นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 166 แจกคูปองดิจิตอล

ปี่กลอง...แห่งเทศกาล  การแจกคูปองทีวี “ดิจิตอล” เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากระบบ อนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล    เริ่มยกแรกไปแล้วและยกที่สองกำลังเริ่ม มีทั้งชื่นบานและขมขื่น  กล่าวคือมีทั้งผู้ที่ได้คูปองเรียบร้อยแล้วกับผู้ที่ยังไม่ได้คูปอง ปัญหาที่เจอของผู้ที่ยังไม่ได้รับคูปองมีหลายเหตุผล  ทั้งผู้ที่อยู่ห้องเช่า ไม่มีเลขที่บ้าน  บ้านที่มีเลขที่บ้านแต่ไม่มีคนอยู่  มีชื่อในทะเบียนบ้าน หลังจากที่ กสทช. กำหนดผู้ที่มีสิทธิได้รับคูปอง  ผู้ที่ตกสำรวจ  ฯลฯ  แต่เหตุผลที่ผู้เขียนติดใจคือ บ้านที่มี”เลขที่บ้านมีคนอยู่บ้าน”  แต่ถูกตีความว่า ไม่มีเจ้าบ้านตามข้อมูลของกรมการปกครอง ผู้เขียนรับเรื่องร้องเรียนกรณีนี้จำนวนมาก  จากการซักถามทำให้ทราบว่า เหตุที่ถูกตีความว่า ไม่มีเจ้าบ้านเพราะเจ้าบ้านเดิม ซึ่งเป็นพ่อหรือแม่  เสียชีวิต(ในทะเบียนบ้านก็ตีตัวแดงไว้ว่าเสียชีวิตแล้ว) ลูกๆ ก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆ คิดว่ารายชื่อต่อไปจะได้เป็นเจ้าบ้านแทนโดยอัตโนมัติ  และก็อยู่มาอย่างนั้น  ไม่มีปัญหาอะไร  แม้เข้าไปติดต่อราชการที่อำเภอก็ไม่มีคำแนะนำให้ดำเนินการใดๆ ผู้เขียนได้มีโอกาสถามเจ้าหน้าที่จากกรมการปกครองว่าทำไมถึง ตีความเช่นนั้น ในเมื่อบ้านเขามีคนอยู่ทำไมไปตัดสิทธิเขา  คำตอบที่ได้รับคือ ให้ไปไม่ได้หากในบ้านมีหลายคนใครจะเป็นคนรับ  เดี๋ยวทะเลาะกันตาย(อ้าว...ถึงกับงง..) เพราะว่า กสทช.แจกตามเลขที่บ้าน ใครมีเลขที่บ้านก็ต้องให้เขา   ได้ไปแล้วเขาก็จัดการกันเองได้แค่  690  บาท เท่านั้นเอง ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้แนะนำเพิ่มเติมว่า   ให้คนที่อยู่ในทะเบียนบ้านคนใดคนหนึ่ง  นำทะเบียนบ้านไปที่อำเภอขอเป็นเจ้าบ้าน  เรื่องก็จะเรียบร้อย   ผู้เขียนก็แนะนำให้ดำเนินการตามนั้น  ปัญหาก็ยังไม่จบเพราะเท่ากับว่าเป็นเจ้าบ้าน หลังจากกำหนดจำนวนการแจกคูปอง อีกทำให้ยังไม่ได้สิทธิรับคูปอง ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นมีสิทธิที่จะได้รับคูปอง  แต่เขาไม่ได้สิทธิเพราะการตีความของกรมการปกครองท้องถิ่น  เรื่องนี้คงต้องติดตามการแจกคูปอง  และขั้นตอนการแก้ปัญหาของ กสทช. ต่ออย่างเข้มข้น  เพื่อไล่ล่าตามหาสิทธิ   เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการรับชมทีวีผ่านระบบดิจิตอล   ตามเป้าหมาย ของกสทช.กันต่อไป   ใครที่ยังไม่ได้รับคูปองโทรไปร้องเรียนได้ที่ 1200  สายด่วน กสทช.

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 166 เสียงผู้บริโภค

ระวังสาหร่ายปลอม ช่วงนี้ปลายปี อากาศเริ่มหนาว ถ้าได้กินต้มจืดใส่สาหร่ายร้อนๆ ซักถ้วยคงจะดีว่ามั้ยครับ  อาหารอร่อย หาง่าย ใครก็ชอบ แต่สาหร่ายที่วางขายกันในตลาดทุกวันนี้ก็มีหลายชนิดหลายยี่ห้อ  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า นั่นคือสาหร่ายจริง.... วันที่ 2  พฤศจิกายน  2557 ที่ผ่านมา คุณสายฝน ได้โทรศัพท์เข้ามาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคว่า ได้ซื้อสาหร่ายอบแห้งห่อหนึ่งมาจากตลาดสดในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อนำมาทำอาหารรับประทานกันในครอบครัว แต่เมื่อนำสาหร่ายมาแช่ในน้ำ กลับพบว่าสาหร่ายดังกล่าวขยายตัวเป็นแผ่น ลักษณะเหนียวๆ เป็นยางยืดคล้ายกับถุงพลาสติกสีดำ แต่ยังคงมีกลิ่นและสีสันคล้ายกับสาหร่ายที่เคยซื้อมารับประทาน  แต่คุณสายฝนรู้สึกผิดปกติจึงไม่นำมาทำอาหารต่อ  เพราะกลัวว่าเมื่อรับประทานไปแล้วจะเป็นอันตราย จึงโทรศัพท์มาร้องเรียนเพื่อขอความช่วยเหลือ ให้มูลนิธิฯ ช่วยตรวจสอบหน่อยว่ามันเป็นอะไรกันแน่ “ ปกติที่บ้านก็ซื้อสาหร่ายมากินเป็นประจำ แต่นี่เห็นว่าเป็นยี่ห้อใหม่ ราคาไม่แพง เลยลองซื้อมา ป้าไม่คิดว่าจะเจอของปลอมแบบนี้ ” เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ  ได้สอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และขอให้คุณสายฝนเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ทั้งหมด   ในกรณีนี้คือ ห่อบรรจุภัณฑ์ของสาหร่าย และตัวผลิตภัณฑ์สาหร่าย เพื่อตรวจสอบฉลาก  และต้องนำตัวอย่างสาหร่ายที่ยังไม่ได้นำมาทำอาหารส่งหน่วยงาน เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ อย. เพื่อให้ตรวจสอบว่าเป็นสาหร่ายปลอมหรือไม่   และเบื้องต้นพบว่าบรรจุภัณฑ์ของสินค้าไม่มีการรับรองจากทาง อย. ไม่มีแหล่งที่ผลิตสินค้า ผู้นำเข้าด้วย ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522  หากพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 6 (10)  มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีลักษณะเป็นอาหารปลอม ผู้ประกอบการเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 25 (2) มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000  บาท ถึง 100,000  บาท ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลสองด้าน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ ฯ  จึงประสานไปยังศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่สะเรียง เพื่อลงพื้นที่ซื้อตัวอย่างสาหร่ายยี่ห้อดังกล่าวในตลาดสดอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอใกล้เคียงว่า สินค้ายังมีขายอยู่หรือไม่ เพื่อนำมาตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย จึงขอให้ผู้บริโภคต้องมีความตระหนักถึงความปลอดภัยด้านอาหารด้วยเช่นกัน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารแต่ละชนิดควรต้องดูสินค้าที่มีฉลากภาษาไทยระบุชื่ออาหาร ชื่อบริษัทผู้ผลิต/ผู้นำเข้า สถานที่ตั้ง ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุชัดเจน     อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 เรื่องพบสาหร่ายปลอมที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลายเป็นข่าวฮือฮา ลงหน้าหนึ่งในสื่อต่างๆ รวมถึงโซเชียลมีเดียเกือบทุกที่ โดยมีข่าวว่าสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) จะลงไปตรวจสอบสินค้าในอำเภอแม่สะเรียง ดังนั้นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายของปลอมจึงไหวตัวทันเก็บสินค้าออกจากตลาดไปทั้งหมด ก่อนที่พี่น้องศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดจะลงไปเก็บตัวอย่างสินค้านั้น ผลพิสูจน์เบื้องต้นออกเมื่อ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เผยผลตรวจสอบสาหร่ายดังกล่าว(ที่เป็นข่าวในโซเชียล)  พบว่าไม่ใช่สาหร่ายปลอม หลังชาวบ้านแม่ฮ่องสอนร้องเรียนให้ตรวจสอบ ยันเป็นเซลล์สาหร่ายชัด ไร้พลาสติกปลอมปน ส่วนความเหนียวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์สาหร่าย คาด 2 สัปดาห์ รู้ผลตรวจปนเปื้อนโลหะหนักหรือไม่ ย้ำมีความผิดฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับ 3 หมื่นบาท นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า “ กรณีชาวบ้าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้องเรียนต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สาหร่ายยี่ห้อหนึ่ง หลังพบซื้อมาประกอบอาหารแล้วมีความผิดปกติ เหนียวคล้ายกับพลาสติก ว่า เบื้องต้น สสอ.แม่สะเรียงได้ตรวจสอบสาหร่ายดังกล่าวแล้ว โดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ พบว่า เห็นเซลล์สาหร่ายชัดเจน ส่วนที่มีลักษณะเหนียวคล้ายพลาสติกนั้นขึ้นอยู่ที่พันธุ์ของสาหร่าย เพราะสาหร่ายแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะความเหนียว ความยืดหยุ่นต่างกัน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถือว่ามีความผิดในเรื่องฉลากไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีชื่อผู้ผลิต และสถานที่ผลิต อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบสถานที่จำหน่ายไม่พบสินค้าดังกล่าวแล้ว เนื่องจากผู้จำหน่ายทราบข่าวจึงส่งสินค้าคืนต้นทางที่รับมาจาก จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง อย. จะตรวจสอบต่อไป ส่วนร้านอื่นๆ ในพื้นที่ก็ไม่พบการจำหน่ายสาหร่ายดังกล่าวเช่นกัน แต่หากผู้ใดจำหน่ายอาหารที่มีฉลากไม่ถูกต้องจะมีโทษปรับ 30,000 บาท ทั้งนี้สาหร่ายดังกล่าวไม่ใช่สาหร่ายปลอม ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตได้โดยนำไปแช่น้ำจะสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าสีของสาหร่ายจะไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากเม็ดสีกระจายไม่เท่ากัน ส่วนขอบไม่เรียบ มีรอยหยัก เนื้อสัมผัสลื่น ไม่แข็งกระด้าง มีกลิ่นคาว และมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์ของสาหร่าย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการปนเปื้อนโลหะหนัก จำพวกสารหนู ตะกั่ว และปรอทนั้น ได้นำส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.เชียงใหม่แล้ว คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์จะทราบผล  ” สุดท้ายข่าวสาหร่ายนี้ แม้ผลการตรวจจะพบว่าไม่ใช่สาหร่ายปลอม อย่างที่หลายคนสงสัยกัน แต่ก็ยังไม่มีผลตรวจสอบใดยืนยันได้ว่า สาหร่ายนี้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนชนิดอื่น เนื่องจากผลิตภัณฑ์สาหร่ายนี้ก็ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่มีเลขที่ อย. กำกับไว้ ซึ่งผู้บริโภคต้องมีความระมัดระวังในการบริโภคเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี หากผู้บริโภคพบเห็นการนำเข้าหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สาหร่ายโดยไม่มีฉลากภาษาไทย หรือสงสัยว่าจะเป็นของปลอม สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือ สายด่วน อย. 1556 ได้ทันที ขอขอบคุณข้อมูลสัมภาษณ์ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   อุทาหรณ์ ของ ลูกหนี้ ที่ทำสัญญา  “ขายฝาก” ธุรกิจรับจำนำ  ขายฝาก  เฟื่องฟูมากในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงเปิดเทอม เงินในกระเป๋าของผู้ปกครองคงชักหน้าไม่ถึงหลัง  ช่วงนี้โรงรับจำนำ  ร้านทอง  จึงเนื่องแน่นไปด้วยผู้คนที่นำทรัพย์สินมาจำนำเพื่อหาเงินไปต่อชีวิตตัวเอง   กรณีคุณรัชนี ก็เช่นกัน  แต่เธอไม่ได้พึ่งพาโรงรับจำนำ  กรณีของเธอคือ นำเครื่องไอโฟน 5  ไปทำสัญญาขายฝากกับร้านโทรศัพท์มือถือ  เพราะต้องการใช้เงินด่วนมาก คุณรัชนีได้เงินมา 7,000 บาท    โดยตกลงกับร้านว่าครบกำหนดไถ่ถอน ในวันที่ 27 ตุลาคม 57 จะต้องนำเงินไปไถ่ถอนจำนวน 7,700  บาท  แต่ปรากฏว่าเธอไม่ได้ไปไถ่ถอนตามกำหนด      เพราะหาเงินไม่ทันและคิดว่าไม่เป็นไร เพราะร้านอื่นที่เคยทำสัญญาขายฝากไม่เคยมีปัญหาอะไร  ถ้าเลยกำหนดไปบ้าง  ในวันที่  28 ตุลาคม  จึงได้ติดต่อไปที่ร้านโทรศัพท์ ล่าช้าไปเพียง  1  วัน  เธอบอกว่าไม่สามารถติดต่อได้แล้วและหลังจากนั้นอีกวันเธอเดินทางไปที่ร้านโทรศัพท์  แต่เจ้าของร้านบอกว่าขายโทรศัพท์ไปแล้ว  แกรู้สึกเสียดายโทรศัพท์อยากได้คืน  จึงมาปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี ศูนย์พิทักษ์สิทธิได้รับฟังปัญหา  ได้ชี้แจงเบื้องต้นให้กับผู้ร้องฟังว่า การขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายประเภทหนึ่ง   ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันที แต่มีข้อตกลงว่าผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ภายในเวลาที่กำหนด  โดยต้องชำระค่าไถ่ถอนตามที่ตกลงกัน เรียกว่า สินไถ่ สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์โดยมีข้อตกลงว่า ให้ผู้ขายมีสิทธิมาไถ่ทรัพย์สินที่ขายคืนได้ภายในกำหนดระยะตามที่ตกลงกัน  ซึ่งสัญญาประเภทนี้ หากผู้ขายฝากทราบอยู่แล้วว่าจะไถ่ถอนไม่ทัน ผู้ขายฝากสามารถที่จะแจ้งต่อผู้ซื้อฝากก่อนครบกำหนดไถ่ถอนได้   แต่ต้องทำข้อตกลงการขยายระยะเวลาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน   แต่หากไม่ติดต่อและไม่ไถ่ถอนตามกำหนด  ร้านค้าจะยึดทันทีโดยเฉพาะทรัพย์สินที่มีราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด  ร้านค้าได้กำไรงาม จึงเห็นได้ว่าสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่เอาเปรียบผู้ขายฝากเป็นอย่างยิ่ง และยิ่งหากเผลอไผลไม่ไปไถ่ถอนในกำหนดเวลาก็จะต้องเสียกรรมสิทธิทันที   ต่างกับ “สัญญาจำนำ” ที่ผู้รับจำนำต้องมีแนวปฏิบัติก่อนยึดทรัพย์จำนำดังนี้ 1.ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ลูกหนี้จัดการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ (ถ้ามี) ภายในเวลาอันสมควรซึ่งได้กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าว 2. ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามหนังสือบอกกล่าว ผู้รับจำนำมีสิทธินำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้ 3. ผู้รับจำนำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนำทราบถึงวันที่จะขายทอดตลาดและสถานที่ที่จะขายทอดตลาด ข้อยกเว้น แต่ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่าเวลาที่กำหนด 1 เดือน และไม่สามารถจะบอกกล่าว ก่อนได้ผู้รับจำนำไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบก่อนแต่อย่างใด ผู้รับจำนำมีอำนาจนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้ทันที (ป.พ.พ. มาตรา 765) เรื่องนี้จึงเป็นอุทาหรณ์ แก่ผู้ที่จะนำทรัพย์สินไปขายฝาก   ต้องรู้ว่าหน้าที่ของตนเองต้องไปไถ่ถอนตามเวลา  เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ซื้อทรัพย์   หมอผ่าตัดผิดพลาด ต้องรับผิดชอบ ! คดีนี้ถือเป็นคดีตัวอย่างที่ผู้เขียนอยากจะเผยแพร่ เพื่อให้เห็นถึงการวินิจฉัยและการใช้กฎหมายที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคอย่างแท้จริง... เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 นางกรวรรณ ได้ไปโรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ด้วยอาการปวดท้องมาหลายวัน แต่อาการไม่ดีขึ้น เบื้องต้นแพทย์เวรได้ตรวจโดยการเอ็กซ์เรย์ปอดและเจาะเลือดพร้อมสังเกตอาการไปด้วย  ต่อมา นายแพทย์ ก. แพทย์ประจำแผนกสูตินรีเวช ผู้ทำการรักษาได้ตรวจนางกรวรรณด้วยวิธีใช้มือกดที่บริเวณท้องและแจ้งว่าน่าจะเป็นเนื้องอกขนาดใหญ่มาก จึงรีบดำเนินการผ่าตัดโดยด่วนโดยไม่มีการตรวจอัลตราซาวน์ก่อน  ภายหลังการผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้องปรากฏว่านางกรวรรณ ตั้งครรภ์ มิใช่ก้อนเนื้องอกตามที่ นายแพทย์ ก. คิดไว้ จึงได้เย็บแผลผ่าตัดให้ปิดดังเดิม หลังจากนั้นนายแพทย์ ข. ผู้ทำการร่วมตรวจได้ส่งตัวนางกรวรรณไปฝากครรภ์ต่อที่โรงพยาบาลภูมิพล ต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 นางกรวรรณ ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 อีกครั้ง ด้วยภาวะวิกฤตเลือดออกมากทางช่องคลอดเนื่องจากรกเกาะต่ำและเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ประกอบกับนางกรวรรณป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง นายแพทย์ ข. ผู้ทำการรักษาและคณะได้ร่วมกันตรวจวินิจฉัยและตัดสินใจต้องผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัดพบว่าทารกในครรภ์ได้เสียชีวิตแล้ว ส่วนนางกรวรรณเสียเลือดมาก แต่คณะแพทย์ที่ทำการผ่าตัดได้ช่วยกันจนห้ามเลือดไว้และเฝ้าดูอาการจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2557 นางกรวรรณ ก็ถึงแก่ความตาย... คดีนี้ โจทก์ทั้งสี่ โดยนายวิเชียร หนูมา สามีผู้ตาย ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายกับ นายแพทย์ ก. เป็นจำเลยที่ 1 และ นายแพทย์ ข. เป็นจำเลยที่ 2 และโรงพยาบาลนวมินทร์ 9 เป็นจำเลยที่ 3  ในคดีหมายเลขดำที่ ผบ. 3557/2555  ต่อศาลจังหวัดมีนบุรี ระหว่างพิจารณาคดี คู่ความทั้งสองฝ่ายนำพยานเข้าสืบหักล้างกัน  ต่อมาศาลชั้นต้นพิเคราะห์พยานหลักฐานทั้งหมดแล้วจึงมีคำพิพากษา ซึ่งผู้เขียนขอสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ศาลเห็นว่า นายแพทย์ ก. และ ข. ได้ทำการรักษานางกรวรรณอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่า นายแพทย์ ก. และ ข. ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นางกรวรรณถึงแก่ความตาย ดังนั้นเมื่อ นายแพทย์ ก และ ข. ในฐานะ จำเลยที่ 1 ที่ 2  ไม่มีความผิด  โรงพยาบาลนวมินทร์  9 จำเลยที่ 3  จึงไม่มีความผิดด้วย จึงมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่อุทธรณ์  ประการแรกว่า นายแพทย์ ข. จำเลยที่ 2 ที่ผ่าตัดครั้งที่ 2  ต้องรับผิด ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีพยานบุคคลนายแพทย์ผู้ร่วมทำการผ่าตัดมาเบิกความประกอบกันว่า นางกรวรรณ ผู้ตายได้เข้ามารักษาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ด้วยภาวะวิกฤตเลือดออกมากทางช่องคลอด นายแพทย์ ข. จึงต้องทำการผ่าตัดโดยด่วน ซึ่งการผ่าตัดต้องเสียเลือดมาก ผลการผ่าตัดพบว่าทารกเสียชีวิตแล้ว เมื่อล้วงคลอดรกพบว่ารกเกาะทะลุมดลูก จึงต้องตัดมดลูกที่ทะลุออก และยังพบว่ารกยังเกาะอยู่กับอวัยวะใกล้เคียงและเลือดออกมาก จึงให้ศัลยแพทย์เข้าร่วมผ่าตัดด้วย ทั้งที่กระเพาะปัสสาวะ ผนังอุ้งเชิงกราน เมื่อเลาะรกออกแล้วมีเลือดซึมออกไม่หยุด จึงห้ามเลือด เย็บบาดแผลปิดหน้าท้อง และเฝ้าดูอาการ  แต่ผู้ตายยังมีเลือดออกมาก แพทย์จึงให้เลือดและยาตามอาการ จนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 นางกรวรรณ ก็ถึงแก่ความตาย ดังนั้นการเสียชีวิตของผู้ตายจึงเป็นไปตามพยาธิสภาพ นายแพทย์ ข. ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจและรักษาแล้ว ประการที่สอง โจทก์ทั้งสี่อุทธรณ์ว่า นายแพทย์ ก. จำเลยที่ 1 ที่ผ่าตัดครั้งแรก ต้องรับผิดด้วยนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า โจทก์ทั้งสี่ไม่มีพยานหลักฐานใดมาพิสูจน์ได้ว่า การผ่าตัดในครั้งที่ 2 โดยนายแพทย์ ข. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2554 ด้วยอาการเลือดออกทางช่องคลอดของผู้ตายเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการกระทำของนายแพทย์ ก. ที่ผ่าตัดครั้งแรก แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า นายแพทย์ ก. จะมีส่วนประมาทในการตรวจรักษาผ่าตัดผู้ตายในครั้งแรก แต่ก็ยังฟังไม่ได้ว่า นายแพทย์ ก. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุนางกรวรรณถึงแก่ความตาย เนื่องจากการผ่าตัดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 กับการผ่าตัดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 เนื่องจากเป็นเหตุการณ์คนละช่วงคนละตอนไม่เกี่ยวกัน อย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีผู้บริโภค การพิจารณาคดีต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551  มาตรา 39 ที่บัญญัติว่า “ ...ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่าจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้องหรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องหรือกำหนดวิธีการบังคับให้เหมาะสมได้แม้จะเกินกว่าที่ปรากฏในคำขอบังคับของโจทก์ก็ตาม…” และมาตรา 42  ที่บัญญัติว่า ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร...” ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว สรุปได้ว่า  แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกความอ้างว่ามีแพทย์เวรเป็นคนตรวจเบื้องต้นตอนแรกก่อนจะมาถึงตน  แต่จำเลยที่ 1 ก็ทำเพียงแค่ซักถามประวัติผู้ตายเบื้องต้นว่าทำหมันมาแล้ว ทั้งที่ทราบดีว่าการทำหมันแล้วก็มีโอกาสหมันหลุดได้ อีกทั้งจำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้ตรวจผลเอ็กซ์เรย์เอง ทั้งที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญและยอมรับว่าแพทย์ทางรังสีวิทยาจะเป็นผู้อ่านผลเอง แต่เนื่องจากการเอ็กซ์เรย์ของผู้ตายทำในเวลากลางคืนและจะทราบผลการอ่านของแพทย์รังสีวิทยาตอนเช้า ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เพียงตรวจดูผลจากการวินิจฉัยของแพทย์เวรที่ตรวจเบื้องต้น และซักประวัติโดยไม่ตรวจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าก้อนเนื้อที่พบนั้นจะเป็นทารกหรือไม่  อีกทั้งจำเลยที่ 1 ยังยอมรับว่าการตรวจการตั้งครรภ์สามารถทำด้วยวิธีง่ายๆ แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำ กลับรีบผ่าตัดผู้ตายในคืนเดียวกับที่เข้ามาตรวจ  ซึ่งผลการผ่าตัดของจำเลยที่ 1 ไม่พบเนื้องอกที่รังไข่ แต่พบทารกที่มีอายุครรภ์ 16 – 18 สัปดาห์ มีอวัยวะครบ ซึ่งมีส่วนของกระดูกและหัวใจของทารกเต้นแล้ว  ซึ่งการวินิจฉัยที่ผิดพลาดของจำเลยที่ 1 จึงมีผลทำให้ผู้ตายต้องนอนพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ของจำเลยที่ 3 ดังนั้นความเสียหายแก่ร่างกายของผู้ตายจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ซึ่งความเสียหายในส่วนนี้แม้โจทก์จะไม่ได้เรียกร้องมาในคำขอบังคับก็ตาม ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ส่วนค่าเสียหายนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า  ภายหลังการผ่าตัดที่ผิดพลาดของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 3 เคยเสนอเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์เป็นเงิน 500,000  บาท แต่โจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหาย 200,000 บาท จึงตกลงกันไม่ได้ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า เมื่อโจทก์เคยเรียกร้องค่าเสียหาย 200,000 บาท จึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย 200,000 บาท ประกอบกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้ตาย จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายข้างต้นอีก 300,000 บาท ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 500,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลที่ผู้ตายเข้าใช้บริการและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่นั้น ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป คดีนี้ยังไม่สิ้นสุด จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังมีสิทธิที่จะขออนุญาตศาลเพื่อฎีกา หากมีความคืบหน้าผู้เขียนจะนำมาบอกกล่าวให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบอย่างแน่นอน ....

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 165 เสียงผู้บริโภค

ตาบอด เพราะขวดน้ำอัดลมระเบิด !!! ทุกวันนี้บ้านเรามีน้ำอัดลมหลายยี่ห้อหลายสีให้เลือกดื่ม ทั้งดำ แดง เขียว ส้ม หรือกระทั่งสีฟ้า ความต้องการของผู้บริโภคทำให้น้ำอัดลมแทบจะกลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคหลายคนขาดไม่ได้ไปแล้วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จะไปไหน กินอะไร ก็ต้องสั่งน้ำอัดลม ทั้งที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าน้ำอัดลมไม่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเลยก็ตาม แต่ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ก็ไม่กลัวและพร้อมที่จะสั่งจะน้ำอัดลมมาดื่มกัน แต่จะมีใครรู้ไหมว่า บางครั้งน้ำอัดลมก็นำมาซึ่งความอันตรายที่คาดไม่ถึงเหมือนเช่นกรณีนี้... ช่วงสายของวันที่ 23 กันยายน 2557  คุณณิชาพร ได้โทรศัพท์เข้ามาร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคว่า ช่วยป้าด้วย ลูกชายป้าถูกขวดน้ำอัดลมระเบิดใส่ทำให้ตาบอด อยากให้มูลนิธิช่วยเหลือ… เจ้าหน้าที่จึงสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ความว่า บุตรชายเป็นลูกจ้างร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น  ทำหน้าที่เป็นพนักงานเสิร์ฟ เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 2 นาฬิกาของคืนวันที่ 18 พฤษภาคม 2557 ขณะนั้นบุตรชายอยู่ระหว่างการทำงาน และได้ไปรับออเดอร์ของลูกค้า โดยลูกค้าได้สั่งน้ำอัดลม 1 ขวด บุตรชายจึงเดินมารับน้ำอัดลมที่เคาน์เตอร์ โดยมีเพื่อนพนักงานหยิบน้ำอัดลมที่ยังไม่ได้เปิดฝามาวางบนเคาน์เตอร์ เพื่อให้บุตรชายหยิบขวดน้ำอัดลมใส่ถาดเตรียมนำส่งลูกค้า เมื่อบุตรชายหยิบน้ำอัดลมวางบนถาดทันใดนั้นขวดน้ำอัดลมก็ระเบิด เศษแก้วได้กระเด็นเข้าตาซ้ายของบุตรชาย เพื่อนพนักงานรีบนำตัวบุตรชายส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ทันที โดยได้รับการรักษาเย็บ 5 เข็ม แต่ก็ไม่สามารถรักษาดวงตาข้างซ้ายให้มองเห็นได้ ปัจจุบันบุตรชายตาซ้ายบอดสนิทใช้การไม่ได้ กรณีแบบนี้จะมีใครช่วยรับผิดเยียวยาความเสียหายให้กับบุตรชายได้ไหม     แนวทางแก้ไขปัญหา กรณีนี้ ทางศูนย์ฯ ได้แนะนำให้คุณณิชาพร รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานการบาดเจ็บ รายละเอียดค่ารักษาพยาบาล พยานวัตถุที่เสียหาย (ถ้ามี)  ภาพถ่ายต่างๆ หรือพยานบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง รวมถึงข้อมูลการสั่งซื้อ การจัดส่ง การเก็บรักษา การจัดวางสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเจรจาค่าเสียหายกับผู้ประกอบการ และให้ทำหนังสือถึงผู้ประกอบการเพื่อขอให้เยียวยาความเสียหายด้วย และเมื่อคุณณิชาพร รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมดแล้ว ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จะดำเนินการนัดหมายเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง เพื่อหามาตรการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บาดเจ็บต่อไป ซึ่งกรณีนี้อาจจะต้องพิสูจน์ถึงสาเหตุของการระเบิดด้วยว่าเกิดจากอะไร โดยหากไม่สามารถเจรจาเยียวยาเพื่อหาข้อยุติได้นั้น ผู้บาดเจ็บที่เสียหายสามารถใช้สิทธิฟ้องศาลได้อีกช่องทางหนึ่งเพิ่มเติมด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งนี้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ มีข้อมูลดีๆ โดยนายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ที่เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้มาให้ทราบเป็นอุทาหรณ์กันครับ “ ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ปี 2557 ที่ผ่านมา มีคนงานโรงงานผลิตน้ำอัดลม 1 ราย ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา เนื่องจากขวดน้ำอัดลมระเบิด และฝาจีบปิดขวดกระเด็นใส่ดวงตา ขณะทำงานขนย้ายน้ำอัดลมที่บรรจุขวดแล้ว แรงระเบิดทำให้แก้วตาดำเป็นแผล ฉีกขาด และมีเลือดออกช่องหน้าม่านตา ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ เพื่อรักษาแผลให้หาย ป้องกันการติดเชื้อ และให้เลือดที่ออกในช่องม่านตาหยุดไหลและถูกดูดซึมตามธรรมชาติ จากการสอบถามผู้ป่วยพบว่าขวดที่ระเบิดใส่ เป็นขวดแก้วบรรจุน้ำอัดลมที่บรรจุก๊าซและปิดด้วยฝาจีบโลหะ เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ เป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งการเกิดระเบิดของขวดน้ำอัดลม เกิดขึ้นได้ทั้งจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น หรือจากการกระแทกขณะขนส่ง โดยที่คนงานไม่มีการป้องกันตัวแต่อย่างใด ทั้งนี้ น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มที่ประชาชนนิยมดื่มในช่วงกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน เครื่องดื่มประเภทนี้ จะอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในขวด เพื่อให้มีความซ่า เพิ่มความสดชื่นแก่ร่างกาย เมื่อขวดน้ำอัดลมถูกแดดหรืออยู่ในอากาศที่ร้อนจัด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในขวดจะขยายตัว ดันฝาขวดและขวดแก้วแตก โดยเฉพาะโซดาจะมีปริมาตรก๊าซสูงกว่าน้ำอัดลมชนิดอื่นๆ จึงมีโอกาสเสี่ยงเกิดการระเบิดได้ง่ายกว่าด้วย โดยหากฝาจีบปิดขวดหรือเศษแก้วที่แตก กระเด็นใส่หน้า ถูกดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญและมีความบอบบางมาก หากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง มีบาดแผลที่ตาดำ หรือมีเลือดออกในช่องหน้าม่านตา อาจทำให้ตาบอดได้ หรืออาจระเบิดระหว่างเปิดฝาขวดใส่มือ ทำให้เกิดบาดแผล หรือนิ้วมือขาดได้เช่นกัน ขอแนะนำว่า ในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว อย่าเปิดฝาขวดโดยใช้มือหรือใช้ฝาขวด 2 ขวดมางัดกัน และอย่าเปิดฝาทันที เพราะอาจทำให้ฝาขวดกระเด็นโดนตา มือ หรืออวัยวะอื่นๆ จนเกิดการบาดเจ็บได้ วิธีที่ดีที่สุดคือให้ใช้อุปกรณ์เปิดขวด ก่อนเปิดให้ใช้ผ้าขนหนูพันที่เปิดขวด และค่อยๆ เปิดฝาขวดทีละน้อย เพื่อให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่อยๆ ไหลออกมา ลดแรงดันของก๊าซในขวดลงก่อน ” นายแพทย์ฐาปนวงศ์ กล่าว เมื่อทราบถึงข้อควรระวังกันแบบนี้แล้ว สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงถูกแรงระเบิดจากขวดน้ำอัดลมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานส่งของ ขายของ พ่อค้าแม่ค้า หรือผู้บริโภคที่ชอบดื่มน้ำอัดลม ควรต้องตระหนักถึงความระมัดระวังในส่วนนี้อย่างมากด้วยครับ เพราะผู้เขียนเชื่อว่าทุกอย่างสามารถป้องกันได้ อย่าลืมครับ กันไว้ดีกว่าแก้ ดีกว่าแย่แล้วแก้ไม่ทัน ครับผม.... ขอบคุณข้อมูลบทสัมภาษณ์นายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จาก thairat.co.th   บริษัทประกัน หลอกผู้เสียหายทำยอมรับเงิน เหตุรถทัวร์ตกเหว เรื่องราวของอุบัติเหตุรถโดยสารมีให้เห็นกันแทบทุกวัน ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปไหน ไปทำงาน ทำบุญ หรือจะไปที่ไหนก็แล้วแต่  ไม่ว่าจะเป็นรถตู้ รถแท็กซี่ รถเมล์ หรือรถทัวร์โดยสาร ก็เกิดกันได้ ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ สิ่งที่ตามมาก็คือ มีผู้บาดเจ็บล้มตาย ความเสียหายเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของคนที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ที่แย่กว่านั้นหากเป็นรถโดยสารที่เจ้าของรถหรือบริษัทประกันภัย ไม่มีความรับผิดชอบ หรือประวิงเวลาในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ปัญหาดังกล่าว จะยิ่งทำให้ผู้ประสบเหตุได้รับความเดือดร้อนมากขึ้น ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุขึ้น หน่วยงานแรกๆ ที่ต้องเข้าถึงตัวผู้เสียหายเพื่อจัดการเรื่องค่าสินไหมทดแทน คือ บริษัทประกันภัยที่รับทำประกันภัยไว้กับรถยนต์คันเกิดเหตุ(ประกันภัยภาคสมัครใจ)  ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า หากบาดเจ็บ ไม่ว่าเจ็บน้อยหรือเจ็บสาหัสมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่ถึงกับตาย การได้ค่าสินไหมจากบริษัทประกันภัยนั้นจะเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะบริษัทประกันภัยมีเทคนิคมากมาย ที่จะจ่ายค่าสินไหมให้น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น  ผู้เสียหายหลายรายบ่นกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯว่า “บางครั้งเวลาเจรจาค่าเสียหาย รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังขอเงินเขาใช้ยังไงยังงั้น ทั้งที่เราเป็นคนเจ็บแท้ๆ แต่บริษัทประกันภัยกลับมาต่อรองเราครึ่งๆ เหมือนซื้อของกัน เขายังเห็นเราเป็นคนอยู่รึเปล่า อยากรู้จริงๆ” เมื่อผู้เสียหายต้องการมากเพราะเจ็บ แต่บริษัทประกันภัยต้องการจ่ายน้อยเพราะไม่อยากเสียเงินเยอะ  หลายรายจึงไม่สามารถตกลงกันได้ ขณะที่บางรายต้องจำยอมรับเงินเพียงบางส่วนเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล  และมีอีกหลายรายที่รู้ไม่ทันเกมของบริษัทประกัน ทำให้ต้องยอมรับค่าสินไหมทดแทนไปแบบ งงๆ มารู้ตัวอีกทีก็สายไปเสียแล้ว  และเรื่องราวต่อนี้ ก็เป็น 1 ในอีกหลายๆ เหตุการณ์ของความสูญเสียที่ไม่ได้เกิดเป็นเรื่องแรก แต่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกของอุบัติเหตุรถยนต์โดยสาร ที่รอวันแก้ไขอย่างจริงจังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง…. เช้ามืดวันที่  23 ตุลาคม 2556  เวลา 5.00 น.   กลุ่มชาวบ้านผู้สูงอายุจำนวนกว่า 120 คน จากหมู่บ้านแม่สะลาบและหมู่บ้านบุปผาราม ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  ได้ร่วมกันจ้างเหมารถยนต์รับจ้างจำนวน 3 คัน  เพื่อไปทำบุญทอดกฐินที่วัดใหม่สามัคคีธรรม บ้านวังเจริญ ตำบลวังแก้ว อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ครั้นเมื่อทำบุญทอดกฐินและท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆมาทั้งวันแล้ว ในเวลาประมาณ 18.00 น. ขณะที่คณะกำลังเดินทางกลับบ้านที่จังหวัดเชียงใหม่   โดยรถยนต์โดยสารทั้ง 3 คัน ขับเรียงกันมาตามเส้นทางถนนสายพะเยา-วังเหนือ มุ่งหน้าไปยังอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อรถยนต์ขับมาถึงบริเวณ หมู่ที่ 2 ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นทางโค้งลาดลงเขา รถยนต์โดยสารคันแรกเริ่มมีอาการกระตุก คนขับรถจึงได้หยุดจอด และพูดคุยกับคนขับรถคันที่ 2 ที่ขับตามมาว่า รถเบรกมีปัญหาเอาไม่อยู่ ให้รถที่ตามมาแซงไปก่อน เมื่อรถที่ตามมาแซงล่วงหน้าไปแล้ว ผู้สูงอายุที่นั่งด้านหน้าติดกับคนขับได้ยินก็ถามคนขับว่าจอดรถทำไมรถมีปัญหาหรือเปล่า คนขับรถตอบว่าไม่มีอะไรก่อนจะออกตัวขับรถยนต์โดยสารต่อไป หลังจากรถออกไป 5 – 10 นาที โดยประมาณ ผู้สูงอายุที่นั่งในรถก็เริ่มรู้สึกว่ารถแล่นเร็วผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมรถได้ และผู้โดยสารทางด้านท้ายรถเริ่มได้กลิ่นเหม็นน้ำมัน มีผู้โดยสารที่ไม่ได้นอนหลับ (ตอนหลังเสียชีวิต) ได้ตะโกนบอกให้คนขับจอดรถ แต่คนขับไม่ยอมจอด รถเริ่มส่ายไปมา ก่อนที่จะมีเสียงตะโกนว่ารถจะคว่ำแล้ว ไม่กี่อึดใจ รถก็พุ่งใส่ราวสะพานเหล็กกั้นริมถนน ชนเข้ากับต้นไม้ใหญ่หักโค่น หลังคารถฉีกขาด รถพลิกคว่ำพุ่งดิ่งลงเหวลึกด้านล่างประมาณ 100 เมตร มีผู้เสียชีวิตที่กระเด็นออกนอกรถและถูกร่างทับกันตายเป็นจำนวนมาก  หลังเกิดเหตุจึงทราบว่ามีผู้เสียชีวิต 22 คน และบาดเจ็บ 17 คน นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญของชาวอำเภอสารภี ที่หลายคนเป็นพี่น้อง ญาติ สามีภรรยา พ่อแม่และลูก ส่วนคนขับอาศัยช่วงชุลมุนกระโดดออกจากรถก่อนตกเหวเอาตัวรอดไปได้ แต่เรื่องยังไม่จบ เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ญาติพี่น้องล้มตายบาดเจ็บยังไม่พอ หลังเกิดเหตุ ผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิต ยังถูกเจ้าของรถปฏิเสธการชดเชยเยียวยา อ้างว่ารถมีคันเดียว ตอนนี้ไม่มีเงิน แถมยังถูกบริษัทรับประกันภัย บิดเบือน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน พูดง่ายๆ หลอกให้ทำสัญญายอมรับเงินบางส่วน หรือที่เรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอม เพื่อเป็นค่าปิดคดีกับบริษัทรับประกันภัย นั่นหมายถึงว่า คนที่ลงชื่อในสัญญายอมรับเงินไปแล้ว จะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดกับคู่กรณีได้อีก….. เจอแบบนี้เข้า ชาวบ้านก็ไปต่อไม่ถูก แทนที่หน่วยงานที่กำกับดูแลจะมาช่วยชี้แจงให้ได้รับความเป็นธรรม กลับร่วมมือกับผู้รับประกันภัย มากล่อมเรา หรือจะเรียกว่า หลอกให้เราลงชื่อยอมรับเงินซะงั้น   “มาถึงเขาก็บอกให้ป้าเซ็นชื่อ  ป้าก็ไม่รู้ว่าเซ็นอะไร เขาไม่ได้ให้อ่าน บอกให้ลงชื่อตรงนี้ๆๆๆ  ป้าถามว่าเป็นเงินอะไร เขาบอกว่าเป็นเงินชดเชย ไม่ใช่เงินค่าเสียหาย  ป้าเลยเซ็นชื่อรับเงินไป  แต่ตอนหลังถึงรู้ว่าที่เซ็นชื่อไปนั้น เป็นสัญญายอมความ ผู้เสียหายทุกคนเจอแบบเดียวกัน  ป้าจะเรียกร้องอะไรไม่ได้อีกแล้ว ถ้ารู้แบบนี้แต่แรก ป้าไม่เซ็นชื่อแน่ ป้าโดนหลอก !!!  ” เสียงสะท้อนจากคุณป้าที่รอดชีวิต อุบัติเหตุครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความตระหนักถึงความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง รวมถึงการไม่ประกอบธุรกิจที่เอาเปรียบผู้บริโภคของผู้ประกอบการ  แต่นั่นก็อาจจะเป็นเพียงแค่ความฝัน หรือการเฝ้ารอแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้นก็ไม่รู้ว่าจะมีการสูญเสียอีกกี่ราย กรณีนี้จึงถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ควรจะต้องได้รับการเผยแพร่ ตักเตือนให้กับผู้บริโภคทุกคนได้รับรู้ว่า หากวันหนึ่งเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น แล้วมีการพูดคุยเจรจาเพื่อตกลงค่าสินไหมทดแทนกับคู่กรณี  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถหรือบริษัทประกันภัย แล้วต้องมีการลงชื่อเซ็นเอกสารนั้น ผู้เสียหายต้องอ่านและดูเนื้อหาเอกสารให้ละเอียดชัดเจน หากมีข้อความทำนองว่า ถ้ารับเงินแล้วตกลงจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อผู้ที่เกี่ยวข้องอีกต่อไป....  ข้อความลักษณะนี้ ห้ามลงชื่อยอมรับเด็ดขาด !!! เพราะหากลงชื่อไปแล้ว ผู้เสียหายจะเสียสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมทางแพ่งได้อีก  เมื่อรู้แบบนี้กันแล้ว ก็ช่วยกันบอกต่อกันไปนะครับ อย่างน้อยหากเราไม่สามารถหยุดเหตุความเสียหายให้เกิดขึ้นได้ แต่เราก็ยังรู้วิธีรับมือกับปัญหาที่จะตามมาได้ครับ   “สิทธิ” ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องเดินหน้าชน ผ่านไปกับงานสุขภาพดีวิถีไทย 24-27 กรกฎาคม 57 จัดขึ้นเพื่อคนรักสุขภาพ ที่เมืองทองธานี   งานนี้มีผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพมาหาซื้อสินค้ากันอย่างเนืองแน่น  ศูนย์พิทักษ์สิทธิมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้มีโอกาสไปตั้งบูธรับเรื่องร้องเรียนด้วย  ได้รับความสนใจจากประชาชนที่มีปัญหาเดินมาปรึกษาอยู่ตลอด  โดยเฉพาะผู้ร้องที่ชื่อ คุณนิรภา ที่แกเห็นบูธเราก็ตรงเข้ามาซักถามปัญหาที่แกหนักอกหนักใจที่ไม่รู้จะหาทางออกยังไง “ฉันโสดอยู่ตัวคนเดียวในคอนโดมิเนียมที่มีพื้นที่จำกัด   มีของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น  เช่น  ตู้เย็น  โทรทัศน์  พัดลม  เตารีด เป็นต้น ค่าไฟฟ้าต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 250-280  บาทไม่เกินนั้น เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 57 ได้รับบิลค่าไฟฟ้า จากการไฟฟ้านครหลวงเขตนนทบุรี  เป็นยอดค่าใช้ไฟของเดือนพฤษภาคมที่เรียกเก็บสูงถึง 512 บาท  ฉันตกใจมาก คิดไปก่อนว่าสงสัยตู้เย็นที่ใช้เก่ามากแล้วคงกินไฟ   แล้วกังวลว่าเดือนต่อไปค่าไฟคงสูงเป็นหลักพันแน่  จึงตัดสินใจซื้อตู้เย็นใหม่  หลังจากซื้อตู้เย็นใหม่   เดือนต่อมาก็เกิดอาการงง  เพราะไม่มีบิลค่าไฟฟ้ามาเรียกเก็บ  จึงโทรติดต่อไปที่ Call Center1130  เพื่อสอบถาม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วบอกว่า  เดือนนี้ค่าไฟฟ้าของฉันเป็น 0.00 บาท  ด้วยความงุนงง เดินไปดูมิเตอร์ก็พบว่าหมุนตามปกติ  ต่อมา บิลค่าไฟเดือนกรกฎาคม เป็นปกติอีก”    เอาละซิ  เกิดอะไรขึ้น ? คราวนี้คุณนิรภา เลยโทรไปถามเจ้าหน้าที่    การไฟฟ้าฯ อีกครั้ง ก็ได้รับเพียงคำตอบว่าจะตรวจสอบให้   หายเงียบไปอีก 7 วันก็ได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ว่า  “จดมิเตอร์ผิด” ปริ๊ดแตกทันที  อารมณ์โกรธขึ้นสมอง แล้วทำไมไม่แจ้งกันสักคำ  เวลาค้างชำระยังส่งใบเตือนจะตัดไฟ ที่จดผิดกลับไม่แจ้ง  ถ้าไม่โทรไปถามก็ไม่ทราบ  คิดในใจว่าใครจะยอม เสียเวลา เสียเงินตั้งหลายพันบาท    เลยโทรติดต่อกลับไปใหม่ แจ้งให้การไฟฟ้าชดใช้ค่าเสียหาย เป็นค่าตู้เย็นที่ซื้อใหม่  และค่าไฟเดือนพฤษภาคม ที่เก็บเกินไปทั้งหมดคืน แต่การไฟฟ้าก็บ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด  เลยต้องมาปรึกษาศูนย์พิทักษ์สิทธิ เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์ฯ  ได้ฟังปัญหา   และขอรายละเอียดการใช้ไฟย้อนหลังตั้งแต่มกราคม 57 จนถึงเดือนกรกฎาคม 57 มาตรวจสอบ  พบว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าไฟเดือนมิถุนายนจริง  อีกทั้ง บิลเรียกเก็บค่าไฟเดือนกรกฎาคม  เริ่มจดเลขมิเตอร์ไฟโดยใช้เลขมิเตอร์ล่าสุดที่จดผิดจากเดือนพฤษภาคม  ทำให้ค่าไฟในเดือนกรกฎาคมนั้นถูกกว่าทุกเดือนที่ผู้ร้องใช้ปกติ    จึงอธิบายให้ผู้ร้องเข้าใจ   แต่ผู้ร้องยังยืนยันว่าการไฟฟ้าต้องรับผิดชอบค่าตู้เย็น  หากการไฟฟ้าไม่จดผิด  ตนเองก็ไม่เข้าใจผิด             ปวดหัวล่ะซิ  เรื่องนี้คนกลางอย่างเราคงจัดการลำบาก  แต่ในฐานะผู้ร้องซึ่งเป็นสามารถใช้สิทธิได้เต็มที่อยู่แล้ว  เลยแนะนำให้ทำหนังสือถึงการไฟฟ้าเพื่อให้รับผิดชอบเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร  ส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ จนต้นเดือนตุลาคม  ศูนย์พิทักษ์สิทธิได้รับโทรศัพท์จากผู้ร้องแจ้งว่า  หลังจากที่ทำหนังสือส่งไปถึงการไฟฟ้าฯ  ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม   ผู้ร้องติดตามเป็นระยะ  ด้วยวิธีการ โทรศัพท์ไปถามความคืบหน้าและหาก ไปชำระค่าไฟจะสอบถามกับเจ้าหน้าที่    ทุกครั้งจะได้รับคำตอบว่า  แจ้งให้ผู้บริหารรับทราบแล้วน่าจะกำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่  ล่าสุดทนไม่ไหว  เลยขอเข้าพบผู้จัดการ  ชื่อคุณสัมฤทธิ์  ได้เจรจากัน   การไฟฟ้าฯ อ้างว่าได้แก้ไขปัญหาแล้ว  จะให้เยียวยาความเสียหายเท่ากับเงินค่าตู้เย็นใหม่นั้น คงทำไม่ได้   ขอช่วยเหลือที่จำนวนเงิน  1,600  บาทเป็นค่าตู้เย็นเก่าแล้วกัน   ผู้ร้องเห็นว่าไม่อยากยืดเยื้อจึงยอมตกลง    และขอบคุณเจ้าหน้าที่ศูนย์ที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ รายนี้   ต้องยอมยกนิ้วให้คุณผู้ร้องจริงๆ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 165 กล่องโฟม เลิกได้ไหม

ทำดีต้องชม     ก่อนอื่นขอชื่นชมการทำงานของ อย.  ณ  ยุคสมัยนี้  ที่กล้าหาญ  ออกมาประกาศชื่อสินค้าไม่ปลอดภัยกว่า 20  รายการ  นับว่ามีกระบวนการพัฒนาการทำงานที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง   แต่ปัญหาเรื่องอาหารปลอดภัย  ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่รอการแก้ไขทั้งการโฆษณาหลอกลวง ทั้งกระบวนการผลิต ที่ผู้ผลิตขาดความรู้ความเข้าใจและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคโดยที่ผู้ผลิตเองก็มิได้ตั้งใจ ต้นเดือน พฤศจิกายน  2557  ผู้เขียนได้เดินทางไปร่วมประชุมกับเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ๆกับกรุงเทพฯ  น้องๆ บอกว่า  วันนี้อาหารว่างเป็นขนมไทย(อุ้ยดีใจ..ของชอบของเราเลย) ถึงเวลาน้องๆ ก็เอาขนมมาเสิร์ฟ    เห็นแล้วว่าเป็นขนมตะโก้เผือกอยู่ในกล่องโฟม   ไม่ทันดูให้ละเอียดตักกินเลย   คำแรกถึงกับอึ้ง  เพราะขนมที่กินเข้าไป กลิ่นโฟมฉุนมาก  เลยก้มไปดูในกล่อง   บอกตรงๆ เห็นแล้วตกใจ  เพราะไม่ใช่ขนมชิ้นๆ ตักใส่กล่องมาอย่างที่เคยเห็น    แต่เป็นการเอาขนมใส่นึ่งมาในกล่องเลย เราเชื่อว่าแม่ค้าคงเน้นความสะดวกเป็นหลัก  คงไม่ทันนึกว่าทำเช่นนี้ จะเกิดอันตรายต่อคนกินอย่างไร     แต่เรื่องนี้ในฐานะคนทำงานด้านสิทธิผู้บริโภค  เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องออกมาเตือนกัน   ไม่อย่างนั้นจะเกิดวัฒนธรรมเลียนแบบ   และจะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนกินในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ งานนี้บอกตรง   หากใครจะใช้สิทธิ ร้องเรียน  น่าลำบากมากในการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาดูแล  เพราะไม่รู้หน่วยงานไหนกันแน่ที่ดูแลเรื่องนี้     ถ้าเป็นอาหาร(ในบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป มีหีบห่อ) ก็รู้อยู่ว่า   อย. ดูแล  แต่ถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์(ที่เป็นโฟม) สมอ. และ สคบ. ดูแล   แต่พอเอาอาหารมาใส่กล่องโฟม  เลยยุ่งๆ ไม่รู้ใครกันแน่ที่ต้องดูแลเรื่องนี้  เอาเป็นว่าหน่วยงานไหนก็ได้ ช่วยออกมาส่งเสียงเตือนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค   ถึงอันตราย  ที่เรามองเห็นแต่ “ไม่รู้” ให้ได้รู้เพื่อป้องกันต่อไป  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 164 ไฟฟ้าไทย คำนวณผิดผลิตเกินผู้บริโภครับกรรม

คงยังไม่ลืมกันว่า เมื่อเดือนเมษายน  2557   มีการเสนอข่าวจากเจ้าหน้าที่รัฐ  และนักการเมืองออกมาให้ข้อมูลที่ทำให้ประชาชน  ประหวั่นพรั่นพรึงตื่นตระหนกกันทั้งประเทศ เรื่องไฟฟ้าอาจไม่พอใช้   เพราะหลุมก๊าซจากพม่าบางหลุมหยุดซ่อมบำรุงและงดส่งก๊าซ  ทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพออาจจะเกิดไฟฟ้าดับได้ในบางพื้นที่   พร้อมโหมโฆษณาอย่างมโหฬารว่า  มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดทำลายสถิติการใช้ไฟฟ้า ปีนี้ ปีนั้น จากนั้นก็มี  พระเอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตออกมาให้ข่าวว่า ไฟฟ้าสามารถจัดการไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับได้แล้ว   “โดยใช้ความสามารถจากการจัดการของการไฟฟ้าฯ” ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ(โถ....ช่างเป็นพระคุณจริงๆ ) แต่ข้อมูลที่เปิดเผยออกมาคือ  การใช้ไฟฟ้าสูงสุด ในเดือน เมษายน 2557   ใช้อยู่ที่ 26,940 mw  เท่านั้น  และเมื่อเปิดไปที่เอกสารกำลังการผลิตไฟฟ้าในเดือน มิถุนายน 2557  รวมทั้งสิ้น  34,4179 mw   ผลิตเกินจำนวนที่ใช้ไปถึง  7,237  mw  เอ...มาตรฐานการผลิตไฟฟ้า ต้องมีสำรองไฟฟ้าไว้ 15% หรือ 4,041 mw  มิใช่หรือ แต่เมื่อบวกลบคูณหารแล้ว หักไฟฟ้าสำรองแล้วก็ยังมีไฟฟ้าเกินไปอีกจำนวน 3,196 mw  รวมแล้วปัจจุบันมีไฟฟ้า สำรองถึง 15 %  คิดเป็นเงินลงทุนเกินความจำเป็นถึง ประมาณ 110,000  ล้านบาท     โดยที่กลุ่มผู้คำนวณการผลิต ผิดพลาดไม่ต้อง ”รับผิดชอบ” แต่โยนภาระให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า เป็นผู้รับผิดชอบ จ่ายเงินที่ลงทุนเกินเหล่านี้  โดยบวกเข้าไปในบิลค่าไฟฟ้า ของประชาชนทุกครัวเรือน   ขอตั้งคำถาม คำโตๆว่า  ทำเช่นนี้ มันเป็นธรรมกับผู้บริโภคแล้วหรือ ที่น่าตกใจมากไปกว่านั้นคือ  จำนวนไฟฟ้าที่เกินมานี้  ยังไม่รวมการผลิตจากโรงไฟฟ้า  ที่ประชาชนออกมาคัดค้านให้สร้างไม่ได้ เกือบ 10 โรง  ถึงตรงนี้ต้องขอบคุณกลุ่มผู้ที่ออกมาคัดค้านโรงไฟฟ้า ที่ช่วยให้ประชาชนไม่ต้องแบกภาระกันหลังอานไปมากกว่านี้ เพราะหากปล่อยให้มีการผลิตไฟฟ้าได้ตามแผน PDP 2014   ที่นายทุน/นักการเมือง/เจ้าหน้าที่รัฐรวมหัวกันกำหนด ให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทั้งพลังงานนิวเคลียร์  ถ่านหิน ฯลฯ นึกภาพไม่ออกว่ามันจะมีไฟฟ้าเกินไปอีกเท่าใด   ใครได้ประโยชน์  แล้วใครเสียประโยชน์ ถึงวันนี้ชาวกระบี่ ก็ยังต่อสู่กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จะสร้างในพื้นที่กันอย่างเข้มข้น เราก็ขอเอาใจช่วย  หากสร้างได้เมื่อใดต้นทุนที่สร้างโรงไฟฟ้านั้นจะมาอยู่ในบิลค่าไฟของเรา  จึงขอเรียกร้องให้  ท่านนายกประยุทธ์   จันทร์โอชา   ช่วยคืนความสุขให้ผู้บริโภคได้ใช้ราคาพลังงานที่เป็นธรรม  ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังภายใต้อำนาจพิเศษ  แล้วเราจะ “ไว้ใจ และศรัทธา”  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 164 เสียงผู้บริโภค

กระเป๋าหาย แอร์เอเชีย หาคืนไม่ได้ ก็จ่ายให้คุ้มหน่อย ทุกวันนี้สายการบินต้นทุนต่ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศนั้น มีการแข่งขันกันสูง ทุกเจ้าต้องต่อสู้กันทางธุรกิจทั้งด้วยราคาและบริการ เพื่อครองใจลูกค้าให้ได้ การลด แลก แจก แถม... ก็มีให้เห็นกันตลอด คุณนันท์นภัส ก็เป็นคนหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่บ่อยๆ เธอจึงเลือกใช้บริการของ แอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลก(โฆษณาเขาว่ามาแบบนี้นะ) ย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2556  คุณนันท์นภัส โทรศัพท์เข้ามาร้องเรียนต่อศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคว่า สายการบินแอร์เอเชียทำกระเป๋าเดินทางเธอหาย โดยเธอเล่าว่าเมื่อวันที่ 26  พฤษภาคม 2556  ขณะที่เธอไปทำงานกับสามีที่ประเทศสิงคโปร์ เธอเลือกที่จะใช้บริการสายการบินแอร์เอเชีย โดยเครื่องออกจากท่าอากาศยานซางฮี สิงคโปร์  เพื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย เธอนำกระเป๋าโหลดเข้าเครื่องตามปกติ  แต่เมื่อถึงสนามบินดอนเมือง กระเป๋ากลับไม่ได้ตามออกมาด้วย คุณนันท์นภัสยืนรอที่สายพานลำเลียงกระเป๋าอยู่นานจนแน่ใจว่า ไม่มีกระเป๋าเดินทางของเธอแล้ว  เธอจึงสอบถามกับพนักงานของสายการบินทันที ว่าจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร เพราะเธอมีกำหนดเดินทางต่อไปจังหวัดอุบลราชธานี  ประเทศลาว  มาเก๊า และอีกหลายที่อย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นที่พักของเธอ “ดิฉันพยายามติดต่อ สอบถามพนักงานของสายการบิน ตั้งแต่วันแรกที่หาย เพื่อขอให้ติดตามกระเป๋าคืนมาให้ได้โดยเร็ว เพราะในกระเป๋าเดินทางมีของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นอยู่จำนวนมาก ซึ่งพนักงานก็ได้ยืนยันว่ากระเป๋าไม่หายแน่นอน เพราะยังมีเที่ยวบินจากสิงค์โปร์อีก 2 เที่ยวในวันนั้น โดยอ้างว่าเมื่อพบกระเป๋าเดินทางแล้วจะส่งคืนให้ดิฉันที่จังหวัดอุบลราชธานีในวันรุ่งขึ้นทันที” แต่พอถึงอุบลราชธานีแล้ว ก็ไม่มีการส่งมอบกระเป๋าคืนตามที่ว่าไว้แต่อย่างใด เธอหงุดหงิดมาก เพราะทุกครั้งเธอต้องเป็นฝ่ายพยายามสอบถามแล้วกับทางสายการบินตลอด แต่ไม่มีคำตอบและแทบไม่มีการติดต่อกลับ ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน 2556  บริษัท แอร์เอเชีย โดยแผนกติดตามสัมภาระ ฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นดิน ได้มีหนังสือแจ้งคุณนันท์นภัสว่า สายการบินหากระเป๋าเดินทางของเธอไม่เจอ จึงขอแสดงความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างข้อกำหนดและเงื่อนไขการบินของแต่ละสายการบิน ซึ่งในกรณีสัมภาระสูญหายสำหรับเส้นทางการบินระหว่างประเทศ กำหนดไว้ที่ 922 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อสัมภาระของคุณนันท์นภัส มีน้ำหนัก 15 กิโลกกรัม  คุณนันท์นภัส จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยความเสียหายเป็นเงินจำนวน 13,830 บาท   จากจดหมายฉบับดังกล่าว เธอเห็นว่า “ไม่เป็นธรรม” เนื่องจากในกระเป๋าเดินทางมีของใช้ที่จำเป็นและทรัพย์สินหลายอย่างที่มีมูลค่ารวมเกินกว่า 50,000  บาท ในเมื่อบริษัทไม่สามารถติดตามกระเป๋าเดินทางคืนมาได้ การเสนอจะชดใช้โดยอ้างกฎระเบียบที่กำหนดขึ้นเอง จึงเป็นการปฏิเสธความรับผิดชอบและการเอาเปรียบของผู้ประกอบการต่อผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้เกิดการเอาเปรียบกับผู้บริโภครายอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากในอนาคต  เธอจึงนำเรื่องเข้าร้องเรียนต่อศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา ภายหลังรับเรื่องร้องเรียน ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้ออกหนังสือเพื่อขอให้บริษัทแอร์เอเชีย เยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค  แต่ก็ได้รับการยืนยันจากบริษัทว่า ได้พิจารณาเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคุณนันท์นภัสแล้วเป็นเงิน 13,830 บาท ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้นเมื่อไม่มีทางออกในการเจรจา คุณนันท์นภัส จึงจำเป็นต้องขอนำเรื่องเข้าสู่ศาล ด้วยการยื่นฟ้องบริษัท แอร์เอเชีย จำกัด เป็นคดีผู้บริโภค ต่อศาลแขวงดอนเมือง เมื่อฟ้องคดีแล้ว กระบวนการในคดีผู้บริโภคนั้น ศาลจะเน้นกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย  สำหรับคดีนี้โดยใช้ชั้นเจรจาไกล่เกลี่ยคู่กรณีทั้งสองฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกันในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็ไม่สามารถหาจุดร่วมที่ตกลงกันได้ เมื่อคดีมีแนวโน้มจะต้องตัดสินให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกผิดด้วยคำพิพากษา แต่ผู้ตัดสินเห็นว่ายังมีแนวโน้มที่จะตกลงกันได้ จึงได้พยายามหาทางไกล่เกลี่ยกันอีกครั้ง  โดยในครั้งนี้มีผู้ตัดสินเข้าร่วมการเจรจาด้วย  เบื้องต้นคุณนันท์นภัส ยืนยันถึงข้อเสนอให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 30,000  บาท พร้อมให้บริษัททำการขอโทษถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น  แต่เพื่อให้การเจรจาสามารถดำเนินการต่อไปตามคำแนะนำของผู้ตัดสิน            คุณนันท์นภัสและบริษัท แอร์เอเชีย จึงสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจากันได้ คือ บริษัท แอร์เอเชีย ยินดีชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นเงินจำนวน 25,000 บาท พร้อมปลอบใจด้วยบัตรโดยสารเส้นทางภายในประเทศไปและกลับจำนวน 1 ที่  และบริษัทยินดีรับจะนำเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดไปปรับปรุงแก้ไขการบริการให้ดีขึ้นต่อไป คุณนันท์นภัส ยินยอมรับข้อเสนอนี้ เรื่องจึงเป็นอันยุติลงในชั้นศาล ด้วยการจบคดีแบบประนีประนอมยอมความ แม้ว่าผลของคดีนี้จะไม่ได้จบลงด้วยคำพิพากษาเพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง ตามที่คุณนันท์นภัสคาดหวังไว้ในตอนแรก แต่การจบลงด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย  ก็สามารถชี้ให้เห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีลักษณะนี้สำหรับผู้บริโภครายต่อๆ ไปได้ว่า หากใครเจอปัญหาแบบนี้แล้วเจรจาตกลงกันไม่ได้  ให้เตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาฟ้องศาลได้เลย อย่าได้กลัวหรือคิดว่าจะเสียเวลา เพราะการพิทักษ์สิทธิตนเองเป็นสิ่งสำคัญ อย่างน้อยการเจรจาไกล่เกลี่ยที่ศาล ก็สามารถสร้างแรงกดดัน เพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับบริษัทผู้ให้บริการต้องชดเชยความเสียหายคืนได้เหมือนคดีนี้ได้   เจ็บนี้อีกนาน! ปลายเดือนกรกฎาคม  คุณนุชเพิ่งซื้อจักรยาน 24 นิ้ว ไม่ปรากฏยี่ห้อ รุ่น VALUE  ของบริษัท มาย จักรยาน  ในราคา 850 บาทจากห้างสรรพสินค้าดังแห่งหนึ่งย่านรามคำแหง  ตอนที่ซื้อคุณนุชก็ได้ดูพนักงานประกอบ และทดสอบปั่นเบาๆ ในบริเวณห้างฯ  ขณะที่ทดสอบปั่นในห้างก็ไม่ปรากฏว่าชิ้นส่วนใดๆ จะหลุดออกมา จึงได้ปั่นจากห้างสรรพสินค้าดังกล่าวมาที่พัก ซึ่งเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรอยู่ทุกอย่างก็โอเค ต่อมาในเช้าวันที่ 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา  คุณนุชได้ปั่นจักรยานคันดังกล่าวเพื่อไปทำงานจากบ้านพักซอยอ่อนนุช 17 ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  ขณะที่ปั่นถึงแยกคลองตันได้หยุดเพื่อรอสัญญาณไฟจราจร พอไฟเขียวคุณนุชได้ออกตัวขยับขึ้นปั่นเพื่อส่งแรงให้จักรยานเคลื่อนตัวปรากฏว่า บันไดรถจักรยานได้หลุดออกจากตัวจักรยาน ทำให้เสียการทรงตัว รถล้มและหัวเข่าคุณนุชกระแทกกับพื้นอย่างแรง คุณนุชไม่สามารถเคลื่อนขยับขาซ้ายได้ ผู้คนบริเวณนั้นจึงได้พาไปนั่งพักที่บริเวณฟุตบาท ก่อนที่คุณนุชจะโทรหาเพื่อนที่ทำงานเพื่อให้มาหาและนำตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด แพทย์ได้ตรวจอาการพบว่า กระดูกบริเวณหัวเข่าซ้ายร้าวต้องรักษาด้วยการใส่เฝือกเป็นเวลา 1 เดือน เสียค่ารักษาพยาบาลกว่า 3,910 บาท ไม่รวมถึงต้องเหมารถยนต์ไปใส่ซากรถจักรยานกลับมาบ้านพักอีก เรื่องไม่จบแค่นั้น เมื่อพบว่าสินค้า(จักรยาน) ที่ซื้อมาชำรุดบกพร่อง ขณะที่ซื้อมาเพียง 1 วัน และอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากมีรถขับตามมาด้วยความเร็วสูง  คุณนุชจึงได้ร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยเล่าเรื่องด้วยอาการเจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้น “ดิฉันไม่คิดเลยว่าห้างฯ ใหญ่มีชื่อเสียงจะนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาขายให้กับผู้บริโภค ดิฉันเพิ่งซื้อมาวันเดียวปั่นยังไม่ถึงไหน  ชิ้นส่วนรถหลุดเป็นชิ้นๆ แบบนี้ แถมดิฉันต้องมาเจ็บตัวอีก เดินไม่ได้ ลูกก็ต้องเลี้ยง แถมต้องเดินทางไปทำงานยากลำบากอีก ยังไงดิฉันต้องให้ทางห้างสรรพสินค้าและบริษัทผลิตรถจักรยานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับดิฉัน”แนวทางแก้ไขปัญหา กรณีสินค้าไม่ได้มาตรฐานชำรุดบกพร่องและก่อให้เกิดการบาดเจ็บ  สิ่งที่ผู้บริโภคต้องทำกรณีที่เกิดเรื่องเช่นนี้ คือ 1. แจ้งความสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ เพื่อเป็นหลักฐาน 2. เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลต้องขอใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้เข้ารับการรักษาจริง 3.  ประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ประกอบด้วย - ค่าคืนสินค้าชำรุดบกพร่อง ราคาตามใบเสร็จรับเงิน - ค่ารักษาพยาบาลตามจริง (มีใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล) -  ค่าขาดประโยชน์กรณีที่ไม่สามารถทำงานได้ กรณีคุณนุช ไม่สามารถทำงานได้ 2 เดือน โดยคิดตามยอดเงินเดือนที่ได้รับจากบริษัทฯ คือเดือนละ 15,000 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท - ค่าจ้างคนดูแลบุตร เนื่องจากบาดเจ็บไม่สามารถดูแลบุตรวัย 11 เดือน 4. ให้ผู้เสียหายทำจดหมายถึงห้างสรรพสินค้า และบริษัทฯ เจ้าของจักรยาน เพื่อให้เยียวยาความเสียหาย ตามรายละเอียดใบประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น   ซึ่งกรณีของคุณนุชได้เรียกร้องให้ทั้งห้างสรรพสินค้าและบริษัทฯ จักรยาน ร่วมกันจ่าย เป็นยอดเงิน 47,260 บาท ต่อมาทางห้างสรรพสินค้าได้ส่งตัวแทนเพื่อเจรจากับคุณนุชที่บ้านพัก ซึ่งตัวแทนห้างสรรพสินค้า ได้แจ้งกับคุณนุชว่า จักรยานดังกล่าวทางห้างได้ซื้อมาเพื่อประกอบเอง จึงอาจมีปัญหาในกระบวนการประกอบ ซึ่งขณะนี้ได้มีการตรวจสอบการประกอบจักรยานให้รัดกุม เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้จักรยาน  พร้อมขอเยียวยาความเสียหายกับคุณนุช เป็นเงิน 25,000 บาท ประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งสิ้น 10,000 บาท ค่าขาดรายได้  1 เดือน เป็นเงินจำนวน 15,000 บาท คุณนุชยินดีรับเงินตามยอดดังกล่าว  เพราะอย่างน้อยก็ทำให้ห้างสรรพสินค้ามีความรัดกุมในการตรวจสอบกระบวนการประกอบรถจักรยานมากขึ้น เพราะนั่นคือความปลอดภัยของผู้บริโภค   เครื่องใช้ไฟฟ้า เกรด B   ดีจริงๆ หรือ? สินค้า เกรด B  เป็นสินค้าที่ผู้ขายมักบอกกับผู้ซื้อว่า  เป็นสินค้าเกรด A  นั่นแหละ  มีตำหนิ นิดหน่อย ซึ่งมักจะสังเกตพบได้ง่าย  เช่น ตู้เย็นที่มีรอยตำหนิบริเวณประตู สีไม่เรียบ  แต่อุปกรณ์ภายใน ไม่ว่าจะเป็นคอมเพรสเซอร์หรืออะไหล่ส่วนอื่นเหมือนสินค้าเกรด  A ทุกอย่าง  หากลูกค้าไม่ซีเรียสเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก  มักจะตัดสินใจซื้อ  เพราะได้สินค้าที่ราคาถูกกว่ามาก คุณนิรภา ก็ใช้เหตุผลเดียวกันที่ยอมซื้อตู้เย็น 6.6  คิวและเครื่องซักผ้าขนาด 7.2  กก. ยี่ห้อโตชิบา มาใช้   ยอมควักเงินจำนวน 9,982  บาท   เพราะมั่นใจว่าจะได้รับสินค้าดีใช้งานได้ตามที่โทรศัพท์คุยกับพนักงานและติดต่อสั่งซื้อที่บริษัทโดยตรง    แต่เมื่อรับสินค้ามาใช้งาน ก็เริ่มพบปัญหา  ตู้เย็น บานประตูช่องแช่แข็งปิดไม่แน่น ตรวจพบว่าเขี้ยวที่เป็นตัวล็อคหัก   ขอบบนประตูตู้เย็นไม่แน่น  ช่องแช่แข็งไม่สามารถแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส   ส่วนเครื่องซักผ้า  มีปัญหาว่าตอนล้างผ้าและปั่น เสียงดังมาก     อ้าว?  ไหนว่าเกรด B มีตำหนิเฉพาะภายนอกไง คุณนิรภาจึงโทรไปแจ้งที่ศูนย์บริการลูกค้า  แต่บริษัทฯ กลับบอกว่า  สินค้าเกรด B ไม่สามารถเปลี่ยนเครื่องใหม่ได้  แต่จะซ่อมและเปลี่ยนอะไหล่ให้ คุณนิรภาคิดว่าคงเปลี่ยนไม่ได้จริงๆ อย่างที่บริษัทแจ้ง  เลยยอมให้ช่างมาซ่อม ช่างเปลี่ยนคอยด์เย็นตัวใหม่ให้ ส่วนประตูช่างบอกเปลี่ยนอะไหล่ไม่ได้ ต้องซื้อเปลี่ยนทั้งบานราคาประมาณ 2 พันบาท ผู้ซื้อต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ส่วนเครื่องซักผ้า เปลี่ยนอะไหล่แล้วยังดังเหมือนเดิม   ทำยังไงดีล่ะ จะต้องซ่อมกันตลอดเวลาไหม  ซ่อมแล้วยังใช้ไม่ได้นี่แหละปัญหาใหญ่ อยากได้ของถูกสินค้าเกรด B จ่ายเงินเหมือนกันกลับบอกว่าเปลี่ยนไม่ได้  และเป็นที่คับข้องใจว่า สินค้าเกรด B  เปลี่ยนไม่ได้จริงหรือ คุณนิรภาจึงต้องหาตัวช่วย แนวทางการแก้ไขปัญหา เมื่อศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ  ได้รับเรื่องร้องเรียนของคุณนิรภา สอบถามวัตถุประสงค์ก็รับทราบว่าต้องการเปลี่ยนสินค้าใหม่เท่านั้น  เจ้าหน้าที่ศูนย์จึงต้องถามกับคุณนิรภาว่า หากเกิดปัญหาอีกคุณนิรภายอมรับได้หรือไม่  เพราะสินค้าเกรด B  นั้นต้องยอมรับว่า เป็นสินค้าที่มีปัญหาคล้ายกับรถยนต์มือสอง ที่ต้องมีการซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา  ผู้ซื้อต้องยอมรับได้ตรงจุดนั้น แต่ถ้ารับไม่ได้ก็จะเป็นปัญหากวนใจไปตลอด   ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จึงได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า  ปัจจุบันสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เกรด A ราคาไม่ต่างจากเกรด B  มากนัก อีกทั้งยังมีการประกันสินค้าหรือหากมีปัญหาในระยะ 7  วัน  ผู้ขายจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ทันที สุดท้ายคุณนิรภาจึงตัดสินใจขอเงินคืนเพื่อเอาไปซื้อสินค้าใหม่เกรด A ดีกว่า ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จึงแนะนำให้คุณนิรภา ทำหนังสือถึงบริษัทฯ แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น  และขอให้บริษัทฯ คืนเงินทั้งหมด  ด้วยเหตุที่ว่าไม่สามารถใช้สินค้าได้  ต้องซ่อมแซมมาตลอด และเมื่อซ่อมแล้วอาการเสียยังเหมือนเดิม  เมื่อบริษัททราบเรื่องร้องเรียนกลับบอกว่า คุณนิรภารู้อยู่แล้วว่าสินค้าเกรด B เป็นสินค้ามีปัญหาและผู้ซื้อยอมรับได้ บริษัทฯ คืนเงินให้ได้แต่ขอหักค่าเสื่อมราคาและค่าอะไหล่ที่ต้องเปลี่ยน จากการใช้งานรวมแล้วเป็นประมาณเกือบ 5,000 บาท เรื่องจึงมาถึงเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ  โดยสอบถามกลับไปที่บริษัทฯ เพื่อขอทราบเหตุผลการหักค่าเสื่อมและค่าอะไหล่ เพราะกรณีสินค้าที่ชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้ขายต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว  ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าเป็นสินค้าเกรด B  ผู้ซื้อทราบอยู่แล้วนั้น  ผู้ขายแจ้งข้อมูลเพียงว่า เป็นสินค้ามีตำหนิเฉพาะภายนอกเท่านั้น อีกทั้งเมื่อซื้อมาแล้วไม่สามารถใช้งานได้จนได้รับความเสียหาย  เสียทั้งเงินและเวลา จะมาหักค่าเสื่อมได้อย่างไร เมื่อบริษัทฯ ไม่สามารถชี้แจงเรื่องดังกล่าวได้ จึงยอมคืนเงินให้กับคุณนิรภาทั้งหมด  คุณนิรภาสะท้อนความรู้สึกให้เราฟังว่า ตนเองมีสตางค์พอที่จะซื้อสินค้าเกรด A แต่ชอบของถูก  เข็ดแล้วกับสินค้าเกรด B   เพราะเหนื่อยกับการสู้รบกับบริษัทฯ ถ้าไม่มีตัวช่วยอย่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค คงไม่ได้เงินคืน  ต่อไปจะซื้ออะไรคงต้องตรวจสอบและตัดสินใจให้ดีกว่านี้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 163 เสียงผู้บริโภค

ป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย สำนักงานเขตบางซื่อช่วยเอาออกที !!! เช้าวันที่ 11 มีนาคม  2557 คุณวิภาวรรณ ได้โทรศัพท์ร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ตนเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านประชาสุข ซอยประชาชื่น 33 ถนนประชาชื่น แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยตนและกลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างป้ายโฆษณาเหล็กขนาดใหญ่ในพื้นที่ใกล้บริเวณหมู่บ้านประชาสุข ซอยประชาชื่น 33 ระหว่างซอยย่อยที่ 8 กับด่านเก็บเงินทางด่วนประชาชื่นขาเข้า กรุงเทพมหานคร คุณวิภาวรรณ  ระบุว่า ป้ายโฆษณาเหล็กดังกล่าวนั้น ก่อนที่จะมีการก่อสร้าง ก็ไม่เคยมีเจ้าหน้าที่หรือใครที่เกี่ยวข้องเข้ามาแจ้งคนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงเลย ว่าจะมีการก่อสร้างป้ายโฆษณานี้ อยู่ดีๆ ก็มา สร้างๆ เสร็จก็ติดป้ายโฆษณาทันที โดยไม่สนใจเลยว่าคนแถวนี้จะคิดยังไง  ชาวบ้านก็ไม่รู้จะไปติดต่อใครยังไง ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของป้ายนี้ แล้วได้ขออนุญาตก่อสร้างถูกต้องหรือเปล่าก็ไม่รู้ หลังจากที่ป้ายสร้างเสร็จและเปิดให้โฆษณาแล้ว  คนในหมู่บ้านได้พยายามติดต่อไปที่สำนักงานเขตในท้องที่แล้ว  แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตอนนี้ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน นี่ก็ใกล้หน้าฝนแล้ว ตอนนี้กังวลว่าเกิดมีลมพายุแรงๆ พัดมา หากป้ายไม่แข็งแรงล้มหล่นลงมาจะรุนแรงแค่ไหน เกิดมีคนเจ็บคนตายใครจะมารับผิดชอบ คุณวิภาวรรณ จึงมาร้องเรียน เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา หลังการรับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้สอบถามรายละเอียดของที่ตั้งและลักษณะป้ายโฆษณา ก่อนนัดหมายลงพื้นที่ถ่ายรูป ดูสถานที่จริงของป้ายโฆษณานั้น  เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา ซึ่งพบว่า ป้ายโฆษณาเหล็กขนาดใหญ่ดังกล่าว  เป็นป้ายที่มีความยาวไม่เกิน 32 เมตร (วัดจากพื้นดิน) สูงไม่เกิน 30 เมตร เข้าข่ายเป็นป้ายโฆษณาที่มีลักษณะเป็นอาคาร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 และตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ต้องมีการขออนุญาตก่อนจะได้รับอนุญาตก่อสร้างได้ จึงแนะนำให้คุณวิภาวรรณ ทำหนังสือร้องเรียนถึงสำนักงานเขตบางซื่อ พร้อมแนบเอกสารภาพถ่าย โดยขอให้สำเนาหนังสือร้องเรียนถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานด้วย  สำหรับในส่วนของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ก็ต้องออกหนังสือถึงสำนักงานเขตบางซื่อเช่นกัน  ส่วนที่ต้องออกหนังสือด้วยนั้น ไม่ใช่ไม่เชื่อมั่นในสำนักงานเขตว่าจะไม่แก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคหรือไม่  แต่การออกหนังสือของมูลนิธิฯ เองก็ถือว่าเป็นการส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหากรณีนี้  และเพื่อการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ด้วย ดังนั้นมูลนิธิฯ จึงออกหนังสือถึงสำนักงานเขตบางซื่อ เมื่อวันที่   11 เมษายน  2557  เพื่อขอให้ตรวจสอบการขออนุญาตก่อสร้างป้ายโฆษณานี้เช่นกัน เวลาผ่านไปสามเดือน จนเมื่อวันที่  7  กรกฎาคม  2557  สำนักงานเขตบางซื่อ มีหนังสือตอบกลับมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แจ้งผลการตรวจสอบป้ายโฆษณาว่า สำนักงานเขตบางซื่อได้ตรวจสอบป้ายโฆณษาดังกล่าวแล้วปรากฎว่า “ป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นป้ายที่ก่อสร้างโดยมิได้รับใบอนุญาต” และได้ออกคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อเปรียบเทียบปรับและแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของป้ายตามขั้นตอนต่อไป เห็นการทำงานของสำนักงานเขตบางซื่อแบบนี้แล้วต้องขอชื่นชม  ถึงจะใช้เวลานานไปหน่อย  แต่อย่างน้อยการร้องเรียนก็เป็นผล หน่วยงานก็ยังแลเห็นปัญหาของผู้บริโภค ที่เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ก็ใช้อำนาจตามกฎหมายมีคำสั่งห้ามใช้อาคาร  ตามมาตรา 40  และมีคำสั่งให้รื้อถอน ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  ซึ่งโทษของการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานของถิ่นในกรณี  มีความผิด โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และวันละสามหมื่นบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน แต่เดี๋ยวก่อน เจอเข้าไปแบบนี้ ใครๆ ก็คิดว่าเรื่องจะจบ  แต่งานนี้ยังไม่จบง่ายๆ  หลังจากสำนักงานเขตมีคำสั่งห้ามใช้ป้ายโฆษณาดังกล่าวแล้ว เนื่องจากเป็นป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมาย  เจ้าของป้ายก็ยังไม่ยุติการใช่ป้ายโฆษณาดังกล่าว  กลับยังใช้ป้ายเพื่อการโฆษณาหารายได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเปิดทางให้ผู้ประกอบการบริษัทโทรศัพท์มือถือยี่ห้อหนึ่งเข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือบนป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมาย และยังพบว่ามีป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมายตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกันอีกด้วย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงมีหนังสือถึงสำนักงานเขตบางซื่ออีกครั้ง เพื่อขอให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้อย่างเร่งด่วนทันที  เพราะเล็งเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการเอกชนหรือเจ้าของป้ายผู้ให้เช่าสถานที่  ไม่ได้มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย กลับยังยิ่งฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานของรัฐอย่างต่อเนื่อง  สมควรที่หน่วยงานของรัฐจะต้องบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืนอย่างเด็ดขาด  ซึ่งต่อจากนี้มูลนิธิฯและชาวบ้านผู้ร้องเรียนมีหน้าที่จะต้องร่วมกันจับตา ตรวจสอบการดำเนินการของสำนักงานเขตบางซื่อในครั้งนี้  ซึ่งหากมีความคืบหน้าในกรณีนี้ ผู้เขียนจะมาแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบอีกครั้งอย่างแน่นอน     “พรบ.ทวงหนี้”  กฎหมายที่ลูกหนี้รอคอย การกู้ยืมเงิน เพื่อการจัดซื้อสิ่งจำเป็นในชีวิต(บางสิ่งก็ไม่จำเป็น) เช่น ซื้อบ้าน เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ ฯลฯ   สมัยนี้เป็นไปได้ง่าย เพราะมีทั้งสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจที่เสนอบริการเงินด่วน อันแสนง่ายดายให้กับผู้บริโภคเป็นจำนวนไม่น้อย ด้วยเงื่อนไขจูงใจ ทั้งจ่ายเงินคืนขั้นต่ำจากวงเงินที่ใช้จ่ายไปแล้ว ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ฐานเงินเดือนที่ไม่สูงมาก    จ่ายน้อย ผ่อนนาน ฯลฯ ทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดการใช้จ่ายเงินจาก บัตรเครดิต และบัตรสินเชื่อหมุนเวียน กันเป็นจำนวนเงินมหาศาล บางคนก็ได้รับความสะดวกสามารถจ่ายคืนได้ปกติ แต่หลายคนได้เริ่มเข้าสู่สภาวะมีหนี้สินเกินตัวกันไปแล้ว ปัญหาหนี้สินที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้นั้นมีมากมาย  จนก่อให้เกิดอาชีพใหม่ คือ “การติดตามทวงหนี้”   พฤติกรรมของคนที่รับทวงหนี้มีหลากหลาย  ตั้งแต่  ทวงหนี้ทั้งวัน  โทรมาหาเจ้านายประจานหนี้   ข่มขู่ ว่าไม่ชำระจะต้องเข้าคุกเพราะโกงเจ้าหนี้  อ้างว่าเป็นตำรวจจะมาจับหากไม่ใช้หนี้  ทวงหนี้กับญาติพี่น้อง หรือใช้จดหมายที่เลียนแบบหมายศาลหลอกลูกหนี้  ฯลฯ  กลวิธีมีหลากหลายมากมาย  โดยเฉพาะการด่า หรือพูดจาหยาบคายดูหมิ่นเหยียดหยาม  เสมือนลูกหนี้ เป็น “อาชญากรของสังคม” ปัญหาการร้องเรียนพฤติกรรมของเจ้าหนี้และคนที่ติดตามหนี้มีมากมาย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2550 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกแนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้กับลูกหนี้แก่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงินทุกแห่ง แต่ยังคงเป็นเพียงแนวปฏิบัติที่มิได้มีบทลงโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน และไม่ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ หรือการรับจ้าง หรือรับมอบอำนาจจากนิติบุคคลผู้ให้สินเชื่อดังกล่าว  อีกทั้งข้อร้องเรียนเรื่องพฤติกรรมการทวงหนี้มิได้ลดลงแต่อย่างใด ในปีเดียวกันสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้ลงมติรับหลักการเมื่อเดือนธันวาคม 2550 แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสุดสถานะลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้รับการพิจารณา และต่อมาในเดือนกันยายน 2553 กระทรวงการคลังเสนอ ร่าง ร่างพระราชบัญญัติฯ เข้าไปใหม่ และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ  และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจร่างระราชบัญญัติฯ  เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป และต่อมามีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 จึงมิได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัตินี้ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. ได้พิจารณาและจะนำเสนอ คสช. ให้ความเห็นชอบและบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติในลำดับแรก  โดยมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ. ฉบับนี้แล้ว  โดยมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ (ร่าง) พระราชบัญบัติการทวงถามหนี้ พ.ศ” สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... 1. ขอบเขตการใช้บังคับ - ผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งได้แก่ นิติบุคคลที่ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ นิติบุคคลที่รับซื้อ หรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด และบุคคลอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง - ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ให้สินเชื่อในการทวงหนี้ - ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ 2. กำหนดให้มีการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ โดยผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 3. การติดต่อกับบุคคลอื่นที่มิใช่ลูกหนี้ทำได้เพียงสอบถามสถานที่ติดต่อลูกหนี้เท่านั้น โดยกำหนดวิธีปฏิบัติในการติดต่อกับบุคคลอื่น เช่น ผู้ทวงถามหนี้ต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อหน่วยงาน ไม่แจ้งความเป็นหนี้ของลูกหนี้ ไม่ใช้ภาษา สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจบนซองจดหมายหรือในหนังสือหรือในสื่ออื่นใดที่ทำให้เข้าใจว่าติดต่อมาเพื่อทวงถามหนี้ ไม่ติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้ 4. กำหนดหลักเกณฑ์ในการทวงถามหนี้ ดังนี้ 4.1  วิธีปฏิบัติในการติดต่อกับลูกหนี้ ผู้ทวงถามหนี้ต้องติดต่อกับลูกหนี้ตามสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ ติดต่อในเวลา 9.00น. – 20.00น. แจ้งลูกหนี้ทราบถึงชื่อผู้ให้สินเชื่อและจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ แสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากผู้ให้สินเชื่อต่อลูกหนี้ด้วย และเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้แล้วให้ผู้ทวงถาม ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ 4.2 ข้อห้ามในการทวงถามหนี้ ห้ามทวงถามหนี้กับบุคคลอื่น 1) ไม่กระทำการในลักษณะข่มขู่ใช้ความรุนแรง ใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่น เสียดสีลูกหนี้หรือบุคคลอื่น เปิดเผยความเป็นหนี้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ติดต่อลูกหนี้เกี่ยวกับหนี้โดยใช้ไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึกหรือโทรสาร หรือใช้ภาษา สัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจบนซองจดหมายหรือในหนังสือที่ทำให้เข้าใจว่าติดต่อมาเพื่อทวงถามหนี้ และทวงถามหนี้ในลักษณะอื่นตามคณะกรรมการประกาศกำหนด 2)      ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการ ทวงถามหนี้โดยแสดงหรือใช้เครื่องหมาย เครื่องแบบหรือข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้ ทำโดยทนายความ สำนักงานกฎหมาย แสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี ถูกอายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ติดต่อหรือแสดงให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ติดต่อหรือแสดงให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต 3)      ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะไม่เป็นธรรม โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด หรือการเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็ค ทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ 5. การกำกับดูแลผู้ทวงถามหนี้ 4.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน กรรมการโดยตำแหน่ง 8 ท่าน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  นายกสภาทนายความ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการเงินการธนาคาร กฎหมาย และการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างน้อยด้านละ 1 คน และเจ้าหน้าที่ สศค. เป็นฝ่ายเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระคราวละ 3 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน สศค. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ทวงถามหนี้ ประสานราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลหรือตรวจสอบผู้ให้สินเชื่อ ผู้ทวงถามหนี้หรือบุคคลอื่นใด รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย 6. บทกำหนดโทษ 6.1 กำหนดแยกระหว่างการใช้มาตรการบังคับทางปกครองสำหรับการกระทำผิด ที่ไม่ร้ายแรงให้แยกเป็นโทษทางปกครอง เช่น ติดต่อโดยไม่แจ้งชื่อ ที่มา ติดต่อนอกเวลา เรียกค่าธรรมเนียมเกินอัตรา และกรณีความผิดร้ายแรงให้แยกเป็นโทษอาญา โดยกำหนดความรับผิดสำหรับผู้ทวงถามหนี้ที่ดำเนินกิจการฝ่าฝืน ปรับทางปกครองไม่เกิน 1 แสน 6.2 โทษอาญา 1) จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประกอบธุรกิจโดย ไม่จดทะเบียน เปิดเผยความเป็นหนี้กับบุคคลอื่น ใช้วาจาดูหมื่น เสียดสี จูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็ค) 2) จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ (ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ทำให้เชื่อว่าเป็นการกระทำของทนายความ) 3) จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ (ใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ เครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ) 7. บทเฉพาะกาล ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้อยู่ก่อนวันที่ พรบ. นี้มีผลใช้บังคับ ให้ยื่นขอจดทะเบียนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พรบ. นี้มีผลใช้บังคับ   ลูกหนี้คงต้องตั้งตาคอยกันว่า  กฎหมายฉบับนี้จะคลอดเมื่อไร และจะคลอบคลุมพฤติกรรมของคนทวงหนี้ได้จริงหรือไม่  หวังว่า การพิจารณาร่างกฎหมายคงออกมาให้ลูกหนี้ได้ชื่นใจ สมกับคำที่ว่า   คสช. คืนความสุขให้กับคนไทย   ปลั๊กไฟรุ่นพิเศษ เสียบปุ๊บ ไฟดับปั๊บ... คุณโสภา  ได้ซื้อปลั๊กไฟชนิดอย่างดียี่ห้อหนึ่ง จากร้านจำหน่ายที่ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า เป็นปลั๊กไฟแบบ 5 ช่องเสียบ ยาว 4.5 เมตร  มา 1 อัน ในราคา 400 บาท เมื่อกลับมาถึงบ้าน  คุณโสภาได้หยิบปลั๊กมาเพื่อใช้งานทันที หลังจากเสียบปุ๊บ ทันใดนั้นไฟฟ้าทั้งชั้นก็ดับสนิท อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่เปิดอยู่ เช่น ทีวี พัดลม คอมพิวเตอร์ ทุกอย่างดับหมด  แต่คุณโสภา ยังไม่อยากเชื่อว่าปลั๊กไฟที่ซื้อมาจะเสีย ที่ไฟดับอาจเป็นเพราะพอดีการไฟฟ้าหยุดจ่ายไฟก็ได้ คุณโสภาจึงไปขอทดลองเสียบปลั๊กไฟอีกครั้งกับบ้านอีกหลังหนึ่งในบริเวณเดียววัน เมื่อเสียบปุ๊บ ผลเป็นเช่นเดียวกัน คือ ไฟฟ้าของบ้านหลังนั้นดับสนิท ทุกอย่างไม่สามารถใช้งานได้ คุณโสภาจึงรีบโทรศัพท์ไปที่ร้านเพื่อแจ้งว่าปลั๊กไฟที่ซื้อมามีปัญหา แต่ร้านที่ซื้อบอกไม่เกี่ยวกัน ให้ไปติดต่อกับบริษัทเอาเอง เจอแบบนี้ คุณโสภา มึนแปดด้านไม่รู้จะทำยังไง ปลั๊กก็เสีย ไฟก็ดับ จึงมาขอคำปรึกษาและร้องเรียนที่มูลนิธิฯ   แนวทางแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ จริงๆ แล้วง่ายมาก ตามสิทธิผู้บริโภคเมื่อซื้อสินค้ามาแล้วใช้งานไม่ได้ ผู้บริโภคก็ย่อมมีสิทธิได้เปลี่ยนสินค้าหรือได้เงินคืน กรณีนี้คุณโสภา สามารถนำสินค้าไปเปลี่ยนกับร้านที่ซื้อได้เลย แต่อาจจะมีปัญหาถกเถียงกันนิดหน่อย หากร้านที่ขายไม่ยอมให้เปลี่ยน อาจทำให้อารมณ์เสีย แต่ถ้าไม่อยากให้มีปัญหาและไม่ใช่หน้าที่ของเราที่ซื้อมาแล้วยังต้องเอาไปเปลี่ยน เพื่อความรวดเร็วจึงแนะนำให้กดโทรศัพท์ไปที่บริษัทผู้ผลิตปลั๊กไฟ ที่ระบุชื่อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อที่กล่องผลิตภัณฑ์ เพื่อขอให้บริษัทส่งพนักงานเข้ามาตรวจสอบปลั๊กไฟที่ซื้อและระบบไฟฟ้าที่บ้านว่าเกิดจากสาเหตุใด หากมีความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์และระบบไฟฟ้า อันเกิดจากปลั๊กไฟที่ชำรุดเสียหายแล้วนำมาจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข หลังการแนะนำ คุณโสภาได้ทำตาม  และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน บริษัทได้ส่งช่างเทคนิคมาตรวจสอบปลั๊กไฟและระบบไฟฟ้าของบ้านทั้งหมด ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าระบบไฟฟ้าของบ้านไม่มีปัญหา ช่างของบริษัทสามารถแก้ไขให้เป็นปกติเหมือนเดิมได้ แต่ในส่วนปลั๊กไฟที่ซื้อมานั้น ทดสอบแล้วพบว่ามีความชำรุดบกพร่องของสินค้าจริง บริษัทจึงขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการนำปลั๊กไฟตัวใหม่ที่ทดลองแล้วว่าสามารถใช้งานได้มาให้แทน และขอนำปลั๊กไฟตัวปัญหากลับคืน เพื่อทดสอบหาสาเหตุต่อไป เรื่องเหมือนจะจบลงด้วยดี ถ้าคุณโสภาเป็นเพียงผู้บริโภคธรรมดาที่ไม่คิดมาก แต่คุณโสภา เข้าใจว่าปัญหาแบบนี้อาจเกิดได้กับทุกคนที่ซื้อปลั๊กไฟ และเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริงนั้น จึงได้ขอสงวนสิทธิที่จะไม่ให้ปลั๊กไฟตัวปัญหาให้กับบริษัท แต่จะขอนำส่งให้กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อให้ทดสอบหาข้อเท็จจริงของการชำรุดเสียหายของปลั๊กไฟนี้ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคที่อาจจะเจอปัญหาแบบเดียวกันนี้ การดำเนินการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที กับการแสดงความรับผิดชอบของบริษัทเช่นนี้ ทำให้คุณโสภา ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว เกิดความสบายใจและไม่คิดจะ ซึ่งหากใครที่เจอปัญหาแบบเดียวกันนี้ ก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้ ข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งนี้เชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้ว่า ปัจจุบันปลั๊กไฟ หรือปลั๊กพ่วง แบบต่างๆ ที่ขายกันในบ้านเรานั้น แท้จริงแล้ว มี มอก. เพียงเฉพาะในส่วนที่เป็นมาตรฐานสายไฟ คือ มอก. 11-2531  หรือ มอก. 11 ที่เป็นสายไฟหุ้มฉนวนทองแดง PVC  เท่านั้น โดยที่ในส่วนที่เป็นรางปลั๊กไฟทั้งชุด มอก. ไมได้กำหนดมาตรฐานควบคุมไว้ ซึ่งการกำหนดให้มีมาตรฐานดังกล่าวของสายไฟดังกล่าว ทาง มอก.  ได้ออกเป็นมาตรฐานประเภททั่วไป ที่ไม่มีการบังคับ คือจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้าได้รับเครื่องหมายก็แสดงถึงคุณภาพที่ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นั่นหมายความว่า ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายที่นำปลั๊กไฟมาขายนั้น ขอแค่มีสายไฟที่ถูกหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน มอก. ก็จะสามารถนำมาขายในประเทศไทยได้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายก็จะไม่บอกข้อมูลในส่วนนี้ให้ผู้บริโภคได้รับรู้กันด้วย บอกแค่ว่า ผลิตภัณฑ์นี้ได้ มอก. เท่านั้นเท่านี้ ผู้บริโภคก็คิดกันไปเองว่า มอก. นี้คือ มาตรฐานของปลั๊กไฟทั้งชุด... อึ้งกันเลยใช่ไหมล่ะ !!! เจอแบบนี้ ผู้บริโภคก็คงต้องดูแลตัวเอง การเลือกใช้ปลั๊กไฟจึงควรพิจารณาในส่วนประกอบต่างๆ ของปลั๊กให้ดี ทั้งตัวปลั๊กเสียบ สายไฟฟ้าและวัสดุที่ใช้ทำรางปลั๊ก และอย่างน้อยก็ อย่าลืมมองหาปลั๊กไฟที่มีตรามาตรฐาน มอก. ในการพิจารณาเลือกซื้อ แม้จะมีมาตรฐานเฉพาะสายไฟอย่างเดียว แต่ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและความปลอดภัยในการใช้งานนะครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 162 ทำไมเครือข่ายผู้บริโภคจึงคัดค้านการแจกคูปอง 1,000 บาท กรณีกล่องดิจิตอลทีวี

วันนี้ ถ้าไม่พูดถึงเรื่องการแจกคูปองเพื่อให้ประชาชนไปแลกซื้อกล่องทีวีดิจิตอล ของ กสทช.  คงเชยแย่....   แต่เอ๊ะ! เรื่องดีๆ อย่างนี้ ทำไมมีทั้งคนสนับสนุน และคัดค้านมากมายจัง    ผู้บริโภคค้านการแจกคูปองราคา 1,000  บาท  เสนอให้กำหนดราคาคูปองเพียง 690 บาท   แต่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล  กลับค้านการแจกคูปองราคา 690 บาท และสนับสนุนการแจกคูปองราคา 1,000 บาท  โอ้ย...มันกลับหัวกลับหางยังไงกัน ผู้บริโภคน่าจะดีใจที่ได้คูปอง 1,000 บาท  กลับไม่เอา   ได้มากก็ดีแล้วไง  ทำไมถึงมาค้าน เพราะอะไร?   โดยเฉพาะมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค  เป็น 2 องค์กรที่ออกมาคัดค้านเต็มเหนี่ยว  และโดนสังคมตั้งคำถามมากมายถึงการออกมาคัดค้านเรื่องนี้   ถามจริงๆ ก็ต้องบอกกันตรงๆ ว่า สาเหตุที่คัดค้าน คือ 1. ราคา และ  2. ขั้นตอนการแจก ค้านทำไม?  ชัดๆ นะเพราะเงินที่จะนำมาใช้ในการแจกคูปอง  22  ล้าน ครัวเรือน ต้องใช้งบประมาณกว่า 2 หมื่นล้านบาท     แม้จะเถียงว่าเงินนี้ไม่ใช่เงินงบประมาณแผ่นดิน  แต่เป็นเงินที่ได้มาจากการประมูลคลื่นความถี่ ทีวีดิจิตอล(รัฐธรรมนูญกำหนดว่าคลื่นความถี่ “ถือว่าเป็นสมบัติชาติ”) เงินที่นำมาแจกคือเงินของประเทศ    ดังนั้นการใช้เงินนี้ต้องสุจริต โปร่งใส   และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ    การแจก “คูปอง” ไม่ใช่ปัญหา  แต่ปัญหาคือ “การกำหนดราคาคูปอง” แล้วทำไม? เครือข่ายที่ทำงานด้านผู้บริโภค จึงสนับสนุนการแจกคูปอง 690 บาท  คำตอบคือ  เพราะราคากล่องดิจิตอล  500  บาท ผู้ผลิตผู้ขายก็มีกำไรแล้ว(มีบริษัทผู้ผลิตและนักวิชาการออกมายืนยันชัดเจน) การกำหนดราคาคูปอง 1,000 บาท เป็นการกำหนดราคาเกินจริง  คนที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่ประชาชน !  เพราะกำหนดราคาที่ 1,000 บาท ผู้ขายกล่องก็จะอัพราคาให้สูงกว่าราคาคูปองอยู่ดี  จะเห็นได้ว่า ตอนแรกที่ กสทช. มีแนวจะกำหนดราคาคูปองที่ 690 บาท ราคากล่องในท้องตลาดเรายังหาซื้อได้ในราคา 600-700 บาท ตอนมีข่าวว่า กสทช.จะกำหนดราคาคูปองใหม่เป็น 1,000 บาท  ราคากล่องก็ขึ้นราคาไปที่ 1,200  บาท   แต่ถึงเวลาเคาะราคาจริงที่ 690 บาท  ราคากล่องก็เริ่มลงราคามาแล้วในหลายยี่ฮ้อ  คงเป็นคำตอบได้อย่างดีว่า  ไม่ว่าจะแจกคูปองราคาเท่าไร   เราก็ต้องจ่ายเพิ่มส่วนต่างอยู่ดี  คนที่ได้ประโยชน์พุงปลิ้น ไม่ใช่ผู้บริโภค ประเทศไทยกำลังเข้าสู่โหมดแห่งการปฏิรูป   การปฏิรูป ก่อนอื่น เราต้องมองข้ามผลประโยชน์ส่วนตน   และต้องร่วมแรงร่วมใจรักษาผลประโยชน์ชาติ   ไม่ปล่อยให้เกิดการโกงด้านนโยบายซ้ำซากอีก   มหากาพย์คูปองดิจิตอลยังไม่จบ   ยังมีเรื่องวิธีการแจก  วิธีการจำหน่ายกล่องฯ  ใครจะมีสิทธิขายได้บ้าง จะเอื้อเพียงรายใหญ่  หรือรายเล็กรายน้อยก็มีสิทธิขายได้  ต้องติดตามตอนต่อไป    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 162 เสียงผู้บริโภค

น้ำมะเขือเทศกล่อง ขึ้นรา !!! กินไปแล้วทำไงดี กลายเป็นข่าวครึกโครมบนโลกออนไลน์กันอีกครั้ง เมื่อมีผู้บริโภครายหนึ่ง โพสกระทู้ในเว็บไซด์พันทิปดอดคอม ว่า  “ เตือนภัยน้ำผลไม้ยี่ห้อดัง !!! ”   พร้อมระบุถึงความผิดปกติของน้ำมะเขือเทศที่ดื่มไป และยังได้โพสภาพของสิ่งแปลกปลอมรูปร่างประหลาดที่อยู่ในน้ำมะเขือเทศดังกล่าวไว้ให้คนอื่นเห็นอีกด้วย กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คุณคทาธร ได้ซื้อน้ำมะเขือเทศบรรจุกล่อง UHT  ยี่ห้อมาลี จากห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน เพื่อให้ลูกสาวดื่ม ซึ่งลูกสาวได้เปิดกล่องและดื่มน้ำมะเขือเทศตามปกติ แต่ไม่ได้นำเข้าตู้เย็น ดื่มไปสามวันอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้สังเกตว่าน้ำมะเขือเทศที่ดื่มมีอะไรเจือปนอยู่หรือเปล่า จนเข้าวันที่สามก็ผิดสังเกต เมื่อจะดื่มปรากฏว่าเทน้ำไม่ออก เหมือนมีอะไรอุดอยู่ที่ปากกล่อง จึงลองเขย่า เทแล้วก็ยังไม่ออก ด้วยความสงสัยจึงตัดสินใจบีบกล่อง ดูเพื่อความแน่ใจ สิ่งที่เธอเห็น ทำให้เธอผงะ แทบอาเจียนออกมาเลยทีเดียว เพราะสิ่งแปลกปลอมที่ติดคาอยู่ในกล่อง  มีสภาพเหมือนหนังคางคกตากแห้งแช่น้ำลื่นๆ เหนียวๆ “ถ้ารู้ว่ามีสิ่งนี้แต่แรก คงไม่กินจนหมดแบบนี้ “ เธอแจ้งคุณคทาธรผู้เป็นพ่อทันที คุณคทาธร จึงรีบโทรศัพท์แจ้ง Call Center  ผู้ผลิตตามเบอร์โทรศัพท์และเวลาทำการที่ติดอยู่ข้างกล่อง ลองโทรอยู่หลายที แต่ติดต่อไม่ได้ ไม่มีคนรับสาย คุณคทาธรจึงตัดสินใจโพสกระทู้ลงเว็บไซด์พันทิพย์ดอดคอม โดยเพื่อเป็นการเป็นการเตือนให้ผู้บริโภครายอื่นรับรู้ และหวังว่าบริษัทจะรู้ว่าสินค้าของบริษัทมีปัญหา เพื่อบริษัทจะแสดงความรับผิดชอบบ้าง หลังจากโพสกระทู้ไปแล้ว ในคืนนั้นเอง ตัวแทนบริษัทก็ติดต่อกลับมา สอบถามรายละเอียดของสินค้ากับลักษณะของสิ่งแปลกปลอมที่พบเจอ พร้อมขอแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่คุณคทาธร คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นเรื่องการซื้อสินค้าของตนเอง แต่สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีขายอยู่จำนวนมาก อาจมีผู้บริโภคคนอื่นที่เจอปัญหาแบบตน และเพื่อให้บริษัทตรวจสอบหาความจริงของสิ่งปลกปลอมนี้ คุณคทาธร จึงตัดชิ้นสิ่งแปลกปลอมครึ่งหนึ่งให้กับบริษัทเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุ โดยอีกส่วนหนึ่งจะขอนำส่งให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ตรวจสอบปัญหา เพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างกับประชาชนผู้บริโภคต่อไป   แนวทางแก้ไขปัญหา แม้ว่ากรณี บริษัทได้แถลงการณ์ชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันที สรุปได้ว่า  เบื้องต้นกรณีนี้สามารถเกิดขึ้นจาก micro leak คือ รอยรั่วที่มีขนาดเล็กมากเฉพาะอากาศที่ผ่านเข้าไปได้เท่านั้น น้ำจะไม่สามารถไหลซึมออกมาได้ โดยอากาศจะค่อยๆ ซึมผ่านเข้าไปภายในกล่อง ทำให้จุลินทรีย์เติบโตกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมลักษณะดังกล่าวได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการกระแทกระหว่างขนส่ง หรือทางร้านอาจมีการทำกล่องตกหล่นแล้วนำกลับขึ้นไปวางใหม่ ทำให้บรรจุภัณฑ์ชำรุดได้เช่นกัน แต่การแถลงการณ์ชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นของบริษัท โดยที่ยังไม่มีการตรวจสอบหาสาเหตุหรือวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการนั้น อาจจะยังไม่เป็นคำตอบสุดท้ายของผู้บริโภค  ที่หวังว่าปัญหาแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก เนื่องจากหากลองย้อนไปค้นข้อมูลในโลกออนไลน์ดูแล้วจะพบว่า ปัญหาน้ำผลไม้บรรจุกล่องที่เจอสิ่งปนเปื้อนแปลกปลอมนี้มีเกิดขึ้นโดยตลอด ซึ่งคำตอบของบริษัทที่ออกมาล้วนไม่แตกต่างกัน คือ เกิดจากระบบการขนส่งที่มีปัญหา ทำให้กล่องผลิตภัณฑ์มีรูรั่ว ทำให้อากาศที่มีเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ปนเปื้อนเข้าไปในกล่องผลิตภัณฑ์และเป็นสาเหตุให้ผลิตภัณฑ์เสียและเกิดก้อนเชื้อราดังกล่าว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปัญหาดังกล่าว บริษัทรับรู้รับทราบ แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งแน่นอนไม่มีใครรับรองได้ว่าปัญหาจะไม่เกิดขึ้นอีก หรือเกิดขึ้นแล้วแต่ไม่มีใครรู้ จึงเป็นหน้าที่ของบริษัทหรือผู้ผลิตที่จะออกมาตรการกำกับดูแลอย่างจริงจังเพื่อป้องกันและไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะแบบนี้ขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้น  เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ของบริษัท วันที่  31 กรกฎาคม 2557   บริษัทจึงได้ขอเข้ามาชี้แจงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาของบริษัทต่อผู้บริโภคร่วมกับคุณคทาธรที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 1.  บริษัทขอชี้แจงว่า ผลการวิเคราะห์จากตัวอย่างของผู้ร้องนั้น เป็นเชื้อรา Aspergilus  ที่น่าจะเกิดจากฝาเปิดกล่องที่ตรวจสอบพบรอยรั่ว สันนิษฐานว่า สินค้าอาจได้รับการกระแทกหรือตกหล่นในระหว่างการขนส่ง  และบริษัทจะส่งตรวจสอบเพิ่มเติม กับ หน่วยงานกลาง ได้แก่  หน่วยงานวิจัยของม.มหิดล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ซึ่งน่าจะทราบผลประมาณ 30 วันทำการ 2.  บริษัทจะมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา  ตั้งแต่กระบวนการผลิต , ระบบการขนส่ง  และระบบการจัดเก็บของตัวแทนจำหน่ายจนถึงมือผู้บริโภค 3.  บริษัทฯ จะเข้าไปชี้แจง  ในกระทู้ที่ร้องเรียน  มาลีสัมพันธ์ , เว็บพันทิป ส่วนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในฐานะองค์กรรับเรื่องร้องเรียน เบื้องต้นนำน้ำมะเขือเทศกล่องใหม่ยี่ห้อดังกล่าว มาทดสอบด้วยการเปิดเทดื่มโดยไม่ได้นำเข้าเก็บในตู้เย็นเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ตามแบบคุณคทาธร เพื่อต้องการพิสูจน์ว่าสาเหตุของการมีเชื้อราไม่ใช่เกิดจากการดื่มน้ำมะเขือเทศแล้วไม่นำเข้าตู้เย็น ซึ่งผลการทดสอบก็ไม่พบเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมในกล่องน้ำมะเขือเทศแต่อย่างใด ซึ่งขั้นตอนต่อไปของมูลนิธิฯ นั้นจะนำตัวอย่างเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมที่พบในกล่องน้ำมะเขือเทศของผู้ร้องนำส่งหน่วยงานด้านโภชนาการวิเคราะห์ตัวอย่างปัญหา เพื่อให้เป็นข้อมูลเฝ้าระวังสำหรับผู้บริโภคต่อไป ขอฝากสำหรับผู้บริโภคเอง ก็มีหน้าที่ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าด้วยเช่นกัน เช่น การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีวันหมดอายุ ไม่มีรอยบุบหรือชำรุดเสียหาย การรับประทานน้ำผลไม้บรรจุกล่องแบบนี้ ควรนำเข้าตู้เย็นทุกครั้งเมื่อรับประทานเสร็จ และควรต้องรับประทานให้หมดภายใน 3 วัน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเองด้วย   เป็น “หนี้” เพราะยกเลิกประกันชีวิต ยกเลิกประกันชีวิต  แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการเป็นหนี้     ฟังแล้วก็งง ไปตามกัน  ลองค่อยๆ ติดตามกันว่าเรื่องมันมีที่มาที่ไปอย่างไร ตอนที่ลุงสายันต์ หอบกรมธรรม์ที่ลุงเก็บไว้ในซองจดหมายของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ตั้งแต่ปี 2553  มากางให้เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ดู แล้วก็โวยวายว่า   ลุงเป็นหนี้เพราะถูก บริษัทฯ หลอกให้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตต่อแล้วลุงจะได้เงินคืนทั้งหมด   ลุงอุตส่าห์ไปกู้เงินเพื่อนมาจ่ายเบี้ยประกันทุกเดือนรวมแล้ว หมื่นเจ็ดพันกว่าบาท แต่จ่ายครบแล้วบริษัทฯ กลับเบี้ยวคืนเงินให้ลุงไม่ครบ   ลุงจะไปแจ้งความข้อหาหลอกลวง  เอ้า !  ไปกันใหญ่ เสียงลุงดังมาก จนต้องบอกคุณลุงใจเย็นๆ แล้วค่อยๆ คุยกัน      หลังจากปล่อยให้ลุงสงบ สติอารมณ์ สักพักเราซักถามลุงจึงรู้ว่าที่ลุงพูดเสียงดังๆ เพราะหูข้างซ้ายพิการไม่ได้ยิน   และนี่เป็นสาเหตุที่ลุงต้องไปขอยกเลิกสัญญากรมธรรม์กับบริษัทฯ  ความพิการทำให้ลุงไม่สามารถทำงานหาเงินส่งเบี้ยประกันชีวิตต่ออีกได้  แต่ตอนที่ลุงไปแจ้งบริษัทฯ  มันครบสองปีแล้ว  เจ้าหน้าที่ Call center บอกให้ลุงส่งเบี้ยประกันชีวิตต่ออีก 1  ปี เพื่อที่จะได้เงินคืนตามสิทธิ  ลุงคิดคำนวณแล้วว่า หากลุงส่งเบี้ยประกันเพิ่มอีกปี ลุงจะได้เงินคืนประมาณ ห้าหมื่นบาท  ลุงจึงไปกู้เงินเพื่อนมาส่งเบี้ยประกัน    แต่เมื่อครบกำหนด ลุงไปแจ้งยกเลิกกรมธรรม์  บริษัทฯ กลับคืนเงินให้ลุง เพียง 15,400 บาท  บอกว่าลุงมีสิทธิที่จะได้เงินคืนเท่านี้ ลุงไม่ยอมจำนนง่ายๆ ไปร้องเรียนที่ คปภ.  (คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย)  เจ้าหน้าที่เรียกบริษัทมาฯ ไกล่เกลี่ย  ทางตัวแทนบริษัทฯ  ก็บอกว่าจะเสนอบริษัทฯ เพิ่มเงินช่วยเหลือให้ลุงอีกสามพันกว่าบาท  ลุงเห็นว่าเจ้าหน้าที่ คปภ.เข้าข้างบริษัทฯ ก็เลยไม่ตกลง  ลุงจึงไปปรึกษาทนายความที่รู้จัก  “เขาบอกว่าลุงฟ้องชนะแน่” ลุงบอกว่าอย่างนั้น ฟังลุงเล่าแล้วซับซ้อนน่าดู    แต่พอมาตรวจสอบจากเอกสาร  เจ้าหน้าที่อย่างเราเลยถึงบาง “อ้อ”  ว่าเงินที่ลุงแกเข้าใจว่าต้องได้คืนนั้น  คือ เบี้ยประกันชีวิตที่ส่งมา 3 ปี ส่วนที่บริษัทฯ บอกว่าแกจะได้เงินตามสิทธินั้น เป็น “มูลค่าเงินสด”  ที่หากผู้เอาประกันบอกเลิกสัญญากรมธรรม์ ภายหลังส่งเบี้ยประกันไปแล้ว 2 ปี  จะมีสิทธิได้รับเงินคืน ที่เราเรียกกันว่า “ค่าเวนคืนกรมธรรม์”  ซึ่งจะมีระบุอยู่ในกรมธรรม์ว่า ในแต่ละปีมีมูลค่าเงินสดเท่าไร      เมื่อทราบสาเหตุจึงได้พยายามอธิบายให้ลุงทราบ  ซึ่งกว่าลุงจะเข้าใจเสียงแหบเสียงแห้งไปตามๆ กัน   แนวทางการแก้ไขปัญหา ศูนย์พิทักษ์สิทธิได้เชิญตัวแทนบริษัทฯ  และลุงเข้ามาพูดคุยเรื่องนี้  ทนายที่เป็นตัวแทนบริษัทฯ ชี้แจงว่า (1) ลุงไปบอกเลิกสัญญาก่อนครบ 2  ปีเพียงเดือนเดียว   ดังนั้นเจ้าหน้าที่ Call center เห็นว่าหากยกเลิกก่อนลุงจะเสียสิทธิไม่ได้รับค่าเวนคืนกรมธรรม์ประมาณเจ็ดพันกว่าบาท  และเหลือเวลาไม่นาน จึงแนะนำให้ลุงส่งต่อ  แต่ไม่แน่ใจว่าขณะอธิบายลุงเข้าใจอย่างไร  (2) เมื่อลุงสายันต์ส่งเบี้ยประกันต่อมาเรื่อยๆ  แต่ลุงไม่ได้แจ้งยกเลิกสักที  บริษัทฯ จึงคิดว่าคงไม่ยกเลิกแล้ว  แต่ลุงมาแจ้งยกเลิกเมื่อครบปีที่ 3  และพอลุงทราบว่าได้เงินไม่ครบตามที่ลุงคิด  ลุงจึงไปร้องที่ คปภ. ตัวแทนบริษัทฯ จึงไปชี้แจงพร้อมทั้งเสนอเงินช่วยเหลือ  แต่ลุงปฏิเสธ  เพราะความเข้าใจผิด หลังจากทุกฝ่ายได้พูดคุยและเข้าใจตรงกันแล้ว  จึงตกลงกันที่ข้อยุติที่ว่า  บริษัทฯ จะคืนเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ในปีที่ 2  และเงินค่าเบี้ยประกันในปีที่ 3  ทั้งหมด  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24,712 บาท  วันที่ลุงมารับเช็คจากบริษัทฯ   ลุงบอกขอบคุณมูลนิธิฯ  มากมายที่ช่วยให้ลุงได้รับเงิน  ลุงจะได้มีเงินไปใช้หนี้เพื่อนที่ยืมมาซักที ข้อคิดจากเรื่องนี้คือ ผู้บริโภคพึงทราบว่า การซื้อประกันชีวิตต่างกับการฝากเงินออมทรัพย์ ตรงที่ว่าฝากเงินเท่าไร ถอนเงินเมื่อไรก็ได้ และจะได้เงินคืนเท่าที่ฝากพร้อมดอกเบี้ย   แต่หากทำประกันชีวิต เบี้ยประกันที่จ่ายไปจะไม่ได้คืน  และหากยกเลิกสัญญาก่อน 2 ปี จะไม่มีมูลค่าเงินสดเพื่อนำมาคำนวณ เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์เลย  ดังนั้นต้องตัดสินใจให้ดีก่อนทำสัญญาประกันชีวิต   เจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุกับการใช้สิทธิประกันสังคมตามมาตรา 33 คุณมิว...แวะซื้อนมถั่วเหลืองชนิดขวดแก้ว ราคา 10 บาท  จากร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอย  จำนวน 1 ขวด  เพื่อใช้กินแทนมื้อเย็น ระหว่างเดินชิลๆ เข้าห้องพัก ขณะที่เปิดประตูห้อง ถุงขวดนมถั่วเหลืองได้หลุดจากมือตกใส่เท้าอย่างแรง แรงขนาดนิ้วเท้าที่เพิ่งถอดรองเท้าออก โดนเศษแก้วบาดตรงบริเวณนิ้วโป้งจนเลือดไหลไม่หยุด  คุณมิวตกใจพยายามห้ามเลือด แต่ดูท่าจะเอาไม่อยู่เพราะเลือดไหลตลอดแม้ใช้สำลีพันแผลไว้ และรีบนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปคลินิกใกล้หอพักเพื่อรักษาแผล คลินิกรักษาโรคทั่วไปที่คุณมิวพาตัวเองไปใช้บริการนั้น ตรงกระจกด้านหน้าคลินิกดังกล่าวได้ระบุไว้ว่ารับบัตรประกันชีวิตกรุงไทย, AIA  และอีกหลายบริษัทฯ  และรับสิทธิประกันสังคม  คุณมิวจึงเข้าไปเพื่อให้ทำแผลที่เลือดไหลไม่หยุด  เมื่อให้นางพยาบาลดูบัตรประกันชีวิต พยาบาลประจำคลินิกแจ้งว่า ไม่สามารถใช้ที่คลินิกได้ต้องไปรักษาที่ รพ.พระราม 9 ซึ่งเป็นรพ.เอกชนที่รับบัตรประกันชีวิตทุกชนิด พอสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคม ก็ทราบว่าคลินิกให้บริการเฉพาะบุคคลที่ใช้สิทธิที่ รพ.ตากสิน ทำไมชีวิตมันยุ่งยากนัก เลือดก็ไหลไม่หยุด แผลเริ่มปวด นางพยาบาลถามย้ำว่าจะล้างแผลที่นี่หรือจะนั่งรถไปที่ รพ.พระราม 9 หรือจะไปใช้สิทธิตาม รพ.ที่รองรับสิทธิของตนเอง  คุณมิวจึงตัดสินใจให้นางพยาบาลที่คลินิกทำแผล โดยยื่นความประสงค์ขอจ่ายเงินเอง เนื่องจากคงไม่สะดวกที่จะหอบเอาเท้าที่เลือดยังไหลไม่หยุดไปรักษาถึง รพ.พระราม 9 หรือ รพ.ราชวิถี แพทย์ที่รักษาคนไข้อยู่ในห้องอีกห้องได้เดินออกมาดูอาการพร้อมแจ้งให้นางพยาบาลฉีดยาบาดทะยักให้กับผู้ป่วยด้วย  พร้อมกำชับให้ดูแลความสะอาดไม่ให้แผลโดนน้ำ เมื่อทำแผลเสร็จแพทย์ได้เดินมาฉีดยากันบาดทะยักพร้อมให้นางพยาบาลแจ้งการเก็บค่ารักษาพร้อมค่ายา ซึ่งประกอบด้วย ยาแก้อักเสบ และยาพาราเซตามอล  อย่างละ 1 ถุง  ค่ายารวมทั้งหมด 800 บาท คุณมิวได้ขอใบรับรองแพทย์ พร้อมใบเสร็จรับเงิน ก่อนจ่ายค่ารักษา และใบนัดฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก อย่างไรก็ตาม คุณมิว ซึ่งเป็นผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคม ตามมาตรา 33 สิทธิ เพียงแต่สิทธิขึ้นอยู่ที่ รพ.ราชวิถี เมื่อไปเข้าคลินิกที่ไม่ได้รองรับสิทธิ    จึงจำเป็นต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อน  ต่อมาเมื่อได้ทำเรื่องเบิกเงินคืนจากประกันสังคม เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุ ก็สามารถใช้สิทธิฉุกเฉินได้ตามที่กฎหมายประกันสังคมได้ระบุไว้   และได้รับเงินคืนครบตามจำนวนคือ 800 บาท โดยสำนักงานประกันสังคม โอนเงินผ่านทางธนาคาร ตามที่ระบุไว้ตอนที่ทำเรื่องเบิกเงินคืน   แนวทางแก้ไขปัญหา จะพบว่า ผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมไม่ได้รับความสะดวกในกรณีฉุกเฉินสักเท่าไร ถ้าไม่ใช่ รพ. ที่ระบุไว้ในบัตรหรือในเครือ ต้องออกเงินเองไปก่อน ต่อเมื่อทำเรื่องในภายหลังจึงจะได้รับเงินคืน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เนื่องจากเป็นกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน  ให้ผู้ประกันตนนำใบเสร็จรับเงิน, ใบรับรองแพทย์ มาประกอบในการขอเงินคืน โดยแนะนำผู้ประกันตนไปยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส.2-01/ม.40)  สามารถโหลดแบบฟอร์มได้ในเว็บไซต์ http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/2sps201.pdf แนบใบรับรองแพทย์ (ตัวจริง)(ถ่ายสำเนาเก็บไว้ 1 ชุด)  ,ใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง) (ถ่ายสำเนาเก็บไว้ 1 ชุด)   และเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ที่หน่วยงานราชการออกให้  และสำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี) แนบไปด้วย แนบสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร กรณีที่ให้สำนักงานประกันสังคมโอนเงินคืนทางธนาคาร ระบุแจ้งเบอร์โทรศัพท์ในใบข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการติดต่อประสาน ผู้ร้องสามารถยื่นเอกสารโดยส่งทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคมเขตตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรือนำเอกสารไปยื่นได้ด้วยตนเองได้เลย ประมาณ 2 อาทิตย์ จะมีหนังสือตอบกลับจากสำนักงานประกันสังคมกรณีอนุมัติเงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 161 เบื่อไหม ขายพ่วง

เดี๋ยวหากผู้บริโภค อย่างเราๆ เริ่มมีทางเลือกมากมาย แค่ไปเปิดบัญชีในธนาคาร   อันดับแรกของการเปิดบัญชีคือคำถามจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร  ว่า “ทำบัตร ATM  ด้วยมั้ยคะ”  ถ้าคุณตอบว่าทำ คำถามต่อไปคือ “จะทำแบบไหนดีคะ  จะทำแบบบัตร ATM อย่างเดียว   หรือทำประกันด้วย” หากทำบัตรATM  อย่างเดียวโดยไม่ซื้อพ่วงประกันคุณจะกดเงินในบัญชีของคุณได้ 50,000 บาทต่อวัน   แต่หากซื้อประกันพ่วงด้วย  นอกจากความคุ้มครองตามวงเงินเอาประกันที่มีให้เลือกแบบหลากหลายแล้ว     ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือ      คุณจะสามารถ กดเงินในบัญชีของคุณเองได้มากกว่าการทำบัตร ATM อย่างเดียว ถึง 3 เท่า  นั่นคือ วันละ 150,000  บาท ประเด็นอยู่ตรงนี้ คือการกำหนดวงเงินที่กดใช้ได้แต่ละวันที่ไม่เท่ากัน ทั้งๆที่ ไม่ว่าผู้บริโภคจะเลือกทำบัตรแบบไหน  การกดเงินก็คือเงินในบัญชีของเราเอง   ไม่ได้เกี่ยวกับการซื้อประกันใดๆ เลย การนำเรื่องการใช้วงเงินในบัญชีของเรามาเป็นข้อกำหนด  เป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อประกัน น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ผู้เขียนได้ไปทำหน้าที่ สว.  และได้คุยแลกเปลี่ยนกับ กรรมาธิการ การเงินการธนาคาร บางท่าน ถึงเรื่องนี้ก็ได้คำตอบว่า   “ธนาคารเข้ามีสิทธิกำหนด ผู้บริโภค ก็มีทางเลือก หากผู้บริโภคไม่พอใจก็ไปธนาคารอื่นเลย”(คำตอบแบบนี้งง!  มากกว่าเก่าอีก) เพราะไปธนาคารไหนๆ ข้อกำหนดก็ล้วนเอาเปรียบผู้บริโภคอยู่ดี คำถาม คือปัญหา เหล่านี้ ใคร? หน่วยงานไหน? บ้างที่มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง   อย่าตอบนะว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย   เพราะวันนี้ก็มีอยู่แต่ไม่เห็นแก้ปัญหาอะไรได้เลย      สังคมไทยกำลังเข้าสู่ โหมดของการปฏิรูป   เรื่องสำคัญที่ต้องรีบปฏิรูป คือ เรื่องการเงินการธนาคาร  ที่แสนจะเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างเช่นทุกวันนี้   การที่จะลดความขัดแย้งได้ดีที่สุดคือทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม ในระยะเวลาอันใกล้นี้คงไม่มีใครที่จะเป็นที่พึ่งได้ดีเท่าพี่ ทะ-หาน   และจะให้ดีมากขึ้น  พี่ทะ-หาน ช่วยผลักให้ “พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว  เพื่อเป็นที่พึ่งของผู้บริโภคในระยะยาว  อย่างยั่งยืน   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point