รวมข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?

ท่านใดที่กำลังคิดว่ารายได้ของท่านจะต้องเสียภาษีเท่าไร และมีอะไรมาหักลดหย่อนได้บ้าง เราเลยนำเสนอข้อมูลในท่านตามลิงค์ด้านล่าง เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวเสียภาษีปีนี้นะคะ :) การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ 2560   By กรมสรรพากร  https://goo.gl/Y5GxhZโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ปีภาษี 2560 ค่าลดหย่อน  By Kapook.com   https://goo.gl/MEgCYUวางแผนลดหย่อนภาษีปี 60 ฉบับบุคคลธรรมดา มีอะไรหักได้บ้าง  By plus.co.th  https://goo.gl/Nyfi5Uครม.ไฟเขียวลดหย่อนภาษีเพิ่มเท่าตัว มีผลปีภาษี 2560 ช่วยค่าครองชีพมนุษย์เงินเดือน  By matichon  https://goo.gl/JQAukmปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแจกถ้วนหน้า By thaipublica https://goo.gl/5c25X4ขอบคุณข้อมูลกรมสรรพากร Kapook.complus.co.th matichonthaipublica

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 186 จ่ายจริงมากกว่าราคาที่แสดงไว้

สินค้าตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ มักมีราคาติดไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่าหากต้องการซื้อสินค้าดังกล่าว ต้องจ่ายเงินเท่าไร อย่างไรก็ตามหากเรานำสินค้านั้นๆ ไปจ่ายเงินที่พนักงานคิดเงิน แล้วพบว่าราคาไม่ตรงตามป้าย สิ่งที่เราควรทำคือ ปกป้องสิทธิของตัวเอง ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณจอห์นเป็นชาวต่างชาติที่มักซื้อสินค้าจากร้านค้าวิลล่า มาร์เก็ต (Villa market) เป็นประจำ เพราะร้านดังกล่าวจำหน่ายสินค้าต่างๆ มากมาย ทั้งของสด ของแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภคในครัวเรือน รวมทั้งสินค้านำเข้าจากประเทศต่างๆ วันหนึ่ง ภายหลังจากการเลือกซื้อขนมคบเขี้ยวยี่ห้อหนึ่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งป้ายแสดงราคาว่า 49 บาทต่อถุง แต่เมื่อนำไปชำระเงินกลับพบว่ากลายเป็น 59 บาทต่อถุง คุณจอห์นไม่แน่ใจว่าตัวเองดูราคาผิดไปหรือไม่ ดังนั้นเมื่อชำระเงินเสร็จเรียบร้อย เขาจึงกลับไปถ่ายรูปราคาสินค้าจากชั้นวางขายเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน พร้อมสอบถามไปกับผู้จัดการสาขา ผู้จัดการสาขาได้ชี้แจงกลับมาว่าราคา 49 บาทเป็นโปรโมชั่นเก่า อย่างไรก็ตามเมื่อออกมาจากร้านเขาก็ตัดสินใจโทรศัพท์ไปสอบถามที่ร้านดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งพบว่าคำตอบกลับไม่เหมือนเดิม ครั้งนี้ผู้จัดการร้านคนเดิมกลับแจ้งว่า ราคา 49 บาทเป็นโปรโมชั่นล่าสุดสำหรับวันนี้ดังนั้นคุณจอห์นจึงตัดสินใจแวะไปร้านค้าดังกล่าว ในอีกสาขาหนึ่งและซื้อสินค้าชนิดเดียวกัน ซึ่งพบว่าบนชั้นวางขายก็ติดราคาไว้ที่ 49 บาท แต่เมื่อนำมาชำระเงินก็ถูกคิดราคา 59 บาทเช่นเดิม เขาจึงเชื่อว่าการกระทำของร้านค้าดังกล่าว ถือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค จึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ ได้ส่งเอกสารการร้องเรียนไปยังกรมการค้าภายใน เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบพฤติกรรมของร้านค้า โดยขอให้ดำเนินการตามกฎหมายกับร้านค้า และขอให้แจ้งผลการดำเนินการกลับมายังศูนย์ฯ โดยสำหรับกรณีนี้ผู้ร้องมีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน คือ ใบเสร็จรับเงิน และรูปถ่ายราคาสินค้าจากชั้นวางขาย ทำให้ภายหลังได้รับเรื่อง กรมการค้าภายในจึงดำเนินการสั่งปรับ นิติบุคคลของร้านค้า วิลล่า มาร์เก็ต 3,000 บาท และผู้จัดการร้านทั้ง 2 สาขา คนละ 1,500 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลนำจับให้ผู้ร้องอีก ร้อยละ 25 ของราคาปรับ คือ 1,500 บาท

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 186 โดนเชิดเงินหนีหลังจองรถ

แม้คนส่วนใหญ่ต่างมั่นใจว่าการเช่าซื้อรถยนต์ที่ศูนย์บริการจะมีความปลอดภัย แต่หากเราประมาทเพียงเล็กน้อยก็สามารถโดนเชิดเงินจองรถ ที่จ่ายให้กับตัวแทนของบริษัทไปแล้วก็ได้ คุณสุชาติเช่าซื้อรถยนต์มือหนึ่ง รุ่น พรีเมล่า (Premera) จากศูนย์นิสสัน ราคาประมาณ 530,000 บาท โดยจ่ายค่าจองรถไว้ก่อนจำนวน 5,000 บาท ถัดมาอีก 2 วัน พนักงานของบริษัทได้ติดต่อมาว่า ตอนนี้มีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าที่จองรถ ซึ่งหากต้องการรับสิทธิดังกล่าวต้องโอนเงินมาเพิ่มอีก 5,000 บาท เมื่อผู้ร้องได้รับข้อมูลดังนั้นและเชื่อว่าเป็นโปรโมชั่นของบริษัทจริง จึงโอนเงินไปเพิ่ม แต่เหตุการณ์ไม่ได้จบเพียงเท่านี้ เพราะอีก 1 อาทิตย์ถัดมา พนักงานคนเดิมก็โทรศัพท์เข้ามาอีกครั้งเพื่อแจ้งว่า ทางบริษัทต้องการคำยืนยันที่ชัดเจนว่าผู้ร้องยังต้องการรถ ซึ่งทางบริษัทจะนำเข้าหรือสั่งมาให้ตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ โดยสามารถยืนยันสิทธิได้ด้วยการโอนเงินมาเพิ่มอีก 22,000 บาท หลังจากตัดสินใจสักพัก ผู้ร้องก็หลงเชื่อและโอนเงินไปอีกครั้ง ซึ่งหากรวมๆ แล้ว จำนวนเงินที่ผู้ร้องโอนให้พนักงานคนดังกล่าวเป็นจำนวนทั้งสิ้น 32,000 บาทเวลาต่อมาคุณสุชาติก็ได้นัดหมายกับไฟแนนซ์ และพนักงานของบริษัทรถที่เขาโอนเงินไปให้ เพื่อให้มาตกลงเรื่องการส่งค่างวดรถ อย่างไรก็ตามพนักงานคนดังกล่าวกลับบ่ายเบี่ยง และอ้างว่าไม่สะดวกทุกครั้งที่เขานัด ทำให้คุณสุชาติเริ่มไม่พอใจและติดต่อกลับไปยังบริษัทฯ เพื่อสอบถามปัญหา ภายหลังการพูดคุยและสอบถามถึงจำนวนเงินที่โอนไปก่อนหน้านี้ ทางบริษัทฯ กลับแจ้งว่า ไม่เคยได้รับเงินที่คุณสุชาติโอนเข้ามาก่อนหน้านี้เลย และเมื่อติดต่อไปยังพนักงานคนดังกล่าวก็พบว่า เขาได้ลาหยุดมาหลายวันแล้ว และไม่สามารถติดต่อได้ อย่างไรก็ตามเมื่อคุณสุชาติถามถึงการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางบริษัทฯ ก็ตอบกลับว่า ไม่สามารถรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ คุณสุชาติต้องเป็นคนจัดการเอง ซึ่งเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เขาจึงไปแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน และมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ผู้ร้องเข้ามาปรึกษาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ เพื่อต้องการทราบว่าการที่บริษัทฯ ปฏิเสธการรับผิดชอบเช่นนี้ สามารถทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้ชี้แจงกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับเหตุการณ์เช่นนี้ คือ ตามหลักกฎหมายตัวการตัวแทน กำหนดไว้ว่า ตัวการย่อมมีความผูกพันกับบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลาย อันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้กระทำไปในขอบเขตแห่งฐานตัวแทนนั้น หมายถึง การที่ตัวแทนได้ไปกระทำการในนามของบริษัท โดยได้กระทำในขอบเขตที่บริษัทให้ทำ ก็ต้องถือว่าทางบริษัทต้องรับผิดชอบกับตัวแทนนั้นด้วย ปกติบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จะต้องมีตัวแทนคนหนึ่งหรือหลายคนกระทำการแทนบริษัท ตามกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น1. พนักงานของบริษัท เมื่อได้มีการกระทำแทนบริษัทในกิจการภายในวัตถุประสงค์ของบริษัท พนักงานบริษัทจึงถือเสมือนเป็นตัวแทนของบริษัท2. หากทางพนักงานได้ทำการแทนบริษัท โดยได้รับเงินภายในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท ทางบริษัทย่อมมีความผูกพัน ในจำนวนเงินที่พนักงานนั้นได้รับ แต่ถ้าหากพนักงานได้ทำการแทนนอกวัตถุประสงค์แล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นผลผูกพันต่อบริษัท3. ตามที่ผู้ร้องได้ทำการโอนเงินให้กับพนักงาน โดยผู้ร้องเข้าใจว่าพนักงานนั้นเป็นตัวแทนและเป็นผู้มีอำนาจเรียกเก็บเงินของบริษัท จึงถือว่าผู้ร้องได้โอนเงินนั้นไปโดยสุจริต โดยถือว่าบริษัทได้ทำการยอมรับให้พนักงานนั้น เป็นตัวแทนของตนในการรับหรือเก็บเงินของผู้ร้อง เพราะฉะนั้นทางบริษัทจึงต้องรับผิดชอบต่อผู้ร้อง ซึ่งถือเป็นบุคคลภายนอกโดยสุจริต จึงไม่ถือว่าเป็นความผิดของผู้ร้อง4. หากพนักงานบริษัทได้กระทำการใดที่อยู่ในขอบเขตอำนาจตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ถือว่าเป็นการกระทำแทนบริษัท บริษัทจึงต้องรับผิดชอบในการที่พนักงานนั้นได้กระทำแทนบริษัทไป เสมือนกับทางบริษัทได้กระทำการนั้นด้วยตนเอง จากหลักกฎหมายดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นว่า บริษัทฯ ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบจากการกระทำของพนักงานคนดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ เอกสารการจองรถที่ผู้ร้องนำมาเป็นหลักฐานนั้น ไม่ใช่เอกสารการจองฉบับจริงของบริษัท แต่เป็นสำเนาการถ่ายเอกสาร ซึ่งผู้ร้องให้ข้อมูลว่า พนักงานนำใบจองรถที่ถ่ายสำเนามาให้เซ็นชื่อ ซึ่งเขาเชื่อโดยสนิทใจว่าเป็นเอกสารการจองรถของบริษัทจริงๆ โดยมารู้ภายหลังว่าพนักงานคนดังกล่าว ได้แอบนำใบจองฉบับจริงไปถ่ายเอกสาร ซึ่งหากเราไม่สังเกตก็อาจทำให้โดนหลอกได้ง่ายๆ  

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 186 แก้ปัญหารถยนต์ใหม่มือหนึ่งชำรุดบกพร่อง

เมื่อเราซื้อรถยนต์ใหม่มือหนึ่ง ย่อมต้องคาดหวังในประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากับราคา อย่างไรก็ตามใช่ว่ารถยนต์ใหม่มือหนึ่งทุกคันจะไม่มีปัญหากวนใจ ซึ่งเราควรแก้ไขปัญหาอย่างไรลองมาดูเหตุการณ์นี้กันคุณสุนีย์ต้องการซื้อรถยนต์ใหม่มือหนึ่งยี่ห้อ วอลโว่ รุ่น S60 T4F จากบริษัทแห่งหนึ่ง ในราคาเกือบ 2 ล้านบาท อย่างไรก็ตามภายหลังเธอสังเกตเห็นว่าในใบสั่งจองรถยนต์คันดังกล่าว ประทับตราข้อความว่า “รถทดลองขับ/รถผู้บริหารใช้แล้ว” เมื่อสอบถามไปยังผู้จัดการฝ่ายขายก็ได้รับคำตอบว่า ที่ต้องประทับตราข้อความเช่นนั้น เนื่องจากเป็นโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อให้ผู้ร้องผ่อนได้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ ทำให้เธอไม่ติดใจอะไรและตกลงซื้อรถยนต์คันดังกล่าวมาอย่างไรก็ตามเมื่อรับรถมาแล้วประมาณ 4 เดือน เธอพบว่ารถยนต์มีอาการสั่นรุนแรงและสตาร์ทไม่ติด ทำให้ต้องส่งเข้าศูนย์ซ่อม ซึ่งภายหลังศูนย์ได้เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ เพราะมีปัญหาเกิดจากแบตเตอรี่เสื่อม ทำให้เธอข้องใจว่า ทำไมรถยนต์ใหม่ถึงมีปัญหาเช่นนี้ เมื่อสอบถามข้อมูลจึงพบว่ารถคันดังกล่าวผลิตในปี 2014 ทำให้อาจมีปัญหาแบบนี้ได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณสุนีย์จึงมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ เพื่อขอคำปรึกษา เนื่องจากก่อนหน้าที่เธอจะตกลงซื้อรถยนต์คันดังกล่าว ได้แจ้งกับพนักงานแล้วว่าต้องการรถรุ่นใหม่ล่าสุด หรือรุ่นที่ผลิตในหรือ 2015 ไม่ใช่รุ่นเก่าเช่นนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องขอข้อมูลการซ่อมที่ผ่านมาทั้งหมดจากศูนย์บริการ เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นและประวัติต่างๆ พร้อมส่งจดหมายถึง บริษัท วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย เพื่อให้ช่วยตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งภายหลังก็ได้รับการยืนยันว่า รถคันดังกล่าวไม่ใช่รุ่นที่ผู้ร้องต้องการ ดังนั้นตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาจองรถ พบว่าหากบริษัทมีการส่งรถไม่ตรงตามสัญญา เช่น ผิดรุ่นดังกรณีที่เกิดขึ้นนี้ ผู้ร้องสามารถคืนรถคันดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเจรจากับทางบริษัทก็ได้รับการชี้แจงว่า รถยนต์รุ่นนี้ไม่มีการผลิตในปี 2015 ซึ่งรถคันนี้เป็นรถใหม่ แต่อาจจอดทิ้งไว้นานจนทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น แต่ยินยอมรับผิดชอบด้วยการคืนเงินที่ลูกค้าจ่ายไป พร้อมปิดไฟแนนซ์ให้ โดยขอหักค่าเสื่อมจำนวน 60,000 บาท ด้านผู้ร้องยินดีรับข้อเสนอดังกล่าวจึงยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 186 ศัลยกรรมแล้วไม่เป็นที่คิด

การศัลยกรรมในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้ทำศัลยกรรมดูดี หรือมีความมั่นใจในรูปร่างหน้าตาของตนเองมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหากเราตัดสินใจแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งไปแล้ว แต่ไม่พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้เราควรทำอย่างไรคุณปราณีเข้ารับการศัลยกรรมเสริมจมูกและตัดปีกจมูกที่คลินิกแห่งหนึ่ง ในอัตราค่าบริการ 45,000 บาท ภายหลังการผ่าตัด 2 อาทิตย์พบว่า ปีกจมูกไม่เท่ากัน ด้านซ้ายมีการยุบตัวมากกว่าด้านขวา มีขาซิลิโคนนูนออกมาทางด้านขวาของจมูก และมีอาการปวดที่จมูกด้านขวา เธอจึงกลับไปที่คลินิกอีกครั้ง เพื่อให้แพทย์ท่านเดิมตรวจรักษา แต่แพทย์คนดังกล่าวกลับแจ้งว่าต้องรอประมาณ 1 เดือน จมูกจึงจะเข้าที่และหากมีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวดไปก่อน อย่างไรก็ตามด้วยความไม่สบายใจเธอไปเข้ารับการรักษาที่คลินิกแห่งอื่น ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าต้องเอาซิลิโคนออก เนื่องจากเกรงว่าขาซิลิโคนอาจทะลุ ทำให้เธอต้องผ่าตัดใหม่และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังต้องทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บปวดดังกล่าว เธอจึงมีความประสงค์ให้ทางคลินิกเดิมรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น และแจ้งมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังการเจรจาผู้ร้องมีข้อเสนอต่อทางคลินิกคือ ขอให้ชดเชยเยียวยาที่จ่ายไปแล้วจริง และค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องในอนาคตเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท โดยผู้ร้องไม่ได้เรียกร้องค่าทำศัลยกรรมจมูกจำนวน 45,000 บาทคืน ซึ่งทางคลินิกแห่งนี้ได้ชี้แจงว่าสำหรับกรณีของผู้ร้องเป็นกรณีแก้ไข เพราะคนไข้เคยรับการรักษามาแล้วจากคลินิกอื่น ซึ่งคลินิกของตนได้ให้คำปรึกษาและทำการรักษาให้ตามที่คุยและตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตามเมื่อคนไข้ทำการผ่าตัดไหมไป 7 วัน พบว่าคนไข้มีความกังวลเป็นอย่างมาก ว่าจมูกไม่เท่ากัน ทรงจมูกไม่สวยอย่างที่ต้องการ ทางคลินิกจึงแนะนำให้รอสักพัก เพราะศัลยกรรมต้องใช้เวลาเพื่อให้แผลหายดีและเข้าที่ภายใน 3-6 เดือน ซึ่งในขณะนั้นจมูกของคนไข้ยังมีอาการบวมอยู่ ต่อมา 2 อาทิตย์ คนไข้ได้เข้ามาให้แพทย์ดูอีกครั้งว่า มีตุ่มข้างในรูจมูกด้านขวา แพทย์ได้ทำการตรวจและนำแนะให้คนไข้ว่า อาจเป็นอาการบวมที่ยังไม่ยุบดี หรือเป็นแผลนูนจากการผ่าตัด ซึ่งเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับชนิดของผิวคนไข้ หรืออาจจะเป็นปลายซิลิโคน ที่ยังไม่เข้าที่ แพทย์จึงแนะนำให้คนไข้ฉีดยา และทานยา เพื่อลดอาการอักเสบ และอาการบวม ซึ่งต้องรอเป็นเวลา 1 อาทิตย์ จึงจะยุบลง นอกจากนี้ได้อธิบายขั้นตอนการดูแลรักษา แต่คนไข้ไม่พอใจและเรียกร้องให้คลินิกรับผิดชอบ ซึ่งคลินิกเห็นว่าการทำศัลยกรรมต้องรอคอย เพราะแต่ละกรณีการหายของแผลไม่เหมือนกัน แต่คนไข้ปฏิเสธที่จะรักษาและเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งทำให้ทางคลินิกเห็นว่าเกินกว่าเหตุ เพราะไม่ได้ทำให้คนไข้พิการหรือจมูกผิดรูป ดังนั้นจะยินยอมเยียวยาค่าเสียหายให้เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เป็นค่าเอาซิลิโคนออกให้ ซึ่งถ้าทางผู้เสียหายไม่พอใจ สามารถดำเนินคดีทางกฎหมายได้     เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ และต้องดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่ต้องการทำศัลยกรรม จำเป็นต้องเก็บหลักฐานต่างๆ เอาไว้ให้ครบถ้วนเผื่อในกรณีที่เกิดปัญหาเช่นนี้ โดยควรถ่ายรูปเปรียบเทียบให้ชัดเจน สำหรับก่อนและหลังทำศัลยกรรม ใบเสร็จรับเงิน รวมถึงใบรับรองแพทย์ที่น่าเชื่อถือ เมื่อเราเข้ารับคำปรึกษาเพื่อแก้ไขในส่วนต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 186 ซื้อทัวร์แล้ว แต่เดินทางไม่ได้

เมื่อต้นปีที่แล้วได้มีข่าวเกี่ยวกับสายการบิสซิเนส แอร์ ที่ถูกกรมการบินพลยกเลิกการบิน เนื่องจากยังไม่ชำระหนี้ที่ค้างไว้ ทำให้ทัวร์ชาวไทยตกค้างที่ประเทศเกาหลีและสนามบินดอนเมืองจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในคณะทัวร์ที่ได้รับความเสียหายครั้งนั้น ก็ส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอคำปรึกษาผู้ร้องซื้อโปรแกรมทัวร์ให้คณะนักศึกษากับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเดินทางโดยสารการบินของบริษัท บิสซิเนสแอร์เซ็นเตอร์ จำกัด โดยมีกำหนดเดินทางวันที่ 20 – 23 ม.ค. 2558 อย่างไรก็ตามเมื่อถึงกำหนดการกลับผลว่าไม่สามารถเดินทางได้ ซึ่งในขณะนั้นทางบริษัททัวร์ได้มีการเจรจาและตกลงกับผู้ร้องว่า ให้ผู้ร้องออกเงินค่าตั๋วใหม่จำนวน 100,000 บาทไปก่อน แล้วทางบริษัททั้งสองจะร่วมกันจ่ายให้ภายหลัง ผู้ร้องจึงยินยอมและเดินทางด้วยสายการบินอื่นแทน อย่างไรก็ตามปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้นเมื่อผู้ร้องได้ทำหนังสือขอคืนเงิน แต่ทางบริษัทก็ไม่มีการตอบรับใดๆ ทำให้เขาต้องมาร้องเรียนเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาจากกรณีนี้ในเบื้องต้นพบว่า หากกรมการบินพลเรือนสามารถดูแลหรือแจ้งข่าวสาร สถานะความสามารถในการให้บริการของบริษัทการบินต่างๆ ให้ผู้โดยสาร รวมทั้งบริษัททัวร์รับทราบได้ ก็อาจไม่เกิดปัญหาจ่ายเงินไปแล้วแต่เดินทางไม่ได้เช่นนี้ ทั้งนี้ศูนย์ฯ ได้ช่วยเหลือผู้ร้องด้วยการแนะนำให้รวบรวมเอกสารต่างๆ มาให้เพิ่มเติม ได้แก่ จดหมายทวงถาม หนังสือขอคืนเงิน เอกสารการติดต่อกับสายการบิน จากนั้นจึงช่วยติดต่อกับทางสายการบินดังกล่าว ซึ่งตัวแทนของบริษัททัวร์แจ้งว่าจะมีการคืนเงินให้ผู้ร้องปลายปีนี้  โดยเหตุที่ล่าช้าและไม่สามารถดำเนินการบินได้ เนื่องจากสายการบินประสบปัญหาถูกสั่งห้ามบิน และมีการฟ้องร้องอยู่ในชั้นศาลปกครอง อย่างไรก็ตามจะรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว ด้วยการคืนค่าตั๋วเครื่องบินให้กับผู้ร้องตามจำนวนที่จ่ายไปเพิ่มเติม คือ 100,000 บาท แต่ขอแบ่งชำระเป็น 2 งวด งวดละ 50,000 บาท ซึ่งผู้ร้องยินดีกับข้อเสนอดังกล่าว แต่เหตุการณ์ไม่ได้จบลงเพียงเท่านี้ เพราะเวลาต่อมาบริษัทฯ ก็แจ้งกลับมาอีกครั้งว่า ก่อนหน้านี้บริษัทฯ อยู่ในระหว่างการยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเจ้าหนี้บางรายคัดค้าน อาจทำให้กระบวนการชำระหนี้ล่าช้า แต่ขณะนี้การที่กรมการบินพลเรือนได้เพิกถอนใบอนุญาตของบริษัทฯ ทำให้ภายหลังบริษัทฯ ต้องถอนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ เพราะไม่สามารถประกอบกิจการได้ ผู้ร่วมทุนของบริษัทรายใหม่ก็ถอนหุ้นไปเกือบหมด บริษัทฯ จึงไม่มีเงินที่จะดำเนินกิจการ แต่บริษัทฯ จะยังคงหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ เพื่อที่จะดำเนินการกิจการต่อไป และประสงค์ที่จะยื่นฟื้นฟูกิจการอีกครั้ง เนื่องจากคิดว่าหากมีการฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ ก็สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และขอนำเรื่องผู้ร้องเข้าที่ประชุมของบริษัทฯ  เพื่อพิจารณาเรื่องจำนวนเงินที่จะผ่อนชำระให้ผู้ร้องอีกครั้ง ทั้งนี้ภายหลังทางบริษัทฯ ก็เสนอกลับมาว่า สามารถผ่อนจ่ายให้ผู้ร้องได้เดือนละ 2,000 บาท จนกว่าจะสามารถฟื้นฟูกิจการได้ ซึ่งเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ผู้ร้องก็ต้องยินยอมข้อเสนอดังกล่าวไป

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 185 ทำไมประกันภัยจ่ายไม่ครบ

ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดให้รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องทำประกันภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามประกันภัยดังกล่าวก็สามารถสร้างความสับสนให้กับผู้ทำประกันในส่วนของการชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสุชาติประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้ม จึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไปทั้งสิ้น 2,800 บาท อย่างไรก็ตามเขารู้ว่าได้ทำประกันภัยกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยภัยจากรถ (คปภ.) ไว้ จึงนำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวไปเบิกกับบริษัทฯ แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งว่าไม่สามารถเบิกได้เต็มจำนวน โดยจะชดเชยให้เพียง 520 บาทเท่านั้น ทำให้เขาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม จึงไม่ยินยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวและมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดไว้ว่า สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อหนึ่งคน ศูนย์ฯ จึงส่งเรื่องร้องเรียนของคุณสุชาติไปไปสอบถามยัง คปภ. โดยแนบสำเนาใบเสร็จรับเงินของผู้ร้องไปด้วย ซึ่งภายหลังทางบริษัทฯ ได้ชี้แจงกลับมาว่า “คปภ. ได้พิจารณาจ่ายรักษาพยาบาลคืนให้ผู้ร้องเป็นจำนวน 2,280.18 บาท โดยไม่สามารถจ่ายเงินเต็มจำนวนคืนให้ได้ เพราะผู้ร้องเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุและทำประมาทเอง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้กำหนดให้บริษัทประกันภัย บริษัทกลางประกันภัย จำกัด กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถดำเนินการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ตามจำนวนจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินสูงสุด โดยให้จ่ายแต่ละรายการในอัตราไม่เกินราคาสูงสุดที่กำหนดตามมาตรฐานกลางของรายการ ซึ่งจากกรณีของผู้ร้องมีค่าใช้จ่ายที่เกินราคากลางไปจำนวน 520 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ผู้ร้องจำเป็นต้องจ่ายเอง” สรุปว่า คปภ. จ่ายได้ในแต่ละรายการไม่เกินอัตราสูงสุดที่ประกาศกำหนดไว้ ซึ่งกรณีของผู้ร้องนั้นสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 2,280.18 บาท ขาดไปจากที่จ่ายจริง 520 บาท ซึ่งผิดกับที่ผู้ร้องเข้าใจในตอนแรกว่าบริษัทฯ จะชดเชยให้เพียง 520 บาทเท่านั้น ภายหลังได้รับการชี้แจง ผู้ร้องก็ยินดีรับเงินจำนวนดังกล่าวและยุติการร้องเรียนทั้งนี้สำหรับใครที่ต้องการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ต้องติดต่อกับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยเตรียมหลักฐานต่างๆ ดังนี้1. กรณีบาดเจ็บ1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย2. กรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บต่อมาทุพพลภาพ นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม ข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์ หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ พร้อมทั้งสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติมด้วย3. กรณีเสียชีวิต 3.1 สำเนามรณะบัตร 3.2 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน 3.3 สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยอย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ  http://www.rvp.co.th หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) http://www.oic.or.th/ และสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วน 1791

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 185 ห้องพักไม่เหมือนในโฆษณา

แม้ว่าการหาห้องพักผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะเป็นทางเลือกที่สะดวกสบาย แต่เราสามารถมั่นใจได้จริงหรือว่า รูปภาพและคำโฆษณาต่างๆ จะตรงกับความจริงเสมอไปเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้เกิดขึ้นกับคุณสมใจ เธอต้องการเช่าหอพักรายเดือน จึงหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ชื่อดัง ในที่สุดเมื่อเจอหอพักที่ถูกใจก็ติดต่อไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ ซึ่งภายหลังการพูดคุยผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ผู้ดูแลหอก็ส่งรูปภาพของห้องพักมาให้ดู เพื่อย้ำว่าเป็นรูปจริงที่เพิ่งถ่ายไม่นานมานี้ ซึ่งรูปภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นสภาพภายในห้องที่ดูน่าอยู่สวยงาม คุณสมใจจึงตัดสินใจตกลงเช่าห้องดังกล่าว โดยโอนเงินมัดจำไปให้ก่อนจำนวน 2,000 บาท โดยตกลงว่าจะย้ายของเข้ามาอยู่ในวันถัดไปเมื่อคุณสมใจมาถึงหอพัก เธอกลับต้องตกใจกับสภาพห้องที่ไม่เหมือนในโฆษณาเลย เช่น มีรูปเตียงนอนอย่างดีโฆษณา แต่ความจริงมีเพียงแค่ฟูกให้นอนเท่านั้น อย่างไรก็ตามเธอก็ไม่มีทางเลือก เพราะขนข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มาแล้วเรียบร้อย ทำให้จำต้องพักอยู่ที่ห้องดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งคืน และรอติดต่อเจ้าของหอพักในวันรุ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหลังเธอแจ้งว่าไม่ต้องการอยู่ห้องนี้แล้ว เพราะเห็นว่าสภาพแย่มากไม่เหมือนกับในโฆษณาทางเว็บไซต์ และต้องการเงินมัดจำคืนก็ได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถคืนเงินให้ได้ คนอื่นก็ต้องจ่ายแบบนี้ทั้งนั้น ทำให้เธอเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม จึงส่งเรื่องเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอคำแนะนำ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องส่งภาพห้องพักมาให้เพิ่มเติม พร้อมเข้าไปตรวจสอบโฆษณาของหอพักดังกล่าว ผ่านทางเว็บไซต์ก็พบข้อความโฆษณาว่า หอพักพร้อมเฟอร์นิเจอร์สภาพใหม่ ราคาเริ่มต้นที่ 2,000 – 2,800 บาท มีคีย์การ์ดและกล้องวงจรปิด โดยมีรูปประกอบเป็นสภาพห้องพักที่ดูน่าอยู่สวยงาม ซึ่งตรงกันข้ามกับรูปภาพจริงที่ผู้ร้องส่งมาให้ดู  สำหรับกรณีนี้อาจถือได้ว่าเป็นการโฆษณาเกินจริง โดยมีการโฆษณาด้วยข้อความและรูปภาพที่ทำให้ผู้ร้องเข้าใจผิด จนตกลงไปเช่าห้องพักดังกล่าว ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน โดยผู้ร้องสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ อย่างไรก็ตามในเบื้องต้น ศูนย์ฯ แนะนำให้มีการเจรจากับเจ้าของหอพักดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งเธอแจ้งกลับว่าให้ทางครอบครัวช่วยเจรจาให้ โดยทางเจ้าของหอยินยอมให้เปลี่ยนห้องใหม่ได้ แต่จะไม่คืนเงินมัดจำ ซึ่งภายหลังเธอได้ดูห้องอื่นๆ ของทางหอพักก็ตกลงเช่าอยู่ต่อ และยินดียุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 185 น้ำซึมเข้าห้องพักทำของเสียหาย ใครรับผิดชอบ

ปัญหาน้ำรั่วซึมภายในห้องพัก นับเป็นเรื่องกวนใจผู้เช่าอย่างมาก เพราะสามารถทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งเราสามารถเรียกร้องให้ทางหอพักชดเชยค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ดังเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้คุณปาริชาตเช่าห้องพักอยู่แถวปิ่นเกล้า วันดีคืนดีมีน้ำสกปรกออกมาจากท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ และภายหลังได้ล้นเข้ามาจนถึงห้องนอน ทำให้ทรัพย์สินภายในห้องเสียหาย ซึ่งรวมๆ แล้วเป็นมูลค่ากว่า 8,000 บาท เธอจึงไปแจ้งเจ้าของห้องเช่าเพื่อให้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่เจ้าของก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมมาพบหน้า ทำให้เธอร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังเจ้าของหอพักได้รับการติดต่อก็ยินดีที่จะรับผิดชอบ โดยรับปากว่าจะดำเนินการซ่อมแซมท่อน้ำและจะชดใช้ค่าเสียหายให้ 1,000 บาท ด้านผู้ร้องเห็นว่าเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป ศูนย์ฯ จึงแนะนำให้ผู้ร้องเสนอจำนวนเงินที่ต้องการให้เจ้าของหอรับผิดชอบอย่างไรก็ตามเมื่อมีการเจรจาอีกครั้ง เจ้าของหอเสนอค่าชดเชยความเสียหายที่ราคา 2,000 บาท และแจ้งว่าหากผู้ร้องไม่พอใจสามารถย้ายออกได้และจะคืนเงินค่าประกันให้ ทำให้ผู้ร้องต้องยินยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวไป เพราะเธอไม่ต้องการย้ายออก เนื่องจากหอพักดังกล่าวอยู่ใกล้ที่ทำงาน ทั้งนี้หากเจ้าของหอพักไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือซ่อมแซมท่อน้ำดังกล่าว ผู้ร้องสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เพราะอาจเข้าข่ายความผิดตามหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้เช่า ตามมาตรา 550 ที่กำหนดให้ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องและจัดการซ่อมแซม ซึ่งไม่สามารถปัดภาระการซ่อมมาให้ผู้เช่าห้องได้ เพราะตามมาตรา 547 กำหนดให้ผู้เช่าเสียค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติ และเพื่อซ่อมแซมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 185 ทันเล่ห์ประกันภัย

ต้องยอมรับว่าธุรกิจประกันภัย มีการแข่งขัน และแย่งชิงลูกค้ากันสูงมาก   หากการแข่งขันนั้น เป็นการแข่งขันกันด้านคุณภาพ  สื่อตรง มีธรรมาภิบาล คงเป็นความโชคดีของผู้บริโภค   และคงสร้างความตื่นตัวให้ผู้บริโภค มีความต้องการที่จะทำประกันมากขึ้น  แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น จากข้อมูลเรื่องร้องเรียนปรากฏชัดว่า มีปัญหาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  เช่น ประกันภัยผู้สูงอายุ ที่ระบุว่า ไม่ต้องถามโรค  แต่พอพบว่า เมื่อป่วยเข้าจริง หลายรายกลับถูกบอกเลิกสัญญา โดยใช้ข้อกฎหมายว่าหากบริษัทเห็นว่ามีความเสี่ยง  บริษัทมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ รวมถึงเทคนิคต่างๆ ในการจ่ายคืนสินไหมล่าช้า ฯลฯ จนทำให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่เข็ดขยาดกับบริษัทประกันภัย           ล่าสุดได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า  ถูกเชิญชวนให้จ่ายเงินซื้อประกันชีวิตเพิ่ม โดยไม่รู้ว่าถูกหลอกจ่ายเงินไปแล้ว ต่อมาภายหลังจึงเพิ่งนึกได้ว่าน่าจะถูกหลอก  เรื่องมีอยู่ว่า “คุณมา”(นามสมมุติ)ได้ซื้อประกันชีวิตกรณีอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต เบี้ยประกันปีละ 2,100 บาท(วงเงินประกัน 4 แสนบาท) จะได้เบี้ยประกันต่อเมื่อเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเท่านั้น   ต่อมาได้รับโทรศัพท์จากตัวแทนบริษัทประกันภัย  แจ้งว่ามีทางเลือกที่ดีกว่ามาให้  เพราะการซื้อประกันอุบัติเหตุนั้นหากไม่เกิดอุบัติเหตุ เงินก็จะสูญเปล่า พร้อมเชิญชวนให้ซื้อประกันแบบสะสมเป็นรายปี  เสียชีวิตจากเหตุใดก็จะได้สินไหมทันที โดยเพิ่มวงเงินประกันเป็น 6 แสนบาท แต่ต้องจ่ายเบี้ยประกันปีละ 14,000  บาท  ตอนถูกชวนไม่ทันคิดเลยตอบตกลงและจ่ายเงินไป   เมื่อได้กรมธรรม์จึงได้อ่านรายละเอียด ทำให้ทราบว่า กรณีจะได้เงินประกันจากเหตุใดก็ได้ตามที่เจ้าหน้าที่กล่าวอ้างแต่จะต้องเลย 2 ปีขึ้นไป หรือ  หากตายก่อนเวลา 2 ปี ก็ต้องตายจากอุบัติเหตุถึงจะได้สินไหมจากบริษัท  แต่ถ้าตายจากโรคทั่วไปบริษัทจะไม่จ่ายสินไหม  แต่จะคืนวงเงินที่ซื้อประกันไว้พร้อมดอกเบี้ย 10%  เมื่อคิดดูแล้ว จึงรู้ว่าเสียท่าบริษัทประกันภัย เพราะต้องจ่ายเงินซื้อประกันมากกว่าเก่าถึง 5 เท่า แต่การคุ้มครองเพิ่มเพียงเล็กน้อย        กระบวนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนก็ดำเนินต่อไป  ที่เขียนมาเพื่อให้ข้อมูลกับผู้บริโภคว่า ก่อนตัดสินใจซื้อประกันฯ โปรดอ่านรายละเอียดในสัญญาให้รอบคอบ          

อ่านเพิ่มเติม >