ฉบับที่ 186 ซอสหอยนางรม ปริมาณหอยนางรมและโซเดียม

ซอสหอยนางรมหรือน้ำมันหอย ถือเป็นเครื่องปรุงรสคู่ครัวไทยมานาน เพราะเชื่อว่าช่วยทำให้อาหารอร่อย รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น และมีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยโปรตีนจากหอยนางรม โดยอาหารยอดนิยมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัด คะน้าหมูกรอบ ผัดผักหรือหมูปิ้ง ส่วนใหญ่มักใช้ซอสหอยนางรมเป็นส่วนหนึ่งของการปรุงรส อย่างไรก็ตามปัจจุบันซอสหอยนางรมมีมากมายหลายยี่ห้อและมีราคาแตกต่างกัน ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่แน่ใจว่าควรตัดสินใจเลือกซื้ออย่างไรดี ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเปรียบเทียบปริมาณหอยนางรม และโซเดียม รวมทั้งโปรตีนในซอสหอยนางรมจาก 23 ยี่ห้อยอดนิยมโดยดูจากฉลากข้างขวด ผลจะเป็นอย่างไรเราลองมาดูกัน         ตารางผลทดสอบ 2 ปริมาณโซเดียม ทดสอบด้วยการดูจากฉลากโภชนาการ และเรียงลำดับจากยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุด ไปยังยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด เมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยบริโภค(หนึ่งหน่วยบริโภคประมาณ 15-17 กรัม) หมายเหตุ มีเพียง 13 ยี่ห้อที่มีฉลากโภชนาการ   สรุปผลทดสอบ จากซอสหอยนางรม 23 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบพบว่า 1. ซอสหอยนางรม 23 ตัวอย่าง ทุกยี่ห้อระบุว่ามีหอยนางรมเป็นส่วนประกอบ โดยยี่ห้อที่มีปริมาณหอยนางรมเป็นส่วนประกอบมากที่สุดคือ ลี่กุมกี่ (โอลด์แบรนด์) 55% ต่อน้ำหนัก 255 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณหอยนางรมเป็นส่วนประกอบน้อยที่สุดคือ โฮม เฟรช มาร์ท 9% ต่อน้ำหนัก 770 กรัม2. จากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ 13 ยี่ห้อ ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคน้อยที่สุดคือ เทสโก้ เอฟเวอรี่ เดย์ แวลู 240 มก. ต่อน้ำหนัก 675 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคมากที่สุดคือ นกแพนกวินสามตัว 1,110 มก. ต่อน้ำหนัก 700 มล.3. จากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ 13 ยี่ห้อ มีเพียงยี่ห้อเดียวที่ฉลากโภชนาการระบุว่ามีโปรตีนคือ ยี่ห้อ ไก่แจ้ มีปริมาณโปรตีน 2 กรัม 4. มี 10 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณโปรตีนหรือโซเดียมได้ ได้แก่ ยี่ห้อ 1.แฮปปี้บาท 2.เด็กสมบูรณ์ (สูตรดั้งเดิม) 3.พันท้ายนรสิงห์ 4.เด็กสมบูรณ์(สูตรเข้มข้น) 5.ป้ายทอง 6. ลี่กุมกี่ แพนด้า 7.ลี่กุมกี่ ชอยซัน 8.เอช แอนด์ เอ็ม 9.ลี่กุมกี่ (โอลด์แบรนด์) และ 10.ท็อปเกรดออยสเตอร์ซอสข้อสังเกต 1. ปริมาณโซเดียมในซอสหอยนางรมโซเดียมในอาหารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของโซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงที่ใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร ให้มีรสเค็มและใช้ในกระบวนการถนอมอาหาร อย่างไรก็ตามนอกจากการใช้เกลือในรูปของเกลือแล้ว เกลือยังมีอยู่มากในเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติเค็ม เช่น นํ้าปลา ซีอิ๊ว หรือซอสปรุงรสต่างๆ ซึ่งในซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ จะมีปริมาณโซเดียม 450-610 มก. หรือเฉลี่ยที่ 518 มก. แต่จากผลทดสอบจะเห็นได้ว่าบางยี่ห้อมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าค่าเฉลี่ย หรือมากทีสุดอยู่ที่ 1,110 มก./1 ช้อนโต๊ะ การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไป หรือตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดให้ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือป่นประมาณ 6 กรัม(1 ช้อนชา)ต่อวัน โดยสำหรับผู้ที่ต้องจำกัดปริมาณโซเดียมควรบริโภคไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน หลอดเลือดสมองแตก รวมทั้งไตวายได้ 2. ปริมาณโปรตีนในซอสหอยนางรมแม้ตามมาตรฐานของมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในอาหารประเภทซอสหอยนางรม ไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานปริมาณโปรตีนไว้ แต่หอยนางรมก็เป็นอาหารทะเลที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อย่างไรก็ตามเมื่อนำมาแปรรูปเป็นซอสหอยนางรม กลับพบว่ามีเพียงยี่ห้อเดียวที่พบปริมาณโปรตีนในฉลากโภชนาการ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เกร็ดเล็กๆ ของซอสหอยซอสหอยนางรม คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเนื้อหอยนางรมมาบดให้ละเอียดแล้วทำให้สุก หรือใช้หอยนางรมสกัดหรือใช้หอยนางรมย่อยสลาย มาผสมกับเครื่องปรุงรสเช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำตาลและส่วนประกอบอื่น เช่น แป้งดัดแปร ต้มให้เดือด บรรจุในภาชนะบรรจุขณะร้อน แล้วทำให้เย็นทันทีแนะวิธีเลือกซื้อซอสหอยนางรมนอกจากเราจะสามารถเลือกซื้อหอยนางรม โดยดูจากปริมาณหอย โปรตีน หรือโซเดียมได้แล้ว ยังสามารถพิจารณาได้จากยี่ห้อที่ภาชนะบรรจุสะอาด มีฝาปิดสนิท มีสีน้ำตาลสม่ำเสมอ หรือมีฉลากภาษาไทย ซึ่งควรมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อผลิตภัณฑ์, ส่วนประกอบ, น้ำหนักสุทธิ หรือปริมาตรสุทธิ, วัน/เดือน/ปีที่หมดอายุคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้และการเก็บรักษา รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและสถานที่ตั้งข้อมูลอ้างอิง 1.http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/8_44_1.pdf      2. http://www.thaihypertension.org/files/237_1.LowSalt.pdf  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 186 อะฟลาท็อกซินในถั่วลิสง

  ถั่วลิสง ถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยโปรตีนในปริมาณที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ แถมยังให้สารอาหารครบถ้วนทั้ง พลังงาน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต รวมทั้งยังมีแร่ธาตุอีกหลายชนิด โดยเราสามารถนำถั่วลิสงมาปรุงอาหารได้หลากหลายประเภททั้งเป็นส่วนประกอบในเมนูจานหลัก อย่าง แกงมัสมั่น ต้มขาหมูถั่วลิสง ใส่ในยำต่างๆ ใส่ในส้มตำ ฯลฯ หรือจะเป็นของกินเล่น อย่างขนมถั่วทอด ถั่วคั่วเกลือ หรือจะทำถั่วต้มธรรมดาๆ ก็อร่อยทั้งนั้น ยิ่งในช่วงเทศกาลกินเจเราจะเห็นถั่วลิสงเป็นพระเอกในเมนูอาหารเจต่างๆ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญทดแทนการใช้เนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือราคาไม่แพงแต่เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับความกังวลเรื่องการปนเปื้อนของ “อะฟลาท็อกซิน” ในถั่วลิสง เนื่องจากสารตัวนี้เป็นสารพิษอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากหรือได้รับสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะอะฟลาท็อกซิน เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้พยายามออกมาตรการควบคุมกับผู้ผลิตผู้นำเข้าถั่วลิสงให้เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงของตัวเองปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินอะฟลาท็อกซิน(aflatoxin) เป็นสารพิษที่สร้างขึ้นโดยเชื้อรา โดยเฉพาะแอสเพอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus) และแอสเพอร์จิลลัส พาราซิติคัส (Aspergillus parasiticus) อะฟลาท็อกซินโดยทั่วไปที่พบในถั่วลิสง มี 4 ชนิด คือ อะฟลาท็อกซิน บี1 (B1) บี2 (B2) จี1 (G1) และ จี 2 (G2)นอกจากนี้ถั่วลิสงแล้วก็ยังมีพวกสินค้าทางการเกษตรอีกหลายชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวโพด ข้าว กระเทียม พริกแห้ง พริกป่น กุ้งแห้ง รวมถึงอาหารจำพวกแป้ง เช่น แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวโพด ฯลฯพิษของอะฟลาท็อกซินหากเรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในปริมาณมาก อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องเดิน อาเจียน ยิ่งในเด็กเล็กยิ่งเสี่ยงต่อการได้รับผลรุนแรงเฉียบพลัน อาจเกิดอาการชักและหมดสติ เนื่องจากตับและสมองทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีผลในระยะยาวหากร่างกายของเราได้รับอะฟลาท็อกซินสะสมเป็นเวลานานต่อเนื่อง อะฟลาท็อกซินที่สะสมอยู่ในร่างกาย จะไปยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างโปรตีน ส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติ ส่งผลต่อการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ เพราะสารพิษอะฟลาท็อกซินจะไปรบกวนการทำงานของตับ ทำให้เกิดไขมันมากในตับ และทำให้มีพังผืดขึ้นที่ตับองค์การอนามัยโลก จัดให้สารอะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะปริมาณของอะฟลาท็อกซินเพียง 1 ไมโครกรัม สามารถทําให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย และทําให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ หากได้รับอย่างต่อเนื่องที่มา: บทความ “อะฟลาท็อกซิน : สารปนเปื้อนในอาหาร” ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเลือกซื้อถั่วลิสงดิบอย่างไรให้ปลอดภัยจากอะฟลาท็อกซิน-เลือกที่อยู่ในสภาพใหม่ เมล็ดเต็มสวยงาม ไม่แตกหัก ไม่ลีบ รูปร่างและสีไม่ผิดปกติ ที่สำคัญคือต้องไม่ขึ้นรา ลองดมดูแล้วไม่มีกลิ่นเหม็นอับ เหม็นหืน-ถั่วลิสงดิบแบบที่บรรจุถุงจะมีฉลากแจ้งข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อยี่ห้อ น้ำหนักสุทธิ ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ที่สำคัญคือวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ดังนั้นควรใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ โดยเฉพาะข้อมูลวันที่ผลิตและหมดอายุ เลือกซื้อถั่วลิสงดิบที่ผลิตใหม่ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของอะฟลาท็อกซินได้-อะฟลาท็อกซิน สามารถทนความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส ดังนั้นการปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่สามารถฆ่าอะฟลาท็อกซินได้ แต่การนำถั่วลิสงไปตากแดด ความร้อนจากแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งอยู่ในแสงอาทิตย์ก็สามารถทำลายอะฟลาท็อกซินได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ความร้อนจากแสงอาทิตย์จะช่วยลดความชื้นในถั่วลิสง ทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นที่มาของอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงได้ ดังนั้นถั่วลิสงที่ซื้อมาแล้วถูกเก็บเอาไว้นานๆ ก่อนจะนำมาปรุงอาหารควรนำออกตากแดด เพื่อไล่ความชื้น -ผลทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบโดยใช้ตัวอย่างของถั่วลิสงดิบ ซึ่งต้องนำไปปรุงให้สุกอีกครั้งก่อนรับประทาน แต่ถั่วลิสงที่เมื่อทำให้สุกแล้วและมักเก็บไว้ใช้นานๆ ใช้เป็นเครื่องปรุงหรือส่วนประกอบตามร้านอาหารต่างๆ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านผัดไท ร้านส้มตำ ซึ่งผู้บริโภคต้องไม่ลืมที่จะสังเกตลักษณะของถั่วลิสงให้ดีก่อนปรุงหรือรับประทาน ต้องไม่มีร่องรอยของเชื้อรา ไม่ดูเก่า ไม่อับชื้น ไม่มีกลิ่นเหม็น หากพบลักษณะที่น่าสงสัยดูแล้วเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน-ความคิดที่ว่า หากพบเจอส่วนที่ขึ้นราแค่ตัดส่วนนั้นทิ้ง ส่วนที่เหลือยังสามารถนำมารับประทานได้นั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะเชื้อราแม้จะไม่แสดงลักษณะให้เห็นแต่อาจแพร่กระจายไปแล้วทั่วทั้งชิ้นอาหาร ดังนั้นเมื่อพบอาหารที่ขึ้นราควรทิ้งทั้งหมด อย่าเสียดายประเทศไทยคุมเข้มการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงถั่วลิสง จัดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ได้รับการควบคุมดูแลมาตรฐานอย่างเคร่งครัดจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเมื่อปี 2557  ได้มีการออกข้อกำหนดเรื่อง “ปริมาณอะฟลาท็อกซินในเมล็ดถั่วลิสง” เพิ่มขึ้นมาจากเดิมที่ก็มีมาตรฐานสินค้าเกษตรของถั่วลิสงแห้งอยู่แล้ว โดยคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นว่าประเทศไทยเรามีการบริโภคถั่วลิสงในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเฉพาะที่ผลิตเองในประเทศยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค จึงต้องมีการนำเข้าถั่วลิสง นอกจากนี้ถั่วลิสงถือเป็นต้นทางของการผลิตอาหารอีกหลากหลายชนิด ทางคณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานควบคุมเรื่องการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในถั่ว เนื่องจากอะฟลาท็อกซินเป็นสารพิษที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยข้อกำหนดปริมาณอะฟลาทอกซินของถั่วลิสง ที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากจะมีการกำหนดเรื่องปริมาณการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินที่กำหนดไว้เท่ากับประกาศกระทรวงสาธารณสุข คือ พบได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อถั่วลิสง 1 กิโลกรัม ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่น่าสนใจ อย่างการกำหนดให้ต้องมีการคัดแยกเมล็ดขึ้นรา เมล็ดแตกหัก เมล็ดเสียหาย และสิ่งแปลกปลอมก่อนส่งจำหน่าย ซึ่งเมล็ดที่พบความบกพร่องที่ถูกคัดแยกไว้ ห้ามนำไปจำหน่ายเพื่อบริโภคหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นอีก และการนำเข้าถั่วลิสงจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยต้องมีการแสดงหลักฐานการตรวจสอบการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินและต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่ควบคุมดูแลก่อนนำมาวางจำหน่าย ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของถั่วลิสง (100 กรัม) สารอาหาร ถั่วลิสงแห้ง ถั่วลิสงสุก พลังงาน (กิโลแคลอรี) 548 316 โปรตีน (กรัม) 23.4 14.4 ไขมัน (กรัม) 45.3 26.3 คาร์โบไฮเดรต (กรัม) 21.6 11.4 เหล็ก (มิลลิกรัม) 1.5 2.2 แคลเซียม (มิลลิกรัม) 58 45 ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) 357 178 ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร   ฉลาดซื้อเราเคยทดสอบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงมาแล้วครั้งหนึ่ง ในฉลาดซื้อฉบับที่ 94 ธันวาคม 2551 ซึ่งตอนนั้นทดสอบอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงชนิดพร้อมรับประทาน ได้แก่ ถั่วลิสงอบเกลือ ถั่วลิสงเคลือบแป้ง และถั่วลิสงอบกรอบทั้งเปลือก รวมแล้วทั้งหมด 10 ตัวอย่าง ซึ่งผลที่ออกมาถือว่าน่ายินดี เพราะแม้จะมีการพบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินอยู่บ้าง คือพบจำนวน 5 ตัวอย่าง แต่ก็เป็นการพบที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน คือไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม โดยพบในปริมาณที่น้อยมาก คือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเท่านั้นผลทดสอบการปนเปื้อนของเชื้อราอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงดิบจากผลการทดสอบครั้งนี้ พบข่าวดี เมื่อตัวอย่างถั่วลิสงดิบที่ฉลาดซื้อสุ่มนำมาทดสอบจำนวนทั้งหมด 11 ตัว พบว่าไม่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินเลยถึง 10 ตัวอย่าง มีเพียงหนึ่งตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนคือยี่ห้อ Home Fresh Mart ซึ่งก็พบการปนเปื้อนที่ค่อนข้างน้อยมากๆ คือ 1.81 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเท่านั้น ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฏหมายกำหนดไว้ที่ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม        

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 185 น้ำตาลในน้ำผักผลไม้

เครื่องดื่มประเภทน้ำผักผลไม้ สามารถสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับผู้บริโภคได้เสมอ เพราะมักโฆษณาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมันคงเป็นเช่นนั้นจริงๆ หากเครื่องดื่มเหล่านั้นไม่ผสมน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน หรือตามที่นักโภชนาการแนะนำคือ 24 กรัม/วัน หรือ 6 ช้อนชา/วัน เพราะน้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งหากเราบริโภคมากเกินไป สามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคอ้วนหรือฟันผุ ทั้งนี้ไม่ว่าน้ำตาลนั้นจะมาจากการสกัดหรือเป็นน้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในผลไม้ก็ตาม เพราะร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนน้ำตาลฟรักโทสให้กลายเป็นกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานได้เช่นกันฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเสนอผลทดสอบ ปริมาณน้ำตาลในน้ำผักผลไม้จำนวน 27 ตัวอย่างจาก 8 ยี่ห้อยอดนิยม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ และป้องกันการบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการโดยไม่รู้ตัว ซึ่งยี่ห้อไหนจะมีน้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน ไปดูกันเลย    ตารางผลทดสอบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 สารฟอกขาวกับน้ำตาลมะพร้าว

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 300บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ สำหรับขนมไทย อาหารไทย หลายตำรับนั้น น้ำตาลมะพร้าวที่นำมาปรุงประกอบจะให้รสสัมผัสที่นุ่มนวล หวานมันกว่าน้ำตาลทราย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอาหาร โดยในอดีตน้ำตาลมะพร้าวแท้ ต้องได้จากการเคี่ยวน้ำหวานที่ปาดจากดอกมะพร้าว(งวงหรือจั่นมะพร้าว) เคี่ยวไฟจนเกือบแห้งแล้วบรรจุในปี๊บ เรียกกันว่า น้ำตาลปี๊บ หรือใส่ในเบ้าหรือถ้วยหลุมตื้นที่เรียกว่า น้ำตาลปึก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสวนมะพร้าว แต่ปัจจุบันการผลิตน้ำตาลมะพร้าวแท้อาจไม่คุ้มทุนและเจอปัญหาในการผลิตหลายอย่าง จึงเกิดการใช้น้ำตาลอย่างอื่น เช่น น้ำตาลทราย มาผสมให้มีรูปแบบอย่างน้ำตาลมะพร้าว ทำให้คุณค่าและรสชาติแท้ๆ ลดลงไป รวมถึงการปนเปื้อนของสารตกค้างอย่าง สารฟอกขาว สารกันบูด ยาฆ่าแมลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคได้ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงลองหยิบจับน้ำตาลมะพร้าวทั้งที่บอกว่า แท้ และชนิดเลียนแบบ ซึ่งวางขายในห้างค้าปลีกและร้านค้าในตลาดสด จำนวน 21 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสารฟอกขาว ซึ่งทางราชการอนุญาตให้ใช้ในการผลิตได้แต่ต้องไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด(ดูท้ายตาราง)ไปดูกันเลยว่าน้ำตาลมะพร้าวของใครไม่มีสารฟอกขาวบ้าง     สารฟอกสีเหล่านี้  เป็นสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดตามชนิดของอาหาร ถ้าใช้เกินปริมาณที่กำหนดจะเกิดอันตรายได้ ส่วนสารฟอกขาวที่เป็นอันตราย กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้เจือปนในอาหาร คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium hydrosulfite) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ผงซักมุ้งสารประกอบซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทโดยใช้ เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่ จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย  เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในอาหารประเภท  โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ   อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้คือ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบคือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำเป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหนข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ของ Suttiphan (สุทธิภัณฑ์) ที่แบ่งจำหน่ายที่ ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต ซีคอนบางแคนั้น ไม่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่ทั้งสองตัวอย่าง มีลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ต่างกัน ในฉลากของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งจำหน่ายในห้างท็อปฯ จะให้รายละเอียดที่มากกว่า ซึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากห้างกูร์เมต์ฯ นั้น ไม่มีรายละเอียดส่วนนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่  281  พ.ศ. 2547 และประกาศ อย เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อ 1  กิโลกรัมข้อสังเกต ยังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนสำหรับน้ำตาลมะพร้าว จึงใช้ตามมาตรฐานที่กำหนดในน้ำตาลทรายละเอียด   ฉลาดซื้อแนะ1.ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่ชัดเจน เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นน้ำตาลมะพร้าวแท้ หรือน้ำตาลมะพร้าวแบบผสม นอกจากนี้ควรมีการระบุ วัน เดือน ปีที่ผลิต ขนาดบรรจุ ราคาที่แน่นอน คำแนะนำในการเก็บรักษา การนำไปใช้ประโยชน์ และแหล่งผลิตพร้อมชื่อยี่ห้อสินค้าที่ชัดเจน 2.ไม่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสีขาวจนผิดธรรมชาติ น้ำตาลมะพร้าวแท้จะมีสีคล้ำเนื่องจากการเคี่ยวไฟเป็นเวลานาน ถ้าเป็นน้ำตาลปึกต้องไม่มีลักษณะแข็งกระด้างจนเกินไป 3.หากพบว่าน้ำตาลมะพร้าวที่ซื้อมา มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน รสหวานแหลม เนื้อน้ำตาลแข็งมาก เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนที่อุณหภูมิห้องโดยสียังคงขาวนวล ต้องระวัง เพราะอาจเป็นน้ำตาลมะพร้าวที่ผสมสารฟอกขาวในปริมาณมาก      -------------------------------------------------- >>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 300 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบรนด์ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง จาก foodwatch

จากกรณีข่าว องค์กรเอกชนในเยอรมัน (foodwatch.org) ชี้ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบรนด์ดังปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง  ที่สำนักข่าวต่างๆได้ลงไปนั้นทางนิตยสารฉลาดซื้อขอนำผลทดสอบทั้งหมด มาลงไว้ให้เป็นข้อมูล ทั้งนี้ท่านสามารถกดโหลดข้อมูล ฉบับเต็มของแหล่งข้อมูลได้ที่นี่ครับ >>>> 2016-07-04_Mineraloele_in_Schokolade_und_Chips.pdf

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ไนเตรท และ ไนไตรท์ ใน “หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน เนื้อเค็ม”

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 200 บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มหรือเนื้อเค็ม นอกจากจะเป็นอาหารถูกปากของใครหลายคนแล้ว ยังเป็นของฝากยอดนิยมอีกด้วย เพราะมีรสชาติอร่อยและสะดวกพร้อมรับประทาน โดยสามารถนำมาเป็นของกินเล่น หรือกินคู่กับข้าวสวยหรือเหนียวร้อนๆ ก็ยังได้อย่างไรก็ตามอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการแปรรูป เพื่อเพิ่มรสชาติ ช่วยถนอมอาหารและทำให้สามารถจำหน่ายได้สะดวกขึ้น ซึ่งบางเจ้าอาจใส่สารเคมีอย่าง เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์เข้าไป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะโดยรวมตามที่ควรเป็น โดยหากผู้บริโภคได้รับสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่มากเกินไป สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปดูผลทดสอบ เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์ใน หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มและเนื้อเค็มจำนวน 14 ยี่ห้อ หลังจากที่เราเคยเสนอผลทดสอบสารดังกล่าวในไส้กรอกกันแล้ว ซึ่งรับรองว่าผลทดสอบคราวนี้ยังน่าสนใจเหมือนเดิม   มาตรฐานสำหรับการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ... ข้อ 6  การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชนิดวัตถุเจือปนอาหาร ชนิดของอาหารและปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ ตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังนี้  6.1 ตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับการใช้วัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ (Codex General Standard for Food Additives) ฉบับล่าสุด 6.2 ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร ซึ่งในกรณีของ หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม ไม่มีการกำหนดเฉพาะไว้ตามประกาศข้อ 6.2 (ประกาศ อย.) จึงยึดตามเงื่อนไขของประกาศ ข้อ 6.1 (โคเด็กซ์) คือ สามารถใช้ "โซเดียมไนไตรท์" (INS 250) ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง แปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง ทำให้สุกโดยใช้ความร้อน ซึ่งกำหนดให้ใช้โซเดียมไนไตรท์ ปริมาณสูงสุดได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม (ตามประกาศ อย. มีกำหนดการใช้ไนไตรท์ไว้เฉพาะเนื้อหมัก เช่น ไส้กรอก แฮม ให้ใช้ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ซึ่ง หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม ไม่น่าจะใช่เนื้อหมักตามประกาศ อย.) สำหรับกรณีการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่เป็น "โซเดียมไนเตรท" (INS 251) ในผลิตภัณฑ์เนื้อประเภท หมูแผ่น หมูสวรรค์ เนื้อเค็ม ไม่มีกำหนดไว้ในโคเด็กซ์ และไม่มีการกำหนดเฉพาะไว้ใน ประกาศ อย. แต่คงเทียบเคียงได้กับปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ในเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อหมัก(ไส้กรอก แฮม) ที่มีการกำหนดเฉพาะไว้ คือ “โซเดียมไนเตรท” ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ในประกาศ อย. เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2548) ยังได้ระบุเพิ่มเติมไว้ว่า “การใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ต้องมีปริมาณรวมกันแล้ว ไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด” ซึ่งถ้ายึดตามเกณฑ์นี้ การใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์ร่วมกัน  ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่งให้สุกโดยใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง แปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน ก็คือ ต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ผลการทดสอบ             ตัวอย่างที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 80 มิลลิกรัม/อาหารน้ำหนัก 1 กิโลกรัม   ตัวอย่างที่พบการใช้ไนเตรท เกิน 500 มิลลิกรัม/อาหารน้ำหนัก 1 กิโลกรัม      สรุปผลการทดสอบ- จากทั้งหมด 14 ตัวอย่าง พบว่ามี 10 ตัวอย่าง(ร้อยละ 71) ใส่สารไนเตรท ไนไตรท์ ไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้ใช้ ตามประกาศ อย เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร- มี 1 ตัวอย่างที่มีไนเตรทเกินกว่าค่าปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ ยี่ห้อ หมูสวรรค์ ร้านหมู หมู โดยตรวจพบไนเตรทสูงถึง 2033.16 มก./กก.- พบ 1 ตัวอย่างที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ   ตราบ้านไผ่ เนื้อสวรรค์ พบไนเตรท 94.66 มก./กก. และพบไนไตรท์น้อยกว่า 10 มก./กก. รวมแล้วอยู่ระหว่าง 94.66  - 104.66 มก./กก- พบ 2 ตัวอย่าง. ที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ(1)  เนื้อเค็ม ตราลัดดา พบไนเตรท 169.93 มก./กก. และไนไตรท์ 55.68 มก./กก. รวม 225.61 มก./กก.(2) เนื้อเค็ม ร้านหมู หมู พบไนเตรท 216.05 มก./กก. และไนไตรท์ 17.17 มก./กก. รวม 233.22 มก./กก.ฉลาดซื้อแนะ    ไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูปบ่อยครั้งเกินไป เพราะมีความเสี่ยงต่อการรับเอาสารเคมีที่ใช้เจือปนเพื่อการถนอมอาหารในปริมาณมาก เนื่องจากหลายครั้งพบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีการใช้ในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว  ข้อมูลอ้างอิง :•    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร•    ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2548)•    ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับวัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ http://food.fda.moph.go.th/data/FoodAdditives/GSFA_2014.pdf •    แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556•    การใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ http://food.fda.moph.go.th/data/news/2558/sum_newser/TrainingFA2011/3.2Meat54.pdf-------------------------------------------------->>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 200 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค--------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 อาหารเม็ดสำหรับแมวโตเต็มวัย

ได้เวลาเอาใจคนรักสัตว์กันแล้ว คราวนี้ฉลาดซื้อมีผลทดสอบเปรียบเทียบอาหารสำเร็จรูปแบบแห้งสำหรับแมว ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำร่วมกับห้องปฏิบัติการของสถาบันสัตวแพทย์แห่งชาติสวีเดน (http://www.sva.se/en)  อาหารเหล่านี้ทั้งยี่ห้อที่วางตัวเป็นผลิตภัณฑ์ (และราคา) พรีเมียม และยี่ห้อธรรมดาทั่วไป ต่างก็อวดอ้างสรรพคุณทางโภชนาการกันทั้งนั้น ถึงเวลาต้องรู้ให้ได้ว่าสูตรใครดีที่สุดสำหรับแมวของเราแล้วสิ่งที่ตรวจหาในการเปรียบเทียบคุณภาพอาหารแมวครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม: 1.    กลุ่มที่ควรมีให้น้อยเข้าไว้ ได้แก่ ไมโคทอกซิน T-2 และ HT-2 เนื่องจากสารเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อแมว สหภาพยุโรปจึงกำหนดให้มีได้ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัมในอาหารแมว ซึ่งยี่ห้อ Best Friend Bilanx มีมากถึง 180 ไมโครกรัม/กิโลกรัมไฟเบอร์ ซึ่งไม่จำต้องมีก็ได้เพราะแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ หากตรวจพบมากกว่าร้อยละ 1 หมายความว่าผู้ผลิตอาจใส่เพิ่มลงไปเพื่อลดต้นทุน การทดสอบครั้งนี้พบว่าทุกยี่ห้อมีเกินร้อยละ 1 แมกนีเซียม แม้จะยังไม่มีเกณฑ์กำหนดแต่ก็อาจทำให้แมวเป็นนิ่วในไตได้หากได้รับมากไป 2.    กลุ่มที่ยิ่งมีมากยิ่งดี ได้แก่ โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทอรีน (กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายแมวไม่สามารถผลิตเองได้ หากได้รับน้อยเกินไปอาจทำให้แมวตาบอด ขนหรือฟันร่วงก่อนเวลาอันควร รวมถึงมีความปกติของระบบสืบพันธุ์) เราพบว่ายี่ห้อที่มีทอรีนมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ N&D / Royal Canin / และ Orijenการสำรวจคราวนี้ครอบคลุมอาหารแมว 35 ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดในยุโรปเป็นหลัก (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 16,000 บาทต่อหนึ่งตัวอย่าง) แต่ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอนำเสนอเพียง 20 ผลิตภัณฑ์ รับรองว่ามียี่ห้อที่จำหน่ายในบ้านเราด้วย ... มาดูกันเลยว่ามีปริมาณสารอาหารเท่าไรในอาหารแมว 100 กรัมของแต่ละยี่ห้อ ... สูตรของใครจะตรงใจคุณและน้องแมวกว่ากัน                              

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 เชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต

โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนมเปรี้ยว(fermented milk) หรือผลิตภัณฑ์นมชนิดที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแล็กทิก (lactic acid bacteria, LAB) แบคทีเรียชนิดที่นิยมใช้หมักโยเกิร์ต คือ สเตรพโตค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และแล็กโทบาซิลลัส บัลการิคัส (Lactoobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) โดยผู้ผลิตมักใช้เชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิดนี้ร่วมกันเพื่อให้สามารถผลิตโยเกิร์ตได้เร็วขึ้น มีกลิ่นและรสชาติดีกว่าใช้เชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว อย่างไรก็ตามอัตราส่วนของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดและสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาเป็นหัวเชื้อจะมีผลต่อรสชาติและกลิ่นรวมทั้งเนื้อสัมผัสของโยเกิร์ต ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อที่ผลิตออกมาขาย และอาจมีการเติมแบคทีเรีย LAB ชนิดอื่นลงไปด้วย เช่น แบคทีเรียกลุ่มโพรไบโอติก อย่าง บิฟีโดแบคทีเรียม(Bifidobacterium) โยเกิร์ตนั้นโดยทั่วไปจะใช้น้ำนมวัวเป็นวัตถุดิบ แต่ก็สามารถใช้น้ำนมจากสัตว์ชนิดอื่น เช่น น้ำนมแพะ หรือผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น น้ำนมถั่วเหลืองหรือกะทิแทนน้ำนมวัวได้ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จะเรียกโยเกิร์ตที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือเติมผลไม้ลงไปว่า โยเกิร์ตปรุงแต่ง (flavoured yogurt) ทั้งโยเกิร์ตและโยเกิร์ตปรุงแต่งจะต้องมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่มีชีวิตคงเหลืออยู่ ในประเทศไทยโยเกิร์ตจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ โยเกิร์ตชนิดแข็งตัว(set yoghurt) ซึ่งจะมีเนื้อแน่น และโยเกิร์ตชนิดคน(stirred yoghurt) ซึ่งเนื้อโยเกิร์ตค่อนข้างเหลวไม่จับเป็นก้อน   การเลือกซื้อโยเกิร์ต จุดเด่นที่เราต้องการจากโยเกิร์ตคือ จุลินทรีย์กลุ่มแลกทิก(LAB) ซึ่งช่วยเรื่องสมดุลในระบบทางเดินอาหารและยังทำให้คนที่ไม่สามารถดื่มนมได้เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่จะย่อยแลกโทสในน้ำนมนั้น สามารถกินโยเกิร์ตทดแทนได้ หลักการซื้อจึงควรดูเรื่องอุณหภูมิในการเก็บรักษาโยเกิร์ต เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้หมักและรุ่นการผลิต   1.เลือกที่มีวันผลิตใกล้เคียงกับวันที่ซื้อ เพื่อให้ได้โยเกิร์ตที่สดใหม่ ซึ่งจะยังมีเชื้อจุลินทรีย์ LAB ที่มีชีวิตจำนวนมาก(เชื้อจุลินทรีย์จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ เมื่อผ่านไปหลายวัน) 2.ตู้แช่บริเวณชั้นวางผลิตภัณฑ์ควรมีอุณหภูมิในการเก็บรักษาระหว่าง 2 – 5 องศาเซลเซียส คือต้องเย็นพอๆ กับตู้เย็นบ้านหรือเย็นกว่า เนื่องจากจุลินทรีย์ LAB ชอบอากาศเย็น และจะคงสภาพมีจำนวนเชื้อที่มีชีวิตมากกว่าในที่อากาศร้อน 3.พลิกดูฉลากอ่านชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในถ้วยถ้าเป็น สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัสและแล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส เพียงสองชนิดจัดว่าเป็นโยเกิร์ตธรรมดา แต่หากต้องการโยเกิร์ตที่เป็นโพรไบโอติก ต้องเลือกที่มีเชื้ออื่นที่ข้างถ้วย โดยโพรไบโอติกที่มีอยู่ในโยเกิร์ตในท้องตลาดบ้านเราคือ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum) ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010) แล็คโตแบซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น (ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยมักใส่โพรไบโอติกเพียง 1 ชนิด ส่วนที่มาจากต่างประเทศจะเติมโพรไบโอติกลงไป 1-3 ชนิด) 4.โยเกิร์ตแบบโพรไบโอติก จะมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ถ้าคุณเป็นคนท้องผูกควรลองรับประทานโยเกิร์ตประเภทนี้ แต่ถ้ามีระบบขับถ่ายไว ควรเลือกรับประทานโยเกิร์ตแบบธรรมดา โยเกิร์ตพร้อมดื่มเหมือนหรือแตกต่างจากโยเกิร์ตอย่างไร โยเกิร์ตพร้อมดื่มหรือนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม มีกระบวนการหมักเหมือนกับโยเกิร์ต คือใช้วัตถุดิบเป็นนมวัวและเติมเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแลกทิกลงไป เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมักแล้วจะมีการเจือจางและปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือมีการเติมน้ำผลไม้หรือน้ำเชื่อมเพิ่มลงไป จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหลว นมเปรี้ยวที่วางขายซึ่งผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ และนมเปรี้ยวพร้อมดื่มยูเอชที โพรไบโอติก(Probiotic) หมายถึง แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กทิก(lactic acid bacteria, LAB) เช่น Lactobacillus และ Bifidobacterium แบคทีเรียกลุ่มนี้ พบในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก(fermentation) เช่น นมเปรี้ยว แหนม กิมจิ จะช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค(pathogen) ช่วยย่อยอาหารที่มนุษย์ย่อยไม่ได้หรือย่อยได้ไม่หมด ช่วยการดูดซึมของสารอาหาร โคเรสเตอรอล และสร้างวิตามินที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย อาหารที่แบคทีเรีย กลุ่มโพรไบโอติกนำไปใช้ได้ เรียกว่า พรีไบโอติก(prebiotic) เช่น ใยอาหาร(dietary fiber) ข้อมูล1. ดร.สุนัดดา โยมญาติ นักวิชาการสาขาชีววิทยา http://biology.ipst.ac.th/?p=9872. รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 ฉลากแป้งฝุ่นทาผิวในประเทศไทยยังไม่มีคำเตือน อันตรายเสี่ยงมะเร็ง

หลังข่าวศาลชั้นต้นแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ตัดสินให้ “จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” จ่ายเงินจำนวน 72 ล้านดอลลาร์ให้กับสุภาพสตรีรายหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย ซึ่งฟ้องร้องว่าสาเหตุของโรคนั้นมาจากแป้งฝุ่นของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันที่ตนใช้มายาวนานหลายสิบปี ได้กระจายไปทั่วโลก ความวิตกกังวลก็พลันบังเกิดขึ้นกับคนจำนวนมหาศาลที่นิยมใช้แป้งฝุ่นโรยตัว โดยเฉพาะบริเวณจุดซ่อนเร้น จากข่าวพบว่า ที่ผ่านมา จอห์นสันแอนด์จอห์นสันถูกฟ้องร้องกว่า 1,200 คดี ที่ทั้งหมดอ้างอิงจากผลการศึกษาและวิจัยต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แป้งเด็กจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์แบรนด์ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์มีส่วนก่อให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ ในรายละเอียด คณะลูกขุนแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ ตัดสินว่า จอห์นสันแอนด์จอห์นสันต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ และอีก 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นค่าชดเชยแก่ครอบครัวของ แจ็คกี ฟอกซ์ สุภาพสตรีที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่เมื่อปีที่แล้ว หลังจากใช้แป้งจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ติดต่อกันนานหลายปี เหตุผลสำคัญ คือ ทางบริษัทรับทราบมาไม่ต่ำกว่า 30 ปีแล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งแต่ก็ล้มเหลวที่จะแจ้งและตักเตือนผู้บริโภค “มีความชัดเจนว่าบริษัทได้ปกปิดข้อมูลบางอย่างเอาไว้” คริสตา สมิธกล่าวในฐานะหัวหน้าคณะลูกขุนแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ “สิ่งที่บริษัทควรทำมานานแล้วคือติดฉลากเพื่อตักเตือนผู้บริโภค” แจ็คกี ฟอกซ์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่ในวัย 62 ปี ได้ให้การในช่วงหกเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตว่า เธอใช้แป้งเด็กจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ทุกๆ เช้า จนกระทั่งตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็ง (ข้อมูลจาก : http://waymagazine.org/%E0%B9%8Bjjcausecancer/)   ฉลากแป้งฝุ่นและคำเตือนสำคัญ จากข่าวดังกล่าวทำให้เกิดประเด็นถกเถียงทางสังคมว่าการทาแป้งบริเวณจุดซ่อนเร้นเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงดังคำตัดสินในคดีของแจ็คกี ฟอกซ์ บริษัทผู้ผลิตควรมีคำเตือนเพื่อให้ผู้บริโภคได้ระมัดระวังการใช้ด้วยหรือไม่ โครงการสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จึงร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มสำรวจและเก็บตัวอย่างแป้งฝุ่นทาผิวจากท้องตลาดและห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ รวม 35 ตัวอย่าง เพื่อพิจารณาฉลาก ดูส่วนประกอบของแป้งว่ามียี่ห้อไหนบ้างที่มี ทัลค์ (Talc) เป็นส่วนประกอบ และมีคำเตือนที่บอกถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการทาแป้งฝุ่นกับการเกิดมะเร็งหรือไม่   สรุปการสำรวจ1.ไม่พบคำเตือนที่บอกถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการทาแป้งฝุ่นกับการเกิดมะเร็ง 2. พบผลิตภัณฑ์ 4 ตัวอย่าง ไม่ระบุคำเตือนใดๆ 3. คำเตือน ที่พบคือ ระวังอย่าให้แป้ง เข้าจมูกและปากเด็ก ระวังอย่าให้แป้งเข้าตา ห้ามใช้โรยสะดือเด็กแรกเกิด ถ้ามีการผสมสารเพื่อป้องกันแสงแดด จะระบุเพิ่ม หากใช้แล้วมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นต้องหยุดใช้และปรึกษาแพทย์4. พบ 34 ตัวอย่าง มีทัลค์ (Talc) เป็นส่วนประกอบสำคัญ5. มีเพียง 1 ตัวอย่าง ที่ไม่มีทัลค์ (Talc) เป็นส่วนประกอบ คือ แป้งหอมไร้ซแคร์ (ฟลอรัล สวีท) (ReisCare Perfumed Powder (Floral Sweet) แป้งฝุ่นทาผิวกับมะเร็งสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ติดตามเฝ้าระวังเกี่ยวกับการปนเปื้อนของแร่ใยหินในทัลก์มาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553 และได้ส่งตรวจวิเคราะห์หาแร่ใยหินในแป้งที่มีส่วนผสมของทัลค์ จำนวน 40 ตัวอย่าง ซึ่งใน 40 ตัวอย่างนั้นตรวจไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหินแต่อย่างใด นอกจากนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ถึง 2558 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ส่งตัวอย่างแป้งที่มีส่วนผสมของทัลก์ ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์ โดยส่งตัวอย่างแป้งฝุ่นโรยตัว จำนวน 73 ตัวอย่าง และทุกตัวอย่างตรวจไม่พบแร่ใยหินปนเปื้อน ทั้งนี้แร่ใยหินเป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ลำดับที่ 757 “จากการศึกษาพบว่า ทัลค์ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อสัตว์ทดลอง ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และยังอยู่ระหว่างการวิจัยว่าทำให้เกิดมะเร็งหรือไม่”   ฉลาดซื้อแนะ1. ควรอ่านวิธีการใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด2. ระวังอย่าให้แป้งเข้าจมูก และปาก3. อย่าสูดดมแป้ง4. ไม่ควรใช้แป้งกับบริเวณอวัยวะเพศ               ทัลค์ (Talc), ทัลคัม (Talcum) และแมกนีเซียม ซิลิเกท (Magnesium Silicate) ทั้ง 3 ชื่อ คือตัวสารตัวเดียวกันเพียงแต่เรียกต่างกันเท่านั้น ทั้ง 3 ชื่อ คือแร่หินชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการทำเหมืองหินทาล์ค แล้วนำมาโม่ให้ละเอียด อบให้แห้งและฆ่าเชื้อ แม้จะมีการแยกสิ่งแปลกปลอมออก แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ จึงยังมีสิ่งแปลกปลอมหลงเหลืออยู่บางอย่าง ที่อาจจะมีคุณสมบัติคล้ายแอสเบสตอส (Asbestos) ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) และ U.S. Environmental Protection Agency จัดให้เป็นUnclassifiable Carcinogen (สารก่อมะเร็งที่ไม่สามารถจัดจำพวกได้) “ทัลคัม” เป็นสารอนินทรีย์ จึงไม่สามารถ ย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ถ้าใช้โดยไม่ระมัดระวัง เมื่อสูดเข้าไปเป็นเวลานาน จะเกิดการสะสมอาจทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ(Talcosis) และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ในสุภาพสตรีได้(Ovarian Cancer) กรณีใช้ใต้ร่มผ้าเป็นระยะเวลานานๆ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 ผลิตภัณฑ์เพื่อวงแขนที่แห้งสบายไร้กลิ่น

ฉลาดซื้อฉบับรับหน้าร้อนเล่มนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบผลิตภัณฑ์สำหรับควบคุมเหงื่อและกลิ่นใต้วงแขน ที่องค์กรผู้บริโภคของประเทศฝรั่งเศสส่งเข้าทดสอบร่วมกับองค์การทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ในปีที่ผ่านมา มีทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายทั้งในรูปแบบของลูกกลิ้งและสเปรย์   การทดสอบครั้งนี้ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 70,000 บาทต่อผลิตภัณฑ์ เขาเน้นการวัดประสิทธิภาพที่อวดอ้างในโฆษณา -- ความสามารถในการระงับกลิ่น ความสมารถในการระงับเหงื่อ และการไม่ทิ้งคราบขาวบนเสื้อ นอกจากนั้นก็ยังสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ (เช่นกลิ่น ความรู้สึกแห้งสบาย) และให้คะแนนการติดฉลากแจ้งข้อมูลแก่ผู้บริโภคด้วย   คะแนนเต็มแต่ละด้านอยู่ที่ 100 และคะแนนด้านประสิทธิภาพสูงที่สุด 80 คะแนนเป็นของ REXONA MEN COBALT DRY MOTION SENSE SYSTEM ในขณะที่ VICHY DEODORANT ANTITRANSPIRANT 48H รั้งท้ายด้วยคะแนนประสิทธิภาพเพียง 49 คะแนนเท่านั้นติดตามรายละเอียดในหน้าถัดไปว่าผลิตภัณฑ์ไหนจะคู่ควรกับพื้นที่ใต้วงแขนของคุณมากที่สุด ...           ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- มนุษย์ทุกคนไม่ได้เกิดมาตัวเหม็น ...บางคนโชคร้าย ไม่สามารถผลิตสารเคมีที่เป็นอาหารอันโอชะของแบคทีเรีย เหงื่อของคนพวกนี้จึงไม่สามารถสร้างกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้ และการสำรวจพบว่าคนจำนวนมากยังไม่ตระหนักเรื่องนี้ จากการสัมภาษณ์ผู้หญิงที่ “ไม่สามารถมีกลิ่นตัว” จำนวน 117 คน นักวิจัยของมหาวิทยาลัยบริสตอล ในอังกฤษพบว่า ร้อยละ 75 ของพวกเธอใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเป็นประจำ หัวหน้าคณะวิจัยให้ความเห็นว่า เหตุที่พวกเธอใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นนั้น คงเป็นเพราะความกดดันทางสังคม -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------เหตุผลที่เราไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเป็นประจำอาจมีหลายเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พวกนี้ แต่ที่ยืนยันได้คือ การหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หลังจากใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้แบคทีเรียตัวร้ายใต้วงแขนฟื้นคืนชีพและเติบโตได้เร็วกว่าเดิมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทคาโรไลนาเซ็นทรัล พบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ (ทั้งแบบระงับเหงื่อ และระงับกลิ่น) จะไปเปลี่ยนแปลงสภาพ “ชุมชน” ของจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใต้วงแขนเรา ด้วยการกำจัดแบคทีเรียฝ่ายธรรมะออกไป เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้แบคทีเรียฝ่ายอธรรมได้รุ่งเรืองเฟื่องฟู -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------ตกงานแล้วไม่แคร์กลิ่นตัวการสำรวจโดย The Grocer วารสารวงการค้าปลีกของอังกฤษเมื่อ 3 ปีก่อนพบว่า ภาวะว่างงานมีผลต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายของหนุ่มเมืองผู้ดี นักวิเคราะห์มองว่าการใช้ผลิตภัณฑ์นี้หมายถึงการ “เตรียมพร้อมสำหรับวันทำงาน” เมื่อไม่มีงาน ผลิตภัณฑ์นี้จึงไม่จำเป็นสำหรับพวกเขาย้อนไปในปี 2013 ปัญหาการว่างงานเป็นเรื่องใหญ่ของอังกฤษ ด้วยสถิติ 1 ใน 10 ของบัณฑิตหางานทำไม่ได้ในช่วง 6 เดือนหลังจบการศึกษา และผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะว่างงานมากกว่าผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม >