ภาคต่อจากฉบับที่แล้ว คราวนี้เรามาดูผลทดสอบเปรียบเทียบสมาร์ตวอทช์ที่องค์กรผู้บริโภคของอังกฤษได้ทำไว้ มีให้เลือกกันจุใจถึง 28 รุ่น ที่สนนราคาตั้งแต่ประมาณ 1,400 ถึง 21,500 บาท การทดสอบครั้งนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 7 ด้าน - ร้อยละ 25 ประสิทธิภาพ/ความแม่นยำในการนับก้าวขณะเดิน วิ่ง และทำงานบ้านทั่วไป รวมถึงความแม่นยำในการวัดระยะทางและอัตราการเต้นของหัวใจ - ร้อยละ 25 ฟังก์ชันสมาร์ต - ร้อยละ 20 ความสะดวกในการใช้งาน - ร้อยละ 15 ความอึดของแบตเตอรี - ร้อยละ 5 การทำงานของแอปฯ - ร้อยละ 5 รูปลักษณ์ วัสดุที่ใช้ทำตัวเรือน สายรัด ความทนทานของหน้าจอต่อรอยขูดขีด - ร้อยละ 5 ฟีเจอร์ การปรับแต่งได้ตามต้องการ และความเข้ากันได้กับแอปฯ อื่นๆ เช่นเดียวกับฟิตเนสแบนด์ ราคาที่แพงกว่าของนาฬิกาอัจฉริยะไม่ได้รับรองประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเสมอไป เราพบว่าหลายรุ่นที่ราคาปานกลางได้คะแนนสูงกว่ารุ่นที่ราคาแพง แต่เรื่องรูปลักษณ์นั้นก็แล้วแต่ความพึงพอใจของผู้สวมใส่ เชิญพลิกหน้าถัดไปเพื่อเลือกสมาร์ตวอทช์ที่ตรงใจคุณได้เลย หมายเหตุ: · ค่าใช้จ่ายในการทดสอบอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 1,800 ยูโร (ประมาณ 66,000 บาท) ต่อหนึ่งตัวอย่าง · ก่อนหน้านี้ฉลาดซื้อเคยเสนอผลทดสอบสมาร์ตวอทช์ไว้ในฉบับที่ 215 และ 177 ท่านสามารถอ่านผลทดสอบย้อนหลังได้ทางออนไลน์ · ราคาที่แสดงเป็นราคาในช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ
สำหรับสมาชิก >กลับมาอีกครั้งกับผลการทดสอบเปรียบเทียบสายรัดข้อมือที่ Which? องค์กรผู้บริโภคของอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ได้ทำไว้ในช่วงปลายปี 2020 คราวนี้เรามีให้คุณได้เลือก 18 รุ่น ที่สนนราคาระหว่าง 699ถึง 7,290 บาท การทดสอบครั้งนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 7 ด้าน - ร้อยละ 45 ประสิทธิภาพ/ความแม่นยำในการนับก้าวขณะเดิน วิ่ง และทำงานบ้านทั่วไป รวมถึงความแม่นยำในการวัดระยะทางและอัตราการเต้นของหัวใจ - ร้อยละ 20 ความสะดวกในการใช้งาน เช่นตั้งค่า เข้าถึงข้อมูล มองหน้าจอได้ชัดในสภาพแสงต่างๆ - ร้อยละ 10 ความอึดของแบตเตอรี โดยวัดจากชั่วโมงการใช้งานหลังชาร์จแบตฯ จนเต็ม - ร้อยละ 10 การทำงานของแอปฯ - ร้อยละ 5 การแจ้งเตือนจากโซเชียลมีเดีย การรับส่งข้อความ รับโทรศัพท์ - ร้อยละ 5 รูปลักษณ์ วัสดุที่ใช้ทำตัวเรือน สายรัด รวมถึงความทนทานของหน้าจอต่อรอยขูดขีด - ร้อยละ 5 ฟีเจอร์ การปรับแต่งได้ตามต้องการ และความเข้ากันได้กับแอปฯ อื่นๆ จากผลทดสอบครั้งนี้พอจะสรุปได้ว่า ราคาไม่ได้บ่งบอกประสิทธิภาพเสมอไป หลายรุ่นที่ราคาปานกลางได้คะแนนดีกว่ารุ่นที่ราคาแพงด้วยซ้ำ ในขณะที่รุ่นที่ราคาต่ำมากๆ ก็มีประสิทธิภาพน้อยตามราคา · ค่าใช้จ่ายในการทดสอบครั้งนี้อยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 1,800 ยูโร (ประมาณ 66,000 บาท) ต่อหนึ่งตัวอย่าง · ก่อนหน้านี้ฉลาดซื้อเคยเสนอผลทดสอบ fitness trackers ไว้ในฉบับที่ 168 และ 184 หากสนใจติดตามอ่านย้อนหลังได้ในเล่มออนไลน์ ตลาดอุปกรณ์ fitness trackers ทั่วโลกในปี 2019 มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30,410 ล้านเหรียญ และมีการคาดการณ์ว่าจะสูงกว่า 90,000 ล้านเหรียญในปี 2027 อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.fortunebusinessinsights.com/fitness-tracker-market-103358
สำหรับสมาชิก >ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบแท็บเล็ตอีกครั้ง คราวนี้เราเลือกมาเฉพาะขนาดเกินแปดนิ้ว ทั้งหมด15 รุ่น ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำไว้ในปี 2563 สนนราคาในเมืองไทยของอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 5,000 ถึง 53,000 บาท* ในการทดสอบครั้งนี้ ทีมทดสอบได้แบ่งคะแนนเต็ม 100 ออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้ ความสะดวกในการใช้งาน (22.5) ประสิทธิภาพการทำงาน (22.5) จอแสดงผล (15) แบตเตอรี่ (15) รูปลักษณ์ของตัวเครื่อง (10) การใช้งานทั่วไป (7.5) และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (7.5) ในภาพรวมยังคงพบว่าเราต้องลงทุนมากขึ้นหากต้องการอุปกรณ์ที่สเปคสูงขึ้น และสเปคก็มีผลโดยตรงต่อคะแนนประสิทธิภาพและความสะดวกในการใช้งานของเครื่อง หลายรุ่นได้คะแนนรวมดี ราคาไม่แพง แต่มีหน่วยความจำน้อย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของแต่ละคน ... ใครสนใจแบรนด์ไหน สเปคเท่าไร ในงบประมาณแค่ไหน ลองพลิกดูหน้าถัดไปได้เลย *ราคาดังกล่าวเป็นราคาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ
สำหรับสมาชิก >อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ที่ต้องการความบันเทิงขณะออกกำลังกายหรือผู้ใช้รถสาธารณะที่ต้องมีไว้ควบคู่กับสมาร์ตโฟนคงหนีไม่พ้นหูฟัง หากคุณอยากลงทุนกับหูฟังประเภทไร้สายเพราะมันสะดวกและคล่องตัวกว่า ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบหูฟังบลูทูธ ที่ CHOICE องค์กรผู้บริโภคของออสเตรเลียได้ทำไว้ โดยเลือกมาเฉพาะรุ่นที่ทำคะแนนได้ดี 18 อันดับแรก สนนราคาระหว่าง 1,300 ถึง 8,990 บาท ในการทดสอบครั้งนี้ ผู้ให้คะแนนคือผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ซึ่งทดลองใช้และให้คะแนนหูฟังแต่ละรุ่นในด้านต่างๆ ดังนี้ - คะแนนด้านคุณภาพเสียง (เสียงพูด เสียงเพลง: แจ๊ส ร็อค ป้อปและคลาสสิก) ร้อยละ 55 - ความสบายเมื่อสวมใส่/ความทนทาน (เช่น เมื่อสวมพร้อมแว่น สายไม่พันกัน และวัสดุที่ใช้) ร้อยละ 35 - โหมดเพิ่มคุณภาพเสียง (เสียงที่รั่วออกจากหูฟัง การตัดเสียงหรือคลื่นรบกวน) ร้อยละ 10 ในภาพรวมเราพบว่าราคายังไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดี รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุด 63% ในการทดสอบเปรียบเทียบครั้งนี้ได้แก่ Beats by Dr. Dre Beatsx มีราคาประมาณ 3,600 บาท ในขณะที่ Bang and Olufsen Earset ซึ่งมีราคาเกิน 10,000 บาท กลับได้คะแนนเพียง 53% เท่านั้น หมายเหตุ: ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในอินเทอร์เน็ตในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 โปรดตรวจสอบกับทางร้านค้าอีกครั้งก่อนตัดสินใจ
สำหรับสมาชิก >สำหรับหลายๆ คน ฟิตเนสแทรคเกอร์* อาจยังตอบโจทย์การใช้ชีวิตด้านการทำงานและการออกกำลังกายได้ไม่ครบถ้วน สมาร์ทวอทช์จึงถูกพัฒนาขึ้น และดูเหมือนจะได้รับความนิยมแซงหน้าฟิตเนสแทรคเกอร์ไปแล้ว นอกจากอุปกรณ์ที่หน้าตาน่าใช้เหมือนนาฬิกาข้อมือนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในการแสดงผลบนหน้าจอหรือโทรออก/รับสายแล้ว เรายังใช้แอปหรือโปรแกรมต่างๆ เพื่อตอบสนองชีวิตดิจิทัลได้ยิ่งขึ้นอีกด้วย ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบสมาร์ทวอทช์ที่องค์กรเพื่อนสมาชิก Choice Australia ได้ทำไว้มาฝากกัน มีให้คุณผู้อ่านได้เลือก 10 รุ่น ที่สนนราคาระหว่าง 7,500 ถึง 15,000 บาท เขาให้คะแนนเปรียบเทียบเรื่องการใช้งาน ความสบายในการสวมใส่ รวมถึงความแม่นยำในฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น นับก้าว วัดระยะทางและอัตราการเต้นของหัวใจทั้งในขณะปกติและเมื่อออกกำลังกาย ในภาพรวม ไม่มีรุ่นไหนได้คะแนนขี้เหร่ อยู่ที่ความพึงพอใจจะเปย์ของแต่ละท่าน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการได้ทดลองสวมใส่บนข้อมือของผู้ใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะอุปกรณ์พวกนี้จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อเราสวมใส่ติดตัวไว้ทั้งในยามหลับและยามตื่น จึงต้องหารุ่นที่ถูกจริตกันจริงๆ เท่านั้น* หมายเหตุ· ดูผลทดสอบ ฟิตเนสแทรคเกอร์ ได้ใน ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 184· นิตยสารฟอร์บสซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก CCS Insight ระบุว่า ด้วยยอดขายที่เติบโตถึงร้อยละ 20 ต่อปี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสวมใส่เหล่านี้จะมียอดขายถึง 243 ล้านชิ้นในอีกสามปีข้างหน้า· ราคาที่แสดงเป็นราคาที่แปลงจากหน่วยเงินดอลล่าร์ออสเตรเลียโดยประมาณในช่วงเดือนมกราคมปี 2562
สำหรับสมาชิก >แล้วก็ถึงวันที่โทรศัพท์มือถือถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นอีกครั้งเพื่อสนองการใช้งานใหม่ๆ ว่ากันว่าโทรศัพท์มือถือที่ ขนาดหน้าจอระหว่าง 5.5 ถึง 7 นิ้ว จะเป็นสมาร์ตโฟนรุ่นที่มาแรงที่สุดในปี 2019ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบ “แฟบเล็ต” ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ดำเนินการทดสอบมาตลอดตั้งแต่ต้นปี ด้วยข้อจำกัดด้านเนื้อที่เราจึงขอเลือกมาเฉพาะรุ่นที่คะแนนรวมสูงกว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้คะแนนรวม 100 คิดจากคะแนนที่แบ่งออกเป็น 8 ด้านคือ- ตัวเครื่อง (ความหลากหลายในการใช้งาน ความสวยงาม ทนทาน ฯลฯ) 20 คะแนน - ความสะดวกในการใช้งาน 20 คะแนน- ประสิทธิภาพกล้อง 20 คะแนน- ประสิทธิภาพการใช้งาน โทรศัพท์ 10 คะแนน อินเทอร์เน็ต 10 คะแนน ฟังเพลง 10 คะแนน ส่งข้อความ 5 คะแนน นำทาง 5 คะแนน สมาร์ตโฟนหน้าจอใหญ่กลุ่มนี้มีความจุแบตเตอรี่ระหว่าง 3,000 ถึง 4,000 mAh ทุกรุ่นมีระบบสแกนลายนิ้วมือ สนนราคาโดยประมาณระหว่าง 5,000 ถึง 30,000 บาท (จากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2561) จากการทดสอบเราพบว่าโทรศัพท์รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุด (80 คะแนน) คือ Samsung Galaxy S9 ที่ราคา 27,900 บาท หากยังไม่ต้องการทุ่มทุนขนาดนั้น ลองดูรุ่นอื่นๆ ที่มีคะแนนใกล้เคียงกันในราคาต่ำกว่าเว็บไซต์ข่าวธุรกิจ Business Insider ระบุว่าร้อยละ 40 ของสมาร์ตโฟนที่ผลิตออกขายในปีที่ผ่านมาเป็นสมาร์ตโฟนชนิด “แฟบเล็ต” และในอีกสามปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59 ทั้งนี้มีข้อมูลการใช้ที่ระบุว่า โทรศัพท์หน้าจอใหญ่จะทำให้ผู้บริโภคเปิดใช้แอปพลิเคชันมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเราได้ง่ายกว่าเดิม นอกจากนี้ยังพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้ “แฟบเล็ต” ใช้เวลากับแอปพลิเคชั่นต่างๆ นานกว่าผู้ใช้โทรศัพท์หน้าจอ 4 นิ้วประมาณร้อยละ 3.5
สำหรับสมาชิก >ร่วมสนับสนุนเราให้มีทุนทดสอบต่อเนื่อง สมัครสมาชิก อ่านรายละเอียดคลิกที่นี่สมาชิกที่กำลังมองหาตัวช่วยในการทำความสะอาด ไม่ว่าจะล้างรถ ล้างแอร์ หรือล้างพื้นบ้าน โปรดฟังทางนี้ เรามีผลทดสอบเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงที่องค์กรผู้บริโภค CHOICE ของออสเตรเลียได้ทำไว้มาฝากกัน อุปกรณ์ที่ว่านี้อาจราคาไม่ถูกนักแต่ถ้าเทียบกับเงินที่เราประหยัดได้จากการซื้อบริการทำความสะอาดในแต่ละครั้ง รวมกับการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็ถือว่าน่าลงทุนไม่น้อย CHOICE แบ่งการให้คะแนนออกเป็นสามด้านได้แก่ ประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ความสะดวกในการใช้งาน และความดังของเสียงขณะใช้งาน ทุกด้านมีคะแนนเต็ม 100 แต่คะแนนรวมจะคิดจากประสิทธิภาพ (ร้อยละ 60) และความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 40) เท่านั้น • ราคาที่แสดงเป็นการแปลงค่าจากเงินเหรียญออสเตรเลีย
สำหรับสมาชิก >เมื่อสมาร์ตโฟนในมือของคุณดูจะเล็กไปสำหรับการใช้งานซื้อของออนไลน์ ติดตามข่าวสาร หรือส่องความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ และโน้ตบุ๊กก็ดูจะเป็นทางเลือกที่สร้างภาระให้กับหลังและไหล่เกินไป ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอชวนสมาชิกมาด้อมๆ มองๆ ผลการทดสอบแท็บเล็ตกันที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำไว้ในช่วงปี 2017 เผื่อใครจะซื้อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ตัวเอง เขาทดสอบไว้ทั้งรุ่นที่ขนาดเล็กกว่า 8 นิ้วและใหญ่เกิน 8 นิ้ว โดยให้คะแนนด้านต่างๆ เพื่อนำมาประมวลผลเป็นคะแนนเต็ม 100 ตามสัดส่วนดังนี้
สำหรับสมาชิก >แม้ปัจจุบันจะมีการควบคุมการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่มีส่วนประกอบของ “สารหน่วงการติดไฟที่มีองค์ประกอบของโบรมีน” (Brominated Flame Retardants: BFR) มาผลิตเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภค โดยเฉพาะในของเล่นสำหรับเด็ก แต่ผลจากการสำรวจตลาดของเล่นเด็กครั้งล่าสุดทั้งในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศพบว่า ของเล่นเด็กยอดฮิตคือ “ลูกบิดรูบิก” หรือลูกบาศก์เรียงสี ที่นิยมให้เด็กเล่นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชาว์ปัญญา มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและพัฒนาการทางสมองของเด็กปนเปื้อนอยู่ในระดับสูงโครงการสำรวจและตรวจวิเคราะห์นี้ดำเนินการโดย “เครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม” หรือไอเพน (IPEN) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยนักวิชาการสาขาต่างๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจาก 100 กว่าประเทศ หรือ 700 กว่าองค์กร โดยมีคณะผู้ร่วมการสำรวจจากทั้งหมด 26 ประเทศ รวมถึงมูลนิธิบูรณะนิเวศในประเทศไทยโครงการฯ ได้ดำเนินการสำรวจผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลที่มีสาร BFRs ปนเปื้อนหรือใช้เป็นสารเติมแต่งระหว่างกระบวนการผลิต ใน 26 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยลูกบิดรูบิกรวม 95 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์หาการเจือปนของสารพิษกลุ่มสาร BFRs ได้แก่ 1) สาร Octabromodiphenyl ether (OctaBDE), 2) สาร Decabromodiphenyl either (DecaBDE) และ 3) สาร Hexabromocyclododecane (HBCD) ผลการสำรวจในประเทศไทยมูลนิธิบูรณะนิเวศได้สำรวจและซื้อลูกบิดรูบิกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลในตลาดของเล่นเด็กของไทยในจังหวัดกรุงเทพฯ ปทุมธานี นครปฐม และระยอง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2558 รวม 9 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด เพื่อวิเคราะห์หาความเข้มข้นของกลุ่มสาร PBDEs (OctaBDE และ DecaBDE) และ HBCD ผลการวิเคราะห์พบว่า ลูกบิดรูบิกจำนวน 9 ตัวอย่างจากประเทศไทย มี 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณสารโบรมีนทั้งหมด (Total Br) สูงเกิน 1,000 ppm ด้วยเครื่องวิเคราะห์ Handheld X-ray Fluorescence (HHXRF) และจากการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเคมี สาธารณรัฐเช็ก เฉพาะ 2 ตัวอย่างที่มีโบรมีนรวมเกิน 1,000 ppm พบว่าทั้งสองตัวอย่างปนเปื้อนสาร OctaBDE ที่มีปริมาณเข้มข้นสูง 25 – 48 ppm และสาร DecaBDE มีปริมาณเข้มข้นสูง 21 – 23 ppm ทั้งนี้มี 1 ตัวอย่างที่มีสาร HBCD ในปริมาณเข้มข้น 5 ppm ผลการสำรวจใน 26 ประเทศการวิเคราะห์ตัวอย่างจากประเทศต่างๆ รวม 26 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยลูกบิดรูบิก95 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ พบว่ามี 100 ตัวอย่าง (ร้อยละ 90) มีสาร OctaBDE ปนเปื้อนในปริมาณเข้มข้นระหว่าง 1- 1,174 ppm; พบสาร HBCD ในจำนวน 45 ตัวอย่าง (ร้อยละ 41) ระดับความเข้มข้นอยู่ที่ 1 - 1,586 ppm และสาร DecaBDE ในจำนวน 101 ตัวอย่าง (ร้อยละ 91) มีช่วงความเข้มข้นที่พบคือ 1 - 672 ppmอัครพล ตีบไธสง นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ผู้ร่วมการศึกษาในโครงการนี้กล่าวให้ความเห็นว่า “สารเคมีอันตรายกลุ่มนี้มักเจือปนอยู่ในขยะพลาสติก เป็นสิ่งอันตรายมากโดยเฉพาะต่อพัฒนาการทางสมอง ระบบประสาทของเด็ก และมีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนส์ของร่างกายด้วย จึงไม่ควรนำมาผลิตของเล่นเด็กโดยเด็ดขาด และควรมีมาตรการกำจัดผลิตภัณฑ์ที่อันตรายต่อเด็กออกจากท้องตลาดด้วย”ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ดร. โจ ดิกันจิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารอันตรายของ IPEN จากสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า “การรีไซเคิลวัสดุที่มีสารพิษเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นวัฏจักรที่จะทำให้ปนเปื้อนสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาไม่จบสิ้น และยังจะทำลายความน่าเชื่อถือของการรีไซเคิลวัสดุ รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงควรหาทางยุติปัญหานี้และควรมีมาตรการเชิงป้องกันระยะยาวด้วย”ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สารหน่วงการติดไฟที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นยังคงปนเปื้อนในของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ผลิตจากการรีไซเคิลขยะเหล่านี้อย่างน่าวิตก ยิ่งไปกว่านั้นของเล่นหลายชนิดปนเปื้อนสารอันตรายมากกว่า 50 ppm ในที่นี้คือ OctaBDE และ HBCD รวมถึง DecaBDE
สำหรับสมาชิก >การฟังเพลง เป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงในชีวิตประจำวันสำหรับใครหลายคน ซึ่งสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดหรือทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามช่องทางการฟังเพลงได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัย โดยปัจจุบันเราจะพบว่าคนมักฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น ซึ่งหากใครที่ชื่นชอบการฟังเพลงด้วยวิธีดังกล่าว อาจคุ้นหูหรือเคยได้ลองใช้แอปพลิเคชันฟังเพลงแบบ Music streaming กันมาบ้างแล้ว แต่หากใครที่ยังไม่แน่ใจว่า Music streaming คืออะไร เราลองไปดูกันเลยMusic streaming เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการฟังเพลงที่ถูกกฎหมาย โดยอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อเพลงได้ไม่จำกัดจำนวนเพลง ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเพลงเหล่านั้นไว้ในแอป เพื่อเก็บไว้ฟังเมื่อไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือกำลังออฟไลน์ได้อีกด้วย ในราคาเหมาจ่ายเดือนต่อเดือน นั่นหมายความว่าหากเดือนไหนที่ผู้ใช้งานไม่เสียค่าบริการก็จะไม่สามารถฟังเพลงที่เคยซื้อหรือดาวน์โหลดไว้ได้ (ต่างจากการซื้อเพลงแบบเดิมที่ฟังได้ตลอดไป เพราะเป็นการซื้อเพลงต่อเพลง) ส่วนคุณภาพของเสียงเพลงก็มีความคมชัดคล้ายกับการฟังผ่านซีดีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามการฟังเพลงด้วยวิธีการดังกล่าวในบ้านเรา ยังถือว่าอยู่ในช่วงระยะทดลอง ทำให้แอปพลิเคชันฟังเพลงหลายเจ้ามีบริการทดลองใช้งานฟรี เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจว่า การฟังเพลงด้วยวิธีดังกล่าวตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเอาใจคนชอบฟังเพลง ด้วยการรวบรวมแอปพลิเคชันฟังเพลงแบบ Music streaming ที่ได้เปิดบริการในประเทศไทยและสามารถใช้งานได้จริง รวมทั้งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ จำนวน 6 แอปพลิเคชันมาทดสอบ เพื่อดูว่าเจ้าไหนราคาคุ้มค่าและใช้งานได้เสถียรดีไม่มีปัญหามากที่สุด ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร ลองไปดูกัน
สำหรับสมาชิก >