ฉบับที่ 169 การใช้สิทธิตามมาตรา 41 ในกฎหมายหลักประกันสุขภาพ

คุณหนึ่ง(นามสมมติ) ได้เข้ามาร้องเรียนกับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เนื่องจากกรณีการใช้สิทธิรักษาพยาบาล โดยเรื่องมีอยู่ว่า แม่ของคุณหนึ่ง เกิดอาการผิดปกติ โดยอาเจียนอย่างรุนแรงถึง  4 ครั้ง มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง พูดไม่ชัด ผู้ร้องจึงรีบนำส่งโรงพยาบาล แต่กว่าจะได้พบแพทย์ใช้เวลาร่วมชั่วโมง และเมื่อแพทย์ฟังอาการของคุณแม่ ที่คุณหนึ่งเล่า ก็สั่งจ่ายยาและให้กลับบ้านได้ โดยไม่ได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยแต่อย่างใด แม้จะทักท้วงเพื่อขอให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลหรือให้น้ำเกลือ แต่ทางแพทย์ก็ปฏิเสธทั้งสองกรณีเมื่อกลับมาบ้านได้ประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ต้องกลับไปที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เพราะอาการอาเจียนยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ต้องเข้าห้องฉุกเฉินและแพทย์ได้ตรวจเลือดพบว่า มีเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ แต่แพทย์ก็ไม่ได้ตรวจหาสาเหตุว่าอาเจียนเพราะเหตุใด ผู้ร้องปรึกษาว่าควรให้คนไข้นอนที่นี่ไหมเพื่อเฝ้าติดตามประเมินอาการคนไข้อย่างใกล้ชิดแต่แพทย์ปฏิเสธเป็นครั้งที่ 22 วัน ต่อมา คุณแม่อาการรุนแรงขึ้น จึงนำส่งโรงพยาบาลอีก แต่เช่นเดิม กว่าจะได้ตรวจเสียเวลามาก ผู้ป่วยเริ่มมีอาการแย่ลง มีไข้สูงแต่พยาบาลก็ไม่ทำอะไร แพทย์กลับมาดูอีกครั้งผู้ป่วยนอนหลับไม่รู้สึกตัวและไม่ตอบสนอง ในที่สุดต้องช่วยปั๊มหัวใจ แต่ไม่สำเร็จผู้ป่วยได้เสียชีวิต แนวทางแก้ไขปัญหา ในเบื้องต้นนั้น ได้แนะนำให้ทางผู้ร้องคือคุณหนึ่ง ร้องเรียนต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 41 ซึ่งว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายเบื้องต้น ซึ่งผู้ร้องได้ทำการร้องเรียนและได้รับเงินชดเชยมาทั้งหมด 360,000 บาท แล้ว แต่ผู้ร้องเห็นว่า หากโรงพยาบาลมีการให้บริการที่ดีผู้ป่วยคงไม่เสียชีวิต จึงต้องการเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งตอนนี้อยู่ในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์พิจารณาความช่วยเหลือตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้ ดังนี้1. เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบรุนแรงต่อการดำรงชีพ จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท2. สูญเสียอวัยวะหรือพิการ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบี้องต้นได้ ตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท3. บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือได้ไม่เกิน 100,000  บาทผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการทายาทหรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ที่ สำนักงานสาขาของสำนักงานหลักประกันสุขภาพในจังหวัดนั้น หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนตามมาตร 50 (5)การพิจารณาวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการจะต้องทำให้เสร็จโดยเร็ว ไม่เกิน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับคำร้องขอในกรณีที่ผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะของบุคคลดังกล่าว ไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการที่สั่งจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไม่เต็มตามอัตราที่กำหนดไว้ หรือ ไม่จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ทั้งนี้ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับทราบผลการวินิจฉัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 ความคืบหน้ากรณี รถทัวร์ตกเหว แล้วหลอกให้ผู้เสียหายทำยอมรับเงิน

ความคืบหน้าหลังการฟ้องคดี จากเสียงผู้บริโภค ฉบับที่ 165 ตอน บริษัทประกัน หลอกผู้เสียหาย ทำยอมรับเงิน เหตุรถทัวร์ตกเหว ครับจากเหตุการณ์ ที่กลุ่มชาวบ้านผู้สูงอายุ จากหมู่บ้านแม่สะลาบและหมู่บ้านบุปผาราม ตำบลชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันเหมารถยนต์โดยสารรับจ้างจำนวน 3 คัน เพื่อไปทำบุญทอดกฐินที่วัดใหม่สามัคคีธรรม จังหวัดลำปาง ครั้นเมื่อทำบุญเสร็จแล้ว และกำลังเดินทางกลับจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อมาถึงบริเวณเส้นทางถนนสายพะเยา – วังเหนือ มุ่งหน้าไปยังอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทางลาดลงเขา รถยนต์โดยสารคันที่ 2 ที่ขับรถมาด้วยความเร็ว ได้เสียหลัก ก่อนจะพุ่งใส่ราวสะพานเหล็กกั้นริมถนน ชนเข้ากับต้นไม้ใหญ่หักโค่น หลังคารถฉีกขาด รถพลิกคว่ำพุ่งดิ่งลงเหวลึก มีผู้เสียชีวิตทันที 22 คนและบาดเจ็บ 17 คน นั้นหลังเกิดเหตุ ตัวแทนบริษัทผู้ประกอบการรถยนต์โดยสารและตัวแทนบริษัทประกันภัยได้เข้าเยี่ยมดูแลผู้เสียหายทั้งหมดด้วยความปรารถนาดี พร้อมมอบของขวัญอันล้ำค่าที่ไม่ลืมเลือนให้กับผู้เสียหายที่บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตแต่ละราย ด้วยการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน พร้อมสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยที่ตัวแทนบริษัทประกันภัยดังกล่าวไม่ได้อธิบายถึงข้อเสียของการทำสัญญาประนีประนอมให้กับผู้เสียหายแต่อย่างใด ว่าเมื่อผู้เสียหายรับเงินและลงชื่อรับเงินไปแล้วจะเสียสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ เพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคนขับ เจ้าของรถ หรือบริษัทประกันภัยทันทีจากกรณีดังกล่าว ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ และมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ในการลงพื้นที่รวบรวมข้อเท็จจริงและให้ความช่วยเหลือทางคดีเพื่อเรียกร้องสิทธิที่ถูกละเมิดและถูกหลอกลวงจากข้อมูลของบริษัทประกันภัย จึงได้ยื่นฟ้องนายวิวัฒน์ โนชัย , ห้างหุ้นส่วนวีระพันธ์ทัวร์แอนด์ทราเวล , นายวีระพันธ์ เหลืองทอง , บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด มหาชน และ บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด มหาชน เป็นคดีผู้บริโภค จำนวน 26 คดี ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ นัดพิจารณาคดีครั้งแรก ในวันที่ 23 ธันวาคม 2557   และ 16 มกราคม 2558  ตามลำดับ โดยในวันนัดดังกล่าวคู่ความทั้งหมดประกอบด้วยผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ทั้ง 26 คดี และจำเลยทั้งห้ามาศาล เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย แต่คู่ความทั้งสองฝ่ายเจรจากันไม่ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรถแถลงต่อศาลว่าไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายตามที่โจทก์ทั้ง 26 คดีเรียกร้องได้ และให้เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 บริษัทประกันภัยให้จ่ายค่าเสียหายแทน  ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในฐานะบริษัทประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุ ก็ออกตัวชัดเจนว่าได้จ่ายเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้กับผู้เสียหายและทายาททั้งหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่มให้อีกแต่อย่างใด  เมื่อคดีไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ศาลจึงกำหนดให้นัดสืบพยานเพื่อไม่ให้คดีล่าช้าโดยศาลใช้กระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่ม คือ รวมทั้ง 26 คดีเป็นคดีเดียวกัน โดยให้สืบโจทก์แต่ละคดีให้เสร็จสิ้นก่อน ค่อยให้จำเลยทั้งห้าสืบแก้ แต่ในระหว่างการสืบพยานโจทก์  คู่ความทั้งสองฝ่ายได้เจรจาไกล่เกลี่ยกันโดยตลอดซึ่งภายหลังการสืบพยานโจทก์ได้ 10 วัน  จำเลยที่ 2 และ 3 เสนอเงื่อนไขการเจรจา ยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้ง 26 คดี เป็นเงินจำนวนหนึ่ง และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยภาคสมัครใจของรถยนต์คันเกิดเหตุ เสนอเงื่อนไขการเจรจา ช่วยเหลือชำระค่าเสียหายเพิ่มเติมให้กับโจทก์ที่บาดเจ็บตามการเรียกร้องของแต่ละคนอีกจำนวนหนึ่ง (สำหรับกรณีคนที่เสียชีวิตนั้น จำเลยที่ 4 ไม่ได้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากเต็มวงเงินตามหน้ากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว)  โจทก์ทั้ง 26 เห็นชอบด้วยกับเงื่อนไขของจำเลยดังกล่าว จึงยอมรับและยินยอมถอนฟ้องจำเลยทั้งหมดในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาหลังคดีสิ้นสุด จำเลยที่ 3 เจ้าของรถ ได้แถลงต่อหน้าศาลแสดงความเสียใจและขออโหสิกรรมในความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด และผู้เสียหายทุกคนไม่ติดใจ ยินยอมอโหสิกรรมให้ตามที่จำเลยที่ 3 แถลง คดีจึงยุติลงด้วยดีบทสรุปของคดีนี้ หากมองถึงเรื่องจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนได้รับแล้ว อาจจะไม่สมหวังเท่าใดนัก เหตุเพราะคดีนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เรื่องจำนวนเงินค่าเสียหายไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับการฟ้องคดี  อาทิ เจ้าของรถไม่มีเงินเพราะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย และผู้เสียหายเกือบทุกคนถูกบิดเบือนข้อมูลหลอกให้รับเงินทำสัญญาประนีประนอมยอมความแต่หากมองถึงเรื่องกระบวนการต่อสู้ของผู้เสียหายทุกคนที่ ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ ในการเรียกร้องสิทธิ รวมถึงขั้นตอนการฟ้องคดี ที่ชาวบ้านผู้เสียหายทั้งหมดได้เรียนรู้โดยตรง ในการเจรจาไกล่เกลี่ย และการรวมคดีเพื่อพิจารณาแบบกลุ่มนั้น ต้องถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและที่สำคัญ ผู้เสียหายทุกคน รู้ตัวเองดีว่าโอกาสที่จะได้รับค่าเสียหายได้ยาก เพราะถูกสัญญาประนีประนอมยอมความปิดปากไว้แล้ว แต่ทุกคนก็ไม่ยอมแพ้ ไม่มีถอย พร้อมที่จะสู้ เพราะทุกคนต้องการปกป้องสิทธิของตนเอง ต้องการฟ้องคดีเพื่อให้เป็นประเด็นสาธารณะ  เป็นตัวอย่างให้กับจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานสัญญารถเช่าต่อไปกรณีนี้ ถือเป็นกรณีตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งที่จะเป็นบทเรียนให้กับผู้บริโภครายอื่นๆ ได้เรียนรู้ได้ว่า อย่าเพิ่งยอมแพ้กับสิ่งที่ยังไม่เกิด แม้จะมีปัญหาและอุปสรรคขวางอยู่ข้างหน้า ขอให้เราได้เริ่ม รับรองมีทางออกแน่นอน...  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 กรณีน้ำอัดลมระเบิดเป็นเหตุให้เจ็บตัว มาดูว่าเจ้าของบริษัทฯ ชี้แจงอย่างไร

จากกรณีนี้  ที่คุณณิชาพร ได้เข้ามาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค  ว่าบุตรชายได้รับบาดเจ็บสาหัสจากขวดแก้วน้ำอัดลมระเบิดใส่  จนตาซ้ายบอดสนิทใช้การไม่ได้นั้น (จากฉบับที่ 165 )หลังการรับเรื่องร้องเรียน ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้แนะนำให้คุณณิชาพรรวบรวมพยานหลักฐาน และนัดเจรจาไกล่เกลี่ยให้กับคุณณิชาพร กับบริษัทผู้ประกอบการน้ำอัดลมเอส ในวันที่ 23 มกราคม 2558  โดยภายหลังการเจรจาบริษัทผู้ประกอบการน้ำอัดลมเอส ได้ชี้แจงเป็นหนังสือถึงสาเหตุการแตกของผลิตภัณฑ์ให้กับศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ทราบ โดยผู้เขียนขอสรุปเนื้อหาสาระสำคัญให้ผู้อ่านได้ทราบทั่วกัน ดังนี้“จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้เศษแก้วของขวดน้ำอัดลมกระเด็นเข้าที่คางและตาด้านซ้ายของผู้บาดเจ็บ ทั้งนี้ภายหลังเกิดเหตุ ผู้บาดเจ็บไม่ได้รักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ เกิดเหตุประมาณ 2.00 น. นายจ้างพาไปส่ง รพ. 3.00 น. แต่ได้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 8.00 น.จากข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัทฯ ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า กระบวนการผลิตน้ำอัดลมของบริษัทฯ มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยกับผู้บริโภค มีมาตรการควบคุมคุณภาพในการผลิตที่เข้มงวดทุกขั้นตอน โดยกระบวนการผลิตด้วยระบบเครื่องจักรอัตโนมัติที่ทันสมัย มีการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ตลอดถึงระบบการผลิตภายใต้ระบบคุณภาพและสุขลักษณะที่ดีในการผลิต GMP&HACCP ตามมาตรฐานสากล บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วที่ใช้สำหรับน้ำอัดลมซึ่งมีแรงดันจากก๊าซภายในขวด สำหรับมาตรฐานการผลิตขวดประเภทนี้จะต้องมีความหนาและสามารถทนต่อแรงดันได้ โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรม (มอก) “ขวดแก้วสำหรับเครื่องดื่มประเภทอัดก๊าซ” การทดสอบความต้านทานต่อความดัน มาตรฐานที่ 229 ปอนด์/ตร.นิ้ว ซึ่งสำหรับขวดแก้วของบริษัทฯ มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า 253 ปอนด์/ตร.นิ้ว ออกแบบไว้มีค่าสูงกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่กำหนดไว้และสามารถทนแรงดันได้มากกว่า ซึ่งขณะบรรจุผลิตภัณฑ์มีความดันก๊าซในขวดเพียง 35-45 ปอนด์/ตร.นิ้ว ซึ่งขวดแก้วบรรจุน้ำอัดลมของบริษัทฯ สามารถทนแรงดันและมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการนำไปใช้งานข้อชี้แจงดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้บาดเจ็บ ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติหรือความบกพร่องในกระบวนการผลิตของบริษัทแต่อย่างใด ”จากการชี้แจงของบริษัทฯ ชัดเจนมากกว่า บริษัทฯ ไม่ประสงค์จะเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดพลาดของบริษัทฯ  ส่วนที่ขวดแก้วน้ำอัดลมระเบิด จะเกิดจากอะไรก็สุดแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะคิดไปเอง  เพราะบริษัทฯ บอกไม่รับรู้ด้วยแล้ว       แล้วอย่างนี้ผู้บริโภคที่เสียหายจะขอความเป็นธรรมได้อย่างไรเห็นคำชี้แจงมาแบบนี้ ผู้เขียนคิดเอาเองว่า ต่อจากนี้ผู้อ่านทุกท่าน ผู้บริโภคทุกคนคงต้องมีความระมัดระวัง  และตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยด้วยตนเองตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาจะดื่มน้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้ว หรือแค่อยู่ใกล้ๆ น้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้ว เพราะว่าสักวันอาจจะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นได้ใครจะรู้  เนื่องจากไม่เคยมีคำเตือน ให้ระวัง หรือการแจ้งเตือนจากผู้ประกอบการถึงวิธีการป้องกันหรือการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้แต่อย่างใด  แน่นอนกรณีแบบนี้ไม่ใช่กรณีแรก แต่พอเกิดเหตุขึ้น ก็ไม่มีผู้ใดออกมาแสดงความรับผิดชอบเหมือนทุกครั้งไปต่อจากนี้คงต้องเป็นการตัดสินใจของคุณณิชาพร ผู้เสียหาย ว่าจะดำเนินการต่ออย่างไร จะใช้สิทธิทางกฎหมายของผู้เสียหายฟ้องคดีหรือไม่อย่างไรทั้งนี้หากจะต้องฟ้องร้องเป็นคดีความกันจริง ผู้เขียนขอเสริมตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากันอีกซักนิดกรณีนี้ เข้าลักษณะการเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ตามนิยามความหมายตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ที่หมายความว่า สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือการออกแบบ หรือไมได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งลักษณะการใช้งาน และการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้ซึ่งตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 นี้ มีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย และสามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่อจิตใจได้ด้วยดังนั้นกรณีนี้ผู้อ่านฉลาดซื้อจะต้องติดตามเสียงผู้บริโภคกันอย่างไม่คลาดสายตา เพราะหากเรื่องนี้ฟ้องเป็นคดีความและมีความคืบหน้าเมื่อไหร่ ผู้เขียนจะต้องนำมาขยายผลให้ท่านผู้อ่านรับทราบกันอย่างแน่นอน อย่าลืมติดตามกันนะครับ !!!อัพเดทล่าสุด 31 พ.ค. 60 ศาลแพ่งพิพากษาให้เครื่องดื่มน้ำอัดลม เอส จ่ายค่าเสียหายให้ผู้บริโภคกว่า 2 ล้านบาท หลังพิสูจน์พบว่ากระบวนการผลิตสินค้าไม่ปลอดภัย ผู้บริโภคเสนอให้เยียวยาผู้บริโภคทันทีจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ31 พ.ค. 60 ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลการพิทักษ์สิทธิให้กับผู้บริโภค กรณีได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคว่าเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 57 ผู้บริโภคซึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้ทำงานพิเศษช่วงเย็นเป็นพนักงานร้านอาหารขณะนำขวดเครื่องดื่มน้ำอัดลมยี่ห้อดังกล่าวใส่ถาดไปเสิร์ฟให้ลูกค้าเกิดระเบิดขึ้น ทำให้เศษแก้วกระเด็นเข้าตาข้างซ้ายเป็นเหตุให้เลนส์ตาซ้ายแตกทำให้ตาบอด หลังการเกลี่ยไกล่ไม่ได้ผลจึงยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค โดยฟ้องตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 เรียกค่าเสียหาย 10,897,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 บาท ต่อปี นับจากวันยื่นฟ้อง นั่นคือวันที่ 18 พ.ค. 58หลังการพิจารณาคดีศาลได้พิพากษาเมื่อวันที่ 8 ก.พ.60 ให้จ่ายค่าเสียหายจำนวน 1,430,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันเกิดเหตุไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยคิดดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง รวมทั้งชำระค่าสูญเสียความสามารถในการประกอบอาชีพทั้งปัจจุบันและอนาคตอีก 900,000 บาท โดยให้สงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับค่าเสียหายอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน รวมถึงค่ารักษาพยาบาลในอนาคตไว้จนกว่าจะรักษาเสร็จ ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่มีคำพิพากษานายเฉลิมพงษ์ กลับดี ทนายความจากศูนย์ทนายอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้รับผิดชอบคดีกล่าวว่า การยื่นฟ้องในคดีนี้ ภาระการพิสูจน์อยู่กับผู้ประกอบการ ที่จะต้องพิสูจน์ว่าสินค้าของตัวเองปลอดภัย“ในการสู้คดีนั้นสู้กันด้วยหลักวิชาการซึ่งพบว่าแม้จะมีการตรวจวัดแรงดันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขวดน้ำอัดลม แต่มีการนำขวดเก่ากลับไปใช้ซ้ำ จะเลิกใช้ขวดที่ชำรุดก็ต่อเมื่อขวดชำรุดเห็นประจักษ์ ซึ่งขวดที่อาจมีการชำรุดเราจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเลย รวมถึงการขนส่ง การนำไปแช่ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบเชียบพลัน การถูกกระแทกเวลาขนส่ง ล้วนส่งผลต่อการชำรุดของขวด เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ศาลจึงตัดสินว่าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย” นายเฉลิมพงษ์กล่าวนอกจากนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าเพื่อจะวิเคราะห์ได้รวดเร็วขึ้นผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าไม่ปลอดภัยควรเก็บหลักฐานนั้นไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้พิสูจน์ รวมถึงหากมีบิลค่ารักษาพยาบาลต่างๆก็ควรเก็บไว้เพื่อใช้ประกอบการเรียกค่าชดเชยต่างๆได้นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าไม่เฉพาะผู้ประกอบการรายนี้เท่านั้น อยากให้รายอื่นๆตระหนักถึงเรื่องนี้ด้วย อยากให้มีกระบวนการเยียวยาผู้บริโภคที่รวดเร็วเพราะความเสียหายจากสินค้าอาจเกิดขึ้นได้“การได้รับความเสียหายจากสินค้าอาจจะเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วการชดเชยเยียวยาให้กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องชดเชยให้กับผู้บริโภค ไม่ต้องให้ผู้บริโภคฟ้องแล้วถึงจะเยียวยา ถ้าผู้ประกอบการตระหนักถึงจุดนี้น่าจะเป็นผลดีที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการใช้สินค้านั้นต่อไป และเป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าของตัวเองด้วย” นางนฤมลกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 คดีประวัติศาสตร์ ศาลปกครองสูงสุดตัดสิน ซอยร่วมฤดีกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนวจริง

 ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสิบปีก่อน  เคยเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้อาคารภายในซอยร่วมฤดีขึ้น ในครั้งนั้นรถดับเพลิงไม่สามารถเข้ามาในซอยเพื่อดับเพลิงได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากสภาพของซอยร่วมฤดี เป็นซอยขนาดเล็กในใจกลางเมืองใหญ่ มีความกว้างของถนนเพียงรถยนต์วิ่งไปได้กลับ 2 เลน เท่านั้น ทำให้รถดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่ เข้าไม่ได้ทั้งหมด ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังเป็นภาพของความหวาดกลัว และวิตกกังวลถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาอัคคีภัย และการจราจรที่แออัดจนทำให้ประชาชนเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนผู้อยู่อาศัยภายในซอยร่วมฤดีจวบจนปัจจุบันจนกระทั่งในปี 2548 เริ่มมีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่จำนวน 2 อาคาร โดยมีอาคารที่มีความสูง 18  ชั้น ของบริษัท ลาภประทาน และ อาคารที่มีความสูง 24 ชั้น ของบริษัท ทับทิมทร  ของบริษัทเอกชน ขึ้นบริเวณปากซอยร่วมฤดี 2 ภายในซอยร่วมฤดี  โดยอ้างเอกสารการรับรองความกว้างของถนนว่าซอยร่วมฤดีมีความกว้างของถนน 10 เมตรตลอดแนวของสำนักงานเขตปทุมวันซึ่งต่อมาชาวบ้านที่อาศัยโดยรอบเขตก่อสร้างอาคารดังกล่าว ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเขตปทุมวัน และสำนักงานโยธากรุงเทพมหานคร เพื่อขอให้ตรวจสอบการก่อสร้างอาคารดังกล่าว เนื่องจากความกว้างของถนนในซอยร่วมฤดีมีความกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนว ซึ่งการก่อสร้างอาคารสูงดังกล่าวจึงขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535  ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่การก่อสร้างก็ยังคงดำเนินการต่อไป เมื่อการร้องเรียนไม่เป็นผล กลุ่มผู้ร้องเรียน โดยนายแพทย์สงคราม ทรัพย์เจริญ กับพวก 24 คน ได้มอบอำนาจให้นายเฉลิมพงษ์  กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตปทุมวัน และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นคดีปกครองต่อศาลปกครองกลาง  ในฐานะเป็นผู้บริหารราชการในราชการส่วนท้องถิ่นและเป็นผู้ใช้อำนาจหรือออกคำสั่งทางปกครองในเขตปกครองท้องที่สำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครและยังเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยออกเอกสารรับรองความกว้างของถนนซอยร่วมฤดีเกินกว่าความเป็นจริง และปล่อยให้เอกชนก่อสร้างอาคารสูงใหญ่เกินกว่ากฎหมายกำหนด โดยได้ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551ซึ่งต่อมาในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลปกครองกลางได้พิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานที่ผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องได้นำเสนอแล้วพิจารณาเห็นว่า ซอยร่วมฤดีซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์และเป็นสถานที่ตั้งอาคารที่พิพาทมีความกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนวจริง ตามข้อมูลการรังวัดของกรมที่ดิน ซึ่งได้ทำการรังวัดรังวัดสอบเขตทางตามคำสั่งของศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 จึงเป็นการขัดกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ในข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ จึงได้มีคำสั่งพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง คือ ผู้อำนวยการเขตปุทมวัน และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง แต่คู่กรณีทั้งสามฝ่ายอุทธรณ์และต่อมาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557  ศาลปกครองสูงสุดออกอ่านคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ให้ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ใช้อำนาจตามตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 แห่งพระราชาบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ดำเนินการกับผู้ร้องสอด คือ บริษัท ลาภประทาน จำกัด และบริษัท ทับทิมทร จำกัด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดทั้งนี้นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า     " คำพิพากษานี้ถือเป็นบทเรียนชี้ชัดถึงปัญหาการก่อสร้างอาคารสูงในซอยแคบ รวมถึงซอยร่วมฤดีที่มีถนนความกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนว  และแม้ว่าการต่อสู้ของประชาชนจะยาวนานกว่าจะได้รับความเป็นธรรม เพราะต้องต่อสู้กันอย่างถึงที่สุด อย่างน้อยก็เป็นบทเรียนที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ท้ายที่สุดอยากเรียกร้องให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ชัดเจนมากขึ้น"    นายแพทย์สงคราม  ทรัพย์เจริญ   ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ การที่กทม.อนุญาตให้มีการก่อสร้างอาคารสูงและมีขนาดใหญ่บนถนนที่มีความกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนวได้นั้นขัดกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ในข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ถือว่าไม่คุ้มครองประชาชน เนื่องจากกฎหมายนี้มีเจตนารมณ์ เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร จึงต้องออกกฎกระทรวงกำหนดความกว้างเขตทางสำหรับการก่อสร้างอาคารสูงดังกล่าว ดังนั้น จากคำพิพากษานี้ ข้าราชการกทม.และในภูมิภาคอื่นๆ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในการอนุมัติโครงการต่างๆด้วย ไม่ใช่เพียงคำนึงถึงผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น ”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 ซื้อของออนไลน์ “สะดวก” หรือ “เสี่ยง”

เมื่อสื่อออนไลน์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ทำให้ธุรกิจขายสินค้าบนโลกออนไลน์พลอยได้รับความนิยมมากขึ้นไปด้วย บรรดาผู้ประกอบธุรกิจทั้งที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเองหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้า ต่างล้วนให้ความสำคัญกับช่องทางนี้ จนเกิดเว็บไซต์ขายสินค้าต่างๆ มากมาย เพราะว่าการขายสินค้าบนเว็บออนไลน์นั้น ค่าบริหารจัดการต่ำ  และไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องมีค่าเช่าร้าน ยิ่งถ้าทำงานเอง  ค่าจ้างคนงานก็ยิ่งไม่ต้องมี การดำเนินการก็สะดวกทั้งฝ่ายผู้ขายและผู้บริโภค ผู้บริโภคเองไม่ต้องพาตัวเองไปสำรวจสินค้าอะไร ก็สามารถซื้อสินค้าได้โดยใช้ปลายนิ้วสัมผัสคอมพิวเตอร์  หรือมือถือ  ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางและยังโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย   สะดวกขนาดนี้ใครจะอดใจไหวแต่การซื้อของแบบนี้แม้จะ “สะดวก” แต่ก็ “เสี่ยง”  เพราะจากปัญหาร้องเรียน เว็บดังหลายๆ แห่งที่ผ่านมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อย่าง  LAZADA  ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าหลากหลาย เช่น  โทรศัพท์มือถือ  คอมพิวเตอร์  สินค้าสุขภาพและความงาม  ฯลฯ ก็สามารถทำให้ผู้ซื้อสินค้าสองท่านต้องกุมขมับคุณณชพล สั่งซื้อ Power bank  32000 mAh  ด้วยโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 ราคา 820   บาท เพราะเห็นว่าราคาถูกดีเลยสั่งซื้อ กะว่าเอามาขายต่อเพื่อนๆ ด้วย โดยสั่งจำนวน 10 ชุด  ซึ่งต้องได้สินค้า 20 ชิ้น  แต่ปรากฏว่า สินค้าได้มาเพียงแค่ 10 ชิ้นเมื่อติดต่อกลับไปยังบริษัทฯ ทั้งทางโทรศัพท์และอีเมล์ เพื่อทวงสินค้าให้ครบ ก็พบว่า ติดต่อยากมาก   พอติดต่อได้บริษัทฯ ก็บอกผัดผ่อนว่าจะรีบส่งให้ครบ  แต่ก็เงียบหายไป  ไม่ว่าจะพยายามติดต่อก็กลับไปกี่ครั้งๆ ทุกครั้งจะอ้างแต่ว่าติดต่อบริษัทผู้ขายไม่ได้  ถึงต้องนี้ คุณณชพลต้องบอกว่า งงมาก แล้วเอามาขายตามที่ตั้งใจไว้แต่แรกได้อย่างไร อีกท่านหนึ่งคือ คุณอภิรักษ์ ซื้อ Alcatel One Touch Link 3G+Wi-Fi Hot Spot  โฆษณาว่ารองรับ 3G  ได้ พอรับสินค้ามากลับใช้ไม่ได้จริงตามที่โฆษณา  จึงต้องคืนสินค้ากลับไปเพื่อเปลี่ยนของ   แต่ติดต่อคืนสินค้าแล้วไม่ได้เงินคืนภายใน 14 วัน ตามที่โฆษณาไว้ในเว็บไซต์ เพราะอ้างว่าเมื่อรับคืนแล้วต้องใช้เวลาตรวจสอบนานมาก อ้าว! ทำไมไม่ง่ายเหมือนตอนซื้อล่ะกว่าที่ผู้ร้องจะติดต่อกับบริษัทฯ  ได้  ก็พบปัญหามากมายเช่นเดียวกับรายแรก เช่น  โทรศัพท์ติดต่อยาก  ต้องส่งข้อมูลทางอีเมล์ที่ไม่รู้ว่าจะตอบเมื่อไร  เฮ้อ!  ตอนสั่งซื้อง่ายมากจริง เพียงดูแคตตาล็อค  เลือกสินค้า  ชำระเงิน   แต่พอมีปัญหากลับติดต่อยากที่สุด  ผู้ร้องทั้งสองเลยต้องหาตัวช่วยเมื่อศูนย์พิทักษ์สิทธิได้รับเรื่องร้องเรียน   จึงทำการตรวจสอบไปที่เว็บไซต์เบื้องต้นพบว่าช่องทางการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค เบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้ ติดต่อยากจริงๆ     ทั้งการติดต่อทางอีเมล์ก็พบว่า ล่าช้ามาก  กว่าบริษัทฯ จะติดต่อกลับมา  อย่างไรก็ตามเมื่อได้พยายามพูดคุยกับทางเว็บไซต์ดัง โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้แจ้งข้อร้องเรียนเรื่องปัญหาไปยังบริษัทฯ เพื่อให้แก้ไขปัญหาให้กับผู้ร้องทั้งสองราย    รายแรกก็ได้รับสินค้าครบตามจำนวนที่สั่งซื้อรายที่สองมีเจ้าหน้าที่ของ LAZADA  ไปรับสินค้าคืน  แต่ต้องรอการตรวจสอบว่าสินค้าที่ได้รับมานั้นอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ก่อนคืนเงินศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงขอแจ้งเตือนยังผู้ที่จะซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ ควรตรวจสอบที่มาที่ไปของผู้ขายก่อนว่ามีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  อย่างน้อยหากเกิดความผิดพลาดยังพอมีข้อมูลในการติดตามกับผู้ขายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 9 เทคนิคจับผิดร้านค้าออนไลน์ เพื่อไม่โดนหลอก

แม้ว่าการซื้อของผ่านระบบออนไลน์เป็นที่นิยมของคนไทย แต่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นแหล่งโจรของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาอีกไม่น้อย S! Money มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อย ฝากไว้เป็นข้อสังเกต ก่อนที่จะตัดใจจ่ายเงินซื้อของออนไลน์ ดังนี้1. นำชื่อ เบอร์โทรศัพท์ หรือ username ของคนขายมา search หาใน google หากชื่อนี้เคยหลอกลวงคนอื่นมาก่อน แล้วกลับมาโพสต์ขายของอีก จะมีคนพูดถึงรายละเอียดคดีความของเขาขึ้นมาเลยด้วย2. ให้กดค้นหาชื่อร้านค้า หรือคนขาย ใน Facebook หรือ Twitter ตรวจสอบสถานะว่ามีการขายของจริงๆ หรือไม่ เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องมีตัวตัวผ่านเครื่องมือ ต่างๆ ของโซเชียลแน่นอน3. ลองค้นหาในเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบตัวตน เช่น  peekyou.com , touchgraph.com/seo หรือ socialmention.com แล้วใส่ชื่อ หรือ username ของผู้ขายลงไป ก็จะเจอข้อมูลมากมายทั้งอีเมล์ ข้อมูลบนเว็บต่างๆ และ Social Network ของเขา4. ตรวจสอบกับผู้ที่เคยซื้อ ว่าได้รับสินค้าจริงๆ หรือไม่? อาจจะหลังไมค์ไปพูดคุยกับคนที่เคยสั่งซื้อที่มีชื่อปรากฏการจองสินค้า เช่น ถ้าร้านขายใน Facebook เราก็ Inbox ไปสอบถามความรู้สึก ความคิดเห็นว่า สินค้าเป็นอย่างไร เพื่อเก็บเป็นข้อมูลการตัดสินใจได้อีกทาง 5. อย่าเห็นแก่ของราคาถูก! ถ้าพบว่าร้านค้าออนไลน์ขายของถูกเกินจริง ต้องยิ่งสังเกตและระวังเป็นอย่างมาก เพราะโอกาสโดนหลอกสูงมากๆ  และอุทาหรณ์ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีนี้6. ลองสั่งซื้อของจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า คนขายคนนั้น ส่งของจริง และมีตัวตนจริงๆ (หากเป็นคนโกง เค้าจะพยายามให้คุณสั่งของทีละมากๆ ระวังเอาไว้)7.อย่าไว้ใจแค่ social network ของผู้ขาย เพราะบางคนมีหลายแอ็คเค้า(account)  พยายามขอแอ็คเค้าจริงๆ ที่เขาใช้ ที่สามารถเห็น เพื่อนๆ และพฤติกรรมจริงๆ ได้8.ตรวจสอบดูความใหม่ของสินค้าหน้าเว็บไซต์ และการอัพเดทเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการอัพเดทเป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การอัพเดทสินค้าเป็นประจำ ก็แสดงให้เห็นว่าเจ้าของร้านดูแลหน้าร้านออนไลน์ของเขาอยู่จริง ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้น9. ส่วนการจ่ายเงิน หากจำเป็นต้องโอนผ่านธนาคาร พยายามเลือกร้านที่มีรีวิวการส่งสินค้า การรับสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้ใช้รูปเดิม เพื่อยืนยันว่ามีการส่งสินค้าจริงที่มา  http://money.sanook.com/229693/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 ไม่ได้ขออะไร แค่ขอให้คิดราคาตามที่ใช้จริง

ท่านผู้อ่านคงได้รับรู้บ้างเรื่องที่  สปช.มีมติให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม(โทรศัพท์) คิดค่าบริการลูกค้า  ตามที่ใช้จริงเป็นวินาที (ปัจจุบันคิดเป็นนาที) เพราะมีผู้ร้องเรียนว่าถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ  ในการเรียกเก็บค่าใช้บริการ  เช่น  ใช้จริง 1 นาที 1 วินาที  ก็จะถูกเรียกเก็บเป็น 2 นาที  ใช้ 3 นาที  5 วินาที  จะถูกเรียกเก็บ เป็น 4 นาที เป็นต้น  สรุปหากมีเศษวินาที ไม่ว่ามากหรือน้อย จะถูกปัดขึ้นไปเป็นนาทีโดยอัตโนมัติวันที่ 13 มกราคม 2558  ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค  (ของ สปช.) ร่วมกับผู้ให้บริการทุกค่าย   มีคำถามหลายคำจากผู้บริโภคที่ทำให้ผู้ให้บริการไม่พอใจ  เช่น  หากเราไปซื้อส้ม 1 กิโลกรัม แม่ค้าชั่งให้ 1 โล 1 ขีด  เรียกว่าอะไร  โกงตราชั่งหรือโกงเงิน  การปัดวินาทีเป็นนาที เรียกว่าโกงมั้ย?  ถึงกับออกอาการว่า ไม่ได้โกง  ไม่สบายใจเลย ที่ถูกกล่าวหาว่าโกง  สูตรคิดค่าบริการนี้ เป็นสากล ใครๆ เขาก็ใช้กันมีคำถามอีกว่า  ทำไมไม่ปัดเศษลง   ปรับขึ้นเป็นนาทีทำไม?  ไม่มีคำตอบ   แต่มีคำต่อว่า สปช.ว่าเรื่องเก็บเงินเป็นนาทีหรือวินาทีเป็นเรื่องเล็กๆ ผู้ประกอบการแข่งขันกันอยู่แล้ว  ยังไงค่าโทรก็จะถูกลงเอง  สปช. ควรจะไปทำเรื่องใหญ่ไม่ใช่มาทำเรื่องเล็กเรื่องน้อยอย่างนี้ ( หึ.....เรื่องที่เกี่ยวกับคน 60  กว่าล้านคนนี่นะเรื่องเล็ก)  ผู้ให้บริการยังบอกต่ออีกว่า ผู้บริโภคอาจไม่พอใจ ในการเก็บเงินเป็นวินาที  เพราะคนโทรสั้น จะได้ประโยชน์  แต่นักธุรกิจที่โทรยาวๆ จะเสียประโยชน์ (อ้าว...ตกลงทุกวันนี้คนจนช่วยจ่ายค่าโทรศัพท์ให้คนรวยใช่มั้ย???) คุณหมอประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา  กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค  พูดชัดเจนว่า  ปัจจุบันคนโทรสั้นต้องรับภาระจ่ายค่าโทรให้คนโทรยาว  เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง  ที่ถูกต้องคือ ใครใช้เท่าไร  ต้องจ่ายเท่านั้น  และการคิดค่าบริการเป็นวินาที ก็น่าจะทำได้เลย  เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการ  ก็มีเทคโนโลยี ตรวจการใช้บริการเป็นวินาทีอยู่แล้ว  ปัญหาคือการปัดเศษขึ้นไปเป็นนาที  ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค  และการแก้ปัญหาโดยการใช้โปรโมชั่น  นาทีและวินาที ที่อ้างว่าเป็นทางเลือกน่าจะไม่ถูกต้อง   แต่ต้องกำหนดให้ทุกโปรโมชั่น  ต้องคิดค่าบริการตามที่ใช้จริง   ที่สำคัญในระยะเวลาอันใกล้นี้   จะมีการประมูล 4G   จะเสนอให้ กสทช. กำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนว่าผู้ประกอบการที่จะเข้าประมูลต้องคิดค่าบริการตามที่ผู้บริโภคใช้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 เมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว จำเลยไม่จ่ายก็ต้องยึด(ทรัพย์)

ความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุรถโดยสารยังมีให้เห็นกันไม่หยุดหย่อน แต่ละเหตุการณ์มีทั้งคนเจ็บคนตาย หลายเรื่องเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วก็เงียบไป เพราะอาจจะตกลงกันได้ หรือไม่ติดใจเอาความ แต่อีกหลายเรื่องก็ต้องฟ้องคดีกัน บางคดีต้องใช้เวลานาน ถึงชนะแล้วก็ยังไม่ได้เงินชดเชยเยียวยาก็มี และกรณีนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากของผู้ประสบเหตุที่นอกจากจะต้องสูญเสียคนที่รัก คนที่สำคัญของครอบครัวไปแล้ว กระบวนการยุติธรรม การชดเชยเยียวยาก็ล่าช้า ไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ที่เสียหายเลย...จากกรณีที่ นางสาวภัทราพร ได้โดยสารรถร่วม บขส. ปรับอากาศ ชั้น 2 (ป.2) คันหมายเลขทะเบียน 10-6539 นครราชสีมา เส้นทางสายนครราชสีมา-อุดรธานี-ขอนแก่น-ศรีเชียงใหม่ ที่นายทองใบ ศรีโนรักษ์ เป็นผู้ขับขี่ เพื่อเดินทางไปสมัครงานหลังเรียนจบ แล้วรถเกิดอุบัติเหตุ ยางล้อหลังข้างซ้ายระเบิด ผู้ขับขี่ไม่สามารถบังคับรถให้ทรงตัวอยู่ได้ ทำให้รถเสียหลักตกลงไปในร่องกลางถนน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทันที 5 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากหลังเกิดเหตุ ญาติผู้เสียชีวิตได้เข้าเจรจาไกล่เกลี่ยค่าสินไหมทดแทนจากตัวแทนบริษัท แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ มีการท้าทายถ้าอยากได้มากกว่านี้ให้ไปฟ้องเอา...คดีจึงต้องไปว่ากันที่ศาล โดยนางปุ่น ชุ่มพระ ได้มาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในการช่วยเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ และมูลนิธิฯ ได้จัดหาทีมกฎหมายเข้าช่วยเหลือทางคดี โดยฤกษ์ดีวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555  ได้เข้ายื่นฟ้องนายทองใบ ศรีโนรักษ์ ผู้ขับขี่ ,  บริษัท ประหยัดทัวร์, นายอุบล เมโฆ เจ้าของรถ, บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด เป็นคดีผู้บริโภค ฐานผิดสัญญารับ-ส่งคนโดยสาร เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 7,342,249 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเกิดเหตุ จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คดีนี้ศาลใช้เวลาพิจารณาคดี 7 เดือน และในวันที่ 26 กันยายน 2555 ศาลชั้นต้นมีพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมชดเชยเงิน 1,370,540 บาท ให้กับนางปุ่น ชุ่มพระ มารดาผู้เสียชีวิต เนื่องจากนายทองใบ ผู้ขับขี่ให้การรับสารภาพในคดีอาญา และถูกพิพากษาว่าขับรถโดยประมาท ต้องรับผิดชอบความเสียหายในทางแพ่งด้วย อีกทั้งพฤติการณ์ของจำเลยขับรถด้วยความประมาท ปราศจากความระมัดระวังด้วยความเร็วสูง เสียหลักออกไปนอกเส้นทางเดินรถ จนไม่สามารถบังคับรถได้ ทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำตะแคงซ้ายอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ตายเสียชีวิตในทันที และเหตุที่เกิดขึ้นไม่ถือว่าเป็นความผิดของผู้ตาย เพราะจำเลยย่อมรู้ว่าสภาพรถไม่ปลอดภัย ควรดูแลรักษาอุปกรณ์ ส่วนควบ ให้อยู่ในสภาพปกติก่อนนำออกใช้ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความผิดของจำเลยที่ 1, 3 และ 4 ต้องร่วมรับผิดชอบ (ส่วนจำเลยที่ 5 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด ได้จ่ายค่าสินไหมในระหว่างพิจารณาคดีจนครบตามกรมธรรม์แล้ว จึงมีคำสั่งให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 5 ได้)ผลของคดีเหมือนจะจบลงด้วยดี หากฝ่ายจำเลยยอมรับคำตัดสินของศาล แต่กรณีนี้ไม่ใช่ นายทองใบ ศรีโนรักษ์ จำเลยที่ 1  ผู้ขับขี่ และ บริษัท ขนส่ง จำกัด จำเลยที่ 2 ผู้ให้สัมปทานรถร่วม ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์เวลาผ่านไปอีก 22 เดือน นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โดยในวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ศาลอุทธรณ์ก็มีคำพิพากษายืนข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น แต่แก้ในส่วนของค่าเสียหายให้ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,150,540  บาท ของต้นเงินจำนวน 140,540 บาท นับแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 10,000 บาทแทนโจทก์ด้วย ทั้งนี้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ยื่นขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกา จึงทำให้คดีนี้ถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 49 บัญญัติไว้ว่า “ การพิจารณาพิพากษาคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ทั้งนี้ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาภายใต้การบังคับมาตรา 52 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคให้เป็นที่สุด ”อ่านกันถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงคิดว่าจำเลยคงยอมจะจ่ายเงินตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์อย่างแน่นอน โดยโจทก์ไม่ต้องรออีกต่อไป แต่ผ่านไปอีก 17 เดือน ฝ่ายจำเลยก็นิ่งเงียบไม่ยอมจ่าย แม้โจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อออกคำบังคับและออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ฝ่ายจำเลยก็ยังเงียบกริบเหมือนไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นดังนั้นในวันที่ 17  พฤศจิกายน 2557 นางปุ่น ชุ่มพระ จึงต้องตัดใจยื่นเรื่องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อกรมบังคับคดี เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ของจำเลย ชดใช้หนี้ตามคำพิพากษาในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557  โดยในวันดังกล่าวนางปุ่น ชุ่มพระ พร้อมเจ้าพนักงานบังคับคดี ได้เข้ายึดทรัพย์ บริษัท ขนส่ง จำกัด จำเลยที่ 4 ในคดี เพื่อรับการชำระหนี้จำนวน 1,190,066 บาท ซึ่งบริษัท ขนส่ง จำกัด ก็ยินยอมชำระหนี้เป็นเช็คเงินสดของธนาคารกรุงไทยให้แต่โดยดี แม้จะใช้เวลานานไปบ้างในขั้นตอนการออกเช็คก็ตามนับเป็นการสิ้นสุดคดีความและการรอคอยการจ่ายค่าสินไหม รวมเวลานับแต่เกิดเหตุจนคดีสิ้นสุดได้รับการชำระค่าเสียหายเป็นเวลา 45 เดือน ซึ่งกรณีนี้สะท้อนให้เห็นได้ถึงความล้มเหลวของกระบวนการชดเชยเยียวยาต่อผู้บริโภคที่เสียหาย ที่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิดและใช้เวลานาน โดยจำเลยที่เป็นหน่วยงานรัฐจะไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเลย หากคดีไม่ถึงที่สิ้นสุด รวมถึงความอ่อนแอของขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมและการบังคับคดี เนื่องจากจำเลยยังมีช่องทางเพื่อประวิงเวลาการชดใช้ค่าเสียหายได้มารดาของ นางสาวภัทราพร กล่าวว่า “ดีใจที่เรื่องนี้จบซะที แม้ว่าวันนี้จะไม่ได้ชีวิตลูกสาวกลับคืนมา ซึ่งไม่มีอะไรชดใช้ได้ก็ตาม แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อเกิดเหตุในลักษณะทำนองนี้ นอกจากคนขับแล้ว ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมกันรับผิดชอบด้วย อยากขอให้เป็นบทเรียนให้ทุกฝ่ายระมัดระวัง โดยเฉพาะเจ้าของรถก่อนจะออกจากสถานีก็ควรตรวจสอบรถโดยสารให้มีสภาพพร้อมใช้งาน เพราะชีวิตของผู้โดยสารฝากไว้ที่คุณแล้ว ดิฉันมีลูกแค่คนเดียว ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำใจไม่ได้เพราะลูกคือความหวังของชีวิต”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 ปัญหานักศึกษากับบัตร Rabbit รถไฟฟ้า BTS

“รถติด” ปัญหาชีวิตคนเมืองกรุงเทพฯ  ทั้งนักเรียน  นักศึกษา คนทำงาน  โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งช่วงเช้า และช่วงเย็น  คนกรุงเทพฯ มักจะหลบเลี่ยงการจราจรที่คับคั่ง  รถติดยาวเหยียด ด้วยการหันไปใช้บริการรถไฟฟ้า BTS  กันมากขึ้น  ต้องบอกว่าแน่นไม่แพ้กัน ทำให้ต้องขยายเส้นทางกันมากมาย และยังให้นักเรียน นักศึกษา ใช้รถไฟฟ้า  BTS  ในราคาถูกกว่าผู้ใช้บริการทั่วไป ดังเช่น น้องลัคนา นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ที่เพิ่งจบการศึกษาหมาดๆลัคนาเล่าให้เราฟังว่า “ใช้บริการมาตลอดตั้งแต่เรียนปีที่ 2  โดย ซื้อบัตร Rabbit เพื่อความสะดวกในการใช้เดินทาง จนเมื่อเช้าวันพฤหัสบดี ที่ 11 ธันวาคม 57 สถานที่ BTS บางหว้า น้องกำลังจะเดินทางไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยนำบัตรไปใช้บริการตามปกติ แต่เครื่องอัตโนมัติได้เตือน ว่าไม่สามารถผ่านได้ ต้องเติมเงินเท่านั้นเธอจึงไปที่เคาน์เตอร์เติมเงินลงบัตรแรบบิท จำนวน 100 บาท เพราะเป็นช่วงต่อขยาย ผู้ร้องใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเที่ยว เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น ได้นำบัตรไปใช้บริการ ระหว่างนั้น พนักงานท่านหนึ่ง  ได้เรียกและขอดูบัตรแรบบิท พร้อมกล่าว ขอดูบัตรประชาชน และบัตรนักศึกษา แต่ในช่วงระยะเวลานั้น ผู้ร้องมีเพียงบัตรประชาชน จึงยื่นไปแต่พนักงานพูดจาไม่รู้เรื่อง ถึง 2 รอบ แต่จับประเด็นได้ว่า ขอยึดบัตรแรบบิท พร้อมเขียนบิล(ยึดบัตรโดยสาร)พนักงานกล่าวว่า ถ้าจะเอาคืน ต้องเอาบัตรนักศึกษามาแนบ ภายในระยะเวลา 3 วัน และให้ผู้ร้องออกมา พร้อมบอกว่าให้ไปซื้อบัตรหยอดตู้ รายวันใช้ใหม่  แล้วค่อยกลับเข้าไปใหม่  ในช่วงนั้นผู้ร้องรู้สึกสิ้นหวังสิ้นหวังสุดๆ เพราะมีเงิน เพียง 100 บาท แต่นำไปเติมค่าโดยสารหมดแล้ว  ต้องจำยอมไปถอนเงินซื้อบัตรใหม่ วันรุ่งขึ้นเมื่อไปติดต่อขอรับบัตรคืน  กลับถูกปฏิเสธพนักงานอ้างว่าเรียนจบแล้ว เพระบัตรนักศึกษาหมดอายุ ใช้ไม่ได้  น้องนึกในใจว่า แล้วที่ยอมให้เติมเงินได้ทุกครั้งล่ะ?   แล้วที่เขียนว่าอายุไม่เกิน 23 ปีล่ะ เขียนไว้ทำไม  บัตรก็เป็นของเราแค่เพิ่งเรียนจบ งานก็ยังไม่ได้ทำ งั้น…ขอเงินคืนได้หรือไม่  พนักงานบอกว่าไม่ได้น้องจึงมาขอคำปรึกษา ว่าทำอะไรได้บ้างไหม ศูนย์พิทักษ์หลังจากรับฟังเรื่องราว  และมาตรวจสอบข้อมูล  พบว่า “เงื่อนไขในการใช้บัตรชนิดนี้มีกำหนดแต่เพียงว่า “สำหรับนักเรียน  นักศึกษา ที่มีอายุไม่เกิน 23 ปีบริบูรณ์ ตามบัตรประชาชนและศึกษาในสถานศึกษาในประเทศไทย ศึกษาในต่างประเทศ  เนติบัณฑิต โรงเรียนฝึกอาชีพ และโรงเรียนสอนภาษา  และไม่ต้องแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีสิทธิใช้บัตรโดยสารประเภทดังกล่าวในเวลาซื้อบัตรโดยสาร” พนักงานใช้วิธีเพียงสุ่มตรวจเท่านั้น  ซึ่งมิใช่มาตรการที่รัดกุม  และบัตรนั้นเป็นของผู้ร้องเอง ที่มิใช่นำของผู้อื่นมาใช้  จึงเห็นด้วยว่า ที่บริษัทฯ ไม่ให้โอกาส ผู้บริโภคแก้ตัว เช่น การคืนเงิน น่าจะพูดคุยกันได้ จึงแนะนำให้ น้องลัคนาทำหนังสือถึง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ขอให้คืนเงินในบัตรที่เติมเป็นเงินค่าส่วนต่อขยาย และราคาค่าเที่ยวที่ยังคงเหลือทั้งหมด  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 สรุปสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคในรอบปี 2557

สถานการณ์ ปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 6 ภูมิภาคในปี 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,665 รายปัญหาที่ร้องเรียนมากที่สุดคือ  ด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข 849 ราย  ซึ่งปัญหาจะอยู่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่  การใช้สิทธิฉุกเฉิน, แพทย์ผ่าตัดผิดพลาด, ค่ายาและค่าบริการโรงพยาบาลเอกชนแพง สิทธิการรักษา ในระบบประกันสังคม เช่น โรคไต  เป็นต้น  รองลงมาคือด้านการเงินการธนาคาร 468 ราย  ยังคงเป็นปัญหาเรื่อง หนี้สิน เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล  ประกัน ฯลฯ  ตามมาด้วยปัญหาด้านสื่อโทรคมนาคม 410 ราย  ลักษณะปัญหา ได้แก่ การตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชน การได้รับ SMS รบกวนและถูกหักสตางค์ เป็นต้น  ส่วนอันดับที่สี่เป็นปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน 284 รายสิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ ปัญหาการถูกละเมิดสิทธิส่วนใหญ่นั้น ถูกเพิกเฉยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวพันต่อเนื่อง“ยกตัวอย่าง กรณีปัญหาสินค้าประเภทรถยนต์นั้น  เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาสูง ผู้บริโภคซื้อรถยนต์ป้ายแดงคาดหวังว่าจะใช้รถได้เต็มประสิทธิภาพ แต่กลับชำรุดบกพร่องจนต้องซ่อมแล้วซ่อมอีก ซึ่งบริษัทผู้ผลิตมักอ้างว่ารถปกติ ผู้บริโภคกังวลไปเอง เช่น กรณีรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต รุ่น ครูซ  ที่เป็นข่าวฟ้องร้องกันและเคยนำเสนอใน “เสียงผู้บริโภค” อย่างต่อเนื่อง จากปัญหาเรื่องระบบส่งกำลัง เกียร์ชำรุด  เร่งไม่ขึ้น  รถดับขณะขับขี่ ทำให้ผู้บริโภคที่ซื้อรถต้องร้องเรียนให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบความชำรุดบกพร่องว่าเป็นเรื่องที่บริษัทควรรับผิดชอบ เพราะมิใช่เกิดจากความผิดของผู้บริโภคหรือเป็นเรื่องกังวลไปเอง แต่เป็นความผิดพลาดในการผลิต ซึ่งเมื่อหน่วยงานรัฐทำการตรวจสอบและพบความชำรุดบกพร่องจริงตามที่ผู้บริโภคร้องเรียน  แต่ปัญหากลับยังคงนิ่งสนิท โดยหน่วยงานรัฐได้มีการดำเนินการใดๆ กับบริษัทผู้ผลิต  หรือออกมาเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบ  หรือมีมาตรการจัดการกับบริษัทผู้ผลิตแต่อย่างใดและปัจจุบันยังพบว่า ค่ายรถยนต์รายอื่นก็ทยอยมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน  ดังที่เป็นข่าวดังก่อนช่วงปีใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำๆ  เมื่อหน่วยงานมิได้มีมาตรการที่ออกมาบังคับใช้อย่างจริงจัง ปัญหาจึงไม่ถูกแก้ไขทั้งระบบ      หากเป็นกรณีที่เกิดในประเทศที่ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง หน่วยงานจะออกมาตรการให้มีการเรียกรถที่เกิดปัญหาคืนทันที เพื่อกลับมาตรวจสอบอาการผิดปกติ แต่ในเมืองไทยกลับไม่พบว่ามีการเรียกรถมาตรวจสอบเหมือนในต่างประเทศทั้งที่เป็นรถรุ่นเดียวกัน” นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคคนทำงานผู้บริโภค จึงหวังที่จะเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และต้องการให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเกิดขึ้นโดยไว เพราะหนึ่งในหน้าที่สำคัญของ องค์การอิสระฯ คือ การทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ปัญหาการชำรุดบกพร่องในสินค้าและบริการเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม และทันสถานการณ์ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม

อ่านเพิ่มเติม >