“สยอง!! ทัวร์กทม.-ร้อยเอ็ด ชนรถพ่วงไฟลุกท่วมคลอก 19 ศพ เจ็บ 23” 23 กรกฎาคม 2556 “รถตู้เถื่อนซิ่งมรณะอัดท้ายรถพ่วงตายเกลื่อน 9 ศพ” 26 สิงหาคม 2556 “บัสโรงงานซิ่งแข่งกันตกข้างทางตายสยอง 8 ศพ ที่ศรีราช ชลบุรี” 6 มิถุนายน 2555 "รถพ่วงชนรถทัศนศึกษานักเรียนโคราช เสียชีวิต 15 เจ็บกว่า 30 ราย” 28 กุมภาพันธ์ 2557 “รถทัวร์ตกสะพานห้วยตอง เพชรบูรณ์ ดับ 29 เจ็บ 4” 26 ธันวาคม 2556 ข้อความด้านบนคือส่วนหนึ่งของพาดหัวข่าวที่ชวนให้สลดใจจากเหตุการณ์อุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะในบ้านเราที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่น่ากังวลไม่ใช่แค่เรื่องความรุนแรงและความสูญเสียจากอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องจำนวนอุบัติเหตุที่เกิด ซึ่งดูเหมือนแนวโน้นมีแต่จะสูงขึ้น คำถามที่อยู่ในใจของผู้บริโภคไทยที่ต้องใช้บริการรถโดยสารสาธารณะตอนนี้ก็คือ “เกิดอะไรขึ้นกับระบบความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย?” “หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้อย่างไรกันบ้าง?” และ “มาตรฐานความปลอดภัยในชีวิตของคนไทยในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะมีมากน้อยแค่ไหน?” ผลสำรวจทางสถิติชี้ชัด ความปลอดภัยของรถโดยสารไทยเข้าขั้นวิกฤติ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้สรุปตัวเลขอุบัติเหตุ จำนวนผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์อุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะ โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 พบว่ามีจำนวนอุบัติเหตุเกิดขึ้นทั้งหมด 334 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 5,069 ราย และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 472 ราย ส่วนพื้นที่ที่มีการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะบ่อยครั้งที่สุด คือ พื้นที่ภาคกลาง มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทั้งหมด 108 ครั้ง คิดเป็น 30% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด องค์การอนามัยโลกได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเรา เป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจาอุบัติเหตุบนถนนสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า ในแต่ละวันคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ถึง 38 คน โดย 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิต เป็นกำลังหลักของครอบครัว ยังไม่นับรวมถึงจำนวนผู้ที่ได้รับเจ็บรุนแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งข้อมูลเมื่อปี 2554 มีสูงถึง 136,544 ราย โดยในจำนวนนี้ 5% หรือราวๆ 6,827 ราย ต้องลงเอยด้วยความพิการ สำหรับกลุ่มผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน กลุ่มหลักๆ ยังคงเป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 50% ขณะที่ผู้ใช้รถโดยสารสาธารณะจะอยู่ประมาณ 10% มีกฎหมายบังคับ...แต่กลับใช้ไม่ได้ผล จากสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยของรถโดยสารในปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมการขนส่งทางบก ก็ไม่ได้นิ่งเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ได้มีความพยายามกำหนดข้อบังคับต่างๆ เพื่อเป็นตัวควบคุมและป้องกันปัญหาความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดเรื่องการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของรถโดยสารใหม่ที่จดทะเบียน ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องความแข็งแรงของโครงตัวถังรถ ความยึดแน่นของเก้าอี้ที่นั่ง การบังคับให้มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยที่เบาะนั่ง โดยมีการออกข้อกำหนดเรื่องมาตรฐานเข็มขัดนิรภัย รวมถึงการให้รถโดยสารสาธารณะติดตั้งระบบ RFID ซึ่งเป็นระบบเก็บข้อมูลความเร็วขณะรถวิ่ง เพื่อเป็นการควบคุมความเร็วของรถโดยสาร แต่ดูเหมือนข้อบังคับต่างๆ ที่ออกมาจะใช้ไม่ได้ผลดูได้จากปริมาณของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต สาเหตุมาจากความประมาท และละเลยของผู้ประกอบการ พนักงานขับรถ หน่วยงานที่มีหน้าบังคับใช้กฎหมาย ไม่เว้นแม้แต่ตัวผู้โดยสารเอง เรายังคงเห็นปัญหาเรื่องรถโดยสารขับซิ่ง รถตู้บรรทุกผู้โดยสารเกิน รถผี รถเถื่อน การไม่ยอมคาดเข็มขัด ฯลฯ ฝั่งผู้ประกอบการก็คิดแต่การสร้างผลกำไรจนมองข้ามที่จะควบคุมคุณภาพการบริการ คุมเข้มเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ส่วนพนักงานขับรถก็เจอปัญหาต้องทำรอบในการขับรถขนส่งผู้โดยสาร ทำให้ต้องขับเร็วขับซิ่ง เลือกฝ่าผืนกฎหมายบรรทุกผู้โดยสารเกิน ไปจนถึงการฝืนร่างกายขับรถในระยะเวลาหรือระยะทางเกินจากที่กฎหมายกำหนด เพื่อต้องการรายได้ที่มากขึ้น ท้ายที่สุดการฝ่าฝืนต่างๆ ก็นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ผู้โดยสารในฐานะผู้บริโภคก็หลงลืมที่จะรักษาสิทธิและความปลอดภัยในชีวิตของตัวเอง เพราะอยากจะเดินทางสะดวก เดินทางไว มองข้ามความปลอดภัย เพราะความคุ้นชิน และคิดว่าไม่เป็นอะไร ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นก็สายเกินไปแล้วที่จะแก้ไข ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มองค์กรต่างๆ จำนวนไม่น้อยในสังคมที่พยายาม ผลักดันให้เกิดกฎหมายหรือการบังคับใช้ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานรถโดยสารปลอดภัยที่เข้มแข็งจริงจังในสังคมไทย สำหรับเราในฐานะผู้โดยสารคนใช้บริการ ก็ต้องจริงจังกับการรักษาสิทธิของตัวเอง คำนึงความปลอดภัยของชีวิตมาเป็นอันดับแรก สิทธิของเรา ชีวิตของเรา เราเลือกได้ หากพบเห็นหรือรู้ว่ารถโดยสารที่เราใช้บริการอยู่ เสี่ยงต่อความปลอดภัย เราต้องรีบรักษาสิทธิ เลือกที่จะปฏิเสธ และร้องเรียนเพื่อนำไปสู่การแก้ไข และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต เรื่องที่ยังเป็นปัญหาของรถโดยสารสาธารณะไทย -มาตรฐานของรถโดยสารยังต่ำกว่ามาตรฐานของรถโดยสารสากล -ผู้ประกอบการรถโดยสารส่วนใหญ่(โดยเฉพาะผู้ประกอบการรถร่วมบริการ) ยังมีความใส่ใจต่อมาตรฐานความปลอดภัยค่อนข้างน้อย -ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต ขาดการกำกับดูแลคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการรถร่วมบริการ -ระบบประกันภัยและการชดเชยเยียวยาสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุรถโดยสารยังมีการใช้งานอย่างไม่เต็มที่ -ขาดกลไกการเชื่อมโยงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการในระดับต่างๆ ที่มา: “ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย” สุเมธ องกิตติกุล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (tdri) ความปลอดภัยในรถโดยสาร เริ่มต้นที่ตัวเราเอง -เลือกใช้รถโดยสารสาธารณะที่เป็นรถที่ถูกกฎหมาย ไม่ใช่บริการรถเสริม รถผี ซึ่งจะมีระบาดมากในช่วงเทศกาลโดยเฉพาะรถตู้ ต้องเลือกรถที่เป็นทะเบียนป้ายเหลือง แสดงว่าได้รับการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เพราะรถที่ถูกกฎหมายจะมีหน่วยงานรับรองมีบริษัทต้นสังกัดคอยตรวจสอบควบคุมดูแล นอกจากนี้ต้องสังเกตข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้โดยสาร ซึ่งรถที่ถูกกฎหมายจะต้องมีบอกไว้ให้ผู้โดยสารมองเห็นชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุลพนักงานขับรถ ข้อมูลเส้นทาง เบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน -สภาพของรถต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ดูแล้วเหมาะสมกับการใช้งาน โดยสารแล้วรู้สึกมั่นใจปลอดภัย โดยเฉพาะเบาะที่นั่งต้องยึดเน้นอยู่กับตัวรถ รวมถึงอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่างๆ ต้องพร้อมสำหรับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเข็มขัดนิรภัย ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง และประตูทางออกฉุกเฉิน -คาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา -คอยสังเกตพฤติกรรมของพนักงานขับรถขณะขับขี่รถโดยสาร ว่าอยู่ในสภาพพร้อมขับรถหรือไม่ หรือหากมีพฤติกรรมขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ขับเร็วหวาดเสียว ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ให้รีบโทรแจ้งข้อมูลของรถคันดังกล่าวไปที่สายด่วนศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ 1584 -พยายามมีสติและสังเกตสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว เพื่อเฝ้าระวังและรู้ตัวได้ทันท่วงทีหากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะผู้ที่โดยสารรถตู้หรือรถทัวร์โดยสารที่วิ่งระยะทางไม่ไกลมาก ใช้เวลาไม่นาน ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรหลับขณะนั่งรถ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุตอนที่หลับอยู่อาจทำให้สลบไปในทันที เสี่ยงต่อการบาดเจ็บหนัก เบอร์โทรติดต่อเมื่อเกิดปัญหาเรื่องรถโดยสาร 1584 ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ 1348 ศูนย์รับร้องเรียนขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ 1193 ตำรวจทางหลวง 1186 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 1166 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 02 – 6291430 สภาทนายความ 02 – 2483737 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค --------------------------------------------------------------------- การเรียกร้องค่าชดเชยเมื่อประสบอุบัติเหตุ ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถโดยสารทุกคนจะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งจะการคุ้มครองเบื้องต้นในส่วนของการจ่ายเงินค่าชดเชย ทั้งค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตและพิการทุพพลภาพ รายละเอียดสิทธิเงินค่าชดเชยเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีดังนี้ กรณีความเสียหายที่ได้รับ วงเงินคุ้มครอง บาดเจ็บ เบิกค่ารักษาตามจริงได้ไม่เกิน 15,000 บาท เสียชีวิต 35,000 บาท บาดเจ็บแล้วต่อมาเสียชีวิต เบิกรวมกันไม่เกิน 50,000 บาท นอกจากนี้ผู้ประสบภัยยังสามารถเรียกร้องขอรับค่าสินไหนทดแทน หลังจากมีการพิสูจน์ความถูกผิดแล้ว ซึ่งบริษัทเจ้าของรถโดยสารที่เป็นฝ่ายผิดต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัย โดยมีเกณฑ์การจ่ายดังนี้ กรณีความเสียหายที่ได้รับ วงเงินคุ้มครอง บาดเจ็บ เบิกค่ารักษาตามจริงได้ไม่เกิน 50,000 บาท เสียชีวิต 200,000 บาท ทุพพลภาพ หรือ สูญเสียอวัยวะ 200,000 บาท ทั้งนี้ ทางบริษัทที่เป็นฝ่ายผิดยังต้องรับผิดชอบในส่วนของค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน ในกรณีที่ผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถโดยสารต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล การฟ้องคดีรถโดยสาร หากไม่ได้รับการชดเชยจากผู้ประกอบการ การเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของรถที่ประสบอุบัติเหตุนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายตัวอย่างหลายกรณีที่ผู้เสียหายถูกปัดความรับผิดชอบจากบริษัทผู้ประกอบการ ผู้เสียหายจึงต้องเลือกใช้วิธีการฟ้องร้องเป็นคดีความพึ่งอำนาจของศาล ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมาย “วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551” ที่ช่วยให้การฟ้องร้องคดีในศาลของผู้บริโภคเป็นไปด้วยความสะดวกสบายง่ายดายมากขึ้น การใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค - สามารถขอแบบฟอร์มได้ที่ศาล โดยแจ้งข้อเท็จจริงให้กับเจ้าหน้าที่ศาล ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ศาลจะช่วยเขียนคำฟ้องให้ - ผู้ร้องสามารถเขียนเองได้ (สามารถโหลดแบบฟอร์มได้จาก www.consumerthai.org ) แล้วนำไปยื่นที่ศาล - การเลือกศาลที่เหมาะสม เลือกตามมูลค่าทุนความเสียหาย • กรณีต่ำกว่า 3 แสน ฟ้องศาลแขวง • กรณีสูงกว่า 3 แสน ฟ้องศาลแพ่ง หรือศาลจังหวัด ทุกจังหวัด ----------------------------------------------------------------------------------- รู้ไว้ก่อนไปเที่ยวสงกรานต์ สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง ได้สรุปข้อมูลอุบัติเหตุบนทางหลวงช่วงเทศกาลสงกรานต์เมื่อปี 2556 ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน มีอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นรวมทั้งหมด 966 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 202 ราย บาดเจ็บอีก 1,209 ราย ซึ่งตัวเลขของจำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ ล้วนเพิ่มขึ้นจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปี 2555 โดยตัวเลขอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นถึง 22.59% จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 5.76% ขณะที่จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้นถึง 32.13% ทั้งๆ ตัวเลขการเดินทางของผู้คนในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 3% เท่านั้น 3 เส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2556 1.ทางหลวงหมายเลข 3395 วัฒนานคร – โคคลาน (กม.60+870 – กม.115+139) จำนวนอุบัติเหตุ 12 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บสาหัส 6 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 10 ราย ถนนมีลักษณะเป็นทาง 2 ช่องจราจร และมีปริมาณจราจรโดยเฉลี่ยประมาณ 11,400 คันต่อวัน อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงการทางสระแก้ว บริเวณที่เกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นทางตรง สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เกิดจากการขับรถเร็วและแซงรถอย่างผิดกฎหมาย ทำให้ เกิดการเฉี่ยวชนกัน 2. ทางหลวงหมายเลข 4 คลองบางดินสอ – นาเหนือ (กม.854+553 – กม.879+558, กม.884+598 – กม.915+493) จำนวนอุบัติเหตุ 11 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 2 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 7 ราย ถนนมีลักษณะเป็นทาง 4 ช่องจราจร และมีปริมาณจราจรโดยเฉลี่ยประมาณ 17,700 คันต่อวัน อยู่ในความรับผิดชอบของสานักงานบำรุงทางพังงา บริเวณที่เกิดเหตุ โดยส่วนใหญ่เป็นทางโค้ง สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เกิดจากการขับรถเร็ว 3. ทางหลวงหมายเลข 35 นาโคก – แพรกหนามแดง (กม.53+875 – กม.82+833) จำนวนอุบัติเหตุ 10 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 35 ราย ถนนมีลักษณะเป็นทาง 4 ช่องจราจร และมีปริมาณจราจรโดยเฉลี่ยประมาณ 110,300 คันต่อวัน อยู่ในความรับผิดชอบของสานักงานบำรุงทางสมุทรสงครามและราชบุรี บริเวณที่เกิดเหตุ โดยส่วนใหญ่เป็นทางตรง สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เกิดจากการขับรถเร็ว ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกัน
อ่านเพิ่มเติม >ใครที่กำลังเตรียมตัวออกเดินทางไกล หรือใครที่มีแผนจะแบกเป้เที่ยว สวมวิญญาณแบ็คแพ็คเกอร์ “เป้ใบเดียวเที่ยวรอบโลก” จุดหมายพร้อม ตั๋วพร้อม วันเดินทางพร้อม แต่อย่าเพิ่งรีบเก็บกระเป๋า ถ้าหากยังไม่ได้อ่านผลทดสอบ “เป้ backpack สำหรับเดินทางไกล” ลองมาดูกันสิว่ายี่ห้อไหนแข็งแรงทนทาน ใช้งานแล้วคุ้มค่ากับราคา ที่สำคัญคือสะพายขึ้นบ่าแล้วไม่พาให้ปวดหลังปวดไหล ถึงขึ้นชื่อว่าเที่ยวแบบแบ็คแพ็คจะดูสมบุกสมบันแค่ไหน แต่ถ้าเป้ที่แบกไว้บนหลังต้องกลายมาเป็นภาระ ทริปสนุกที่ตั้งใจก็อาจกร่อยโดยไม่รู้ตัว เป้สะพายหลังต้องเลือกให้ดีเพราะมีผลต่อสุขภาพ -ควรเลือกขนาดของเป้ให้เหมาะกับรูปร่างของเรา ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป เพราะขนาดของเป้จะเป็นตัวกำหนดน้ำหนักคร่าวๆ ของกระเป๋าหากเป็นเป้ใบใหญ่เกินไปแล้วบรรจุของจนน้ำหนักเกินพอดีกับที่ร่างกายจะรับไหว เวลาสะพายจะส่งผลกับช่วงคอ ไหล่ หลัง และเอว ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเจ็บปวด และอักเสบได้ หากรุนแรงมากอาจมีผลกับกระดูกสันหลังได้เลยทีเดียว -ที่ด้านหลังของเป้ต้องมีโครงโลหะ ตรงส่วนที่เรียกว่าแผ่นรองหลัง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วงแบ่งน้ำหนังของเป้ไม่ให้ถ่ายลงมาที่แผ่นหลังและเอวของเรามากเกินไป ป้องกันอาการบาดเจ็บ นอกจากนี้ ส่วนของกระเป้ที่ต้องสัมผัสกับส่วนของร่างกายของเรา ทั้งช่วงหลัง เอว คอ บ่า ต้องมีบุด้วยเบาะนวมหรือวัสดุที่มีความหนา นุ่ม เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ที่กล่าวมาไม่ต้องแบกรับน้ำหนักของเป้มากจนเกินไป -สายสะพายบ่า ต้องเลือกเป้ที่สะพายแล้วช่วงความกว้างของสายสะพายอยู่ที่ช่วงไหปลาร้าเวลาสะพาย ไม่เข้ามาใกล้คอจนเกินไป และตกลงไปขนอยู่เกือบถึงหัวไหล่ เพราะสายสะพายบ่าที่อยู่ตรงกลางจะช่วยให้น้ำหนักของเป้มีความสมดุลกับร่างกายของผู้สะพาย -สายรัดเอวและสะโพก ต้องให้อยู่ที่บริเวณเอวพอดี เพราะสายรัดเอวของเป้จะช่วยผ่อนน้ำหนักที่ทั้ง บ่า คอ หลัง เอว และสะโพก ต้องแบบรับเอาไว้ ช่วยให้ช่วงหลังไม่เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บกล้ามเหนือ เวลาที่ต้องแบกเป้ไปพร้อมกับการเดิน ตัวเป้จะถูกยึดอยู่คงที่กับด้านหลังไม่กระแทกไปมากับช่วง หลัง เอว สะโพก ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บ สายรัดสะโพกที่พอดีควรจะสามารถรัดได้ในระดับสะโพกตรงบริเวณกระดูกเชิงกราน ซึ่งจะเป็นจุดที่ช่วยในการถ่ายน้ำหนักได้ดีที่สุด วัสดุที่ใช้ทำสายรัดเอวและสะโพกต้องเป็นวัสดุที่มีความนิ่ม อาจบุด้วยโฟมหรือฟองน้ำนั้นที่มีความแข็งแรงคงทน เพราะจะเป็นส่วนที่ช่วยลดการกระแทกและทานน้ำหนักของเป้ไม่ให้กดทับเอวและสะโพกมากเกินไป เทคนิคง่ายๆ ในการเลือกซื้อเป้ 1.ผลิตจากวัสดุที่มีความคงทนทาน เบา และกันน้ำ ที่นิยมกันในปัจจุบันคือผ้า Cordura และ Ripstop ซึ่งเป็นผ้าใยสังเคราะห์ทำจากผ้าไนลอน นิยมใช้ผลิตเครื่องแบบทหาร นอกจากนี้ยังต้องมีส่วนที่เป็นผ้าตาข่ายตรงบริเวณสายสะพายบ่า ช่วงแผ่นหลัง ไล่ไปถึงเอวและสะโพกเป็นตัวบุโฟมหรือฟองสำหรับกันกระแทก ซึ่งผ้าที่เป็นตาข่ายจะช่วยเรื่องการระบายอากาศ 2.มีโครงโลหะช่วยรับน้ำหนักเป้ไม่ให้กระแทกกับแผ่นหลัง และช่วยรักษาสมดุลของเป้ ป้องกันไม่ให้แผ่นหลังของเราบาดเจ็บ ต้องเลือกโครงที่มีความเข็งแรงแต่ไม่ไปเพิ่มน้ำหนักให้กับตัวเป้ และเมื่อสะพายแล้วตัวโครงโลหะไม่มากระแทกเข้ากับแผ่นหลังเกินไปจนทำอันตรายกับแผ่นหลัง 3.ซิปล็อค ควรเลือกแบบที่เป็น 2 ซิปเลื่อนปิดเข้าหากัน เพราะมีความแข็งแรงและปิดล็อคได้แน่นหนากว่าซิปเดียว นอกจากนี้ ซิปแบบ 2 ด้านสามารถล็อคด้วยแม่กุญแจได้ ช่วยเพิ่มเรื่องความปลอดภัย ป้องกันของในกระเป๋าสูญหาย การขโมย หรือล่วงหล่นออกมาระหว่างการขนเคลื่อนย้าย 4.ควรมีช่องเก็บของหลายๆ ช่อง เพราะวัตถุประสงค์ของเป้เดินทางมีไว้บรรจุสัมภาระต่างๆ นานาอยู่แล้ว การมีช่องแบ่งแยกของแต่ละประเภทของจากกัน จะช่วยให้การใช้งานสะดวกสบายยิ่งขึ้น 5.มีส่วนของโฟมหรือฟองน้ำที่บุไว้สำหรับรองรับน้ำหนักของกระเป๋า บริเวณ บ่า หลัง เอว และสะโพก เพื่อช่วยทานน้ำหนัก ลดแรงกดทับ ลดแรงกระแทก ของน้ำหนักเป้ เพื่อให้ร่างกายไม่เสี่ยงอาการบาดเจ็บ โดยสายสะพายช่วงบ่าและสายรัดช่วงเอว ต้องสามารถปรับกระชับเข้ากับรูปร่างของผู้สะพายได้ 6.ลองสะพายดูทุกครั้งก่อนซื้อ เลือกขนาดและน้ำหนักที่เหมาะสมกับรูปร่าง เลือกที่สะพายแล้วรู้สึกสบาย ถ้าเป็นไปได้ลองให้พนักงานขายหาของที่มีน้ำหนักใส่ในกระเป่าแล้วลองสะพายดูว่ารู้สึกสบายและคล่องตัวกับการใช้เป้ใบนั้นหรือไม่ และอย่าลืมเรื่องการรับประกันสินค้า บริการหลังการขายต่างๆ เพราะปัจจุบันเป้เดินทางมีราคาค่อนข้างสูง กรณีซื้อไปใช้งานได้ไม่นานแล้วเกิดการชำรุดเสียหาย จะได้สามารถส่งกลับมาให้ทางผู้ขายรับผิดชอบดูแลแก้ไขได้ * การทดสอบความแข็งแรงของตะเข็บเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 13935-2: 1999(E) (รายการทดสอบดังกล่าวไม่อยู่ในรายการทดสอบภายใต้ มอก.17025-2548) ** เนื่องจากเป็นการทดสอบจากตัวกระเป๋าเป้สะพายหลังที่ประกอบเสร็จแล้ว ห้องปฏิบัติการจึงไม่สามารถเตรียมชิ้นทดสอบจากตัวอย่างได้ครบในทุกตัวอย่าง เพราะบางกรณีชิ้นส่วนมีขนาดเล็กเกินไปหรือไม่เหมาะกับเครื่องมือทดสอบ เป็นต้น *เป้ทุกรุ่นที่นำมาทดสอบผลิตในประเทศเวียดนาม ยกเว้น 2 ยี่ห้อได้แก่ CAMP INN และ TRAVEL MART ผลิตในประเทศไทย ** Jack Wolfskin Alpine Trail 40 และ OSPREY Kyte 36 สั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์ เนื่องจากไม่มีตัวแทนขายในประเทศไทย ***นิวตัน คือหน่วยวัดความแข็งแรงของตะเข็บ ค่าที่ได้หมายถึงแรงดึงสูงสุด(กี่นิวตัน) ที่จะทำให้ตะเข็บฉีกขาด //
อ่านเพิ่มเติม >ฉบับก่อนเราใส่ใจกันเรื่องตั๋วโดยสาร การจอง การคืน คราวนี้ถ้าได้เดินทางจริง ก็คงมาถึงเรื่องสัมภาระเนื่องจากเราต้องไปด้วยระบบสาธารณะ ไม่ได้ไปด้วยพาหนะของเราเอง จึงควรทราบถึงกฎ ระเบียบของแต่ละสายการบิน รถโดยสารสาธารณะ และรถไฟ ว่าเขาให้เรา ได้ ไม่ได้ แค่ไหน งานนี้เฉพาะเดินทางในประเทศนะคะ เริ่มด้วยการบินกันก่อน สรุป ถือติดตัวเข้าห้องโดยสารไม่เกินคนละ 7 กิโลกรัม ฟรี ทุกสายการบิน (เอาเข้าท้องเครื่องก็ได้ 7 กก. นี้ฟรีเหมือนกัน) การบินไทยและนกแอร์ โหลดเข้าใต้ท้องเครื่อง ฟรี น้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 30 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับประเภทของตั๋วโดยสาร จริงๆ ก็ไม่ฟรีหรอกมันรวมในค่าตั๋วแล้ว) แอร์เอเชียเกิน 7 กิโลกรัม ต้องจ่ายเงินเพิ่ม (จองน้ำหนักล่วงหน้าจะได้ราคาถูกกว่าหน้าเคาน์เตอร์) การบินไทย สัมภาระที่ท่านผู้โดยสารนำติดตัวขึ้นเครื่องบิน สัมภาระน้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม และมีขนาดโดยรวมไม่เกิน 45 นิ้ว (115 เซ็นติเมตร) ติดตัวขึ้นบนเครื่องบิน เกณฑ์สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การเดินทางภายในประเทศไทยตลอดเส้นทาง น้ำหนักสัมภาระอนุญาตสำหรับช่วงของการเดินทางในประเทศเท่านั้น ประเภท น้ำหนักสัมภาระทุกชิ้นรวมกันสูงสุด รอยัลซิลค์คลาส 30 กก. (66 ปอนด์) เอโคโนมีคลาส 20 กก. (44 ปอนด์) เด็กเล็กที่ไม่ใช้ที่นั่ง 10 กก. (22 ปอนด์) น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิด และสตาร์อัลลายแอนซ์โกลด์ 20 กก. (44 ปอนด์) น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดซิลเวอร์ (เฉพาะบนเที่ยวบิน TG เท่านั้น) 10 กก. (22 ปอนด์) *มีค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับช่วงของการเดินทางในประเทศเท่านั้น* ที่มา http://www.thaiairways.co.th/thai-services/your-guide-to-safety/th/th-cabin-baggage.htm http://www.thaiairways.com/th_TH/Terms_condition/baggage_policy.page นกแอร์ กระเป๋าถือ กระเป๋าถือติดตัวขึ้นเครื่อง จะต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม ต่อผู้โดยสาร 1 คน ขนาด ความยาว ความสูง ความกว้าง สำหรับเครื่องบินโดยสารทุกรุ่น 56 ซม (22 นิ้ว) 36 ซม (14 นิ้ว) 23 ซม (9 นิ้ว) การขนส่งสัมภาระโดยไม่มีค่าใช้จ่าย กระเป๋าเดินทางต้องมีน้ำหนักรวมกันไม่เกินที่ระบุไว้ในเงื่อนไขและข้อจำกัดของบริษัท ซึ่งจะไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนี้ ประเภทที่นั่ง ลูกค้าปกติ (กิโลกรัม) นกแฟนคลับ (กิโลกรัม) นกแฟนคลับพลัส (กิโลกรัม) โปรโมชั่น 15 20 25 นกประหยัด 15 20 25 นกเปลี่ยนได้ 20 25 30 สัมภาระที่มีน้ำหนักเกิน ท่านไม่มีสิทธินำสัมภาระที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ที่อนุญาต ให้ขนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากในดุลพินิจของบริษัทฯ ยินยอมให้มีการนำสัมภาระที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ที่อนุญาต ท่านจะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสัมภาระที่ มีน้ำหนักเกินคิดเป็นกิโลกรัมละ 200 บาท ที่มา http://www.nokair.com/contents/journey_plan/baggage_info/th-TH/index.html http://blogger-airlowcost.blogspot.com/2012/06/low-cost_20.html แอร์เอเชีย สัมภาระพกพา (Cabin baggage) ผู้โดยสาร 1 คน พกพาของได้หนึ่งชิ้นและ/หรือกระเป๋าโน้ตบุ๊ก 1 ใบหรือกระเป๋าถือ 1 ใบ เข้าห้องโดยสาร ของแต่ละชิ้นต้องมีขนาดไม่เกิน 56 ซม. x 36 ซม. x 23 ซม. และห้ามหนักเกิน 7 กก. เมื่อรวมกับสัมภาระพกพาแล้ว (ต้องสามารถเก็บไว้ใต้ที่นั่งด้านหน้าหรือช่องเก็บของเหนือหัวได้) 1 x สัมภาระพกพา และ/หรือ 1 x โน้ตบุ๊กที่เก็บอยู่ในกระเป๋าพร้อมอุปกรณ์เสริม หรือ 1 x กระเป๋าถือ (ชาย/หญิง) น้ำหนักรวม: 7 กก. สัมภาระใต้ท้องเครื่อง (Checked baggage) แต่ละชิ้นจะต้องมีขนาดไม่เกิน 81 ซม. (สูง) x 119 ซม. (กว้าง) x 119 ซม. (ลึก) และน้ำหนักไม่เกิน 32 กก. น้ำหนักสัมภาระใต้ท้องเครื่องที่จองได้ทางอินเตอร์เน็ต เส้นทางในประเทศ 15 กก./ 20 กก./ 25 กก./ 30 กก./ 40 กก เส้นทางระหว่างประเทศ 20 กก./ 25 กก./ 30 กก./ 40 กก *มีรายละเอียดของเงื่อนไข* ที่มา http://www.airasia.com/th/th/baggage-info/cabin-baggage.page http://www.airasia.com/th/th/baggage-info/checked-baggage.page http://blogger-airlowcost.blogspot.com/2012/06/low-cost_20.html รถโดยสารสาธารณะ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริการ รับ - ส่ง สิ่งของสัมภาะระผู้โดยสาร การเรียกเก็บค่าบริการ รับ – ส่ง สิ่งของสัมภาระจากผู้โดยสาร ข้อ 1. ผู้โดยสารสามารถนำสิ่งของสัมภาระไปได้ไม่เกินคนละ 2 ชิ้น และมีน้ำหนักรวมกันไม่เกิน 20 กก. โดยไม่ต้องเสียค่าบริการ หากเกินกว่าที่กำหนดไว้ ต้องเสียค่าบริการเฉพาะส่วนที่เกิน กก.ละ 3 บาท (สามบาทถ้วน) หรือลูกบาศก์ฟุตละ 20 บาท (ยี่สิบบาทถ้วน) โดยให้เรียกเก็บในอัตราที่บริษัทฯ ได้ประโยชน์สูงกว่า ข้อ 2. ในกรณีที่ผู้ใช้บริการ ไม่ได้เดินทางไปกับรถบริษัทฯ หากมีความประสงค์จะฝากสิ่งของสัมภาระหรือพัสดุภัณฑ์ไปกับรถบริษัทฯ ให้เรียกค่าบริการกก.ละ 5 บาท (ห้าบาทถ้วน) โดยให้เรียกเก็บในอัตราที่บริษัทฯ ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ค่าบริการต้องไม่ต่ำกว่า 50 บาท (ห้าสิบบาทถ้วน) หนังสือพิมพ์รายวันที่ฝากส่งไปกับรถบริษัทฯ ให้คิดค่าบริการ ฉบับละ 25 สตางค์ (ยี่สิบห้าสตางค์) เอกสารสำคัญ ให้คิดค่าบริการฉบับละ 50 บาท (ห้าสิบบาทถ้วน) ขั้นตอนการปฏิบัติ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริการรับ-ส่ง สิ่งของสัมภาระมีหน้าที่ปฏิบัติดังนี้1.เมื่อเจ้าหน้าที่รับเงินให้ออกใบเสร็จรับเงิน (บช. 1) เป็นรายชิ้นโดยบันทึกรายละเอียดในใบเสร็จรับเงิน ประกอบด้วย ชื่อ, ที่อยู่, หมายเลขโทรศัพท์ของผู้นำฝาก และผู้รับของปลายทางให้ชัดเจน, จำนวนเงิน, ปริมาณน้ำหนัก, ชื่อ ตำแหน่ง ผู้รับเงิน/ผู้รับฝาก และคัดแยกเอกสารใบเสร็จรับเงิน ดังนี้1.1 ฉบับสำหรับผู้ชำระเงิน = ให้ผู้นำฝาก/ผู้ชำระเงิน1.2 ฉบับสำหรับงานบัญชี = นำส่งพร้อมเงินสดให้พนักงานบัญชีและการเงิน หรือผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ลักษณะเดียวกันเพื่อรับเงิน, บันทึกบัญชี โดยจัดทำบัญชีพิเศษควบคุมใบเสร็จรับเงิน การรับ-ส่ง สิ่งของสัมภาระเป็นกาเฉพาะ1.3 ฉบับติดกับเล่ม = ให้นำติดกับสิ่งของสัมภาระในตำแหน่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจน พร้อมให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองหรือพนักงานของบริษัทฯ ตรวจสอบได้2. ส่งมอบสิ่งของให้ผู้รับของปลายทาง ที่แสดงหลักฐาน สำเนาบัตรประชาชน ชื่อที่อยู่ ตรงกับชื่อผู้รับของที่ระบุตามใบเสร็จรับเงิน ข้อห้าม ห้ามพนักงานประจำสถานีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งพนักงานประจำรถ รับบรรทุกสิ่งของสัมภาระดังต่อไปนี้1 สิ่งผิดกฎหมาย2 น้ำมันเชื้อเพลิง หรือวัตถุอันตรายอื่น ๆ3 สัตว์ หรือสิ่งของ ซึ่งอาจเป็นที่รังเกียจของผู้โดยสาร4 สิ่งของมีค่า สัมภาระที่มีราคาแพง บุบสลาย หรือเสื่อมค่าได้ง่าย เช่น โทรทัศน์, ฟิลม์ภาพยนตร์, กล้องถ่ายรูปฯ เว้นแต่ ผู้โดยสาร/ผู้ใช้บริการจะยินยอมรับผิดชอบความเสียหายนั้นเอง ชดเชยของหาย บริษัทฯ จะรับผิดชอบชดใช้ กรณีเสียหาย หรือสูญหาย เฉพาะสิ่งของ หรือสัมภาระที่ผูกติดป้าย และเก็บไว้ในช่องเก็บสัมภาระใต้ท้องรถ ในวงเงินไม่เกิน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบในความเสียหาย หรือสูญหายต่อสิ่งของมีค่าที่ติดตัวผู้โดยสาร หรือสัมภาระที่ผู้โดยสารได้เก็บไว้ภายในห้องผู้โดยสาร ผู้รับผิดชอบให้ผู้จัดการเดินรถภาค กำกับ ดูแล และมอบหมายให้รองผู้จัดการฝ่ายจัดการเดินรถ รับผิดชอบ ถือปฏิบัติ และควบคุม ดูแลให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ พร้อมทั้งจัดพนักงานเพื่อทำหน้าที่ ผูก ชั่ง ติดป้าย และเรียกเก็บค่าบริการและออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้โดยสาร และหรือผู้ใช้บริการ ที่มา http://home.transport.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=230&Itemid=305&lang=th นครชัยแอร์ 1. ผู้โดยสารทุกท่านสามารถถือสัมภาระที่จะนำไว้ใต้ท้องรถได้ไม่เกิน 2 ชิ้น (ต่อ 1 ท่าน) และน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กก. 2. ถ้าน้ำหนักเกินที่กำหนด บริษัทฯ ขอเรียกเก็บค่าระวางเพิ่ม (คิดเฉพาะส่วนที่น้ำหนักเกิน) ที่มา http://www.nakhonchaiair.com/question7.php สมบัติทัวร์ สัมภาระที่ติดตัวระหว่างการเดินทางนำไปได้ท่านละ 2 ชิ้น โดยมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 25 กก. สัมภาระที่ติดป้ายสัมภาระ เมื่อท่านนำสัมภาระมาติดป้ายแล้ว สัมภาระนั้นจะอยู่ในความดูแลของบริษัทฯ สัมภาระที่ไม่ได้ติดป้ายสัมภาระ ตามปกติผู้โดยสารแต่ละคนได้รับอนุญาตให้นำสัมภาระที่ไม่ได้ติดป้ายสัมภาระ มายังห้องโดยสารได้ โดยต้องมีขนาดพอดีกับช่องเก็บของ หากมีน้ำหนักหรือขนาดใหญ่ ต้องเก็บไว้ใต้ท้องรถ การชดเชยการสูญหาย สัมภาระที่สูญหาย หรือเสียหาย หากในกรณีที่สัมภาระที่ฝากไว้ใต้ท้องรถสูญหายหรือเสียหาย ทางบริษัทจะชดใช้ให้ตามส่วนรวมแล้วไม่เกิน 500 บาท ของต้องห้าม 1. สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นสัมภาระ- วัตถุที่ไม่ได้บรรจุในกระเป๋าหรือภาชนะที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งที่ปลอดภัย- วัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อรถโดยสาร หรือบุคคล หรือทรัพย์สินบนรถโดยสาร- ยาเสพติด- วัตถุที่บริษัทฯ พิจารณาโดยชอบด้วยเหตุผลแล้วว่าไม่เหมาะกับการขนส่ง เนื่องจากน้ำหนัก ขนาด หรือลักษณะของวัตถุนั้น- อาวุธปืน ดินปืน และเครื่องกระสุน2. สัตว์เลี้ยง โดยบริษัทฯ ไม่อนุญาตให้นำสัตว์ทุกชนิดโดยสารไปกับรถ ที่มา http://www.sombattour.com/html/regulation.php รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย ประเภทของสัมภาระ 1. หัตถภาระ(แปลว่าหิ้วติดตัวอ่ะนะ) คือ ถุงย่าม ห่อผ้า กระเป๋าถือ หีบหรือกระป๋องทุกชนิด ซึ่งผู้โดยสารนำไปในห้องรถโดยสารสำหรับใช้สอยเอง หรือเพื่อความสะดวก 2. ครุภาระ(แปลว่าของหนักหิ้วไม่ไหวแต่อยากเอาไปด้วย) คือ สรรพสิ่งของเครื่องใช้ทุกชนิด ซึ่งผู้โดยสาร จะนำไปในรถภาระ อนุญาตให้นำสัมภาระไปพร้อมกับตัวผู้โดยสาร ในขบวนรถต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. สัมภาระที่มีขนาดไม่เกินกว่า 50 x 50 x 50 ซม. 2. สัมภาระที่ไม่ใช่วัตถุที่ไวไฟหรือเป็นสิ่งอันพึงรังเกียจ หรือสิ่งของส่งกลิ่นรุนแรง หรืออาจเปรอะเปื้อนทำความเสียหายแก่ส่วนประกอบรถหรือต่อบุคคลหรือสิ่งของของผู้โดยสารอื่น 3. สามารถเก็บในที่วางของหรือใต้ม้านั่งได้โดยเรียบร้อย หากเป็นรถที่ไม่มีที่วางของหรือชั้นวางของก็อนุโลมให้วางไว้ข้างที่นั่งในส่วนที่เป็นสิทธิของแต่ละคน (ตรงกับที่นั่งแต่ละคน) แต่ไม่ให้ล้ำเข้าไปในช่องทางเดินเกินจนไปปิดกั้นช่องทางเดินโดยสิ้นเชิง หรือกีดขวางการใช้สิทธิของผู้โดยสารอื่น และต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญกับผู้โดยสารอื่น ที่มา http://www.railway.co.th/NewSite/ ------------------- การระวางสินค้า การรถไฟแห่งประเทศไทย การคิดค่าระวาง = อัตราค่าระวางด่วน + ค่าธรรมเนียม 20 % ของอัตราค่าระวางด่วน( ขั้นต่ำ 20 บาท ) สินค้าทั่วไป คิดอัตราค่าระวางด่วน ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 50.00 บาท สินค้ากลุ่มเครื่องไฟฟ้า โลหะ นุ่น โฟม พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเซ่น เครื่องจักรสาน คิดอัตราค่าระวางด่วน ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 80.00 บาท การส่ง รถจักรยานยนต์ ที่ไม่ได้บรรจุหีบห่อให้ส่งโดยวิธี สัมภาระ จะส่งแบบห่อวัตถุด่วนไม่ได้ ขนาดของห่อวัตถุ เครื่องล้อเลื่อน และสัตว์มีชีวิต ขนาดไม่เล็กกว่า 20 x 14 x 6 ซม. หรือกินเนื้อที่ในทางราบไม่น้อยกว่า 280 ตร.ซม. และสูงไม่น้อยกว่า 6 ซม. ขนาดไม่เกินกว่า 2.50 x 1.00 x 0.80 ม. หรือกินเนื้อที่ในทางราบไม่น้อยกว่า 2 ตร.ม. และสูงไม่เกินกว่า 1 ม. หากมีขนาดไม่เกินกว่าที่กำหนดแต่มีน้ำหนักเกินกว่า 200 กก. และไม่เกิน 1,000 กก. จะต้องจัดส่งไปกับขบวนรถสินค้า ถ้าน้ำหนักเกินกว่า 1,000 กก. จะต้องจัดส่งไปประเภทเหมาคัน ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ค่าระวาง คือ ค่าขนส่งสินค้าที่ผู้ส่งจะต้องชำระเพื่อการส่งสินค้า อัตราค่าระวางขนส่งสินค้าทางอากาศ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ - M (Minimum Charge) คือ อัตราค่าระวางสินค้าต่ำสุด ต่อ 1 ใบตราส่งสินค้า - GCR (General Cargo Rates) คือ อัตราค่าระวางสำหรับสินค้าทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. N (Normal Rate) คือ อัตราค่าระวางปกติของสินค้าที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 45 กก.แต่ค่าระวางสูงกว่าอัตราขั้นต่ำ 2. Q (Quantity Rates) คือ อัตราค่าระวางสินค้าที่มีน้ำหนัก ตั้งแต่ 45 กก.ขึ้นไป ตามจำนวนน้ำหนัก เช่น Q45, Q100 และ Q250 - SCR (Specific Commodity Rate) คือ อัตราค่าระวางสำหรับสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น DOM1(100) หมายถึง อัตราค่าระวางสำหรับสินค้า ประเภทอาหารทุกชนิด เครื่องเทศ ผักสด ฯลฯ ที่มีน้ำหนัก ตั้งแต่ 100 กก. ขึ้นไป -CLASS RATE คือ อัตราค่าระวางสำหรับสินค้าพิเศษ ได้แก่ สิ่งตีพิมพ์ สินค้ามีค่า สินค้าที่มีความเสี่ยงในการสูญหาย สินค้าอันตราย สัตว์มีชีวิต และศพ การคำนวณค่าระวาง เป็นไปได้ 2 ลักษณะ คือ 1. คิดจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (Gross Weight) น้ำหนักที่นำมาคำนวณค่าระวาง ให้ปัดเศษขึ้นทุกๆครึ่งกก.2. คิดจากน้ำหนักปริมาตร (Volume Weight) เช่น ชั่งได้จริง 9.3 กก. น้ำหนักที่นำมาคิดค่าระวาง = 9.5 กก. ชั่งได้จริง 9.8 กก. น้ำหนักที่นำมาคิดค่าระวาง = 10.0 กก. ชั่งได้จริง 9.5 กก. ไม่ต้องปัด ให้ใช้ = 9.5 กก. 2. คิดน้ำหนักจากปริมาตร ให้วัดสินค้า กว้าง x ยาว x สูง หน่วยเป็น ซม. หาร 6,000 ผลลัพธ์ที่ได้ ให้เปรียบเทียบกับน้ำหนักที่ชั่งได้จริง แล้วนำน้ำหนักที่ได้จากการเปรียบเทียบสูงสุด มาคูณกับ อัตราค่าระวาง *ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) http://www.reocities.com/TheTropics/Reef/9792/domestic/freight.htm* ตัวอย่างค่าระวาง อัตราค่าระวางสินค้าพิเศษ (CLASS RATES) ประเภทของสินค้า ค่าระวางขั้นต่ำ ค่าระวางต่อ 1 กก. 1. ฟิล์มข่าว สิ่งตีพิมพ์ นิตยสาร หนังสือทุกชนิด และหนังสือพิมพ์ MIN 50% ของ N Rate 2. สินค้ามีค่า (VAL) ผู้ส่งต้องประเมินราคา เพื่อการขนส่ง(Declared Value for Carrige) และชำระค่าธรรมเนียม (Valuation Charge) 05% ของราคาประเมิน ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่า 100 บาท 300 บาท ต่อ 1 AWB. 200% ของ N Rate 3. สินค้าที่มีความเสี่ยงสูงในด้านสูญหาย (VUN) 200 บาท ต่อ 1 AWB. 150% ของ N Rate 4. สินค้าอันตราย ผู้ส่งต้องชำระค่า Handling Fee เป็นจำนวนเงิน 700 บาท ต่อ 1 AWB. MIN N Rate (ห้ามใช้ Q Rate) 5. สัตว์มีชีวิต (AVI) 150 % ของ MIN 150% ของ N Rate 6. ศพ (HUM) 6000 บาท / 1 ศพ 200% ของ N Rate 7. รถจักรยานยนต์ ขนส่งเฉพาะเส้นทางที่ใช้เครื่อง Wide-bodied Aircraft การหีบห่อต้องตีลังไม้ยึดติดให้แน่นหนา เพื่อความปลอดภัยในการบรรทุก MIN N Rate (ห้ามใช้ Q Rate) อัตราค่าระวางสินค้าพิเศษ (CLASS RATES) ประเภทของสินค้า ค่าระวางขั้นต่ำ ค่าระวางต่อ 1 กก. 8.รถยนต์นั่ง เส้นทาง ราคาต่อ 1 เที่ยวบิน กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ หรือ เชียงใหม่ - กรุงเทพฯ 12,000 บาท กรุงเทพฯ - ภูเก็ต หรือ ภูเก็ต - กรุงเทพฯ 12,500 บาท กรุงเทพฯ - หาดใหญ่ หรือ หาดใหญ่ - กรุงเทพฯ 13,000 บาท หมายเหตุ ห้ามใส่พัสดุอื่นใด เข้าในห้องโดยสาร หรือห้องบรรทุกสิ่งของในตัวรถยนต์ ยกเว้น ยางอะไหล่ และเครื่องมือประจำรถ 9. ภาชนะเปล่าเพื่อบรรจุสินค้า ประเภทของสินค้า เส้นทาง อัตราขั้นต่ำต่อ 1 AWB. อัตราต่อ กก. หมายเหตุ กล่องโฟม ทุกเส้นทาง 1,000 บาท 30 บาท ให้คำนวณค่าระวางจากน้ำหนักที่ชั่งได้จริง กล่องกระดาษพับเรียบ เช่น ตะกร้า ลังพลาสติก ทุกเส้นทาง 200 บาท 4 บาท ให้คำนวณค่าระวางจากน้ำหนักที่ชั่งได้จริง 10. โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุเคลื่อนที่ และเพจเจอร์ เส้นทาง อัตราขั้นต่ำต่อ 1 AWB. อัตราต่อ กก. หมายเหตุ ทุกเส้นทาง 200 บาท N Rate , Q45 , Q100 Security Handling Charge คิด กก.ละ 2บาท ขั้นต่ำ 100 บาท แต่ไม่เกิน 500 บาท ต่อ 1 AWB. //
สำหรับสมาชิก >การเดินทางเป็นกิจกรรมที่เกือบจะเป็นปกติธรรมดาของชีวิต ไม่ว่าจะทางใกล้หรือทางไกล ปัจจุบันเราก็มีทางเลือกที่หลากหลายพอสมควรสำหรับการเดินทาง โดยเฉพาะพาหนะสาธารณะ ทั้งทางบก ทางอากาศ ในการเดินทางไกล ก่อนการเดินทางส่วนใหญ่ทุกคนก็ต้องวางกำหนดการและค่อนข้างแน่ใจระดับหนึ่งว่าต้องเดินทางแน่ๆ เพราะนั่นหมายถึงว่าเราต้องเตรียมหาที่พักและจองตั๋วรถ ตั๋วเครื่องบินล่วงหน้า แต่หากเกิดเหตุให้ต้องเลื่อนการเดินทางออกไปหรืองดเดินทาง ตั๋วที่อุตส่าห์จับจองไว้ เราสามารถขอคืนได้ไหม จะถูกหักเงินหรือค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ ฉลาดซื้อลองรวบรวมนโยบายของแต่ละบริษัทมาเสนอไว้เป็นข้อมูลสำหรับท่านสมาชิก เผื่อจะได้จัดการกับการเดินทางได้สะดวกขึ้น เครื่องบิน การบินไทย การเปลี่ยนแปลงการเดินทางหรือการบอกยกเลิก - ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ สำหรับรายการท่องเที่ยวในประเทศ - ไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ สำหรับรายการท่องเที่ยวต่างประเทศ - ไม่น้อยกว่า 21 วันทำการ สำหรับหมู่คณะ หรือเป็นไปตามเงื่อนไขของทัวร์นั้น ๆ ยกเลิกน้อยกว่าจำนวนวันที่กำหนด - ค่าธรรมเนียม ภายในประเทศ 500 บาท , ต่างประเทศ USD 50.00 หรือมากกว่าตามเงื่อนไขของทัวร์นั้น ๆ ยกเลิกน้อยกว่า 24 ชม - ค่าธรรมเนียมผู้โดยสารจะต้องจ่ายเท่ากับอัตราห้องพัก 1 คืน หรือมากกว่าตามเงื่อนไขของทัวร์นั้น ๆ การขอคืนเงินทัวร์เอื้องหลวง (ขายในประเทศไทย) - ค่าธรรมเนียม บัตรโดยสารภายในประเทศ 500 - 1,000 บาท ต่อท่าน - ค่าธรรมเนียม บัตรโดยสารต่างประเทศ 2,000 บาท ต่อท่าน - ค่าธรรมเนียม ใบรับรองการจ่ายเงิน (Voucher) ฉบับละ 200 บาท ในกรณีที่เริ่มเดินทางกับทัวร์เอื้องหลวงแล้ว หรือใช้แล้วบางส่วนไม่คืนเงินให้ไม่ว่ากรณีใด ที่มา: http://www.thaiairways.co.th/thailand/th/roh/Booking.htm นกแอร์ การเปลี่ยนแปลงการเดินทางหรือการบอกยกเลิก - ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ สำหรับรายการท่องเที่ยวในประเทศ - ไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ สำหรับรายการท่องเที่ยวต่างประเทศ - ไม่น้อยกว่า 21 วันทำการ สำหรับหมู่คณะ หรือเป็นไปตามเงื่อนไขของทัวร์นั้น ๆ ยกเลิกน้อยกว่าจำนวนวันที่กำหนด - ค่าธรรมเนียม ภายในประเทศ 500 บาท , ต่างประเทศ USD 50.00 หรือมากกว่าตามเงื่อนไขของทัวร์นั้น ๆ ยกเลิกน้อยกว่า 24 ชม - ค่าธรรมเนียมผู้โดยสารจะต้องจ่ายเท่ากับอัตราห้องพัก 1 คืน หรือมากกว่าตามเงื่อนไขของทัวร์นั้น ๆ การขอคืนเงินทัวร์เอื้องหลวง (ขายในประเทศไทย) - ค่าธรรมเนียม บัตรโดยสารภายในประเทศ 500 - 1,000 บาท ต่อท่าน - ค่าธรรมเนียม บัตรโดยสารต่างประเทศ 2,000 บาท ต่อท่าน - ค่าธรรมเนียม ใบรับรองการจ่ายเงิน (Voucher) ฉบับละ 200 บาท ในกรณีที่เริ่มเดินทางกับทัวร์เอื้องหลวงแล้ว หรือใช้แล้วบางส่วนไม่คืนเงินให้ไม่ว่ากรณีใด ที่มา: http://www.thaiairways.co.th/thailand/th/roh/Booking.htm แอร์เอเชีย การเปลี่ยนแปลงวัน/เวลา - โปรโมชั่น (ค่าโดยสารต่ำสุด) / ปกติ อนุญาตให้เปลี่ยนได้อย่างช้าไม่เกิน 48 ชั่วโมงก่อน กำหนดเวลาออกเดินทาง หมายเหตุ: ต้องเสียทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่แตกต่างกันของตั๋วโดยสารแต่ละประเภทและค่าธรรมเนียมที่เปลี่ยนแปลงไป (คิดต่อผู้โดยสารต่อเที่ยวบิน) - Hi Flyer อนุญาตให้เปลี่ยนได้อย่างช้าไม่เกิน 48 ชั่วโมงก่อน กำหนดเวลาออกเดินทาง หมายเหตุ: ต้องเสียไม่สามารถใช้ได้กับการจองตั๋วเครื่องบินใหม่ภายใน 4 ชม. เที่ยวบินถัดไปที่สามารถเดินทางได้ของ AirAsia คือ 3 ชั่วโมงและ 4 ชม.หรือหลังจากนั้นสำหรับเที่ยวบินของ AirAsia X - Premium FlatBed อนุญาตให้เปลี่ยนได้อย่างช้าไม่เกิน 48 ชั่วโมงก่อน ผู้โดยสารจ่ายเพียงส่วนต่างของราคาตั๋วเครื่องบินเท่านั้น การเปลี่ยนชื่อ - โปรโมชั่น (ค่าโดยสารต่ำสุด) / ปกติ และHi Flyer ไม่อนุญาต (อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อได้เฉพาะเที่ยวบินญี่ปุ่นและเกาหลีเท่านั้น) - Premium FlatBed อนุญาตให้เปลี่ยนได้อย่างช้าไม่เกิน 48 ชั่วโมงก่อนกำหนดเวลาออกเดินทาง หมายเหตุ: การเปลี่ยนเสียค่าบริการเปลี่ยนชื่อ ในอัตราต่อผู้โดยสารต่อช่วงการบิน การเปลี่ยนปลายทาง - ไม่อนุญาต ทุกประเภทของตั๋วโดยสาร การคืนเงินค่าโดยสารและบริการเสริม - ไม่อนุญาต ทุกประเภทของตั๋วโดยสาร พลาดกำหนดเวลาเช็คอินหรือขึ้นเครื่องไม่ทัน - ทุกประเภทของตั๋วโดยสาร สามารถเปลี่ยนแปลงรายการผ่าน "จัดการบุกกิ้งของฉัน" ได้ฟรี (ยกเว้นการเปลี่ยนชื่อ) หากมีการเปลี่ยนแปลงที่เคาน์เตอร์ ณ ท่าอากาศยานจะต้องเสียค่าธรรมเนียม Currency - ทุกประเภทของตั๋วโดยสาร จะเก็บเงินทั้งหมดเป็นสกุลเงินของประเทศต้นทางเว้นแต่ท่านจะเลือกสกุลเงินอื่น ไม่ว่าจะเป็นตั๋วโดยสารประเภท ราคาประหยัด Hi-Flyer หรือที่นั่งปรับนอนได้ระดับ Premium FlatBed ตั๋วโดยสารแต่ละประเภทต่างมีข้อบังคับและสิทธิประโยชน์พิเศษเฉพาะแบบไม่เหมือนกัน ที่มา: http://www.airasia.com/th/th/our-fares/fare-rules.page รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มา: http://www.railway.co.th/NewSite/ การคืนเงินค่าตั๋ว ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วไว้แล้วไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารฉบับนั้นได้ เพราะเหดุใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิขอคืนเงินค่าตั๋วโดยสารและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ โดยนำตั๋วโดยสารไปแจ้งความจำนงต่อเจ้าหน้าที่ที่หมวดตั๋วล่วงหน้า หรือสถานีรถไฟทั่วประเทศ หรือตัวแทนที่เปิดจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าทุกแห่ง เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ถ้าเป็นตั๋วที่ซื้อเงินสดจะคืนเงินทันที โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมคืนเงินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 20 บาท ต่อตั๋ว 1 ฉบับ โดยคิดเป็นรายบุคคล หลักเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมคืนเงิน ให้ถือเอาวัน เวลาขบวนรถออก และสถานีต้นทางที่ระบุในตั๋วเป็นเกณฑ์ โดยคิดค่าธรรมเนียมเป็นร้อยละของราคาตั๋วเป็นรายบุคคล ดังนี้ ก.ตั๋วรายบุคคล , ตั๋วร่วม และตั๋วพิเศษตามใบแลกการขนส่งของหน่ายงานต่าง ๆ - ขอคืนก่อนวันเดินทางที่ระบุไว้ในตั๋วโดยสาร 3 วันขึ้นไป หัก 20% ของราคาตั๋วโดยสาร (ไม่นับวันขบวนรถออกต้นทางตามตั๋ว ) - ขอคืนน้อยกว่า 3 วันจนถึงก่อนขบวนรถออกไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หัก 50% ของราคาตั๋วโดยสาร ข.ตั๋วหมู่คณะทุกชั้นทุกประเภท ยกเว้นตั๋วหมู่คณะไป-กลับนักเรียน ในข้อ ค. - คืนก่อนวันเดินทาง 3 วันขึ้นไป (ไม่นับวันขบวนรถออกต้นทางตามตั๋ว ) หัก 60% ของราคาตั๋วโดยสาร หากพ้นกำหนดนี้ไม่คืนเงินค่าตั๋วให้และไม่รับคำร้อง ค.ตั๋วหมู่คณะไป-กลับ ลดราคาประเภทนักเรียน (รวมทั้งนิสิต นักศึกษา) ที่คิดค่าโดยสารเพียงเที่ยวเดียว ถ้ามีการใช้เที่ยวใดเที่ยวหนึ่งแล้วเที่ยวที่ยังไม่ได้ใช้จะไม่คืนค่าโดยสารให้ (คืนเฉพาะค่าธรรมเนียม ถ้ามี ) หากเป็นตั๋วลกราคาเที่ยวเดียวให้คิดเช่นเดียวกับ ตั๋วหมู่คณะในข้อ ข. ง.ตั๋วนำเที่ยว จำหน่ายแล้วไม่รับคืนค่าตั๋วโดยสาร การคืนเงินเต็มราคา ได้ต้องอันเนื่องมาจากขบวนรถที่จะเดินทางตามตั๋วล่าช้ากว่ากำหนดเวลาที่ได้ ประกาศไว้ในตารางการเดินรถเกินกว่า 30 นาที หรือเหตุซึ่งไม่ใช่เป็นความบกพร่องของผู้โดยสารเอง หรือด้วยสาเหตุ เพราะไม่มีที่นั่งตามชั้นในตั๋ว หรือเพราะผู้โดยสารหนาแน่นขึ้นใช้การโดยสารไม่ได้ หรืออันเกิดมาจากความบกพร่องของการรถไฟฯ โดยท่านผู้โดยสารยังไม่ได้ใช้การโดยสารใดๆ ท่านผู้โดยสารมีสิทธิขอคืนเงินค่าโดยสาร และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ทั้งหมด หรือขอเลื่อนขบวนรถที่จะเดินทางได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การคืนเงินค่าธรรมเนียมปรับอากาศ หากรถโดยสารที่ผู้โดยสารใช้การโดยสาร เครื่องปรับอากาศชำรุดระหว่างทาง หลักเกณฑ์คืนเงินดังนี้ - คืนเงินเฉพาะค่าธรรมเนียมปรับอากาศให้เต็มราคา การยื่นคำร้อง ขอคืนเงินค่าตั๋วโดยสาร สามารถยื่นได้ที่สถานีหรือที่จำหน่ายตั๋วล่วงหน้าแห่งใดก็ได้ตามความประสงค์ของผู้ยื่นคำร้องและต้องมาติดต่อรับเงินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้สั่งจ่ายเงินเป็นต้นไป ให้ใช้คำร้องตามแบบฟอร์มของการรถไฟฯ โดยกรอกรายละเอียดพร้อมแสดงเหตุผลการที่ไม่ได้ใช้ตั๋วอย่างชัดแจ้ง และหากมีหลักฐานอ้างอิงก็ให้แนบติดมาด้วย ผู้ยื่นคำร้องขอคืนเงินค่าตั๋ว นำเนาคำร้องฉบับที่ 3 มาติดต่อขอรับเงินหลังยื่นคำร้องขอคืนเงินค่าตั๋วประมาณ 11 วันทำการ เมื่อใบสั่งจ่ายคืนเงินค่าตั๋วส่งถึง หมวดจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า , สถานีที่ผู้ร้องขอรับเงินคืนจะแจ้งผู้ร้องทราบ รถโดยสารสาธารณะ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) การคืนตั๋ว - ลูกค้าสามารถคืนตั๋วรถโดยสารได้ที่จุดประสานงานหมอชิต เอกมัย และสายใต้ ก่อนรถออก 6 ชั่วโมง (ชำระเป็นเงินสดและคืนที่นี่ ได้เงินสดคืนทันที) - ลูกค้าสามารถคืนตั๋วรถโดยสารได้ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ 13 สาขา ก่อนรถออก 6 ชั่วโมง (คืนที่นี่ โอนเงินให้ภายหลัง) ชำระผ่านบัตรเครดิต จะคืนวงเงินในบัตร** หักค่าธรรมเนียม 10% ผู้ประกอบการเรียกเก็บ ที่มา: http://home.transport.co.th/th/tcl-service/telephone-directory-reservation-booking.html สมบัติทัวร์ การเลื่อนการเดินทางและการคืนตั๋วโดยสาร การเลื่อนการเดินทาง ท่านผู้โดยสารที่เดินทางจาก กรุงเทพฯ , เชียงใหม่ ต้องนำตั๋วโดยสารมาติดต่อที่หน้าเคาน์เตอร์ด้วยตัวเองอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนเวลาเดินทางที่ระบุไว้ในตั๋วโดยสาร ส่วนเส้นทางอื่นๆ ให้นำตั๋วมาติดต่อ ก่อนเวลาเดินทาง ที่ระบุในตั๋วโดยสารอย่างน้อย 5 ชั่วโมง ตั๋วโดยสาร 1 ใบ สามารถเลื่อนได้ 1 ครั้งเท่านั้น ตั๋วโดยสารที่ทำรายการเลื่อนแล้วไม่สามารถคืนตั๋วโดยสารได้ การคืนตั๋วโดยสาร ท่านผู้โดยสารที่เดินทางจาก กรุงเทพฯ , เชียงใหม่ ต้องนำตั๋วโดยสารมาติดต่อที่หน้าเคาน์เตอร์ด้วยตัวเองอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเวลาเดินทางที่ระบุไว้ในตั๋วโดยสาร ส่วนเส้นทางอื่นๆ ให้นำตั๋วมาติดต่อ ก่อนเวลาเดินทาง ที่ระบุในตั๋วโดยสารอย่างน้อย 5 ชั่วโมง ในการคืนตั๋วโดยสารจะหักค่าธรรมเนียม 10% 2.1 กรณีที่ชื่อที่ระบุในตั๋วโดยสารและผู้ที่นำตั๋วโดยสารมาคืนไม่ใช่บุคคลเดียวกันทางบริษัทขอปฏิเสธในการทำรายการเว้นแต่มีสำเนาบัตรประจำตัวประชนของผู้ที่มีชื่อระบุในตั๋วโดยสารและหนังสือมอบอำนาจแนบมาด้วย กรณีตั๋วโดยสารหาย กรณีตั๋วโดยสารหายให้ท่านผู้โดยสารสามารถโทรแจ้งข้อมูลตั๋วหายได้ที่ Call Center ทางพนักงานจะได้บันทึกข้อมูลลงในระบบเพื่อป้องกันบุคคลอื่นแอบอ้างในการเดินทางโดยนำใบแจ้งความพร้อมสำเนาบัตรประชาชนมาติดต่อที่หน้าเคาน์เตอร์ด้วยตัวเอง ทางพนักงานจะตรวจสอบข้อมูลและยืนยันข้อมูล ทางบริษัทจะออกใบแทนตั๋วโดยสารให้กับท่านผู้โดยสารซึ่งใบแทนตั๋วโดยสารนี้สามารถใช้เดินทางและแลกอาหาร เครื่องดื่มที่จุดพักรับประทานอาหารเหมือนตั๋วโดยสารทุกประการ ใบแทนตั๋วโดยสารไม่สามารถเลื่อนหรือคืนได้สามารถใช้เดินทางได้อย่างเดียวเท่านั้น ที่มา: http://www.sombattour.com/html/ticket.php นครชัยแอร์ การคืนตั๋ว สามารถดำเนินการได้ที่เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วเท่านั้น ทั้งด้วยตนเอง และการมอบอำนาจ โดยมีรายละเอียดต่างๆ คือ 1) ดำเนินการคืนตั๋วก่อนการเดินทาง 3 ชั่วโมง 2) กรณีคืนตั๋วก่อนการเดินทาง 24 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 30 วัน มีค่าธรรมเนียมในการคืนตั๋ว 20% ของราคาหน้าตั๋ว 3) กรณีตั๋วมีการเลื่อนการเดินทางมาแล้ว คืนตั๋วก่อนการเดินทาง 24 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 30 วัน มีค่าธรรมเนียมในการคืนตั๋ว 50% ของราคาหน้าตั๋ว ที่มา: -call center นครชัยแอร์ 0-2790-0009, 1624 -สามารถใช้แฟกซ์โทร และรับเอกสารได้เลย http://www.nakhonchaiair.com/ticket.php เชิดชัยทัวร์ พนักงานรับโทรศัพท์ แจ้งว่าไม่รับคืนตั๋วทุกกรณี ที่มา: -สอบถามรายละเอียด 02 391 2237 -จองตั๋ว 1188 กด 3 ปิยะรุ่งเรืองทัวร์ การคืนตั๋ว มีค่าธรรมเนียม 20% จากราคาหน้าตั๋ว และค่าโอนเงินครั้งละ 50 บาท/ครั้ง จองตั๋วรถทัวร์.com กล้ารับประกันไม่ได้ที่นั่ง ยินดีคืนเงิน 100% *หมายเหตุ ผู้โดยสารต้องตรวจสอบความถูกต้องของการจองตั๋วทุกครั้ง และชำระเงินถูกต้องครบถ้วน ผู้โดยสารต้องเช็คอินรับตั๋วไม่น้อยกว่า 30 นาทีก่อนรถออก ณ เคาน์เตอร์รับตั๋วที่กำหนดไว้ สงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงเที่ยวรถหรือที่นั่งในกรณีจำเป็น คืน เงิน 100% ของราคาตั๋วโดยสาร โดยไม่รวมค่าดำเนินการจัดการ และค่าธรรมเนียมจุดรับชำระเงิน เฉพาะกรณีผู้ให้บริการเดินรถไม่สามารถจัดรถหรือที่นั่งใดๆ ให้ผู้โดยสารเดินทางได้ โดยผู้โดยสารต้องแจ้งที่โทร 02 269 6999 ไม่น้อยกว่า 15 นาทีก่อนรถออก สงวนสิทธิไม่คืนเงินสำหรับผู้โดยสารซึ่งปฏิเสธการเดินทาง และผู้โดยสารซึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของบริษัท ที่มา: - www.จองตั๋วรถทัวร์.com -022696999 (24 ชม.) -www.จองตั๋วรถทัวร์.com มี บ.รถทัวร์ ดังนี้ แอร์อรัญพัฒนา ชนะภัยทัวร์ โชครุ่งทวีทัวร์ ลิกไนท์ทัวร์ นครศรีร่มเย็นทัวร์ นิววิริยะยานยนต์ทัวร์ เพชรประเสริฐ ภูเก็ตท่องเที่ยว ภูกระดึงทัวร์ 10. ปิยะรุ่งเรืองทัวร์ ประหยัดทัวร์ เปรมประชาขนส่ง รุ่งกิจทัวร์ รุ่งประเสริฐทัวร์ สหพันธ์ร้อยเอ็ดทัวร์ สยามเฟิสท์ทัวร์ สมบัติทัวร์ ศรีตรังทัวร์ ทรัพย์ไพศาลทัวร์ สุวรรณนทีขนส่ง ไทยสงวนทัวร์
สำหรับสมาชิก >ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลทดสอบเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-readers มาฝากสมาชิกนักอ่านกันบ้าง หลายคนอาจไม่เคยให้ความสนใจกับมันเพราะชอบการจับต้องหนังสือเป็นเล่มมากกว่า บางคนมองว่า อยากอ่านอะไรก็ดาวน์โหลดมาอ่านในคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ก็ได้ไม่เห็นต้องลงทุนเพิ่ม ในขณะที่หลายคนกำลังชั่งใจอยู่ว่าจะซื้อเครื่องอ่านฯ (ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็สามารถท่องเว็บได้ แถมยังมีเทคโนโลยีหน้าจอที่ทำให้อ่านได้นานโดยไม่ปวดตา) หรือจะซื้อแทบเลต (ซึ่งก็สามารถใช้ท่องเน็ทพร้อมกับอ่านหนังสือได้ด้วย) มาใช้ดี องค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ทำการทดสอบ E-readers เหล่านี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราเลือกมา 10 รุ่น (ทั้งเครื่องอ่านฯ และแทบเลต) ที่มีขายในเมืองไทย ข้อสังเกตที่ได้จากผลทดสอบคือยังไม่มีเครื่องอ่านฯรุ่นใด ที่ตอบสนองการเข้าเว็บได้ในระดับที่น่าพอใจ และในทางกลับกันก็ยังไม่มีแทบเลตที่ใช้อ่านหนังสือได้สะดวกหรือใช้งานได้นานต่อการชาร์จหนึ่งครั้งเหมือน E-readers ถ้าคุณเป็นคนที่จริงจังกับการอ่านในทุกขณะจิตและไม่ยึดติดกับประสบการณ์การอ่านแบบเดิม เจ้าเครื่องอ่านเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่คุณตามหาอยู่ก็ได้ ติดตามคะแนนในด้านต่างๆของแต่ละรุ่นได้ในหน้าถัดไป Sony PRS-T2 ราคา 5,990 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 5 นอนอ่าน 5 ยืน (โหนรถ) อ่าน 4.5 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 5 จดบันทึก 5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 5 ท่องเว็บ 2 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 5 Kobo Mini ราคา 4,190 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 5 นอนอ่าน 5 ยืน (โหนรถ) อ่าน 4.5 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 3 จดบันทึก 3 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 4 ท่องเว็บ 2 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 5 Kobo Glo ราคา 5,690 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 5 นอนอ่าน 5 ยืน (โหนรถ) อ่าน 4.5 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 3 จดบันทึก 3 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 4 ท่องเว็บ 2 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 4.5 Amazon Kindle ราคา 5,490 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 5 นอนอ่าน 5 ยืน (โหนรถ) อ่าน 4 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 4.5 จดบันทึก 2 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 3 ท่องเว็บ 1.5 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 5 Amazon Kindle Paperwhite 3G ราคา 9,990 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 5 นอนอ่าน 4.5 ยืน (โหนรถ) อ่าน 4 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 4.5 จดบันทึก 5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 5 ท่องเว็บ 2 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 5 Trekstor eBook Reader Pyrus ราคา 3,800 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 5 นอนอ่าน 5 ยืน (โหนรถ) อ่าน 4 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 4 จดบันทึก 0.5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 3 ท่องเว็บ - ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 3.5 Apple iPad mini ราคา 10,300 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 3.5 นอนอ่าน 3 ยืน (โหนรถ) อ่าน 3 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 4 จดบันทึก 5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 5 ท่องเว็บ 5 ตัวเครื่องทนทาน 5 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 2 Kobo Arc ราคา 9,790 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 3.5 นอนอ่าน 3 ยืน (โหนรถ) อ่าน 3 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 4.5 จดบันทึก 5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 3.5 ท่องเว็บ 5 ตัวเครื่องทนทาน 5 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 2.5 Kindle Fire HD ราคา 10,900 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 3.5 นอนอ่าน 3 ยืน (โหนรถ) อ่าน 3 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 5 จดบันทึก 5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 3 ท่องเว็บ 5 ตัวเครื่องทนทาน 5 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 2 Samsung Galaxy Tab2 7.0 ราคา 6,500 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน 3.5 นอนอ่าน 3 ยืน (โหนรถ) อ่าน 3 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ 0.5 จดบันทึก 4.5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่ 2 ท่องเว็บ 5 ตัวเครื่องทนทาน 5 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 2 ------------------------------------------------------------------------------ E-reader ตัวแรกของโลกคือ Data Discman ของ Sony ที่ออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 1998 แต่กระแสเครื่องอ่านอิเล็กทรอนิกส์เพิ่งจะมาได้รับความนิยมอย่างจริงจังในปี 2009 E-reader ถูกออกแบบมาเพื่อการอ่านโดยเฉพาะจึงมีขนาดและน้ำหนักน้อยกว่าแทบเลต เทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องอ่านฯ เหล่านี้มีหนอนหนังสือเป็นแฟนคลับเพิ่มขึ้นคือจอแสดงผลแบบ E Ink ที่ทำให้เรามองเห็นเม็ดทรงกลมเล็กๆ ที่บรรจุอยู่ในไมโครแคปซูลจำนวนล้านๆแคปซูล เป็นภาพหรือตัวหนังสือขึ้นมา หน้าจอแบบนี้ไม่มีการกระพริบ จึงทำให้เราสามารถอ่านเป็นเวลานานๆได้ กระแสข่าวเรื่อง E-reader มีทั้งที่เป็นขาขึ้นและขาลง Kobo ให้ข่าวว่ายอดขายเครื่องอ่านฯของเขาเพิ่มขึ้นร้อยละ 145 ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ในขณะที่บางบริษัทอย่าง Barnes and Noble ประกาศหยุดการผลิตเครื่องอ่านฯ Nook ของตัวเองลง ข่าวว่าอาจเป็นเพราะมีแทบเลตหลายรุ่นออกมาแย่งตลาด ทางด้าน Amazon เจ้าของเครื่องอ่าน Kindle รุ่นต่างๆ บอกว่าเขาไม่เดือดร้อนอะไรกับยอดขายเครื่องอ่านฯ เพราะผลิตภัณฑ์หลักของเขาคือ “หนังสือเล่ม” และ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์” ที่แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกอ่านผ่านแบบไหน ผ่านสื่ออะไรเท่านั้นเอง โดยรวมแล้วยอดขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีแนวโน้มจะลดลง หลายคนมองว่าอนาคตของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ E-reader จะสดใสไฉไลกว่านี้ถ้าราคาหนังสือในรูปแบบดังกล่าวถูกลง ------------------------------------------------------------------------------
อ่านเพิ่มเติม >ฉลาดซื้อฉบับที่แล้วเราได้ตรวจสอบเรื่องความถูกต้องของจำนวนกระดาษเช็ดหน้าแบบบรรจุกล่อง ดูว่าปริมาณจริงกับปริมาณที่ระบุข้างกล่องถูกต้องตรงกันหรือไม่ ฉบับนี้เรายังมีภาค 2 ให้ติดตามกันต่อ กับการตรวจสอบความถูกต้องปริมาณสินค้าที่เราได้เปรียบเทียบกับปริมาณที่แจ้งไว้บนของฉลาก กับอีก 3 ผลิตภัณฑ์ใกล้ตัว คือ แผ่นเช็ดทำความสะอาด แผ่นซับความมัน และ สำลีก้าน ไปดูกันซิว่าผู้ผลิตเขาซื่อตรงกับผู้บริโภคอย่างเราหรือเปล่า วิธีการทดสอบ เราใช้อาสาสมัครฉลาดซื้อ 3 คน ในการตรวจนับทวนตัวอย่างทั้งหมดที่เรานำมาทดสอบ อาสาสมัครทั้ง 3 คน จะนับคนละ 1 ครั้งต่อ 1 ตัวอย่าง เท่ากับว่าแต่ละตัวอย่างจะมีการนับจำนวนทั้งหมด 3 ครั้ง เพื่อเป็นการตรวจทานความถูกต้อง แผ่นเช็ดทำความสะอาด ตารางแสดงผลการสำรวจจำนวนแผ่นเช็ดทำความสะอาดเปรียบเทียบกับจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ ผลการทดสอบ จากการตรวจนับตัวอย่างแผ่นเช็ดทำความสะอาดจำนวน 6 ตัวอย่างพบว่าทุกตัวอย่างมีจำนวนแผ่นเช็ดทำความสะอาดตรงตามที่แจ้งไว้ในรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ แถมทุกตัวอย่างที่เรานำมาทดสอบยังให้ปริมาณของแผ่นเช็ดทำความสะอาดมาแบบพอดี๊พอดี บอกว่ามี 80 แผ่นก็ให้มา 80 แผ่น บอกว่า 20 แผ่นก็มี 20 แผ่น ไม่ขาดไม่เกิน ไม่เหมือนกับตัวอย่างแผ่นกระดาษเช็ดหน้าที่ฉลาดซื้อทดสอบเมื่อฉบับที่แล้ว ที่เราพบว่าบางตัวอย่างให้แผ่นกระดาษเช็ดหน้ามาเกินจากที่แจ้งจำนวนไว้บนบรรจุภัณฑ์ ถือว่าเป็นกำไรของผู้บริโภค ฉลาดซื้อแนะนำ แผ่นเช็ดทำความสะอาด (Cleansing Tissue) หรือ ทิชชูทำความสะอาดแบบเปียก ถือเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องสำอาง มีการใช้สารต่างๆ เป็นส่วนผสม เพราะฉะนั้นการแสดงฉลากจะต้องมีการแจ้งชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต โดยเรียงลำดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย มีการแสดงวิธีใช้ และข้อควรระวังหรือคำเตือนในการใช้ เช่น ห้ามใช้เช็ดบริเวณรอบดวงตา ผลิตภัณฑ์อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ใช้บางคน หากระคายเคืองควรหยุดใช้ เป็นต้น ที่มา: ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง ฉลากของเครื่องสำอาง แผ่นซับความมัน ตารางแสดงผลการสำรวจจำนวนแผ่นซับความมันเปรียบเทียบกับจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ ผลการทดสอบ จากการสุ่มสำรวจตัวอย่างแผ่นซับความมันจำนวน 9 ตัวอย่าง เราพบเรื่องที่น่ายินดีเพราะทุกตัวอย่างที่เราสำรวจ ให้ปริมาณแผ่นซับความมันตรงตามจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้เรายังพบว่ามีถึง 4 ตัวอย่างที่แถมแผ่นซับความมันเกินมาจากจำนวนที่แจ้งไว้ ได้แก่ยี่ห้อ แกทส์บี (Gatsby), ยี่ห้อ คลีนแอนด์เคลียร์ (Clean&Clear) และ ยี่ห้อ เมนโธลาทัม แอคเนส์ (Mentholatum Acnes) ที่เพิ่มแผ่นซับความมันมาให้อีก 1 แผ่นจากจำนวนที่แจ้งไว้ ส่วนยี่ห้อ แพ็ตตี้ ควิกส์ (Pretty Quiks) เพิ่มมาให้อีก 2 แผ่นจากจำนวนที่แจ้งไว้ ฉลาดซื้อแนะนำ -ประโยชน์ของกระดาษหรือฟิล์มซับความมันบนใบหน้า คือการลดความบนใบหน้าเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการเช็ดทำความสะอาดใบหน้า การใช้กระดาษหรือฟิล์มซับความมันบนใบหน้าเช็ดหน้าอาจมีผลเสียต่อผิวหน้า เพราะเนื้อกระดาษหรือฟิล์มซับมันอาจสร้างความระคายเคืองให้กับผิวหน้า -บนบรรจุภัณฑ์ควรมีการแสดงข้อมูลการใช้งานและข้อควรระวัง เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสโดยตรงกับร่างกายของเรา แต่จากตัวอย่างที่เราสุ่มสำรวจพบว่ามีหลายยี่ห้อที่ไม่การแจ้งข้อมูลดังกล่าว ส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ แล้วนำรายละเอียดภาษาไทยอย่าง ชื่อสินค้า ที่อยู่ผู้ผลิต ผู้นำเข้ามา แปะทับ สำลีก้าน ตารางแสดงผลการสำรวจจำนวนสำลีก้านเปรียบเทียบกับจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ ผลการทดสอบ จากการสุ่มทดสอบตัวอย่างสำลีก้านจำนวน 7 ตัวอย่าง เราพบว่ามี 2 ตัวอย่าง ที่ให้ปริมาณสำลีก้านน้อยกว่าที่ได้แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ คือยี่ห้อ บิ๊กซี (Big C) และยี่ห้อ วี-แคร์ (V-Care) ซึ่งแจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ว่ามีจำนวน 100 ชิ้น แต่จากการทดสอบเราพบว่ามีจำนวนก้านสำลีอยู่ 98 ชิ้น สำหรับยี่ห้อ บิ๊กซี (Big C) และ 99 ชิ้น สำหรับยี่ห้อ วี-แคร์ (V-Care) ส่วนอีก 5 ตัวอย่างที่เหลือจำนวนที่ทดสอบนับได้ตรงตามจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ ฉลาดซื้อแนะนำ -ผลิตภัณฑ์สำลีก้านที่ดี ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ หัวสำลีต้องเป็นสีขาว พันเรียบมิดปลายก้านโดยไม่มีสิ่งแปลกปลอมปะปน ก้านตรง แข็งแรง ไม่หักง่าย ปลายทู่ ผิวของวัสดุไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ -การแสดงข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ ต้องแสดงชื่อสินค้า ที่อยู่ผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต จำนวนบรรจุ วิธีการใช้ ที่สำคัญคือ คำเตือนในการใช้ผลิตภัณฑ์ -จำนวนสำลีพันก้านในแต่ละภาชนะบรรจุต้องมีไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก -สำลีก้านที่ซื้อมาต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท ป้องกันสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคปนเปื้อน ที่มา : ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำลีพันก้าน ฉบับที่ 3828 (พ.ศ. 2551)
อ่านเพิ่มเติม >ฉลาดซื้อเคยเก็บตัวอย่างเสื้อชั้นในสตรีสีดำมาตรวจหาสารตกค้างจากสีย้อมไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวกางเกงชั้นในของผู้ชายกันบ้าง เราทดสอบกางเกงชั้นในชายสีดำที่ทำจากเส้นใยฝ้าย จำนวน 11 ตัวอย่าง สนนราคาตั้งแต่ 25 ถึง 890 บาท มีทั้งที่ผลิตในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ (จีน ฮ่องกง และบังคลาเทศ) เราส่งตัวอย่างไปทดสอบในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อตรวจหา สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารป้องกันผ้ายับ/ย่น) ค่าความเป็นกรด-ด่าง ในการทดสอบคราวนี้เราไม่พบสารเคมีก่อมะเร็งที่มากับสีย้อมในกางเกงชั้นในชาย 11 ตัวอย่าง แต่มีอยู่ 2 ตัวอย่างได้แก่ Body Basic และ ZEG ที่ตรวจพบฟอร์มัลดีไฮด์แต่ไม่เกินปริมาณที่มาตรฐานกำหนดไว้ที่ 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้ใน 4 ตัวอย่าง (Body Basic / ZEG / H&M และ F&F) ยังพบค่า pH สูงเกินเกณฑ์ด้วย ----------------------------------------------------------------------------------------------- ตลาดชุดชั้นในชายบ้านเรามีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท เป็นตลาดบนร้อยละ 25 และตลาดล่างร้อยละ 75 ผู้ชายซื้อชั้นในปีละไม่เกิน 2 ครั้ง แต่ซื้อครั้งละ 3 – 4 ตัวหรือซื้อยกโหล (กัลยา กมลรัตน์ 2553 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อชุดชั้นในชายในกรุงเทพมหานคร ) ----------------------------------------------------------------------------------------------- กางเกงใน Rosso รุ่น TC-701 ราคา 129 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่เกินมาตรฐาน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.02 กางเกงใน Body Basic รุ่น Half brief ราคา 159 บาท (แพค 3) ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ < 15 มก/กก. ค่าความเป็นกรดด่าง 7.76 กางเกงใน ZEG รุ่น บิกินี ราคา 270 บาท (แพค 3) ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ < 15 มก/กก. ค่าความเป็นกรดด่าง 8.12 กางเกงใน GUNMAN ราคา 25 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.23 กางเกงใน APPLE รุ่น 704 ราคา 49 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.26 กางเกงใน ADDER ราคา 129 บาท (แพค 3) ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.29 กางเกงใน H&M รุ่น Trunks Cotton Stretch ราคา 699 บาท (แพค 3) ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 8.07 กางเกงใน J. PRESS รุ่น 9127A ราคา 179 บาท (แพค 3) ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.41 กางเกงใน UNIQLO รุ่น Knit Boxer Trunks ราคา บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.70 กางเกงใน Calvin Klein รุ่น Hip Brief ราคา 890 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.45 กางเกงใน F&F รุ่น FF-ES09MD ราคา บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้ายผสม สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.56 ----------------------------------------------------------------------------------------------- โดยทั่วไปผิวหนังคนเรามีความเป็นกรดเล็กน้อย (ค่า ph 5.5) ค่าความเป็นกรด-ด่างที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภคสำหรับเสื้อผ้าที่สวมใส่ติดผิวหนัง ควรอยู่ระหว่าง 4 ถึง 7.5 ถ้าสูงกว่านั้นอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือเป็นผื่นได้ ตามมาตรฐานกางเกงชั้นในชาย ปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็งจะต้องไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม --------------------------------------------------------------------------------------------------- พฤติกรรมการซื้อกางเกงชั้นในของผู้ชายสามารถชี้วัดความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ หลายปีก่อน อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ เคยกล่าวไว้ว่าถ้ายอดขายกางเกงในชายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 -3 นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจกำลังอยู่ในขาขึ้น นอกจากนี้บรรดาผู้สังเกตการณ์ด้านแฟชั่นของเว็บขายชั้นในชายแห่งหนึ่งในอังกฤษ ที่ทำสถิติยอดขายระหว่างในช่วงปี 2007 – 2011 ยังพบว่าในเวลาที่เศรษฐกิจดีผู้ชายจะซื้อกางเกงชั้นในที่มีสีสันมากขึ้น และในเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำพวกเขาจะกลับไปซื้อชั้นในสีขาว สีเทา และสีดำเหมือนเดิม ----------------------------------------------------------------------------------------------- ชั้นในมือสอง? ปี 2012 รัฐบาลประเทศซิมบับเว สั่งห้ามการขายหรือนำเข้าชั้นในในมือสอง เพื่อเป็นการปกป้องตลาดชุดชั้นในภายในประเทศและลดปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชากร ก่อนหน้านั้น ในปี 1994 ประเทศกานาก็ประกาศแบนชั้นในมือสองไปแล้วเช่นเดียวกัน ----------------------------------------------------------------------------------------------- จากผ้าเตี่ยวสู่กางเกงชั้นใน แฟชั่นไอเท็มชิ้นแรกของบรรพบุรุษมนุษย์ถ้ำคือผ้าเตี่ยว ซึ่งได้รับความนิยมต่อมาในอารยธรรมอิยิปต์และโรมันด้วย รายละเอียดเรื่องนี้ไม่ชัดเจน แต่จากการขุดค้นสุสานของกษัตริย์ตุตันคาเมน นักโบราณคดีเขาพบผ้าเตี่ยวหรือกางเกงชั้นในของตุตันคาเมนถึง 145 ตัวเลยทีเดียว กางเกงชั้นในแบบสวมเริ่มมีในศตวรรษที่ 13 และ “ชั้นใน” เริ่มมีพัฒนาการในหลายรูปแบบมากขึ้นในหมู่ชายไฮโซ (เช่น คอร์เซท ถุงน่อง) จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 เมื่อมีคนเรารู้จักนำลินินมาใช้ ชั้นในก็เริ่มมีบทบาททำให้ชาวบ้านทั่วไปที่ฐานะยากจนได้มีอายุขัยยืนยาวขึ้นด้วย เพราะการสวมชั้นในช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายต้องสัมผัสกับแบคทีเรียและเกิดการติดเชื้อง่ายเหมือนเมื่อก่อน พอถึงศตวรรษที่ 19 กางเกงชั้นในก็กลายเป็นไอเท็มจำเป็นของผู้คนทุกฐานะอาชีพไปในที่สุด ----------------------------------------------------------------------------------------------- ทำไมต้องสวมกางเกงในออกไปกู้โลก? การตูนเรื่องซูเปอร์แมนเล่มแรกออกวางขายในปี 1938 (หลังจากจ็อคกี้เปิดตัวกางเกงชั้นในรุ่นแรกได้ 3 ปี) คาแรคเตอร์นี้จะต้องสวมเสื้อผ้าเต็มตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องโชว์กล้ามเนื้อของซูเปอร์ฮีโร่ตามแบบรูปปั้นคลาสสิก จะให้ฮีโร่ของเด็กๆ ดูโป้เปลือยมันก็กระไรอยู่ ผู้วาดจึงต้องสวมกางเกงให้เขาหนึ่งตัว แฟชั่นกูรูให้ความเห็นว่าสิ่งที่เขาสวมอยู่นั่นไม่ใช่กางเกงชั้นในอย่างที่เราคิดกัน ... ชั้นในที่ไหนจะมีเข็มขัดกันล่ะ ... มันเป็นกางเกงกีฬาว่ายน้ำต่างหาก
อ่านเพิ่มเติม >ในเดือนมิถุนายนนี้ ถือเป็นเดือนแห่งการเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G อย่างเต็มรูปแบบ หลังจาก ดีเทค ซึ่งเป็น 1 ในผู้ที่ประมูลเครือข่ายให้บริการ 3G เริ่มออกแพ็คเก็จโปรโมชั่น 3G ซึ่งเป็นเจ้าสุดท้าย ตามหลัง เอไอเอส และ ทรูมูฟเอช อีก 2 ผู้ได้รับสิทธิจากการประมูล ซึ่งออกแพ็คเก็จมาเอาใจคนใช้สมาร์ทโฟนไปก่อนหน้านี้ ใครที่กำลังคิดจะใช้แพ็คเก็จค่าโทรในระบบ 3G หรือใช้ 3G อยู่แล้ว แต่ยังอาจไม่รู้ว่าแต่ละค่ายผู้ให้บริการเขามีแพ็คเก็จแบบไหน ราคาเท่าไหร่ ออกมาบ้าง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสารวบรวมนำมาเปรียบเทียบให้เห็นกันแบบจะจะ กับแพ็คเก็จค่าโทรรายเดือนในระบบ 3G รู้ไว้ก่อนใช้ 3G -ความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะปรับความเร็วลดลง ในแพ็คเก็จต่างๆ ของแต่ละค่ายผู้ให้บริการจะมีการปรับความเร็วลดลงเมื่อใช้ไปครบจำนวนตามที่ระบบในโปรโมชั่น เช่น บอกไว้ว่าใช้ความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงสุดได้ 500 MB (เมกะไบต์) 1 GB (กิกะไบต์) หรือ 3 GB (กิกะไบต์) ความจริงตัวเลขที่เห็นในแพ็คเก็จคือจำนวนปริมาณข้อมูลที่สามารถดาวน์โหลดหรือส่งต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการจะให้ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 42 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) เมื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตครบตามปริมาณข้อมูลที่กำหนดมาในแพ็คเก็จ ความเร็วอินเตอร์เน็ตก็จะถูกปรับลดลงมาเหลือเพียงแค่ 128 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) หรือ 64 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) เพราะฉะนั้นก่อนจะเลือกใช้แพ็คเก็จอะไร ต้องไม่ลืมดูปริมาณความเร็วการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะหากความเร็วช้าลงจนคุณตกใจให้รู้ไว้ว่านั้นเป็นเงื่อนไขที่ค่ายมือถือเขากำหนดมาแล้ว -เงื่อนไขอินเตอร์เน็ตที่ใช้เป็นจำกัดปริมาณการใช้หรือใช้ได้ไม่จำกัด ถ้าเป็นแบบไม่จำกัดก็คงไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าเป็นแบบจำกัดปริมาณการใช้ต้องให้แน่ใจว่าหากใช้เกินปริมาณที่กำหนดมา จะมีการคิดค่าบริการส่วนเกินเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ และที่ต้องจำให้ขึ้นใจสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้แพ็กเก็จอินเตอร์เน็ตแบบไม่จำกัด คืออย่าเผลอเปิดระบบรับสัญญาณค้างไว้ตลอดเวลา เพราะหากมีการดาวน์โหลดข้อมูลก็เท่ากับมีการคิดค่าบริการเกิดขึ้น -ความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกด้วย แม้บรรดาค่ายมือถือต่างออกมายกย่องความเร็วของระบบ 3G แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยประกอบอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่เคยบอก 1.พื้นที่นอกเหนือสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณ 3G ยังไม่คลอบคลุมทั้งทั้งประเทศ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เพราะฉะนั้นหากไม่แน่ใจว่าพื้นที่ที่เราจะใช้งานมีสัญญาณ 3G หรือไม่ ต้องสอบถามจากผู้ให้บริการให้แน่ใจเสียก่อน 2. ความเร็วจะปรับลดลงเมื่อใช้ในพื้นที่ที่ระยะอยู่ห่างจากเสาสัญญาณ แม้จะอยู่ในที่ที่รองรับสัญญาณ แต่ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดสัญญาณก็ย่อมมีผลต่อความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ต 3.ปริมาณความหนาแน่นของผู้ใช้งานในช่วงเวลาเดียวกัน พื้นที่ใกล้เคียงกันก็มีผลต่อความเร็วของสัญญาณ 4.ความสามารถของโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ ก็มีผลต่อความเร็วในการรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต อันดับแรกต้องเป็นรุ่นที่สามารถรองรับ 3G ได้ นอกจากนี้มือถือที่สามารถใช้งาน 3G ได้แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็มีศักยภาพในการรองรับความเร็วของสัญญาณได้ไม่เท่ากัน มี่ตั้งแต่รุ่นที่รองรับความเร็วได้สูงสุด 7.2 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) ไปจนถึง 42 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) เพราะฉะนั้นต่อให้เราใช้โปรโมชั่นที่ให้สัญญาณ 3G แรงสูงแค่ไหน อุปกรณ์ที่เราใช้ก็สามารถรองรับได้ตามความสามารถที่เรามีเท่านั้น ------------------------------------------------------------------------------------------------------- สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ได้กำหนดอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ไว้ดังนี้ +ขณะประจำที่หรือความเร็วเท่ากับการเดิน ต้องรับส่งข้อมูลได้อย่างน้อย 2 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) +ขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับยานพาหนะ ต้องรับส่งข้อมูลอย่างน้อย 384 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) +ในทุกสภาพการใช้งาน ต้องสามารถรับส่งข้อมูลสูงสุด 14.4 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) *หมายเหตุ...ถ้าดูจากอัตราความเร็วที่ ITU กำหนด จะเห็นว่าความเร็วต่ำสุดของคลื่น 3G สำหรับโทรศัพท์มือถือน่าจะอยู่ที่ 384 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) แต่จากการสำรวจพบว่าค่ายผู้ให้บริการสัญญาณมือถือในบ้านเรากลับบริการคลื่น 3G ต่ำสุดที่ 64 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมถึง 6 เท่า ------------------------------------------------------------------------------------------------------- คนไทยมีการใช้งานระบบ 3G อยู่ที่ 7.4% ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 4,523 นาที คิดเป็นค่าใช้บริการประมาณ 236 บาทต่อเดือน คนกรุงเทพฯใช้งานระบบ 3G มากที่สุด คือ 5,919 นาทีต่อเดือน คิดเป็นค่าบริการต่อเดือน 223 บาท ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ------------------------------------------------------------------------------------------------------- กสทช. ได้มีการสั่งให้ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ค่าย ลดค่าบริการลงมา 15% สำหรับค่าบริการในระบบ 3G ตามเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งทาง กสทช. ก็ได้ออกเกณฑ์ค่าบริการกลางใหม่หลังจากลดราคาดังนี้ ค่าบริการด้านเสียง (วอยซ์) 0.82 บาทต่อนาที บริการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ข้อความละ 1.33 บาท บริการส่งข้อความมัลติมีเดีย (เอ็มเอ็มเอส) 3.32 บาท บริการอินเทอร์เน็ตนาทีละ 0.28 บาทต่อเมกะไบต์ *หมายเหตุ...แต่จากการทดสอบของฉลาดซื้อยังไม่เห็นการลดราคาแต่อย่างใด โดยดูได้จากค่าบริการส่วนเกินที่ยังสูงกว่าเกณฑ์ของ กสทช. ทั้ง 3 ค่าย ------------------------------------------------------------------------------------------------------- สำหรับใครที่ต้องการย้ายค่ายมือถือในยุค 3G นี้ ทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีการให้ค่ายมือถือลดค่าธรรมเนียมในการย้ายเครือข่ายเบอร์เดิมเหลือเพียง 29 บาท ส่วนใครที่ใช้ระบบพรีเพดหรือเติมเงิน แล้วต้องการย้ายไปใช้แบบจ่ายรายเดือน ไม่ควรเหลือเงินค้างในระบบ เพราะเมื่อย้ายแล้วเงินที่เหลืออยู่จะไม่ตามไปเท่ากับสูญเงินไปฟรีๆ เพราะฉะนั้นควรใช้ให้หมดก่อน หรือไปติดต่อขอคืนด้วยตัวเองกับทางค่ายผู้ให้บริการ ------------------------------------------------------------------------------------------------------- ตารางแสดงค่าบริการรายเดือนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ราคา (บาท) เอไอเอส โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 399 150 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 599 300 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 799 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 2 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 999 500 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 256 Kbps ไม่จำกัด ราคา (บาท) ดีแทค โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 399 250 1 GB - 429 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 529 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 549 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 629 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 649 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 749 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 849 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 949 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด ราคา (บาท) ทรูมูฟเอช โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 399 250 1 GB ไม่จำกัด 499 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 599 400 2 GB ไม่จำกัด 699 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 2 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 899 500 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด หมายเหตุ *ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม *ความเร็วอินเตอร์เน็ต 3G / EDGE สูงสุดอยู่ที่ 42 Mbps *อย่าลืมดูเงื่อนไขค่าบริการส่วนเกินก่อนตัดสินใจ *ข้อมูลสำรวจเมื่อ มิถุนายน 2556
สำหรับสมาชิก >นักช้อปหลายๆ คนคงเคยประสบปัญหาซื้อของแล้วได้ของที่ไม่โดนใจ แม้ตอนจ่ายตังค์ซื้อจะดูโอเค แต่พอกลับมาบ้านเกิดรู้สึกว่ามันไม่ใช่ อาจเพราะซื้อโดยไม่ทันคิด ว่าของนั้นเราอยากได้จริงๆ หรือเปล่า ซื้อแล้วจะเอาไปใช้อะไร หรือซื้อมาซ้ำทั้งๆ ของที่บ้านก็มีอยู่แล้ว เมื่อสติเรากลับคืนมาแล้วเกิดฉุกคิดได้ ว่าจริงๆ เราไม่อยากได้หรือจำเป็นต้องใช้ของที่เพิ่งซื้อมา ทีนี้คำถามที่ตามมาคือ ของที่เราซื้อมาแล้วเกิดรู้สึกไม่พอใจ เน้นว่าแค่รู้สึกไม่พอใจ คือของที่ซื้อมาไม่ได้ชำรุดหรือมีปัญหา แค่เราเกิดเปลี่ยนใจไม่อยากได้ของที่ซื้อมา เรามีสิทธิ์ที่จะนำของไปขอคืนเงินกับร้านค้าที่เราซื้อของมาได้หรือเปล่า? “รับประกันความพึงพอใจในสินค้า ไม่พอใจเรายินดีคืนเงิน” ถ้าประโยคนี้ไม่ใช่แค่คำโฆษณา ผู้บริโภคอย่างเราก็น่าจะมีสิทธิขอคืนเงินได้...ใช่มั้ย? ซื้อของแล้วเกิดเปลี่ยนใจ ขอคืนเงินได้ แม้จะดูเป็นเรื่องแปลกๆ อยู่สักหน่อย ที่ของที่เราตัดสินใจซื้อด้วยความเต็มใจตอนอยู่ที่ร้าน กลับกลายเป็นของที่เราไม่อยากได้เมื่อกลับมาอยู่บ้าน แต่เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร เราในฐานะผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลในเรื่องการซื้อสินค้าและบริการ ไม่ใช่แค่เรื่องราคา คุณภาพ หรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ แต่ยังครอบคลุมถึงเรื่องสำคัญอย่าง “การรับประกันสินค้า” ซึ่งถือเป็นบริการลูกค้าที่เหล่าห้างร้านต่างๆ ต้องมีไว้คอยบริการให้กับคนซื้อของ ไม่ว่าเราจะซื้อของจาก ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกชื่อดังทั้งหลาย หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะขอคืนสินค้าเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินได้ แต่ว่าก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แต่ละที่กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นเราในฐานะผู้บริโภคนักช้อป จำเป็นมากที่ต้องรู้ถึงรายละเอียดเงื่อนไขการขอคืนสินค้าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ก่อนจ่ายเงินซื้อของ ต้องเช็คเงื่อนไขการเปลี่ยน - คืน ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่า ของที่เราซื้อมาแล้วเกิดปัญหา ชำรุด สินค้าไม่ตรงกับที่โฆษณา หรือรู้สึกไม่พึงพอใจในตัวสินค้า เราสามารถนำไปขอคืนเงินได้ แต่ว่าต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ร้านค้าผู้ขายกำหนดไว้ แล้วเราจะรู้ถึงเงื่อนไขเหล่านั้นได้อย่างไร? ง่ายที่สุดก็คือการสอบถามโดยตรงจากพนักงานขาย ซึ่งถือเป็นช่องทางที่เราเข้าถึงขอมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าได้ง่ายที่สุด (แม้ว่าจากการทดสอบของฉลาดซื้อเรื่องการขอคืนสินค้า เราจะพบว่ามีหลายที่ที่พนักงานขายสินค้าคนเดิมอาจเปลี่ยนเป็นคนละคน จากพนักงานที่น่ารักดูเป็นมิตรตอนที่พูดเชิญชวนให้เราซื้อของ อาจกลายเป็นพนักงานขายที่ดูไม่อยากปฏิสัมพันธ์กับใครและไม่ค่อยสุภาพ ในเวลาที่เราไปติดต่อขอคืนสินค้า) การสอบถามข้อมูลเงื่อนไขการคืนสินค้าจากพนักงานขายจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักช้อปทุกคนควรปฏิบัติ เพราะปัจจุบันข้อมูลเรื่องการขอคืนสินค้าดูยังเป็นเรื่องลึกลับเข้าถึงยาก อาจจะมีบ้างในห้างสรรพสินค้าแบบแห่งที่แจ้งขอมูลเรื่องการขอเปลี่ยน – คืนสินค้าไว้ที่จุดบริการลูกค้า หรือในเว็บไซต์ของห้าง และที่ใกล้ตัวคนซื้อขึ้นมาหน่อยคือในใบเสร็จ แต่ก็ยังมีให้เห็นแค่ไม่กี่แห่ง (จากการทดสอบเราพบแค่ที่ Big C เท่านั้น) แถมข้อมูลก็ไม่ละเอียด เพราะแจ้งเพียงแค่ให้เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานในการขอเปลี่ยน – สินค้าเท่านั้น เงื่อนไขในการขอคืนสินค้าที่เราควรรู้ -ระยะเวลา – เพราะความที่ไม่ได้มีกฎหมายบังคับชัดเจนเรื่องการคืนสินค้า ทำให้การกำหนดระยะเวลาในการคืนสินค้าของห้างร้านแต่ละแห่งแตกต่างกันไป 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง 30 วันบ้าง เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการขอคืนสินค้านับจากวันที่ซื้อจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรกๆ ที่เราควรรู้ นอกจากนี้สินค้าแต่ละประเภทก็มีการกำหนดระยะเวลาการขอคืนสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น อาหารสด อนุญาตให้คืนสินค้าภายในวันที่ซื้อเท่านั้น หรือถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าก็อาจให้คืนสินค้าภายใน 10 – 15 วัน -สถานที่คืนสินค้า – ส่วนใหญ่จะต้องติดต่อขอคืนสินค้าที่จุดบริการลูกค้าในแผนกของห้างร้านสาขาที่เราได้ซื้อสินค้ามา และทางผู้ขายเขาจะรับประกันเฉพาะค่าสินค้าที่เรามาขอคืนเท่านั้น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างค่าเสียเวลา ค่าเดินทาง ผู้ขายไม่รับผิดชอบ -สภาพของสินค้า – แน่นอนว่าสินค้าที่นำมาขอคืนสินค้าในกรณีที่สินค้าไม่ได้ชำรุดหรือเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สินค้านั้นต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด คืออยู่ในบรรจุภัณฑ์ใกล้เคียงตอนที่ซื้อมา (กรณีที่แกะกล่องเอาของออกไปใช้แล้ว) ต้องพยายามอย่าให้ไม่มีร่องรอยการใช้งานหรือชำรุดเสียหาย ถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องอยู่ครบถ้วน รวมถึงเอกสารต่างๆ ที่มพร้อมกับสินค้า ผู้ขายมักจะใช้คำจำกัดความง่ายๆ ว่าสินค้าที่นำมาคืนนั้น ต้องอยู่ในสภาพที่ “สามารถนำมาขายได้ต่อ” -หลักฐานในการขอคืนสินค้า – หลักๆ ก็คือใบเสร็จการซื้อสินค้า ไม่มีไม่ได้ นอกจากนี้อาจจะมีหลักฐานการจ่ายผ่านบัตรเครดิต กรณีซื้อสินค้าผ่านบัตร บางที่อาจให้ผู้ขอคืนสินค้าต้องกรอกเอกสารเพิ่มเติม -วิธีการคืนเงิน – ส่วนใหญ่ผู้ขายก็จะคืนให้ตามวิธีที่เราจ่ายเมื่อตอนซื้อ ถ้าจ่ายด้วยเงินสดก็จะคืนเป็นเงินสด ถ้าจ่ายผ่านบัตรก็จะคืนกลับไปในบัตร แต่ก็บางที่แม้จะจ่ายผ่านบัตรแต่ก็คืนให้เป็นเงินสด โดยจะมีการกำหนดวงเงินเอาไว้ เช่น ไม่เกิน 5,000 บาท (การคืนเงินผ่านทางบัตรเครดิตต้องคอยตรวจเช็คยอดเงินให้ดี เพราะผู้ขายมักจะคืนเงินหลังจากตกลงคืนสินค้าเรียบร้อยแล้ว 1 – 2 เดือน) ในการสำรวจของฉลาดซื้อเรายังพบว่ามีห้างสรรพสินค้าอยู่ 2 แห่ง ที่ไม่ได้คืนเป็นเงินสดแต่คืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า คือที่ เดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน และ เอ็มโพเรียม (ทั้ง 2 ห้างอยู่ในเครือเดียวกัน คือ บริษัท เดอะ มอลล์ กรุ๊ป) ซึ่งนั้นเท่ากับว่าเป็นการบังคับผู้บริโภคกลายๆ ว่าต้องกลับมาซื้อของกับทางห้างอีกหากไม่อยากให้เงินนั้นสูญไปเฉยๆ แม้คูปองเงินสดนั้นจะไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ แต่ก็ดูแล้วไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภคสักเท่าไหร่ -สินค้าบางอย่างไม่สามารถขอคืนเงินได้ – ถือเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขสำคัญที่ควรรู้ก่อนซื้อสินค้า ยิ่งในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนสินค้าจากเหตุผลด้านความพึงพอใจ ไม่ใช่เพราะสินค้าชำรุดหรือมีปัญหา สินค้าที่ร้านค้าส่วนใหญ่ไม่ยอมให้คืนอย่างเด็ดขาด ก็มีอย่างเช่น ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ถุงเท้า หนังสือ แบตเตอรี่ ซีดี ฯลฯ และที่ต้องดูให้ดีคือ ในกลุ่มสินค้าลดราคา สินค้าราคาพิเศษ สินค้าลดล้างสต๊อก สินค้าเหล่านี้ก่อนจะซื้อต้องสอบถามให้ดีเรื่องการขอเปลี่ยนคืนสินค้า อย่าหลงซื้อโดยเห็นแก่ราคาที่ถูกกว่า ถ้าใช้ไปไม่นานแล้วเสียขึ้นมา จะเอากลับไปเปลี่ยนหรือขอคืนเงินไม่ได้ เดี๋ยวจะต้องมาปวดใจได้ของไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป การขอเปลี่ยน – คืนสินค้า ในมุมของกฎหมาย หลังจากฉลาดซื้อเราได้ทดสอบดูเรื่องเงื่อนไขและมาตรการการขอเปลี่ยน – คืนสินค้ากับบรรดาห้างร้านต่างๆ แล้ว เราก็พบข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า แต่ละที่แต่ละแห่งต่างก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ตัวเองจะกำหนด ทั้งๆ ที่สินค้าอาจจะเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ราคาเท่ากัน แต่เงื่อนไขการขอคืนสินค้าไม่เหมือนกัน นั้นเป็นเพราะว่าเราไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดใดๆ ที่ดูแลในเรื่องนี้ แม้จะมี พ.ร.บ. ที่พูดถึงเรื่องสินค้าอย่าง พ.ร.บ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย แต่ก็ดูแลเฉพาะสินค้าที่เข้าข่ายสินค้าไม่ปลอดภัยเท่านั้น หรือ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง ก็คุ้มครองเฉพาะคนซื้อของแบบขายตรง ที่ดูจะเป็นเรื่องเป็นราวมากที่สุด ก็คงเป็น “โครงการส่งเสริมการรับประกันคุณภาพสินค้าและบริการประเภทธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง” ที่ทางกรมการค้าภายในทำไว้กับบรรดา ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกขนาดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ ที่ให้มีการกำหนดเงื่อนไขการเปลี่ยน – คืนสินค้า แต่ว่าก็เป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือเท่านั้น ถ้าขอคืนไม่ได้...ให้กฎหมายช่วย สำหรับคนที่พบปัญหา ไปขอคืนสินค้าแล้วไม่ได้รับการบริการ ไม่ได้เงินคืน เปลี่ยนสินค้าไม่ได้ หรือผู้ขายปฏิเสธความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะเรายังสามารถใช้กฎหมายเป็นตัวช่วยจัดการปัญหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่อง ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ได้กำหนดให้ผู้ขายสินค้าต้องรับผิดชอบต่อสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ซึ่งทำให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถฟ้องร้องเพื่อพิจารณาเรียกร้องการชดเชยได้ โดยใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาวิธีคดีผู้บริโภค ช่วยในการฟ้องร้อง สิ่งที่ต้องทำเมื่อจะไปขอคืนสินค้า 1.ตรวจสอบเงื่อนไขการคืนสินค้าของร้านที่เราจะไปขอคืนสินค้าให้ดีและละเอียดที่สุดเท่าที่จะได้ สอบถามข้อมูลจากหลายๆ ทาง ในเว็บไซต์ของร้าน โทรถามกับร้านโดยตรง หรือจากคนที่เคยมีประสบการณ์ขอคืนสินค้า 2.เตรียมหลักฐานการซื้อสินค้าไว้ให้ครบถ้วนที่สุด เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ซื้อสินค้าต้องรักษาหลักฐานการซื้อไว้ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะใบเสร็จ 3.พยามยามรักษาสภาพของสินค้าที่เราจะนำไปขอคืนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด รวมถึงเอกสารต่างๆ ของสินค้า หรือแม้แต่หีบห่อบรรจุก็ต้องพยายามรักษาให้คงสภาพเหมือนเมื่อตอนที่ซื้อมาให้มากที่สุด 4.ยิ่งติดต่อขอคืนเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะเราจะสามารถจัดการสภาพของสินค้าและเอกสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ทางร้านค้าเองสามารถตรวจสอบข้อมูลการซื้อสินค้าของเราได้ง่ายด้วยเช่นกัน 5.ข้อนี้สำคัญ ต้องพยายามรักษาอารมณ์ของตัวเองให้ดี เพราะแน่นอนการไปติดต่อเพื่อขอคืนสินค้า (โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดจากความไม่พึงพอใจในสินค้า) พนักงานที่รับเรื่องจากเราอาจมีบ้างที่ไม่ค่อยยินดีที่จะให้บริการ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด หากเราต้องการให้การติดต่อขอคืนสินค้าของเราประสบความสำเร็จ เราเองต้องเป็นฝ่ายที่พยายามสื่อสารด้วยท่าทีสุภาพ แต่ก็ต้องรักษาสิทธิอย่างเต็มที่ ซึ่งการที่เราเตรียมตัวตามที่บอกไว้ในข้อ 1 - 3 มาอย่างดี ย่อมทำให้เรามีน้ำหนักเพียงพอที่จะได้รับบริการที่เหมาะสม เงื่อนไขการขอคืนสินค้าของห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ชื่อ ระยะเวลาในการขอคืนสินค้า สินค้าที่ยกเว้นในการขอคืนสินค้า หมายเหตุ โลตัส 30 วัน - เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายใน 7 วัน สินค้าอาหารสด และสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ รับเปลี่ยน-คืนได้ก่อนวันหมดอายุ บิ๊กซี 30 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน ซีดี สินค้าลดราคา เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายใน 10 วัน สินค้าอาหารสด เบเกอรี่ คืนก่อนวันหมดอายุ ท็อป และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ 7 วัน - - เซเว่น อีเลฟเว่น 7 วัน - สินค้าที่เสียก่อนวันหมดอายุ แฟมมิรี มาร์ช 7 วัน - สินค้าที่เสียก่อนวันหมดอายุ ฟูดแลนด์ - - สินค้าคุณภาพไม่ดี แม็คโคร 7 วัน - อาหารสดและแช่แข็ง ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายในวันที่ซื้อสินค้าเท่านั้น เซ็นทรัล 14 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกา ผ้า สินค้าลดราคา - โรบินสัน 14 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกา ผ้า สินค้าลดราคา - เดอะ มอลล์ 7 วัน สินค้าลดราคาพิเศษ - เพาเวอร์บาย 7 วัน กล้องถ่ายรูป, กล้องวีดีโอ, โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค, แท็บเล็ต, สินค้าตัวโชว์, สินค้าลดล้างสต๊อก, ทีวีจอใหญ่กว่า 30 นิ้ว สินค้าที่ใช้แล้ว หรือ แกะกล่องแล้วไม่รับคืน มีดังนี้ ตู้เย็น, แผ่นซีดี, วีดีโอเทป, คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์, ฟิล์ม, ถ่านไฟฉาย, ถ่านชาร์จ, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องซักผ้า, เครื่องดูดฝุ่น, ไมโครเวฟ, เครื่องครัวขนาดเล็ก, ผ้าหมึก, อุปกรณ์ทำความสะอาด ผลการสำรวจบริการคืนสินค้าของห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า /สาขา สินค้า ราคา ได้ ไม่ได้ วันที่ซื้อ วันที่คืน ง่าย ยาก เพราะ โรบินสัน /รังสิต เสื้อยืดหมีพูห์ 495- / - 8 เมย.56 11 เมย.56 สยามพารากอน เสื้อยืด ยี่ห้อ Lantona 445- / ไม่ให้คืนสินค้า ไม่มีเหตุผล 8 เมย.56 11 เมย.56 เทสโก้ โลตัส/สุขุมวิท 50 เสื้อยืดคอกลม 169- / - 9 เมย.56 10 เมย.56 แม็คโคร/รังสิต เสื้อกีฬา ยี่ห้อ FBT 149- / - 8 เมย.56 11 เมย.56 เดอะมอลล์/งามวงศ์วาน เสื้อยืดเด็ก ยี่ห้อ Tom&jerry 390- / ต้องรอเป็นเวลาประมาณ 1 ชม. เนื่องจากทางแคชเชียร์ต้องยื่นเอกสารการทำคืนสินค้าให้ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ รวม 3 ท่าน และไม่สามารถคืนเป็นเงินสด จึงคืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า ไม่กำหนดวันหมดอายุ แต่ต้องมาใช้ซื้อสินค้าในเครือเท่านั้น 6เมย.56 10 เมย.56 บิ๊กซี /สี่แยกบ้านแขก เสื้อเชิ้ต 359- / - 10 เมย.56 11 เมย.56 เอ็มโพเรียม เสื้อกล้ามผู้หญิง Giordano 200- / ต้องรอเป็นเวลาประมาณ 15 นาที เนื่องจากทางแคชเชียร์ต้องยื่นเอกสารการทำคืนสินค้าให้ผู้จัดการเซ็นอนุมัติ แต่ไม่สามารถคืนเป็นเงินสด จึงคืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า ไม่กำหนดวันหมดอายุ แต่ต้องมาใช้ซื้อสินค้าในเครือเท่านั้น 10 เมย.56 11 เมย.56 โตคิว / ไม่ให้คืนเพราะพนักงานอ้างว่าหากให้คืนสินค้า พนักงานต้องจ่ายค่าสินค้าชิ้นนั้นแทน 10 เมย.56 11 เมย.56 เงื่อนไขในการสำรวจ 1.อาสาสมัครจะต้องซื้อเสื้อจากร้านที่ส่วนของทางห้างโดยตรง (ไม่ใช่ร้านที่มาเช่าพื้นที่) 2.ต้องนำเสื้อที่ซื้อมาไปติดต่อขอคืนสินค้า โดยต้องให้เหตุผลในการเปลี่ยนว่าไม่พอใจในสินค้าเท่านั้น เช่น ไม่ชอบสี หรือใส่แล้วไม่ชอบ 3.ติดต่อขอคืนสินค้าโดยที่ สินค้ายังอยู่ในสภาพเดิม และมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน
อ่านเพิ่มเติม >หลังจากการมาของนโยบายรถคันแรก รถราบนท้องถนนก็ดูเหมือนจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อรถเยอะขึ้นปัญหาที่ตามมาไม่ได้มีแค่รถติด แต่ยังมีอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่เป็นความทุกข์ของคนมีรถนั้นก็คือ การหาที่จอด เพราะเดี๋ยวนี้ที่จอดรถไม่ได้หาง่ายๆ แถมที่สำคัญที่จอดรถส่วนใหญ่ไม่ได้มีไว้ให้จอดฟรีๆ ต้องมีการจ่ายค่าบริการ แต่ละที่ก็คิดราคาถูกแพงไม่เท่ากัน ฉลาดซื้อ จึงอยากช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคนมีรถที่ต้องเดินทางไปทำธุระตามที่ต่างๆ อยู่เป็นประจำ ด้วยการสำรวจข้อมูลค่าบริการที่จอดรถของอาคารพาณิชย์ชื่อดังที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจสำคัญๆ ในกทม. ว่าแต่ละที่เขาคิดค่าบริการกันยังไง ราคาเท่าไหร่ จะได้เตรียมตังค์ เตรียมใจ ก่อนจะเอารถไปจอด จอดฟรี แต่แค่ 15 นาทีนะ แม้ว่าในการสำรวจครั้งนี้ฉลาดซื้อได้พบว่า “ของฟรียังมีในโลก” แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจแต่อย่างใด เพราะแม้ที่จอดรถหลายๆ ที่จะมีเวลาให้จอดฟรี แต่ส่วนใหญ่ก็อนุโลมให้เฉพาะแค่ 10 – 15 นาทีแรกเท่านั้น เต็มที่ก็คือให้จอดฟรีได้ครึ่งชั่วโมง อาคารที่ให้จอดฟรีได้ครึ่งชั่วโมงก็มีอย่างเช่น อาคารบีบี Bangkok Business Building ถ.อโศก, อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร, อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี, อาคารเพลิตจิต ทาวเวอร์ และ อาคารเมืองไทย-ภัทร ถ.รัชดาภิเษก ซึ่งการมีช่วงเวลาที่รถเข้าไปจอดในอาคารโดยไม่เสียค่าบริการ แม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ยังถือเป็นประโยชน์กับคนที่ใช้รถ โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้จอดที่อาคารนั้นๆ เป็นประจำ คนที่ไม่เคยทราบราคาค่าที่จอดมาก่อน อย่างน้อยๆ ก็จะได้มีโอกาสตัดสินใจเมื่อเห็นราคา ว่าจะเลือกจอดที่นี่หรือย้ายไปจอดที่อื่น เพราะเป็นข้อกำหนดโดยกรมการค้าภายในอยู่แล้วว่า อาคารสถานที่ที่ให้บริการที่จอดรถต้องมีการแจ้งราคากับผู้ใช้บริการ โดยต้องแจงรายละเอียดการคิดราคาค่าบริการทั้งจัดทำเป็นป้ายให้อ่านชัดเจนและทำเป็นข้อมูลลงในบัตรจอดรถที่ต้องได้รับทุกครั้งเมื่อมาใช้บริการ จ่าย 100 ได้จอด 1 ชั่วโมง ใครที่ดีใจที่ได้มีรถไว้ใช้จากนโยบายรถคันแรก ก็อย่าลืมเตรียมใจว่าจากนี้ไปค่าใช้จ่ายต่างๆ กำลังเดินทางมาดูดเงินจากกระเป๋าคุณ ทั้งค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน และที่หลายคนอาจลืมคิดไปแต่ถือเป็นรายจ่ายก้อนใหญ่ไม่น้อยก็คือ รายจ่ายค่าที่จอดรถ อาจจะดูน่าตกใจแต่ว่าเป็นเรื่องจริง ที่เดี๋ยวนี้ค่าบริการที่จอดรถมีราคาสูงถึงชั่วโมงละ 100 บาท ซึ่งจากการสำรวจเราพบหลายอาคารที่คิดค่าบริการจอดรถชั่วโมงละ 100 บาท ไม่ว่าจะเป็น อาคาร Interchange ถ.อโศก-สุขุมวิท, อาคาร Exchange Tower ถ.สุขุมวิท-รัชดาภิเษก, อาคาร Q House ถ.พระราม 4 และ อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร ที่สำคัญคือเศษของชั่วโมงที่เกินมาก็ถือว่าเป็นหนึ่งชั่วโมง บัตรจอดรถเป็นของมีค่า...ต้องรักษาเท่าชีวิต ค่าจอดรถที่ว่าสูงแล้ว ยังไม่เท่าราคาบัตรจอดรถ ทั้งๆ ที่เป็นแค่กระดาษแผ่นเล็กๆ ใบหนึ่งแต่อาจมีค่าสูงถึง 500 บาท ในกรณีถ้าเราทำบัตรจอดรถที่ได้รับมาหายไป ซึ่งการที่บัตรจอดรถมีค่าสูงขนาดนี้เป็นเพราะนี่คือหลักฐานชิ้นสำคัญที่ไว้แสดงว่าได้มีการทำสัญญาร่วมกันระหว่างเจ้าของรถและอาคารที่ให้บริการที่จอดรถ เผื่อหากเกิดกรณีที่รถหายหรือทรัพย์สินที่อยู่ในรถถูกขโมย บัตรจอดรถจะช่วยยืนยันว่าเราในฐานะเจ้าของรถได้มาใช้บริการจริง นำไปใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องความรับผิดชอบกับเจ้าของอาคารที่เราไปจอดรถ ไม่ได้ประทับตรา ไม่ได้สิทธิ อาคารต่างๆ ที่ให้บริการที่จอดรถส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ ที่เป็นที่ตั้งของร้านค้าและสำนักงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งใครที่มาจอดรถแล้วใช้บริการหรือติดต่อธุระต่างๆ ต้องอย่าลืมใช้สิทธิประทับตราลงบนบัตรจอดรถ เพราะมันจะช่วยให้เราสามารถจ่ายค่าที่จอดรถได้ถูกลง บางที่ก็ให้สิทธิจอดฟรีได้นานขึ้นเป็น 1 ชั่วโมง – 2 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นเวลาไปจอดรถไม่ว่าที่ไหนอย่าลืมมองหาจุดประทับตราเพื่อจะได้ช่วยประหยัดค่าจอดรถ สคบ. ขอความร่วมมือ ให้จอดฟรี 1 ชั่วโมง 15 นาที เรื่องของการคิดราคาค่าบริการที่จอดรถนั้น ในบ้านเราไม่ได้มีกฎหมายใดๆ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเอาไว้ จึงทำให้แต่ละที่มีการคิดราคาแตกต่างกันไป แต่เมื่อปลายปีที่แล้วมีข่าวว่าทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร่วมกับ กรมการค้าภายใน และ กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการขอความร่วมมือไปยังห้างสรรพสินค้าและผู้ให้บริการที่จอดรถของเอกชนทั่วประเทศ ว่าต้องอนุญาตให้ผู้ใช้รถสามารถจอดรถได้ฟรีเป็นเวลา 1 ชั่วโมงกับอีก 15 นาที หลังจากนั้นจึงค่อยมีการคิดค่าบริการ แต่จากผลสำรวจจะเห็นว่าที่จอดรถทุกแห่งที่เราทำการสำรวจ ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ.เรียกร้องเลยแม้แต่แห่งเดียว (นอกเสียจากจะเป็นการคิดค่าบริการจอดรถที่มีการประทับตรา) เนื่องจากหลักเกณฑ์ที่ออกมานั้นไม่ได้เป็นข้อกฎหมายหรือข้อบังคับ แต่เป็นเพียงแต่ขอกำหนดแบบสมัครใจเท่านั้น มาตรฐานสถานที่จอดรถ -อาคารจอดรถยนต์ต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟทั้งหมด -อาคารจอดรถยนต์ให้สร้างได้สูงไม่เกินสิบชั้นจากระดับพื้นดิน -อาคารจอดรถยนต์ที่สูงเกินหนึ่งชั้น ต้องมีการเปิดโล่งอย่างน้อยสองด้าน ส่วนเปิดโล่งต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ผนังด้านนั้น -อาคารจอดรถยนต์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ต้องจัดให้มีเครื่องระบายอากาศภายในชั้นนั้นๆ -ทุกส่วนของอาคารจอดรถยนต์ต้องให้มีแสงสว่างแลเห็นได้ชัดทั้งกลางวันและกลางคืน -ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่เพียงพอ หนึ่งเครื่องต่อจำนวนที่จอดรถยนต์ทุกๆ ห้าสิบคัน -พื้นที่สำหรับจอดรถ 1 คัน ถ้าเป็นแบบที่จอดขนานกับแนวเดินรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร ส่วนถ้าเป็นแบบพื้นที่จอดที่ขนานกับแนวเดินรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร -ที่จอดรถแต่ละคัน ต้องมีเครื่องหมายแสดงลักษณะและขอบเขตของที่จอดรถไว้ให้ปรากฏบนพื้น ที่มา : ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ. 2521 และ กฎกระทรวง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เมื่อ “รถหาย” สถานที่ที่รับจอดรถต้องรับผิดชอบหรือไม่? ถ้าลองสังเกตในบัตรจอดรถ จะเห็นข้อความประมาณว่า “บัตรนี้ไม่ถือเป็นการรับฝากรถ อาคารไม่รับผิดชอบใดๆ กรณีเกิดการสูญหายหรือเสียของรถและทรัพย์สินใดๆ” ทำให้หลายคนมีข้อกังวลว่าถ้าหากนำรถไปจอดแล้วรถหายหรือทรัพย์สินในรถถูกขโมยจะสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากเจ้าของอาคารได้หรือไม่ ซึ่งแม้เจ้าของอาคารจะมีการระบุข้อความที่ไม่ขอแสดงความรับผิดชอบใดๆ เอาไว้ แต่ในทางกฎหมายเราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ เพียงแต่ต้องมีหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าเราได้นำรถไปจอดที่สถานที่ดังกล่าวจริง เช่น บัตรจอดรถ หรือใบเสร็จจากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในอาคารนั้นๆ ซึ่งเราสามารถแจ้งเรื่องไปยัง สคบ. ให้ช่วยดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายได้ ข้อมูลสำรวจอัตราค่าบริการที่จอดรถยนต์ของอาคารพาณิชย์ชื่อดังใน กทม. 1. อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 2 ชั่วโมงแรก 2. อาคารเมืองไทย-ภัทร ถ.รัชดาภิเษก 1 ชั่วโมง 10 บาท 2 ชั่วโมง 30 บาท 3 ชั่วโมง 70 บาท ชั่วโมงที่ 4 เป็นต้นไป คิดเพิ่มชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 30 นาทีแรก 3. อาคารเพลินจิต ทาวเวอร์ ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด) 4. อาคารบางกอกทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี เวลา 07.01 – 19.00 น. ชั่วโมงละ 20 บาท เวลา 19.01 – 24.00 น. ชั่วโมงละ 60 บาท เวลา 24.01 – 07.00 น. ชั่วโมงละ 120 บาท 5. อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 2 ชั่วโมงแรก 6. อาคารยูไนเต็ด เซ็นเตอร์ ถ.สีลม ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 1 ชั่วโมงแรก 7. อาคารสีบุญเรือง ถ.สีลม ชั่วโมงละ 35 บาท ฟรี 10 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด) 8. อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ ถ.อโศก ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 10 นาทีแรก จอดเกิน 8 ชั่วโมง คิดชั่วโมงละ 50 บาท ถ้ามีประทับตรา จอดฟรี 9. อาคารบีบี (Bangkok Business Building) ถ.อโศก ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ลดราคา 50% 10. อาคารลุมพินี ถ.พระราม 4 ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ 1 ครั้ง ชั่วโมงแรกฟรี ชั่วโมงต่อไป 20 บาท ถ้ามีตราประทับ 2 ครั้ง จอดฟรี (บริษัทเจ้าของตราประทับนั้นเป็นผู้จ่าย) *หมายเหตุ ตราประทับ 2 ครั้ง ต้องมาจากบริษัทเดียวกัน 11. ที่จอดรถเท็กซัส เยาวราช ชั่วโมงแรก 40 บาท ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ถัดไป 20 บาท 12. อาคารกาญจนทัต ทาวเวอร์ เยาวราช ชั่วโมงละ 50 บาท ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด) 13. อาคาร Park Ventures ถ.วิทยุ ชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 15 นาทีแรก 14. อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ฟรี 1 ชั่วโมงแรก ชั่วโมงต่อไปขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ 15. อาคาร Exchange Tower ถ.สุขุวิท-รัชดาภิเษก ชั่วโมงแรก 100 บาท ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงถัดไป 50 บาท ฟรี 15 นาทีแรก 16. อาคาร Interchange ถ.อโศก-สุขุมวิท ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 10 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 1 – 2 ชั่วโมงแรก (ขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ) 17. อาคารQ House ถ.พระราม 4 ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ)
อ่านเพิ่มเติม >