สมองอักเสบ (เด็กทุกคนจะมีสมุดคู่มือการฉีดวัคซีนประจำตัว)วัคซีนบังคับ...ไม่รู้ว่าฟรีจึงต้องเสียสตางค์จากการสำรวจของฉลาดซื้อพบว่า วัคซีนวัณโรค ร้อยละ 88.7 คิดว่าได้รับแล้ว ในจำนวนนี้ ร้อยละ 87.9 ได้รับที่โรงพยาบาล  ส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนจะดำเนินการให้วัคซีนนี้ซ้ำในระดับป.1แต่มีผู้ตอบว่า ได้รับวัคซีนตัวนี้ที่โรงเรียนเพียง ร้อยละ 0.8 ซึ่งหมายถึง อาจมีปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง เช่นเดียวกับวัคซีนคอตีบ บาดทะยักซึ่งเด็กนักเรียนควรได้รับครั้งที่ 5 เมื่อชั้น ป. 6 แต่มีผู้ปกครองตอบมาว่า ได้รับจากโรงเรียนน้อยกว่าร้อยละ 1วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ และตับอักเสบบี เป็นวัคซีนบังคับซึ่งผู้ปกครองมากกว่าร้อยละ 90 คิดว่า ได้รับแล้วที่โรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่   วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งเป็นวัคซีนบังคับเช่นกันต้องได้รับสองครั้งที่อายุ 9 เดือน และ 5 ปี รวมทั้งวัคซีนไข้สมองอักเสบที่ต้องได้รับสามครั้งที่อายุหนึ่งปี เป็นต้นไป แต่ผู้ปกครองรับรู้ว่าได้รับวัคซีนทั้งสี่ชนิดนี้แล้วเพียงร้อยละ 80-85 เท่านั้น  ส่วนใหญ่ได้รับที่โรงพยาบาล ผู้ปกครองรับรู้ว่า โรงเรียนมีส่วนในการให้วัคซีนนี้เพียงร้อยละ 1.8 1สำหรับหัดเยอรมัน วัคซีนอีกสามชนิด โรงเรียนมีส่วนในการให้ต่ำกว่าร้อยละ 1วัคซีนชุดนี้รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาวัคซีนแก่เด็กทั้งหมดอย่างเพียงพอ และเด็กทุกคนต้องได้รับโดยไม่ต้องจ่าย อย่างไรก็ตามผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังคงจ่ายค่าวัคซีนในการฉีดที่คลินิก โรงพยาบาล โดยไม่ได้รับรู้เรื่องการจัดสรรงบประมาณโดยรัฐบาล มีเพียงโปลิโอเท่านั้นที่ผู้ปกครองร้อยละ 82 คิดว่า รัฐบาลจัดหาวัคซีนให้ฟรี สำหรับวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยักนั้นผู้ปกครองร้อยละ 58 รับรู้เรื่องการฉีดฟรี  วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม และตับอักเสบบีนั้นผู้ปกครองรับรู้เพียงร้อยละ 37-39  และน้อยกว่าร้อยละ 29 ในไข้สมองอักเสบวัคซีนทางเลือก หรือวัคซีนนอกโปรแกรมบังคับ เป็นวัคซีนที่ไม่จำเป็นต้องฉีดในเด็กทุกราย แต่สามารถเลือกฉีดได้ตามความเหมาะสม เช่น มีการระบาดของโรคติดเชื้อบางอย่าง หรือเด็กต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส เป็นต้นวัคซีนนอกโปรแกรมบังคับวัคซีนนอกโปรแกรมบังคับซึ่งมีในตลาดมานานระยะหนึ่งแล้ว  เช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบ เอ ซึ่งสามารถให้ได้ตั้งแต่อายุสองปีครึ่ง มีผู้ปกครองรับรู้ว่าบุตรได้รับแล้วร้อยละ 68 โดยเป็นการได้รับที่โรงเรียนร้อยละ 1.8 เท่านั้น เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคสุกใส ซึ่งสามารถให้ได้ตั้งแต่อายุหนึ่งปีเป็นต้นไป มีผู้ปกครองรับรู้ว่าบุตรได้รับแล้วร้อยละ 50 โดยเป็นการได้รับที่โรงเรียนร้อยละ 1.5 เท่านั้น  สำหรับวัคซีนใหม่นั้นได้แก่     ไข้หวัดใหญ่  IPD  มะเร็งปากมดลูก มีผู้ปกครองรับรู้ว่าบุตรได้รับแล้วร้อยละ 30, 17, 0.5 ตามลำดับ โดยที่วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีการให้ที่โรงเรียนในสัดส่วนสูงกว่าวัคซีนอื่นคือร้อยละ 8อย่างไรก็ตามวัคซีนใหม่เหล่านี้มีราคาสูงเนื่องจากไม่เป็นวัคซีนบังคับ รัฐบาลมิได้จัดการกลไกการตลาดเพื่อลดราคา ขณะเดียวกันนักวิชาการได้ให้ข้อมูลประชาชนในวงกว้างในเรื่องความจำเป็น คุณประโยชน์ที่ได้รับ ประกอบกับโรงพยาบาลเอกชนมีการเดินตลาดโรงเรียนเพื่อขายวัคซีนเป็นลอตใหญ่ๆโดยร่วมมือกับโรงเรียนออกจดหมายถึงผู้ปกครองลักษณะการสื่อความรู้ กระบวนการดังกล่าวเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองก็จริงแต่เป็นการกดดันผู้ปกครองให้ไม่มีทางเลือก เนื่องจากไม่มีเหตุผลใดจากข้อมูลที่ได้รับที่จะตัดสินใจไม่ให้ลูกฉีดวัคซีน นอกจากไม่ยอมจ่ายเงินเท่านั้น หากวัคซีนใหม่เหล่านี้มีความจำเป็นจริง นักวิชาการควรดำเนินการแสดงประโยชน์และความคุ้มทุนต่อรัฐบาล เพื่อต่อรองให้เด็กทุกคนได้รับเท่าเทียมกัน  การขายวัคซีนนั้นไม่ควรให้มีการเดินซื้อขายผ่านโรงเรียนยอย่างเสรีโดยพนักงานขายตรง และให้ข้อมูลสุขภาพเชิงโฆษณาแม้ว่าข้อมูลจะมีประโยชน์ก็ตาม แต่เป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมกันในการป้องกันโรค โดยซ่อนเร้นการไม่ยอมแก้ไขกลไกตลาดเพื่อลดราคาลง ทั้งนี้ทั้งนั้นประโยชน์มิได้คำนึงถึงเด็กที่จะได้รับวัคซีนนี้น แต่คำนึงถึงกำไรสูงสุดที่บริษัทผู้ผลิตจะได้รับ รวมทั้งผลประโยชน์เล็กน้อยที่โรงพยาบาลและโรงเรียนจะได้รับเป็นค่ายี่ปั๊ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 76 ทดสอบครีมลดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า

ในบรรดาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวที่ใช้ ๆ กันอยู่ นอกจากครีมเพื่อผิวขาวหรือไวท์เทนนิ่งซึ่งเป็นที่นิยมมาพักใหญ่ ๆ แล้ว  ผลิตภัณฑ์เพื่อต่อต้านและลดริ้วรอยบนใบหน้าก็เป็นเครื่องสำอางอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่สาว ๆ และหนุ่ม ๆ หลายคนทราบกันดีว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีราคาค่อนข้างสูง ยิ่งยี่ห้อที่มีเคาน์เตอร์ในห้างเป็นของตัวเองก็ยิ่งแพงขึ้นไปอีก  แต่จากการที่คนบางคนไม่อยากให้ตัวเองดูแก่กว่าวัย ซ้ำยังอยากให้ผิวหน้าดูอ่อนเยาว์ ปราศจากริ้วรอย เหมือนกับพรีเซ็นเตอร์ในโฆษณา หลาย ๆ คนจึงยอมควักกระเป๋าจ่ายไม่อั้นเพื่อให้ได้ผิวประเภท “โกงอายุ” มาประดับใบหน้ากัน ผลก็คือ ทำให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์เพื่อต่อต้านและลดริ้วรอยเหล่านี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถิติมูลค่าการตลาดของครีมบำรุงผิวซึ่งอยู่ที่ 6,000 ล้านบาทนั้น พบว่าเป็นมูลค่าการตลาดของครีมต้านริ้วรอยถึงร้อยละ 40 โดยเติบโตขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 60 เลยทีเดียว   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในบรรดาผลิตภัณฑ์ครีมลดริ้วรอยที่วางขายกันอยู่ ยังไม่มีใครทราบถึงประสิทธิภาพการทำงานที่แท้จริงของมันเลย และต่อไปนี้คือผลการทดสอบที่ทำโดยองค์การทดสอบระหว่างประเทศ ICRT (International Consumer Research and Testing) โดยผลการทดสอบชิ้นเดียวกันนี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน นิตยสารคอนซูเมอร์ รีพอร์ท (Consumer Reports) ของสหรัฐอเมริกา และ นิตยสารเคอ ชัวร์ซี (Que Choisir) ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วมส่งตัวอย่างเข้าทดสอบ ในฉบับเดือนมกราคมที่ผ่านมาซึ่งจะช่วยไขปริศนาว่าครีมลบริ้วรอยหลาย ๆ ยี่ห้อที่เราพบเห็นทั่วไป หรือที่บางคนอาจกำลังใช้อยู่ทุกเช้าเย็นนั้น มีประสิทธิภาพเหมือนที่ได้โฆษณาไว้จริงแท้แน่นอนแค่ไหน และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่ผลที่ได้จากการทดสอบ 1.ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดจัดเป็นครีมลดริ้วรอยที่ดีที่สุดได้ จากคะแนนรวม 100 คะแนนโดยวัดผลจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ประสิทธิภาพในการลดริ้วรอย , ประสิทธิภาพในการบำรุงผิว และการไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ พบว่าจาก 13 ผลิตภัณฑ์มีเพียง 4 ผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่ได้รับคะแนนเกินครึ่ง ซึ่ง Diadermine Expert rides เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคะแนนสูงสุด แต่ก็ได้เพียง 62 คะแนน เท่านั้น อันดับสองคือ Oil of Olay Olay Regenerist 61 คะแนน , อันดับสามคือ Lancôme Renergie 56 คะแนน โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการลดริ้วรอยในขั้นดีแต่ไม่ถึงกับดีมาก แต่มีประสิทธิภาพในการบำรุงในขั้นดีมากและไม่พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้แก่ผู้ทดสอบ  และอันดับสี่คือ Roc Retin-OX 54 คะแนน มีประสิทธิภาพในการลดริ้วรอยและประสิทธิภาพในการบำรุงอยู่ในขั้นดี แต่พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้มากโดยมีผู้ทดสอบหยุดใช้ถึง 5 คนจากจำนวน 20 คน2.ราคาหรือยี่ห้อ หรือคำโฆษณา ไม่ใช่ตัวชี้วัดถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ แท้จริงแล้ว “ผลิตภัณฑ์ควบคุม” ในการทดสอบครั้งนี้ คือ ครีมบำรุงผิว Oil of Olay สูตรดั้งเดิม ซึ่งมีคะแนนทดสอบ 33 คะแนนอยู่อันดับที่ 11 ราคาเพียง 253 บาทซึ่งเป็นราคาต่ำที่สุดของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่นำมาทดสอบ แต่ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์อย่าง La Prairie Cellular  ซึ่งมีราคาถึง 6 พันกว่าบาทนั้น กลับมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกันมาก โดยได้คะแนนทดสอบ 34 คะแนนอยู่อันดับที่ 10 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าช่วยลบเลือนริ้วรอยบนผิวหน้าได้ก็ยังได้คะแนนทดสอบต่ำติดท้ายตารางเสียด้วยซ้ำ คือ Roc Retinol Correxion Deep Wrinkle 31 คะแนน อยู่อันดับที่ 12  และ Nivéa visage Q10 Advanced Wrinkle Reducer 27 คะแนน อันดับที่ 13และเมื่อดูคะแนนโดยรวมทั้ง 13 ผลิตภัณฑ์แล้ว ประสิทธิภาพในการลดริ้วรอยไม่ได้แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดนัก หน้าที่หลัก ๆ ของครีมเหล่านี้ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ในการบำรุงผิว รักษาความชุ่มชื้นเสียมากกว่า 3. ความพึงพอใจของผู้ใช้กับการโฆษณาส่วนใหญ่แล้วอยู่ในระดับดี ถึงดีมาก แต่ก็เป็นเพียงความรู้สึกของผู้ใช้เท่านั้น ซึ่งมักจะถูกมาใช้ประโยชน์เพื่อการโฆษณาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ดังกรณีตัวอย่างของครีม Klein-Becker USA ความจริงแล้วสิ่งที่ผู้บริโภคควรเข้าใจคือ รอยเหี่ยวย่นบนใบหน้านั้น เกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายนอกอย่างรังสีดวงอาทิตย์ และปัจจัยภายใน คืออายุที่มากขึ้น หรือความเครียดของเรานั่นเอง และเมื่อเกิดริ้วรอยขึ้นแล้ว ไม่มีเครื่องสำอางใด ๆ ที่จะสามารถลบเลือนได้ง่าย ๆ เราจึงควรหันมาป้องกันที่สาเหตุ ด้วยการใช้ครีมกันแดด และใช้ชีวิตให้มีความเครียด หรือความกังวล น้อยที่สุด การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยได้มากKlein-Becker USA Strivectin-SD Intensive Concentrate for Existing Stretch Marks  เป็นครีมสัญชาติอเมริกัน ที่ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อให้เป็นครีมลดรอยแตกลายของผิวหนัง ครีมยี่ห้อนี้โด่งดังมากในฝรั่งเศส และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นครีมที่ลบริ้วรอยที่มีประสิทธิภาพที่สุดมาแล้ว จากการสำรวจความเห็นของสาวฝรั่งเศส 264 คน เมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา !! แต่เมื่อดูจากผลทดสอบแล้ว กลับพบว่าประสิทธิภาพในการลดริ้วรอยอยู่แค่ระดับปานกลางเท่านั้นเอง อยู่ลำดับที่ 8 จาก 13 ผลิตภัณฑ์ แต่ราคาขายคิดเป็นเงินไทย 3,450 บาทจัดว่าแพงทีเดียวเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของมันหน้าที่ของสารชื่อดังในเครื่องสำอาง1.    เรตินอล เป็นญาติห่าง ๆ กับกรดวิตามินเอ ซึ่งสามารถทำให้ริ้วรอยจางลงด้วยการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนังแท้ เรตินอลสามารถใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ เพราะทำให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่า ในขณะที่กรดวิตามินเอนั้นมีการทำงานเข้มข้น (และมีผลข้างเคียงคืออาการระคายเคือง ในคนที่ผิวแห้ง) จัดเป็นยาและต้องมีการควบคุมความเข้มข้นในการใช้  เป็นสารที่ไวต่อแสงมาก อาจทำให้ผิวหน้าแดง คัน หรือแสบได้ จึงเหมาะกับการใช้ทาในเวลากลางคืนเท่านั้น 2.    คิวเท็น (Q 10) เป็นสารที่ผิวของคนเรามีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ทำหน้าที่ให้พลังงานกับเซลล์ และเป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระ เพียงแต่เมื่อเราอายุมากขึ้นหรือได้รับแสงแดดมาก ๆ สารตัวนี้จะลดลง ผู้ผลิตนิยมใช้สารตัวนี้ในครีมสำหรับผิวที่แพ้ง่าย เพราะไม่ทำให้เกิดอาการระคายผิวเหมือนสารในตระกูลวิตามินเอ นั่นเอง3.    คอลลาเจนและอิลาสติน เป็นโปรตีนเรามีอยู่แล้วใต้ชั้นผิวหนัง ทำหน้าที่ควบคุมความยืดหยุ่นและความสามารถในการอุ้มน้ำของผิวหนัง แต่คุณภาพของโปรตีนเหล่านี้จะเสื่อมสภาพลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น 4.    กรด AHA (Alpha Hydroxy Acids) และ BHA (Beta Hydroxy Acids) เป็นกรดที่สกัดได้จากผลไม้ สามารถทำให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วบนผิวหนังชั้นบนหลุดออก ทำให้ผิวดูเรียบเนียนและใสขึ้น 5.    วิตามินอี นิยมใช้กันมากในครีมบำรุงผิว เพราะพบว่านอกจากจะเป็นสารบำรุงทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตแล้ว ยังสามารถป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดริ้วรอยได้ด้วย วิตามินอีสามารถละลายในไขมันผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดี 6.    วิตามินซี เป็นอีกหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระ ผู้ผลิตนิยมใช้เป็นส่วนผสมทั้งในครีมสำหรับกลางวันและกลางคืน เนื่องจากไม่ทำปฏิกิริยาต่อแสงแดด วิตามินซีนั้นดีตรงที่ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้และมีคุณสมบัติในการให้ผิวขาวใสขึ้น แต่คุณสมบัติต่างๆเหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อผิวน้อยมาก เนื่องจากวิตามินซีเป็นวิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ จึงไม่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ชั้นผิวหนังได้ ประสิทธิภาพการลดริ้วรอยของเครื่องสำอางต่างกันแค่ไหน โดยทั่วไปแล้วส่วนผสมน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของครีมลบริ้วรอย แต่ถ้าดูจากผลการทดสอบครั้งนี้ จะเห็นว่า ส่วนผสมของครีมกับประสิทธิภาพโดยรวมของครีม มีความสัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนสูงที่สุด และคะแนนต่ำที่สุดต่างก็มี เรตินอล เป็นส่วนผสมทั้งคู่  ------------------------------------------------------------------------------------------------ •    ในแต่ละปี คนอเมริกันใช้เงินกว่า 1 พันล้านเหรียญ (สามหมื่นหกพันล้านบาท) เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย •    โดยเฉลี่ยแล้ว คนฝรั่งเศสหนึ่งคนจะใช้จ่ายเงินในการซื้อเครื่องสำอางและน้ำหอม คนละ 100 ยูโร (ประมาณ 4,700 บาท) ต่อปี •    ร้อยละ 70 ของผู้หญิงฝรั่งเศส ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และร้อยละ  38 ของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย ------------------------------------------------------------------------------------------------ ผิวหนังเกิดริ้วรอยมีสาเหตุจากอะไร สาเหตุของการเกิดริ้วรอยบนผิวหนัง นั้นเกิดจากการที่ผิวหนังสูญเสียความชุ่มชื้น ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ผิวหนังเสียความชุ่มชื้นมีสองประการได้แก่ 1.    รังสีจากดวงอาทิตย์  และ2.    การลดลงของฮอร์โมนเพศ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ทำให้เซลล์ผิวหนังของขาดความยืดหยุ่น ความสามารถในการอุ้มน้ำลดลง และความเครียด ที่เป็นตัวการทำให้เซลล์ผิวเสื่อมเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น กระบวนการทดสอบ   ระยะเวลาทดสอบ 12 สัปดาห์  (13 มีนาคม – 16 มิถุนายน 2549) สถาบันทดสอบ Institut Dr. Schrader Creachem GmbH ประเทศเยอรมนี ผู้เข้าร่วมการทดสอบ เพศหญิง อายุระหว่าง 30 ถึง 70 ปี  มีสุขภาพผิวดี ไม่เคยได้รับการฉีดโบทอกซ์ หรือคอลลาเจน และไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อสภาพผิวหนัง ในช่วงสามสัปดาห์ก่อนการทดสอบ (ไม่ว่าจะเป็นโดยการรับประทาน หรือการใช้ภายนอก) ผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ 13 ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย ที่ติดอันดับขายดีที่สุดในผรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา (11 ผลิตภัณฑ์ เป็นครีมที่แยกใช้เฉพาะกลางวันและกลางคืน ที่เหลืออีก 2 ผลิตภัณฑ์ เป็นครีมประเภทที่ใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน) จะใช้ผู้ทดสอบ 20 คนต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์ วิธีทดสอบ ผู้ร่วมการทดสอบในแต่ละผลิตภัณฑ์ จะได้รับครีม 2 ตัวอย่าง เพื่อใช้ทาบนใบหน้าทั้งกลางวันและกลางคืน โดยไม่ทราบว่าทั้ง 2 ตัวอย่างเป็นผลิตภัณฑ์ใด ครีมตัวอย่างที่หนึ่ง เป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมที่ผู้ทดสอบจะได้รับเหมือนกันทุกคน ใช้ทาบนใบหน้าด้านหนึ่ง (ในการทดสอบครั้งนี้ ครีมควบคุมได้แก่ ครีมบำรุงผิวธรรมดา ที่ไม่ได้มีส่วนผสมเพื่อการลดริ้วรอย) ครีมตัวอย่างที่สอง เป็นผลิตภัณฑ์ทดสอบ ซึ่งผู้ทดสอบ จะใช้ทาลงบนใบหน้าอีกด้านหนึ่ง ผู้ร่วมการทดสอบทุกคนจะทำความสะอาดผิวหน้าด้วยวิธีเดียวกัน ได้แก่การล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าชนิดเดียวกัน ในตอนเย็น และล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า (ที่อุณหภูมิห้อง) ในตอนเช้า คำอธิบายตาราง(1) ราคา เป็นราคารวมทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับกลางวัน และกลางคืนของต่างประเทศ แปลงค่าเป็นเงินบาท  (2) คะแนนโดยรวม เต็ม 100 คะแนน โดยวัดผลจาก 3 ปัจจัย คือ 80 คะแนน จากประสิทธิภาพในการลดริ้วรอย10 คะแนน จากประสิทธิภาพในการบำรุงผิว10 คะแนน จากการที่ครีมไม่ทำให้เกิดอาการแพ้(3) ประสิทธิภาพในการลดริ้วรอย ประเมินจาก1. ความเปลี่ยนแปลงของจำนวนรอยย่น  รวมถึงความยาว ความลึก และความหยาบกร้านของผิว หลังการใช้เป็นเวลา 12 สัปดาห์2. ภาพถ่ายรอยย่นบริเวณหางตาของผู้ทดสอบ ก่อน ระหว่าง และหลังการใช้เกณฑ์ให้คะแนนแบ่งเป็น ต่ำ , พอใช้ , ดี , ดีมาก(4) ประสิทธิภาพในการบำรุงผิว ประเมินจากปริมาณน้ำที่วัดได้ในผิวหนัง หลังจากการใช้เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เกณฑ์ให้คะแนนแบ่งเป็น ต่ำ , พอใช้ , ดี , ดีมาก(5) การทำให้เกิดอาการแพ้ วัดจากจำนวนผู้เข้าทดสอบที่ต้องเลิกใช้เพราะเกิดอาการแพ้ เกณฑ์ให้คะแนนแบ่งเป็น ไม่พบ หมายถึงไม่มีผู้ทดสอบที่หยุดใช้ผลิตภัณฑ์พบ หมายถึงมีผู้ทดสอบที่หยุดใช้ ไม่เกิน 2 คนพบมาก หมายถึงมีผู้ทดสอบที่หยุดใช้ มากกว่า 2 คน(6) ความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการลดริ้วรอย ผู้ทดสอบตอบแบบสอบถามด้านความพึงพอใจ ในสัปดาห์ที่ 4 และ 12 เกี่ยวกับ ความชุ่มชื้น ความเรียบลื่น และความยืดหยุ่นของผิวหนัง และการจางหายไปของริ้วรอย ที่ผู้ทดสอบรู้สึกได้(7) ความพึงพอใจต่อตัวเนื้อครีม เช่น ลักษณะของเนื้อครีม กลิ่น ความสม่ำเสมอในการกระจายตัวเนื้อครีม การซึมลงสู่ผิวหนัง และลักษณะของผิวหน้าหลังทาครีม เกณฑ์ให้คะแนนความพึงพอใจ แบ่งเป็น  ต่ำ , พอใช้ , ดี , ดีมาก   ผลการทดสอบเครื่องสำอางที่อ้างว่ามีประสิทธิภาพในการลดริ้วรอยบนใบหน้า   ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากประเทศ ราคา(1) (บาท)   คำโฆษณาบนบรรจุภัณฑ์   คะแนนรวม(2) ประสิทธิภาพในการลดริ้วรอย(3) ประสิทธิภาพในการบำรุงผิว(4) การทำให้เกิดอาการแพ้(5) ความพึงพอใจของผู้ใช้ ความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการลดริ้วรอย(6) ความพึงพอใจต่อตัวเนื้อครีม(7) 1 Diadermine Expert rides ฝรั่งเศส 529 เสริมสร้างเนื้อเยื่อ ให้ริ้วรอยตื้นขึ้น   62 ดี ดีมาก ไม่พบ ดี ดีมาก 2 Oil of Olay Olay Regenerist อเมริกา       721 เผยผิวใหม่ ทีละเซลล์ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ทำให้ผิวเนียนนุ่ม 61 ดี ดีมาก ไม่พบ ดีมาก ดีมาก 3 Lancôme Renergie ฝรั่งเศส  อเมริกา   3,154 ซ่อมแซมผิว เพิ่มความกระชับ ต่อต้านริ้วรอย 56 ดี ดีมาก ไม่พบ ดี ดี 4 Roc Retin-OX   ฝรั่งเศส   851 บำรุงผิว รักษาริ้วรอย อย่างเข้มข้น 54 ดี ดี พบมาก ดีมาก ดี 5 Neutrogena Neutrogena Visibly Firm   อเมริกา 613 สูตรปรับปรุงใหม่ เพื่อผิวที่กระชับ เต่งตึงขึ้น 47 ปานกลาง ดี พบ ดี ดี 6 Avon Anew Alternative         ฝรั่งเศส  อเมริกา 1,748 ดูแลริ้วรอยที่เกิดจากวัยอย่างเข้มข้น 44 ปานกลาง ดีมาก พบ ดีมาก ดี 7 L'Oreal Paris Dermo Expertise Wrinkle De-Crease with Boswelox ฝรั่งเศส  อเมริกา   592 ปรับลดริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงอารมณ์ ทำให้ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น 42 ปานกลาง ดีมาก พบ ดี ดี 8 Klein-Becker USA Strivectin-SD Intensive Concentrate for Existing Stretch Marks ฝรั่งเศส  อเมริกา 3,450 ทำให้ผิวดูเรียบ กระชับขึ้น รอยแตกลายดูจางลง พิสูจน์แล้วว่าได้ผล โดยร้อยละ 93 ของผู้ทดลองใช้ 40 ปานกลาง ดี ไม่พบ ดี พอใช้ 9 L'Oreal Paris Dermo Expertise RevitaLift Anti-Wrinkle & Firming Cream ฝรั่งเศส  อเมริกา   494 ประสิทธิภาพ การทำงานล้ำลึก 38 ปานกลาง ดีมาก ไม่พบ ดี ดีมาก 10 La Prairie Cellular ฝรั่งเศส  อเมริกา 6,042 เสริมสร้างเนื้อเยื่อ 34 ต่ำ ดี พบ ดี ดี 11 Oil of Olay Active hydrating cream – original   อเมริกา     253 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว 33 ต่ำ ดีมาก พบ ดี พอใช้ 12 Roc Retinol Correxion Deep Wrinkle อเมริกา 721 ลบเลือนริ้วรอยจากการแสดงอารมณ์ และริ้วรอยลึก 31 ต่ำ ดีมาก พบ ดีมาก ดี 13 Nivéa visage Q10 Advanced Wrinkle Reducer ฝรั่งเศส  อเมริกา     484 ลดริ้วรอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดริ้วรอยใหม่ ปรับสภาพผิวอย่างเข้มข้น 27 ต่ำ ดีมาก ไม่พบ ดี พอใช้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 64 การพัฒนาเพื่อคุณภาพร้านยาในประเทศไทย

ภ.ญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร1, ภ.ก.วราวุธ เสริมสินสิริ2 สำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา สภาเภสัชกรรม, สำนักงานโครงการพัฒนาคุณภาพร้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา   ร้านยาเป็นสถานบริการทางสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ (Primary Care Unit) ซึ่งมีความสำคัญ เป็นที่พึ่ง และอยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมาเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นแหล่งที่ประชาชนตัดสินใจเลือกไปใช้บริการในเบื้องต้นเมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้น เป็นทางเลือกเพื่อการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเริ่มมีการก่อตั้งโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามการแพทย์ตะวันตก  และจากการศึกษามากมายบ่งชี้ให้เห็นว่า  ร้านยาเป็นจุดที่ประชาชนเลือกมารับบริการเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยในเบื้องต้นสูงถึงร้อยละ 60-80  และคิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 45 ของมูลค่าการบริโภคยาทั้งประเทศ (สุวิทย์และคณะ, 2537)  และพบว่าการใช้บริการด้านยาผ่านร้านยานี้คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 14.8 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพของครัวเรือน หรือประมาณร้อยละ 6.83 ของรายจ่ายสุขภาพเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งหมดของประเทศไทย (อดิศวร์ หลายชูไทยและคณะ, 2541) จากสภาพเศรษฐกิจและวิถีชีวิตในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพตนเองมากนัก ละเลยในการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ได้ใส่ใจที่จะออกกำลังกาย มุ่งแต่ทำงาน  และมีเวลาให้ตนเองน้อยลง เมื่อเกิดการเจ็บป่วยเล็กน้อย ประชาชนจึงยังต้องพึ่งบริการจากร้านยา แม้ว่าปัจจุบันสถานพยาบาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลเกิดขึ้นมากมายแล้วก็ตาม ร้านยายังเป็นทางเลือกที่สะดวก เข้าถึงง่าย จากการสำรวจรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน (ระบบยา, 2545) พบว่าหลังจากเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ แนวโน้มที่ประชาชนซื้อยากินเองกลับเพิ่มขึ้นจาก 15.4 ในปี 2542 เป็น 18.6 ในปี 2543 ขณะที่สัดส่วนการใช้บริการที่สถานพยาบาลลดลง   และจากรายงานการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ในปี 2544 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2545) พบว่าพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการเมื่อเจ็บป่วยกรณีไม่ต้องนอนโรงพยาบาลของประชาชนไทย ส่วนใหญ่ซื้อยากินเองร้อยละ 23  ใช้บริการที่สถานีอนามัยร้อยละ 20   ใช้บริการที่โรงพยาบาลจังหวัด/โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ ร้อยละ 20  ใช้บริการที่โรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 13   ใช้บริการที่คลินิกเอกชนร้อยละ 12  และอื่นๆ   จะเห็นได้ว่าร้านยาเป็นสถานบริการหนึ่งที่ประชาชนเลือกใช้บริการเป็นด่านแรก และยังคงเป็นที่พึ่งทางด้านสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่ในการดูแลตนเอง แต่การที่ประชาชนตัดสินใจซื้อยากินเอง ก็พบปัญหาที่ต่อเนื่องมากมาย  ทั้งการใช้ยาไม่เหมาะสม การใช้ยาฟุ่มเฟือยมากเกินความจำเป็น การใช้ยาที่ไม่ต่อเนื่อง รวมถึงอันตรายจากการใช้ยาในบางประเภท ทั้งยาชุดและยาควบคุมพิเศษต่าง ๆ   สาเหตุหลัก ๆ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากร้านยาในสังคมไทย ยังไม่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดและคาดหวังไว้ การควบคุมกำกับร้านยาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ยังไม่ต่อเนื่องจริงจัง มีการศึกษาหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นถึงการจ่ายยาที่ผิดกฎหมายและไม่เหมาะสมตามหลักการวิชาการ (บรรหาร และคณะ, 2540; เพียงฤทัย และดวงฤดี, 2544; โกมาตร และคณะ, 2542; Thamlikitkul 1998) สอดคล้องกับผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในปี 2544 ที่ชี้ให้เห็นว่า มีการจ่ายยาเตตร้าซัยคลินที่หมดอายุแล้วโดยร้านขายยาแผนปัจจุบันและร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จฯ ถึงร้อยละ 23.8 และ 21.7 ตามลำดับ (เพียงฤทัย และดวงฤดี, 2544) นอกจากนี้ จากการสำรวจของบริษัท IMS (ธีระ ฉกาจนโรดม, 2543) พบว่ายอดขายยาผ่านช่องทางร้านยาสูงสุด 10 อันดับแรก มีมูลค่ารวมกันประมาณ 1,289 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 12.4 ของมูลค่าการบริโภคยาผ่านช่องทางร้านยาในช่วงเดียวกัน  โดยยาคุมกำเนิด Diane-35 มียอดขายสูงสุด รองมาเป็นยาแก้หวัด Tiffy  ผลการสำรวจสอดคล้องกับการสำรวจรายการยา จากร้านยาเพื่อการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดค่ายาเมื่อปี 2541 (รุ่งเพ็ชร เจริญวิสุทธิวงศ์, 2541)  ที่พบว่า Tiffy มียอดขายสูงสุดในยากลุ่มทางเดินหายใจ และ Diane-35 มียอดขายสูงสุดในกลุ่มยาคุมกำเนิด   มีข้อสังเกตว่ายา Diane-35 ซึ่งติดอันดับยอดขายสูงสุดไม่ใช่ยาที่ควรซื้อใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร   จากการพิจารณายาใน 10 อันดับแรกที่มีการบริโภคสูงสุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของการโฆษณาที่บริษัทต่างๆ ใช้ ผลักดันให้อุปทานยาขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลให้เกิดการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เกินความจำเป็น หรือมีการบริโภคผิดซึ่งอาจเกิดอันตรายและสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาประเมินความสูญเปล่าจากการจ่ายยาแก้ปวดหลังของร้านยาในกรุงเทพมหานครโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่ามีมูลค่า 29 - 62 ล้านบาทต่อปี (ดวงทิพย์, 2540) ปัญหาเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า นโยบายควบคุมร้านยาที่เป็นอยู่น่าจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ และไม่สามารถใช้เป็นมาตรการหลักในการกำกับให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพในร้านยาได้ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีโครงการพัฒนาร้านยาให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่สร้างขึ้น  เพื่อยกระดับการให้บริการของร้านยา แต่โครงการก็ไม่สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากปัญหาความไม่ชัดเจนของมาตรฐาน กลไกการประเมิน วิธีเพิกถอนใบรับรอง และที่สำคัญในระบบที่ผ่านมายังขาดแรงจูงใจและความชัดเจนในการกระตุ้นให้ร้านยาต่าง ๆ พัฒนาตนเอง (มาตรฐานร้านยา อย., 2537, 2540) สภาเภสัชกรรมเห็นความสำคัญของร้านยา ที่มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ดูแลตนเองยามเจ็บป่วยเบื้องต้น เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม และเพื่อให้ร้านยาพัฒนาบทบาทให้เกิดความยอมรับในการเป็นหน่วยหนึ่งแห่งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงได้พัฒนาและจัดการยกระดับคุณภาพร้านยาให้สามารถเป็นที่พึ่งแก่ประชาชนและสังคมโดยรวมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยดำเนินการให้มีการรับรองคุณภาพร้านยาขึ้น และพัฒนา "มาตรฐานร้านยา" ตั้งแต่ปี 2544 เพื่อใช้เป็นคู่มือแนวทางในการบริการของเภสัชกรชุมชนที่ร้านยา และเป็นเกณฑ์ในการประเมิน ปัจจุบันได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานร้านยา รายละเอียดของคู่มือ แนวทางการประเมินตนเอง แนวทางการเยี่ยมสำรวจ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ ทำการเยี่ยมสำรวจ และประชุมรับรองคุณภาพร้านยารอบแรก ถึงรอบที่ 3 ไปแล้ว โครงการ "พัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา" ของสภาเภสัชกรรมนี้ เป็นงานในความรับผิดชอบของสำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา กิจกรรมหลักในโครงการฯ จะเป็นการสร้างรูปแบบการปฏิบัติงานและการให้บริการของร้านยาที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีการสร้างกลไกประเมินที่ตรวจสอบได้และทันการณ์ และมีการสร้างแรงจูงใจให้ร้านยาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานที่กำหนด (สภาเภสัชกรรม: โครงการพัฒนารูปแบบการรับรองคุณภาพร้านยา, 23 ธค.45)บทบาทของร้านยาคุณภาพต่อสุขภาพของคนใช้ยา เภสัชกรที่ให้บริการในร้านยาเป็นส่วนหนึ่งและในหลายกรณีมีฐานะเป็น "ด่านแรก" ที่ผู้ป่วยจะเข้ามาใช้บริการสุขภาพจากผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งบางรายดูแลสุขภาพตนเองมาแล้วในเบื้องต้นโดยไม่ใช้ยา ผู้ป่วยที่พึ่งพาร้านยา ไว้วางใจให้ร้านยาเป้นบริการด่านแรกของตนมีหลายกลุ่ม แบ่งได้ดังนี้ 1.    กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการดูแลรักษาพยาบาลตนเองในเบื้องต้น (Self medication)ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวต้องการที่จะเลือกซื้อยาบำบัดอาการ ความเจ็บป่วยของตนในเบื้องต้น โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจของตนเอง การบอกเล่าจากเพื่อน เครือญาติ จากประสบการณ์ตรงของตนเอง หรือ มาจากการโฆษณายาทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านสื่อต่างๆ ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะมาเภสัชกรในร้านยาโดยจะเรียกหา "รายชื่อยา" ที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับดูแลรักษาตนเองหรือคนในครอบครัว ต่อกรณีนี้บทบาทของเภสัชกรในร้านยาจะมีบทบาทหลัก คือการประเมินความเหมาะสม ของยาที่เรียกหานั้น และส่งเสริมการดูแลตัวเองด้วยการใช้ยาอย่างเหมาะสมมากขึ้น โดยเภสัชกรจะมีกระบวนการในการสอบถาม ตรวจสอบซ้ำถึงความเจ็บป่วยและอาการของผู้ป่วย เภสัชกรจะประเมินยาที่เรียกหาว่ามีความเหมาะสมกับอาการและความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่มากน้อยเพียงใด รวมทั้งประเมินความเหมาะสมด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็นอายุ โรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำอยู่ หากผู้ป่วยเข้าใจผิดในสรรพคุณของยาที่ตนเองเรียกหาหรือเกิดความไม่เหมาะสมขึ้น เภสัชกรจะให้ความรู้และปรับเปลี่ยนให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ รวมทั้งเสนอแนวทางการเลือกใช้ยา และการรักษาที่ถูกต้อง 2.    กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการปรึกษาต้องการคำแนะนำและให้เภสัชกรพิจารณาเลือกจ่ายยาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะเข้ามาด้วยการบอกเล่า อาการความเจ็บป่วยและให้เภสัชกรเลือกสรรยาที่เหมาะสมให้ ต่อกรณีนี้บทบาทของเภสัชกร คือการคัดกรองและรักษาโรคพื้นฐานอย่างเหมาะสม อยู่ภายใต้ขอบเขตความรู้ความสามารถของ เภสัชกรโดยเภสัชกรจะมีกระบวนการซักประวัติผู้ป่วย วินิจฉัย และเลือกยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย โดยใช้องค์ความรู้หลักๆ คือ Pharmaco therapy (เภสัชบำบัด) ความรู้พื้นฐานเรื่องโรค รวมทั้งทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตาม บทบาทดังกล่าวนั้นจะถูกวางกรอบไว้ เฉพาะผู้มารับบริการรายที่ป่วยด้วยโรคพื้นฐาน (ไข้หวัด ท้องเสีย กระเพาะปัสสาวะอักเสบ บาดแผล เป็นต้น) โดยเภสัชกรจะประเมินแล้วว่า อยู่ในขอบเขตที่สามารถให้การดูแล รักษาได้ การส่งต่อผู้ป่วยให้ไปรับการตรวจวินิจฉัย และ รักษาจากแพทย์ในสถานพยาบาลที่เหมาะสมหลังจากที่เภสัชกรคัดกรองผู้ป่วยแล้วจะส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ในรายที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและการรักษาจากแพทย์ เช่น เป็นอาการฉุกเฉินของโรคบางอย่าง เป็นโรคที่เกินกว่าศักยภาพของเภสัชกรในการดูแล มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรัง หรือ ควรพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น การสื่อสารกับแพทย์อาจจะจำเป็นในบางกรณีเพื่อทุ่นเวลาหรือชี้ประเด็น สำหรับอำนวยความสะดวกกับแพทย์ที่จะรับการส่งต่อ โดยอาจจะมีเอกสารประกอบการส่งตัว เช่น ใบส่งตัว (Referral form) 3.    กลุ่มผู้ป่วยที่มาเรียกหา "ยาที่ใช้ประจำ" หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์มาแล้วในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนั้นจะเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังซึ่งจำเป็นต้องรับประทานยาเป็นระยะเวลานาน ต้องการการติดตามการดำเนินโรคและการควบคุมโรคจากแพทย์ โดยหลักแล้วการมีโอกาสได้พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในหลายกรณี การพบแพทย์อย่างต่อเนื่องนั้นมีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การเสียเวลารอคอย ภาระค่าใช้จ่ายที่สูง หรือกรณีที่ยาหมดก่อนถึงวันนัด เป็นต้น ดังนั้นการมาเรียกหายาที่ใช้ประจำในร้านยาจะเป็นการสะดวกกับผู้ป่วย โดยบทบาทของเภสัชกรในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวคือประเมินสภาวะของโรคและความเหมาะสมในการจ่ายยาที่ใช้ประจำ [Refill]รวมทั้ง สืบค้น และติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ก่อนที่เภสัชกรจะ Refill ยาให้ผู้ป่วย การประเมินความเหมาะสมก่อนจ่ายยามีความจำเป็น โดยการพิจารณาถึง ประสิทธิภาพการการควบคุมโรคของยาเดิมด้วยการติดตามผลการรักษาว่าสามารถควบคุมอาการ โรคได้หรือไม่ โดยจะมีซักถามอาการ รวมทั้งอาจจะให้บริการอื่นๆ เช่น บริการเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลโดยใช้เครื่องตรวจแบบง่ายๆ หรือวัดความดันโลหิต นอกจากนั้นจะพิจารณาถึง ความถี่ห่างของการพบแพทย์ และที่สำคัญคือ การ สืบค้นปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ความร่วมมือในการใช้ยา การได้รับยามากเกินไป น้อยเกินไป การเกิดDrug Interaction ระหว่างยาเป็นต้น ให้คำแนะนำเฉพาะที่จำเป็นต่อผู้ป่วยที่มารับบริการ จ่ายยาเดิมที่ใช้ประจำ [Refill] ยาหลังจากนั้นจะให้บริการด้านคำแนะนำเพิ่มเติมในกรณีที่ผู้มาใช้บริการร้องขอหรือประเมินแล้วผู้ป่วยขาดข้อมูลที่จำเป็น ซึ่งคำแนะนำที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีมากมาย เช่น-    ข้อบ่งใช้ของยา-    การปฏิบัติตัวเฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ-    อาการแทรกซ้อนที่จะตามมา-    การใช้และรับประทานยาที่ถูกต้อง-    ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น -    ปฏิกิริยาของ ยาอื่นๆ ที่ผู้ใช้อยู่ประจำ กับ ยาที่มาหาซื้อ-    ส่วนอื่นๆที่สนใจ เช่น การแก้ไขเบื้องต้นในอาการแทรกซ้อนที่จะเกิด-    การปรับวิถีชีวิตและการปฏิบัติตัว (Life  style  modification) เฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ-    ความจำเป็นในการพบแพทย์ และช่วงเวลาที่ควรไปพบแพทย์ครั้งต่อไป โดยการประเมินจากประสบการณ์ส่วนตัวของเภสัชกรว่า โรคนั้นๆ ผู้ป่วยรายนั้นๆ ควรไปพบแพทย์เมื่อใด บ่อยแค่ไหน แพทย์นัดเมื่อไร ผู้ป่วยทั้ง 3  กลุ่ม นอกจากจะได้รับการบริการเฉพาะข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับบริการที่เป็นพื้นฐานในการให้บริการ คือ การส่งมอบยา พร้อมคำแนะนำด้านยา และตอบสนองสิทธิผู้ป่วยพื้นฐานด้านข้อมูลยาหลังจากเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแล้ว การส่งมอบยาพร้อมคำแนะนำด้านการใช้ยาเป็นบทบาทสำคัญที่ตามมา โดยเภสัชกรจะให้คำแนะนำด้านการใช้ยากับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพในการรักษา มีเข้าใจ และเกิดความร่วมมือในการใช้ยา (Compliance) โดยการให้คำแนะนำจะเน้นประเด็นต่างๆที่สำคัญ เช่น ชื่อยา (ระบุบนซองยา) ปริมาณและวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องมีประสิทธิภาพ (ระบุบนซองยา)   คำเตือน (ระบุบนซองยา)  สรรพคุณของยา ข้อบ่งใช้ กลไกของยาในการรักษาเบื้องต้น และการเฝ้าระวัง ป้องกัน และบำบัดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการบริโภคยา โดยใช้องค์ความรู้ในเชิง เภสัชวิทยา (Pharmacology) เสริมในการให้บริการ นอกเหนือจากความรู้ที่ใช้ในการรักษาโรคพื้นฐานด้วยยาการให้ความรู้เรื่องโรคและยา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ผู้ป่วยควรรู้บทบาทในการให้ความรู้ด้านอื่นๆ นอกจาก "ยา" เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่มีความจำเป็น เนื่องจาก ผู้ที่มาใช้บริการมักจะขาดความรู้ในเรื่องที่จำเป็นในการดูแล รักษาโรคที่ตนกำลังประสบอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุของโรค การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การดูแลตนเองให้หายจากการเจ็บป่วยเร็วมากขึ้น การประเมินความรุนแรงของโรคด้วยตนเอง การระวังอาการอันไม่พึงประสงค์ และการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการอันไม่พึงประสงค์ หรือจะเป็นความรู้เบื้องต้นในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง เป็นต้นการให้ความรู้นอกจากจะให้เป็นรายบุคคลแล้ว เภสัชกรจะให้ความรู้กับผู้ที่สัญจรไปมา ด้วยการจัดบอร์ดให้ความรู้ เอกสารแผ่นพับ จดหมายข่าว ฯลฯ  หรือในบางกรณีเภสัชกรชุมชนอาจจะมีกิจกรรมที่ให้ความรู้ต่อชุมชน  เช่น  การมีจดหมายข่าวไปสู่สมาชิกในชุมชน  การเยี่ยมบ้าน หรือการจัดบอร์ดในชุมชนการคัดเลือกยาที่มีคุณภาพ และ รับประกันคุณภาพของยาก่อนถึงมือผู้ใช้กระบวนการในการคัดเลือกยาที่จะมาให้บริการในร้าน เป็นอีกบทบาทที่มีความสำคัญ โดยการใช้ทักษะองค์ความรู้เฉพาะทางเภสัชศาสตร์ พิจารณารูปแบบยาจากภายนอก ประสบการณ์ในการคัดเลือก ประสบการณ์ด้านคุณภาพโรงงานผลิต เป็นต้น เพื่อการมียาที่คุณภาพดีที่จะใช้บริการผู้ป่วย นอกจากนั้นยังต้องสร้างระบบการควบคุม เฝ้าระวังการหมดอายุของยา ใม่ว่าจะเป็นระบบแถบสี หรือ บัญชียาหมดอายุ รวมทั้งการเก็บรักษายาตามหลักเภสัชศาสตร์เพื่อป้องกันการเสื่อมอายุของยา การเป็นปรึกษาและเป็นที่พึ่งเรื่องสุขภาพของคนในชุมชน ที่เข้าถึงง่ายเมื่อเรื่องของสุขภาพมีในหลายแง่มุม กว้างขวาง ประชาชนยังมีความรู้ไม่พอเพียง และต้องการที่ปรึกษาที่เข้าถึงง่าย เภสัชกรในร้านยาที่มีคุณภาพมักจะสามารถสร้างความเชื่อถือ ไว้ใจ ใกล้ชิดกับประชาชนพอที่จะให้บริการตอบคำถามต่างๆ ในเรื่องของสุขภาพได้ โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ในกรณีที่ต้องการให้ช่วยประเมินความปลอดภัยของยาที่จะใช้กับภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์  การประเมินความจำเป็นในการไปพบแพทย์ เป็นต้น บริการดีๆของร้านยาที่มีคุณภาพ บทบาทของเภสัชกรในร้านยาที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นบริการขั้นพื้นฐานที่ร้านยาคุณภาพพึงจะมีให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ นอกจากบทบาทพื้นฐานเหล่านี้  เช่น-    เก็บบันทึกประวัติผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาจากการใช้ยาหรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ระบบการติดตามผล -    การรณรงค์ป้องกันโรคในชุมชน โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม-    บันทึกแจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในกาคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา-    ออกให้บริการ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา นอกสถานที่ แล้วแต่เทศกาล-    เยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยบางราย-    ทำจดหมายข่าวให้ความรู้ กรณีตัวอย่างที่ 1ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนน พหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี - ตำบลคูคต เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย  6 หมู่บ้าน คือ บ้านขจรเนติยุตร, บ้านคลอง 3, บ้านสายไหม, บ้านลำสามแก้ว, บ้านสาดสนุ่น, บ้านสามัคคี เป็นตำบลที่มีการคมนาคมสะดวก เป็นที่ตั้งของตลาดสดสี่มุมเมือง ทำให้มีการสัญจรไปมาขับคั่ง ตำบลคูคต ทิศเหนือ ติด ต.ประชาธิปัตย์ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ทิศใต้ ติด กรุงเทพฯ ทิศตะวันออก ติด ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และทิศตะวันตก ติด ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี จำนวนประชากรทั้งสิ้น 15,694 คน ในตำบลคูคต มีร้านยาจำนวน 25 ร้าน คิดเป็น จำนวนร้อยละ 16.55 ของจำนวนร้านยาทั้งหมดในจังหวัดปทุมธานี ร้านส่งเสริมเภสัช โดย ภ.ก.วิรัตน์ เมลืองนนท์ ได้จัด บอร์ดให้ความรู้แก่ผู้สัญจรไปมา และผู้มาใช้บริการ เพื่อให้ได้มีความรู้มากขึ้นในแง่ของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยมีบอร์ดสำเร็จรูปทั้งหมดที่ร้านทำไว้ 40 - 50 แฟ้มที่เอาไว้เปลี่ยน เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นโรคพื้นฐาน เช่น เรื่องโรคกระเพาะ เรื่องการใช้ยา เรื่องเริม และจะมีเปลี่ยนเดือนละ 1 - 2 ครั้ง ส่วนการเลือกเรื่องนั้น แล้วแต่ฤดูกาล"...เรื่องของ โปสเตอร์หน้าร้าน นั้นจะเปลี่ยนตามช่วง ช่วงที่มีไข้เลือดออกระบาดก็จะทำเนื้อหาเกี่ยวกับไข้เลือดออกเป็นต้น ซึ่งดูจากสื่อมวลชน เราจะรู้ว่าช่วงนี้ควรติดเรื่องอะไร และดูตามฤดูกาล เช่น เข้าหน้าหนาวเราควรดูแลตนเองอย่างไร ข้อมูลที่มาจากคนไข้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่เป็นหลัก..." (สัมภาษณ์ เภสัชกรผู้ให้บริการหลักในร้านส่งเสริมเภสัช)บทบาทในการให้ความเรื่องอื่นนอกจาก "ยา" เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่มีความจำเป็น เนื่องจาก ผู้ที่มาใช้บริการมักจะขาดความรู้ในเรื่องที่จำเป็นในการดูแล รักษาโรคที่ตนกำลังประสบอยู่"...ความรู้ที่ให้ไปนั้น บางครั้งเรามองว่าเป็นบทบาทของอีกวิชาชีพหนึ่ง แต่ถึงเวลาจริงๆ คนไข้กลับไม่ได้รับความรู้เรื่องนั้นๆ ในชุมชนที่เราอยู่ไม่มีคนให้ความรู้ หรือ คนไข้ไม่ได้รับความรู้มาทั้งหมด มีระบบที่มีการให้พยาบาลมาให้ความรู้ตามโรงพยาบาล แต่ละโรงพยาบาล ระบบนี้ก็ไม่ได้ให้เหมือนกันทั้งหมด ผู้มาใช้บริการกับผมมักจะไม่ค่อยรู้ การแบ่งบทบาทวิชาชีพเป็นเรื่องดี แต่ในฐานะที่เภสัชกรชุมชน ที่มีหน้าที่ต้องคัดกรองและรักษาโรคเบื้องต้น ผมว่าควรให้ความรู้อื่นๆประกอบนอกจากเรื่องยาของเรา...และต้องมีองค์ความรู้เพียงพอในเรื่องโรค เพราะในบางครั้งเราสามารถเสริมในสิ่งเหล่านั้นได้ ถ้าผู้ป่วยเรียกร้อง หรือคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะให้.. บางครั้งเราก็ต้องรู้เพื่อแบ่งเบาภาระ แต่ต้องรู้ว่าด้านนี้ไม่ใช่ภาระหลักของเภสัชกร แต่เราต้องรู้เพื่อครอบคลุมการดูแลชุมชนของเรา เพื่อคุ้มครองเขา..." (สัมภาษณ์ เภสัชกรผู้ให้บริการหลักในร้านส่งเสริมเภสัช) กรณีตัวอย่างที่ 2ร้านเรือนยา  ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกบ้านแขก วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนฯ เป็นร้านขายยา ขนาด 2คูหา มี ภ.ก.คฑา บัณฑิตานุกูล เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเปิดตั้งแต่ 8.00 - 22.00 น. มีการรับสมัครสมาชิกกว่า 500 ราย และมี จดหมายข่าวด้านสุขภาพ ในชื่อ " เรือนยาสัมพันธ์ " เป็นสายใยความผูกพันระหว่างร้านยาและผู้ใช้ยา ส่งตรงถึงบ้านสมาชิกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทุกเดือน ๆ ละฉบับ กว่า 4 ปีแล้ว ที่วารสารเกือบ 50 ฉบับได้ส่งถึงมือผู้รับพร้อมมอบสาระ ความรู้ และสร้างความผูกพันระหว่างกัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากบริษัทยาใด ๆ เป็นความตั้งใจให้จดหมายข่าวทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง โดยมีความมุ่งหมายคือการส่งเสริมให้เกิดการดูแลสุขภาพทั้งก่อนเจ็บป่วยและหลังเจ็บป่วย รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม บางฉบับมีการสร้างกิจกรรมร่วมกันโดยมีแบบสอบถามความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน ของขวัญที่เป็นหนังสือความรู้เรื่องเล็กๆน้อยๆ ล่าสุดมีความพยายามในการเปิดเวทีความคิดให้กับสมาชิกมาร่วมกันในจดหมายข่าวมากขึ้นเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกด้วยกันมากขึ้น ตอนนี้ถึงแม้มีผู้ใช้ยาหลายคนย้ายที่อยู่และไม่ได้มาใช้บริการกับร้านเรือนยาแล้ว แต่ด้วยสายใยที่ยังเหนียวแน่น จดหมายข่าวจะยังไปถึงมือสมาชิกต่อไปแม้จะได้มาใช้บริการที่ร้านก็ตาม สิ่งดีๆเหล่านี้มีความเผยแพร่แนวคิดเรื่องจดหมายข่าวให้กับร้านยาอื่นๆ มากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระ รูปแบบใหม่ๆ ที่สำคัญคือการสานให้เกิดเครือข่ายร้านยาที่มีจุดหมายและกิจกรรมที่ดีๆสู่ผู้บริโภคอย่างยั่งยืน ต่อเนื่องและขยายตัวออกไป กรณีตัวอย่างที่ 3 ร้าน เอ็น & บี ฟาร์มา แคร์ เป็นร้านยาที่เปิดตัวขึ้นใหม่ แถวรามคำแหง 2 เขตประเวศ บริหารโดย ภ.ก.นาวี ช่วยชาติ เภสัชกรหนุ่ม ไฟแรงมีความใฝ่ฝันในการพัฒนาคุณภาพงานบริการทางเภสัชกรรมในร้าน เป็นร้านยาใหม่ที่วางแนวทางเป็นร้านยาคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้น เป็นอีกร้านที่มีความพยายามที่จะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วยและบริหารจัดการภายในร้าน กิจกรรมที่น่าสนใจในร้านนี้เห็นจะได้แก่การเก็บประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  เช่น โรคความดันโลหิตสูง และ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านเชื้อจุลชีพ ที่เป็นผู้ป่วย 2 กลุ่มที่ต้องการการติดตามการใช้ยา ว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาหรือไม่ และใช้เป็นข้อมูลเฉพาะบุคคลที่เป็นพื้นฐานสำหรับในการให้บริการด้านยาในครั้งต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูล  "ไม่เอาผู้มาใช้บริการเป็นหนูทดลองยาและบางครั้งยังทำให้เกิดการประหยัดสำหรับผู้มาใช้บริการด้วย"  เป็นทัศนคติที่สำคัญของเภสัชกรประจำร้าน ผู้มาใช้บริการร้านนี้ หลังจากใช้ยาที่ต้องติดตามแล้วจะมีเสียงโทรศัพท์จากร้านยา เพื่อแสดงความห่วงใยและติดตามผลการใช้ยา รวมทั้งเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น  แม้จะเป็นบริการรูปแบบใหม่ ทำให้ผู้มาใช้บริการหลายคนถึงกับแปลกใจในระยะแรก ปัจจุบันก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 9 ข้อ ประเมินร้านยาที่ท่านใช้บริการ 1.    ท่านจะรู้ทันทีว่า ใครกำลังให้บริการท่านอยู่ เป็นเภสัชกร ผู้ช่วยเภสัชกร  แต่อย่างไรก็ตามเภสัชกรจะส่งมอบยาขั้นสุดท้ายก่อนถึงมือท่าน 2.    เมื่อท่านเรียกหายา ผู้ให้บริการจะถามถึงผู้ใช้ยาที่แท้จริง และถามย้ำเพื่อยืนยันให้แน่ใจว่า ยาที่ท่านเรียกหานั้น เหมาะสมกับโรคหรืออาการที่ท่านเป็น มีความปลอดภัยกับท่าน ไม่ตามใจท่านโดยขายอย่างเดียว3.    เมื่อท่านได้รับยาแล้ว ท่านจะรู้ว่า ยาที่ได้รับ มาจากร้านชื่ออะไร ชื่อยาอะไร รักษาอะไร วิธีใช้อย่างไร มีคำเตือนอะไร โดยระบุบนซองยาและฉลากให้ความรู้ด้านคำเตือนเสริมให้ในข้อมูลที่สำคัญ 4.    ไม่มีจ่ายยาเป็นชุดๆ  แต่จะ จ่ายยาพร้อมให้คำอธิบายที่จำเป็น เช่น วิธีใช้ การปฏิบัติตัวเพื่อให้หายป่วย การใช้ยาอย่างเหมาะสม เป็นต้น5.    ถ้าท่านเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องมารับบริการต่อเนื่อง จะมีแฟ้มเก็บ "ประวัติการใช้ยา" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยจากการใช้ยา 6.    ในกรณีมีปัญหาจากการใช้ยา จะมีบริการ "ให้คำปรึกษาด้านยา" เพื่อแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา และ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาอยู่อย่างสม่ำเสมอ 7.    เมื่อโรคและอาการที่มาเกินความสามารถของเภสัชกรในการดูแล รักษา จะมีการส่งต่อให้แพทย์ดูแล 8.    มีสื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพ และมีประกาศสิทธิผู้ป่วย ให้เห็นชัดเจน9.    ปรึกษาเรื่องยา เรื่องสุขภาพ การป้องกันโรค สร้างเสริมสุขภาพ ได้ด้วย -    Mapping (ร้านยาที่ผ่าน / ร้านยาที่สมัคร)ร้านยาที่สมัครเข้าโครงการเพื่อพัฒนาเป็นร้านยาคุณภาพ ปัจจุบันยังมีจำนวนไม่มาก เพียง 200 กว่าร้าน แต่ก็กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ และ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ร่วมกับสภาเภสัชกรรมร้านยาที่ผ่านการรับรองเป็นร้านยาคุณภาพ โดยสภาเภสัชกรรม ในปี 2546 (รุ่นที่ 1 ) มี 26 ร้าน และในปี 2547 (รุ่นที่ 2 ) 21 ร้านนี้ คาดว่าจะมีเพิ่มอีกกว่า 50 ร้านก่อนสิ้นปี 2547  ทั้งใน กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ ผู้ประสานงานเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ภ.ญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร อนุกรรมการ และ ผู้เยี่ยมสำรวจ สำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา สภาเภสัชกรรม T. 02 590 1877, M. 01 627 4848ภ.ก.วราวุธ เสริมสินสิริ ผู้ประสานงาน สำนักงานโครงการพัฒนาคุณภาพร้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาT. 02 589 7147, M. 09 796 1437

อ่านเพิ่มเติม >