ฉบับที่ 275 สารเคมีตลอดกาลในเสื้อผ้า

        ฉลาดซื้อฉบับนี้ชวนคุณไปดูผลทดสอบสิ่งทอที่ระบุว่ามีคุณสมบัติกันละอองน้ำ คราวนี้ไม่ใช่การทดสอบเปรียบเทียบคุณสมบัติการใช้งานหรือความพึงพอใจของผู้บริโภค แต่เป็นการวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีกลุ่ม PFAS (per-and polyfluoroalkyl substances) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “สารเคมีตลอดกาล” ซึ่งใช้กันแพร่หลายในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อเพิ่มคุณสมบัติกันน้ำกันคราบสกปรกเครือข่ายการกำจัดมลพิษระหว่างประเทศ (International Pollutants Elimination Network หรือ IPEN)* และองค์กรสมาชิก เจาะจงตรวจวิเคราะห์หาสาร PFAS ในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เนื่องจากเป็นกลุ่มสารที่สามารถทำให้ผู้ที่ทำงานในโรงงานได้รับอันตรายสะสม ลูกค้าที่ซื้อไปสวมใส่ก็สัมผัสกับสารเหล่านี้โดยตรง และการซักทำความสะอาดยังทำให้สารเหล่านี้แพร่ไปสู่อากาศหรือแหล่งน้ำ ที่สำคัญคือมันสามารถสะสมและคงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้อย่างยาวนานด้วย   การทดสอบครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรสมาชิกของ IPEN ใน 13 ประเทศจากเอเชีย อัฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ ได้แก่ ไทย อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เคนยา เยอรมนี โปแลนด์ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร เนธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเชก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยองค์กรสมาชิกในประเทศไทยที่ร่วมส่งตัวอย่างเข้าทดสอบได้แก่ มูลนิธิบูรณะนิเวศตัวอย่างทั้งหมด 72 ตัวอย่าง ที่ได้จากการสุ่มซื้อในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ปี 2565 ถูกส่งไปตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการของสถาบันสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยชารลส์ ในสาธารณรัฐเชกเนื่องจากมีสารเคมี PFAS หลายพันชนิดที่ถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ การทดสอบจึงแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ การตรวจหาสารกลุ่ม PFAS ตัวที่ระบุ 58 ชนิด และการวัดระดับ EOF (Extractable Organic Fluorine) หรือสารฟลูออรีนอินทรีย์ที่สกัดได้ ซึ่งผลที่ได้จะสัมพันธ์กับการใช้สารเคมีกลุ่ม PFAS   ผลการตรวจวิเคราะห์ในภาพรวมเราพบว่ามีถึง 47 ตัวอย่าง (ร้อยละ 65) จากเสื้อผ้าทั้งหมด 72 ตัวอย่าง ที่มีการใช้หรือการปนเปื้อนของสารในกลุ่ม PFAS หากดูเฉพาะตัวอย่างที่เป็นแจ็กเก็ต 56 ตัวอย่าง พบว่ามีถึง 16 ตัวอย่างที่มีระดับสารเคมีในกลุ่ม PFAS เกินระดับที่สหภาพยุโรปกำหนด ในกรณีของประเทศไทยพบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่างที่ส่งไป (6 ตัวอย่าง)การตรวจวิเคราะห์พบสาร FTOHs (หนึ่งในสารกลุ่ม PFAS) และผลผลิตจากการสลายตัวของสารดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติด้านความทนทาน การสะท้อนน้ำ และการป้องกันรอยเปื้อน ในตัวอย่างที่ส่งตรวจ เกิดจากการใช้โพลีเมอร์ที่ได้จากฟลูโรเทโลเมอร์แบบสายโซ่ด้านข้างและ FTOHs ตัวที่พบมากที่สุดคือ PFOA ซึ่งเป็นสารเคมีที่จัดอยู่ในรายการ “ต้องกำจัด” ภายใต้อนุสัญญาสตอกโฮล์ม จึงไม่ควรนำมาใช้ในการผลิตเสื้อผ้าทำไมเราถึงเรียกมันว่า “สารเคมีตลอดกาล”? สารเคมีในกลุ่ม PFAS ทุกตัวมีพันธะทางเคมีระหว่างอะตอมของคาร์บอนและฟลูโอรีนที่ยึดเหนี่ยวกันแน่นมาก ทำให้มีความเสถียรสูงและสลายตัวยาก เราจึงเรียกมันว่า “สารเคมีตลอดกาล” งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า PFAS สามารถถูกปล่อยออกมาในสิ่งแวดล้อมได้ตลอดช่วงชีวิตของมัน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การใช้ ไปจนถึงการกำจัด และเพราะมันกำจัดได้ยาก ความเข้มข้นของสารเคมีเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมจึงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา นักวิจัยพบ PFAS ทั้งในดิน น้ำ อากาศ รวมถึงแหล่งน้ำดื่ม และฝุ่นผงตามบ้าน มีหลักฐานว่ามันสามารถแพร่กระจายไปได้ไกลถึงขั้วโลกเหนือเลยทีเดียวเราจำเป็นต้องใช้มันหรือไม่?ปัจจุบันมีสารชนิดอื่นที่สามารถนำมาใช้แทนได้โดยให้คุณสมบัติอย่างเดียวกัน เห็นได้จากผลการทดสอบครั้งนี้ เราพบเสื้อผ้าที่มีฟังก์ชันคล้ายกันที่ผลวิเคราะห์ระบุว่าปราศจากสาร PFAS ถึง 21 ตัวอย่าง หากเปรียบเทียบกันระหว่างตัวอย่างที่มีสาร PFAS สูงที่สุดของแต่ละประเทศในเอเชียด้วยกันจะพบว่าตัวอย่างที่ซื้อจากอินเดียมีปริมาณ PFAS สูงสุด (702.2 นาโนกรัม/กรัม) ตามด้วยตัวอย่างจากไทย (379.9 นาโนกรัม/กรัม) ในขณะที่ตัวอย่างจากบังคลาเทศและศรีลังกามีสาร PFAS ในปริมาณ 6.8 และ 2.7 นาโนกรัม/กรัม ตามลำดับถ้ามองในภาพรวมจากทั้ง 13 ประเทศจะพบว่าตัวอย่างจากสาธารณรัฐเชก ครองอันดับสิ่งทอที่มี PFAS ในปริมาณมากที่สุด (1304.7 นาโนกรัม/กรัม) อันดับสองตัวอย่างจากสหรัฐ (983 นาโนกรัม/กรัม) อันดับสามได้แก่อีกหนึ่งตัวอย่างจากสาธารณรัฐเชก (825.1 นาโนกรัม/กรัม) ส่วนตัวอย่างจากไทยนั้นเข้ามาเป็นอันดับที่ 9·     คำอธิบายEOF (Extractable Organic Fluorine) หมายถึงปริมาณสารฟลูออรีนอินทรีย์ที่สกัดได้ LOD (Limit of Detection) หมายถึงปริมาณต่ำสุดที่สามารถวัดได้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่่ 273 คาร์ซีท 2023

        กลับมาอีกครั้งกับผลทดสอบเปรียบเทียบเบาะนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็กหรือ​ คราวนี้ฉลาดซื้อนำเสนอให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกกัน 24 รุ่น มีตั้งแต่รุ่นที่รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 10 กิโลกรัม ไปจนถึง 36 กิโลกรัม และเหมาะสำหรับความสูงของเด็กตั้งแต่ 40 – 125 เซนติเมตร ในสนนราคาตั้งแต่หมื่นต้นๆ ไปจนถึงประมาณ 26,000 บาท*         การทดสอบดังกล่าวทำอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing (ICRT) ฉลาดซื้อ ในฐานะองค์กรร่วมทดสอบ จึงมีผลการทดสอบมานำเสนอสมาชิกทุกปี (ดูผลทดสอบครั้งก่อนหน้าได้ในฉบับที่ 262 และ 234)         การทดสอบแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่การจำลองการชนในห้องปฏิบัติการ และการใช้งานจริงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และครอบครัวที่มีบุตรหลานวัย 3 ปี 6 ปี และ 10 ปี อีกจำนวน 10 ครอบครัว โดยรถที่นำมาติดตั้งคาร์ซีทเพื่อการทดสอบมีสามประเภทคือ รถแฮทช์แบ็คสามประตู รถอเนกประสงค์แบบสปอร์ตห้า ประตู และรถตู้อเนกประสงค์          การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่         ความปลอดภัย (50 คะแนน) เช่น ความสามารถในการป้องกันการบาดเจ็บจากการชนทั้งด้านหน้าและด้านข้าง การดูดซับแรงกระแทก ความแข็งแรงในการยึดติดกับเบาะรถ เป็นต้น         ความสะดวกในการใช้งาน (40 คะแนน) เช่น การติดตั้งกับตัวรถ การปรับขนาดให้พอดีตัวเด็ก การป้องกันโอกาสการใช้ผิดวิธี และความยากง่ายในการทำความสะอาด เป็นต้น         การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (10 คะแนน) ทั้งที่นั่งและเบาะพิง รวมถึงความนุ่มสบาย และการประหยัดพื้นที่ในตัวรถ เป็นต้น         นอกจากนี้ยังมีการตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายที่ถูกประกาศห้ามใช้ในยุโรป เช่น พทาเลท ฟอร์มัลดีไฮด์ หรือโลหะหนักต่างๆ บนวัสดุหุ้มเบาะ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เด็กจะได้รับสารเคมีดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัสและการเลีย         คราวนี้รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุดได้ไปเพียง 77 คะแนน (Besafe iZi Go Modular X2 i-Size + iZi Modular i-Size base และ Cybex Cloud T + Base T ทั้งสองรุ่นราคาประมาณ 20,000 บาท)  และเช่นเดียวกับครั้งก่อน เราพบว่าคาร์ซีท “แบรนด์” เดียวกัน อาจไม่ได้มีประสิทธิภาพระดับเดียวกันเสมอไป ถ้าอยากรู้ว่ารุ่นไหนให้ความปลอดภัยมากกว่า ใช้งานสะดวกกว่า หรือรองรับสรีระของเด็กได้ดีกว่า เชิญติดตามได้ในหน้าถัดไป* ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 273 ผลทดสอบการใช้งาน call center ของมือถือค่ายต่างๆ

        ใครอยากรู้ว่า call center มือถือค่ายไหนติดต่อได้ไวทันใจ หรือต้องรอนาน ตามมาๆ         นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการทดสอบการใช้งาน call center ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ได้แก่  AIS, DTAC, NT และ TRUE โดยเก็บข้อมูลการทดสอบในระหว่างวันที่ 5 - 17 กันยายน 2566   วิธีการทดสอบ         ผู้ทดสอบจะใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือของทั้ง 4 เครือข่าย และเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน (02) โทร.ติดต่อ call center ของทุกค่าย (AIS 1175, DTAC 1678, NT 1888 และ TRUE 1242) โดยแบ่งขั้นตอนการติดต่อเป็นการเปลี่ยนโปรโมชั่น การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ การย้ายค่าย และปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะโทร.ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น.และ 19.00 – 23.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลา 9.00 – 16.00 น. และ 19.00 – 23.00 น. โดยจับเวลาตั้งแต่เริ่มต้นที่ 0.01 จนถึงได้พูดคุยกับโอเปอเรเตอร์ ผลการทดสอบ        เมื่อใช้เครือข่าย AIS โทร.ออก call center แต่ละเครือข่ายมีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                        1.TRUE (6.31)          2.AIS (3.10)             3.DTAC (2.37)            4.NT (0.40)        การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                          1.TRUE (5.27)          2.AIS (2.46)             3.DTAC (2.06)            4.NT (0.53)         การย้ายเครือข่าย =>                                             1.TRUE (5.11)          2.DTAC (2.56)           3.AIS (2.24)               4.NT (1.37)        ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>          1.TRUE (4.33)          2.DTAC (3.02)           3.AIS (2.42)               4.NT (0.58)         ·     ลูกค้า AIS หากต้องการเปลี่ยนโปรโมชั่นและมีปัญหาสัญญาณหายฯ ควรโทร.ในวันทำงานช่วง 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น ส่วนใครจะถามเรื่องค่าใช้จ่ายผิดปกติและการย้ายค่าย แนะนำให้โทร.ในวันหยุดตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น     เมื่อใช้เครือข่าย DTAC โทร.ออก call center แต่ละเครือข่ายมีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                        1.AIS (6.47)            2.DTAC (3.56)            3.TRUE (3.39)              4.NT (1.21)        การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                          1.TRUE (5.02)          2.AIS (2.48)               3.DTAC (2.23)              4.NT (1.18)        การย้ายเครือข่าย =>                                             1.AIS (3.43)             2.TRUE (1.15)            3.DTAC (1.13)              4.NT (1.01)        ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>           1.DTAC (4.08)         2.AIS (3.05)               3.TRUE (2.58)              4.NT (0.43)         ·     ลูกค้า DTAC แนะนำให้โทร.ในวันทำงานช่วงค่ำ 1 ทุ่มถึง 5 ทุ่ม แต่หากต้องการย้ายค่ายโทร.ช่วง 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น จะเร็วกว่า และเลี่ยงติดต่อในวันหยุดเพราะจะต้องรอนานกว่า      เมื่อใช้เครือข่าย NT โทร.ออก call center แต่ละเครือข่ายมีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                        1.TRUE (3.52)          2.AIS (3.24)                3.DTAC (1.54)             4.NT (0.47)        การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                          1.TRUE (3.30)          2.AIS (3.18)                3.DTAC (1.39)             4.NT (1.16)         การย้ายเครือข่าย =>                                             1.TRUE (9.45)         2.DTAC (3.35)             3.AIS (2.13)                4.NT (0.38)        ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>           1.TRUE (4.00)          2.AIS (2.40)                3.DTAC (1.47)             4.NT (0.38)        ·     ลูกค้า NT โทร.ถามทุกเรื่องได้จากโอเปอเรเตอร์โดยตรง ทุกวันตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 5 ทุ่ม รอสายนานสุดไม่เกิน 4 นาที แต่ถ้าอยากให้ไวแบบไม่ถึงนาทีก็โทร.ช่วงค่ำวันหยุดได้เลย     เมื่อใช้เครือข่าย TRUE โทร.ออก call center แต่ละเครือข่าย มีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                     1.TRUE (4.29)          2.AIS (3.30)                3.DTAC (2.57)             4.NT (0.39)         การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                        1.TRUE (3.01)          2.AIS (2.55)                3.DTAC (2.27)             4.NT (1.06)        การย้ายเครือข่าย =>                                          1.TRUE (5.03)          2.AIS (2.48)                3.DTAC (2.22)             4.NT (0.59)         ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>        1.TRUE (3.00)         2.AIS (2.53)                 3.DTAC (2.20)             4.NT(1.00)         ·     ลูกค้า TRUE แนะนำให้โทร.ในวันทำงานช่วง 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น แต่หากต้องการเปลี่ยนโปรโมชั่น ให้โทร.ช่วงค่ำๆ จะเร็วกว่า  *หมายเหตุ ลูกค้าในที่นี้ คือ ผู้ใช้เบอร์ที่โทร.ออก และเบอร์ติดต่อ call center เป็นของเครือข่ายเดียวกัน     เมื่อใช้โทรศัพท์พื้นฐาน โทร. ออก call center แต่ละเครือข่าย มีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                     1.AIS (3.14)            2.DTAC (2.14)                3.TRUE (2.06)            4.NT (1.01)        การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                       1.AIS (2.48)            2.DTAC (2.40)                3.TRUE (2.22)            4.NT (0.57)        การย้ายเครือข่าย =>                                         1.TRUE (3.09)         2.DTAC (1.35)                3.NT (1.02)                4.AIS (0.55)         ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>       1.AIS (3.17)            2.TRUE (1.52)                3.DTAC (1.48)            4.NT (0.52)         ·     ผู้ใช้โทรศัพท์พื้นฐานโทร.ออก ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในอันดับ 1 น้อยกว่าใช้ทุกค่ายโทร.ออก ยกเว้นใช้เครือข่าย TRUE โทร.ออก เรื่องปัญหาสัญญาณฯ  ข้อสังเกต         ·          call center ของ TRUE ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยนานสุดทุกขั้นตอน เมื่อโทร.ออกด้วยเบอร์ของ AIS, NT และ TRUE  เอง บางครั้งพนักงานมีการตัดสาย        ·          call center ของ NT ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยเร็วสุดทุกขั้นตอน เมื่อโทร.ออกด้วยเบอร์มือถือของทุกค่าย และติดต่อพนักงานได้ทุกครั้ง        ·          call center ของ AIS, DTAC และ TRUE มีบางครั้งที่ติดต่อพนักงานไม่ได้        ·          call center ของ DTAC และ TRUE มีบางครั้งที่พนักงานติดต่อกลับ        ·          ระยะเวลานานสุดที่จับเวลาได้คือ 28.10 นาที เมื่อใช้เบอร์เครือข่าย NT โทร.ไปยัง call center ของ TRUE ในขั้นตอนการย้ายค่าย ช่วงวันและเวลาทำงาน        ·          ระยะเวลาเร็วสุดที่จับเวลาได้คือ 0.30 นาที เมื่อใช้เบอร์โทรศัพท์พื้นฐานโทร.ไปยัง call center ของ NT ในขั้นตอนสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายผิดปกติ ช่วงวันและเวลาทำงาน สรุปผลโพลล์         จากการสำรวจเรื่อง call center ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกรุงเทพมหานคร         จำนวน 1,116 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 4 -10 กันยายน 2566         ·        ร้อยละ     46.6            เป็นลูกค้าของ AIS        ·        ร้อยละ     33.4            เป็นลูกค้าของ TRUE        ·        ร้อยละ     18               เป็นลูกค้าของ DTAC        ·        ร้อยละ     2                 เป็นลูกค้าของ NT         ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.4) เคยโทร.ติดต่อ Call Center โดยมีผู้ใช้ทั้งเบอร์แบบหมายเลข 4 ตัว (ร้อยละ 50.8)        และแบบหมายเลขที่ขึ้นต้นด้วย 02 (ร้อยละ49.2) พอๆ กัน ในเรื่องต่างๆ ดังนี้        ·        ร้อยละ    44.4        ใช้งานอินเทอร์เนตไม่ได้        ·        ร้อยละ    44           ค่าบริการผิดปกติ        ·        ร้อยละ    43.2        ตรวจสอบการใช้งาน        ·        ร้อยละ    26.6        โทรเข้า/ออกไม่ได้        ·        ร้อยละ    25.4        เปลี่ยนโปรโมชั่น        ·        ร้อยละ    23.1        สอบถามโปรโมชั่น         เหตุผลในการย้ายเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ได้แก่        ·        ร้อยละ     38.9       ได้รับโปรโมชั่นที่ดีกว่าจากกการย้าย           ·        ร้อยละ    24.5        ลดค่าใช้จ่าย                  ·        ร้อยละ    17.4        เปลี่ยนเครื่องมือถือ        ·        ร้อยละ    17.4        ปัญหาสัญญาณมือถือ                  ·        ร้อยละ    1.8         อื่นๆ                                                                                                 เมื่อถามว่าเคยโทร.หา call center แล้วรอนานแค่ไหนกว่าจะได้คุยสายกับเจ้าหน้าที่ คำตอบคือ        ·  11 – 15    นาที          ร้อยละ    31.5        ·  6 – 10      นาที          ร้อยละ    25.3        ·  16 – 20    นาที          ร้อยละ    16        ·  1 – 5        นาที          ร้อยละ    15.5        ·  21 – 25    นาที          ร้อยละ    5.6        ·  26 -30      นาที          ร้อยละ    2.9        ·  น้อยกว่า 1 นาที          ร้อยละ    1.9        ·  มากกว่า 30 นาที        ร้อยละ    1.3 จากการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่า ร้อยละ 92.5 คิดว่าภาครัฐควรมีการแจ้งเตือนภัยพิบัติแบบ Cell Broadcasting ด้วยการส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนโดยตรง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 273 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม

        ย้อนไปกว่า 60 ปีแล้วที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม (fabric softener) กันในครัวเรือน เหตุผลหนึ่งคือเพื่อลดปัญหาผ้าแข็งหลังซักด้วยผงซักฟอก โดยมีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ 2 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ทำให้ผ้านุ่ม ได้แก่ กรดไขมันที่ได้จากสัตว์ เมื่อสัมผัสผิวผ้าจะทำให้เกิดความนุ่ม ไม่แข็ง และสารที่ให้กลิ่นหอมติดทนนาน ปัจจุบันน้ำยาปรับผ้านุ่มที่จำหน่ายในประเทศไทยโดยทั่วไปจะเป็นชนิดน้ำที่ใช้ใส่ผสมในน้ำล้างสุดท้ายที่ซักผ้า มีทั้งสูตรมาตรฐานและสูตรเข้มข้น จัดเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ยอดนิยม         แม้ก่อนหน้านี้จะมีข้อมูลส่งต่อกันถึงผลกระทบต่อสุขภาพหลังการใช้ แต่ทาง อย.ก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่าถึงน้ำยาปรับผ้านุ่มมีส่วนทำให้เกิดสารตกค้างในผ้า แต่มีปริมาณที่น้อยมาก การสวมใส่เสื้อผ้าบนผิวหนังจึงไม่มีสารที่ซึมเข้าสู่เลือดจนส่งผลต่อฮอร์โมนได้ ยกเว้นคนที่มีอาการแพ้ เกิดผื่น         อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคบางคนยังมีคำถามคาใจว่า เราจำเป็นต้องใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มจริงๆ หรือเป็นอิทธิพลของสื่อที่กระตุ้นให้ต้องซื้อใช้กันแน่ ?         นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสร้างเสิรมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม (สูตรมาตรฐาน) จำนวน 10 ตัวอย่าง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 มาสำรวจฉลากเพื่อปรียบเทียบความคุ้มค่า และข้อความที่แสดงถึงความรับผิดชอบและความปลอดภัยต่อผู้ใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พิจารณาว่าจะเลือกซื้อหรือไม่ซื้อต่อไป ผลสำรวจฉลาก         ·     จากผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มทั้งหมด 10 ตัวอย่าง มีปริมาณสุทธิตั้งแต่ 450 – 650 มิลลิลิตร และมีราคาขายปลีกแบบถุงชนิดเติมตั้งแต่ถุงละ 10 – 59 บาท         ·     เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตร พบว่า แพงสุด = 0.09 บาท คือยี่ห้อแมกซ่า กลิ่นฟลาวเวอรี่ ซอฟท์ ถูกสุด = 0.02 บาท ได้แก่ ยี่ห้อโปร กลิ่นการ์เดน สวีท ยี่ห้อแฮปปี้ ไพรซ์ กลิ่นคิส ออฟ ฟลาวเวอร์ และยี่ห้อเฟรช แอนด์ ซอฟท์ กลิ่นเลิฟลี่ คิส        ·     เมื่อดูวันผลิต-วันหมดอายุของผลิตภัณฑ์             Ø มีอายุเก็บไว้ได้นานตั้งแต่ 1- 3 ปี นับจากวันผลิต            Ø มี 2 ตัวอย่างที่ระบุเฉพาะวันผลิต คือยี่ห้อแมกซ่า กลิ่นฟลาวเวอรี่ ซอฟท์ และยี่ห้อแฮปปี้ ไพรซ์ กลิ่นคิส ออฟ ฟลาวเวอร์         ·     เมื่อพิจารณาข้อความที่แสดงถึงความรับผิดชอบและความปลอดภัยต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์            Ø มี 2 ตัวอย่าง ไม่ระบุเบอร์โทร.ติดต่อศูนย์บริการลูกค้า ได้แก่ ยี่ห้อไฟน์ไลน์ สูตรพิงค์ บลอสซั่ม และยี่ห้อสมาร์ท กลิ่นเลิฟลี่ พิงค์            Ø มี 2 ตัวอย่าง ไม่ระบุคำเตือนเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้ ได้แก่ ยี่ห้อแมกซ่า กลิ่นฟลาวเวอรี่ ซอฟท์ และยี่ห้อแฮปปี้ ไพรซ์ กลิ่นคิส ออฟ ฟลาวเวอร์ ข้อสังเกต        ·     ทุกตัวอย่างผลิตโดยบริษัทในประเทศไทย เป็นสูตรมาตรฐาน ที่ระบุคุณสมบัติไว้คล้ายๆ กัน คือ เมื่อใช้แล้วจะช่วยให้เสื้อผ้านุ่มฟู หอมนาน ถนอมสีผ้า ใส่สบายไม่ลีบติดตัว รีดเรียบง่าย และลดกลิ่นอับ         ·     ส่วนใหญ่มีคำเตือนหรือคำแนะนำเรื่องความปลอดภัยว่า เก็บให้พ้นมือเด็ก ห้ามรับประทาน ระวังเข้าตา หากเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายควรสวมถุงมือยางขณะใช้         ·     มี 2 ตัวอย่างที่มีรูปแม่และเด็กอยู่บนบรรจุภัณฑ์ โดยไม่มีข้อความระบุไว้ชัดเจน เช่น ซักเสื้อผ้าเด็กได้ไร้สารตกค้าง เป็นต้น จึงอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับเสื้อผ้าเด็ก  ฉลาดซื้อแนะ        ·     ก่อนใช้ ควรอ่านคำเตือนต่างๆ วิธีใช้และปริมาณที่เหมาะสมของแต่ละยี่ห้อที่แนะนำไว้บนฉลาก        ·     หากใช้ครั้งแรก ควรซื้อแบบซองเล็กๆ มาทดลองใช้ก่อนว่าเป็นกลิ่นหอมที่ชอบ ใช้แล้วตอบโจทย์ และไม่เกิดอาการแพ้ทั้งทางผิวหนังและทางเดินหายใจ แล้วจึงเลือกซื้อขนาดใหญ่เพื่อให้คุ้มราคากว่า        ·     ไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มกับผ้าบางชนิด เพราะอาจทำให้คุณสมบัติของผ้าลดลงหรือเกิดการระคายเคืองจากการสัมผัสสารตกค้างได้ง่าย เช่น ผ้าขนหนู ชุดกีฬา ชุดเด็กอ่อน และชุดชั้นใน เป็นต้น        ·     เสื้อผ้าที่แช่น้ำยาปรับผ้านุ่มแล้ว ไม่ควรนำไปตากแดดจัดนานๆ หรือเข้าเครื่องอบผ้า เพราะความร้อนจะทำให้กลิ่นหอมจางหายไปจนหมดได้ ผลคือใช้ก็เหมือนไม่ได้ใช้นั่นเอง          ·ห้ามทิ้งบรรจุภัณฑ์และน้ำล้างสุดท้ายที่ผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มลงในแม่น้ำ คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ เพราะน้ำยาปรับผ้านุ่มส่วนใหญ่ที่ขายในประเทศไทยไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมนำถุงชนิดเติมมารีไซเคิล เช่น เย็บกระเป๋า แผ่นรองนั่ง หรือส่งไปทำอิฐบล็อก แผ่นหลังคา ตามหน่วยงานที่รับบริจาคได้ที่มาhttps://www.consumerreports.org/appliances/laundry/why-fabric-softener-is-bad-for-your-laundry-a5931009251/https://www.choice.com.au/home-and-living/laundry-and-cleaning/laundry-detergents/buying-guides/fabric-softeners

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 271 สตรีมมิ่ง

          ปี 2560 เป็นปีแรกที่ประเทศไทยเริ่มรู้จักกับบริการ สตรีมมิ่ง เมื่อ Netflix ได้เข้ามาเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ         ผ่านไป 6 ปี ในปี 2566 มีแพลตฟอร์มที่ให้บริการสตรีมมิ่งในประเทศไทยแล้วมากกว่า 10 แพลตฟอร์มและสถานการณ์การแข่งขันยังดุเดือด ในปี 2565 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ บริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด ที่ปรึกษาธุรกิจ ทำการศึกษา Business Model ของ Streaming Platform เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจยุค Platform Economy ยังพบว่าในปี 2566 ยอดคนไทยดู Streaming จะเติบโตขึ้นสูงถึง 2.10 ล้านราย คิดเป็น 3.04% ของประชากรไทยทั้งหมด         บริการสตรีมมิ่งเป็นบริการที่แพร่หลายอยู่ในชีวิตประจำวันของคนทุกช่วงวัย นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ซึ่งดำเนินโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ สสส. จึงจัดทำทดสอบบริการสตรีมมิ่ง จำนวน 9 แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ WeTV , VIU, MONOMAX , iQIYI , FLIXER , Netflix , Disney+ Hotstar , Amazon Prime Video และ HBO GO เพื่อสำรวจความแตกต่างในคุณภาพการบริการว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร   วิธีการทดสอบ         -  สำรวจสตรีมมิ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง คือสตรีมมิ่งผู้ให้บริการระดับภูมิภาค คือ We TV , VIU ,MONOMAX , iQIYI และ FLIXER สำรวจในช่วงวันที่ 17 มิ.ย. - 17 ก.ค. 2566 กลุ่มที่ 2 คือ สตรีมมิ่งที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกคือ  Netflix , Disney+ Hotstar  ,  Amazon Prime Video และ HBO GO  สำรวจวันที่ 17 ก.ค. 2566 – 17 ส.ค. 2566          -  ในแต่ละแพตฟอร์มเลือกสำรวจ แพ็คเกจที่มีราคาสูงสุด เพื่อสำรวจคุณภาพ บริการสูงสุดที่ผู้บริโภคสามารถได้รับจากแต่ละแพลตฟอร์ม         -  สำรวจขั้นตอนการสมัคร ราคา คลังเนื้อหา และความหลากหลาย คุณภาพของภาพและเสียง จุดเด่นของแต่ละแพลตฟอร์ม การสร้างการมีส่วนร่วมต่อผู้รับชม  ความสะดวกในการยกเลิกเป็นสมาชิก         -  สำรวจด้วยการดูด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้ง โทรทัศน์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค   1. We TV , VIU ,MONOMAX , iQIYI และ FLIXER สำรวจในวันที่ 17 มิถุนายน  -  17 กรกฎาคม 2566 ผลการทดสอบ         1.ทุกแพลตฟอร์ม มีขั้นตอนการสมัคร และการยกเลิกที่สะดวก และไม่ยุ่งยาก โดยสามารถสมัครและจ่ายเงินได้หลากหลายช่องทางเช่น  google play บัครเครดิตและเดบิต และ อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้งต่างๆ  Rabbit Line pay, พร้อมเพย์, Truemoney Wallet และ ShopeePay การยกเลิกสามารถทำได้ทุกเมื่อ         2.ผลการสำรวจสอบ พบว่าหลายแพลตฟอร์มมีเนื้อหาที่ให้บริการลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น We TV  และ iQIYI มีเนื้อหาในกลุ่มเดียวกันค่อนข้างมาก คือ ซีรีส์จีน         3.ทุกแพลตฟอร์มมีการแจ้งเตือน เพื่อโปรโมทเนื้อหาใหม่ๆ สม่ำเสมอ          4.การสำรวจด้านราคาพบว่า แต่ละแพลตฟอร์มมีแพ็คเกจให้เลือกสมัครหลากหลาย ทั้งรายเดือน   ราย 3 เดือน และ รายปีแพลตฟอร์มที่มีให้เลือกสมัครทั้งแบบรายเดือน ราย 3 เดือน และรายปี มี  5 แพลตฟอร์ม คือ WeTV , VIU, MONOMAX , iQIYI , HBO GO แพลตฟอร์มที่ให้บริการเฉพาะรายเดือนมี 2 แพลตฟอร์ม คือ Netflix , Amazon Prime Video และที่ให้บริการแบบรายเดือนและ รายปี มี 2  แพลตฟอร์มคือ Disney+ Hotstar  และ FLIXER         5.ปัจจุบันแต่ละแพลตฟอร์มให้บริการโดยกำหนดคุณภาพของภาพและเสียงที่ใกล้เคียงกัน คือคุณภาพของภาพที่ 1080p (Full HD) และคุณภาพของเสียงที่ระบบสเตอริโอ 5.1โดยมี 4 แพลตฟอร์มที่มีคุณภาพภาพของภาพและเสียงด้วยเทคโนโลยีสูงสุดในปัจจุบัน คือ iQIYI , Netflix , Disney+ Hotstar  ,  Amazon Prime Video สามารถให้คุณภาพของภาพได้ถึงระดับ 4K และระบบเสียงอยู่ที่ระบบ  Dolby Atmos ซึ่งเป็นระบบเสียงล้อมตัวผู้ชมแบบโรงภาพยนตร์         6.แพลตฟอร์มทั้ง 9 มีการจัดหมวดเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ไม่มีความต่างที่เด่นชัด เช่น การจัดหมวดหมู่ตามประเภทของเนื้อหา เช่น ซีรีส์ ภาพยนตร์ วาไรตี้  รายการสำหรับเด็ก ฯลฯ  จัดหมวดตามประเภท เช่น ไซไฟ ดราม่า ฯลฯ การจัดหมวดที่ได้รับความนิยมในรอบสัปดาห์  เนื้อหาที่ได้รับความนิยมสูงสุด  การจัดกลุ่มซีรีส์ รายการที่มีพากษ์ไทย          7.มี 2 แพลตฟอร์มที่ยังไม่มีการพัฒนาระบบดาวน์โหลดเพื่อรับชมแบบไร้อินเตอร์เน็ตคือ MONOMAX และ FLIXER         8.แพลตฟอร์มที่การเพิ่มเติมเนื้อหา ค่อนข้างถี่ คือ  VIU  และ iQIYI  โดยสามารถรับชมเนื้อหาหลังประเทศต้นทางออกอากาศแล้ว ได้ตั้งแต่ 8 ชั่วโมงเป็นต้นไป         9.อุปกรณ์มีผลอย่างสำคัญ ต่อการได้รับภาพและเสียงที่มีคุณภาพ โดยแม้บางแพลตฟอร์มจะมีการกำหนดคุณภาพการให้บริการทั้งภาพและเสียงไว้ในระดับสูงแต่จากการทดสอบด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้ง โทรทัศน์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค ระบบคุณภาพดังกล่าวยังไม่สามารถแสดงผลได้เต็มที่หรือเสมอกัน         10.แพลตฟอร์มที่พัฒนาฟีเจอร์เพื่อ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการได้แสดงความคิดเห็น ได้มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่น คือ  WeTV มีช่องแนะนำ ติชม แสดงความเห็นพูดคุยกับผู้ชมคนอื่นๆ ได้ , iQIYI ผู้ชมแสดงความเห็นและให้คะแนนได้, Amazon Prime Video มีฟีเจอร์ Watch Party ผู้ชมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ชมภาพยนตร์เดียวกัน  ข้อสังเกต         ·  บริการสตรีมมิ่งในปัจจุบันกระตุ้นให้ผู้บริโภคสมัครสมาชิก ด้วยกลไกราคาที่ถูกลงเมื่อสมัครรายปี หรือการสมัครแบบระบบการจ่ายเงินแบบต่ออายุอัตโนมัติ ที่จะจ่ายราคาถูกลงมากกว่าแบบสมัครใช้ครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม โปรโมชั่นด้านราคานำมาใช้น้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วง 3 ปีแรกของการแข่งขัน และยังมีแนวโน้มที่ราคาค่าสมัครใช้บริการจะค่อยๆ ขยับสูงขึ้น        ·    คุณภาพของภาพ และเสียงในแต่ละแพลตฟอร์ม ได้รับการพัฒนามากขึ้นต่อเนื่อง จนใกล้เคียงกันทั้งหมด และในอนาคตคาดว่าจุดนี้จะไม่ได้เป็นจุดที่สร้างความแตกต่างได้อีกต่อไป         ·    แพลตฟอร์มที่ให้บริการในระดับภูมิภาค มีความโดดเด่นด้านการพัฒนาภาษาในการรับชม  เช่น VIU มีการพัฒนาภาษาพากษ์แบบภูมิภาคด้วย และล่าสุดยังมีภาษามือ  และ MONOMAX ที่มีพากษ์ไทยทุกเรื่อง แสดงถึงความพยายามสร้างความแตกต่างที่มีผลดีให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น         ·     Original Content  ยังเป็นจุดที่สามารถสร้างความแตกต่างได้ เพราะสะท้อนถึงเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตนเฉพาะของแต่แพลตฟอร์มได้ชัดเจน   บทสรุป         ท่ามกลางบริการสตรีมมิ่งที่มีให้เลือกมากมายหลายแพตฟอร์ม  นิตยสารฉลาดซื้อเสนอแนวทางในการสมัครใช้บริการดังนี้         1.เลือกจากคลังเนื้อหาว่ามีความหลากหลาย และ Original Content  มีเอกลักษณ์ที่ตรงกับความสนใจหรือไม่ เพราะเป็นเนื้อหาที่สามารถรับชมได้ในแพลตฟอร์มที่สมัครเท่านั้น           2. ความถี่ในการเพิ่มเติมเนื้อหา เพราะแต่ละแพลตฟอร์มทำได้แตกต่างกัน  เช่นบางแพลตฟอร์มเพิ่มเติมทุกสัปดาห์  และบางแพลตฟอร์มเป็นรายเดือน เป็นต้น        3. หากผู้บริโภคตัดสินใจสมัครใช้บริการโดยคำนึงถึงคุณภาพของภาพและเสียงเป็นปัจจัยแรก กรณีนี้มีข้อที่ต้องคำนึงคือ การแสดงผลภาพคุณภาพสูงสุดคือ 4K และ เสียงแบบ Dolby Atmos ต้องการอุปกรณ์ที่ทันสมัย และสัญญาณอินเตอร์ที่เร็วแรงพร้อมรองรับได้  เพราะแม้บางแพลตฟอร์มจะนำมาเป็นจุดโฆษณาขายแต่เมื่อรับชมจริงระบบจะเลือก Stream ไฟล์ที่คุณภาพสูงสุดที่เครื่องปลายทางจะรองรับได้นั่นเอง ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาถึงอุปกรณ์การรับชมที่ท่านรับชมจริงด้วย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 266 สายการบิน

ผลสำรวจความพึงพอใจสนามบินและสายการบิน         เพื่อความเข้าใจในสถานการณ์การเดินทางทางอากาศหลังการระบาดหนักของโรคโควิด 19 ในแต่ละประเทศ สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ในยุโรป แคนาดา และไทย จึงได้ร่วมกันสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่ใช้บริการสนามบินและสายการบินในช่วงหนึ่งปีก่อนช่วงเวลาตอบแบบสอบถาม (ระหว่างตุลาคมถึงพฤศจิกายนปี 2565) มีผู้ตอบแบบสอบถามจาก 11 ประเทศ รวมทั้งหมด 18,210 คน-----ผู้โดยสารของเราเป็นใครในภาพรวม มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เดินทางด้วยตั๋วโดยสารชั้นประหยัด มากกว่าร้อยละ 60 เดินทางด้วยเที่ยวบินที่ใช้เวลาบินไม่เกินสามชั่วโมง ส่วนจุดประสงค์ในการเดินทางนั้น ร้อยละ 78 ใช้บริการสายการบินเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว ที่เหลืออีกร้อยละ 22 เป็นการเดินทางเพื่อธุรกิจ  ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นหญิงประมาณร้อยละ 34 เป็นชายร้อยละ 66 หากแยกดูตามอายุ...ร้อยละ 44       อายุระหว่าง 50-64 ปีร้อยละ 31       อายุมากกว่า 65 ปีร้อยละ 19.7    อายุระหว่าง 35-49 ปีร้อยละ 5.4      อายุระหว่าง 18-34แต่มีข้อมูลน่าสนใจจากบางประเทศเช่น ร้อยละ 47.7 ของผู้ตอบแบบสอบถามในเบลเยียม เป็นคนอายุมากกว่า 65 ปี  ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในสโลวาเกียร้อยละ 48.6 เป็นคนวัย 35-49 และในกรณีของไทยมี เกือบร้อยละ 50 มีอายุระหว่าง 18-34เรามาดูกันว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้พบปัญหาอะไร หรือมีความพึงพอใจกับบริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกของสนามบินและสายการบินในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างไร สายการบิน        ความพึงพอใจที่มีต่อเว็บไซต์หรือแอปฯ ของสายการบิน        ในภาพรวม ร้อยละ 54 ซื้อตั๋วผ่านเว็บหรือแอปฯ ของสายการบิน ผู้ตอบแบบสอบถามเกินครึ่งตอบว่าซื้อตั๋วโดยไม่ได้ดูเว็บหรือแอปฯ เปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจ ซึ่งตรงข้ามกับผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย ที่มีผู้ใช้บริการเว็บไซต์หรือแอปฯ เปรียบเทียบราคา เช่น Skyscanner  Kayak หรือ booking.com ถึงร้อยละ 88.6ในภาพรวม สิ่งที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือแอปในการจองตั๋วให้ความสำคัญอันดับหนึ่งคือ ความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ตามด้วยความโปร่งใสในการแสดงราคา (เช่น ภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆ) ตามด้วยความสะดวกในการซื้อตั๋วโดยสารแต่ในกรณีของไทย อันดับแรกเหมือนกับผู้คนจากอีกสิบประเทศที่ชอบความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ แต่อันดับสองของเราคือการมีเที่ยวบินไปยังปลายทางที่ต้องการ ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น ความโปร่งใสในการแสดงราคา ความสะดวกในการซื้อตั๋ว ได้คะแนนเท่าๆ กันทั้งนี้เว็บไซต์ของสายการบินที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจระดับต้นๆ คือ ลุกซ์แอร์ เอมิเรตส์ สวิสแอร์ แอร์ทรานแซท บินเทอร์คานาเรียส นอร์วีเจียนแอร์ และ แอร์ฟรานซ์          ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจากการใช้บริการสายการบิน        ร้อยละ 19 เคยมีประสบการณ์เที่ยวบินถึงที่หมายล่าช้า ตามเกณฑ์การสำรวจครั้งนี้หมายถึง “เกินกำหนดมากกว่า 15 นาที” ในจำนวนนี้กว่าครึ่งพบความล่าช้าเกิน 1 ชั่วโมง หนึ่งในสี่ของไฟลท์ที่ดีเลย์ ผิดเวลาไปมากกว่า 2 ชั่วโมง และเมื่อเจาะลึกลงไปถึงสายการบินที่ใช้บริการจะพบว่า สายการบินที่มีปัญหาเรื่องไฟลท์ดีเลย์น้อยที่สุดคือ สายการบิน Etihad        ร้อยละ 6 ถูกยกเลิกเที่ยวบิน โดยร้อยละ 64 ของผู้ที่ถูกยกเลิกเที่ยวบิน ไม่ได้รับเงินคืน        ร้อยละ 5 พบปัญหาเกี่ยวกับสัมภาระชำรุดหรือสูญหาย และร้อยละ 71 ของคนกลุ่มนี้ไม่ได้เงินคืน จากข้อมูลการสำรวจ สายการบินที่ผู้โดยสารพบปัญหาเรื่องกระเป๋าน้อยที่สุดคือ บินเทอร์คานาเรียส และเอมิเรตส์หากดูเฉพาะกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทย จะพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้บริโภคพบคือเที่ยวบินล่าช้า (ร้อยละ 70.2) ตามด้วยปัญหาสัมภาระเสียหาย (ร้อยละ 18) การร้องเรียน        ในภาพรวม ร้อยละ 59 ของผู้ที่ประสบปัญหา ร้องเรียนต่อสายการบินผ่านการกรอกแบบฟอร์ม ในกรณีของผู้ที่ถูกยกเลิกไฟล์ มีเพียงร้อยละ 56 เท่านั้นที่ร้องเรียนมีข้อสังเกตว่ากรณีของไทยมีผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนกับสายการบินเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ในบรรดากลุ่มคนที่ร้องเรียน มีถึงร้อยละ 80 ที่ไม่ได้รับเงินคืน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในสายการบิน        จากการให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนสายการบินในหัวข้อต่อไปนี้        บริการเช็คอินที่สนามบิน        บริการเช็คอินออนไลน์        ขั้นตอนการขึ้นเครื่อง        พนักงานต้อนรับบนเครื่อง        ความสบายของที่นั่งโดยสาร        พื้นที่เก็บสัมภาระเหนือศีรษะ        ความสะอาดของห้องน้ำ        คุณภาพอาหารตามราคาตั๋ว        ทางเลือกสำหรับผู้มีข้อจำกัดด้านอาหาร        คุณภาพอาหารเมื่อเทียบกับราคา        ความตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน        ราคาตั๋วโดยสาร        เราพบว่าสิ่งที่มีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของผู้โดยสารต่อสายการบินอันดับต้นๆ ได้แก่ ความตรงเวลาของเที่ยวบิน ราคาตั๋วโดยสาร บริการเช็คอินที่สนามบิน/เช็คอินออนไลน์ พนักงานต้อนรับ และความบันเทิงบนเที่ยวบิน ตามลำดับอย่างไรก็ตามหากแยกดูความพึงพอใจของผู้โดยสารแต่ละประเทศ จะเห็นว่ามีความต้องการที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น คนแคนาดาให้ความสำคัญกับความสะอาดของห้องน้ำเป็นอันดับต้นๆ คนสโลเวเนียถูกใจสายการบินเพราะชอบความบันเทิงในเที่ยวบิน คนบราซิลและคนออสเตรียพิถีพิถันกับเรื่องอาหารเป็นพิเศษ ในขณะที่คนไทยเราจริงจังกับพื้นที่เก็บสัมภาระเหนือศีรษะ เป็นต้น         ปัจจัยลำดับ 1 ถึง 3 ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในแต่ละประเทศที่มีต่อสายการบินมีทั้งเหมือนและต่างกันดังนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในสนามบิน        เมื่อเราขอให้ผู้โดยสารให้คะแนนสนามบินในประเด็นต่อไปนี้ ...         การเดินทางเข้า/ออกจากสนามบิน (โดยรถส่วนตัวและรถสาธารณะ)        บริการที่จอดรถ        ป้ายบอกทางในสนามบิน        การออกแบบพื้นที่ในสนามบิน        จอภาพแสดงสถานะเที่ยวบิน        สิ่งอำนวยความสะดวกในการเช็คอิน        จำนวนห้องน้ำ/ความพร้อมใช้งาน        ร้านจำหน่ายสินค้า        บาร์และร้านอาหาร        ที่นั่งและสิ่งอำนวยความสะดวก        ห้องรับรอง (เลาจน์)        บริการ WIFI        บริการจุดชาร์จไฟ        เวลาในการตรวจเช็คความปลอดภัย        เวลาในการผ่านพิธีการทางศุลกากร          เราพบว่าในภาพรวมสามปัจจัยอันดับต้นที่ส่งผลต่อความพึงพอใจสนามบินได้แก่ การออกแบบพื้นที่ในสนามบิน ขั้นตอนการตรวจเช็คความปลอดภัย และจำนวนห้องน้ำสนามบินนานาชาติที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจอันดับต้นๆ ได้แก่สนามบินของเมืองดูไบ ซูริค มิวนิค เฮลซิงกิ และโดฮา ตามลำดับในขณะที่ท่าอากาศยานของมอลต้า และควิเบก ได้คะแนนสูงสุดด้านความเร็วในการผ่านขั้นตอนการตรวจเช็คความปลอดภัยด้านห้องน้ำต้องยกให้สนามบินฮามัด เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์  ส่วนท่าอากาศยานออสเทนด์ ของเบลเยียม ได้คะแนนสูงสุดด้านการออกแบบพื้นที่ในสนามบิน         สิ่งที่ผู้โดยสารในแต่ละประเทศให้ความสนใจในอันดับต้นๆ ได้แก่  แผนการเดินทางในปี 2566         เพื่อตอบคำถามว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความแพร่หลายในการจัดประชุมสัมมนาผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงการรับรู้เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการเดินทางโดยเครื่องบิน จะส่งผลให้ผู้คนเลือก “บิน” น้อยลงในปี 2566 หรือไม่? จากการตอบแบบสอบถามดังกล่าว เราพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังคงเดินทางโดยเครื่องบินไม่น้อยกว่าปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวที่วางแผนว่าจะเดินทางไม่น้อยกว่าเดิม มีถึงร้อยละ 60   ผู้ที่เดินทางเพื่อธุรกิจ        ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.4) จะเดินทางโดยเครื่องบินไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 32.2 ตอบว่าปีนี้จะเดินทางน้อยลง และมีถึงร้อยละ 16.4 วางแผนจะเดินทางมากกว่าเดิมด้วย และถ้าดูเฉพาะกรณีของไทยจะพบว่ามีถึงร้อยละ 48 ที่จะโดยสารเครื่องบินบ่อยขึ้นกว่าปีก่อน         เหตุผลที่สายประชุม/สัมมนา จะเดินทางโดยเครื่องบินน้อยลง          ร้อยละ 28.8    ตั๋วแพงขึ้น           ร้อยละ 23.8    ประชุมออนไลน์        ร้อยละ 22.9    ต้องการเก็บเงิน        ร้อยละ 7.8      ห่วงใยสิ่งแวดล้อม        ร้อยละ 3.2      วิตกสถานการณ์ยูเครน        ร้อยละ 3.1      กลัวติดเชื้อโควิด        ร้อยละ 1.8      กังวลกับมาตรการโควิด        (ร้อยละ 8.6 อื่นๆ) ผู้เดินทางเพื่อท่องเที่ยว        “สายเที่ยว” ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60.5) จะเดินทางมากพอๆ กับปีที่แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 13.8 จะเดินทางน้อยลง และมีถึงร้อยละ 25.7 ที่จะเดินทางมากขึ้น ในกรณีของไทย มีคนวางแผนจะเดินทางด้วยเครื่องบินมากขึ้นถึงร้อยละ 83.4 เลยทีเดียว         เหตุผลที่สายเที่ยวจะเดินทางโดยเครื่องบินน้อยลง          ร้อยละ 32.3    ตั๋วแพงขึ้น           ร้อยละ 32       ต้องการเก็บเงิน        ร้อยละ 11.2    ห่วงใยสิ่งแวดล้อม        ร้อยละ 2.8      วิตกสถาณการณ์ยูเครน        ร้อยละ 2.5      กลังติดเชื้อโควิด        ร้อยละ 1.8      กังวลกับมาตรการโควิด        (ร้อยละ 17.3 อื่นๆ)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 262 สำรวจ ฟู้ดเดลิเวอรี ใครมีตัวเลือกรักษ์โลก (ครั้งที่ 2)

        ปัจจุบันการกดสั่งอาหารออนไลน์ ทำได้ง่ายสะดวก รวดเร็ว เพราะมีผู้ให้บริการให้เลือกมากมาย ตลอดช่วงการระบาดของโรคโควิด -19 ประชาชนหันมาใช้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่กันมากขึ้น   และทั้งด้วยการจัดโปรโมชัน คูปอง การสะสมแต้มต่างๆ ยิ่งทำให้ผู้บริโภคนิยมสั่งอาหารเดลิเวอร์รีมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง          อีกด้านหนึ่ง ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอร์รี่กำลังสร้างปัญหาสำคัญคือ ขยะพลาสติกจำนวนมาก ที่สำคัญคือขยะจากฟู้ดเดลิเวอรีเหล่านี้ปะปนกับเศษอาหาร จึงไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้             ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 242  นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงได้สุ่มสำรวจตัวอย่างแอปพลิเคชันสั่งอาหารทางออนไลน์(ฟู้ดเดลิเวอรี) จำนวน 36 แอปพลิเคชัน ในเดือนมีนาคม 2564 เพื่อสำรวจว่าแอปฯ ฟู้ดเดลิเวอรีนั้นมีตัวเลือก ‘ลดการใช้ขยะพลาสติก’ ให้กับลูกค้าหรือไม่         ดังนั้นเพื่อการเฝ้าระวังต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันฟู้ดดิลิเวอรีมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาอีกหลายราย และเพื่อให้ผู้บริโภคที่มีใจของนักอนุรักษ์ได้มีข้อมูลว่า มีผู้ประกอบการรายใดที่ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกนี้บ้าง ฉลาดซื้อ โครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และ สสส. จึงทำการสำรวจบริการสั่งอาหารออนไลน์อีกครั้ง  โดยครั้งนี้สำรวจ ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งที่ให้บริการทั้งในพื้นที่กรุงเทพ และต่างจังหวัดดังเดิมและเพิ่มเติมรายใหม่รวมจำนวนทั้งหมด 41 ราย   สำรวจผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรีรายใหม่ จำนวน 9 ราย คือ  Shopee Food TH , 1376 Delivery,  AirAsia Food ,True Food, Foodhunt , Texas Chicken Thailand, Aolaimai ,Frabbit ,Fast Delivery Ubon ระยะเวลาสำรวจ เดือนธันวาคม 2565สรุปผลการสำรวจ        - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แบบแอปพลิเคชัน  ที่มีตัวเลือก “ลดการใช้พลาสติก”  มีจำนวน 5 ราย คือ  Burger King, Food Panda, Grab Food , Line Man , AirAsia Food  (หรือ Gojek เดิม)      - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน แต่ไม่มีตัวเลือก “ลดการใช้พลาสติก” มีจำนวน 22   ราย  คือ  Shopee Food TH , Foodhunt ,Truefood , 1112 Delivery ,  7- Eleven ,  KFC  Thailand ,  Mc Donald’s  , Robinhood , S&P Delivery,The Pizza company, Aolaimai, Ant Delivery, Foodman Delivery Service , Fastfood  Delivery ,Weserve ,Win Food Delivery ,Big Food Delivery,Captain Food Delivery,   Finvery,FooDee Delivery ,Coffee  World  Station , Starbucks  Thailand       - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ออนไลน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ ไลน์ และ call center   และไม่มีตัวเลือกเพื่อลดการใช้พลาสติกที่ชัดเจน  มีจำนวน  8  ราย  คือ 1376 Delivery ,Domino’s  Pizza ,Fast Delivery Ubon ,Frabbit  ,Texas Chicken Thailand , Fuji Japanese Restaurant ,MK  delivery,Neo  Suki        และ แอปพลิเคชันยอดนิยมที่สำรวจแล้วพบว่า ไม่ใช่บริการ ฟู้ดเดลิเวอร์รี่ มีจำนวน  6   แอป คือ  CP Fresh Mart , Happy Fresh, Lalamove ,Skootar ,Wongnai ,ครัวคุณต๋อย    ข้อสังเกต      -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ทั้งผ่านแอปพลิเคชัน และสั่งซื้อผ่าน เว็บไซต์ ไลน์ และ call center  ที่ไม่มีตัวเลือกกดไม่รับพลาสติกแต่จะมีช่อง ‘คำขอพิเศษ’  ‘โน้ตไปยังร้านอาหาร’ ‘หมายเหตุ’  ‘ใส่รายละเอียดเพิ่มเติม (ถ้ามี)’ ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้ช่องทางนี้ ปฏิเสธไม่รับพลาสติก  รวมไปถึงสื่อสารถึงร้านอาหารได้โดยตรงว่า ไม่ต้องการรับพลาสติกที่ไม่จำเป็น           -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ มีโปรโมชั่นเพื่อจูงใจให้กดสั่งซื้อมากมาย ทั้ง มีการจัดส่งฟรี การสะสมแต้ม การลดราคาเมื่อซื้อจำนวนมากหรือ ลดราคาในวันพิเศษต่างๆ เหล่านี้เพื่อกระตุ้นยอดขายแต่ยังไม่พบว่า มีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายพร้อมๆ กับการสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคลดปริมาณขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่ เช่น  การสะสมแต้มจากการไม่รับช้อน ซ่อม พลาสติก ,  คูปองส่วนลดสำหรับลูกค้าที่เลือกไม่รับช้อนส้อมเป็นประจำ เป็นต้น        -   ร้านอาหารจำนวนมากมีแอปพลิเคชัน และช่องทางรับคำสั่งซื้อออนไลน์ในช่องทางอื่นๆ เช่น เว็บไซต์  ไลน์ Call center ของตนเองแต่ยังมักประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคสั่งซื้อผ่าน ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ เช่น Grab Food , Line Man เนื่องจากจะได้รับความนิยมได้มากกว่า        -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ที่มีทางเลือกให้ผู้บริโภคกดไม่รับพลาสติกทั้งหมดเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่    อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ หลายรายที่ยังไม่มีการพัฒนาระบบตั้งค่าลดการใช้พลาสติดดังกล่าว การที่ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่เห็นความสำคัญมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้สังคมตระหนักถึงปัญหาขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่ เพราะผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ รายหนึ่งเป็นหน้าร้านของร้านอาหารอีกเป็นจำนวนมาก เช่น  Foodhunt ที่ให้บริการจัดส่งอาหารให้แก่ Mister Donut , Auntie anne’s , โอโตยะ, ไทยเทอเรส ฯลฯ  และ  1112 Delivery  ที่ให้บริการจัดส่งอาหาร  The Pizza , Bonchon และอีกนับสิบร้านชื่อดัง       -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รีในต่างจังหวัดรายหนึ่งสะท้อนว่า “เคยให้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่สามารถกดไม่รับพลาสติกได้ เมื่อได้ปรับเป็นการรับคำสั่งซื้อผ่านช่องทางไลน์เพื่อลดต้นทุน ผู้บริโภคมักไม่ระบุวัสดุการจัดส่ง  จึงมองว่าระบบการกดไม่รับพลาสติกในแอปพลิเคชันมีส่วนสำคัญที่กระตุ้นผู้บริโภคให้ลดขยะและตระหนักในปัญหาขยะจากอาหารเดลิเวอร์รีได้”  ข้อแนะนำ     -   ผู้บริโภค ควรใช้ตัวเลือกลดขยะพลาสติกในแอปฯ (ถ้ามี) เพื่อเป็นการช่วยในเรื่องการลดปัญหาขยะ    -   ปัญหาสำคัญของขยะจากฟู้ดเดลิเวอรี คือเป็นขยะพลาสติกที่ปะปนกับเศษอาหารทำให้ไม่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ ผู้บริโภคจึงควรคัดแยกขยะก่อนทิ้งและรวบรวมนำไปให้ในจุดที่บริการรับขยะพลาสติกเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์  หรืออย่างน้อยควรชำระให้ปนเปื้อนน้อยที่สุดก่อนทิ้ง       -   ปัจจุบัน ร้านอาหารหลายร้าน หากไม่ให้ถุงพลาสติกก็อาจพัฒนาถุงพลาสติกเพื่อให้ผู้บริโภคไปใช้ซ้ำได้นานมากขึ้นที่สุด เมื่อได้รับวัสดุ /ถุงพลาสติกจึงควรนำกลับมาใช้ซ้ำหรือหาทางใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด    -   เลือกใช้บริการ ร้านอาหาร / ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี ที่มีความรับผิดชอบต่อปัญหาขยะอาหารเดลิเวอร์รีหรือปรับเปลี่ยนมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม    การใช้บริการจัดส่งสั่งอาหารออนไลน์ อาจได้เป็นวิถีใหม่ของคนไทยไปแล้ว อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการและผู้บริโภคควรได้ตระหนักร่วมกันถึงปริมาณขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่กำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล  การลดขยะหรือการทำให้ขยะกลับมาใช้ได้จริง จึงต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 262 เรื่องทดสอบ สปอร์ตบรา

        ปัจจุบัน “สปอร์ตบรา” ไม่ได้จำกัดการสวมใส่เฉพาะเพื่อการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเท่านั้น ผู้หญิงหลายคนยังจัดเป็นเสื้อชั้นในเพื่อการสวมใส่ในชีวิตประจำวันด้วย         สปอร์ตบรานั้นถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ของการป้องกันสรีระช่วงอกในขณะออกกำลังกายของผู้หญิง เนื่องจากชุดชั้นในธรรมดาไม่อาจรองรับการเคลื่อนไหวของหน้าอกในระหว่างการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ ได้ ซึ่งอาจนำมาถึงการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรืออาการปวดเมื่อยบริเวณดังกล่าว ยังรวมไปถึงเรื่องความสบายในการสวมใส่ ความคล่องตัวและความมั่นใจที่ชุดชั้นในธรรมดาไม่อาจให้ได้         ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ฉลาดซื้อและโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จึงได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์สปอร์ตบรา จำนวน 8 ยี่ห้อ จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไป ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 ส่งตรวจกับห้องทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน  โดยเป็นการทดสอบด้านความปลอดภัย 2 รายการได้แก่ สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัวและปริมาณฟอร์แมลดิไฮด์ และอีก 1 รายการเป็นการทดสอบเรื่อง การจัดการความชื้น (Liquid Moisture Management Properties) รวม 3 รายการ          หมายเหตุการทดสอบ         ในการทดสอบเรื่องการจัดการความชื้น เนื่องจากเนื้อผ้าและวัสดุของสปอร์ตบรานั้นไม่เหมือนเสื้อชั้นในและเสื้อผ้าทั่วไป เพราะประกอบด้วยผ้าผสมหลายชนิดรวมถึงดีไซน์การตัดเย็บที่ต่างกัน ดังนั้นจึงทดสอบการจัดการความชื้นในสามบริเวณได้แก่ ด้านหน้าที่มีฟองน้ำ ด้านหน้าที่ไม่มีฟองน้ำและด้านหลัง (บางชุดวัสดุตรงกลางและด้านข้างต่างกัน)  ผลการทดสอบ        ·     ด้านความปลอดภัย        สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว พบ สารสองชนิด ได้แก่ BENZIDINE ปริมาณ 17.74 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ 4-METHYL-m-PHENYLENEDIAMINE ปริมาณ 37.32 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในตัวอย่างยี่ห้อ Wacoal Motion Support WR 3448 (มาตรฐานสีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว แต่ละตัวต้องไม่เกิน 30 มก./กก.) อีก 7 ตัวอย่างไม่พบสีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว        ฟอร์แมลดิไฮด์ พบฟอร์แมลดิไฮด์ 1 ตัวอย่าง ปริมาณ 26.83 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (มาตรฐานต้องน้อยกว่า 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ได้แก่ ตัวอย่างยี่ห้อ GENTLEWOMAN sports club GST060 อีก 7 ตัวอย่างไม่พบฟอร์แมลดิไฮด์         ·     การจัดการความชื้น ผลการทดสอบพบว่า ค่า One-way transport capability (R)   ส่วนใหญ่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าที่มีฟองน้ำ ส่วนบริเวณด้านหน้าที่ไม่มีฟองน้ำและบริเวณด้านหลัง มี 3 ยี่ห้อที่ผลการทดสอบน่าพอใจ ดูรายละเอียดได้ที่ การเลือกสปอร์ตบรา         1.เลือกตามการใช้งาน ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นสามระดับของการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่ง การเล่นกีฬาหนักๆ ควรเลือกชนิด  High Support สำหรับการออกกำลังกายที่เคลื่อนไหวไม่มาก เลือกแบบ Medium Support หรือ Light Support  ซึ่งเหมาะสำหรับ เวทเทรนนิ่ง บอดี้เวท การปั่นจักรยาน การเล่นโยคะ พิลาทีส เป็นต้น         2.เลือกให้พอดีกับขนาดของหน้าอก การทดลองสวมที่ร้านจะดีที่สุด ทั่วไปแล้วสปอร์ตบราจะมีขนาดที่เล็กกว่าไซส์ชุดชั้นในเล็กน้อย ควรเลือกที่ใส่แล้วไม่อึดอัดหรือคับเกินไป ไม่มีเนื้อส่วนเต้าล้นออกมา และไม่มีตะเข็บที่จะก่อให้เกิดการเสียดสี        3.เลือกจากวัสดุที่ช่วยระบายความชื้นและความร้อนได้ดี จะช่วยทำให้รู้สึกแห้งสบาย ไม่เหนอะหนะในระหว่างการใช้งาน วัสดุที่นิยมในปัจจุบันได้แก่ ไนลอน โพลีเอสเตอร์ สแปนเด็กซ์ ไลครา อีลาสติน         4.สาวที่มีช่วงไหล่กว้างอาจใส่สปอร์ตบราบางรุ่นแล้วรู้สึกว่าสายสปอร์ตบรารั้งตรงไหล่ ใส่นานๆ มีอาการปวดเมื่อยอาจเลือกเป็นประเภทที่ปรับสายได้ เพื่อให้รองรับพอดีกับช่วงไหล่        5.การดูแลรักษา เนื้อผ้าและวัสดุของสปอร์ตบรานั้นส่วนใหญ่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ หากดูแลได้ถูกวิธีจะช่วยให้ใช้งานได้นาน   ข้อมูลอ้างอิง        1.มอก.2346-2550 เสื้อผ้าสำเร็จรูป        2.มอก.เอส 6-2561 เสื้อกีฬา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 262 ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

            กำหนดการบังคับใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการติดตั้งเบาะนิรภัยสำหรับเด็กวัยไม่เกินหกขวบ (คาร์ซีท) ของบ้านเราเริ่มต้นแล้ว ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่องค์กรผู้บริโภคในยุโรปซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำการทดสอบไว้ และเนื่องจากมีเนื้อที่จำกัด เราจึงขอนำเสนอเพียง 25 รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบในปี 2022(ติดตามผลทดสอบคาร์ซีทครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉบับที่ 234)         การทดสอบซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานใหม่ของยุโรป (R129) แบ่งออกเป็นการจำลองการชนในห้องปฏิบัติการ และการใช้งานจริงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และครอบครัวที่มีเด็กอายุ 3, 6, และ 10 ปีจำนวน 10 ครอบครัว คาร์ซีททุกรุ่นจะถูกนำมาทดลองติดตั้งและใช้งานกับรถ 3 ประเภท ได้แก่ รถแฮทช์แบ็ก 3 ประตู รถ SUV 5 ประตู และรถ MPV         คะแนนรวม 100 คะแนนแบ่งออกเป็น        - ความปลอดภัย (ร้อยละ 50) เช่น ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ความแข็งแรงของตัวล็อก การยึดติดกับเบาะรถ และการดูดซับแรงกระแทก เป็นต้น        - ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 40) เช่น การติดตั้ง การปรับขนาดให้เข้ากับตัวเด็ก โอกาสที่จะใช้ผิดวิธี และความยากง่ายในการทำความสะอาด เป็นต้น        - การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ หรือ ergonomics (ร้อยละ 10) ทั้งตัวที่นั่ง พนักพิง ความนุ่มสบาย และการใช้พื้นที่ในรถ เป็นต้น         เนื่องจากสหภาพยุโรปห้ามใช้สารเคมีอันตรายหลายชนิดในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น โพลีไซคลิกไฮโดรคาร์บอน พทาเลท ฟอร์มัลดีไฮด์ สีเอโซ และโลหะหนัก ทีมทดสอบจึงทำการตรวจวิเคราะห์หาสารดังกล่าวบนตัววัสดุหุ้มเบาะและส่วนประกอบอื่นๆ ที่เด็กอาจเลียหรือนำเข้าปากไว้ด้วย         ในภาพรวมเราพบว่า คาร์ซีทที่มีจำหน่ายในยุโรปมีทั้งที่คุณภาพดีและด้อยปะปนกัน รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุด Cybex AnorisT i-size ได้ไปถึง 81 คะแนน ในขณะที่หลายรุ่นได้คะแนนรวมต่ำกว่า 50 เพราะมีคะแนนความปลอดภัยแค่ระดับ “พอใช้” และบางรุ่นไม่ได้คะแนนเลย* ในกรณีที่เป็นรุ่นเดียวกัน รุ่นที่มาพร้อมกับฐาน (และมีราคาแพงกว่า) มักจะได้คะแนนมากกว่า  นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าการเลือก “แบรนด์” อย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบ เราอาจต้องพิจารณา “รุ่น” ของคาร์ซีทด้วย         ·  เรามัดรวมคาร์ซีทที่ไม่ควรซื้อเอาไว้ที่หน้าสุดท้ายของบทความนี้แล้ว คาร์ซีทรุ่นที่ได้คะแนนรวมในระดับ “พอใช้”Jané iMatrix + iPlatform ComfyGraco Turn2MeBesafe StretchLionelo Antoon PlusSilver Cross Motion All Size 360Chicco Seat2Fit i-SizeRecaro Toria EliteAxkid Minikid 3Chicco Seat3Fit i-SizeCasualplay Backfix i-SizeJoie i-Spin Grow คาร์ซีทรุ่นที่เราไม่แนะนำJané Koos i-Size R1 + iPlatform ComfyUrban Kanga Uptown TV107Lionelo Antoon RWFKinderkraft Comfort UpWalser Kids Expert Noemi

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 261 ห้างค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ เขาช่วยเซฟคุณจาก “อาหารหมดอายุ” อย่างไร

        ปี 2564 นิตยสารฉลาดซื้อเคยทำสำรวจห้างค้าปลีกในประเด็นเรื่องนโยบายและมาตรการการจัดการกับสินค้า อาหารหมดอายุ เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอยู่บ่อยครั้ง ในการสำรวจครั้งก่อนมีผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถามเพียง 3 ราย จาก 11 ราย มาในปี 2565 นี้ หลังจากข่าว “ชาวเน็ตโอด! ห้างดัง ‘เอาเปรียบผู้บริโภค’ โต้เลิกพูดเถอะ ‘ของสดใหม่ทุกวัน’ (ที่มา https://www.dailynews.co.th/news/1607049/ ) ที่กล่าวถึงห้างนำเอาโดนัทที่หมดอายุแล้วมาปิดฉลากใหม่และวางจำหน่าย ซึ่งต่อจากข่าวนั้นมีประเด็นน่าสนใจหลายอย่างตามมา เช่น อย.ระบุว่าเอาผิดห้างไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน จำเป็นต้องเร่งปรับปรุงกฎหมาย ส่วนการเอาผิดผู้ประกอบการต้องใช้กฎหมายอาญา ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลจากทาง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ นิตยสารฉลาดซื้อ จึงทำหนังสือเพื่อขอข้อมูลเรื่อง ขั้นตอนดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับอาหาร/สินค้าหมดอายุ จากบริษัทที่ดำเนินงานห้างค้าปลีก ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ 12 ราย ได้แก่        1.บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด        2.บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด        3.บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด        4.บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด        5.บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน)         6.บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)         7.บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)         8.บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด        9.บริษัท วิลล่า มาร์เก็ท เจพี จำกัด        10.บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)         11.บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด        12.บริษัท สห ลอว์สัน จำกัดทั้งนี้ฉลาดซื้อกำหนดการปิดรับคำตอบวันที่ 10 ธันวาคม 2565 และมีบริษัท 5 รายที่ให้ข้อมูล ดังนี้        ·     บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด……The Mall        ·     บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)        ..7 eleven         ·     บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด         ............        ลอว์สัน        ·     บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด...ฟู้ดแลนด์        ·     บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด....Lotus ผลการสำรวจ1.นโยบายการจัดเก็บอาหารใกล้หมดอายุ/หมดอายุ ออกจากชั้นวาง และช่องทางการร้องเรียน 2.มาตรการ ขั้นตอน การจัดเก็บสินค้า อาหารใกล้หมดอายุ/หมดอายุ ออกจากชั้นวาง แหล่งข้อมูล1.หนังสือตอบจากบริษัท 5 ราย2.หน้าเว็บไซต์บริษัทฯ3.สอบถามเพิ่มเติมจากช่องทางลูกค้าสัมพันธ์

อ่านเพิ่มเติม >