ฉบับที่ 191 ระวังเสาสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชน

แม้เสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ช่วยนำพาสัญญาณไปสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย แต่ในปี 2555 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า มีความเป็นไปได้ที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณดังกล่าว อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งสมอนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยถึงผลกระทบต่อผู้อาศัยในบริเวณใกล้เสาสัญญาณการสื่อสารว่า ภายในรัศมี 400 เมตร ผู้อาศัยส่วนใหญ่มีอาการคล้ายกัน ได้แก่ ปัญหาทางสุขภาวะ เช่น มีอาการ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม ขาดสมาธิ วิงเวียน สั่นกระตุก เศร้าสลด สายตาพร่ามัว รวมทั้งพบอัตราความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเพิ่มสูงกว่า 3 - 4 เท่าตัว ทำให้หลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทยมีนโยบายต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเรากลับพบว่าในบางพื้นที่ได้มีการติดตั้งเสาสัญญาณ โดยไม่คำนึงถึงอันตรายของผู้อยู่อาศัย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนของผู้ร้องรายนี้ คุณสุชัยร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิว่า ในชุมชนของเขามีการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ โดยขัดกับนโยบายป้องกันการเกิดอันตราย เพราะเสาดังกล่าวอยู่ห่างจากบ้านของเขาที่อยู่ติดกับโรงพยาบาลชุมชนเพียง 20 เมตร ซึ่งตามหลักการติดตั้งเสาสัญญาณ ต้องอยู่ห่างจากชุมชนเกิน 2 กิโลเมตรและควรอยู่บนเนินสูง รวมทั้งขอบของลำคลื่นหลัก (main beam) ที่ระดับพื้นดินต้องอยู่ห่างจากสถานที่กลุ่มผู้อ่อนแอ เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานเลี้ยงเด็ก บ้านพักฟื้นคนชรา ไม่น้อยกว่า 100 เมตร เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้ ดังนั้นคุณสุชัยจึงขอคำปรึกษาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยต้องการให้มีการย้ายเสาสัญญาณดังกล่าวออกจากชุมชนแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมที่ อบต. ว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการขออนุญาตจากผู้ประกอบการหรือทำประชาพิจารณ์ ในการติดตั้งเสาสัญญาณดังกล่าวหรือไม่ โดยหากพบว่าไม่มีการดำเนินการเหล่านั้น สามารถล่ารายชื่อของคนในชุมชนที่ไม่ต้องการให้มีการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ดังกล่าว และทำหนังสือส่งถึง กสทช. เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบปัญหา หรือโทรศัพท์ร้องเรียนโดยตรงต่อ กสทช. ได้ที่สายด่วน 1300 นอกจากนี้สามารถทำหนังสือถึงผู้ประกอบการให้ชี้แจงข้อสงสัยได้ด้วย ทั้งนี้ภายหลังการดำเนินการ พบว่า กสทช. ได้เข้ามาเจรจากับผู้ประกอบการ และขอให้ถอนการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวออกจากชุมชนไป ตามหลักการติดตั้งเสาส่งสัญญาณในประเทศไทย ซึ่งผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้ 1. การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม และใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตรวจสอบจาก กสทช. ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.25352. การขออนุญาตก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารในจุดติดตั้งเสาส่งสัญญาณ ตรวจสอบจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ข้อ 4)3. ขั้นตอนการชี้แจงทำความเข้าใจต่อประชาชน ตรวจสอบจาก กสทช. ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ข้อ 12.54. ตรวจสอบการดำเนินการเรื่อง การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องส่งรายงานประเมินระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และต้องมีระดับความแรงของคลื่นที่ได้มาตรฐานตาม ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ข้อ 10 และ 11

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 ระยะเวลารับประกันสินค้า (ไม่) เป็นธรรม

บางครั้งระยะเวลาการรับประกันสินค้าก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างร้านค้ากับผู้โภค ซึ่งมักสร้างปัญหาได้หากผู้บริโภครู้สึกว่าระยะเวลารับประกันสินค้าดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม ดังเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้คุณสุชัยนำคอมพิวเตอร์ไปซ่อมที่ร้านแห่งหนึ่งในอำเภอหาดใหญ่ เนื่องจากการ์ดจอเสีย โดยหลังซ่อมเสร็จเรียบร้อยทางร้านแจ้งว่าจะรับประกันงานซ่อมให้ 3 เดือน ซึ่งเมื่อใกล้วันหมดอายุการรับประกัน (เหลืออีก 5 วัน) เขาพบว่าคอมพิวเตอร์เสียอีกครั้ง จึงนำกลับไปซ่อมที่ร้านเดิม โดยหลังซ่อมเสร็จเรียบร้อยทางร้านแจ้งว่าจะรับประกันงานซ่อมให้อีก แต่รับประกันเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น จึงทำให้ผู้ร้องสงสัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่ และส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ ชี้แจงว่าในกรณีการรับประกันสินค้าการซ่อมสินค้าของร้านค้าทั่วไป หากสินค้าชำรุดในขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาการรับประกัน ทางร้านก็ต้องซ่อมให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ในกรณีของผู้ร้องที่นำคอมพิวเตอร์ไปซ่อมอีกครั้งเพราะการ์ดจอเสีย โดยอีก 5 วันจะหมดระยะเวลาการรับประกันสินค้า ต้องพิจารณาว่าทางร้านซ่อมแซมให้อย่างไร ซึ่งหากเป็นการซ่อมการ์ดจออันเดิมจากครั้งแรก สามารถนับเวลาการรับประกันต่อจากเดิมที่เคยตกลงกันไว้ได้ แต่หากเป็นการเปลี่ยนการ์ดจอให้ใหม่ก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการรับประกันใหม่เช่นกัน เนื่องจากอะไหล่ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานที่จำกัดนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 อาหารหมดอายุ

แม้เราจะเคยเสนอประเด็นเรื่องอาหารหมดอายุมาแล้วหลายครั้ง แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ ดังเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั้ง 2 รายนี้กรณีที่หนึ่ง โยเกิร์ตหมดอายุเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณปาริชาติ เธอได้ซื้อโยเกิร์ตยี่ห้อหนึ่งจำนวน 2 แพ็ค จากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ในราคาที่ลดกระหน่ำเหลือเพียงแพ็คละ 7.50 บาท แต่ด้วยความเร่งรีบจึงทำให้เธอลืมตรวจสอบ ว/ด/ป หมดอายุของสินค้าดังกล่าว ซึ่งภายหลังนำมารับประทานจึงพบว่าสินค้าทั้ง 2 แพ็ค หมดอายุไปแล้ว ทำให้เธอส่งเรื่องมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ โดยต้องการให้ห้างสรรพสินค้าดังกล่าวรับผิดชอบที่นำอาหารหมดอายุมาวางจำหน่ายแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีนี้สามารถอ้างอิงตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง การจำหน่ายอาหารหมดอายุได้ว่า เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 29 ซึ่งถือได้ว่าการจำหน่ายอาหารหมดอายุ เป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภค และบทลงโทษอยู่ในมาตรา 61 ระบุว่ามีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับศูนย์ฯ จึงแนะนำให้ผู้ร้องเตรียมเอกสารประกอบการร้องเรียน ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน รูปถ่ายผลิตภัณฑ์ – ตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้หากมีอาการผิดปกติกับร่างกาย เช่น ท้องเสีย อาเจียน สามารถไปพบแพทย์และขอใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานเพิ่มเติมได้ และศูนย์ฯ จะช่วยทำหนังสือร้องเรียนไปยังห้างสรรพสินค้าดังกล่าว เพื่อให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยตามข้อเสนอของผู้ร้อง ซึ่งภายหลังการเจรจาได้มีเสนอชดเชยผู้ร้องเป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท ซึ่งผู้ร้องยินดีและขอยุติการร้องเรียนกรณีที่สอง เบียร์หมดอายุเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณสมชาย เขาซื้อเบียร์ต่างประเทศ จากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งระบุวันที่ผลิตว่าปี 2015 อย่างไรก็ตามภายหลังซื้อมาดื่ม เขาพบว่ามีอาการปวดท้องและท้องเสีย และเมื่อมาค้นหาข้อมูลเรื่องวันหมดอายุของเบียร์ก็พบว่า โดยปกติเบียร์ต่างประเทศจะมีอายุได้เพียง 1 ปีเท่านั้น ทำให้เขาคาดว่าเบียร์ดังกล่าวน่าจะหมดอายุไปแล้ว และเป็นสาเหตุของอาการท้องเสียที่เกิดขึ้น จึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องโทรศัพท์ไปสอบถามยังบริษัทผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวก่อนว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ร้องซื้อมามีอายุการบริโภคเท่าไร และหมดอายุไปแล้วจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าหมดอายุแล้วจริง แต่มีการนำสินค้ามาจำหน่ายจะเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 กรณีจำหน่ายอาหารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภค หรือหากพบว่าอาหารยังไม่หมดอายุแต่เสื่อมสภาพแล้วก็สามารถฟ้องร้องได้เช่นกัน โดยมีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งผู้ร้องสามารถส่งหลักฐานประกอบการร้องเรียน เช่น ข้อมูลเอกสารผลิตภัณฑ์ ใบรับรองแพทย์ บันทึกประจำวัน มาให้ทางศูนย์ฯ ช่วยเหลือได้ อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีนี้ผู้ร้องไม่ต้องการฟ้องร้องต่อ จึงขอยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 เสี่ยงอันตรายขณะลงรถเมล์

หลายคนที่ต้องโดยสารรถเมล์ อาจเคยเจอปัญหาเมื่อถึงป้ายที่ต้องการจะลงแล้วรถเมล์ไม่ยอมจอดรถให้สนิท ซึ่งสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากผู้โดยสารก้าวขาลงไม่ทันขณะที่รถเมล์ออกตัวไป ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ควรทำอย่างไร ลองไปดูกันคุณสุชาติและครอบครัวโดยสารรถเมล์สาย 81 จากต้นสายเชิงสะพานปิ่นเกล้า ไปลงป้ายก่อนถึงห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค อย่างไรก็ตามเมื่อถึงป้ายที่ต้องการก็พบว่ามีคนลงจำนวนมาก ซึ่งในขณะที่เขากำลังก้าวลงจากรถ คนขับรถเมล์ก็ออกรถไปเลย แม้คนที่อยู่บนรถจะช่วยกันบอกว่าคนยังลงไม่หมด แต่คนขับและกระเป๋ารถเมล์ก็ไม่ได้สนใจและขับรถออกไป ซึ่งแม้ครั้งนี้เขาจะลงรถได้อย่างปลอดภัย แต่ก็กังวลว่าหากรถเมล์คันดังกล่าวยังทำพฤติกรรมเช่นนี้ต่อไป อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ จึงร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ โดยอยากให้ทาง ขสมก. มีการตรวจสอบ ตักเตือนหรือลงโทษการกระทำของคนขับในกรณีดังกล่าวแนวทางการแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องเตรียมหลักฐานประกอบการร้องเรียน คือ ทะเบียนรถหรือชื่อคนขับ และวันเวลาการโดยสาร เพราะเป็นสิ่งที่สามารถติดตามเอาผิดได้ อย่างไรก็ตามผู้ร้องได้แจ้งกลับมาว่า เขาไม่ได้จำเลขทะเบียนรถหรือชื่อคนขับ เพียงแต่จำรูปพรรณของกระเป๋ารถเมล์และวันเวลาการเดินทางได้เท่านั้น ทำให้เมื่อศูนย์ฯ ช่วยดำเนินเรื่องร้องเรียนไปยัง ขสมก. ทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 ขายหวยชุดเกินราคา

แม้รัฐบาล คสช. จะประกาศห้ามขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาที่กำหนด คือ คู่ละ 80 บาท แต่ผู้บริโภคบางส่วนก็ยังพบปัญหาราคาสลากกินแบ่งแพงอยู่ดี โดยพ่อค้าแม่ค้าหัวใสบางรายมีการจำหน่ายหวยชุด หรือสลากกินแบ่งที่มีตัวเลขเดียวกันจำนวน 5 -10 ใบ แล้วนำไปบวกราคาเพิ่มอีก 50 – 200 บาท ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสมพรเลือกซื้อหวยชุดจากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ใน จ.อุบลราชธานี เมื่อสอบถามราคาก็พบว่าจำหน่ายอยู่ที่ชุดละ 450 บาท โดยมีสลากกินแบ่งทั้งหมด 5 ใบ ซึ่งเมื่อคิดราคาต่อฉบับแล้วอยู่ที่ 90 บาท เธอจึงลองไปดูร้านอื่น ก็พบว่าทุกร้านจำหน่ายสลากกินแบ่งชนิดดังกล่าวในราคาพอๆ กัน โดยราคาสลากในชุดจะมีตั้งแต่คู่ละหรือใบละ 90 -120 บาท ทำให้เธอเกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดหวยชุดจึงต้องขายราคาสูงกว่าปกติ และเมื่อสอบถามคนขายก็ได้รับคำตอบแค่ว่า เจ้าอื่นก็ขายราคานี้กันทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้คุณสมพรจึงรู้สึกว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จึงร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกรณีดังกล่าวถือว่าเป็นการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาที่กฎหมายกำหนด เพราะตามมาตรา 39 ของคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติที่ 11/2558 เรื่อง มาตรการแก้ไขที่เกิดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล กำหนดให้จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาคู่ละ 80 บาทเท่านั้น ซึ่งหากพบว่าผู้ใดเสนอขาย หรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาที่กำหนดต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศูนย์ฯ จึงช่วยผู้ร้องทำหนังสือไปยังผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อขอให้ตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับร้านค้าดังกล่าว ภายหลังกองสลากได้รับเรื่องก็ประสานงานให้กองสลากประจำพื้นที่อุบลราชธานีเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งได้แจ้งกลับมาว่าไม่พบการจำหน่ายสลากเกินราคาตามที่ผู้ร้องแจ้งมา อย่างไรก็ตามหากผู้ร้องพบเห็นการจำหน่ายสลากกินแบ่งเกินราคาอีก สามารถร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานกองสลากในพื้นที่ๆ อาศัยอยู่ หรือโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับแจ้งเรื่องร้องทุกข์เบอร์ 02-345-1466 และสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถเดินทางหรือส่งจดหมายไปร้องเรียนได้ที่ สำนักงานสลากินแบ่งรัฐบาล: 359 ถ.นนทบุรี ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000 เบอร์โทรศัพท์ 02-528-8888 หรือโทรสาร 02-528-9228

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 จองตั๋วเครื่องบินไม่ได้

มีวิธีการมากมายในการจองตั๋วเครื่องบินผ่านสายการบินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจองผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านแอพพลิเคชั่น อย่างไรก็ตามแม้วิธีการเหล่านั้นจะสะดวกสบายและรวดเร็ว แต่ก็สามารถสร้างปัญหาได้เช่นกัน หากระบบการจองเกิดความผิดพลาด เหมือนเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้คุณสมชายและเพื่อนต้องการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ จึงจองตั๋วเครื่องบินของสายการบินแอร์เอเชีย ผ่านแอพพลิเคชั่นของสายการบินดังกล่าว และชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเป็นเงิน 3,094.72 บาท อย่างไรก็ตามหลังชำระเงินเรียบร้อยกลับขึ้นข้อความว่าแจ้งเตือนว่าหมดเวลา(Time out) คุณสมชายจึงโทรศัพท์ไปยังบริษัทเพื่อสอบถามปัญหา ซึ่งพนักงานตอบกลับว่าไม่มีรายการจองตั๋วดังกล่าว และขอให้ทำรายการใหม่ ดังนั้นเขาจึงต้องทำการจองใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง รวมทั้งชำระเงินผ่านบัตรเครดิตในยอดเงินเท่าเดิม ซึ่งปัญหาก็เกิดขึ้นเหมือนครั้งก่อน โดยมีการแจ้งเตือนผ่านหน้าแอพพลิเคชั่นว่าทำรายการล้มเหลว แต่มีการตัดยอดเงินในบัตรเครดิตเช่นเดิม ยิ่งกว่านั้นเมื่อเขาได้ตรวจสอบข้อมูลการจองอีกครั้ง กลับพบว่าตนเองจองตั๋วผิด และหลังจากโทรศัพท์ไปยังสายการบินเพื่อขอเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน พนักงานก็ได้แจ้งกลับมาว่าหากสำรองที่นั่งแล้ว สายการบินอนุญาตเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้ก่อนกำหนดเดินทางอย่างน้อย 48 ชม. หากเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงใดๆ และการเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราของสายการบินด้วย ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางได้ สามารถขอคืนค่าภาษีสนามบินได้หลังจากที่เที่ยวบินได้ผ่านไปแล้ว เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้คุณสมชายจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวการทางการแก้ไขปัญหาหลังได้รับเรื่องร้องเรียน ศูนย์ฯ ช่วยติดต่อกับทางบริษัทให้มีการเจรจา ซึ่งใช้หลักฐานประกอบการดำเนินการคือ ข้อมูลหมายเลขบัตรโดยสาร และยอดบัตรเครดิตที่จ่ายไป ทั้งนี้ผู้ร้องต้องการให้ทางสายการบินคืนเงินค่าตั๋วทั้งหมดจำนวน 6,189.44 บาท อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้ส่งหนังสือชี้แจงกลับมาว่า สามารถคืนเงินค่าโดยสารได้แค่ครั้งแรกที่เกิดความผิดพลาดจากระบบ ส่วนครั้งที่สองเสนอให้เก็บยอดดังกล่าวไว้เพื่อใช้ในการเดินทางครั้งต่อไป ด้านผู้ร้องยินดีรับข้อเสนอดังกล่าว และขอยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 ถูกทวงหนี้ผิดกฎหมาย

แม้ปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้การทวงหนี้มีความเป็นธรรมต่อลูกหนี้มากขึ้น โดยมีการกำหนดข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติต่างๆ แต่เราก็ยังพบว่าการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมยังคงมีอยู่ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณยุพาเป็นหนี้บัตรเครดิต อิออน เนื่องจากการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ โดยมียอดค้างชำระจำนวน 5,000 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำเรื่องตกลงกับทางบริษัทว่าจะแบ่งผ่อนชำระ 2 งวด อย่างไรก็ตามภายหลังเธอไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามวันและเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ จึงโทรศัพท์ไปยังบริษัทเพื่อขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้ ซึ่งทางบริษัทรับทราบและขยายเวลาให้เรียบร้อย แต่ไม่นานพนักงานของบริษัทก็มาทวงหนี้ถึงสถานที่ทำงาน ในขณะที่เธอกำลังทำงาน รวมทั้งโทรศัพท์เข้ามาทวงหนี้ในเวลางานอีกด้วย ทำให้เธอรู้สึกอับอายและส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อขอคำปรึกษาว่าการทวงหนี้ด้วยวิธีดังกล่าว ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่แนวทางการแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ทวงหนี้ที่เกิดขึ้น อาจเข้าข่ายว่าไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการทวงหนี้ พ.ศ.2558 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา โดยผู้ร้องสามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัดได้ ทั้งนี้ตาม พรบ. ดังกล่าวได้มีการกำหนดข้อห้ามหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับเจ้าหนี้ไว้ ดังนี้1.ข้อห้ามปฏิบัติของผู้ทวงหนี้- ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน ผู้ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ- พูดจาไม่สุภาพ ดูหมิ่น ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท- เปิดเผยความเป็นลูกหนี้ของลูกหนี้ให้คนอื่นได้รู้ ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท - ห้ามระบุข้อความ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท2. ห้ามทวงหนี้แบบหลอกให้เข้าใจผิด- ส่งเอกสารทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล เช่น ส่งเอกสารที่มีตราครุฑมาให้ลูกหนี้ ผู้ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท- ทำให้เชื่อว่ามีการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม (Notice) จากทนายความ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท- ใช้เอกสารที่ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าจะถูกดำเนินคดี หรือถูกยึดทรัพย์ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ- แอบอ้างว่าเป็นการทวงถามหนี้จากบริษัทข้อมูลเครดิตใดๆ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ3. การทวงถามหนี้ไม่เป็นธรรม ห้ามปฏิบัติดังนี้- เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ในอัตราเกินกว่าที่กำหนด- เสนอให้ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ทั้งๆ ที่รู้ว่าลูกหนี้ไม่มีเงินชำระหนี้ตามเช็ค ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท 4. คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการทวงนี้ของผู้ทวงถามหนี้ โดยหากลูกหนี้หรือคนอื่นๆ ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่เป็นไปตามกฎหมายจากผู้ทวงถามหนี้ สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัด5. ให้ที่ทำการปกครอง หรือกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีอำนาจรับเรื่องร้องเรียนการทวงหนี้ผิดกฎหมาย ติดตามพฤติกรรมของผู้ทวงถามหนี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 รถใหม่ขึ้นสนิม

รถขึ้นสนิมเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนไม่ปรารถนา ยิ่งถ้าเป็นรถใหม่ด้วยแล้ว ปัญหาดังกล่าวไม่ควรเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามหากเราพบว่าหลังซื้อรถมาได้ไม่กี่ปี แต่มีสนิมเกาะเสียแล้ว เราควรจัดการอย่างไรคุณสุชาติซื้อรถยนต์ใหม่มือหนึ่งยี่ห้อฮอนด้า อย่างไรก็ตามหลังใช้งานตามปกติไป 1 ปี เขาก็พบว่าเกิดคราบสนิมขึ้นบริเวณภายในห้องเครื่องยนต์ ขอบประตูทั้ง 4 บานและรูระบายน้ำ จึงนำรถยนต์เข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการของยี่ห้อดังกล่าว เนื่องจากไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด ภายหลังการซ่อมแซมและแก้ไข คุณสุชาติพบว่ารถยังคงเป็นสนิมทั้งในบริเวณเดิมและบริเวณใหม่ จึงนำรถเข้าศูนย์บริการอีกรอบ โดยครั้งนี้ทางศูนย์ได้เปลี่ยนประตูหน้าซ้าย-ขวา ทำสีและเคาะพ่นสี ในบริเวณที่เป็นสนิมให้หลายครั้ง แต่เมื่อเขานำรถกลับมาใช้งานก็ยังพบปัญหาสนิมเช่นเดิม เขาจึงส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ โดยมีข้อเสนอต่อบริษัทดังนี้1. ขอให้รับผิดชอบคืนเงินดาวน์และค่างวดการเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วทั้งหมด 2. ขอให้บริษัทรับผิดชอบค่าใช้สอยรถยนต์ต่อผู้ให้เช่าซื้อเต็มจำนวนแทนผู้บริโภค เนื่องจากสาเหตุที่ต้องบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและเรียกเงินคืนนั้น เพราะสินค้าชำรุดบกพร่องจากการผลิต ไม่ใช่จากการใช้สอยโดยปกติของผู้บริโภค 3. ขอให้ศาลห้ามบริษัทจำหน่ายรถยนต์รุ่นพิพาท และให้เรียกเก็บสินค้าดังกล่าวจนกว่าจะได้เปลี่ยนแปลงให้มีความปลอดภัย แต่หากแก้ไขไม่ได้ห้ามผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่าย 4. ขอเรียกค่าเสียหายต่อจิตใจที่ต้องหวาดกลัว วิตกกังวล ตลอดเวลาในการใช้รถยนต์พิพาทแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งหลักฐานประกอบการดำเนินการ เช่น รูปถ่ายบริเวณที่เกิดสนิม เอกสารการซื้อรถ และเตรียมออกหนังสือถึงบริษัทรถยนต์ยี่ห้อดังกล่าว อย่างไรก็ตามภายหลังผู้ร้องแจ้งว่า ได้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่ศูนย์บริการแล้ว และไม่เกิดปัญหาสนิมขึ้นอีก นอกจากนี้ทางบริษัทได้เพิ่มการรับประกันคุณภาพเฉพาะสีและตัวถัง(กรณีเกิดสนิม) โดยนับจากวันส่งมอบรถใหม่ จากเดิม 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร เป็น 5 ปีแล้ว จึงไม่ติดใจร้องเรียนต่อ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 สิ่งแปลกปลอมในขนมปัง

อาหารที่สะอาดและรสชาติอร่อยเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตควรคำนึงถึง โดยไม่ควรปล่อยให้มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนมาในอาหาร เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทั้งยังผิดกฎหมายอีกด้วย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ คุณสมชายซื้อขนมปังยี่ห้อ เลอแปง หน้าพิซซ่าฮาวายเอี้ยน ราคา 15 บาท จากร้านค้าขนาดเล็ก (มินิมาร์ท) แห่งหนึ่งมารับประทาน โดยขณะรับประทานจนเกือบหมดแล้วพบว่า เขาได้กัดชิ้นส่วนแปลกปลอมเข้าไป ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นสีดำอมเขียว ความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โดยเขาสันนิษฐานว่าอาจเป็นชิ้นส่วนของพลาสติก คุณสมชายจึงโทรศัพท์ไปยังบริษัทผู้ผลิตเพื่อร้องเรียนปัญหา ซึ่งพนักงานได้แจ้งว่าให้เก็บขนมปังดังกล่าวไว้ และจะเดินทางมารับไปตรวจสอบในวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ภายหลังบริษัทเข้ามารับขนมปังดังกล่าวก็ได้มอบกระเช้าของขวัญให้คุณสมชาย และแจ้งว่าชิ้นส่วนดังกล่าวน่าจะเป็นเศษขนมปังเก่าที่สะสมมานาน ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตามคุณสมชายยังคงไม่มั่นใจและต้องการผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง จึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกรณีนี้สามารถใช้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาอ้างอิงได้ โดยตามมาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายอาหารดังต่อไปนี้ (1) อาหารไม่บริสุทธิ์ (2) อาหารปลอม (3) อาหารผิดมาตรฐาน และ (4) อาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด นอกจากนี้ตามมาตรา 58 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25 (1) ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งผู้ร้องสามารถเรียกค่าเสียหายกับทางบริษัทได้ตาม พ.ร.บ. นี้ได้ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงแจ้งผู้ร้องว่าหากยังไม่ได้รับความคืบหน้าจากทางบริษัท สามารถส่งรายละเอียดให้ศูนย์ฯ ช่วยประสานงานกับผู้ผลิตได้ โดยใช้หลักฐานในการดำเนินการ ดังนี้ 1.หลักฐานการซื้อสินค้า 2.ใบเสร็จรับเงิน 3. สินค้าที่พบความเสียหายพร้อมรูปถ่าย 5. ใบแจ้งความบันทึกประจำวัน และ 6. รูปภาพตอนรับกระเช้าของขวัญจากทางบริษัท ทั้งนี้ภายหลังผู้ร้องได้ตอบกลับมาว่า ทางบริษัทได้แจ้งผลการตรวจสอบแล้วว่า ชิ้นส่วนดังกล่าวคือเศษขนมปังเก่าจริง โดยชี้แจงวิธีการผลิตและขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเขาพอใจการดำเนินการดังกล่าว และไม่ติดใจร้องเรียนค่าเสียหายต่อ จึงขอยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 สบู่มีกลิ่นหืน

กลิ่น คือ จุดขายสำคัญประการหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายอย่างสบู่หรือครีมอาบน้ำ ซึ่งควรมีกลิ่นที่หอมสดชื่นไม่ใช่กลิ่นเหม็นหืน เหมือนสบู่ก้อนเจ้าปัญหาที่ผู้ร้องรายนี้ซื้อมา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณปราณี เธอซื้อสบู่ยี่ห้อเดทตอล โดยเลือกสูตรหรือกลิ่นที่ใช้เป็นประจำ จากร้านค้าปลีกแห่งหนึ่ง จำนวน 2 แพ็ค (แพ็คละ 4 ก้อน) ราคา 78 บาท อย่างไรก็ตามเมื่อนำมาใช้กลับพบว่า สบู่ก้อนดังกล่าวมีกลิ่นเหม็นหืนและไม่มีฟองต่างจากที่เคยใช้ เธอจึงเลิกใช้สบู่ก้อนนั้นและนำก้อนใหม่มาใช้แทน แต่ยังคงพบว่ามีลักษณะเช่นเดียวกัน ทำให้เธอสันนิษฐานว่าน่าจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระบวนการผลิต หรือบรรจุภัณฑ์ชำรุดบกพร่อง นอกจากนี้ยังกังวลว่าอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังได้ เธอจึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำ โดยต้องการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกรณีนี้ศูนย์ฯ พบว่าผู้ร้องซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านค้าปลีก ซึ่งไม่สามารถนำใบเสร็จมาเป็นหลักฐานได้ จึงแนะนำให้ไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน พร้อมถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเก็บไว้ และทำหนังสือถึงผู้ประกอบการให้เข้ามาเจรจาและตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มูลนิธิ ซึ่งทางบริษัทยินดีรับข้อเสนอดังกล่าว โดยมีการนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตรวจสอบ และจะแจ้งผลกลับมาในสัปดาห์ถัดไป ทั้งนี้ภายหลังการตรวจสอบพบว่า สบู่ดังกล่าวมีกลิ่นผิดปกติจริง โดยเกิดจากปฏิกิริยาเคมีของน้ำหอมที่สัมผัสกับออกซิเจนหรือความร้อนในอากาศ แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์ได้ผ่านเกณฑ์ทดสอบมาตรฐานแล้ว อย่างไรก็ตามทางบริษัทยินดีชดเชยผู้บริโภคด้วยการให้ผลิตภัณฑ์กล่องใหม่ ซึ่งผู้ร้องพอใจกับการดำเนินการดังกล่าว เพราะเห็นว่าบริษัทมีความใส่ใจลูกค้า จึงยินดียุติเรื่องร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >