ฉบับที่ 161 วัดค่าพลังงานและโซเดียมกับอาหารเช้าสำเร็จรูป

ชีวิตที่เร่งรีบแบบในโฆษณาสารพัดอาหารเช้าสำเร็จรูป อาจสร้างภาพให้ดูสวยงามด้วยวิธีการแก้ไขปัญหาแบบง่าย คือ แค่ฉีกซองเติมน้ำร้อนก็อิ่มท้องสบายๆ แต่อย่าลืมกันนะว่าของสำเร็จรูป  มันไม่ควรเป็นคำตอบสุดท้าย ที่จริงแล้วมันควรจะเป็นแค่ตัวช่วยเฉพาะกิจเท่านั้น เพราะถ้าจัดเต็มกันทุกวัน ท่านมีปัญหาสุขภาพแน่ โซเดียมแทบไม่ต่างจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฉลาดซื้อเคยทดสอบปริมาณโซเดียมทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและโจ๊กซอง เราพบว่ามันมีค่าโซเดียมแทบไม่ต่างกัน จึงควรระวังในการบริโภค เรื่องน่ายินดีคือ การสำรวจครั้งนี้ฉลาดซื้อพบว่า โจ๊กซองหลายแบรนด์มีค่าโซเดียมลดลง เช่น มาม่า โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป รสหมู มีโซเดียม 2826 มก. /100 ก.(ฉลาดซื้อ ฉ.101)  เมื่อสำรวจซ้ำคราวนี้พบว่าลดลงมาที่ 1961 มก./100 ก.   ü ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสม แนะนำให้บริโภคประจำวันคือ ไม่เกิน 2400 มิลลิกรัม//ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ อยู่ที่ประมาณ 1500-2000 มก. ü กินโซเดียมมากๆ ทำให้ไตและหัวใจทำงานหนัก ค่าพลังงาน โซเดียมและน้ำตาลในอาหารเช้ากึ่งสำเร็จรูป         //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 161 การปนเปื้อนในน้ำหมักชีวภาพ

กระแสความนิยมบริโภคน้ำหมักชีวภาพน่าจะมาพร้อมกับการเติบโตของเคเบิ้ลทีวียุคไร้การควบคุม ย้อนไปเมื่อราว 5-6 ปีก่อน เคเบิ้ลท้องถิ่นและวิทยุชุมชนผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด คอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยการขายสินค้าที่อวดอ้างสรรพคุณเกี่ยวกับการรักษาโรค บำรุงสุขภาพ ปรากฏอยู่ในสื่อประเภทนี้เกือบตลอดทั้งวัน น้ำหมักชีวภาพ หรือน้ำเอนไซม์ ก็เป็นตัวหนึ่งที่โด่งดัง หากจำกันได้ ผู้ที่สร้างกระแสฮือฮามากที่สุดเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพก็คือ ป้าเช้ง หรือ นางสาวศิริวรรณ ศิริสุนทรินท์ ป้าเช็งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม หลังจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) แจ้งความดำเนินคดี ในข้อหาเป็นผู้ผลิตน้ำหมักชีวภาพ  "น้ำมหาบำบัด" ราคาขวดละ 1,000 บาท อ้างรักษาได้สารพัดโรค และ "น้ำเจียระไนเพชร "ราคาขวดละ 100 บาท ซึ่งอวดสรรพคุณว่าใช้เป็นยาหยอดตา(ทำให้มีคนตาบอด) ในข้อหาจำหน่ายและโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต และโฆษณาเกินจริง (วันที่ 25 มกราคม 2553) ปัจจุบันป้าเช้ง ก็ยังขายฝันอยู่ด้วยการประกาศแจกสูตรน้ำหมักฟรี ด้วยสโลแกน ทำเอง กินเอง เพราะสูตรน้ำหมักไม่ได้ทำยากเย็นอะไรเลย และการกินน้ำหมักหรือของหมักที่เกิดจากจุลินทรีย์ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร มนุษย์เรากินกันมาแต่โบราณแล้ว ข้าวหมาก ไวน์ น้ำส้มสายชูหมัก ก็อยู่ในตระกูลเดียวกับน้ำหมักชีวภาพ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า น้ำหมักกินได้หรือไม่ได้ แต่ปัญหาคือ การอวดอ้างว่า กินน้ำหมักแล้วรักษาโรคได้ อย่างที่ป้าและคนอื่นๆ ที่แห่ทำขายตามๆ กันมาประกาศต่อชาวโลกต่างหากที่สร้างความสับสนให้กับคนทั่วไป เช่นเดียวกันกับสินค้าด้านสุขภาพอีกหลายประเภท ลำพังตัวมันเองอาจไม่ได้มีปัญหา แต่ปัญหามาจากความมักง่ายของผู้ผลิตที่ผสมสารเคมีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์ลงไปในผลิตภัณฑ์ด้วย ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดผลบางอย่างที่สอดคล้องกับคำโฆษณา เช่น การผสมสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ หรือการผสมยาลดน้ำหนักลงในกาแฟ เพื่อให้เห็นผลเร็วในการบรรเทาอาการ สำหรับน้ำหมักชีวภาพปัญหาที่พบในส่วนของการผสมสารเคมีอันตรายลงไปคือ การผสม ไดคลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ผลทดสอบ ล่าสุดทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี รายงานพบ เครื่องดื่ม น้ำหมักพืชแท้(หอม หวาน เย็นซ่า เต็มพลัง) ตราผู้ใหญ่สุพรรณ ปนเปื้อน ไดคลอโรมีเทน 4,695 มิลลิกรัม/ลิตร  ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา  กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยามีปริมาณไดคลอโรมีเทนเจือปนได้ไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน หรือคิดเป็น 600 มิลลิกรัม/ลิตร นอกจากนี้สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา กำหนดให้มีปริมาณไดคลอโรมีเทนปนเปื้อนในน้ำดื่มได้ไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัม/ลิตร เครื่องดื่ม "น้ำหมักพืชแท้ หอม หวาน เย็นซ่า" เต็มพลังตราผู้ใหญ่สุพรรณ แพร่หลายทุกจังหวัดในแถบภาคอีสาน อาทิ นครราชสีมา สกลนคร ขอนแก่น และนครพนม มักอวดอ้างสรรพคุณทางยาที่สามารถรักษาโรค ให้หายขาดได้ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำหมักเต็มพลัง ตราผู้ใหญ่สุพรรณ ต้องจัดเป็นยาเพราะมีการแสดงสรรพคุณที่ฉลากว่า บำรุงร่างกาย แต่กลับไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับยาจึงจัดเป็นยาเถื่อน ขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อยามาบริโภคโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้วยังไม่ปลอดภัยอีกด้วย ---------------------------------------------------------------------------------------------- ไดคลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1 มีลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลายการได้รับสารในระดับต่ำ อาจทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น เคลิ้มฝัน เวียนศีรษะ กระวนกระวาย นอกจากนี้ยังระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการระคายคอ ไอ หายใจไม่อิ่ม การรับสัมผัสโดยการกินจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีแผลและเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ การได้รับสัมผัสในระดับสูง อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้การหายใจล้มเหลวได้อาการทางระบบประสาทหลังสัมผัสที่ระดับสูง ได้แก่ ปวดศีรษะ มีอาการผิดปกติด้านจิตใจและการเคลื่อนไหวจะกดระบบประสาทส่วนกลางจนหมดสติ เมื่อได้รับปริมาณสูง คือ การทำลายระบบประสาททำให้เสียชีวิต ระยะยาวอาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ---------------------------------------------------------------------------------------------- การปนเปื้อนเชื้อโรคอันตราย น้ำหมักชีวภาพอีกหนึ่งปัญหาที่พบเสมอคือ การพบ เชื้อโคลิฟอร์ม และ อี. โคไล ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องร่วงได้ตั้งแต่เล็กน้อย  จนกระทั่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการปวดมวนท้อง ถ่ายเหลว อาจจะมีเลือดปน และมีไข้ได้   จุลินทรีย์กับน้ำหมัก จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องอาศัยการส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จุลินทรีย์แพร่กระจายโดยทั่วไปในธรรมชาติอย่างกว้างขวางในที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต  อาหารและเครื่องดื่มแต่ละชนิดมีจำนวนจุลินทรีย์แตกต่างกันไป ซึ่งอาจมีอยู่โดยธรรมชาติ หรือเติมลงไปเพื่อทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ เช่น นมเปรี้ยว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  น้ำส้มสายชู กรดอินทรีย์ ยาปฏิชีวนะ  เป็นต้น  น้ำหมักชีวภาพเกิดจากการกระทำของแบคทีเรียที่สร้าง กรดแลกติก เป็นส่วนใหญ่ พบว่าแบคทีเรียเหล่านี้อาจมีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งอาจปนเปื้อนมากับส่วนผสมของน้ำหมักชีวภาพ คือ ผัก ผลไม้ น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำ รวมทั้งมาจากกระบวนการและกรรมวิธีในการผลิต หรืออาจเติมลงไปเพื่อใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิต ซึ่งนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหมักหลายชนิด การเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ในการผลิตนี้ เป็นการควบคุมการเจริญของจุลินทรีย์ปนเปื้อนอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียได้  เช่น แบคทีเรียโคไลฟอร์ม (Coliform) และ อี โคไล (E. coli) เป็นดัชนีชี้บ่งถึงสุขลักษณะของน้ำสมุนไพรสกัดชีวภาพ แบคทีเรียสตาฟีโลค็อคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) อาจสร้างสารพิษในน้ำหมัก ทำให้อาหารเป็นพิษ คลอสทริเดียม เปอร์ฟริงเจน (Clostridium perfringens) เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ แบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella spp.) อาจเป็นสาเหตุทำให้น้ำสมุนไพรสกัดชีวภาพเน่าเสีย นอกจากนี้ยังอาจพบราบางชนิดที่ปนเปื้อน จะสามารถสร้างสารพิษได้  และยีสต์อาจทำให้น้ำหมักเสียรสชาติ มีกลิ่นและลักษณะไม่เป็นที่ต้องการ  ความปลอดภัยและคุณภาพต่อการบริโภคนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่พบในกระบวนการผลิต และต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่ต้องการในกระบวนการผลิต ในการควบคุมปัญหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ต่างๆ อาจใช้ความร้อน โดยการลวก หรือต้มวัตถุดิบ ส่วนผสมของการผลิตน้ำหมัก  หรืออาจเติมสารเคมีชนิดที่ใช้ในการผลิตอาหารลงในน้ำหมัก รวมทั้งการเลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย ในการผลิตน้ำหมักพืช เพื่อเป็นการควบคุมและกำจัดจุลินทรีย์ปนเปื้อน  ทั้งนี้จะต้องอาศัยกรรมวิธีที่เหมาะสมที่จะช่วยในการควบคุมและกำจัดจุลินทรีย์ปนเปื้อน แต่ไม่ทำให้คุณค่าสารสำคัญในน้ำหมักสลายหรือเสียสภาพไป http://www.be-v.net/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=20 //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 160 เวเฟอร์ช็อกโกแลต เผลอเคี้ยวเพลิน อ้วนแน่

เวเฟอร์ เป็นขนมหรือของว่างแสนคลาสสิค ซึ่งคนไทยรู้จักกินเวเฟอร์กันมานานแล้ว สืบไปก็ตั้งแต่เริ่มคบค้ากับชาวตะวันตก ขนมทองม้วน ทองพับ ก็คือเวเฟอร์แบบหนึ่งที่ได้ผสมผสานวิธีการทำอย่างตะวันตกกับวัตถุดิบในประเทศจนลงตัวและกลายเป็นขนมไทยที่เรารู้จักกันดี ส่วนขนมเวเฟอร์เคลือบหรือสอดไส้ต่างๆ อย่างฝรั่งเราก็คุ้นลิ้นกันมาแต่เด็ก ไม่ต่ำกว่า 40 ปี เป็นสแน็กหรือของกินเล่นที่มาก่อนขนมธัญพืชอบกรอบหรือมันฝรั่งแผ่น และยังคงได้รับความนิยมมาตลอด ขนมเวเฟอร์ที่คนไทยคุ้นเคยจะใช้ชื่อเมืองดังในประเทศจีนเป็นแบรนด์การค้า วัยเด็กของใครหลายคนคงพอร้องเพลงโฆษณาขนมเวเฟอร์กันได้ เวเฟอร์แม้จะใช้วิธีการอบเช่นเดียวกับขนมปังแห้งอย่างแครกเกอร์หรือบิสกิต แต่เนื้อสัมผัสของเวเฟอร์จะมีลักษณะเด่นที่ความ “เบา กรอบ” นิยมตกแต่งหรือเป็นโคนของไอศกรีม หรือนำแผ่นเวเฟอร์มาเคลือบระหว่างชั้นด้วยช็อกโกแลตหรือครีมที่ปรุงแต่งรสหวาน บางทีก็ม้วนแผ่นเวเฟอร์เป็นทรงหลอดกลมแล้วสอดไส้ครีมหวานๆ ลงไป ความนิยมเวเฟอร์ในประเทศไทยมีค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ. 2555-2556 ประเทศไทยผลิตขนมปังเวเฟอร์ถึงประมาณ 14 ล้านตัน(ที่มา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม) และมีมูลค่าการตลาดปีละประมาณ 1,600-1,800 ล้านบาท เฉพาะแผ่นเวเฟอร์เปล่าให้พลังงานไม่มาก แต่เมื่อนำมาเคลือบหรือปรุงแต่งร่วมกับส่วนผสมอื่นจะนิยมให้มีรสหวานจัด นับเป็นขนมให้พลังงานสูงเลยทีเดียว  ฉลาดซื้อจึงขอนำเสนอเปรียบเทียบค่าพลังงานขนมเวเฟอร์ โดยเน้นที่รสช็อกโกแลต ซึ่งถือเป็นรสชาติที่ได้รับความนิยมสูงและมีแบรนด์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาวางขายกันคับคั่งในทุกมุมสแน็กบนชั้นวางสินค้าของห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อทั่วไป       เวเฟอร์ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 คิดค้นขึ้นโดยชาวยุโรป สูตรดั้งเดิมทำจากไข่ขาว ผสมน้ำ เกลือ น้ำตาล จากนั้นนำส่วนผสมเทลงในพิมพ์เหล็กประกบบนล่างแล้วย่างบนเตาถ่านร้อนๆ เมื่อสุกจะได้แผ่นเวเฟอร์บาง เบาและกรอบ สมัยแรกเวเฟอร์ถูกใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิทางศาสนาอย่างการรับศีลมหาสนิท จนถึงช่วงปลายศตวรรษ เวเฟอร์ได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะขนมหวานที่ขาดไม่ได้ ในปี ค.ศ. 1766 พ่อครัวขนมหวานชาวฝรั่งเศสได้พลิกแพลงให้เป็นของหวานขึ้นชื่อยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยการม้วนแผ่นเวเฟอร์ขณะร้อนเป็นหลอดกลมแล้วเติมไส้ช็อกโกแลต แยมผลไม้ แล้วผูกด้วยริบบิ้นจนกลายเป็นขนมของฝากยอดฮิตประจำวงสังคมในเวลานั้น ขนมเวเฟอร์ยังถูกนำมาประกอบเป็นขนมได้อีกหลายอย่าง แต่ที่นิยมกันมากคือทำเป็นโคนใส่ไอศกรีม ซึ่งยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  แม้แต่วาฟเฟิลก็คือเวเฟอร์ที่ผสมยีสต์ลงไปเพื่อให้เนื้อแป้งฟูนุ่มแทนความบางกรอบแบบเวเฟอร์นั่นเอง //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 159 “เครื่องดื่มแมนๆ” ไว้ดูแลผู้ชายแน่หรือ??

กระแสเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ (functional drink) หรือเครื่องดื่มที่มีการเติมวิตามินและสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพลงไป กำลังมาแรงสุดๆ หวังเรียกเรตติ้งจากกลุ่มคนรักสุขภาพ กลุ่มคนรุ่นใหม่ คนวัยทำงาน โดยเฉพาะคนในเมืองที่อยากมีสุขภาพที่ดีแต่ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เครื่องดื่มประเภทนี้เริ่มต้นเจาะกลุ่มของผู้หญิงเป็นหลัก เน้นเสริมด้านสุขภาพและความงาม ก่อนจะขยายต่อมายังกลุ่มของผู้ชาย ตามกระแสรักสุขภาพและการดูแลตัวเองที่มีเพิ่มมากขึ้นของหนุ่มๆ แบบไม่น้อยหน้าสาวๆ ขนาดที่ว่าเครื่องดื่มแมนๆ ที่เคยมีภาพลักษณ์เป็นเครื่องดื่มให้พลังงานอย่าง “เครื่องดื่มชูกำลัง” ที่เจาะกลุ่มคนใช้แรงงาน และ “เครื่องดื่มเกลือแร่” ที่เน้นคนเล่นกีฬาเป็นหลัก ยังต้องปรับตัวเองด้วยการเติมวิตามินและสารอาหารต่างๆ เพิ่มลงไป เพื่อหวังปรับภาพลักษณ์ตัวเองให้เป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์กับเขาด้วย   ดื่มแล้ว “แมน” จริงหรือ? เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่สาวๆ เท่านั้นที่ห่วงใยดูแลตัวเอง หนุ่มๆ หลายคนก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการเอาใจใส่ดูแลตัวเองกันมากขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ แต่ยังรวมไปถึงผิวพรรณ หน้าตา ความหล่อ เครื่องดื่มที่อ้างว่าดีต่อสุขภาพสำหรับคุณผู้ชาย จึงกลายเป็นอีกหนึ่งสินค้ามาแรง ที่ถูกผลิตออกมาวางขายมากมายหลายรูปแบบหลายยี่ห้อ หวังเกาะกระแสคนรักสุขภาพแต่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง โดยมาพร้อมกับสโลแกนแมนๆ อย่าง “เครื่องดื่มแมนๆ ที่มีไว้ดูแลผู้ชาย” หรือ “ปลุกความเป็นชายในตัวคุณ” ฟังแล้วรู้สึกหึกเหิมขึ้นมาทันที คล้ายว่าดื่มแล้วกล้ามจะโตขึ้นมาสักเซ็น 2 เซ็น เครื่องดื่มแมนๆ ทั้งหลายที่วางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ มีส่วนผสมหลักๆ 3 อย่าง คือ น้ำผลไม้ วิตามินหรือแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ และสุดท้ายขาดไม่ได้คือ น้ำตาล เราลองมาช่วยกันหาคำตอบดูสิว่า เครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเอาใจหนุ่มๆ ผู้รักสุขภาพนั้น ดีจริงหรือแค่ราคาคุย   แกะรอยน้ำตาลตัวร้าย เครื่องดื่มที่เจาะตลาดหนุ่มๆ ทั้ง 3 ประเภทที่ฉลาดซื้อสำรวจ ประกอบด้วย เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มเกลือแร่ ถ้าสังเกตจากข้อมูลบนฉลากที่เรานำมาเปรียบเทียบให้ดูนั้น จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะมีการเติมน้ำตาลลงไปในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ที่พบปริมาณสูงที่สุดคือผลิตภัณฑ์ “แมนซั่ม” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ ที่เจาะกลุ่มผู้ชายชัดเจน และมีการโฆษณาว่าเป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ชายที่อยากดูแลตัวเอง ข้อมูลฉลากโภชนาการแจ้งว่าใน 1 ขวด มีน้ำตาลสูงถึง 44 กรัม ทั้งๆ ที่ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน คือไม่เกิน 24 กรัม ซึ่งถ้าดื่มเครื่องดื่ม “แมนซั่ม” หมด 1 ขวด ร่างกายของเราจะได้รับน้ำตาลเกินกว่าที่ต้องการถึง 20 กรัม และอย่างที่หลายๆ คนรู้กันดีอยู่แล้วว่า น้ำตาลที่สะสมในร่างกายเป็นตัวการก่อเกิดโรคอันตรายเรื้อรังต่างๆ ทั้ง โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน หัวใจ ความหวังของหนุ่มๆ ที่หวังว่าจะดื่มแล้วดูดี ได้วิตามิน แร่ธาตุ ก็เป็นเพียงแค่ฝันกลางวันเท่านั้น เพราะความจริงสิ่งที่หนุ่มๆ จะได้จากการดื่มเครื่องดื่มขวดนี้ คือ น้ำตาลล้วนๆ เพราะน้ำตาลมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพลังงานแก่ร่างกาย กระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น เครื่องดื่มส่วนใหญ่จึงมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มเกลือแร่ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มความสดชื่น สร้างความตื่นตัวของสมองและระบบประสาท ซึ่งทำให้เครื่องดื่มเหล่านี้มีการเติมน้ำตาลลงไปในปริมาณที่ค่อนข้างสูง โดยเครื่องดื่มชูกำลังจะมีปริมาณนำตาลต่อ 1 ขวด อยู่ที่ 17 – 28 กรัม ขณะที่เครื่องดื่มเกลือแร่จะมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 30 – 36 กรัม ส่วนเรื่องของวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีการผสมลงไปนั้น เป็นการเติมลงไปเพื่อผลทางการตลาดเป็นสำคัญ แม้บางตัวอย่างบางยี่ห้อมีการเติมวิตามินและแร่ธาตุลงไปในปริมาณที่ค่อนข้างสูง  แต่ก็ไม่คุ้มกันกับที่ร่างกายของเราต้องรับปริมาณน้ำตาลจำนวนมากเข้าไปด้วย               “วิตามิน” ใน “ฟังก์ชันนัล ดริงค์” ดีจริงหรือแค่โฆษณา   วิตามินบี12 วิตามินบี 12 ถือเป็นวิตามินยอดฮิตที่เครื่องดื่มในกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลังนิยมนำมาเติมลงไป พร้อมกับชูเป็นจุดขายว่าเครื่องดื่มชูกำลังขวดนี้ไม่ใช่แค่เครื่องดื่มชูกำลังธรรมดา แต่ว่าดื่มแล้วดีมีประโยชน์ เพราะมีวิตามินบี 12 ช่วยบำรุงสมอง โฆษณากันขนาดนี้ จนทาง อย. ต้องรีบออกมาควบคุม เพราะเครื่องดื่มชูกำลังอย่างที่รู้กันว่าเป็นเครื่องดื่มควบคุมจำกัดปริมาณการปริโภค “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด” นั่นเป็นเพราะการที่ร่างกายได้รับปริมาณคาเฟอีมมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เพราะนอกจากจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ยังมีผลต่อหัวใจ ทำให้ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัย ถ้าหากจะถามว่าร่างกายของเรามีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวิตามินบี 12 จากเครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีการเติมวิตามินบี 12 เพิ่มลงไปหรือไม่ ตอบได้ทันทีเลยว่าไม่จำเป็น เพราะวิตามินบี 12 นั้นหาทานได้ง่าย ร่างกายเราสามารถได้รับวิตามินมี 12 อยู่แล้วจากจากกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยอาหารที่ถือเป็นแหล่งที่มีวิตามินบี 12 สูง มีอย่างเช่น เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับ ไข่แดง นม อาหารทะเลอย่าง หอย และ ปู ที่สำคัญปริมาณวิตามินบี 12 ที่ร่างกายของเราต้องการต่อวันอยู่ที่แค่ 600 ไมโครกรัม (0.06 มิลลิกรัม) เท่านั้น เราจึงไม่มีความจำเป็นต้องรับวิตามินเข้าสูงร่างกายในปริมาณมากๆ ซึ่งวิตามินบี 12 (และรวมถึงวิตามินบีอื่นๆ) เป็นวิตามินที่มีคุณสมบัติละลายน้ำ เมื่อร่างกายได้รับเกินความต้องการ สุดท้ายก็จะถูกขับทิ้งทางปัสสาวะ   วิตามินซี อีกหนึ่งวิตามินยอดนิยมที่ถูกนำมาเป็นจุดขายในเครื่องดื่มกลุ่มฟังก์ชันนัลดริงค์ ด้วยความที่วิตามินซีถูกสร้างภาพทางการตลาดว่าเป็นวิตามินวิเศษครอบจักรวาล ป้องกันได้ทั้งโรคหวัด ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ขาวกระจางใส ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่วิตามินซีดีต่อร่างกายของเรา แต่ถึงอย่างไรร่างกายของเราก็ต้องการวิตามินซีในปริมาณที่พอเหมาะพอดี และใครที่กินอาหารครบ 5 หมู่ กินผักกินผลไม้เป็นประจำอยู่แล้ว โอกาสที่ร่างกายจะขาดวิตามินซีนั้นแทบจะเป็น 0 ในหนึ่งวันร่างกายของคนเราต้องวิตามินซีที่ปริมาณ 60 มิลลิกรัม (ที่มา: สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป thai RDI) ซึ่งวิตามินซีมีอยู่มากมายในผัก – ผลไม้ โดยเฉพาะ ฝรั่ง ยอดคะน้า มะรุม มะละกอ ส้มโอ ฯลฯ สำหรับเรื่องของวิตามินซีเสริมที่มีวางจำหน่ายมากมายในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากคำแนะที่ว่าใน 1 วัน เราควรกินวิตามินซีเฉลี่ยที่ 1,000 มิลลิกรัม (ซึ่งตรงกับปริมาณของวิตามินชนิดเม็ดที่วางขายอยู่ในปัจจุบันแบบพอดิบพอดี) ก็ถือเป็นทางเลือกสำหรับคนที่พอจะมีทุนทรัพย์หาซื้อมารับประทานเพิ่มเติม หรือใครที่มีภาวะขาดวิตามินซีและแพทย์แนะนำว่าต้องทานวิตามินเสริม คนที่ทานผัก-ผลไม้เป็นประจำ ร่างกายก็น่าจะได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการแล้ว   คอลลาเจน คอลลาเจน ถือเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผิวหนังของเรามีความยืดหยุ่น เต่งตึง ทำงานประสานกับเซลล์อื่นๆ ในชั้นผิวหนัง ซึ่งคอลลาเจนใต้ชั้นผิวหนังก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพไปตามวัย เป็นเหตุให้เมื่ออายุมากเข้าผิวหนังจะเริ่มหย่อนคล้อยลงเรื่อยๆ  ด้วยความที่หน้าที่ของคอลลาเจนดันไปเกี่ยวโยงเข้ากับเรื่องผิวพรรณความงาม ทำให้คอลลาเจนถูกดึงไปเป็นจุดขายของบรรดาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทั้งหลายๆ ที่ขายเรื่องความงาม ขนาดเครื่องดื่มแมนๆ บางยี่ห้อยังต้องใช้คอลลาเจนมาเป็นจุดขาย บรรดาคุณหมอและนักวิชาการด้านสุขภาพส่วนใหญ่ต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า การทานคอลลาเจนที่มาในรูปแบบของเครื่องดื่ม ทั้งแบบฟังก์ชันนัล ดริงค์ และแบบผงที่เอามาชงน้ำดื่ม ร่างกายไม่สามารถดูดซึมคอลลาเจนนำไปใช้งานเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกายได้ เพราะคอลลาเจนที่เรากินเข้าไปนั้นก็จะต้องถูกนำไปย่อยเช่นเดียวกับโปรตีนทั่วไป ก่อนจะกลายเป็นกรดอะมิโนเพื่อให้ร่างกายดูดซึมไปใช้งาน ความจริงแล้วร่างกายของเราสามารถผลิตคอลลาเจนได้เอง แต่ว่าปริมาณจะลดน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น และปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น อันตรายจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต รวมถึงปัจจัยจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม อย่างอาหารปิ้งย่างที่มีส่วนที่ไหม้เกรียม อาหารมันๆ อาหารปนเปื้อนสารเคมี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น   ซิงค์ หรือ สังกะสี สังกะสีถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีส่วนในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยในการสร้างเซลล์ใหม่ๆ สร้างอินซูลิน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ช่วยให้กระดูกและผนังหลอดเลือดแข็งแรง โดยปกติร่างกายเรามีความต้องการแร่ธาตุสังกะสีอยู่ที่ประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเราสามารถได้รับสังกะสีจากการกินอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล (โดยเฉพาะหอยนางรม) ไข่แดง นม ตับ จมูกข้าวสาลี ถั่วและธัญพืชต่างๆ    ไนอะซิน ไนอะซิน หรือ วิตามินบี 3 ประโยชน์ใกล้เคียงกับวิตามินบี 12 ที่ช่วยในการทำงานของระบบประสาท ทำให้เครื่องดื่มชูกำลังก็มักมีการเติมไนอะซินลงไปด้วยเช่นเดียวกับวิตามินบี 12 เหตุผลหนึ่งที่ทำให้วิตามินบีทั้งหลาย ถูกเลือกนำมาผสมในเครื่องดื่มต่างๆ เป็นเพราะ วิตามินบีมีคุณสมบัติละลายน้ำ เหมาะแก่การนำมาผสมลงในเครื่องดื่ม ร่างกายไม่ได้ต้องการไนอะซินเยอะ กินเนื้อสัตว์ ไข่ นม และธัญพืชต่างๆ ก็เป๊ะแล้ว   ฉลาดซื้อแนะ -เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด ไม่ว่าจะเจาะกลุ่มผู้ชายหรือผู้หญิง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก เพราะช่วยเพิ่มเรื่องรสชาติ ดื่มง่าย อร่อย ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ส่วนความคิดที่ว่าดื่มแล้วจะได้รับวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ดื่มแล้วสุขภาพดี ผิวขาวสวย หน้าใส คงเป็นเพียงแค่คำโฆษณาเพื่อผลทางการตลาดเท่านั้น ดีที่สุดก็คงได้แค่ดื่มแก้กระหาย แต่ระวังให้ดีดื่มมากๆ น้ำตาลจะไปทำร้ายสุขภาพ   -เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมหลัก ซึ่งดื่มมากๆ คาเฟอีนจะส่งผลเสียต่อระบบประสาทและการทำงานของหัวใจ เพราะฉะนั้นที่โฆษณาว่า ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังแล้วดีเพราะมีวิตามินบี 12 จึงเป็นแค่คำโฆษณาหวังกระตุ้นให้มีการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด และทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง อย. ก็พยายามจัดการกับผู้ผลิตที่มีการโฆษณาในลักษณะนี้ เพราะกฎหมายบอกไว้ชัดเจนว่าห้ามมีการส่งเสริมการขายเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ต้องมีการควบคุมการบริโภค ใครที่หวังจะฉลาดเพราะได้วิตามินบี 12 จากเครื่องดื่มชูกำลัง ให้ทิ้งความคิดนี้ไปได้เลย เพราะไม่เป็นผลดีกับสุขภาพแน่นอน   -เครื่องดื่มเกลือแร่ ส่วนประกอบหลักๆ คือ น้ำตาล และสารให้ความหวานอื่นๆ เช่น กลูโคส ฟรุคโตส รวมถึงโซเดียมคลอไรด์ กับ โพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งสารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ร่างกายของเราดูดซึมน้ำในร่างกายไปใช้ได้เร็วขึ้น ซึ่งเครื่องดื่มเกลือแร่ก็มีข้อเสียถ้าดื่มในปริมาณมากเกินไป เพราะเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและโซเดียมสูง อาจส่งผลเสียต่อสมดุลการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ไต หัวใจ ระบบไหลเวียนของเลือด เครื่องดื่มเกลือแร่จึงเหมาะกับคนที่เสียเหงื่อมากๆ จากการเล่นกีฬา เพราะเครื่องดื่มชนิดนี้ช่วยกระตุ้นการดูดซึมน้ำในร่างกาย ชดเชยน้ำที่เสียไป แต่ในความเป็นจริงการดื่มน้ำเปล่าธรรมดาก็สามารถช่วยลดอาการเหนื่อยและอาการขาดน้ำได้เช่นกัน    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 159 โดนัทกับสารกันบูด

นอกจากฉลาดซื้อจะชอบทดสอบเรื่องคุณค่าทางโภชนาการในอาหารแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่เราให้ความสนใจเป็นพิเศษ ก็คือเรื่อง “สารกันบูด” ซึ่งอาหารเดี๋ยวนี้โดยเฉพาะพวกอาหารอุตสาหกรรมทั้งหลาย มักนิยมเติมสารกันบูดกันเสียลงไป เพื่อหวังยืดอายุอาหารให้นานยิ่งขึ้น วางอยู่บนชั้นวางสินค้าได้นานกว่าเดิม เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น ผู้บริโภคอย่างเราก็เสี่ยงอันตรายจากสารกันบูดมากขึ้นตามไปด้วย ถ้ายังจำกันได้ฉลาดซื้อเราเคยทดสอบดูสารกันบูดในขนมปังหลากหลายประเภทที่วางขายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในร้านสะดวกซื้อ ทั้ง ขนมปังแซนวิช เค้ก ครัวซอง พบว่าส่วนใหญ่มีการใช้สารกันบูด แถมบางตัวอย่างก็พบปริมาณของสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน ฉบับนี้ ฉลาดซื้อขอนำเสนอผลวิเคราะห์สารกันบูดในขนมปังอีกครั้ง แต่เน้นไปที่กลุ่มขนม “โดนัท” ขนมยอดนิยมที่ทำจากแป้ง ซึ่งผู้ผลิตมักอ้างว่ามันมีการผสมสารกันบูดมาตั้งแต่ตอนเป็นวัตถุดิบแล้ว   โดนัทสารกันบูดน้อย ü สารกันบูดที่ใช้ในโดนัทพบในปริมาณที่น้อยมาก ที่พบสูงสุดคือโดนัทน้ำตาลไม่มียี่ห้อ ซึ่งทอดขายอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ชัย พบว่าปริมาณสารกันบูด 2 ชนิด คือ เบนโซอิกพบ 18.72 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และซอร์บิกพบ 3.17 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รวมแล้วเท่ากับ 21.89 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถ้าคิดเฉลี่ยต่อโดนัท 1 ชิ้นที่น้ำหนัก 30 กรัม เท่ากับพบว่ามีการใช้สารกันบูดเฉลี่ยที่ 6.57 มิลลิกรัมเท่านั้น และการทดสอบครั้งนี้จากตัวอย่างโดนัททั้งหมด 8 พบว่ามี 3 ตัวอย่างที่มีสารกันบูด ส่วนอีก 5 ตัวอย่างไม่พบ ถือว่าเป็นข่าวดี ü มีแนวโน้มที่ดีในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เมื่อเทียบกับผลการทดสอบครั้งก่อนที่ฉลาดซื้อเคยทำ ครั้งนั้นพบมีสารกันบูด 5 จาก 9 ตัวอย่าง โดยมิสเตอร์ โดนัทเป็นตัวอย่างที่พบสารกันบูดในการสำรวจทั้ง 2 ครั้ง คราวก่อนพบกรดเบนโซอิกที่ปริมาณ 36.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม(โดนัท 1 ชิ้น 30 กรัม พบสารกันบูด 10.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)  แต่ในทดสอบครั้งนี้ ตัวอย่างโดนัทจากร้านมิสเตอร์ โดนัท พบสารกันบูดที่ปริมาณ 20.66 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม(1 ชิ้น 30 กรัม พบสารกันบูด 6.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) จัดว่ามีแนวโน้มที่ดี  ส่วนยี่ห้อ ดังกิ้น โดนัท และ โดนัท แดดดี้ โด ที่เคยตรวจพบสารกันบูดในการวิเคราะห์ครั้งก่อน ครั้งนี้ไม่พบการใช้สารกันบูด   สารกันบูดกับโดนัท สารกันบูดที่นิยมใช้ในโดนัทมีอยู่ 3 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และกรดโปรปิโอนิค (Propionic Acid) ซึ่งตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ได้กำหนดปริมาณสูงสุดที่ของวัตถุกันเสียที่อนุญาตให้พบได้ในอาหารอยู่ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ไม่ว่าอาหารชนิดนั้นจะใช้สารกันเสียกี่ชนิดก็ตาม รวมกันแล้วก็ห้ามเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม กฎหมายมีการบังคับไว้ว่า ถ้าหากอาหารประเภทใดที่มีการใช้วัตถุกันเสีย ต้องมีการแจ้งข้อมูลบนฉลากว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” แต่สำหรับโดนัทที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่เป็นของร้านแฟรนไชส์ต่างๆ จะเป็นแบบผลิตขายกันวันต่อวัน ไม่มีฉลากบอกเรื่องของส่วนประกอบที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ข้อมูลโภชนาการ รวมถึงเรื่องของการใช้สารกันบูด ผู้บริโภคอย่างเราก็เลยต้องอาศัยวิธีการเดากันเอาเองว่าโดนัทยี่ห้อนี่จะมีสารกันบูดหรือเปล่า*   *กินกันแบบไม่รู้อะไรเลย ในต่างประเทศเขากินโดนัทกันมาก่อนเรา กินมากกินกันจริงจัง บางคนถึงขนาดกินเป็นอาหารหลัก กินกันจนสุขภาพเสีย อย่างในอเมริกาที่คนกินโดนัทกันจนน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกินมาตรฐาน คนอ้วนเพิ่มจำนวนมากขึ้น คนป่วยก็มากขึ้น เขาเลยมีการรณรงค์เรื่องการกินโดนัทอย่างถูกต้องปลอดภัยกับสุขภาพ ซึ่งบรรดาร้านโดนัทชื่อดังที่นู้นเขาก็ขานรับ ด้วยการช่วยให้ผู้บริโภคได้รู้ถึงข้อมูลโภชนาการ ว่าโดนัทแต่ละชิ้นที่ขายอยู่ให้ร้าน มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างไรบ้าง กินแล้วได้พลังงานเท่าไร ไขมันเท่าไร น้ำตาลแค่ไหน ที่สำคัญมีการบอกด้วยว่ามีการใช้สารกันบูดด้วยหรือเปล่า ซึ่งอย่างน้อยๆ ผู้บริโภคก็ได้มีข้อมูลไว้ตัดสินใจเองได้ว่า ควรกินไม่ควรกิน คนที่ดูแลสุขภาพแต่อยากกินโดนัท ก็จะได้วางแผนควบคุมปริมาณสารอาหารของตัวเองได้ โดยข้อมูลโภชนาการของโดนัทแต่ละรสชาติ (รวมทั้งอาหารประเภทอื่นๆ ที่ขายอยู่ในร้าน) จะถูกเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของร้าน ผู้บริโภคสามารถคลิกเข้าไปดูได้ก่อนตัดสินใจซื้อ ส่วนผู้บริโภคไทยก็ยังต้องใช้วิธีตนเป็นที่พึ่งแห่งตนกันต่อไป เพราะบรรดาร้านโดนัทที่ขายอยู่ในบ้านเรา ยังไม่มีข้อมูลเรื่องโภชนาการอยู่ในเว็บไซต์ คงได้แต่อาศัยข้อมูลจากเว็บไซต์ของร้านในต่างประเทศมาเป็นข้อมูลเทียบเคียงกันไปก่อน (หรือไม่ก็ใช้ข้อมูลที่ฉลาดซื้อเคยสำรวจไว้ก็ได้)   3 เหตุผลที่ควรรู้ก่อนงั่มโดนัท โดนัทมีไขมันทรานส์ โดนัทเป็นของทอด ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับไขมันทรานส์ ที่มักพบในน้ำมัน รวมถึงในเนยเทียม และมาร์การีน ซึ่งถือเป็นไขมันตัวร้ายมีผลต่อการทำงานของหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน จากผลที่ฉลาดซื้อเคยสำรวจพบว่า ในโดนัท 1 ชิ้น พบปริมาณไขมันทรานส์เฉลี่ยอยู่ที่ 0.045 กรัม ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่าในอาหาร 1 หน่วยบริโภค ไม่ควรพบไขมันทรานส์เกิน 0.5 กรัม และเสี่ยงอันตรายจากสารก่อมะเร็งในน้ำมันทอดซ้ำอีกด้วย โดนัทมีน้ำตาลสูง ความหวานอร่อยของโดนัทเกิดจากการปรุงรสชาติด้วยน้ำตาล รวมถึงบรรดาหน้าต่างๆ ของโดนัท ส่วนประกอบหลักก็คือน้ำตาล ฉลาดซื้อเคยสำรวจพบว่า เฉลี่ยในโดนัท 1 ชิ้น จะมีน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 5.5 กรัม สูงสุดที่พบจากตัวอย่างที่ทดสอบคือ 13.9 กรัม ซึ่งใน 1 วันเราควรได้รับน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม อันตรายๆ 3. โดนัทให้พลังงานสูง จากผลทดสอบที่ได้พบว่า โดนัท 1 ชิ้น (น้ำหนักประมาณ 40 กรัม) ให้พลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 168 กิโลแคลอรี่ ถ้าอิ่มที่ 1 ชิ้นก็ถือว่าโอเค พลังงานยังไม่สูงมาก (ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันคือ  2,000 กิโลแคลอรี่) แต่ถ้าอร่อยต่อเนื่อง มีการเบิ้ลชิ้นที่ 2 ชิ้นที่ 3 แล้วยังต้องกินข้าวอีก 3 มื้อ อันนี้ก็บอกได้เลยว่ามีความเสี่ยงอย่างมากที่ร่างกายของเราจะได้รับพลังงานเกิน อ้วนๆๆ    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 158 เยลลี่ กับสารกันบูด

เดี๋ยวนี้เยลลี่ไม่ได้เป็นแค่ขนมหวานทานเล่นสำหรับเด็กๆ แต่มันได้กลายเป็นอาหารมื้อหลักของสาวๆ บางคน เพราะเชื่อคำโฆษณาที่บอกว่าให้ทานเยลลี่แก้หิว กินแล้วอิ่มท้อง? กินได้ไม่ต้องกลัวอ้วน แถมเยลลี่หลายยี่ห้อกลายเป็นตัวช่วยเรื่องความสวยความงาม เพราะผู้ผลิตเขาเติมวิตามินนู้นนี่นั้น บอกว่ากินแล้วขาว กินแล้วสวย ในวันที่เยลลี่เปลี่ยนไป มีรสชาติใหม่ผลิตออกมายั่วใจทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ฉะนั้นก่อนที่เราจะกินเยลลี่ถ้วยต่อไป จะดีมั้ยถ้าเรารู้ว่าผู้ผลิตเขาผสมอะไรลงในเยลลี่บ้าง ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราควรรู้ว่าเขาใส่มาให้เรามากน้อยแค่ไหน ก็คือ “สารกันบูด” เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย ถ้าเราได้รับในปริมาณมากๆ ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ ถ้าใครเป็นแฟนฉลาดซื้อคงจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า เจ้าสารกันบูดในอาหารนั้น สนิทชิดเชื้อกับผู้บริโภคอย่างเราราวกับคนในครอบครัว เพราะอาหารสำเร็จรูปหลากหลายชนิดที่วางขายอยู่ในท้องตลาดล้วนแต่ผูกขาดเรื่องการใช้สารกันบูด ไล่ตั้งแต่ พวกอาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป พวก หมูยอ ไส้กรอก แหนม กุนเชียง อาหารที่ทำจากแป้งอย่าง เค้ก ขนมปัง เนย ช็อกโกแลต อาหารที่ทำมาจากผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำหวาน น้ำอัดลม แยม และแน่นอนว่ารวมถึง "เยลลี่"   แคนดี้ฟรุ๊ต -ตัวอย่าง เยลลี่ที่พบว่ามีการใช้สารกันบูดในปริมาณที่สูงที่สุด คือตัวอย่างเยลลี่ยี่ห้อ “แคนดี้ฟรุ๊ต” ผลิตโดยบริษัท แคนดี้ทอย จำกัด ซึ่งปริมาณของสารกันบูดแยกเป็น ซอร์บิค 414.20 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม และ เบนโซอิค 564.56 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม รวมพบวัตถุกันเสียทั้ง 2 ชนิดรวมกันเท่ากับ 978.76 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม       อย่าเพิ่งตกใจ -แม้จะพบปริมาณสารกันบูด แต่ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะปกติเราคงไม่ได้กินเยลลี่ครั้งละ 1 กิโลกรัม อย่างเยลลี่ “แคนดี้ฟรุ๊ต” ที่ปริมาณต่อ 1 ชิ้นน้ำหนักอยู่ที่ 40 กรัมเท่านั้น พอเปรียบเทียบกับปริมาณสารกันบูดที่พบเท่ากับว่า เยลลี่ “แคนดี้ฟรุ๊ต” 1 ชิ้น จะมีสารกันบูดเฉลี่ยอยู่ที่ 39.15 มิลลิกรัม -ตัวอย่างเยลลี่ยี่ห้อ “แคนดี้ฟรุ๊ต” นอกจากจะพบปริมาณสารกันบูดสูงที่สุดแล้ว ยังพบว่าเป็นตัวอย่างที่มีปัญหาเรื่องฉลาก เพราะบอกเพียงชื่อผู้ผลิต แต่ไม่ได้บอกสถานที่ตั้ง ไม่บอกวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ที่สำคัญคือไม่มีการแจ้งเรื่องการใช้สารกันบูดทั้งๆ ที่มีการใช้ในผลิตภัณฑ์ -สำหรับตัวอย่างเยลลี่อีก 4 ตัวอย่างที่พบการใช้สารกันบูด พบปริมาณซอร์บิคและเบนโซอิครวมกันไม่ถึง 300 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม   ฉลาดซื้อแนะ แม้ผลวิเคราะห์วัตถุกันเสียในขนมเยลลี่พบการใช้ เพียง 1 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมด (5 จาก 15 ตัวอย่าง) และตัวอย่างที่พบว่ามีการใช้สารกันบูดก็ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่เยลลี่ก็จัดเป็นขนม เป็นแค่ของกินเล่น ไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ฉลาดซื้อจึงอยากขอแนะนำว่าให้กินแต่น้อยกินแต่พอดี อย่ากินจนอิ่มหรือกินแทนข้าว โฆษณาที่บอกว่าให้กินเยลลี่แทนข้าวได้ กินแทนมื้อเย็น กินแล้วอิ่มเหมือนกัน อย่าได้เชื่อโฆษณาเหล่านี้โดยเด็ดขาด เพราะแม้ว่าจะทานเยลลี่แล้วช่วยให้อิ่มท้อง แต่ถ้าเลือกกินเยลลี่แทนอาหารมื้อหลัก ร่างกายเราก็จะขาดสารอาหาร  เป็นผลเสียต่อสุขภาพ --------------------------------------------------------------------------------------------------   เยลลี่ = ฆาตกร !? ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าขนมเยลลี่ สีสันสดใส อร่อยหวานนุ่ม จะเป็นตัวการร้ายทำให้เด็กเสียชีวิตมาแล้ว?! เมื่อหลายปีก่อนเคยทีกรณีที่เด็กน้อยวัย 2 ขวบ ต้องเสียชีวิตจากการกินเยลลี่ที่คุณแม่เป็นคนป้อน เหตุเพราะเนื้อเยลลี่ที่กินเข้าไปเกิดไปติดคอ เด็กน้อยสำลักเยลลี่ หายใจไม่ออก จนสุดท้ายเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งเรื่องน่าเศร้าครั้งนี้เกิดเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตัวคุณแม่เองลืมคิดไปว่าเยลลี่แม้จะดูเป็นเนื้อสัมผัสนิ่มๆ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ของเหลว ก่อนกลืนเด็กยังต้องเคี้ยวเนื้อเยลลี่ให้ละเอียดเสียก่อน ซึ่งเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้ภาษาทำให้เผลอกลืนเนื้อเยลลี่เข้าไปทันที ซึ่งจะทำให้ติดคอ สำลักเนื้อเยลลี่ ทำให้หายใจไม่ออก จนเกิดเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างที่เป็นข่าว ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เด็กน้อยวัย 2 ขวบเสียชีวิตจากการกินเยลลี่ ทำให้ อย. ต้องรีบออกมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องน่าเศร้าขึ้นอีก โดย อย. ได้มาออกมาคุมเข้มเรื่องฉลากผลิตภัณฑ์เยลลี่ ที่ต้องมีการระบุข้อความคำเตือนเพื่อความปลอดภัยในการกินขนมเยลลี่ ซึ่งคำเตือนจะมีอยู่ 5 ข้อความหลักๆ ประกอบด้วย 1.เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ห้ามรับประทาน 2.ก่อนรับประทานเปิดฝาออกให้หมดทุกครั้ง (ที่มีคำเตือนแบบนี้ เพราะหลายคนที่เวลากินเยลลี่มักจะใจร้อน โดยเฉพาะพวกเยลลี่อันเล็กๆ ขนาดพอคำ ที่ยังไม่ทันจะเปิดฝาหรือพลาสติกที่ปิดบรรจุภัณฑ์ที่ใส่เยลลี่เอาไว้ให้เสร็จเรียบร้อย ก็จะรีบดูดเนื้อเยลลี่กินกันแล้ว ซึ่งแบบนี้เสี่ยงอันตราย เพราะเวลาที่เราดูดเนื้อเยลลี่แรงๆ เนื้อเยลลี่อาจจะพุ่งเข้าคอ ทำให้เราสำลัก หายใจติดขัด อาจจะเป็นเหตุให้ขาดอากาศหายใจ ยิ่งถ้าเป็นเยลลี่ชนิดที่มีการผสมอย่าง บุก วุ้นมะพร้าว ยิ่งต้องระวัง เพราะเนื้อสัมผัสของส่วนผสมเหล่านี้มีความเหนียวยิ่งกว่าเนื้อเยลลี่เสียอีก) 3.ห้ามวิ่งเล่นหรือนอน ขณะรับประทาน 4.เคี้ยวก่อนกลืนทุกครั้ง 5.รับประทานอย่างช้าๆ อย่าเร่งรีบ ระวังสำลัก โดยคำเตือนเหล่านี้จะต้องไปปรากฏอยู่ทั้งบนฉลาก ในโฆษณาไม่ว่าจะทางทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ เพื่อบอกเตือนคนที่ชอบกินเยลลี่ โดยเฉพาะเด็กๆ ให้อร่อยอย่างระมัดระวัง   “กินเยลลี่แทนข้าว” ความเชื่อผิดๆ ที่ไม่ควรทำตาม หลายคนน่าจะเคยได้เห็นโฆษณาที่บอกประมาณว่า ทานเยลลี่แล้วอยู่ท้องเหมือนกินข้าว ใครไม่อยากอ้วนก็ให้กินเยลลี่ ไม่ต้องทานมื้อเย็น ซึ่งฉลาดซื้ออยากบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นความคิดที่ผิด และไม่ควรทำตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ทานเยลลี่แล้วจะช่วยทำให้อยู่ท้อง แต่ว่าเราจะไม่ได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย แม้ในโฆษณาจะอ้างว่ามีการใส่วิตามินนู้นนี่นั้น แต่ก็น้อยมากๆ สู้เรากินอาหารธรรมดาทั่วไป กินพวกผัก ผลไม้ ยังจะได้วิตามินมากกว่า แถมร่างกายยังได้สารอาหารครบถ้วน ถ้าอ่านในคำเตือนบนฉลากพวกผลิตภัณฑ์เยลลี่ จะเห็นคำเตือนว่า “เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรัประทาน” เหตุผลก็คือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่มีประโยชน์ หากกินเข้าไปแล้วจะทำให้อิ่ม ทำให้กินอาหารอย่างอื่นไม่ลง ร่างกายก็จะขาดสารอาหาร ซึ่งเด็กๆ และคนที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ควรได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งสิ่งที่เราได้จากการกินเยลลี่หลักๆ ก็คือ น้ำตาล ซึ่งในเยลลี่ที่บอกว่ากินแล้วอิ่มท้องไม่ต้องกินข้าว 1 ถ้วย หรือ 1 ซอง จะมีน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 6 – 10 กรัม ซึ่งใน 1 วันเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม เท่ากับว่าเฉลี่ยแล้วเราได้รับน้ำตาลจากการทานเยลลี่ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่เหมาะกับร่างกายของเราใน 1 วัน แม้อาจจะดูไม่มาก แต่อย่าลืมว่านี่คือการที่เราทานน้ำตาลล้วนๆ โดยไม่ได้รับสารอาหารใดๆ ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายเลย นอกจากนี้เรายังได้รับสารสังเคราะห์ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น สีผสมอาหาร สารวัตถุกันเสีย ซึ่งสารพวกนี้ถ้าร่างกายเรารับมากๆ ก็อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ คิดดูแล้วไม่ต่างอะไรกับการที่เราดื่มน้ำหวานน้ำอัดลม เพราะฉะนั้นอย่ามองเยลลี่เป็นอาหารมื้อหลัก อย่าเลือกเป็นเมนูแทนการกินข้าว เพราะเราจะไม่ได้สารอาหารอะไรเลย หากอยากเลือกความสะดวก ให้เลือกเป็นการดื่มนม ดื่มน้ำเต้าหู้ หรือกินโยเกิร์ตน่าจะดีกว่า แต่อย่างไรเสียการอาหารให้หลากหลายให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่คือสิ่งที่ดีที่สุด    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 158 รสหวานในน้ำจิ้มไก่

น้ำจิ้ม จัดเป็นของคู่สำรับอาหาร อย่างน้อยๆ ก็ต้องมีพริกน้ำปลาสักถ้วย น้ำจิ้มช่วยเพิ่มอรรถรสในการกิน เรียกได้ว่าเป็นตัวชูรสอาหารให้โดดเด่นขึ้น ปัจจุบันน้ำจิ้มถ้าไม่ทำเอง ก็มีผู้ผลิต บรรจุขวดไว้ให้เราซื้อหากันได้สะดวก น้ำจิ้มมีหลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากถึงกับเคยมีการจัดอันดับน้ำจิ้มที่คนไทยชื่นชอบ ปรากฏว่า น้ำจิ้มไก่มาเป็นอันดับหนึ่ง  “เหตุเพราะน้ำจิ้มไก่สามารถทานได้กับอาหาราแทบทุกชนิดไม่ใช่แค่ไก่อย่างเดียว แถมทานกับข้าวสวยเปล่าๆยังอร่อยอย่าบอกใคร” (ที่มา toptenthailand) และเพราะว่ากินคู่กับอาหารมาเป็นเวลานาน ทำให้คนส่วนใหญ่ติดในรสชาติที่จัดจ้าน ทั้งเปรี้ยว หวานและเผ็ดนิดๆ อีกทั้งยังกินกันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งพอไปรวมกับอาหารอื่นๆ เข้า ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้เช่นกัน เพราะน้ำจิ้มไม่เพียงแต่หวานจากน้ำตาล ยังมีการตัดรสด้วยเกลือ ซึ่งก็คือโซเดียม ที่กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้มองภาพรวมของน้ำจิ้มไก่ได้ว่า อาจมีปัญหาถ้าติดรสชาติของน้ำจิ้มมากเกินไป และจิ้มกินจนเพลิน เราลองมาดูฉลากของน้ำจิ้มไก่กันดีกว่า ซึ่งน่าสนใจว่า หลายยี่ห้อได้ทำฉลากโภชนาการไว้ด้วย   อย่ามองข้ามน้ำจิ้ม แค่สองช้อนโต๊ะ ก็หวานพุ่ง ค่าเฉลี่ยของโซเดียมในน้ำจิ้มไก่ ในหน่วยบริโภคขนาด 36 กรัมหรือราวๆ 2 ช้อนโต๊ะ คือ 460 มก. ส่วนน้ำตาลประมาณ 14.3 กรัม เรียกว่า แค่จิ้มนิดๆ ก็หวานจัดกันทีเดียว สำคัญอีกอย่างที่ต้องระวังคือ โซเดียม ซึ่งมีปริมาณไม่เบาเลย ดังนั้นแล้ว อย่าเห็นว่าหวานเลยจิ้มเพลินจนลืมโซเดียมที่แฝงอยู่ในน้ำจิ้มอันแสนอร่อย แม้น้ำจิ้มจะเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอาหารที่หลายคนขาดไม่ได้ แต่ควรกินแต่เพียงพอดี อย่าเยอะนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากฉลาดซื้อ(มารคอหอยตัวสำคัญ)   ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงและอาหารสำเร็จรูป   •        เกลือ 1 ช.ช                                             =โซเดียม 2,000 มก. •        น้ำปลาหรือซีอิ๊ว 1 ช. ช.                        =โซเดียม  400  มก. •        ซอสมะเขือเทศ  1 ช.ช                           = โซเดียม 55 มก. •        ซอสหอยนางรม 1ช.ช                            = โซเดียม140 – 160มก. •        น้ำจิ้มไก่ 1 ช.ช                                        = โซเดียม 67 - 76 มก. •        บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 60 กรัม                   = โซเดียม 1,500 มก. •        โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป    42 กรัม                    = โซเดียม 1,000 มก. http://www.raktai.org/Home/KnowledgeContent.aspx?id=4         คำแนะนำสิบข้อที่เตือนให้เราทบทวน “นิสัยการกิน” 1. กรุณาชิมทุกครั้งก่อนที่จะเติมเครื่องปรุงลงไป โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยว2. กรุณากวาดเอาขวดน้ำปลา ซอส ซีอิ๊วและเกลือออกจากโต๊ะอาหารให้เกลี้ยงภายในวันนี้3. ลดการกินอาหารหมัก-ดอง, อาหารแปรรูปเช่นผัก, ผลไม้ดอง, ไส้กรอก, หมูยอ, แหนม, เบคอน4. ลด การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (เพราะมีโซเดียมในอาหารประเภทนี้มหาศาล ซึ่งอาจจะมาจากผงชูรส ดังนั้น สัปดาห์หนึ่งอย่ากินเกินสามซอง และเวลากินอย่าไปซดน้ำจนหมดเกลี้ยง เพราะถ้าซดจนหมด ก็จะได้ทั้งความเค็มจากเกลือ, น้ำปลาและผงชูรสไปเต็มๆ ) 5. ลดการกิน อาหารที่มีน้ำจิ้ม (เวลากินสุกียากี้หรือหมูกระทะ น้ำจิ้มมีเหลือล้น บางคนขอเพิ่มสองสามรอบด้วยซ้ำไป นั่นคือความเต็มอย่างยิ่งและมีโซเดียมสูงอย่างยิ่ง)6. ลดการกินอาหารที่ปรุงจากปลาเค็ม ไข่เค็ม เนื้อเค็ม ปลาร้า กะปิ เต้าหู้ยี้ (ไม่ควรกินบ่อย, ขอย้ำว่ากินได้แต่อย่าบ่อย)7. กินผลไม้สดโดยไม่ต้องจิ้มพริก, เกลือหรือน้ำตาล 8. ลดการกินอาหารจานด่วนตะวันตกและขนมกรุบกรอบ เพราะอาหารประเภทนี้ผงชูรสและโซเดียมมากเกินความจำเป็น9. ลดการใช้ผงชูรส (ไม่ถึงกับต้องงด หากกินปริมาณพอเหมาะก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากกินมากก็จะเจอปัญหาโซเดียมสูง)10. อ่านฉลากก่อนซื้อ (ฉลากไหนที่บอกว่ามีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ก็ถือว่าใช้ได้)   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 รู้ เลือก น้ำยาล้างห้องน้ำ

  แค่ราดทิ้งไว้ แป๊บเดียวก็สะอาด เป็นคำที่คุ้นๆ กันดีในโฆษณาผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อมาก และในแต่ละยี่ห้อยังมีหลายสูตรให้เลือกอีกด้วย เล่นเอา งง เวลาไปเลือกที่ชั้นวาง ฉลาดซื้อเลยหยิบผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันค่อนข้างกว้างขวางมาแกะรอย “สารเคมี” ที่ใช้ในแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อจะได้เลือกใช้งานกันได้อย่างเหมาะสม ไม่เอะอะๆ ก็ราดไปเรื่อย เพราะบางผลิตภัณฑ์ราดทิ้งไว้ก็ไม่ออกนะจะบอกให้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด สามารถแบ่งกลุ่มของสารเคมีที่ใช้ได้ใหญ่ 2 กลุ่ม คือ กรดและด่าง ตอนนี้ในตลาดส่วนใหญ่จะเป็น กรดเกลือ หรือชื่อทางเคมีว่ากรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid) กรดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง และสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความเข้มข้นที่นำมาผลิต ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำพบกรดเกลือความเข้มข้นตั้งแต่ 8% - 20% ข้อดี คือ พลังกำจัดคราบรอยเปื้อนสูง โดยเฉพาะคราบฝังแน่น ข้อเสีย คือ กลิ่นฉุนแสบจมูกจากไอของกรด ใช้บ่อยครั้งจะกัดยาแนวกระเบื้อง ทำให้ผิวหน้าของพื้นห้องน้ำผุกร่อน ขรุขระ (ยิ่งทำให้สะสมคราบสกปรกเพิ่มขึ้น) ไอของน้ำยายังทำให้อุปกรณ์บางชิ้นในห้องน้ำเป็นสนิมด้วย   กรดอีกตัวที่ใช้คือ กรดซิตริก(citric acid) มีฤทธิ์กัดกร่อนพอตัว แต่ไม่รุนแรงเท่ากรดเกลือ และกลิ่นไม่ฉุนมาก ส่วนสารออกฤทธิ์ที่เป็นด่าง มียี่ห้อไม่หลากหลายเท่ากรดเกลือ ตัวที่นิยมใช้เป็นกลุ่มเดียวกับพวกสารฟอกขาว (Chlorine Bleach) ที่เรารู้จักดีในผลิตภัณฑ์ซักผ้า ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (sodium hypochlorite) และกลุ่มคลอรีน บีช ที่กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำตัวล่าสุดคือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) คุ้นๆ ใช่ไหม ตัวเดียวกับที่เคยใช้เป็นยาล้างแผลนั่นเอง แต่ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำจะมีความเข้มข้นสูงกว่า คือ 5% ข้อดีและเป็นจุดขายสำคัญของกลุ่มคลอรีน บีช คือ การกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและตัวที่สร้างปัญหาในห้องน้ำมากสุดคือ เชื้อรา ข้อเสีย มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงไม่แพ้กรดเกลือ(ระดับฟอกผ้าขาวได้) และมีข้อต้องระวังในการใช้หลายอย่าง เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์ ห้ามเจอกรด(หรือใช้ร่วมกับน้ำยาที่เป็นกรด)และสารประกอบแอมโมเนียเด็ดขาด เพราะจะกลายเป็นก๊าซพิษ(ก๊าซคลอรีน) ก่อให้เกิดอันตรายจากการสูดดมไอพิษ ทั้งกรดและด่างที่นำมาใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ ส่วนใหญ่จะไม่มาเพียวๆ แต่จะผสมพวกสารลดแรงตึงผิว (Surfactant)   เพื่อช่วยในการแทรกซึมของน้ำยาเข้าสู่พื้นผิวได้อย่างทั่วถึง สารลดแรงตึงผิวที่นิยมได้แก่ Diethylene glycol butyl ether  , Linear Alkylbenzene Sulfonate,  Linear Alkylbenzene Sulfonate , Sodium Salt  ,  Ethoxylate Alcohol  ( 7 EO ) แต่ถ้าไม่ชอบพวกกรดและด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง แพ้หรือกลิ่นแสบจมูก ให้เลี่ยงมาใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ใช้แต่เฉพาะ  ตัวทำละลายอินทรีย์(Organic Solvent)และสารลดแรงตึงผิวแทน ต่อไปความต้องการผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำของผู้บริโภคจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในรูปแบบใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จะใช้สารเคมีตั้งต้นที่คล้ายๆ กัน ในกระบวนการผลิต แตกต่างกันในส่วนของสารเติมแต่งต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นสารเคมีสังเคราะห์ทั้งสิ้น สารเคมีบางอย่างก็มีอันตรายต่อร่างกายทั้งในลักษณะของการแพ้อย่างเฉียบ พลันหรืออาจสะสมความเป็นพิษในร่างกายได้ ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงต้องพิจารณาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนชนิดและปริมาณที่ใช้ เพื่อให้เหมาะกับสภาพการใช้งานและมีความปลอดภัย   ฉลาดซื้อแนะ 1.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำให้ตรงกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวและลักษณะของพื้นผิว(วัสดุที่ใช้เป็นพื้นห้องน้ำหรือตัวสุขภัณฑ์ เช่น กระเบื้อง เซรามิก หินอ่อน หินขัด) 2. คราบสกปรกที่ล้างออกได้ง่าย เช่น คราบสบู่ คราบสกปรกทั่วไป ไม่ควรใช้ส่วนผสมของกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ใช้แค่สูตรที่เป็นสารลดแรงตึงผิวก็เพียงพอในการกำจัดคราบ 3.พวกมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ควรใช้เฉพาะกับคราบฝังแน่นเท่านั้น 4.กรดที่ผสมในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำมีให้เลือกหลายชนิดตามความเข้มข้น อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดที่มีความเข้มข้นต่ำก็จะปลอดภัยกว่าชนิดเข้มข้นสูง 5.สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำยาซักผ้าขาว(ไฮเตอร์ ไฮยีน) ล้างห้องน้ำแทนสูตรโซเดียมไฮโปคอลไรท์ได้ โดยเฉพาะการกำจัดเชื้อรา เนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก 6..อ่านวิธีการใช้และคำเตือนให้ละเอียด เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งานผิดพลาดหรือเผอเรอ   ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ                   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 155 คาปูชิโนเย็นร้านไหน? ให้พลังงานสูง!!!

คอกาแฟหลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำเตือน เรื่องที่ว่าดื่มกาแฟแล้วทำให้อ้วน โดยเฉพาะกาแฟเย็น หลายคนเข้าใจได้ว่ากาแฟเย็น 1 แก้ว ใส่ทั้งนม น้ำเชื่อม น้ำตาล แต่ถ้านั้นยังไม่ช่วยให้คำตอบเรื่องดื่มกาแฟแล้วอ้วน ส่งผลเสียทำลายสุขภาพของหลายๆ คนคลี่คลาย ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพิสูจน์ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการดื่มกาแฟเย็น โดยเราเลือกสำรวจกาแฟประเภท “คาปูชิโนเย็น” ซึ่งถือเป็น 1 ในกาแฟยอดนิยมและหาทานได้ทุกร้านกาแฟ โดยเราได้สุ่มตัวอย่างจากร้านกาแฟชื่อดังระดับพรีเมี่ยม 10 ตัวอย่าง และอีก 1 ตัวอย่างจากร้านกาแฟขนาดเล็ก               ผลการทดสอบ -ผลทดสอบที่ได้คิดเป็นเป็นค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานต่อปริมาณกาแฟ 100 มิลลิลิตร -ตัวอย่างกาแฟคาปูชิโนเย็นที่พบค่าพลังงานสูงที่สุดคือ กาแฟจากร้าน คอฟฟี่ ทูเดย์ ซึ่งพบปริมาณพลังงานอยู่ที่ 183 กิโลแคลอรีต่อกาแฟ 100 มิลลิลิตร ซึ่งจากตัวอย่างที่เรานำมาทดสอบพบว่า กาแฟคาปูชิโนเย็นจากร้านคอฟฟี่ ทูเดย์ 1 แก้วมีปริมาณกาแฟอยู่ที่ประมาณ 290 มิลลิลิตร (ไม่รวมน้ำแข็ง) นั่นเท่ากับว่ากาแฟคาปูชิโนเย็นจากร้านคอฟฟี่ ทูเดย์ 1 แก้ว ราคา 50 บาท จะให้ค่าพลังงานเท่ากับ 530.7 กิโลแคลอรี -อีกตัวอย่างที่พบปริมาณพลังงานค่อนข้างสูงคือ ตัวอย่างกาแฟอนันต์ ที่พบค่าพลังงานอยู่ที่ 163 กิโลแคลอรีต่อปริมาณกาแฟ 100 มิลลิลิตร ซึ่งปริมาณกาแฟคาปูชิโนเย็นของร้านกาแฟอนันต์ 1 แก้ว ราคา 35 บาท อยู่ที่ประมาณ 160 มิลลิลิตร ปริมาณพลังงานจึงเท่ากับ 260.8 กิโลแคลอรี -เมื่อดูข้อมูลจากแผนภาพแสดงปริมาณพลังงานในกาแฟคาปูชิโนจากตัวอย่างทั้งหมดที่เราทดสอบ พบว่าจากทั้ง 11 ตัวอย่าง มีค่าพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ 122.9 ต่อปริมาณกาแฟ 100 มิลลิลิตร หากคิดเป็นปริมาณกาแฟคาปูชิโนเย็น 1 แก้วที่น้ำหนัก 300 มิลลิลิตร (ไม่รวมน้ำแข็ง) ปริมาณพลังงานที่ได้จะอยู่ที่ 368.7 กิโลแคลอรี   เรื่องน่ารู้ พลังงานกับคาปูฯ เย็น -ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี -ตามหลักโภชนาการแล้วของว่างหรืออาหารว่างควรมีพลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการสำหรับผู้ใหญ่ หรือประมาณ 150-200 กิโลแคลอรี -ปริมาณกาแฟคาปูชิโนเย็น 1 แก้ว ให้ปริมาณพลังงานที่ค่อนข้างสูง แถมหลายคนที่นิยมดื่มกาแฟร่วมกับของทานเล่นอื่นๆ เช่น คุกกี้ ขนมเค้ก โอกาสที่ร่างกายจะได้รับพลังงานเกินความต้องการก็ยิ่งมีสูง -ปริมาณพลังงานที่เกนความจำเป็นของร่างกายจะถูกสะสมกลายเป็นไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น หัวใจ ความดัน ฯลฯ -การหลีกเลี่ยงการได้รับปริมาณพลังงานสูงเกินความต้องการจากการดื่มกาแฟคาปูชิโน มีวิธีง่ายๆ คือเลือกสั่งแบบที่ไม่ใส่น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม ส่วนนมถ้าเลือกได้ก็เลือกชนิดที่เป็นสูตรพร่องมันเนย หรือชนิดไขมัน 0% ซึ่งถ้าดูจากผลแผนภาพแสดงปริมาณพลังงานในกาแฟคาปูชิโนจากตัวอย่างทั้งหมดที่เราทดสอบ จะเห็นว่าตัวอย่างที่พบปริมาณน้อยที่สุด 2 อันดับแรก คือ สตาร์บัคที่พบค่าพลังงาน 53 กิโลแคลอรี และ ทรู คอฟฟี ที่พบพลังงาน 79 กิโลแคลอรี จากปริมาณกาแฟ 100 มิลลิลิตร ซึ่งปริมาณค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับตัวอย่างอื่นๆ นั้นเป็นเพราะตัวอย่างกาแฟคาปูชิโนจากทั้ง 2 ร้าน ไม่มีการใส่น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม แต่จะให้ลูกค้าที่ซื้อเลือกเติมเองทีหลัง จะใส่มากใส่น้อยหรือจะไม่เติมเลยก็ได้ ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยให้เราลดปริมาณพลังงานจากการดื่มกาแฟคาปูชิโนเย็นได้   คอกาแฟควรรู้ -กาแฟเย็น 1 แก้ว มีขนาดบรรจุประมาณ 13 – 20 ออนซ์ หรือ 400 – 600 มิลลิลิตร ให้พลังงานอยู่ที่ 97 – 400 กิโลแคลอรี, ไขมัน 0.4 – 22.1 กรัม, โปรตีน 0.6 – 10.9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 19.4 – 49.4 กรัม, น้ำตาล 11 – 38 กรัม -มอคค่า เป็นกาแฟที่ให้ปริมาณพลังงานสูงที่สุด เมื่อเทียบกับ คาปูชิโน และ ลาเต้ -กาแฟอเมริกาโน มีพลังงานน้อยที่สุด คือประมาณ 97 กิโลแคลอรีต่อแก้วขนาด 13 ออนซ์ -พลังงานที่ได้จากกาแฟเย็น 1 แก้ว ส่วนใหญ่เป็นพลังงานที่ได้จาก ไขมัน และ น้ำตาล -กาแฟที่นิยมดื่มในปัจจุบัน มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ อาราบิก้า และ โรบัสต้า   -อาราบิก้า มีปริมาณคาเฟอีน ร้อยละ 0.75-1.70 ส่วน โรบัสต้ามีปริมาณคาเฟอีนร้อยละ 2.0 - 4.5 -ประเทศไทยเรามีการปลูกกาแฟทั้ง อาราบิก้า และ โรบัสต้า แต่อาราบิก้า ได้รับความนิยมมากกว่า โดยปลูกมากทางภาคเหนือ ซึ่งถือเป็นกาแฟที่ดี ได้รับความนิยม ไมว่าจะเป็น กาแฟดอยช้าง ดอยวารี ที่จังหวัดเชียงรายและ ดอยขุนวาง ที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนโรบัสต้า นิยมปลูกในภาคใต้ เช่นที่จังหวัด ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช ยะลา สุราษฎร์ธานี เอสเปรสโซ่ (espresso) เป็นกาแฟที่เข้มข้นที่สุด ชงผ่านเครื่อง เอสเปรสโซ่ โดยใช้แรงน้าดันผ่านเนื้อกาแฟบด เอสเปรสโซ่ เป็นจุดเริ่มต้นของกาแฟสูตรอื่นๆไม่ว่าจะชงกาแฟสูตรใด ก็ต้องมีกาแฟเอสเปรสโซ่เป็นกาแฟพื้นฐานก่อน คาร์ปูชิโน่ (Cappuccino) เป็นการผสมผสานระหว่างกาแฟเอสเปรสโซ่ นมร้อน และฟองนม ในปริมาณเฉลี่ยที่เท่ากันทั้ง 3 ส่วนผสม คาปูชิโนมีสัดส่วนพลังงานของ ไขมัน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน ร้อยละ 32:63:7 คาเฟ่ ลาเต้ (Caffe Latte) เป็นกาแฟผสมนมที่มีรสและกลิ่นกาแฟน้อยที่สุด โดยเน้นที่นมร้อนมากกว่าปริมาณกาแฟ กาแฟลาเต้มีสัดส่วนพลังงานของ ไขมัน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน ร้อยละ 30:60:10 มอคค่า (Caffe Mocha) เป็นกาแฟผสมช็อกโกแลตและนมร้อน มอคค่ามีสัดส่วนพลังงานของ ไขมัน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน ร้อยละ 36:56:8 ที่มา :  รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สารอาหารในกาแฟเย็น สำนักการโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 154 ขนมปังกรอบ โซเดียมที่คาดไม่ถึง

ขนมปังกรอบ หรือเรียกอย่างฝรั่งว่า แครกเกอร์(Cracker) นั้น  เป็นขนมอบกรอบอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันมากพอสมควร นิยมกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะรับประทานกับชีสต่างๆ ร่วมกับการดื่มชาหรือกาแฟ หรือเวลาจัดงานเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงค็อกเทลก็จะเห็นมีการนำมาจัดวางกับพวกผักสลัด ชีส แฮม/ไส้กรอก ทำเป็นของกินเล่นได้อีกด้วย ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มขนมปังกรอบและแครกเกอร์ในประเทศไทยมีการขยายตัวทางการตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า ปัจจุบันมูลค่าตลาดขนมปังกรอบในไทยโดยรวมปี 2554 อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วน แครกเกอร์ 38%, คุกกี้ 32% และเวเฟอร์ 30% โดยมีอัตราการเติบโตที่ 13%  แน่นอนว่าเราจะพบเห็นโฆษณาที่มากขึ้นของขนมชนิดนี้ในสื่อต่างๆ และความหลากหลายของยี่ห้อที่พบวางอยู่บนชั้นวางในซูเปอร์มาร์เก็ต เมื่อพิจารณาจากส่วนประกอบในแครกเกอร์ ซึ่งมีแป้งสาลี ไขมัน น้ำตาลและเกลือ เป็นหลักแล้ว คงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมหลายๆ คนจึงชอบแครกเกอร์ ทั้งนี้คงเพราะติดใจในรสชาติเค็มๆ มันๆ แบบ ชิ้นเดียวไม่เคยพอ แต่เมื่อลองหยิบฉลากมาดู โอ้ แคลอรีกับโซเดียมไม่เบาเลยแฮะ เห็นแผ่นบางๆ แค่ไม่กี่แผ่น ถ้าเผลอกินเพลินไปล่ะก็ ได้รับโซเดียมกระฉูดแน่   ดังนั้นก่อนหยิบแครกเกอร์กินในครั้งต่อไป โปรดเช็คฉลากสักนิดว่า พลังงานและปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าจะดูรายละเอียดก่อนไปหยิบฉวยในซูเปอร์มาร์เก็ต ฉลาดซื้อมีมาฝากในฉบับนี้ค่ะ   แครกเกอร์(ขนมปังกรอบ) บิสกิต           ความต่างของคุกกี้ บิสกิตและแครกเกอร์ ทั้งหมดต่างเป็นขนมอบ ส่วนใหญ่ทำจากแป้งสาลีลักษณะกรอบ แห้ง คุกกี้ ได้จากการแบ่งแป้งขนมเค้กที่ผสมแล้วออกมาส่วนหนึ่ง จากนั้นแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำเข้าเตาอบ (เดิม)เพื่อทดสอบอุณหภูมิที่จะใช้อบขนมเค้ก คำว่า "คุกกี้" (cookie) ใช้กันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกขนมแบบเดียวกันนี้ว่า "บิสกิต" (biscuit) ส่วน แครกเกอร์ (cracker) จะเป็นขนมปังกรอบแผ่นบางๆ แห้งๆ รสเค็มเอาไว้กินกับชีส ครีมชีส หรือทำเป็นขนมชีสเค้กต่างๆ     ความเสี่ยงของขนมปังกรอบ คุกกี้ บิสกิต แครกเกอร์ นอกจากเรื่องแคลอรีและโซเดียมที่สูง ก็คือ ไขมันทรานส์ และสารอะคริลาไมด์ (AA) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในอาหารประเภทแป้งที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนสูง   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point