หากเสาอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์แบบเดิมๆ อย่างเสาอากาศที่เป็นโครงเหล็กแบบก้างปลาหรือเสาขนาดเล็กแบบหนวดกุ้ง ไม่อาจตอบสนองอรรถรสในการชมจนทำให้หลายๆ คนรู้สึกหงุดหงิดใจ เพราะภาพก็ไม่ชัด สัญญาณก็ขัดข้อง บางช่องก็ดูไม่ได้ แต่ปัญหาเหล่านี้หมดไป พร้อมการมาถึงของ “จานดาวเทียม” และ “กล่องรับสัญญาณ” นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงการรับชมทีวีของคนไทย นอกจากจะดูทีวีได้ชัดแจ๋วยิ่งกว่าเดิม ยังได้ดูช่องรายการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกเป็น 100 ช่อง แถมยังเป็นแบบ “ขายขาด” ติดแล้วดูฟรีไม่มีค่าบริการรายเดือน จึงไม่น่าแปลกใจถ้าเดี๋ยวนี้มองไปตามตึกรามบ้านช่องต่างๆ ไม่ว่าจะบ้านเล็กบ้านใหญ่ ห้องเช่าราคาประหยัดหรือคอนโดหรูราคาแพง เราก็จะพบเห็นจานดาวเทียมหลากสีถูกติดอยู่ทั่วไป ใครที่กำลังคิดจะติดจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณไว้ที่บ้าน หรืออาจจะติดไปแล้ว (แถมเชื่อว่าคงจะมีหลายคนที่ติดมากกว่า 1 จาน หรือ 1 กล่อง) ที่มีข้อสงสัยว่าแต่ละเจ้าแต่ละผู้ผลิตเขามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันยังไง ติดจานไหนโดนใจกว่าหรือติดกล่องไหนคุ้มค่ามากที่สุด ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาพาไปตะลุยตลาดกล่องรับสัญญาณและจานดาวเทียม ไปดูกันสิว่าแต่ละยี่ห้อเขามีจุดขายอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง 1. กล่องทรูไลฟ์พลัส (True Life+) ผู้ผลิต บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ราคา เฉพาะกล่อง 1,290 บาท ราคาพร้อมจาน จานทึบ (จานแดง) ระบบ KU – Band พร้อมค่าติดตั้ง บวกเพิ่ม 2,050 บาท (จาน 800 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 250 บาท ค่าติดตั้ง 1,000 บาท) จานแบบโปร่งขนาด 1.5 เมตร รับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band ราคารวมค่าติดตั้ง จ่ายเพิ่ม 3,200 บาท (จาน 900 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 800 บาท ค่าติดตั้ง 1,500 บาท) จานแบบโปร่งขนาด 1.8 เมตร รับได้ทั้งระบบ KU – Band, C – Band และ NSS6 ราคารวมติดตั้ง 4,200 – 4,500 บาท (จาน 1,200 – 1,500 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 1,000 บาท ค่าติดตั้ง 2,000 บาท) จุดเด่น มีช่องรายการด้านบันเทิงประเภท หนัง และ เพลง เฉพาะของตัวเอง (ไม่มีในกล่องเจ้าอื่น) มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศ คือ พรีเมียร์ ลีก ของประเทศอังกฤษ (เฉพาะบางคู่เท่านั้น ต่างจากแบบที่บอกรับสมาชิกที่มีถ่ายทอดสดทุกคู่) หากเป็นจานทึบระบบ KU – Band สามารถรับชมช่องรายการร่วม 47 ช่อง จานโปร่งขนาด 1.5 เมตร สามารถดูได้ 170 ช่อง ส่วนจานโปร่งขนาด 1.8 เมตร สามารถดูได้ 240 ช่อง นอกจากนี้ หากเป็นคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบ ทรู มูฟ หรือ ทรู มูฟ เอช ยังมีสิทธิได้รับชมช่องรายการเพิ่มขึ้นอีก 12 ช่อง truevisions.truecorp.co.th 2. กล่องพีเอสไอทรูทีวี (PSI – True Tv) ผู้ผลิต บริษัท โพลี เทเลคอม จำกัด (Poly Telecom Co.LTD) ราคา เฉพาะกล่อง 890 บาท ราคารวมจานรับสัญญาณระบบ KU – Band (จานดำ) 1,990 บาท จุดเด่น เป็นการรวมตัวกันของ 2 ผู้ให้บริการ คือ พีเอสไอ (PSI) และ ทรู วิชั่นส์ (True Visions) ซึ่งนอกจากจะได้รับชมรายการในระบบ KU – Band แล้ว ยังได้รับชมช่องรายการจากทางทรู วิชั่นส์ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีช่องที่น่าสนใจอย่าง True 10 ซึ่งเป็นช่องที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศลิขสิทธิ์ของทรู วิชั่นส์ (ช่องรายการที่เป็นของทรู วิชั่นส์ จะคล้ายกับช่องรายการของกล่องทรูไลฟ์พลัส) www.psisat.com 3. กล่องไอพีเอ็ม พีวีอาร์ พลัส (IPM - PVR Plus) ผู้ผลิต บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ราคา ราคากล่อง + จานระบบ KU - Band (จานส้ม) 2,990 บาท จุดเด่น มีช่องรายการเฉพาะของตัวเองกว่า 30 ช่อง ทั้ง ภาพยนตร์ การ์ตูน เพลง ข่าว สารคดี แต่ส่วนใหญ่เป็นช่องที่ผลิตในไทย ไม่ใช่ช่องลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ ช่องรายการที่น่าสนใจคือช่องท้องถิ่น ที่นำเสนอศิลปะ วัฒนธรรม พื้นบ้านของไทย โดยที่ช่องรายการจะแบ่งเป็นภาค เหนือ อีสาน กลาง ใต้ รวมแล้วช่องรายการที่สามารถรับชมได้จะอยู่ที่ 80 กว่าช่อง www.ipmtv.tv 4. กล่องดีทีวี-เอชดีวัน (DTV - HD1) ผู้ผลิต บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ราคา เฉพาะกล่อง 4,990 บาท ราคารวมจานรับสัญญาณระบบ KU – Band (จานเหลือง) 5,490 บาท จุดเด่น เป็นกล่องรัฐสัญญาณที่มีช่องรายการที่ออกอากาศในระบบ HD (High-definition) ที่ให้ความคมชัดของภาพและเสียงมากกว่าการออกอากาศแบบทั่วไป (สาเหตุที่ทำให้กล่องมีราคาสูง) แต่ใช่ว่าทุกช่องรายการจะเป็นระบบ HD ทั้งหมด เพราะจะมีช่องรายการซึ่งเป็นช่องเฉพาะของกล่องอยู่ 5 ช่องที่ออกอากาศในระบบ HD ประกอบด้วยช่องรายการวาไรตี้ 1 ช่อง ช่องภาพยนตร์ 1 ช่อง ช่องกีฬา 2 ช่อง (มีถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศ) และช่องสารคดีอีก 1 ช่อง ช่องอื่นๆ ที่เหลือก็จะเป็นช่องรายการทั่วไปในระบบ KU – Band รวมช่องรายการทั้งหมดที่สามารถรับชมได้อยู่ที่ 79 ช่อง www.dtvthai-hd.com 5. กล่องจีเอ็มเอ็มแซท (GMMZ) ผู้ผลิต บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ราคา เฉพาะกล่อง 999 บาท (ได้รับค่าโทรศัพท์มือถือระบบ AIS และ 12 CALL 1,200 บาท) จุดเด่น เพราะผลิตมาเฉพาะกล่อง คนที่จะติดจะต้องมีจานดาวเทียมอยู่แล้วที่บ้าน (จานดาวเทียมของเจ้าไหนก็ได้) รองรับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band ช่องรายการที่ได้รับชมหลักๆ ก็เป็นไปตามระบบของจานดาวเทียม โดยจะมีช่องรายการพิเศษเฉพาะ 4 ช่อง คือช่องรายการวาไรตี้ ช่องซีรีส์ต่างประเทศ ช่องสารคดี และช่องถ่ายทดสดฟุตบอลต่างประเทศ ซึ่งกล่อง GMMZ ได้ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศถึง 6 ลีก 6 ประเทศ เช่น บุนเดสลีกา เยอรมัน, ลีกเอิง ฝรั่งเศส, เจลีก ญี่ปุ่น ฯลฯ (ไม่ซ้ำกับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดของ ทรู วิชั่นส์) www.gmmz.tv 6. กล่องซันบ็อกซ์ (Sunbox) ผู้ผลิต บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ราคา เฉพาะกล่อง 1,590 บาท (ได้รับค่าโทรศัพท์มือถือระบบ Dtac 1,590 บาท) จุดเด่น ผลิตมาเฉพาะกล่องแบบเดียวกับกล่องจีเอ็มเอ็มแซท ซื้อแล้วต้องนำไปติดกับเจ้าดาวเทียมของเจ้าอื่น รองรับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band จุดขายหลักคือมีช่องรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างเทศ เป็นลาลีกา ลีก จากประเทศสเปน (ไม่ซ้ำกับทั้งของ ทรู วิชั่นส์ และ กล่องจีเอ็มเอ็มแซท) ช่องที่เหลือก็จะเป็นช่องรายการที่ออกอากาศให้รับชมฟรีทั่วไปตามแต่ระบบของจาน www.rssunbox.com หมายเหตุ : กล่องรับสัญญาณและจานดาวเทียมที่ฉลาดซื้อนำมาแนะนำทั้งหมดเป็นแบบขายขาด ไม่เสียค่าบริการรายเดือน : ราคาที่แสดงเป็นราคาที่แจ้งในเว็บไซต์ของแต่ละผู้ผลิต กรณีซื้อผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดจานดาวเทียม 1.ประเภทของจาน และ ระบบของสัญญาณ ก่อนที่เราจะติดตั้งจานดาวเทียม ต้องไม่ลืมศึกษาข้อมูลของจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณว่ามีกี่ชนิดกี่ประเภทที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งที่นิยมกันอยู่ทุกวันนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ จานดาวเทียมระบบ C – Band (ซี – แบนด์) และระบบ KU – Band (เคยู – แบนด์) -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ความแตกต่างของจานรับสัญญาณระบบ C – Band และระบบ KU – Band จานรับสัญญาณระบบ C – Band ลักษณะของจานจะเป็นแบบจานตะแกรงพื้นผิวโปร่ง ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางจะอยู่ที่ประมาณ 5 ฟุต หรือ 1.5 เมตร ไปจนถึง 10 ฟุต หรือ 3 เมตร ซึ่งจานระบบ C – Band สามารถรับสัญญาณได้คลอบคลุมเป็นวงกว้าง รับสัญญาณได้ทั้งดาวเทียมในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีรายการทีวีให้รับชมหลายช่องรายการมากกว่าจานในระบบ KU – Band ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องฟรีทีวีจากต่างประเทศ แต่ด้วยขนาดของจานซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ต้องอาศัยพื้นที่ในการติดตั้งเหมาะสำหรับคนที่บ้านมีดาดฟ้า ผู้อาศัยอยู่ตาม อพาร์ทเม้นท์ หรือ คอนโด อาจยากในการติดตั้งเพราะมีพื้นที่ไม่เพียงพอ จานรับสัญญาณระบบ KU – Band จะเป็นจานทึบขนาดจะเล็กกว่าจานแบบตะแกรงโปร่งของ C-Band เส้นผ่าศูนย์กลางจะอยู่ที่ 2 ฟุต หรือ 60 ซม. เพราะความที่ใช้รับสัญญาณภายในประเทศ บวกกับความเข้มของสัญญาณมีมากกว่าจานในระบบ C – Band ขนาดของจานระบบ KU – Band จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มากก็สามารถรับสัญญาณได้อย่างคมชัด ซึ่งด้วยขนาดที่เล็กกว่าจานในระบบ C – Band ค่อนข้างมาก แถมการติดตั้งก็มีความยุ่งยากน้อยกว่า จึงทำให้จานระบบ KU – Band เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะติดได้ทั่วไป ทั้งตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ หรือแม้แต่ตามหอพัก อพาร์ทเม้นท์ ที่มีพื้นที่จำกัด แต่จานระบบ KU – Band ก็มีข้อเสียตรงที่ในช่วงเวลาที่มีฝนตกหนักและมีเมฆหนาทึบ การรับชมทีวีผ่านสัญญาณระบบ KU – Band จะมีปัญหาไม่สามารถรับชมได้ เพราะสัญญาณจะถูกบดบัง ขณะที่จานรับสัญญาณระบบ C – Band จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เนื่องจากสัญญาณที่ส่งมาจะมีความเบาบางกว่า พื้นที่ของจานในการรับสัญญาณก็มีมากกว่า เวลาที่ฝนตกหนักจึงไม่เป็นปัญหาต่อการรับสัญญาณ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2.ช่องรายการที่ต้องการรับชม สิ่งที่ผู้ผลิตจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณแต่ละเจ้านำมาเป็นจุดขายแสดงความพิเศษและแตกต่างของตัวเองก็คือ “ช่องรายการ” ซึ่งเมื่อลองดูในภาพรวมจะเห็นว่า ช่องรายการที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก จะมีที่แตกต่างกัน (ที่แต่ละเจ้าจะใช้เป็นจุดขายในการโฆษณา) แค่ไม่กี่ช่อง ส่วนมากจะเป็นช่องรายการจากต่างประเทศ เช่น การแข่งขันกีฬา ภาพยนตร์ และสารคดี โดยเฉพาะในจานรับสัญญาณระบบ KU – Band ซึ่งส่วนใหญ่จะรับสัญญาณของรายการของประเทศไทย (อาจมีของต่างประเทศบ้าง แต่จะเป็นของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง อย่าง ลาว หรือ กัมพูชา) ช่องรายการที่สามารถรับชมได้จะอยู่ที่ประมาณ 80 – 100 ช่อง แต่หากเป็นจานรับสัญญาณในระบบ C – Band จะสามารถรับชมได้จำนวนช่องมากกว่า คือ ตั้งแต่ 100 ช่องขึ้นไป แถมยังได้รับชมช่องฟรีทีวีของต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น แม้จะมีช่องรายการให้ดูเป็น 100 ช่อง แต่เชื่อว่าคนที่ดูทีวีส่วนใหญ่คงไม่ได้ดูทั้งหมดทุกช่องที่มี จะมีที่ดูอยู่เป็นประจำเพียงแค่ไม่กี่ช่อง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะติดตั้งเราควรต้องรู้ก่อนว่า จานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณที่เราเลือกนั้นมีช่องรายการอะไรบ้าง มีช่องที่เราสนใจหรือเปล่า หรือถ้าชอบบางรายการเป็นพิเศษ อย่างเช่น เป็นคนชอบดูหนัง ชอบดูข่าว หรือชอบดูกีฬา ก็ต้องลองพิจารณาดูว่าจานและกล่องที่เราจะติดนั้นมีสัดส่วนของรายการต่างๆ เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน เนื้อหาและคุณภาพของรายการตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ 3.ราคา ราคาก็ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่หลายๆ คนใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ ซึ่งราคาถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงกัน ในระบบจานรับสัญญาณแบบ KU – Band ขณะที่ระบบ C – Band ราคาก็จะสูงขึ้นมาอีก ซึ่งราคาของกล่องรับสัญญาณพร้อมจานดาวเทียมระบบ KU – Band จะอยู่ที่ 2,000 – 3,000 กว่าบาท แต่ถ้าหากว่าตัวกล่องระบุว่าเป็นระบบที่ถ่ายทอดสัญญาณภาพโทรทัศน์แบบละเอียดและคมชัดกว่าแบบธรรมดา หรือที่เรียกว่าระบบ HD (High-definition) ราคาก็จะสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 7,000 บาท สำหรับจานระบบ C – Band ราคาทั้งชุดจะอยู่ที่ 2,000 บาทขึ้นไป โดยปกติยิ่งขนาดของจานมีความกว้างมากขึ้นเท่าไหร่ ราคาก็มักจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ในกรณีที่ซื้อเฉพาะตัวกล่องรับสัญญาณราคาก็จะลดลงมาอีกประมาณ 500 – 1,000 บาท ที่สำคัญอย่าลืมบวกค่าบริการติดตั้งซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับร้านตัวแทนจำหน่ายที่เราเลือก 4.บริการหลังการขาย การบริการหลังการขายเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญในการที่จะเลือกซื้อจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณ ทั้งเรื่องของการซ่อมบำรุงรักษากรณีที่สินค้าเมื่อใช้งานแล้วเกิดการชำรุดเสียหาย หากเกิดปัญหาเรื่องการรับชมสามารถดูแลหรือให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาได้ รวมถึงเรื่องของช่องรายการต่างๆ ที่เปิดให้รับชมต้องเป็นไปตามที่โฆษณาไว้ หากไม่สามารถเปิดให้รับชมได้ต้องมีการแจ้งถึงเหตุผล รวมทั้งในกรณีหากมีการเพิ่มช่องรายการก็ควรต้องมีการแจ้งวิธีการรับชม ถ้าต้องมีการเข้ารหัสผ่านกล่องรับสัญญาณก็ต้องการแจ้งให้กับผู้ชมทราบ 5.พื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งจานดาวเทียม พื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งวางตำแหน่งจานดาวเทียมถือเป็นเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนมองข้าม โดยเฉพาะจานรับสัญญาณในระบบ C – Band ขนาดใหญ่ต้องใช้พื้นที่พอสมควรในการติดตั้ง นอกจากนี้เพื่อประสิทธิภาพในการรับชมจำเป็นต้องคำนึงถึงทิศทางในการรับสัญญาณของตัวจาน ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของการติดตั้งเป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญงาน แต่เราในฐานะผู้ซื้อสินค้าก็ควรทำความใจในเรื่องนี้ไว้บ้าง หลักการง่ายๆ ก็คือ ต้องติดตั้งไว้ในจุดที่ปลอดภัย อยู่ในพื้นที่ที่มีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักของจานได้ และต้องไม่อยู่ใกล้กับจุดที่อาจเกิดอันตรายอย่าง สายไฟ หม้อแปลงไฟฟ้า หรือเสาไฟฟ้าแรงสูง และจานที่ติดตั้งควรเป็นจุดสะดวกต่อการเข้าถึงเพื่อซ่อมบำรุงแก้ไข
สำหรับสมาชิก >ฉลาดซื้อฉบับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้นำเสนอผลทดสอบกระเป๋าเดินทางล้อลาก ที่ทำจากวัสดุโพลีเอสเตอร์ไปแล้ว คราวนี้เรามาดูผลทดสอบกระเป๋าเดินทางชนิดที่เป็น “กล่องแข็ง” ที่วัสดุภายนอกทำจากโพลีโพรพิลีน โพลีคาร์บอเนต หรือ ABS กันดูบ้าง ประเด็นการทดสอบและเกณฑ์การทดสอบที่ใช้กับกระเป๋ากลุ่มนี้เหมือนกับกลุ่มที่เราเคยนำเสนอ โดยคราวนี้เรานำเสนอเรื่องความปลอดภัยไว้ด้วย องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) เขาลองทดสอบหาสารเคมีอันตรายในกลุ่ม PAH (Polycyclic aromatic hydrocarbons โพลีไซคลิก อโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน) และสารเคมีที่เป็นพลาสติไซเซอร์ จากส่วนที่เป็นหูหิ้ว และคันชักของกระเป๋าเหล่านี้ไว้ด้วย สารพวกนี้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและถ้าเราจับต้องมันบ่อยๆ ก็อาจจะซึมเข้าสู่ร่างกายเป็นสารก่อมะเร็งได้ กระเป๋าทั้ง 15 รุ่นนี้ ได้คะแนนรวมมากกว่า 65 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทั้งหมดขับเคลื่อน 4 ล้อ และมีคันชักที่ปลอดภัยจากสารเคมีอันตรายดังกล่าว แต่จะแตกต่างกันตรงหูหิ้วที่บางรุ่นยังตรวจพบสารเคมีเหล่านั้นในปริมาณค่อนข้างสูง Samsonite Aeris Comfort 86 คะแนน ราคา 8,500 บาท แข็งแรงทนทาน 5 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 5 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 5 วัสดุภายนอก โพลีโพรพิลีน น้ำหนัก 4,480 กรัม ขนาด 18.5x11x25 นิ้ว ความจุ 54 ลิตร Rimova Salsa Air 81 คะแนน ราคา 15,200 บาท แข็งแรงทนทาน 4 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 5 วัสดุภายนอก โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก 2,890 กรัม ขนาด 16.5x10x24.8 นิ้ว ความจุ 60.5 ลิตร Rimova Salsa Air 81 คะแนน ราคา 15,200 บาท แข็งแรงทนทาน 4 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 5 วัสดุภายนอก โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก 2,890 กรัม ขนาด 16.5x10x24.8 นิ้ว ความจุ 60.5 ลิตร Delsey Lite Gloss 78 คะแนน ราคา 7,500 บาท แข็งแรงทนทาน 5 ใช้งานสะดวก 3 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 3 วัสดุภายนอก โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก 4,100 กรัม ขนาด 17.3x11.4x23.2 นิ้ว ความจุ 57 ลิตร Samsonite Cubelite 78 คะแนน ราคา 15,700 บาท แข็งแรงทนทาน 4 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 3 วัสดุภายนอก โพลีโพรพิลีน น้ำหนัก 3,230 กรัม ขนาด 17.3x11x24 นิ้ว ความจุ 65.5 ลิตร Jump Dot-Drops customized 77 คะแนน ราคา 8,000 บาท แข็งแรงทนทาน 4 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 5 วัสดุภายนอก โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก 3,930 กรัม ขนาด 17.7x10.4x22.8 นิ้ว ความจุ 47 ลิตร Epic Jetstream 77 คะแนน ราคา 4,800 บาท แข็งแรงทนทาน 4 ใช้งานสะดวก 3 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 5 วัสดุภายนอก โพลีโพรพิลีน น้ำหนัก 4,170 กรัม ขนาด 17.7x11.4x23.6 นิ้ว ความจุ 56 ลิตร TravelOne Palma 73 คะแนน ราคา 8,000 บาท แข็งแรงทนทาน 4 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 1 วัสดุภายนอก เอ บี เอส / โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก 3,660 กรัม ขนาด 16.5x10x24 นิ้ว ความจุ 54.5 ลิตร Samsonite Cosmolite 72 คะแนน ราคา 14,800 บาท แข็งแรงทนทาน 3 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 5 วัสดุภายนอก โพลีโพรพิลีน น้ำหนัก 3,010 กรัม ขนาด 17.7x11.4x24.8 นิ้ว ความจุ 68 ลิตร Manor Maddison 70 คะแนน ราคา 10,000 บาท แข็งแรงทนทาน 3 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 5 วัสดุภายนอก เอ บี เอส / โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก 5,070 กรัม ขนาด 17.1x11.2x24.8 นิ้ว ความจุ 55.5 ลิตร Beverly Hills Polo Club 68 คะแนน ราคา 2,200 บาท แข็งแรงทนทาน 3 ใช้งานสะดวก 3 คุณภาพการผลิต 4 หูหิ้วปลอดสารเคมีอันตราย 5 วัสดุภายนอก โพลีคาร์บอเนต น้ำหนัก 3,810 กรัม ขนาด 17.5x11.6x24 นิ้ว ความจุ 64 ลิตร
สำหรับสมาชิก >เป็นที่รู้กันดีว่าการขี่จักรยานเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง แถมยังเป็นการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ติดอยู่ตรงที่หลายคนยังไม่มั่นใจว่าการใช้จักรยานสัญจรไปมาจะปลอดภัย มูลนิธิโลกสีเขียวมีผลสำรวจความคิดเห็นที่ยืนยันว่าร้อยละ 85 ของคนกรุงเทพฯ ที่ร่วมตอบแบบสอบถาม (ประมาณ 4,500 คน) ยินดีจะใช้จักรยานในการเดินทางถ้าพวกเขารู้สึกว่าสามารถขับขี่ได้โดยไม่มีอันตราย ระหว่างที่เรากำลังรอให้เกิดทางจักรยานที่ปลอดภัยและใช้สะดวกมากขึ้น ฉลาดซื้อ ขอนำเสนอผลการทดสอบหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยาน ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บเป็นหลัก ตามด้วยความสะดวกสบายในการสวมใส่ การระบายอากาศ และการปลอดสารเคมีอันตราย ด้วยเนื้อที่อันจำกัด เราจึงขอนำเสนอเฉพาะ 10 รุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุด (จากหมวกที่เข้าทดสอบทั้งหมด 25 รุ่น) และได้คะแนนประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บในระดับ 4 ดาว ต้องบอกไว้ตรงนี้ว่ายังไม่มีรุ่นไหนที่ได้คะแนน 5 ดาวไปเลย Casco Activ-TC ราคา 2,390 บาท น้ำหนัก 291 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 5 สวม/ถอด สะดวก 5 ระบายอากาศได้ดี 5 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 ผลิตในประเทศโรมาเนีย Specialized Align ราคา 1,500 บาท น้ำหนัก 336 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 5 สวม/ถอด สะดวก 4 ระบายอากาศได้ดี 5 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 ผลิตในประเทศจีน Specialized Echelon ราคา 2,500 บาท น้ำหนัก 293 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 5 สวม/ถอด สะดวก 4 ระบายอากาศได้ดี 4 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 ผลิตในประเทศจีน Giro Savant ราคา 3,000 บาท น้ำหนัก 240 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 5 สวม/ถอด สะดวก 4 ระบายอากาศได้ดี 4 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 ผลิตในประเทศจีน Profex FZ-006 ราคา 720 บาท น้ำหนัก 257 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 4 สวม/ถอด สะดวก 4 ระบายอากาศได้ดี 4 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 ผลิตในประเทศ - ไม่ระบุ Giro Transfer ราคา 1,500 บาท น้ำหนัก 261 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 4 สวม/ถอด สะดวก 4 ระบายอากาศได้ดี 4 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 ผลิตในประเทศจีน Cratoni Evolution ราคา 4,700 บาท น้ำหนัก 501 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 4 สวม/ถอด สะดวก 4 ระบายอากาศได้ดี 3 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 ผลิตในประเทศเยอรมนี Uvex Discovery ราคา 4,700 บาท น้ำหนัก 398 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 4 สวม/ถอด สะดวก 3 ระบายอากาศได้ดี 2 ปลอดสารเคมีอันตราย 3 ผลิตในประเทศเยอรมนี Casco E.Motion ราคา 5,500 บาท น้ำหนัก 464 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 3 สวม/ถอด สะดวก 3 ระบายอากาศได้ดี 2 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 ผลิตในประเทศโรมาเนีย BELL Muni ราคา 3,200 บาท น้ำหนัก 326 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ 4 สวมสบายไม่อึดอัด 2 สวม/ถอด สะดวก 3 ระบายอากาศได้ดี 4 ปลอดสารเคมีอันตราย 5 รุ่นอื่นๆ ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 3 ดาว Nutcase URS - 011S BELL Venture BELL Faction ABUS ASA Aven-U Etto B-1350 City Safe Uvex xp 17 city ALPINA City Giro Surface GUB GUBX5 ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 2 ดาว Rudy Project Snuggy ABUS HS-17 Urbanaut Limar 525 KED Sky Two ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 1 ดาว MET Cameleonte Executive --- ฉลาดซื้อแนะ หมวกนิรภัยมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อแบบ “มือสอง” มาใช้ อย่าลืมตรวจเช็คว่ามีรอยบุบหรือไม่ (เพื่อจะได้มั่นใจว่ามันยังไม่ผ่านการชนหรือกระแทกมาแล้ว) ที่สำคัญวัสดุต่างๆที่ใช้ทำตัวหมวกก็มีอายุจำกัด ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงหมวกที่ผลิตมาแล้วเกิน 5 ปี เมื่อมีหมวกแล้วก็ต้องรู้จักวิธีสวมใส่ที่ถูกต้องด้วย ใส่แบบไหนแล้วเท่เราตอบไม่ได้ แต่ถ้าจะใส่ให้ปลอดภัย หมวกของคุณจะต้องอยู่ในแนวระนาบเท่านั้น สำคัญอย่างยิ่ง คือการสวมใส่หมวกนิรภัยเสมอเมื่อคุณขับขี่จักรยาน เพราะอุบัติเหตุไม่เลือกเวลาหรือระยะทางอยู่แล้ว แต่หมวกนิรภัยเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยให้กับเราได้ เรายังต้องการทางจักรยานที่สะดวกและปลอดภัย เพื่อประสบการณ์การขับขี่ที่สุนทรีย์ด้วย ---- จากใจคนรักจักรยาน กรุงเทพฯ อาจจะยังห่างไกลจากการเป็น “เมืองจักรยาน” แต่มีคนอย่างน้อยกลุ่มหนึ่งที่นิยมชมชอบการขี่จักรยานทั้งเพื่อเดินทางมาทำงานและเพื่อเป็นกิจกรรมผ่อนคลายในวันหยุด เรามารู้จักกับนักปั่น 3 คน จากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำงานรณรงค์เพื่อให้เกิดระบบกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในบ้านเรา มาดูกันว่าแต่ละคนมีประสบการณ์ ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขับขี่จักรยานอย่างไรกันบ้าง สุรชัย ตรงงาม ผู้อำนวยการโครงการฯ สุรชัยให้ความเห็นว่า แม้กรุงเทพฯ จะมี “ทางจักรยาน” แต่จากการใช้เส้นทางจริงนั้นพบว่ายังไม่สามารถใช้ได้สะดวก ทางจักรยานซ้อนทับทางเท้า ทางจักรยานไปจบตรงบันไดขึ้นสะพานลอยก็มี ทางไม่มีการปรับให้เรียบ มีแต่เพียงเส้นขีดไว้เท่านั้น เขามองว่า “ทางจักรยาน” ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถใช้ได้สะดวก บางครั้งทางไปจบตรงบันไดขึ้นสะพานลอยเสียดื้อๆ บางช่วงก็ซ้อนทับทางเท้า พื้นผิวทางโดยรวมก็ไม่มีการปรับให้เรียบ บ่อยครั้งไม่มีทางลาดช่วยในการเปลี่ยนระดับ (ทำให้ผู้ขับขี่ต้องจอดและยกรถจักรยาน) แถมบางพื้นที่ยังกลายเป็นแผงขายของไปอีกด้วย และที่เป็นเรื่องท้าทายสุดๆ สำหรับนักปั่น ตามความเห็นของเขาคือ ฝาท่อระบายน้ำที่บ้างก็วางในแนวขวาง บ้างก็วางในแนวขนานไปกับถนน เรียกว่าเผลอไม่ได้เลยทีเดียว สุรชัยซึ่งใช้จักรยานในการสัญจรมาตั้งแต่ปี 2548 เคยประสบอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ในวันที่คิดว่าออกไปไม่ไกลบ้าน จึงไม่ได้สวมหมวกนิรภัย แต่จักรยานล้มในช่วงที่กำลังเข้าโค้งหน้าปากซอย ผลคือคิ้วแตกและโหนกแก้มยุบ ทำให้ต้องหยุดงานไปประมาณ 4 เดือน แถมเสียค่ารักษาพยาบาลไปไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท เขาจึงอยากจะย้ำว่าหมวกนิรภัยนั้นเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย สุภาภรณ์ มาลัยลอย เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ สุภาภรณ์ค้นพบว่า การขี่จักรยานมาทำงานนั้นเป็นประสบการณ์ที่รื่นรมย์อย่างยิ่ง จะขัดใจอยู่บ้างก็ตรงป้ายโฆษณาที่วางระเกะระกะบนทางจักรยาน และบางช่วงของทางที่ไม่เอื้อต่อการผ่านไปของจักรยานนี่แหละ เธอปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร จากบ้านในซอยลาดพร้าว 62 มายังสำนักงานในซอยรามคำแหง 39 เจ้าตัวยืนยันว่ามันสะดวกอย่างยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้าซึ่งรถติดมากๆ เธอก็ยังสามารถมาถึงสำนักงานได้ภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ที่สำคัญประหยัดค่าเดินทางไปวันละ 66 บาท แม้จะต้องจ่ายค่าซ่อมเกียร์ เติมลม ปะยางบ้าง ก็ยังถือว่าคุ้ม สำหรับเธอ แม้ทางจักรยานจะยังไม่สมบูรณ์แบบตามมาตรฐานสากล แต่การได้ขี่จักรยานเองก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยกว่าการนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์อยู่ดี สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายความ รายนี้ขัดใจกับ “ทางจักรยาน” ในเส้นทางที่เขาใช้ประจำ จนต้องหลบลงไปปั่นบนพื้นถนนอยู่บ่อยครั้ง เขาอยากให้มีการนำแนวคิดการจัดพื้นที่ถนนให้สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างรถยนต์และจักรยาน เจ้าตัวบอกว่าอยากให้เหมือนกับถนนที่เจนีวา ที่แบ่งพื้นที่ถนนครึ่งเลนให้กับจักรยานไปเลย สงกรานต์บอกว่าความจริงแล้วเลนจักรยานบนถนนสีลมบ้านเราก็มี เพียงแต่ยังถูกใช้เป็นที่จอดรถอยู่ หลักๆ แล้วเขาเชื่อว่าจะมีคนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น ถ้ามีการออกแบบทางจักรยาน (ย้ำว่าต้องเป็น “ทางจักรยาน” ไม่ใช่การขีดเส้นเฉยๆ) โดยยึดหลักความปลอดภัย ความสะดวก และการเชื่อมต่อกับบริการสาธารณะ เช่นที่สำหรับจอดรถจักรยานที่สะดวกและปลอดภัยจากการโจรกรรมนั้นยังมีอยู่น้อยมาก ทำให้หลายคนไม่กล้าเสี่ยง สงกรานต์ลงทุนซื้อจักรยานไป 4,500 บาท ใช้ปั่นมาทำงานทุกวัน เขายืนยันว่าไม่เกิน 5 เดือนก็คืนทุน แต่ทั้งนี้ใครอยากจะสร้างเสริมประสบการณ์การขับขี่ของตนเองด้วยการลงทุนเพิ่มก็ไม่ว่ากัน ทีมนี้เขายกตัวอย่างให้ฟังว่า ถ้าเราอยากให้จักรยานเบาลง 1 กิโลกรัม เราก็จะต้องใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท เพื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนจากเหล็กเป็นไทเทเนียม เป็นต้น เอาเป็นว่าถูกก็ได้ แพงก็ดี ลองพิจารณาหาจักรยานมาปั่นกันดู จะไปตลาด ไปทำงาน หรือไปส่งลูกที่โรงเรียนก็ตามแต่ใจ แต่อย่าลืมใส่หมวกนิรภัยด้วยแล้วกัน
อ่านเพิ่มเติม >ถ้าคุณจะต้องออกจากบ้านไปไกลๆ ไม่ว่าจะเพื่อท่องเที่ยวหาประสบการณ์ หรือไปเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ อุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้คือ “กระเป๋า” ที่คุณจะใส่เสื้อผ้าหรือของใช้จำเป็น เผื่อว่าคุณกำลังมองหากระเป๋าเดินทางแบบล้อลาก ฉลาดซื้อฉบับนี้เรามีผลทดสอบจากองค์กรทดสอบระหว่างประเทศที่เขาทำไว้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มาฝากกัน กระเป๋าล้อลากเหล่านี้ทำจากวัสดุที่เป็นโพลีเอสเตอร์เป็นหลัก ความจุตั้งแต่ 48.5 ลิตร – 109 ลิตร มีทั้งแบบที่ขับเคลื่อน (ด้วยแรงคุณ) 2 ล้อ และ 4 ล้อ เราเลือกนำเสนอเฉพาะรุ่นที่ได้คะแนนรวม 60 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100) ขึ้นไปเท่านั้น กระเป๋าเหล่านี้มีราคาตั้งแต่ 1,460 – 10,900 บาท (เป็นการคำนวณจากราคาที่ทางห้องทดสอบแจ้งมาเป็นหน่วยยูโร) กระเป๋าเดินทางสองรุ่นที่ได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Delsey Xpert Lite 65 cm ราคา 8,700 บาท และ Samsonite B-Lite ราคา 7,250 ส่วนคะแนนของรุ่นอื่นๆ (ที่ราคาถูกกว่านั้น) ติดตามได้ในหน้าถัดไป ทั้งนี้เรานำเสนอผลการทดสอบแยกเป็น ความแข็งแรงทนทาน ทั้งของตัวกระเป๋า หูหิ้ว คันชัก และล้อ ในประเด็นต่อไปนี้ การกดทับด้วยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม การลากจูงบนสายพาน เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร การเสียดสี (ตัดผ้าด้านนอกออกไปทดสอบ) รวมถึงการป้องกันน้ำเข้าตัวกระเป๋า ด้วยการวางกระเป๋าในแนวตั้ง และแนวนอนตากฝนเป็นเวลา 10 นาที เป็นต้น ความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งอาสาสมัครจะทดลองใช้กระเป๋าตั้งแต่ขั้นตอนการบรรจุเสื้อผ้าและลากกระเป๋าดังกล่าวเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ผ่านสภาพพื้นผิวทั้งเรียบ และขรุขระ รวมถึงขึ้นบันไดด้วย หมายเหตุ: อีก 6 รุ่นที่ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 60 ได้แก่ K-Classic Trolley / Titan GmbH L 7.0 / Lancel Partance / Travelite Flair / Carrefour Valise charriot classique / Polo Pierre Riche และ Migros Eva Trolley active Delsey Xpert Lite 65 cm 81 คะแนน ราคา 8,700 บาท แข็งแรงทนทาน 5 ใช้งานสะดวก 3.5 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 3,990 กรัม ขนาด 435*325*565 มิลลิเมตร ความจุ 57 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 50 มิลลิเมตร Samsonite B-Lite 80 คะแนน ราคา 7,250 บาท แข็งแรงทนทาน 4.5 ใช้งานสะดวก 3.5 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 3,420 กรัม ขนาด 440*275*570 มิลลิเมตร ความจุ 67.5 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 50 มิลลิเมตร Samsonite Cordoba Duo 78 คะแนน ราคา 6,400 บาท แข็งแรงทนทาน 4 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 3,190 กรัม ขนาด 440*285*635 มิลลิเมตร ความจุ 61.5 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 70 มิลลิเมตร Stratic Apollo II 67 คะแนน ราคา 6,000 บาท แข็งแรงทนทาน 3 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 3,610 กรัม ขนาด 485*340*675 มิลลิเมตร ความจุ 83.5 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 50 มิลลิเมตร TravelPro Trolley 66 คะแนน ราคา 4,000 บาท แข็งแรงทนทาน 2 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 5,160 กรัม ขนาด 515*340*740 มิลลิเมตร ความจุ 109 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 72 มิลลิเมตร Valigeria Roncato S.p.A. Gate 65 คะแนน ราคา 5,590 บาท แข็งแรงทนทาน 3 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 3,260 กรัม ขนาด 410*280*605 มิลลิเมตร ความจุ 62 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 50 มิลลิเมตร Tchibo Trolley 65 คะแนน ราคา 3,200 บาท แข็งแรงทนทาน 3 ใช้งานสะดวก 3.5 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 5,140 กรัม ขนาด 505*295*690 มิลลิเมตร ความจุ 71 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 82 มิลลิเมตร Gladiator Source Mod. 34 64 คะแนน ราคา 3,485 บาท แข็งแรงทนทาน 3 ใช้งานสะดวก 3.5 คุณภาพการผลิต 3 น้ำหนัก 4,800 กรัม ขนาด 420*320*610 มิลลิเมตร ความจุ 63 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 49 มิลลิเมตร Valigeria Roncato S.p.A. RV Runner 63 คะแนน ราคา 2,790 บาท แข็งแรงทนทาน 3 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 3,750 กรัม ขนาด 410*270*595 มิลลิเมตร ความจุ 50.5 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 70 มิลลิเมตร Eminent Trolley Minsk 63 คะแนน ราคา 3,600 บาท แข็งแรงทนทาน 2 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 4,430 กรัม ขนาด 490*330*710 มิลลิเมตร ความจุ 101 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 76 มิลลิเมตร Delsey Xpert Lite 63 คะแนน ราคา 10,900 บาท แข็งแรงทนทาน 2 ใช้งานสะดวก 3.5 คุณภาพการผลิต 4 น้ำหนัก 4,440 กรัม ขนาด 470*350*685 มิลลิเมตร ความจุ 96 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 50 มิลลิเมตร Top Move 61 คะแนน ราคา 2,400 บาท แข็งแรงทนทาน 2 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 3 น้ำหนัก 4,490 กรัม ขนาด 470*305*735 มิลลิเมตร ความจุ 84 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 68 มิลลิเมตร Visa/Delsey New PinUp 61 คะแนน ราคา 3,570 บาท แข็งแรงทนทาน 2 ใช้งานสะดวก 4 คุณภาพการผลิต 3 น้ำหนัก 4,010 กรัม ขนาด 415*290*630 มิลลิเมตร ความจุ 62 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 68 มิลลิเมตร Caminatta Birdie 61 คะแนน ราคา 4,000 บาท แข็งแรงทนทาน 2 ใช้งานสะดวก 3.5 คุณภาพการผลิต 3 น้ำหนัก 4,980 กรัม ขนาด 430*285*625 มิลลิเมตร ความจุ 57 ลิตร เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ 49 มิลลิเมตร ฉลาดซื้อแนะ - มองหากระเป๋าทรงสี่เหลี่ยมเข้าไว้ มันอาจดูน่าเบื่อ แต่เชื่อเถอะว่ามันจุที่สุดเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่นในขนาดเดียวกัน - เลือกที่ความจุไม่เกิน 20 กิโลกรัม เพราะคุณไม่ควรจะต้องหิ้วกระเป๋าเดินทางที่หนักเกินไป ลืมไปเลยเจ้ากระเป๋าที่หนักคุณท้อแท้ตั้งแต่ยังไม่ได้บรรจุสัมภาระ แม้คุณจะเป็นผู้โดยสารชั้นหนึ่งซึ่งได้โควตาน้ำหนัก 40 กิโลกรัมก็ใช่ว่าคุณจะสามารถถือมันไหว - ลงทุนกับกระเป๋าคุณภาพดีเสียเถิด จะได้ไม่ต้องซื้อกันบ่อยๆ กระเป๋าเราต้องผ่านการผจญภัยมากมาย ถ้าชำรุดระหว่างทางเดี๋ยวจะอารมณ์เสียกันเปล่าๆ มีงานวิจัยที่ระบุว่า อย่างน้อยๆ กระเป๋าเดินทางของคุณก็จะต้องถูกยกวาง (...หรือเหวี่ยง ในบางสถานการณ์) ประมาณ 10 ครั้ง ต่อการเดินทางโดยเครื่องบินหนึ่งเที่ยว - กระเป๋าดีมีชัยไปกว่าครึ่ง อีกครึ่งที่เหลือคือศิลปะในการจัดกระเป๋าและวิจารณญาณในการเลือกข้าวของที่จะนำไป สูตรใครก็สูตรใครนะท่านผู้ชม... - อย่าลืมว่ากระเป๋าไหนๆ ก็ป้องกันคุณจากอาการปวดหลังปวดเอวไม่ได้ ถ้าคุณไม่ยกให้ถูกวิธี ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คุณยืนด้านข้างตัวกระเป๋า ย่อเข่าลงไป แล้วยกกระเป๋าขึ้นมา เมื่อยกขึ้นมาแล้วก็เดินไปตรงๆ อย่าได้หันรีหันขวางเด็ดขาด ได้เคล็ดกันแน่ ---- เรามีสถิติที่น่าสนใจมาฝาก ... เมื่อกระเป๋าต้องบินเดี่ยว ในปี 2554 ทั่วโลก มีผู้เดินทางโดยเครื่องบิน 2,870 ล้านคน และมี “กระเป๋าดวงตก” ทั้งหมด 25.8 ล้านใบ (ลดลงไปร้อยละ 20 จากปีก่อนหน้า) ในบรรดากระเป๋าเหล่านั้น ... ร้อยละ 85.6 มาช้า ร้อยละ 11.9 มาไม่เหมือนเดิม ร้อยละ 2.5 ไม่มาเลย สาเหตุที่มาช้านั้น เกินกว่าร้อยละ 50 เป็นเพราะความผิดพลาดระหว่างการต่อเที่ยวบิน สาเหตุรองลงมาได้แก่ การที่กระเป๋าไม่ได้ถูกโหลดขึ้นเครื่องแต่แรก แต่ไม่ต้องวิตกจนเกินไป เขาบอกว่า ในจำนวนผู้โดยสาร 1,000 คน จะมีกระเป๋าโชคร้ายประมาณ 9 ใบ เท่านั้น (ลดลงจาก 12 ใบ ในปี 2553) ข้อมูลจากรายงาน Baggage Report 2012 โดย SITA ท่องโลกทั้งใบ ถือกระเป๋า (เล็ก) ใบเดียว? การพกพาเพียงกระเป๋าใบเดียวเวลาที่คุณเดินทางไกลนั้น มีข้อดีอยู่หลายประการ ปลอดภัย โอกาสในการทำกระเป๋าหายจะน้อยลง เพราะคุณไม่ต้องโหลดกระเป๋าไปใต้ท้องเครื่อง (ไม่ว่าจะเครื่องโบอิ้งหรือเครื่องวอลโว่) และโอกาสที่คุณจะถูกตำรวจจับเพราะมีมือดีแอบเอายาเสพติดมาใส่ในกระเป๋าของคุณในระหว่างนั้นก็จะน้อยลงด้วย ประหยัด ถ้าขึ้นรถทัวร์ รถไฟก็ไม่เท่าไร แต่ถ้าคุณเดินทางด้วยเครื่องบินต้องคิดมาหน่อย เพราะเขาจำกัดน้ำหนักสัมภาระที่ผู้โดยสารแต่ละคนจะนำมาเช็คอิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายการบินราคาประหยัดที่มักจะให้โควตาน้ำหนักค่อนข้างน้อย ถ้าคุณต้องการมากกว่านั้นก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม ไหนจะมีห่วงกลัวกระเป๋าที่ซื้อมาแพงเป็นริ้วรอย เลยต้องใช้บริการฟิล์มพลาสติกหุ้มกระเป๋า เปลืองเงินเพิ่มอีก นอกจากนี้คุณยังไม่ต้องจ่าย “ทิป” ให้กับคนที่มาช่วยยกกระเป๋าให้ (ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือคนที่อยู่ดีๆ ก็ตีขลุมว่าคุณต้องการความช่วยเหลือแล้วเรียกเก็บเงินจากคุณ) ที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อเราถือสัมภาระมาน้อย เราก็สามารถโดยสารรถสาธารณะจากสนามบิน สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งได้เลย (หลายคนคงมีประสบการณ์จ่ายค่าแท็กซี่แพงกว่าค่ารถโดยสารมาแล้ว) คล่องตัว เมื่อถึงที่หมายแล้วคุณสามารถเริ่มการเดินทางขั้นต่อไปได้ทันที ไม่ต้องรอเด็กรถยกกระเป๋าลงให้ หรือไม่ต้องยืนรอดักจับกระเป๋าเราจากสายพาน อาจจะแวะหาอะไรรับประทานในร้านข้างทางก่อน หรือเดินดูอะไรไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องมุ่งตรงเข้าที่พักเลยก็ได้ ในกรณีที่ไม่ได้จองที่พักไว้ล่วงหน้า ก็เดินหรือนั่งรถหาไปเรื่อยๆ ได้อีก รักษ์โลก แน่นอนอยู่แล้ว มันเป็นผลพลอยได้จากข้อดีข้างต้น นอกจากนี้ยังดีต่อตัวคุณเองด้วย เพราะแม้กระเป๋าจะมีล้อ แต่มันก็ต้องมีบ้างที่คุณต้องยกหรือถือกระเป๋าด้วยกล้ามเนื้อของตัวคุณเองบ้าง
สำหรับสมาชิก >เหตุผลที่รัฐบาลไม่ควรกลับมาใช้นโยบาย “30บาท รักษาทุกโรค” จากกระแสข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับปัญหาของสถานพยาบาลที่อยู่ในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มักประสบกับภาวะขาดทุนเป็นประจำ เพราะมีคนมาใช้บริการมากขึ้น จึงเป็นข้ออ้างที่ทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ต้องนำนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” กลับมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อลดปัญหาการขาดทุนของสถานพยาบาล และต้องการให้ประชาชนใช้บริการสุขภาพเท่าที่จำเป็น แต่ในมุมของกลุ่มที่เห็นต่างมองว่า การให้ประชาชนต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับระบบสาธารณสุขไทย รัฐบาลจึงไม่ควรกลับมาใช้นโยบาย30 บาทรักษาทุกโรค ด้วยเหตุผลดังนี้… เป็นการผลักภาระให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องรับผิดชอบเพียงระบบเดียว รายได้หลักของสถานพยาบาลของรัฐ มาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งทั้ง 2 กองทุนนี้เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นทุกปี และกองทุนที่ได้จากประกันสังคมอีกเล็กน้อย เพื่อนำไปใช้จ่ายในส่วนของค่ายา วัสดุทางการแพทย์ เงินเดือนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ายา ค่าวัสดุทางการแพทย์ และเงินเดือนที่จ่ายประจำเดือนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ จะเติบโตในระดับคงที่ ในขณะที่ค่าตอบแทน ซึ่งหมายถึงค่าล่วงเวลา ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าตอบแทนอื่นๆที่ไม่ใช่เงินเดือน เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553 โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป มีต้นทุนที่เป็นค่าตอบแทน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 30 – 40 ส่วนต้นทุนที่เป็นเงินเดือน และค่ายา เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 – 2 เท่านั้น โดยต้นทุนค่าตอบแทนนั้นเกิดจากการให้บริการแก่ผู้ป่วยในทุกระบบประกันสุขภาพ หากกระทรวงสาธารณสุขต้องการเพิ่มรายได้ให้กับสถานพยาบาล ก็ต้องพิจารณาดูว่าสถานพยาบาลแต่ละแห่ง ไม่ได้รักษาเฉพาะผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น แต่รวมถึงสิทธิประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการด้วย “ดังนั้น การผลักภาระให้ผู้ป่วยเฉพาะระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท เพียงระบบเดียว ดูจะไม่เป็นธรรมกับผู้รับบริการในระบบดังกล่าวเลย” จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่เพราะรักษาฟรี การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องนำปัจจัยอื่นๆ มาประเมินร่วมด้วย ทั้งการขยายชุดสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การจ่ายยาต้านไวรัสเอชไอวี ทั้งในสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง การรักษาผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การผ่าตัดต้อกระจก การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น จึงทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนประชาชนแทบจะไม่มีโอกาสเข้ารับการรักษาในกลุ่มโรคดังกล่าวเลย รวมถึงจากการศึกษาตัวเลขในเชิงระบาดวิทยา ที่อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ มะเร็ง ในระดับภาพรวมของประเทศ ตั้งแต่ปี 2544 – 2552 มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต และอาหารการกินที่เปลี่ยนไป จึงทำให้ประชาชนป่วยมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น แต่ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการ และผู้ประกันตนก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน จะไปสถานพยาบาลต้องคิดให้ดี ถึงรักษาฟรีแต่ก็มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องออกเอง ประชาชนที่ใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ รองรับเป็นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เป็นแรงงานนอกระบบ รับจ้างรายวัน ไม่มีรายได้ที่แน่นอน ซึ่งแตกต่างจากการรับราชการหรือการเป็นพนักงานในสถานประกอบการต่างๆ หากประชาชนที่มีรายได้แบบรายวัน จะเข้ารับบริการในสถานพยาบาลแต่ละครั้ง ก็ต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีสวัสดิการในการลาป่วย ไม่มีหลักประกันชดเชยเมื่อขาดรายได้ หากต้องหยุดงาน นั่นหมายถึงการสูญเสียรายได้ไปในทันที ในขณะที่รายจ่ายยังมีเหมือนเดิม หรืออาจจะมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าอาหาร ค่าที่พัก ฯลฯ ดังนั้น ในยุคที่คนต้องทำมาหากินหาเงินมาเลี้ยงปากท้อง การหยุดงานบ่อยๆ เพื่อเข้ารับการรักษาที่เกินความจำเป็น ดูจะไม่มีความสมเหตุสมผล อีกทั้งการให้ประชาชนร่วมจ่ายครั้งละ 30 บาท ก็ยังสร้างความไม่เป็นธรรมและสร้างภาระให้กับประชาชนอยู่ไม่น้อย เพราะข้าราชการก็มีระบบสวัสดิการจากรัฐดูแลค่ารักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ ระบบประกันสังคม ก็มีนายจ้าง ผู้ประกัน และรัฐร่วมกันจ่าย แต่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประชาชนที่ต้องจ่ายเงินครั้งละ 30 บาท เป็นเงินส่วนตัวที่ต้องควักออกจากกระเป๋าร้อยละ 100 ดังนั้น ผลกระทบที่มาจากการร่วมจ่ายก็จะตกอยู่กับประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อย แม้รัฐบาลจะมองว่า การจ่ายเงิน 30 บาท เน้นในกลุ่มที่มีกำลังจ่าย ส่วนคนที่ไม่มีเงินก็ให้รักษาฟรี เพียงแต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจนจริงๆ ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ดูถูกดูแคลนในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างยิ่ง รายได้จากการเก็บ 30 บาท เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่รัฐต้องจัดสรร เมื่อปี 2546 รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บค่ารักษาพยาบาลครั้งละ 30 บาท รวมทั้งหมด 1,073 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมดที่รัฐต้องจัดสรรเข้าระบบ การยกเลิกเก็บ 30 บาท จึงไม่ส่งผลให้สถานพยาบาลได้รับผลกระทบมากนัก และยังลดภาระงานให้กับโรงพยาบาลในการจัดเก็บข้อมูลลงบัญชีอีกด้วย และหากใช้ข้อมูลปี 2552 ซึ่งมีผู้มารับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 163 ล้านครั้ง คิดเป็นจำนวนครั้งที่คาดว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 30 บาททั้งสิ้นประมาณ 65 ล้านครั้ง คาดว่าจะเก็บค่าธรรมเนียมได้ประมาณ 1,900 ล้านบาท จะพบว่ารายได้จากการจ่ายร่วมเป็นมูลค่าที่น้อยนิดเพียงร้อยละ 1.75 ของงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่ต้องการทั้งหมดในปีงบประมาณ 2552 ดังนั้นการร่วมจ่ายจึงไม่ใช่แหล่งทุนหลักที่จะใช้ในการแก้ปัญหาการเงินของโรงพยาบาลเลย ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ใช่จำเลยที่ทำให้ระบบสาธารณสุขต้องล้มละลาย ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีการตั้งงบเหมาจ่ายให้กับโรงพยาบาล เป็นระบบปลายปิด โดยค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยนอก จะเป็นงบเหมาจ่ายรายหัว โอนตรงให้กับโรงพยาบาลเต็มจำนวน ตามการดูแลประชากรในความรับผิดชอบ ส่วนงบผู้ป่วยใน จะจ่ายตามน้ำหนักสัมพัทธ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม หรือระบบดีอาร์จี (DRG) ซึ่งเป็นการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลในราคาที่ตกลงล่วงหน้า โดยประเมินราคาบนต้นทุนของการรักษาที่มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งจะจ่ายให้โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในต่อครั้ง ทำให้โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ขณะเดียวกันรัฐก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ และยังทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงมากขึ้น ส่วนระบบสวัสดิการข้าราชการ เป็นระบบปลายเปิด ที่รัฐต้องจ่ายค่าบริการตามรายการและอัตราที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ และรัฐเองยังไม่มีกลไกในการตรวจสอบการจ่ายเงินที่ให้แต่ละสถานพยาบาล ทำให้สถานพยาบาลไม่ประหยัดค่าใช้จ่าย และยังเป็นช่องว่างในการแสวงหาผลกำไรเกินจำเป็น เช่น การจ่ายยา หรือเลือกใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่แพงเกินจำเป็น แต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงเป็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการล้มละลายสูง เพราะรัฐไม่สามารถควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้ หากรัฐบาลจะหันมาใช้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคอีกครั้ง นับเป็นการสร้างอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งที่เป็นบทบาทของรัฐในการจัดระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน เพราะคนที่มีกำลังในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้มาก ย่อมเข้าถึงการรักษาได้มากกว่าคนที่มีรายได้น้อย นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค จึงเป็นนโยบายที่... “สร้างความเหลื่อมล้ำ ลดความเป็นธรรม ให้กับระบบสาธารณสุขของไทยอย่างชัดเจน” อ้างอิงข้อมูลจาก “การพิจารณาความเหมาะสมในการใช้นโยบายเรียกเก็บเงิน 30 บาทต่อครั้ง ในการใช้บริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย(สวปก.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ผลการสำรวจค่าใช้จ่ายในการไปโรงพยาบาลของประชาชนภายใต้ระบบ UC กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ: ผู้ป่วยที่เคยไปรับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทอง ระยะเวลาที่ทำการสำรวจ: 10-15 กุมภาพันธ์ 2555 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 589 คน พบว่าเป็นเพศหญิง 390 คน (66.2%) เพศชาย 199 คน (33.8%) ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1 – 90 ปี มีอายุเฉลี่ย 51 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 40.4 และพบว่ามีถึงร้อยละ 8.3 เป็นผู้ว่างงาน อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ รับจ้างทั่วไป 238 40.4 ค้าขาย 160 27.2 ทำสวน 4 0.7 แม่บ้าน/พ่อบ้าน 53 9.0 ธุรกิจส่วนตัว 13 2.2 นักเรียน นักศึกษา 20 3.4 อสม. 3 0.5 พนักงานบริษัท 5 0.8 สูงอายุ 35 5.9 เด็ก 0-6 ปี 9 1.5 ว่างงาน 49 8.3 รายได้เฉลี่ยต่อวันอยู่ระหว่าง 0-2,000 บาท (ประกอบธุรกิจส่วนตัว) โดยมีรายได้เฉลี่ย 210 บาทต่อวัน ในการรับบริการสุขภาพครั้งล่าสุด ส่วนใหญ่ไปรับบริการที่โรงพยาบาล ร้อยละ 49.2 Frequency Percent ศูนย์บริการสาธารณสุข 170 28.9 คลินิก 129 21.9 โรงพยาบาล 290 49.2 Total 589 100.0 ในการรับบริการครั้งล่าสุดเป็นบริการแบบผู้ป่วยนอกถึง 538 ราย (ร้อยละ 91.3) Frequency Percent ผู้ป่วยนอก 538 91.3 ผู้ป่วยใน 51 8.7 Total 589 100.0 การเจ็บป่วยในกรณีผู้ป่วยนอกนั้นกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 55) เป็นผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังไปรับการรักษาต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 28.3 (81 ราย)ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 18.9 (54 ราย) และเป็นทั้งเบาหวานและความดันร้อยละ 17.1 (49 ราย) นอกจากนี้ยังมีผู้ติดเชื้อ HIV อีก 3 รายที่เข้ารับยาต้านไวรัส ความเจ็บป่วย จำนวน ร้อยละ โรคเรื้อรัง 286 55.0 มีไข้ ไอ 62 11.9 ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ 43 8.3 ปวดศีรษะ 20 3.8 โรคแผลในกระเพาะอาหาร 18 3.5 อุบัติเหตุ 15 2.9 โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ 12 2.3 ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ 11 2.1 ตรวจสุขภาพ 11 2.1 ทันตกรรม 9 1.7 ทำแผล 5 1.0 อื่นๆ 28 5.4 รวม 520 100.0 สำหรับความเจ็บป่วยในกรณีที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน 7 ราย (ร้อยละ 13.7) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 5 ราย (ร้อยละ 9.8) ผู้ป่วยที่มาคลอดบุตร 4 ราย (ร้อยละ 7.8) ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ 3 ราย ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง 3 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจ 3 ราย โรคมะเร็ง 2 ราย ตามลำดับ ความเจ็บป่วย จำนวน ร้อยละ เบาหวาน 9 17.6 ความดันโลหิตสูง 6 11.8 คลอดบุตร 4 7.8 ท้องเสีย 3 5.9 อุบัติเหตุ 3 5.9 หัวใจ 3 5.9 แผลในกระเพาะอาหาร 3 5.9 มะเร็ง 2 3.9 เข้ารับการผ่าตัด 2 3.9 อื่นๆ 16 31.4 Total 51 100 การเจ็บป่วยในครั้งล่าสุดนั้นต้องมีญาติหรือบุคคลอื่นพาไป 224 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0 ในการเดินทางไปใช้บริการครั้งล่าสุด ผู้ป่วยเดินทางด้วยรถ Taxi เป็นหลัก Frequency Percent เดิน 27 4.6 รถเมล์ 80 13.6 รถมอเตอร์ไซค์ 128 21.7 เหมารถ 22 3.7 รถยนต์ส่วนตัว 36 6.1 Taxi 280 47.6 รถประจำทางในหมู่บ้าน 16 2.7 Total 589 100.0 ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการในแต่ละครั้ง แบ่งตามลักษณะการเข้ารับการรักษา พบว่า ตารางที่ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่การรักษาพยาบาลและต้นทุนทางอ้อมในการเข้ารับบริการด้านสุขภาพของผู้ป่วย ค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ค่าเดินทาง 113 157 ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ 59 101 ค่าใช้จ่ายในการให้ผู้อื่นดูแลบ้านแทนตนเอง 2 5 ค่าขาดรายได้ในระยะเวลาที่เข้ารับบริการ 181 461 ในการรับบริการแบบผู้ป่วยนอกนั้น ผู้ป่วยร้อยละ 13.5 ต้องใช้เวลาในการเดินทางนับตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงกลับบ้าน เป็นเวลาทั้งวัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียรายได้จากการขาดงานในวันนั้น Frequency Percent ไม่เกิน 3 ชั่วโมง 270 50.2 ไม่เกิน 6 ชั่วโมง 196 36.3 1 วัน 73 13.5 ในการรับบริการแบบผู้ป่วยในนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 56.9 ต้องใช้เวลาในการเดินทางนับตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงกลับบ้าน มากกว่า 1 วัน โดยเฉลี่ยเวลาที่เสียไปจากการเข้าพักรักษาตัวแบบผู้ป่วยในอยู่ที่ 2.4 วัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียรายได้จากการขาดงานดังกล่าว Frequency Percent 1 วัน 22 43.1 มากกว่า 1 วัน 29 56.9 Total 51 100.0 ความคิดเห็นต่อการร่วมจ่าย 30 บาทนั้น ผู้ป่วยร้อยละ 67.8 ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเห็นว่าเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ป่วยและจะทำให้ผู้ที่ไม่มีเงินร่วมจ่ายเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล Frequency Percent เห็นด้วยเพราะโรงพยาบาลจะบริการดีขึ้น 142 24.1 เห็นด้วยเพราะจะได้ใช้บริการอย่างมีศักดิ์ศรี 47 8.0 ไม่เห็นด้วยเพราะเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย 362 61.5 ไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้ผู้ที่ไม่มีเงินร่วมจ่ายไม่ได้รับการรักษา 37 6.3 แบบใดก็ได้ 1 0.2 Total 589 100 ในกลุ่มผู้ป่วยที่เห็นด้วยกับการร่วมจ่าย 30 บาทนั้นส่วนใหญ่คิดว่าควรยกเว้นบางกลุ่ม เช่น ผู้ด้อยโอกาส เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ไม่ต้องร่วมจ่าย Frequency Percent ทุกคน 54 28.6 ยกเว้นบางกลุ่ม เช่นผู้ด้อยโอกาส เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ 135 71.4 189 100 ในกลุ่มผู้ป่วยที่เห็นด้วยกับการร่วมจ่าย 30 บาทส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.9) คาดหวังว่าจะได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ และมีการบริการที่ดีขึ้น Frequency Percent คุณภาพ 134 70.9 ศักดิ์ศรี 51 27.0 มีส่วนร่วม 2 1.1 ไม่คาดหวังอะไร 2 1.1 Total 189 91.2
สำหรับสมาชิก >ฉลาดซื้อ ฉบับนี้รีบชิงพาคุณเข้าโรงแรมก่อนใคร ... อย่าเพิ่งเข้าใจผิด ... เราจะพาคุณไปสำรวจระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของเครือโรงแรมระดับโลก ในการสำรวจครั้งนี้องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing (ICRT) ได้ส่งแบบสอบถามไปยังเครือโรงแรมทั้งหมด 10 แห่ง ได้แก่ เครือ ACCOR BARCELO CARLSON Worldwide HILTON IBEROSTAR INTERCONTINENTAL MARRIOTT RIU SOL MELÍA และ STARWOOD จากนั้นนำข้อมูลมาประมวลผลร่วมกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการลงพื้นที่ของทีมสำรวจ และให้คะแนนตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. นโยบายการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งรวมถึงระบบการจัดการเพื่อแสดงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ การปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศ การได้รับการรับรองจากองค์กรอิสระในเรื่องความยั่งยืน และการฝึกอบรมพนักงานในเรื่องดังกล่าวด้วย 2. การดูแลพนักงาน เช่น สภาพการทำงาน สิทธิแรงงาน เงินเดือน ชั่วโมงทำงาน นโยบายที่เป็นมิตรต่อพนักงานที่มีครอบครัวแล้ว โอกาสในการพัฒนาตนเอง ความมั่นคงในการจ้างงาน 3. ด้านเศรษฐกิจสังคม ได้แก่ นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีจริยธรรม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ สนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน นโยบายด้านผลกระทบต่อสังคม 4. การดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า รวมถึงการดูแลสระว่ายน้ำ การประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน การลดปริมาณขยะ ลดสารเคมีที่ใช้ในการซักผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอนฯลฯ รวมถึงการก่อสร้างที่ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมการปล่อยคาร์บอน 5. ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า เช่น มีทางลาดสำหรับผู้พิการ อุปกรณ์นำทางสำหรับผู้พิการทางสายตาและผู้พิการทางการได้ยิน เป็นต้น จัดอาหารเพื่อตอบสนองข้อจำกัดทางศาสนาหรือสุขภาพของลูกค้า และการให้ความรู้กับแขกที่มาพักเรื่องความยั่งยืน 6. การให้ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งวัดจากการให้ความร่วมมือในการสำรวจครั้งนี้ด้วยการตอบแบบสอบถาม ให้ผู้สำรวจได้เข้าไปสัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่และที่โรงแรมในคาริบเบียน ยุโรปใต้ และประเทศไทย รวมถึงการเผยแพร่รายงานเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม --------------------------------------------------------------------------------- น้ำหนักในการให้คะแนน การดูแลสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 25การดูแลพนักงาน ร้อยละ 20ด้านเศรษฐกิจสังคม ร้อยละ 20ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า ร้อยละ 15นโยบายการกำกับดูแลกิจการ ร้อยละ 10ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ร้อยละ 10 --------------------------------------------------------------------------------- เครือโรงแรมเหล่านี้อย่างน้อย 5 แห่ง มีโรงแรมที่ตั้งอยู่ในบ้านเราแล้ว เช่น โรงแรม Novotel Pullman Mercure Sofitel ibis และ all seasons ในเครือ ACCOR โรงแรม Sheraton Le Meridien Westin St.Regis และ Aloft ในเครือ STARWOODโรงแรม InterContinental Holiday Inn และ Crowne Plaza ในเครือ INTERCONTINENTAL โรงแรม Radisson และ Park Plaza ในเครือ CARLSON Worldwideโรงแรม Conrad และ Hilton ในเครือ HILTON เป็นต้น --------------------------------------------------------------------------------- อันดับ 1 โรงแรมในเครือ Accor คะแนนรวม 4จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 3,800 แห่ง ใน 90 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 4การดูแลพนักงาน 4ด้านเศรษฐกิจสังคม 4การดูแลสิ่งแวดล้อม 5ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 4 ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 5 อันดับ 2 โรงแรมในเครือ Sol Melia คะแนนรวม 4จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 350 แห่ง ใน 35 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 3การดูแลพนักงาน 4ด้านเศรษฐกิจสังคม 4การดูแลสิ่งแวดล้อม 4ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 3ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 5 อันดับ 3 โรงแรมในเครือ Marriott คะแนนรวม 4จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 3,600 แห่ง ใน 71 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 3การดูแลพนักงาน 4ด้านเศรษฐกิจสังคม 4การดูแลสิ่งแวดล้อม 4ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 3 ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 5 อันดับ 4 โรงแรมในเครือ Carlson Worldwide คะแนนรวม 4จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 1,070 แห่ง ใน 80 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 3การดูแลพนักงาน 4ด้านเศรษฐกิจสังคม 4การดูแลสิ่งแวดล้อม 4ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 3ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 4 อันดับ 5 โรงแรมในเครือ InterContinental คะแนนรวม 4จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 4,150 แห่ง ใน 100 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 3การดูแลพนักงาน 5ด้านเศรษฐกิจสังคม 4การดูแลสิ่งแวดล้อม 3ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 2ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 5 อันดับ 6 โรงแรมในเครือ Starwood คะแนนรวม 4จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 1,041 แห่ง ใน 100 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 3การดูแลพนักงาน 4ด้านเศรษฐกิจสังคม 3การดูแลสิ่งแวดล้อม 5ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 2ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 4 อันดับ 7 โรงแรมในเครือ Barcelo คะแนนรวม 3จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 186 แห่ง ใน 17 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 3การดูแลพนักงาน 3ด้านเศรษฐกิจสังคม 3การดูแลสิ่งแวดล้อม 3ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 3ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 5 อันดับ 8 โรงแรมในเครือ Hilton คะแนนรวม 3จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 540 แห่ง ใน 78 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 3การดูแลพนักงาน 2ด้านเศรษฐกิจสังคม 2การดูแลสิ่งแวดล้อม 3ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 2ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 4 อันดับ 9 โรงแรมในเครือ Iberostar คะแนนรวม 2จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 100 แห่ง ใน 16 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 1การดูแลพนักงาน 1ด้านเศรษฐกิจสังคม 2การดูแลสิ่งแวดล้อม 2ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 2ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 4 อันดับ 10 โรงแรมในเครือ Riu คะแนนรวม 1จำนวนโรงแรม/ที่พักทั้งหมด 100 แห่ง ใน 15 ประเทศนโยบายการกำกับดูแลกิจการ 1การดูแลพนักงาน 1ด้านเศรษฐกิจสังคม 1การดูแลสิ่งแวดล้อม 1ความเอาใจใส่ต่อลูกค้า 1ข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 1
สำหรับสมาชิก >ฉลาดซื้อฉบับนี้เอาใจคนที่ต้องนอนนอกบ้าน (ทั้งโดยสมัครใจและไม่สมัครใจ) ด้วยการนำเสนอผลทดสอบถุงนอนกันบ้าง เป็นการทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้และใช้ตัวอย่างถุงนอนที่มีจำหน่ายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ซึ่งบรรดานักท่องเที่ยวแนวผจญภัยบ้านเราน่าจะรู้จักกันดี ยิ่งตอนนี้การหนีน้ำไปสู้หนาวก็กำลังเป็นที่นิยม ถ้ามีถุงนอนประจำตัวไว้สักถุงก็จะทำให้เราหลับได้อุ่นสบายขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้ไปเที่ยวไหน แต่อยากมีติดบ้านไว้เพื่อเตรียมพร้อมอพยพก็ไม่ว่ากัน การทดสอบถุงนอนครั้งนี้ทำไว้เป็นสองขั้นตอนคือ การทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งผู้ทดสอบได้แก่ หุ่นทดสอบชื่อ “คาเรล” ที่ค่อนข้างจะขี้เซาพอสมควร เจ้า “คาเรล” นอนครั้งละ 3 วัน ในถุงนอนที่อยู่ในห้องจำลองสภาพอากาศ และมันต้องนอนทั้งหมด 3 ครั้งจึงจะได้ข้อสรุปออกมา ส่วนการทดสอบภาคสนามนั้น เขาใช้อาสาสมัคร 4 คน (ชายและหญิงอย่างละ 2 คน) ที่นอนในถุงนอน ในเต็นท์ เป็นเวลา 1 คืน (ที่อุณหภูมิ 5°C +/- 3°C) สิ่งที่เขาทดสอบในครั้งนี้ได้แก่ คุณสมบัติทั่วไปของถุงนอน (ขนาด น้ำหนัก ความจุ เส้นใย วัสดุที่ใช้ และความสะดวกในการเก็บและพกพา) ประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งในที่นี้คือการรักษาอุณหภูมิและป้องกันความชื้น รวมถึงความทนทาน ซึ่งได้แก่ ความทนทานต่อการซัก การเสียดสี และการลุกไหม้ (ทั้งจากเปลวไฟและบุหรี่) ไปจนถึงความแน่นหนาของตะเข็บด้วย ---การให้น้ำหนักของคะแนนเป็นดังนี้ประสิทธิภาพการใช้งาน ร้อยละ 50คุณสมบัติทั่วไป ร้อยละ 35ความทนทาน ร้อยละ 15--- • หมายเหตุ ราคาที่แสดงเป็นราคาโดยประมาณที่แปลงจากหน่วยเงินยูโร กรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ McKinley X-Treme Light 1100 5ราคา 4,400 บาทน้ำหนัก 1.14 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 6 – 14 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 5คุณสมบัติทั่วไป 5ความทนทาน 4 Haglöfs Zensor 1S 5 ราคา 5,700 บาทน้ำหนัก 1.12 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 6 – 14 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 5คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 4 Bergans Rondane 3-Seasons 4ราคา 4,900 บาทน้ำหนัก 2.02 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 5คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 4 Haglöfs Slumber 1S 4ราคา 3,700 บาทน้ำหนัก 1.39 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 5 – 13 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 4คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 4 Mountain Hardware Lamina 35 Regular 4ราคา 5,500 บาทน้ำหนัก 1.19 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 4 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 4คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 5 Millet Baikal 1000 4ราคา 4,000 บาทน้ำหนัก 1.14 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 4 – 13 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 4คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 4 Coleman Latitude X830 L 4ราคา 3,300 บาทน้ำหนัก 1.47 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 4 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 4คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 3Hannah FALL 4ราคา 3,100 บาทน้ำหนัก 1.91 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 5คุณสมบัติทั่วไป 3ความทนทาน 3 Mountain Equipment Starlight 1 4ราคา 4,400 บาทน้ำหนัก 1.38 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 6 – 14 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 4คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 2 Jysk MARS Open Air 4ราคา 2,700 บาทน้ำหนัก 2.15 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 11 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 4คุณสมบัติทั่วไป 2ความทนทาน 4 Helsport Alta LT 3ราคา 5,300 บาทน้ำหนัก 1.67 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 3คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 3 HUSKY Mantilla 3ราคา 2,500 บาทน้ำหนัก 1.77 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 5 – 13 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 4คุณสมบัติทั่วไป 2ความทนทาน 3 Deuter Travel Lite 3ราคา 3,300 บาทน้ำหนัก 1.35 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 6 – 14 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 2คุณสมบัติทั่วไป 4ความทนทาน 4 Everest Classic SR 3ราคา 2,200 บาทน้ำหนัก 1.82 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 1 – 10 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 3คุณสมบัติทั่วไป 3ความทนทาน 3 Halti Ultra 12 M (F/L) 2ราคา 4,500 บาทน้ำหนัก 1.64 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน 2คุณสมบัติทั่วไป 3ความทนทาน 4
สำหรับสมาชิก >ช่วงน้ำท่วมหนักๆ เราได้รับข่าวสารจาก สคบ. ว่าได้ขอความร่วมมือกับหน่วยงาน 5 แห่ง ได้แก่ สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย สมาคมอู่กลางแห่งประเทศไทย สมาคมนายหน้าประกันวินาศภัย สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน การไฟฟ้านครหลวง เพื่อหามาตรการช่วยเหลือผู้บริโภค ฉลาดซื้อจึงสอบถามเพิ่มเติมในกรณีช่วยเหลือผู้บริโภคที่ประสบอุทกภัยกรณีการเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคไว้ดูแลตนเองหลังน้ำท่วม มาตรการน้ำท่วมของสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย มาตรการน้ำท่วม 7 ข้อ สำหรับผู้ประสบภัยและมีปัญหาเกี่ยวกับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เพื่อจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อได้อย่างเหมาะสม มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ 1. ให้มีการยกเว้นค่าติดตามทวงถามและเบี้ยปรับล่าช้าสำหรับลูกค้าที่ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงระยะเวลาที่เกิดภาวะน้ำท่วม 2. มีแนวทางการพักชำระค่างวดเช่าซื้อ สำหรับลูกหนี้ปกติที่ประสบภัยน้ำท่วม 3. ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ขยายเวลาการผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อ ทั้งนี้แต่ละสถาบันจะพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าต่อไป 4. ในส่วนของผู้เช่าซื้อเพื่อการพาณิชย์หรือเช่าซื้อรถยนต์หลายคัน (Fleet Finance) จะพิจารณาช่วยเหลือตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า 5. ให้มีมาตรการหยุดการทวงถามสำหรับลูกหนี้เช่าซื้อปกติที่ประสบภัยน้ำท่วมและอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม 6. ในกรณีที่ลูกค้าต้องการวงเงินฉุกเฉินเพิ่มเติมหลายๆ สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกสมาคมก็ได้จัดให้มีวงเงินกู้สำหรับลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน (สามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย โทร 02 6550240-5) 7. มาตรการอื่นๆ ตามที่ลูกค้าเช่าซื้อร้องขอ โดยพิจาณาเป็นรายๆ ไป หมายเหตุ: ทั้งนี้มาตรการต่างๆ ที่สมาคมและบริษัทสมาชิกได้สรุปแนวทางมานั้น จะใช้ตามความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างตามปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้สมาคมได้มีหนังสือเลขที่ ชซ.342/2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 เพื่อขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีหนังสือประสานไปยังคณะกรรมการการคุ้มครองข้อมูลเครดิต และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อให้มีการปรับ Code สำหรับลูกค้าที่ได้รับการผ่อนผันหรือช่วยเหลือด้านการเงินจากการประสบภาวะน้ำท่วมเช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้มาตรการน้ำท่วมดังกล่าวถือว่าเป็นครั้งที่ 4 ที่สมาคมและบริษัทสมาชิกได้ออกแนวทางช่วยเหลือผู้บริโภคนับตั้งแต่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคเหนือและภาคอีสานปี 2553 ที่ผ่านมา สำหรับมาตรการดังกล่าวเป็นนโยบายกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงเนื่องจากความจำเป็นด้านการเงินของผู้บริโภคและนิติบุคคล เนื่องจากฐานะของผู้บริโภคมีความแตกต่างกัน ซึ่งผู้บริโภคสามารถร้องขอตามความจำเป็น พร้อมทั้งเป็นการเปิดกว้างให้บริษัทสมาชิกมีแนวทางในการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของบริษัทด้วย สำหรับขั้นตอนในการยื่นขอเข้ามาตรการน้ำท่วม 7 ข้อ ข้างต้น ทางผู้บริโภคสามารถติดต่อไปที่บริษัทลีสซิ่งหรือสถาบันการเงินพร้อมยื่นเอกสาร อาทิ -บัตรประชาชน -สำเนาทะเบียนรถ -รูปถ่ายหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้เช่าซื้อประสบภัยน้ำท่วม อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้บริโภคผ่อนชำระกับบริษัทที่ไม่ใช่สมาชิกของสมาคมสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ที่หมายเลข 1166 ได้ ผู้ให้ข้อมูล นายบุญหนา จงถิ่นสุวรรณ ผู้จัดการสมาคมเบอร์โทรประสานงาน สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย 02 655 0240-5 --------------------------------- บริษัทสมาชิกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยปี 2553(THAI HIRE-PURCHASE ASSOCIATION) 1. บมจ. อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง โทร. 0-2612-3233 แฟกซ์.0-2612-3255 Website: www.navaleasing.co.th 2. บมจ.ธนาคารทิสโก้ โทร. 0-2633-6000 แฟกซ์. 0-2633-6800 Website: www.tiscogroup.com 3. บจ. ตรีเพชรอีซูซุลิสซิ่ง โทร.0-2792-2000 แฟกซ์. 0-2966-2282-4 4. บมจ.ธนาคารเกียรตินาคิน โทร. 0-2680-3333 แฟกซ์.0-2256-9165 Website: www.Kiatnakin.co.th 5. บมจ. เงินทุนสินอุตสาหกรรม โทร. 0-2263-2100 แฟกซ์. 0-2253-7086 Website: www.sicco.co.th E-mail: finance@mozart.inet.co.th 6. บจ. ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง โทร. 0-2637-5445-51 แฟกซ์. 0-2637-5442 7. บมจ. เอเชียเสริมกิจลีสซิ่ง โทร. 0-2679-6226 แฟกซ์. 0-2679-6241-3 Website: www.bgpl-lease.com E-mail: bgpl@bkk.loxinfo.co.th 8. บมจ. เมโทรโพลิส ลีสซิ่งโทร.0-2642-5031 0-2642-5043 9. บจ. โตโยต้า ลีสซิ่ง (ปทท.) โทร. 0-2634-6400 แฟกซ์.0-2636-1408 Website: www.tlt.co.th 10. บจ. ยูไนเต็ดลีสซิ่ง โทร. 0-2318-4058 แฟกซ์.0-2314-2083 11. บมจ. ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง โทร. 0-2949-1800 12. บจ. ชยภาค โทร.0-2318-2000 แฟกซ์.0-2318-6677 13. บจ. พระนคร ยนตรการ โทร. 0-2561-4610 แฟกซ์. 0-2579-9826 14. บจ. ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ปทท.) โทร. 0-2788-2000 แฟกซ์. 0-2788-4889 Website: www.citibank.com 15. บจ. บีเอ็มดับเบิลยู ลิสซิ่ง (ปทท.) โทร.0-2305-8999 แฟกซ์.0-2305-8998 Website: www.bmw.co.th 16. บมจ. ราชธานีลิสซิ่ง โทร. 0-2440-0844แฟกซ์. 0-2440-0848Website: www.ratchthani.com E-mail: info@ratchthani.com 17. บจ. ฮอนด้า ลีสซิ่ง (ปทท.)โทร. 0-2706-2800, 706-2900 แฟกซ์. 0-2744-7714 Website: www.honda.co.th 18. บจ. เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ปทท.)โทร. 0-2676-5900 แฟกซ์. 0-2676-5949 Website: www.mercedes-benz-leasing.co.th 19. บมจ. ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง โทร. 0-2641-5252 แฟกซ์.0-2641-5995 20. บมจ. อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส โทร.0-2627-8000 แฟกซ์.0-2627-8001 Website: www.krungsriauto.com 21. บจ. ไทยประกันชีวิตโทร. 0-2247-0247 แฟกซ์.0-2246-9688 Website: www.thailife.com 22. บจ. คลังเศรษฐการ โทร. 0-2274-0111 แฟกซ์.0-2274-0311 23. บจ. กรุงไทย ออโต้ลีส โทร. 0-2969-7628-29 แฟกซ์.0-2968-5900 24. บจ. ลีสซิ่งกสิกรไทย โทร. 0-2696-9900 แฟกซ์. 0-2696-9988 25. บจ. เซ็นเตอร์ ออโต้ ลีส โทร. 0-2673-9111-8 แฟกซ์.0-2673-9092 26. บจ. ลีสซิ่งสินเอเชีย โทร.0-2626-8100 แฟกซ์. 0-2626-8190 27. บจ. นิสสัน ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) โทร. 0-2207-4000 แฟกซ์. 0-2207-4001 28. บมจ.ธนาคารธนชาต โทร. 0-2217-8000 แฟกซ์. 0-2217-9642 Website: www.nfs.co.th 29. บจ. เคทีบี ลีสซิ่ง โทร. 0-2299-3888 แฟกซ์. 0-2299-3801 30. บมจ.ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย โทร.0-2697-5454 แฟกซ์. 0-2642-3048 Website: www.tcrbank.com 31. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2544-1111 32. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโทร. 0-2650-6999 แฟกซ์.0-664-3345 Website: www.isbt.co.th 33. บริษัท แฟคเตอรี แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย จำกัด โทร. 0-2290-2900 แฟกซ์. 0-2277-3322 Website: www.kasikornbankgroup.com
อ่านเพิ่มเติม >เดี๋ยวจะหาว่าฉลาดซื้อไม่มีเรื่องตรงใจแฟชั่นนิสต้าเหมือนนิตยสารขายดีเล่มอื่นๆ คราวนี้เราเลยเอาใจบรรดาสาวกบลูยีนส์ กันด้วยการนำเสนอผลสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทผู้ผลิตยีนส์เจ้าใหญ่ระดับอินเตอร์ที่คนไทยส่วนใหญ่ก็รู้จักกันดี (และอาจจะเคยควักกระเป๋า หรือแคะกระปุก อุดหนุนไปบ้าง) เช่น ลีวายส์ แรงเลอร์ ลี หรือดีเซล เป็นต้น สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่ากว่าจะได้กางเกงยีนส์หนึ่งตัวนั้น มันได้ทำให้เกิดการใช้สารเคมีมากมายเพียงใด ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกผ้าย มาจนถึงการกัด/ย้อมสี และการฟอก นี่ยังไม่นับกระบวนการทำให้ยีนส์ดูเหมือนผ่านการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ซึ่งต้องใช้แรงงานคนและเทคนิควิธีการที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสักเท่าไร แล้วสารเคมีที่ว่านี้ถูกจัดการอย่างไร ได้รับการบำบัดก่อนที่มันจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำหรือไม่ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การนำผ้าเดนิมม้วนมหึมามาตัดตามแบบ เย็บประกอบเป็นกางเกง รีดตะเข็บ ฟอก ย้อม ทำให้เก่า /ยับ/ ขาด (และอื่นๆ ตามความต้องการของดีไซเนอร์) ไปจนถึงการบรรจุส่งไปยังร้านค้าปลีกนั้น เขาได้รับการดูแลอย่างไร ได้หยุดพักผ่อนบ้างหรือไม่ ที่สำคัญบริษัทข้ามชาติที่ทำกำไรได้มากมายในแต่ละปีจากการจำหน่ายยีนส์มีราคาเหล่านี้มีความจริงใจที่จะรับผิดชอบต่อสังคม และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ให้สังคมได้รับรู้มากน้อยเพียงใด คำตอบมีอยู่ในผลการสำรวจซึ่งจัดทำโดยองค์การทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ในหน้าถัดไป การเก็บข้อมูลการสำรวจ รวมถึงการเยี่ยมชมโรงงานและสัมภาษณ์พนักงาน (สำหรับบริษัทที่ให้ความร่วมมือ)ครั้งนี้ทำในระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2554ทีมสำรวจส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิตยีนส์ทั้งหมด 15 แห่ง มี 7 บริษัทที่ตอบกลับมาและยินดีให้เข้าเยี่ยมชมโรงงาน ได้แก่ คิก ลีวายส์ นูดียีนส์ เอชแอนด์เอ็ม แจ็คแอนด์โจนส์ จีสตาร์ รอว์ และซารายีนส์ อีก 8 บริษัทที่ไม่ส่งคำตอบกลับมาได้แก่ ดีเซล ลี แรงเลอร์ ฮิวโก้ บอส ซาลซ่า กูยิชิ (ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการผลิตยีนส์จากฝ้ายออกานิก) ฟริตซ์ยีนส์ และเซเว่นฟอร์ออลแมนคายนด์ น้ำหนักในการให้คะแนนมีดังนี้ ร้อยละ 35 นโยบายด้านสังคม ในเรื่องสายการผลิต เช่นแรงงานสัมพันธ์ ชั่วโมงทำงาน การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น ร้อยละ 25 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในสายการผลิต เน้นการจัดการกับมลภาวะของบริษัทที่รับจ้างผลิต ร้อยละ 15 นโยบายของบริษัทโดยรวมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายและเงื่อนไขการจ้างผลิต ข้อปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยีนส์ ร้อยละ 15 ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลต่อสังคม ได้แก่การให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามและอนุญาตให้เยี่ยมชมโรงงานร้อยละ 5 การดูแลพนักงานภายในบริษัท ร้อยละ 5 ผู้บริโภคและสังคม ในการสำรวจ ครั้งนี้ มีการเก็บตัวอย่างกางเกงยีนส์ของแต่ละยี่ห้อไปตรวจหาสารเคมีตกค้างด้วยเราพบสารหนูในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายใน ตัวอย่างกางเกงยีนส์จาก 3 ยี่ห้อ ได้แก่ ลี ลีวายส์ และเอชแอนด์เอ็มแต่พบทองแดงในปริมาณที่เกินมาตรฐานสำหรับเสื้อผ้าที่ต้องสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับผู้ใหญ่ ในตัวอย่างกางเกงยีนส์ยี่ห้อแรงเลอร์ อาจจะเกิดจากการกำจัดไม่หมดในขั้นตอนการซัก ทองแดงนั้นถ้าได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อตับ แต่นี่คือการทดสอบจากยีนส์ที่ออกจากโรงงานมาแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิต ---- กว่าจะได้เป็นยีนส์ 1. การปลูก อย่างที่รู้กันว่าขั้นตอนนี้ต้องใช้น้ำ ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงปริมาณไม่น้อย ร้อยละ 10 ของสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ใช้ทั้งหมดในโลก ใช้ในการปลูกฝ้ายนั่นเอง 2. การขนส่ง ฝ้ายนั้นจัดเป็นนักเดินทางตัวยงเลยทีเดียว ตั้งแต่จากไร่ฝ้ายไปยังโรงปั่น โรงทอ โรงงานเย็บ จนเข้าไปเก็บตัวในโกดัง และอาจจะต้องขึ้นเครื่องบินหรือลงเรือข้ามประเทศ ไปพักในโกดังต่างชาติ จากนั้นไปโชว์ตัวในร้านค้าปลีก จนกระทั่งผู้บริโภครับกลับบ้านไปอยู่ด้วย 3. การปั่นด้าย ขั้นตอนนี้ก็มีการบริโภคพลังงานและทำให้เกิดมลภาวะซึ่งมีผลต่อชั้นโอโซน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แถมยังต้องใช้สารเคมีปริมาณมากเพื่อทำความสะอาดเมล็ดฝ้ายให้สะอาดเอี่ยมไม่มีหญ้าหรือทรายปะปนแต่สิ่งทอมักมีการปนเปื้อนของ พาราฟิน ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน และกาว ซึ่งเป็นตัวช่วยในการปั่นด้าย โดยทั่วไปมันควรหลุดออกไปเมื่อผ่านการซักล้างนอกจากนี้ยังต้องมีสารเคมีบางชนิดที่ต้องใส่ลงไปเพื่อช่วยให้ผ้านุ่มและติดสีได้ดีขึ้นอีกด้วย 4. การทอเป็นผืนผ้า ด้ายจะถูกย้อมเป็นสีครามด้วยสีสังเคราะห์ ขั้นตอนการย้อมนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แม่น้ำในเมืองทวากันในเม็กซิโกที่เคยเป็นศูนย์กลางการผลิตยีนส์ในยุค 90 นั้นได้กลายเป็นสีน้ำเงินไปแล้วการย้อมผ้านั้น มักทำในประเทศที่กฎหมายไม่ค่อยเข้มงวดในอัฟริกา อเมริกาใต้ และจีน น้ำเสียจากโรงงานมักจะถูกปล่อยลงในแม่น้ำโดยไม่ผ่านการบำบัดสีย้อมทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นสารก่อมะเร็ง และในประเทศเหล่านี้คนที่ทำงานย้อมผ้ามักจะไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดีพอ 5. ขั้นตอนการเย็บประกอบขึ้นเป็นยีนส์ (รวมการตกแต่ง ตอกหมุด การทำซับในด้วย) ขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้ทั้งไฟฟ้า น้ำและมีส่วนทำให้เกิดน้ำเสียได้เช่นกันการทำให้มันดูเก่า ซีด ยับ ถลอก ขาด หรือเปื้อน ล้วนแล้วแต่ต้องทำด้วยฝีมือมนุษย์เท่านั้น ขั้นตอนนี้จึงอาจเป็นอันตรายต่อตัวคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วยเมื่อยีนส์มาถึงเราแล้ว เราก็ยังต้องใช้พลังงานในการซัก ปั่นแห้ง และรีดต่อไป นอกจากนี้เราก็มีส่วนในการสร้างมลภาวะด้วยการใช้ผงซักฟอกสำหรับเครื่องซักผ้าที่มักจะมีไนเตรตและฟอสเฟตซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ในน้ำสุดท้าย เมื่อยีนส์หมดอายุขัย มันก็มักจะถูกนำไปเผาหรือนำไปถมดิน การผลิตกางเกงยีนส์หนึ่งตัวใช้น้ำประมาณ 2,866 แกลลอน ซึ่งเป็นสองเท่าของปริมาณน้ำที่ใช้ในการซักยีนส์ตัวดังกล่าวเดือนละครั้งเป็นเวลา 5 ปี - ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง The Green Blue Book โดย Thomas M. Kostigen ปัจจุบันหลายแบรนด์ดังเริ่มหันมาใช้ฝ้ายที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี หรือที่เรียกกันว่าฝ้ายออกานิกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าแล้ว ราคาไม่ถูกนักแต่ถือว่าเราได้แสดงความรับผิดชอบในส่วนของผู้บริโภค แทนที่จะมีหลายตัวเราก็อาจจะซื้อยีนส์จากฝ้ายออกานิกเพียงตัวเดียว เป็นต้น เล็กๆน้อยๆ เพื่อความเก๋าอย่างพอเพียง • เชิดใส่ ! ยีนส์ที่ดูเก่ายับเยินตั้งแต่อยู่ที่ร้าน เพราะคุณอยากเป็นคนทำให้มันเก่าไปเองมากกว่า และเพราะขั้นตอนการทำให้มันดูเซอร์นั้น ต้องขอบอกว่ามันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเลยจริงๆ • ไม่ซื้อยีนส์ใหม่เพียงเพราะมันติดป้ายลดราคา คุณจะใส่ตัวเดิมจนกว่ามันจะเก่าไปพร้อมกับตัว เบื่อขึ้นมาก็เอาไปแลกกันใส่กับเพื่อน หรือบริจาคก็ได้• ใส่กางเกงยีนส์มากกว่าหนึ่งครั้งก่อนจะนำมันไปซัก• ซักยีนส์ที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา รวมกับกางเกงผ้าหนาอีกหลายตัวให้พอดีโหลดซักของเครื่องซักผ้า• ใช้ผงซักฟอก เน้นว่าผง เพราะมันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอกสูตรน้ำ และไม่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม• ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์เสมอ เพราะมันทำให้กางเกงยีนส์ตัวเก่งทั้งแห้งและหอม• หาซื้อกางเกงยีนส์มือสองมาใส่ เพื่อจะได้ลุคเก่าๆ เซอร์ๆ เพราะมันถูกดีแถมนุ่มอีกด้วย • ซักเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ทุกครั้งก่อนสวมใส่ นอกจากจะไม่โดนเพื่อนล้อว่าบ้าเห่อแล้ว ยังจะไม่ต้องคันยุบยิบเพราะแพ้สารเคมีที่ยังติดค้างอยู่บนเนื้อผ้าด้วย ___ เศรษฐศาสตร์ยีนส์ เรามาดูโครงสร้างราคาของยีนส์กันใกล้ๆ ว่าเงินที่ออกจากกระเป๋าเรา ไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง 50% > ร้านค้าปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่ม 24% > แบรนด์ การจัดการและการโฆษณา13% > การขนส่ง บรรจุหีบห่อ12% > ผ้าและโรงงานผลิต1% > แรงงาน---- ข่าวล่ามาเร็ว เขาบอกว่าด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นและฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักนั้นหาได้ยากขึ้น จะทำให้ยีนส์มีราคาแพงขึ้น แม้แต่ของเมดอินไชน่าก็จะไม่ถูกเหมือนเดิม ผู้เชี่ยวชาญด้านยีนส์ที่ฮ่องกงให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะเทเลกราฟ ของอังกฤษว่า ราคาฝ้ายได้ถีบตัวขึ้นมาถึงปอนด์ละ 60 บาทเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากราคาปอนด์ละ 20 บาทในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ---- ภูมิศาสตร์ยีนส์ ศูนย์กลางการผลิตยีนส์ของโลกอยู่ที่เมืองซินตัง เรียกว่าถ้ายีนส์ที่คุณสวมอยู่ไม่ได้ผลิตมาจากที่นี้ก็ต้องทำจากผ้าเดนิมที่ทอออกมาจากที่นี่อยู่ดี ที่นี่มีตั้งแต่อุตสาหกรรมครอบครัวไปจนถึงโรงงานที่ผลิตยีนส์ออกมาได้วันละ 60,000 ตัว แต่ละปีมีกางเกงยีนส์เดินทางออกจากเมืองนี้ไปไม่ต่ำกว่า 260 ล้านต้ว (ไม่มากมาย แค่ 1/3 ของยีนส์ที่ผลิตได้ทั้งหมดในโลกเท่านั้น) ฉลาดซื้อได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ 2 ท่าน เลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆมาฝากกัน --- คุณกุศล หนูเดช อายุ 54 ปี อดีตคนเคยเย็บยีนส์ฟอก ในโรงงานย่านดินแดง ปัจจุบันรับงานเย็บเสื้อแบบขายประตูน้ำ เริ่มตั้งแต่สร้างแพทเทิร์น ตัดผ้า เย็บต้นแบบ และกระจายงานให้คนในซอย โรงงานของเถ้าแก่เป็นตึกแถวสองชั้น ชั้นล่างทำหน้าที่ตัดผ้าออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของยีนส์ คุณกุศลทำงานอยู่ชั้นสอง ทำหน้าที่เย็บประกอบให้เป็นตัวยีนส์ เคยเย็บได้ประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 10 ตัว (ทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม) จากนั้นจะมีรถมารับไปที่โรงงานฟอก ซึ่งบางครั้งจะมีการส่งกลับมาซ่อมหูเข็มขัดอีกเพราะบางครั้งด้ายจะขาดหลังการฟอก ปัจจุบันค่าตอบแทนในการเย็บกางเกงยีนส์หรือกางเกงนักศึกษา อยู่ที่ประมาณตัวละ 30 – 40 บาท ผลข้างเคียงจากการทำงานคือมีอาการแพ้ตามมือบ้างจากฝุ่นผ้า แต่ที่หนักเลยคือสีจากผ้าจะติดตามมือตามเสื้อผ้าทำให้เขียวปี๋กันหมด ในฐานะคนเคยเย็บยีนส์ เชื่อว่าการลงทุนสำหรับยีนส์ที่ตัดเย็บดีๆ ผ้านุ่มๆ สักตัว น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท ที่สำคัญ อย่าลืมดูตะเข็บ โดยเฉพาะตะเข็บเอวและส่วนที่เป็นหูเข็มขัดด้วยโดยส่วนตัวแล้วคุณกุศลไม่ชอบใส่ยีนส์เพราะรู้สึกอึดอัด เนื่องจากตัดเสื้อผ้าได้ เลยชอบตัดกางเกงใส่เองมากกว่า ขี้เกียจซักด้วย แต่ไฮไลท์มาอยู่ตรงลูกชายที่เป็นสาวกกางเกงยีนส์ และนิยมใส่หลายๆ เดือนก่อนซัก มีเรื่องเล่าว่ากางเกงที่ใส่ไม่ซักอยู่หลายเดือนนั้นมีร้านยีนส์ที่ตะวันนามาขอซื้อด้วยการแลกกับยีนส์ใหม่ 2 ตัวด้วย คุณสมชาย คำปรางค์ อายุ 61 ปี เคยดูแลการผลิตยีนส์ทุกขั้นตอนในโรงงานยีนส์สัญชาติไทยอยู่ 8 ปี ปัจจุบันทำธุรกิจครอบครัวซึ่งเคยรับผลิตเสื้อยีนส์แต่เปลี่ยนเป็นมาเป็นผ้ายืดแล้ว คุณลุงสมชายเคยทำเสื้อและแจ็คเก็ตยีนส์ ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดผ้าและเย็บเสร็จเป็นตัวเสื้อ (แต่ส่งฟอกไปฟอกที่โรงงาน) เหตุที่เลิกเย็บผ้ายีนส์ไปเพราะมันหนัก ช่างที่บ้านไม่ค่อยถนัด เลยเปลี่ยนมาเป็นผ้ายืดดีกว่า ถามความเห็นเรื่องยีนส์ถูกจากจีนที่เข้ามาตีตลาดบ้านเรายีนส์จีนคุณภาพต่ำกว่า ลุงบอกว่าแบบอาจจะดูสวยแต่ต้องลองใส่ดูแล้วจะรู้ว่า ทรงไม่สวย เนื้อผ้า ด้ายทอ ไม่ดีเท่ายีนส์ไทย (แต่แกยอมรับยีนส์จากเกาหลี เพราะออกแบบได้ดี และ “ผ้าเขาดีกว่าเราจริงๆ” ยีนส์ขึ้นห้างโดยทั่วไป ต้นทุนค่าผ้ากับค่าแรง ตัวละไม่เกิน 350 บาท ยกเว้นยีนส์ที่เป็นของบริษัทต่างประเทศส่งวัตถุดิบเข้ามาตัดเย็บในเมืองไทย อาจจะมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 500 บาท ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่เวลาเลือกให้จับดูเนื้อผ้า ผ้ายีนส์ที่ดีจะต้องทอมาแน่น มีความละเอียดมาก ลองสวมดู ว่ากระชับ เข้ารูป เข้าทรงกับตัวเราดีหรือยัง ลุงสมชายให้ข้อสังเกตว่า ยีนส์โรงงานเดียวกัน ถ้าทำมาคนละล็อตก็ไม่เหมือนกัน เพราะผ้าที่เข้าโรงงานมานั้นมากจากการทอคนละล็อตกัน บางล็อตทอมาแน่นดี บางล็อตพันด้ายมาหลวมไป บวกกับทอไม่ครบ 200 เส้นต่อหนึ่งตารางนิ้วอีก ซึ่งทำให้ยีนส์หดหลังการซักครั้งแรกนั่นเอง ที่ลือกันมาว่ามียีนส์ปลอมนั้น เป็นเรื่องของ “ยีนส์ลดเกรด” คืออาจจะใช้แบรนด์เดิม แต่ในขั้นตอนต่างๆ มีการ “ลดต้นทุน” เช่น ลดเกรดของด้ายทอ จากฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ (Cotton 100%) ก็เปลี่ยนมาผสมโพลีเอสเตอร์ลงไปประมาณร้อยละ 20 - 30 หรือแทนที่จะทอด้วยเส้นใย 200 เส้นต่อตารางนิ้ว ก็ลดเหลือเพียง 180 เส้นหรือไม่เช่นนั้นก็ลดเกรดสีย้อม เป็นต้นส่วนขั้นตอนการใช้กระดาษทรายขัดให้ยีนส์ดูเก่านั้น ลุงบอกว่าเมื่อก่อนแถวบ้านก็มีแม่บ้านที่อยู่บ้านเฉยๆ รับงานมาทำกัน แต่ตอนนี้ก็เลิกไปหมดแล้วเพราะเขาทนฝุ่นกันไม่ไหว
สำหรับสมาชิก >ถือเป็นวาระแห่งชาติกับการแก้ปัญหาถุงพลาสติกครองโลก หลายคนคงพอจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าถุงพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นตัวการร้ายทำลายโลกของเรา ทั้งจากขั้นตอนการผลิตที่ต้องอาศัยพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการเมื่อกลายเป็นขยะ เพราะถุงพลาสติกยากต่อการทำลาย ถุงพลาสติกพวกนี้อายุยืนเป็นร้อยๆ ปี ถ้านำไปเผาก็ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกของเราร้อนขึ้น ซึ่งภัยธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศในโลกของเราเปลี่ยนแปลงผันผวนไปอย่างน่าตกใจ ดังนั้นแล้วทั้งโลกเขาก็เลยตื่นตัวกันมากเรื่อง การลดการใช้ถุงพลาสติก ในประเทศไทยของเราก็เริ่มมีความตื่นตัวในการลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พบว่าคนไทยผลิตขยะถุงพลาสติกถึง 7,391 ตันต่อวัน ถุงพลาสติก ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งในการผลิต การขนย้ายและกำจัด ยังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะมาตรการต่างๆ ในบ้านเราที่พยายามทำๆ กันอยู่นั้น ยังไม่ค่อยเห็นผลนัก “ฉลาดซื้อ” จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาช่วยโลกของเรา มาร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติก เพราะฉะนั้นเรามาดูกันสิว่า เราจะบอกลาถุงพลาสติกด้วยวิธีไหนได้บ้าง “นโยบายลดถุงพลาสติกจากภาครัฐ – ความฝันที่ยังเลือนราง”ปัญหาขยะถุงพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งถึงวันนี้ทุกคนต่างก็รับรู้กันดีว่าถุงพลาสติกเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำเกิดสภาวะโลกร้อน ประเทศไทยของเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจขานรับภารกิจมนุษยชาติในการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติก ซึ่งถ้าใครพอจะติดตามข่าวสารอยู่บ้างอาจจะเคยได้ยินข่าวการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ทางภาครัฐนำมาใช้เป็นเป็นกลยุทธิหยุดพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของคนในประเทศ กิจกรรมที่น่าสนใจก็เช่น โครงการ “No Bag No Baht” ที่จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นโครงการที่ให้นักช้อปได้มีโอกาสแสดงพลังรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการบอกปฏิเสธไม่รับถุงพร้อมรับส่วนลดจากการซื้อสินค้าทันที 1 บาท แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเลือกที่จะขอรับถุงพลาสติกก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 บาท โดยร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ก็มีตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงร้านค้าในตลาดนัดจตุจักร อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทางภาครัฐจับมือกับบรรดาห้างร้านต่างๆ เพื่อหวังสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกให้เกิดขึ้นในสังคม คือกิจกรรม “45 วัน รวมพลัง ลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน” ซึ่งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเจ้าเก่าเจ้าเดิมเป็นหัวเรือใหญ่ เป้าหมายของกิจกรรมก็คือการลดจำนวนการใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ กิจกรรมนี้จัดต่อเนื่องติดต่อกันเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2552 โดยมีรายงานว่าในช่วง 2 ปีแรกสามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่ร่วมกิจกรรมได้ถึง 12 ล้านกว่าใบ แม้จะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการลดการใช้ถุงพลาสติก แต่ก็เป็นแค่กิจกรรมที่ทำชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช้กิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ใช้ชีวิตผูกพันกับถุงพลาสติกน้อยคนนักที่จะรับทราบข้อมูลของการจัดกิจกรรมดังกล่าว หรือพอหมดช่วงเวลาการจัดกิจกรรมผู้บริโภคและผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า ก็กลับมามีพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกในแบบเดิม ซึ่งแน่นอนว่าภาครัฐต้องมีความจริงใจและจริงจังในการวางนโยบายและเดินหน้าปฏิบัติการลดถุงพลาสติกให้ต่อเนื่องและชัดเจนมากกว่านี้ อย่างที่บอกว่าหนทางการจัดการกับถุงพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ไม่ใช่แค่เมืองไทยเท่านั้นที่ปัญหานี้ยังเป็นคำถามที่ยังต้องหาคำตอบ หลายประเทศทั่วโลกก็คิดไม่ตกกับปัญหาขยะถุงพลาสติก ซึ่งหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่เป็นเหมือนประตูปิดกั้นการสู้กับปัญหาถุงพลาสติกอย่างจริงจังในประเทศไทยเราก็คือ การที่ยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดการใช้ถุงพลาสติก ทำให้ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือเท่านั้น การจะออกกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจและต้องมีความพยายามในการเริ่มต้น แน่นอนว่าในสังคมปัจจุบันความต้องและจำเป็นในการใช้ถุงพลาสติกยังคงมีค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเริ่มต้นการลดการใช้ถุงพลาสติกที่ภาครัฐควรทำให้เกิดขึ้น คือการสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมให้ผู้บริโภครู้จักเลือกใช้วัสดุอื่นที่ย่อยสลายง่าย และเมื่อกลายเป็นขยะแล้วไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อม แม้ว่าอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการผลิต อย่างเช่น ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้หรือใช้เวลาน้อยลงในการย่อยสลาย หรืออาจให้มีการเก็บภาษีถุงพลาสติก หากจะซื้อสินค้าต้องเสียเงินค่าถุงพลาสติกซึ่งเป็นวิธีที่มีใช้ในหลายประเทศ แต่ก็ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของผู้บริโภคด้วยต้องศึกษาความเป็นไปได้ให้ดีก่อนนำมาใช้ในบ้านเรา ขณะที่มาตรการขั้นเด็ดขาดอย่างการห้ามใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ หากพบเห็นว่ามีการใช้ถือว่ามีความผิด ก็เป็นไปได้ยากที่จะนำมาใช้ในเมืองไทย เพราะดูเป็นวิธีการที่โหดร้ายไปหน่อย “ความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้า – อีกหนึ่งความหวังในการบอกลาถุงพลาสติก” ขยะถุงพลาสติกที่กลายเป็นปัญหาในทุกวันนี้ สถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของมันคงหนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ที่เปิดกระจายกันอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในกทม. ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมบอกว่าในแต่ละสัปดาห์คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง ความต้องการใช้ถุงพลาสติกของคนไทยยังคงมีค่อนข้างสูง เรายังคงรักความสะดวกสบายเวลาจับจ่ายสินค้าก็ต้องการถุงพลาสติกสำหรับใส่ของ เพราะถือง่ายและแข็งแรงทนทาน แถมหลายคนยังติดนิสัยชอบขอถุงพลาสติกเพิ่ม เวลาซื้อของหนักๆ ต้องขอซ้อนถุงก็ยิ่งกลายเป็นว่าไปเพิ่มปริมาณขยะถุงพลาสติกมากขึ้นไปอีก เมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมจะเปิดใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติก แล้วแบบนี้ทางฝั่งผู้ประกอบการอย่างบรรดาห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ จะพอมีหนทางอะไรบ้างในการช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก ฉลาดซื้อทำแบบสำรวจถึงบรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือเซ็นทรัล เดอะมอลล์ เทสโก้ คาร์ฟูร์ บิ๊กซี ฯลฯ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจสักเท่าไหร่ มีบริษัทที่เต็มใจตอบรับเพียง ซีพี ออลล์และฟู้ดแลนด์ เท่านั้น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ได้ให้ข้อมูลถึงนโยบายการลดการใช้ถุงพลาสติกของทางร้านว่า มีการรณรงค์กับทั้งลูกค้าและพนักงาน โดยในช่วงปี 2552 -2553 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำโครงการลดการใช้ถุงพลาสติก 3 โครงการที่น่าสนใจ คือ โครงการ “รับถุงด้วยไหม ครับ/ค่ะ”, โครงการ “บริจาคถุงพลาสติกคืน เพื่อรีไซเคิล” และ โครงการ “ร่วมใจใช้ถุงผ้า ไม่เรียกหาถุงพลาสติก” ซึ่งผลจากการรณรงค์ทั้ง 3 โครงการ สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านได้มาประมาณ 12 ล้านถุง ส่วนในปี 2554 ได้มีทดลองลดการใช้ถุงพลาสติกภายในร้าน โดยนำร่องจำนวน 100 สาขา ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554 ซึ่งผลปรากฏว่า สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ 4,400 ใบต่อวัน ขณะที่ ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ก็ใช้วิธีการง่ายๆ อย่างการรณรงค์ให้ลูกค้าใช้ถุงพลาสติก ซึ่งรณรงค์มาต่อเนื่องตลอด 4 ปี ส่วนแนวคิดที่ว่าจะเป็นไปได้แค่ไหนถ้าหากจะให้มีการยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกเป็นเด็ดขาด ทั้ง เซเว่น อีเลฟเว่น และ ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ต่างก็ยอมรับว่า ยังไม่มีนโนบายเลิกใช้ถุงพลาสติกในร้านอย่างเด็ดขาดในตอนนี้ เพราะยังต้องอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ แต่ถ้าหากภาครัฐมีมาตรการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดใช้ถุงพลาสติกออกมา ก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ “เราทำได้ ลดการใช้ถุงพลาสติก” ในเมื่อยังไม่มีมาตรการหรือกฎหมายที่ออกมาบังคับเรื่องการลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการสร้างพฤติกรรมใหม่ในการใช้ถุงพลาสติก -สำรวจพฤติกรรมของตัวเองว่าในแต่ละวันต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ถุงพลาสติกในเรื่องอะไรบ้าง แล้วลองคิดดูสิว่ามีอะไรที่เราพอจะลดการใช้ถุงพลาสติกได้บ้าง เช่น เวลาซื้อของในร้านสะดวกซื้อของที่เราซื้อจำเป็นแค่ไหนที่ต้องใส่ถุงพลาสติก ถ้าซื้อของไม่กี่ชิ้นลองเลือกปฏิเสธถุงพลาสติก หรือเวลาที่ไปซื้อข้าวซื้อก๋วยเตี๋ยวลองเอาจานชามจากที่บ้านไปใส่ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกมาจากที่ร้าน ถ้าจะเติมน้ำตาลน้ำปลาก็ปรุงมาให้เรียบร้อย ไม่ต้องขอใส่ถุงกลับมาปรุงที่บ้าน ฯลฯ -ใช้ถุงผ้าให้ถูกวิธี ไม่ใช้แค่สะพายไว้เก๋ๆ เพื่อบอกใครๆ ว่าคุณรักโลก แต่จงใช้มันเพื่อช่วยโลกจริงๆ นำถุงผ้าไปใช้ใส่สิ่งของต่างๆ ไม่รับถุงพลาสติกจากร้านค้าเพราะว่าคุณมีถุงผ้าสำหรับใส่ของอยู่แล้ว -จุดเด่นของถุงพลาสติกคือความทนทานพยายามนำกลับมาใช้งานหลายๆ ครั้ง ใช้ให้คุ้มค่าอย่าให้มันกลายเป็นขยะเร็วเกินไป -อย่าลืมต่อบอกเทคนิคดีๆ ในการลดการใช้ถุงพลาสติกให้กับคนอื่นๆ อย่าลืมชักชวนคนใกล้ๆ ตัวให้เห็นถึงความสำคัญในการลดการใช้ถุงพลาสติก ถ้า 1 คนลดได้ 1 ใบ 10 คนก็ลดได้ 10 ใบ ถ้าทุกๆ คนช่วยกัน ถุงพลาสติกก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่ยากเกินจะแก้ไขอีกต่อไป ความแตกต่างของถุงพลาสติกแต่ละประเภท ถุงพลาสติกทั่วไป -ทำจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ -ใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 100 – 450 ปี-ราคาถูก มีความเหนียวและทนทาน-เพราะความทนทานจึงสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ แต่ก็พึ่งระบบการคัดแยกขยะที่ดี-เป็นอันตรายต่อธรรมชาติมาก ทั้งต่อสัตว์ที่เผลอกินเข้าไป และมักจะเป็นต้นเหตุของน้ำท่วมตามเมืองใหญ่ๆ เพราะขยะถุงพลาสติกจไปอุดตันตามท่อระบายน้ำ OXO-DEGRADABLE ออกโซดีเกรดเอเบิล -เป็นถุงพลาสติกที่มีการผลิตให้มีความเหนียวน้อยลง ทำให้ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น-ถุงย่อยสลาย ภายใน 2 - 5 ปี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การย่อยสลาย อาจมีชีวิตอยู่ยาวนาน เป็นร้อยปีได้เหมือนถุงพลาสติกธรรมดาทั่วไป-ราคาถุงกว่าถุงพลาสติกทั่วไป -ไม่มีปัญหาเรื่องการเก็บสต็อก-แม้จะย่อยสลายง่ายขึ้นแต่ก็ยังเป็นอันตรายกับธรรมชาติ BIODEGRADABLE ไบโอดีเกรดเอเบิล (Bio Bag) -ทำจากพืช เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง -สามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 – 9 เดือน แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ โดนแสงแดดและอากาศที่เหมาะสม-หมักเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ ไม่เป็นสารพิษ-แต่มีราคาแพง แถมไม่สามารถเก็บไว้นานๆ ได้ เพราะถุงจะเปลี่ยนสภาพค่อยๆ เปื่อยลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถใช้งานได้ ---------------------------------------------------------------------------------------- การลดการใช้ถุงพลาสติกในต่างประเทศ อิตาลี ประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ แล้วให้ร้านค้าใช้ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้แทน ซึ่งสาเหตุมาจากที่คนตาลีใช้ถุงพลาสติกกันมากถึง 20 พันล้านใบต่อปี ทำให้เกิดมลพิษทางธรรมชาติ ทั้งในทะเล แม่น้ำ และป่า โดยห้างร้านต่างๆ ในอิตาลีก็ขานรับนโยบายนี้กันอย่างพร้อมเพียง แต่ว่ามาตรการนี้เพิ่งเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 54 ที่ผ่านมา ต้องรอดูกันต่อว่าจะได้ผลแค่ไหน จีนมีกฎห้ามผลิต จำหน่าย และใช้ถุงพลาสติกที่มีความบางน้อยกว่า 0.025 มิลลิเมตร หรือเรียกว่าถุงชนิดบางมาก รวมทั้งห้ามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตไม่ให้แจกถุงพลาสติกฟรีกับลูกค้าถ้าอยากได้ต้องซื้อ หรือไม่ก็นำถุงพลาสติกหรือถุงผ้ามาเอง พม่าห้ามผลิต ห้ามใช้ และเข้มงวดถึงขั้นห้ามไม่ให้ร้านค้าร้านขายของชำเก็บถุงและเชือกพลาสติกไว้ในร้าน โดยกฎหมายนี้เริ่มทยอยบังคับใช้ตามเมืองสำคัญๆ ของประเทศอย่าง มัณฑะเลย์ เนปิตอว์ และย่างกุ้ง แถมยังมีโครงการเก็บขยะถุงพลาสติกและการนำกลับมารีไซเคิลเปลี่ยนเป็นท่อพลาสติก เพื่อลดปัญหาขยะถุงพลาสติกล้นเมือง ไต้หวันถ้าหากไปซื้อตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ แล้วอยากได้ถุงพลาสติก คุณต้องยอมจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งประชาชนก็ให้ความร่วมมือดี เป็นมาตรการที่สามารถลดขยะถุงพลาสติกได้เป็นจำนวนมาก อินเดียใช้ไม้แข็งในการจัดการกับปัญหาขยะถุงพลาสติกล้นเมือง โดยใช้วิธีทั้งจำทั้งปรับคนที่ใช้ถุงพลาสติก แต่ต้องบอกว่าวิธีการดังกล่าวยังถือว่าล้มเหลว เพราะคนส่วนใหญ่ก็ยังใช้ถุงพลาสติกกันเป็นปกติหาได้หวั่นเกรงต่อกฎหมายแต่อย่างใด ซึ่งเหตุผลก็เป็นเพราะว่าหากไม่ใช้ถุงพลาสติกก็ยังไม่เห็นตัวเลือกอื่นที่จะสามารถนำมาใช้แทนได้ สหรัฐอเมริกามีหลายเมืองในอเมริกาที่ออกกฎหมายรองรับการลดการใช้ถุงพลาสติก หรือเปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายง่ายขึ้น และเน้นให้มีการรีไซเคิลถุงพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมหลายๆ เมืองยังมีการเรียกเก็บภาษีถุงพลาสติกเพิ่มขึ้น แม้ในอเมริกาจะมีมาตการลดการใช้ถุงพลาสติกที่ดูเข้มแข็ง แต่ก็ยังติดปัญหาสำคัญตรงที่อุตสาหกรรมผลิตถุงพลาสติกในอเมริกามีการจ้างงานอยู่มากกว่า 1 หมื่นตำแหน่ง ถ้าหากมีปรับลดการใช้ถุงพลาสติกแบบทันทีทันใดก็อาจจะส่งผลต่อคนงานเหล่านี้ เม็กซิโกร้านค้าในเม็กซิโกเปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายง่ายหลังจากรัฐบาลออกกฎหมายบังคับเรื่องการลดการใช้ถุงพลาสติก แม้กฎหมายฉบับนี้ยังมีผลบังคับใช้แค่ในเมืองหลวงของประเทศอย่างเม็กซิโก ซิตี้ แต่ที่นี่ก็มีประชากรอยู่มากถึง 9 ล้านคน บวกกับประชากรที่อาศัยอยู่ตามเมืองรอบอีกกว่า 10 ล้านคน ก็สามารถลดขยะถุงพลาสติกไปได้พอสมควร ฮ่องกง นักช้อปจะต้องจ่ายค่าถุงพลาสติกในราคา 50 เซนต์ฮ่องกง สำหรับถุงพลาสติก 1 ใบ มีข้อมูลบอกว่าที่ฮ่องกงมีการใช้ถุงพลาสติก 23 ล้านใบต่อปี หรือ เฉลี่ยวันละ 3 ใบต่อคน แต่ก็ใช่ว่าพอเก็บตังค์แล้วคนจะใช้ถุงพลาสติกน้อยลง เพราะนักช้อปส่วนใหญ่ก็ยังเต็มใจจ่ายค่าถุงพลาสติกอยู่ดี ฮ่องกงเลยใช้วิธีรณรงค์ให้ใช้ถุงพลาสติกมากกว่า 1 ครั้งเป็นตัวเสริมเข้าไป ซึ่งก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะถุงพลาสติกภายในประเทศได้พอสมควร
สำหรับสมาชิก >