ฉบับที่ 198 น้ำตาลและพลังงาน ในกาแฟซอง ทรีอินวัน

กาแฟซอง 3 in 1 เป็นกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงที่ผู้บริโภคในบ้านเราให้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะสะดวก เพียงฉีกซองใส่แก้วเติมน้ำร้อนก็ดื่มได้แล้ว ยังมีรสชาติที่อร่อยถูกปากในราคาไม่แพงมากอีกด้วย โดยเหตุผลหลักที่ทำให้กาแฟประเภทนี้รสชาติดีก็มาจากส่วนประกอบหลัก 3 อย่างคือ กาแฟ ครีมเทียมและน้ำตาล ซึ่งผสมผสานมาแล้วพร้อมกับวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ อย่างลงตัว ทำให้ได้รสชาติที่กลมกล่อม อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคที่ไม่อยากชงกาแฟดื่มเองได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตามด้วยรสชาติที่อร่อยและขนาดซองที่ไม่ใหญ่มากนัก ทำให้ผู้บริโภคหลายคนลืมไปว่าในกาแฟทรีอินวันเหล่านี้อาจมีปริมาณน้ำตาล ไขมันและให้พลังงานสูง ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรือโรคหัวใจ จากการได้รับไขมันไม่ดีสะสม รวมทั้งโรคไขมันในเลือดสูงได้ เราจึงต้องระมัดระวังในการดื่มกาแฟประเภทนี้ ฉลาดซื้อจึงขออาสาตรวจสอบปริมาณน้ำตาลและพลังงาน ของกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง  3 in 1 จาก 15 ยี่ห้อยอดนิยมจำนวน 18 ตัวอย่าง หลังจากในเล่มที่ผ่านมาเราเคยทดสอบ คาเฟอีนและน้ำตาลในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มหรือกาแฟกระป๋องกันไปแล้ว ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไร ลองไปดูกันเลยสรุปผลการสำรวจฉลากจากกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง แบบ 3in1 ที่นำมาทดสอบทั้งหมด 15 ยี่ห้อ 18 ตัวอย่าง พบว่า1. ยี่ห้อที่มีปริมาณพลังงานมากที่สุดคือ เอ็ก ชอง ไวท์ คอฟฟี่ ทาริก ทรี อิน วัน ให้พลังงาน 185 กิโลแคลอรี/40 กรัม และเนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู ริช อโรมา ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี/19.4 กรัม ในขณะที่ยี่ห้อที่มีปริมาณพลังงานน้อยที่สุดคือ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ ให้พลังงาน 65 กิโลแคลอรี/18 กรัม2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ เอลี่คาเฟ่ คลาสิค มีน้ำตาล 13.8 กรัม/20 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ มีน้ำตาล 0 กรัม/18 กรัม(ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล)3. ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันมากที่สุดคือ เอ็ก ชอง ไวท์ คอฟฟี่ ทาริก ทรี อิน วัน มีไขมัน 7 กรัม/40 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันน้อยที่สุดคือ บัดดี้ดีน ทรีอินวัน เอ็กซ์ตร้าโรสท์ มีไขมัน 0 กรัม/18 กรัม4. มี 7 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณพลังงาน น้ำตาลหรือไขมันได้ เนื่องจากไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1. อาราบัส ทรีอินวัน ออริจินัล 2. เฟรนช์ คาเฟ่ ริช โกลด์ 3. จีเซเว่น คอฟฟี่มิกซ์ 4. กาแฟเขาทะลุ สูตรเอสเพสโซ่ 5. กาแฟเขาทะลุ สูตรดั้งเดิม 6. เบอร์ดี้ โรบัสต้า และ 7. มอคโคน่า ทรีโอ เอสเปรสโซ่ตารางแสดงปริมาณพลังงาน น้ำตาลและไขมันในกาแฟ ทรีอินวันสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 สารปรุงแต่งในผลิตภัณฑ์กาแฟ ทรีอินวัน การใส่สารปรุงแต่งหรือวัตถุเจือปนอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสที่ดี คงตัว สะดวกในการขนส่งและเก็บรักษา และทำให้มีสีสันที่คล้ายธรรมชาติ ได้แก่ 1.สารควบคุมความเป็นกรด2.สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน3.อิมัลซิไฟเออร์ คือ สารที่ทำให้ส่วนผสมที่ปกติไม่สามารถผสมกันได้ สามารถรวมตัวกันได้ เช่น น้ำกับน้ำมัน และช่วยยืดอายุการเก็บรักษา4.สารช่วยทำละลาย 5.สารที่ทำให้คงตัว 6.สารเพิ่มปริมาณ(มอลโตเดกซ์ตริน) คือ คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ (Polysaccharide) 7.สี กลิ่น เลียนแบบธรรมชาติตลาดกาแฟในปี 2557 กาแฟ 3 in 1 ครองส่วนแบ่งของตลาดกาแฟ ด้วยมูลค่าตลาด 15,000 ล้านบาท และมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้นำทางการตลาดคือ เนสกาแฟ มีส่วนแบ่งที่ร้อยละ 63 ตามมาด้วยซูเปอร์กาแฟ ส่วนแบ่งที่ร้อยละ 12 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นของเบอร์ดี้และมอคโคน่า อย่างไรก็ตามตลาดกาแฟ 3 in1 จะมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น ดาว คอฟฟี่ อาราบัส ของดัชมิลล์ ทำให้กลายเป็นตลาดที่มีความแข่งขันสูงมากที่มา: http://marketeer.co.th/archives/38718

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 197 ส่องฉลากสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย

สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียหรือสบู่ฆ่าเชื้อเพื่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคหลายคนนิยมใช้ เพราะเชื่อว่ามีประสิทธิภาพหรือสรรพคุณดีกว่าสบู่ธรรมดา แต่สบู่เหล่านั้นสามารถทำความสะอาดได้ดีกว่าจริงหรือสารต้านแบคทีเรียในสบู่ฆ่าเชื้อที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ คือ ไตรโคลซาน )Triclosan) ซึ่งสามารถเป็นทั้งวัตถุกันเสียและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ ราหรือแบคทีเรียได้ จึงถูกนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาล้างจาน โดยหากนำมาผสมในสบู่ก็มักมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยทำความสะอาดผิวได้ดีขึ้น เพราะช่วยทำลายเชื้อโรคที่อยู่บนผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามงานวิจัยหลายชิ้นกลับระบุว่า ไตรโคลซานสามารถทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยาข้ามกลุ่ม หรือทำให้แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งสารจะไปส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการขับยาออกนอกเซลล์ ทำให้มีปริมาณยาปฏิชีวนะในเซลล์น้อยและไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ทำให้เชื้อปรับตัวดื้อยาในที่สุดนอกจากนี้เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไตรโคลซานสามารถสะสมในร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากเคยมีการตรวจพบสารดังกล่าวในปัสสาวะของคนอเมริกันถึงร้อยละ 75 และมากไปกว่านั้นเมื่อสารไตรโคลซานถูกปล่อยออกไปสู่สิ่งแวดล้อมหลังการชะล้าง ยังส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์วิทยาอีกด้วย รวมไปถึงผลกระทบอื่นๆ ที่เคยพบในสัตว์ทดลอง โดยสารดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ผลต่อพัฒนาการและภาวะการเจริญพันธุ์ ผลต่อต่อมไร้ท่อ ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจนและมีความเป็นพิษเรื้อรัง รวมทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งได้ ในหลายประเทศ เช่น องค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกา จึงประกาศยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่ รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด ซึ่งให้มีผลบังคับใช้ทั่วสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560  เนื่องจากส่งผลกระทบด้านลบดังที่กล่าวไว้ข้างต้น รวมถึงยังไม่มีหลักฐานใดๆ บ่งชี้ได้ว่าสบู่ที่ผสมสารไตรโครซาน สามารถชำระล้างได้ดีกว่าการใช้สบู่ธรรมดา ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาส่องฉลากสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด จำนวน 18 ตัวอย่าง จาก 12 ยี่ห้อยอดนิยม ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไรเราลองไปดูกันเลย สรุปผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่ฆ่าเชื้อโรคจากตัวอย่างสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียจำนวน 18 ตัวอย่าง 12 ยี่ห้อที่นำมาตรวจสอบฉลาก พบว่า1. มี 11 ตัวอย่างที่ระบุว่ามีส่วนผสมสารต้านแบคทีเรีย แบ่งเป็น - 4 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน ได้แก่ กลุ่มสบู่เหลว 1. Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล 2. Deterderm (ดีเทอร์เดอร์ม) สูตร Deo beauty fresh 3. Tea Tree (ที ทรี) สูตรสกินไวท์เทนนิ่ง บาธ ครีม และ 4. Oxe cure (อ๊อกซีเคียว) สูตรระงับกลิ่นกายสำหรับผู้มีปัญหาสิว/ผิวแพ้ง่าย  - 5 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของไตรโคลคาร์บาน ได้แก่ กลุ่มสบู่ก้อน 1. Dial (ไดอัล) สูตรสปริงวอเตอร์ 2. Dettol (เดทตอล) สูตรออริจินัล 3. Protex (โพรเทคส์) สูตรสดชื่น 4. Protex For Men (โพรเทคส์ ฟอร์เมน) สูตรสปอร์ต และ 5. สบู่เหลว Protex (โพรเทคส์) สูตรไอซ์ซี่ คูล- 2 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของทั้งไตรโคลซานและไตรโคลคาร์บาน ได้แก่ ยี่ห้อ Benice (บีไนซ์) สูตรคลีน&เธอราพี และสูตรแอคทีฟ พลัส2. มี 6 ตัวอย่าง ที่ไม่ได้ระบุว่ามีการผสมสารต้านแบคทีเรียในกลุ่มไตรโคลซาน ได้แก่ 1. สบู่ก้อน Safeguard (เซฟการ์ด) 2. สบู่ก้อน Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล 3. สบู่เหลว ยี่ห้อ Dettol (เดทตอล) สูตรเฟรช 4. สบู่เหลว Dettol (เดทตอล) สูตรแอคทีฟ 5. สบู่เหลว Kirei Kirei (คิเรอิคิเรอิ) สูตรแอนตี้แบคทีเรียกลิ่นองุ่น และ 6. สบู่เหลว Shokubutsu (โชกุบุสซึ) สูตร anti-bacteria body foam rejuvenating & purifyingข้อสังเกตยี่ห้อ Acticex (แอคตี้เว็กซ์) สูตร Bacteria blocking system (ลิควิด โซฟ แอคทีฟ โพรเท็คชั่น) ฉลากภาษาไทยไม่มีรายละเอียดของส่วนผสม สารเคมีในกลุ่มต้านแบคทีเรียที่ถูกประกาศห้ามใช้มีอะไรบ้างตามที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ประกาศยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่ รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด เราลองมาดูกันว่าชื่อสารเคมีในกลุ่มดังกล่าวมีอะไรบ้าง1. Cloflucarban 2. flurosalan 3. hexachlorophene 4. hexylresorcinol 5. iodine complex (ammonium ether sulfate and polyoxyethylene sorbitan monolaureate) 6. iodine complex (phosphate ester of alkylaryloxy polyethylene glycol) 7. Nonylphenoxypoly (ethyleneoxy) ethanoliodine 8. poloxamer-iodine complex 9. Povidone- iodine 5-10 % 10. Undecoylium chloride iodine complex 11. Methylbenethonium chloride 12. Phenol (มากกว่า 1.5%) 13. Phenol 16 (น้อยกว่า 1.5%) 14. Secondary amyltricresols 15. Sodium oxychlorosene 16. Tribromsalan 17. Triclocarban, Triclosan และ 18. Tripledyeแนะวิธีปองกันตัวเองจากแบคทีเรียง่ายๆ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการการล้างมือด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลวชนิดธรรมดา โดยไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะทำให้ผิวหนังมีเชื้อแบคทีเรียตกค้าง เพราะตามธรรมชาติผิวหนังของเราสามารถปกป้องไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ด้วยการหลั่งกรดอ่อนจากต่อมเหงื่อ ทำให้ผิวหนังมีสภาพความเป็นกรด ซึ่งไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดได้อยู่แล้ว ขอบคุณ ข้อมูล รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ  วิวัฒน์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 197 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น

ฉลาดซื้อเล่มนี้ขอตามเทรนด์ล้ำๆ ด้วยการนำเสนอผลทดสอบหุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำไว้ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา แม้สนนราคาของมันจะค่อนข้างแพงแต่เครื่องดูดฝุ่นแบบนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะใครๆ ก็อยากมีผู้ช่วยดูแลพื้นบ้านให้สะอาดเอี่ยม คำถามคือ มันทำอย่างนั้นได้จริงหรือไม่? การทดสอบครั้งนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 5 ด้าน เรียงตามน้ำหนักคะแนนได้แก่ ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย) บนพื้นพรมและพื้นไม้ ความสะดวกในการใช้งาน การเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ในห้องนั่งเล่น(ที่มีโซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ เป็นต้น) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเสียงที่เกิดขณะใช้งานทีมทดสอบพบว่ารุ่นที่ “ดีที่สุด” สอบผ่านด้วยคะแนนร้อยละ 63 เท่านั้น ดูรวมๆ แล้วอุปกรณ์ประเภทนี้ยังทำงานได้ต่ำกว่าความคาดหวังของผู้บริโภค แต่รู้ไว้ไม่เสียหลาย พลิกหน้าถัดไปเพื่อดูว่าหุ่นยนต์รุ่นที่คุณเห็นในโฆษณาหรือที่พนักงานสาธิตให้ดูในห้างนั้นได้คะแนนแต่ละด้านไปมากน้อยอย่างไร   

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 196 สารกันบูดในเส้นขนมจีน ภาค 2

ถ้ายังจำกันได้ ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 180 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เราเคยนำเสนอ “ผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีน” ซึ่งผลทดสอบที่ออกมาชวนให้ตกใจไม่น้อย เพราะเส้นขนมจีนจำนวน 12 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบการปนเปื้อนของสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก ทั้ง 12 ตัวอย่าง แถมมีอยู่ 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ ฉลาดซื้อเล่มนี้ เราจะลองสุ่มทดสอบดูปริมาณสารกันบูดในเส้นขนมจีนอีกครั้ง ลองไปดูกันสิว่าสถานการณ์การใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนมีการปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน จะลดลงหรือเพิ่มขึ้น อย่างไร และที่น่าสนใจคือ เราเก็บตัวอย่างเส้นขนมจีนที่เราเคยทดสอบเมื่อคราวที่แล้วด้วย จำนวน 8 ตัวอย่าง และเพิ่มเติมตัวอย่างในการสุ่มทดสอบอีก 9 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 17 ตัวอย่าง เพื่อดูว่าจากผลการทดสอบครั้งที่แล้วผู้ผลิตเส้นขนมจีนมีการปรับปรุงสินค้าของตัวเองอย่างไรกันบ้างผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีนครั้งที่แล้ว สร้างความตื่นตัวให้กับทั้งผู้บริโภค หน่วยงานรัฐ และผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขที่มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปเก็บตัวอย่างขนมจีนที่พบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานมาตรวจวิเคราะห์ พร้อมกับสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เฝ้าระวังสถานที่ผลิตและจำหน่ายเส้นขนมจีนให้เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งยืนยันว่า ขนมจีนเป็นอาหารในภาชนะบรรจุ ต้องแสดงฉลากตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ถ้ามีการใช้วัตถุกันเสียก็ต้องแจ้งไว้บนฉลาก หากไม่แสดงมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ส่วนหากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารเกินปริมาณที่กำหนดจะจัดเป็นอาหารไม่ได้มาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท(ที่มา: ช่าว “สาธารณสุข ส่ง จนท.ตรวจเข้ม “สถานที่ผลิต-ขายขนมจีน”” มติชนออนไลน์ 12 มีนาคม 2559)ทางด้าน “ตลาดยิ่งเจริญ” ก็ตื่นตัวกับผลทดสอบ หลังพบว่ามีตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานจำหน่ายอยู่ในตลาด ซึ่งทางผู้บริหารตลาดยิ่งเจริญ รีบแสดงความผิดชอบด้วยการตรวจเข้มสินค้าต่างๆ ที่จะเข้ามาจำหน่าย โดยออกเป็นมาตรการที่ชื่อว่า “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” ซึ่งมีทั้งการเชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เข้าตรวจประเมินมาตรฐานสินค้าในตลาด สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าในตลาดไปทดสอบ รวมทั้งเชิญพ่อค้า-แม่ค้าในตลาดมาทำความเข้าใจเรื่องการเลือกสินค้ามาจำหน่ายต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และพร้อมจัดการขั้นเด็ดขาดกับสินค้าที่หน่วยงานรัฐออกมาให้ข้อมูลยืนยันว่าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย(ที่มา: ข่าว ““ตลาดยิ่งเจริญ” ออกมาตรการ “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” เชิญ อย.ลงพื้นที่ตรวจสอบสินค้าทั้งหมด” กรุงเทพธุรกิจ 16 มิถุนายน 2560)ข้อกำหนดการใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนตามข้อกำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 4) ซึ่งประกาศใช้เมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมา ยังคงอนุญาตให้มีการใช้ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) ซึ่งเป็นกลุ่มสารกันเสีย ในเส้นขนมจีน ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกณฑ์มาตรฐานยังคงเท่ากับการทดสอบเมื่อครั้งที่แล้วผลการทดสอบ-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่นำมาทดสอบในครั้งนี้มีจำนวน 17 ตัวอย่าง จากผลการทดสอบพบว่ามีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ - มี 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อเส้นขนมจีน 1 กิโลกรัม ซึ่งตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1.ยี่ห้อ ชลนิศา เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,114.24 มิลลิกรัมต่อกิโกลกรัม และ 2.ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด 3 ตัวอย่างแรก ได้แก่ 1.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, 2.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 63.21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 3.ยี่ห้อ นิดา เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 91.30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่น่าตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษคือ ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่มีการใช้สารกันบูดน้อยที่สุด 2 อันดับแรก เป็นเส้นขนมจีนที่ไม่มีการแสดงฉลากใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงว่า เส้นขนมจีนทั้ง 2 ตัวอย่าง ผลิตและจำหน่ายทันทีไม่ได้ผลิตเพื่อส่งไปขายต่อที่อื่น ซึ่งตามกฎหมายอนุโลมให้อาหารในลักษณะดังกล่าวไม่ต้องแสดงฉลาก เป็นไปได้ว่าผู้ผลิตตั้งใจที่จะผลิตและจำหน่ายแบบวันต่อวัน ทำให้มีการใช้สารกันบูดในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการทดสอบครั้งที่แล้ว ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบสารกันบูดน้อยที่สุด ก็เป็นตัวอย่างเส้นขนมจีนไม่มียี่ห้อและไม่มีฉลากที่เก็บตัวอย่างจากตลาดพระประแดงข้อสังเกตจากผลทดสอบ-การทดสอบครั้งที่ 2 พบว่า ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกน้อยที่สุดนั้น  พบเพียงแค่ 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่าตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ทดสอบครั้งที่แล้วที่พบน้อยสุดที่ปริมาณ 147.43 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม -โดยภาพรวมของผลการทดสอบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิกในเส้นขนมจีนครั้งนี้ ช่วยตอบคำถามได้ว่า เส้นขนมจีนยังเป็นอาหารที่ตรวจพบว่า มีการปนเปื้อนของสารกันบูด โดยค่าเฉลี่ยของปริมาณสารกันบูดที่พบในการทดสอบครั้งที่ 2 นี้ อยู่ 450.53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในการทดสอบครั้งที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 439.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-พบว่า ตัวอย่าง ยี่ห้อ ดาว ซึ่งเก็บตัวอย่างจากตลาดยิ่งเจริญ ที่ผลการทดสอบครั้งที่แล้ว พบกรดเบนโซอิกสูงเกินค่ามาตรฐานที่ 1121.37 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนั้น ในการทดสอบครั้งนี้พบปริมาณกรดเบนโซอิกอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คือ 768.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต้องขอชื่นชมที่มีการปรับปรุงมาตรฐานของสินค้า-ในขณะที่พบการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในบางยี่ห้อ แต่บางยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ ซึ่งเก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย การทดสอบครั้งที่แล้วพบปริมาณกรดเบนโซอิกแค่ 462.36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในการทดสอบครั้งนี้พบการปนเปื้อนสูงถึง 1274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ต้องฝากหน่วยงานควบคุมกำกับช่วยติดตามมาตรฐานของสินค้าด้วย)การแสดงฉลากยังมีปัญหาจากผลทดสอบที่ได้พบว่าเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบมีการปนเปื้อนของสารกันบูด เบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่าง ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 167) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ มีการกำหนดเรื่องการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหารลงในฉลาก แต่จากตัวอย่างเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่าง มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น ที่แสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดระบุไว้บนฉลากหรือภาชนะบรรจุ ได้แก่ เส้นขนมจีนยี่ห้อ ฉวีวรรณ เก็บตัวอย่างที่ห้างแมคโคร สาขาลาดพร้าว ที่แจ้งไว้ว่าใช้วัตถุกันเสีย โซเดียมเบนโซเอต (INS NO.211)  (INS = international numbering system for food additives หรือ หมายเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหารสากล)ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้อาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุต้องมีการแสดงฉลาก ยกเว้นอาหารในลักษณะต่อไปนี้ 1.อาหารที่ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารแก่ผู้บริโภคได้ในขณะจำหน่าย เช่น หาบเร่ แผงลอย เป็นต้น, 2.อาหารสดทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านกรรมวิธีการแกะ ชำแหละ ตัดแต่ง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อลดขนาด ซึ่งอาจแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นก็ได้ และบรรจุในภาชนะที่สามารถมองเห็นสภาพของอาหารนั้น เช่น ผัก ผลไม้ตัดแต่ง เนื้อสัตว์หั่นเป็นชิ้นหรือบด เป็นต้น และ 3.อาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อบริการเฉพาะภายในร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล สายการบิน สถานที่อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมถึงการบริการจัดส่งอาหารโดยตรงให้กับผู้ซื้อจากการสุ่มเก็บตัวอย่าง เส้นขนมจีนที่ขายอยู่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ไม่เข้าข่ายตามข้อยกเว้นของกฎหมาย ต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เพราะเป็นอาหารที่ผลิตในรูปแบบของโรงงานและส่งออกวางจำหน่ายตามตลาดต่างๆ อาจมีบ้างบางตัวอย่างที่ผลิตและขายเองหน้าร้าน ไม่ได้รับซื้อหรือส่งต่อไปขายที่อื่น ซึ่งถ้าเป็นในลักษณะดังกล่าวก็เข้าข่ายที่ได้รับการยกเว้นดังนั้นอยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกวดขันดูแลให้ผู้ผลิตเส้นขนมจีนปรับปรุงสินค้าของตนเองให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 196 ไมโครเวฟ

ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบเตาไมโครเวฟที่มาพร้อมฟังก์ชั่นปิ้งย่าง ความจุระหว่าง 20 – 45 ลิตร มาฝากสมาชิกทั้งหมด 15 รุ่น ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอเสนอเฉพาะยี่ห้อที่มีขายในประเทศไทย องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ให้คะแนนรวมไว้ที่ 100 ซึ่งรวมจากคะแนนในแต่ละด้านได้แก่ ประสิทธิภาพการใช้งาน (ละลายน้ำแข็ง ปิ้ง ย่าง อุ่นร้อน และฟังก์ชั่นอบในบางรุ่น) ความสะดวกในการใช้งาน (การเลือกโปรแกรม ตั้งเวลา การหยิบจานอาหารเข้า/ออก การทำความสะอาด เสียงรบกวน หรือฝาปิดที่มองเห็นอาหารด้านในได้ง่าย ฯลฯ) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนนราคามีให้เลือกตั้งแต่ต่ำกว่า 3,000 ไปจนถึง 13,500 บาท ใครต้องการใช้งานด้านไหนเป็นพิเศษ ดูคะแนนการทำงานฟังก์ชั่นต่างๆ ได้เลย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 195 เลิกใช้โฟมล้างหน้าที่ผสมเม็ดบีดส์กันเถอะ

เม็ดบีดส์ในโฟมล้างหน้าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าหรือโฟมล้างหน้าหลายยี่ห้อ มักนำเม็ดบีดส์มาเป็นส่วนประกอบ เพราะมีคุณสมบัติในการขัดหรือทำความสะอาดสิ่งสกปรกบนผิวได้เป็นอย่างดี ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนชื่นชอบและเลือกใช้เป็นประจำ แต่รู้หรือไม่ว่าเม็ดบีดส์เหล่านั้นสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้เม็ดบีดส์หรือไมโครบีดส์ (Micro beads) หรือไมโครพลาสติก เป็นเม็ดสครับที่เกิดจากกระบวนการทางเคมี โดยส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติก ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ และด้วยขนาดที่เล็กมาก (ตั้งแต่ 10 ไมครอน หรือ 0.00039 นิ้ว – 1 มิลลิเมตร หรือ 0.039 นิ้ว) ทำให้หลังการชะล้างเม็ดบีดส์จิ๋วเหล่านี้ก็จะหลุดรอดจากการบำบัดสิ่งปฏิกูล เข้าสู่ทะเลหรือมหาสมุทรนำไปสู่มลภาวะทางน้ำ ทั้งยังมีคุณสมบัติในการดูดซับและปล่อยสารพิษอันตรายร้ายแรง เช่น PCBs (Polychlorinated biphenyls) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีหลักในการผลิตวัสดุ เช่น กาว สี สารกันรั่วซึม พลาสติกหรือน้ำมันหล่อลื่น นอกจากนี้ยังสามารถปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารได้อีกเช่นกัน เนื่องจากสัตว์น้ำต่างๆ จะพากันกินเม็ดบีดส์เหล่านี้เข้าไปและกระจายต่อกันเป็นทอดๆ ซึ่งในที่สุดก็จะย้อนกลับมาเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้ายนั่นเอง โดยหากเราได้รับเม็ดบีดส์เหล่านี้เข้าไปในร่างกายสม่ำเสมอ สามารถส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า คลื่นไส้อาเจียน แขนขาเปลือกตาบวมหรือเกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน ทำลายระบบประสาทและมีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งได้ ทำให้หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ประกาศห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่มีไมโครบีดส์เป็นส่วนประกอบแล้วอย่างไรก็ตามสำหรับในบ้านเรา แม้จะยังไม่มีกฎหมายห้ามผลิตหรือจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีเม็ดบีดส์เป็นส่วนประกอบ แต่หลายองค์กรในประเทศก็ได้มีการตื่นตัวและเสนอให้หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลโดยตรงอย่าง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เร่งออกมาตรการหรือข้อบังคับให้เลิกใช้เม็ดบีดส์ในการผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ชำระล้างทุกชนิดฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาช่วยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมดังกล่าว ด้วยการสุ่มทดสอบผลิตภัณฑ์ล้างหน้าจำนวน 21 ยี่ห้อ 33 ตัวอย่างว่าเจ้าไหนจะมีเม็ดบีดส์เหล่านี้เป็นส่วนประกอบบ้าง เราลองไปดูกันเลย ข้อควรรู้เกี่ยวกับพลาสติกที่นิยมใช้ผลิตไมโครบีดส์ ชื่อเรียกของไมโครบีดส์ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาจแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. Polyethylene (โพลีเอทิลีน)2. Polypropylene (โพลีโพรพิลีน)3. Polyethylene terephthalate (โพลีเอทิลีนเทเรพทาเลต)4. Polymethyl methacrylate (โพลีเมทิลเมทาไครเลต)5. *Acrylates (อะคริเลต)*จากการสำรวจและวิจัยของ CAP (Consumers Association of Penang) ประเทศมาเลเซีย ระบุว่าถ้าในผลิตภัณฑ์ เช่น ครีมอาบน้ำ โฟมล้างหน้า มีส่วนผสมของ Acrylates ก็หมายความว่ามีไมโครพลาสติกเป็นส่วนประกอบและส่วนผสมที่ยังเป็นคำถามว่าเข้าข่ายเป็นไมโครบีดส์หรือไม่ ได้แก่ • Alkyl methacrylates crosspolymer• Ammonium Acryloyldimethyltaurate / Carboxyethyl Acrylate Crosspolymer• Ammonium Acryloyldimethyltaurate/VP Copolymer• Cera Microcristallina• Dimethicone Crosspolymer• Dimethicone/vinyl dimethicone crosspolymer• Hydroxyethyl Acrylate/Sodium Acryloyldimethyl Taurate Copolymer• Lauryl Methacrylate/Glycol Dimethacrylate Cross polymer• Polyacrylamide• Polyquaternium-7, Styrene/Acrylates Copolymer• PPG-51/Smdi Copolymer• Sodium Acrylate/Acryloyldimethyl Taurate Copolymer• Sodium acrylates copolymer• Sodium polyacrylate• Styrene/Acrylates Copolymer• Taurate/Vp Copolymerที่มา Microplastics in personal care products . by Dr Sue Kinsey. Marine Conservation Societywww.masts.ac.uk/media/3443/sue_kinsey_mast2014mcs.pdf ฉลาดซื้อแนะการเลือกใช้สครับขัดผิวหน้าผู้บริโภคอย่างเราสามารถสวยแบบได้รักษ์โลกได้ ด้วยการร่วมมือกันเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ส่วนประกอบของไมโครบีดส์ และหันมาเลือกใช้สครับที่ทำจากธรรมชาติอย่างเมล็ดของพืช เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดแอปริคอท หรือแบบไทยๆ อย่างเกลือและมะขามเปียกแทน ผลการสำรวจจากตัวอย่างโฟมล้างหน้าที่นำมาตรวจสอบฉลากทั้งหมด 21 ยี่ห้อ 33 ตัวอย่าง พบว่ามี 9 ยี่ห้อ 12 ตัวอย่าง ที่ไม่มีส่วนผสมของไมโครบีดส์ ได้แก่ 1. ST.Ives Blemish control apricot scrub) 2. ETUDE HOUSE) Baking powder B.B. deep cleansing foam 3. SKINFOOD) Honey Flour Cleansing foam #Brightening 4. SMOOTH E Baby face scrub และ SMOOTH E สูตร White baby face scrub 5. NIVEA MEN Anti oil + white acne scrub 6. BIORE Pure smooth bright7. BIORE Facial foam deep detoxify8. BIORE Pore detox botanical beads 9. EUCERIN Dermo PURIFYER scrub10. BOOTS Tea tree & witch hazel with active charcoal deep cleaning facial scrub11. CLEAN & CLEAR Clear fairness cleanser ข้อสังเกต1. ยี่ห้อ Boots (บู๊ทส์) สูตร Tea tree & witch hazel with active charcoal deep cleaning facial scrub (ที ทรี แอนด์ วิช ฮาเซล วิธ แอคทีฟ ชาร์โคล ดีพ คลีนซิ่ง เฟเชียล สครับ) ระบุว่าผลิตในประเทศไทยโดย บริษัท เอส แอนด์ เจ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) แต่เลขที่จดแจ้งบนฉลาก คือ 10-2-5709283 ซึ่งจัดอยู่ในหมวดสินค้านำเข้า ขณะเดียวกันทาง บ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจ้งมาว่า สินค้าตัวนี้ ผลิตเพื่อการส่งออก มีองค์ประกอบทุกตัว ทำตามข้อกำหนดของสำนักงานอาหารและยาของประเทศที่ส่งออก  และจดแจ้งเป็นสินค้าส่งออก ส่วนการนำเข้า มาจากลูกค้า จึงปรากฏเป็นตัวเลขตามที่อ้างถึงในนิตยสาร ถ้าตรวจสอบอย่างละเอียด ฉลากติดแนบกับขวดจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และระบุว่า Made in Thailand เท่านั้น โดยไม่มีชื่อบริษัทผู้ผลิต ขณะที่นำเข้า จะต้องมีฉลากภาษาไทยติดทับ พร้อมเลขที่จดแจ้งการนำเข้า2. ยี่ห้อ Dr.Montri (ดร.มนตรี) สูตร Scrub&Oil control facial foam (สครับ แอนด์ ออยล์ คอนโทรล เฟเชียล โฟม) ระบุเลขที่จดแจ้งเกิน 10 หลัก คือ 10-1-5910003203ดาวน์โหลดตารางทดสอบแบบละเอียดได้ที่นี่

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 195 เครื่องทำกาแฟ

ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบมาฝากสมาชิกที่กำลังมองหาเครื่องทำกาแฟมาไว้ใช้เองในบ้าน เรามีมาให้เลือก 19 รุ่น ทั้งแบบอัตโนมัติที่ทำให้ตั้งแต่บดเมล็ดกาแฟไปจนออกมาเป็นเอสเปรสโซ แบบแคปซูลสำเร็จรูปและแบบธรรมดา สนนราคาก็มีให้เลือกตั้งแต่ 2,000 กว่าไปจนเกือบหกหมื่นบาทในการทดสอบครั้งนี้ทีมทดสอบขององค์การทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ได้ให้สัดส่วนคะแนนด้านต่างๆ ไว้ดังนี้ความสะดวกในการใช้งาน (เช่น การทำกาแฟ ตั้งโปรแกรม ปรับอุณหภูมิ เติมน้ำ ทำความสะอาด ล้างตะกรัน  เป็นต้น) 30 คะแนนคุณภาพและรสชาติของกาแฟ 20 คะแนนความสม่ำเสมอของอุณหภูมิ 15 คะแนนการประหยัดพลังงาน 10 คะแนนการทำฟองนม 10 คะแนนความเร็วในการทำงาน 5 คะแนนฟังก์ชั่นทำพร้อมกัน 2 แก้ว   5 คะแนนคู่มือการใช้งาน 5 คะแนนส่วนเรื่องดีไซน์และความสวยงามนั้นแม้จะไม่มีสัดส่วนคะแนนให้ แต่ทีมเขาบอกว่าเป็นงานดีห้าดาวทุกรุ่น วางไว้เฉยๆ ก็ทำหน้าที่เป็นงานศิลป์ประดับครัวได้ ในภาพรวม รุ่นที่ได้คะแนน 5 ดาวเพียงมีรุ่นเดียวได้แก่ Delonghi ECAM 650.55.MS PRIMADON- ELITE ที่ราคาเหยียบหกหมื่น แต่ที่เหลือก็ไม่ธรรมดา ได้คะแนนไปในระดับ 4 ดาวทุกรุ่น ใครชอบแบบไหน เลือกกันได้ในหน้าถัดไป หมายเหตุ: - เมล็ดกาแฟที่ใช้เป็นไปตามสเปคของเครื่องแต่ละยี่ห้อ แต่กรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ ทีมงานจะใช้เมล็ดกาแฟของ illy- ราคาที่ลงไว้เป็นราคาที่แปลงจากสกุลเงินยูโร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 194 สารเคมีอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิล ในลูกบิดรูบิก (Rubik’s cube)

แม้ปัจจุบันจะมีการควบคุมการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่มีส่วนประกอบของ “สารหน่วงการติดไฟที่มีองค์ประกอบของโบรมีน” (Brominated Flame Retardants: BFR) มาผลิตเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภค โดยเฉพาะในของเล่นสำหรับเด็ก แต่ผลจากการสำรวจตลาดของเล่นเด็กครั้งล่าสุดทั้งในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศพบว่า ของเล่นเด็กยอดฮิตคือ “ลูกบิดรูบิก” หรือลูกบาศก์เรียงสี ที่นิยมให้เด็กเล่นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชาว์ปัญญา มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและพัฒนาการทางสมองของเด็กปนเปื้อนอยู่ในระดับสูงโครงการสำรวจและตรวจวิเคราะห์นี้ดำเนินการโดย “เครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม” หรือไอเพน (IPEN) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยนักวิชาการสาขาต่างๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจาก  100 กว่าประเทศ หรือ 700 กว่าองค์กร โดยมีคณะผู้ร่วมการสำรวจจากทั้งหมด 26 ประเทศ รวมถึงมูลนิธิบูรณะนิเวศในประเทศไทยโครงการฯ ได้ดำเนินการสำรวจผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลที่มีสาร BFRs ปนเปื้อนหรือใช้เป็นสารเติมแต่งระหว่างกระบวนการผลิต ใน 26 ประเทศ  ซึ่งประกอบด้วยลูกบิดรูบิกรวม 95 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ  เพื่อวิเคราะห์หาการเจือปนของสารพิษกลุ่มสาร BFRs ได้แก่ 1) สาร Octabromodiphenyl ether  (OctaBDE), 2) สาร Decabromodiphenyl either (DecaBDE) และ 3) สาร Hexabromocyclododecane (HBCD)  ผลการสำรวจในประเทศไทยมูลนิธิบูรณะนิเวศได้สำรวจและซื้อลูกบิดรูบิกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลในตลาดของเล่นเด็กของไทยในจังหวัดกรุงเทพฯ ปทุมธานี นครปฐม และระยอง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2558  รวม 9 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด  เพื่อวิเคราะห์หาความเข้มข้นของกลุ่มสาร PBDEs (OctaBDE และ DecaBDE) และ HBCD ผลการวิเคราะห์พบว่า ลูกบิดรูบิกจำนวน 9 ตัวอย่างจากประเทศไทย มี 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณสารโบรมีนทั้งหมด (Total Br) สูงเกิน 1,000 ppm  ด้วยเครื่องวิเคราะห์ Handheld X-ray Fluorescence (HHXRF)  และจากการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเคมี สาธารณรัฐเช็ก เฉพาะ 2 ตัวอย่างที่มีโบรมีนรวมเกิน 1,000 ppm พบว่าทั้งสองตัวอย่างปนเปื้อนสาร OctaBDE ที่มีปริมาณเข้มข้นสูง 25 – 48 ppm และสาร DecaBDE มีปริมาณเข้มข้นสูง 21 – 23 ppm  ทั้งนี้มี 1 ตัวอย่างที่มีสาร HBCD ในปริมาณเข้มข้น 5 ppm ผลการสำรวจใน 26 ประเทศการวิเคราะห์ตัวอย่างจากประเทศต่างๆ รวม 26 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยลูกบิดรูบิก95 ตัวอย่าง  และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ  พบว่ามี 100 ตัวอย่าง (ร้อยละ 90) มีสาร OctaBDE ปนเปื้อนในปริมาณเข้มข้นระหว่าง 1- 1,174 ppm;  พบสาร HBCD ในจำนวน 45 ตัวอย่าง (ร้อยละ 41)  ระดับความเข้มข้นอยู่ที่ 1 - 1,586 ppm  และสาร DecaBDE ในจำนวน 101 ตัวอย่าง (ร้อยละ 91)  มีช่วงความเข้มข้นที่พบคือ 1 -  672 ppmอัครพล ตีบไธสง นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ผู้ร่วมการศึกษาในโครงการนี้กล่าวให้ความเห็นว่า  “สารเคมีอันตรายกลุ่มนี้มักเจือปนอยู่ในขยะพลาสติก เป็นสิ่งอันตรายมากโดยเฉพาะต่อพัฒนาการทางสมอง ระบบประสาทของเด็ก และมีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนส์ของร่างกายด้วย จึงไม่ควรนำมาผลิตของเล่นเด็กโดยเด็ดขาด และควรมีมาตรการกำจัดผลิตภัณฑ์ที่อันตรายต่อเด็กออกจากท้องตลาดด้วย”ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ดร. โจ ดิกันจิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารอันตรายของ IPEN จากสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า “การรีไซเคิลวัสดุที่มีสารพิษเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นวัฏจักรที่จะทำให้ปนเปื้อนสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาไม่จบสิ้น และยังจะทำลายความน่าเชื่อถือของการรีไซเคิลวัสดุ รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงควรหาทางยุติปัญหานี้และควรมีมาตรการเชิงป้องกันระยะยาวด้วย”ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สารหน่วงการติดไฟที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นยังคงปนเปื้อนในของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ผลิตจากการรีไซเคิลขยะเหล่านี้อย่างน่าวิตก  ยิ่งไปกว่านั้นของเล่นหลายชนิดปนเปื้อนสารอันตรายมากกว่า 50  ppm ในที่นี้คือ OctaBDE และ HBCD  รวมถึง DecaBDE  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 194 ฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชันแบบ Music streaming

การฟังเพลง เป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงในชีวิตประจำวันสำหรับใครหลายคน ซึ่งสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดหรือทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามช่องทางการฟังเพลงได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัย โดยปัจจุบันเราจะพบว่าคนมักฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น ซึ่งหากใครที่ชื่นชอบการฟังเพลงด้วยวิธีดังกล่าว อาจคุ้นหูหรือเคยได้ลองใช้แอปพลิเคชันฟังเพลงแบบ Music streaming กันมาบ้างแล้ว แต่หากใครที่ยังไม่แน่ใจว่า Music streaming คืออะไร เราลองไปดูกันเลยMusic streaming เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการฟังเพลงที่ถูกกฎหมาย โดยอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อเพลงได้ไม่จำกัดจำนวนเพลง ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเพลงเหล่านั้นไว้ในแอป เพื่อเก็บไว้ฟังเมื่อไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือกำลังออฟไลน์ได้อีกด้วย ในราคาเหมาจ่ายเดือนต่อเดือน นั่นหมายความว่าหากเดือนไหนที่ผู้ใช้งานไม่เสียค่าบริการก็จะไม่สามารถฟังเพลงที่เคยซื้อหรือดาวน์โหลดไว้ได้ (ต่างจากการซื้อเพลงแบบเดิมที่ฟังได้ตลอดไป เพราะเป็นการซื้อเพลงต่อเพลง) ส่วนคุณภาพของเสียงเพลงก็มีความคมชัดคล้ายกับการฟังผ่านซีดีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามการฟังเพลงด้วยวิธีการดังกล่าวในบ้านเรา ยังถือว่าอยู่ในช่วงระยะทดลอง ทำให้แอปพลิเคชันฟังเพลงหลายเจ้ามีบริการทดลองใช้งานฟรี เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจว่า การฟังเพลงด้วยวิธีดังกล่าวตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเอาใจคนชอบฟังเพลง ด้วยการรวบรวมแอปพลิเคชันฟังเพลงแบบ Music streaming ที่ได้เปิดบริการในประเทศไทยและสามารถใช้งานได้จริง รวมทั้งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ จำนวน 6 แอปพลิเคชันมาทดสอบ เพื่อดูว่าเจ้าไหนราคาคุ้มค่าและใช้งานได้เสถียรดีไม่มีปัญหามากที่สุด ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร ลองไปดูกัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 193 It’s smoothie time!

อุณหภูมิขนาดนี้คงไม่มีอะไรดีไปกว่าเครื่องดื่มเย็นๆ จากผักหรือผลไม้ ที่ดื่มแล้วชื่นใจแถมได้วิตามิน ฉลาดซื้อฉบับรับร้อนขอนำเสนอผลการผลทดสอบเครื่องปั่น/ผสมอาหารที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ทำไว้มาฝากสมาชิก ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงของนำเสนอเพียง 18 รุ่น สนนราคาตั้งแต่ 850 ถึง 15,500 บาท* เครื่องปั่นเหล่านี้มีกำลังไฟระหว่าง 250 ถึง 1200w และทั้งหมดผลิตในประเทศจีน ยกเว้น Kitchen Aid และ Vitamix ที่ผลิตในอเมริกาคราวนี้เราวัดประสิทธิภาพของเครื่องปั่นแต่ละรุ่นในการ:   - ทำสมูตตี้ผักและผลไม้ (ส้ม แอปเปิ้ล แครอท โยเกิร์ต และนม)- บดน้ำแข็งก้อนสี่เหลี่ยม (10 ก้อน)- เตรียมอาหารเหลว (มันฝรั่ง แครอท และเนื้อวัวต้มสุก)โดยทีมงานจะทดสอบตามคำแนะนำในคู่มือของเครื่องปั่นรุ่นนั้นๆ วัดเวลาที่ใช้และให้คะแนนความละเอียดและเป็นเนื้อเดียวกันของส่วนผสม นอกจากนี้ยังให้คะแนนเรื่องความสะดวกในการใช้งาน การล้างทำความสะอาด เสียงรบกวนจากการใช้งาน และคุณภาพการประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการทดสอบครั้งนี้อยู่ที่ 9,755 ยูโร หรือประมาณ 365,000 บาท โดยไม่รวมค่าผลิตภัณฑ์  ฉลาดซื้อสามารถนำผลทดสอบมาเผยแพร่ได้เพราะเราเป็นสมาชิกขององค์กร International Consumer Research & Testing ที่จะให้ผลทดสอบกับองค์กรผู้บริโภคที่ไม่แสวงหากำไรเท่านั้น  หมายเหตุ: ราคานี้เป็นราคาในเดือนมีนาคม 2560 โปรดตรวจสอบกับทางร้านอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point