ฉบับที่ 191 โซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย

หลังจากที่ผ่านมาเราเคยทดสอบปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกันไปแล้ว และพบว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกือบทั้งหมดในท้องตลาดมีปริมาณโซเดียมสูง โดยการรับประทานหนึ่งห่อจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูงถึง 50-100% ของความต้องการในแต่ละวัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต ได้เรากลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้เราตามไปดูกันที่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย ที่เพียงแค่เปิดฝาเติมน้ำร้อนก็พร้อมรับประทานทันที ซึ่งได้รับนิยมมาก โดยเฉพาะตามร้านสะดวกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อในสถานที่ชุมชนทั่วไป ในย่านการศึกษา และร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน จะมีบริการบะหมี่ถ้วยให้เลือกจำนวนมากพร้อมมีน้ำร้อนให้บริการเสร็จสรรพ เราจึงเห็นภาพคนยืนซดเส้นซดน้ำกันอย่างเป็นเรื่องปกติ   ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปชมผลทดสอบ ปริมาณโซเดียมและโปรตีนในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จากตัวอย่าง 15 ยี่ห้อยอดนิยม โดยตรวจสอบจากข้อมูลโภชนาการที่ระบุไว้บนฉลาก ซึ่งยี่ห้อไหนจะมีปริมาณโปรตีน/โซเดียมสูงหรือต่ำที่สุด ลองไปดูกันเลย------------------------------------------สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำความตกลงกับผู้ผลิต ให้มีการจัดทำฉลากโภชนาการ เพื่อแสดงปริมาณโซเดียมให้ผู้บริโภคได้ใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ และบริโภคในปริมาณที่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่ควรได้รับต่อวัน คือ สูงสุดไม่เกิน 2,400 มก./วัน (ผู้ชายควรบริโภค 475-1,475 มก. และผู้หญิงควรอยู่ที่ 400-1,200 มก./วัน) ข้อมูลการตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่าตลาดปี 2558 : 15,800 ล้านบาทส่วนแบ่งการตลาด: มาม่า 51% ยำยำ 20% ไวไว 20% อื่นๆ 9%สัดส่วนการตลาด: ซอง 71% ถ้วย 29%อ้างอิงข้อมูล: http://marketeer.co.th/archives/51518สรุปผลการเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมจากตัวอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 15 ยี่ห้อที่นำมาทดสอบ พบว่า1. มีเพียง 7 ยี่ห้อที่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ ยี่ห้อ 1. เอฟเอฟ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ 2. เซเว่นซีเล็ค บะหมี่ชามกึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 3. จายา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ 4. เกษตร วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป รสยำวุ้นเส้นทะเล 5. ซื่อสัตย์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งน้ำข้น 6. ลิตเติ้ลกุ๊ก บะหมี่ต้มยำทะเล และ 7. มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า 2. จากข้อมูลโภชนาการ พบว่า - ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมเยอะที่สุดคือ เอฟเอฟ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ มีปริมาณโซเดียม 2,160 มก./น้ำหนัก 65 ก. และยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดคือ มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า มีปริมาณโซเดียม 1,000 มก./น้ำหนัก 26 ก. - ยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนเยอะที่สุดคือ ซื่อสัตย์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งน้ำข้น มีปริมาณโปรตีน 7 ก./น้ำหนัก 65 ก. และยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนน้อยที่สุดคือ มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า มีปริมาณโปรตีน 3 ก./น้ำหนัก 26 ก.3. มี 8 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1. พรานทะเลนู้ดเดิ้ลโบวล์ รสต้มยำรวมมิตรทะเล 2. นิสชิน ชิลลี่นู้ดเดิ้ล รสต้มยำกุ้งน้ำข้น 3. ไวไว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 4. ยำยำ บะหมี่ถ้วยกึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 5. เซเว่น ซีเล็ค-นิสชิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทะเลน้ำข้นคิงคัพ 6. นิสชินคัพนูดเดิ้ล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งแซ่บ 7. ควิก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง 8. มาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง โดยจากการตรวจสอบส่วนประกอบสำคัญ พบว่า  ยี่ห้อที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ เช่น ปลา กุ้ง หอย มากที่สุดคือ พรานทะเลนู้ดเดิ้ลโบวล์ รสต้มยำรวมมิตรทะเล มีส่วนประกอบของรวมมิตรทะเล 25%/น้ำหนัก 80 ก. และยี่ห้อที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์น้อยที่สุดคือ นิสชิน ชิลลี่นู้ดเดิ้ล รสต้มยำกุ้งน้ำข้น มีส่วนประกอบของกุ้งอบแห้ง 0.47%/ น้ำหนัก 60 ก.ข้อสังเกตการแสดงข้อมูลโภชนาการ พบหลายยี่ห้อไม่มีฉลากโภชนาการแม้ อย.ได้ดำเนินการพิจารณาให้อาหารกึ่งสำเร็จรูปทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ หรือในเบื้องต้นให้แสดงปริมาณโซเดียม เพื่อให้ข้อมูลด้านโภชนาการแก่ผู้บริโภค ด้วยการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 374) พ.ศ.2559 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมันและโซเดียมแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts; GDA) บนฉลากอาหาร เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและสนับสนุนมาตรการป้องกันปัญหาด้านโภชนาการ โดยอาหารกึ่งสำเร็จรูปอย่าง ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น ไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ก็ตาม พร้อมซองเครื่องปรุง และข้าวต้มปรุงแต่ง และโจ๊กที่ปรุงแต่ง จำเป็นต้องมีฉลากดังกล่าว ซึ่งหากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ จัดว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศโดยมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท แต่เรายังพบว่าจากตัวอย่างที่นำมาทดสอบ มี 8 ยี่ห้อที่ไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการตามประกาศฉบับนี้ข้อมูลอ้างอิง :1.http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P374.PDF2. http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_fda/No.374_Food_nutrition_labels.pdf

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 “สารฟอกขาว” ใน “วุ้นเส้นสด”

“วุ้นเส้น” อีกหนึ่งอาหารเส้นที่หลายคนชื่นชอบ สามารถนำไปปรุงเป็นเมนูต่างๆ ได้หลากหลาย ทั้ง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไท ยำวุ้นเส้น แกงจืด กุ้งอบวุ้นเส้น และอีกสารพัดเมนู ซึ่งเดี๋ยวนี้มี “วุ้นเส้นสด” ที่ช่วยทำให้ชีวิตของคนชอบกินวุ้นเส้นง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการนำวุ้นเส้นแบบแห้งมาแช่น้ำให้เส้นนิ่มก่อนถึงจะนำมาปรุงอาหารได้ เพราะวุ้นเส้นสดแค่เกะซองก็พร้อมปรุงได้ทันที ทำให้บรรดาร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านผัดไทหลายๆ แห่งเริ่มหันมาใช้วุ้นเส้นสดกันมากขึ้น ส่วนเรื่องรสชาติความอร่อย ความเหนียวนุ่มของเส้น แบบไหนจะโดนใจกว่ากันอันนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลวุ้นเส้นจัดอยู่ในประเภทของอาหารกึ่งสำเร็จรูป มีมาตรฐานในการควบคุมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายมีความปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาที่มักพบในวุ้นเส้นก็คือเรื่องของ “สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์” หรือ “สารฟอกขาว” ฉลาดซื้อจึงขออาสาสำรวจดูว่า บรรดาวุ้นเส้นสดยี่ห้อต่างๆ ที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด แต่ละยี่ห้อมีการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากน้อยแตกต่างแค่ไหนกันบ้างสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ใส่ได้แต่ห้ามเกินที่กฎหมายกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร อ้างอิงตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร อนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในกลุ่มอาหารประเภท วุ้นเส้น เส้นหมี่ และเส้นก๋วยเตี๋ยว ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม***ถ้าลองเทียบกับมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศหรือโคเด็กซ์ (Codex) ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีวุ้นเส้นสดอยู่ในข้อกำหนด แต่ก็มีกลุ่มอาหารที่พอจะเทียบเคียงได้คือ กลุ่ม พาสตา ก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์ทํานองเดียวกัน ชนิดกึ่งสําเร็จรูป (Pre-cooked pastas and noodles and like products) ซึ่งในโคเด็กซ์มีการกำหนดให้พบสารในกลุ่มซัลไฟต์ไว้แค่ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัมเท่านั้นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide : SO2) หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ “กำมะถัน” เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ติดไฟ แต่มีกลิ่นฉุนรุนแรงทำให้หายใจไม่ออก แต่ละลายน้ำได้ดี ซึ่งสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารในกลุ่ม ซัลไฟต์ (Sulfites) เป็นสารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะเป็นทั้งสารกันเสีย ที่มีประสิทธิภาพสูงในการถนอมอาหาร ราคาถูก ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ ยีสต์ รา และแบคทีเรีย ช่วยกันหืน รวมทั้งยังใช้ในการยับยั้งปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลเนื่องจากเอนไซม์และที่ไม่ใช่เอ็นไซม์  นิยมใช้กับอาหารหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอาหารที่จำพวกผักและผลไม้ ผักผลไม้แห้ง ผักผลไม้ดอง ผักผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน แยม อาหารในกลุ่มน้ำตาล น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำเชื่อม อาหารที่มีการใช้เจลลาติน ถั่วบรรจุกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง เห็ดกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่มบางชนิด และอาหารจำพวกเส้นที่ทำจากแป้ง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ และ วุ้นเส้นผลทดสอบ- พบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในตัวอย่างวุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ- ข่าวดี ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่พบในวุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่าง ไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด(ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม)- ตัวอย่างวุ้นเส้นสดที่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ น้อยที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1.ยี่ห้อเถาถั่วเงิน (ถุงแดง) เก็บตัวอย่างที่ตลาดสะพาน 2 พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปริมาณ 27 มก./กก., 2.ยี่ห้อบิ๊กซี เก็บตัวอย่างจากบิ๊กซี สาขาสะพานควาย พบปริมาณ 28 มก./กก. และ 3.เถาถั่วเงิน (ถุงเขียว) เก็บตัวอย่างที่ตลาดบางกะปิ พบปริมาณ 45 มก./กก.- ตัวอย่างวุ้นเส้นสดที่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มากที่สุด คือ 1.ยี่ห้อชอแชมป์ เก็บตัวอย่างที่ตลดบางกะปิ พบปริมาณ 233 มก./กก., 2.ยี่ห้อส้มทอง เก็บตัวอย่างที่ห้างแม็คโคร บางกะปิ พบปริมาณ 224 มก./กก. และ 3.ยี่ห้อเทสโก้ เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาลาดพร้าว พบปริมาณ 196 มก./กก. - มีเพียงแค่ 7 ตัวอย่าง ที่แจ้งข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหารบนฉลาก ซึ่งตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ  กำหนดไว้ว่าอาหารที่มีสารในกลุ่มซัลไฟต์ มากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต้องมีการแสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร ซึ่งจากการทดสอบครั้งนี้ พบว่า วุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่าง มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์(สารในกลุ่มซัลไฟต์) มากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม - มีวุ้นเส้นสด 6 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 16 ตัวอย่าง ที่แสดงข้อมูลบนฉลากแจ้งเรื่องการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามที่กฎหมายกำหนด และมี 1 ตัวอย่างที่แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย ตามประกาศ อย. ที่กำหนดให้อาหาร ที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารต้องแสดงข้อความ ชื่อ หน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะ หรือระบุหมายเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหารสากล(International Numbering System : INS for Food Additives) ซึ่งหมายเลขสากลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คือ INS220 - จากสำรวจครั้งนี้พบว่า ยังมีผลิตภัณฑ์วุ้นเส้นสดหลายยี่ห้อมีปัญหาเรื่องการแสดงฉลาก โดยแสดงข้อความไม่ครบถ้วน หรือไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะตัวอย่าง วุ้นเส้นสดยี่ห้อ 1 ซึ่งบนบรรจุภัณฑ์ มีแค่เลข 1 กับข้อมูลวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ฉลาดซื้อแนะนำ-เลือกซื้อวุ้นเส้นสด ที่ขนาดเส้นมีความสม่ำเสมอ เส้นใส ดูออกเป็นสีขาวเล็กน้อย เมื่อต้มแล้วมีความเหนียวยืดหยุ่น เส้นไม่เกาะกัน -ต้องไม่มีกลิ่นอับ ไม่มีเชื้อรา หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ปนเปื้อนมาในบรรจุภัณฑ์-ซื้อจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้-ข้อมูลบนฉลากต้องครบถ้วน มีชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อ และที่ตั้งผู้ผลิต เลข อย.แจ้งปริมาณบรรจุ แสดงส่วนประกอบสำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนัก มีวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุอันตรายของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากร่างกายของเราได้รับในปริมาณที่มากเกินไป แต่โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ สำหรับพิษของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อสูดดมจะมีฤทธิ์กัดกร่อนต่อระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการระคายเคือง หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน ช็อก หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในผู้ที่แพ้มากหรือผู้ที่เป็นหอบหืดโดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ว่าไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วันกินวุ้นเส้นแล้วไม่อ้วนจริงหรือ!?สาวๆ หลายคนเลือกกินเมนูวุ้นเส้นด้วยเหตุผลว่า ทำให้อ้วนน้อยกว่าเมนูเส้นชนิดอื่นๆ ซึ่งตามข้อมูลกรมอนามัยพบว่า วุ้นเส้น ถือเป็นอาหารในกลุ่มข้าวและแป้งที่ให้พลังงานน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณที่รับประทาน โดยวุ้นเส้นสุก 1 ทัพพี หรือประมาณ 60 กรัม ให้พลังงาน 40 กิโลแคลอรี ขณะที่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 1 ทัพพี หรือเท่ากับ 50 กรัม และเส้นหมี่ 2 ทัพพี หรือประมาณ 54 กรัม จะให้พลังงานอยู่ที่ 80 กิโลแคลอรี  หรือถ้าเทียบกับข้าวสุก 1 ทัพพี ประมาณ 60 กรัม ก็จะให้พลังงานเท่ากับ 80 กิโลแคลอรีเช่นกัน แต่ทั้งนี้จะอ้วนหรือไม่อ้วนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เรารับประทานหลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดว่ากินวุ้นเส้นแล้วร่างกายจะได้โปรตีน ความจริงแล้ววุ้นเส้นก็คือ แป้งเช่นเดียวกับอาหารจำพวกเส้นชนิดอื่นๆ แม้ว่าวุ้นเส้นจะทำจากถั่วเขียว แต่ผ่านกรรมวิธีการทำมาจนเหลือแต่ส่วนที่เป็นแป้ง ทำให้วุ้นเส้นแทบจะไม่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่เลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 สารกันบูดใน “ขนมเปี๊ยะ”

ขนมเปี๊ยะ อีกหนึ่งขนมยอดนิยมที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน จัดเป็นขนมที่นิยมซื้อหาไปเยี่ยมเยือนเพื่อนฝูง ญาติมิตร หรือรับประทานเป็นของว่างแสนอร่อย ปัจจุบันจึงมีขนมเปี๊ยะวางขายอยู่ทั่วไปมากมายหลายแบบหลายรสชาติ อย่างไรก็ตามด้วยความที่ขนมเปี๊ยะมีส่วนประกอบหลักคือ แป้ง และไส้ขนมที่มีปริมาณค่อนข้างเยอะทำให้ขนมเปี๊ยะมีความชื้นสูง ซึ่งเหมาะต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้โอกาสที่ขนมเปี๊ยะจะเน่าเสียหรือเกิดเชื้อราก่อนรับประทานหมดนั้นเกิดได้ค่อนข้างง่าย ดังนั้นผู้ผลิตรายหลายจึงเลือกที่จะใส่หรือเติมสารกันบูดลงไปด้วย เพื่อคงสภาพของขนมให้อยู่ได้นานๆ หลายวัน ทำให้ฉลาดซื้อ ฉบับนี้เลือก ขนมเปี๊ยะ จากหลายสถานที่ผลิต นำมาทดสอบหาปริมาณสารกันบูด มาดูกันว่าบรรดาเจ้าดังเจ้าอร่อยมียี่ห้อไหนบ้างที่พบการปนเปื้อนของสารกันบูดขนมเปี๊ยะ ใส่สารกันบูดได้หรือไม่?สารการบูดที่เราทำการทดสอบครั้งนี้คือ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ซึ่งเป็นสารที่นิยมใส่ในผลิตภัณฑ์กลุ่มเบเกอรี่ สามารถยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ได้ดีโดยจะไปทำให้กระบวนการแทรกซึมของจุลินทรีย์เข้าไปในอาหารอาหารผิดปกติ ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ไม่ได้กำหนดเกณฑ์การใช้ กรดเบนโซอิก ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ ซึ่งขนมเปี๊ยะจัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าว เช่นเดียวกับขนมเค้ก ขนมพาย โดยในประกาศระบุเพียงว่า ให้ใช้ใน “ปริมาณที่เหมาะสม” ซึ่งถ้าลองนำไปเทียบกับกลุ่มอาหารชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่กฎหมายจะอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก ไม่มีการกำหนดปริมาณการใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ อย่างไรก็ตามข้อกำหนดที่อนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมนั้น เท่ากันกับที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ โคเด็กซ์ (Codex) ที่ก็อนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ในกลุ่มอาหารประเภทขนมอบ ส่วน กรดซอร์บิก โคเด็กซ์ กำหนดให้ใช้ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมเช่นกัน แต่ทั้งนี้หากมีการใช้ทั้ง 2 ชนิดรวมกัน ปริมาณสูงสุดที่พบเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมผลการทดสอบผลทดสอบ ขนมเปี๊ยะ 13 ตัวอย่าง พบว่ามีเพียง 1 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก คือ ขนมเปี๊ยะเหลือง จากร้าน เอส แอนด์ พี ขณะที่ตัวอย่างขนมเปี๊ยะอีก 12 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนทั้งหมด แต่ปริมาณของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก ในขนมเปี๊ยะจากการสุ่มสำรวจครั้งนี้ พบในปริมาณที่น้อยมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 20.47 มิลลิกรัม ต่อ กิโลกรัมเท่านั้น เมื่อเทียบกับปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้คือสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อ กิโลกรัมข้อสังเกต-มี 3 ตัวอย่างที่มีการแจ้งบนฉลากว่า ไม่ใส่สารกันบูด คือ 1.ขนมเปี๊ยะไส้ถั่ว ยี่ห้อครูสมทรง 2.ขนมเปี๊ยะไส้ถั่ว ร้านหมู และ 3.ขนมเปี๊ยะบางกระบือ (โง้วฮั่วเตียง) แต่ทั้ง 3 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของเบนโซอิก แต่ก็พบในปริมาณเพียงเล็กน้อย จึงมีความเป็นไปได้ว่าเบนโซอิกที่พบนั้น อาจปนเปื้อนอยู่ในส่วนของวัตถุดิบโดยผู้ผลิตไม่ทราบมาก่อน หรือผู้ผลิตมีการใส่สารกันบูดลงไปในส่วนผสม-มี 1 ตัวอย่างที่แจ้งว่ามีการใช้สารกันบูด คือ ขนมเปี๊ยะกุหลาบ ยี่ห้อ แต้ เซ่ง เฮง-ขนมเปี๊ยะที่เราเลือกเก็บมาทดสอบส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ กลุ่มแรกคือ ขนมเปี๊ยะเจ้าดังที่เป็นที่รู้จักของคนที่ชอบกินขนมเปี๊ยะ และมักนิยมซื้อหากันในช่วงเทศกาลสำคัญของชาวจีนอย่าง วันไหว้พระจันทร์ ซึ่งร้านขนมเปี๊ยะชื่อดังเหล่านี้ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในย่านเยาวราช เช่น ขนมเปี๊ยะ อื้อ เล่ง เฮง และ ขนมเปี๊ยะแต้เล่าจิ้นเส็ง กลุ่มที่ 2 คือ ขนมเปี๊ยะที่ขายอยู่ในร้านเบเกอร์รี่ชื่อดังที่มีสาขาหลายสาขา เช่น เอส แอนด์ พี, กาโตว์ เฮาส์ และร้านขนมบ้านอัยการ และกลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มตัวอย่างขนมเปี๊ยะที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่พบว่ามีวางจำหน่ายอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังอย่าง เทสโก้ โลตัส และ บิ๊กซี ซึ่งถือว่าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมาก-ถ้าดูจากวันที่ผลิตและวันหมดอายุของตัวอย่างขนมเปี๊ยะที่สุ่มสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 1-2 เดือน ถือว่าเก็บไว้ได้ไม่นาน แต่ก็มีหลายตัวอย่างที่ไม่ได้มีการแจ้งเรื่องวันที่ผลิตและหมดอายุ เพราะลักษณะของร้านค้าที่ขายขนมเปี๊ยะส่วนใหญ่จะเป็นแบบทำไปขายไป กฎหมายอนุโลมให้อาหารลักษณะนี้ไม่ต้องมีฉลาก ซึ่งดูแล้วอายุของขนมเปี๊ยะในกลุ่มนี้ก็น่าจะใกล้เคียงกับกลุ่มที่มีการแจ้งข้อมูลบนฉลาก คือไม่เกิน 1-2 เดือนฉลาดซื้อแนะนำ-เลือกซื้อขนมเปี๊ยะจากร้านที่มั่นใจ ดูที่ทำสะอาดผลิตใหม่ทุกวัน -ขนมเปี๊ยะที่ซื้อมาแล้วกินไม่หมด ควรเก็บในตู้เย็น ช่วยยืดอายุของขนมเปี๊ยะให้นานขึ้น-แม้ว่าผลทดสอบที่ออกมาจะบอกว่า ขนมเปี๊ยะ อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยจากสารกันบูด เบนโซอิก และ ซอร์บิก เพราะปริมาณที่พบค่อนข้างน้อย แต่ก็ควรเลือกกินแต่พอดี เพราะในขนมเปี๊ยะมีส่วนผสมทั้งน้ำตาลและน้ำมันเป็นส่วนประกอบ กินมากๆ ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพขนมเปี๊ยะที่ขายกันอยู่ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ โดยแบ่งได้เป็น 2 แบบหลักๆ คือ แบบที่เปลือกนิ่ม เช่น เปี้ยะไหว้พระจันทร์ เปี๊ยะลูกเต๋า เปี๊ยะโมจิ อีกแบบคือขนมเปี๊ยะที่เปลือกแป้งจะมีความกรอบร่วนมีลักษณะเป็นชั้นๆ เช่น เปี๊ยะใหญ่ เปี๊ยะกุหลาบ เปี๊ยะทานตะวัน เป็นต้นตามความเชื่อของประเทศจีน ขนมเปี๊ยะ ถือเป็นขนมมงคล สื่อความหมายถึงความปรารถนาดีต่อกัน ของทั้งผู้ให้และผู้รับ ขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่คู่กับเทศกาลไหว้พระจันทร์ ในภาษาจีนคำว่า ขนมไหว้พระจันทร์ เรียกว่า “เย่ว์ปิ่ง” ซึ่งมาจากคำ 2 คำ คือ “เย่ว์” ที่แปลว่า พระจันทร์ และคำว่า “ปิ่ง” ซึ่งหมายถึง ขนมเปี๊ยะ เพราะในเทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นช่วงเวลาที่คนจีนจะได้พบปะญาติพี่น้องแบบพร้อมหน้าพร้อมตา ร่วมกันกินขนมและชมพระจันทร์ไปพร้อมกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 เลือกซอสพริกให้อร่อยปลอดภัย

หลายคนติดใจในรสชาติของซอสพริก เพราะสามารถนำไปรับประทานคู่กับอาหารประเภททอดได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว ไส้กรอก ไก่ทอดหรือมันฝรั่งทอด แต่บางครั้งอาจลืมไปว่าซอสพริกไม่ได้มีแค่พริกเป็นส่วนประกอบเท่านั้น แต่ยังมีน้ำตาล - เกลือผสมอยู่ด้วย เพื่อทำให้รสชาติถูกปากยิ่งขึ้น ซึ่งหากยี่ห้อไหนผสมน้ำตาลหรือเกลือสูงก็สามารถทำให้ผู้ที่รับประทานซอสเหล่านั้นเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ได้ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงเอาใจคนชอบซอสพริก ด้วยการเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลและโซเดียมในฉลาก ว่ายี่ห้อไหนจะหวาน – เค็มมากน้อยกว่ากัน ส่วนผลการทดสอบสารกันบูดของซอสพริก เราจะเอามาฝากในฉบับถัดๆ ไป ใครเป็นแฟนซอสชมผลเปรียบเทียบกันได้เลย  สรุปจากการเปรียบเทียบฉลากซอสพริก16 ตัวอย่าง พบว่า- ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ จิ้มแจ่มและยัวร์-เชฟ มีน้ำตาล 5 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ สามภูเขาและม้าบิน มีน้ำตาล 1 กรัม/หน่วยบริโภค- ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด คือ ยัวร์-เชฟ มีโซเดียม 620 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดคือ สามภูเขา มีโซเดียม 105 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค- มี 5 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณน้ำตาล - เกลือได้ เพราะไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ คิงส์คิทเช่น ไฮคิว เด็กสมบูรณ์ สุขุมและพันท้ายนรสิงห์ - ยี่ห้อที่มีราคาต่อหน่วยแพงที่สุดคือ แม่ประนอม ซอสพริกศรีราชา เผ็ดมาก 15 บาท/น้ำหนัก 100 กรัม - ยี่ห้อที่มีราคาต่อหน่วยถูกที่สุดคือ ไฮคิว ซอสพริกศรีราชา และ เทสโก้ เอฟเวอรี่ เดย์ แวลู ซอสพริกเผ็ดกลาง 4 บาท/น้ำหนัก 100 กรัมข้อสังเกต- จากตัวอย่างซอสพริกที่นำมาตรวจสอบฉลากโภชนาการ 11 ยี่ห้อพบว่า มีปริมาณน้ำตาล – โซเดียมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 กรัมและ 250 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) ตามลำดับ ซึ่งตามที่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำไว้ว่าใน 1 วันเราควรได้รับปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม (6 ช้อนชา) และโซเดียมสูงสุดไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือป่นประมาณ 6 กรัม (1 ช้อนชา) ทำให้เราสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย แต่อย่าลืมว่าเรายังต้องรับประทานอาหารอื่นๆ โดยเฉพาะอาหารประเภททอด เคียงกับซอสพริกด้วย จึงไม่ควรมองข้ามเรื่องไขมันและพลังงานที่ร่างกายจะได้รับลักษณะซอสพริกที่ดี 1. มีสีสดตามธรรมชาติของส่วนประกอบ มีกลิ่นรสดี2. มีความละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ข้นหรือเหลวเกินไป3. ภาชนะบรรจุต้องปิดสนิท 4. ฉลาก ต้องมีรายละเอียดดังนี้ ชื่ออาหาร เลขทะเบียนอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วัน/เดือน/ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ ชนิดส่วนประกอบและวัตถุเจือปน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 ยาฝาแฝด “ปัญหาจาก ฉลากยา(มหัศจรรย์) ดูให้ดีก่อนกิน”

ฉลากยาเป็นเครื่องมือที่กฎหมายกำหนดให้แสดงไว้ข้างภาชนะบรรจุยา วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สั่งใช้ และผู้ที่จะต้องใช้ยา ได้อ่านเพื่อที่จะได้ใช้ยาอย่างถูกต้องปลอดภัย โดยกฎหมายจะกำหนดให้ฉลากยาต้องมีรายละเอียดที่จำเป็นครบถ้วน ได้แก่ ชื่อสามัญทางยา ชื่อทางการค้า เลขทะเบียนยา สรรพคุณของยา วันผลิตและวันหมดอายุ แต่บางครั้งเราพบว่าฉลากยาหลายรายการกลับมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันมาก มากจนอาจเรียกได้ว่าเป็น “ ยาฝาแฝด จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน หรือเกิดความเสี่ยงในการใช้ยาอย่างผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ลองดูตัวอย่างที่ฉลาดซื้อ ได้สำรวจ และสอบถามข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความสับสนเหล่านี้ จากเภสัชกร ชมรมเภสัชชนบท ตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นผู้ป่วยชายไทย อายุ 41 ปี มารับยาจิตเภท (Schizophrenia) ตามนัด หลังจากเภสัชกรได้ตรวจสอบยาเดิมที่ผู้ป่วยนำติดตัวมา โดยผู้ป่วยรายนี้ได้รับยาชนิดเดียวกัน แต่ 2 ความแรง คือ Risperidone 1 mg และ Risperidone 2 mg ตามภาพประกอบโดยเวลารับประทานยาทั้ง 2 เหมือนกันคือ ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน จากการสอบถามผู้ป่วยและญาติเข้าใจผิดคิดว่าอันเดียวกันเนื่องจากดูเหมือนๆกันจึงเก็บยาทั้ง 2 ความแรงไว้ในซองเดียวกัน โดยหยิบรับประทานครั้งละ 2 เม็ด ก่อนนอนและไม่ทราบว่าเป็นยาคนละความแรง ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากความสับสนในฉลากยากลุ่มนี้ยาพาราเซตามอล ไซรัป ผู้ประกอบการได้ผลิตในรูปแบบความแรงที่แตกต่างกัน 4 ขนาดคือ 1. 120 mg / 5 ml นั่นคือ ในยาน้ำ 5 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนชา มียาพาราเซตามอล 120 มิลลิกรัม 2. 160 mg / 5 ml นั่นคือ ในยาน้ำ 5 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนชา มียาพาราเซตามอล 160 มิลลิกรัม 3. 250 mg / 5 ml นั่นคือ ในยาน้ำ 5 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนชา มียาพาราเซตามอล 250 มิลลิกรัม 4. 60 mg / 0.6 ml นั่นคือ ในยาน้ำ 0.6 มิลลิลิตร มียาพาราเซตามอล 60 มิลลิกรัมจะสังเกตได้ว่า ยาพาราเซตามอล ไซรัป ที่อยู่ในรูปแบบของชนิดหยด ใช้สำหรับเด็กทารกแรกเกิด มีความแรงของยาในขนาดที่สูงกว่ารูปแบบยาน้ำเชื่อมถึง 4 เท่า และยาในรูปแบบยาน้ำเชื่อมมีความแรงของยาที่แตกต่างกันถึง 3 ขนาด ซึ่งผู้บริโภคต้องทราบว่า ไม่เพียงแต่รสชาติ กลิ่นของยาน้ำเชื่อม จะแตกต่างกันเท่านั้น ความแรงของยาก็มีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งยาพาราเซตามอล หากใช้เกินขนาด อาจทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย นำไปสู่ภาวะตับวายและเสียชีวิตได้ ซึ่งขนาดการใช้ยาพาราเซตามอลในเด็ก ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง (และไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/ครั้ง) รวมทั้งไม่เกิน 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/24 ชั่วโมง (ไม่เกิน 3,250 มิลลิกรัม/24 ชั่วโมง) และไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอล ติดต่อกันนานเกิน 5 วัน ในเด็กข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหา ฉลากยาที่คล้ายกันปัญหาจากกลุ่ม “ยาฝาแฝด” หรือ “ยารูปพ้อง-มองคล้าย” ต้องอาศัยการแก้ไขปัญหาร่วมกันจากทุกส่วน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายถึงผู้ใช้ยา นอกจากนี้ แม้ว่าโรงพยาบาลทุกแห่งจะมีมาตรการจัดการด้านยา “ชื่อพ้องมองคล้าย”อย่างจริงจังแล้วก็ตาม ตัวผู้ใช้ยาหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเอง ก็ต้องมีการทบทวนยาที่ตนใช้ให้ละเอียดรอบคอบทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ที่สำคัญที่สุด คือ “การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุตั้งแต่การขอขึ้นทะเบียนยา” ควรให้มีการบรรจุเกณฑ์การพิจารณาฉลากยาบรรจุภัณฑ์ของยานั้นๆ เช่น แผงยา ขวดยา หลอดยา ไม่ให้มีความเหมือน หรือคล้ายคลึงกับยาอื่น นอกจากนี้ ไม่ควรอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าเดียวกัน โดยที่ส่วนประกอบของตำรับยาเป็นคนละชนิดกัน และไม่ควรอนุญาตให้ยาชนิดเดียวกัน ที่มีความแรงของยาที่ไม่เท่ากัน ใช้ชื่อทางการค้าเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 เครื่องดื่มเกลือแร่ “หวาน” แค่ไหนกัน

อย่างที่เรารู้กันดีว่าเครื่องดื่มเกลือแร่ มีไว้สำหรับผู้ที่สูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย เพราะสามารถช่วยชดเชยน้ำ และเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปในระหว่างการออกกำลังกายได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเครื่องดื่มเกลือแร่หลายยี่ห้อได้ปรับภาพลักษณ์สินค้าใหม่ กลายเป็นเครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้แม้ไม่เสียเหงื่อ (Functional drink) โดยมีการเติมวิตามินหรือสารอาหารต่างๆ รวมทั้งน้ำตาลลงไป เพื่อปรับรสชาติให้ถูกปากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคที่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นประจำ เสี่ยงต่อการได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินความต้องการในแต่ละวันฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้สำรวจปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มเกลือแร่ จากยี่ห้อยอดนิยมตามท้องตลาด จำนวน 14 ยี่ห้อ ซึ่งเจ้าไหนจะใส่น้ำตาลมากน้อยกว่ากัน เรามาดูผลทดสอบกันเลย  สรุปผลการทดสอบจากตัวอย่างเครื่องดื่มเกลือแร่ที่นำมาทดสอบทั้งหมด 14 ยี่ห้อ พบว่า- ร้อยละ 50 หรือ 7 ยี่ห้อ พบมีปริมาณน้ำตาลตั้งแต่ 25 - 38.5 กรัม/หนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำตาลที่เราควรได้รับต่อวันคือ 24 กรัม/วัน หรือ 6 ช้อนชา ได้แก่ 1.สปอเรต (กลิ่นมิกซ์ฟรุท) มีปริมาณน้ำตาล 38.5 กรัม 2.เกเตอเรด กลิ่นมะนาว มีปริมาณน้ำตาล 30 กรัม 3.เอ็มสปอร์ต มีปริมาณน้ำตาล 30 กรัม 4.สปอนเซอร์ ออริจินัล มีปริมาณน้ำตาล 26 กรัม 5.สตาร์ท พลัส มีปริมาณน้ำตาล 26 กรัม 6.ซันโว มีปริมาณน้ำตาล 26 กรัม และ 7.สปอนเซอร์ บีเฟรช มีปริมาณน้ำตาล 25 กรัมยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ สปอเรต (กลิ่นมิกซ์ฟรุท) ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ พอคคา สปอร์ต วอเตอร์- เครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห้ง ได้แก่ ยี่ห้อ ออราส, สตรอง-เค และ รอแยล-ดี มีการระบุปริมาณปริมาณกลูโคสและซูโครส ตรงตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่195) พ.ศ.2543 คือ น้ำตาลกลูโคสหรือฟรุคโตส ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของน้ำหนัก หรือซูโครสไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ของน้ำหนักข้อสังเกตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 195) พ.ศ.2543 นิยามความหมายของเครื่องดื่มเกลือแร่ว่า เครื่องดื่มที่มีเกลือแร่เป็นส่วนประกอบหลัก และหมายความรวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห้งด้วย รวมทั้งไม่ให้ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลในเครื่องดื่มดังกล่าว นอกจากนี้ในการแสดงฉลากเครื่องดื่มเกลือแร่ ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลาก โดยต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ด้วยตัวอักษรขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร เห็นได้ชัดเจนในกรอบสี่เหลี่ยม สีแดง พื้นขาว 1.เด็กและทารกไม่ควรรับประทาน 2.เฉพาะผู้สูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย 3.ไม่ควรรับประทานเกินวันละ … หน่วย (ความที่เว้นไว้ให้ระบุจำนวนหน่วยที่ควรบริโภค ทั้งนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินวันละ 1 ลิตร)อย่างไรก็ตามจากตัวอย่างเครื่องดื่มเกลือแร่ที่เรานำมาทดสอบทั้งหมด 14 ยี่ห้อ พบว่า -มีเพียง 9 ยี่ห้อที่เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ตรงตามประกาศข้างต้น ได้แก่ ยี่ห้อ 1.เกเตอเรด (กลิ่นมะนาว) 2.เอ็มสปอร์ต 3.สปอนเซอร์ (ออริจินัล) 4. สตาร์ท พลัส (เครื่องดื่มเกลือแร่ผสมซิงค์) 5.ซันโว (กลิ่นบลู พั้นซ์) 6.พอคคา สปอร์ต วอเตอร์ 7.ออราส 8.สตรอง-เค (ถาวร) และ 9.รอแยล-ดีตัวอย่างที่เหลืออีก 5 ยี่ห้อ แม้จะมีส่วนผสมของเกลือแร่ (โซเดียม/โพแทสเซียมคลอไรด์) แต่อาจไปเข้าข่ายเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ (Functional drink) หรือ เครื่องดื่มที่มีการเติมวิตามินหรือสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพลงไป ซึ่งแบ่งเป็น 2 ยี่ห้อที่มีการโฆษณาว่า ใช้วัตถุอื่นให้ความหวานแทนน้ำตาล ได้แก่ 1. ยี่ห้อ100 พลัส โฆษณาว่าใช้สตีวิออลไกลโคไซตด์ เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล 2.สปอนเซอร์ บีเฟรช โฆษณาว่าใช้ซูคราโลสเป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล และอีก 3 ยี่ห้อที่เหลือ ได้แก่ 1.เจเล่บิวตี้ ระบุว่าเป็นเครื่องดื่มน้ำผลไม้รสองุ่นขาว ผสมคาราจีแนน คอลลาเจนและเกลือแร่ 2.สปอเรต ระบุว่าเป็นน้ำรสองุ่น และ 3.อควาเรียส ระบุว่าเป็นน้ำผลไม้รวม----------------------------------------------------------------------------------เกลือแร่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. เกลือแร่สำหรับผู้ที่ท้องเสีย (Oral Rehydration Salt หรือ ORS) เหมาะสำหรับผู้ที่เสียน้ำจากอาการท้องเสีย ซึ่งร่างกายจะขาดน้ำและเกลือแร่ทันที ทำให้เกลือแร่ชนิดนี้มีส่วนประกอบของเกลือแร่หรือโซเดียมสูง และ2.เกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย (Oral Rehydration Therapy หรือ ORT) เหมาะสำหรับผู้ที่เสียน้ำหรือเหงื่อจากการออกกำลังกาย ซึ่งร่างกายจะเสียน้ำและน้ำตาลเป็นหลัก โดยจะเสียเกลือแร่ในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นเกลือแร่ชนิดนี้จะมีปริมาณน้ำตาลสูง อย่างไรก็ตามสำหรับเครื่องดื่มเกลือแร่บางยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เราสามารถผสมน้ำเปล่าเพื่อเจือจางความเข้มข้นของความหวานลงได้----------------------------------------------------------------------------------เรา (ไม่) จำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ เมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายจะมีการขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อน ซึ่งส่วนประกอบของเหงื่อ คือ น้ำกว่าร้อยละ 99 ที่เหลือร้อยละ 1 คือ โซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็กหรือกรดอะมิโนบางชนิด ดังนั้นเมื่อเราเสียเหงื่อ จึงควรชดเชยน้ำให้กับร่างกายเป็นอันดับแรก ซึ่งการดื่มน้ำเปล่าธรรมดาถือว่าเพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่สูญเสียน้ำในปริมาณมากและต่อเนื่อง หรือนักกีฬาที่ออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น วิ่งมาราธอน ขี่จักรยานไกล หรือว่ายน้ำระยะไกล อาจจำเป็นที่ต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ เนื่องจากในเครื่องดื่มดังกล่าวมีส่วนประกอบของ น้ำตาลกลูโคสและโซเดียม/โพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งช่วยให้น้ำเข้าสู่เซลล์ได้เร็วขึ้น----------------------------------------------------------------------------------ผู้นำตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ คือ ยี่ห้อสปอนเซอร์ ครองส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 80% ส่วนที่เหลือแบ่งเป็นยี่ห้อ เอ็มสปอร์ต 12% และยี่ห้อ ซันโว 8% โดยสำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องเกลือแร่มากที่สุด 70% คือกลุ่มผู้แรงงาน ตามด้วยผู้ออกกำลังกาย 30% ทั้งนี้ตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ของประเทศไทยในปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 4,500 ล้านบาทข้อมูลอ้างอิง: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่195) พ.ศ.2543 เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P195.pdf , ตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ http://marketeer.co.th/archives/43534

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 188 เนื้อสัตว์ในร้านฟาสต์ฟูด ปลอดภัยจาก “ยาปฏิชีวนะ” มากน้อยแค่ไหน?

ปัญหาเรื่อง “เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ” เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ที่หลายประเทศต่างก็พยายามเร่งหาทางแก้ไข ในปีนี้ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) ได้นำประเด็นปัญหาเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมจนนำไปสู่การเกิดปัญหาเชื้อดื้อยา มาเป็นประเด็นหลักในการรณรงค์ทั่วโลก โดยใช้ชื่อแคมเปญว่า “เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเรา” (Antibiotics Off the Menu) เป้าหมายสำคัญในการรณรงค์ครั้งนี้ก็คือ เพื่อให้เกิดการลดและยุติการใช้ยาปฏิชีวนะในกระบวนการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร ซึ่งในปัจจุบันภาคปศุศัตว์มีการใช้ปฏิชีวนะเพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของสัตว์ไม่น้อยไปกว่าการใช้ปฏิชีวนะรักษาอาการเจ็บป่วยในคน โดยเป้าหมายหลักในการรณรงค์ครั้งนี้ก็คือบรรดาร้านอาหารฟาสต์ฟูดแฟรนไชส์ชื่อดังที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ที่มีการใช้เนื้อสัตว์มาปรุงอาหารเป็นจำนวนมากฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้เลือกสุ่มสำรวจหาการตกค้างของ “ยาปฏิชีวนะ” ในเนื้อสัตว์ปรุงสุกที่อยู่ในเมนูต่างๆ ของร้านฟาสต์ฟูดชื่อดังที่ขายในประเทศไทย ลองไปดูกันสิว่าคนไทยเรามีความเสี่ยงต่อการได้รับยาปฏิชีวะโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นต้นเหตุขอการเกิดเชื้อดื้อยามากน้อยแค่ไหนทำไมเชื้อดื้อยาถึงอยู่ในเนื้อสัตว์ที่เรากินเพราะ ยาปฏิชีวะ ไม่ได้ถูกนำมาใช้กับคนเท่านั้น แต่ในสัตว์โดยเฉพาะในภาคการทำปศุสัตว์ ยาปฏิชีวนะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์นั้นมีวัตถุประสงค์ หลัก 3 ประการ คือ 1.เพื่อการรักษา 2.เพื่อการป้องกันโรค และ 3.เพื่อเร่งการเจริญเติบโตสำหรับสาเหตุที่ทำให้ยาปฏิชีวนะมีการตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น น้ำนม ไข่ หลักๆ ก็มาจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกวิธี บวกกับความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการใช้ยา เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อน ทำให้เกิดปัญหาโรคติดเชื้อสูง ส่งผลให้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์มีความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อไม่ให้สัตว์ตายหรือล้มป่วย ส่งผลให้มีการใช้ยาในปริมาณสูง ยิ่งในฟาร์มรายย่อยสถานที่เลี้ยงไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกสุขลักษณะ ยิ่งส่งผลให้สุขภาวะของสัตว์ที่เลี้ยงไว้มีความอ่อนแอและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อการใช้ยาอย่างไม่ถูกวิธี คือ ใช้ยาไม่ตรงกับโรค ผิดขนาด ผิดช่วงเวลา วิธีการใช้ไม่ถูกต้อง ซึ่งการใช้ยาในสัตว์ต้องคำนึงถึงช่วงเวลา อุณหภูมิ และความเป็นกรด-ด่างของน้ำ การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องจะส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผล ทำให้เกษตรกรหลงคิดไปว่าปริมาณยาที่ใช้ยังไม่เพียงพอนำไปสู่การเพิ่มปริมาณยา ใช้ยาบ่อยและนานขึ้น หรือไปจนถึงการเปลี่ยนไปใช้ตัวยาอื่น รวมทั้งการหยุดใช้ยาที่ไม่ถูกต้องก็ส่งผลให้เกิดการตกค้างในเนื้อสัตว์เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนที่จะนำสัตว์มาบริโภค ซึ่งต้องมีการหยุดยาก่อนตามระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนจะถึงขั้นตอนการแปรูปสู่การบริโภคการใช้ยาไม่ตรงกับโรค ผิดขนาด ผิดชนิด หรือผิดช่วงเวลา รวมทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์เป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เชื้อแบคทีเรียในสัตว์เกิดการพัฒนายีนส์ต้านทานยามากขึ้นนอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องการใช้ยาอย่างผิดกฎหมาย คือ การนำยาปฏิชีวนะในรูปเภสัชเคมีภัณฑ์ ซึ่งไม่ใช่ยาสำเร็จรูปที่ได้รับขึ้นทะเบียนมีฉลากและเอกสารกำกับยาอย่างถูกต้องตามกฎหมายไปใช้ผสมในอาหารสัตว์ หรือการนำยาปฏิชีวนะสำหรับคนไปใช้กับสัตว์ ซึ่งส่งผลให้การใช้ยาไม่ได้ผลการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเชื้อดื้อยาที่ตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ทำให้เกิดอาการข้างเคียงของยา เกิดการแพ้ยา และ เกิดเชื้อดื้อยาการใช้ยาในสัตว์อย่างไม่ถูกต้อง มีโอกาสที่จะเกิดเชื้อดื้อยาในสัตว์ซึ่งสามารถพัฒนาเชื่อดื้อยาแบบข้ามกลุ่ม ทำให้ทำเชื้อดื้อยาชนิดนั้นส่งผลต่อการรักษาโรคในคน โดยเชื้อดื้อยาในสัตว์นั้นสามารถถูกส่งผ่านมายังคนได้ 3 วิธีหลักๆ คือ 1.การบริโภคเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 2.การสัมผัสกับสัตว์โดยเฉพาะผู้เลี้ยง และ 3.การรับเชื้อจากสิ่งแวดล้อม เช่น ในแหล่งน้ำและดินใกล้ฟาร์มเลี้ยงกลุ่มยาปฏิชีวนะที่วิเคราะห์1.Tetracycline group ประกอบด้วย Chlortetracycline และ Doxycyclineยาปฏิชีวนะกลุ่มเททระไซคลีน มีสรรพคุณ ใช้รักษาโรคติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อในปาก โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ 2.Colistin ประกอบด้วย Colistin A และ Colistin B โคลิสติน ใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการติดเชื้อในปอดและทางเดินอาหาร3.Beta-lactam groups ประกอบด้วย Amoxicillinเบต้า-แลคแทม ใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โพรงจมูกอักเสบ ทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนกลาง4.Macrolide groups ประกอบด้วย Tylosin tartrateยาปฏิชีวนะในกลุ่ม แมคโครไลด์ ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง รวมทั้งยังช่วยใช้ในการเร่งการเจริญเติบโตผลการทดสอบผลการสุ่มเก็บตัวอย่าง เนื้อสัตว์ปรุงสุกในเมนูอาหารของร้านฟาสต์ฟูด 18 ตัวอย่าง จาก 7 แหล่งซื้อ พบว่ามีการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 1 ตัวอย่าง คือ เมนูแซนวิชไก่อบ จากร้าน ซับเวย์ สาขาพารากอน ที่พบ Doxycycline ในกลุ่มยา Tetracycline ปริมาณ 13.73 ไมโครกรัม / กิโลกรัม(ug/kg)ทั้งนี้ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง ที่เป็นประกาศควบคุมปริมาณการตกค้างของสารใดๆ ที่ถูกใช้กับสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ โดยสารดังกล่าวถูกใช้เพื่อมุ่งหวังในการรักษา ป้องกัน วินิจฉัยโรค หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงทางสรีระหรือพฤติกรรมของสัตว์โดยข้อมูลตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฉบับนี้ กำหนดให้พบการตกค้างของยาในกลุ่ม Tetracycline (เททระไซคลีน) ในเนื้อไก่สูงสุดได้ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อเนื้อไก่ 1 กิโลกรัมเท่ากับว่า ปริมาณยาปฏิชีวนะที่พบตกค้างในตัวอย่าง เมนูแซนวิชไก่อบ จากร้าน ซับเวย์ สาขาพารากอน ที่ปริมาณ 13.73 ไมโครกรัม / กิโลกรัม อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา หรือ “โรคติดเชื้อในกระแสเลือด” ประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000 – 38,000 คน ส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 46,000 ล้านบาทนั่นเป็นเพราะยาที่คุณใช้อยู่มีส่วนผสมของ “ยาต้านแบคทีเรีย” โดยไม่จำเป็นทำให้เกิด “เชื้อดื้อยา” ที่มา : ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)ฟาสต์ฟู้ดกับยาปฏิชีวนะปีที่แล้วองค์กรผู้บริโภคของสหรัฐฯ Consumers Union ร่วมกับองค์กรพันธมิตรด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทำการสำรวจแนวปฏิบัติเรื่องการใช้เนื้อสัตว์ปลอดยาปฏิชีวนะในเมนูอาหารของร้านฟาสต์ฟู้ด 25 แบรนด์ดังในอเมริกา และพบว่ามีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่มีแผนหรือนโยบายดังกล่าวแต่ผลการสำรวจในปีนี้ (ซึ่ง Consumers Union ประกาศเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา) อยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีถึง 9 แบรนด์จาก 25 แบรนด์ที่หันมาใช้นโยบายที่ทำให้เกิดการลดหรือเลิกใช้ยาปฏิชีวนะอย่างผิดวิธีในการเลี้ยงไก่ หมู หรือวัวในภาพรวมแล้วแบรนด์ร้านอาหารเหล่านี้แสดงให้เห็นความพยายามในการจัดซื้อจัดหาเนื้อสัตว์จากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ และข่าวดีสำหรับผู้บริโภคคือภายในปี 2560 เนื้อไก่ที่ขายในร้าน Chipotle / แมคโดนัลด์ / Panera Bread / และซับเวย์ จะปลอดจากยาปฏิชีวนะผลการให้คะแนนปีนี้ปรากฏว่า Chipotle และ Panera Bread ยังรักษาเกรด A จากปีที่แล้วไว้ได้ซับเวย์ถีบตัวขึ้นจากเกรด F มาเป็น B พร้อมคำมั่นว่าภายในสิ้นปีนี้เนื้อไก่ในเมนูของร้านจะไม่มียาปฏิชีวนะ และในอีก 9 ปีข้างหน้าบริษัทมีแผนจะใช้เนื้อสัตว์ปลอดยาปฏิชีวนะทั้งหมดด้วยChick-fil-A ได้เกรด B ไปครองเพราะสามารถทำตามแผนการหยุดใช้เนื้อไก่ที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะภายในปี 2561 ไปได้ถึงร้อยละ 25 แล้วตามมาติดๆ คือแมคโดนัลด์ที่ปีนี้ได้เกรด C+ ไปครอง เพราะมีนโยบายชัดเจนในเรื่องนี้และจัดซื้อเนื้อไก่จากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเท่านั้นส่วนดังกิ้นโดนัท ที่ปีก่อนเคยได้ถึงเกรด C ปีนี้กลับสอบตกเป็นเพื่อน เบอร์เกอร์คิง เคเอฟซี และสตาร์บัคส์ เพราะปรับเปลี่ยนนโยบายของบริษัทให้ยอมรับการใช้เนื้อสัตว์ที่ใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 187 ประสิทธิภาพ “โลชั่นและสเปรย์ฉีดกันยุง”

คำเปรียบเปรยที่ว่า “ยุงร้ายกว่าเสือ” นั้นไม่ได้เป็นคำกล่าวที่เกินจริงแต่อย่างใด อย่าได้ปรามาสเห็นยุงตัวเล็กกระจิริดแค่ใช้ 2 มือตบก็จบชีวิต แต่ยุงตัวเล็กๆ พิษสงเหลือร้ายทำคนตายหลายสิบรายต่อปี!!! เพราะยุงเป็นพาหะนำโรคติดต่อร้ายแรง ทั้ง ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคชิคุนกุนยา หรือแม้แต่ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ที่กำลังเป็นข่าวว่าระบาดในหลายประเทศ ในประเทศไทยเองก็มีผู้ป่วยแล้วหลายรายข้อมูลจากสำนักควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าเฉพาะในปี 2559 จนถึงเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 พบว่ามีคนไทยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้วจำนวน 31 คน และมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 38,031 ราย ส่วนโรคไข้มาลาเรีย ข้อมูลตั้งแต่มกราคม-สิงหาคม 2559 มีผู้ป่วยรวมทั้งหมด 11,144 ราย (เป็นคนไทย 8,531 ราย และชาวต่างชาติ 2,613 ราย) สำหรับโรคชิคุนกุนยา หรือ ไข้ปวดข้อยุงลาย ในปี 2559 ข้อมูลจนถึงเดือนสิงหาคม มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 13 ราย แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้วที่รวมทั้งปีมีผู้ป่วยทั้งหมด 25 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต การหาวิธีป้องกันและกำจัดยุงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เราทุกคนควรทำ ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับปกป้องเราจากยุงหลายเดี๋ยวนี้ก็มีให้เลือกใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ยาจุดกันยุงแบบขด หรือ ยาฉีดไล่ยุง ที่พบเห็นมีใช้กันอยู่ตามบ้านเรือนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ไล่ยุงแบบใหม่ๆ ที่เริ่มนิยมใช้กันมากขึ้นอย่าง โลชั่นทากันยุง และ สเปรย์ฉีดกันยุง ซึ่งถ้าไปเดินดูตามซูเปอร์มาเก็ตและร้านสะดวกซื้อทั่วไปจะเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อเลือกใช้ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้เลยขออาสารวบรวม โลชั่นทากันยุง และ สเปรย์ฉีดกันยุง ยี่ห้อต่างๆ มาลองดูกันสิว่าแต่ละยี่ห้อมีคุณสมบัติในการไล่ยุงและมีส่วนประกอบที่ใช้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผลที่ได้จากการสำรวจ-ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโลชั่นทากันยุง จากทั้งหมด 8 ตัว มีถึง 6 ตัวอย่าง ที่ใช้สารเคมี ดีอีอีที DEET ซึ่งเป็นสารเคมียอดนิยมในผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติ คือยี่ห้อ เบลล์ ที่ใช้ น้ำมันตะไคร้หอม Citronella oil เป็นส่วนประกอบ-ต่างจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสเปรย์ฉีดกันยุง ที่มีการใช้สารเคมีสกัดจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่า โดยจากตัวอย่างผลิตภัณฑ์สเปรย์ฉีดกันยุงทั้งหมด 7 ตัวอย่าง มีถึง 5 ตัวอย่างที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ทั้ง  น้ำมันตะไคร้หอม Citronella oil และ น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส Eucalyptus Oil-ระยะเวลาในการป้องกันยุงของผลิตภัณฑ์ชนิดโลชั่นทากันยุง เฉลี่ยอยู่ที่ 6 - 7 ชั่วโมง ขณะที่ผลิตภัณฑ์ชนิดสเปรย์ฉีดกันยุงระยะเวลาในการป้องกันยุงตามที่แจ้งบนฉลากเฉลี่ยอยู่ที่ 2 - 3 ชั่วโมง มีเพียง 2 จาก 7 ตัวอย่างที่มีระยะเวลาในการป้องกันยุงอยู่ที่ 7 ชั่วโมง คือ ยี่ห้อ Mos Away ที่มีส่วนผสมเป็นสารเคมี ดีอีอีที DEET และยี่ห้อ POKPOK ป๊อกป๊อก ที่มีส่วนประกอบเป็นสารสกัดจากธรรมชาติอย่าง น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร Citronella Oil-จากการเปรียบเทียบพบว่า ส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือสารที่สกัดจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยมากกว่า ไม่มีผลต่อระยะเวลาในการป้องกันยุง เพราะส่วนประกอบทั้ง 2 ประเภทต่างก็มีระยะเวลาในการป้องกันยุงสูงสุดที่ 7 ชั่วโมงเท่ากัน-ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ใช้สำหรับเด็กเล็ก ใช้ติดตามเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ห้ามติดโดยตรงลงบนผิวหนังของเด็กโดยเด็ดขาด เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงชนิดอื่นๆ ห้ามใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี หรือ 4 ปี ตามแต่ข้อกำหนดของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปิดกันยุงสำหรับเด็กทั้ง 2 ตัวอย่าง ต่างก็ใช้ส่วนประกอบที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติทั้ง 2 ตัวอย่าง-คำแนะนำในการเลือกซื้อ ควรเปรียบเทียบข้อมูลเรื่องของประสิทธิภาพในการป้องกันยุง ปริมาณ และ ราคา เลือกตามความเหมาะสม ส่วนเรื่องของส่วนประกอบ ไมว่าจะเป็นชนิดที่ใช้สารเคมีหรือใช้สารสกัดจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบต่างก็ต้องใช้ตามคำแนะนำและคำเตือนที่ระบุไว้บนฉลากอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน แต่ส่วนประกอบที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติแน่นอนว่ามีความปลอดภัยมากกว่า ผู้ใช้เสี่ยงต่อการแพ้หรือระคายเคืองผิวหนังน้อยกว่าข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ของผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุงผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมี (เช่น ดีอีอีที (DEET) และ เอทิล บิวทิลอะซีทิลอะมิโนโพรไพโอเนต (Ethyl Butylacetylaminopropionate)) ที่จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต้องมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส. (วัตถุอันตรายที่ใช้ในทางสาธารณสุข) บนฉลากผลิตภัณฑ์ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมของสารที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น citronella oil หรือน้ำมันตะไคร้หอมเป็นสารสำคัญ ซึ่งจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ตามพระราชบัญญัตวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการแจ้งข้อเท็จจริงต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และต้องมีการแสดงเลขที่รับแจ้งบนฉลาก ซึ่งผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ใช้ส่วนประกอบของ citronella oil ควรมีประสิทธิภาพในการออกฤทธ์ไล่ยุงลายบ้านได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุง มีฤทธิ์ไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง ทำให้ยุงไม่บินมาดูดเลือดบนผิวหนังของเรา แต่ไม่ได้มีฤทธิ์ในการฆ่ายุงแต่อย่างใด.ผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบสำคัญ เวลาใช้จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำและคำเตือนบนฉลากอย่างเคร่งครัด ป้องกันการเกิดอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากของผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุง ต้องมีการแสดงฉลากที่ให้ข้อมูลสำคัญครบถ้วนตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนี้ 1.ประโยชน์ 2.วิธีเก็บรักษา 3.คำเตือนในการใช้ 4.อาการเกิดพิษ และ 5.วิธีแก้พิษเบื้องต้น นอกเหนือข้อมูลชื่อและชนิดสินค้า ที่อยู่ผู้ผลิต-ผู้จัดจำหน่าย และวัน เดือน ปี ที่ผลิต ใช้ผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุงอย่างไรให้ปลอดภัย-ควรใช้ผลิตภัณฑ์เมื่อมีความต้องการใช้เพื่อป้องกันยุงเท่านั้น-ผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทแป้งและโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งและโลชั่นสำหรับทาผิวทั่วไปโดยเด็ดขาด-ก่อนใช้ควรทาหรือพ่นที่ข้อพับแขนดูก่อน เพื่อดูว่าเรามีอาการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าหรือไม่ หากมีอาการแพ้ควรหยุดใช้ทันที-การทาหรือฉีดสเปรย์กันยุง ควรเน้นทาและฉีดให้ทั่วบริเวณผิวหนังที่อยู่ภายนอกเสื้อผ้า ไม่จำเป็นต้องทาและฉีดให้หนาเกินไป เพราะไม่ได้ช่วยให้ประสิทธิภาพในการป้องกันยุงเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด-ไม่ควรใช้ทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณที่เป็นแผล เพราะอาการแพ้หรือระคายเคืองได้-หลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร-ควรเก็บผลิตภัณฑ์ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง-หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันตะไคร้หอม ควรปิดฝาให้สนิท อย่าให้ถูกแสงแดด อย่าวางใกล้เปลวไฟหรือความร้อน-อ่านฉลากก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำและคำเตือนบนฉลาก ทั้งเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันยุง-ผลิตภัณฑ์ไล่แมลงส่วนใหญ่ ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 หรือ 4 ปี ขึ้นกับชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ในแต่ละผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงประเภทอื่นๆยาจุดกันยุงแบบขดเป็นผลิตภัณฑ์กันยุงที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีราคาถูก หาซื้อง่าย สารเคมีที่ใช้ในยาจุดกันยุงแบบขดเป็นสารในกลุ่ม ไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการกำจัดแมลงทั้งในทางสาธารณสุขและทางการเกษตร สำหรับส่วนประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตยาจุดกันยุงแบบขด ประกอบด้วย ผงขี้เลื่อย ผงกะลาบด ผลแป้งที่ได้จากมันสำปะหลัง ฤทธิ์ของยาจุดกันยุงคือส่งกลิ่นและควันออกไปไล่ยุงไม่ให้เขามาใกล้ในพื้นที่ที่จุดยากันยุงไว้ ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่ายุงยาฉีดกันยุงเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์กันยุงที่นิยมใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ฆ่าหรือไล่แมลงได้หลากหลายไม่ใช่แค่เฉพาะยุงเท่านั้น สารเคมีที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เป็นสารในกลุ่ม ไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) เช่นกัน การใช้ยาฉีดกันยุงหรือไล่แมลงในบ้าน ควรเลือกประเภทให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะจะมีการแบ่งการใช้ไว้สำหรับแมลงที่บินเท่านั้น เช่น ยุง แมลงวัน กับแบบที่ใช้ได้เอนกประสงค์แต่เน้นไปที่แมลงที่อาศัยอยู่ตามพื้น เช่น มด ปลวก แมลงสาบ เพราะละอองของชนิดที่ฉีดได้อเนกประสงค์จะมีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ทำให้ตัวสารไม่ได้ลอยในอากาศได้ทั้งหมด ประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงบินจึงมีน้อยกว่าไม้ตียุงไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ยอดฮิตที่หลายคนนิยมใช้จัดการยุง ซึ่งเมื่อไม่นานนี้คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ออกประกาศให้ไม้ตียุงไฟฟ้าเป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องมีการระบุเรื่องของคำแนะนำในการใช้งาน คำเตือน ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ดังนั้นต่อไปนี้ถ้าใครจะซื้อหาไม้ตียุงไฟฟ้ามาใช้ต้องเลือกที่มีข้อมูลต่างๆ ครบถ้วนชัดเจน เพื่อความปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 อะฟลาท็อกซินในถั่วเหลือง

“ถั่วเหลือง” เป็นอีกหนึ่งธัญพืชที่นิยมบริโภคกันทั่วไป หารับประทานง่าย รสชาติอร่อย ซึ่งส่วนใหญ่เรานิยมนำถั่วเหลืองไปแปรรูป เป็นน้ำนมถั่วเหลือง หรือ น้ำเต้าหู้ รวมทั้งนำมาทำเป็นเต้าหูประเภทต่างๆ นำมากวนทำขนม หรือจะนำเมล็ดถั่วเหลืองมาคั่วคลุกเกลือ กินเป็นขนมทานเล่นก็อร่อยไม่แพ้กันเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะบริโภคอาหารที่แปรรูปจากถั่วเหลืองแทบจะทุกวัน การคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย การตรวจสอบป้องกันการปนเปื้อนของสารที่เป็นอันตรายของสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็เช่นเดียวกับถั่วชนิดอื่นๆ ที่มักจะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ “อะฟลาท็อกซิน” สารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าได้รับเข้าไปมากๆ จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร คนที่แพ้ก็อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นอาเจียน หมดสติ แถมถ้าสะสมในร่างกายนานๆ เข้าก็อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ฉลาดซื้อ ฉบับที่แล้ว (ฉบับที่ 186) เราได้นำเสนอผลทดสอบอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสง ซึ่งผลที่ออกมาถือเป็นข่าวดีของผู้บริโภค เมื่อพบว่ามีถั่วลิสงถึง 10 จากทั้งหมด 11 ตัวอย่างที่เรานำมาตรวจวิเคราะห์ ไม่พบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ส่วนอีก 1 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนก็พบในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งไม่เกินจากปริมาณที่กฎหมายกำหนด เรียกว่าผู้บริโภคสามารถกินถั่วลิสงได้อย่างสบายใจ ปลอดภัยหายห่วง ส่วนฉบับนี้ก็เป็นทีของถั่วเหลืองบ้าง ไปดูกันสิว่า ถั่วเหลืองหลากหลายยี่ห้อที่วางขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไป จะเจอการปนเปื้อนของ อะฟลาท็อกซิน บ้างหรือเปล่าผลการทดสอบผู้บริโภคได้ดีใจกันอีกครั้ง เมื่อผลทดสอบการปนเปื้อนของ อะฟลาท็อกซิน ในถั่วเหลือง ได้ผลที่ปลอดภัยในการบริโภค ไม่พบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินเลยในถั่วเหลืองทั้ง 8 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบข้อกำหนดปริมาณอะฟลาท็อกซินในอาหารประกาศกระทรวงสาธาณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่องมาตรฐานอาหารที่ทีสารปนเปื้อน กำหนดให้พบการปนเปื้อนของ อะฟลาท็อกซิน ในอาหารได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรับ ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัมสถานการณ์การบริโภคถั่วเหลืองในประเทศไทยข้อมูลจากรายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2558 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า เมื่อปี 2557 ประเทศไทยเรามีความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองอยู่ที่ 2.07 ล้านตัน มากกว่าปี 2556 ที่มีความต้องใช้อยู่ที่ 1.74 ล้านตัน เพิ่มมากขึ้นถึง 18.65% โดยมีการนำเมล็ดถั่วเหลืองไปใช้ประโยชน์ในหลายวัตถุประสงค์ ที่มากที่สุดก็คือ การนำไปสกัดน้ำมัน คิดเป็น 81.87% ของจำนวนถั่วเหลืองที่ใช้ทั้งหมดในประเทศ รองลงมาคือการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร 17.65% และนำไปทำพันธุ์ 0.19%แม้ว่าประเทศไทยเราจะมีความต้องการถั่วเหลืองค่อนข้างสูง แต่ว่าการผลิตในประเทศยังค่อนข้างน้อย เนื่องจากขาดแคลนเมล็ดพันธ์ที่ดี และถั่วเหลืองถือเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ส่งผลให้ไทยเราต้องมีการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองในปริมาณที่ค่อนข้างสูง โดยในปี 2558 มีการนำเข้าอยู่ที่ประมาณ 2.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่นำเข้าในปริมาณใกล้เคียงกันคือ 2.02 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณเมล็ดถั่วเหลืองที่เราสามารถผลิตได้เองในประเทศอยู่ที่แค่ 5 หมื่นกว่าตันเท่านั้น หนำซ้ำยังมีการคาดการณ์กันว่าเนื้อที่เพราะปลูกถั่วเหลืองในประเทศน่าจะลดลงเรื่อง โดยปัจจุบันเรามีเนื้อที่เพราะปลูกถั่วเหลืองอยู่ที่ประมาณ 0.18 ล้านไร่ถั่วเหลือง อาหารมากคุณประโยชน์ถั่วเหลือง ถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในถั่วเหลืองประกอบด้วยโปรตีน 35% ไขมัน 20% ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่นตัวเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีใยอาหาร มีแร่ธาตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม เหล็ก วิตามินบี 1 และ วิตามินบี 2ประโยชน์จากการบริโภคถั่วเหลืองนั่นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เพราะในถั่วเหลืองมีแคลเซียมสูง นอกจากนี้โปรตีนในถั่วเหลืองยังช่วยยับยั้งให้ร่างกายของเราสูญเสียแคลเซียมลดลง ถั่วเหลืองยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง สารประกอบในถั่วเหลืองเป็นสารที่ช่วยในการยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ที่จะเปลี่ยนเซลล์ปกติไปเป็นเซลล์มะเร็ง โปรตีนในถั่วเหลืองยังไปช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ในถั่วเหลืองยังมีสารที่ชื่อว่า “ไฟโตเอสโตรเจน” (phytoestrogen) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง ถือเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อผู้หญิงช่วยให้ฮอร์โมนทำงานได้ปกติและดีขึ้น ลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ดีต่อสุขภาพของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน การบริโภคอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นประจำจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อร่างกายของเรา

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 187 เรื่องทดสอบ อะฟลาท็อกซิน ในกราโนล่าและมูสลี

อะฟลาท็อกซิน ในกราโนล่าและมูสลีกราโนล่าและมูสลี่ (Granola, Muesli) ถือเป็นอาหารเช้ายอดนิยมในหมู่คนรักสุขภาพ เพราะประกอบไปด้วยธัญพืชหลากชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ หรือผลไม้แห้งต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามด้วยส่วนผสมดังกล่าว อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้เช่นกัน หากมีการปนเปื้อนของสารพิษ อะฟลาท็อกซินอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นจากเชื้อรา และมักปนเปื้อนอยู่ในอาหารจำพวกแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งข้าวโอ๊ต  แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด รวมทั้งเมล็ดธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด นอกจากนี้ยังพบปนเปื้อนอยู่ในอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้อบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง งาหรือเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งหากเรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารดังกล่าวในปริมาณมากหรือเป็นประจำ สามารถส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องเดิน อาเจียนหรือมะเร็งตับได้ หลายประเทศจึงมีการกำหนดปริมาณการปนเปื้อนของสารดังกล่าวในอาหาร ซึ่งในประเทศไทยกำหนดให้ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529)ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสารดังกล่าว ฉลาดซื้อจึงได้สุ่มทดสอบสารอะฟลาท็อกซิน ในกราโนล่าและมูสลี จำนวน 14 ยี่ห้อยอดนิยม (หลังจากฉบับที่แล้วเราเคยเสนอผลทดสอบสารดังกล่าวในถั่วลิสงไป) รวมทั้งทดสอบปริมาณน้ำตาล ใยอาหาร และพลังงานที่จะได้รับต่อหนึ่งหน่วยบริโภคจากแต่ละยี่ห้อ ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยสรุปผลการทดสอบจากตัวอย่างกราโนล่าและมูสลี่ที่นำมาทดสอบทั้งหมด 14 ตัวอย่างพบว่าทุกยี่ห้อไม่พบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินมี 2 ยี่ห้อที่ไม่แสดงฉลากโภชนาการ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลทางโภชนาการได้ ได้แก่ ยี่ห้อ Diamond Grains (ไดมอนด์ เกรนส์) และ My Choice (มายชอยส์) อย่างไรก็ตามสำหรับตัวอย่างที่เหลือ มี 5 ยี่ห้อที่แสดงฉลากโภชนาการภาษาไทย และอีก 7 ยี่ห้อที่แสดงฉลากโภชนาการภาษาต่างประเทศ ซึ่งพบว่า- ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุด คือ McGarrett (แม็กกาเร็ต) มีปริมาณน้ำตาล 6 กรัม/หนึ่งหน่วยบริโภค (33 กรัม) และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือยี่ห้อ Hahne (ฮาทเน่) มีปริมาณน้ำตาล 22.4 กรัม/หนึ่งหน่วยบริโภค (100 กรัม)- ยี่ห้อที่มีปริมาณใยอาหารมากที่สุด คือ Tilo's (ทิโลส์) 9.6 กรัม/หนึ่งหน่วยบริโภค (100 กรัม) และยี่ห้อที่มีปริมาณใยอาหารน้อยที่สุด คือ McGarrett (แม็กกาเร็ต), Nestlé (เนสท์เล่) และ Kellogg’s (เคลล็อกส์) มีปริมาณใยอาหาร 2 กรัม/หนึ่งหน่วยบริโภค- ยีห้อที่ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ ยี่ห้อ McGarrett (แม็กกาเร็ต) ให้พลังงานทั้งหมด 130 กิโลแคลอรี/หนึ่งหน่วยบริโภค และยี่ห้อที่ให้พลังงานมากที่สุด คือ ยี่ห้อ Sanitarium (แซนนิทาเรี่ยม) 657กิโลแคลอรี/หนึ่งหน่วยบริโภค (45 กรัม)ข้อสังเกตการแสดงฉลากโภชนาการ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ กำหนดให้อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ มี 4 ประเภท คือ 1.อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ 2.อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย 3.อาหารที่ระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย และ 4.อาหารอื่นตามที่สำนักคณะกรรมการอาหารและยากำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหารทั้งนี้สำหรับข้อ 2.อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย หมายถึง อาหารที่มีการนำข้อมูลเกี่ยวกับคุณประโยชน์หรือหน้าที่ของตัวผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบหรือสารอาหารอย่างหนึ่งอย่างใดของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อร่างกายหรือสุขภาพ มาใช้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย การแสดงฉลากโภชนาการจะต้องแสดงข้อความภาษาไทย แต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ โดยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ทำให้อาหารประเภทกราโนล่าและมูสลี่ที่ส่วนใหญ่โฆษณาว่ามีใยอาหารสูง และมีส่วนผสมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจเข้าข่ายที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภคในการเปรียบเทียบ เลือกซื้อและบริโภคอาหารตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกายและสุขภาพ อาหารประเภทนี้ ไม่ใช่อาหารพลังงานต่ำเสมอไป เพราะจากตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบว่า บางยี่ห้อให้พลังงานสูงถึง 657 กิโลแคลอรี/หนึ่งหน่วยบริโภค เทียบเท่ากับการบริโภคข้าวผัดกะเพราหมูกรอบ 1 จาน ที่ให้พลังงาน 650 กิโลแคลอรี่ อย่างไรก็ตามหากเทียบกับขนมไทยอย่างกระยาสารท ที่มีส่วนผสมของธัญพืชเช่นกัน พบว่าในกระยาสารท 1x3 นิ้ว ให้พลังงาน 210 กิโลแคลอรี่ ซึ่งให้พลังงานมากกว่าตัวอย่างกราโนล่าและมูสลี่ที่นำมาทดสอบส่วนใหญ่ เนื่องจากมีส่วนผสมของกะทิและน้ำตาลมากกว่ากราโนล่าและมูสลี่ มีความคล้ายกันในส่วนผสมที่มาจากธัญพืชและผลไม้อบแห้ง แต่มีความแตกต่างกันตรงที่กราโนล่าจะเพิ่มส่วนผสมอย่างน้ำผึ้ง ไซรัป น้ำตาลหรือช็อกโกแลตเข้าไป เพื่อทำให้รสชาติหวานและรับประทานได้ง่ายขึ้น ทำให้มีแคลอรีสูงกว่ามูสลี่ที่ไม่เน้นการปรุงแต่ง ผู้บริโภคจึงควรเลือกประเภทและตรวจสอบฉลากโภชนาการก่อนนำมาประทาน เพื่อให้ได้คุณประโยชน์อย่างที่ต้องการ เรื่องน่ารู้เล็กน้อยเกี่ยวกับกราโนล่าและมูสลี่กราโนลาและมูสลี่ อยู่ในประเภทซีเรียล (cereal) สำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งได้จากการแปรรูปธัญพืช ทำให้มีคาร์โบไฮเดรตคล้ายกลุ่มขนมปัง และมีวิตามินรวมทั้งใยอาหารจากถั่วหรือผลไม้แห้งอื่นๆ ที่ผสมเพิ่มลงไป ทำให้เรารู้สึกอิ่มได้เหมือนกับการรับประทานอาหารชนิดอื่น อย่างไรก็ตามเราควรรับประทานในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งปริมาณแคลอรีของพลังงานจากการกินอาหารที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วันคือ 1,600 – 2,000 กิโลแคลอรีทั้งนี้ด้านการเติบโตของตลาดซีเรียลสำหรับผู้ใหญ่ในประเทศไทยปีที่ผ่านมา พบว่า มีมูลค่า 784 ล้านบาท โดยเติบโตขึ้นทุกปีเฉลี่ยร้อยละ 10.8 ต่อปี เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว และอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งผู้นำทางการตลาดมี 2 ราย คือ บริษัท เนสท์เล่ (ประเทศไทย) จำกัด ครองส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 43 และบริษัท เคลล็อก (ประเทศไทย) จำกัด ครองส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 33แหล่งข้อมูลอ้างอิง: http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=85

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point