ฉบับที่ 264 มาสคารา

        แม้ว่ามาสคาราจะมียอดขายลดลงเพราะมีขนตาปลอมและบริการต่อขนตาเข้ามาแย่งตลาด แต่ค่ายเครื่องสำอางก็ยังส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัยที่รักการมีขนตางอนงาม         หากยังคิดไม่ตกว่าจะเลือกมาสคารายี่ห้อไหน ลงทุนเท่าไรถึงจะคุ้มค่า ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบมาสคารา 24 รุ่น ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้เมื่อปลายปี 2565 มาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ (ติดตามผลการทดสอบเปรียบเทียบมาสคารามาครั้งก่อนหน้านี้ได้ในฉลาดซื้อ  ฉบับที่ 138)    การทดสอบครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน        -       การทดลองใช้ โดยผู้ที่เชี่ยวชาญ (ด้านการใช้มาสคารา) ที่ใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องกัน 30 วัน และตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้งาน เช่น การเปิด/ปิด ความถนัดในการจับด้ามแปรง ความหนาและความโค้งงอนของขนตา ความสม่ำเสมอของเนื้อผลิตภัณฑ์บนเส้นขนตา ความเร็วในการแห้ง การติดทนและไม่ทิ้งคราบ ความยากง่ายในการล้างออก และอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น             -       การให้คะแนนโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยดูจากภาพถ่ายดวงตา ก่อนและหลังการใช้มาสคารา        -       การทดสอบในห้องปฏิบัติการซึ่งแบ่งออกเป็น            ·     การตรวจวิเคราะห์หาสารต้องห้ามและปริมาณโลหะหนัก และ            ·     การวัดปริมาณมาสคาราที่เหลือค้างในบรรจุภัณฑ์ (ทดสอบโดยใช้แปรงจุ่มมาสคาราในหลอดแล้วนำมาเช็ดออก ทำซ้ำจนกว่าจะไม่มีสีติดที่กระดาษหรือหลังมือ จากนั้นนำบรรจุภัณฑ์มาชั่งน้ำหนัก ก่อนจะนำไปล้างและเช็ดให้แห้งด้วยสำลีก้าน แล้วนำมาชั่งอีกครั้งเพื่อหาส่วนต่าง) ผลทดสอบที่น่าสนใจ        ·     การทดสอบครั้งนี้พบว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่มีสารเคมีหรือโลหะหนักเช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม นิกเกิล ฯลฯ เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด ที่น่าสนใจคือตรวจไม่พบสารเหล่านี้เลยในมาสคาราของ Benefit  Lancome  และ Kiko           ·     ในเรื่องของความพึงพอใจและความสามารถในการแปลงลุคขนตาของผู้ใช้ เราพบว่าราคาไม่ใช่ตัวชี้วัดเสมอไป แม้ผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนสูงสุด YVES SAINT LAURENT Mascara Lash Clash จะมีราคาเกิน 1,300 บาท แต่ ISADORA Build-Up Mascara Extra Volume ที่ได้คะแนนตามมาติดๆ ราคาไม่ถึง 500 บาท และมาสคาราหลายยี่ห้อที่ราคาเกินหนึ่งพันบาท ก็ได้คะแนนในอันดับไม่ดีนัก---ข้อควรระวัง หลีกเลี่ยงการใช้มาสคาราที่เปิดใช้งานมานานเกิน 3 เดือน และไม่ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับใคร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับีท่ 263 แปรงสีฟันไฟฟ้า

        ตลาดแปรงสีฟันไฟฟ้าทั่วโลกเริ่มคึกคักและมีแนวโน้มจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น หลังผู้คนหันมาให้ความใส่ใจกับสุขภาพอนามัยช่องปากกันมากขึ้น เราได้เห็นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ราคา รวมถึงแบรนด์ใหม่ๆ ในตลาดฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแปรงสีฟันไฟฟ้ามาฝากสมาชิกกันอีกครั้ง* (ดูผลการทดสอบครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉกลาดซื้อ ฉบับ 251)         เช่นเดียวกับครั้งก่อน การทดสอบแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่การตรวจวัดในห้องปฏิบัติการ และความเห็นจากอาสาสมัครที่ใช้งานจริง โดยคะแนนจะแบ่งออกเป็นสี่ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน (ร้อยละ 50)  แบตเตอรี/การชาร์จ (ร้อยละ 30) การใช้งานสะดวก (ร้อยละ 25)  และการปลอดเสียงรบกวน (ร้อยละ 5)          แปรงสีฟันไฟฟ้า 14 รุ่น ที่ทดสอบ (ราคาระหว่าง 715 ถึง 10,500 บาท)* มีทั้งรุ่นที่ใช้ระบบการสั่นของขนแปรง การหมุนของหัวแปรง หรือทั้งสองระบบรวมกัน แปรงส่วนใหญ่ที่เราทดสอบเป็นชนิดที่ชาร์จไฟได้ มีเพียงหนึ่งรุ่นที่ใช้พลังงานจากถ่านอัลคาไลน์        ในภาพรวมเราพบว่าการลงทุนไม่เกิน 3,000 บาท ก็สามารถได้แปรงไฟฟ้ารุ่นที่ได้คะแนนดีที่สุด (Oral-B iO-4n) มาครอบครองได้ หรือถ้าใครไม่อยากจ่ายเกินหนึ่งพัน ก็ยังมีรุ่นที่ได้คะแนนระดับดี (Dontodent) ให้เลือกใช้ เช่นกัน และยังมีแปรงบางรุ่นที่ผู้ผลิตให้หัวแปรงสำหรับเปลี่ยนมากถึง 3 หรือ 4 หัว แม้ราคาอาจจะสูงขึ้นมาบ้าง แต่เมื่อคำนวณดูแล้วก็เป็นการลงทุนที่น่าจะคุ้มค่าเช่นกัน        การทดสอบโดยสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศครั้งนี้ทำขึ้นในช่วงปลายปี 2565 เนื่องจาก ฉลาดซื้อ เป็นหนึ่งในสมาชิกที่ร่วมลงขันจึงสามารถนำผลทดสอบเปรียบเทียบมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่จ่ายค่าสมาชิกของเราได้           ราคาที่นำเสนอแปลงจากหน่วยเงินปอนด์หรือยูโร ตามข้อมูลที่พบในอินเทอร์เน็ต โปรดตรวจสอบราคา (รวมถึงค่าจัดส่งหากสั่งซื้อออนไลน์) อีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 262 ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

            กำหนดการบังคับใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการติดตั้งเบาะนิรภัยสำหรับเด็กวัยไม่เกินหกขวบ (คาร์ซีท) ของบ้านเราเริ่มต้นแล้ว ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่องค์กรผู้บริโภคในยุโรปซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำการทดสอบไว้ และเนื่องจากมีเนื้อที่จำกัด เราจึงขอนำเสนอเพียง 25 รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบในปี 2022(ติดตามผลทดสอบคาร์ซีทครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉบับที่ 234)         การทดสอบซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานใหม่ของยุโรป (R129) แบ่งออกเป็นการจำลองการชนในห้องปฏิบัติการ และการใช้งานจริงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และครอบครัวที่มีเด็กอายุ 3, 6, และ 10 ปีจำนวน 10 ครอบครัว คาร์ซีททุกรุ่นจะถูกนำมาทดลองติดตั้งและใช้งานกับรถ 3 ประเภท ได้แก่ รถแฮทช์แบ็ก 3 ประตู รถ SUV 5 ประตู และรถ MPV         คะแนนรวม 100 คะแนนแบ่งออกเป็น        - ความปลอดภัย (ร้อยละ 50) เช่น ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ความแข็งแรงของตัวล็อก การยึดติดกับเบาะรถ และการดูดซับแรงกระแทก เป็นต้น        - ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 40) เช่น การติดตั้ง การปรับขนาดให้เข้ากับตัวเด็ก โอกาสที่จะใช้ผิดวิธี และความยากง่ายในการทำความสะอาด เป็นต้น        - การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ หรือ ergonomics (ร้อยละ 10) ทั้งตัวที่นั่ง พนักพิง ความนุ่มสบาย และการใช้พื้นที่ในรถ เป็นต้น         เนื่องจากสหภาพยุโรปห้ามใช้สารเคมีอันตรายหลายชนิดในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น โพลีไซคลิกไฮโดรคาร์บอน พทาเลท ฟอร์มัลดีไฮด์ สีเอโซ และโลหะหนัก ทีมทดสอบจึงทำการตรวจวิเคราะห์หาสารดังกล่าวบนตัววัสดุหุ้มเบาะและส่วนประกอบอื่นๆ ที่เด็กอาจเลียหรือนำเข้าปากไว้ด้วย         ในภาพรวมเราพบว่า คาร์ซีทที่มีจำหน่ายในยุโรปมีทั้งที่คุณภาพดีและด้อยปะปนกัน รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุด Cybex AnorisT i-size ได้ไปถึง 81 คะแนน ในขณะที่หลายรุ่นได้คะแนนรวมต่ำกว่า 50 เพราะมีคะแนนความปลอดภัยแค่ระดับ “พอใช้” และบางรุ่นไม่ได้คะแนนเลย* ในกรณีที่เป็นรุ่นเดียวกัน รุ่นที่มาพร้อมกับฐาน (และมีราคาแพงกว่า) มักจะได้คะแนนมากกว่า  นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าการเลือก “แบรนด์” อย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบ เราอาจต้องพิจารณา “รุ่น” ของคาร์ซีทด้วย         ·  เรามัดรวมคาร์ซีทที่ไม่ควรซื้อเอาไว้ที่หน้าสุดท้ายของบทความนี้แล้ว คาร์ซีทรุ่นที่ได้คะแนนรวมในระดับ “พอใช้”Jané iMatrix + iPlatform ComfyGraco Turn2MeBesafe StretchLionelo Antoon PlusSilver Cross Motion All Size 360Chicco Seat2Fit i-SizeRecaro Toria EliteAxkid Minikid 3Chicco Seat3Fit i-SizeCasualplay Backfix i-SizeJoie i-Spin Grow คาร์ซีทรุ่นที่เราไม่แนะนำJané Koos i-Size R1 + iPlatform ComfyUrban Kanga Uptown TV107Lionelo Antoon RWFKinderkraft Comfort UpWalser Kids Expert Noemi

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 261 เครื่องทำกาแฟแบบแมนนวลและแคปซูล

        ตามที่สัญญาไว้ในฉบับก่อนหน้า ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟแบบแมนนวลและแบบแคปซูลเป็นภาคต่อ        ด้วยเนื้อที่อันจำกัด เราจึงคัดมา 22 รุ่น (กำลังไฟระหว่าง 850 – 1700 วัตต์) ในสนนราคาตั้งแต่ 1,800 ถึง 22,600 บาท และข่าวดีคือคุณสามารถมีเครื่องทำกาแฟที่มีคุณภาพดีไว้ใช้ที่บ้านได้ด้วยการลงทุนเบื้องต้นไม่ถึงสามพันบาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ)         การให้คะแนนทั้งจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการให้คะแนนเรื่องรสชาติโดยผู้เชี่ยวชาญ ยังคงเป็นเช่นเดิม โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้        คุณภาพ/รสชาติของกาแฟ     ร้อยละ 35         ประสิทธิภาพของเครื่อง         ร้อยละ 30         ความสะดวกในการใช้งาน      ร้อยละ 30         การประหยัดพลังงาน             ร้อยละ 5

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 260 ทดสอบ-หูฟังบลูทูธ-2022

        ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบหูฟังไร้สายมาฝากสมาชิกอีกครั้ง เนื่องจากปัจจุบันหูฟังแบบนี้ได้รับความนิยม ผู้บริโภคจึงมีทางเลือกมากขึ้น คราวนี้เราจึงมีให้สมาชิกได้เลือกกันถึง 25 รุ่นที่มาพร้อมเทคโนโลยีตัดเสียงรบกวนจากภายนอก* และบลูทูธเวอร์ชันตั้งแต่ 5.0 ขึ้นไป ในสนนราคาระหว่าง 2,000 ถึง 18,500 บาท        ข่าวดีคือเราพบว่ามีหูฟังหลายรุ่นมีประสิทธิภาพดีและราคาไม่แพงเกินไป ในขณะที่บางรุ่นจากยี่ห้อไฮเอนด์ที่ผู้คนฝันอยากครอบครองกลับทำคะแนนได้ไม่ดีอย่างที่คิด    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 259 เครื่องทำกาแฟอัตโนมัติ 2022

        สำหรับคอกาแฟที่อยากมีเครื่องทำกาแฟไว้ทำกาแฟสดดื่มเองที่บ้าน โดยพร้อมที่จะลงทุนกับอุปกรณ์ต่างๆ และไม่หวั่นว่าจะต้องลงแรงและเวลาในการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟแบบอัตโนมัติพร้อมเครื่องบดเมล็ดกาแฟมาฝากกันอีกครั้ง คราวนี้คัดมา 18 รุ่น (กำลังไฟระหว่าง 1300 – 1900 วัตต์) ที่สนนราคาตั้งแต่ 9,950 ถึง 51,900 บาท*  ส่วนผู้ที่สนใจเครื่องทำกาแฟแบบแคปซูล ขอให้อดใจรออีกนิด เราจะนำเสนอในฉบับต่อๆ ไป        เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านๆ มา ผลการทดสอบร่วมโดยสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ครั้งนี้ ได้จากทั้งการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการให้ความเห็นเรื่องรสชาติโดยผู้เชียวชาญ* โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้        คุณภาพ/รสชาติของกาแฟ     ร้อยละ 35         ประสิทธิภาพของเครื่อง        ร้อยละ 30         ความสะดวกในการใช้งาน     ร้อยละ 30         การประหยัดพลังงาน            ร้อยละ 5

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 258 หุ่นดูดฝุ่น

        หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นดูเหมือนจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยมีราคาค่อนข้างแพงและตัวเลือกจำกัด ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายเจ้าส่งผลิตภัณฑ์นี้ออกมาให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกมากขึ้น ทั้งรูปลักษณ์ ฟังก์ชัน และราคา แต่คำถามที่ยังคาใจหลายคนคือ อุปกรณ์นี้น่าลงทุนหรือไม่ ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาคุณไปหาคำตอบกันอีกครั้ง*         สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ร่วมกันส่งตัวอย่างหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้ารับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ CTTN/IREN Centre Technique de la Teinture et du Nettoyage ที่ประเทศฝรั่งเศส* ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 จนถึงพฤษภาคม 2565 โดยการทดสอบแบ่งออกเป็น 5 ด้าน แต่ละด้านมีสัดส่วนคะแนนแตกต่างกันดังนี้        1. ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ร้อยละ 40) โดยวัดจากความสามารถในการกำจัดฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย ทั้งบนพื้นพรมและพื้นกระเบื้อง        2. ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22)         3. การเคลื่อนไหวในห้องนั่งเล่นที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น โซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ (ร้อยละ 20)        4. เสียงรบกวนจากเครื่องขณะใช้งาน (ร้อยละ 12)        5. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 6)         ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอเลือกรุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุดในกลุ่มออกมา 20 ตัวเพื่อนำเสนอ (สนนราคาโดยประมานตั้งแต่ 7,000 ถึง 43,000 บาท*)         เราเรียนรู้จากผลการทดสอบครั้งนี้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่วางตลาดในช่วงสองปีที่ผ่านมาไม่ได้ดีขึ้นจากเดิมนัก และรุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุดในการทดสอบครั้งนี้ ก็ได้ไปเพียง 57 คะแนน (เทียบกับครั้งก่อน ตัวท็อปได้ไป 63 คะแนน) ที่น่าสังเกตคือราคาที่แพงกว่าอาจไม่ได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่าเสมอไป         อย่างไรก็ตามหากคุณยังต้องการ “พื้นสะอาด” โดยไม่ต้องเหนื่อยแรงมากนัก ลองพลิกดูคะแนนในด้านต่างๆ ของแต่ละรุ่นได้ในหน้าถัดไป            *ติดตามบทความเรื่องทดสอบหุ่นยนต์ดูดฝุ่นครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 197        *อัตราค่าทดสอบเฉลี่ยอยู่ที่รุ่นละ 1.318 ยูโร (ประมาณ 47,500 บาท)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 257 แท็บเล็ต 2022

        ตามที่ได้สัญญากันไว้ ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลทดสอบแท็บเล็ตที่มีขนาดหน้าจอตั้งแต่ 10 นิ้วขึ้นไป ที่องค์กรสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT (International Consumer Research & Testing) ได้ทำไว้ในปี 2565 เราคัดมา 16 รุ่น ในสนนราคาตั้งแต่ประมาณ 8,000 ถึง 44,000 บาท *----คะแนนเต็ม 100 แบ่งออกเป็น 7 ด้านดังนี้1. ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22.5) เช่น การปิด/เปิด ปุ่มต่างๆ คีย์บอร์ด จอสัมผัส รวมถึงการใช้งานบนหน้าตัก บนโต๊ะ หรือแบบถือด้วยมือข้างเดียว รวมถึงเปิดทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เป็นต้น2. ประสิทธิภาพการทำงาน (ร้อยละ 22.5) เช่น การใช้วิดีโอคอล ดูยูทูป ฟังเพลง (ทั้งผ่านลำโพงและหูฟัง) การถ่ายภาพนิ่ง/ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการมองเห็นตัวหนังสือบนหน้าจอ ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง3. หน้าจอ (ร้อยละ 15) 4. แบตเตอรี (ร้อยละ 15)5. ตัวเครื่อง (ร้อยละ 10) เช่น ช่องรองรับการเชื่อมต่อ รวมถึงหน่วยความจำ ขนาดเครื่อง และความสะดวกในการพกพา6. การใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 7.5) เช่น ความเร็วในการรับ/ส่งไฟล์ หรือการเชื่อมต่อ wifi ในระยะต่างๆ7. ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (ร้อยละ 7.5)------ ·  หมายเหตุ ราคาที่แสดงเป็นราคาในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2565 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจตารางข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 256 สมาร์ตวอทช์ 2022

        ฉลาดซื้อฉบับนี้ของเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบนาฬิกาอัจฉริยะหรือสมาร์ตวอทช์ ที่สมาชิกองค์ทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ร่วมกันทำไว้ ในครึ่งแรกของปี 2022 มาฝากผู้ที่สนใจอยากมีไว้เป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพ คราวนี้เรามีให้เลือกกันถึง 32 รุ่น ในราคาระหว่าง 1,499 ถึง 21,990 บาท         การทดสอบครั้งนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 7 ด้าน        - ร้อยละ 25 ประสิทธิภาพ/ความแม่นยำในการนับก้าวขณะเดิน วิ่ง และเคลื่อนไหวทั่วไป รวมถึงความแม่นยำในการวัดระยะทางและอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น        - ร้อยละ 25 ฟังก์ชันสมาร์ต เช่น การโทร/รับสาย รับ/ส่งข้อความ ใช้โซเชียลมีเดีย ฟังเพลง        - ร้อยละ 20 ความสะดวกในการใช้งาน เช่น ตั้งค่า เลือกเมนู ดูหน้าจอ และความคล่องตัวยามสวมใส่            - ร้อยละ 15 แบตเตอรี           - ร้อยละ 5 การทำงานของแอปฯ        - ร้อยละ 5 รูปลักษณ์ วัสดุตัวเรือน สายรัด ความทนทานของหน้าจอต่อรอยขูดขีด        - ร้อยละ 5 ฟีเจอร์ต่างๆ          เราพบว่าโดยรวมแล้วรุ่นที่ได้คะแนนอันดับต้นๆ เป็นกลุ่มที่มีราคาปานกลางถึงค่อนข้างสูง โดยรุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุดสองรุ่น (80 คะแนน) ได้แก่ Samsung Galaxy Watch4 44mm ราคา 8,990 และ Garmin Venu 2 Plus 15,390 บาท*  ในขณะเดียวกันรุ่นที่ราคาถูกที่สุด (1,499 บาท) ก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะได้ไปเพียง 57 คะแนนเท่านั้น        อีกข้อสังเกตคือ คะแนนสูงสุดของสมาร์ตวอทช์รุ่นในปีนี้ต่ำกว่าของปีก่อนที่สูงถึง 83 คะแนน (หากสนใจสามารถอ่านย้อนหลังได้ในฉบับ 242)         อย่ารอช้า พลิกหน้าถัดไปเพื่อเลือกนาฬิกาอัจฉริยะที่คุณภาพ ราคา สเปค และรูปลักษณ์ถูกใจคุณได้เลย หมายเหตุ:        ·ค่าใช้จ่ายในการทดสอบต่อหนึ่งตัวอย่างอยู่ที่ประมาณ 1,800 ยูโร (ประมาณ 66,000 บาท) ฉลาดซื้อ สามารถนำผลทดสอบมาใช้ได้ เพราะเราเป็นหนึ่งในองค์กรสมาชิกที่ร่วมลงขันทดสอบ (เริ่มต้นที่ปีละประมาณ 6,000 ยูโร หรือประมาณ 223,000 บาท++)         ·ราคาที่แสดง เป็นราคาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ         ·ผลทดสอบสมาร์ตวอทช์ที่ ฉลาดซื้อ เคยทำไว้ก่อนหน้านี้อยู่ในฉบับที่ 242, 215, และ 177

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 255 ผลิตภัณฑ์กันแดด 2022

ก่อนจะออกไปเที่ยวผจญแดดร้อนลมแรงที่ไหน อย่าลืมสำรวจวันหมดอายุของครีม/โลชัน/สเปรย์กันแดดที่มีอยู่ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 2 – 3 ปี แต่ถ้ามันถูกเก็บในบริเวณที่ร้อนมากอย่างคอนโซลหน้ารถ ความสามารถในการป้องกันยูวีอาจเสื่อมไปก่อนเวลาอันควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลิตภัณฑ์มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น แยกชั้น หรือจับตัวเป็นก้อน เราขอแนะนำให้คุณซื้อใหม่         ฉลาดซื้อ ฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์กันแดดที่ทำขึ้นในช่วงต้นปี 2565 มาให้สมาชิกได้เลือกกันถึง 25 ผลิตภัณฑ์ (ค่า SPF30 และ SPF50+) ทั้งแบบครีม โลชัน และสเปรย์ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ที่สามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย         แม้จะยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนถึงระดับห้าดาว แต่ “ตัวท็อป” ในการทดสอบปีนี้ก็ได้คะแนนรวมไปถึง 74 คะแนน (เทียบกับ 71 คะแนนของปีที่แล้ว) ข่าวดีคือผลิตภัณฑ์ 25 ตัวนี้ไม่มีสารรบกวนฮอร์โมน หรือสารก่ออาการแพ้ Octocrylene D5         แต่การทดสอบก็ทำให้เรารู้ว่ายังมีผลิตภัณฑ์อีกไม่น้อยที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันยูวีต่ำกว่าที่แจ้งบนฉลากหรือในโฆษณา เป็นการตอกย้ำว่าราคาหรือภาพลักษณ์ไม่สามารถรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้เสมอไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point