ฉบับที่ 85 อาหารแผงลอย อีกหนึ่งที่พึ่งของคนกรุงเทพฯ

แม้กรุงเทพฯ จะไม่ใช่เมืองน่าอยู่ติดอันดับโลกอย่าง เมลเบิร์น เวียนนา หรือ แวนคูเวอร์ แต่ข้อดีอย่างหนึ่ง ที่คนกรุงเทพฯ หรือผู้ที่มาเยี่ยมเยียนปฏิเสธไม่ได้เลยคือ  ความมั่นใจว่าดึกดื่นแค่ไหน ซอยจะลึกเพียงใด ก็จะมีอาหารให้เราสามารถซื้อรับประทานได้ เพราะเรามีแผงลอย/รถเข็นขายอาหารที่คอยบริการผู้บริโภคอยู่ทุกตรอกซอกซอย ในระยะทางที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ด้วยสนนราคาที่เป็นมิตรต่อกระเป๋าเงินของคนส่วนใหญ่ด้วย สำหรับหลายๆคน อาหารแผงลอย/ รถเข็น เป็นเหมือนที่พึ่ง ให้เราได้ฝากท้องกัน ลองมาดูกันว่าคนกรุงเทพฯ มีความคิดอย่างไรกันบ้างในเรื่องการบริโภคอาหารจากแผงลอย วารสารฉลาดซื้อร่วมกับ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ต่อการใช้บริการอาหารจากร้านแผงลอย / รถเข็น ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ผลที่สรุปได้ดังต่อไปนี้•    แชมป์อาหารรถเข็น ยอดฮิตได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว และส้มตำ โดยมีอาหารประเภท ของปิ้ง/ทอด ตามมาติดๆ •    แผงลอย/รถเข็นอาหาร ยังคงเป็นที่ฝากท้องของคนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างซื้อทุกวัน และอีกเกือบร้อยละ 40 แม้จะไม่ซื้อทุกวันแต่ก็ซื้อสัปดาห์ละหลายครั้ง•    เหตุผลที่ซื้ออาหารจากแผงลอย/รถเข็น อันดับหนึ่งคือ เพราะหาซื้อได้ง่าย  รองลงมาได้แก่เรื่องของราคา และเวลาที่มีจำกัดของคนเมืองนั่นเอง  •    ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารจากแผงลอย / รถเข็น ครั้งละ 50 - 100 บาท อีกประมาณร้อยละ 40 ใช้น้อยกว่า 50 บาท •    ประมาณร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่าง ค่อนข้างพอใจในความสะอาดของแผงลอย/รถเข็นอาหาร ในขณะที่ ร้อยละ 25 คิดว่ายังต้องมีการปรับปรุง•    ปัญหาที่เคยประสบจากการรับประทานอาหารแผงลอย / รถเข็น มากที่สุดได้แก่ สถานที่ขายสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก  รองลงมาเป็นปัญหาอาหารไม่สด / มีกลิ่น  และการพบสิ่งแปลกปลอมในอาหาร•    มีถึงร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่าง ที่เคยมีอาการเจ็บป่วยจากการรับประทานอาหารจากแผงลอย / รถเข็น ในขณะที่ร้อยละ 36 ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยเลยความเปลี่ยนแปลงที่ผู้บริโภคต้องการเห็นจากร้านแผงลอย/รถเข็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คาดหวังมากที่สุดสามอันดับต้นในเรื่องของบริเวณขายอาหารของแผงลอย / รถเข็น ได้แก่ เรื่องความสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี  การตั้งจุดขายในบริเวณที่ไกลจากถังขยะหรือท่อระบายน้ำ และการอยู่ในบริเวณที่ไม่มีฝุ่นละอองเรื่องของสุขอนามัยของผู้ขายนั้น  ประมาณร้อยละ 60 ค่อนข้างพอใจ อีกร้อยละ 30 ยังไม่พอใจเท่าไรนัก ส่วนในเรื่องบุคคลิกลักษณะของผู้ปรุงอาหารและผู้ช่วยนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความคาดหวังเรื่อง เล็บตัดสั้นและสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือเรื่องเสื้อผ้าที่สะอาดเรียบร้อย และการไม่ใส่เครื่องประดับ ความคาดหวังในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ณ ร้านแผงลอย สามอันดับต้นได้แก่ การมีสถานที่ล้างมือ รองลงมาคือการมีน้ำล้างจานพอเพียง และโต๊ะ เก้าอี้ ที่สะอาดสะอาด   นอกจากนี้ลูกค้าเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และสิ่งที่ต้องการเห็นมากที่สุดสามอันดับต้นได้แก่ การปิดคลุมอาหาร  รองลงมาคือภาชนะที่สะอาด และไม่มีกลิ่นความจริงแล้วหาบเร่แผงลอยอาหารเหล่านี้ สะท้อนให้เราเห็นอะไรที่นอกเหนือไปจากวัฒนธรรมการกินของคนเมือง งานวิจัยชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ทำไว้เมื่อปี 2547 ก็พบว่ากิจการอาหารแผงลอยนั้นมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างรายได้กับคนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เข้ามาหางานทำในกรุงเทพ ฯ เพราะร้อยละ 90 ของผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 76 ซีเรียล อาหารเช้ามื้อนี้น้ำตาลมากไปไหม

ผลิตภัณฑ์ซีเรียล (Cereal) เป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดหนึ่งที่คนรุ่นใหม่กำลังให้ความสนใจกันมากขึ้น เนื่องจากความสะดวกในการรับประทานและการทำตลาดที่สื่อความหมายว่า เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ซีเรียลธัญพืชชนิดแผ่นกรอบ (Flakes) ที่มีเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่จะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ...ในเมื่ออาหารเช้ามื้อนี้มีน้ำตาลสูงมากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอังกฤษ สำรวจและทดสอบผลิตภัณฑ์ซีเรียลจำนวน 275 ตัวอย่างจากร้านค้าปลีกและโรงงานทั่วประเทศพบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีน้ำตาลผสมในปริมาณค่อนข้างสูงคือร้อยละ 76 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีน้ำตาลในระดับสูงมาก และยังพบอีกว่าร้อยละ 19 ของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างยังมีเกลือค่อนข้างสูงอีกด้วย ซึ่งผลการศึกษานี้ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในวารสาร Which เมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมานี้เองในประเทศอังกฤษอาหารเช้าซีเรียลค่อนข้างเป็นที่นิยมกันมากเห็นได้จากจำนวนผลิตภัณฑ์ตัวอย่างถึง 275 รายการ ที่ทาง Which นำมาทดสอบ การพบว่ามีส่วนผสมของเกลือค่อนข้างสูงในผลิตภัณฑ์ซีเรียลทำให้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรแห่งนี้แถลงว่า ขณะที่ทุกส่วนของสังคมกำลังพยายามลดเกลือในอาหารเช้าลงมา แต่เรายังพบว่ามีผลิตภัณฑ์ถึงร้อยละ 19 ที่มีเกลือสูง ซึ่งไม่น่าจะเรียกว่าเป็น อาหารที่ดีต่อสุขภาพตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณามาตลอด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 66 ชั่งความจริงใจข้าวหอมมะลิถุงไหนไม่โกง

เมื่อปี พ.ศ.2541 ฉลาดซื้อได้ทำการเก็บตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่แจ้งว่าเป็นข้าวหอมมะลิส่งให้ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีทำการตรวจวิเคราะห์มาตรฐาน พบว่าจากจำนวน 18 ตัวอย่างมีเพียง 8 ตัวอย่างเท่านั้นที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิที่เหลือเป็นข้าวหอมมะลิผสมกับข้าวชนิดอื่นทั้งสิ้นในปี 2545 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้มีประกาศเรื่องการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายในประเทศขึ้นมาใหม่ และใช้วิธีเชิญชวนให้ผู้ประกอบการแสดงฉลากที่ถูกต้องด้วยการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงตรารูปพนมมือ โดยข้าวหอมมะลิที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานมีทั้งสิ้น  8 ชนิดซึ่งเป็นการแบ่งตามคุณภาพของเมล็ดข้าวและระดับการสี (ดูที่ล้อมกรอบมาตรฐานข้าวหอมมะลิ 8 ชนิด) แต่ที่เราเห็นจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นข้าวขาวหอมมะลิ 100% ข้าวขาวหอมมะลิ 5% มีข้าวขาวหอมมะลิ 10% บ้างเพียงเล็กน้อยผลสำรวจของกรมการค้าภายในถึงวันที่ 31 มกราคม 2548 มีข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ได้เครื่องหมายรับรองตราพนมมือ นับได้รวมทั้งสิ้น 104 ยี่ห้อจากผู้ประกอบการทั้งหมด 68 ราย ซึ่งบางยี่ห้อก็จำหน่ายข้าวขาวหอมมะลิหลายชนิดในชื่อยี่ห้อเดียวกันเพียงแต่ใช้สีถุงหรือลวดลายของถุงบรรจุที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ก็ยังมีข้าวหอมมะลิที่ไม่มีตรามือพนมหรือกรมการค้าภายในไม่ได้รับรอง และข้าวหอมมะลิบางยี่ห้อก็อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้หากไม่สังเกตฉลากให้ถี่ถ้วน เนื่องจากเป็นข้าวหอมมะลิผสมกับข้าวชนิดอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าทำให้สามารถขายได้ในราคาที่ถูกเอามาก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหอมมะลิล้วน ๆ   เพื่อให้คุณผู้อ่านสามารถเลือกซื้อข้าวหอมมะลิบรรจุถุงได้อย่างคุ้มค่าคุ้มราคา ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้ทำการสำรวจข้าวหอมมะลิบรรจุถุงใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ หนึ่ง การสำรวจคุณภาพข้าวหอมมะลิ และสองคือการสำรวจน้ำหนักสุทธิของข้าวหอมมะลิขนาดบรรจุ 5 กิโลกรัมว่าเที่ยงตรงตามที่ระบุไว้จริงแค่ไหนหรือไม่ ผลสำรวจคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุงมีข้าวสารบรรจุถุง ที่ฉลากระบุว่าเป็นชนิดข้าวขาวหอมมะลิ 100% จำนวนทั้งสิ้น 35 ตัวอย่าง ที่ฉลาดซื้อเก็บได้จากซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 34 ตัวอย่างเป็นถุงบรรจุขนาด 5 กิโลกรัม อีก  1 ตัวอย่างเป็นข้าวถุงบรรจุขนาด 4 กิโลกรัมคือยี่ห้อ ช้างทิพย์ ข้าวเติมวิตามินของ บ.สากลธุรกิจเลิศรวมมิตร จำกัด ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับข้าวขนาด 5 กิโลกรัมเลยทีเดียว ฉลาดซื้อได้ส่งตัวอย่างทั้งหมดไปที่ห้องปฏิบัติการทดสอบของศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมวิชาการเกษตร เพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของข้าวขาวหอมมะลิ 100% เหล่านี้ ผลการวิเคราะห์พบว่าจาก 35 ตัวอย่าง มี 2 ตัวอย่างที่ไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ของกรมการค้าภายใน คือยี่ห้อ ฉลาดชิม ของ บ.ไทยฮา จก.(มหาชน) ซึ่งไม่มีตรารับรองมือพนม และ ยี่ห้อ นครไทย ของ บ.บี.เค.เค.อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ยี่ห้อนี้มีตรารับรองมือพนมของกรมการค้าภายในแสดงที่ข้างถุง โดยทั้งสองตัวอย่างมีปริมาณอมิโลสและข้าวอื่นปนเกินมาตรฐาน ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เกณฑ์มาตรฐานข้าวขาวหอมมะลิ 100% บรรจุถุงของกรมการค้าภายในที่ให้การรับรองด้วยตรามือพนม1.    กรมการค้าภายในยอมให้ข้าวหอมมะลิ 100% มีข้าวอื่นปนได้ไม่เกิน 8 %2.    ปริมาณอมิโลสอยู่ระหว่าง 13-18 % ข้าวอมิโลสต่ำ ๆ เวลาหุงไม่ควรใช้น้ำมากเพราะจะทำให้ข้าวแฉะ3.    อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ซึ่งทำให้ข้าวสุกไวไม่ใช้เวลาหุงนาน ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลการวิเคราะห์ข้าวสารบรรจุถุงที่ฉลากระบุว่าเป็นข้าวขาวหอมมะลิ 100% จำนวน 35 ตัวอย่าง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 56 รายชื่อผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพที่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

การโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดส่วนใหญ่ที่บริษัทผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถูกดำเนินคดีซึ่งมีระวางโทษเพียงแค่ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ส่วนใหญ่มักถูกปรับเพียง 2,000 - 4,000 บาทเท่านั้น แม้บางครั้งจะมีการกระทำผิดไว้หลายที่หลายสถานก็ตาม) การมีบทลงโทษที่เบาบางยิ่งกว่าปุยนุ่นเมื่อเทียบกับเม็ดเงินค่าโฆษณา เทียบกับรายรับที่ได้จากการจำหน่าย ซ้ำยังไม่มีการพิสูจน์ต่อเนื่องไปอีกว่า เนื้อหาการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้นเข้าข่ายการโฆษณาเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ (ซึ่งหากพบว่ามีความผิดจะมีระวางโทษสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัวคือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) ด้วยช่องโหว่ของกฎหมายในลักษณะนี้ เด็กอมมือก็ยังตอบได้ว่า ถ้าบังเอิญจะต้องฝ่าฝืนกฎหมายแล้วจะเลือกรับโทษแบบไหนดีกว่ากัน ..................................................................... ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพที่ถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)สั่งปรับฐานละเมิดกฎหมาย ช่วงปี 2545-2546ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 54 น้ำสมุนไพร ของดีที่ไม่ต้องซื้อหา

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ   ประโยชน์และสรรพคุณ   ดอกคำฝอย   ใช้ดอกต้มในน้ำเดือดจัด ๆ ปิดฝาทิ้งไว้ 3 - 5 นาที   ช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ลดไขมัน ขับเหงื่อ แก้โรคดีพิการ ช่วยให้สตรีมีประจำเดือน เป็นปกติ เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีสารคาธามีน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น   น้ำขิง เลือกขิงที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ล้างน้ำปอกเปลือกทุบพอแหลก ตั้งน้ำให้เดือดอีกราว 2 - 5 นาที หากต้มนานเกินไป ความหอมจะจางลงกรองเอากากออก   ดื่มแก้ไอ ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน รวมทั้งแก้เมารถเมาเรือ มีฤทธิ์แก้ปวดข้อ   น้ำกระเจี๊ยบ เลือกดอกกระเจี๊ยบแดง คัดเอากลีบหนึ่งขีดครึ่งใส่ในหม้อเคลือบ เติมน้ำ 3 - 4 ลิตร ต้มนาน 30 - 40 นาที จนน้ำต้มเป็นสีแดงสดกรองเอากากออก ดื่มแก้กระหาย ให้ความสดชื่น กัดเสมหะ แก้ไอ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อน ๆ   น้ำใบบัวบก ใช้ต้นบัวบกสด ล้างน้ำให้สะอาด ตำหรือใส่เครื่องปั่นก็ได้ เติมน้ำสุกลงไปพอประมาณ กรองกากออกจะดื่มน้ำคั้นสดหรือเติมน้ำเชื่อมนิดหน่อยก็ได้   ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ มีวิตามินเอและแคลเซียมในปริมาณสูง   น้ำดอกอัญชัน ดอก ตากแห้ง ต้มดื่มเป็นชา   ตับกระหาย มีสารแอนโธชัยยานิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน   น้ำมะตูม ใช้มะตูมดิบหั่นเป็นแว่นตากแดดแล้วอบหรือหั่นเป็นชิ้น คั่วให้หอม ชงเป็นชา   เป็นยาระบายขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้อาการร้อนในได้ดี น้ำหญ้าหนวดแมว ใช้ส่วนต้นใบและดอก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากให้แห้ง ต้มดื่ม   ลดอาการปวดเมื่อย ช่วยรักษาโรคไต และขับปัสสาวะ   ชาทองพันชั่ง รากและต้น ตากแห้ง ชงเป็นชา   แก้ขัดปัสสาวะ แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเพิ่มธาตุน้ำย่อย   ชาหญ้าลูกใต้ใบ รากและต้น ตากแห้ง ชงเป็นชา   รสขมมีฤทธิ์เป็นยาเย็น แก้ไข้ทุกชนิด แก้ดีซ่าน บำรุงตับ แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด   ชาหนุมานประสานกาย ใบตากแห้ง ชงเป็นชา   แก้หวัด แพ้อากาศ บรรเทาอาการหอบหืด และโรคหลอดลมอักเสบ   น้ำเชอร์รี่ นำไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง ปั่นให้ละเอียด นำไปกรองเอาแต่น้ำ นำน้ำเปล่า ต้มสุกส่วนที่เหลือใส่วงไปคั้นกับกากเชอร์รี่ให้แห้งมากที่สุด นำน้ำเชอร์รี่ที่คั้นได้ ใส่น้ำเชื่อมเติมเกลือ ชิมรสตามชอบ มีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง   น้ำลูกเดือย นำลูกเดือยล้างให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำตั้งไฟเคี่ยวจนลูกเดือยสุกเปื่อย ใส่น้ำตาล เกลือป่นใส่ในเครื่องปั่น ปั่นให้ละเอียดชิมรสตามชอบ   ให้ฟอสฟอรัสสูงมากช่วยบำรุงกระดูก รองลงมามีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงธาตุ เป็นอาหารสำหรับคนไข้พักฟื้น ช่วยเจริญอาหาร ชงเป็นยาเย็นขับปัสสาวะแก้ร้อนใน บำรุงไต กระเพาะอาหาร ม้าม รวมทั้งบำรุงเลือดลมในสตรีหลังคลอดรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง   น้ำฝรั่ง เลือกฝรั่งที่แก่จัด ล้างน้ำสะอาด ฝานเนื้อชิ้นเล็ก ๆ นำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจน ละเอียดแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสตามใจชอบ   มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและมีสาร เบต้า-แคโรทีน ช่วยลด สารพิษในร่างกาย ทั้งยังป้องกันไม่ให้ไขมันจับที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคเลือดแข็งตัว ช่วยลดระดับไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยเส้นเลือดอุดตัน   น้ำฟ้าทะลายโจร เอาฟ้าทะลายโจรหั่นตากแห้ง ใส่หม้อต้ม เอาใบเตยหอมหั่นใส่ลงไปด้วย เพื่อสร้าง ความหอมและน่าดื่ม .ยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ ต้มจนเดือด เคี่ยวจนงวด ยกลงเอากากออก แบ่งดื่มวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น   ช่วยโรคภูมิแพ้ได้ดี แก้ร้อนใน เจ็บคอ ตัวร้อน ปวดหัว ช่วยเจริญอาหาร   น้ำเห็ดหลินจือ นำเห็ดหลินจือแห้งและน้ำสะอาดใส่ลงในหม้อเคลือบหรือหม้อดินยิ่งดี ยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ ต้มจนเดือด แล้วหรี่ไฟลงให้น้ำเดือดปุด ๆ ต่อไป ประมาณ 15-20 นาที แล้วจึงยกลง ควรดื่มน้ำสกัดจากเห็ดที่มีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิร่างกาย ให้ดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน   สารอาหารในเห็ดหลินจือ จะเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ในร่างกายให้ทำหน้าที่ปรกติ และสามารถต้านทานการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง ต้านการจับตัวของลิ่มเลือด รวมทั้งลดน้ำตาลในเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายเกือบ ทุกระบบของร่างกาย เช่นระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคที่เกิดจากการมีคลอเรสเตอรอล ในเลือดสูง เส้นเลือดอุดตัน หลอดเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง โรคหัวใจ และรอบเดือน ไม่ปรกติของสตรี ระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องผูก ทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง ริดสีดวงทวารโรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายโรคอื่น ๆ เช่น โรคตับอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคอ้วน อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคไตอักเสบ โรคปวดหัวข้างเดียวนอนไม่หลับ และโรคเครียด   น้ำข่า เอาข่าแก่ที่ตากแห้งแล้วใส่ลงไปในถ้วยกาแฟ 4-5 แว่น .เอาน้ำร้อนเดือดใส่ลงไปค่อนถ้วย ปิดฝาถ้วย ทิ้งไว้ซักครู่หนึ่งแล้วค่อยดื่ม ควรดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน ก็ทำให้สบายท้องขึ้น หรือจะใช้ ข่าสดก็ได้ 10-12 แว่น นำมาทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มก็ได้   ช่วยขับลมได้อย่างดี เป็นการระบายลมออกมา จากลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว น้ำคะน้า นำใบคะน้าล้างให้สะอาด หั่นใส่เครื่องปั่นเติมน้ำต้มสุกครึ่งหนึ่งปั่นจนละเอียด นำมากรอง จากนั้นเติมน้ำส่วนที่เหลือลงไปเติมน้ำเชื่อม น้ำมะนาว เกลือ ชิมรสตามชอบ   ให้วิตามินเอสูงมากช่วยบำรุงสายตา คะน้าเป็นแหล่ง เบต้า-แคโรทีน ซึ่งช่วยต้านการ ก่อมะเร็งรองลงมามีแคลเซียมบำรุงกระดูกและฟัน และมีวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออก ตามไรฟัน ช่วยให้เนื้อเยื่อของเราทำงานได้ดี ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดอุณหภูมิใน ร่างกาย แก้กระหายน้ำ   น้ำกระเพราแดง เอาใบกระเพราแดงสดมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปตากแดด 2-3 แดดจนแห้ง เก็บไว้ใน กระป๋อง เวลาชงเอากระเพราแดงแห้งใส่ในกระติกน้ำร้อนหรือชงกับน้ำ 1 แก้วก็ได้ ทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วดื่มได้เลย   ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ดี   น้ำมะนาว นำมะนาวมาล้างเปลือกแล้วผ่าออก เอาเมล็ดมะนาวออกให้หมดคั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำ น้ำเชื่อม เกลือ คนให้เกลือละลายชิมรสตามชอบ หรืออาจเอาเปลือกของผลสดประมาณ ครึ่งผล หรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออกชงน้ำร้อนดื่ม เวลามีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด   มีวิตามินซีมากช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับเสมหะ ลดอาการไอ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียนและช่วยขับลมในกระเพาะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อและอ่อนเพลีย   น้ำมะเฟือง ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออก แล้วนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุกปั่นจนละเอียดแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามใจชอบ ถ้าต้องการเก็บไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วนำเข้าตู้เย็น   น้ำมะเฟืองมีสีเหลืองอ่อน ๆ มีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัสและแคลเซียมเล็กน้อย เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน   น้ำมะม่วง เตรียมวิธีที่ 1 ใช้มะม่วงดิบ เช่น มะม่วงแก้วหรือมะม่วงแรด เป็นมะม่วงที่มี รสเปรี้ยวไม่มากนัก จะได้น้ำมะม่วงที่มีรสกลมกล่อมปอกเปลือกมะม่วงออก ล้างน้ำ สับให้เป็นเส้นเล็ก ๆ คั้นกับน้ำสุก กรองด้วยผ้าขาวบาง เอากากออก เติมน้ำเชื่อม เกลือป่นชิมรสตามชอบ ใส่น้ำแข็งดื่มจะได้น้ำมะม่วงใส สีขาวนวล มีรสหวานอมเปรี้ยวเตรียมวิธีที่ 2 ใช้มะม่วงดิบเหมือนวิธีที่ 1 คือ สับให้เป็นเส้นเล็ก ๆ ปั่นให้ละเอียด เติมน้ำสุก น้ำเชื่อมและเกลือป่นตามต้องการชิมดูรสตามใจชอบ น้ำมะม่วงวิธีนี้ จะขุ่นขาว เพราะมีเนื้อมะม่วงปนอยู่เตรียมวิธีที่ 3 ใช้มะม่วงสุก ล้างมะม่วงให้สะอาด ปอกเปลือก ฝานเนื้อเข้า เครื่องปั่นเติมน้ำสุก เติมเกลือเล็กน้อย ชิมรส ถ้าต้องการหวานให้เติมน้ำเชื่อม ลงไป น้ำมะม่วงควรเตรียมและดื่มให้หมดภายใน 1 วัน   มีวิตามินเอและซีสูง ช่วยบำรุงสายตาป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และยัง มีฟอสฟอรัสแคลเซียมและเหล็กเล็กน้อย เป็นยาระบายอ่อน ๆ   น้ำมะขาม นำมะขามสดไปลวกในน้ำต้มเดือด ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไปต้ม กับน้ำตาลส่วนผสมให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือชิมรสตามชอบ แต่ถ้าใช้ มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้มะขามเปียก เปื่อยยุ่ยออก มารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือดแล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อมและเกลือ   คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา และมีแคลเซียมช่วยบำรุง กระดูก รวมทั้งแก้กระหายน้ำ ช่วยขับเสมหะแก้ไอ เป็นยาระบายท้อง ช่วยการขับถ่ายได้ดี ลดอาการโลหิตจาง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน   น้ำแมงลัก เอาเม็ดแมงลักมาเลือกเอาเศษผงออก แล้วเอา ใส่ภาชนะที่ทนความร้อน เอาน้ำร้อนหรือน้ำเย็น เทลงใส่ในเม็ดแมงลัก คนให้เข้ากัน ปล่อยให้ เม็ดแมงลักพองตัวออกจนมีลักษณะเป็นเมือกขาวใส ตรงกลางเม็ดแมงลักจะมีสีดำ ๆ เอาน้ำตาลใส่ ในเม็ดแมงลัก ชิมรสตามชอบ   ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เป็นการช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจ แก้ท้องผูก ระบายท้อง ถ้าให้ได้ผลดีควรดื่มก่อนนอน   น้ำมะระขี้นก นำมะระขี้นกล้างให้สะอาด ผ่าซีก แกะเอาเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้นยาว ๆ บาง ๆ ตามขวางของผลมะระ นำใบเตยหั่นเป็นท่อนสั้นๆตากแห้งแล้วคั่วให้เหลือง กรอบเก็บในขวดปากกว้าง เอามะระขี้นก ใบเตยหอมและน้ำใส่ในหม้อต้มให้ เดือด หรือถ้าไม่อยากต้ม จะใส่ในถ้วยแก้ว ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วนำมาดื่ม ได้ไม่ต้องกลัวว่าจะขมเวลาดื่ม เพราะแก้ไขด้วยการเอาใบเตยหอมและ น้ำมะนาวมาผสมช่วยกลบความขมของมะระขี้นกได้ดี   มีวิตามินเอสูงมากช่วยบำรุงสายตา น้ำคั้นผลมะระ เมื่อดื่มจะช่วยลดการเกิด ต้อกระจกจากเบาหวาน ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ แก้ อาการข้ออักเสบ บำรุงน้ำดี   น้ำส้ม นำส้มมาล้างเปลือกให้สะอาด ใช้มีดผ่าขวางลูก คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือ ตักเอาเมล็ดออก ชิมรสตามชอบ มีวิตามินเอมากช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและ วิตามินซี ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคเลือดออก ตามไรฟัน   น้ำสัปปะรด ล้างสับปะรดให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วล้างอีกครั้ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามชอบ   มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากช่วยบำรุงกระดูกและฟัน รองลงมามีวิตามินซี ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการแน่นท้อง ลดอาการอักเสบ บวม ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ ช่วยขับเสมหะ   น้ำตำลึง นำใบตำลึงมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง ปั่นให้ ละเอียด นำไปกรอง ใส่น้ำที่เหลือคั้นเอาแต่น้ำ นำน้ำที่ได้ไปใส่เกลือ น้ำมะนาว น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ   ให้วิตามินเอสูงมาก ซึ่งช่วยบำรุงสายตา มีแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและวิตามินซี ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน นำใบมาตำ ให้ละเอียด แก้อาการแพ้ อาการอักเสบ แมลงกัดต่อย ช่วยป้องกัน โลหิตจาง โรคมะเร็งและหัวใจขาดเลือด   น้ำแตงโม นำเนื้อแตงโม น้ำ น้ำเชื่อม เกลือ ใส่ในเครื่องปั่น นำไปปั่นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา และวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออก ตามไรฟัน ช่วยขับปัสสาวะ ปากเป็นแผล แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ   น้ำมะเขือเทศ นำมะเขือเทศล้างให้สะอาด หั่นให้ชิ้นพอประมาณ ใส่ในเครื่องปั่น พร้อมน้ำเชื่อม เกลือ น้ำสุก ปั่นให้ ละเอียด ชิมรสตามชอบ   มีเบต้า-แคโรทีน สูงมาก ช่วยต่อต้านมะเร็งและมี วิตามินซี สูงมากเช่นกันป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ทำให้เกิดความสดชื่นแก้กระหายน้ำ ผิวพรรณผ่องใส ช่วยในการย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยฟอกเลือดและป้องกันโรคมะเร็ง   น้ำว่านหางจรเข้ เ เอาว่านหางจระเข้มาปอกเปลือก ล้างน้ำเอายางสีเหลือง ออกให้หมด ต้มให้สุกแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใบเตยหอมเช่นกัน นำมาหั่นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มเพื่อเอาน้ำมาใช้ประโยชน์ . เอาว่านหางจระเข้ผสมรวมกับน้ำเตยหอม น้ำเชื่อม ใส่เครื่องปั่น ตามด้วยน้ำแข็งทุบ ปั่นจนละเอียด เทใส่แก้วดื่มได้ทัน   ในวุ้นมีสารสำคัญออกฤทธิ์สมานแผล ช่วยเร่ง การเจริญเติบโต ของเซลที่อยู่รอบ ๆ แผล ช่วยบำรุงร่างกายเนื่องจากการ อ่อนเพลียพักผ่อนน้อย ช่วยระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ   ใบชะพูล รากและต้น หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากให้แห้ง ต้มเคี่ยวจนน้ำงวดลง   แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม   น้ำรากบัว รากบัวสด ฝานเป็นแนวเฉียง ใส่หม้อต้มจนเนื้อรากบัวนิ่ม   ดับอาการร้อนใน แก้ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หอบหืด ผิวหนังซีด   น้ำเก็กฮวย ใช้ดอกแห้ง ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อต้มน้ำเดือดนาน 5 นาที   ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาช่วยย่อย มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ   น้ำใบเตยหอม ใบเตยสดที่ไม่แก่มากเก็บใหม่ๆ ล้างทีละใบให้สะอาด แช่น้ำด่างทับทิม หรือน้ำเกลือ 10-15 นาที นำมาหั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็ก ๆ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งใส่ลงในหม้อที่มีน้ำกำลังเดือด ต้มเคี่ยว 5-10 นาที เติมน้ำตาลทรายให้รสหวานจัด กรองเอากากออก ใบเตยที่หั่นแล้ว ส่วนที่สองปั่นให้ละเอียด โดยเติมน้ำ กรองเอากากออก เติมน้ำที่คั้นได้ ซึ่งมีสีเขียวและกลิ่นหอมลงในหม้อที่เติมน้ำตาลและกำลังเดือด ชิมให้มีรสหวาน พอเดือดรีบยกลง เมื่อดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด   ใบสด ต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น น้ำตะไคร้ มีส่วนประกอบหลัก 3 อย่างคือ 1.ใช้ตะไคร้ 2-3 ต้นเอามาทั้งต้นทั้งใบ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วมัดเป็นกำ 2.เอาใบกะเพรา 1 กำมือ มาล้างน้ำให้สะอาด 3.เอาใบเตยหอมมาล้างน้ำแล้วมัดให้เป็นท่อน เอาตัวยาทั้งสามมาใส่หม้อ ใส่น้ำพอประมาณตั้งไฟอ่อน ๆ ต้มสักครู่ เสร็จแล้วกรองน้ำที่ต้ม ผสมน้ำตาลทรายหรือน้ำเชื่อมเล็กน้อย ควรดื่มขณะที่ยังอุ่นๆ   น้ำตะไคร้ช่วยดับกระหายและเป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้   น้ำเชื่อมขิงใบมะขาม นำขิงแก่สดมาหั่นเป็นแว่นๆ ประมาณ 30 ชิ้น  เติมน้ำลงในหม้อ 2 แก้ว (แก้วขนาด 250 ซี.ซี.) แล้วใส่ขิงที่หั่นไว้ลงไป นำไปตั้งไฟ ต้มให้ เดือดนาน 5 – 10 นาที ตักเอาเนื้อขิงออกให้หมดแล้วนำไปตั้งไฟต่อ แล้วนำใบมะขามอ่อนที่ล้างสะอาดใส่ลงในหม้อพอให้ปริ่มน้ำ หรือ มะขามเปียกครึ่งช้อนโต๊ะ ต้มต่อไปให้เดือดนาน 5 – 10 นาที  หลังจาก นั้นให้กรองเอาใบมะขามหรือมะขามเปียกออกด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำขิงใบมะขามที่ได้มาตั้งไฟอ่อน ๆ ค่อย ๆ เติมน้ำตาลงไปจนเป็น ได้รสชาติที่พอใจ   ใช้เป็นยาแก้ไอสำหรับเด็ก   น้ำมะขามสามรส 1.ยี่หร่านำมาคั่วด้วยไฟอ่อนๆ คั่วพอให้มีกลิ่นหอมแล้วมาตำให้แหลกแยกไว้2.นำพริกไทยมาตำบดหรือตำให้เป็นผง3.มะขามเปียกแช่น้ำสะอาดไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นเอามาคั้น และกรองด้วยผ้าขาวบางสะอาด เติมน้ำตาลทรายคนให้ละลาย นำไปต้มให้เดือดนานประมาณ 1-2นาที จากนั้นเติมเกลือทีละน้อยชิมรสตามใจชอบ นำยี่หร่าคั่วและ พริกไทยเติมลงไปทีละน้อย คนให้เข้ากันดี   แก้กระหาย บำรุงกำลัง ขับลม เป็นยาระบายอ่อน ๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 52 รายชื่อผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่มีผงชูรสหรือสารเคมีอื่น ๆ

รายชื่อผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่มีผงชูรสหรือสารเคมีอื่นๆ เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยอย่าไปเลือก แม้ข้อถกเถียงเรื่องอันตรายของผงชูรสจะยังไม่ลงตัว ณ เวลานี้ แต่จากข้อมูลที่ฉลาดซื้อได้นำเสนอไปในเรื่องเด่นของฉบับนี้ ก็ทำให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ต่อสุขภาพของคนเราโดยเฉพาะ เด็ก สตรี และผู้ป่วย การใช้เกณฑ์ปลอดภัยไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องเหมาะสมสำหรับสุขภาพของเราในยุคที่มีสารพิษอยู่รอบตัวเต็มไปหมด การหลีก การเลี่ยงผงชูรสจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ ยุคที่เรารักและห่วงสุขภาพ และไม่อยากให้ภัยใด ๆ มาแย่งชิง ............................................................. จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ที่ฉลาดซื้อได้ไปเก็บมาพบว่ามีผู้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนเพื่อการจำหน่ายวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหารมากถึง 190 เลขทะเบียน รายชื่อ 89 เลขทะเบียนที่ฉลาดซื้อนำมาเสนอนี้ส่วนใหญ่เป็นผงชูรส มีส่วนน้อยที่อาจเป็นสารเคมีเพื่อใช้ในการปรุงรสชนิดอื่น ๆ แต่ทั้งหมดถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมอาหารและจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป ผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต วัตถุเคมีที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหารได้ แต่จัดอยู่ในกลุ่มอาหารควบคุมเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิต-ผู้นำเข้า จะต้องได้รับใบอนุญาตผลิต/นำเข้า และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร โดยต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค นั่นย่อมหมายถึงว่าผงชูรสไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัยเต็มร้อย แม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็เคยมีประกาศให้ผงชูรสต้องกำหนดคำเตือนบนซองผงชูรสว่า "ไม่ควรใช้ผสมอาหารสำหรับทารกหรือหญิงมีครรภ์"  แต่คำเตือนนี้ได้สูญหายไปในช่วงเวลาที่ยอดขายของผงชูรสเติบโตขึ้นมาแทนที่ คำเตือนจึงเหลือเพียงแต่การโฆษณาสรรพคุณ และชื่อยี่ห้อที่เต็มไปด้วยคำโอ้อวดว่าทำให้รสชาติของอาหารอร่อยอย่างล้ำเลิศ การหลีกเลี่ยงผงชูรสหรือหยุดบริโภคจึงเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้บริโภค และไม่เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อสุขภาพหรือรสชาติอาหารแบบไทย ๆ ของเรา ความหมายอักษรย่อของเลขทะเบียนวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 51 นมเปรี้ยวมาแรงแซงสุขภาพเด็กไทย

จากการเก็บข้อมูลของ MDR PACIFIC เกี่ยวกับการใช้เงินเพื่อการโฆษณาของบริษัทผู้ผลิตนมเจ้าต่าง ๆ พบว่า นมผงและนมเปรี้ยวกำลังเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ภาคธุรกิจส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกมากที่สุด โดยมีเด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ การรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันกลับมาดื่มนมจืดหรือนมสด 100% เพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำตาลที่ถูกเติมลงไปในนมจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักหากไม่สามารถฝ่าด่านแรงโฆษณาการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการที่เล็งเห็นเฉพาะผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าผลกระทบต่อสุขภาพบางด้านที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้ ........................................................................ MDR PACIFIC ซึ่งเป็นบริษัทจัดเก็บข้อมูลด้านการโฆษณา มีรายงานออกมาว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2545 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเจ้าต่างใช้เงินเพื่อการโฆษณาสินค้าของตนรวมทั้งสิ้น 853,135,000 บาท มากที่สุดประมาณ 287 ล้านบาทถูกใช้ไปกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์นมผง และอีกประมาณ 170 ล้านบาทได้ถูกใช้ไปกับการโฆษณานมเปรี้ยว(ไม่รวมโยเกิต) สื่อที่ใช้ส่วนใหญ่คือโทรทัศน์มากถึง 84% ของช่องทางสื่อที่ใช้ทั้งหมด การส่งเสริมให้ผู้บริโภคดื่มนมผงและนมเปรี้ยวของผู้ประกอบการนั้นได้ทำกำไรให้ธุรกิจนี้อย่างมหาศาล นายเนวิน  ชิดชอบ สมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เคยให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ผู้บริโภคต้องซื้อนมผงสำหรับเลี้ยงเด็กในราคาแพงซึ่งทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นเพราะผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติสำแดงต้นทุนการนำเข้าเพียงกิโลกรัมละ 60-70 บาทเท่านั้นเพื่อจะได้จ่ายภาษีอากรการนำเข้าในอัตราที่ไม่สูงมาก ในขณะที่ราคาจำหน่ายในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-200 บาท นมผงจึงเป็นเรื่องที่คนไทยและประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติมาโดยตลอด ในขณะที่นมเปรี้ยวเองก็กำลังเป็นสินค้ามาแรง ด้วยการโชว์ตัวเองว่าเป็นนมที่ดื่มแล้วไม่อ้วน ดีทั้งต่อสุขภาพและการรักษาทรวดทรง แต่แท้ที่จริงนมเปรี้ยวกลับไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความอ้วนได้จริง เนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาลที่เติมเข้าไปในนมเปรี้ยวในสัดส่วนที่สูงนั่นเอง ผลดีสำหรับผู้ผลิตนมเปรี้ยวคือแทนที่จะใช้นมสดในการผลิต ผู้ผลิตกลับใช้นมผงขาดมันเนยผสมน้ำแทนแล้วใช้โยเกิตเป็นเชื้อหมักทำให้ลดต้นทุนไปได้เยอะ ล่าสุดพบนมเปรี้ยวสำหรับเด็กออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมากซึ่งล้วนแต่มีการเติมน้ำตาลในปริมาณที่สูงในขณะที่สัดส่วนของนมก็มีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น การดื่มนมเปรี้ยวแบบนี้ของเด็กจึงเหมือนการดื่มน้ำเชื่อมผสมนมมากกว่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายไปด้วย การใช้เม็ดเงินมากกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทส่งเสริมให้เด็กดื่มนมเปรี้ยวที่มีรสชาติในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์นม 3 อันดับแรกที่ใช้เงินโฆษณาสูงสุด ใช้เงินโฆษณารวมทั้งสิ้น (บาท) คิดเป็นร้อยละ อันดับที่ 1 ผลิตภัณฑ์นมผง 286,905,000 33.63 อันดับที่ 2 ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว 169,541,000 19.87 อันดับที่ 3 ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง 115,915,000 13.59   โทรทัศน์เป็นช่องทางหลักของโฆษณานม ช่องทางในการโฆษณา เงินที่ใช้(บาท) คิดเป็นร้อยละ 1.โทรทัศน์ 717,453,000 84.10 2.วิทยุ 45,671,000 5.35 3.ป้ายโฆษณา 40,597,000 4.76 4.หนังสือพิมพ์ 29,932,000 3.51 5.นิตยสาร 17,841,000 2.09 6.อินเตอร์เน็ต 888,000 0.10 7.โรงภาพยนตร์ 753,000 0.09 รวม 853,135,000 100   รายละเอียดของการใช้เงินโฆษณาในผลิตภัณฑ์นมแต่ละประเภท กลุ่มผลิตภัณฑ์ งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต นมผง (14 ยี่ห้อ) 275,184,000 0 4,580,000 7,141,000 0 0 0 286,905,000(33.63%) นมเปรี้ยว (8 ยี่ห้อ) 117,895,000 16,735,000 11,092,000 2,631,000 21,084,000 0 104,000 169,541,000 (19.87%) นมถั่วเหลือง (5 ยี่ห้อ) 89,762,000 16,662,000 3,783,000 3,917,000 1,038,000 753,000 0 115,915,000 (13.59%) โฆษณาแบบรวม (13 ยี่ห้อ) 92,272,000 2,237,000 8,313,000 2,639,000 5,218,000 0 784,000 111,463,000 (13.07%) นมยูเอชที (9 ยี่ห้อ) 91,217,000 1,390,000 0 635,000 1,920,000 0 0 95,162,000 (11.15%) นมสเตอริไลซ์ (1 ยี่ห้อ) 34,232,000 0 1,331,000 0 0 0 0 35,563,000 (4.17%) นมสดพาสเจอไรส์ (3 ยี่ห้อ) 7,678,000 5,948,000 118,000 139,000 5,076,000 0 0 18,959,000 (2.22%) โยเกิต (5 ยี่ห้อ) 2,561,000 2,699,000 715,000 739,000 5,401,000 0 0 12,115,000 (1.42%) นมข้นหวาน (1 ยี่ห้อ) 6,652,000 0 0 0 860,000 0 0 7,512,000 (0.88%) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 717,453,000 45,671,000 29,932,000 17,841,000 40,597,000 753,000 888,000 853,135,000   รายละเอียดงบโฆษณาของผลิตภัณฑ์นมแต่ละชนิด 1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ นมผง งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต 1.ตราหมี 90,432,000 2,350,000 1,464,000 94,246,000(32.85%) 2.ดูเม็กซ์ 62,144,000 902,000 2,411,000 65,487,000(22.83%) 3.อะแลคต้าเอ็นเอฟ 36,236,000 234,000 36,470,000(12.71%) 4.คาร์เนชั่น 30,169,000 30,169,000(10.51%) 5.เอ็นฟาโกรว์ 26,424,000 717,000 27,141,000(9.46%) 6.เอ็นฟาคิด 13,289,000 13,289,000(4.62%) 7.มิชชั่น 8,061,000

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 43 Heavy boy น้ำหวานตกมาตรฐาน

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชานี ตรวจพบน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด อากาศร้อนอบอ้าวอย่างที่เราเจอกันอยู่นี้ ถ้าได้เครื่องดื่มเย็น ๆ สักแก้วสองแก้วก็ช่วยคลายร้อนได้เยอะ แต่ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองทุกบาทก็ย่อมมีค่า น้ำอัดลมก็กลายเป็นของแพงไปเสียแล้ว จะไปซื้อหาผลไม้มาคั้นมาปั่นราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ แถมได้ปริมาณไม่มาก น้ำหวานเข้มข้นจึงเป็นที่พึ่งยามยากของหลาย ๆ ครอบครัว น้ำหวานเข้มข้นขวดหนึ่งก็สามารถผสมกับน้ำสะอาดทำเป็นน้ำหวานได้มากถึง 4 เท่า แถมยังมีให้เลือกหลายรสชาติตามแต่จะต้องการ แม้จะมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดสตางค์ในกระเป๋า แต่น้ำหวานเข้มข้นก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน เนื่องจากน้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่หรือเกือบจะทั้งหมดล้วนใช้สีสังเคราะห์เป็นส่วนผสมด้วยกันทั้งนั้น และสีสังเคราะห์นี้หากผู้ผลิตเขาใส่มากเกินไปก็อาจจะเกิดอันตรายจากการสะสมของสารพิษที่อยู่ในสีสังเคราะห์นั้นได้ ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย , ขอนแก่น , บุรีรัมย์ , สุราษฎร์ธานี และสงขลา จึงได้ร่วมกันสำรวจตลาดและเก็บตัวอย่างน้ำหวานเข้มข้นในพื้นที่ของตน และได้ส่งไปให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 อุบลราชธานี ทำการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของสีสังเคราะห์ที่ผสมอยู่ในน้ำหวานเข้มข้นยี่ห้อต่าง ๆ ยี่ห้อน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีทั้งหมด  12 ยี่ห้อ คือ 1.Heavy boy 2.โกลเด้นแพน 3.แคนดี-เคน 4.แคนดี้บอย 5.ซันนี่บอย 6.ท็อปส์ 7.เมาเทนเบส 8.วินนี่ บราวน์ 9.วินบอย 10.ออคิด 11.ฮอร์น บอย 12.เฮลซ์บลูบอย ส่วนกลิ่นและสีของน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน คือ 1.สับปะรด 2.ส้ม  3.สละ 4.องุ่น  5.ครีมโซดา  6.สตรอเบอรี่  7.ซาสี่  8.กุหลาบ กลิ่นและสีเหล่านี้เกิดจากการใช้สีสังเคราะห์มาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตน้ำหวานเข้มข้น กลิ่นและสีบางอย่างก็เกิดจากการผสมสีสังเคราะห์ 2 ชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างกลิ่นครีมโซดาเกิดจากการผสมกันระหว่างสีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF เป็นต้น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้นรวมทั้งสิ้น 52 ตัวอย่างจาก 12 ยี่ห้อดังกล่าว พบน้ำหวานเข้มข้นที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 1 ตัวอย่างคือ น้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ในฉลากไม่ระบุชื่อผู้ผลิต ระบุเพียงสถานที่ผลิตคือ เลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ เลขทะเบียน อย./ฉผด. 98/36 เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด(สีเอโซรูบีน 92.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบน้ำหวานเข้มข้นที่ทำผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลาก คือ ไม่มีการแสดงวันที่ผลิตหรือวันหมดอายุ ได้แก่ 1.Heavy boy แหล่งผลิตเลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ 2.Horn boy แหล่งผลิตโรงงาน ส.วัฒนา 43/20 หมู่ 7 ซ.วัดกำแพง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 3.Win boy แหล่งผลิตโรงงานน้ำหวานสมชัย 68 หมู่ 1 ถ.สุขาภิบาล 2 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นอกจากน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ที่มีสีสังเคราะห์เกินมาตรฐานแล้ว นอกนั้นถือว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ผสมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตารางที่นำมาแสดงนี้จะเรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์ตัวหลักจากน้อยไปมากและจะจัดเป็นกลุ่มตามกลิ่นของน้ำหวาน ชอบใจน้ำหวานรสหรือกลิ่นไหนก็เลือกกันได้เลย แต่อย่าลืมว่า น้ำหวานนั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาลอยู่ค่อนข้างมาก ดื่มน้ำหวานมากระวังโรคอ้วนจะถามหา เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน วิธีการเลือกซื้อ เลือกดื่มน้ำหวานเข้มข้น1. ไม่จำเป็นต้องเลือกซื้อน้ำหวานเข้มข้นที่มีราคาแพง 2. แม้น้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่จะมีปริมาณสีสังเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสีสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย ควรเลือกซื้อน้ำหวานที่มีปริมาณสีสังเคราะห์ที่มีปริมาณน้อยไปจนถึงปานกลาง(ของแต่ละตาราง) 3. ในการทำน้ำหวานให้เจือจางควรปฏิบัติตามฉลากที่แสดงคือ ผสมน้ำหวาน 1 ส่วน กับน้ำสะอาด 4 ส่วน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับความหวาน และปริมาณสีสังเคราะห์มากเกินไป(แม้ว่าจะมีปริมาณสีสังเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ก็ตาม) 4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรบริโภคน้ำหวาน เพราะร่างกายของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดมากเกินกว่าที่ตนเองจะใช้ได้หมดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลในรูปของอาหารประเภทใดก็ตาม งดได้ควรงด 5. เตือนตัวเองตลอดเวลาว่า น้ำที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายคือน้ำดื่มสะอาด(น้ำเปล่า) ไม่ควรดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนได้(และจะมีโรคอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค) เกณฑ์การควบคุมปริมาณสีที่ใช้เติมลงไปในน้ำหวานเข้มข้นกลุ่มสีแดง -สีปองโซ 4 อาร์  เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีเอโซรูบีน เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเหลือง-สีตาร์ตราซีน , สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเขียว-สีฟาสต์กรีน FCF  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีน้ำเงิน-สีอินดิโกร์คาร์มีน  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีบริลเลียนท์บลู FCF เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กรณีที่น้ำหวานมีสีผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป -ต้องมีปริมาณรวมของสีทุกชนิดไม่เกินปริมาณของสีที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด เช่น น้ำหวานที่มีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF ผสมกันอยู่ ต้องมีปริมาณรวมของสี 2 ชนิด ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม อันเป็นเกณฑ์ของสีบริลเลียนท์บลู FCF ที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุดนั่นเอง อันตรายของสีสังเคราะห์1.พิษของสีในระยะยาว สีส้ม (ซันเซ็ต เย็ลโล FCF) ถ้ารับประทานเกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้ท้องเดินและน้ำหนักตัวลด 2.พิษที่เกิดจากโลหะที่ปนมากับสีผสมอาหาร ตะกั่ว ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และโลหิตจาง อาการต่อมาคือเป็นอัมพาตตามแขนขา สมองไม่ปกติ ชักกระตุก เพ้อคลั่ง และหมดสติ สารหนู ทำอันตรายต่อระบบส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตับอักเสบ และมีอันตรายต่อวงจรโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้ • โครเมียม ทำให้เวียนศีรษะ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปวดท้อง อาเจียนจนหมดสติ และเสียชีวิตเนื่องจากปัสสาวะเป็นพิษ   ผลการวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้น โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 7 อุบลราชธานี(เรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์จากน้อยไปหามาก)   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์* (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เมาเทนเบส กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 12.32 - 2 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 39.31 - 3 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ เชียงราย - - 39.63 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 วินนี่ บราวน์ ครีมโซดา เชียงราย 7.35 1.96 - - 2 โกลเด้นแพน ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 8.37 0.72 - - 3 โกลเด้นแพน ครีมโซดา กรุงเทพฯ 9.76 1.43 - - 4 ท็อปส์ ครีมโซดา สงขลา 10.14 1.46 - - 5 ท็อปส์ ครีมโซดา กรุงเทพฯ 10.15 0.85 - - 6 ออคิด ครีมโซดา กรุงเทพฯ 16.73 1.30 - - 7 ออคิด ครีมโซดา บุรีรัมย์ 18.14 1.25 - - 8 เมาเทนเบส ครีมโซดา กรุงเทพฯ 18.65 1.16 - - 9 แคนดี-เคน ครีมโซดา เชียงราย 19.51 1.35 - - 10 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา บุรีรัมย์ 20.03 2.24 - - 11 แคนดี้บอย ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 21.12 1.50 - - 12 ซันนี่บอย ครีมโซดา สงขลา 23.63 3.74 - - 13 แคนดี้บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 24.88 2.37 - - 14 ซันนี่บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 26.25 3.62 - - 15 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 28.10 2.07 - - 16 Heavy boy ครีมโซดา ขอนแก่น 36.50 2.25 - -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เฮลซ์บลูบอย ซาสี่ กรุงเทพฯ ตรวจไม่พบสีสังเคราะห์ 2 เมาเทนเบส ทับทิม กรุงเทพฯ 14.07 - 25.04 - 3 วินบอย เพียเรด บุรีรัมย์ 22.96 2.03 - - 4 เฮลซ์บลูบอย สตรอเบอรี่ กรุงเทพฯ - - 42.39 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 แซ่บทั่วไทย ปลอดภัยแค่ไหน

อีสานบ้านเฮา• หมูกระทะ อิ่มเยอะอาจเรื่องแยะ ร้าน หมูกระทะกลายเป็นกระแสนิยมของคนชอบกินมาหลายปี คงเป็นเพราะคนไทยเราชอบอะไรที่เป็นบุฟเฟ่ต์ ประมาณว่าจ่ายไม่ถึงร้อยแต่อร่อยได้ไม่อั้น ซึ่งใครที่ชอบทานอาหารปิ้งๆ ย่างๆ อย่างหมูกระทะก็คงเคยได้ยินคำร่ำลือเรื่องความไม่สะอาดของเนื้อหมูในร้านหมู กระทะกันมาบ้างไม่มากก็น้อย งานนี้ “ฉลาดซื้อ” ได้เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในจังหวัดขอนแก่น บุกร้านหมูกระทะภายในจังหวัดจำนวน 8 ร้าน โดยเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน และ เดือน พฤศจิกายน 2552 เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ 3 ประเภทคือ แบคทีเรียซัลโมเนลร่า (Salmonella spp.), แบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus), และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงหรืออาหารเป็นพิษผลการตรวจสอบ- มีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ซัลโมเนลล่า จำนวน 4 ตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 (เดือนกันยายน) คือจากร้าน เพ้งเนื้อย่าง, MT เนื้อกระทะชุมแพ, 2K เนื้อกะทะ, และในสวนเนื้อย่างเกาหลี อย่างไรก็ตาม ไม่พบการปนเปื้อนเลยจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างอีก 4 ตัวอย่าง (เดือนพฤศจิกายน) - พบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ไม่สูงกว่า 200 โคโลนี ต่อกรัม) จำนวน 2 ตัวอย่างจากการเก็บ ตัวอย่างครั้งที่ 1 ที่ ร้านเพ้งเนื้อย่าง (6,300 โคโลนีต่อกรัม) และในสวนเนื้อย่างเกาหลี (5,300 โคโลนีต่อกรัม) สำหรับการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานทั้ง 4 ตัวอย่างที่ร้าน บ้านสวนเนื้อเกาหลี (1,000 โคโลนี ต่อกรัม) เก็ตเนื้อกระทะ (175,000 โคโลนี ต่อกรัม) โอเนื้อเกาหลี (250,000 โคโลนีต่อกรัม) และเปาหมูกระทะ (10,000 โคโลนีต่อกรัม) - พบการปนเปื้อนของ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) จากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ร้านบ้านสวนเนื้อเกาหลี และ โอ เนื้อเกาหลี ข้อสังเกต มีตัวอย่างเนื้อหมูจากร้านค้าจำนวน 4 ร้านที่พบจุลินทรีย์ปนเปื้อน ถึง 2 ประเภทในตัวอย่างเดียว ได้แก่ ร้านเพ้งเนื้อย่าง (ซัลโมเนลล่ากลุ่ม OMC และเอส ออเรียส) ร้านในสวนเนื้อย่างเกาหลี (ซัลโมเนลล่ากลุ่ม E และเอส ออเรียส) ร้านบ้านสวนเนื้อเกาหลี (เอส ออเรียสและ ซี เพอร์พริงเจนส์) และ ร้านโอเนื้อเกาหลี (เอส ออเรียสและ ซี เพอร์พริงเจนส์) เนื้อหมูดิบ (ร้านหมูย่างเกาหลี) Salmonella spp. S. aureus C. perfringens วันที่เก็บตัวอย่าง (in 25 g) (cfu/g) (0.001g) เกณฑ์กรมวิทย์ฯ Not detected < 200 Not detected   เพ้งเนื้อย่าง Detected group OMC 6.3 X 103 ไม่พบ 15-09-52 MT เนื้อกระทะชุมแพ Detected group C < 10 ไม่พบ 15-09-52 2K เนื้อกระทะ Detected group C < 10 ไม่พบ 15-09-52 ในสวนเนื้อย่างเกาหลี Detected group E 5.3 X 103 ไม่พบ 15-09-52 บ้านสวนเนื้อเกาหลี ไม่พบ 1 X 103 Detected 17-11-52 เก็ตเนื้อกะทะ ไม่พบ 1.7 X 105 ไม่พบ 17-11-52 โอเนื้อเกาหลี ไม่พบ 2.5 X 105 Detected 17-11-52 เปาหมูกะทะ ไม่พบ 1 X 104 ไม่พบ 17-11-52 สรุป อย่าได้กินแบบสุกๆ ดิบๆ นะจ๊ะ ปิ้งย่างให้สุกมากๆ จะได้ปลอดภัย   • ไส้กรอกอีสาน ความอร่อยที่ต้องระวัง ไส้กรอกอีสานเป็นอาหารที่หาซื้อได้ง่าย รสชาติก็อร่อย แถมราคาก็ย่อมเยา ไส้กรอกอีสานส่วนใหญ่ทำมาจากเนื้อหมูผสมกับข้าวสุก หนังหมูหรือวุ้นเส้น กระเทียม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อให้เกิดรสเปรี้ยว ก่อนนำไปกรอกใส่ลงในไส้หมูที่ล้างทำความสะอาดมาแล้วเรียบร้อย เสร็จแล้วนำไปแขวนตากลมไว้ให้ไส้หมูแห้ง เป็นอันเรียบร้อยกระบวนการนำมาย่างหรือทอดกินได้ สำหรับไส้กรอกอีสานที่ขายอยู่ทั่วไป มีทั้งแบบที่ผู้ขายผลิตเองและที่ผลิตจากโรงงานซึ่งพ่อค้าซื้อมาปิ้งขายอีกที ซึ่งงานนี้ได้จังหวัดมหาสารคามทำหน้าที่เก็บตัวอย่างไส้กรอกอีสานในพื้นที่จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ ส.ขอนแก่น ตลาดบรบือ ตลาดวาปีปทุม และตลาดนาเชือก โดยตรวจวัตถุเจือปนอาหาร 2 ประเภทคือ ไนเตรท และไนไตรท์ นอกจากนี้ยังตรวจหาจุลินทรีย์ปนเปื้อนอีก 2 ชนิดคือ แบคทีเรียซัลโมเนลร่า (Salmonella spp.), และ แบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนกันยายน 2552 ผลการทดสอบ-ไม่พบการผสมไนเตรทและไนไตรท์ในไส้กรอกอีสานทุกตัวอย่าง -ตรวจพบการปนเปื้อนของซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.) จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 4 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือที่ ตลาดวาปีปทุม และตลาดนาเชือก -ตรวจพบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 4 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือที่ ตลาดบรบือ (400,000 โคโลนีต่อกรัม) และตลาดนาเชือก (140,000 โคโลนีต่อกรัม) ข้อสังเกต มีตัวอย่างไส้กรอกอีสานจาก 1 พื้นที่ที่พบการปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ถึงสองประเภท ในหนึ่งตัวอย่าง คือ ตัวอย่างที่เก็บจาก ตลาดนาเชือกพบการปนเปื้อนทั้งซัลโมเนลล่าและเอสออเรียส ไส้กรอกอีสาน (มหาสารคาม) ส.ขอนแก่น ตลาดบรบือ ตลาดวาปีปทุม ตลาดนาเชือก Standard Nitrate (mg/kg) Not detected Not detected Not detected Not detected   Nitrite (mg/kg) Not detected Not detected Not detected Not detected   Salmonella spp. (in 25 g) Not detected Not detected Detected group E Detected group E Not detected Staphylococcus aureus (cfu/g) < 10 4 X 105 < 10 1.4 X 105 < 200 สรุป มีเชื้อโรคปนเปื้อนพอสมควร อย่างไรก็ตามอันนี้ส่วนใหญ่เรารับประทานแบบสุก ดังนั้นก็ปลอดภัยพอรับได้   • น้ำปลาร้าบรรจุขวดสำหรับใส่ส้มตำ แซ่บมีเสี่ยง สำรวจอาหารถึงถิ่นอีสานทั้งที จะไม่สำรวจอาหารขึ้นชื่อของที่นี้อย่าง “ปลาร้า” เดี๋ยวจะหาว่าเข้าไม่ถึงอาหารท้องถิ่น “ฉลาดซื้อ” เราจึงเลือกสำรวจน้ำปลาร้า ที่นิยมใส่ในส้มตำปลาร้าเมนูโปรดรสแซ่บของใครหลายๆ คน งานนี้เป็นหน้าที่ของเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคาม จะพาไปทดสอบความสะอาดของน้ำปลาร้าสำหรับใส่ส้มตำเพื่อดูการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค 2 ชนิด คือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) กับ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และค่าจุลินทรีย์รวม (Total Plate Count) การเก็บตัวอย่าง เก็บเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2552 ทั้งสิ้นจำนวน 4 ตัวอย่าง จากร้านค้าส้มตำในตลาดสดจังหวัด มหาสารคาม ผลการทดสอบ- ไม่มีตัวอย่างใดมีค่าจุลินทรีย์รวมเกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - ไม่มีตัวอย่างใดที่พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - ทุกตัวอย่างที่เก็บพบเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาหารเป็นพิษ (อาเจียน ท้องเสีย) เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 108 สาหร่ายทะเลอบกรอบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านนิตยสารฉลาดซื้อทุกท่าน พบกันอีกครั้งกับหนังชีวิตเรื่องยาวของการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภค ฉบับก่อนผมนำเสนอข้อมูลผลการทดสอบนมโรงเรียนไป ก็ปรากฎว่ายังมีปัญหาอยู่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะนมโรงเรียนประเภทพาสเจอร์ไรส์ และจนถึงขณะนี้เราได้เก็บตัวอย่างเพิ่มอีกสองครั้งแล้ว ไว้คอยติดตามผลกันนะครับ ส่วนในฉบับนี้ผมขอนำเสนอทุกท่านด้วยเรื่อง สาหร่ายอบกรอบ ของกินเล่นอาหารว่างเทรนด์ใหม่มาแรง สาหร่ายทะเลอบกรอบ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ด้วยว่ามีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ที่มากมาย จัดเป็นแหล่งอาหารที่มีไอโอดีนและแร่ธาตุอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูง แต่ว่าไม่มีอะไรดีไปทั้งหมด สาหร่ายทะเลพบแร่ธาตุอาหารที่ดีมากก็จริง แต่ก็พบสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพด้วยครับ จากการเฝ้าระวังเรื่องการปนเปื้อนของสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในสาหร่ายทะเลในอดีตพบว่า ปัญหาสำคัญที่พบในสาหร่ายทะเลกินเล่นก็คือ การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายในปริมาณที่น่ากังวลครับ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลอบกรอบครั้งนี้ จึงเน้นที่การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ตะกั่ว อะฟลาท็อกซินและปริมาณของโซเดียมครับ การเก็บตัวอย่าง เราสุ่มเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 21 ตัวอย่าง 18 ยี่ห้อ จากพื้นที่ 8 จังหวัดดำเนินงาน โดยมีรายชื่อยี่ห้อสินค้าดังนี้ ซาลิมิ รสเข้มข้น (2 ตัวอย่าง), ซีเฟรนด์, แมกซ์, เทสโก้, ซันวา, ชนิชา, คุณฟิล์ม (2 ตัวอย่าง คือรสดั้งเดิมและรสต้มยำ), ตะวันแดง, โชกุเนะ (รสต้มยำ), ซีลีโกะ (รสต้นตำรับ), แม่โจ้, เถ้าแก่น้อย ( 2 ตัวอย่าง, Japanese panda, ชุมชนวัดแจ้ง, คาบูกิ, BI-NO ZAMBAI, A.JINTSUKE NORI, และ ยังบัน   ผลการทดสอบ1. พบเชื้อ อะฟลาท็อกซินเล็กน้อย ในผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากจังหวัดสงขลา 2 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ A.JINTSUKE NORI ที่ปริมาณ 0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อ ยังบัน ที่ปริมาณ 0.11 ไมโครกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 2. สาหร่ายเกือบทุกตัวอย่างที่ตรวจหาสารตะกั่ว (19 ตัวอย่าง) พบว่ามีตะกั่วสะสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.162 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีสาหร่ายยี่ห้อใดมีค่าเฉลี่ยสูงเกินค่าตะกั่วสูงสุดที่รับได้ตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม :ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 3. พบแคดเมียมปนเปื้อนในทุกตัวอย่างที่ตรวจ (19 ตัวอย่าง) และทุกตัวอย่างมีค่าแคดเมียมสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานสากล (CODEX) 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบอยู่ที่ 2.323 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และมีตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง (7 ยี่ห้อ) มีค่าแคดเมียมสูงกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 6.91 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เถ้าแก่น้อย 5.368 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, A.JINTSUKE NORI 4.551 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เทสโก้ 3.99 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, แมกซ์ 3.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ซันวา 2.95 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, และ ซาลิมิรสเข้มข้น จำนวน 2 ตัวอย่าง พบค่าแคดเมียมที่ 2.91 และ 2.399 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ข้อสังเกตจากการทดสอบเราได้ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในผลิตภัณฑ์สาหร่ายที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และ จังหวัดเชียงใหม่ โดยพบสารเคมีกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต ชนิด Ethion ในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเถ้าแก่น้อยที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังพบสารเคมีและกลุ่ม Organophosphorus ชนิด Triazophos กับ Triphenyl phosphate ในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบในตัวอย่างทั้งสองที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงใหม่ นั้นถือว่าอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก คือไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ สาหร่ายทะเลอบกรอบ อย่างไรก็ยังจัดว่าเป็นของกินเล่นที่ดี เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ให้ระวังอย่ารับประทานมากเกินไป กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ นะครับ เพราะหนึ่ง รสชาติเค็ม จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูง สองจากการทดสอบจะเห็นว่า มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณค่อนข้างสูง แม้เมื่อเทียบในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอาจจะถือว่าเล็กน้อย แต่เราก็ไม่ควรสะสมสารโลหะหนักในร่างกายให้มากไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในภายหลังครับ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เรื่องน่ารู้เกี่ยวแคดเมียมแคดเมียม คือโลหะที่เป็นเงาวับใช้ทำสิ่งของต่างๆ เช่น เส้นลวด กันชนรถยนต์ และกิจการอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มีประมาณร้อยละ 50 ใช้ในการเคลือบเงาด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electroplated coating จะได้ผิวโลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมเป็นเงางามและทนต่อการกัดกร่อนไม่เป็นสนิม โลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมจะใช้ในอุปกรณ์รถยนต์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนของเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ รวมไปถึงน๊อตและสกรูด้วย นอกจากนั้นโลหะเคลือบแคดเมียมยังใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น และอื่นๆ อีกมากมาย จากการใช้อย่างกว้างขวางทำให้พบโลหะแคดเมียมปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และในอาหารที่คนเรากินโดยทั่วไป ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้รับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายได้หลายทางโดยไม่รู้ตัว เช่น คนงานที่ทำงานใช้โลหะแคดเมียมจะได้รับทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วๆ ไปจะได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย ขึ้นกับความสะอาดของอากาศ แต่คนที่สูบบุหรี่จะได้รับโลหะแคดเมียมจากบุหรี่มากพอสมควร แคดเมียมในอาหาร จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตอาหารและการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อมซึ่งเข้าไปปนอยู่ในน้ำและในดิน บริเวณใดที่มีโลหะแคดเมียมในดินสูงและมีการปลูกพืชบริเวณนั้น จะมีปริมาณแคดเมียมในพืชนั้นสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณตอนใต้ของการทำเหมืองแร่ จะมีโลหะแคดเมียมถูกชะลงมาตามน้ำและสะสมในดิน เมื่อปลูกข้าวในบริเวณนั้นจะพบว่ามีปริมาณของแคดเมียมในข้าวสูงมาก จนทำให้คนญี่ปุ่นที่รับประทานข้าวจากบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคพิษจากแคดเมียม กันมากมาย เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นตัวพาแคดเมียมไปสะสมในที่ต่างๆ ถ้ายิ่งน้ำฝนที่เป็นกรดด้วยก็จะเพิ่มปริมาณการสะสมแคดเมียมในดิน พืชจึงดูดไปสะสมได้มากขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยในการได้รับแคดเมียมไว้ว่า คนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกิน สัปดาห์ละ 0.40 - 0.50 มิลลิกรัม ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   พิษของ แคดเมียมและโรคที่เกิดขึ้นการได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้ เกิดพิษเฉียบพลันได้ แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง โดยการได้รับแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคที่เกิดอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ผู้ที่มีความเสี่ยงมากคือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก 2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไตซึ่งจะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไตก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ว่าจะไม่ได้รับแคดเมียมต่อไปแล้ว แต่ไตก็ยังไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาดังเดิมได้ 3. โรคกระดูก แคดเมียมทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมออกมาในปัสสาวะสูง และอาจมีแคดเมียมเข้าไปสะสมในกระดูกทำให้กระดูกพรุน และมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการปวดกระดูกสะโพก เช่นที่เกิดกับชาวญี่ปุ่นที่เมืองฟูซู ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเรียกโรคนี้ว่า อิไตอิไต (itai itai) หรือ เอาซ์ เอาซ์ (ouch ouch) 4. โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ พบว่าแคดเมียมทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นมากและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมกันกับโรคไตดังที่กล่าวมาแล้ว 5. โรคมะเร็ง มีข้อมูลการศึกษาติดตามคนงานที่ทำงานสัมผัสกับแคดเมียม เช่น โรงงานทำแบตเตอรี่แห้งขนาดเล็ก พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด สูงกว่าคนทั่วไปและอาจมีผลต่อการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งของต่อมลูกหมากด้วย   ตารางผลทดสอบสาหร่ายอบกรอบกินเล่น   มาตรฐาน Aflatoxin  (µg/kg) < 20 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Lead (mg/kg) < 1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Cadmium (mg/kg) ประเทศไทยยังไม่กำหนด ส่วนมาตรฐานของโคเด็กซ์ กำหนดไว้ ไม่เกิน 0.2 mg/kg     สาหร่ายอบกรอบปรุงรส     วันผลิต/ วันหมดอายุ % Salt Aflatoxin Lead Cadmium Yeast Mold     (µg/kg) (mg/kg) (mg/kg) (cfu/g) (cfu/g)   ซาลิมิ รสเข้มข้น 03-08-2009/03-08-2010 5.27 Not detected 0.363 2.91 < 10 3 X 10 กรุงเทพ ซีเฟรนด์ 25-03-2010 2.88 Not detected 0.074 0.342 < 10 < 10   แมกซ์ 30-09-2010 4.35 Not detected 0.245 3.04 < 10 < 10   เทสโก้ 09-09-09/09-10-10 4.74 Not detected 0.287 3.99 < 10 < 10   ซันวา ไม่ทราบ 5.28 Not detected 0.221 2.95 < 10 < 10 สมุทร ชนิชา ไม่ทราบ 1.51 Not detected 0.097 1.26 < 10 < 10 สงคราม คุณฟิลม์ ไม่ทราบ 1.01 Not detected 0.032 1.32 < 10 < 10   ตะวันแดง ไม่ทราบ 4.72 Not detected 0.078 1.17 < 10 < 10   คุณฟิล์ม (รสต้มยำ) 16/07/09 16/01/10 1.41 Not detected 0.2 0.65 < 10 13 ขอนแก่น โชกุเนะ (รสต้มยำ) 8/5/2009 08/03/10 1.46 Not detected 0.07 0.54 13 10   ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 11/4/2009 11/04/10 2.94 Not detected 0.16 6.91 < 10 10 เชียงใหม่ แม้โจ้ ไม่แสดงวันหมดอายุ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 15 พะเยา เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 < 10   Japanese panda ไม่ทราบ 0.7 Not detected Not detected 1.33 < 10 สตูล เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ 3.34 Not detected 0.297 5.368 < 10   ชุมชนวัดแจ้ง ไม่ทราบ 2.32 Not detected 0.053 1.238 < 10   คาบูกิ ไม่ทราบ 2.85 Not detected 0.2 1.872 < 10   BI-NO  ZAMBAI ไม่ทราบ 3.01 Not detected 0.113 1.565 < 10   A.JINTSUKE NORI ไม่ทราบ 2.74 0.08 0.203 4.551 < 10 สงขลา ยังบัน

อ่านเพิ่มเติม >