ตามที่ได้สัญญากันไว้ในฉบับที่แล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำภาคต่อของผลทดสอบเครื่องเล่นเอ็มพี 3 ที่ราคาประมาณ 5,000 – 15,000 บาท มาฝากสมาชิก
สำหรับสมาชิก >อุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่คนยุคนี้นิยมมีติดตัวไว้ เพื่อประโยชน์ใช้สอยสารพัดนึกได้แก่เครื่องเล่นเอ็มพี 3 ที่นอกจากจะมีไว้ฟังเพลงแล้ว ยังใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆทั้งเอกสาร ภาพถ่าย หรือคลิบวิดีโอต่างๆ รวมถึงการบันทึกการสนทนาได้ด้วยฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบเครื่องเล่นเอ็มพี 3 ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ทำไว้ ฉบับนี้เราเลือกเฉพาะเครื่องที่ราคาไม่เกิน 5,000 บาท มานำเสนอกันก่อน ส่วนท่านที่สนใจเครื่องรุ่นเทพ (ที่ราคาก็เทพตามไปด้วยนั้น) ขอให้อดใจไว้เจอกันอีกครั้งในฉบับหน้า
สำหรับสมาชิก >ในยุคที่ใครๆ ก็ตื่นตัวเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างนี้ คงไม่ต้องบอกถึงเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรหันมาใช้หลอดประหยัดไฟกัน หลายๆบ้านคงเริ่มซื้อมาเปลี่ยนกันกันบ้างแล้ว สนนราคาก็ใช่ว่าจะแพงเกินเอื้อม (อาจจะซื้อแพงกว่าหลอดไส้ในครั้งแรก แต่เมื่อคำนึงถึงค่าไฟในระยะยาวแล้ว มันก็คุ้มค่ากว่ากัน) มีให้เลือกตั้งแต่ห้าสิบบาทจนถึงร้อยกว่าบาท แล้วใครจะไม่อยากใช้ ทั้งอายุการใช้งานนานกว่า และใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเห็นๆองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำการทดสอบหลอดประหยัดไฟรุ่นต่างๆ ที่ผลิตและจำหน่ายในยุโรป เนื่องจากมีรุ่นคล้ายๆ กับที่ขายอยู่ในเมืองไทย ฉลาดซื้อจึงขอนำเสนอผลการทดสอบมาให้ดูกันว่า หลอดประหยัดไฟรุ่นไหน ยี่ห้อไหน ใช้งานได้คุ้มค่ากว่ากัน และ“ไม่ได้โม้” เรื่องอายุการใช้งานและประสิทธิภาพในการประหยัดไฟด้วยหลอดไฟที่ขายในบ้านเราแม้จะยี่ห้อเดียวกันแต่ผลิตที่นี่หรือไม่ก็เมดอินไชน่ากันเสียเป็นส่วนใหญ่ ปีหน้า(ถ้ามีทุนพอ) ฉลาดซื้อจะส่งตัวอย่างจากประเทศไทยไปให้เขาทดสอบด้วย --------------------------------------------------------------------------------------------ออสเตรเลียประกาศว่าจะเปลี่ยนหลอดไส้แบบเดิม มาเป็นหลอดประหยัดไฟทั้งหมดภายในปี 2553 เพื่อเป็นการลดภาวะการเกิดก๊าซเรือนกระจกอังกฤษก็เช่นกัน รัฐบาลวางแผนว่าจะเลิกใช้หลอดไฟฟ้าแบบเดิมภายในปี 2554รัฐเท็กซัส ของอเมริกาก็ทำเก๋ นอกจากจะมีดอกไม้ประจำรัฐ เพลงประจำรัฐ แล้วเมื่อปี 2550 ก็ประกาศให้ หลอดประหยัดไฟเป็นหลอดไฟประจำรัฐกับเขาด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชากรในรัฐหันมาประหยัดพลังงาน p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px Thonburi; color: #454545} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545; min-height: 14.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545} p.p4 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545; min-height: 15.0px} span.s1 {font: 12.0px 'Helvetica Neue'} --------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับสมาชิก >ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอเรื่องทดสอบผลิตภัณฑ์ใกล้ๆ บ้านกันบ้าง เราเชื่อว่าคงไม่มีบ้านไหนไม่ได้ใช้รางปลั๊กต่อพ่วงสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เราได้รับความร่วมมือจากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ที่ทำการทดสอบรางปลั๊กไฟทั้งหมด 18 ราง ที่เราสุ่มซื้อจากห้างต่อไปนี้: โฮมโปร โฮมเวอร์ค คาร์ฟู บิกซี และโลตัส รางปลั๊กที่นำมาทดสอบ มีตั้งแต่ราคา 660 บาท (แบบ 6 ฐาน) จนถึง 59 บาท (แบบ 3 ฐาน) โดยฉลาดซื้อเลือกทดสอบโดยเน้นเรื่องของความปลอดภัย ใน 4 ประเด็นต่อไปนี้1. ความต้านทานของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า* 2. อุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น* 3. แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ* 4. ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ*5. ความยาวของสายไฟ* ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 1. เราทดสอบเพื่อดูคุณสมบัติของฉนวน ว่าสามารถป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้าหรือไม่ พูดง่ายๆ คือสามารถป้องกันโอกาสการเกิดไฟดูดได้หรือไม่นั่นเอง ความต้านทานฉนวนและแรงดันไฟฟ้าคือ ค่าคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการทำเต้ารับ ว่าสามารถเป็นฉนวนที่ดีอย่างไร และทนต่อแรงดันไฟฟ้าเกินได้มากน้อยแค่ไหน เป็นตัวชี้วัดคุณสมบัติสภาพของฉนวนที่ใช้2. เป็นการตรวจสอบว่า เมื่อเราใช้งานมีความร้อนสะสมเกิดขึ้นจนถึงขั้นสามารถนำไปสู่การติดไฟหรือไม่ เมื่อหน้าสัมผัสของตัวรางปลั๊กไม่มีแรงสปริงกดขาของตัวเสียบมากพอ ทำให้เกิดเป็นความต้านทานหน้าสัมผัสที่สูง เมื่อมีกระแสไหลผ่านจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ทำให้ตัวรางปลั๊กร้อน และฉนวนในบริเวณโดยรอบจะเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการลัดวงจรได้ในที่สุด3. ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมแล้ว เต้ารับไฟฟ้า จะต้องผลิตให้เสียบเข้าและดึงออกได้ง่าย ไม่หลวมเกินไปจนหน้าสัมผัสของปลั๊กไม่สมบูรณ์และนำไปสู่การอาร์ค (หรือที่เราเรียกกันว่าสปาร์ค) และไม่แน่นเกินไปจนทำให้ถอดปลั๊กออกยาก และเกิดความเสียหายต่อฉนวนของตัวปลั๊กได้ และถ้าหากขั้วโลหะของเต้ารับหลุดออกมา ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เช่นกัน การที่ค่าแรงดึงมากสุดไม่ผ่าน แสดงว่าสปริงของเต้ารับ กดตัวขาของเต้าเสียบมากเกินความจำเป็น และกรณีค่าแรงดึงน้อยสุดไม่ผ่าน น่าจะมีผลต่อค่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นด้วยเพราะแรงกดน้อยเกินไป4. วัสดุฉนวนที่ดีต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อตัวรางปลั๊กเอง และป้องกันการลุกลามไปติดสิ่งของอื่นในบริเวณใกล้เคียง5. ข้อนี้ทดสอบตามหลักการของฉลาดซื้อ ว่าเป็นไปตามที่เขียนไว้ที่ฉลากหรือไม่ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลการทดสอบโดยย่อ• ทุกรุ่นที่ทดสอบ ผ่านเกณฑ์ด้านความต้านทานของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า• มีเต้ารับ 3 รุ่น (จากทั้งหมด 18 รุ่นที่ส่งไปทดสอบ) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบถึง 3 ด้าน• มีเพียง 1 ใน 3 ของรางปลั๊กที่เราสุ่มทดสอบเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ด้านแรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ• และมีเพียง 5 รุ่นเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ด้านความคงทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ • เราพบว่าไม่มีรุ่นไหนที่มีความยาวของสายไฟเท่ากับที่ได้แจ้งไว้บนฉลาก โดยส่วนที่หายไปนั้นมีตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 6.2 เซ็นติเมตร • จากตัวอย่างที่เราส่งทดสอบ เราพบว่าราคาไม่ใช่ตัวชี้วัดเรื่องความปลอดภัยเสมอไปประเด็นอื่นๆ• สวิตช์ปิดเปิดบนรางปลั๊ก ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ มีประโยชน์ในการช่วยให้เราไม่ต้องถอดหรือเสียบปลั๊กบ่อยครั้ง (ซึ่งเพิ่มโอกาสในการอาร์ค) แต่ขณะเดียวกันสวิตช์ที่ออกแบบมาไม่เหมาะสมกับกระแสไฟที่ไหลผ่าน ก็จะเป็นจุดอ่อน ที่เกิดความร้อนสะสม และอาจนำไปสู่การติดไฟได้ ดีที่สุด เมื่อเลิกใช้งานให้ถอด ปลั๊กพ่วงออกจากเต้ารับที่ผนังบ้าน • ควรเลือกรางปลั๊กไฟที่สปริงเป็นทองเหลืองเพราะมันสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าเหล็กหรือสังกะสี การนำไฟฟ้าที่ไม่ดีทำให้เกิดความร้อนสะสม ซึ่งอาจนำไปสู่การขยายตัวของวัสดุ ทำให้ไม่สามารถเสียบปลั๊กได้แน่นอีกต่อไป หรืออาจนำไปสู่การลุกไหม้ในที่สุด• วัสดุฉนวนที่ใช้ทำเต้ารับที่ดี ควรทำจากพลาสติกชนิดที่เรียกกันว่า ABS (ซึ่งมีราคาแพงกว่าพลาสติกพีวีซี) -------------------------------------------------------------------------------------------------------- ฉลาดซื้อขอขอบคุณ คำแนะนำจาก อาจารย์ ดร. วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณธีระ ริมปิรังษี จากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ -------------------------------------------------------------------------------------------------------- >>> รุ่นเดียวที่ผ่านเกณฑ์ทุกด้านZircon DPN-41062 ราคา 370 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้า>>> 3 รุ่น ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบด้านอุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ และความคงทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติPaCo MYW-6 TMราคา 115 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้าข้อความบนฉลาก: -PaCo MTW 823ราคา 179 บาทจำนวนเต้ารับ 8 เต้าข้อความบนฉลาก: “เต้าเสียบไฟนี้ใช้ทองเหลืองแท้”GGG UN 6ราคา 99 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้าข้อความบนฉลาก: “ปลอดภัย สายไฟหุ้มฉนวน 2 ชั้นแข็งแร็งทนทาน รองรับขาปลั๊กไฟได้ทั่วโลก ขาปลั๊กเสียบแน่น (ไม่หลวม)”ตารางรวม ยี่ห้อ/ รุ่น จำนวนเต้ารับ ราคา ความต้านทางของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า อุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ ไฟ และการเกิดรอย ความยาวที่หายไป (เซ็นติเมตร) Zircon DPN-41062 6 370 ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 1.6 TAC PT 24 6 159 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X 1.5 CSC Power 705-3M 6 130 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X 1.15 คุ้มค่า 6 69 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X ไม่ได้ระบุความยาว แต่วัดได้ 2.87 เมตร Won Pro WES4-105 6 660 ผ่าน ผ่าน X ผ่าน ไม่ได้ระบุความยาว แต่วัดได้ 1.89 เมตร Carrefour 960A 6 239 ผ่าน ผ่าน X ผ่าน 1.4 Perfect Technology 554A 3 142 ผ่าน
สำหรับสมาชิก >เครื่องทำเอสเปรสโซ่ ตั้งชื่อภาษาฝรั่งให้เก๋ไปอย่างนั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรานำเสนอในฉลาดซื้อฉบับนี้ก็คือเครื่องทำกาแฟสดที่เรารู้จักกันนั่นเอง หลายๆ คนเรียกมันว่าเอสเปรสโซ่แมชชีนเพราะน้ำกาแฟที่ออกมาจากเครื่องเหล่านี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เอสเปรสโซ่” ซึ่งก็คือหัวกาแฟที่เรานำไปทำเป็นกาแฟสูตรต่างๆ อย่างอเมริกาโน ลาเต้ คาปูชิโน มอคค่า เป็นต้น ผลทดสอบคราวนี้เอาใจคนที่รักการดื่มกาแฟสดอย่างจริงจัง และมีเพื่อนคอเดียวกันมาช่วยกันดื่มให้คุ้ม เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ราคาค่อนข้างแพงและต้องมีธุระในการดูแลรักษาพอสมควรทีเดียว เราได้ผลทดสอบมาจากองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) โดยเลือกนำเสนอเครื่องทำกาแฟสดแบบใช้แรงดันสูงทั้งหมด 16 รุ่น โดยเป็นเครื่องที่ชนิดที่ใช้กับผงกาแฟคั่วบดแล้ว (ไม่ใช่แบบอัตโนมัติที่ใส่ลงไปทั้งเมล็ด) ที่สามารถทำกาแฟได้ครั้งละ 2 ถ้วยพร้อมกันด้วยแรงดัน 15 บาร์ ทั้งหมด 8 รุ่น และเป็นเครื่องแรงดัน 19 บาร์ ที่ใช้กับผงกาแฟแบบที่บรรจุในแคปซูลอลูมิเนียมอีก 8 รุ่น อย่างหลังนี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นมีความยุ่งยากน้อยกว่า แต่เพื่อแลกกับความสะดวกต้นทุนของการทำกาแฟด้วยเครื่องอย่างหลังนี้จึงค่อนข้างแพงกว่า เพราะแคปซูลกาแฟ 1 แคปซูล ซึ่งทำกาแฟได้หนึ่งถ้วยก็ราคาประมาณ 35 บาท แล้ว ประเด็นทดสอบ • ความสะดวกในการใช้งาน: เราพบว่าเครื่องทำเอสเปรสโซ่เหล่านี้ไม่แตกต่างกันมากนักในประเด็นนี้โดยแบบใช้ฟิลเตอร์ใส่กาแฟคั่วบดจะได้คะแนนความสะดวกในระดับ 3 ดาวเท่านั้น ในขณะที่รุ่นที่ใช้แคปซูลจะค่อนข้างสะดวกกว่าจึงได้คะแนนความสะดวกเฉลี่ยในระดับ 4 ดาว ยกเว้นเพียงหนึ่งรุ่นที่ได้ไปเพียง 3 ดาว (Gaggia – Evolution Espresso) • ความเร็วในการทำงาน : เป็นการทดสอบว่าเครื่องไหนใช้เวลาระหว่างเปิดเครื่องกับการทำกาแฟถ้วยแรกได้เสร็จเร็วกว่ากัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่แตกต่างกันมากนักอยู่ทีระดับคะแนน 3 ถึง 4 ดาวเช่นกัน เจ้าของสถิติเร็วที่สุดคือ Delonghi – Le Cube En 180R ที่ใช้เวลาไป 1 นาที 16 วินาที4 ส่วนที่ช้ากว่าใครในกลุ่มที่ทดสอบคือ Seaco NINA ที่ใช้เวลา 2 นาที 21 วินาที• อุณหภูมิของเอสเปรสโซ ทางผู้ทดสอบกำหนดไว้อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 67 องศาเซลเซียส ในการทดสอบครั้งนี้พบว่า เครื่องทำกาแฟเหล่านี้ทำเอสเปรสโซ่ออกมาได้ที่อุณหภูมิระหว่าง 58.5 ถึง 76.5 องศาเซลเซียส (ทั้งนี้ใช้แก้วที่อุณหภูมิปกติ ไม่ได้ใช้แก้วที่อุ่นให้ร้อนตามที่ผู้ผลิตแนะนำในคู่มือ เพราะมันสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น) เครื่องเอสเปรสโซ่ในกลุ่มที่ทำการทดสอบส่วนใหญ่ทำได้ถึง 5 ดาว ยกเว้น 4 รุ่นที่ได้ไปเพียง 4 ดาว ได้แก่ Krups – XP5240FR Seaco NINA Seaco A Modo Mio extra และ Gaggia – Evolution Espresso • ประสิทธิภาพในการทำฟองนม: ประเด็นนี้มีความแตกต่างกันค่อนข้างมากตั้งแต่ 2 ดาว (Krups – XP4020) ไปจนถึง 5 ดาว (Magimix - CITIZ & milk 11300 และ Seaco A Modo Mio extra) ในการทดสอบจะให้เครื่องตีฟองนมไขมันต่ำปริมาณ 100 มิลลิลิตรที่บรรจุในเหยือกทนความร้อนขนาดบรรจุ 250 มิลลิลิตร เพื่อให้ได้ฟองนมในปริมาณ 200 มิลลิลิตร ซึ่งฟองที่ได้จะต้องนุ่มละเอียดและยังทรงตัวอยู่ได้เมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที • การประหยัดพลังงาน: โดยรวมแล้วเครื่องชนิดที่ใช้แคบซูลกาแฟส่วนใหญ่คะแนนการประหยัดพลังงาน 4 ดาว (ยกเว้น Seaco A Modo Mio extra และ Gaggia – Evolution Espresso ที่ได้ไปเพียง 3 ดาว) ในขณะที่เครื่องแบบที่ใช้กาแฟคั่วบดตวงลงในฟิลเตอร์นั้นส่วนใหญ่ได้ไปเพียง 3 ดาว ยกเว้น Krups XP5240FR ซึ่งเป็นเครื่องเดียวในกลุ่มที่ได้ไป 4 ดาว • หมายเหตุ เนื่องจากการทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบร่วมโดยองค์กรผู้บริโภคจากประเทศต่างๆหลายประเทศ จึงไม่มีการทดสอบเรื่องรสชาติ เพราะคอกาแฟแต่ละประเทศชอบดื่มกาแฟรสชาติไม่เหมือนกัน ผลทดสอบ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับสมาชิก >พัดลมเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่มีใช้กันมานาน แทบจะมีอยู่ประจำบ้านทุกครัวเรือนในเมืองไทย หลายๆ คนอาจคิดว่าพัดลมคงไม่มีอะไรให้ต้องคำนึงถึงมากเหมือนกับสินค้าประเภทอื่นในการเลือกซื้อ หลักการทำงานของพัดลมก็ไม่ซับซ้อน มันจะทำงานเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่มอเตอร์พัดลม และเมื่อเรากดปุ่มเลือกให้ใบพัดลมหมุนเร็วขึ้น ความแรงของลมก็จะมากขึ้นตามที่ต้องการได้โดยใบพัดจะดูดอากาศจากบริเวณด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้านั่นเอง อย่างไรก็ตาม จากการที่ฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้ทำการทดสอบพัดลม ขนาด 16 นิ้ว ทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบตั้งพื้น (ชนิดที่สามารถปรับระดับคอได้) ที่ราคาตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,100 บาท นั้น เราพบว่ามีความแตกต่างกันอยู่พอสมควรมีตั้งแต่ระดับที่เราประเมินว่าเหมาะกับระดับ 5 ดาว ไปจนถึงรุ่นที่เรากล้ำกลืนให้ได้เพียง 1 ดาว เลยทีเดียว รายละเอียดของแต่ละรุ่นที่เราทดสอบเป็นอย่างไร ติดตามได้ในหน้าถัดไป เราทดสอบอะไร • ประสิทธิภาพแรงลม ได้จากการคำนวณค่าความเร็วลมเทียบกับการกินไฟ เช่น พัดลมที่มีความเร็วลมสูงมากและกินไฟมากย่อมมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าพัดลมที่มีความเร็วลมต่ำแต่กินไฟมาก • การทรงตัวของพัดลม การทรงตัวเมื่อมีแรงกระแทก พิจารณาจากแรงกระแทกที่หน้าพัดลม ทดสอบโดยการตั้งพัดลมไว้กึ่งกลางคาน แล้วผูกเชือกติดกับคาน ปลายเชือกอีกด้านผูกกับลูกบอล โดยให้ความยาวเชือกยาวเท่ากับลูกบอลอยู่กึ่งกลางหน้าพัดลม จากนั้นจับลูกบอลตั้งฉาก 90 องศา จากแนวดิ่ง เชือกตึง แล้วปล่อยด้วยแรงที่เท่ากันให้ไปกระแทกกับพัดลม • ปุ่มควบคุมการหมุนส่าย / ปุ่มปรับระดับความแรง ประเมินจากสภาพของปุ่มหลังผ่านการทดสอบโดยการกด 500 ครั้ง • ฐานพัดลม พิจารณาจากความเหมาะในการถ่วงน้ำหนักของตัวพัดลมไม่ให้ล้มง่าย • ฝาครอบใบพัด พิจารณาจากความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ทำ ตัวล็อค และความยากง่ายในการถอดเพื่อทำความสะอาด ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- มอเตอร์พัดลมมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นส่วนต้นกำลังในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล และเป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำเฟสเดียวใช้กับไฟบ้านขนาดแรงดัน 220 โวลต์ มีตัวเก็บประจุต่อร่วมเพื่อช่วยทำให้มอเตอร์หมุนในตอนเปิดเครื่อง USEFUL TIP!มอเตอร์เหนี่ยวนำเฟสเดียวเป็นมอเตอร์ประสิทธิภาพต่ำ(แต่ราคาถูก) ดังนั้นเราจึงควรปิดพัดลมทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน จะช่วยประหยัดค่าไฟได้แถมยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของพัดลมด้วย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- วิธีการเลือกซื้อพัดลม - เลือกขนาดของพัดลมให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ใช้สอย ตำแหน่งของการติดตั้ง และการไหลเวียนของอากาศ - เลือกรุ่นที่มีเอกสารมาตรฐานประหยัดไฟเบอร์ 5 และ ฉลาก มอก. และถ้าผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 ก็จะช่วยให้ประหยัดไฟได้อย่างมากในระยะยาว และมีอายุการใช้งานนานอีกด้วย - อย่าลืมพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ o ดูน้ำหนักของตัวพัดลมo โครงสร้างโดยเฉพาะช่วงคอพัดลมo ชนิดของเนื้อพลาสติกที่ใช้และความแข็งของเนื้อพลาสติกจากการสัมผัสo ลักษณะและขนาดของสายไฟ รวมทั้งปลั๊กไฟฟ้า หรือมีระบบตัดไฟอัตโนมัติในกรณีที่พัดลมไม่หมุนเมื่อมีการจ่ายกระแสไฟฟ้า - พัดลมที่บรรจุอยู่ในกล่อง ควรมีการแกะออกและทำการทดสอบก่อนตัดสินใจซื้อ เนื่องจากโครงสร้างของ พัดลมนั้นค่อนข้างเปราะบาง อาจเกิดกรณีสินค้าชำรุดเสียหายซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งได้ และไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอกของบรรจุภัณฑ์ ดูแลรักษาพัดลมของคุณ พัดลมจัดว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก การดูแลรักษาจึงไม่มีความยุ่งยากสามารถใช้หลักการพื้นฐานในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปได้ 1. ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด ทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของพัดลม 2. อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าอยู่ตลอดเวลา 3. สังเกตอุณหภูมิของตัวพัดลมโดยเฉพาะบริเวณมอเตอร์หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากมอเตอร์มีความร้อนมากเกินไปเป็นเวลานาน ตัวมอเตอร์นั้นเสื่อมสภาพได้ ควรให้ปิดพักบ้าง เพราะสาเหตุส่วนใหญ่ที่พัดลมเสียนั้นเกิดจากมอเตอร์เสีย 4. หลีกเลี่ยงการตั้งพัดลมในบริเวณที่อาจมีการกระทบกระทั่งกับสิ่งอื่นได้ง่าย เนื่องจากรูปทรงพัดลมแบบใช้ใบพัดนั้น จุดศูนย์ถ่วงนั้นอยู่ค่อนข้างสูง น้ำหนักเบาและเปราะบาง ล้มง่าย 5. หลีกเลี่ยงการตั้งพัดลมในที่ๆ มีความร้อนสูงหรือกลางแจ้งเนื่องจากโครงสร้างพัดลมบางชนิดจะมีพลาสติกเป็นส่วนประกอบหลัก 6. ถอดใบพัดและตะแกรงออกมาทำความสะอาดเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงานได้ดีขึ้น
สำหรับสมาชิก >“เสน่ห์ปลายจวักผัวรักจนตาย” สุภาษิตไทยโบราณที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำกับข้าวเข้าครัวของฝ่ายหญิงที่ใช้เป็นสิ่ง ผูกมัดใจฝ่ายชายให้อยู่กับบ้านกินกับเรือน ไม่ให้หนีไปหากิ๊กที่อื่นหรือมีข้ออ้างไปหาอาหารกินนอกบ้าน เรื่องดังกล่าวถือเป็นวัฒนธรรมที่ ยกให้ผู้หญิงเป็นใหญ่หรือเป็นคนสำคัญในบ้าน คล้ายกับวัฒนธรรมของชาวอิตาเลี่ยนที่คุณย่าหรือคุณยายมีหน้าที่ทำอาหารเลี้ยงคนใน ครอบครัวและเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในบ้าน เพราะเป็นผู้ที่รักษาความลับในการทำพาสต้าให้คนในครอบครัว รับประทานอย่างเอร็ดอร่อย และเมื่อลูกสะใภ้หรือลูกสาวได้รับการถ่ายทอดเคล็ดลับการทำอาหารจากคุณย่าหรือคุณยายแล้วก็จะเป็นแม่ ครัวประจำบ้านแทนทันที เมื่อนั้นความสำคัญในครอบครัวก็จะตกมาอยู่ที่ลูกสาวหรือลูกสะใภ้ต่อไป ปัจจุบันการจะทำอาหารรับประทานกินเองในครอบครัวนั้น ถูกจำกัดด้วยสภาพที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ที่ต้องอาศัย อยู่ในอาคารชุด ทำให้มีข้อจำกัดในการทำอาหารรับประทานเองในที่พักอาศัย เนื่องจากอาคารชุดบางแห่งห้ามใช้เตาแก๊สในการประกอบอาหาร ทำให้ “เตาไฟฟ้า” เป็นทางเลือกหนึ่งในการหุงต้มอาหาร ซึ่งเตาไฟฟ้ามีข้อดีหลายอย่าง แต่ใช้เวลานานในการให้ความร้อนเมื่อเทียบกับเตาแก๊ส ในปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับเตาไฟฟ้าเพื่อใช้ประกอบอาหารก้าวหน้าไปมาก “เตาแม่เหล็กไฟฟ้า” ถือได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ใน การปรุงอาหาร ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าให้เลือกใช้หลากหลายยี่ห้อที่วางขายอยู่ในท้องตลาด การทดสอบนี้เป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้บริโภคที่สนใจจะซื้อเตาแม่เหล็กไฟฟ้าได้ทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกซื้อเตาไฟฟ้าให้ตรงกับความต้องการและงบประมาณที่กำหนด ฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้สุ่มซื้อเตาแม่เหล็กไฟฟ้า จำนวน 15 ยี่ห้อ 16 รุ่น จากห้างสรรพสินค้า และไฮเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ราคาตั้งแต่ 999 บาท ถึง 6,000 บาท โดยทดสอบเปรียบเทียบในเรื่องการใช้พลังงาน การใช้งาน และการปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Elektrosmog) แสดงผลตามตาราง การทดสอบการใช้พลังงานทดสอบโดยต้มน้ำปริมาตร 1.5 ลิตร เปิดฝา จับเวลา และวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้มจนกระทั่งน้ำเดือด ผลจากการทดสอบสามารถแบ่งเตาแม่เหล็กไฟฟ้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กินไฟน้อย ได้แก่ เตายี่ห้อ VZIO, House Worth, Orchid, Nicole, Electrolux และ Toshiba กลุ่มที่กินไฟปานกลาง ได้แก่ AJ, Midea, Hanabishi, Imarflex รุ่น IF-830, Imarflex รุ่น IF- 863, OTTO, Zebra Head, Fagor และ Mamaru กลุ่มที่กินไฟมาก ได้แก่ Oxygen การทดสอบการปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electrosmog)สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากเตาแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดค่าสนามแม่เหล็กแบบดิจิตอล ยี่ห้อ Gigahertz Solution รุ่น ME 3030 B ระหว่างช่วงความถี่ 16 เฮิตร์ซ ถึง 2000 เฮิตร์ซ โดยวางเครื่องมือวัดให้มีระยะห่างจากเตาแม่เหล็กไฟฟ้า 50 เซนติเมตร และเปิดเตาไฟฟ้าที่กำลังสูงสุด จากการทดสอบสามารถอ่านค่าความเข้มสนามแม่เหล็กได้สูงสุด 2000 นาโนเทสลา (nT) สำหรับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้ค่าความเข้มสนามแม่เหล็กมากกว่า 2000 นาโนเทสลา (nT) เครื่องมือวัดฯ ไม่สามารถประเมินในเรื่องความปลอดภัยได้ อย่างไรก็ตาม สถาบัน T?V Rheinland หน่วยงานอิสระที่ทำการทดสอบทางด้านเทคนิคของประเทศเยอรมนี ได้ให้คำแนะนำว่า ค่าความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ควรเกินกว่า 200 นาโนเทสลา (nT) การใช้งาน การใช้งานของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าพิจารณาจากคู่มือการใช้งาน และแผงหน้าปัด คู่มือการใช้งาน ในการจัดทำคู่มือการใช้งานของผลิตภัณฑ์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย คู่มือการใช้งานได้ดีมาก ได้แก่ Toshiba ซึ่งเป็นคู่มือการใช้งานที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ ตัวหนังสือมีขนาดใหญ่ อ่านง่าย สบายตา มีภาพประกอบคำอธิบายชัดเจน คู่มือการใช้งานได้ดี ได้แก่ House Worth, AJ, Zebra Head และ Mamaru ขนาดตัวหนังสือที่ใช้อธิบายมีขนาดใหญ่ อ่านง่าย แต่มีภาพประกอบน้อย คู่มือการใช้งานได้พอใช้ ได้แก่ ยี่ห้อ Electrolux, Fagor, Imaflex รุ่น IF 830 และรุ่น IF 863, Midea และ Hanabishi ตัวหนังสือขนาดใหญ่ มีภาพประกอบน้อย และมีข้อมูลในการใช้งานน้อย คู่มือการใช้งานที่ต้องปรับปรุง ได้แก่ VZiO, Orchid, OTTO, Nicole, และ Oxygen โดยเฉพาะยี่ห้อ VZiO ไม่มีคู่มือที่แปลเป็นภาษาไทย แผงหน้าปัด แผงหน้าปัดควบคุมของผลิตภัณฑ์ แบ่งตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบสัมผัส (Touch screen) ได้แก่ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ยี่ห้อ Electrolux, House Worth, VZIO, OTTO, Fagor, Zebra Head และ Toshiba แบบปุ่มกด ได้แก่ Orchid, Nicole, AJ, Midea, Hanabishi, Imaflex รุ่น IF 830 และ รุ่น IF 863, Mamaru และ Oxygen แผงหน้าปัดถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการใช้งาน เพราะต้องสื่อสารด้วยสัญลักษณ์หรือภาษาที่เข้าใจง่าย ตัวหนังสือ ต้องมีขนาดใหญ่ เห็นได้ชัดเจน บางยี่ห้อ ปุ่มกดหรือผิวสัมผัส มีขนาดเล็ก ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน โดยเฉพาะผู้ใช้งานสูงอายุ ที่มีความสามารถในการมองเห็นและการได้ยินค่อนข้างจำกัด จากการทดสอบเตาแม่เหล็กไฟฟ้าทุกรุ่น พบว่า ปุ่มกดหรือผิวสัมผัสจะมีเสียงสัญญาณ เพื่อยืนยันการกดใช้งาน นอกจากนี้ยังมีสัญญาณไฟเพื่อบอกการทำงานของเตาด้วย ตัวอย่างแผงหน้าปัดที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ที่มีขนาดใหญ่ ภาพและตัวหนังสือ ชัดเจน และมีภาษาไทยประกอบ คือ Hanabishi, Zebra Head และ AJ ดูรูปที่ภาคผนวก 1 แผงหน้าปัดที่ไม่มีภาษาไทยประกอบคือ Imaflex รุ่น IF- 863, Toshiba, VZiO, Orchid, Nicole, Oxygen, Midea, OTTO, Fagor, และ Electrolux ซึ่ง แผงหน้าปัดมีการใช้สัญลักษณ์ เพียงอย่างเดียวทำให้ผู้ใช้งานสับสนได้ ดูรูปที่ภาคผนวก 2 แผงหน้าปัด ที่มีภาพและตัวหนังสือขนาดเล็ก แป้นกดขนาดเล็ก คือ Imaflex รุ่น IF 830, House Worth, Mamaru ดูรูปที่ภาคผนวก 3ความปลอดภัยเตาแม่เหล็กไฟฟ้าขณะทำงานจะมีการสร้างสนามแม่เหล็กส่งผ่านมายังกระทะสแตนเลส (ใช้ได้เฉพาะโลหะที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก หรือแม่เหล็กถาวรดูดติดเท่านั้น) ขึ้นมาด้านบน ซึ่งมีน้ำหรือน้ำมันอยู่ และย้อนกลับไปยังเตาแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กนี้เองที่เป็นตัวสร้างความร้อนให้เกิดขึ้นที่ก้นภาชนะ และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำหรือน้ำมันในกระทะสแตนเลส ในขณะที่ตัวกระทะด้านบนยังมีความเย็นอยู่และจะร้อนขึ้นจากการถ่ายเทความร้อนมาจากก้นภาชนะขึ้นมา บริเวณแผ่นส่งความร้อนตรงที่ไม่ได้มีภาชนะวาง จะไม่เกิดการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก จึงไม่เกิดความร้อน เพราะฉะนั้นบริเวณรอบๆ ภาชนะ จึงไม่ได้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นข้อดีประการหนึ่งของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่ป้องกันอันตรายจากความร้อนของหัวเตา เตาแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถใช้ได้กับภาชนะที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก หม้อหรือภาชนะที่เป็นอลูมิเนียม หรือกระเบื้อง หรือแก้วไม่สามารถใช้อุ่นหรือปรุงอาหารด้วยเตาแม่เหล็กไฟฟ้าได้ ดังนั้นหากเราต้องการอุ่นอาหารด้วยหม้ออลูมิเนียมแล้วเตาแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวไม่ทำงาน ก็ไม่ได้หมายความว่าเตาแม่เหล็กไฟฟ้าชำรุดแต่ประการใด เตาแม่เหล็กไฟฟ้าขณะที่กำลังทำงานอยู่จะมีการสั่น ซึ่งสามารถทำให้กระทะหรือหม้อมีการเคลื่อนที่ได้ และถ้าโต๊ะหรือที่วางเตาแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ได้ระนาบ กระทะหรือหม้ออาจจะพลิกหรือตกจากเตาได้ ดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 ความเสี่ยงจากการใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้าบนโต๊ะที่ ไม่ได้ระนาบ ผลข้างเคียงจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเสี่ยงของมนุษย์ภายใต้สภาวะสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความเข้มข้นสูงนั้น มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังเป็นข้อถกเถียงกันของนักวิชาการฝ่ายที่ทำงานให้กับบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และฝ่ายที่ทำงานในด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จนถึงปัจจุบันนี้ ในยุโรปเองก็ยังไม่มีข้อสรุปในการออกเป็นกฎหมายบังคับ และยังไม่มีงานวิจัยใด ที่สามารถบ่งชี้ถึงผลข้างเคียงต่อผู้บริโภค เพราะการพิสูจน์เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมาก แต่ในฐานะผู้บริโภคเราควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ในด้านลบหากอยู่ภายใต้ความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กสูงๆ เป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ pace maker ไม่ควรที่จะเข้ามาอยู่ใกล้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าขณะเครื่องทำงาน เพราะสนามแม่เหล็กอาจจะไปรบกวนการทำงานของเครื่อง pace maker หรือไปหยุดการทำงานของเครื่อง pace maker ได้เช่นกัน ซึ่งประเด็นเรื่อง electrosmog เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จะหาโอกาสมาเล่าถึงในโอกาสต่อไป เตาแม่เหล็กไฟฟ้ากับการประหยัดพลังงานหลักการโดยทั่วไปในการหุงต้มในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือ ความร้อนที่เกิดจากการใช้ก๊าซธรรมชาติ จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าความร้อนที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า เพราะการใช้พลังงานปฐมภูมิ (เช่น ก๊าซธรรมชาติ) มีประสิทธิภาพดีกว่าพลังงานความร้อนที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่มีการสูญเสียพลังงานโดยรวมมากกว่า แต่ในด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะการหุงต้มในอาคารชุด จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเตาหุงต้มประเภทต่างๆ คือ เตาไฟฟ้า ที่ทำจากเหล็กหล่อ (Cast iron hot plate) เตาอินฟราเรด เตาอินฟราเรดพร้อมเซนเซอร์ เตาฮาโลเจน และเตาแม่เหล็กไฟฟ้า (Induction hot plate) จากรูปสามารถสรุปได้ดังนี้ รูปที่ 2 แผนภูมิแสดงการใช้พลังงานในการทดสอบของ เตาไฟฟ้าประเภทต่างๆ [1] จากผลการทดสอบเปรียบเทียบการต้มน้ำปริมาตร 1.5 ลิตร เตาอินดัคชันใช้พลังงานในการต้มน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเตาชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ในการอุ่นอาหารและรักษาอุณหภูมิอุ่น นาน 45 นาที เตาอินดัคชันใช้พลังงานน้อยที่สุดเช่นกัน ประเภทของเตาไฟฟ้า รูปที่ 3 รูปแสดงประเภทของเตาไฟฟ้า [2] เตาไฟฟ้าสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะแผ่นส่งความร้อนออกเป็น 2 ประเภทคือ1. เตาไฟฟ้าแบบธรรมดา แผ่นส่งความร้อนเป็นเหล็กหล่อใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำให้เตาเกิดความร้อน มีราคาถูกกว่าเตาไฟฟ้าแบบอื่น (รูปประกอบ 3ก)2. เตาไฟฟ้าแบบแผ่นส่งความร้อนทำจากเซรามิก เตาประเภทนี้สามารถจำแนกพลังงานที่ทำให้เกิดความร้อน ได้ 4 ประเภท คือ 2.1 เตาอินฟราเรด (Infrared hot plate) เป็นเตาที่ให้ความร้อนโดยใช้รังสีอินฟราเรด (รูปประกอบ 3ข) 2.2 เตาฮาโลเจน (Halogen hot plate) เป็นเตาที่ให้ความร้อนโดยขดลวด ภายใต้บรรยากาศก๊าซเฉื่อย) (รูปประกอบ 3ข) 2.3 เตาอินดัคชัน (Induction hot plate) (รูปประกอบ 3 ค) เป็นเตาที่ใช้หลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจากการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งความร้อนดังกล่าวจะเกิดบริเวณก้นภาชนะที่เป็นวัสดุประเภทเฟอโรแมกเนติก (Ferromagnetic- วัสดุที่สามารถใช้แม่เหล็กดูดแล้วติด เช่น เหล็กเหนียว และเหล็กหล่อ) โดยบริเวณอื่นของภาชนะไม่เกิดความร้อนจากการเหนี่ยวนำ แต่เกิดจากการนำความร้อนจากก้นภาชนะ สำหรับบริเวณด้านนอกที่ก้นหม้อหรือกระทะ ไม่ได้สัมผัสกับเตาจะไม่เกิดความร้อนเช่นกัน ทำให้สามารถใช้มือสัมผัสได้ หรือถ้าเราเปิดเตาแต่ไม่ได้วางภาชนะลงไปก็จะไม่เกิดความร้อนขึ้น ถือได้ว่าเตาแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์การทำอาหารที่ค่อนข้างปลอดภัย โดยการให้ความร้อนแบบนี้เรียกว่า (cold cooking) 2.4 เตาแก๊ส ความร้อนได้จากการเผาไหม้ของก๊าซธรรมชาติ (รูปประกอบ 3 ง) ซึ่งการให้ความร้อนของเตาทั้งสามประเภทนี้ หากเราปล่อยให้ความร้อนสูงเกินไปจะทำให้แผ่นส่งความร้อนไหม้ได้ (Overheating) ภาชนะที่เหมาะสมกับเตาอินดัคชันภาชนะที่เหมาะสมที่ใช้กับเตาอินดัคชันต้องเป็นวัสดุที่สามารถดูดติดกับแม่เหล็กได้ และขนาดของภาชนะควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 12 เซนติเมตร ก้นของภาชนะต้องแบนราบ เพราะหากก้นของภาชนะมีลักษณะโค้งเว้าจะทำให้พลิกคว่ำได้ง่าย ในกรณีที่ภาชนะมีขาตั้ง ระยะห่างระหว่างก้นของภาชนะกับแผ่นนำความร้อนไม่ควรจะสูงเกินกว่า 2 มิลลิเมตร การบำรุงรักษาเตาแม่เหล็กไฟฟ้าหลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรตั้งเตาทิ้งไว้สักพัก ให้เย็นตัวลง หลังจากนั้นใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบนน้ำหมาดๆ เช็ดให้สะอาด หากมีคราบน้ำมันติดอยู่ ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำยาล้างจาน เช็ดคราบสกปรกออก และขณะทำความสะอาดควรถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้ง เนื่องจากแผ่นเตาเป็นวัสดุที่ทำจากแก้ว หรือเซรามิก จึงมีความเปราะ เวลาตั้งภาชนะ ไม่ควรกระแทกลงบนเตา และไม่ควรใช้โลหะหรือฝอยขัดหม้อขัดที่ผิวเตา หากผิวเตาแตกชำรุดไม่ควรใช้งานต่อ สรุปผลการทดสอบผลการทดสอบนี้พบว่า เตาแม่เหล็กไฟฟ้าหลายยี่ห้อประหยัดพลังงาน แต่ประเด็นเรื่องการจัดทำคู่มือการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานนั้น พบว่ามีหลายยี่ห้อที่ยังต้องปรับปรุงและให้ความสำคัญในประเด็นนี้เพิ่มมากขึ้น สำหรับแผงหน้าปัดควบคุมการใช้งานควรมีภาษาไทยประกอบ ซึ่งบางยี่ห้อไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้เลย การให้คะแนนผลิตภัณฑ์ที่น่าใช้งาน แบ่งตามเกณฑ์ดังนี้ เกณฑ์การประเมินดังกล่าวผู้บริโภคสามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการตัดสินใจเลือกซื้อเตาแม่เหล็กไฟฟ้าได้ เอกสารอ้างอิง1 วารสาร Test ฉบับที่ 8 ปี 20042 เอกสาร Eco Top Ten for stove and hot plate,Institute for Applied Ecology, 2008 ภาคผนวก รูปที่ 1: ตัวอย่างแผง หน้าปัดเตาแม่เหล็ก ไฟฟ้า ที่มีปุ่มกดมีขนาด ใหญ่ เห็นได้ชัดเจน มี ภาษาไทยประกอบ เข้าใจง่าย รูปที่ 2: ตัวอย่างแผง หน้าปัดเตาแม่เหล็ก ไฟฟ้า ที่ไม่ มีภาษาไทย ประกอบ เน้นการใช้ สัญลักษณ์ เข้าใจยาก ไม่สะดวกในการใช้งาน รูปที่ 3: ตัวอย่างแผง หน้าปัดเตาแม่เหล็ก ไฟฟ้า ที่มีปุ่มกดและตัว อักษรขนาดเล็ก ไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
สำหรับสมาชิก >ได้เวลาทดสอบรางปลั๊กไฟกันอีกครั้ง คราวนี้เอาใจคนใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก เราเลือกรางปลั๊กไฟที่รองรับเต้าเสียบได้อย่างน้อย 4 ตัว (สมมุติว่าเสียบปลั๊ก ซีพียู จอ ลำโพง เราท์เตอร์ เหลือสำรองไว้อีกหนึ่ง)คราวนี้เราเปลี่ยนกลุ่มสินค้าทดสอบ จากรางปลั๊กราคาย่อมเยาทั่วๆไปที่เราพบในห้างค้าปลีก มาเป็นรางปลั๊กไฟสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยเราเน้นสินค้าที่มีขายอยู่ในแหล่งจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบเป็นหลักอย่างที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่า แต่ก็มีบ้างที่ซื้อจากจากแผนกไฟฟ้าในห้างค้าปลีกหรือห้างสรรพสินค้าด้วยเช่นกัน รางปลั๊กไฟที่เราซื้อมาทดสอบในครั้งนี้มีราคาตั้งแต่ 115 บาท ถึง 985 บาท วิธีการทดสอบยังคงเป็นเหมือนครั้งที่แล้วนั่นคือ การทดสอบรางปลั๊กไฟว่าผ่านหรือไม่ใน 5 ประเด็นต่อไปนี้ 1. ความต้านทานของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า เพื่อดูว่าวัสดุที่ใช้ทำฉนวนสามารถป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้า (หรือการเกิดไฟดูด) ได้หรือไม่2. อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เพื่อดูว่าจะเกิดความร้อนสะสมในขณะที่เราใช้งานจนถึงขั้นทำให้เกิดติดไฟหรือไม่ 3. แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมนั้นเต้ารับไฟฟ้า จะต้องผลิตให้เสียบเข้าและดึงออกได้ง่าย ไม่หลวมหรือแน่นจนเกินไป4. ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ วัสดุที่ดีจะต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที5. ความยาวของสายไฟ เป็นไปตามที่แจ้งบนฉลากหรือไม่ จากการทดสอบเราพบว่ามีรางปลั๊กไฟ 3 รุ่น จากทั้งหมด 22 รุ่นที่เราทำการทดสอบ ที่ผ่านมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย 4 ข้อแรก ได้แก่ Paco PC-S11 (ราคา 115 บาท), Haco EP-SFE3U (ราคา 495 บาท), และWonpro WES 4.5S (ราคา 985 บาท) แต่ทั้งสามรุ่นนี้ก็ยังให้ความยาวของสายไฟน้อยกว่าที่ระบุในฉลาก เราพบว่ามีรางปลั๊กไฟเพียงรุ่นเดียวที่ให้สายไฟเกินมาจากที่ระบุไว้ นั่นคือ Electon TE 9143 ความรับผิดชอบของผู้ผลิตต่อผู้บริโภค ว่าด้วยข้อมูลบนฉลาก ข้อสังเกตอย่างหนี่งจากการซื้อสินค้ามาทดสอบในครั้งนี้คือ รางปลั๊กไฟที่ขายกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนใช้คอมพิวเตอร์นั้น มักจะมีฉลากที่ดูไม่ธรรมดา มีข้อความทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มาอธิบายสรรพคุณของสินค้ากันมากมาย ซึ่งก็นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะได้เรียนรู้ไปด้วย แต่กระนั้นก็ตามเราพบว่าฉลากของรางปลั๊กไฟหลายรุ่นไม่ได้ให้ข้อมูลที่ควรจะให้ ในขณะที่บางรุ่นก็ให้ข้อมูลที่อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ ในประเด็นนี้ อ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้ ข้อมูลที่ควรแจ้งแก่ผู้บริโภค- “ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 2000 วัตต์”- “ใช้ได้ภายในบ้าน และไม่ควรวางไว้ในบริเวณที่อาจเปียกน้ำได้”- “ควรวางไว้ในที่ปลอดภัย ให้ห่างจากมือเด็กเล็ก”- (กรณีของรางปลั๊กที่มีตัวป้องกันไฟกระชาก) “อุปกรณ์นี้มีตัวป้องกันแรงดันเกินที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า และอาจไม่สามารถป้องกันอุปกรณ์หากเกิดฟ้าผ่าลงที่ตัวบ้าน สายโทรศัพท์ หรือเสาอากาศได้”- (กรณีรางปลั๊กสำหรับเต้าเสียบสามขา) “ต้องมีการเชื่อมต่อสายดินที่เต้ารับของบ้านอย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยจากไฟดูด” ข้อมูลที่ไม่ควรแจ้งแก่ผู้บริโภค - ถ้ารางปลั๊กดังกล่าวไม่มีตัวป้องกันไฟกระชาก ไม่ควรระบุว่า “เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์” เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวอาจเสียหายได้เมื่อได้รับแรงดันเกิน- ไม่ควรระบุว่า “ป้องกันไฟฟ้ารั่ว” เพราะไฟฟ้ารั่วนั้นโดยทั่วไปนั้นเกิดจากตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า (ไม่ได้เกิดจากรางปลั๊กไฟ) จึงอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ เรามาดูตัวอย่างของคำเตือนบนฉลากของรางปลั๊กไฟรุ่น Toshino DD-4MSWUSB3M ซึ่งเป็นรุ่นเดียวที่มีการให้ข้อมูลบนฉลากที่ดี (แต่น่าเสียดายที่คำเตือนเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ มีเพียงสองบรรทัดแรกที่เป็นภาษาไทย) - ไม่ควรใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟเกิน 2000 W - ควรเก็บให้ห่างความชื้น- ควรใช้กับเต้ารับที่ได้มาตรฐาน (โหลดสูงสุด 240 โวลท์ และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 10A) และควรมีการติดตั้งสายดินเพื่อความปลอดภัย- รางปลั๊กไฟนี้ไม่สามารถป้องกันอุปกรณ์ของท่านได้ หากเกิดฟ้าผ่าลงที่ตัวบ้าน สายโทรศัพท์ หรือเสาอากาศ- อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินไม่สามารถป้องกันแรงดันเกินที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า เช่น การลัดวงจรลงดิน- สำหรับใช้ภายในบ้านและในบริเวณที่แห้งเท่านั้น- ในกรณีที่มีปัญหา ควรปรึกษาช่างไฟผู้มีประสบการณ์ ดาวโหลด ตารางการทดสอบค่ะ
สำหรับสมาชิก >เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ตัวอย่างหม้อหุงข้าวซื้อมาจากเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีราคาตั้งแต่ 459 บาท ถึง 1830 บาท แบ่งตามขนาดบรรจุได้แก่- หม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตร จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ TOSHIBA รุ่น RC- T 10 AFS (WS), SHARP รุ่น KS- 11ET และ HITACHI รุ่น RZ -10B- หม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 1 รุ่น ได้แก่ ยี่ห้อ PHILIPS รุ่น HD 4733- หม้อหุงข้าวขนาด 1.8 ลิตร จำนวน 7 รุ่น ได้แก่ OTTO รุ่น CR-180 T, MITSUMARU รุ่น AP- 618, KASHIWA รุ่น RC-180, TOMEX รุ่น TRC-KR 80, IMAFLEX รุ่น LP-919 A, SKG รุ่น SK- 18 F และ PANASONIC รุ่น SR- TEG 18 A ในการทดสอบครั้งนี้เราจะพิจารณาการหุงข้าวเต็มหม้อและการอุ่น การทดสอบหุงข้าว ใช้หม้อหุงข้าวขนาดบรรจุ 1.5 และ 1.8 ลิตร หุงข้าว 10 ถ้วยตวง และหม้อหุงข้าวขนาดบรรจุ 1 ลิตร หุงข้าว 5 ถ้วยตวง จับเวลาตั้งแต่เริ่มหุงจนข้าวสุก (สวิตช์หม้อข้าวดีดตัว เปลี่ยนจากการหุง (cooking mode) เป็นการอุ่น (warm mode)) และปล่อยให้ข้าวระอุเป็นเวลา 10 นาที หลังจากนั้นตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวแต่ละรุ่น เวลาและพลังงานในการหุงข้าวหม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตรจากผลการทดสอบหม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตร พบว่า TOSHIBA รุ่น RC- T10AFS (WS) ใช้เวลาในการหุงน้อยที่สุดคือ 22 นาที และใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดด้วยคือ 0.186 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากเราหุงข้าววันละ 1 ครั้ง พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการหุงข้าวทั้งปี คือ 68 กิโลวัตต์ชั่วโมง ส่วน HITACHI รุ่น RZ- 10B และ SHARP รุ่น KS-11 ET ใช้เวลาในการหุง 24 นาทีเท่ากัน ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 0.2 กิโลวัตต์ชั่วโมง (ดูรายละเอียดในตาราง)- หม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตร และ1.8 ลิตร- หม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตรของ PHILIPS รุ่น HD 4733 ขนาดบรรจุ 1.5 ลิตร จะใช้เวลาในการหุง นานที่สุด เมื่อเทียบกับหม้อหุงข้าวขนาด 1.8 ลิตร ที่นำมาทดสอบ คือใช้เวลา 35 นาที แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดคือ 0.265 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับหม้อหุงข้าวขนาด 1.8 ลิตร PANASONIC รุ่น SR-TEG 18A ใช้เวลาในการหุงน้อยที่สุดคือ 24 นาที และใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดคือ 0.266 กิโลวัตต์ชั่วโมง (ดูรายละเอียดในตาราง)จากการทดสอบหุงข้าว ทั้ง 11 รุ่น พบว่าได้ข้าวสุกที่สุกอย่างทั่วถึง สามารถรับประทานได้ ความนุ่มของข้าวไม่ต่างกัน พลังงานในการอุ่นข้าวทดสอบโดยหุงข้าวเต็มหม้อ (หม้อขนาดบรรจุ 1 ลิตร ใช้ข้าว 5 ถ้วยตวง และหม้อขนาดบรรจุ 1.8 ลิตร ใช้ข้าว 10 ถ้วยตวง) และอุ่นข้าวที่หุงสุกแล้ว นาน 8 ชั่วโมง ผลการทดสอบเรียงตามการใช้พลังงานจากน้อยไปหามากดังนี้หม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตร- หม้อหุงข้าว HITACHI รุ่น RZ- 10B ใช้พลังงานในการหุงและอุ่น 0.359 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 132 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าวTOSHIBA รุ่น RC- T10AFS (WS) ใช้พลังงาน 0.362 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 133 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว SHARP รุ่น KS-11 ET ใช้พลังงาน 0.435 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 159 กิโลวัตต์ชั่วโมง) สำหรับหม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตร และ1.8 ลิตร- หม้อหุงข้าว PHILIPS รุ่น HD 4733 ขนาดบรรจุ 1.5 ลิตร ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดคือ 0.403 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 148 กิโลวัตต์ชั่วโมง) - หม้อหุงข้าว OTTO รุ่น CR- 180 T ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.589 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 215 กิโลวัตต์ชั่วโมง) - หม้อหุงข้าว IMAFLEX รุ่น LP-919 A และหม้อหุงข้าว SKG รุ่น SK-18F ใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากันคือ 0.612 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 224 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว MITSUMARU รุ่น AP- 618 ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.726 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 265 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว TOMEX รุ่น TRC-KR 80 ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.78 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 285 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว PANASONIC รุ่น SR-TEG 18A ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.792 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 290 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว KASHIWAรุ่น RC- 180 ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.805 กิโลวัตต์ชั่วโมง ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด ในการทดสอบครั้งนี้ (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 294 กิโลวัตต์ชั่วโมงจากการทดสอบอุ่นข้าวเป็นเวลา 8 ชั่วโมงพบว่า หม้อหุงข้าวทั้ง 11 รุ่น ไม่เกิดการไหม้ติดที่ก้นหม้อ ข้าวที่ผ่านการอุ่นเมล็ดข้าวนุ่ม รับประทานได้ดีหมายเหตุ การคำนวณการใช้พลังงานทั้งปีคิดจาก จำนวนพลังงานที่ใช้ในการหุงและอุ่น 365 วันวัสดุและการเคลือบผิวเราสามารถแบ่งหม้อหุงข้าวด้านในได้เป็น 2 ประเภทตามวัสดุในการผลิต คือ หม้อที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) และทำจากอลูมิเนียม วัสดุหม้อหุงข้าวตัวอย่างที่เรานำมาทดสอบเกือบทุกรุ่น จะมีหม้อในที่ผลิตจากวัสดุประเภทเหล็กสแตนเลสสตีล ยกเว้นหม้อในของHITACHI รุ่น RZ- 10B สมบัติของหม้อในที่ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมคือ ผิวมันแวววาว ไม่เป็นสนิม สามารถเก็บความร้อนได้ดี เพราะเหล็กกล้าไร้สนิม เป็นตัวนำความร้อนที่ไม่ดี นอกจากนี้ มีน้ำหนักมาก เมื่อเปรียบเทียบกับอลูมิเนียม หม้อในที่ผลิตจากอลูมิเนียม จะมีน้ำหนักเบา และไม่เป็นสนิม ร้อนเร็ว เนื่องจากอลูมิเนียมเป็นตัวนำความร้อนที่ดี แต่เก็บความร้อนไม่ดีเหมือนเหล็กกล้าไร้สนิม เคลือบเทฟลอนเทฟลอนเป็นสารเคมีสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า Polytetrafluorethylene (PTFE) ซึ่งมีสมบัติที่ดีต่อการเคลือบผิว ป้องกันการเกาะติดแน่นของตะกรันและข้าวที่หุง ทนต่อความร้อน และสารเคมี บางครั้งอาจจะเติมส่วนผสมประเภทวัสดุเซรามิคลงไปผสม เพื่อความความแข็งแรง หรืออาจจะเติมวัสดุประเภทบรอนซ์ซึ่งเป็นโลหะผสม เพื่อเพิ่มสมบัติในการนำความร้อน ข้อควรระวังในการใช้งานไม่ควรให้ความร้อนหรือเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ จนทำให้หม้อเปล่ามีอุณหภูมิสูง เพราะวัสดุเทฟลอนสามารถปล่อยไอระเหยที่เป็นพิษออกมาได้หากอุณหภูมิเกินกว่า 360 องศาเซลเซียส ซึ่งไอระเหยสารพิษที่ปล่อยมานี้ จะทำให้เกิด อาการที่เหมือนกับคนเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ เราเรียกว่า Teflon fever จากการทดสอบ พบว่าไม่มีหม้อหุงข้าวรุ่นใดให้ความร้อนสูงเกินกว่า 360 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยครีมเทียม (ดูรูปภาพประกอบ 1 ก) พบว่าหม้อที่ไม่เคลือบเทฟลอน ครีมเทียมที่ไหม้ติดแน่นที่ก้นหม้อ ทำความสะอาดยาก (รูป 1 ข และ 1 ค) เทียบกับหม้อในที่เคลือบเทฟลอน ครีมเทียมที่ไหม้สามารถหลุดร่อนออกมาได้ง่าย (รูป 1 ง) อุณหภูมิสูงสุดและการกระจายตัวของความร้อนการกระจายตัวของความร้อนของหม้อในที่ดี ต้องสม่ำเสมอ ไม่ควรจะกระจุกตัวอยู่จุดเดียวเพราะ จะทำให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงมาก อาจทำให้ข้าวบริเวณนั้นไหม้ติดก้นหม้อได้ ในขณะที่บริเวณอื่นจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า จากการทดสอบโดยการใช้ครีมเทียม และให้ความร้อนหม้อหุงข้าวจนกระทั่งหม้อเปลี่ยนจากฟังค์ชันการหุงเป็นการอุ่น พบว่า - หม้อหุงข้าว OTTO, MITSUMARU, KASHIWA, TOMEX, IMAFLEX, SKG, PANASONIC, SHARP และ มีการกระจายตัวของความร้อนที่สม่ำเสมอ และร้อนเร็ว ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับหม้อหุงข้าวอื่นๆ และเมื่อวัดอุณหภูมิที่ก้นหม้อจะได้ค่าอุณหภูมิสูงสุด ตั้งแต่ 170- 290 องศาเซลเซียส (ดูรูป 2 ก) - หม้อหุงข้าวที่มีการกระจายตัวของความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอ คือ หม้อหุงข้าว PHILIPS รุ่น HD 4733 และหม้อหุงข้าว TOSHIBA (ดูรูป 2 ข) หม้อหุงข้าวที่มีการกระจายตัวของความร้อนได้ช้า คือ หม้อหุงข้าว HITACHI รุ่น RZ- 10B จากรูปจะเห็นว่าอุณหภูมิจะต่ำมากจนครีมเทียมไม่เปลี่ยนสี อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ คือ 150 องศาเซลเซียส (ดูรูป 2 ค)คู่มือการใช้งาน- หม้อหุงข้าว HITACHI รุ่น RZ- 10B อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อแนะนำเรื่องความปลอดภัย และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพประกอบมาก มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย - หม้อหุงข้าวTOSHIBA รุ่น RC- T10AFS (WS) อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพประกอบมาก อ่านง่าย สะบายตา มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย- หม้อหุงข้าว SHARP รุ่น KS-11 ET อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อแนะนำเรื่องความปลอดภัย และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพประกอบมาก มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายหม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตร และ1.8 ลิตร- หม้อหุงข้าว PANASONIC รุ่น SR-TEG 18A อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อแนะนำเรื่องความปลอดภัย และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพประกอบมาก มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย และเครือข่ายศูนย์บริการ - หม้อหุงข้าว PHILIPS รุ่น HD 4733 ขนาดบรรจุ 1.5 ลิตร อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว ข้อควรจำ วิธีปฏิบัติก่อนการใช้งานครั้งแรก การใช้งาน การรับประกันและการใช้งาน การแก้ปัญหา ให้ข้อมูลของสินค้าละเอียด แต่ตัวหนังสือมีขนาดเล็กมาก และภาพประกอบแยกไปไว้ด้านหลังของเล่มทำให้ไม่สะดวกในการอ่าน - หม้อหุงข้าว OTTO รุ่น CR- 180 T อธิบายชิ้นส่วนปะกอบของหม้อหุงข้าว การใช้งานแบบง่ายๆ ข้อควรระวังและแนะนำการต่อสายดิน มีข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค - หม้อหุงข้าว MITSUMARU รุ่น AP- 618 อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว การใช้งานเพื่อความปลอดภัย ข้อควรระวังในการใช้งาน วิธีทำความสะอาด และข้อมูลทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่ายพร้อมรูปภาพประกอบ - หม้อหุงข้าว KASHIWAรุ่น RC- 180 สินค้าบางตัวไม่มีคู่มือการใช้งาน และคู่มือการใช้งานที่พบเป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย - หม้อหุงข้าว TOMEX รุ่น TRC-KR 80 อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ไม่มีข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค และที่อยู่ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย แต่มีเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์บริการ- หม้อหุงข้าว IMAFLEX รุ่น LP-919 A อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย- หม้อหุงข้าว SKG รุ่น SK-18F อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อแนะนำเรื่องความปลอดภัย และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพแต่ไม่คมชัด มีที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ของบริษัทที่ผลิต ดาวโหลด File ตารางการทดสอบหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทที่จัดจำหน่ายหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่เรานำมาทดสอบ Sharp บริษัท ชาร์ปไทย จำกัด952 อาคารรามาแลนด์ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2638-3500 โทรสาร 0-2638-3900 ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0-2638-3888www.sharpthai.co.th Toshibaบริษัท โตชิบาไทยแลนด์ จำกัด201 ซ.เผือกจิตร ถ.วิภาวดีรังสิต จตุจักร กรุงเทพฯโทรศัพท์ 0-2512-0270-81โทรสาร 0-2513-0305ศูนย์บริการข้อมูล 0-2939-5611www.toshiba.co.th Panasonic บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 75 ถนนเสรีไทย แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230โทรศัพท์ 0-2731-8888โทรสาร 0-2731-9976ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0-2729-9000www.panasonic.co.th Hitachiศูนย์บริการสำนักงานใหญ่ บริษัท ฮิตาชิเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 994,996 ซอยทองหล่อ ถนนสุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2381-8381-98 โทรสาร 0-2381-9520www.hitachi-th.com Philipsบริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัดเลขที่ 1768 ชั้น 26-28 อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320โทรศัพท์ 0-2614-3333 แฟกซ์ 0-2614-3444 ศูนย์ข้อมูลผู้บริโภคฟิลิปส์ โทรศัพท์ 0-26528652www.philips.co.th Sanyoบริษัท ซันโย (ประเทศไทย) จำกัดอาคารซันโย 795 ถ.พระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310โทรศัพท์ 0-2308-6999 แฟกซ์ 0-2318-6211ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0-2308-6900 Hanabishiบริษัท ฮานาบิชิ อิเลคทริค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 3/1-2, 3/72 หมู่ 5 ซอยสุขสวัสดิ์ 14 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ (อัตโนมัติ): 0-2468-2244, 0-2476-3888, 0-2877-0285โทรสาร: 0-2877-0288-89www.hanabishi.co.th Imarflexบริษัท อิมาร์เฟล็กซ์ อินดัสเตรียล จำกัด68/13 ม.9 ถนนธนบุรี-ปากท่อ แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0-2450-0033โทรสาร 0-2452-1277www.imarflex.co.thE-mail : service@imarflex.co.th SKGบริษัท เอส เค จี อีเล็คทริค กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัดซ.เอกชัย 131 แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150โทรศัพท์ 0-2892-2888, 0-2892-5082-87, 0-2894-8623-32www.skgelectric.com Tomexบริษัท คลาสสิค คลาส จำกัด38/80 ม.7 ใกล้แยกบางพลู ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110โทรศัพท์ 0-2926-7550 www.tomex.co.th Mitsumaruบริษัท ที เอ ที (ประเทศไทย) จำกัด 36/11 ม.2 ซ.บางบอน 5 ถ.เอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150โทรศัพท์ 0-2892-5950 โทรสาร 0-2892-5959www.mitsumaru.com Ottoบริษัท ออตโต้ คิงส์กลาส จำกัด88 ม.7 ถ.บรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170โทรศัพท์ 0-2888-3555โทรสาร 0-2800-4500-4
สำหรับสมาชิก >