ฉบับที่ 272 การทดสอบประสิทธิภาพทางเทคนิคของพัดลม

        พัดลมเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีใช้ประจำบ้านในเกือบทุกครัวเรือน จากรายงานสรุปผลที่สำคัญ การใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือน พ.ศ. 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ครัวเรือนไทยมีพัดลมไว้ประจำบ้านในอัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 98.60 ของครัวเรือนทั้งหมด[1] จัดเป็นอัตราสูงสุดเมื่อเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นอุปกรณ์ไว้ใช้งานในครัวเรือน  พัดลมไฟฟ้านั้นมีหลายแบบ ซึ่งแบบที่นิยมกันในปัจจุบันทั้งชนิดตั้งโต๊ะ ตั้งพื้น ติดผนัง ระบายอากาศ แขวนเพดาน และส่ายรอบตัว แต่ละแบบก็เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ที่แตกต่างกัน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงมีมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนดเฉพาะคุณลักษณะด้านความปลอดภัย โดยเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 934-2558 (มอก. 934-2558)         สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของพัดลมครั้งนี้ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้ออกแบบและกำหนดการทดสอบ 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1) การทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2) ระดับความดังเสียงของพัดลมระหว่างการทดสอบ และ 3) ค่ามุมส่ายสูงสุด  ซึ่งกำหนดขอบเขตคุณสมบัติทางด้านเทคนิคสำหรับการสุ่มซื้อสินค้าที่จะนำทดสอบดังนี้         1 สินค้าต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม         2 เป็นพัดลมที่ใช้ในครัวเรือนขนาดใบพัดไม่เกิน 16 นิ้ว และ         3 กำลังไฟฟ้าที่ระบุไม่เกิน 70 วัตต์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่สุ่มซื้อมาทดสอบมีสมบัติเบื้องต้นตามที่ระบุไว้ในฉลากและคู่มือการใช้งาน ตามตารางที่ 1         การให้คะแนนเพื่อจัดลำดับแต่ละประเด็นของการทดสอบ ขึ้นอยู่กับอันดับของผลการทดสอบแต่ละประเด็นโดย ผลิตภัณฑ์ที่ได้อันดับดีที่สุดจะได้คะแนน 15 คะแนน และผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนลำดับสุดท้ายจะได้ 1 คะแนน สำหรับการจัดลำดับขั้นตอนสุดท้านคือการนำคะแนนที่ได้ของการทดสอบแต่ละประเด็นมารวมกัน  สรุปผลการทดสอบ         จากผลการทดสอบทางด้านประสิทธิภาพและทางเทคนิคของพัดลมจำนวน 15 ผลิตภัณฑ์ ทั้งสามประเด็น ผลิตภัณฑ์ของ Mi รุ่น JLLDS01XY ได้คะแนนสูงสุด คือ 39 คะแนน ผลิตภัณฑ์ Misumaru รุ่น AP-SF1602AT ได้คะแนนรวม 32 คะแนน และผลิตภัณฑ์ที่ได้อันดับ 3 ซึ่งได้คะแนนรวมเท่ากันทั้งสามผลิตภัณฑ์ คือ 31 คะแนน ได้แก่ Toshiba รุ่น F-ASY50TH (W) Mitsubishi รุ่น LV16-GA SF-GY และ Mamaru รุ่น DFS-9136[1] (พัดลม (ร้อยละ 98.6) โทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ 96.4) หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (ร้อยละ 93.1) ตู้เย็น (ร้อยละ 92.2) โทรทัศน์ (ร้อยละ 91.7))  และหลอดไฟนีออน (ร้อยละ 90.7)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับ 269 ถึงเวลาต้องเปลี่ยนเป็นรถอีวี หรือยัง

        ปรากฎการณ์อีวีหรือยานยนต์พลังงานไฟฟ้ากำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ในปี 2565 ยอดขายรถอีวีอยู่ที่ประมาณ 10.2 ล้านคัน เทียบกับสามล้านคันเมื่อสามปีก่อนหน้า ปัจจุบันในบรรดารถยนต์ที่จำหน่ายออกไปทุกๆ 20 คัน จะมี 3 คันที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า และองค์การพลังงานระหว่างประเทศยังคาดการณ์ไว้ว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าของปี 2566 จะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 14 ล้านคัน           ในจำนวน 10.2 ล้านคันที่ว่านั้น หากแยกออกมาดูจะพบว่า 5.9 ล้านคันคือยอดขายในประเทศจีน ตามด้วย 990,000 คัน ในสหรัฐอเมริกา อันดับถัดมาคือเยอรมนี (830,000 คัน) และอังกฤษ (370,000 คัน) ในขณะที่เกาหลีใต้เข้ามาเป็นอันดับ 8 ด้วยยอดขาย 131,000 คัน         อีกประเทศที่มาแรงแม้จะไม่ติดอันดับเรื่องยอดขายคือนอร์เวย์ เพราะมีสัดส่วนการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสูงที่สุดในโลก (ร้อยละ 88 จากยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดในปี 2565)         ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอชวนคุณไปสำรวจสถานการณ์ “การยอมรับ” รถอีวีของผู้บริโภคในหลากหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่เราได้ทำการสำรวจไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาด้วย         เริ่มจาก ประเทศจีน ที่บรรลุเป้าหมายการมียอดขายรถยนต์ “พลังงานใหม่” ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของยอดขายรถยนต์ในประเทศไปแล้วตั้งแต่ปี 2565 (ก่อนกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ถึงสามปี)  ในขณะที่ปีนี้ยอดจองรถดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคที่เคยตั้งใจจะรอให้รถอีวีราคาถูกลง ก็เริ่มตัดสินใจซื้อแล้วเพราะสถานการณ์เริ่มชัดเจนว่าราคารถคงจะไม่ต่ำไปกว่านี้แล้ว นอกจากจากนี้ยังรีบซื้อเพราะช่วงนี้มี “โปรโมชัน” จากรัฐบาล ทั้งเรื่องการลดหย่อนภาษี คูปองเงินสด หรือการยกเว้นค่าจดทะเบียน เป็นต้น        ความคึกคักของตลาดรถไฟฟ้าในจีน ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภครายใหญ่ เห็นได้จากราคาหุ้นของบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เช่น Xpeng  Nio  และ Li Auto ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงที่ดีดตัวขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าปีนี้รายได้จากการจำหน่ายรถไฟฟ้าชนิดใช้แบตเตอรีและชนิดปลั๊กอินของผู้ประกอบการในจีนที่ขยันทำรถรุ่นใหม่ๆ พร้อมฟังก์ชันดึงดูดใจออกมาให้เลือกมากมาย จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอีกด้วย         แต่ใน อเมริกา รถอีวียังไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากเท่าที่ควร การสำรวจล่าสุดโดยสถาบันนโยบายพลังงาน มหาวิทยาลัยชิคาโก ร่วมกับสำนักข่าวเอพี พบว่าร้อยละ 47 ของคนอเมริกัน ยังคิดว่า “เป็นไปได้น้อยมาก” ที่รถคันต่อไปที่พวกเขาจะซื้อจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยเหตุผลหลักสองข้อคือพวกเขาคิดว่ายังมีสถานีชาร์จไม่เพียงพอ และรถก็ยังมีราคาค่อนข้างแพง        มีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้นที่ตอบว่า “เป็นไปได้มาก” หรือ “เป็นไปได้อย่างยิ่ง”แต่ความพยายามของภาครัฐและเอกชนก็ไม่ด้อยไปกว่าจีน รัฐบาลของนายโจ ไบเดน ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี พ.ศ. 2573 ร้อยละ 50 ของรถยนต์ที่จำหน่ายจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า และจะต้องมีสถานีชาร์จอย่างน้อย 500,000 สถานีทั่วประเทศ         หน่วยงานของรัฐบาลกลางก็มีแผนจะจัดซื้อยานยนต์ไฟฟ้าขนาดกลางและเล็กจำนวน 13,000 คันในปีงบประมาณ 2566 ก่อนจะเปลี่ยนรถที่ใช้ในราชการทั้งหมดเป็นรถพลังงานไฟฟ้าภายในปี 2570 สำหรับรถเล็ก และปี 2578 สำหรับรถขนาดกลางและใหญ่        ภาคธุรกิจก็มีส่วนร่วม เช่น Amazon นำรถพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการจัดส่งสินค้าแล้วกว่า 3,000 คัน และประกาศว่าจะเพิ่มเป็น 100,000 คันภายใน 7 ปีข้างหน้า บริษัทที่ทำธุรกิจด้านวัสดุในการผลิตแบตเตอรี Cirba Solutions ก็ให้คำมั่นว่าจะจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิตรถอีวีหนึ่งล้านคันภายใน 5 ปี         ด้าน Walmart มีแผนจะติดตั้ง “สถานีชาร์จเร็ว” ตามสาขาต่างๆ ของห้างหลายพันสาขาภายในปี 2573 ส่วน Google ก็รับปากว่าจะให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางภาษีสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลผ่านเครื่องมือค้นหาตัวใหม่ที่นำข้อมูลของรัฐเข้ามาประมวลผลด้วย มาดูกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปกันบ้าง         สหภาพยุโรปประกอบด้วย 27 ประเทศ มีประชากรรวมกันไม่ต่ำกว่า 477 ล้านคน ร้อยละ 75 ของคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตเมือง             ปลายปี 2565 มีรถยนต์ไฟฟ้าชนิดใช้แบตเตอรี จดทะเบียนในสหภาพยุโรปทั้งหมด 3,056,849 คัน คิดเป็นร้อยละ 1.19 ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในสหภาพยุโรป         ในปี 2565 องค์กร EAFO (European Alternative Fuels Observatory) ได้ทำการสำรวจความตั้งใจของผู้บริโภคเรื่องการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า พฤติกรรมการใช้และการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงปัญหาและความท้าทายที่พบ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจาก 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เดมมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮังการี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สโลเวเนีย และสเปน         การสำรวจครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 16,664 คน ประกอบด้วยคนใช้รถอีวี (380 คน) และคนไม่ได้ใช้รถอีวี (16,284 คน)        เมื่อถามถึงทัศนคติและแรงจูงใจที่มีต่อยานยนต์ไฟฟ้าชนิดแบตเตอรี พบว่าหนึ่งในสามของกลุ่มตัวอย่างรู้จักรถประเภทนี้เป็นอย่างดี ร้อยละ 41 มีความสนใจในรถอีวี ในขณะที่ร้อยละ 54 ของคนที่ยังไม่เคยใช้รถอีวี ก็มีทัศนคติที่ดีต่อรถชนิดนี้         กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่ารถอีวีมีข้อดีเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นทางเลือกที่ประหยัด แต่เมื่อถามถึงเหตุผลที่จะไม่เลือกใช้รถอีวีก็พบว่า อันดับหนึ่งคือราคาที่ยังแพงเกินไป (ร้อยละ 26) ตามด้วยความกังวลว่ายังมีสถานีชาร์จสาธารณะไม่เพียงพอ (ร้อยละ 18) ส่วนหนึ่งไม่อยากซื้อมาใช้เพราะที่บ้านไม่มีจุดชาร์จ (ร้อยละ 10) และบางคนก็กลัวจะขับไปไกลไม่ได้ (ร้อยละ 7)         ที่น่าสนใจคือมีถึงร้อยละ 31 ที่ตั้งใจจะซื้อรถอีวีภายในห้าปี อีกร้อยละ 9 มีแผนจะซื้อในช่วงห้าถึงสิบปีข้างหน้า ร้อยละ 13 ตอบว่าคิดจะซื้อแต่ยังไม่ได้กำหนดเวลา ส่วนอีกร้อยละ 47 ที่เหลือยังไม่คิดจะซื้อรถอีวี         การสำรวจส่วนที่สองมีผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็น “ผู้ขับขี่รถอีวี” 1,387 คน ในภาพรวมพบว่า “บุคลิกของคนขับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป” คือ ชายอายุ 35 ปี พักอาศัยในบ้านเดี่ยว มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 2,000 ถึง 3,999 ยูโร (ประมาณ 76,000 ถึง 152,000 บาท) และมีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป         เมื่อแยกดูพฤติกรรมการใช้รถพบว่า ร้อยละ 62 ใช้รถอีวีมาไม่เกินสามปี ร้อยละ 97 ใช้ทุกวันหรือหลายครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อไปซื้อของ หรือกิจกรรมอื่นๆ อย่างการเดินทางไปพบแพทย์ระยะทางเฉลี่ยต่อวันคือ 126 กิโลเมตร         ในเรื่องของความเป็นเจ้าของ ร้อยละ 70  เป็นเจ้าของรถเอง ในขณะที่ร้อยละ 22 ใช้วิธีเช่ารถขับ ที่เหลืออีกร้อยละ 8 ใช้รถของบริษัท กลุ่มที่เป็นเจ้าของรถเอง        ร้อยละ 41               ซื้อมาในราคาระหว่าง 20,000 ถึง 40,000 ยูโร (760,000 ถึง 1,500,000 บาท)        ร้อยละ 31               จ่ายมากกว่า 40,000 ยูโร         ร้อยละ 18               จ่ายระหว่าง 10,000 ถึง 20,000 ยูโร (380,000 ถึง 760,000 บาท) กลุ่มที่เช่าขับ ค่าเช่าอยู่ที่เดือนละไม่เกิน 500 ยูโร (19,000 บาท)         ร้อยละ 67 เป็นรถอีวีใหม่ อีกร้อยละ 33 เป็นรถอีวีมือสอง         เรามาดูพฤติกรรมการชาร์จของผู้ใช้รถกลุ่มนี้กันบ้าง จากคำถามเรื่องระยะเวลาที่ผู้ใช้รถยินดีจะรอคิวชาร์จ พบว่ามีถึงร้อยละ 37 ที่ตอบว่า “ไม่รอ”  ตามด้วยร้อยละ 33 ที่ตอบว่ายินดีรอ 15 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง อีกร้อยละ 25 ที่เหลือตอบว่าระยะเวลาที่ยินดีรอคือ 15 นาที         สิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวังจากสถานีชาร์จมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ ความเร็วในการชาร์จการเข้าถึงสถานีชาร์จและการจ่ายเงินที่สะดวกผ่านแอปฯ หรือบัตรเงินสด ตามด้วยการคิดค่าบริการตามกระแสไฟฟ้าที่ชาร์จ (ไม่ใช่ต่อนาทีหรือต่อครั้ง)         มาดูที่ ประเทศไทย ของเรากันบ้าง ตลาดรถไฟฟ้าบ้านเรากำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ยอดจดทะเบียนรถพลังงานไฟฟ้า (EV) ในช่วงห้าเดือนแรกของปีพ.ศ. 2566 อยู่ที่ 32,450 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วมากกว่าร้อยละ 470          คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติหรือ “บอร์ดอีวี” คาดว่าในอีกสองปีข้างหน้า รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาไม่ต่างจากรถยนต์สันดาป บอร์ดตั้งเป้าว่าในปี 2568 จะมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท (จักรยานยนต์ รถยนต์ รถปิกอัพ รถบัส รถบรรทุก) รวม 1,055,000 คัน และจะเพิ่มเป็น 15,580,000 คันในปี 2578         ไม่เพียงการใช้ในประเทศเท่านั้น ประเทศไทยยังต้องการเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแห่งเอเชียภายในปี พ.ศ. 2573 และผลักดันให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในสัดส่วนร้อยละ 30 ในปีดังกล่าว ขณะนี้มีอย่างน้อยสองบริษัทจากประเทศจีน (BYD และ Great Wall Motor) ที่ประกาศจะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทยที่ระยองแล้ว  ตัวอย่างมาตรการกระตุ้นความต้องการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าและการลงทุนของไทย    -  เงินอุดหนุน 150,000  บาทสำหรับรถ EV ที่ผลิตในประเทศ    - การลดอัตราภาษีสรรพสามิตเหลือ ร้อยละ 2    - การลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจดทะเบียนรถ    - การยกเว้นภาษีนิติบุคคล 13 ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในประเทศไทย    - การขยายโครงข่ายสถานีชาร์จให้ได้ 12,000 แห่งทั่วประเทศ ภายในปีพ.ศ. 2573          นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็น บ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ 1,125 คน* เรื่องความรู้พื้นฐานและความคิดเห็นเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในระหว่างวันที่ 25 - 30 เมษายน ที่ผ่านมา         เราพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 64.9 เชื่อว่าไทยมีความพร้อมสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และยังพบว่า ร้อยละ 64.7 คิดว่าราคาของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายในประเทศไทยในปัจจุบันมีความเหมาะสมดีแล้ว และคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 83.8) เห็นด้วยว่ามาตรการลดหย่อนภาษีสรรพสามิตสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าจาก 8% เหลือ 2% ของภาครัฐ สามารถส่งเสริมให้คนซื้อรถยนต์อีวีมาใช้งานมากขึ้น         ในแง่ของสิ่งแวดล้อม มีถึง ร้อยละ 85.8 ที่เห็นด้วยว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปริมาณ PM2.5 ในอากาศได้         ขณะเดียวกันเราพบว่ามีเรื่องที่ผู้บริโภคยังไม่ชัดเจนหลายเรื่อง เช่น         กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 59.8 ไม่ทราบว่ารถยนต์ไฟฟ้ามี 4 ประเภท (ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด หรือ HEV Hybrid Electric Vehicle / รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV Plug-in Hybrid Electric Vehicle / รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง FCEV Fuel Cell Electric Vehicle / รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี หรือ BEV Battery Electric Vehicle)        ร้อยละ 61.5 ไม่ทราบว่าวิธีการชาร์จไฟรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. Quick Charger ในสถานีอัดประจุไฟฟ้า 2. Normal Charger แบบเครื่องชาร์จ Wall Box และ 3. Normal Charger แบบต่อจากเต้ารับในบ้าน        ร้อยละ 60.5 ไม่ทราบว่ากรมการขนส่งทางบกให้การลดหย่อนภาษีประจำปี สำหรับรถประเภท BEV (รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว)                       ร้อยละ 57.4 ไม่ทราบว่าระยะเวลารับประกันแบตเตอรีโดยผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำกัดอยู่ที่ประมาณ 8 ปี          ทั้งนี้คนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.5) มองว่าภาครัฐควรให้ข้อมูลด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากับประชาชนผ่านหน่วยงานของรัฐให้มากขึ้น         ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเรื่องข้อจำกัดของรถอีวี และความพร้อมของสถานีชาร์จ         ร้อยละ 86.4 เห็นด้วยว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไป         ร้อยละ 73.3 เห็นด้วยว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีข้อจำกัดเรื่องระยะทางในการขับขี่        ร้อยละ 72.2 เห็นด้วยว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีข้อจำกัดในการขับขี่บนถนนที่มีน้ำท่วมขัง         ร้อยละ 64.6 เชื่อว่าปัจจุบันมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพียงพอ เอกสารอ้างอิง https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2023/04/17/fact-sheet-biden-harris-administration-announces-new-private-and-public-sector-investments-for-affordable-electric-vehicles/ https://www.cnbc.com/2023/04/11/nearly-half-of-americans-say-its-unlikely-theyll-buy-an-ev-next-poll.html https://www.iea.org/energy-system/transport/electric-vehicles https://www.scmp.com/business/companies/article/3230136/chinas-ev-frenzy-drives-carmaker-stocks-outperformance-hang-seng-index-red-hot-sales-show-no-signs https://alternative-fuels-observatory.ec.europa.eu/system/files/documents/2023-06/2022%20EAFO_CountryReport_EU.pdfhttps://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1073646https://techsauce.co/news/board-ev-aim-thailand-electric-vehicle-production-base https://www.bangkokbanksme.com/en/23-4up-when-thailand-wants-to-move-towards-electric-vehicle-hub

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 267 การทดสอบประสิทธิภาพในการให้ความร้อนของเตาแม่เหล็กไฟฟ้า

        เตาแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า (Induction Hob) เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาศัยความร้อนจากการเหนี่ยวนำไฟฟ้า เช่น เหล็ก หรือเหล็กสเตนเลสบางชนิด  ทำให้ภาชนะร้อนขึ้นจนสามารถประกอบอาหารได้ อุปกรณ์ที่ไม่มีความสามารถเหนี่ยวนำแม่เหล็ก  เช่น อะลูมิเนียม แก้ว เซรามิค  จะไม่ทำให้เกิดความร้อนได้ เตาแม่เหล็กไฟฟ้าให้พลังงานความร้อนได้รวดเร็วกว่าเตาแบบธรรมดาและสูญเสียพลังงานน้อยกว่า พลังงานนั้นจะถ่ายทอดไปที่ตัวภาชนะโดยตรงโดยไม่แผ่ความร้อนออกไปเหมือนเตาความร้อนทั่วๆ ไป           ในปัจจุบันเตาแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายครัวเรือนนิยมใช้ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่คอนโดมิเนียมหรืออพาร์ทเม้นท์ ซึ่งมักจะประสบปัญหาการประกอบอาหารจากเตาแก๊ส  เนื่องจากที่พักอาศัยบางแห่งไม่อนุญาตให้ใช้แก๊สประกอบอาหาร เตาแม่เหล็กไฟฟ้าจึงถูกพัฒนาขึ้นให้มีลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับผู้ที่พักอาศัยในคอนโดมีเนียมหรืออพาร์ทเม้นท์ การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบประสิทธิภาพในการให้ความร้อนของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าในแต่ละประเภท และระยะเวลาในการต้มน้ำเดือด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการประหยัดเวลาและพลังงาน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบ         เตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่นำมาทดสอบเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีกำลังไฟ ระหว่าง 2,000 – 2,100 วัตต์ มีรายละเอียด ดังนี้   ผลการทดสอบ        การทดสอบประสิทธิภาพของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละชนิดดำเนินการทดสอบ 2 ครั้ง และนำผลทดสอบทั้ง 2 ครั้งมาหาค่าเฉลี่ย การทดสอบครั้งที่ 1 โดยทำบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (E1) ตั้งแต่เริ่มต้มน้ำจนกระทั่งอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจากเดิม 75 K บันทึกค่าอุณหภูมิสิ้นสุดการทดสอบของน้ำ (TF1) ค่ามวลสุดท้ายของน้ำ (mWF1) และเวลาที่ใช้ในการทดสอบ (t1)  และทำการทดสอบ ครั้งที่ 2 โดยหมุนกระทะไป 90 องศา บันทึกค่ามวลของน้ำเริ่มต้น (mWS2) อุณหภูมิของน้ำเริ่มต้นทดสอบ (TS2) และเมื่ออุณหภูมิถึงระดับที่กำหนด ให้บันทึกค่าอุณหภูมิสิ้นสุดการทดสอบของน้ำ (TF2) ค่ามวลสุดท้ายของน้ำ (mWF2) เวลาที่ใช้ในการทดสอบ (t2) และค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (E2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเตาไฟฟ้า ตามตารางที่ 2 ดังนี้         จากตารางที่ 2 พบว่า เตาไฟฟ้าชิ้นงานตัวอย่างทั้ง 10 ยี่ห้อ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณลักษณะของเตาไฟฟ้า ตาม มอก. 2589-2556 ที่กำหนดให้ ประสิทธิภาพพลังงาน ไม่ต่ำกว่า 62%         เมื่อเรียงลำดับประสิทธิภาพพลังงานสูงสุด พบว่า อันดับ 1 ยี่ห้อ Toshiba รุ่น IC-20S2PT ประสิทธิภาพ 93.4% อันดับ 2 ยี่ห้อ Sharp รุ่น CY-301 ประสิทธิภาพ 93.2% อันดับ 3 ยี่ห้อ Tefal รุ่น IH7208 ประสิทธิภาพ 92.3 % รายละเอียดตามตารางที่ 3           จากตารางที่ 2 พิจารณาจากระยะเวลาในการต้มน้ำ พบว่า ยี่ห้อที่สามารถต้มน้ำจนเดือดโดยใช้เวลาน้อยที่สุด อันดับแรก ยี่ห้อ Sharp รุ่น CY-301 เวลาที่ใช้ 293.5 วินาที (4.9 นาที) อันดับที่ 2 ยี่ห้อ Imarflex รุ่น IF-408 เวลาที่ใช้  317.5 วินาที (5.3 นาที) อันดับที่ 3 ยี่ห้อ Minimex รุ่น PIC101 เวลาที่ใช้ 320 วินาที (5.3 นาที) รายละเอียดตามตารางที่ 4          สำหรับยี่ห้อที่มีการใช้พลังงานน้อยที่สุด อันดับแรก Toshiba รุ่น IC-20S2PT ค่าพลังงานที่ใช้ 624.1 kW-s อันดับที่ 2 Hanabishi รุ่น HIC-309 ค่าพลังงานที่ใช้ 628.3 kW-s อันดับที่ 3 Sharp รุ่น CY-301 ค่าพลังงานที่ใช้ 629.6 kW-s รายละเอียดตามตามตารางที่ 5         เมื่อนำผลการทดสอบในเรื่องของประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการประหยัดเวลามาให้ค่าคะแนน เรียงลำดับคะแนนโดยกำหนดให้ยี่ห้อที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้ 10 คะแนน และยี่ห้อที่ได้ประสิทธิภาพน้อยที่สุดได้ 1 คะแนน และยี่ห้อที่สามารถต้มน้ำจนเดือดโดยใช้เวลาน้อยที่สุดได้คะแนน 10 คะแนน ส่วนยี่ห้อที่ใช้เวลาในการต้มน้ำจนเดือดมากที่สุดได้คะแนน 1 คะแนน         ผลการจัดอันดับคะแนนในด้านประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและการประหยัดเวลา ตามตารางที่ 6 พบว่า คะแนนจากการทดสอบทั้งสองประเด็น มีดังนี้ อันดับแรก ยี่ห้อ Sharp รุ่น CY-301 คะแนนรวม 19 คะแนน อันดับที่ 2 ยี่ห้อ Toshiba รุ่น IC-20S2PT คะแนนรวม 16 คะแนน อันดับที่ 3 ยี่ห้อ Minimex รุ่น PIC101 คะแนนรวม 15 คะแนน  บทสรุปและข้อเสนอแนะ         จากการทดสอบเตาแม่เหล็กไฟฟ้าด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พบว่า มีประสิทธิภาพตามที่กำหนด อย่างไรก็ตามการกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เตาไฟฟ้ายังได้กำหนดเกี่ยวกับอักษรหรือเครื่องหมายที่ควรติดแจ้งให้ผู้บริโภคได้รับทราบ         ประกอบด้วย (1) แบบอ้างอิงหรือรุ่นอ้างอิง (2) หมายเลขลำดับเครื่อง (3) ประสิทธิภาพพลังงานเป็น % (4) แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดเป็น V (5) ความถี่ที่กำหนด เป็น Hz (6) กระแสไฟฟ้าที่กำหนด เป็น A  (7) กำลังไฟฟ้าเข้าที่กำหนด เป็น W (8) ประเภท (9) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณหุงต้ม เป็น mm (10) ชื่อผู้ทำ หรือโรงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน        ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศร่วมด้วยต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น ผลิตภัณฑ์เตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่นำมาทดสอบทั้ง 10 ยี่ห้อมีฉลากและเครื่องหมายที่แสดงรายละเอียดเป็นไปตามกำหนด แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการให้ข้อมูลถึงประสิทธิภาพพลังงาน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับงบประมาณที่สามารถพึงจ่ายได้ หมายเหตุ         การทดสอบคุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงานรวมถึง เตาไฟฟ้าประเภทใช้การเหนี่ยวนำด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2589-2556

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 267 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น 2023

        หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ประจำในร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า แถมยังมีสารพัดยี่ห้อให้ได้เลือกกัน หลายคนอยากมีไว้ประจำบ้านแต่ก็ยังลังเลเพราะผลการทดสอบเปรียบเทียบสองครั้งก่อนที่ฉลาดซื้อเคยนำเสนอ (ในฉบับที่ 197 และ 258) ทำให้เราได้ข้อสรุปว่าผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นยังต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์นี้อีกมาก มาดูกันว่าในการทดสอบครั้งล่าสุดนี้มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ส่งหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้าทดสอบโดยห้องปฏิบัติการ CTTN/IREN Centre Technique de la Teinture et du Nettoyage ของฝรั่งเศส ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ถึงมีนาคม 2566*คะแนนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ในสัดส่วนดังนี้        1. ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ร้อยละ 40) โดยวัดจากความสามารถในการกำจัดฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย ทั้งบนพื้นพรมและพื้นกระเบื้อง        2. ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22)        3. การเคลื่อนไหวในห้องนั่งเล่นที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น โซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ (ร้อยละ 20)        4. เสียงรบกวนจากเครื่องขณะใช้งาน (ร้อยละ 12)        5. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 6)                 พนักงานขายอาจเล่าถึงสรรพคุณของเจ้าหุ่นยนต์พวกนี้ไว้อย่างน่าตื่นเต้น แต่การทดสอบของเรากลับพบว่าแม้แต่รุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุด ก็ได้ไปเพียง 53 คะแนนเท่านั้น (น้อยกว่าสองครั้งก่อนหน้าที่ตัวท้อปได้คะแนน 63 และ 57 ตามลำดับ) ดูรายละเอียดคะแนนด้านต่างๆ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั้ง 22 รุ่น (สนนราคาโดยประมานตั้งแต่ 5,250 ถึง 23,170 บาท*) ได้ในหน้าถัดไป* ราคาที่แสดงเป็นราคาที่สำรวจจากอินเทอร์เน็ตในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับีท่ 263 แปรงสีฟันไฟฟ้า

        ตลาดแปรงสีฟันไฟฟ้าทั่วโลกเริ่มคึกคักและมีแนวโน้มจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น หลังผู้คนหันมาให้ความใส่ใจกับสุขภาพอนามัยช่องปากกันมากขึ้น เราได้เห็นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ราคา รวมถึงแบรนด์ใหม่ๆ ในตลาดฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแปรงสีฟันไฟฟ้ามาฝากสมาชิกกันอีกครั้ง* (ดูผลการทดสอบครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉกลาดซื้อ ฉบับ 251)         เช่นเดียวกับครั้งก่อน การทดสอบแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่การตรวจวัดในห้องปฏิบัติการ และความเห็นจากอาสาสมัครที่ใช้งานจริง โดยคะแนนจะแบ่งออกเป็นสี่ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน (ร้อยละ 50)  แบตเตอรี/การชาร์จ (ร้อยละ 30) การใช้งานสะดวก (ร้อยละ 25)  และการปลอดเสียงรบกวน (ร้อยละ 5)          แปรงสีฟันไฟฟ้า 14 รุ่น ที่ทดสอบ (ราคาระหว่าง 715 ถึง 10,500 บาท)* มีทั้งรุ่นที่ใช้ระบบการสั่นของขนแปรง การหมุนของหัวแปรง หรือทั้งสองระบบรวมกัน แปรงส่วนใหญ่ที่เราทดสอบเป็นชนิดที่ชาร์จไฟได้ มีเพียงหนึ่งรุ่นที่ใช้พลังงานจากถ่านอัลคาไลน์        ในภาพรวมเราพบว่าการลงทุนไม่เกิน 3,000 บาท ก็สามารถได้แปรงไฟฟ้ารุ่นที่ได้คะแนนดีที่สุด (Oral-B iO-4n) มาครอบครองได้ หรือถ้าใครไม่อยากจ่ายเกินหนึ่งพัน ก็ยังมีรุ่นที่ได้คะแนนระดับดี (Dontodent) ให้เลือกใช้ เช่นกัน และยังมีแปรงบางรุ่นที่ผู้ผลิตให้หัวแปรงสำหรับเปลี่ยนมากถึง 3 หรือ 4 หัว แม้ราคาอาจจะสูงขึ้นมาบ้าง แต่เมื่อคำนวณดูแล้วก็เป็นการลงทุนที่น่าจะคุ้มค่าเช่นกัน        การทดสอบโดยสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศครั้งนี้ทำขึ้นในช่วงปลายปี 2565 เนื่องจาก ฉลาดซื้อ เป็นหนึ่งในสมาชิกที่ร่วมลงขันจึงสามารถนำผลทดสอบเปรียบเทียบมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่จ่ายค่าสมาชิกของเราได้           ราคาที่นำเสนอแปลงจากหน่วยเงินปอนด์หรือยูโร ตามข้อมูลที่พบในอินเทอร์เน็ต โปรดตรวจสอบราคา (รวมถึงค่าจัดส่งหากสั่งซื้อออนไลน์) อีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 261 เครื่องทำกาแฟแบบแมนนวลและแคปซูล

        ตามที่สัญญาไว้ในฉบับก่อนหน้า ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟแบบแมนนวลและแบบแคปซูลเป็นภาคต่อ        ด้วยเนื้อที่อันจำกัด เราจึงคัดมา 22 รุ่น (กำลังไฟระหว่าง 850 – 1700 วัตต์) ในสนนราคาตั้งแต่ 1,800 ถึง 22,600 บาท และข่าวดีคือคุณสามารถมีเครื่องทำกาแฟที่มีคุณภาพดีไว้ใช้ที่บ้านได้ด้วยการลงทุนเบื้องต้นไม่ถึงสามพันบาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ)         การให้คะแนนทั้งจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการให้คะแนนเรื่องรสชาติโดยผู้เชี่ยวชาญ ยังคงเป็นเช่นเดิม โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้        คุณภาพ/รสชาติของกาแฟ     ร้อยละ 35         ประสิทธิภาพของเครื่อง         ร้อยละ 30         ความสะดวกในการใช้งาน      ร้อยละ 30         การประหยัดพลังงาน             ร้อยละ 5

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 259 เครื่องทำกาแฟอัตโนมัติ 2022

        สำหรับคอกาแฟที่อยากมีเครื่องทำกาแฟไว้ทำกาแฟสดดื่มเองที่บ้าน โดยพร้อมที่จะลงทุนกับอุปกรณ์ต่างๆ และไม่หวั่นว่าจะต้องลงแรงและเวลาในการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟแบบอัตโนมัติพร้อมเครื่องบดเมล็ดกาแฟมาฝากกันอีกครั้ง คราวนี้คัดมา 18 รุ่น (กำลังไฟระหว่าง 1300 – 1900 วัตต์) ที่สนนราคาตั้งแต่ 9,950 ถึง 51,900 บาท*  ส่วนผู้ที่สนใจเครื่องทำกาแฟแบบแคปซูล ขอให้อดใจรออีกนิด เราจะนำเสนอในฉบับต่อๆ ไป        เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านๆ มา ผลการทดสอบร่วมโดยสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ครั้งนี้ ได้จากทั้งการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการให้ความเห็นเรื่องรสชาติโดยผู้เชียวชาญ* โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้        คุณภาพ/รสชาติของกาแฟ     ร้อยละ 35         ประสิทธิภาพของเครื่อง        ร้อยละ 30         ความสะดวกในการใช้งาน     ร้อยละ 30         การประหยัดพลังงาน            ร้อยละ 5

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 258 หุ่นดูดฝุ่น

        หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นดูเหมือนจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยมีราคาค่อนข้างแพงและตัวเลือกจำกัด ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายเจ้าส่งผลิตภัณฑ์นี้ออกมาให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกมากขึ้น ทั้งรูปลักษณ์ ฟังก์ชัน และราคา แต่คำถามที่ยังคาใจหลายคนคือ อุปกรณ์นี้น่าลงทุนหรือไม่ ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาคุณไปหาคำตอบกันอีกครั้ง*         สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ร่วมกันส่งตัวอย่างหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้ารับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ CTTN/IREN Centre Technique de la Teinture et du Nettoyage ที่ประเทศฝรั่งเศส* ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 จนถึงพฤษภาคม 2565 โดยการทดสอบแบ่งออกเป็น 5 ด้าน แต่ละด้านมีสัดส่วนคะแนนแตกต่างกันดังนี้        1. ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ร้อยละ 40) โดยวัดจากความสามารถในการกำจัดฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย ทั้งบนพื้นพรมและพื้นกระเบื้อง        2. ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22)         3. การเคลื่อนไหวในห้องนั่งเล่นที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น โซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ (ร้อยละ 20)        4. เสียงรบกวนจากเครื่องขณะใช้งาน (ร้อยละ 12)        5. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 6)         ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอเลือกรุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุดในกลุ่มออกมา 20 ตัวเพื่อนำเสนอ (สนนราคาโดยประมานตั้งแต่ 7,000 ถึง 43,000 บาท*)         เราเรียนรู้จากผลการทดสอบครั้งนี้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่วางตลาดในช่วงสองปีที่ผ่านมาไม่ได้ดีขึ้นจากเดิมนัก และรุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุดในการทดสอบครั้งนี้ ก็ได้ไปเพียง 57 คะแนน (เทียบกับครั้งก่อน ตัวท็อปได้ไป 63 คะแนน) ที่น่าสังเกตคือราคาที่แพงกว่าอาจไม่ได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่าเสมอไป         อย่างไรก็ตามหากคุณยังต้องการ “พื้นสะอาด” โดยไม่ต้องเหนื่อยแรงมากนัก ลองพลิกดูคะแนนในด้านต่างๆ ของแต่ละรุ่นได้ในหน้าถัดไป            *ติดตามบทความเรื่องทดสอบหุ่นยนต์ดูดฝุ่นครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 197        *อัตราค่าทดสอบเฉลี่ยอยู่ที่รุ่นละ 1.318 ยูโร (ประมาณ 47,500 บาท)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 251 แปรงสีฟันไฟฟ้า

        ปัจจุบันตลาดสินค้าสำหรับอนามัยช่องปากคึกคักขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก สเปรย์ดับกลิ่นปาก รวมถึงแปรงสีฟันไฟฟ้าก็มีหลากยี่ห้อ หลายระดับราคาให้เลือกมากขึ้น ฉลาดซื้อฉบับนี้เลยขอนำเสนอผลการทดสอบแปรงสีฟันไฟฟ้าที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบไว้จำนวน 14 รุ่น มาให้สมาชิกที่กำลังมองหาตัวช่วยให้ประสบการณ์แปรงฟันครั้งละสองนาทีน่ารื่นรมย์ขึ้น         แปรงไฟฟ้าที่ทดสอบครั้งนี้มีราคาตั้งแต่ประมาณ 700 ถึง 11,200 บาท* โชคดีที่ทั้งสองรุ่นนี้ไม่ใช่รุ่นที่ได้คะแนนต่ำสุดหรือสูงสุด  โดยในการทดสอบได้แบ่งคะแนนออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน (ให้น้ำหนักจากคะแนนรวม ร้อยละ 50)  และความสะดวกในการใช้งาน แบตเตอรีการทำงานของแท่นชาร์จ และเสียงที่ไม่ดังเกินไปขณะใช้งาน (ร้อยละ 25, 20, และ 5 ตามลำดับ)         นอกจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการแล้ว ในส่วนของคะแนนความสะดวกในการใช้งานนั้นมากจากความเห็นของอาสาสมัคร (ที่อายุระหว่าง 18 ถึง 65 ปี ที่สุขภาพฟันแข็งแรง มีค่าดัชนีวัดหินปูน > 1.5 และมีฟันแท้อย่างน้อย 20 ซี่)         ·         ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่แปลงจากหน่วยเงินยูโร ตามองค์กรผู้บริโภคซื้อจากร้านค้าในประเทศของตนเอง โปรดตรวจสอบราคา (และคำนวณค่าจัดส่งหากสั่งซื้อออนไลน์) อีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 250 หม้อทอดไร้น้ำมัน

        แม้จะเข้าวงการมาได้ไม่นาน แต่หม้อทอดไร้น้ำมันก็ติดอันดับเครื่องครัวยอดนิยมที่หลายคนอยากมีไว้ติดบ้านไปแล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายนปี 2564 (หากสนใจผลการทดสอบที่เราเคยนำเสนอ สามารถติดตามได้ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 203 และ 230)           เนื่องจากเป็นการทดสอบต่อเนื่อง ทีมทดสอบจึงยังใช้ขั้นตอนการทดสอบเหมือนที่ผ่านมา นั่นคือการใช้งานตามคู่มือของหม้อทอดแต่ละรุ่น โดยจะวัดความร้อน บันทึกเวลาที่ใช้ อุณหภูมิเฉลี่ยขณะทอด และพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ส่วนอาหารที่ใช้ในการทดสอบได้แก่        -       มันฝรั่งเส้น (ทดสอบทั้งแบบใส่ในปริมาณ 2/3 ของความจุหม้อ และแบบใส่จนเต็ม)         -       น่องไก่ (นำออกจากตู้เย็นหลังแช่ไว้ 24 ชั่วโมง ใส่พร้อมกัน 4 น่อง ขนาดน่องละประมาณ 100 กรัม)         -       ปอเปี๊ยะ (นำออกจากตู้เย็นหลังแช่ไว้ 24 ชั่วโมง ใส่10 ชิ้น ขนาดชิ้นละ 25 กรัม)        -       ช็อคโกแลตเค้ก (เฉพาะในบางรุ่นที่มีฟังก์ชันรองรับ)        การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน              ประสิทธิภาพ                         ร้อยละ        55             ความสะดวกในการใช้งาน      ร้อยละ        20             การประหยัดพลังงาน             ร้อยละ       15             ความปลอดภัย                      ร้อยละ         5              คุณภาพการประกอบ              ร้อยละ         5             ในภาพรวมเราพบว่าหม้อทอดรุ่นใหม่ๆ ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น แม้รุ่นที่ได้คะแนนสูงที่สุดจะได้คะแนนรวมไม่ต่างจากตัวท็อปในการทดสอบคราวก่อน แต่ที่น่าสนใจคือ “คะแนนต่ำสุด” ของหม้อทอดกลุ่มนี้สูงขึ้นกว่าเดิม และหนึ่งในรุ่นที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ รุ่นที่มีความจุสูงและพยายามรวมฟังก์ชันหลายอย่างไว้ด้วยกันคราวนี้เรามีมาให้คุณเลือกถึง 25 รุ่น เชิญพลิกหน้าต่อไปเพื่อหารุ่นที่ตรงใจได้เลย แต่อย่าลืมตรวจสอบราคาอีกครั้ง (ราคาที่นำเสนอเป็นราคาจากอินเทอร์เน็ตในช่วงเดือนธันวาคม 2564)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point