นักวิชาการแย้งกฤษฎีกา ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. ... ไม่ขัด รธน.

(29 ต.ค.61) ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น - กรุงเทพฯเวทีเสวนา ความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. …. ฉบับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตั้งแต่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 มิ.ย.61 ได้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อเข้าสู่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ โดยเนื้อหาร่างกฎหมายดังกล่าว ถูกคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 46 จึงได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. …. ขึ้นใหม่ โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ และมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตัวแทนจากองค์กรผู้บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างกฎหมายด้วยโดยนักวิชาการได้อภิปรายโต้แย้ง 3 ประเด็น คือ 1. ไม่มีหลักประกันงบประมาณของสภา ต้องของบประมาณผ่านหน่วยงานรัฐ ขอตรงไม่ได้ ซึ่งอาจไม่เป็นอิสระในการทำงาน  2. เปิดโอกาสให้มีหลายสภา ทำให้ไม่เป็นองค์กรที่จะมีตัวแทนผู้บริโภคเพียงหนึ่งเดียวที่มีพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค 3. ยืนยันว่าร่างกฎหมายสภาผู้บริโภคของ สคบ. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างที่กฤษฎีกาให้ความเห็น

อ่านเพิ่มเติม >

8 มาตรการความปลอดภัยรถสองชั้นและการคุ้มครองผู้บริโภค

รถสองชั้นสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวที่เป็นเส้นทางขึ้นเขาลงเขามีทางลาดชั้น และรถสองชั้นมักเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มี คู่กรณี ซึ่งก็คือ “ไม่ชนกับใคร” แต่จะเป็นการเสียหลักแล้วชนกับวัตถุข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นการเสียหลักชนคันทาง ชนต้นไม้ ชนเสาไฟฟ้า ชนแบริเออร์ หรือการ์ดเรล และจบลงด้วยการพลิกคว่ำในที่สุด8 มาตรการความปลอดภัยรถสองชั้นและการคุ้มครองผู้บริโภคจากเหตุการณ์ รถทัวร์สองชั้นไม่ประจำทาง ที่เสียหลักข้ามเกาะกลางถนนชนเพิงพักของชาวบ้านข้างทาง บริเวณทางหลวงหมายเลข 304 อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 19 ราย และบาดเจ็บ 31 ราย นั้น  ถือเป็นเรื่องสะเทือนขวัญที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะจำนวนมาก และหลังเกิดเหตุหลายหน่วยงานจากหลายภาคส่วน ต่างพูดกันถึงอนาคตรถสองชั้นว่าจะไปยังไงต่อ อย่างกระทรวงคมนาคมที่สั่งการให้กรมการขนส่งทางบก เร่งศึกษาแนวทางกำหนดการให้บริการของรถโดยสารหมวด 30 (สามศูนย์) หรือ รถโดยสารไม่ประจำทาง โดยเฉพาะรถสองชั้นที่ปัจจุบันมีอยู่มากกว่า 5,000 คัน โดยให้มีการกำหนดเส้นทาง รวมทั้งพื้นที่ให้บริการใหม่ทั้งหมด เช่น การจำกัดว่าเส้นทางที่ไม่คุ้นเคยจะไม่อนุญาตให้ทำการวิ่งโดยเด็ดขาด หรือ จำกัดให้วิ่งเฉพาะในจังหวัดนั้นๆ โดยจะต้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2561 รวมถึงยังมีประเด็นผ่านสื่อกระแสหลักและสื่อสาธารณะทั่วไปอีกว่า ในปี 2563 รถสองชั้นจะหมดไปจากท้องถนนในประเทศไทย แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีข่าวสารใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางแก้ไขปัญหารถสองชั้นของกระทรวงคมนาคมที่สั่งกรมการขนส่งทางบกให้คิดแผนจัดการออกมา รวมถึงไม่มีการแก้ไขข่าวสารที่สื่อมวลชนระดมว่าปี 2563 รถสองชั้นจะหมดไปจากประเทศไทยด้วยจากสถานการณ์ที่ค่อนข้างเงียบเหงานี้ ผู้บริโภคจะต้องรู้อะไรบ้าง เพราะผู้บริโภคยังต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงกันเอง และคาราคาซังกันต่อไปว่า รถสองชั้นปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ได้จัดงานเวทีเสวนาปัญหารถโดยสารสองชั้นกับนโยบายรัฐที่ต้องทบทวนขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายนักวิชาการและเครือข่ายผู้บริโภคเข้าร่วม เพื่อระดมความคิดและแลกเปลี่ยน ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการรถสองชั้น รศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทยนำเสนอข้อมูลว่า รถสองชั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่ารถชั้นเดียว ถึง 8 เท่า และรถสองชั้นมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่ารถชั้นเดียวถึง 10 เท่า โดยเป็นการเทียบจำนวนอุบัติเหตุกับจำนวนรถจดทะเบียน หรือที่เรียกว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุและอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนรถจดทะเบียน 10,000 คันนอกจากนี้จากข้อมูลการศึกษาเชิงลึกจากสถิติอุบัติเหตุรถสองชั้นพบว่า รถสองชั้นสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวที่เป็นเส้นทางขึ้นเขาลงเขามีทางลาดชั้น และรถสองชั้นมักเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มี คู่กรณี ซึ่งก็คือ “ไม่ชนกับใคร” แต่จะเป็นการเสียหลักแล้วชนกับวัตถุข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นการเสียหลักชนคันทาง ชนต้นไม้ ชนเสาไฟฟ้า ชนแบริเออร์ หรือการ์ดเรล และจบลงด้วยการพลิกคว่ำในที่สุด และยังพบอีกว่าในรถสองชั้นเมื่อเกิดการพลิกคว่ำจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงกว่ารถชั้นเดียว ถึง 3 เท่า ขณะที่นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เสนอ 8 มาตรการความปลอดภัยรถสองชั้นและการคุ้มครองผู้บริโภค คือ 1.เสนอให้รัฐซื้อรถคืนหรือสนับสนุนให้เปลี่ยนรถจากรถสองชั้นเป็นรถชั้นเดียว  2.กำหนดเส้นทางเสี่ยงอันตรายสำหรับรถสองชั้น 3.รถที่ผ่านการทดสอบพื้นเอียง 30 องศาต้องมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดเจนบริเวณด้านหน้าตัวรถและบริเวณข้างรถ 4. เปิดเผยข้อมูลการจดทะเบียน สถิติอุบัติเหตุ การกระทำความผิดของผู้ประกอบการ ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลตัดสินใจเลือกใช้บริการ  5. การกำหนดความเร็วของ GPS ให้สอดคล้องกับสภาพถนนและเส้นทางเสี่ยง 6. การกำหนดหลักเกณฑ์ใบอนุญาตขับขี่เฉพาะรถขนาดใหญ่ที่มีความสูงเกิน 3.80 เมตร เนื่องจากเป็นรถขนาดใหญ่ที่มีการควบคุมบังคับยากกว่ารถขนาดเล็ก  7. ปรับเพิ่มวงประกันภาคบังคับในกรณีเสียชีวิตจาก 300,000 เป็น 1 ล้านบาท และกรณีบาดเจ็บจาก 80,000 เป็น 150,000 บาท  8.ปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองอุบัติเหตุประกันภัยภาคสมัครในจาก 10 ล้านบาทต่อครั้ง เป็น 30 ล้านบาทต่อครั้ง แต่อย่างไรก็ดี การจะผลักดันและขับเคลื่อนให้ข้อเสนอต่อมาตรการความปลอดภัยและการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 8 ข้อในประเด็นรถสองชั้นให้มีผลในทางปฏิบัตินั้นยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เพราะมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลและกลุ่มบุคคลหลายฝ่าย อีกทั้งผู้แทนกรมการขนส่งทางบกและกรมทางหลวงที่มาร่วมเวทีก็ยังไม่สามารถตอบคำถามให้ชัดเจนได้ว่า จากข้อเสนอ 8 ข้อ มาตรการอะไรบ้างที่กรมการขนส่งทางบกจะทำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการแก้ไขปัญหารถสองชั้น แต่กลับกันสิ่งที่คิดว่าได้รับคำตอบชัดเจนและคลายข้อสงสัยได้ คือ ในปี 2563 จะยังมีรถสองชั้นวิ่งอยู่ ไม่ได้หมดไปตามที่ข่าวลงไว้แน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 สูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่า จริงหรือ ?

จากผลสำรวจ ปี 2560 พบประชากรไทย ราว 10.7 ล้านคน บริโภคยาสูบ(ชนิดมีควัน) หรือเท่ากับ ร้อยละ 19.1 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป อันตรายจากการสูบบุหรี่จากผลสำรวจสถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย จากโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ปี 2560 พบว่า จำนวนผู้บริโภคยาสูบชนิดมีควัน คือ 10.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.1 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยมีอัตราการบริโภคยาสูบในเพศชายร้อยละ 37.7 และในเพศหญิงร้อยละ 1.7และจากการสำรวจการได้รับควันบุหรี่มือสองในช่วงระยะเวลา 30 วัน พบว่า 17.3 ล้านคน ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านอย่างน้อยเดือนละครั้งการสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่นๆ อีกด้วยโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบควันนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของการสูบ สารที่สูบ และความถี่ จากสถิติพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดประมาณ 10 - 20 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่ การสูดสารพิษและสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ เช่น เรดอนและเรเดียม-226 เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งจากบุหรี่ธรรมดาสู่บุหรี่ไฟฟ้าจากการให้ข้อมูลที่ชัดเจนทั้งในทางสถิติและคำเตือนที่หน่วยงานรัฐได้พยายามแจ้งสื่อสารต่อประชาชนมาเป็นเวลาหลายสิบปี ทุกคนน่าจะตระหนักดีถึงอันตรายอันร้ายแรงของการสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามผู้ที่เสพติดการสูบบุหรี่ การละเลิกจากสิ่งนี้อาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย นวัตกรรมหนึ่งจึงเกิดขึ้น เราเรียกมันว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” หรือให้ถูกต้องคือ “ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่ง “ฉลาดซื้อ” เราจะมาหาคำตอบกันว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่(ธรรมดา) จริงๆ หรือ ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป จริงหรือ ?   คำตอบคงต้องแบ่งเป็นสองประการ คือ ถ้าจะวัดกันที่ว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ปล่อยควันยาสูบที่เป็นอันตราย บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายตรงนี้น้อยกว่าจริง   แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าอาจได้รับมีสารตกค้าง และความเสี่ยงในการรับนิโคตินมากเกินไปบุหรี่ไฟฟ้าได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะจากบริษัทบุหรี่ว่า อาจไม่มีความปลอดภัยในการใช้ นอกจากนี้บริษัทยาขนาดใหญ่ที่สนใจเกี่ยวกับยาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ เช่น แผ่นแปะนิโคติน หรือเม็ดอมนิโคติน ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างเป็นธูปธรรมต่อกลุ่มสาธารณสุขเพื่อเรียกร้องให้มีการห้ามยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีผลต่อความอยากบุหรี่ และอาจทำให้เลิกบุหรี่ได้ บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์และได้รับการยอมรับในหลายประเทศ แต่ก็เป็นสินค้าผิดกฎหมายในอีกหลายประเทศเช่นกันในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการห้ามนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศโดยใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ - พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 เรื่องห้ามผลิต นำเข้า เพื่อขายหรือเพื่อจ่ายแจกเป็นการทั่วไปหรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรูปลักษณะ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิการ์แรต หรือบุหรี่ซิการ์ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท - พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510  มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำ หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นได้แต่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา 72 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขาย หรือนำเข้า หรือสั่งนำเข้ายาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มาในราชอาณาจักร ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท - พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจำกัดหรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรสยาม ความผิดครั้งหนึ่งจะมีโทษปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรขาเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำโดยกระทรวงสาธารณสุขอ้างว่า พบปริมาณนิโคตินสูงกว่าบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า และมีผลเสียต่อผู้ที่สูบ หากสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวน หากนำไปใช้โดยปราศจากการดูและของแพทย์จะเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ขณะเดียวกันผู้ใช้ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ก็มีการโต้แย้งว่าบุหรี่จริง มีนิโคตินที่ได้รับจากการเผาไหม้ใบยาสูบ ซึ่งนอกจานิโคตินแล้ว ยังมีสารก่อมะเร็งและสารพิษมากมายปัจจุบันในสังคมไทยยังไม่อนุญาตให้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า และไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประกาศแล้วว่าบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยเลิกบุหรี่ จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA ชี้ว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้า (e-cigarette) ไม่ได้ทำให้อัตราการเลิกบุหรี่ลดลง หลังจากการใช้ 1 ปี แต่อย่างใดแม้ว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะปราศจากส่วนผสมของใบยาสูบ และการสันดาปที่ก่อให้เกิดสารพิษกว่า 7,000 ชนิด ในบุหรี่จริงก็ตาม แต่ผู้สูบยังคงได้รับนิโคตินอยู่ ซึ่งการรับนิโคตินที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ และมีผลต่อหัวใจได้ จึงไม่อาจกล่าวว่า ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เรื่องต้องรู้ ความต่างของบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าบุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 12 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุอยู่ภายใน ปลายด้านหนึ่งใช้สำหรับจุดไฟ อีกด้านจะมีตัวกรองใช้สำหรับใช้ปากดูดควันไส้บุหรี่ ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นสารพิษ สารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และสารก่อมะเร็ง สารเคมีที่มีอยู่ในบุหรี่ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide), คลอโรฟอร์ม (Chloroform), ไซยาไนด์/ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Cyanide/Hydrogencyanide), ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde), นิโคตีน (Nicotine), ทาร์ (Tar)บุหรี่ไฟฟ้า หรือ ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cigarette) หรือบุหรี่ไอน้ำ (Vapor Cigarette) คือผลิตภัณฑ์ยาสูบจำพวกบุหรี่ บุหรี่ซิการ์ และบุหรี่แบบกล้องสูบ ซึ่งทำขึ้นจากอุปกรณ์ประจุแบตเตอรีที่จะส่งผ่านนิโคตินไปยังผู้สูบ โดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่คล้ายกับบุหรี่จริง กับแบบที่เรียกว่าแบบปากกา (Pen style) มีลักษณะเหมือนบุหรี่ที่มีปลายด้านก้นกรองเสียบอยู่กับตัวต่อก้นกรองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้านั้นถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีนบุหรี่ไฟฟ้าสามารถอดแยกชิ้นส่วนได้เป็น 3 ส่วน คือ- ส่วนแบตเตอรี่ (Battery) คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวบุหรี่ มีความยาวราว 55-80 มิลลิเมตร ส่วนปลายมักมีหลอดไฟแอลอีดี (LED) แสดงสถานะการทำงาน และแจ้งเตือนระดับแบตเตอรี่ มีทั้งแบบอัตโนมัติและแบบตรวจด้วยมือ- ส่วนตัวสร้างควัน และความร้อน (Atomizer) คือ ส่วนกลาง จะมีไมโครชิพ (Microship Circuit) ควบคุมการทำงาน และขดลวดอิเล็กตรอนเพื่อเปลี่ยนน้ำยา (e-Liquid) ให้กลายเป็นละอองไอน้ำ และสร้างกลิ่นเสมือนบุหรี่จริง- ส่วนเก็บน้ำยา (Cartridge) หรือส่วนปากดูด (Mouth piece) จะมีรูปร่างคล้ายปากเป็ด หรือทรงกระบอก และอีกด้านหนึ่งจะเป็นกระเปาะใส่วัสดุซับน้ำยาไว้นอกจากส่วนประกอบในตัวเครื่องแล้ว ส่วนประกอบสำคัญของยาสูบอีกอย่างคือ น้ำยา (e-Liquid) ซึ่งผลิตจาก สารโพรพีลีน กลีเซอรอล (Propylene Glycerol) หรือ สารโพรพีลีน ไกลคอล (Propylene Glycol) หรือเรียกสั้นๆ ว่าสารพีจี (PG) ซึ่งเป็นตัวทำละลายระดับที่บริโภคได้ (Food-grade) ซึ่งสารพีจีนั้นมีอยู่ในเครื่องสำอางแทบทุกชนิด รวมทั้งในผลิตภัณฑ์จำพวก แชมพู สบู่ โฟมล้างหน้า หรือแม้กระทั่งลูกอม สารพีจีนี้อาจมีการสะสมหรือระคายเคืองหากได้รับเป็นเวลานานระดับของสารนิโคตินในน้ำยา โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ดังนี้- ระดับสูงมาก (Extra High) มีระดับนิโคติน 20 - 24 มิลลิกรัม- ระดับสูง (High) มีระดับนิโคติน 16 - 18 มิลลิกรัม- ระดับปานกลาง (Medium) มีระดับนิโคติน  11 - 14 มิลลิกรัม- ระดับต่ำ (Low) มีระดับนิโคติน  4 - 8 มิลลิกรัม- ไม่มีนิโคติน (Non) มีระดับนิโคติน   0 - 2 มิลลิกรัมนอกจากนี้ ยังมีบางบริษัทที่ผลิตระดับนิโคตินสูงสุด (Super High) คือ 34 มิลลิกรัม ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณมากควันที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า คือ ไอน้ำที่เกิดจากปฏิกิริยาของสารพีจีที่ถูกคลื่นความร้อนไมโครเวฟจากตัวสร้างควันทำให้แตกตัวและดูดน้ำในอากาศกลายเป็นสายหมอกไอน้ำสีขาว ที่มีความคล้ายคลึงกับไอน้ำจากกาต้มน้ำ แต่มีความหนาแน่นและรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากควันบุหรี่จริงที่มีสีออกเทาแม้ว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะปราศจากส่วนผสมของใบยาสูบ และการสันดาปที่ก่อให้เกิดสารพิษกว่า 7,000 ชนิด ในบุหรี่จริงก็ตาม แต่ผู้สูบยังคงได้รับนิโคตินอยู่ ซึ่งการรับนิโคตินที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ และมีผลต่อหัวใจได้ จึงไม่อาจกล่าวว่า ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ต้องการลดปริมาณพิษสะสม อันเกิดจากบุหรี่จริงและเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่จริงนั้น ถูกต้องหรือไม่ ฉลาดซื้อจึงได้สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพื่อคลายข้อสงสัยดังกล่าว“ความจริงอันหนึ่งที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ ถ้าคนสูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่เลย อันตรายจะน้อยกว่าซึ่งอันนี้จริง ปัญหาส่วนใหญ่ก็คือ คนที่สูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียวแต่สูบทั้งสองอย่าง เขาจะสูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อไปในที่ๆ คนไม่ให้สูบบุหรี่ แต่เมื่อไหร่ที่เขาอยู่ในที่ๆ เขาสูบบุหรี่ได้ เขาก็จะสูบบุหรี่”จริงหรือไม่ ที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยไม่ให้เกิดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ ? ศ.นพ.ประกิต ได้ให้ข้อมูลว่า จากรายงานขององค์กร The National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine หรือ สถาบันวิชาการทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (https://www.nap.edu/catalog/24952/public-health-consequences-of-e-cigarettes) ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นกลาง ได้สรุปรายงานเมื่อ เดือนมกราคม 2561 ว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้าสามารถลดตัวเลขสถิติของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ลง แต่กลับกันมีแนวโน้มว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้เกิดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน ซึ่งเริ่มเข้ามาสูบบุหรี่ไฟฟ้า จากการติดตามในระยะเวลา 1 - 2 ปี ผลปรากฏว่า เด็กเหล่านั้นกลายมาสูบบุหรี่จริง มากกว่าเด็กที่ไม่ได้สูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 3 - 4 เท่า ซึ่งพบว่ามีรายงานในลักษณะนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นที่น่ากังวลก็คือ บุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย มีความเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่า เพราะไม่เหม็นเหมือนบุหรี่ธรรมดา ก็เริ่มติดบุหรี่ไฟฟ้า ติดนิโคติน แล้วก็เริ่มหันไปสูบบุหรี่จริง แม้แต่รายงานของคณะกรรมาธิการสาธารณสุขของประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ก็ได้มีการสั่งให้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ที่บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้เยาวชนติดนิโคติน และหันมาสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น นี่คือประเด็นที่ประเทศออสเตรเลียก็ห่วงเช่นกันผู้ที่หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่ธรรมดา สามารถเลิกบุหรี่ได้จริงหรือ ?ศ.นพ.ประกิต ได้ให้ข้อมูลว่า มีหลักฐานรายงานที่ให้ข้อเท็จจริงว่า คนที่สูบบุหรี่จริงแล้วหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อการเลิกบุหรี่นั้น ไม่ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมการวิจัย โดยพบว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่ ยังคงต้องทำพร้อมกันควบคู่ไปกับการเข้ารับคำแนะนำ ตัวยา และกำลังใจจากแพทย์ผู้ดูแล การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่ด้วยตนเองนั้น มีโอกาสที่จะเลิกได้น้อยกว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าภายใต้ความดูแลของหมอ ซึ่งคล้ายกันกับการใช้ยาอดบุหรี่ “ความจริงอันหนึ่งที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ ถ้าคนสูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่เลย อันตรายจะน้อยกว่าซึ่งอันนี้จริง ปัญหาส่วนใหญ่ก็คือ คนที่สูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียวแต่สูบทั้งสองอย่าง เขาจะสูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อไปในที่ๆ คนไม่ให้สูบบุหรี่ แต่เมื่อไหร่ที่เขาอยู่ในที่ๆ เขาสูบบุหรี่ได้ เขาก็จะสูบบุหรี่”บุหรี่ไฟฟ้านั้นยังพัฒนาไม่เต็มที่ เพราะการส่งนิโคตินไปสู่สมองยังไม่เท่าบุหรี่จริง ในแง่ความรื่นรมย์ การใช้บุหรี่ไฟฟ้ายังให้ความรื่นรมย์ในการสูบสู้บุหรี่จริงไม่ได้ ถ้าคนที่สูบบุหรี่ธรรมดาหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่จริงได้ อันตรายจะน้อยกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดาแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าความตั้งใจเลิกบุหรี่ด้วยวิธีอื่นๆ โดยไม่พึ่งบุหรี่ไฟฟ้านั้นสามารถเลิกได้มากกว่าบุหรี่จริงนั้นมีการพัฒนามานานกว่าสองสามร้อยปี แต่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้านั้นเพิ่งพัฒนาได้ไม่ถึง 10 ปี และบุหรี่ไฟฟ้าก็มีการเปลี่ยนเทคนิคการผลิตไปเรื่อยๆบุหรี่ไฟฟ้ารุ่นแรก มีการนำขดลวดและสำลีชุปน้ำยาซึ่งสูบได้ 200 ครั้ง มีแบตเตอรี่ในตัว ใช้เสร็จแล้วทิ้งได้เลย ส่วนในน้ำยามีนิโคตินและสารเคมีอีกหลายตัว ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าก็มีทั้งประเภทเหลว หรือ แบบน้ำ รวมถึงล่าสุด มีการผลิตบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้ง (ที่ไม่ใช่นิโคตินเหลว) มีตัวชาร์จแบตเตอรี่ และตัวสูบ แยกออกจากกัน เมื่อดูดแล้วเกิดความร้อนซึ่งทำให้เกิดควัน บุหรี่ไฟฟ้าแบบใหม่นั้น ส่วนที่เป็นยาเส้น ไม่ใช่ใบยาแบบบุหรี่ธรรมดา แต่เป็นใบยาที่บดเป็นผง ใส่สารเคมี แล้วรีดเป็นแผ่น จากนั้นจึงตัดเป็นใบยาใหม่ แต่ยังคงใช้ความร้อนจากแบตเตอรี่เหมือนกันในประเทศญี่ปุ่น และออสเตรเลีย มีกฎหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าที่เติมน้ำยาแบบเหลว เพราะนิโคตินถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในกฎหมายยาพิษ ในประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งได้ เพราะไม่มีส่วนประกอบของนิโคตินเหลว (ซึ่งถือว่าเป็นยาพิษ) ส่วนประเทศออสเตรเลีย มีกฎหมายห้ามไม่ให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าทั้งรูปแบบนิโคตินแห้ง และ นิโคตินเหลวส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นอนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบเหลวได้ แต่ยังไม่อนุญาตให้ขายแบบแห้ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) ยังไม่เห็นด้วยกับบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้ง เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานที่มาสนับสนุนว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าชนิดน้ำที่ยังขายอยู่ในอเมริกา จะถูกออกกฎหมายควบคุมภายในปี 2021 กรณีดังกล่าวเป็นความหลากหลายของนโยบายในแต่ละประเทศต่อเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า อย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์ที่ห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิดบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งเพิ่งออกวางจำหน่ายในตลาดเพียงแค่ปีกว่าๆ ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งให้ควันที่น้อยกว่าบุหรี่จริง บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้มีเพียงแค่ผลิตภัณฑ์เดียว และยังมีส่วนประกอบต่างกันอีกด้วย ซึ่งบางรายงานก็บอกว่ามีอันตรายน้อย บ้างรายงานก็บอกว่าเยอะกว่า เพราะมีหลากหลายยี่ห้อ และประกอบไปด้วยสารเคมีกว่า 7,000 ตัวที่ใช้ทำกลิ่น (Favor)การซื้อบุหรี่ไฟฟ้าไปเพื่อใช้เลิกสูบบุหรี่เองส่วนใหญ่จะไม่สำเร็จ อาจจบลงด้วยการสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่จริง ซึ่งจากรายงานของสหรัฐอเมริกา พบว่า ภายใน 4 ปี เด็กมัธยมศึกษาตอนปลายสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 มาเป็นร้อยละ 16 ภายในระยะเวลา 4 ปี บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น เป็นสิ่งใหม่ ไม่มีกลิ่นเหม็น แอบสูบได้ ซึ่งปัจจุบันยังมีการพัฒนาให้ตัวสูบคล้ายกับธัมไดรฟ์ (Thumb Drive) ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแอบนำเข้าไปในโรงเรียนได้ คนไทยมีแนวโน้มสูบบุหรี่ธรรมดาลดลง แต่มีแนวโน้มในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขั้น จากข้อมูลสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558 จากการสำรวจระดับประเทศในเด็กช่วงอายุ 13 - 15 ปี พบว่ามีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 3.3 ซึ่งเป็นเพศชายร้อยละ 4.9 เพศหญิงร้อยละ 1.9 ในความเป็นจริงแล้วเด็กผู้หญิงในวัยนั้นก็เริ่มสนใจทดลองสูบบุหรี่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ไม่เลือกที่จะสูบต่อ คือทดลองแล้วเลิก เพราะสังคมไม่ยอมรับ ผู้หญิงนั้นมีการทดลองสูบบุหรี่ไม่ได้น้อยกว่าผู้ชายเท่าไหร่ มันเป็นธรรมชาติ แต่ผู้ชายมีการทดลองต่อ ซึ่งถ้าลองเกิน 100 มวน ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ลองจะติดบุหรี่ เพราะสารนิโคตินพูดกันให้ชัดในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าก็คือ ถ้าเราสามารถเปลี่ยนคนสูบบุหรี่ธรรมดาทั้งหมด ให้หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องดี แต่ปัญหาขณะนี้คือแนวโน้มมันอาจจะทำให้คนติดบุหรี่เพิ่มขึ้น จากคนที่ไม่ได้สูบ ก็เข้าไปติดบุหรี่ไฟฟ้า แล้วก็หันมาสูบบุหรี่จริง มันอันตรายในเชิงเพิ่มปริมาณคนสูบบุหรี่ให้เพิ่มขึ้นการนำเข้า - จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยตามกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ามาเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย รวมถึงกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งห้ามมิให้มีการขาย หรือให้บริการบุหรี่ไฟฟ้าแต่หากนักท่องเที่ยวนำเอาบุหรี่ไฟฟ้าติดตัวมาเพื่อใช้ส่วนตัว นั้นไม่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้นำเข้าเพื่อการจำหน่าย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไว้ เว้นแต่นำเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้สูบส่วนตัวสำหรับคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า นั้นไม่มีความผิดตามกฎหมาย จริงๆ ควรถามต่อไปว่าได้บุหรี่ไฟฟ้ามาจากไหน เพื่อสืบไปยังต้นตอที่นำมาจำหน่าย ซึ่งสำหรับคนขายนั้นมีความผิดทั้งจากการขาย และมีความผิดจากการนำเข้า ซึ่งไทยเองก็ยังไม่มีการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า เพราะยิ่งนับวัน ก็ยิ่งเห็นฤทธิ์ของบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และหลักฐานที่จะสนับสนุนว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้เองก็มีน้อยลงการห้ามมิให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นการจำกัดสิทธิผู้บริโภคหรือไม่ต้องคิดถึงภาพรวมว่า สุดท้ายแล้วบุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้คนสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ส่วนประเด็นว่าจะเป็นการจำกัดสิทธิผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่าประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศเดียวที่จำกัดสิทธิเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ในประเทศออสเตรเลียก็มีการห้าม ญี่ปุ่นก็ห้ามบุหรี่ไฟฟ้าบางประเภท สิงคโปร์นั้นห้ามหมดเลย ห้ามแม้แต่การมีครอบครองก็ผิดกฎหมาย ซึ่งก็แล้วแต่บริบทของแต่ละประเทศต้องให้ความจริงกับผู้บริโภค เพราะธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เบื้องหลังคนบางกลุ่มที่ออกมาให้ความเห็นต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะปิด หรือ เปิดขาย ก็ต้องให้ความรู้กับผู้บริโภคให้มากที่สุด เพราะบุหรี่ไฟฟ้าถูกบิดเบือนไปว่าไม่มีอันตรายซึ่งไม่ใช่ บุหรี่ไฟฟ้านั้นมีอันตราย แต่อาจจะน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ส่วนผลกระทบในระยะยาวยังไม่สามารถบอกได้ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า “มีคนไทยเข้าใจผิดว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยไม่มีอันตราย ซึ่งความเข้าใจผิดเหล่านี้มาจากคำของคนขาย เขาจะอ้างประเทศอังกฤษ ต้องเข้าใจเพราะอังกฤษเขาตายจากการสูบบุหรี่ปีละเกือบแสนคน ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเขาเต็มที่ จากการป่วยจากการสูบบุหรี่ เขาเลยโปรโมทให้สูบบุหรี่ไฟฟ้า และเขาคุมการเข้าถึงของเด็ก เขาห้ามใส่พวกกลิ่นที่ดึงดูดนักสูบหน้าใหม่”อ้างอิง:- https://www.nap.edu/catalog/24952/public-health-consequences-of-e-cigarettes- 10 ความเชื่อผิดๆ ของการสูบบุหรี่ ที่คุณต้องทำความเข้าใจใหม่, หนังสือคู่มือชุดนิทรรศการยืม-คืน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตประเด็น “บุหรี่และยาสูบ” โดย สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.- Wikipedia (https://th.wikipedia.org/wiki/ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์)- ผลวิจัยสหรัฐชี้ บุหรี่ไฟฟ้า ทำติดยาสูบ 6.8 เท่า (มติชนออนไลน์) (https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_790745)- รายงานโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ระดับโลก ปี 2554 (http://www.ashthailand.or.th/th/data_center_page.php?id=505)- e-cigarette โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ (เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ)(http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/514474)-  https://www.honestdocs.co/cigarette-effects

อ่านเพิ่มเติม >

ยิ่งแชร์ฉลาดซื้อ ยิ่งรับ Point :: แลกของรางวัล

การแชร์เพื่อใช้ point แลกโปรโมชั่นสะสมแต้มได้ทั้ง สมัครชิกฟรี และ สมาชิก VIP  การแชร์ข้อมูลบนเว็บไซต์ไปยัง Facebook ที่ทางเว็บไซต์ได้กำหนดแต้ม (Point)ไว้  จะต้องเป็นสมาชิกเว็บฉลาดซื้อก่อนเพื่อสะสมแต้มเข้าบัญชี  โดยมีกติกาดังนี้• ท่านจะต้องแชร์จากบทความในเว็บฉลาดซื้อไปยัง Facebook  (ไม่ใช่แบบ Copy Link)•  จำนวน Point ที่ท่านจะได้ต่อการแชร์จะแสดงอยู่ตรง ไอคอน Facebook ด้านล่างบทความทางมือถือ หรือ ด้านข้างทางคอมพิวเตอร์• ท่านจะต้องแชร์บทความที่ไม่ใช่มีลักษณะบทความใดบทความหนึ่งซ้ำๆ ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน• การแชร์ของท่านจะต้องเป็นการเปิด สาธารณะ หรือ เพื่อนของท่านเห็น ไม่ใช่การแชร์ที่เห็นเพียงท่านคนเดียว• การแชร์ของท่านจะต้องกระทำโดยบุคคลโดยไม่ใช่เป็นการใช้โปรแกรมบอททางคอมพิวเตอร์ในการแชร์ข้อมูลดังกล่าง• หากทางนิตยสารฉลาดซื้อ ตรวจสอบการแลกโปรโมชั่นไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ทางเราขอสงวนสิทธิ์การแลกโปรโมชั่นของท่าน• ท่านต้อง Login บนเว็บไซต์ฉลาดซื้อก่อนการแชร์ เพื่อสะสมเข้าบัญชีท่าน• สามารถชมของ  "โปรโมชั่น" คลิกที่นี่สมัครสมาชิกฉลาดซื้อ คลิกที่นี่

อ่านเพิ่มเติม >

สุ่มสำรวจปลั๊กพ่วง พบส่วนใหญ่ยังไม่ติด มอก.2432-2555

จากการสุ่มสำรวจการจำหน่ายปลั๊กพ่วงในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกองบรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ปลั๊กพ่วงที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ ยังไม่ติดตราสัญลักษณ์มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2432-2555 (มาตรฐานปลั๊กพ่วง) บนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ พบว่าส่วนใหญ่มีแต่การอ้างอิงมาตรฐานสายไฟ อย่างไรก็ตามพบ 2 ยี่ห้อ ได้แสดงตราสัญลักษณ์ มอก.2432-2555 แล้ว คือ Panasonic และ anitech                โดยเมื่อ 24 ก.พ. ที่ผ่านมาเป็นวันเริ่มบังคับใช้มาตรฐาน มอก.2432-2555 เต้าเสียบเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง จะเป็นผลิตภัณฑ์บังคับตามกฎหมาย ซึ่งนับเป็นข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการจะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งในเรื่องคุณสมบัติต่างๆ ชนิด/ประเภท เกณฑ์กำหนดที่ต้องการ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค                             แม้ว่าทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ยังอนุญาตให้สามารถจำหน่ายสินค้าปลั๊กพ่วงที่มีต่อไปได้จนกว่าจะหมด แต่ห้ามนำเข้าหรือผลิตเพิ่ม และต้องรายงานสต๊อกสินค้าต่อ สมอ.ให้รับทราบก็ตาม แต่ผู้ผลิตปลั๊กพ่วงควรเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งตรวจสอบคุณภาพให้ถูกต้องตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภครายละเอียดข้อมูล มาตรฐานชุดสายพ่วง มอก.2432-2555: http://pr.tisi.go.th/รายละเอียดข้อมูล-มาตรฐานชุดสายพ่วง-มอก-2432-2555/

อ่านเพิ่มเติม >

นักวิจัยเผย มียาอีกหลายตัวที่ไม่ควรได้รับสิทธิบัตรอีก หลังศาลฎีกาชี้ขาด ถอนสิทธิบัตรยา ' วาลซาร์แทน '

            นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักวิจัยอิสระและรองประธานกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์ เผยปมผู้ป่วยไทยเข้าไม่ถึงยา แม้อายุสิทธิบัตรของยานั้นจะสิ้นไปแล้ว เนื่องจากบริษัทยาใช้วิธีการที่เรียกว่า รูปแบบจดสิทธิบัตรไม่จบสิ้น(evergreen patent) สกัดบริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญไทย            จากกรณีศาลฎีกาชี้ขาดสั่งถอนสิทธิบัตรการผลิตยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง-โรคหัวใจ หลังต่อสู้เป็นคดีความยาวนาน 7 ปี เพราะยาดังกล่าวยื่นขอสิทธิบัตรกระบวนการผลิตยาเม็ด ซึ่งศาลพิจารณาว่า เหตุข้อมูลวิธีการผลิตนั้น ชัดเจนว่าไม่ใช่วิธีใหม่ เป็นเพียงการยื่นคุ้มครองกระบวนการผลิตยาเม็ดทั่วไปเท่านั้น ทุกคนที่มีความรู้ทางเภสัชกรรมก็สามารถทำได้ ซึ่งเรื่องนี้เปิดเผยโดยนายกสภาเภสัชกรรม ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี เมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา           นางสาวกรรณิการ์ ให้ความเห็นว่า กรณียา  Varsantan เป็นเพียงหนึ่งคดีที่บริษัทยาชื่อสามัญชนะคดี แต่ตลอดระยะเวลาที่สู้คดีถูกบริษัทยาข้ามชาติส่งจดหมายไปแจ้งโรงพยาบาลต่างๆที่จัดซื้อยาชื่อสามัญราคาถูกที่มีคุณภาพทัดเทียมยาต้นแบบว่า อาจถูกดำเนินคดีและถูกเรียกร้องค่าเสียหายด้วย ทำให้โรงพยาบาลไม่กล้าซื้อ คนไข้เข้าไม่ถึงยา ยายังคงมีราคาแพง ระบบสุขภาพต้องแบกรับค่ายาที่ผิดปกติเหล่านี้เพราะเทคนิคการแสวงหากำไรบนชีวิตผู้ป่วย            "ดังนั้นที่ผ่านมา มีบริษัทยาชื่อสามัญไทยไม่กี่รายที่กล้าสู้คดี ซึ่งต้องชื่นชมในที่นี้คือ บ.สีลม ก่อนหน้านี้ บ.สยาม และ องค์การเภสัชกรรม ขอบคุณนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่ยอมเป็นพยานในคดีที่ใช้เวลาอย่างยาวนาน ชื่นชมความสามารถของบริษัทที่ปรึกษากฎหมายของ ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและศาลฎีกาของไทยที่พิพากษาคดีประวัติศาสตร์นี้ เช่นที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เคยพิพากษาคดียาต้านไวรัส ddI ที่เป็นต้นแบบคำพิพากษาของโลกที่ชี้ว่า ผู้ป่วยสามารถร่วมฟ้องบริษัทยาในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและอ้างปฏิญญาโดฮาว่าด้วยการสาธารณสุข ของความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้ตีความเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงยา"            จากงานวิจัยสิทธิบัตรที่เป็น evergreening ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่า 70% สิทธิบัตรยาที่ออกไปแล้วนั้นไม่สมควรได้รับสิทธิบัตร และอีก 80% ของคำขอที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่มีความใหม่ไม่มีนวัตกรรมที่สูงขึ้น ซึ่งหากคำขอสิทธิบัตรยาเหล่านี้ได้สิทธิบัตรจะเป็นภาระงบประมาณมากถึง 5000 ล้านบาทจากยาที่ขายดีเพียง 50 รายการเท่านั้น            “ที่ผ่านมาเมื่ออายุของสิทธิบัตรยาสิ้นสุดลง คือครบ 20 ปี อุตสาหกรรมยาของไทยจะผลิตยาชื่อสามัญมาแข่งขันได้ ซึ่งทำให้ลดการผูกขาดและราคายาถูกลง และสถานพยาบาลสามารถจัดหายาได้ในต้นทุนถูกลงเพื่อรักษาผู้ป่วยตามสิทธิหลักประกันที่สังกัด แต่กลับมาเจอบริษัทยามาขอขึ้นทะเบียนในลักษณะจดซ้ำซ้อน”             "รัฐบาล คสช.ควรศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะทุกวันนี้ รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ยังย้ำคิดย้ำทำว่าต้องออกคำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 เพื่อจัดการคำขอสิทธิบัตรที่คั่งค้าง ถ้าทำเช่นนั้นก็เท่ากับปล่อยผีสิทธิบัตรยาที่ไร้คุณภาพ เป็นภาระกับประเทศ ขณะเดียวกัน กรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องนำคำพิพากษาไปปรับปรุงคณภาพการตรวจสอบสิทธิบัตร และแก้ไขร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น"            สำหรับคดีที่บริษัทยาข้ามชาติฟ้องบริษัทยาชือสามัญไทย มีอย่างน้อย 3 คดี คดีที่ 1.ยา Finasterine บ.MSD ฟ้อง บ.สยาม ฎีกา เมื่อ 2 ปีก่อน ไม่ชนะไม่แพ้ ศาลชี้ว่า บ.สยามใช้คนละวิธี ไม่ละเมิด คดีที่ 2.ยา Varsantan บ.Novartis ฟ้อง บ.สีลม ฎีกา 8 พ.ค. เพิกถอนสิทธิบัตร Novartis ไม่สมควรได้ 3. ยา Celecoxib บ. Pfizer ฟ้อง บ.แมคโครฟาร์ คดีอยู่ในศาลทรัพย์สินทางปัญญา ศาลชั้นต้น             นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่เครือข่ายผู้ป่วยร้องคัดต้านคำขอสิทธิบัตร อาทิ ยาสูตรผสมรวมเม็ดโซฟอสบูเวียร์และเลดิพาสเวียร์ ที่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งเข้าข่ายไม่ควรได้สิทธิบัตร เหตุเพราะไม่เข้าด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายสิทธิบัตร คือ 1.ไม่อนุญาตให้จดสิทธิบัตรในเรื่องการบำบัดรักษา 2.การผสมยาสองชนิดรวมในเม็ดเดียวเป็นเทคโนโลยีธรรมดาๆ ที่เปิดเผยและทราบกันโดยทั่วไปในหมู่ผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรมอยู่แล้ว 3.ประสิทธิผลของการใช้ยาสองชนิดนี้ร่วมกันเป็นสิ่งที่ทราบกันดีอยู่แล้วในทางเภสัชกรรม ซึ่งในกฎหมายระบุว่าต้องก่อให้เกิด “ผลที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย” จึงจะเข้าข่ายได้รับสิทธิบัตร             ทั้งนี้ บ่ายวันพฤหัสที่ 17 พ.ค.นี้แผนงานศูนย์วิชาการพัฒนาและเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จะจัดเวทีเสวนาวิชาการที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อสรุปบทเรียนการต่อสู้สิทธิบัตรยาที่ไม่ชอบธรรมในประเทศไทยด้วย รายละเอียดติดต่อเพิ่มเติม กรรณิการ์ กิจติเวชกุล  (089-500-3217)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อเผยโดนัท 8 ยี่ห้อดัง ไขมันทรานส์สูงเกินมาตรฐาน

ฉลาดซื้อเผยโดนัท 8 ยี่ห้อดัง ไขมันทรานส์สูงเกินมาตรฐานนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต พบ 8 ยี่ห้อมีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินเกณฑ์ WHO แนะเลี่ยงบริโภค พร้อมเร่ง อย. ออกมาตรการบังคับผู้ผลิตจากโดนัทรสช็อกโกแลตที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่างพบว่า มี 8 ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ คือ ควรพบไขมันทรานส์ในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัม/ หน่วยบริโภค ได้แก่  1. ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts โดนัท ดาร์กช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 4.5913 กรัม/ ชิ้น 2. ฟู้ดส์แลนด์ (Foodland โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 3.0484 กรัม/ ชิ้น 3. ดังกิ้น โดนัท (Dunkin Donuts ช็อกโกแลต ฟลาวเวอร์) มีปริมาณไขมันทรานส์ 2.7553 กรัม/ ชิ้น 4. เทสโก้ โลตัส (โดนัทรวมรส ช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 1.7449 กรัม/ ชิ้น 5. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (โดนัทชอคโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.9560 กรัม/ ชิ้น 6. มิสเตอร์ โดนัท (Mister Donut ChocRing Classic) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.8690 กรัม/ ชิ้น 7. เอ็น.เค.โดนัท (NK Donut ริงจิ๋ว ช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.8626 กรัม/ ชิ้น และ 8. ยามาซากิ (Yamazaki โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.7542 กรัม/ ชิ้นส่วนอีก 5 ยี่ห้อที่เหลือมีปริมาณไขมันทรานส์อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ 1. คริสปี้ครีม (Krispy Kreme Doughnuts ช็อกโกแลต ไอซ์ เกลซ) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.2067 กรัม/ ชิ้น 2. เบรดทอล์ค (BreadTalk โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.2029 กรัม/ ชิ้น 3. แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.1272 กรัม/ ชิ้น 4. เฟลเวอร์ ฟิลด์ (Flavor Field โดนัทช็อกโกแลต) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0824 กรัม/ ชิ้น และ 5. แด๊ดดี้ โด (Daddy Dough ดับเบิ้ล ช็อค) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0729 กรัม/ ชิ้นรวมทั้งยังพบว่าโดนัทส่วนใหญ่ให้พลังงานสูงด้วยเช่นกัน เฉลี่ยที่ประมาณ 256 กิโลแคลอรี่ ซึ่งยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ ชิ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ 1. แซง-เอ-ตัวล ให้พลังงาน 320 kacl./ ชิ้น 2. ยามาซากิ ให้พลังงาน 313 kacl./ ชิ้น 3. ฟู้ดส์แลนด์ ให้พลังงาน 312 kacl./ ชิ้น 4. ซับไลม์โดนัท ให้พลังงาน 301 kacl./ ชิ้น และ 5. เฟลเวอร์ ฟิลด์ ให้พลังงาน 298 kacl./ ชิ้นรศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การบริโภคไขมันทรานส์เป็นประจำหรือเกินกว่า 2.2 กรัม/ วัน สามารถเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) และลดระดับไขมันดี (HDL) ลง ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน รวมทั้งสามารถทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบง่ายขึ้นได้ จึงขอแนะนำผู้บริโภคเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันดังกล่าวนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เคยเสนอข่าวว่าอยู่ในระหว่างการยกร่างประกาศ ที่กำหนดห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือห้ามเติมไฮโดรเจน (กระบวนการ Hydrogenation) ลงในกระบวนการผลิตน้ำมัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนเมษายน 61 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีประกาศออกมา จึงเรียกร้อง อย. เร่งพิจารณาการออกประกาศดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม >

ปีใหม่นี้ เลือกอะไรเป็นของฝาก!

นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมมือกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,271 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2560  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่างผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่าผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร การซื้อของฝากให้กับญาติสนิท มิตรสหาย และของฝากประเภทใดที่มีความนิยมในการเลือกซื้อ ซึ่งมีการแบ่งแยกตามแต่ละภาคของประเทศไทย รวมไปถึงการตรวจสอบฉลากเรื่องของวันหมดอายุ สถานที่ผลิต ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าจะซื้อของฝากจากการท่องเที่ยว อันดับหนึ่งคือ ขนม ของทานเล่น ร้อยละ 26.6 อันดับที่สองคืออาหารแห้ง ร้อยละ 26.0 อันดับที่สามคือของชำร่วย พวงกุญแจ ฯลฯ ร้อยละ 24.4 อันดับที่สี่คือเครื่องแต่งกาย ร้อยละ 23.0 และอันดับที่ห้าคือผักสด ผลไม้สด ร้อยละ 20.9ของฝากจากภาคเหนือ อันดับแรกคือน้ำพริกหนุ่ม ร้อยละ 36.1 อันดับที่สองคือแคบหมู ร้อยละ 29.7 อันดับที่สามคือหมูยอ ร้อยละ 25.0 อันดับที่สี่คือไส้อั่ว ร้อยละ 24.6 และอันดับที่ห้าคือใบชา ร้อยละ 18.3ของฝากจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับแรกคือแหนมเนือง ร้อยละ 34.7 อันดับที่สองคือหมูยอ ร้อยละ 29.4 อันดับที่สามคือกุนเชียง ร้อยละ 26.9 อันดับที่สี่คือแหนม ร้อยละ 19.7 และอันดับที่ห้าคือน้ำพริก ร้อยละ 18.3ของฝากจากภาคตะวันออก อันดับแรกคือขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 29.1 อันดับที่สองคือข้าวหลาม ร้อยละ 27.5 อันดับที่สามคืออาหารทะเลแห้ง ร้อยละ 26.3 อันดับที่สี่คือผลไม้อบแห้ง ร้อยละ 21.6 และอันดับที่ห้าคือน้ำปลา ร้อยละ 17.5ของฝากจากภาคกลาง อันดับแรกคือขนมเค้ก ร้อยละ 27.3 อันดับที่สองคือสายไหม ร้อยละ 27.1อันดับที่สามคือโมจิ ร้อยละ 26.8 อันดับที่สี่คือกะหรี่พัฟ ร้อยละ 22.0 และอันดับที่ห้าคือขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 21.9ของฝากจากภาคตะวันตก อันดับแรกคือทองหยิบทองหยอด ร้อยละ 27.7 อันดับที่สองคือขนมหม้อแกง ร้อยละ 27.6 อันดับที่สามคือขนมชั้น ร้อยละ 25.3 อันดับที่สี่คือขนมปังสัปปะรด ร้อยละ 23.4 และอันดับที่ห้าคือมะขามสามรส ร้อยละ 19.7ของฝากจากภาคใต้ อันดับแรกคือปลาหมึกแห้ง ร้อยละ 32.5 อันดับที่สองคือกะปิ ร้อยละ 29.3 อันดับที่สามคือกุ้งแห้ง ร้อยละ 24.2 อันดับที่สี่คือน้ำพริก ร้อยละ 22.3 และอันดับที่ห้าคือเครื่องแกง ร้อยละ 21.3กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการตรวจดูวันเดือนปีที่หมดอายุ ร้อยละ 44.8 รองลงมาไม่มีการตรวจดู ร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.8 และมีการตรวจดูสถานที่ผลิต ร้อยละ 44.8 รองลงมาไม่มีการตรวจดู ร้อยละ 34.2 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.0และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เคยได้รับของฝากที่หมดอายุจากบุคคลอื่น ร้อยละ 54.8 รองลงมาไม่แน่ใจ ร้อยละ 28.8 และเคยได้รับของฝากที่หมดอายุจากบุคคลอื่น ร้อยละ 16.4นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวเสริมเรื่องการเลือกซื้อสินค้าของฝากว่า ฉลากเป็นสิ่งจำเป็นและผู้บริโภคไม่ควรละเลยที่จะตรวจสอบข้อมูลที่แสดงบนฉลากก่อนการตัดสินใจซื้อ เนื่องจากฉลากเป็นหนึ่งในสิทธิของผู้บริโภคที่ว่าด้วยการได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ดังนั้นก่อนการซื้อทุกครั้ง ควรปฏิบัติดังนี้1) ให้พิจารณาว่ามีฉลากหรือไม่ หากเป็นสินค้าที่ไม่มีฉลาก ควรหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตามหากของฝากประเภทอาหารหลายๆ ชนิดเป็นอาหารประเภทที่ผลิตขายเฉพาะหน้าร้านของตัวเอง กฎหมายอนุญาตให้ไม่ต้องแสดงฉลาก ดังนั้นก่อนซื้อผู้บริโภคควรสอบถามข้อมูลสำคัญอย่าง วันที่ผลิตและวันหมดอายุ การเก็บหรือการดูแลรักษา ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นหรือไม่ เพื่อไม่ให้อาหารบูดเสียเร็ว 2) ถ้าหากมีการแสดงฉลาก ให้พิจารณาการแสดงรายละเอียดบนฉลากว่า เป็นภาษาไทย และ ถูกต้อง ครบถ้วน หรือไม่ ทั้งนี้หากฉลากไม่เป็นภาษาไทยควรหลีกเลี่ยงหากพบผู้ประกอบการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการอาจมีความผิดได้สองกรณี ดังนี้ กรณีแรก หากมีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่และประเทศที่ผลิตจะเข้าข่ายการกระทำความผิดตามมาตรา 25 (2) ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ 2522 เรื่อง ผลิต นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่าย อาหารปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันถึงหนึ่งแสนบาทกรณีที่สอง หากไม่แสดงฉลากหรือแสดงฉลากไม่ถูกต้องครบถ้วน จะมีความผิดตามมาตรา 6 (10) ของ พ.ร.บ.อาหารฯ  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท  หากซื้อสินค้ามาแล้วพบความผิดปกติหรือได้รับอันตรายจากการบริโภคสามารถใช้สิทธิร้องเรียนได้โดยตรงกับผู้ผลิต/ ผู้จัดจำหน่ายตามที่อยู่ที่ระบุไว้บนฉลากหรือตามสถานที่ที่ซื้อสินค้ามานอกจากนี้ก่อนเลือกซื้อของกินเป็นของฝาก นอกจากพิจารณาเรื่องฉลากเป็นสำคัญแล้ว ยังต้องดูเรื่องอื่นๆ ควบคู่กัน เพื่อให้ได้ของฝากที่สะอาดปลอดภัยต่อการบริโภค ไม่ว่าจะเป็น 1) สถานที่ขายหรือสถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น แมลง สารเคมี และอาหารควรถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของอาหาร2) สภาพภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด ไม่มีร่องรอยที่อาจทำให้เกิดการรั่วซึมของสิ่งปนเปื้อน3) ลักษณะของอาหารต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน ไม่มีร่อยรอยของการเกิดเชื้อราหรือเชื่อจุลินทรีย์ หรืออยู่ในสภาพอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการบริโภคที่ผ่านมาเคยมีข้อมูลผลทดสอบเรื่องความไม่ปลอดภัยของของฝากกลุ่มอาหารอยู่บ้าง เช่น เมื่อปี 2559 ว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจน้ำพริกพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก แจ่วบอง เป็นต้น ที่จำหน่ายตามตลาดสด ตลาดนัด ศูนย์โอทอป ศูนย์ของฝากทั่วประเทศ พบว่าจากทั้งหมด 1,071 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐาน 164 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15 ส่วนใหญ่พบปัญหาเรื่องการใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต การปนเปื้อนจุลินทรีย์และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น เชื้อบาซีลัส ซีเรียส และ เชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟิงเจน รวมทั้งในกรณีของ ปลาหมึกแห้ง ที่มูลนิธิฯ เคยสุ่มวิเคราะห์ตัวอย่างปลาหมึกแห้ง เมื่อปี 2553 พบการปนเปื้อนโลหะหนักทั้ง 8 ตัวอย่างที่สุ่มทดสอบ ทั้ง แคดเมียม ตะกั่ว และ ปรอท โดยเฉพาะ แคดเมียม ที่พบเกินค่ามาตรฐาน 4 จาก 8 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบส่วนในกลุ่ม ขนมปัง ขนมอบ ขนมเค้ก ก็มักมีความเสี่ยงในเรื่องของสารกันบูด ส่วนอาหารจำพวกแหนมเนือง มีความเสี่ยงของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษที่อาจปนเปื้อนมาพร้อมผักสดที่ล้างทำความสะอาดไม่ดีพอ เช่นเดียวกับอาหารจำพวกเนื้อสัตว์หรือแปรรูปจากเนื้อสัตว์ หากรับประทานโดยที่อาหารไม่ผ่านการปรุงให้สุก หรือผลิตโดยไม่ได้มาตรฐานก็อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พัฒนาเครือข่ายผู้บริโภค ‘เก็บตัวอย่าง-เฝ้าระวังอาหาร ยา สินค้าสุขภาพ’ รุกสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเก็บตัวอย่าง-เฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพ” เพื่อเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพในการเก็บตัวอย่างสินค้าและบริการประเภทอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพให้กับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อนำไปใช้ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าถึงระดับท้องถิ่นอย่างมีมาตรฐานถูกต้องและมีประสิทธิภาพวันนี้ (10 ต.ค.60) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ - มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดกิจกรรมฝึกอบรมปฏิบัติการ การเก็บตัวอย่างและเฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพ ภายใต้ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความรู้ให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชน สามารถลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่าง ทำการบรรจุ-จัดส่งผลิตภัณฑ์เพื่อส่งตรวจ และเฝ้าระวังสินค้าหรือบริการด้านสุขภาพในท้องถิ่นได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพ โดยการบรรยายความรู้การเก็บตัวอย่างเพื่อการทดสอบอาหาร ยาและเครื่องสำอาง จาก ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะ และกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเก็บตัวอย่างสินค้านายสมนึก งามละมัย ผู้ประสานงานโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ กล่าวว่า “การมีส่วนร่วมในการทดสอบสินค้าหรือบริการของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนจากทั่วประเทศ มีผลดีต่อการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่กว้าง และครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น ทำให้ผลการทดสอบโดยรวม มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น” “ผู้เข้าอบรมเองจะได้รับความรู้พื้นฐานในการเลือกซื้อสินค้า ดูข้อมูลบนฉลาก ทำให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคมีความเชี่ยวชาญในการสุ่มเก็บตัวอย่าง โดยเฉพาะสินค้าในตลาดชุมชนที่ดูมีความสุ่มเสี่ยงน่าสงสัยว่าอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไปยังห้องแล็บเพื่อตรวจสอบ และนำผลการทดสอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค” นายสมนึกกล่าว นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านอาหาร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ความรู้และเทคนิคการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าประเภทอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น การคำนวณปริมาณที่ต้องสุ่มเก็บ เลขล็อตการผลิตที่ต้องเป็นชุดเดียวกัน การถ่ายภาพตัวอย่าง การบันทึกข้อมูลฉลากของตัวอย่างอาหารติดบนตัวอย่าง เหล่านี้ต้องทำอย่างระมัดระวังและเข้มงวด เพราะการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องจะสามารถนำส่งตรวจวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสินค้าประเภทอาหารหากเก็บผิดพลาด อาจไม่สามารถส่งตรวจได้ เป็นการเสียเวลาและงบประมาณ”นางสาวบารีย๊ะ ยาดำ ผู้ประสานงานสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลา กล่าวว่า “อำเภอหาดใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสินค้าหลากหลาย มีแหล่งตลาดสดจำนวนมาก สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากจีนและมาเลเซียซึ่งไม่มีฉลากภาษาไทย เช่น อาหารแห้งและเครื่องสำอางที่มีความสุ่มเสี่ยง วันนี้ได้เรียนรู้การอ่านและดูฉลากและเลือกเก็บตัวอย่างประเภทอาหารสด อาหารแห้ง สุ่มเก็บอย่างไรให้ครอบคลุม โดยเรามีเครือข่ายอาสาทำงานในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่รู้เทคนิคการเก็บตัวอย่าง จะนำความรู้ในวันนี้ไปถ่ายทอดให้กับคนทำงานพื้นที่ต่อไป” นางสาวพวงทอง ว่องไว กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคเหนือและผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา กล่าวว่า “ปัญหาการเฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพในภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากประเทศจีน เช่น ขนม อาหารแห้ง ยา และเครื่องสำอาง ซึ่งไม่มีฉลากภาษาไทย มีการตรวจพบสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรจีน จากรถขายเร่ที่มาจำหน่ายตามชุมชน ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้จดแจ้ง มาอบรมวันนี้ได้เทคนิคการอ่านฉลาก วิธีการเลือกเก็บตัวอย่างสินค้า การคำนวณปริมาณสินค้าที่ต้องส่งต่อ การบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำส่งเพื่อตรวจสอบสินค้า ซึ่งทั้งหมดจะได้นำไปใช้ทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”ทั้งนี้ ภายหลังการฝึกอบรมเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนจะลงพื้นที่เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในชุมชนส่งศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมาตรฐานต่อไป ซึ่งจะส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนครอบคลุมพื้นที่ระดับประเทศมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >