ฉบับที่ 197 การทดสอบแผ่นฟิล์มลดความร้อนติดรถยนต์

แสงแดดมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่อินฟราเรด (Infrared IR) ไม่มีสีแต่อยู่ในรูปของรังสีความร้อน ต่อไปคือแสงช่วงที่สายตามองเห็น (Visible light VL) และช่วงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet UV)อยู่ในรูปของพลังงาน ที่มีความสามารถทำลายเซลล์ผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ การเกิดความร้อนในรถยนต์เกิดจากการที่กระจกรถยนต์ไม่สามารถกันคลื่นอินฟราเรด ที่เป็นคลื่นความร้อนได้ เมื่อผ่านเข้ามายังตัวรถแล้ว คลื่นอินฟาเรดจะไม่สามารถสะท้อนออกไปได้ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกภายในรถ ความร้อนสะสมจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ  สำหรับข้อกำหนดความสามารถของแผ่นฟิล์มติดรถยนต์ แบ่งเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้- VLT (Visible Light Transmission) ความสามารถในการส่องผ่านของแสงในช่วงสายตามองเห็น ค่ายิ่งมากแสงผ่านได้เยอะ ทำให้การมองผ่านชัดเจน - VLR (Visible Light Reflectance) ความสามารถในการสะท้อนแสงในช่วงสายตามองเห็น เป็นค่าแสดงการสะท้อนออกของแสงจากกระจกที่ติดฟิล์ม ค่ามากกระจกที่ติดฟิล์มจะมีลักษณะคล้ายกับกระจกเงา- Glare Reduction การลดความจ้า เป็นการวัดเปอร์เซ็นเปรียบเทียบค่าการส่องผ่านได้ของแสงช่วงที่มองเห็น ระหว่างกระจกที่ติดฟิล์มกรองแสงกับไม่ติดฟิล์มกรองแสง- IRR (Infrared Rejection) เป็นค่าที่แสดงความสามารถในการลดความร้อนเนื่องจากคลื่นความร้อน(Infrared) จากแสงแดด- UVR (Ultraviolet Rejection) ค่าที่แสดงความสามารถในการลดแสงอัลตราไวโอเลตเราทดสอบอะไรบ้าง1. ทดสอบการป้องกันรังสียูวี ช่วง  UVA และ UVB ความยาวคลื่น 280-400 นาโนเมตร2. ทดสอบการส่องผ่านของแสงช่วงที่สายตามองเห็น ความยาวคลื่น 380-780 นาโนเมตร3. ทดสอบการลดรังสีอินฟราเรด หรือรังสีความร้อน ความยาวคลื่น 800-1000 นาโนเมตร4. ทดสอบการป้องกันความร้อนสะสมการทดสอบออกแบบให้สามารถวัดความสามารถของฟิล์มติดรถยนต์ในเรื่องการช่วยลดแสงยูวี การช่วยลดแสงสว่างในช่วงที่สายตามองเห็น ความสามารถในการกันรังสีความร้อน (Infrared) และการป้องกันความร้อนสะสมสำหรับการออกแบบการวัด ได้จำลองตู้ทดสอบซึ่งเป็นตัวแทนของรถยนต์ที่มีกระจกที่ติดฟิล์มตัวอย่าง ปิดอยู่ด้านบน รับแสงจากหลอดฮาโลเจน มีเครื่องวัดแสงเชิงสเปกตรัมอยู่ภายใน และหัววัดอุณหภูมิภายนอกและภายใน ซึ่งผลการวัดจะแสดงถึงความสามารถในการกันแสงและความร้อนของฟิล์มตัวอย่าง อุปกรณ์1. ตู้ทดสอบขนาดปริมาตร 0.5 ลูกบาศก์ฟุต 2. แผ่นกระจกติดฟิล์มตัวอย่าง3. เครื่องวัดอุณหภูมิ4. เครื่องวัดแสงเชิงสเปกตรัม ช่วง ยูวี ถึง อินฟราเรด (200-1000nm)5. หลอดไฟฮาโลเจนขนาด 2000 วัตต์วิธีการทดสอบเลือกฟิล์มที่นิยมใช้กันทั่วไปในตลาดโดยเลือกอยู่ในระดับการกรองแสงเท่าๆ กันประมาณ 60 % (ตามค่าที่แจ้งบนฉลาก) แต่ค่าจำเพาะบางค่าอาจไม่เหมือนกัน แสดงดังตารางดังนี้ทดลองโดยการวัดค่าอุณหภูมิทุกๆ 30 วินาที เป็นเวลา 15 นาที โดยเรียงลำดับดังนี้1. ตู้เปล่า2. แผ่นกระจกไม่ติดฟิล์ม3. แผ่นกระจกติดฟิล์มยี่ห้อต่างๆ4. นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลวัดค่าสเปคตรัมของแสงเพื่อตรวจสอบแสง ที่ผ่านกระจกติดฟิล์มตัวอย่าง ผลของแสงที่ได้จากหลอดฮาโลเจนขนาด 2000 วัตต์ มีลักษณะครอบคลุมช่วงที่ต้องการทดสอบ ที่ความยาวคลื่น 200 – 1000 นาโนเมตร เป็นดังนี้ภาพที่ 5 ผลของแสงและรังสีความร้อนภายในตู้ทดสอบ ที่ถูกวัด ขณะไม่มีกระจกกั้น เท่ากับ 100%สรุปผลการทดสอบการทดสอบฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์นี้ ผลที่ได้พบว่าทุกๆ ยี่ห้อสามารถป้องกันแสง UV ได้ใกล้เคียงกัน การป้องกันความร้อน ถ้าค่าความแตกต่างของอุณหภูมิด้านนอกกับด้านในมีน้อย แสดงว่าสามารถกันความร้อนได้ดี และพบว่า Hi-Kool มีความสามารถกันความร้อนความร้อนได้ดีกว่าทุกยี่ห้อ แต่ความสามารถของการส่องผ่านแสงช่วงสายตามองเห็น ผ่านเข้ามาได้ค่อนข้างน้อย หากค่าแสงช่วงสายตามองเห็นได้ผ่านเข้ามาได้น้อยเกินไปก็ทำให้การมองเห็นได้ไม่ดีอาจจะลดทัศนวิสัยในการขับรถได้สำหรับในการพิจารณาเรื่อง การส่องผ่านแสงช่วงสายตามองเห็นค่าความสว่างของแสง(Lux) มากจะทำให้การมองเห็นชัดเจนกว่าค่าความสว่างของแสงน้อย ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนเวลาขับรถเวลากลางคืน  ทำให้ ฟิล์ม 3M อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ จากข้อมูลในตารางที่ 2 ฟิล์มยี่ห้อ Xtra-Cole อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับ ความสามารถในการป้องกันความร้อน และทัศนวิสัยที่ดีในการขับขี่                 การป้องกันความร้อนได้ดีเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการเลือกฟิล์มกรองแสงไว้ใช้งาน แต่ยังมีตัวแปรอื่นๆ ให้พิจารณาเช่น ความคงทนต่อรอยขีดข่วน การซีดจาง เปลี่ยนสี การหลุดร่อนตามอายุการใช้งาน การรบกวนสัญญาณโทรศัพท์ การรบกวนระบบนำทาง GPS เป็นต้นขอขอบคุณห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางแสงและอุณหภูมิ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 เป้สำหรับวันทำงาน

เป็นโชคดี (หรือโชคร้าย) ของคนยุคนี้ที่สามารถทำงานได้ทุกที่ หลายคนมีคอมพิวเตอร์ติดตัวไปด้วยไม่ว่าจะไปสำนักงานหรือไปนั่งในร้านกาแฟที่เปิดเป็นพื้นที่ทำงาน กระเป๋าสำหรับสัมภาระรายวันเช่น ขวดน้ำ โน้ตบุ้ค และเสื้อผ้าสำหรับออกกำลังกาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นฉลาดซื้อฉบับนี้ภูมิใจเสนอผลทดสอบเป้สำหรับวันทำงานที่สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศร่วมกันทำไว้ ตลาดเป้เมืองไทยใหญ่ไม่แพ้ชาติใดในโลก เราจึงนำเสนอเป้ทั้ง 24 รุ่น ความจุระหว่าง 17 ถึง 35 ลิตร ที่ห้องปฏิบัติการ Strojírenský zkušební ústav, s.p. (SZU) ในสาธารณรัฐเชกได้ทำการทดสอบไว้การทดสอบแบ่งออกเป็นสองช่วงได้แก่ 1. ความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ทดลองใช้งานโดยใส่ของทั้งแบบครึ่งและเต็มพื้นที่เป้ การปิด/เปิด หยิบโน้ตบุ้ค หยิบของขณะสะพาย และความกระชับเวลาเคลื่อนไหว 2. การทดสอบในห้องปฏิบัติการ* ที่เปรียบเทียบ- พื้นที่ใช้สอย - ความแข็งแรงทนทาน (เช่น หูหิ้ว สายสะพาย)- การกันน้ำ (ทั้งด้านบนและด้านล่างตัวกระเป๋า)- ความปลอดภัยต่อผู้ใช้ (ขอบ มุม หรือเหลี่ยมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และสีสะท้อนแสงที่ช่วยให้มองเห็นได้ง่าย เป็นต้น)- ช่องใส่โน้ตบุ๊ก (ทดสอบกับโน้ตบุ้คขนาด 15.6 นิ้ว ความหนา 2.5 เซนติเมตร โดยดูจากความกระชับ ความสะดวกในการนำอุปกรณ์เข้าออกจากกระเป๋า) - คุณภาพการประกอบ (เช่น ตะเข็บ ซิป ล็อค และหมุด)จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เป้ที่ได้คะแนนสูงสุด (82 คะแนน) ได้แก่ THE NORTH FACE รุ่น BOREALIS ขนาด 28 ลิตร ตามด้วย deuter รุ่น Giga 7309 Blueline Check ขนาด 20 ลิตร (80 คะแนน) และ OSPREY Flare ขนาด 22 ลิตร (76 คะแนน)เป้แต่ละรุ่นมีจุดแข็งแตกต่างกัน พลิกดูรายละเอียดได้ในหน้าถัดไปเพื่อหาใบที่เหมาะกับคุณที่สุดได้เลย*อัตราค่าทดสอบต่อหนึ่งตัวอย่างอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 14,000 บาทเป้เหล่านี้ออกแบบมาให้เป็นมิตรต่อหลังของเราในระดับหนึ่ง แต่เราก็ต้องใช้มันให้ถูกวิธีด้วย เช่น ปรับสายสะพายให้กระชับเสมอ ไม่สะพายไหล่เดียว และไม่แบกน้ำหนักเกินกว่า 15% ของน้ำหนักตัว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 “ส่องฉลาก” ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค กลายมาเป็นตัวช่วยเรื่องการกำจัดสิ่งสกปรกที่น่าจะมีติดอยู่แทบทุกบ้าน มาในหลายๆ รูปแบบการใช้งาน ไมว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ และผลิตภัณฑ์ทำความเสื้อผ้า ซึ่งเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าก็ไม่ได้มีแค่ ผงซักฟอก เพียงอย่างเดียว ยังมีแยกประเภทเป็นทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าชนิดน้ำ ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบอเนกประสงค์ที่ใช้แช่เสื้อผ้าเพื่อขจัดคราบสกปรกก่อนนำไปซักปกติ ซึ่งลักษณะก็จะคล้ายกับน้ำยาซักผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีน้ำยาปรับผ้านุ่มที่หลายๆ บ้านนิยมใช้ ฉลาดจึงจะพามาส่องฉลากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เพื่อให้สามารถใช้งานกันได้อย่างถูกวิธีผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคต้องใช้อย่างระมัดระวังผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีการใช้สารเคมีที่อาจมีฤทธิ์ต่อสุขภาพและเป็นอันอันตรายต่อผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ภายในบ้านเรือนส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 ซึ่งหมายถึงกลุ่มสารเคมีที่มีอันตรายน้อย สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือตามบ้านเรื่องทั่วไปได้ แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ตัวผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการแจ้งข้อเท็จจริงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะควบคุมเรื่องสารเคมีที่ใช้และการจัดทำฉลากเพื่อประโยชน์กับผู้บริโภคในการใช้งานได้อย่างปลอดภัยวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัตถุอันตรายขนิดที่ 1 มีอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (ยกเว้นผงซักฟอก ที่อยู่ในการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.))  เป็นต้นข้อความที่ไม่อนุญาตให้แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค-“สูตรพิเศษ” ยกเว้นว่ามีเอกสารที่สามารถสนับสนุนหรือชี้แจงได้ว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร-“ไม่เป็นอันตราย”, “ไม่เป็นพิษ”, “ปลอดภัย”, “ไม่มีสารตกค้าง”, “ไร้สารตกค้างที่เป็นอันตราย”, “ไร้สารตกค้าง”, “ไม่มีผลต่อเด็กสัตว์เลี้ยงและอาหาร”, “สูตรไม่ระคายเคือง”, “ปราศจากการระคายเคือง” เนื่องจากอาจทำให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย-“นุ่มละมุนใช้ได้ทุกวัน” เนื่องจากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ควรใช้ตามความจำเป็น และต้องระมัดระวังในการใช้ -“ใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ” เนื่องจากเป็นการชักจูงใจเกินความจำเป็น-“น้ำหอมปรับอากาศ”, “สดชื่น” หรือ “กลิ่นสดชื่น” เนื่องจากคำว่า “สดชื่น” มีความหมายในเชิงเกี่ยวกับสุขภาพอาจสื่อให้เกิดความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นนี้มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และสารเคมี-“ปกป้องสุขภาพของคุณและสิ่งแวดล้อม”, “ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม”, “ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม”, “ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ”, “จึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อม”, “ห่วงใยสิ่งแวดล้อม” เนื่องจากก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม-“ได้ผล 100%”, “ประสิทธิภาพสูง”, “ด้วยสูตรพลังประสิทธิภาพ”, “ประสิทธิภาพเยี่ยม”, “ระบบเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด”, “ได้ผลเด็ดขาด”, “ออกฤทธิ์แรง” เนื่องจากเป็นข้อความที่อาจเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง-“ไม่ทำลายเนื้อผ้าหรือทำให้ผ้าเป็นสีเหลือง”, “อ่อนโยนต่อทุกเนื้อผ้า”, “อ่อนโยนต่อเส้นใยผ้า”, “ถนอมผ้า”, “ปลอดภัยต่อผ้าสี”, “คงไว้ซึ่งความนุ่มนวลของเนื้อผ้า”, “พลังสลายคราบสกปรก” เนื่องจากเป็นข้อความที่อาจเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง-แม้แต่ชื่อทางการค้าก็ต้องไม่สื่อไปในทำนองโอ้อวดสรรพคุณ หรือทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์ หรือสื่อให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคขาดความระมัดระวังในการใช้ที่มา : คู่มือการจัดทำฉลากวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 โดยกลุ่มควบคุมอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้อมูลสำคัญที่ “ต้องมี” บนฉลากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด1.ชื่อทางการค้า ต้องเป็นภาษาไทย ขนาดเห็นได้ชัด หากมีชื่อเป็นภาษาต่างประเทศต้องตรงกันหรือมีความหมายอย่างเดียวกันกับชื่อการค้าภาษาไทย2.ชื่อและอันตราส่วนของสารสำคัญ ต้องแสดงเป็นหน่วยร้อยละของน้ำหนักต่อน้ำหนัก (% w/w) หรือร้อยละของน้ำหนักต่อปริมาตร (% w/v)3.ประโยชน์4.วิธีใช้5.คำเตือนหรือข้อควรระวัง ต้องใช้อักษรทึบหรือขีดเส้นใต้6.วิธีเก็บรักษา7.ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพิษ (ถ้ามี) ไมว่าจะเป็น อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำสำหรับแพทย์8.การทำลายภาชนะบรรจุ (ถ้ามี)9.เครื่องหมายและข้อความแสดงระดับความเป็นพิษ และ/หรืออันตรายตามที่กำหนด (ถ้ามี) 10.เลขที่รับแจ้ง 11.ขนาดบรรจุ (ปริมาณสุทธิ) 12.วัน เดือน ปี ที่ผลิต 13.วันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี)14.เลขหรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต (Lot Number/ Batch Number)15.ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้ผลิตในประเทศ หรือนำเข้า พร้อมชื่อและประเทศของผู้ผลิตผลการสำรวจฉลากตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่ไม่ว่า สำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นหรือทำความสะอาดเสื้อผ้า จะมีการให้ข้อมูลในเรื่องการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายตัวอย่าง ที่อ้างว่า สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า 100% เพราะดูเป็นการโอ้อวดเกินจริง แต่ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความบนฉลากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค อนุญาตให้แสดงค่าความสามารถหรือตัวเลขที่แสดงความสามารถในการฆ่าเชื้อ เมื่อมีข้อมูลผลการทดสอบประสิทธิภาพเชิงปริมาณ แต่ต้องระบุชื่อเชื้อที่ใช้ทดสอบและแสดงข้อความว่าเป็นข้อมูลที่ได้จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยตัวอย่างที่สำรวจส่วนใหญ่ก็จะมีการอ้างถึงแหล่งที่มาของการทดสอบ แต่ก็มีบางตัวอย่างที่ใช้คำโฆษณาเรื่องการฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% แต่ไม่ได้อ้างอิงที่มาของคำโฆษณาดังกล่าว เช่น แวนิช ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบ เอ๊กซ์ตร้า ไอยีน และ เดทตอล ลอนดรี แซนิไทเซอร์ผลิตภัณฑ์ที่แสดงโฆษณาบนฉลากว่า “สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” หมายความว่าผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Staphylococcus aureus และ Salmonella enterica (choleraesuis)ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แม้จะมีสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่ำ แต่ก็ถือเป็นสารที่อันตรายหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธี เช่น เข้าตา หรือเผลอกลืนกินเข้าสู่ร่างกาย เพราะฉะนั้นต้องเก็บผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้พ้นมือเด็ก ส่วนผู้ที่ใช้แล้วเกิดอาการแพ้ต้องหยุดใช้ทันทีและควรไปพบแพทย์ ปริมาณที่ใช้ก็ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าและพื้นที่ภายในอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ เป็นสารในกลุ่ม disinfectant ซึ่งสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจง เหมาะสำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ โดยสารเคมีหลักๆ ที่ใช้ก็คือสารที่มีผลในการฆ่าและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค กับสารที่ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิว (surfactant) ซึ่งก็มีคุณสมบัติในการขจัดสิ่งสกปรกและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะ Ethoxylated alcohol, Sodium Lauryl Sulfate,  Alkyldimethyl benzyl ammonium chloride และ Didecyl dimenthyl ammonium chlorideผลทดสอบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 190 จักรเย็บผ้า

ฉบับนี้เอาใจคนรักงานผ้าอีกครั้ง ใครกำลังมองหาจักรเย็บผ้าเอาไว้ปรับแต่ง ซ่อมแซม หรือตัดเย็บเสื้อผ้าให้ตัวเองและสมาชิกในครอบครัว หรือจะสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้แต่งบ้าน เช่น ม่าน ปลอกหมอน ให้อินเทรนด์อยู่เสมอ ลองดูผลทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศหรือ ICRT ทำไว้ได้เลย เรามีมาให้เลือกทั้งหมด 7 รุ่น ที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป เริ่มจากจักรเอื้ออาทรราคาประมาณ 2,800 บาท ที่ผลิตขายโดยซูเปอร์มาร์เก็ตราคาประหยัดในเยอรมนี ไปจนถึงจักรสัญชาติเยอรมันที่ผลิตในไต้หวันที่ราคาประมาณ 18,000 บาท (ราคาที่อ้างถึงเป็นการแปลงจากค่าเงินยูโร)ทีมงานทดสอบพบว่า จักรเย็บผ้าที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นรุ่นที่มีราคาสูงสุดด้วย แต่ราคาก็ไม่ได้การันตีคุณภาพหรือความพึงพอใจเสมอไป รุ่นที่ราคาแพงเป็นอันดับสองกลับได้คะแนนในกลุ่มรั้งท้าย เป็นต้น ติดตามคะแนนแต่ละด้านในเรื่องของการใช้งานและความสะดวกได้ดังนี้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 189 “ทิชชู่เปียก” เลือกใช้เท่าที่จำเป็น

ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายหลากหลายประเภท ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันชนิดหนึ่งก็คือ ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย” หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “ทิชชู่เปียก” (Wipes) ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ ใช้เช็ดทำความสะอาดได้ทั้งผิวกาย ผิวหน้า ใช้ลบรอยเครื่องสำอาง บางชนิดบางยี่ห้อก็สามารถนำไปทำความสะอาดผิวกายของทารกได้ด้วย หตุผลที่ผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย หรือ ทิชชู่เปียก ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน น่าจะมาจากความรู้สึกของผู้ใช้ที่รู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้สามารถทำความสะอาดได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าจะใช้แค่กระดาษชำระธรรมดา ทั้งนี้เพราะผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ มีส่วนประกอบหลักคือ “น้ำ” ทำให้เวลาที่เช็ดทำความสะอาดนอกจากคราบสกปรกจะถูกเช็ดออกได้หมดจดมากกว่าแล้ว ยังทำให้ผิวของผู้ใช้รู้สึกถึงความชุ่มชื่น นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว สารฆ่าเชื้อโรค สารที่ช่วยบำรุงผิว จึงอาจทำให้ผู้บริโภคมั่นใจและนิยมมากกว่ากระดาษทิชชู่แต่การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของสารเคมีในกลุ่มของสารที่ใช้ฆ่าเชื้อ (กลุ่ม Antiseptics หรือสารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่อยู่ภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิต ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ) แม้ว่าจะเป็นสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้เพราะผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตราย แต่ผิวของแต่ละคนไม่เหมือนกันอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงอาจเกิดขึ้นได้นอกจากนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศว่าพบผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ มีบางตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลชีววิทยาจำนวน 2 ตัวอย่าง(จาก 44 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีจำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และ รา ที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศมากกว่า 1,000 cfu/g ซึ่งอาจมีสาเหตุจากกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ จึงต้องระมัดระวังในการใช้ให้ถูกวิธี ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จะพาไปดูผลการเปรียบเทียบของผลิตภัณฑ์ “ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย” ว่าแต่ละยี่ห้อที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด มีจุดดีจุดเด่นอะไรกันบ้าง ผลการสำรวจ-จากการสำรวจพบว่า มีการกล่าวอ้างบนฉลากว่า “ไม่มีการใช้แอลกอฮอล์” แทบจะทุกยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม แอลกอฮอล์ที่ถูกอ้างถึง น่าจะหมายถึง เอทานอล (ethanol) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค แต่ก็เป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ง่าย แต่จากการสังเกตบนฉลากในส่วนประกอบบางยี่ห้อที่อ้างว่าปราศจากแอลกอฮอล์นั้น ก็มีการระบุว่า มีการใช้ Dichlorobenzyl alcohol ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ ชนิดหนึ่งเช่นกัน ซึ่งนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในช่องปาก และบางยี่ห้อมีการใช้ Phenoxyethanol ที่มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่เข้มข้นอาจเกิดอาการแพ้ได้-พบว่า มีการใช้คำอ้างว่า ลดการสะสมของแบคทีเรีย แอนตี้แบคทีเรีย สูตรแอนตี้แบคทีเรีย ในหลายยี่ห้อ แต่มีเพียง 4 ยี่ห้อที่ ระบุลดการสะสมของแบคทีเรีย 99.9% คือยี่ห้อ เดทตอล ซึ่งระบุวิธีการทดสอบ จากผลการทดสอบในหลอดทดลองระยะเวลาสัมผัสเชื้อ E.coli, S.aureus นาน 60 วินาที (เรกคิทท์ เบนคีเซอร์, 2558)ยี่ห้อ เซลล็อกซ์ พิวริฟาย อ้างว่าลดการสะสมของแบคทีเรีย(S.aureus,K.pneumoniae) 99.9% ด้วยเทคโนโลยีเจิร์มเคลียร์พลัส แต่ไม่มีรายละเอียดวิธีการทดสอบเหมือนเดทตอลยี่ห้อ แคริสม่า อเนกประสงค์ อ้างว่า มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อไวรัส รา และแบคทีเรียได้ถึง 99.99% แต่ไม่มีการบอกถึงลักษณะของการทดสอบว่าใช้วิธีการใด อ้างเพียงว่า ผ่านการรับรองโดยนักวิจัยจากห้องทดลองชั้นนำ ใน UK และ VIRUSOLVE+ นอกจากนี้ยังไม่มีการระบุเลขที่จดแจ้งบนฉลากด้วยยี่ห้อ แคริสม่า ผ้าเช็ดผิวแบบเปียก สูตรยับยั้งแบคทีเรีย มีการใช้ภาพเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Antibacterial 99.9% โดยไม่ระบุวิธีการทดสอบแต่อย่างใด ซึ่งน่าจะเข้าข่ายฉลากที่ชวนให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ โดยกล่าวอ้างเกินจริง ว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 99.9 %ฉลาดซื้อแนะนำ- ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย หรือ ทิชชู่เปียก จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องสำอาง ต้องมีการจดแจ้งเพื่อผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทยชัดเจนครบถ้วน มีเลขที่ใบรับแจ้ง รวมถึงระบุผู้ผลิตชัดเจน และควรสังเกตหากใช้แล้วมีอาการแพ้ เป็นผื่นแดง บวม อักเสบ ต้องหยุดใช้ และไปพบแพทย์ทันที- ควรใช้ให้ถูกวิธีและปฏิบัติตามคำเตือนบนฉลาก เช่น ไม่ควรเช็ดรอบบริเวณดวงตา ไม่ทิ้งลงในชักโครก - ชนิดที่ระบุว่า ฆ่าเชื้อโรคได้ 99% ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่อาจก่อให้เกิดเชื้อโรคดื้อยาในสิ่งแวดล้อม - ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย ที่ถึงแม้จะโฆษณาว่า อ่อนโยนต่อผิวทารก ไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีน้ำหอม ใช้แล้วไม่ระคายเคืองต่อผิว แต่ก็ควรใช้แต่พอดีใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่เป็นการสร้างขยะ และการทิ้งเชื้อโรคไว้ในทิชชู่เปียก ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้วิธีทำความสะอาดแบบธรรมดาอย่างการใช้สบู่และน้ำจะดีกว่า ประหยัดกว่า- มีข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) ว่า ได้มีการเรียกเก็บผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดแบบเปียกบางยี่ห้อคืนจากท้องตลาด เนื่องจากพบจุลินทรีย์ในกลุ่ม Pseudomonas ปนเปื้อน ดังนั้นก็ใช่ว่า ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดแล้ว จะสะอาดเสมอไป เพราะอาจได้เชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่เพิ่มเข้ามาด้วย - ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้วควรทิ้งทันที เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เมื่อเช็ดทำความสะอาดผิวของตัวเราแล้วไม่ควรนำไปเช็ดทำความสะอาดผิวของคนอื่นอีก- การอ้างว่า ผ่านการทดสอบโดยสถาบันหรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังมาแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวนั้น อย่าได้วางใจ 100% เพราะผิวของแต่คนแตกต่างกัน โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีอย่างผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายถือว่ามีความเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นควรใช้อย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำเตือน เมื่อเกิดอาการแพ้ต้องหยุดใช้ทันทีทิชชู่เปียก ทำลายสิ่งแวดล้อม?ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้ว ถือเป็นขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายช้า ว่ากันว่าต้องใช้เวลามากกว่า 100 ปีในการย่อยสลาย เช่นเดียวกับพลาสติก มีหลายคนที่นำผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้วทิ้งลงในชักโครก ซึ่งการเป็นต้นเหตุให้เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ อย่างที่ประเทศอังกฤษบรรดาบริษัทด้านระบบประปาต่างรบตัวกันออกแคมเปญ “อย่าทิ้งทิชชู่เปียกลงในชักโครก” ส่วนในอเมริกาก็มีกรณีฟ้องร้องให้บริษัทผู้ผลิตทิชชู่เปียกจำนวน 6 บริษัท ยกเลิกข้อความบนผลิตภัณฑ์ที่บอกว่า “ทิ้งลงชักโครกได้” เพราะเมื่อทิ้งลงไปแล้ว ตัวทิชชู่เปียกไม่ได้ถูกย่อยสลาย แถมจะไปอุดตันตามท่อ ถ้าออกไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมสารประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย1.  น้ำ ใช้เพื่อทำเป็นตัวทำละลายสารต่างๆ ถือเป็นส่วนประกอบหลัก ในฉลากผลิตภัณฑ์อาจจะใช้คำที่หลากหลายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น water, Puriffed water, Pure Water และ Aqua2.   สารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค ที่พบบ่อย Ethanol, Dichlorobenzyl Alcohol, Benzalkonium Chloride Isopropyl Methylphenol เป็นต้น3. สารลดแรงตึงผิว(Surfactants) มีคุณสมบัติเพื่อช่วยให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากพื้นผิวโดยง่าย เช่น lauryl hydroxysultaine และสารลดแรงตึงผิวบางชนิดมีคุณสมบัติทำลายเชื้อโรคพ่วงด้วย ที่พบใช้อยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ก็คือ Benzalkonium Chloride นอกจากนี้ยังมีสารที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นอย่าง Panthenol และสารที่ได้จากกรดผลไม้อย่าง Malic Acid (สารสกัดจากแอปเปิล), Citric Acid (สารสกัดจากส้ม) หรือ Ascorbic Acid (วิตามินซี)4.  น้ำหอม ใส่เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมเชิญชวนให้น่าใช้มากขึ้น บนฉลากจะใช้คำว่า Fragance, Perfume หรือ Parfum5.  วัตถุกันเสีย (Preservative) มีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพก่อนกำหนด สารที่นิยมใช้คือ Sodium Benzoate เป็นได้ทั้งวัตถุกันเสียและมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อด้วยเช่นกัน และสารในกลุ่ม Paraben เช่น Methylparaben และ Ethylparaben ซึ่ง พาราเบนเป็นสารที่ยังมีข้อสงสัยในหมู่นักวิจัยว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็ยังเป็นสารที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ โดยอ้างว่าปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อยู่ในปริมาณที่น้อยมากจนไม่น่าส่งผลกระทบใดๆ แต่ก็เริ่มมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวนไม่น้อย ที่เลิกใช้สาร Paraben เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย ทำมาจากผ้าที่มีชื่อเรียกว่า Spunlance Nonwoven เป็นผ้าชนิดที่ไม่มีการถักการทอตามลักษณะโดยทั่วไป แต่เกิดจากการยึดติดกันของเส้นใยโดยการใช้สารเคมี และยึดโดยการใช้ความร้อน อัดติด หรือการทำให้เส้นใยยึดติดเกาะกันเองด้วยกระบวนการทางเคมี เชิงกล ความร้อน สารละเลย หรือหลายๆ อย่างรวมกัน มีคุณสมบัติเป็นผ้าที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม เส้นใยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้ใช้ ดูดซึมน้ำและของเหลวได้ดี น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 กระเป๋าเดินทางล้อลาก

ฉลาดซื้อขอนำเสนอผลการทดสอบกระเป๋าล้อลากเอาใจคนรักการเดินทางกันบ้าง ผลการทดสอบที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ทำไว้คราวนี้ มีมาให้พิจารณากัน 17 รุ่น ทั้งแบบที่ทำจากพลาสติกและแบบที่ใช้วัสดุผ้า มีทั้งแบบ 4 ล้อ และ 2 ล้อ สนนราคาเริ่มตั้งแต่ต่ำกว่า 3,000 ไปจนถึงมากกว่า 20,000 บาท โชคดียังเป็นของผู้บริโภคอย่างเรา เพราะรุ่นที่ดีที่สุดไม่ใช่รุ่นที่แพงที่สุดและรุ่นที่ราคาต่ำที่สุดก็ไม่ได้คุณภาพต่ำตามราคา และทีมทดสอบพบว่าส่วนประกอบอย่างคันชัก ซิปและล้อของกระเป๋าทุกรุ่นที่ทดสอบมีความแข็งแรงทนทานในระดับที่น่าพอใจ แต่จะเฉือนกันอยู่ก็ตรงความทนทาน ความสามารถในการกันน้ำซึมเข้าของตัวกระเป๋า และความพึงพอใจของผู้ใช้ ... ติดตามรายละเอียดได้ในหน้าถัดไป                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 184 เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและเดบิตเป็น “บัตรชิปการ์ด” แต่ละธนาคารมีเงื่อนไขอะไรบ้าง?

ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะมีการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต จากบัตรแบบเดิมที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก มาเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” (chip card) โดยการใช้งานยังคงสามารถใช้ได้ตามปกติเช่นเดียวกับบัตรแบบเดิม ทั้งการกดเงินหรือทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งการใช้บัตรเดบิตใช้จ่ายแทนเงินสดผ่านเครื่องรับบัตรโดยผู้ที่ขอทำบัตรใหม่กับทางธนาคารตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นต้นมา ก็จะได้รับบัตรแบบชิปการ์ดทันที ส่วนผู้ที่มีบัตรเดิมแบบแถบแม่เหล็กต้องไปดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปการ์ดได้ที่ธนาคารผู้ให้บริการบัตรนั้นๆ ทั้งนี้บัตรชนิดแถบแม่เหล็กยังสามารถใช้งานได้ปกติ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 การขอเปลี่ยนบัตรจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดนั้น ธนาคารแต่ละแห่งก็มีเงื่อนไขในการเปลี่ยนแตกต่างกัน บางแห่งก็บริการเปลี่ยนฟรีไม่มีค่าบริการ บางแห่งเปลี่ยนฟรีแต่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา บางแห่งก็มีการคิดค่าธรรมเนียมปกติไม่ต่างจากการขอทำบัตรใหม่ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้จึงได้สำรวจเงื่อนไขในการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดของแต่ละธนาคารว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง            ทำไมต้องเปลี่ยนเป็น “ชิปการ์ด”นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พูดถึงเหตุผลในการให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศดำเนินการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด ไว้ 2 เหตุผลสำคัญ คือ ข้อที่ 1.เรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวปัญหาการโจรกรรมปลอมแปลงข้อมูลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต หรือการ skimming ปรากฏเป็นข่าวบ่อยครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายและมีผลต่อความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยกับผู้ใช้บัตร ซึ่งนางทองอุไรให้ความมั่นใจว่า บัตรแบบชิปการ์ดจะเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้บัตรมากขึ้นกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็ก โดยถือเป็นมาตฐานที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกใช้กัน ทั้งในยุโรป และในประเทศแถบภูมิภาคเอเซียอย่าง มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ข้อที่ 2.เป็นการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2558 ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร โดยการปรับเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตจากชนิดแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดอยู่ในแผนการดำเนินการโครงการที่ 2 จากทั้งหมด 4 โครงการ เรื่อง “การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์” ที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บัตรและใช้จ่ายทำธุกรรมการเงินต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยภาครัฐจะรับหน้าที่กระจายอุปกรณ์ชำระเงินเพื่อรองรับการใช้จ่ายผ่านบัตร โดยจะเริ่มที่หน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งนี้การเปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ดก็เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตรูดชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เป็นนโยบายที่ภาครัฐใช้เพื่อส่งเสริมการให้ประชาชนในประเทศหันมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ประกอบด้วย 4 โครงการหลัก คือโครงการที่ 1 การรับชำระเงินแบบ Any ID ซึ่งเป็นนโยบายที่จะให้ประชาชนนำเลขที่บัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มาใช้เป็นรหัสสำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน แทนการใช้เลขที่บัญชี ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ง่ายมากขึ้น สอดรับไปกับระบบการโอนเงินแบบใหม่ที่มีชื่อว่า “พร้อมเพย์-PromptPay” ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน พร้อมเพย์-PromptPay ด้วย Any ID ตั้งแต่วันที่ 15. ก.ค.59 เป็นต้นไปโครงการที่ 2 การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือการสนับสนุนให้มีการเข้าถึงและใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เริ่มด้วยการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” เพื่อเพิ่มความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บัตรโครงการที่ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการพัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนสะดวกสบายในการนำส่งภาษีผ่านระบบออนไลน์ คาดว่าจะพร้อมใช้ในปี 2560โครงการที่ 4 e-Payment ภาครัฐ เป็นแผนที่หน่วยงานภาครัฐจะเลือกใช้วิธีจ่ายค่าสวัสดิการเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่จ่ายให้กับภาคประชาชนโดยตรงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2559 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด-บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กแบบเดิม ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ จนถึง 31 ธันวาคม 2562-จากการสำรวจค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด จะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์เจ้าใหญ่ๆ ที่มีสาขาบริการเยอะๆ ต่างก็ถือโอกาสช่วงปรับเปลี่ยนบัตร ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็ม(ธรรมดา) ไปในเวลาเดียวกัน เท่ากับว่าตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นปีที่บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตทุกใบจะต้องเป็นบัตรแบบชิปการ์ดทั้งหมด บัตรเอทีเอ็มก็จะไม่สามารถใช้งานได้อีก บัตรพื้นฐานที่สุดก็จะเป็นบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดฉลาดซื้อ ฉบับที่ 169 เคยได้สำรวจราคาค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีเปรียบเทียบระหว่างบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบพื้นฐานเมื่อเดือน มกราคม 2558 พบว่าราคาค่าธรรมเนียมของบัตรทั้ง 2 ชนิด ธนาคารส่วนใหญ่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกัน คือแรกเข้า 100 บาท รายปี 200 บาท ซึ่งก็ยังเป็นราคาเดียวกับบัตรเดบิตชิปการ์ดแบบพื้นฐานที่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีที่ 100 บาท และ 200 บาท ตามลำดับ-บัตรแบบชิปการ์ด จะเพิ่มรหัสบัตรในการใช้งานกับตู้เอทีเอ็มเป็น 6 ตัว จากเดิมที่มีแค่ 4 ตัว ทั้งนี้อาจจะยังมีบางธนาคารที่ยังใช้ 4 ตัวตามเดิม-ควรนำบัตรเก่าไปยืนยันการขอบัตรใหม่ด้วย เพื่อแสดงให้ธนาคารรู้ว่ามา ขอเปลี่ยนบัตร ไม่ใช่ทำบัตรใหม่-จากการสำรวจพบว่าแม้ธนาคารหลายแห่งจะโฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ดได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของเวลามากำหนด โดยจะให้เวลาถึงแค่ 31 ธ.ค. 59 นี้เท่านั้น ที่แตกต่างก็คือ ธนาคารกรุงไทย ที่ให้เปลี่ยนได้จนถึง 31 ธ.ค. 62 หรือกำหนดวันสุดท้ายที่ยังสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบเดิม-ธนาคารกสิกรไทย แจ้งว่าไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน แต่เมื่อไปขอเปลี่ยนบัตร ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งผู้ใช้บัตรสามารถขอคืนค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเก่าตามระยะเวลาที่ไม่ได้ใช้ได้แต่ยังไม่ทันไรก็มีปัญหาเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ดของธนาคารกสิกรไทย เมื่อธนาคารมีการตัดค่าธรรมเนียมของผู้เปลี่ยนบัตรโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ในช่วงเวลา 02.00-05.00 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน 59 ซึ่งมีผู้ร้องเรียนผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก สุดท้ายธนาคารกสิกรไทยก็ออกมายอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของธนาคารเอง โดยทางธนาคารก็ออกมาชี้แจงว่าได้ทำการโอนเงินที่ถูกตัดไปคืนให้กับผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดที่มา: facebook.com/KBankLive-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรณีขอเปลี่ยนบัตรต่างสาขากับที่ออกบัตรเดิม จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 30 บาท-บัตรแบบชิปการ์ดสามารถใช้งานได้กับตู้เอทีเอ็มได้ตามปกติ แต่ในระยะแรกอาจมีตู้เอทีเอ็มบางตู้ในบางพื้นที่ของบางธนาคารที่ยังไม่พร้อมใช้งาน โดยเครื่องเอทีเอ็มที่ยังไม่พร้อมรองรับการใช้งานจะมีการแสดงข้อความให้ทราบที่หน้าตู้   คนไทยใช้บัตรเอทีเอ็มน้อยลง?ข้อมูลจากรายงานระบบการชำระเงิน 2557 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุเอาไว้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยผ่านตู้เอทีเอ็มพบว่า คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มในสัดส่วนที่ลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มอยู่ 418.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินต่างๆ ของคนไทย แต่ในปี 2557 มูลค่าการชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มลดลงมาอยู่ที่ 373.8 พันล้านบาท หรือแค่ 1.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดโดยวิธีการทำธุรกรรมการชำระเงินที่คนไทยเลือกใช้มากที่สุดก็คือ การใช้จ่ายด้วยเงินสด โดยในปี 2557 คนไทยถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มทั้งหมด 7,508. พันล้านบาท หรือ 30.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมด รองลงมาคือ โอนเงินและตัดเงินล่วงหน้าอัตโนมัติ 6,312.4 พันล้านบาท หรือ 25.7% และการชำระเงินและโอนเงินด้วยบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ 4,952.8 พันล้านบาท หรือ 20.2% โดยสถิติปัญหาแต่ละเรื่องจะประกอบไปด้วย การขอคำปรึกษา การร้องเรียน และการแจ้งเบาะแส/ให้คำแนะนำ ที่มา: รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ในการให้ข้อมูล/คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ปี 2558, ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 ผลทดสอบ กระจกนิรภัยกันรอยหน้าจอสมาร์ทโฟน

“แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ” เป็น 1 อุปกรณ์เสริมที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยสำหรับคนใช้โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะรุ่นที่เป็นสมาร์ทโฟนที่สั่งการโดยใช้การสัมผัสที่หน้าจอ ส่วนใหญ่เกือบทุกคนต้องหาซื้อมาติดไว้ที่หน้าจอมือถือของตัวเอง เพื่อช่วยให้หน้าจอยังดูเหมือนใหม่ ใช้งานได้นาน ที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน ซึ่งฟิล์มกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่ขายอยู่ทั่วไป มีราคาตั้งแต่ไม่ถึงร้อยบาทไปจนถึงหลักพันบาท แตกต่างกันไปตามวัตถุดิบที่นำมาผลิตและคุณสมบัติ โดยชนิดของแผ่นกันรอยที่ถือว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือได้ดีที่สุดก็คือ กระจกนิรภัยกันรอย (Tempered Glass)ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่าง แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ชนิดที่เป็นกระจกนิรภัยกันรอย จำนวน 8 ตัวอย่าง ซึ่งเราเลือกรุ่นที่ใช้สำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iPhone6 ทั้งหมด  โดยมี “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการทดสอบ    ประเด็นในการทดสอบมี 3 ประเด็น คือ1.ทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test)2.ทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง3.การวัดความแข็งซึ่งเแต่ละประเด็นการทดสอบ เป็นการทดสอบคุณสมบัติวัสดุที่นำมาผลิตเป็นแผ่นกระจกป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอสมาร์ทโฟน ขั้นตอนการทดสอบ1.ทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test) (มาตรฐาน ASTM หรือย่อมาจาก American Society for Testing and Materials ซึ่งเป็นชื่อของสมาคมวิชาชีพ ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ก่อตั้งในอเมริกา ทำหน้าที่พัฒนาระบบมาตรฐานต่างๆ ทั้งด้านการผลิต การใช้งาน เพื่อส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นำมาใช้ได้โดยสมัครใจ)1.1 ติดกระจกนิรภัยแต่ละยี่ห้อ ลงบนหน้าจอสมาร์ตโฟน หลังจากนั้นนำ cross cut guide หลังจากนั้นเปลี่ยนทิศทางของ cross cut guide ให้ตั้งฉากกับรอยตัดเดิม แล้วทำการกรีดตามร่องให้ครบทั้ง 10 ร่อง 1.2 นำเทปกาวมาตรฐาน ที่มาพร้อมกับเครื่องมือทดสอบปิดลงบนรอยกรีดรีดให้ครอบคลุมรอยกรีดทุกร่องรีดเทปกาวให้สนิทบนผิวกระจกนิรภัย1.3 ทำการดึงเทปกาวออกจากผิวกระจกนิรภัยโดยดึงด้วยความเร็วสม่ำเสมอ1.4 สังเกตรอยกรีดว่ามีหรือไม่2 ทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง    2.1 ติดกระจกนิรภัยแต่ละยี่ห้อลงบนหน้าจอสมาร์ทโฟนให้สนิทแน่น โดยใช้ฟิล์มพลาสติกใสที่แต่ละยี่ห้อให้มาทำหน้าที่เป็นแผ่นติดประสานระหว่างแผ่นกระจกกันรอยและหน้าจอสมาร์ทโฟน หลังจากนั้นนำเครื่องขัดกระดาษทรายความเร็วสูง (ความเร็วรอบของการขัด 2500 รอบต่อนาที) ขัดลงบนแผ่นกระจกกันรอยนาน 1 นาที2.2 สังเกตรอยแตกที่เกิดขึ้น พร้อมทำการถ่ายรูป เพื่อบันทึกข้อมูล3 ทดสอบความแข็งวัดความแข็งโดยใช้เครื่อง micro hardness tester, model HV-1000B หัวกดที่ใช้ คือ เพชร ซึ่งมีรูปร่างเป็นปิระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีมุมระหว่างผิวหน้าด้านตรงข้ามกันเท่ากับ 136 องศา และใช้แรงกด 1000 กิโลกรัมฟอร์ซ (kilogram-force:kgf) ระยะเวลากด 20 วินาที รอยที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กในระดับไมครอน ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการช่วยคำนวณความแข็งสำหรับทดสอบฟิล์มกระจก ผลการทดสอบ1.ผลการทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test) ไม่พบรอยขีดข่วนทุกตัวอย่างที่ทดสอบ2.ผลการทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง พบรอยแตกทุกตัวอย่างที่ทดสอบ3.ผลทดสอบความแข็ง 3 อันดับที่มีความแข็งสูงที่สุด1.Remax มีความแข็งสูงสุด คือ 968.57 วิกเกอร์2.Hishield มีความแข็ง 931.93 วิกเกอร์3.Gorilla มีความแข็ง 848.70 วิกเกอร์ความแข็งของกระจกนิรภัยสามารถเชื่อมโยงไปถึงค่าความสามารถต้านทานการสึกหรอ คือ ค่าความแข็งสูง ก็จะส่งให้ผลค่าความต้านทานการสึกหรอสูงตามไปด้วยฉลาดซื้อแนะนำจากผลการทดสอบจะเห็นว่าทุกยี่ห้อมีผลการทดสอบทั้ง 3 หัวข้อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก คือ ไม่พบรอยขีดข่วนทุกยี่ตัวอย่าง แต่ในการทดสอบการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูงพบรอยแตกทุกตัวอย่าง ส่วนการทดสอบความแข็ง ผลที่ออกมาก็อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นคำแนะนำในการเลือกซื้อกระจกนิรภัยกันรอยสำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ก็ควรเปรียบเทียบที่ราคาเป็นอันดับแรก พร้อมดูคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบไปพร้อมกัน เช่น ความหนาของกระจก ความคมชัด การลดการสะท้อนของรังสียูวี การป้องกันแสงสีฟ้า (แสงที่เป็นอันตรายต่อจอประสาทตา) จากจอมือถือ การลดหรือป้องกันการเกิดรอยนิ้วมือจากการใช้งาน ฯลฯผลทดสอบแต่ละยี่ห้อ                            

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 ผลทดสอบการป้องกัน “แสงยูวี” แผ่นกันรอยติดหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

เดี๋ยวนี้ “แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ” ที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปไม่ได้มีคุณสมบัติแค่การป้องกันรอยขีดข่วนที่จะเกิดกับหน้าจอมือถือของเราเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับคนใช้งานโทรศัพท์มือถือ 1 ในนั้นก็คือ คุณสมบัติในการป้องกัน “แสงยูวี” และ “แสงสีฟ้า” ซึ่งเป็นแสงที่ถูกส่งผ่านมาจากหน้าจอมือถือ เป็นแสงที่อาจเป็นอันตรายต่อดวงตา ยิ่งทุกวันนี้หลายคนใช้ชีวิตแบบติดหน้าจอ ใช้เวลาอยู่กับการจิ้มและสไลด์ไปบนหน้าจอมือถือสมาร์ทโฟนเกือบตลอดทั้งวัน นั้นเท่ากับว่าดวงตาของเรากำลังถูกแสงจากหน้าจอมือถือทำร้ายไปเรื่อยๆแต่อย่างที่บอกว่าปัจจุบันเรามีแผ่นกันรอยหน้าจอมือถือที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันอันตรายจากแสงยูวีวางจำหน่ายให้คนใช้สมาร์ทโฟนได้เลือกซื้อหามาใช้งาน หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผ่นกันรอยหน้าจอมือถือที่เราซื่อมาป้องกันแสงยูวีได้จริง ฉลาดซื้อจึงขอรับอาสานำตัวอย่างแผ่นกันรอยหน้าจอมือถือไปทดสอบดูสิว่า มีคุณสมบัติป้องกันแสงยูวีและแสงสีฟ้าได้จริงตามที่โฆษณาหรือไม่ และแต่ละยี่ห้อมีประสิทธิภาพในการป้องกันแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหนการทดสอบเราได้เลือกตัวอย่าง แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยทั้ง 5 ตัวอย่างเป็นแผ่นกันรอยชนิดที่เป็นกระจกนิรภัย รุ่นที่ใช้สำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iPhone6 ประกอบด้วย1.    Hishield รุ่น Blue Light Cut Tempered Glass2.    CESSORY รุ่น Glass Protector 9H3.    Focus BC รุ่น Premium Tempered Glass 9H Hardness4.    Dapad รุ่น Glass screen protector Blue light cut5.    Dr. eyes Film by VOX. รุ่น Tempered Glassใช้วิธีการทดสอบโดยนำแสงจากแหล่งกำเนิดที่ทราบค่า (ความยาวคลื่น 380-780 นาโนเมตร) ส่องผ่านฟิล์มตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ผลของสเปคตรัมของแสงที่ผ่านออกมาว่ามีองค์ประกอบของแสงอย่างไร เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ1.Spectrometer2.Integrating Sphere3.Light sourceวิธีการทดสอบ1.เตรียมกระจกเพื่อใช้ติดฟิล์มกันรอยใช้กระจกใสขนาด 2 มิลลิเมตร ตัดให้ได้ขนาดเท่ากับฟิล์มกันรอย โดยเตรียมกระจกเปล่าที่ไม่ได้ติดฟิล์มเป็นตัวควบคุมด้วย2.วัดสเปคตรัมของแสงของแผ่นกระจกเปล่าที่ไม่ได้ติดฟิล์มกันรอย เปรียบเทียบกับกระจกที่ติดฟิล์มกันรอยทั้ง 5 ตัวอย่าง แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์สเปคตรัมของแสงที่ผ่านกระจกที่ติดฟิล์มกันรอยออกมาหา ค่าเฉลี่ยของ % การส่องผ่านของแสงยูวีในช่วง 380 – 400 นาโนเมตร ผลการทดสอบ   เส้นกราฟแสดงผลการทดสอบการกรองแสงยูวีช่วงความยาวคลื่น 380-400 นาโนเมตร           ตัวอย่างแผ่นกันรอยหน้าจอมือถือที่นำมาทดสอบมีความสามารถในการกรองแสงยูวี A, B, C (ความยาวคลื่นของแสง UV-C  100-280 nm, UV-B 280-315 nm และ UV-A 315-400 nm)ได้สูงสุดเกือบ 90 % คือ  CESSORY รุ่น Glass Protector 9H เพียงตัวเดียวที่กรองได้เพียง ประมาณ 85 %   ส่วนแสงที่อยู่ในช่วงมากกว่า 400 nm ขึ้นไป ซึ่งแสงสีฟ้าก็อยู่ในช่วงคลื่นนี้ ตัวอย่างที่นำมาทดสอบยังป้องกันการผ่านของแสงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นอย่างไรก็ตามการติดแผ่นกันรอยป้องการแสงยูวี ก็ยังเป็นสิ่งที่ช่วยลดอันตรายจากการใช้งานสมาร์ทโฟนที่อาจส่งผลกับสายตาของเราได้ หากจำเป็นต้องใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นประจำและต่อเนื่องครั้งละนานๆ ก็ควรหาซื้อแผ่นกันรอยที่ช่วยป้องกันแสงยูวีมาติดไว้เพื่อช่วยถนอมดวงตาของเรา กลุ่มคลื่นแสงที่สายตามองเห็นได้กลุ่มคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Visible light) ซึ่งมีความยาวคลื่น 400 – 800 นาโนเมตร เป็นกลุ่มคลื่นแสงสีต่างๆ จำนวน 7 สีตั้งแต่คลื่นแสง สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีแดง เรียงตามความยาวของคลื่นจากน้อยไปหามาก คลื่นแสงกลุ่มนี้เป็นคลื่นแสงที่ประสาทตาของมนุษย์สามารถรับรู้ได้ทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้  กลุ่มแสงที่สายมองเห็นไม่ว่าจะอยู่ที่คลื่นใด ก็มีผลกระทบต่อดวงตาของเราทั้งสิ้น หากดวงตาเขาเราสัมผัสกับแสงเหล่านั้นนานเกินไปส่วนแสงยูวี A B C เป็นกลุ่มแสงที่อยู่ในช่วงคลื่นที่ต่ำกว่า 400 – 280 nm เป็นกลุ่มแสงที่เรามองไม่เห็น แต่ก็มีอันตรายต่อดวงตาเช่นกัน เพราะดวงตาของเราจะดูดซับเอารังสียูวีเอาไว้แบบเดียวกับผิวหนังของเรา ส่งผลทำให้จ่อประสาทตาเสื่อมอันตรายของแสงจากหน้าจอสมาร์ทโฟนแสงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เป็นแสงที่มีผลต่อดวงตาของเรา เมื่อดวงตาของเราต้องจ้องอยู่กับหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ อาการที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ ดวงตามีอาการล้า ตาแห้ง อาจมองเห็นไม่ชัดชั่วคราว นอกจากนี้ในระยะยาวอาจส่งผลทำให้จอประสาทตาเสื่อมวิธีดูแลดวงตาของเราให้อยู่กับเราไปนานๆการติดแผ่นกันรอยป้องกันแสงยูวีจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือเป็นเพียงแค่วิธีหนึ่ง ในการลดอันตรายของแสงต่อดวงตาของเรา แต่วิธีการดูแลรักษาดวงตาของเราที่ดีที่สุดต้องเริ่มจากพฤติกรรมการใช้งาน1.ใช้แต่พอดี ไม่ว่าจะเป็นมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ไม่ใช้งานต่อเนื่องกันเกิน 2 ชั่วโมง ควรให้สายตาของเราได้พักบ้าง อย่าจ้องอยู่แต่ถ้าจอ ควรพักสายตาด้วยมองไปยังออกไปไกลๆ ที่จุดอื่น กะพริบตาบ่อย อย่าจ้องหน้าจอจนตาแห้ง2.ใช้งานในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ แสงสว่างที่เพียงพอ ไม่มากและน้อยเกินไป มองแล้วสบายตา และควรอยู่ในระยะห่างที่พอดี ประมาณ 30 ซม.จะช่วยให้สายตาของเราไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป2.ให้ดวงตาได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ การพักผ่อนที่ดีที่สุดก็คือการนอนหลับ ให้ดวงตาที่เมื่อยล้าของเราได้พักอย่างเต็มที่3.ดื่มน้ำเยอะๆ การดื่มน้ำช่วยให้ดวงตาของเราชุ่มชื้นขึ้น เพราะการที่ต้องจ้องอยู่กับหน้าจอนานๆ จะทำให้ตาแห้ง4.กินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผัก-ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินเอสูง เช่น ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ มะละกอสุก กล้วย ฯลฯ รวมทั้งอาหารในกลุ่มโปรตีนที่ช่วยซ่อมแซมและบำรุงสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ไข่ นม ปลา เป็นต้นขอขอบคุณ ห้องปฏิบัติการแสงและอุณหภูมิ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา                 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 180 ที่นั่งสำหรับเด็กในรถยนต์

ฉบับนี้เรามีผลทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารตัวน้อยมาฝากสมาชิกที่กำลังมองหาที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (หรือที่เรียกกันติดปากว่าคาร์ซีท) มาติดรถไว้ยามที่มีเด็กเล็กร่วมเดินทางไปด้วย  เราใช้ผลทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ได้ทำไว้กับคาร์ซีทรุ่นที่วางตลาดในยุโรปในปีที่ผ่านมา สนนราคาค่าทดสอบก็ไม่มากเลย แค่ตัวอย่างละประมาณ 8,000 ยูโร (240,000 บาท) เท่านั้น การทดสอบครั้งนี้มีคะแนนให้ ด้านความปลอดภัย (การป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้า ด้านข้าง รวมถึงความแข็งแรงในการยึดกับเบาะรถ) ตามด้วยความสะดวกในการติดตั้ง/การใช้/การปรับให้พอดี/การทำความสะอาด การออกแบบที่ถูกหลักทางการยศาสตร์ (ergonomics) ที่เกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอย ลักษณะการนั่ง และความนุ่มสบาย นอกจากนี้ยังดูเรื่องของการใช้สารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้ในยุโรปด้วย ที่นั่งนิรภัยเหล่านี้ดีจริงสมราคาหรือคำร่ำลือในสังคมออนไลน์หรือไม่ ติดตามได้ในหน้าถัดไป•    หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่ค้นจากอินเตอร์เน็ทในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กรุณาตรวจสอบราคา นอกจากนี้อย่าลืมสอบถามผู้ขายเพื่อความแน่ใจว่าที่นั่งนิรภัยรุ่นดังกล่าวสามารถใช้ได้กับรถยนต์ที่ท่านต้องการติดตั้งหรือไม่   ECE R44/04ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา พาหนะทุกคันในยุโรปต้องมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย และมีการใช้ที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็ก นอกจากนี้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการใช้ที่นั่งเสริมในรถสำหรับเด็กจนกว่าเด็กจะมีความสูงถึง 135 หรือ 150 ซม.ด้วยทั้งนี้ที่นั่งสำหรับเด็กจะต้องมีฉลากแสดงตรารับรอง ECE R44/04 เมื่อผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นใน พ.ศ. 2525 ที่นั่งสำหรับเด็ก สามารถแบ่งกลุ่มตามน้ำหนักตัวของเด็ก ดังนี้Group O    ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 9 เดือน)Group O+    ต่ำกว่า 13 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 15 เดือน)Group I        9 - 18 กิโลกรัม (ประมาณ 8 เดือน – 3 ปีครึ่ง)Group II    15 - 25 กิโลกรัม (ประมาณ 3 – 7 ปี)Group III      22 - 36 กิโลกรัม (ประมาณ 6 – 12 ปี)i-Size คืออะไร?i-Size คือมาตรฐานใหม่ของยุโรปสำหรับที่นั่งในรถสำหรับเด็ก ปัจจุบันรถยนต์ที่ได้รับการประเมิน 5 ดาวจาก Euro NCAP ทุกคันจะต้องสามารถใช้กับที่นั่งเด็กตามมาตรฐาน i-Size ได้   มาตรฐานนี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็ก เพื่อใช้ควบคู่ไปกับ R44/04 ตัวเดิม สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือการรองรับศีรษะและคอของเด็ก การป้องกันที่ดีขึ้นทั้งจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ที่จะทำให้เด็กยังคงอยู่ในที่นั่งแม้รถจะพลิกคว่ำการจัดกลุ่มจะแบ่งตามความสูงของเด็ก (ไม่ใช่น้ำหนัก) ที่นั่งมาตรฐาน i-Size จะใช้ได้กับรถยนต์ที่มีหัว IsoFix เพื่อรองรับการติดตั้ง (รถส่วนใหญ่ที่ผลิตหลัง พ.ศ. 2550 จะมีอุปกรณ์ดังกล่าว)                                    

อ่านเพิ่มเติม >