ฉบับที่ 209 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอน 5)

หลังจากที่พรรค CDU ของนางแองเจล่าร์ แมร์เคลประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากได้ และคะแนนนิยมตกต่ำลงซึ่งเป็นผลพวงมาจาก นโยบายการรับผู้อพยพลี้ภัย โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยภายใน ส่งผลให้การเจรจากับพรรคอื่น ไม่ว่าจะเป็น พรรค FDP หรือ พรรค The Green Party ประสบความล้มเหลว และในที่สุด ก็สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมโดยพรรคขนาดใหญ่ 3 พรรค คือ พรรค CDU CSU ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม และพรรค SPD เป็นพรรคสายสังคมนิยม การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้สั่นคลอนความเป็นปึกแผ่นของพรรค SPD มีการเปลี่ยนผู้นำพรรคและผู้บริหารพรรค อย่างหืดขึ้นคอทีเดียว สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี ก็ได้จัดทำความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาล ประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อประเมินนโยบายของรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็น และได้เล่าไปในทั้ง 4 ตอนที่ผ่านมา ครั้งนี้ขอกล่าวถึงต่อในประเด็นของอสังหาริมทรัพย์นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)โครงการสร้างที่อยู่อาศัย และบ้านพักสวัสดิการเพิ่มเติม จำนวน 1.5 ล้านยูนิต โดยใช้งบประมาณจากรัฐบาลสนับสนุนถึง 2,000 ล้านยูโร เจ้าของผู้ให้เช่า จะต้องแจ้งราคาค่าเช่าให้ผู้เช่ารับทราบ ถึงราคาค่าเช่าก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นผลทางกฎหมายที่กำกับธุรกิจการให้เช่าที่พักอาศัยและอสังหาริมทรัพย์  สำหรับผู้เช่าจะได้รับราคาค่าเช่าที่ลดลง ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกิดจากการ ปรับปรุงที่พักอาศัย จากเดิมที่คิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ต่อ ตารางเมตร ให้ลดลงเหลือเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ต่อตารางเมตร เพื่อป้องกันการ คิดราคาค่าเช่าเพิ่มอย่างไม่เป็นธรรมและไม่มีเหตุผล นอกจากนี้ เจ้าของผู้ให้เช่า จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติมสำหรับการปรับปรุงที่พักอาศัยที่ ทำให้เกิดการประหยัดและลดการใช้พลังงาน ตลอดจนรัฐบาลจะไม่เพิ่มภาระจากการออกมาตรฐาน energy efficiency standards บังคับใช้สำหรับบ้านหรือที่พักอาศัยที่จะสร้างขึ้นใหม่ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่เรื่องการให้งบประมาณสนับสนุนยังขาดมิติในเรื่องของเวลาที่จะควรกำหนดกรอบเวลาในการสนับสนุนให้ชัดเจนขึ้น และมาตรการการสนับสนุนมาตรการทางภาษี ยังให้การสนับสนุนในวงเงินที่ค่อนข้างต่ำ และการสนับสนุนการก่อสร้างที่พักอาศัยขึ้นใหม่ โดยใช้มาตรการทางการเงินที่เรียกว่า KfW 55 Standard ต้องนำมาใช้ประกอบกันด้วยเพื่อให้ ที่อยู่อาศัยที่จะสร้างขึ้นใหม่นั้น สามารถลดการใช้พลังงานได้จริง(หมายเหตุ KfW 55 standard เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่กำหนด โดย ธนาคาร KFW ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในบ้านเรา แต่มีมิติของการอนุรักษ์การใช้พลังงาน เป็นเงื่อนไขในการปล่อยกู้ และสนับสนุนมาตรการทางการเงิน และมาตาการทางภาษีให้กับ เจ้าของที่พักอาศัยในธุรกิจบ้านเช่า)นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น การเดินทาง การท่องเที่ยว(Mobility and tourism)ประเด็นการห้ามรถยนต์ดีเซล (Diesel Driving Prohibition)รัฐบาลมีนโยบายในการป้องกันรักษาคุณภาพของอากาศ ลดปริมาณการปล่อยก้าซพิษ บนท้องถนน โดยคำนึงถึง ข้อจำกัดทางเทคนิค และข้อจำกัดทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงคุณภาพของรถยนต์ โดยเฉพาะภายในปี 2018 นโยบายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) โดยจะพิจารณาถึงมาตรการ การติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อลดการปล่อยก๊าซดังกล่าวต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่จะห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งบนท้องถนน สำหรับผู้ประกอบการ ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ดีเซล จะต้องรับผิดชอบ ต่อลูกค้าของตน ในการติดตั้งอุปกรณ์เสริม สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลมาตรฐาน Euro 5 ตลอดจนไม่ผลักภาระไปให้กับลูกค้ารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electro mobility)โครงการการก่อสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้า ที่จะสร้างขึ้นจำนวน 100,000 สถานี ภายในปี 2020 และมีมาตรการสนับสนุนการก่อสร้างสถานีชาร์จสำหรับเจ้าของที่พักอาศัยและผู้เช่า ตลอดจนพัฒนากฎหมายที่ส่งเสริมระบบการจ่ายเงินค่าชาร์จไฟที่เป็นมิตรกับผู้ใช้สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนนโยบายการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ตลอดจนการสนับสนุนเจ้าของที่พักอาศัย และผู้เช่าให้มีส่วนร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่การยอมรับการเป็นสังคมการใช้รถไฟฟ้า สำหรับประเด็นระบบการจ่ายเงิน และการคิดค่าชาร์จไฟที่เป็นมิตรกับผู้บริโภค จะต้องคำนึงถึงประเด็นทางด้านความโปร่งใสของราคา แต่ละสถานีชาร์จไฟ และจำกัดเพดานของ ค่าธรรมเนียมจากการ roaming ข้อมูลนโยบาย รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ(autonomous driving) ประเด็นนี้ จะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และผลักดันให้เกิดกฎหมายเฉพาะออกมาบังคับใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในระบบการจราจรสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนแนวความคิดนี้ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของสังคม นอกจากนี้ กฎหมายเฉพาะที่จะออกมาบังคับใช้นั้น ควรให้ทางผู้ประกอบการมีส่วนรับผิดด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีกระบวนการ อภิปรายถกเถียง และปรึกษาหารือของสังคม เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่แบบนี้ ย่อมนำไปสู่ประเด็น เรื่องจริยธรรมใหม่ของสังคมตามมาด้วยเช่นกันระบบการขนส่งมวลชน และการขนส่งผู้โดยสารยุคใหม่ (Mobility platforms and personal transportation law) ปัจจุบันเป็นยุค ดิจิตัล การจัดการ และการเชื่อมต่อข้อมูล การโดยสารและขนส่ง เพื่อตอบโจทย์ทางด้านการขนส่งที่เป็นมิตรกับผู้โดยสารเป็นเรื่องสำคัญ ในระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะ กฎหมายที่เกี่ยวข้องการขนส่งผู้โดยสารจำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุง  เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในยุค 4.0สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนแนวความคิดนี้ และให้ความสำคัญกับการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การเดินทางและการขนส่งมวลชนยุคใหม่ ภายใต้การรักษาคุณภาพชีวิต และมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ผู้บริโภคสามารถวางแผนการเดินทาง จองตั๋วโดยสาร และจ่ายเงินได้อย่างสะดวกภายใต้ระบบการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะ จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานที่จะเป็นปากเสียงและสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคเกิดขึ้นครั้งหน้าจะนำเสนอ ความเห็นต่อนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านการบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection) และนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคจากการค้าข้ามชาติ (International commerce)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 หยุดทำร้ายแม่คนอื่น

ทำไมการโฆษณาขายสินค้าหรือแม้แต่การทำรายการโทรทัศน์ที่พาผู้ชมไปดูการกินอาหารบางอย่างในภัตตาคารนั้นถึงได้เป็นบาป คำตอบง่ายๆ คือ มันเป็นการชักชวน ชี้นำให้คนไปกินสิ่ง ซึ่งส่งผลถึงการรบกวนความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่นโดยไม่จำเป็นผู้เขียนประทับใจกับชื่อกระทู้หนึ่งใน pantip (https://pantip.com/topic/32398154) ซึ่งเป็นกระทู้ที่ดูเก่าเพราะยกประเด็นเกี่ยวกับการกินรังนกขึ้นมาอภิปรายกันเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 อย่างไรก็ตามแม้กระทู้จะเก่าแล้ว แต่พอใกล้วันแม่คือ 12 สิงหาคม ทุกปีนั้น เราท่านจะได้เห็นโฆษณาที่ลูกกตัญญูทั้งหลายเตรียมตัวนำรังนกบรรจุขวดไปเยี่ยมเคารพแม่กัน โดยผู้ที่แสดงตนในโฆษณานั้นอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่า สิ่งที่ตนรับจ้างโฆษณานั้นน่าจะเป็นบาป ทำไมการโฆษณาขายสินค้าหรือแม้แต่การทำรายการโทรทัศน์ที่พาผู้ชมไปดูการกินอาหารบางอย่างในภัตตาคารนั้นถึงได้เป็นบาป คำตอบง่าย ๆ คือ มันเป็นการชักชวน ชี้นำให้คนไปกินสิ่ง ซึ่งส่งผลถึงการรบกวนความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่นโดยไม่จำเป็น เพราะเราสามารถกินสิ่ง ซึ่งเป็นอาหารทั่วไปที่สังคมยอมรับได้อยู่แล้วรังนกที่คนนิยมกินนั้นถูกสร้างจากน้ำลายของพ่อนกและแม่นกก่อนการผสมพันธุ์ เพื่อใช้เป็นที่วางไข่ กกไข่ และเป็นที่อยู่ของลูกนกก่อนเริ่มหัดบิน ส่วนประกอบของรังนก(แห้ง) โดยประมาณราวร้อยละ 85-97 เป็นน้ำลายที่นกขยอกออกมาและอีกร้อยละ 3-15 เป็นขนอ่อน รังนกนั้น เมื่อปรุงแล้วถือว่าเป็นอาหารถ้วยหนึ่งที่นิยมกินแพร่หลายกันในหมู่ชาวจีน โดยในอดีตนั้นอาหารนี้ได้รับการยกย่องว่า เป็นอาหารบำรุงชั้นยอดของฮ่องเต้(ซึ่งสุดท้ายก็ถูกโค่นล้มหายไปจากแผ่นดินจีน) ตลอดจนกลุ่มชนชั้นสูงของจีน ซึ่งรวยถึงระดับไม่รับรู้ว่า อะไรควรทำหรือไม่ควรทำ การกินรังนกในประเทศต่างๆ ไม่ว่าไทยแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์และประเทศอื่นๆ นั้นเป็นการถ่ายทอดพฤติกรรมจากบรรพบุรุษชาวจีน ซึ่งมีความเชื่อว่า รังนกนั้นให้ประโยชน์แก่ตนเองโดยไม่ได้คำนึงถึงใจพ่อแม่กว่าปวดร้าวเพียงใด ผู้เขียนเคยชมสารคดีทางโทรทัศน์ช่องหนึ่งอธิบายว่า รังนกนั้นถูกเก็บถึง 3 ครั้งในระหว่างที่นกพยายามสร้างรัง จนครั้งสุดท้ายที่นกพยายามสร้างรังเป็นครั้งที่ 4 นั้นมีคราบเลือด ซึ่งผู้เก็บคงมองออกว่า ราคารังนกผสมเลือดคงต่ำลงแล้ว จึงปล่อยให้นกได้วางไข่เพื่อสืบพันธุ์เกิดลูกมารับเวรกรรมในการเป็นนกต่อไปอย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ได้มีรังนกที่เก็บจากตึกแถวที่สร้างไว้เพื่อให้คนอยู่แต่กลับถูกปล่อยร้าง (ตัวอย่างเช่นในจังหวัดชุมพร) แล้วมีนกชนิดหนึ่งทำเนียนเข้าไปสร้างรัง ผู้เป็นเจ้าของตึกแถวได้กล่าวในบทความชื่อ “ทุกข์คนทำรังนก บ้านติด ก.ม.ขายเองไม่ได้” ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ (www.thairath.co.th/content/480976) ประมาณว่า เขาไม่ได้เก็บรังนกตัดหน้าการวางไข่เหมือนคนที่เก็บรังนกสัมประทานในถ้ำบนเกาะต่างๆ แต่เขาปล่อยให้นกวางไข่จนได้ลูกนกที่เมื่อเติบโตแล้ว ทั้งพ่อแม่ลูกอพยพออกไป ทิ้งรังให้เขาได้เก็บขายเป็นอาชีพ จึงน่าจะเป็นบุญมากกว่าบาป โดยรังเก่าๆ นั้นจะต้องทำให้สะอาดมีสีขาวด้วยการฟอกสีก่อน จึงจะมีราคากิโลกรัมละ 60,000 บาท ในขณะที่รังซึ่งเก่ามากหน่อยเพราะเก็บช้าคุณภาพอาจต่ำลงและมีสีเหลืองสามารถขายได้เพียงกิโลกรัมละ 12,000 บาท รังนกนั้นให้ประโยชน์แก่ตนเองโดยไม่ได้คำนึงถึงใจพ่อแม่กว่าปวดร้าวเพียงใด ผู้เขียนเคยชมสารคดีทางโทรทัศน์ช่องหนึ่งอธิบายว่า รังนกนั้นถูกเก็บถึง 3 ครั้งในระหว่างที่นกพยายามสร้างรัง จนครั้งสุดท้ายที่นกพยายามสร้างรังเป็นครั้งที่ 4 นั้นมีคราบเลือด ซึ่งผู้เก็บคงมองออกว่า ราคารังนกผสมเลือดคงต่ำลงแล้ว จึงปล่อยให้นกได้วางไข่เพื่อสืบพันธุ์เกิดลูกมารับเวรกรรมในการเป็นนกต่อไปสิ่งที่น่าแปลกใจคือ มีผู้ขายผลิตภัณฑ์รังนกอ้างว่า สินค้าของเขาเป็นรังนกสีทอง(ความจริงดูเป็นสีเหลือง) นั้นมีคุณภาพสุดยอดสำหรับผู้บริโภคทีเดียว อย่างนี้เลยไม่รู้ว่าผู้นิยมบริโภครังนกจะเชื่อใครดีว่า จริงแล้วรังนกสีเหลืองนั้นดีกว่าสีขาวหรือไม่ แต่สำหรับผู้เขียนนั้นไม่สนใจจะเชื่อใครทั้งสิ้น เพราะไม่ชอบทั้งกลิ่นและรสชาติของรังนกในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการกินรังนกกล่าวกันว่า สมัยราชวงค์หมิงตอนปลายนั้นในใบสั่งยาของหมอจีน มักมีรังนกเป็นส่วนผสมเสมอ เพราะเชื่อตามที่บอกกันมานานแล้วว่า รังนกสามารถรักษาโรคทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงสุขภาพเด็ก สตรีและคนชรา ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้มีความนุ่มนวลอ่อนเยาว์ ช่วยบำรุงปอดและเลือด และช่วยบำรุงสุขภาพของผู้ป่วยในระยะพักฟื้นรวมทั้งสตรีหลังคลอดบุตร โดยลืมพิจารณาในความเป็นจริงว่า คนที่กินรังนกนั้นมักเป็นคนรวย ซึ่งมีการกินดีอยู่ดีอยู่แล้ว ยังไงๆ ก็ควรมีสุขภาพดีได้ถ้ากินอาหารครบห้าหมู่และไม่ทำร้ายตนเองด้วยกันกินเหล้าสูบบุหรี่บ่อยนักข้อมูลจากวิกิพีเดีย(ภาษาไทย) อ้างถึงบทความวิจัยบทความหนึ่งที่รายงานผลการวิเคราะห์ว่า รังนกแห้ง(100 กรัม) ที่เก็บในมาเลเชียนั้นประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 61.5 กรัม ส่วนแร่ธาตุหลัก 4 ชนิดที่พบได้ในรังนกคือ แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และมี sialic acid ประมาณร้อยละ 0.7-1.5 โดยปริมาณสารอาหารในรังนกแตกต่างกันไปตามฤดูเก็บเกี่ยวและสถานที่ทำรังสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับรังนกในบ้านเรานั้น เป็นการรายงานคุณค่าทางโภชนาการของรังนกบรรจุขวดแล้วซึ่งประมาณว่า รังนก 1 ขวด มีโปรตีนเท่ากับนมสดแค่ครึ่งช้อนโต๊ะ หรือถั่วลิสงเพียง 2 เมล็ด มีพลังงานน้อยกว่าไข่ไก่ 1 ฟอง ซึ่งข้อมูลประมาณนี้ผู้ทำกิจการขายรังนกไม่ว่าแห้งหรือเปียกในขวดต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าอยากกินโปรตีนก็ให้ไปกินเนื้อ นม ไข่ แล้วกัน เพราะผู้ที่กินรังนกนั้นเขากินเพื่อหวังประโยชน์ต่อสุขภาพ(ถ้ามี) เป็นประการที่หนึ่ง ส่วนรสชาติหวานจากน้ำตาลกรวดนั้น เป็นเป้าประสงค์ประการที่สอง สำหรับปริมาณโปรตีนหรือคุณค่าทางโภชนาการอื่นๆ นั้นไม่ใช่ประเด็นจากการที่มีความเชื่อในสรรพคุณด้านบำรุงร่างกายมานับพันปีเกี่ยวกับรังนกนั้น จึงทำให้มีนักวิจัยมากมายที่สนใจทดสอบสรรพคุณและสารออกฤทธิ์ ซึ่งคาดว่ามีอยู่ในรังนก แต่จนแล้วจนรอดนั้นดูเหมือนว่า ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนกล้าออกมายืนยันสักคนว่า ตนเองซึ่งไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน(conflict of interest) สามารถแสดงให้เห็นคุณประโยชน์อย่างประจักษ์ชัดว่า การกินรังนกนั้นบำรุงร่างกายอย่างไร หรือสารใดในรังนกที่มีสรรพคุณดังที่ร่ำลือมานับพันปี กล่าวกันว่า รังนกที่ดีต้องมีกลิ่นคาวไข่ ซึ่งเป็นการรับประกันว่า สามารถฟอกปอดบำบัดโรคได้ดี ในปัจจุบันคาดกันว่าคุณค่าด้านสุขภาพที่ได้จากรังนกนั้น อยู่ที่โปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกจัดเป็นกลัยโคโปรตีนผู้เขียนได้ไปพบผลงานวิจัยเรื่องหนึ่งชื่อ Edible bird’s nest extract inhibits influenza virus infection ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชื่อ Antiviral Research ชุดที่ 70 (ปี 2006) หน้าที่ 140–146 งานวิจัยดังกล่าวนั้นใช้วิธีการสกัดรังนกด้วยน้ำร้อนได้เป็นสารละลายซึ่งมี N-acetylmuraminic acid เป็นองค์ประกอบสำคัญ จากนั้นจึงทำให้แห้งแล้วนำไปทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อโรคไวรัสไข้หวัดใหญ่ (3 ชนิดคือ หวัดใหญ่คน นกและหมู) ต่อเซลล์จากไตสุนัข(ชื่อ Madin-Darby canine kidney cells) ที่เลี้ยงไว้ในหลอดทดลอง  ซึ่งผู้วิจัยได้สรุปว่า "สารสกัดจากรังนกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ในหลอดทดลอง ส่วนผลในมนุษย์นั้นยังต้องศึกษาต่อไป” สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับรังนกในบ้านเรานั้น เป็นการรายงานคุณค่าทางโภชนาการของรังนกบรรจุขวดแล้วซึ่งประมาณว่า รังนก 1 ขวด มีโปรตีนเท่ากับนมสดแค่ครึ่งช้อนโต๊ะ หรือถั่วลิสงเพียง 2 เมล็ด มีพลังงานน้อยกว่าไข่ไก่ 1 ฟองสารเคมีที่สกัดได้จากรังนกคือ  N-acetylmuraminic acid นั้นสามารถหาซื้อในรูปสารเคมีที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 98 จากบริษัทขายสารเคมีระดับโลก ซึ่งมีตัวแทนที่สิงคโปร์เพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการในราคาประมาณกว่า 47,500 บาทต่อกรัม ซึ่งมองเผินๆ ก็รู้ว่า แพงกว่าทองคำ ซึ่งมีราคาประมาณ 1,400 บาทต่อกรัม นี่น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งว่า ทำไมงานวิจัยเกี่ยวกับสารธรรมชาติชนิดนี้ถึงไม่ค่อยมีคนทำวิจัยมีข้อสังเกตหนึ่งที่ผู้ทำวิจัยชาวญี่ปุ่นได้กล่าวถึงในบทความที่รายงานผลว่า รังนกต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่คือ แม้รังนกนั้นจะได้รับความเชื่อถือว่าเสริมสร้างภูมิต้านทานก็ตาม แต่ในประเทศจีนนั้น รังนกก็เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งในการก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ที่อาจทำให้ตายได้ ประเด็นนี้น่าจะทำให้หลายคน ซึ่งคุ้นเคยกับการแพ้อาหารทะเล เช่น กุ้งหรือปู ได้ยับยั้งชั่งใจแล้วปรึกษาแพทย์ก่อนการกินอาหารชนิดนี้ หรืออาจต้องลองกินในปริมาณน้อยก่อนเพื่อดูว่า ตนนั้นมีความเสี่ยงต่ออันตรายจากการกินอาหารนี้หรือไม่หมายเหตุ รังนกในบทความนี้ก็หมายถึงรังนกที่มนุษย์นิยมกินนะแหละ ผู้เขียนไม่ประสงค์จะระบุชนิดของนก เนื่องจากไม่ต้องการระบุ แต่เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงทราบอยู่เองว่าควรเป็นรังของนกอะไร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2561พาณิชย์ไม่อนุมัติผู้ผลิตลดขนาดสินค้าแต่ขายราคาเดิมอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ผู้ผลิตสินค้าประเภทแชมพู สบู่เหลว น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ยาสีฟัน และผงซักฟอก หลายยี่ห้อได้ทำหนังสือเข้ามายังกรมฯ เพื่อขอออกผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการลดขนาดบรรจุภัณฑ์และลดปริมาณสินค้า แต่ยังขอจำหน่ายสินค้าในราคาเดิม โดยให้เหตุผลว่ามีการปรับปรุงสูตรให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น แต่หลังจากที่กรมฯ ได้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ พบว่า สินค้าไม่ได้แตกต่างจากของเดิม จึงไม่ได้อนุมัติให้มีการดำเนินการตามคำขอทั้งนี้กรมการค้าภายใน ไม่ได้ปิดกั้นผู้ผลิตทำการปรับลดขนาดหรือปริมาณสินค้า แต่หากผู้ผลิตมีการนำเสนอรายละเอียดต้นทุนที่ชัดเจน และสมเหตุสมผล กรมฯ ก็พร้อมที่จะพิจารณาให้ ทั้งนี้หากผู้บริโภคพบเห็นสินค้ามีการปรับลดขนาดหรือปริมาณบรรจุ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 กรมสุขภาพจิตสั่งเปิดคลินิกบำบัดนักพนันบอลโลกอธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ได้ให้โรงพยาบาลจิตเวชในสังกัด 19 แห่ง ใน 13 จังหวัด เปิดคลินิกบำบัดรักษาผู้ที่ติดพนันบอลในแผนกผู้ป่วยนอก และให้บริการปรึกษาทางสายด่วนสุขภาพจิตตลอด 24 ชม. และผ่านทางเฟซบุ๊กในช่วงเวลา 14.30 – 22.30 น. โดยใช้เทคนิคการบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ ใช้กระบวนการทางจิตวิทยาควบคู่กับการใช้ยา เน้นการกระตุ้นให้ผู้บำบัดค้นหาเป้าหมายหรือแรงจูงใจภายในตนเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สำหรับโรคติดพนันจะมีอาการ 9 อย่าง ดังนี้ 1. คิดหมกมุ่นอยู่กับการเล่นพนันตลอดเวลา 2. เล่นพนันโดยเพิ่มจำนวนเงินพนันขึ้นเรื่อยๆ 3. เล่นเสียเป็นหนี้ก็ยังเล่นต่อ หวังจะได้เงินคืน 4. ยอมทำสิ่งผิดกฎหมายเพื่อหาเงินมาใช้หนี้และเล่นพนัน 5. พูดปด ปกปิดปัญหาที่ลุกลามจากการเล่นพนัน 6. มีปัญหากู้หนี้ยืมสิน 7. สูญเสียสัมพันธภาพกับคนในครอบครัวจากการเล่นพนัน 8. ใช้การพนันเป็นทางออกในการหนีปัญหา 9. ล้มเหลวทุกครั้งที่คิดจะเลิกพนัน หากตรวจสอบตนเองแล้วมีพฤติกรรมดังกล่าว 2 ข้อขึ้นไป แสดงว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดพนัน สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชม.เผยคนไทยใช้สมุนไพรมากขึ้นจากฐานข้อมูลของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2560 พบว่า มีผู้ป่วยนอกเข้ารับบริการการแพทย์แผนไทยฯ ในโรงพยาบาลทุกระดับกว่า 32 ล้านครั้ง จากจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่มารับบริการกว่า 164 ล้านครั้ง คิดเป็นร้อยละ 19.75 และมีการใช้ยาสมุนไพรเพิ่ม 406 ล้านบาท จาก 1,700 ล้านบาทในปี 2559 เป็นกว่า 2,000 ล้านบาทในปี 2560 สำหรับมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพร ปี 2560 แบ่งเป็นเครื่องสำอาง 192,600 ล้านบาท อาหารเสริม 51,848 ล้านบาท และยาสมุนไพร 7,548 ล้านบาท รวมมูลค่าการใช้สมุนไพรทั่วประเทศทั้งสิ้น 254,830 ล้านบาทประกาศห้ามการผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน13 ก.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง ห้ามมีการผลิต นำเข้า หรือ จำหน่ายอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) น้ำมันเหล่านี้จะมีส่วนผสมของกรดไขมันทรานส์( trans fat) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  โดยประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วัน ซึ่งโรงงานอาหารประเภทเบเกอรี่ ขนมหวาน นมข้นหวาน หรือของทอดที่ใช้ชอร์ตเทนนิ่ง ต้องปรับปรุงสูตรและกระบวนการผลิตเพื่อให้ทันวันเวลาตามที่กฎหมายกำหนดกองปราบจับ 22 ผู้ต้องหา OD Capital ฉ้อโกงประชาชนเมื่อ 11 ก.ค.61 กองบังคับการปรามปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ จับกุม 22 ผู้ต้องหาฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ในนามของ OD Capital โดยจากการสืบสวนพบว่า โอดีแคปปิตอลดำเนินการในลักษณะนำเงินไปลงทุนในบริษัทหรือกิจการอื่นๆ โดยระดมเงินทุนจากประชาชนทั่วไป โดยการติดต่อ ชักชวน หรือโฆษณาทางสื่อออนไลน์ว่าเมื่อนำเงินมาลงทุนกับโอดีแคปปิตอลแล้ว จะได้รับผลตอบแทน 10% ของเงินลงทุน นอกจากนี้ หากสามารถชักชวนคนมาร่วมลงทุนได้จะได้ผลตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีก จากการตรวจสอบพบว่า โอดีแคปปิตอลไม่ได้มีการจดทะเบียนพาณิชย์ในไทย และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการจาก กลต. และ สคบ. โดยพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอศาลอนุมัติหมายจับกลุ่มผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้วมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเสนอ 8 แนวทางแก้ปัญหารถโดยสารสองชั้นโรงแรมมิราเคิลแกรนด์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โครงการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความปลอดภัยทางถนนเพื่อรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย ร่วมกับคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “ปัญหารถโดยสารสองชั้นกับนโยบายรัฐที่ต้องทบทวน” เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาคุณภาพรถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัย และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคกับหน่วยงานของรัฐที่ทำงานเกี่ยวกับรถโดยสารสาธารณะ โดยมีข้อเสนอดังต่อไปนี้ 1.เสนอให้รัฐซื้อรถคืนหรือสนับสนุนให้เปลี่ยนรถจากรถสองชั้นเป็นรถชั้นเดียว  2.กำหนดเส้นทางเสี่ยงอันตรายสำหรับรถสองชั้น 3.รถที่ผ่านการทดสอบพื้นเอียง 30 องศาต้องมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดเจนบริเวณด้านหน้าตัวรถและบริเวณข้างรถ 4. เปิดเผยข้อมูลการจดทะเบียน สถิติอุบัติเหตุ การกระทำความผิดของผู้ประกอบการ ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลตัดสินใจเลือกใช้บริการ  5. การกำหนดความเร็วของ GPS ให้สอดคล้องกับสภาพถนนและเส้นทางเสี่ยง 6. การกำหนดหลักเกณฑ์ใบอนุญาตขับขี่เฉพาะรถขนาดใหญ่ที่มีความสูงเกิน 3.80 เมตร เนื่องจากเป็นรถขนาดใหญ่ที่มีการควบคุมบังคับยากกว่ารถขนาดเล็ก  7. ปรับเพิ่มวงประกันภาคบังคับในกรณีเสียชีวิตจาก 300,000 เป็น 1 ล้านบาท และกรณีบาดเจ็บจาก 80,000 เป็น 150,000 บาท  8.ปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองอุบัติเหตุประกันภัยภาคสมัครในจาก 10 ล้านบาทต่อครั้ง เป็น 30 ล้านบาทต่อครั้ง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 “คลินิกแก้หนี้” แก้ได้จริงหรือ?

สมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อไม่มากก็น้อยคงทราบดีว่าเรื่องปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิต  เป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาลำดับต้นๆ ของผู้บริโภคมายาวนาน เมื่อไม่นานมานี้มีโครงการหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผุดไอเดียดูดีชื่อ “คลินิกแก้หนี้” โครงการที่เป็นเสมือนความหวังของลูกหนี้ทุกคน  ฉลาดซื้อจึงพูดคุยกับคุณนกกระจอกเทศ ผู้บริโภคที่มีความชำนาญ ในการให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตมามากกว่า 10 ปี ให้กับผู้บริโภคที่เป็นลูกหนี้บัตรเครดิต จาก Webboard คนยิ้มสู้หนี้ ของเว็ปไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (www.consumerthai.org) จะมาเล่าให้เรากระจ่างว่า คลินิกแก้หนี้ จะแก้ปัญหาหนี้ได้จริงหรือไม่?จุดเริ่มต้นของโครงการ “คลินิกแก้หนี้” นั้นอ้างอิงจาก ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ต้นปี พ.ศ.2560 ประชากรไทยทั้งหมดทั่วประเทศ จำนวน 70 ล้านคน มีคนที่เป็นหนี้ทั้งหมด 21 ล้านคนและในจำนวนนี้ มีคนที่เป็นหนี้อยู่ 3 ล้านคน ที่จ่ายหนี้ไม่ไหวแล้ว (หยุดจ่ายแล้ว) จนกลายเป็น”หนี้เสีย” หรือ NPL จำนวนทั้งสิ้น 3 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นคนไทยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 30 ปีในช่วงเวลานั้น(ต้นปี 2560) ทางธนาคารแห่งประเทศไทย(หรือที่เรียกกันว่าแบงก์ชาติ) โดน "ด่าจนเละ" ว่าปล่อยให้มีคนไทยที่เป็น "หนี้เสีย"(NPL) หรือที่เรียกกันว่า "ติด Blacklist" อยู่ในเครดิตบูโร มีจำนวนมากถึง 3 ล้านคนทางแบงก์ชาติไม่คิดจะหาทางทำอะไรบ้างเลยหรือยังไง? พอโดนวิจารณ์มากๆ เข้า ก็เลยต้องคิดทำโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ขึ้นมา โดยการนำเอา "สัญญาประนอมหนี้" หรือ "สัญญาปรับโครงสร้างหนี้" ที่เคยมีอยู่เดิม แต่นำมาปัดฝุ่นใหม่ แล้วตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ว่าเป็น "โครงการคลินิกแก้หนี้"...เพื่อลดแรงกดดันจากทั่วสารทิศโครงการตัวนี้ ทางแบงก์ชาติได้เรียกประชุมสถาบันการเงินทั้งหมด ให้มาเข้าร่วมประชุม แล้วขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินทั้งหลายช่วยให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการตัวนี้ของแบงก์ชาติด้วยขอย้ำว่า...เป็นการขอความร่วมมือจากทางแบงก์ชาติ หรือที่เรียกกันว่าเป็น "สัญญา MOU" ไม่ใช่ ประกาศ หรือกฎหมายบังคับ  หากสถาบันการเงินใด ที่ยินดีให้ความร่วมมือในโครงการ "คลินิกแก้หนี้" ตัวนี้ ก็ให้ลงนามใน "สัญญา MOU" ดังกล่าว ว่าจะให้ความร่วมมือด้วย...หรือจะมีสถาบันการเงินใด ที่ไม่ประสงค์จะให้ความร่วมมือก็ได้ไม่ได้บังคับทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปในบรรทัดฐานเดียวกัน ทางแบงก์ชาติยังได้ออกข้อกำหนดมาด้วยว่า หากสถาบันการเงินใด ที่ให้ความร่วมมือในโครงการตัวนี้ จะต้องทำการคิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้ ในระหว่างที่ลูกหนี้ขอผ่อนตามสัญญาตัวนี้ จะคิดดอกเบี้ยได้สูงสุด ไม่เกินกว่า 7% ต่อปี โดยทางแบงก์ชาติ ได้ทำการแต่งตั้งให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท หรือมีชื่อย่อว่า SAM ให้เป็นผู้แทนแบงก์ชาติ ในการเจรจาให้สถาบันการเงินที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการตัวนี้ ต้องปฏิบัติตามกฏของการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวดังนั้น หากลูกหนี้คนใด ที่มีความสนใจจะเข้าสมัครในโครงการตัวนี้ ก็สามารถติดต่อกับทาง SAM ได้เลย เพื่อให้ SAM เป็นผู้คัดกรอง และเจรจาในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว กับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ที่เข้ามาร่วมกับโครงการตัวนี้ โดยกำหนดให้ลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมในโครงการตัวนี้ จะต้องมีคุณสมบัติตามนี้ด้วย ถึงจะสามารถผ่านการเข้าร่วมโครงการได้ โดยมี คุณสมบัติ ดังนี้1. ต้องมีอายุไม่เกินกว่า 60 ปี (หรือห้ามแก่เกินกว่าเกษียณการทำงาน)2. ต้องเป็นมนุษย์เงินเดือน มีเงินเดือนประจำที่มั่นคงแน่นอน3. ต้องเป็นลูกหนี้ที่ติด Blacklist ในเครดิตบูโรมาแล้ว อย่างน้อย 2 สถาบันการเงินขึ้นไป...และจะต้องเป็นผู้ที่ติด Blacklist มานานแล้ว ก่อนจะถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ด้วย4. จะต้องเป็นลูกหนี้ที่ไม่เคยถูกเจ้าหนี้ฟ้องศาลมาก่อนเลย...แม้แต่คดีเดียว5. ลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมในโครงการ ต้องเอาหนี้ของลูกหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด ทุกเจ้า เข้าร่วมในโครงการให้หมด6. ยอดหนี้รวมทั้งหมด ที่ลูกหนี้จะสามารถเข้าร่วมโครงการตัวนี้ได้ จะต้องไม่เกินกว่า 2 ล้านบาท7. ลูกหนี้สามารถขอผ่อนได้นานไม่เกิน 10 ปี...(แต่เอาเข้าจริงๆ เจ้าหนี้มันก็ยอมให้ลูกหนี้สามารถผ่อนได้นานสูงสุด เพียงแค่ 5 ปีเท่านั้น)มีธนาคารหรือสถาบันการเงินใดที่เข้าร่วมโครงการบ้างผลจากการประชุมขอความร่วมมือของแบงก์ชาติในวันนั้น มีธนาคารที่ตอบรับเข้าร่วมลงนามในสัญญา MOU ของ “โครงการคลินิกแก้หนี้” ทั้งหมด จำนวน 16 ธนาคาร โดยมีรายชื่อดังนี้ธนาคารกรุงเทพ , ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารซิตี้แบงก์ , ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ,ธนาคารทหารไทย , ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารธนชาติ ,ธนาคารยูโอบี, ธนาคารเกียรตินาคิน , ธนาคารทิสโก้ , ธนาคารไทยเครดิต ,ธนาคารแห่งประเทศจีน (Bank Of China) , ธนาคารไอซีบีซี ,ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  ส่วนสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (พวก Non-Bank ทั้งหมด) ไม่มีการลงนาม MOU เข้าร่วมกับโครงการนี้เลย...แม้แต่รายเดียว ตอนนี้...โปรดมาสังเกตรายชื่อของธนาคาร 10 รายแรก ให้ดีนะครับ(ขีดเส้นใต้) เพราะมันเป็นรายชื่อของธนาคารที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดให้ประชาชนทั่วๆ ไปอยู่แล้ว...ลูกหนี้ต่างคุ้นเคยกันดีแต่ดูรายชื่อของธนาคารอีก 6 ราย ที่ถัดมาสิครับ...เขาเคยทำบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดให้กับเราด้วยหรือ? คุณเคยเห็นบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดของธนาคารเกียรตินาคิน , ธนาคารทิสโก้ , ธนาคารไทยเครดิต , ธนาคารแห่งประเทศจีน (Bank Of China) , ธนาคารไอซีบีซี , ธนาคาร แลนด์ แอนด์เฮ้าส์...พวกคุณเคยเห็นด้วยหรือครับ? โดยเฉพาะธนาคารไอซีบีซี มันตั้งอยู่ตรงส่วนไหนของประเทศไทยกัน?เมื่อ 6 รายนี้ไม่เคยทำบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดให้กับประชาชนทั่วไป...แล้วแบงก์ชาติไปชักชวนให้เข้ามาร่วมใน “โครงการคลินิกแก้หนี้” นี้ด้วยทำไม มันจะมีประโยชน์อะไรกับลูกหนี้ หรือว่าแบงก์ชาติต้องการเพียงแค่จะอวดว่า มีธนาคารที่ให้ความร่วมมือในโครงการตัวนี้ ถึง 16 แห่ง (แม้จะมีธนาคารที่เกี่ยวข้องกับหนี้บัตรต่างๆ จริงเพียงแค่ 10 ธนาคารเท่านั้น) แต่รายสำคัญจริงๆ คือกลุ่ม Non-Bank กลับไม่มีเลยแม้แต่รายเดียวข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการนี้ที่ผู้บริโภคควรรู้อย่างที่ผมเกริ่นไปว่าโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ตัวนี้ มันเป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือจากทางแบงก์ชาติ...ไม่ได้เป็นกฎหมาย...และไม่ได้บังคับ จะไม่ให้ความร่วมมือก็ได้ ดังนั้นจึงไม่มีสถาบันการเงินที่เป็น Non-Bank รายใด ที่ลงนามในสัญญา MOU เลยแม้แต่รายเดียว...ขนาดธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ และธนาคารฮ่องกงแบงก์(HSBC) ยังไม่ร่วมลงนามให้ความร่วมมือด้วยเลย  แล้วเท่าที่ผมทราบข้อมูลมา แม้มีลูกหนี้ผู้ถือบัตรต่างๆ ที่สนใจเข้าร่วม “โครงการคลินิกแก้หนี้” แต่ว่าเมื่อสมัครไปแล้ว ยังไม่มีใครสามารถผ่านการอนุมัติได้เลยสักคนทำไมถึงสมัครไม่ผ่าน ลองดูนะครับ เงื่อนไขมันโหดมาก1.ลูกหนี้คนนั้น จะต้องเคยหยุดจ่ายหนี้มาก่อน อย่างน้อยก็ต้องหยุดจ่ายตั้งแต่ 2 ใบขึ้น และได้หยุดจ่ายมาเป็นระยะเวลานานมากแล้ว จนกระทั่งตัวของลูกหนี้คนนั้น ได้ติด Blacklist อยู่ในเครดิตบูโรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนจะถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2560…ถ้าใครที่เพิ่งเริ่มหยุดจ่าย หรือติดมา Blacklist ภายหลังจากวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ไปแล้ว...จะสมัครไม่ผ่าน2.หากลูกหนี้ที่ต้องการจะสมัครเข้าในโครงการนี้ ในอดีตเคยเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือมีเงินเดือนประจำ แต่ปัจจุบันตกงาน หรือลาออกมาประกอบอาชีพส่วนตัว หรือทำงานฟรีแลนซ์ ไม่มีเอกสารใบรับรองเงินเดือนหรือสลิปเงินเดือน มาประกอบแนบกับใบสมัครด้วย...แบบนี้ก็สมัครไม่ผ่าน3.หากปัจจุบันลูกหนี้มีอายุมาก หรือเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว...สมัครไม่ผ่านเช่นกัน4.ลูกหนี้ที่เคยถูกเจ้าหนี้ฟ้องศาลมาแล้ว แม้เพียงคดีเดียว...สมัครไม่ผ่าน5.ลูกหนี้ที่จะสมัครเข้าโครงการตัวนี้ จะต้องถูกบังคับให้เอาเจ้าหนี้เข้าร่วมในโครงการให้หมด ทุกเจ้าหนี้ ทุกบัตร-ทุกราย ห้ามยกเว้นแม้แต่รายเดียวดังนั้นสมมติว่า ลูกหนี้ที่สนใจจะเข้าสมัคร มีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินทั้งหมด 5 ใบ และเคยติด Blacklist อยู่ในเครดิตบูโรมาก่อนแล้ว ก่อนจะถึงวันที่ 1 พฤษภาคม(ตรงตามเงื่อนไขของข้อ 1.) และต่อให้ยังไม่เคยถูกฟ้องศาลเลยก็ตาม แต่ดันมี 1 ในบัตรที่ลูกหนี้ถืออยู่เป็นบัตรของพวก Non-Bank ต่างๆ เช่น อิออน , ยูเมะพลัส , KTC , เฟิร์สช้อยส์ , บัตรกรุงศรี , พรอมิส , เอมันนี่ , เจมันนี่, กรุงศรีโฮมโปร , เซนทรัลการ์ด ฯลฯ...จะสมัครไม่ผ่าน เพราะพวก Non-Bank ไม่ได้เข้าร่วมในโครงการคลินิกแก้หนี้ด้วย เพราะข้อกำหนดในข้อ 5. บังคับเอาไว้ว่า ลูกหนี้จะต้องเอาเจ้าหนี้เข้าร่วมในโครงการนี้ให้หมด ทุกเจ้าหนี้ ทุกบัตร-ทุกราย ห้ามยกเว้นแม้แต่รายเดียว ดังนั้นหากลูกหนี้ดันมีบัตรที่เป็นเจ้าหนี้ประเภท Non-Bank เพียงใบใดใบหนึ่ง ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมในโครงการนี้ได้เลยบทสรุปของ “คลินิกแก้หนี้”สรุปแล้ว โครงการคลินิกแก้หนี้ตัวนี้ ทางแบงก์ชาติออกมาตรการมาเป็นเพียงแค่ “ยาหอม” เพื่อลดแรงเสียดทานในช่วงที่โดนกระแสวิจารณ์มากๆ ก็เท่านั้นเองครับว่า  “ตอนนี้มีลูกหนี้ที่ติด Blacklist อยู่ 3 ล้านราย ( ต้นปี 2560) ทางแบงก์ชาติไม่คิดที่จะทำอะไรบ้างเลยหรือ? “  แบงก์ชาติก็เลยลดกระแสที่ถูกด่าอย่างหนักโดยการหยิบยกเอา“สัญญาประนอมหนี้” หรือ “สัญญาปรับโครงสร้างหนี้” ที่มีอยู่แล้วของเดิม มาทำการปัดฝุ่นใหม่ โดยการเปลี่ยนชื่อให้มันดูไพเราะเพราะพริ้งว่าเป็น“โครงการคลินิกแก้หนี้” โดยมอบหมายให้ SAM เป็นผู้ดำเนินการแทนในการคัดกรองและเจรจา แล้วก็เอาดอกเบี้ยในระหว่างที่ผ่อนตามสัญญาคลินิกแก้หนี้ ว่าเป็นดอกเบี้ยราคาถูกมาก(ไม่เกิน 7% ต่อปี) มาเป็น“ตัวล่อ”ให้ลูกหนี้มีความหวังแบบ ลมๆ แล้งๆ การทำแบบนี้ก็สามารถออกมาอ้างได้ว่า แบงก์ชาติมีการทำโครงการเพื่อลดจำนวนลูกหนี้ที่ติด Blacklist มากถึง 3ล้านคนให้แล้วนะ...แต่พอดูเงื่อนไขที่จะสามารถสมัครให้ผ่านเข้าโครงการฯ ได้ มันโหดมาก ไม่มีการแจ้งข้อมูลหรือความจริงให้ประชาชนที่เป็นลูกหนี้ได้รับทราบเลยแม้แต่น้อย มาจนถึงกรกฎาคม พ.ศ.2561 แล้วนะครับ  ผ่านมาปีกว่าตัวเลขของลูกหนี้ที่ติด Blacklist อยู่ในเครดิตบูโร ได้พุ่งสูงเกินกว่า 3 ล้านคนไปมากแล้ว ผมอยากทราบจริงๆ ว่า มีลูกหนี้ที่สมัครในโครงการคลินิกของธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านการอนุมัติสักกี่คนครับ  เพราะฉะนั้นทางออกของลูกหนี้ทั้งหลายคืออะไรถ้าผมเป็นลูกหนี้ ผมคงไม่เสียเวลากับโครงการตัวนี้ ผมจะไปทำงานหารายได้ให้มากๆ เพื่อที่จะเก็บสะสมเงินไว้เอาไป Hair cut กับเจ้าหนี้แต่ละบัตรโดยตรงเองดีกว่าครับ มันคือวิธีที่ดีที่สุดจริงๆ ในตอนนี้ ต้องการปรึกษา หรือข้อมูลเพิ่ม สามารถติดตามได้ที่ http://debtclub.consumerthai.org/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 การตกค้างของยาปฏิชีวนะในอกไก่และตับไก่สด

ปัญหาเชื้อดื้อยาในระบบอาหารของโลก โยงไปถึงปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความห่วงใย มีงานศึกษาวิจัย ลักษณะต่างๆ  เกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งการประกาศนโยบาย ยุทธศาสตร์ ในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับนานาชาติและระดับประเทศ ในเรื่องอาหาร และการตกค้างยาปฏิชีวนะ เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคในอย่างน้อยสามประเด็น เรื่องข้อมูลในการเลือกหา  เรื่องความปลอดภัย และเรื่องบริโภคศึกษา ดังนั้นการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการประกันความปลอดภัย ด้วยการเฝ้าระวัง ตรวจตรา และกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพื่อการตัดสินใจเลือกหาและใช้สินค้า จึงเป็นเรื่องสำคัญมากฉลาดซื้อ และโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงได้สุ่มเก็บตัวอย่างอกไก่และตับไก่สด เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์อีกครั้ง (ปี 2559ตรวจในฟาสต์ฟู้ด 2560 ตรวจในเนื้อหมูดิบ) โดยความร่วมมือจากเครือข่ายผู้บริโภคในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกสุ่มเก็บตัวอย่างจากห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และห้างออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2561 จำนวนทั้งสิ้น 62 ตัวอย่าง แบ่งเป็นอกไก่สด จำนวน 32 ตัวอย่าง และตับไก่สด จำนวน 30 ตัวอย่าง นำมาตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด จาก 3 กลุ่ม ดังนี้ผลการตรวจวิเคราะห์ ผลการตรวจวิเคราะห์การตกค้างของยาปฏิชีวนะทั้ง 3 ชนิด (ใน 3 กลุ่ม) จากตัวอย่างทั้งหมด 62 ตัวอย่าง พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 26 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 41.93) แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 คือ Enrofloxacin หรือ Endrofloxacin (เอนโรฟลอคซาซิน) 5 ตัวอย่าง และ Doxycycline (ด็อกซีไซคลิน) 21 ตัวอย่าง โดยตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะกลุ่มที่ 3 ชนิด Amoxicillin (อะม็อกซีซิลลิน) ส่วนอีก 36 ตัวอย่าง นั้น ตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะทั้งสามกลุ่ม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้างตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง เพื่อใช้ควบคุมปริมาณการตกค้างของสารใดๆ ที่ถูกใช้กับสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดให้พบปริมาณการตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit, MRL) ของยาในกลุ่ม Tetracycline (เตตราไซคลีน) ในสัตว์ปีก เช่น นก ไก่ ไก่งวง เป็ด ห่าน ไก่ต๊อก ในส่วนของกล้ามเนื้อ ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และ ในส่วนของตับไม่เกิน 600 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมจากผลตรวจวิเคราะห์พบ ยาเอนโรฟลอคซาซิน (Enrolfloxacin) จำนวน  5 ตัวอย่าง ซึ่งไม่ได้เป็นรายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศ ซึ่ง อย. อนุญาตให้ใช้ยานี้ได้ แต่ต้องไม่พบการตกค้างเลย โดยมีความผิดตามมาตรา 60 ของ พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 โทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท  และพบว่า ไม่มีตัวอย่างใดที่พบปริมาณยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Tetracycline (เตตราไซคลีน) เกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่ประกาศกำหนด ข้อเสนอเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 5 ข้อ 1. ผู้บริโภคไม่ต้องการอาหารที่มีการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ เพราะการเกิดเชื้อดื้อยาเกิดได้ทั้งปริมาณการตกค้างทั้งน้อยและมาก 2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต้องปรับปรุงมาตรฐานการตกค้างให้ยอมรับได้น้อยที่สุด 3. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องบังคับใช้แผนปฏิบัติการในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์ม 4. สำนักงานงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ จะต้องเข้มงวด และติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ให้ตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนด รวมถึงเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ @page { margin: 0.79in } p { margin-bottom: 0.1in; line-height: 120% } 5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการจัดการเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ และร้านค้าต่างๆ ควรตรวจสอบที่มาของอาหารก่อนนำเข้ามาจำหน่าย อีกทั้งในส่วนของร้านค้าในตลาด ทาง มพบ. จะทำหนังสือไปถึงสมาคมตลาดสดไทยเพื่อให้ตรวจสอบและเฝ้าระวังด้วย--------------------------------------------------------------------------------------------------------------ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อไก่ ผู้บริโภคมีสิทธิรู้ ผู้บังคับใช้กฎหมายต้อง จริงจังและจริงใจโดย นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกไก่ทั่วโลก เป็นลำดับสี่ ในห้าประเทศ นอกจากนี้มี บราซิล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน เมื่อกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศ ก็น่าสนใจว่า สิทธิผู้บริโภคมีการปกป้องเพียงใดผลการสำรวจของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สำหรับปี พ.ศ. 2561 นี้ พบยาปฏิชีวนะตกค้างในไก่สดและตับ (โดยตรวจยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด คือ Enrolfloxacin, Doxycycline, Amoxycillin ) พบยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดแรก  แม้ปริมาณที่ตรวจพบจะไม่เกินปริมาณที่กำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550   เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง มีการระบุขนาดต่าง ๆ ของยาปฏิชีวนะที่ยอมรับให้มีในไก่ หรือสัตว์ปีกจำนวน 16 รายการ เช่น Oxytetracycline มีได้ในเนื้อไก่ไม่เกิน200 ug/kg ในตับไม่เกิน 600 ug/kg แต่จากผลการศึกษาของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลับพบมีการใช้ยานอกเหนือจากรายการที่ระบุประกาศ เช่น Enrolfloxacin มีข้อน่าสังเกต จากผลการสำรวจดังกล่าว ที่ควรได้วิเคราะห์ และทบทวนไปสู่ข้อเสนอต่อไป1. การสำรวจของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ของการตกค้างยาปฏิชีวนะ เป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรผู้บริโภคในเรื่องการตรวจสอบ และสะท้อนการจัดการ  รวมครั้งนี้มี 3 ครั้ง  (1) ตัวอย่างอาหารฟาสต์ฟู้ดสำเร็จรูป จากร้านอาหารชนิดมีสาขามาก (ฉลาดซื้อ ตุลาคม 2559) (2) ตัวอย่างเนื้อหมูสด (ฉลาดซื้อ มีนาคม 2560) และ ในครั้งนี้ สำรวจในตัวอย่างเนื้อไก่สดและตับ (รวม 62 ตัวอย่าง)  ผลคือพบการตกค้างยาปฏิชีวนะจำนวน 26 ตัวอย่าง (41.98%) แม้จะไม่เกินปริมาณที่กำหนด แต่แสดงว่ามีการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะในวงจรอาหาร เป็นไปได้ว่ามีการใช้ในฟาร์ม ในการเลี้ยงไก่ (ผสมอาหาร ผสมน้ำ เป็นยาฉีด) และอาจรวมถึงการปนเปื้อนในวงจรอาหารส่วนที่เหลือ เช่น โรงเชือด การชำแหละ หรือตลาด   2. รายการยาที่ทำการตรวจครั้งนี้มี จำนวน 3 รายการ ยังพบว่ามียาที่อยู่นอกเหนือจากรายการยาที่ประกาศขนาดที่ยินยอมให้มีตกค้าง อาจเป็นไปได้ว่ามีการลักลอบใช้โดยไม่อนุญาต หรือกระทรวงได้มีการประกาศรายการเพิ่มเติมอีก แต่ยังไม่เห็น และพบว่ามีการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ในการแถลงข่าวของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปี พ.ศ. 2560 3. การสำรวจครั้งนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคไม่ได้ตรวจหา colistin เป็นที่น่าเสียดาย เพราะมีงานวิจัย พบว่ามีการใช้ ยาตัวนี้ในการเลี้ยงไก่ในประเทศไทยด้วย (อ้างอิง1)  โดยรายการยาปฏิชีวนะที่พบใช้ในฟาร์มไก่ คือ  amoxicillin, colistin, oxytetracycline, doxycycline และ  tilmicosin.  การศึกษาที่เชียงใหม่(อ้างอิง2)   พบใช้ Enrolfloxacin และ Sulfadimethoxin ในฟาร์มไก่ไข่ ส่วนในต่างประเทศ มีงานวิจัยระบุการตกค้างยาปฏิชีวนะหลายชนิดในเนื้อไก่ในบังคลาเทศ(อ้างอิง3)   ส่วนในเวียดนาม(อ้างอิง4)   ได้ศึกษาทั้งชนิดยา และยีนการดื้อยาด้วย4. งานศึกษานี้ยังไม่มีการสำรวจ เรื่องการตกค้างของเชื้อดื้อยา ซึ่งมีงานวิจัยในไทย เมื่อ พ.ศ. 2555(อ้างอิง5)   สำรวจเนื้อไก่ในซูเปอร์มาร์เก็ต พบมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน มียีนเชื้อดื้อยาจากเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด และต่อมามีงานวิจัยมากมายที่ศึกษายีนดื้อยาชนิดต่าง ๆ รวมทั้งชนิดรุนแรง (เช่น MCR-1) จากเนื้อไก่ ในประเทศจีน(อ้างอิง6-7)  -   เนเธอร์แลนด์(อ้างอิง8)    สิงคโปร์(อ้างอิง9)    เป็นต้น5. ภาครัฐควรได้ทำการเฝ้าระวังตรวจการตกค้างของยาปฏิชีวนะในฟาร์ม โรงเชือด ไก่สด หรือในอาหารสำเร็จรูปและแจ้งผลการสำรวจให้ประชาชนทราบอย่างกว้างขวาง และกระทำอย่างสม่ำเสมอ แต่ผลการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต พบว่ารายงานจากภาครัฐถึงการ ให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลให้ค้นคว้าได้ง่าย ๆ มีไม่มากนัก ล่าสุดที่ค้นหาได้จาก ทางอินเตอร์เน็ต คือ ผลการรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีพ.ศ. 2560 (อ้างอิง10)    ไม่มีรายละเอียดมากนัก มีเพียงระบุว่าจากการสุ่ม 105 ตัวอย่าง ใน 12 จังหวัด ผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบการตกค้างของยาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อไก่และเนื้อวัวทุกตัวอย่าง แต่ตรวจพบการตกค้างของยาต้านจุลชีพเกินมาตรฐานเพียง 1 ตัวอย่าง ในเนื้อหมู ซึ่งผลการสำรวจในไก่นั้น ไม่สอดคล้องกับผลที่ทางมูลนิธิ ตรวจพบการตกค้างของยาปฏิชีวนะในตัวอย่างถึงเกือบครึ่ง6. เป็นประเด็นคำถาม ว่าควรอนุญาตให้มียาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ที่นำมาทำเป็นอาหารหรือไม่ ในมุมมองผู้บริโภค ย่อมไม่ต้องการให้มีการตกค้าง แต่ระบบควบคุมจะจัดการได้อย่างไร แม้จะมีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (อ้างอิง11)   ห้ามใช้ยาต้านจุลชีพทุกชนิดผสมลงในอาหารสัตว์ในวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารสัตว์. โดยยังอนุญาตให้ใช้เพื่อป้องกัน และรักษาอาการป่วย (ใช่หรือไม่) แต่ผลการติดตามการบังคับใช้ให้เป็นไปตามกติกานั้นคงต้องมีความเข้มงวด ต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับการนำเข้าสารเคมีจนถึงการใช้ในฟาร์ม และติดตามการตกค้างในอาหารสดที่ตลาด พร้อมการดำเนินการจัดการตามหน้าที่ เพื่อนำมาเปิดเผยให้ผู้บริโภคได้ทราบ อย่างสม่ำเสมอ7. ควรอนุญาตให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการผสมในอาหารสัตว์หรือไม่  ห้ามทั้งหมด หรือห้ามบางรายการ เป็นอะไรบ้าง เพียงใด และอย่างไร มีงานวิจัยที่รองรับมาตรฐานอย่างไรบ้างในการประกาศ ทั้งนี้คำศัพท์ ที่ผู้บริโภคควรรู้จัก  Chicken with antibiotic free (ตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะในตัวอย่าง) หรือ raise without antibiotics  (เลี้ยงสัตว์โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้นเมื่อป่วย ต้องแยกคอก) คำแถลงจาก อธิบดี กรมปศุสัตว์(อ้างอิง12)  “กรมปศุสัตว์มุ่งพัฒนาการผลิตเนื้อสัตว์เพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการควบคุม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังยาหรือสารตกค้างในเนื้อสัตว์อย่างเข้มงวดที่สอดคล้องกับมาตรฐานโลก และมีมาตรการลงโทษตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหากมีการตรวจพบ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ รายกลาง และเกษตรกรรายย่อย ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ว่าได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากยาและสารตกค้าง สามารถสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิต”8. ผลกระทบของยาปฏิชีวนะนั้นรุนแรงมาก เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แม้จะใช้ปริมาณไม่มาก  การดื้อยา การแพ้ยา เป็นความห่วงใยแรก นอกจากนี้เด็กเล็กถ้าได้รับยาปฏิชีวนะในขณะช่วงอายุแรก ๆ ยิ่งถ้าได้รับบ่อย จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วน(อ้างอิง13)  ปัญหาคือ ผู้บริโภคจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารที่เรารับประทานนั้นมีการตกค้างของยาปฏิชีวนะหรือยีนเชื้อดื้อยาหรือไม่    Sir Alexander Fleming ได้บรรยายเมื่อรับรางวัลโนเบล(อ้างอิง14)   ถึงความห่วงใยการดื้อยา ว่า “ I would like to sound one note of warning. Penicillin is to all intents and purposes non-poisonous so there is no need to worry about giving an overdose and poisoning the patient. There may be a danger, though, in underdosage. It is not difficult to make microbes resistant to penicillin in the laboratory by exposing them to concentrations not sufficient to kill them, and the same thing has occasionally happened in the body ”  9. แนวทางการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข  นั้นเป็นเรื่องที่ดี จะติดตามเรื่องการตกค้างยาปฏิชีวนะ หรือยีนเชื้อดื้อยาในวัตถุดิบได้อย่างไร  หากประกันคุณภาพได้ รัฐบาลควรจะได้ขยายแนวคิดอาหารปลอดภัยให้ครอบคลุมทุกท้องที่ และให้ประชาชนในประเทศไทยทุกคนได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากนโยบายนี้10. ไทยมียุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพ ประเทศไทย พ.ศ.2560-2564.  โดยทำแผนปฏิบัติการแล้ว ทั้งนี้ยุทธศาสตร์มีพัฒนาการมาจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8  คงต้องมีการติดตามผลงานที่เกี่ยวข้องที่ใกล้ตัวผู้บริโภค ทั้งเรื่องอาหาร สิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากโรงพยาบาล ในลักษณะสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) อย่างจริงจัง----------------------------------------------------------------------------------------(อ้างอิง1)  Wongsuwan G, et al (2017) Antibiotic use in poultry: a survey of eight farms in Thailand.  Bull World Health Organ  96(2): 94–100.(อ้างอิง2)  ณัฐธิดา สุขสาย และคณะ (2559) การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ . วารสารเภสัชกรรมไทย 8(2): 282-294.(อ้างอิง3) Sarker YA, et al (2018) Screening of antibiotic residues in chicken meat in Bangladesh by Thin Layer Chromatography.   J Adv Vet & Animal Res 5(2): 140-145.(อ้างอิง4)  Nguyen TH, et al (2018) Antimicrobial residue and resistance against critically important antimicrobials in non-typhoidal Salmonella from meat sold at wet-markets and supermarkets in Vietnam. Int J Food Microbiol 266:301-309.(อ้างอิง5) Chaisatit C, et al (2012) Molecular Characterization of Antibiotic-Resistant Bacteria in Contaminated Chicken Meat Sold at Supermarkets in Bangkok, Thailand.  Jpn. J. Infect. Dis., 65, 527-534. (อ้างอิง6)Hang J, et al (2018) Molecular detection of colistin resistance genes (mcr-1, mcr-2 and mcr-3) in nasal/oropharyngeal and anal/cloacal swabs from pigs and poultry.  Sci Rep. 8: 3705.(อ้างอิง7)Liu J, et al (2018)  Isolation of an IncP-1 plasmid harbouring mcr-1 from a chicken isolate of Citrobacter braakii in China. Int J Antimicrob Agents. 51(6):936-940.  (อ้างอิง8) Schrauwen EJA, et al (2017) High prevalence of the mcr-1 gene in retail chicken meat in the Netherlands in 2015. Antimicrob Resist Infect Control. 6: 83.(อ้างอิง9) Zwi YH, et al (2018) Prevalence, sequence types, antibiotic resistance and, gyrA mutations of Salmonella isolated from retail fresh chicken meat in Singapore.  Food Control 90: 233-240.(อ้างอิง10)  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เฝ้าระวังยาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ 27  ก.ค. 2560   (accessed July 2018)http://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/136 (อ้างอิง11) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เรื่องกำหนดชื่อ ประเภท ชนิด ลักษณะ หรือคุณสมบัติของวัตถุที่ห้ามใช้ผสมในอาหารสัตว์  พ.ศ. 2558  (อ้างอิง12) กรมปศุสัตว์ระวังยาปฎิชีวนะตกค้าง ในเนื้อสัตว์ตามมาตรฐานสากล (accessed July 2018) http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/2016-04-30-03-59-03/2016-05-01-02-55-53/476-2016-11-21-03-29-40 (อ้างอิง13) Rasmussen SH, et al (2018) Antibiotic exposure in early life and childhood overweight and obesity: A systematic review and meta-analysis. Diabetes, Obesity, and Metabolism  20: 1508-1514.(อ้างอิง14) AL E X A N D E R F L E M I N G (1945) Penicillin Nobel Lecture, December 11, 1945https://www.nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/1945/fleming-lecture.pdf  @page { margin: 0.79in } p { margin-bottom: 0.1in; direction: ltr; line-height: 120%; text-align: left; orphans: 2; widows: 2 } a:link { color: #0563c1 }

อ่านเพิ่มเติม >

ยิ่งแชร์ฉลาดซื้อ ยิ่งรับ Point :: แลกของรางวัล

การแชร์เพื่อใช้ point แลกโปรโมชั่นสะสมแต้มได้ทั้ง สมัครชิกฟรี และ สมาชิก VIP  การแชร์ข้อมูลบนเว็บไซต์ไปยัง Facebook ที่ทางเว็บไซต์ได้กำหนดแต้ม (Point)ไว้  จะต้องเป็นสมาชิกเว็บฉลาดซื้อก่อนเพื่อสะสมแต้มเข้าบัญชี  โดยมีกติกาดังนี้• ท่านจะต้องแชร์จากบทความในเว็บฉลาดซื้อไปยัง Facebook  (ไม่ใช่แบบ Copy Link)•  จำนวน Point ที่ท่านจะได้ต่อการแชร์จะแสดงอยู่ตรง ไอคอน Facebook ด้านล่างบทความทางมือถือ หรือ ด้านข้างทางคอมพิวเตอร์• ท่านจะต้องแชร์บทความที่ไม่ใช่มีลักษณะบทความใดบทความหนึ่งซ้ำๆ ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน• การแชร์ของท่านจะต้องเป็นการเปิด สาธารณะ หรือ เพื่อนของท่านเห็น ไม่ใช่การแชร์ที่เห็นเพียงท่านคนเดียว• การแชร์ของท่านจะต้องกระทำโดยบุคคลโดยไม่ใช่เป็นการใช้โปรแกรมบอททางคอมพิวเตอร์ในการแชร์ข้อมูลดังกล่าง• หากทางนิตยสารฉลาดซื้อ ตรวจสอบการแลกโปรโมชั่นไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ทางเราขอสงวนสิทธิ์การแลกโปรโมชั่นของท่าน• ท่านต้อง Login บนเว็บไซต์ฉลาดซื้อก่อนการแชร์ เพื่อสะสมเข้าบัญชีท่าน• สามารถชมของ  "โปรโมชั่น" คลิกที่นี่สมัครสมาชิกฉลาดซื้อ คลิกที่นี่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

“คดีส่วนใหญ่ที่เราไปฟ้อง เขาจะจ้างลอว์เฟิร์มมาต่อสู้คดีกับเราเพราะเขามีเงิน  แต่ผู้บริโภคไม่มีเงินมากขนาดที่จะไปจ้างได้ แต่เราก็มีทนายจากศูนย์ทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมาช่วยเหลือ ซึ่งตรงนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้” จากสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคทั่วประเทศ ผ่านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ในปี 2560 พบว่า มีเรื่องร้องเรียนสูงถึง 3,615 กรณี ในจำนวนนี้ปัญหาที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือ ปัญหาด้าน อาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 885 กรณี สินค้าและบริการทั่วไป 682 กรณี บริการสุขภาพและสาธารณสุข 631 กรณี การเงินการธนาคาร 527 กรณี บริการสาธารณะ 424 กรณี สื่อและโทรคมนาคม 176 กรณี อสังหาริมทรัพย์ 127 กรณี และอื่นๆ 163 กรณี ศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจึงเกิดขึ้น โดยคุณเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เล่าถึงที่มาว่าทนายความจิตอาสามีความสำคัญในงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร“ปัญหาของผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ในปัจจุบันเป็นเรื่องสลับซับซ้อนและเป็นเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามากขึ้น เช่นการรักษาพยาบาล การซื้อรถยนต์มาใช้ก็มีปัญหาเรื่องรถเสีย ซึ่งต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี หรือต้องใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ถึงจะช่วยผู้บริโภคได้ เพราะปัญหาผู้บริโภคสมัยนี้ไม่ได้โบราณ แบบ ไปตลาด เช่น ซื้อเนื้อมา 1 กิโล แต่ได้เนื้อมา 9 ขีด ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้มันก็ง่าย แต่ปัจจุบันนี้  มันเป็นเรื่องที่ยากที่จะระบุว่า สินค้าที่ผู้บริโภคมาใช้แล้วมีปัญหานี่ มันเป็นความผิดของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการไหม ตัวอย่างที่เห็นกันอยู่เรื่อยๆ ปัญหาเรื่องรถยนต์ที่เราซื้อมาใหม่ อยู่ในระยะประกันป้ายแดง ผู้บริโภคคิดว่ามันไม่ปกติ แต่เวลาไปเข้าศูนย์ของผู้ประกอบการเขาบอกว่าปกติ แล้วตกลงมันเป็นอย่างไรกันแน่ แล้วที่ว่าไม่ปกติ ไม่ปกติแค่ไหน จึงถือว่าเป็นความชำรุดบกพร่องที่ตัวผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบกับผู้บริโภค ด้วยการแก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ ถ้าหากว่าแก้ไขซ่อมแซมแล้วมันไม่ดีขึ้น เรื่องเหล่านี้ทนายทั่วๆ ไป ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ ก็จะดำเนินคดีไม่ถูกว่าจะเริ่มตรงไหนจากจุดไหน ซึ่งศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีประสบการณ์ทางด้านการฟ้องคดีเกี่ยวกับรถยนต์ มีนักวิชาการให้การสนับสนุน ช่วยตรวจสอบดูว่าเหตุที่มันเกิดเพราะสาเหตุอะไรทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลที่จะไปโต้แย้งกับผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตที่บอกว่าปกติ ไม่เป็นไร หรือการไปใช้สิทธิทางศาล เพราะว่าการเจรจาไม่เป็นผล ก็จะมีข้อมูลจากนักวิชาการเพียงพอที่ทนายจะใช้ไปประกอบในคำฟ้องของตนได้จึงทำให้เราเกิดศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการรวบรวมทนายที่มีจิตช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้บริโภคโดยไม่ได้หวังสิ่งอื่น และเป็นทนายความที่มีความรู้หลากหลาย บางคนจบปริญญาโท จบเนติบัณฑิต รับรองว่าทนายของศูนย์ฯ มีทนายที่มีความรู้ความสามารถไม่น้อยหน้ากว่าองค์กรไหนๆ ทั้งสิ้น  คดีส่วนใหญ่ที่เราไปฟ้อง เขาจะจ้างลอว์เฟิร์มมาต่อสู้คดีกับเราเพราะเขามีเงิน  แต่ผู้บริโภคไม่มีเงินมากขนาดที่จะไปจ้างได้ แต่เราก็มีทนายจากศูนย์ทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมาช่วยเหลือ ซึ่งตรงนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้” คุณศรินธร อ๋องสมหวัง ทนายประจำมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “การเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มันจะแตกต่างตรงที่ เราจะได้รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภค ว่ามันเป็นอย่างไร  แล้วเวลาที่ผู้บริโภคเดือดร้อนแต่เค้าไม่รู้จะหันไปหาใคร เรามาทำงานส่วนนี้ก็เป็นเพราะใจของเราด้วย ทำให้เรารู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นลูกความ เหมือนเป็นญาติกัน เป็นเพื่อนกัน ที่เราอยากให้คำแนะนำให้เค้าหลุดพ้นจากปัญหา”สิ่งที่ได้จากการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเราจะได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้บริโภคโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าเราทำงานที่อื่น เราจะไม่ได้ในจุดนี้นะคะ ปกติก็จะเป็นคดีทั่วไป แพ่ง อาญา ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับผู้บริโภค  เราก็ต้องปรับใช้  อย่างเช่นคดีทางการแพทย์ ซึ่งเราก็จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยการถามหมอเพิ่มเติมเพื่อเอามาทำคดีได้ หรือคดีเกี่ยวกับผู้บริโภคก็จะมีเรื่องเฉพาะ อย่าง เช่น ประกาศ สคบ. อะไรพวกนี้ที่ต้องใช้โดยตรง อย่างเรื่องเครื่องสำอางเพิร์ลลี่ ซึ่งต้องไปดูเรื่องสินค้าไม่ปลอดภัยว่าเป็นอย่างไร ถ้าคุณมาทำงานที่นี่คุณจะไม่ได้แค่เรื่องกฎหมายอย่างเดียว คุณจะได้เรื่องความเข้าใจเพราะส่วนหนึ่งเราก็เป็นผู้บริโภค ซึ่งเราสามารถเอาความรู้ไปปรับใช้กับครอบครัวเราได้ ว่าถ้าครอบครัวเราหรือคนรู้จักมีปัญหา เราจะรู้ว่าวิธีเบื้องต้นที่จะแก้ไขปัญาจะมีอะไรบ้าง ไม่ใช่ต้องฟ้องอย่างเดียว อาจจะทำหนังสือร้องเรียน สอบถามเพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวเองก่อน แต่ถ้าเราทำงานกฎหมายเราก็ยื่นโนติสแล้ว ซึ่งถ้าเรารู้หลักของมันเราอาจจะไม่ถึงฟ้อง เราแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ แล้วเรื่องมันก็จบในคดีผู้บริโภคนั้น อาจไม่ต้องมีทนายความเลยก็ได้ ผู้บริโภคสามารถดำเนินคดีด้วยตนเองได้ แต่การไม่มีทนายให้คำปรึกษา อาจทำให้ในหลายคดี ซึ่งต้องมีการสืบพยาน การที่ผู้บริโภคไม่มีทนายความคอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ  จะเกิดความอยากลำบาก เพราะไม่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกฎหมาย เกิดการเสียเปรียบในการดำเนินคดีในชั้นศาล โอกาสที่จะเพลี่ยงพล้ำในคดีก็จะมีมาก โดยทางฝั่งผู้ประกอบธุรกิจ จะมีทนายความประจำอยู่แล้ว การที่ผู้บริโภคมีทนายความในการช่วยเหลือในคดี ทำให้ไม่เป็นการเสียเปรียบในเชิงคดีปัจจุบันจะเห็นว่า ยังมีผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาตรการเชิงป้องกันที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอ จึงสมควรที่สนับสนุนให้ผู้บริโภค ได้ความรู้หรือศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องนั้นๆ ก่อนที่ตนเองทำการบริโภคสินค้าหรือบริการ เช่น การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ครบถ้วนถูกต้อง การให้ผู้บริโภคได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าหรือบริการ เมื่อพบปัญหาขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีความแตกต่างของการเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคงานทนายความเพื่อผู้บริโภค ได้มีโอกาสสัมผัสกับผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน เห็นการถูกละเมิดสิทธิ โดยที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพสินค้าหรือบริการ และขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญา ทำให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายถูกเอาเปรียบอยู่เสมอ  และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ผู้บริโภคก็ขาดความรู้ ในวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตามขั้นตอน  ทนายความจึงควรมีบทบาทในการให้ข้อมูลเรื่องสิทธิผู้บริโภคโดยการให้คำแนะนำและความช่วยเหลือด้านคดีความกับผู้บริโภค  ทำงานกับผู้บริโภค รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภคการเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มันจะแตกต่างตรงที่ เราจะได้รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภค ว่ามันเป็นอย่างไร  แล้วเวลาที่ผู้บริโภคเดือดร้อนแต่เค้าไม่รู้จะหันไปหาใคร เรามาทำงานส่วนนี้ก็เป็นเพราะใจของเราด้วย ทำให้เรารู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นลูกความ เหมือนเป็นญาติกัน เป็นเพื่อนกัน ที่เราอยากให้คำแนะนำให้เขาหลุดพ้นจากปัญหาถ้าเป็นลูกความก็จ่ายเงินมา เราทำตามหน้าที่รับเงิน แต่พอมาที่นี่ก็เหมือนได้หลายๆ อย่าง ผู้ร้องกับเราก็เหมือนเกิดความผูกพัน ไปไหนมาไหนก็คิดถึงเราซื้อขนมมาให้ เป็นเหมือนครอบครัว สังคมผู้บริโภค คือเขาเดือดร้อนก็จะนึกถึงมูลนิธิว่ามูลนิธิเป็นที่พึ่ง เขาไปร้องเรียนที่ศาลหรือศูนย์ดำรงธรรม เขาก็จะแนะนำให้มาร้องเรียนที่มูลนิธิ แล้วเวลาเขาร้องเรียนเรื่องกฎหมายก็จะนึกถึงมูลนิธิก่อน เพราะว่าจะเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคดีผู้บริโภคที่สุด รักษาผลประโยชน์ให้เขาได้ เนื่องจากคดีมีความหลากหลาย อยากได้คนที่มีความรู้ที่หลากหลายสาขาอาชีพมาช่วย เช่น ปัญหาเรื่องการเงินการธนาคารมาช่วยเรื่องการคิดคำนวณเรื่องดอกเบี้ย ด้านวิศวกรรม เรื่องสินค้าชำรุดบกพร่องอย่างเช่น เรื่องรถยนต์ เป็นต้น มีพี่คนหนึ่งเขาจบพยาบาลมา ก็รับคดีเกี่ยวกับการแพทย์ไป เพราะอ่านเวชระเบียนได้ ในส่วนของใครที่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยนั้นอย่างตัวเองทำงานมา 2 ปีกว่าๆ เราทำงานด้วยใจและทำตามหน้าที่ โดยนำข้อเท็จจริงมาปรับใช้ในการทำงาน กฎหมายบ้านเมืองก็มีอยู่แล้ว คุณมาทำงานที่นี่ไม่ต้องกลัวเรื่องการถูกคุกคาม เพราะเราทำมาสองปีกว่า เราก็มีความปลอดภัยและมีความสุขกับการทำงานดีค่ะ ปัจจุบันทีมทนายความจิตอาสา ศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีประมาณมากกว่า 20 ท่าน โดยมีความรู้ความสามารถที่หลากหลายกันไปค่ะ”ทนายความสวิทย์ จันทร์ต๊ะคาด“ทนายความอาสาเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า อาชีพทนายเป็นอาชีพอิสระ และหาคนที่มีจิตอาสาหรือจิตที่เป็นบุญกุศลมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันยาก และทนายอาสาควรที่จะมีความรู้ความสามารถ ที่จะต้องช่วยเหลือประชาชนได้ด้วย”เหตุที่สนใจงานด้านจิตอาสาพอดีเห็นจากประกาศของมูลนิธิประกาศรับสมัครทนายความที่มีจิตอาสามาร่วมองค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน ผมคิดว่าตนเองพอจะมีความรู้ความสามารถ และมีจิตอาสาที่อยากช่วยประชาชน ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่าหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายควบคุมอยู่ในมือไม่สามารถใช้กฎหมายนั้นบังคับได้จริง ต้องให้ประชาชนใช้สิทธิทางศาลเอง ถึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย กฎหมายไทยมองว่าจะต้องพัฒนาอีกไกลเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ ทนายความอาสาเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า อาชีพทนายเป็นอาชีพอิสระ และหาคนที่มีจิตอาสาหรือจิตที่เป็นบุญกุศลมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันยาก และทนายอาสาควรที่จะมีความรู้ความสามารถ ที่จะต้องช่วยเหลือประชาชนได้ด้วยความคาดหวังเมื่อเข้ามาเป็นทนายอาสาปกติจะมีส่วนกลางใช่ไหมครับ ส่วนภูมิภาคใช่ไหมครับ ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัย สามารถขอคำปรึกษากับเครือข่ายที่อยู่ตามภูมิภาคได้ เพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทางมาส่วนกลางเราจะช่วยดำเนินการด้านคดีอย่างไร ต้องดูว่าสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับผลกระทบมีอะไรบ้าง และเราจะขอให้ศาลคุ้มครองสิทธิอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคนั้นๆ ยุคนี้คือเทคโนโลยีได้พัฒนาไปไกล ทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการมากมาย ซึ่งก่อนที่เราจะบริโภคสินค้าหรือบริการนั้น ควรมีการตรวจสอบที่มาที่ไป ส่วนประกอบ ผลข้างเคียง ถ้าได้บริโภคหรือใช้สินค้านั้นทนายความวาสนา สายเป้า“ผู้บริโภคเมื่อจะใช้สิทธิอะไรเมื่อตัวเองเสียเปรียบ หรือสินค้าตัวนั้นไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธินั้นกลับมาให้คุ้มกับที่เงินที่จ่ายไปถึงแม้ราคาสินค้าจะเป็นบาทเดียว ห้าบาท สิบบาท แต่ควรให้คุ้มค่าตรงนั้น”ความคิดกับงานคุ้มครองผู้บริโภคงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นพื้นฐานสำคัญของผู้บริโภคในเบื้องต้น กรณีการเป็นทนายอาสาเป็นการดูแลเบื้องต้นของผู้บริโภคที่มี คือการรักษาสิทธิของผู้บริโภคเบื้องต้น ซึ่งบ้างครั้งผู้บริโภคไม่ทราบว่าตนเองสามารถเรียกร้องสิทธิ ที่ตัวเองเสียไปจากการใช้บริการสินค้าต่างๆได้ เราจะเป็นตัวแทนให้คำแนะนำ ให้ช่องทางในการเรียกร้องสิทธิ ไม่ว่ากรณีสินค้าไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือการใช้สินค้าไม่ตรงตามคุณสมบัติของรายการสินค้าที่ควรจะต้องเป็นไปตามที่ผู้บริโภคต้องได้รับ เราจะเป็นตัวแทนที่ให้ทราบสิทธิของผู้บริโภคเบื้องต้น ทำหน้าที่ต่อโดยการเรียกร้องสิทธิให้กับผู้บริโภคต่อไปจะสนับสนุนความรู้เรื่องกฎหมายแก่ผู้บริโภคอย่างไรอันนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภค จริงๆ ผู้บริโภคอาจจะไม่คิดถึงว่าการบริโภคแค่ทานอาหาร ต้องใช้กฎหมายเลยเหรอ ถ้าเราให้ความรู้ผู้บริโภคก็จะสังเกตถึงสิ่งที่ตนเองบริโภคเข้าไปว่า มันถูกต้อง คุ้มราคา คุ้มที่เราจ่ายไปไหม และการบริโภคมันสมกับที่เขาโฆษณาไหม ให้ผู้บริโภคได้สังเกตสินค้ามากขึ้น แล้วก็เป็นการตรวจสอบเบื้องต้น ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อไปด้วยคิดว่าเมื่อเข้ามาอาสา จะช่วยงานคดีทำให้ดีขึ้นได้อย่างไรชัดเจนอยู่แล้ว มันดีขึ้นอยู่แล้ว เพราะเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสิทธิตนเอง เมื่อคุณเสียเงินไปแล้วหรือการใช้บริการไปแล้ว คุณควรได้คุ้มค่ากับการที่ต้องเสียเงินบริโภคสิ่งนั้น เพราะผู้บริโภคเมื่อจะใช้สิทธิอะไรเมื่อตัวเองเสียเปรียบ หรือสินค้าตัวนั้นไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธินั้นกลับมาให้คุ้มกับที่เงินที่จ่ายไปถึงแม้ราคาสินค้าจะเป็นบาทเดียว ห้าบาท สิบบาท แต่ควรให้คุ้มค่าตรงนั้น ถ้าผู้บริโภคไม่รักษาสิทธิ ผู้ประกอบการก็จะใช้โอกาสหรือช่องที่ผู้บริโภคไม่ได้สนใจเอาเปรียบไป ถึงแม้ผู้บริโภคจะมีสักล้านนึง คนละบาทคนละบาท อย่างกรณีค่าโทรศัพท์มันก็เหมือนกันนั้นก็คือเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่จะเรียกร้องกลับมา(มีอะไรฝากถึงมูลนิธิฯ) ฝากให้มูลนิธิดูแลผู้บริโภคต่อไป อยากให้ดูแลไปตลอดเพราะผู้บริโภคไม่มีที่พึ่งตรงไหน ก็มีที่พึ่งที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเท่านั้น อยากให้ผู้บริโภคทุกคนมาใช้มูลนิธิทำงาน มูลนิธิยินดีอยากให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุดกับสินค้าทุกตัว นั้นคือความสุขของมูลนิธิทนายความจิราภา เต็มเพ็ชร“หากผู้บริโภคมีฐานะยากจนไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจ้างทนายความ ทนายความอาสาจะเข้าไปช่วยเหลือผู้บริโภคที่ยากจนให้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้น”แนวคิดกับงานคุ้มครองผู้บริโภคผู้บริโภคคือประชาชนทั้งประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย ควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐในทุกด้าน รัฐควรเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และหากมีการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคเพื่อเป็นกระบอกเสียงของผู้บริโภคด้วยกันแล้ว รัฐควรเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนในเรื่องนี้ เช่น เรื่องงบประมาณ, การศึกษาวิจัย, การดำเนินคดี ฯลฯงานทนายอาสามีความสำคัญกับงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไรทนายความอาสานั้นมีบทบาทสำคัญต่อการคุ้มครองผู้บริโภคมาก เพราะใช้ความรู้ด้านกฎหมายช่วยเหลือในการฟ้องร้องและต่อสู้คดีแทนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้า และหากผู้บริโภคมีฐานะยากจนไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจ้างทนายความ ทนายความอาสาจะเข้าไปช่วยเหลือผู้บริโภคที่ยากจนให้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้นผู้บริโภคต้องการความช่วยเหลือหรือสนับสนุนความรู้เรื่องกฎหมายอย่างไรผู้บริโภคควรได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุน ในด้านกฎหมายเรื่องที่ว่าควรจะเลือกบริโภคสินค้า อาหาร และผลิตภัณฑ์ อย่างไรให้ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และหากว่าต่อมาผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากการบริโภคแล้ว จะมีแนวทางในการดำเนินคดีกับผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง คิดว่าเมื่อเข้ามาอาสาช่วยให้คำแนะนำกับผู้บริโภคนั้น จะช่วยงานด้านคดีให้ดีขึ้นด้วยการทำให้ผู้บริโภคที่ยากจนมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้น จากการที่ตนได้รับความเสียหายจากการบริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 ขวดบรรจุน้ำสุญญากาศ

จะเลือกขวดน้ำหรือกระบอกน้ำแบบสุญญากาศอย่างไรดี? น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนอาจจะเคยนึกสงสัย ด้วยว่าขวดหรือกระบอกน้ำประเภทนี้ มันมีหลากหลายราคาๆ แต่ที่แน่ๆ เริ่มต้นด้วยราคาที่แพงเอาเรื่อง และบางยี่ห้อแพงมากจนทำให้เกิดความกลัวว่าซื้อมาแล้วจะใช้คุ้มหรือไม่ เพราะฉะนั้นคราวนี้ นิตยสารฉลาดซื้อและเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค จะช่วยคลายข้อสงสัยด้วยผลทดสอบวัดประสิทธิภาพของขวดน้ำชนิดนี้กันแบบตัวต่อตัว เราสุ่มเก็บตัวอย่างขวดน้ำสุญญากาศ ในขนาด 0.35-0.50 ลิตร (350-500 มิลลิลิตร) จำนวน 12 ยี่ห้อ เมื่อเดือนธันวาคม 2560 เพื่อทดสอบใน 5 ประเด็นต่อไปนี้ โดยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค1.สัดส่วนการบรรจุต่อน้ำหนักของขวดน้ำสุญญากาศ2.ทดสอบความสามารถในการเก็บรักษาอุณหภูมิ(ร้อน-เย็น)3.การทดสอบ ตกจากที่สูง 1.5 เมตร4.การประเมินความสะดวกในการใช้งาน (ทั้งน้ำเย็นและน้ำร้อน)5.สัดส่วนการบรรจุต่อน้ำหนักภาชนะสรุปผลการทดสอบตารางสรุปผลการทดสอบ ข้อสังเกต และคำแนะนำการเลือกซื้อขวดน้ำสุญญากาศ ควรคำนึงถึงลักษณะการใช้งานว่าจะใช้งานที่ไหน ในกรณีที่ใช้งาน Outdoor ควรคำนึงถึงภาชนะที่มีฝาปิดที่พร้อมใช้งานเป็นแก้วใช้รินสำหรับดื่มได้ กรณีที่ใช้งานสำหรับพกพา ขณะออกกำลังกาย ควรคำนึงถึงความสะดวกในการพร้อมดื่ม ควรพิจารณาขวดน้ำที่มีหลอดดูดอัตโนมัติกิตติกรรมประกาศเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องขอขอบพระคุณ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและเมคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ ใช้เครื่องมือวัดและพื้นที่การทดสอบ มา ณ โอกาสนี้ด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 โซเดียมในเมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโมและเมล็ดฟักทองอบ

เมื่อสี่สิบปีก่อนอาจไม่มีใครทราบว่าเมล็ดทานตะวันอบแห้งนั้นสามารถทานได้ เมล็ดอบแห้งที่นิยมสมัยก่อนนั้นจะเป็นเมล็ดแตงโมหรือที่เรียกว่า เม็ดก๋วยจี๊ มากกว่า เมล็ดฟักทองก็มีบ้าง ต่อมาเมื่อมีการเพาะปลูกต้นทานตะวันมากขึ้น เพราะเป็นพืชที่สร้างรายได้ที่ดี ด้วยสามารถนำทุกส่วนมาทำประโยชน์ได้เกือบทั้งหมด  โดยเฉพาะการสร้างตลาดเรื่องการบริโภคเมล็ดทานตะวันในลักษณะของอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งน้ำมันสกัด ยอดอ่อนทานตะวัน และเมล็ดอบแห้ง  ปัจจุบันเมล็ดทานตะวันอบแห้ง จึงกลายเป็นของว่างที่ได้รับความนิยมแซงหน้าเมล็ดแตงโมไปเรียบร้อย  เมล็ดทานตะวันอบแห้ง ตามนิยามของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.739/2548) หมายถึง  ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเมล็ดทานตะวันดิบที่คัดเมล็ดเสียและลีบออกมาต้มในน้ำเกลือแล้วทำให้แห้ง อาจนำมากะเทาะเปลือกแล้วคัดแยกเมล็ดออกจากเปลือก มาตรฐานทั่วไป คือต้องสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ สิ่งสกปรก ขนาดของเมล็ดที่บรรจุในซองหรือบรรจุภัณฑ์ควรมีขนาดใกล้เคียงกันและเป็นเมล็ดสมบูรณ์ เมื่อมองไปบนชั้นวางสินค้าประเภทเมล็ดอบแห้ง เราจะพบเมล็ดทานตะวันอบแห้งหลายยี่ห้อ มีทั้งที่ไม่แกะเปลือกและกะเทาะเปลือกแล้ว ซึ่งฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างเมล็ดทานตะวันอบแห้งมาจำนวน 12 ผลิตภัณฑ์ และเก็บตัวอย่างเมล็ดแตงโมและเมล็ดฟักทองอีก 7 ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 19 ตัวอย่าง ส่งไปทดสอบเพื่อหาสิ่งแปลกปลอม เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ ว่า มีหรือไม่ (ผลทดสอบจะนำเสนอในฉบับถัดไป) และเปรียบเทียบฉลากจากทุกผลิตภัณฑ์ โดยเลือกที่โซเดียมเป็นหลัก เพราะของว่างชนิดนี้จะได้รสอร่อยกลมกล่อมต้องมีเกลือเป็นตัวชูรส ซึ่งหากกินเล่นกินเพลินไปก็อาจได้รับโซเดียมเพิ่มขึ้นไปโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนอร่อยเพลินครั้งต่อไป โปรดดูตารางที่ฉลาดซื้อนำเสนอผลการเปรียบเทียบฉลาก ผลิตภัณฑ์เมล็ดอบแห้งที่มีโซเดียมสูง ได้แก่• เมล็ดทานตะวันอบ ตรา ปาป้าฮัท (ไม่แกะเปลือก)  ปริมาณโซเดียม 250 มก./หน่วยบริโภค 25 กรัม (1000 มก./100 กรัม)• เมล็ดทานตะวัน ตรา ซันสแนคดั๊งค์ (กะเทาะเปลือก) ปริมาณโซเดียม 150 มก./หน่วยบริโภค 25 กรัม(600 มก./100 กรัม)• เมล็ดฟักทอง ตราทองการ์เด้น (กะเทาะเปลือก) ปริมาณโซเดียม 190 มก./หน่วยบริโภค 33 กรัม(575.7 มก./100 กรัม) • เมล็ดแตงโม ตรา M16 (ไม่แกะเปลือก) ปริมาณโซเดียม 105 มก./หน่วยบริโภค 20 กรัม(525 มก./100 กรัม)-------------------------------------------------------------------------คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดทานตะวันอบแห้ง ต่อ 100 กรัม• พลังงาน 584 กิโลแคลอรี 29%• คาร์โบไฮเดรต 20 กรัม 15%• โปรตีน 20.78 กรัม 37%• ไขมัน 51.46 กรัม 172%• ใยอาหาร 8.6 กรัม 23%• วิตามินเอ 50 หน่วยสากล 1.6%• วิตามินบี 1 1.480 มิลลิกรัม 123%• วิตามินบี 2 0.355 มิลลิกรัม 27%• วิตามินบี 3 8.335 มิลลิกรัม 52%• วิตามินบี 5 1.130 มิลลิกรัม 22%• วิตามินบี 6 1.345 มิลลิกรัม 103%• วิตามินบี 9 227 ไมโครกรัม 57%• วิตามินซี 1.4 มิลลิกรัม 2%• วิตามินอี 35.17 มิลลิกรัม 234%• ธาตุแคลเซียม 78 มิลลิกรัม 8%• ธาตุเหล็ก 5.25 มิลลิกรัม 63%• ธาตุแมกนีเซียม 325 มิลลิกรัม 81%• ธาตุแมงกานีส 1.950 มิลลิกรัม 85%• ธาตุฟอสฟอรัส 660 มิลลิกรัม 94%• ธาตุโพแทสเซียม 645 มิลลิกรัม 14%• ธาตุโซเดียม 9 มิลลิกรัม 1%• ธาตุสังกะสี 5.00 มิลลิกรัม 45%• ธาตุทองแดง 1.800 มิลลิกรัม 200%• ธาตุซีลีเนียม 53 ไมโครกรัม 96%% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 RDU รู้เรื่องยา กับการสแกน QR code

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายเริ่มมีสัญญาณเตือนของโรคภัยไข้เจ็บตามมา ดังนั้นการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลจึงเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่วัยหนุ่มสาวก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องโรคภัยไข้เจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน และสิ่งที่ได้ตามมานั่นคือ ถุงยาชนิดต่างๆ ที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องแอปพลิเคชัน RDU รู้เรื่องยา เป็นแอปพลิเคชันที่มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลยาสู่ประชาชนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการใช้ยา โดยแอปพลิเคชันนี้ถูกพัฒนาเพื่อรองรับการสแกน QR code ใบสรุปยาหรือชนิดของยา เพื่ออ่านข้อมูลยา วิธีการใช้ คำเตือน ข้อควรระวังให้กับผู้รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีความตั้งใจให้แอปพลิเคชันป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่างเช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นต้นการให้ความรู้และข้อมูลยาภายในแอปพลิเคชันจะแบ่งเป็น 6 หมวด ได้แก่ หมวด RDU รู้เรื่องยา หมวดสแกน QR code ของยา หมวดข้อมูลยา หมวดข่าวสารเรื่องยา หมวดสาระยาน่ารู้ หมวดโรงพยาบาลและร้านยาหมวด RDU รู้เรื่องยา และหมวดข่าวสารเรื่องยา เป็นหมวดที่ตั้งใจให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา เรื่องสุขภาพ อาการต่างๆ การเก็บรักษายา การแพ้ยา และเรื่องอื่นๆ ในลักษณะของข้อมูลข่าวสาร บทความต่างๆ  ส่วนหมวดสแกน QR code ของยา จะมีไว้สำหรับการสแกน QR code ยาที่ได้รับมาจากโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยหมวดข้อมูลยา เป็นหมวดที่แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับยาแต่ละชนิด โดยจะจัดเรียงตามอักษรภาษาอังกฤษของชื่อยา หรือผู้ใช้สามารถป้อนชื่อยาและค้นหาได้ ต่อมาเป็นหมวดสาระยาน่ารู้ จะเป็นหมวดข้อควรรู้ในการใช้ยาที่จัดเก็บในรูปแบบวิดีโอ  สุดท้ายเป็นหมวดโรงพยาบาลและร้านยา ซึ่งใช้ในการค้นหาโรงพยาบาลและร้านยาบริเวณใกล้เคียงที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันใช้อยู่ หรือค้นหาโรงพยาบาลที่ต้องการ พร้อมทั้งมีแผนที่ในการบอกเส้นทางนอกจากนี้แอปพลิเคชัน RDU รู้เรื่องยา ยังสามารถบันทึกข้อมูลของตนเองไว้เพื่อเป็นข้อมูลให้กับโรงพยาบาลได้อีกด้วย โดยผู้ใช้แอปพลิเคชันเข้าลงทะเบียนและกรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อนามสกุล เลขบัตรประชาชน วันเกิด เพศ อีเมล เบอร์โทรติดต่อ รวมถึงการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน เมื่อลงทะเบียนภายในแอปพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถสแกน QR code เพื่อนำไปบันทึกเป็นข้อมูลการใช้ยา โดยจะปรากฏข้อมูลยาแต่ละชนิดที่ได้รับ วันเวลาที่ได้รับยาจากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ถ้าผู้ใช้ต้องการรู้รายละเอียดเกี่ยวกับยาชนิดนั้นให้กดเลือกชื่อยาที่ต้องการ แอปพลิเคชันจะนำไปหน้ารายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลยา ตั้งแต่ชื่อสามัญของยา รูปแบบของยา การใช้รักษาอาการแบบใด คำแนะนำในการใช้ยา อาการที่อาจเกิดหลังจากรับประทานยา ข้อควรระวังในการใช้ยา ข้อระวังในการใช้ยาร่วมกับยาชนิดอื่น ข้อห้ามใช้ยา และการเก็บรักษายาแต่สิ่งที่ดีที่สุด นั่นคือการไม่ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและไม่ต้องใช้แอปพลิเคชัน RDU รู้เรื่องยา ดังนั้นควรออกกำลังกายสม่ำเสมอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงกันดีกว่านะคะ

อ่านเพิ่มเติม >