ฉบับที่ 144 ไก่ทอดกับปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ

ไก่ทอด เป็นหนึ่งในรายการอาหารสุดคลาสสิกที่แข่งกับหมูปิ้งแบบหายใจรดต้นคอมาอย่างยาวนานในวิถีชีวิตสังคมเมืองที่เร่งรีบ อันตรายจากการกินไก่ทอดที่ทุกคนน่าจะรู้กันดีคือ ไขมัน เพราะมันเป็นของทอด! กินมากไปไขมันพอกพูนแน่นอน   แต่คราวนี้เราขอชักชวนไปอีกเรื่องหนึ่ง อาจเรียกว่าเป็นอันตรายแบบเงียบๆ ก็ได้ นั่นคือ “น้ำมันทอดซ้ำ” ฉลาดซื้อขอนำท่านผู้อ่านมาดูผลทดสอบน้ำมันทอดซ้ำในไก่ทอดแบบวัดกันไปเลยว่ามีผู้ประกอบการรายใดบ้างที่ละเลยปัญหาเรื่องนี้   ชาวฉลาดซื้อเดินดุ่ยๆ ไปสุ่มซื้อไก่ทอดทั้งแบรนด์ท้องถิ่นและแฟรนไชส์ ที่เรียกว่า มีชื่อเสียงพอตัว ในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 21 – 23 มกราคม 2556 จำนวน 11 ตัวอย่าง แล้วนำส่งทดสอบ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี การทดสอบทำโดยนำตัวอย่างไก่ทอดมาบีบเอาน้ำมันออกแล้วใช้ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำตรวจหาค่า “โพลาร์” เพื่อวัดการเสื่อมสภาพจากการใช้งานของน้ำมันที่ใช้ทอด   ผลทดสอบ ข่าวดีคือ “ฉลาดซื้อ” พบว่าเกือบทุกตัวอย่างมีค่าโพลาร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีเพียงตัวอย่างเดียวที่พบการใช้น้ำมันทอดซ้ำเกินค่ามาตรฐานได้แก่ ไก่ทอด แมคโดนัล (McDonald) สาขาห้าง เซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ข้างสำนักงานของ “ฉลาดซื้อ” นี่เอง) โดยพบโพลาร์เกินกว่าร้อยละ 25 อันเป็นตัวบ่งชี้ว่าน้ำมันเสื่อมสภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ. 2547 และวินิจฉัยได้ว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดฐานจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน ฝ่าฝืนมาตรา 25 (3) ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท   ข้อสังเกต มี 3 ตัวอย่างที่พบสารโพลาร์เกือบเกินค่ามาตรฐาน(น้ำมันใกล้เสื่อมสภาพ) ได้แก่ ไก่ทอดหาดใหญ่จากตลาดปทุมธานี ไก่ทอดเจ๊กีจากซอยโปโล ถนนพระราม 4 และไก่ทอดจีระพ้นธ์ จากตลาดหลังการบินไทย วิภาวดี   อันตรายของน้ำมันทอดซ้ำ น้ำมันที่ใช้ซ้ำจนเสื่อมคุณภาพเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้รับประทานทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ โรคหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาตและภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ไอของน้ำมันที่เสื่อมสภาพจะมีกลุ่มสารก่อมะเร็งทำให้ผู้ทอดอาหารเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดจากการสูดดม อันตรายของน้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมคุณภาพเกิดจากโครงสร้างของน้ำมันถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารโพลาร์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหัวใจตีบ และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นต้น ฉลาดซื้อแนะนำ จากตารางข้อมูลจะเห็นว่าของแพงและเป็นแฟรนส์ไชส์ใช่ว่าจะมีมาตรฐานที่ดีและปลอดภัยเสมอไป ดังนั้น “อย่าติดแบรนด์” ช่วยลดความเสี่ยงได้เยอะอยู่ครับ ควรหลีกเลี่ยงไม่ซื้ออาหารทอดจากร้านค้าที่ใช้น้ำมันมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวสีดำคล้ำ ฟองมาก เหม็นไหม้ (ถ้าได้เห็นน้ำมันนะครับ) ทอดไก่รับประทานเองครับ รู้แน่นอนว่าปลอดภัยหรือไม่ (เพราะเราทำเอง ฮา…) หาคนช่วยรับประทาน(อร่อยกว่ากินคนเดียว) และกินแต่พออิ่ม อย่ากินไก่ทอดอย่างเดียวให้มีผักเคียงด้วยจะช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับไขมันและน้ำมันทอดซ้ำในของทอดได้ เพราะใยอาหารและสารอาหารในผักช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกายและยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งด้วยครับ   ตารางแสดงผลทดสอบน้ำมันทอดซ้ำในไก่ทอด ชื่อตัวอย่าง สถานที่เก็บตัวอย่าง ราคา ผลทดสอบ สรุปผล ไก่ทอดหาดใหญ่ ตลาดปทุมธานี 40 บาท/ชิ้น สีชมพูจาง น้ำมันใกล้เสื่อมสภาพ ไก่ทอดนายเอส (S) โรงอาหาร ม.เกษตรฯ 22 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอดอนงค์ ตลาด อตก. 25 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอด McDonald ห้าง Center One 124 บาท/ 2 ชิ้น ไม่มีสี น้ำมันเสื่อมสภาพเกิน 25% ไก่ทอดเจ๊กี ซ.โปโล ถ.พระราม 4 200 บาท/ตัว สีชมพูจาง น้ำมันใกล้เสื่อมสภาพ ไก่ทอดสมุนไพร หน้าอาคารพหลโยธินเพลส 35 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอดเดชา ปากซอยไมยราพ ถ.เกษตร-นวมินทร์ 45 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอด Chester Grill ห้าง Center One 140 บาท/ 4 ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอดจีระพันธ์ ตลาดหลังการบินไทย 30 บาท/ชิ้น สีชมพูจาง น้ำมันใกล้เสื่อมสภาพ ไก่ทอดหาดใหญ่ ตลาดบางจาก 40 บาท/ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 % ไก่ทอด KFC ห้าง Center One 108 บาท/ 3 ชิ้น สีชมพู โพลาร์ 9 – 20 %    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 143 ขนมปังและสารกันบูด

  คนไทยมีอาหารการกินหลากหลาย ขนมอบอย่างฝรั่ง เช่น ขนมปัง แซนด์วิช ครัวซอง หรือเค้ก ก็กลายมาเป็นทั้งอาหารมื้อหลัก(โดยเฉพาะมื้อเช้าที่เร่งรีบ) และอาหารว่างที่หลายคนชื่นชอบ เพราะหาได้ง่ายและราคาไม่แพง อย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตขนมอบเรายังพบความเสี่ยงบางประการที่เกือบจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นของระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมปัจจุบัน นั่นคือการผสมสารกันบูดลงไปด้วย ‘ฉลาดซื้อ’ เลยได้โอกาสตรวจสอบกันอีกสักทีว่าความเสี่ยงของสารกันบูดในขนมอบทั้งหลายมีมากน้อยแค่ไหนกันนะ   ฉลาดซื้อทดสอบ ‘ฉลาดซื้อ’ ได้สุ่มซื้อขนมอบพร้อมบริโภค ทั้ง ขนมปัง และเค้กยี่ห้อต่างๆ จากร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ต และร้านเบเกอรี่ จำนวน 14 ตัวอย่าง แบ่งเป็นตัวอย่างที่มีฉลากกำกับว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” 1 ตัวอย่าง และ ตัวอย่างที่ฉลากไม่ระบุว่าใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ 5 ตัวอย่าง แล้วส่งทดสอบกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี เพื่อหาสารกันบูดที่อุตสาหกรรมอาหารนิยมใช้ 3 ชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และกรดโปรปิโอนิค (Propionic Acid)     หมายเหตุ หากมีการใช้สารกันบูดร่วมกันมากกว่า 2 ชนิด ในตัวอย่างเดียวกัน การพิจารณาค่ามาตรฐานให้ใช้ค่ารวมของสารทั้งหมดที่พบเทียบกับค่าสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ของสารกันบูดชนิดที่มีค่าต่ำที่สุด ซึ่ง ณ ที่นี้ คือ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อาหาร                *** ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น   ผลทดสอบ 2 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมดที่พบสารกันบูดยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย จากการทดสอบพบว่า มีการใช้สารกันบูดในขนมอบสูงถึงร้อยละ 79 (รวม 11 ตัวอย่าง)   แบ่งเป็นพบสารกันบูดชนิดเดียว ร้อยละ 21 (3 ตัวอย่าง : เค้กฟลัฟฟี่ มาม่อน ชีส, ซอฟท์เค้กรสใบเตย เลอแปง, และเค้กโรลวนิลา  sun merry)   พบสารกันบูด 2 ชนิดร้อยละ 36 (5 ตัวอย่าง : ขนมปังใส้ถั่วแดง Tesco the Bakery, ขนมปังไส้เผือก ฟาร์มเฮ้าส์, ขนมปังไส้กรอกคู่ เบเกอร์แลนด์, ขนมปังไส้ลูกเกด นัทเบเกอรี่, และ ขนมปังแซนวิช  Tesco)   และพบสารกันบูดครบทั้ง 3 ชนิดร้อยละ 21 ( 3 ตัวอย่าง : ขนมปังไส้เผือก เลอแปง, ขนมปังไส้เผือก เอพลัส, และ สวีทโรล เลอแปง) และที่เข้าข่ายน่าเป็นห่วงมีทั้งหมด 5 ตัวอย่าง ได้แก่ ขนมอบที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน 5 ตัวอย่างขนมปังใส้ถั่วแดง Tesco the Bakery ที่ปริมาณรวม 1,656 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (มก./กก.) เค้กโรลวนิลา sun merry ที่ปริมาณ 1,583 มก./กก.ขนมปังแซนวิช Tesco ที่ปริมาณรวม 1,279 มก./กก.  ขนมปังไส้เผือก เอพลัส ที่ปริมาณรวม 1,274 มก./กก.ขนมปังไส้กรอกคู่ เบเกอร์แลนด์ ที่ปริมาณรวม 1,195 มก./กก.     --------------------------------------------------   การพิจารณาฐานความผิดโดยใช้ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ตัวอย่างเกือบทั้งหมดที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน เข้าข่ายการกระทำความผิด พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (3) เรื่องอาหารผิดมาตรฐานมีบทลงโทษตามมาตรา 60 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท   โดยมีหนึ่งตัวอย่างคือ ขนมปังแซนวิช Tesco ที่เข้าข่ายการกระทำผิดมาตรา 25 (2) เรื่องอาหารปลอม มีบทลงโทษตามมาตรา 59 คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท เนื่องจาก บนฉลากระบุว่าไม่ใช้วัตถุกันเสีย แต่ กลับพบการใช้วัตถุกันเสียร่วมกันถึงสองชนิดในตัวอย่างเดียว และมีค่าที่พบสูงมากอีกด้วย   ฉลาดซื้อแนะนำ เลือกซื้อขนมอบของร้านที่ทำสดแบบวันต่อวันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับสารกันบูดได้ดีกว่าซื้อขนมอบที่ต้องทำส่งร้านหลายสาขาหรือวางสินค้าทั่วประเทศ การเลือกซื้อให้สังเกตฉลากตรงส่วนประกอบของอาหาร หากมีระบุว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” หมายความว่า คุณกำลังบริโภคสารกันบูด และมีความเสี่ยงของการจะได้รับสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน    สารกันบูดที่นิยมในวงการเบเกอรี่ 1. เบนโซเอท (Benzoic acid และ Benzoates) นิยม ใช้ในรูปของเกลือโซเดียม ซึ่งจะให้ผลดีในสภาพที่เป็นกรด เช่น น้ำหวาน, น้ำผลไม้, แยม, น้ำสลัด, ผักดอง เป็นต้นปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายไม่เกิน 0.1%   2. ซอเบท (Sorbic acid และ Sorbates) เป็น สารกันบูดที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งจะให้ผลดีในสภาพที่เป็นกรดเช่นกัน ดังนั้นกลุ่มที่ใช้จึงใกล้เคียงกัน รวมทั้งพวกไส้ขนมต่าง ๆ ในการทำขนมขายส่ง เป็นต้นปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายไม่เกิน 0.1%   3. โปรปิโอเนท (Propionic acid และ propionices) มี ความสามารถในการทำลายแบคทีเรียและราได้ดีกว่ายีสต์ นิยมใช้สารนี้ในผลิตภัณฑ์ขนมปัง, เค้ก, นิยมใช้แคลเซียมโปรปิโอเนทกับขนมปังมากกว่า เพราะเกลือแคลเซียม จะช่วยเป็นตัวปรับสภาพของก้อนโด ได้ด้วยส่วนเกลือโซเดียมและโปแตสเซียม นิยมใช้กับเค้ก ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมาย 0.1- 0.2% ที่มา  http://www.kccbakermart.com/bakery_materials.htm

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 142 บอแรกซ์ในหมูบด

หมูเป็นอาหารที่คนนิยมรับประทานกันมาก จนมีคำกล่าวประมาณว่า “หมูทำอะไรก็อร่อย” คนไทยบริโภคเนื้อหมูเกือบล้านตัน/ปี (ปี 2553 คนไทยบริโภคเนื้อหมูปริมาณ 930,000 ตัน)  หมูเมื่อถูกชำแหละแล้ว ว่ากันว่า รับประทานได้ทุกส่วน แต่ที่กินกันบ่อยก็แน่นอนว่าต้องเป็นเนื้อ ไม่ว่าจะส่วนสะโพก ขา หลัง หรือคอ แล้วแต่ว่าผู้บริโภคจะเลือกไปประกอบอาหารอะไร และไม่ว่าจะที่เขียงหมูในตลาดหรือชั้นวางเนื้อหมูในร้านค้าปลีกทันสมัย เขาก็มีเนื้อหมูในเลือกซื้อหากันได้หลายประเภท ที่นิยมมากประเภทหนึ่งก็คือ “หมูบด” หรือ “หมูสับ” ที่นำไปทำอาหารได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น...แกงจืด ลูกชิ้น ลาบ ไข่เจียวหมูสับ ฯลฯ   ซึ่งสมัยก่อนอาจต้องออกแรงเล็กน้อยเพื่อสับเนื้อหมูให้ละเอียด แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่ต้องยุ่งยากเสียเวลานั่งสับแล้ว เพราะเขามีชนิดสับให้แล้ววางพร้อมรอขาย คุณพ่อครัวแม่ครัวทั้งหลายไม่ต้องไปเสียเวลาสับ บด เองอีกให้ยุ่งยาก แต่ก็อีกนั่นแหละอะไรที่มันดูสำเร็จรูปบางทีมันก็มีภัยแฝงมาด้วย เนื้อสัตว์โดยธรรมชาตินั้นจะเน่าเสียได้ง่ายเพราะมีความชื้นสูงเหมาะแก่การขยายอาณาจักรของเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหลาย ผู้ขายที่ไม่รับผิดชอบบางส่วนจึงมักนำสารเคมีที่อันตรายมาช่วยให้เนื้อหมูคงสภาพสด ไม่เน่าเสียง่าย และที่พบมากเป็นปัญหาระดับประเทศก็คือ การใช้สารบอแรกซ์ในเนื้อหมู โดยเฉพาะหมูบด เพราะไม่เพียงแต่ช่วยไม่ให้เน่าไวแล้ว ยังแถมคุณสมบัติทำให้เนื้อหมูเด้ง กรอบ อีกด้วย   ฉลาดซื้อทดสอบ ฉลาดซื้อเราก็ชอบหมูเช่นกัน เลยกระจายกำลังคนไปช้อปหมูบดมาจากตลาดสด 5 แห่ง โมเดิร์นเทรด 3 แห่ง และหมูพะยี่ห้อดัง 2 เจ้า ส่งตรวจหาสารบอแรกซ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปรากฏว่า ยังพบมีการใช้สารบอแรกซ์กับหมูบด อยู่ 1 แห่ง ที่ตลาดสดยิ่งเจริญ เจ้าของตลาดและหน่วยงานรัฐลงไปตรวจสอบด้วยนะครับ   ผลการทดสอบหาสารบอแรกซ์ในหมูบด สถานที่เก็บตัวอย่าง สารบอแรกซ์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ตลาดสำโรง ไม่พบ ตลาดพระประแดง ไม่พบ ตลาด อ.ต.ก. ไม่พบ ตลาดบางบอน ไม่พบ กระถินหมูบด ตลาดยิ่งเจริญ 10,524 ฟู้ดแลนด์ ไม่พบ เทสโก้ ไม่พบ ท็อปส์ ไม่พบ หมูบด ซีพี เฟรชมาร์ท ไม่พบ หมูบด ยี่ห้อ เอส เพียว ไม่พบ   เก็บตัวอย่างช่วงเดือนตุลาคม 2555 ผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น    Borax  บอแรกซ์ บอแรกซ์ (Borax, Anhydrous borax (Na2B4O7) Borax pentahydrate (Na2B4O7·5H2O) Borax decahydrate (Na2B4O7·10H2O))  เป็นสารเคมี ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย  มีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ เม่งแซ ผงเนื้อนิ่ม บอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้วเพื่อทำให้ทนความร้อน เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง และเป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น มีการนำบอแรกซ์มาใช้ผิดโดยนำมาผสมใน อาหาร  เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น   -------------------------------------------------------------------------------------------------   การใช้บอแรกซ์ในอาหาร เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard)  ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เป็นสารเคมีห้ามใช้ในอาหาร (prohibit substances) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151(พ.ศ. 2536) เรื่องวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร   ------------------------------------------------------------------------------------------------- หมูอาบน้ำ เนื้อหมูที่พบว่ามีการใช้สารบอแรกซ์มากที่สุดคือหมูบด เนื่องจากการบดหมูจะทำให้มีการผิวสัมผัสของเชื้อโรคเข้าไปในเนื้อหมูมากขึ้น ทำให้หมูบดเน่าเสียได้ง่าย จึงมีการใช้บอแรกซ์ใส่ปนในหมูบด ส่วนเนื้อหมูชิ้นจะมีการนำไปชุบน้ำยาบอแรกซ์ โดยจะมีภาษาเรียกของผู้ที่จำหน่ายสุกรว่า “หมูอาบน้ำ” ดังนั้นจะมีบอแรกซ์ติดอยู่ที่ผิว ข้อปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคทั่วไปคือเมื่อซื้อหมูมาก่อนที่จะนำไปปรุงอาหารให้ล้างหลายๆ ครั้ง นอกจากจะลดหรือขจัดสารอออกไปได้แล้วยังเป็นการลดความสกปรกที่ติดอยู่บนเนื้อหมูลงไปด้วย ถ้าเป็นหมูบดคงจะไม่สามารถล้างได้เราควรจะหลีกเลี่ยงโดยการนำมาบดเองจะดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 ลูกอม หมากฝรั่ง ซูการ์ฟรี??

รสหวานมีใครบ้างไม่ชอบ หวานทำให้อาหารมีรสสัมผัสที่ดี อร่อย และยังช่วยให้สดชื่นด้วย เพราะน้ำตาลที่สร้างรสหวานนั้นให้พลังงานสูง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นส่วนผสมหลักก็คงหนีไม่พ้นพวกลูกอม ลูกกวาด รวมไปถึงหมากฝรั่ง ซึ่ง  90 กว่าเปอร์เซ็นต์ในส่วนผสมเป็นน้ำตาล แต่หวานจากน้ำตาลหลังๆ ชักมีปัญหา เพราะถูกประณามว่าทำให้อ้วน หรือถ้าเคี้ยวหนุบหนับในปากเขาก็ว่าทำให้ฟันผุ เพราะจุลินทรีย์ที่ทำร้ายฟันก็ชอบกินน้ำตาลเหมือนกัน ถ้าจะหนีภัยฟันผุและอ้วน ก็ต้องเลิกกินหวาน เลิกเคี้ยวลูกอม หรือหมากฝรั่งไปเลย แต่มนุษย์เราไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ คือแทนที่จะเลิกหวาน ก็ขอหวานเถอะ แต่ไม่เอาแคลอรีหรือพลังงาน จึงคิดค้นหารสหวานที่มาจากอย่างอื่นแทนน้ำตาล ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาเฉพาะว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล  วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล เวลาได้ยินโฆษณาว่า ไม่มีน้ำตาล หรือ ซูการ์ฟรี หรือ แคลอรีต่ำ หากเราไม่รู้จักวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลมาก่อน เราก็อาจคิดได้ว่า เขาโกหก เพราะกินแล้ว มันก็หวานชะมัด หวานติดลิ้นด้วยซ้ำ จะมาบอกว่าไม่มีน้ำตาลได้ยังไง แต่ถ้าเราลองอ่านฉลากดู บนฉลากจะถูกกำหนดให้เขียนไว้ชัดเจนเลยว่า ผลิตภัณฑ์อาหารนี้ ใช้อะไรให้ความหวานแทนน้ำตาล  คราวนี้ล่ะ เราจะเห็นชื่อแปลกๆ มากันหลากหลาย ทั้ง แอสปาแตม อะซีซัลเฟม-เค ซูคราโลส ไซลิทอล ซอร์บิทอล มอลทิทอล ไอโซมอลต์ ฯลฯ ชื่อที่ยกมาข้างต้นเป็นชื่อของ วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ทำไมต้องเรียกว่า “วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” ทำไมไม่เรียก “น้ำตาลเทียม” ไปเลยล่ะ เข้าใจง่ายกว่ากันเยอะ ก็ต้องบอกว่า บางอย่างมันไม่ใช่น้ำตาลเทียมนะสิ วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล หลายตัวมีคุณสมบัติที่ให้ทั้งความหวานและให้พลังงานด้วย แอบมีคุณค่าทางโภชนาการนิดๆ  คือตัวมันยังเป็นน้ำตาลอยู่ เพียงแต่เป็นน้ำตาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมือนน้ำตาลทรายที่เรารู้จัก (ถ้าเป็นน้ำตาลเทียมจะเป็นสารสังเคราะห์ที่จะมีความหวานกว่าน้ำตาลแท้เป็นสองสามร้อยเท่า ทำให้ใช้ในปริมาณที่น้อยมากๆ ค่าพลังงานเลยเกือบจะเท่ากับ 0) ดังนั้นถ้าจะลองจำแนก วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยดูจากหลักเกณฑ์เรื่อง คุณค่าทางโภชนาการ ก็จะแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม   วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการนำมาใช้ทดแทนรสหวานจากน้ำตาลในอาหารหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม ขนม ลูกอม ลูกกวาด เบเกอรี่ อาหารหรือเครื่องดื่มไดเอ็ตทั้งหลาย หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมยา  การใช้สารหรือวัตถุให้ความหวานมีการใช้ทั้งในลักษณะเดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับสารให้ความหวานชนิดอื่นๆ ซึ่งการใช้สารให้ความหวานมากกว่า 1 ชนิดประกอบกันได้รับการยอมรับ เนื่องจากสารให้ความหวานแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ไม่มีสารให้ความหวานใดดี หรือสมบูรณ์แบบที่สุด ฉลาดซื้อในครั้งนี้ ออกไปช้อปหมากฝรั่งและลูกอม เพื่อมานำเสนอเป็นตัวอย่างสำหรับผลิตภัณฑ์ที่น้ำตาลกำลังจะหายไป แต่กลายเป็นการนำวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล มาใช้แทนที่ และอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่มีอะไรที่ดีที่สุด ดังนั้นบางตัวก็สร้างปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน แม้จะเป็นความเสี่ยงในระดับต่ำ แต่ก็ควรจะได้รู้เป็นข้อมูลไว้เพื่อการพิจารณา    ผลิตภัณฑ์ หมากฝรั่ง ------------------------------------------------- วัตถุให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ควรรู้จัก โพลิออล (polyols) หรือน้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohols; polyhydric alcohol; polyalcohol) บางครั้งเรียกว่า “sugar replacers” หรือ “bulk sweeteners” ใช้เป็นสาร ปรุงแต่งในอาหารที่มีความสำคัญเช่นกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำตาล สารให้ ความหวานเหล่านี้จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารเพิ่มมวลหรือปริมาตรของน้ำตาล มีความหวานต่ำกว่าน้ำตาลทราย(ซูโครส) เป็นสารให้ความหวานลดแคลอรี (reduced- calorie sweeteners) สามารถรวมกับสารอื่นได้ดี เช่น มีคุณสมบัติส่งเสริมกันกับสารให้ความหวานชนิดแคลอรีต่ำ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีแคลอรีลดลงและมีรสชาติดีคล้ายกับ ผลิตภัณฑ์สูตรดั้งเดิม กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ จะมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เนื่องจากดูดซึมได้ช้า และตกค้างมาเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องของภาวะท้องเสีย -------------------------------------------------   วัตถุให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ควรรู้จัก สารให้ความหวานที่จัดอยู่ในประเภทนี้กลุ่มหนึ่งจะไม่ให้พลังงานเลย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีหน้าที่ให้รสหวานเท่านั้น อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ให้พลังงานต่ำ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าคือสารให้รสหวานที่ให้พลังงานน้อยกว่า 2% ของจำนวนพลังงานที่ได้จากน้ำตาลทราย ในระดับที่ให้ความหวานเท่ากัน การที่ต้องกำหนดไว้เนื่องจากสารรสหวานบางชนิดเป็นสารที่ให้พลังงานตามธรรมชาติ เช่นจัดเป็นเปปไทด์ (หน่วยย่อยของโปรตีน) เพราะฉะนั้นจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัมเหมือนโปรตีนอื่น แต่เนื่องจากสารนั้นหวานกว่าน้ำตาลทรายเป็นร้อยเท่า เวลานำมาใส่ในอาหารจึงใช้ปริมาณน้อยมาก จนปริมาณดังกล่าวให้พลังงานแก่ร่างกายเพียงน้อยนิด ต่อไปจะขอแนะนำให้รู้จักสารรสหวานที่นิยมใช้กันบางชนิด   แอสปาแตม ถึงแม้ว่าจะจัดเป็นสารพวกโปรตีน (เปปไทด์) แอสปาแตมถือเป็นสารรสหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือพลังงานต่ำ ตามที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ปัจจุบันผลิตในระดับอุตสาหกรรมด้วยการสังเคราะห์โดยเชื้อจุลินทรีย์ และนำมาใช้แทนน้ำตาลบริโภคในเครื่องดื่มต่างๆ ของหวานโดยเฉพาะเยลลี่ ไอศกรีม ลูกกวาดและอาหารแห้ง ข้อที่ควรระวังของการใช้แอสปาแตมในผลิตภัณฑ์อาหารคือ ผู้ที่เป็นโรค Phenylketonuria จะไม่สามารถบริโภคอาหารที่มีแอสปาแตมเป็นส่วนประกอบ จึงต้องระบุคำเตือนบนฉลาก ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันกำหนดไว้ที่ 0-40 (บางประเทศ 0-50) มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน อะซีซัลเฟม-เค เอะซีซัลเฟม-เค คงตัวอยู่ได้ในสภาพความเป็นกรด-ด่างของอาหารและในช่วงอุณหภูมิของกระบวนการผลิตอาหารทั่วๆ ไป มีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ ในทำนองเดียวกับแอสปาแตม ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันคือ 0-15 (บางประเทศ 0-9) มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นมและหมากฝรั่ง ดูดซึมและขับถ่ายออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการย่อยสลาย ซูคราโลส ซูคราโลสเป็นสารที่ได้จากดัดแปลงน้ำตาลทราย (ซูโครส) ด้วยวิธีทางเคมี ทำให้มีความหวานสูงขึ้น โดยยังคงรสชาติของน้ำตาล และมีความคงตัวสูงจึงสามารถนำไปใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลาย รวมถึงอาหารที่เป็นกรด และอาหารที่ต้องผ่านกระบวนให้ความร้อน เช่นผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ถึงแม้จะมีโครงสร้างคล้ายน้ำตาลทราย แต่ซูคราโลสไม่ถูกย่อยสลายในร่างกาย ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันกำหนดไว้ที่ 0-15 มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 141 เอสเปรสโซ สด ... จากเครื่อง

ฉลาดซื้อฉบับนี้เอาใจคอกาแฟที่กำลังคิดอยากมีเครื่องทำเอสเปรสโซ เอาไว้ทำกาแฟสดดื่มเองที่บ้านกันบ้าง ปัจจุบันนี้มีเครื่องทำกาแฟสดหรือเครื่องทำเอสเปรสโซออกมาวางขายกันมากขึ้น เรียกว่าตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภค ตั้งแต่แบบที่ใส่เมล็ดกาแฟเข้าไปจนได้เป็นเอสเปรสโซออกมา แบบที่ใช้กับเมล็ดกาแฟบดแล้ว ไปจนถึงเครื่องทำกาแฟแบบแคปซูล เรามีผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟทั้งหมด 15 รุ่น (ทั้ง 3 รูปแบบ) ราคาระหว่าง 3,355 บาทถึง 21,000 บาท จากองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT มาให้คุณได้พิจารณากัน เราบอกไม่ได้ว่าเอสเปรสโซจากเครื่องไหนจะอร่อยโดนใจคุณที่สุด แต่เราพอจะบอกได้ว่าเครื่องไหนใช้งานได้สะดวก ทำเอสเปรสโซได้รวดเร็ว ใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพ หรือทำงานได้เงียบกว่ากัน ติดตามรายละเอียดได้ในหน้าถัดไป   Bean-to-cup DeLonghi Magnifica S ราคา 14,700 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso     5 ทำฟองนม 5 ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1450   วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 8.95 กิโลกรัม   ปริมาณ espresso 1 ช็อต           42      มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ                       38.3    วินาที อุณหภูมิของ espresso               60.5     เซลเซียส พลังงานที่ใช้                             0.016    กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso        80.6      เดซิเบล   Gaggia Unica ราคา 11,998 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso       5 ทำฟองนม            4 ล้าง/ทำความสะอาด 3 คุณภาพการประกอบ 3 กำลังไฟ   1500    วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 9.05 กิโลกรัม   ปริมาณ espresso 1 ช็อต 50    มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ       39.3 วินาที อุณหภูมิของ espresso 71.1    เซลเซียส พลังงานที่ใช้                             0.015  กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      80.6     เดซิเบล   DeLonghi Magnifica Rapid ราคา 20,000 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso  4 ทำฟองนม 5 ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1350    วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 10.80 กิโลกรัม   ปริมาณ espresso 1 ช็อต 33.7    มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ                       45.3  วินาที อุณหภูมิของ espresso 57.7    เซลเซียส พลังงานที่ใช้                             0.017    กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      78.7        เดซิเบล   Siemens Macchiato ราคา 20,000 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso        4 ทำฟองนม 4 ล้าง/ทำความสะอาด 3 คุณภาพการประกอบ 4 กำลังไฟ 1600      วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 9.30 กิโลกรัม  ปริมาณ espresso 1 ช็อต 39     มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ                       41.7     วินาที อุณหภูมิของ espresso 60      เซลเซียส พลังงานที่ใช้                             0.018      กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      84.9           เดซิเบล   Grounds DeLonghi EC820.B ราคา 21,000 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso    4 ทำฟองนม 4 ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1450       วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 4.80 กิโลกรัม  ปริมาณ espresso 1 ช็อต 35      มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ     25   วินาที อุณหภูมิของ espresso 61.7     เซลเซียส พลังงานที่ใช้            0.010    กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      81.9      เดซิเบล   Rancilio Miss Silvia ราคา 19,000 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso    3 ทำฟองนม 5 ล้าง/ทำความสะอาด 3 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1150    วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 11.65 กิโลกรัม  ปริมาณ espresso 1 ช็อต 33.7     มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ       13                 วินาที อุณหภูมิของ espresso 60.5         เซลเซียส พลังงานที่ใช้       0.004                กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      91        เดซิเบล   VillaWare Espresso Maker ราคา 13,333 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso        3 ทำฟองนม 5 ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1470     วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 6.50 กิโลกรัม  ปริมาณ espresso 1 ช็อต 42.7       มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ    16.7                  วินาที อุณหภูมิของ espresso 63                เซลเซียส พลังงานที่ใช้           0.007               กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso   83.7    เดซิเบล   Capsule Krups Essenza Automatic ราคา 11,000 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso      5 ทำฟองนม - ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1260                 วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 3.05 กิโลกรัม  ปริมาณ espresso 1 ช็อต 35.3      มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ               21.3     วินาที อุณหภูมิของ espresso 72.4           เซลเซียส พลังงานที่ใช้         0.007                กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      84.9      เดซิเบล   Magimix M100 Essenza Automatic ราคา 4,400 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso       5 ทำฟองนม - ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1260       วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 3 กิโลกรัม  ปริมาณ espresso 1 ช็อต 29.7     มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ         16.3            วินาที อุณหภูมิของ espresso 66             เซลเซียส พลังงานที่ใช้         0.007              กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      81.8   เดซิเบล   Magimix M110 Pixie ราคา 5,600 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso      5 ทำฟองนม - ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1260                 วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 2.80 กิโลกรัม   ปริมาณ espresso 1 ช็อต 33.7       มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ 27.7                  วินาที อุณหภูมิของ espresso 70.6          เซลเซียส พลังงานที่ใช้           0.011           กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      91.4    เดซิเบล   Krups XN 3006.40 Pixie ราคา 13,490 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso        5 ทำฟองนม - ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1260      วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 2.80 กิโลกรัม  ปริมาณ espresso 1 ช็อต 32.7      มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ 20.3                  วินาที อุณหภูมิของ espresso 69            เซลเซียส พลังงานที่ใช้         0.007       กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      93.8       เดซิเบล   Dualit Rapido Capsule Machine ราคา 5,600 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso    4 ทำฟองนม - ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 4 กำลังไฟ 950       วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 4.05 กิโลกรัม  ปริมาณ espresso 1 ช็อต 34.3         มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ       26.3               วินาที อุณหภูมิของ espresso 62.9           เซลเซียส พลังงานที่ใช้        0.007                กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      80.7    เดซิเบล   Francis Francis Y1 Metodo Iperespresso ราคา 5,960 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso         4 ทำฟองนม - ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 500           วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 5.05 กิโลกรัม   ปริมาณ espresso 1 ช็อต 27      มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ   26        วินาที อุณหภูมิของ espresso 68.3         เซลเซียส พลังงานที่ใช้      0.004                กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      81.1      เดซิเบล   Krups Nescafe Doce ราคา 3,355 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso      4 ทำฟองนม - ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 5 กำลังไฟ 1460        วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 2.30 กิโลกรัม   ปริมาณ espresso 1 ช็อต           37.7    มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ 20                     วินาที อุณหภูมิของ espresso 70.2         เซลเซียส พลังงานที่ใช้       0.008                กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      90.6      เดซิเบล   Lavazza LM850 Amodo Mio Piccina ราคา 4,000 บาท ความสะดวกในการใช้งาน ทำ espresso     3 ทำฟองนม 4 ล้าง/ทำความสะอาด 4 คุณภาพการประกอบ 3 กำลังไฟ 1050       วัตต์ น้ำหนักเครื่อง 3.65 กิโลกรัม   ปริมาณ espresso 1 ช็อต           29     มิลลิลิตร ใช้เวลาในการทำ 26    วินาที อุณหภูมิของ espresso 72.9       เซลเซียส พลังงานที่ใช้          0.008          กิโลวัตต์/ชั่วโมง เสียงที่เกิดขณะทำ espresso      82.4    เดซิเบล   ราคาบางส่วนอ้างอิงจาก http://www.which.co.uk/

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 140 กาเฟอีนในชาพร้อมดื่ม

เราทราบกันดีว่าเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน (เครื่องดื่มชูกำลัง) เป็นเครื่องดื่มที่มีคำเตือน “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” อยู่บนฉลาก อีกทั้ง ด้วยเป็นเครื่องดื่มที่ผสมสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ควบคุมปริมาณกาเฟอีนที่เป็นส่วนผสมไว้ว่าห้ามเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อขวดหรือกระป๋อง (หน่วยบรรจุ) นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมเรื่องการโฆษณาอีกต่างหากเพื่อให้ผู้บริโภคไม่เกิดความเข้าใจที่ขาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น ต้องมีการระบุคำเตือนในสปอตโฆษณาทุกครั้ง และต้องไม่โฆษณาในลักษณะการแถมพก หรือให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคหรือมีการให้ของแถม เป็นต้น อย่างไรก็ดี เรื่องที่ฉลาดซื้อจะนำข้อมูลมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นหากแต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีกาเฟอีนเหมือนกันแต่เป็นกาเฟอีน (Caffeine) ตามธรรมชาติ ซึ่งก็คือ ชาเขียว และกาแฟพร้อมดื่ม ด้วยเหตุผลที่ว่า มันไม่มีคำเตือน! และไม่ได้รับการควบคุมครับพี่น้อง   ด้วยกระแสความนิยมชาที่มีมาอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะชาเขียว) กับ กระแสกาแฟที่อ้างว่ากินแล้วหุ่นดี ไม่อ้วน ทำให้ผู้บริโภคหลายคนลืมไปว่าสิ่งที่ตนจะดื่มมีสารเสพติดเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย (ถึงแม้จะมีการบังคับให้แสดงปริมาณกาเฟอีนบนฉลาก ชา – กาแฟ ก็ตาม) ผู้บริโภคบางคนถึงขนาดเคยพูดให้ผู้เขียนฟังว่า “ดื่มน้ำอัดลมไม่ดี ดื่มชา (เขียว) ดีกว่า ดีกับสุขภาพด้วย” ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาเอาฉลากชา แต่ละยี่ห้อ จำนวน 23 ตัวอย่าง (13 ยี่ห้อ) ทั้งชาเขียว ชาขาว ชาดำ ฯลฯ และปิดท้ายด้วยกาแฟกระป๋อง โดยนำฉลากกาแฟจำนวน 3 ตัวอย่างบวกกับฉลากเครื่องดื่มชูกำลังจำนวน 4 ตัวอย่าง มากางเห็นกันอย่างชัดเจนว่า ผลิตภัณฑ์ของเจ้าใด มีกาเฟอีน มากน้อยต่างกันเพียงใด นอกจากนี้ เรามีสมนาคุณพิเศษแถมข้อมูลน้ำตาลบนฉลาก กับการแสดงฉลากโภชนาการ มาให้ท่านผู้อ่านได้ยลกันอีกด้วย     ภาพรวมจากการเปรียบเทียบฉลาก ชาสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทั้งหมดที่สุ่มมาจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ประการคือ น้ำชาและน้ำตาล (หรือสารอื่นที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล) โดยในน้ำชานั้นจะมีกาเฟอีนอยู่ระหว่าง เกือบ 7 ถึง 20 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ขณะที่กาแฟกระป๋องมีกาเฟอีนอยู่ที่ 40 – 80 มล.ต่อ 100 มิลลิกรัม หากคำนวณเป็นปริมาณกาเฟอีนต่อภาชนะบรรจุแล้วจะพบว่าอยู่ในช่วง ประมาณ 23 ถึง 101 มิลลิกรัมต่อภาชนะบรรจุ ส่วนกาแฟกระป๋องจะมีกาเฟอีนอยู่ที่ 98 – 144 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง และเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนทั้งหมดจะมีกาเฟอีนอยู่ที่ 50 มิลลิกรัม/ขวด สำหรับการแสดงฉลากโภชนาการ สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 3 โดยมีการแสดง 1 ส่วน ขณะที่ อีก 2 ส่วนไม่มีการแสดงซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่ใช้ฉลากเพื่อการตัดสินใจจะพบความลำบากเมื่อต้องการทราบปริมาณน้ำตาลว่ามีอยู่เท่าไร บทวิเคราะห์ ชาพร้อมดื่ม(ทุกประเภท) เป็นเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนตามธรรมชาติในปริมาณต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ต่างกันกับเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลสูง ยิ่งไปกว่านั้นด้วยมีการบังคับแสดงคำเตือน ว่า “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” สำหรับเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน ดังนั้นชาพร้อมดื่มจึงไม่ใช่เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพตามที่ผู้ประกอบการทำให้เราเข้าใจแต่อย่างใด การบริโภคชาพร้อมดื่มเกินกว่าวันละ 2 ขวดคู่กับการดื่มกาแฟวันละ 1 – 2 แก้ว หรืออาหารอื่นที่มีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ อาจจะนำมาซึ่งอาการติดกาเฟอีน (Caffeinism) ได้ (การได้รับกาเฟอีนเกินกว่า 250 มก./วันนำมาซึ่งอาการติดกาเฟอีน : อาการหงุดหงิด ทำงานไม่ได้ จนกว่าจะเพิ่มปริมาณคาเฟอีนในกระแสเลือดก่อน) อีกทั้งยังอาจนำมาซึ่งโรคอ้วนและโรคเบาหวาน (จากการได้รับน้ำตาลมากเกินไป – เกณฑ์น้ำตาลต่อวันที่นักโภชนาการแนะนำคือ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวัน) หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการแสดงฉลากอาหาร หรือ อย. จึงควรมีการบังคับให้มีฉลากคำเตือนแบบเดียวกันกับที่มีในเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ฉลาดซื้อแนะนำ 1. ถ้าต้องการดื่มชาเพื่อสุขภาพ ขอแนะนำให้ชงชาดื่มเองเพราะไม่ได้ยุ่งยากอะไรแค่ใส่ใบชาลงในน้ำร้อน ทิ้งไว้ไม่เกิน 3 นาที (เกินกว่านี้ สารแทนนินจะออกมามากทำให้มีรสขม) 2. อย่าเข้าใจว่า ชาเขียวพร้อมดื่มดีต่อสุขภาพ เพราะในระหว่างกระบวนการผลิตชาพร้อมดื่มที่ต้องใช้ความร้อนสูงในการฆ่าเชื้อโรค ทำให้สารที่เป็นประโยชน์ในชาหายไปจนเกือบหมดแล้ว 3. สำหรับผู้ชื่นชอบชาพร้อมดื่ม เราขอแนะนำให้ดื่มไม่เกินวันละ 2 ขวด (แบบไม่มีน้ำตาล) โดยเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน และผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน 4. สำหรับท่านที่ชอบดื่มชาปกติ (มีน้ำตาล) ฉลาดซื้อแนะว่า ขวดเดียวต่อวันก็เกินพอครับ (หวานเกิ๊น )

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 คำกล่าวอ้างทางสุขภาพบนฉลากอาหาร

อาหารสำเร็จรูปในปัจจุบัน ถ้าไม่เพิ่มหรือลดสารอาหารบางอย่าง ก็ดูจะไม่อินกับกระแสรักสุขภาพ ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามคิดหาอะไรมาเป็นจุดขายเพิ่มความโดดเด่นกับสินค้าของตนเอง เราจึงเห็นโฆษณาและข้อความกล่าวอ้างบนฉลากประเภท มีวิตามิน บี 12 แคลเซียมสูง หรือไขมันต่ำ อยู่เสมอ คำกล่าวอ้างที่ปรากฏบนฉลากอาหาร มีผลอย่างมากที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ  ในงานวิจัยเรื่อง อิทธิพลของข้อมูลการกล่าวอ้างหน้าที่สารอาหารบนฉลากต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมสารอาหารของผู้บริโภค โดยวรรณวิสา ฮับหลี พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมสารอาหารโดยดูข้อความกล่าวอ้างได้แก่ ไขมันต่ำ ร้อยละ 92.6 ไม่มีโคเรสเตอรอล ร้อยละ 90.4 และ ไขมันอิ่มตัว 0% ร้อยละ 89.5 เช่นเดียวกับที่ฉลาดซื้อเคยทำผลสำรวจไปเมื่อฉบับ 134 ที่พบว่า ร้อยละ 76.8 มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ   ความจริงของคำกล่าวอ้างบนฉลาก คำกล่าวอ้างบนฉลากที่บอกปริมาณสารอาหาร (Nutrient content claim) นั้น หากผู้ประกอบการจะนำมาแสดงบนฉลาก ต้องเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ หมายความว่า คำที่จะนำมาใช้ต้องเป็นคำที่กฎหมายกำหนดจะมาใช้คำตามใจชอบไม่ได้ ฉลาดซื้อขอนำข้อมูลบางส่วนมานำเสนอเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะคำกล่าวอ้างที่กำลังฮิตในปัจจุบัน ไขมัน ไขมันต่ำ (low fat) ต้องมีไขมันต่ำกว่า 3 กรัมต่อ1 หน่วยบริโภคและขนาดของหน่วยบริโภคไม่เกิน 30 กรัม หรือ ไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ ปราศจากไขมัน (fat free) มีไขมันน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อ1 หน่วยบริโภค ปราศจากไขมันอิ่มตัว (saturated fat free) มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค และมีไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ปราศจากโคเลสเตอรอล (cholesterol free) มีโคเลสเตอรอลน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม หรือไขมันอิ่มตัว ไม่เกิน 2 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค โคเลสเตอรอลต่ำ (low cholesterol) มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 20 มิลลิกรัม หรือไขมันอิ่มตัว ไม่เกิน 2 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค   น้ำตาล ปราศจากน้ำตาล (sugar free) มีน้ำตาลน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค   ใยอาหาร ใยอาหารสูง (high fiber) มีปริมาณใยอาหารตั้งแต่ 5 กรัมขึ้นไป และอาหารนั้นจะต้องจัด อยู่ในประเภทไขมันต่ำร่วมด้วย หรือต้องระบุปริมาณไขมันถัดจากปริมาณใยอาหารเป็นแหล่งใยอาหาร (food source of fiber) ใยอาหาร 2.5-4.9 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค  พลังงาน ปราศจากพลังงาน (calorie free) มีพลังงานน้อยกว่า 5 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 หน่วยบริโภค พลังงานต่ำ (low calorie) มีพลังงานน้อยกว่า 40 กิโลแคลอรี่ต่อหน่วยบริโภคและขนาดหน่วยบริโภคไม่เกิน 30 กรัม หรือไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ   ดังนั้นจะเห็นว่า คำว่า ปราศจาก ไม่ได้หมายถึง ไม่มี หรือ เป็น 0 แต่ยังมีอยู่น้อยกว่า 0.5 กรัม เช่น กรณีน้ำตาลและไขมัน ที่สำคัญคือ กฎหมายไม่อนุญาตการกล่าวอ้าง “ปราศจาก” หรือ “ต่ำ” หากอาหารนั้นหรืออาหารชนิดนั้นโดยธรรมชาติทั่วไปเป็นไปตามเงื่อนไขอยู่แล้ว โดยมิได้มีการใช้กระบวนการผลิตพิเศษ หรือมีการปรับสูตรเพื่อให้อาหารนั้นมีปริมาณสารอาหารที่จะกล่าวอ้างลดลงจนเป็นไปตามเงื่อนไข เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าอาหารจากผู้ผลิตนั้นแต่เพียงผู้เดียวที่มีคุณสมบัตินี้ ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้น้ำบริโภคแสดงข้อความ “ปราศจากพลังงาน” หรือ “ไขมันต่ำ” เนื่องจากน้ำบริโภคทั่วไปจากผู้ผลิตทุกรายก็มีคุณสมบัตินี้ด้วย   กรณีกล่าวอ้างว่า “มี” หรือ “สูง”  การบอกว่า มี สารอาหารชนิดที่อ้างก็ต้อง มีจริงๆ แต่ถ้ามีจริงแต่มีน้อยเกินกว่าจะเป็นประโยชน์ในทางโภชนาการต่อร่างกาย ก็ห้ามแสดงคำว่า “มี” จะกล่าวอ้างว่า มี ได้ก็ต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI) และถ้าจะกล่าวอ้าง ด้วยคำว่า “สูง” (high) ก็ต้องมีสารอาหารชนิดที่อ้าง 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI)   กรณีการกล่าวอ้างถึงหน้าที่ของสารอาหารที่มีต่อร่างกาย สารอาหารที่มีการกล่าวอ้างถึง ต้องมีอยู่ในบัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) โดยผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างต้องมีสารอาหารนั้นอยู่ในระดับที่จัดว่า “เป็นแหล่งของ” ของสารอาหารนั้นในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงและปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลาก  มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้และการกล่าวอ้างจะต้องไม่มีข้อความระบุหรือมีความหมายให้เข้าใจว่าการบริโภคสารอาหารนั้นจะสามารถป้องกันหรือบำบัดรักษาโรคได้ ตัวอย่าง “แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน” การจะระบุเช่นนี้ได้ ก็ต้องมีแคลเซียมอย่างน้อย ร้อยละ 10 ของ (Thai RDI) เพราะเมื่อผู้บริโภคเห็นข้อความนี้แล้วจะเข้าใจทันทีว่า ผลิตภัณฑ์นี้ มีแคลเซียมอยู่มาก   ความจริงเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องฉลากของผู้บริโภค คำกล่าวอ้างที่ดึงดูดใจนั้นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งฉลากอาหารคือด่านแรกที่จะวัดว่า ผู้บริโภค เข้าใจหรือเข้าใจมากพอหรือไม่ในการซื้อผลิตภัณฑ์ ฉลาดซื้ออาศัยช่วงงานสมุนไพรแห่งชาติที่ผ่านมา สำรวจทัศนคตินักช้อปที่ร่วมเดินภายในงาน วันที่ 7-9 กันยายน 2555 จำนวน 317 คน เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องฉลากอาหาร พบว่า  ร้อยละ 90.9 เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง การแสดงฉลากโภชนาการ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 182) นั้น เป็นการแสดงโดยสมัครใจสำหรับอาหารทุกชนิดทั่วไป แต่จะบังคับสำหรับอาหารที่มีการกล่าวอ้างต้องแสดงฉลากโดยบังคับ ร้อยละ 53.6 เข้าใจว่าข้อความบรรยายสรรพคุณในการรักษา บำบัด บรรเทาโรค สามารถระบุบนฉลากอาหารได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องเข้าใจผิดที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะฉลากอาหารห้ามเด็ดขาดมิให้บรรยายสรรพคุณในการรักษา บำบัดหรือบรรเทาโรค เพราะอาหารไม่ใช่ยา ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนี้ทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งถูกหลอกให้เสียเงินมาแล้วเป็นจำนวนมากเพราะเชื่อว่า กินอาหารตามที่อ้างสรรพคุณรักษาโรคได้แล้วจะช่วยหายจากอาการเจ็บป่วย ความเข้าใจในเรื่องฉลากจึงยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องช่วยกันทำความเข้าใจ เพื่อยกระดับผู้บริโภคของเราให้เท่าทันเกมของผู้ประกอบการ ข้อมูล อิทธิพลของข้อมูลการกล่าวอ้างหน้าที่สารอาหารบนฉลากต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมสารอาหารของผู้บริโภค โดยวรรณวิสา ฮับหลี สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 ตรวจแถวคุณภาพข้าวหอมมะลิ

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอชวนผู้อ่านมารับประทานข้าวด้วยกัน กับผลทดสอบพร้อมเสิร์ฟ “เปรียบเทียบคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุง” ข้าวหอมมะลิ ถือเป็นข้าวขวัญใจมหาชน ได้รับการยกย่องในเรื่องของรสชาติความอร่อย แต่จะสักกี่คนที่จะรู้ว่าข้าวหอมมะลิที่ดีนั้นควรมีลักษณะอย่างไร ฉลาดซื้ออยากให้ทุกคนได้กินข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ อร่อยคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป เราจึงได้สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด จำนวน 18 ยี่ห้อ และข้าวหอมชนิดอื่นอีก 2 ตัวอย่าง เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์เรื่องคุณภาพในส่วนของคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณสมบัติ ได้แก่ 1.ปริมาณอมิโลส 2.ปริมาณ % เมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุก และ 3.เรื่องความหอม มาทำความรู้จักคุณสมบัติทางเคมีในข้าวหอมละมิทั้ง 3 ประเภทกันก่อน   ปริมาณอมิโลส ส่วนประกอบหลักของข้าวก็คือ แป้ง ซึ่งในแป้งข้าวจะมีองค์ประกอบสำคัญคือ อมิโลเปคติน และ อมิโลส อัตราส่วนของอมิโลสและอมิโลเปคติน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวสุกมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ถ้าหากข้าวมีปริมาณอมิโลสสูงเวลาที่หุงข้าวจะดูดน้ำมากกว่าข้าวที่มีอมิโลสต่ำ ทำให้ข้าวที่มีอมิโลสสูงเมื่อหุงสุกแล้วจะมีความร่วน แข็ง ตรงข้ามกับข้าวที่มีอมิโลสต่ำจะทำให้ข้าวมีความเหนียว อย่างในข้าวเหนียวจะมีปริมาณอมิโลสอยู่ที่ประมาณ 0 – 2% เท่านั้น สำหรับปริมาณอมิโลสที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย คือ 13 – 18% ซึ่งเป็นปริมาณอมิโลสจะที่จะทำให้ข้าวหอมมะลิที่หุงมีความเหนียวนุ่มกำลังดี ทั้งนี้ก็ต้องหุงโดยใช้น้ำให้เหมาะสม ปริมาณอมิโลสในข้าวหอมมะลิถือว่าอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ น้ำที่ใช้หุงก็ไม่ควรใช้มากเกินไป ปริมาณที่แนะนำคือ ถ้าใช้ข้าวสารหอมมะลิ 1 ถ้วยตวง ให้ใช้น้ำ 1 ถ้วยครึ่ง หรือไม่เกิน 1 ถ้วยกับอีก 3 ใน 4 ส่วนของถ้วยตวง อุณหภูมิแป้งสุก ข้าวที่มีคุณภาพดีควรมีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ หากมีอุณหภูมิแป้งสุกสูงจะทำให้ข้าวเมื่อหุงสุกมีความแข็งกระด้าง อุณหภูมิแป้งสุกมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการหุงต้ม โดยทั่วไป การหุงต้มข้าวจะใช้เวลา 13 - 24 นาที ข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกสูงจะใช้เวลาในการหุงต้มนานกว่าข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวหอมมะลิต้องมีอุณหภูมิข้าวสุกต่ำเมื่อหุงสุกแล้วความจะไม่แฉะ โดยอุณหภูมิแป้งสุกที่ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ คือไม่เกิน 65 องศาเซลเซียส การตรวจหาคุณภาพของข้าวหอมมะลิในส่วนของอุณหภูมิแป้งสุก จะใช้วิธีดูจากปริมาณของเมล็ดข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกจากการหุง คือเมื่อทำการหุงตามระยะเวลาที่กำหนด ข้าวที่หุงได้สุกทั่วทั้งเมล็ด ไม่มีส่วนที่แข็งคล้ายข้าวสาร ซึ่งข้าวหอมมะลิที่ดีควรมีปริมาณเมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 92% กลิ่นหอม ความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยที่ชื่อว่า 2 – acetyl – 1 – pyrroline ความหอมของข้าวหอมมะลิแต่เดิมนั้นว่ากันว่ากินหอมนั้นหอมคล้ายกับดอกมะลิ ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อ แต่หลายคนเปรียบกลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิว่าเหมือนกับกลิ่นหอมของใบเตย แต่ว่ากลิ่นหอมนี้จะระเหยไปตามเวลา อายุของข้าว ข้าวใหม่ – ข้าวเก่าจึงมีผลกับความหอมของข้าวหอมมะลิ โดยธรรมชาติแล้ว ข้าวใหม่จะมีความหอมมากกว่าข้าวเก่าหรือข้าวที่เก็บไว้นานก่อนจะนำมาบรรจุใส่ถุงขาย   ตารางเปรียบเทียบผลวิเคราะห์ข้าวขาวหอมมะลิบรรจุถุง ยี่ห้อ ชนิดของข้าว มีตรารับรอง ของกระทรวงพานิชย์ (ตรามือพนม) ผู้ผลิต แจ้งว่าเป็น ข้าวใหม่ หรือ ข้าวเก่า ที่ถุง วันเดือนปีที่ผลิต ราคา ผลวิเคราะห์ กลิ่นหอมตามธรรมชาติ % อมิโลส % เมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุก มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย 13 – 18 ต่ำ >= 92 ปานกลาง – สูง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 138 เราพบอะไรในชุดชั้นในสีดำ

หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวว่าในต่างประเทศมีการทดสอบเสื้อชั้นในสีดำและพบสารก่อมะเร็งในปริมาณสูง และอาจสงสัยว่าเสื้อชั้นในสีดำที่ขายอยู่ในบ้านเรามีสารดังกล่าวหรือไม่ ฉลาดซื้อเก็บตัวอย่างเสื้อในชั้นสีดำทั้งจากตลาดบน ตลาดกลาง และตลาดล่าง* ทั้งหมด 10 ตัวอย่าง (ราคาตั้งแต่ 50 - 790 บาท ทั้งหมดผลิตในประเทศไทย ยกเว้นยูนิโคล่ รุ่นไวร์เลส ที่ผลิตจากประเทศจีน) ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แล้วส่งเข้าทดสอบในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อไขข้อข้องใจในประเด็นเหล่านี้ ชนิดของเส้นใยที่ใช้เป็นไปตามที่แจ้งบนฉลากหรือไม่ มีฟอร์มาลดีไฮด์ (สารที่ใช้เพื่อป้องกันผ้าย่น หรือยับ) หรือไม่ ค่าความเป็นกรด-ด่างเกินมาตรฐานหรือไม่ สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง จากผลทดสอบในภาพรวม เสื้อชั้นในส่วนใหญ่ผลิตจากเส้นใยตามที่ได้แจ้งไว้ มีเพียงยี่ห้อ Princess ที่ระบุบนฉลากว่าเป็น “ฝ้าย 100%” แต่ทดสอบแล้วพบว่าเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ส่วนชุดชั้นในอีก 3 ยี่ห้อที่ไม่ระบุเส้นใยที่ใช้ก็เป็นโพลีเอสเตอร์ หรือโพลีเอสเตอร์ผสมฝ้าย ซึ่งเรื่องของเส้นใยนั้นต้องแล้วแต่ความชอบของผู้บริโภคแต่ละคน ใครเน้นสวมใส่สบาย ระบายอากาศดีก็เลือกที่เป็นเส้นใยจากฝ้าย แต่ถ้าใครเน้นซักง่ายแห้งเร็วก็คงจะเลือกเส้นใยโพลีเอสเตอร์ สำคัญตรงที่ผู้ผลิตมีการแจ้งต่อต่อผู้บริโภคอย่างตรงไปตรงมาเพื่อการพิจารณานั่นเอง ------------------------------------------------------------------------------- ตลาดชุดชั้นในสตรีในบ้านเราซึ่งมีมูลค่าการตลาดไม่ต่ำกว่า 12,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ : ข้อมูลจากงานวิจัยปี พ.ศ. 2552 โดย ผุสดี ใจแก้วทิ  เรื่อง กลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อชุดชั้นในสตรีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ลิขสิทธิ์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ------------------------------------------------------------------------------- จากงานวิจัยเดียวกัน สีเสื้อชั้นในที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือสีเนื้อ (ร้อยละ 37.5) ตามด้วยสีขาว (ร้อยละ 32) สีชมพู (ร้อยละ 13.5) และสีดำ (ร้อยละ 10.5) -------------------------------------------------------------------------------   เสื้อชั้นใน Ne’s bra รุ่น 8802 ราคา 50 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.52 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Princess รุ่น 191 ราคา 79 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก Cotton 100% ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.72 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Sister hood รุ่น Sport 072 ราคา 89 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ / ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.09 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Jintana รุ่น Jina Teen JB 2850 ราคา 260 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.16 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Sabina รุ่น SBN Sport SBB 374 BK ราคา 440 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.44 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน POP line รุ่น WL 1799 ราคา 450 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไนลอน ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 6.10 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Wacoal รุ่น WH 2M03 T-Shrunk ราคา 550 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.95 สารก่อมะเร็งในสีย้อม 4-chloroaniline 15.35 มก./กก.     เสื้อชั้นใน Elle รุ่น LB 8502 ราคา 650 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไนลอน ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.16 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน UNIQLO รุ่น Wireless Bra Light ราคา 790 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก โพลีเอสเตอร์ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.85 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Triumph รุ่น Sloggi Organic Cotton ราคา 790 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 6.84 สารก่อมะเร็งในสีย้อม 4-chloroaniline 15.09 มก./กก.   ------------------------------------------------------------------------ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ชุดชั้นในสตรี มผช. 837/ 2554 กำหนดไว้ว่า ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ ต้องน้อยกว่า 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ค่าความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 5 ถึง 7.5 สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว ต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลการวิเคราะห์ ในการทดสอบคราวนี้เราไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์ในทั้ง 10 ตัวอย่าง และค่าความเป็นกรดด่างของเสื้อชั้นในส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ ยกเว้นวาโก้ WH 2M03 T-Shrunk ที่มีค่า pH สูงเกินเกณฑ์ไปเล็กน้อย   นอกจากนี้เรายังพบสาร 4-คลอโรแอนิลีน (4-chloroaniline) ในชุดชั้นใน 2 รุ่นได้แก่ วาโก้ WH 2M03 T-Shrunk และ ไทรอัมพ์ Sloggi Organic Cotton ในปริมาณ 15.35 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม และ 15.09 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ตามลำดับ ปริมาณดังกล่าวถือว่าไม่เกินมาตรฐานที่ประเทศไทย หรือเกณฑ์เบื้องต้นของยุโรปกำหนดให้มีได้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม)   อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวเป็นหนึ่งในสารอะโรแมติกแอมีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ถ้าอ้างอิงเกณฑ์ของฉลากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของยุโรป จะต้องไม่มีสารดังกล่าวในผลิตภัณฑ์   ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ ผศ.ดร.จันทร์ทิพย์ ซื่อสัตย์ ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่า “สีย้อมประเภทเอโซเป็นสีกลุ่มที่แตกตัวให้สาร Aromatic amine เมื่อย้อมติดบนผลิตภัณฑ์ ไม่ควรก่อให้เกิดสาร Aromatic amine ชนิดที่อยู่ในข่ายสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติในมนุษย์ ในปริมาณเกินกว่า 30 ppm สำหรับสาร 4-chloroaniline ที่ตรวจพบในผลิตภัณฑ์เสื้อชั้นในข้างต้น เป็นสารที่ห้ามใช้หรือไม่ควรพบตกค้างในผลิตภัณฑ์สิ่งทอเลยเนื่องจากเป็นสารอันตราย ดังนั้นจึงถือว่าผลิตภัณฑ์เสื้อชั้นในที่ตรวจพบสารดังกล่าวอยู่ในข่ายที่สามารถก่ออันตรายต่อผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสผิวหนังโดยตรงเช่นนี้”   วลัยพร มุขสุวรรณ รองผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารเคมี ระบุว่า “ตามเอกสารขององค์การอนามัยโลกและกฎหมายของสหภาพยุโรปที่ออกตามกฎหมาย REACH นั้น สหภาพยุโรปจำกัดการใช้สีย้อมประเภทเอโซ (ซึ่งสาร 4-chloroaniline รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย) คือห้ามใช้สีย้อมเอโซที่อาจปล่อยสารแอมีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งออกมาจากผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเข้าสู่ผู้ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นเอโซที่ไม่ปล่อยสารแอมีน จะยอมให้มีในแต่ละส่วนประกอบได้ไม่เกิน 30 พีพีเอ็ม สำหรับเอโซที่ปล่อยสาร 4-chloroaniline ออกมานั้นอยู่ในรายการห้ามใช้เลย ------------------------------------------------------------------------   เรื่องจากคนเย็บชุดชั้นใน -          ปัจจุบันนี้ เสื้อชั้นในหนึ่งตัว มีชิ้นส่วนประมาณ 20 ชิ้น และมีขั้นตอนการเย็บประมาณ 50 ขั้นตอน -          ถ้าเป็นเสื้อชั้นในแบบธรรมดาๆ พนักงาน 50 คน จะสามารถเย็บได้ วันละ 2,000 ตัว แต่ปัจจุบันเริ่มมีชิ้นงานแบบหรูหรา ที่ขายปลีกตัวละ 7,000 – 8,000 บาท พนักงานกลุ่มเดิมสามารถเย็บได้เพียงวันละไม่เกิน 400 ตัว -          ชิ้นงานสีดำหรือสีเข้มอื่นๆ ค่อนข้างลำบากต่อคนทำงาน เพราะมองไม่ค่อยเห็น จึงต้องส่องไฟเพิ่มซึ่งทำให้เกิดแสงสะท้อนเข้าตา -          ก่อนหน้านี้เคยมีผู้บริโภคร้องเรียนว่าพบปลายเข็มในเสื้อชั้นใน ซึ่งน่าจะเกิดจากเข็มที่หักในขั้นตอนการตัดเย็บ ในสายการผลิตจึงมีข้อกำหนดว่าจะต้องหาปลายเข็มที่หักให้เจอก่อนเสมอเมื่อเกิดกรณีที่เข็มหัก นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้พนักงานนำโลหะชิ้นเล็กๆ เช่นลวดเย็บ หรือดินสอกด เข้าไปบริเวณที่ทำงาน -          ขั้นตอนที่มีความเสี่ยง ขั้นตอนการประกอบลูกไม้/ผ้า เข้ากับฟองน้ำด้วยเครื่องพ่นกาว การขึ้นรูปผ้ากับฟองน้ำให้เป็นรูปโค้งตามขนาดคัพ ของเสื้อชั้นใน -          ครึ่งหนึ่งของราคาชุดชั้นในที่เราจ่าย คือค่าแบรนด์ -          เสื้อชั้นในที่เราเห็นนำมาลดราคาตามห้างนั้น ความจริงแล้วก็เป็นไปตามราคาขั้นต่ำที่เขากำหนดไว้แต่แรก บางครั้งการลดราคาก็เพื่อเคลียร์พื้นที่ให้กับรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะผลิตออกมา หรือของค้างที่เก็บไว้ก็มีแต่จะเสื่อมราคาจึงต้องรีบขายออกไป อีกกลุ่มที่นำมาลดราคาคือสินค้าที่มีขนาดไม่ครบนั่นเอง -          ส่วนเสื้อชั้นในที่นำมาขายลดราคาให้กับพนักงงานในโรงงานนั้นอาจมาจากสินค้าตกเครื่องบิน (หรือตกเรือ) เพราะส่งไม่ทันเวลา บางครั้งเป็นสินค้ามีตำหนิ หรือสินค้าตัวอย่าง หรือสินค้าที่ไม่ผ่านคุณภาพส่งออก (เช่นมีสารก่อมะเร็ง) เป็นต้น ขอบคุณ คุณจิตรา คชเดช และคุณวิภา มัจฉาชาติ ผู้ประสานงานและผู้จัดการฝ่ายผลิตชุดชั้นในทางเลือก Try Arm ผู้ให้ข้อมูล  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ผักสดในตลาด กับการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง

เนื่องด้วยเกิดความผิดพลาดขึ้นใน นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 136 มิถุนายน 2555 ในคอลัมน์ทดสอบ “ผักขึ้นห้าง วางใจได้แค่ไหนเรื่องสารเคมี” ซึ่งเนื้อหาในส่วนของผลวิเคราะห์ ที่มีการรายงานปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในตัวอย่างผักที่ทดสอบเป็นหน่วย มล./กก. หรือ มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือ ต้องใช้หน่วยเป็น มก./กก. หรือ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามที่แสดงไว้ในตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์ กองบรรณาธิการต้องขออภัยกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และจะเพิ่มความรอบคอบในการตรวจทานแก้ไขให้มากยิ่งขึ้น จึงเรียนขออภัยมา ณ ที่นี้   หลังจากเราพาไปสำรวจการปนเปื้อนของสารเคมีในผักสดที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตกันเมื่อฉบับที่แล้ว คราวนี้ก็มาถึงภาคต่อที่ฉลาดซื้อขอเปลี่ยนบรรยากาศพาไปตะลุยตลาดสด ลองไปดูกันสิว่าผักสดจากตลาดจะปลอดภัยจากสารเคมีหรือไม่?   ฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างผักที่ขายในตลาดสด 2 แห่ง คือ ตลาดห้วยขวาง และตลาดประชานิเวศน์ เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ยาฆ่าแมลง โดยผักที่เราเลือกมาทดสอบประกอบด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา (เช่นเดียวกับที่เราทดสอบผักจากห้างค้าปลีก) ลองไปดูกันสิว่าผักที่เรารับประทานกันอยู่เป็นประจำทั้ง 7 ชนิดนี้ จะปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงมากน้อยแค่ไหน “ผักบุ้ง” ปลอดภัยไร้สารตกค้าง อย่างน้อยก็มีเรื่องน่าดีใจ เมื่อผลการวิเคราะห์ที่ได้บอกกับเราว่า ตัวอย่าง ผักบุ้งจีน จากทั้ง 2 ตลาด ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งถ้าใครยังจำผลการวิเคราะห์ผักสดที่วางขายในห้างเมื่อฉบับที่แล้วได้ ตัวผักบุ้งจีนที่เก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งตัวอย่างที่เป็นตราห้างและตัวอย่างที่ได้เครื่องหมาย Q ก็ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีผักสดอีกหนึ่งตัวอย่างที่ไม่พบยาฆ่าแมลง นั่นคือ กะหล่ำปลี จากตลาดประชานิเวศน์ ส่วนตัวอย่างกะหล่ำปลีจากตลาดห้วยขวาง พบการปนเปื้อนของสาร คาร์โบฟูราน (Carbofuran) แต่ไม่เกินระดับมาตรฐาน   สารตกค้างที่พบส่วนใหญ่ไม่มีเกณฑ์ในไทย ถ้าลองดูจากผลวิเคราะห์จะเห็นว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่พบในตัวอย่างผักสดที่เรานำมาวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่มีในเกณฑ์ “มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ” (มกอช.) ซึ่งเท่ากับว่าไม่ควรพบการตกค้าง แต่ที่ยังพบการปนเปื้อนอยู่ก็เป็นการบอกให้รู้ถึงปัญหาของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในบ้านเรา ที่ยังคงมีการใช้กันเป็นจำนวนมาก แถมชนิดของสารเคมีที่ใช้กันก็มีหลากหลาย พูดได้เลยสุขภาพของคนไทยกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง   “ผักชี” และ “พริกจินดา” ความเสี่ยงสูง ตัวอย่าง ผักชี และ พริกจินดา จากทั้ง 2 ตลาด ถือเป็นตัวอย่างผักสดที่พบการปนเปื้อนของสารเคมีมากจนน่าตกใจ โดยในหนึ่งตัวอย่างพบการปนเปื้อนสารเคมี 3 – 4 ชนิด แถมสารเคมีที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับเกินมาตรฐาน ซึ่งผักซีเป็นผักที่ มกอช. ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานกำกับไว้ ดังนั้นจึงไม่ควรพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง แม้หลายคนอาจจะมองว่าผักทั้งสองชนิดถ้าคิดเป็นต่อหนึ่งมื้อเราจะรับประทานในปริมาณที่น้อยมาก แต่ผลร้ายของการใช้ยาฆ่าแมลงมันมีมากกว่าที่เราคิด ทั้งผลของการสะสมในระยะยาวที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้สารโดยตรง คุณภาพของดินและระบบนิเวศวิทยาที่จะถูกทำลายจากการใช้สารเคมี นี่ยังไม่นับรวมถึงผลเสียของเศรษฐกิจที่เราต้องขาดดุลจากการนำเข้าสารเคมี และการที่ผักของประเทศไทยถูกห้ามนำเข้าไปขายยังต่างประเทศเพราะเขาตรวจพบว่าผักของเรามีการปนเปื้อนสารเคมีเกินมาตรฐาน เป็นสารเฝ้าระวังแท้ๆ แต่ว่าเจอเพียบ สารเคมีกำจัดศัตรูที่เราตรวจพบในตัวอย่างผักสดทั้ง 14 ตัวอย่าง จากตลาดสดทั้ง 2 ตลาด ไม่ว่าจะเป็น อัลดิคาร์บ (aldicarb), คาร์โบฟูราน (carbofuran), ไดโครโตฟอส (dicrotophos), อ๊อกซามิล (oxamyl), อีพีเอ็น (EPN), เมโทมิล (methomyl) และ เมทิดาไธออน (methidathion) จัดเป็นสารเคมีที่อยู่ใน “รายชื่อวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวัง” ซึ่งหมายถึงสารเคมีที่ต้องมีการแจ้งการนำเข้า การผลิต ส่งออก และต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง เพราะจัดเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรง ออกฤทธิ์แบบเฉียบพลัน เป็นอันตรายกับผู้ที่ได้รับสารแม้เพียงปริมาณไม่มาก ซึ่งทั้งๆ ที่เป็นสารเคมีอันตราย แม้จะไม่ได้มีการห้ามใช้แบบเด็ดขาด แต่ก็น่าจะมีการควบคุมการใช้ที่ค่อนข้างเข้มงวด แต่จากผลวิเคราะห์เห็นได้ชัดเลยว่าบรรดาสารเคมีที่อยู่ในการเฝ้าระวังของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรยังคงหาซื้อมาใช้กันเป็นจำนวนมาก เรียกว่ายังคงใช้กันเป็นเรื่องปกติ ถึงเวลาต้อง “แบน” เครือข่ายเฝ้าระวังสารเคมีเกษตร (Thai – PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ที่มาจากการรวมตัวกันของ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายผู้บริโภค และภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักวิชาการด้านการเกษตร เกษตรกร กำลังช่วยกันผลักดันให้ภาครัฐยกเลิกการนำเข้าและผลิตสารเคมีในประเทศไทย 4 ชนิด ได้แก่ คาร์โบฟูราน (carbofuran), เมโทมิล (methomyl), ไดโครโตฟอส (dicrotophos) และ อีพีเอ็น (EPN) ซึ่งจากการวิเคราะห์เราพบสารทั้ง 4 ชนิดนี้ กระจายอยู่ในตัวอย่างผักสดที่เราสุ่มเก็บมาทดสอบเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่สารเหล่านี้เป็นกลุ่มเฝ้าระวังเพราะมีอันตรายมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกยกเลิกการใช้สารเหล่านี้ไปแล้ว แต่ประเทศไทยเรากลับยังมียอดการนำเข้าเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ หากยังไม่มีการยกเลิกการนำเข้าและการประกาศห้ามใช้ เรียกว่าสุขภาพของคนไทยก็ยังคงต้องเสี่ยงกับอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อไป ตัวอย่างประเทศที่ประกาศห้ามการใช้สารเคมีทั้ง 4 ชนิด รายชื่อสารเคมี ประเทศที่ประกาศห้าม คาร์โบฟูราน (carbofuran) สหภาพยุโรป อเมริกา เมโทมิล (methomyl) สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฟินแลนด์ ตุรกี สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย (ยกเลิกบางสูตร) ไดโครโตฟอส (dicrotophos) อินเดีย ปากีสถาน สิงคโปร์ สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย อีพีเอ็น (EPN) อเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย แคนาดา มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า นิวซีแลนด์ เวียดนาม อินเดีย   ทีมา: ข้อมูลพื้นฐานของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฝ้าระวัง 4 ชนิด โดย มูลนิธิชีววิถี   ผักแพง เพราะอะไร ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวคราวที่ชวนให้หลายๆ คนปวดใจ โดยเฉพาะคนที่รักสุขภาพและชื่นชอบการรับประทานผัก เมื่อข้าวของต่างๆ เดินหน้าขึ้นราคา พืชผักต่างๆ ก็ไม่ยอมตกเทรนด์ขอเกาะขบวนกลายเป็นสินค้าราคาแพงกับเขาด้วย หลายๆ คนสงสัยว่าบ้านเราเป็นเมืองเกษตรกรรมแท้ๆ แต่ไหงผักถึงราคาแพง เหตุผลที่เราได้ยินได้ฟังมาเขาบอกว่าเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งภัยธรรมชาติ น้ำมันแพง ค่าแรงขึ้น ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเมื่อรวมกันก็กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ต้นทุน” แล้วรู้กันหรือว่าเปล่าอีกหนึ่งต้นทุนสำคัญที่ส่งผลต่อราคาผักที่หลายคนบ่นว่าแพงทุกวันนี้ก็คือ “สารเคมีกำจัดศัตรูพืช”   ผักแพง ยาฆ่าแมลงก็มีส่วน เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีทางการเกษตรเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียกับร่างกาย แม้มันจะเป็นตัวช่วยให้กับเกษตรกรในการป้องกันรักษาพืชผักที่ปลูกไม่ให้ถูกรบกวนจากแมลงหรือวัชพืช แต่ก็เสี่ยงกับการที่สารเคมีจะตกค้างในผัก ข้อมูลสถิติการนำเข้าวัตถุอันตราย ของสำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้รายงานเอาไว้เมื่อปี 2553 ประเทศไทยเรามีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากถึงเกือบ 120 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นเงินที่เราต้องเสียไปกว่า 18,000 ล้านบาท (รู้แล้วใช่มั้ยว่าทำไมเราถึงกินผักราคาแพง) ซึ่งถ้าลองนำตัวเลขการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาเทียบกันในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มการนำเข้ามีแต่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังเพิ่มมากขึ้น 2 – 3 เท่าตัวเลยทีเดียว (ปี 2543 สถิติการนำเข้าจะอยู่ที่แค่ประมาณ 50 ล้านกิโลกรัมเท่านั้น)   ปัญหายาฆ่าแมลงในผัก ทุกคนต้องช่วยกันรับผิดชอบ แม้เราจะเริ่มรู้สึกตรงกันแล้วว่าการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในบ้านเรานั้นอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะมันอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนไทยเราป่วยเป็นมะเร็งกันมากขึ้น แต่แนวทางการแก้ไขเพื่อลดปริมาณการใช้ก็ยังไม่เห็นความชัดเจน เกษตรกรเองก็ยังต้องพึ่งพาสารเคมีเพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมากพอที่จะทำให้เกษตรกรมีกำไร (ว่ากันว่าทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายในส่วนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรต้องจ่ายคิดได้เท่ากับ 10 – 30% ของต้นทุนทั้งหมด) ภาครัฐเองก็อาจยังมีการส่งเสริมเรื่องความเข้าใจในการใช้สารเคมีและรวมถึงแนวคิดการทำเกษตรปลอดสารแก่เกษตรกรน้อยเกินไป แถมยังไม่มีมาตรการที่ใช้คุมเข้มการขาย การโฆษณา สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งสร้างความเข้าใจผิดให้กับเกษตรกร แม้แต่ผู้บริโภคอย่างเราเองก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับการใช้สารเคมีของเกษตรกร เพราะทุกวันนี้เราแทบไม่ได้สนใจกันแล้วว่าผักชนิดไหนออกช่วงฤดูกาลอะไร เราเลือกกินแต่ผักชนิดเดิมๆ ตลอดทั้งปี (เช่น คะน้า ผักกาด ถั่วฝักยาว ฯลฯ) เกษตรกรเองจึงเลือกปลูกแต่ผักตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งเป็นผักแค่ไม่กี่ชนิด ลองคิดดูแล้วกันว่าผักชนิดเดิมๆ ที่มีให้เรากินตลอดเวลา จะต้องพึ่งสารเคมีมากแค่ไหนถึงปลูกให้เรากินได้ทั้งปี   ตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มตลาดสด (ตลาดห้วยขวาง) ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ (มก./กก.) เกณฑ์มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.) สารกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส สารกลุ่มคาร์บาเมต ไทย (มกอช.) ยุโรป กะหล่ำปลี ไม่พบ Carbofuran น้อยกว่า 0.01 Carbofuran 0.2 Carbofuran 0.02   คะน้า   Dicrotophos 2.02 Oxamyl น้อยกว่า 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Oxamyl 0.01 Dicrotophos ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) ถั่วฝักยาว Acephate น้อยกว่า 0.05 EPN 0.34 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Acephate 0.02 EPN  ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) ผักกาดขาว ไม่พบ Carbofuran 0.01 Methomyl น้อยกว่า 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Carbofuran  0.02 Methomyl 0.02 ผักบุ้งจีน ไม่พบ ไม่พบ - - ผักชี Chlorpyrifos 0.10 EPN 1.02 Methidathion 0.06 Methomyl 0.04 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.05 Methidathion 0.02 Methomyl 0.3 EPN  ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) พริกจินดา Chlorpyrifos 0.05 Methidathion 0.11 Carbaryl 0.01 Chlorpyrifos 0.5 Carbaryl 0.5 Methidathion ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.5 Carbaryl 0.05 Methidathion 0.02 ตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มตลาดสด (ตลาดประชานิเวศน์) ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ (มก./กก.) เกณฑ์มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.) สารกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส สารกลุ่มคาร์บาเมต ไทย (มกอช.) ยุโรป กะหล่ำปลี ไม่พบ ไม่พบ - - คะน้า ไม่พบ Aldicarb น้อยกว่า 0.01 Methiocarb 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Aldicarb 0.02 Methiocarb 0.1 ถั่วฝักยาว Omethoate 0.07 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) แต่หากลองเทียบกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง มีการกำหนดเกณฑ์การตกค้างของ Omethoate ไว้ในผักหลายชนิด (แต่ไม่มีถั่วฝักยาว) ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุดที่กำหนดไว้คือ 0.05 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) ผักกาดขาว ไม่พบ Carbofuran 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Carbofuran  0.02 ผักบุ้งจีน ไม่พบ ไม่พบ - - ผักชี   Chlorpyrifos น้อยกว่า 0.05 Aldicarb 0.02 Carbofuran 1.13 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.05 Aldicarb 0.02 Carbofuran 0.02 พริกจินดา   Chlorpyrifos 0.07 Methidathion 0.10 Triazophos 0.05 Carbaryl 0.02 Chlorpyrifos 0.5 Carbaryl 0.5 Methidathion และ Triazopho ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.5 Carbaryl 0.05 Methidathion 0.02 Triazopho 0.01   : เก็บตัวอย่างเมื่อ เดือนมีนาคม 2555 : ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น : วิเคราะห์ผลโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

อ่านเพิ่มเติม >