ฉบับที่ 252 “จุดประกายความคิด”

        ปฏิเสธไม่ใด้ว่า การเรียกคืนรถนต์ทั่วโลกของหลายบริษัท ในประเทศสหรัฐอเมริกา กลายเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความฮือฮาและแปรเปลี่ยนมาเป็น “พลัง” ให้กับผู้บริโภคทั่วโลกโดยปริยาย         ความรับผิดชอบดังกล่าวของบริษัทผลิตรถยนต์ กลายเป็น“ตัวอย่าง” ที่สร้างแรงกดดันและช่วย “ยกระดับ”มุมมองและความคิดให้กับผู้บริโภคข้ามชีกโลกทันที         เพราะนับจากนี้ไป บรรดาผู้บริโภคทั้งหลายต่างก็มุ่งหวังตรงกันว่า หากเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ในประเทศของตนเอง ก็อยากจะเห็นการแก้ไขปัญหาจากบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆ ในประเทศของเรา ปฏิบัติตาม“มาตรฐานเดียวกัน” กับประเทศสหรัฐอเมริกา         บทเรียนและประสบการณ์ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจากต่างประเทศที่แตกต่างและหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทำงานรณรงค์ด้านนโยบาย การทำงานศึกษาวิจัย ความเป็นอิสระขององค์กรในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่ต้องพึ่งแหล่งเงินทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน บทบาทขององค์กรผู้บริโภคในการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อให้ผู้บริโภคใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า (RatingComparative Testing) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค หรือรูปแบบการพึ่งตนเองในการทำงานขององค์กรผู้บริโภค ทั้งจากอตีตหรือในปัจจุบันล้วนมีความสำคัญต่อการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย เพราะสามารถนำมาปรับปรุงเพื่อหาแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ทั้งยังเหมาะสมกับวัฒนธรรมมใของผู้บริโภคในประเทศไทย การถ่ายทอดบทเรียนและประสบการณ์การเคลื่อนไหวของผู้บริโภคทั้งจากต่างแดนจะแปรเปลี่ยนเป็น “พลัง” ที่ช่วยจุดประกายและยกระดับการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน         เพราะไม่ว่าจะอยู่ชีกมุมไหนของโลก การทำงานก็ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งจากจุดเล็กๆ และพัฒนาต่อยอดจนผู้บริโภคเชื่อถือ ไว้วางใจกระทั่งก้าวออกมาสนับสนุนเพื่อให้การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเติบใหญ่อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น         จากหนังสือ “ไปเห็นมากับตา...ทำมากับมือ เปิดเบื้องหลัง “พลัง”ผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 251 “ราคารถไฟฟ้าควรเป็นเท่าใด ทำไมคมนาคมเสนอ 36 บาทและทำไมสภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอ 25 บาท”

        ประชาชนจำนวนมากยังไม่ได้รับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด บางส่วนยังตั้งคำถามกับราคา 25 บาทที่สภาองค์กรของผู้บริโภคนำเสนอว่าทำได้มั้ย มาจากอะไร         ราคาตั้งต้นของกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าโดยสารที่ 49.83 บาท สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ลดราคาค่าโดยสารลงเหลือ 50% เฉลี่ยที่ 25 บาทโดยยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรถไฟฟ้าจำนวนเท่าเดิมตามตัวเลขของกระทรวงคมนาคม พบว่ากทม. ยังมีรายได้ในปีพ.ศ. 26020 จำนวน 23,200 ล้านบาท ทั้งยังได้รับการยืนยันจาข้อมูลของนักวิชาการว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินรถต่อคนต่อเที่ยวของสายสีเขียวระหว่างปี2557-2562 อยู่ระหว่าง 10.10-16.30 บาท เท่านั้น หรือหากติดตามข้อมูลเรื่องนี้ก็จะพบว่า ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานครหรือพรรคการเมืองต่างๆ ยืนยันว่าราคา 20 บาทขึ้นไปเป็นราคาที่ทำได้จริง         แต่สิ่งที่สำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหารถไฟฟ้าราคาแพงถึงคนรุ่นต่อไป คือโอกาสของประเทศในการจัดการรถไฟฟ้าทั้งระบบ ระบบตั๋วร่วมการยกเว้นค่าแรกเข้า การกำหนดราคาค่าโดยสารสูงสุด เพราะถึงแม้สายสีเขียวจะถูกลงแต่หากสัญญาสัมปทานไม่มีข้อกำหนดหรือกติกาเหล่านี้ ประชาชนก็ต้องจ่ายราคาแพงในการเดินทางข้ามโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสี ซึ่งสัญญาสัมปทานสายสีเขียวที่นำเข้าสู่การพิจารณาของครม. ไม่มีเงื่อนไขเหล่านี้เลย และหากจะมีการแก้ไขสัญญาสัมปทานในอนคต คงหลีกเลี่ยงค่าโง่ในการดำเนินการมิได้         การดำเนินการครั้งนี้จึงมีความสำคัญกับประชาชน ในการทำให้ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพและการเชื่อมต่อกับจังหวัดรอบๆ ปริมณฑลเป็นจริงเพื่อแก้ปัญหาการจราจร ฝุ่น PM 2.5และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน         ล่าสุดจากการเปิดเผยข้อมูลของกระทรวงคมนาคมวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมยืนยันว่าสามารถใช้ราคา 36 บาทในการดำเนินการได้จากรายได้ที่กรุงเทพมหานครได้รับ         นอกจากนี้การต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว 30 ปี ได้ถูกตั้งคำถามปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ได้ดำเนินการตามพรบ. ร่วมทุน และปัญหาค่าโดยสารราคาแพงที่เป็นภาระหนักของผู้บริโภคในอนาคตนานถึง 37 ปี ที่สูงถึง 65 บาท หรือ 39% ของรายได้ขั้นต่ำของ ประชาชน จะมีทางออกอย่างไร ถึงแม้คณะรัฐมนตรีจะยังชะลอการนำเข้าพิจารณาเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา         ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า คณะรัฐมนตรีมีความเสี่ยงในการพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งข้อเท็จจริงหรือรายได้ ราคาค่าโดยสารที่ขาดที่ไปที่มา ไม่ครบถ้วน ซึ่งราคาที่กำหนดยังได้รับการยืนยันว่า เป็นการเหมารวมระบบสัมปทานแบบทั้งการเดินรถและสิทธิประโยชน์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การโฆษณาตลอดระยะเวลา 37 ปี จึงมั่นใจว่า ราคาค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 25 บาทที่นำเสนอจึงเป็นสิ่งที่ทำได้จริงและหากจะรวมค่าโดยสารรถเมล์หรือบริการขนส่งมวลชนอื่นๆ อีกไม่เกิน 8 บาท รวม 33 บาทจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำได้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 250 เรื่องหมู ที่ไม่หมู

        สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอ ให้นำเข้าเนื้อหมูแช่แข็งชั่วคราวแบบมีเงื่อนไขจากแหล่งผลิตที่ปลอดสารเร่งเนื้อแดงเท่านั้น เร่งปรับโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) และผลักดันท้องถิ่นให้สนับสนุนเกษตรรายย่อยเลี้ยงหมูเพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ รวมทั้งผู้บริโภคต้องมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ หรือหมูหลุม เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ         สาเหตุของหมูแพงเชื่อว่าผู้บริโภคคงได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากข่าวสารต่างๆในสื่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกเนื้อหมูก่อนหน้า การเป็นโรคอหิวาต์แอฟริการของหมูทำให้มีหมูน้อยลงทั้งระบบ และรวมถึงการปกปิดข้อมูลทำให้การจัดการปัญหาล่าช้า และไม่ทันการณ์การจัดการโรคระบาดซึ่งโดยข้อมูลของหลายหน่วยงานแจ้งว่า ต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 18 เดือน        ทางออกของผู้บริโภคในเรื่องนี้ซับซ้อนมาก ถึงแม้ข้อเสนอระยะสั้นที่ทุกฝ่ายจะเห็นด้วยว่า อาจจะจำเป็นที่จะต้องนำเข้าเนื้อหมูแช่แข็งชั่วคราวเนื่องจากปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ และราคาแพงจนไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค แต่การนำเข้าเนื้อหมูต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนและสนับสนุนให้เกิดทางเลือกในการบริโภคของผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดยจำกัดเฉพาะเนื้อหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ปลอดจากการใช้สารเร่งเนื้อแดงเท่านั้น         ส่วนข้อเสนอระยะยาว จะทำอย่างไรให้เกิดโครงสร้างการเลี้ยงหมูของเกษตรรายย่อย ในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยผู้เลี้ยงหมูที่ล้มหายไปไม่น้อยกว่า 200,000 ราย เพื่อทำให้ไม่เกิดการผูกขาดและการกำหนดราคาที่ขึ้นอยู่กับบริษัทขนาดใหญ่หรือผู้เลี้ยงรายใหญ่เท่านั้น ดังปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน โดยผู้บริโภคก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบในการที่จะทำให้เกิดกระบวนการเลี้ยงหมูที่ปลอดภัย ลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นต้นตอของโรคในหมู ต้นตอของความไม่ปลอดภัยและเป็นสาเหตุสำคัญของเชื้อดื้อยาในมนุษย์ในท้ายที่สุด         บทบาทของหน่วยงานรัฐและหน่วยงานในระดับท้องถิ่นต่างๆที่เกี่ยวข้อง จะทำให้เกิดการสนับสนุนการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติที่รู้จักกันในนามหมูหลุม และผู้บริโภคจะสนับสนุนสิ่งเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร         ส่วนปัญหาโครงสร้างราคาที่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน ว่า ราคาหมูเป็น 120 บาทต่อกิโลกรัม แต่เมื่อเป็นเนื้อหมูทำอาหารทำไมต้องกำหนดราคาเป็นสองเท่าของหมูเป็น และปัญหาวัตถุดิบในการเลี้ยงหมูซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของเกษตรกร นับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับต้นทุนการเลี้ยงหมูในต่างประเทศ ความเป็นธรรมของราคาต่อผู้บริโภคและคุณภาพชีวิตของเกษตรกร จะมีการจัดการอย่างเป็นระบบอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 249 “ผู้ประกันตนกับบำนาญชราภาพ”

        องค์กรผู้บริโภคเสนอประกันสังคม จ่ายบำนาญชราภาพแบบเดิมและอาจเตรียมเกษียณอายุ 60 ปี สำหรับผู้ประกันตนรายใหม่การริเริ่มของประกันสังคมที่จะยกเลิกการจ่ายบำนาญชราภาพให้กับผู้ประกันตนที่อายุ 55 ปี โดยเลื่อนการจ่าบำนาญชราภาพเมื่ออายุ 60 ปีแทนกลุ่มผู้บริโภคมองว่าเรื่องนี้เมื่อสำนักงานประกันสังคมมีสัญญาที่ตกลงไว้กับผู้ประกันตนว่าจะ        สามารถเกษียณอายุได้ที่อายุ 55 ปีและหากส่งเงินสมทบประกันสังคมไม่น้อยกว่า 180 เดือนหรือ 15 ปีจะได้รับบำนาญชราภาพประมาณ 3,750บาทต่อเดือน หรือหากส่งเงินสมทบในฐานะผู้ประกันตน 20 ปีก็จะได้รับเงินอยู่ที่ประมาณ 4,125 บาท         สิ่งที่สำนักงานประกันสังคมควรจะดำเนินการซึ่งทุกฝ่ายเห็นด้วยก็คือ การขยายเพดานวงเงินสูงสุดของผู้ประกันตนที่สมทบจาก 15,000 บาทเป็น 20,000 บาท แต่หากเปรียบเทียบกับเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าสัญญาเดิมที่ทำไว้กับผู้ประกันตนก็ควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเป็นผู้มีสิทธิในการเลือกว่าจะรับบำนาญที่อายุ 55 ปี หรือ 60 ปี ซึ่งควรเป็นการตัดสินใจของผู้ประกันตนที่จะเลือกสิทธิของผู้ประกันตนนั้นด้วยตัวเอง แต่หากประกันสังคมจะปรับให้จ่ายคืนบำนาญที่อายุ 60 ปีก็ควรดำเนินการกับผู้ประกันตนใหม่หรืออาจจะดำเนินการอย่างเป็นระบบสอบถามความสมัครใจในการที่จะเลือกสำหรับผู้ประกันตนรายเดิมส่วนรายใหม่ก็จัดการปรับแก้กฎหมายให้ชัดเจน ให้จ่ายเงินบำนาญชราภาพที่ 60 ปี ซึ่งอาจจะส่งผลดีก็คือทำให้บริษัทเอกชนทั้งหลายอาจจะต้องยืดระยะเวลาการจ้างงานจาก 55 ปีเป็น 60 ปีแทนที่ในปัจจุบันบริษัทเอกชนใช้วิธียุติการจ้างเมื่อครบอายุ 55 ปี แล้วให้ลูกจ้างไปรับเงินประกันสังคมแล้วอาจจะทำสัญญาจ้างใหม่อีกรอบซึ่งทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิต่างๆอีกหลายอย่าง         แต่ไม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรสำนักงานประกันสังคม ควรจะสอบถามผู้ประกันตนอย่างเป็นระบบเพราะผู้ประกันควรมีสิทธิเลือกและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ         สิ่งสำคัญในการปฏิรูปประกันสังคมอีกส่วน คือ การปรับลดสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน เรื่องการรักษาพยาบาล เพราะในปัจจุบันรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ เช่น งบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคสำนักงานประกันสังคมควรเร่งพัฒนาเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์และลดการจ่ายเงินในส่วนบริการสุขภาพหรือยุติการจ่ายเงินในส่วนสุขภาพในที่สุดเพราะรัฐบาลควรรับผิดชอบผู้ประกันตนเช่นเดียวกับผู้ป่วยในระบบบัตรทองหรอระบบสวัสดิการข้าราชการซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนมีโอกาสได้รับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 248 ปัญหาโครงสร้างน้ำมัน ไม่ใช่รถบรรทุกหยุดวิ่ง

        โครงสร้างราคาน้ำมันที่ซับซ้อน หรือทำให้ซับซ้อน ถูกพูดถึงน้อยจากทุกฝ่าย เพราะหากติดตามการรณณงค์ของสมาพันธ์ขนส่งแห่งประเทศไทย แสดงจุดยืนชัดเจน ว่า ทางกลุ่มสมาพันธ์ ฯ ต้องการให้รัฐบาลลดราคาน้ำมัน และไม่ต้องการผลักภาระค่าน้ำมันให้กับผู้ผลิตสินค้า ซึ่งท้ายที่สุดส่งผลต่อราคาสินค้าและค่าบริการของผู้บริโภค ตามที่ประธานสมาพันธ์ ฯ ยืนยันมาโดยตลอด        กลุ่มผู้บริโภคต้องขอบคุณและอยากให้ผู้บริโภค ช่วยสื่อสารทำความเข้าใจเรื่องราคาน้ำมันและโครงสร้างราคาน้ำมันที่เป็นธรรมกับทุกฝ่ายทุกส่วน ทั้งกิจการขนส่ง กิจการการเกษตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้บริโภค         หากพิจารณาจากโครงสร้างราคาน้ำมัน เห็นความไม่ถูกต้องจากหลายส่วน อาทิเช่น ราคาน้ำมันดิบตั้งต้นที่เป็นปัญหาต้นทาง ที่ใช้ราคาน้ำมันบวกค่าขนส่งเทียมหรือขนส่งทิพย์นำเข้าจากสิงคโปร์ทั้งที่ไม่ได้มีการนำเข้าจากสิงคโปร์จริงซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลไม่เคยแก้ปัญหาทำให้ราคาน้ำมันแพงไปอย่างน้อยอีก 1 บาท         มาพิจารณากันว่า 25 บาทที่องค์กรผู้บริโภคเสนอมาจากอะไร และรัฐบาลสามารถทำได้จริง            +ต้นทุนน้ำมันหน้าโรงกลั่นตามราคาตลาดโลก ราคา 18.45 บาท            +ค่าการตลาด ราคา 1.40 บาท            +ส่วนต่างกำไรที่เป็นเงินเหลืออีก (รายได้ของรัฐบาล) 5.15 บาท หากรวมต้นทุนเทียมเท่ากับรัฐบาลมีกำไรมากถึง 6.15 บาทจากต้นทุนเทียมขนส่งจากสิงคโปร์         โครงสร้างราคาน้ำมันที่บิดเบี้ยวจากข้อมูลข้างต้น และไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง สร้างภาระให้กับทุกส่วนยกเว้นบริษัทน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมันและกิจการพลังงาน ซึ่งควรได้รับการแก้ไข ทางออกคงไม่ใช่จัดหาบริการขนส่ง แทนรถบรรทุก แต่ต้องการการออกแบบโครงสร้างราคาน้ำมันที่เป็นธรรม ซึ่งท้ายที่สุดส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการของประชาชนทั้งระบบ ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องจัดการปัญหาโครงสร้างราคาน้ำมันที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคสักที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 247 จี้ธนาคารคืนเงินให้ผู้บริโภคทันที

จี้ธนาคารคืนเงินให้ผู้บริโภคทันทีเพิ่มมาตรการยืนยันตัวตน พร้อมรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมให้ผู้บริโภค หลังผู้บริโภคหลายรายถูกหักเงินจากบัญชีโดยไม่ทราบสาเหตุ- - - - -        จากกรณีที่มีผู้บริโภคจำนวนมากถูกหักเงินหรือถูกเรียกเก็บเงินจากบัญชีธนาคาร เนื่องจากบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตถูกลักลอบใช้โดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงที่ผ่านมา หลังจากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยได้ออกมาชี้แจงและปฏิเสธ ว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลจากธนาคาร ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบร้านค้าที่มีธุรกรรมที่ผิดปกติและจะเร่งคืนเงินให้กับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายตามขั้นตอนของธนาคารนั้น        บริการบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ถือเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542 ที่ระบุว่า ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตให้กับผู้บริโภคไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินจากบัญชีธนาคารของผู้บริโภค หรือกรณีที่ผู้บริโภคถูกหักเงินจากบัญชีธนาคาร จะต้องคืนเงินให้กับผู้บริโภคทันที รวมทั้งกรณีที่ผู้บริโภคทักท้วงว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือแจ้งว่าบริการที่ถูกหักเงินไปเกิดจากการลักลอบใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ทั้งในออนไลน์หรือออฟไลน์อีกด้วย         “ธนาคารไม่ควรอ้างเหตุผลการตรวจสอบเพื่อประวิงเวลาในการคืนเงินให้กับผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหักเงินจากบัญชี และต้องรับผิดชอบคืนเงินผู้บริโภคเต็มจำนวนทันที เนื่องจากเป็นหน้าที่ของธนาคารในการดูแลรักษาเงิน นอกจากธนาคารจะพิสูจน์ได้ว่าภาระหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้บริโภคเองและใช้สิทธิเรียกคืนจากผู้บริโภคในภายหลังได้”โดยปกติการทำธุรกรรมทางการเงินจะต้องมีการยืนยันตัวตนก่อนทุกครั้ง แต่ปัจจุบันธุรกรรมที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จำนวนมากไม่มีการแจ้งยืนยันตัวตนก่อนการสั่งจ่าย จึงอาจเป็นช่องว่างให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นได้ จึงต้องการให้ ธปท. และสมาคมธนาคารฯ เพิ่มมาตรการยืนยันตัวตนในการโอนเงินทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ส่วนกรณีผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงินหายไปจากบัญชีจนหมดนั้นอาจจะกระทบกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จนสร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภค ธนาคารผู้รับฝากเงินของผู้เสียหายควรต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการแสดงความรับผิดชอบของธนาคารผู้รับฝากเงินเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 246 ผู้ป่วยโควิดสีเขียวกักตัวที่บ้าน ต้องจ่ายค่าชดเชยรายวันหรือไม่

        องค์กรของผู้บริโภค เรียกร้องคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ให้ทบทวนการจ่ายเงินชดเชยรายวัน กับผู้ป่วยสีเขียวที่แยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) ทุกกรณี         กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกรอบ จากข้อร้องเรียนของผู้เอาประกันภัยที่กักตัวเองที่บ้านแล้วบริษัทอ้างว่า ป่วยน้อย สีเขียว นอนที่บ้านไม่สามารถเรียกเงินชดเชยรายวันได้         โดยใช้คำวินิจฉัยของเลขาธิการคปภ. ในเอกสารแจง 17 ข้อสงสัย เหตุใดจึงไม่ให้เคลมค่าชดเชยรายวันกรณี home isolation หรือแบบ community isolation ได้ทุกกรณี? ได้อ้างเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ปัจจุบัน ในเรื่องค่าชดเชยรายวัน ให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีผู้ป่วยในไม่ครอบคลุมกรณีการรักษาแบบ home isolation หรือแบบ community isolation แล้วไม่มีโอกาสเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงได้หารือร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยมีสภาพที่จะต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน แต่ไม่สามารถหาเตียงสถานพยาบาลได้ จึงต้องรักษาตัวแบบ home isolation และ community isolation ให้ถือเสมือนเป็นผู้ป่วยในและมีสิทธิได้รับค่าชดเชยรายวันตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 และเพื่อป้องกันมิให้มีการเคลมเกินสิทธิที่พึงมีตามเงื่อนไขการคุ้มครองในกรมธรรม์ รวมทั้งป้องกันปัญหาการฉ้อฉลประกันภัย ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล เช่น เป็นผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการรุนแรงขึ้น แต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ เป็นต้น ซึ่งแม้ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง แต่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาลก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยรายวัน ซึ่งคำสั่งนี้ได้เปิดช่องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยกรณีมีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาลได้ด้วย         การวินิจฉัยของคปภ.แบบนี้ ย่อมสร้างปัญหาให้กับผู้บริโภค ต้องไม่ลืมว่า การรักษาผู้ป่วยโควิดจากเดิมกรมการแพทย์บังคับให้ทุกคนต้องนอนโรงพยาบาลเมื่อติดเชื้อโควิด 19 แต่เมื่อรัฐไม่สามารถมีเตียงรองรับในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel การนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยจึงเป็นไปไม่ได้ กรมการแพทย์ได้ประกาศให้หน่วยบริการดูแลประชาชนที่บ้าน พร้อมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายเงินให้หน่วยบริการที่รับดูแลผู้ป่วยในการแยกตัวที่บ้านประมาณ 1,000 บาทต่อราย ผู้ป่วยจำนวนมากได้ยาต้านไวรัส และต้องติดตามอาการที่มีความเปลี่ยนแปลงทุกวัน ไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ ต้องแยกตัวไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ เป็นมาตรการควบคุมโรคที่สำคัญ ทุกคนที่ทำประกันเมื่อไม่มีรายได้หรือรายได้ลดลง ต้องได้ค่าชดเชยรายวันทุกคนตามสิทธิ หากในอนาคตการขายประกันของบริษัทจะกำหนดเงื่อนไข ว่า คุ้มครองเฉพาะสีเหลืองและแดงเท่านั้นก็ต้องเป็นเงื่อนไขในอนาคต ไม่ใช่เงื่อนไขในปัจจุบัน         บริษัทประกันย่อมไม่มีสิทธิที่จะไม่จ่ายสินไหมชดเชยรายวันให้กับผู้บริโภค จากเหตุที่อ้างว่าเพราะอาการของโรคน้อย ที่สำคัญจะทำอย่างไรให้ระบบการทำงานของคปภ.รับฟังความเห็นจากตัวแทนของผู้บริโภค ไม่ใช่เฉพาะจากบริษัทประกัน และการประกันภัยในประเทศไทย ต้องยึดหลักการจ่ายเป็นหลักปฏิเสธเป็นรอง ถึงเวลาที่คปภ.ต้องจัดการเรื่องนี้เพราะไม่อย่างงั้นบริษัทประกันก็คิดถึงแต่ตัวเลขกำไรงามๆของตนเองฝ่ายเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 245 เลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เดี๋ยวนี้

        โพลล่าสุด บอกคนกรุงเทพต้องการให้รัฐบาลเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด่วน        วิกฤตการระบาดของเชื้อโควิดโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สะท้อนการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโควิดได้อย่างยากยิ่งในเมืองหลวง แต่ได้เห็นความพยายามของกลุ่มคนต่างๆมากมายซึ่งเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะได้ใช้ความร่วมมือของกลุ่มคนต่างๆเหล่านี้ หน่วยงานที่ต้องยกย่องชมเชย เห็นจะเป็นชมรมแพทย์ชนบท และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีความพยายามที่จะมองปัญหาเรื่องนี้ไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นการจัดการปัญหาเรื่องการแยกตัวที่บ้าน(Home Isolation) หรือการแยกตัวในชุมชน(Community Isolation) กับสนับสนุนให้ประชาชนสามารถกลับไปรักษาที่จังหวัดของตนเอง โดยการสนับสนุนรถรับส่ง เพราะเห็นได้ว่าหน่วยบริการไม่สามารถจัดบริการเหล่านี้ได้หรือรองรับได้เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ประชาชนต้องพึ่งกลุ่มบุคคลต่างๆที่ทำงานนอกระบบหรืออาสาสมัครในปัจจุบัน เช่น วัดสะพาน หลายชุมชนในคลองเตย คลองเตยดีจัง กลุ่มเส้นด้าย คลินิกพริบตา IHRI กลุ่มออนไลน์อีกจำนวนมาก และรวมถึงมูลนิธิและองค์กรสาธารณประโยชน์ อาสาสมัครอีกมากมายในการแก้ไขปัญหาวิกฤตโควิด หรือแม้แต่การสนับสนุนการทำกิจกรรมป้องกัน ดูแล รักษา กันเองในชุมชน         สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นรัฐบาลการดำเนินการ คือการสนับสนุนกลุ่มองค์กรต่างๆเหล่านี้ ด้วยงบประมาณแผ่นดิน แทนที่แต่ละองค์กรจะต้องมีภาระในการระดมเงินบริจาคจากประชาชนเพียงอย่างเดียว หรือการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐสามารถทำได้เพียงหน่วยบริการสาธารณสุขในระบบเท่านั้น         ซึ่งต้องยอมรับว่าในปัจจุบันหน่วยบริการต่างๆได้มีความพยายามให้บริการได้อย่างเต็มความสามารถ และได้ขยายการให้บริการในรูปแบบต่างๆเต็มศักยภาพเท่าที่จะสามารถทำได้ แต่จำนวนยังไม่เพียงพอต่อการเจ็บป่วยของประชาชน         ทางออกสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโควิดในปัจจุบันก็คือให้ชุมชนดูแลกันเองให้มากที่สุด ให้ประชาชนที่สามารถแยกตัวเองที่บ้านได้มีชุดความรู้ ชุดข้อมูล ชุดอุปกรณ์ดูแลตัวเองแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมสนับสนุนการเข้าถึงยาที่จำเป็นในการรักษาตนเองโดยเร็วที่สุด         เขียนมาตั้งนานไม่เห็นจะเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเลย หากย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รัฐบาลได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้เกือบแปดเดือนแล้ว หลายคนก็คาดหวังว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่ต่างก็ต้องผิดหวัง ทำให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันไม่ยึดโยงกับประชาชนใช่หรือไม่ เพราะไม่ได้มาจากการตัดสินใจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ทำให้การตัดสินใจหลายครั้งของผู้ว่ากรุงเทพมหานครไม่ได้ยึดโยงอยู่กับความเดือดร้อนของประชาชน ไม่ว่าการออกประกาศให้เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท แต่ถูกนายกรัฐมนตรีสั่งห้าม ดึงดันคิดราคา 65 บาททั้งที่ไม่มีที่ไปที่มา หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาโควิดของกรุงเทพมหานครก็สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่ไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างน่าภูมิใจ ถึงแม้ทุกคนจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนความต้องการผู้ว่าราชการที่มาจากการเลือกตั้งเดี๋ยวนี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 จัดซื้อวัคซีนและบำนาญประชาชน

        ปัญหาผู้บริโภคในรอบเดือนที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นเรื่องถูกเทจากการฉีดวัคซีน จากเดิมที่ไม่สนใจที่จะฉีดวัคซีนในช่วงแรก เนื่องจากความกลัว ความกังวลเรื่องการแพ้วัคซีน อันตรายจากการฉีดวัคซีนที่ถูกข่าวกรอกหูทุกวันหรือการสื่อสารของประชาชนกันเองที่มีเรื่องนี้จำนวนมากมาย         แต่เมื่อรัฐบาลมีความพยายามที่จะให้ประชาชนขึ้นทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีน ก็ต้องถือว่าประสบความสำเร็จในการรณรงค์ โดยสามารถสื่อสารให้เกิดความเข้าใจและยึดหลักว่าถ้าฉีดวัคซีนแล้ว อย่างน้อยถึงแม้จะติดเชื้อได้แต่ความรุนแรงลดลง เสียชีวิตน้อยลง มีโอกาสหาย ทำให้คนหลังไหลไปลงทะเบียนกับหมอพร้อมที่ไม่พร้อมจำนวนมากนับตั้งแต่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ปัญหาตามมามากมาย ถูกเทกันในแต่ละวันหลายกลุ่ม ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้จริง และสิ่งที่เห็นความไม่เป็นธรรมในการกระจายวัคซีน หรือไม่เป็นไปตามนโยบายหรือเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดไว้ให้ประชาชนในการฉีดวัคซีน        ที่สำคัญทุกคนไม่สามารถที่จะรู้ข้อเท็จจริงได้ว่าวัคซีนที่รัฐบาลไปทำสัญญาจัดซื้อมีจำนวนเท่าใด มียี่ห้อไหนทำสัญญาแล้วบ้าง กลับเห็นว่ามีวัคซีนบางยี่ห้อที่ราคาแพงแต่ก็ได้รับการสั่งจองจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามมากมาย ทำไมถึงไม่เห็นการบริหารจัดการวัคซีนที่หลากหลายและมีคุณสมบัติในการป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่า ข้อเสนอที่สำคัญในเรื่องวัคซีนก็คงไม่พ้นว่าจะทำอย่างไรให้การบริหารจัดการวัคซีนเป็นไปด้วยความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมหรือใช้หน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการวัคซีน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จะทำให้ประชาชนสบายใจขึ้นว่าการจัดซื้อมีส่วนร่วมจากประชาชนมีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลตรงไปตรงมา แถมประชาชนมีส่วนร่วมก็จะช่วยตอบคำถามแทนรัฐบาลได้         ทางออกของรัฐบาลในการการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวเฉพาะแห่งที่ควบคุมทางกายภาพได้ ภูเก็ต ย่อมถูกตั้งคำถามจากพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ทั่วประเทศ เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตหก อยากเห็นทางเลือกของรัฐบาลดำเนินการเรื่องนี้ที่มากกว่าการเปิดเรื่องการท่องเที่ยว เช่น ทางเลือกในการจัดการทำให้เกิดโครงสร้างความมั่นคงทางสังคมที่ถาวร แทนการสนับสนุนการจ่ายเงินช่วยประชาชนแบบระยะสั้น โดยการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปแบบถาวร ให้ได้รับเงินอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 3,000 บาท ยกเว้นคนที่มีสวัสดิการข้าราชการ ปัจจุบันพ่อแม่เหล่านี้อาจจะมีลูกอีกจำนวนไม่น้อยที่รายได้ลดลง ตกงาน การได้รับเงินก้อนนี้จะสามารถทำให้เกิดความมั่นคงในครอบครัวได้ เพราะเมื่อพ่อแม่มีรายได้ ทำให้เกิดการใช้จ่ายงบประมาณในระดับท้องถิ่นในทุกพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการรับนักท่องเที่ยวเพราะถึงแม้เราจะรับนักท่องเที่ยวก็ยังไม่มีหลักประกันว่านักท่องเที่ยวจะเข้ามาในประเทศไทยท่ามกลางการระบาดที่ยังมีความรุนแรงอยู่ในปัจจุบัน หากรัฐบาลใช้ทางเลือกนี้ก็น่าจะทำให้อย่างน้อยหลายครอบครัวน่าจะมีความเดือดร้อนน้อยลง หากรัฐบาลจะมีมาตรการให้กักตัวหรือเคลื่อนย้ายน้อยลงก็จะมีความเป็นไปได้เพื่อที่จะทำให้ลดการติดเชื้อ โควิด-19 ไปในท้ายที่สุด พร้อมกับการเร่งระดมฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับรัฐบาลในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 243 อะไรควรทำไม่ควรทำของสภาองค์กรของผู้บริโภค

        การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคได้ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรมนูญมาตั้งปีพ.ศ.2540 จนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน         โดยก่อนหน้านั้นมีความพยายามในการจัดทำกฎหมายจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของรัฐสภา หลังผ่านกรรมาธิการร่วมเพื่อให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขณะที่ฝั่งองค์กรผู้บริโภคไม่รอกฎหมายและปฏิบัติการทำงานผ่านคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน         มาตรา 46 ของรัฐธรรมบัญญัติให้สิทธิผู้บริโภคต้องได้รับการคุ้มครอง และกำหนดให้มีองค์กรผู้บริโภครวมตัวกันจัดตั้งองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยหลักเกณฑ์ วิธีการจัดตั้ง และอำนาจในการเป็นตัวแทนผู้บริโภคให้มีการออกกฎหมาย                 รัฐบาลได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 กำหนดให้องค์กรผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 150 องค์กรที่ผ่านการจดแจ้งความเป็นองค์กรของผู้บริโภคจากนายทะเบียนกลาง (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.)) รวมตัวกันจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกราชกิจจานุเบกษา “ประกาศนายทะเบียนกลาง” เรื่อง การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2563ให้สภาองค์กรของผู้บริโภค ทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้บริโภค มีสิทธิหน้าที่และอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 46 พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคพ.ศ.2562 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง         พระราชบัญญัติการจัดตั้งกำหนดไว้ในมาตรา 14 ให้สภาองค์กรของผู้บริโภค มีอำนาจคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในทุกด้าน รวมทั้งเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทำงานทั้งเชิงรุกในการเฝ้าระวังและการรับเรื่องร้องเรียนช่วยไกล่เกลี่ยและฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบการคุ้มครองผู้บริโภค จัดทำรายงานการคุ้มครองผู้บริโภคประจำปี และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากผู้บริโภคอย่างน้อยปีละครั้ง รวมทั้งสนับสนุนสมาชิกของสภาซึ่งขณะนี้มีจำนวน 198 องค์กรให้สามารถทำงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น         นอกจากทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด สภาองค์กรของผู้บริโภคควรจะทำเรื่องอะไร เชื่อว่าไม่ง่ายเหมือนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในอดีต ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่สื่อสังคมออนไลน์ โลกดิจิทัลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่ ความเท่าทันและความปลอดภัยในโลกดิจิทัล อยากชักชวนให้มาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงไปกับตัวแทนของคุณ สภาองค์กรของผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >