ฉบับที่ 142 บอแรกซ์ในหมูบด

หมูเป็นอาหารที่คนนิยมรับประทานกันมาก จนมีคำกล่าวประมาณว่า “หมูทำอะไรก็อร่อย” คนไทยบริโภคเนื้อหมูเกือบล้านตัน/ปี (ปี 2553 คนไทยบริโภคเนื้อหมูปริมาณ 930,000 ตัน)  หมูเมื่อถูกชำแหละแล้ว ว่ากันว่า รับประทานได้ทุกส่วน แต่ที่กินกันบ่อยก็แน่นอนว่าต้องเป็นเนื้อ ไม่ว่าจะส่วนสะโพก ขา หลัง หรือคอ แล้วแต่ว่าผู้บริโภคจะเลือกไปประกอบอาหารอะไร และไม่ว่าจะที่เขียงหมูในตลาดหรือชั้นวางเนื้อหมูในร้านค้าปลีกทันสมัย เขาก็มีเนื้อหมูในเลือกซื้อหากันได้หลายประเภท ที่นิยมมากประเภทหนึ่งก็คือ “หมูบด” หรือ “หมูสับ” ที่นำไปทำอาหารได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น...แกงจืด ลูกชิ้น ลาบ ไข่เจียวหมูสับ ฯลฯ   ซึ่งสมัยก่อนอาจต้องออกแรงเล็กน้อยเพื่อสับเนื้อหมูให้ละเอียด แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่ต้องยุ่งยากเสียเวลานั่งสับแล้ว เพราะเขามีชนิดสับให้แล้ววางพร้อมรอขาย คุณพ่อครัวแม่ครัวทั้งหลายไม่ต้องไปเสียเวลาสับ บด เองอีกให้ยุ่งยาก แต่ก็อีกนั่นแหละอะไรที่มันดูสำเร็จรูปบางทีมันก็มีภัยแฝงมาด้วย เนื้อสัตว์โดยธรรมชาตินั้นจะเน่าเสียได้ง่ายเพราะมีความชื้นสูงเหมาะแก่การขยายอาณาจักรของเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหลาย ผู้ขายที่ไม่รับผิดชอบบางส่วนจึงมักนำสารเคมีที่อันตรายมาช่วยให้เนื้อหมูคงสภาพสด ไม่เน่าเสียง่าย และที่พบมากเป็นปัญหาระดับประเทศก็คือ การใช้สารบอแรกซ์ในเนื้อหมู โดยเฉพาะหมูบด เพราะไม่เพียงแต่ช่วยไม่ให้เน่าไวแล้ว ยังแถมคุณสมบัติทำให้เนื้อหมูเด้ง กรอบ อีกด้วย   ฉลาดซื้อทดสอบ ฉลาดซื้อเราก็ชอบหมูเช่นกัน เลยกระจายกำลังคนไปช้อปหมูบดมาจากตลาดสด 5 แห่ง โมเดิร์นเทรด 3 แห่ง และหมูพะยี่ห้อดัง 2 เจ้า ส่งตรวจหาสารบอแรกซ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปรากฏว่า ยังพบมีการใช้สารบอแรกซ์กับหมูบด อยู่ 1 แห่ง ที่ตลาดสดยิ่งเจริญ เจ้าของตลาดและหน่วยงานรัฐลงไปตรวจสอบด้วยนะครับ   ผลการทดสอบหาสารบอแรกซ์ในหมูบด สถานที่เก็บตัวอย่าง สารบอแรกซ์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ตลาดสำโรง ไม่พบ ตลาดพระประแดง ไม่พบ ตลาด อ.ต.ก. ไม่พบ ตลาดบางบอน ไม่พบ กระถินหมูบด ตลาดยิ่งเจริญ 10,524 ฟู้ดแลนด์ ไม่พบ เทสโก้ ไม่พบ ท็อปส์ ไม่พบ หมูบด ซีพี เฟรชมาร์ท ไม่พบ หมูบด ยี่ห้อ เอส เพียว ไม่พบ   เก็บตัวอย่างช่วงเดือนตุลาคม 2555 ผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น    Borax  บอแรกซ์ บอแรกซ์ (Borax, Anhydrous borax (Na2B4O7) Borax pentahydrate (Na2B4O7·5H2O) Borax decahydrate (Na2B4O7·10H2O))  เป็นสารเคมี ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย  มีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ เม่งแซ ผงเนื้อนิ่ม บอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้วเพื่อทำให้ทนความร้อน เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง และเป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น มีการนำบอแรกซ์มาใช้ผิดโดยนำมาผสมใน อาหาร  เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น   -------------------------------------------------------------------------------------------------   การใช้บอแรกซ์ในอาหาร เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard)  ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เป็นสารเคมีห้ามใช้ในอาหาร (prohibit substances) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151(พ.ศ. 2536) เรื่องวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร   ------------------------------------------------------------------------------------------------- หมูอาบน้ำ เนื้อหมูที่พบว่ามีการใช้สารบอแรกซ์มากที่สุดคือหมูบด เนื่องจากการบดหมูจะทำให้มีการผิวสัมผัสของเชื้อโรคเข้าไปในเนื้อหมูมากขึ้น ทำให้หมูบดเน่าเสียได้ง่าย จึงมีการใช้บอแรกซ์ใส่ปนในหมูบด ส่วนเนื้อหมูชิ้นจะมีการนำไปชุบน้ำยาบอแรกซ์ โดยจะมีภาษาเรียกของผู้ที่จำหน่ายสุกรว่า “หมูอาบน้ำ” ดังนั้นจะมีบอแรกซ์ติดอยู่ที่ผิว ข้อปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคทั่วไปคือเมื่อซื้อหมูมาก่อนที่จะนำไปปรุงอาหารให้ล้างหลายๆ ครั้ง นอกจากจะลดหรือขจัดสารอออกไปได้แล้วยังเป็นการลดความสกปรกที่ติดอยู่บนเนื้อหมูลงไปด้วย ถ้าเป็นหมูบดคงจะไม่สามารถล้างได้เราควรจะหลีกเลี่ยงโดยการนำมาบดเองจะดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 คอตตอน 100%

  คงไม่มีใครในโลกที่ไม่มีเสื้อยืดในครอบครอง หลายคนชอบเสื้อยืดเพราะมันนุ่ม ใส่สบาย ไม่ร้อน ให้ความรู้สึกลำลอง แถมยังแอบอ้วนได้โดยไม่อึดอัด เสื้อยืดนั้นผลิตจากเส้นใยหลายชนิด บ้างก็ทำจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ผสมเส้นใยฝ้ายเพื่อลดการยับยู่ยี่ บ้างก็ทำจากเส้นใยฝ้ายทั้งหมดอย่างที่พนักงานขายเรียกว่า “ผ้าค้อตตอน 100” ซึ่งแม้จะยับง่าย แต่ระบายอากาศได้ดีเพราะเส้นใยมีรูพรุน แต่ว่า... ฉลากที่เขียนว่า “100%” Cotton” นั้นเชื่อถือได้แค่ไหน มีใครแอบทำเสื้อยืดมาหลอกขายเราหรือเปล่า ฉลาดซื้อ สงสัยจึงสุ่มซื้อเสื้อที่มีการระบุว่าเป็นฝ้าย 100% มา 10 ยี่ห้อ รวมถึงเสื้อยืดรณรงค์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอีก 1 ตัว แล้วส่งไปศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ เพื่อหาคำตอบ ข่าวดีนะพี่น้อง เสื้อยืดที่เราส่งไปตรวจสอบนั้นผลิตจากเส้นใยฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ระบุในฉลากจริงๆ ไม่มีเส้นใยชนิดอื่นผสม     CHIC FORD ราคา          95         บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย: บริษัท ดี.แอล. เจ คอมเมอร์เชี่ยล จำกัด                     ZEG ราคา          135       บาท ผู้ผลิต:       บริษัทไทยกุลแซ่ จำกัด ผู้จำหน่าย:  ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด                     TEN & CO BASIC ราคา          390       บาท (ราคาลด 295 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)   แตงโม ราคา          195       บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย บริษัทสยามแฮนดส จำกัด     Pena House ราคา          590       บาท (ราคาลด 295 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย    บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)                       Rosso ราคา          99         บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย    บริษัท รอซโซ่ จำกัด                       U-FO ราคา          390       บาท (ราคาลด 195 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)                     DOUBLE GOOSE (ห่านคู่) ราคา          119       บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย บริษัทไทยแลนด์นิตติ้ง จำกัด                     F&F BODYWEAR ราคา           159      บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทเอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเท็ม จำกัด                     UNIQLO ราคา           590      บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย ผลิตในประเทศจีน                     เสื้อยืดรณรงค์ Please wear me out ราคา           180       บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย     มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค               ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ผ้าฝ้ายได้จากนำปุยฝ้ายมาปั่นให้ได้เป็นเส้นด้าย แล้วทอเป็นผืนผ้า  เทคนิคในการทอนี้เองที่เป็นตัวแปรชี้ว่าเสื้อที่เราซื้อมาจะหดหรือไม่ เสื้อยืดที่ผลิตจากผ้าฝ้ายจะมีราคาแตกต่างกันไปตามขนาดเส้นด้าย เสื้อที่ทำจากผ้าที่ทอด้วยเส้นด้ายขนาดเล็ก (เช่นเสื้อผ้าสำหรับเด็กอ่อน หรือเสื้อแบรนด์เนมบางรุ่น) จะมีราคาสูงกว่า  เพราะเส้นด้ายขนาดเล็กมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนกว่าเส้นด้ายขนาดใหญ่ ยิ่งต้องการให้เล็กมากก็ต้องสั่งทอเป็นพิเศษ จึงทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ฝ้ายเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่เราใช้ร้อยละ 2.3 ของพื้นที่การเกษตรบนโลกในการปลูก และกว่า 1 ใน 6 ของสารเคมีทางการเกษตรที่ใช้กันอยู่ ก็ใช้เพื่อการปลูกฝ้ายนั่นเอง   เพื่อให้ได้ผลผลิตใยฝ้าย 1 กิโลกรัม (สำหรับการผลิตเสื้อยืด 1 หนึ่งตัว และกางเกงยีนส์ 1 ตัว) เราอาจต้องใช้น้ำมากถึง 20,000 ลิตร ------------------------------------------------------------------------------------------------------------   การปลูกฝ้าย ในระดับเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกกันด้วยวิธีธรรมดาจะได้ผลผลิตฝ้ายดิบประมาณ 400 -600 กิโลกรัมต่อเฮคตาร์ แต่ถ้าเป็นไร่ฝ้ายในระดับอุตสาหกรรม อาจได้ผลผลิตมากถึง 3,000 กิโลกรัมต่อเฮคตาร์ ผลผลิตฝ้ายรวมทั่วโลกอยู่ที่ 25 ล้านตันต่อปี ปริมาณนี้สามารถผลิตเป็นเสื้อได้ 60,000 ล้านตัว ผู้ผลิตฝ้าย 5 อันดับแรกของโลกได้แก่ จีน อเมริกา อินเดีย ปากีสถาน และบราซิล ตามลำดับ โดยมีบราซิลเป็นประเทศที่มีผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด ส่วนประเทศที่มีการบริโภคฝ้ายมากที่สุด 10 อันดับแรกได้แก่ จีน อินเดีย ปากีสถาน อเมริกา ตุรกี บราซิล อินโดนีเซีย เม็กซิโก ไทย และรัสเซีย จีนคือประเทศที่ผลิต นำเข้า และบริโภคฝ้ายมากที่สุดในโลก ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ราคาฝ้ายในตลาดโลกลดลงอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา ด้วยสองสาเหตุหลักคือ จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าฝ้ายดิบในปริมาณมากมีความต้องการฝ้ายลดลง และเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ฝ้ายมีราคาสูง เกษตรกรจึงหันมาปลูกฝ้ายมากขึ้น ผลผลิตฝ้ายในตลาดจึงเพิ่มขึ้น   เมื่อฝ้ายราคาถูกลง เราก็น่าจะซื้อเสื้อยืดได้ถูกลง ... ซะที่ไหน  เรายังคงจ่ายในราคาเท่าเดิม ในขณะที่ร้านค้าปลีกจะได้กำไรจากส่วนต่างตรงนี้มากขึ้น ถ้าผู้บริโภคอย่างเราจะได้ประโยชน์ก็น่าจะมาจากกระบะเสื้อผ้าที่ทำจากฝ้าย ที่ทางร้านเขาเลือกนำมาลดราคานั่นเอง   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ มนุษย์เรารู้จักการนำฝ้ายมาแปรเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมา 5,000 ปีแล้ว และเรายังคงพึ่งพาฝ้ายเสมอมา ทุกวันนี้เส้นใยที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้ามากเป็นอันดับหนึ่งก็ยังคงเป็นเส้นใยฝ้าย แต่อาจเป็นเช่นนั้นอีกไม่นาน ด้วยข้อจำกัดทางปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่ใช้ในการปลูกฝ้าย บวกกับความพยายามในการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ผู้ผลิตหันมาใช้เส้นใยประดิษฐ์ (เส้นใยสังเคราะห์และเส้นใยกึ่งสังเคราะห์) กันมากขึ้น เช่นผสมไลคราลงไปในเนื้อผ้ายีนส์ หรือผสมสแปนเด็กซ์ลงไปในผ้ายืดให้มากขึ้น เป็นต้น   สำหรับคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของฝ้าย วางใจกันได้ว่าจะยังมีเสื้อที่ทำจากเส้นใยฝ้ายอยู่และการปลูกฝ้าย (น่า) จะทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง ปัจจุบันมีความพยายามที่จะผลักดันให้เกษตรกรหันมาปลูกฝ้ายโดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม แม้ราคาเสื้อยืดที่ทำจากฝ้ายออกานิกจะมีราคาแพงขึ้น แต่ผู้บริโภคจะได้ทั้งเสื้อยืดและได้สนับสนุนให้เกษตรกรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ เสื้อยืดหนึ่งตัวต้องใช้ทรัพยากรในการผลิตไม่น้อยทีเดียว จึงเป็นเรื่องน่าภูมิใจสุดๆ ถ้าเราสามารถใส่เสื้อยืดที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเต็มอายุขัยของมัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 กรณีทีวี “จอดำ” (ตอนที่ 5 “ นาตะ ดนตรีที่ศาล?)

9  โมงเช้า ของวันที่  26  มิถุนายน 2555  กลุ่มผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้อง มาพร้อมหน้ากันที่ศาล  ตามเวลาที่นัดหมาย  เหตุการณ์ก็เป็นเหมือนเดิมคือ กว่าศาลจะลงนั่งบัลลังก์ ก็ปาเข้าไปเกือบเที่ยง   จากนั้นศาลได้เริ่มกระบวนการไต่สวนข้อมูลที่ได้จากกระบวนการไต่สวน ซึ่งเป็นที่ตื่นตะลึงมาก   เพราะเรารู้แต่ว่ารายการโทรทัศน์(ฟรีทีวี) บ้านเรามาจากระบบสัมปทานทั้งสิ้น  ช่อง 9 อสมท.  แตกคลื่นไปให้ช่อง 3 เช่า ช่อง 5 กองทัพบก แตกคลื่นไปให้ ช่อง 7 เช่า  ภายใต้สัญญาร่วมการงาน(ซึ่งเป็นสัญญาเช่าช่วงต่อจากผู้รับสัมปทาน)  ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์  และช่องสื่อสาธารณะ THAI PBSที่ว่าตื่นตะลึงคือ กฎข้อบังคับของการให้สัมปทานคือ  ผู้รับสัมปทานฟรีทีวีต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงฟรีทีวีได้โดยสะดวก  นั่นคือต้องลงทุนเพื่อกระจายคลื่น  เพราะฟรีทีวี  แม้ประชาชนจะได้ดูฟรี  แต่ฟรีทีวีเหล่านั้นก็สามารถหาผลประโยชน์ได้จากขายโฆษณาได้ชั่วโมงละ 12 นาที (ทำให้ช่อง 3 ช่อง 7 (รวยติดอันดับต้นๆของประเทศไทย)  แต่ข้อมูลที่เปิดออกมาคือ ผู้รับสัมปทานฟรีทีวีทั้งหมด หยุดการพัฒนาระบบกระจายคลื่นเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงมากว่า 15 ปี  โดยหน่วยงานที่ให้สัมปทาน ไม่มีการติดตามให้ผู้รับสัมปทานทำตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ในสัญญารับสัมปทาน    และการที่ผู้บริโภคจะหวังพึ่ง กสทช. ก็คงพึ่งไม่ได้ เพราะ กสทช.เพิ่งออกประกาศ ระยะเวลาที่ผู้ได้รับสัมปทานรายเดิม(ฟรีทีวีทุกช่อง) ยังอยู่ไปอย่างนี้ได้อีก 10 กว่าปี  (มีกสทช.อีก 2 ชุดก็ยังหาน้ำยาไม่เจอ)เมื่อระบบส่งคลื่นสัญญาณไม่มีการพัฒนาก็ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องดิ้นรนกันเอง เพื่อให้เข้าถึงฟรีทีวีอย่างชัดเจน  นั่นคือ หันไปเสียเงินซื้อจานรับสัญญาณกันเองตามกำลังทรัพย์ที่มี    ศาลทั้งตั้งคำถามดีมาก    เช่น ถาม อสมท. ว่า คุณเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการคลื่นแทนรัฐ   ไปร่วมมือกับเอกชนละเมิดสิทธิการเข้าถึงฟรีทีวีของผู้บริโภคได้อย่างไร ถามว่าเรื่องการส่งคลื่นฟรีทีวี  ปัจจุบันส่งระบบใด  โดยสรุปทุกช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมแล้ว   แม้ว่าจะพยายามบอกว่าคลื่นที่ส่งๆ ไปที่ฐานเครือข่ายของตนเอง  และการที่ประชาชนดูฟรีทีวีผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียมได้นั้น  เป็นการลักลอบ  หรือขโมยสัญญาณของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาต   เราก็เลยถามว่าเขาลักลอบใช้สัญญาณนานหรือยัง  คำตอบคือ  “มากกว่า 25 ปี”  เราเลยถาม ต่อว่า ทำไมไม่แจ้งจับปล่อยให้ลักลอบใช้สัญญาณนานขนาดนั้นได้อย่างไร คำตอบคือ  “เงียบ” ในส่วนฝั่งแกรมมี่ศาลได้เรียกสัญญาระหว่างแกรมมี่และยูฟ่า มาเปิดเผย(แต่ศาลห้ามนำออกมาภายนอก) ก็เห็นชัดเจนว่า ยูฟ่า ไม่ได้จำกัดการถ่ายทอดผ่านดาวเทียมแต่เขียนห้าม ไม่ให้สัญญาณออกนอกประเทศ ซึ่งประเทศไทยทำได้ที่จะไม่ให้สัญญาณทะลักออกไป นั่นคือการใส่รหัสผ่านเข้าไปดู  การที่ห้ามส่งสัญญาณผ่านผู้ที่ดูฟรีทีวีผ่านจานรับสัญญาณ แกรมมี่เป็นผู้กำหนดเอง  ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ  เพราะผู้ที่ดูฟรีทีวีผ่านจานดาวรับสัญญาณคือ กลุ่มที่แกรมมี่จะขายกล่องรับสัญญาณของตนเองได้ (ส่วนกลุ่มที่ชมผ่านก้างปลาหนวดกุ้งไม่ใช่ฐานลูกค้า)  เพราะแกรมมี่มีแผนธุรกิจที่จะทำทีวีดาวเทียม     การที่แกรมมี่ประมูลสัญญาณการถ่ายทอดครั้งนี้แกรมมี่ได้หลายเด้ง  ทั้งขายโฆษณา ขายกล่อง ขยายฐานลูกค้าทีวีดาวเทียมของตนเองในอนาคต (โอ้โห.....พูดไม่ออก...)   ข้อมูลที่พรั่งพรูออกมาจากกระบวนการไต่สวนทั้งการตั้งคำถามของศาล และการตั้งคำถามของผู้ฟ้อง ชัดเจนยิ่ง(ในมุมของเรา) แต่มุมของศาลไม่ใช่ศาลยังอยากได้ข้อมูลประกอบอื่นทั้งเทคนิคเฉพาะเพื่อเป็นส่วนประกอบการตัดสินใจคุ้มครองหรือไม่   โดยขอไต่สวนเพิ่มฝ่ายเทคนิคของช่องต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับคดี และไม่เกี่ยวกับ  กระบวนการไต่สวนดำเนินไปเวลาถ่ายทอดอีกแค่ 2 นัดไม่ทราบว่าเป็นเทคนิคของศาลที่ต้องการลดการกดดันทางกระแสสังคม กับเรื่องนี้อ่อนลงหรือไม่   เพราะดูศาลจริงจังมาก  ลงไต่สวนเต็มองค์คณะ 6-8 คนทุกนัด  เวลาไต่สวนศาลมองมาทางเราบ่อยมาก และพูดประมาณว่าเราต้องมองอนาคต    และวันที่รอคอยก็มาถึงนั่นคือศาลนัดฟังคำตัดสินว่าจะคุ้มครองหรือไม่(คุ้มครองคือต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีทุกช่อง ไม่คุ้มครองคือถ่ายทอดผ่านหนวดกุ้งก้างปลาเหมือนเดิม)  คำตัดสินอย่างที่ทุกคนรู้กันว่า  “เรื่องนี้มีเรื่องลิขสิทธิ์ต่างประเทศมาเกี่ยวข้องจึงไม่คุ้มครอง  แต่รับคดีไว้พิจารณาต่อไป”สรุปว่าที่เขียนเล่ามาหลายตอน  อารมณ์ของผู้เขียนเหมือนนั่งดู “ลิเก”โรงใหญ่ที่มีผู้แสดงมากมาย  แต่ตอนจบหักมุม “นางเอกโดนน็อคหมดสติ” ลิเกโรงใหญ่ หรือ “นาตะดนตรีที่ศาล” จะจบอย่างไรคงต้องรอคำตัดสินในคดีนี้ต่อไปอย่างใจระทึก....

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 142 เสียงผู้บริโภค

สวัสดีปีใหม่ แก๊สหุงต้มจะปรับขึ้นราคา ? เรื่องนี้ยังไม่มีใครร้องเรียน เพราะหลายคนยังไม่รู้ว่า แก๊สหุงต้มกำลังนับถอยหลังดีเดย์ปรับขึ้นราคา ในเดือนมกราคม ปี 2556 หน้าค่อนข้างแน่นอน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้สรุปแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) เสนอนายพงษ์ศักดิ์  รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน โดยอาศัยการคาดการณ์ราคา LPG ในตลาดโลกปี 2556-2557 เฉลี่ยอยู่ที่ 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาใช้อ้างอิง ซึ่งจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้ราคา LPG ขึ้นไปอยู่ที่ 36 บาท/กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 18 บาท/กก. สำหรับก๊าซที่ใช้ในครัวเรือน สนพ. ได้มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่า เมื่อราคาตลาดโลกสูงขึ้นอย่างนี้ราคาก๊าซที่ขายในประเทศก็ต้องสูงตามไปด้วย แต่เพื่อมิให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกตกใจ จึงเสนอให้ใช้วิธีขึ้นราคาแบบนวดคลึง คือค่อยๆปรับ ค่อยๆเจ็บ สู่ราคาเป้าหมายที่ 36 บ./กก. ภายใน 2 ปี จากเดือนมกราคม 2556-ธันวาคม 2557โดยภาคครัวเรือนจะทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. จากราคาปัจจุบันอยู่ที่ 18.13 บ./กก. ภาครถยนต์จะปรับขึ้นเดือนละ 1.20 บ./กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 21.38 บ./กก. และภาคอุตสาหกรรมทั่วไปจะปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 30.13 บ./กก.   คาดว่ารัฐบาลจะลดแรงต้านด้วยการเสนอมาตรการบรรเทาความด้วยร้อนด้วยการแบ่งแยกกลุ่มประชาชน ผ่านกลไกบัตรเครดิตพลังงานที่จะให้ส่วนลดแก่ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 6 ล้านครัวเรือน และร้านค้า หาบเร่ แผงลอย อีกราว 2 แสนกว่าราย ซึ่งจะมีลักษณะให้ไปลงทะเบียนคล้ายกับบัตรเครดิตพลังงานที่ใช้กับกลุ่มรถแท๊กซี่และวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในช่วงที่ผ่านมา ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ผลกระทบโดยตรง สำหรับบ้านที่ใช้แก๊สถังขนาด 15 กิโลกรัม ในเดือนที่ 1 หลังปรับขึ้นราคา 50 สต./กก. ราคาแก๊สจะขยับจากถังละ 290 บาท ขึ้นเป็น (0.50 x 15) + 290 = 297.50 บาท/ถัง หลังปรับขึ้นราคาครบปีที่ 1 ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (0.50 x 15 x 12) + 290 = 380 บาท/ถัง (สูงขึ้น 31%) หลังปรับราคาครบสองปี ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (0.50 x 15 x24) + 290 = 470 บาท/ถัง (สูงขึ้น 62%) หมายเหตุ : ราคายังไม่รวมค่าบริการส่งก๊าซถึงที่อยู่อาศัย   สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง ราคาแก๊สปัจจุบันอยู่ที่ 21.38 บ./กก. หรือ 11.56 บ./ลิตร (LPG 1 กก. = 1.85 ลิตร) ในเดือนที่ 1 หลังปรับขึ้นราคา 1.20 บ./กก. ราคาแก๊สจะขยับจาก 21.38 บ./กก. ขึ้นเป็น (21.38 + 1.20 ) = 22.58 บ./กก. (12.20 บ./ลิตร) หลังปรับขึ้นราคาครบ 1 ปี ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (1.20 x 12) + 21.38 = 35.78 บ./กก. (19.34 บ./ลิตร) หรือ สูงขึ้น 67.35% หลังปรับขึ้นครบสองปี ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (1.20 x 24) + 21.38 = 50.18 บ./กก. (27.12 บ./ลิตร) หรือสูงขึ้น 134.7%   ผลกระทบโดยอ้อม ประชาชนอาจจะใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือนและในรถยนต์น้อยลง แต่ในทางเดียวกันประชาชนก็ไม่มีทางเลือกการใช้พลังงานมากขึ้น ป่าไม้อาจถูกทำลายมากขึ้น จากการที่ประชาชนหันกลับมาใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ไม่มีหลักประกันใดว่า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์จะสามารถดูแลราคาสินค้าเครื่องใช้อุปโภค บริโภค ต่างๆ ให้มีความเป็นธรรมกับผู้บริโภคได้ เพราะจากอดีตที่ผ่านมาในการปรับขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ NGV แม้รัฐบาลจะมีมาตรการบัตรเครดิตพลังงานให้ส่วนลดค่าเชื้อเพลิง มาตรการเปิดร้านค้าธงฟ้าที่ต้องใช้งบประมาณมากมาย หรือมาตรการประกาศราคาแนะนำข้าวแกงขึ้นมา แต่ปรากฏว่าไม่สามารถทำให้ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นไปแล้วทยอยลดราคากลับคืนมาแต่อย่างใด   แนวทางแก้ไขปัญหา ปัญหาก๊าซ LPG ขาดแคลน โดยอ้างว่ามีการใช้ผิดประเภทในภาครถยนต์และในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป จนทำให้มีการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปจ่ายชดเชยราคาส่วนต่างของราคานำเข้า LPG ตลาดโลก นับแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันรวมเกือบ 1 แสนล้านบาทนั้น เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนแก่ประชาชน เนื่องจากในขณะที่ภาคครัวเรือนใช้ก๊าซ LPG ในราคาประมาณ 18 บ./กก. ส่วนผู้ใช้รายอื่นใช้ในราคาที่สูงกว่านี้อีก แต่ปรากฏว่าภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมของตนกลับใช้ LPG ในราคาเพียง 16 บ./กก. เท่านั้น และมีสัดส่วนการใช้มากถึง 33-34% ของกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมด (รถยนต์ใช้เพียง 14% )และยังเป็นการใช้ก๊าซโดยตรงจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาผลิต จึงมีราคาถูกที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน หรือก๊าซนำเข้า ด้วยเรื่องนี้เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับประชาชนทั้ง 70 ล้านคน  จึงน่าจะมีกระบวนการประชาพิจารณ์ ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเปิดรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนทั่วไปเสียก่อน หากตรวจสอบแล้วว่า มีข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือมีการจัดการทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม จะได้มีมาตรการจัดการปัญหาที่เหมาะสมต่อไป     การเรียกความเสียหายในอุบัติเหตุรถโดยสาร ตีหนึ่งครึ่ง ของคืนวันที่ 11 ตุลาคม 2554 รถทัวร์สองชั้นของบริษัท ทรัพย์ไพศาลทัวร์ รับผู้โดยสารรวม 40 ชีวิต จาก จ.พัทลุง มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ แล่นมาถึงเขต อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ผู้โดยสารที่ยังไม่หลับเห็นว่าข้างหน้าเป็นทางแยก อ.ท่าแซะ มีรถบรรทุก รถทัวร์หลายคันจอดติดไฟแดงอยู่ แต่แทนที่รถทัวร์ที่โดยสารมา ซึ่งกำลังแล่นเข้าโค้งลงเนินก่อนถึงทางแยกจะชะลอความเร็วของรถลง และดูเหมือนว่าคนขับพยายามเบรกรถแต่รถกลับไม่เบรกดังใจ จึงตัดสินใจหักพวงมาลัยหลบรถด้านหน้า ทำให้รถทัวร์ขนาดสองชั้นพุ่งขึ้นเกาะกลางถนนพลิกคว่ำในชั่วพริบตา ผู้โดยสารที่อยู่ในรถ ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเด็ก ต่างร้องขอความช่วยเหลือระงม หลายรายได้รับบาดเจ็บ แขนขาหัก ศีรษะแตก เนื้อตัวมีบาดแผลถลอก เจ้าหน้าที่กู้ภัยได้เร่งเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารออกจากตัวรถที่ล้มคว่ำตะแคง บางรายยังติดอยู่ในตัวรถ เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องใช้เครื่องตัด ถ่าง ตัดตัวถังรถเพื่อช่วยชีวิตของผู้โดยสารอย่างทุลักทุเล กรรณิการ์ เป็นหนึ่งในผู้โดยสาร เธอได้รับบาดเจ็บเจียนตายหากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงที หลังเข้ารับการรักษาพยาบาล แพทย์ตรวจพบอาการบาดเจ็บหลายแห่ง กระดูกซี่โครงหัก 5 ซี่ แทงปอดฉีกขาด ต้องใส่สายระบายของเสีย กระดูกเบ้าตาขวาแตก ต้องแย็บแผลรอบดวงตา 3 เข็ม กระดูกสะบักขวาและกระดูกแขนขวาหักสะบั้น เส้นประสาทโดนทำลาย 3 เส้น จนไม่สามารถใช้แขนและมือหยิบจับสิ่งของได้ตามปกติ เขียนหนังสือหรือพิมพ์ดีดไม่ได้ เวลานอนต้องนอนหงายอย่างเดียว  เธอรู้สึกว่า ร่างกายเหมือนถูกบดแทบจะเป็นผุยผง นี้เป็นภาพชีวติหนึ่งของผู้โดยสาร 40 ชีวิต อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในดึกคืนนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บ 33 ราย และเสียชีวิตถึง 7 ราย   แนวทางแก้ไขปัญหา กรรณิการ์ ติดต่อร้องขอความช่วยเหลือมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอเรียกความเสียหายจากบริษัทรถและบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เมื่อเกิดขึ้นอุบัติเหตุ ใครหลายคนมักทำอะไรไม่ถูก มีคำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้ ผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แม้จะมีสิทธิบัตรทอง บัตรข้าราชการ หรือสิทธิอื่นใด อย่าเพิ่งไปใช้ให้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. รถฯ) ก่อนเป็นลำดับแรก ความคุ้มครองที่จะได้รับ คือ 1. ค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นจริงรายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท เงินส่วนนี้โรงพยาบาลที่ผู้ประสบภัยไปรับการรักษาจะเป็นผู้ทำเรื่องรับแทน 2. ค่าปลงศพ กรณีที่มีการเสียชีวิต ให้ทายาทโดยธรรม เช่น พ่อ-แม่ หรือคู่สมรส ติดต่อขอรับจากบริษัทประกันภัยซึ่งรถที่เกิดเหตุแต่ละคันทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.รถ) เช่นเดียวกัน จำนวนรายละ 2 แสนบาท (ทั้งนี้รวมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนเสียชีวิตด้วยหากมี) ค่าใช้จ่ายจำนวนนี้รวมไปถึงกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวรด้วย 3. เงินชดเชยรายวันกรณีต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ  200 บาท  รวมกันไม่เกิน 20 วัน (ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ตัวแทนบริษัทประกันมักไม่บอกให้ทราบ และโรงพยาบาลไม่ได้ยุ่งเกี่ยวด้วย ผู้ป่วยจึงควรเบิกเสียให้ครบ อย่างน้อยๆ ก็มีมูลค่าถึง 4,000 บาท ) ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. รถฯ) ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นตัวผู้โดยสารเองหรือทายาท สามารถติดต่อขอเบิกได้จากบริษัทประกันภัยซึ่งรถโดยสารที่เกิดเหตุแต่ละคันจะต้องทำประกันภัยนี้ไว้เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับ หากมีปัญหาสะดุดติดขัดประการใด ให้ติดต่อไปที่สายด่วนประกันภัย 1186 หรือติดต่อ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โทร 0-2100-9191 ทีนี้ ยังมีความเสียหายอื่นๆ อีก ที่ผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุควรได้รับการชดเชยจากบริษัทรถและบริษัทประกันภัย แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ดูแลเฉพาะค่ารักษาและค่าปลงศพซึ่งจำกัดวงเงินไว้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้จากกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคสมัครใจที่รถโดยสารคันนั้นมีอยู่ หากไม่มีกรมธรรม์ในส่วนนี้ก็ให้เรียกร้องโดยตรงกับบริษัทเจ้าของรถโดยสารและบริษัทขนส่งจำกัดได้   ความเสียหายที่สามารถเรียกได้จากประกันภัยรถภาคสมัครใจหรือจากบริษัทรถ กรณีบาดเจ็บ กรณีเสียชีวิต - ค่ารักษาพยาบาลที่เกินจาก พ.ร.บ.รถ- ค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานในอนาคต- ค่าเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงิน- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ระหว่างเจ็บป่วย - ค่าความเสียหายต่อทรัพย์สิน - ค่าขาดไร้อุปการะ - ค่าปลงศพ- ค่าใช้จ่ายอันจำเป็น- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย- ค่าขาดการงานในครัวเรือน ข้อควรระวัง ให้ระมัดระวังการลงลายมือชื่อรับค่าสินไหมทดแทนเบื้องต้นจากบริษัทรถยนต์หรือบริษัทประกันภัย หากมีเงื่อนไขในเอกสารการรับเงินหรือเอกสารข้อตกลงใด ๆ ว่า ให้ยินยอมรับเงินค่าเสียหายโดยไม่ติดใจเอาความกับบริษัทรถยนต์ เจ้าของบริษัทรถยนต์ บริษัทประกันภัย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ในกรณีที่การเจรจาค่าเสียหายยังไม่เป็นที่ยุติ แต่หากผู้เสียหายได้ลงลายมือชื่อยินยอมไปแล้ว จะทำให้ไม่สามารถนำเรื่องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับศาลได้ ในกรณีของคุณกรรณิการ์ มูลนิธิฯได้แนะนำให้รวบรวมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดและตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงิน คุณกรรณิการ์ได้สรุปรวมตัวเลขที่ต้องการเรียกร้องกับบริษัทประกันภัยเป็นจำนวนเงินรวม 5 แสนบาท และยื่นข้อเสนอไปที่บริษัทประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยเจรจาต่อรองลดเหลือ 450,000 บาท คุณกรรณิการ์ตกลง เรื่องจึงเป็นอันยุติในขั้นตอนการเจรจาไกล่เกลี่ย ไม่ต้องเสียเวลาเทียวไปเทียวมาที่สถานีตำรวจหรือไปฟ้องร้องต่อศาล         ฝรั่งออสเตรเลีย ฟ้อง ธ.กรุงไทย หลังโดนหักเงินในบัตรเดบิตไม่ทราบเหตุ   ฝรั่งออสเตรเลียฟ้องธนาคารกรุงไทย ฐานหักค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 1.25 แสน ศาลพิพากษาธนาคารผิดจริงให้จ่ายค่าเสียหายตามที่เรียกพร้อมค่าเสียหายเชิงลงโทษอีก 120,000 บาท เจฟฟรี ชายชราชาวออสเตรเลีย เข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลายอาศัยอยู่ในเมืองไทยที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณปี 2548 เขาเปิดบัญชีออมทรัพย์ กับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียง เพื่อฝากเงินที่ได้รับจากสวัสดิการผู้สูงอายุประเทศออสเตรเลีย และเปิดใช้บริการบัตรเดบิตผ่านบัญชีดังกล่าว ต่อมาราวปลายปี 2554 เจฟฟรี ใช้บัตรเดบิตเบิกเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม พบความผิดปกติว่าเงินในบัญชีลดลงอย่างมาก จึงติดต่อกับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียงเพื่อให้ตรวจสอบการหักเงินจากบัญชีเงินฝาก ผลการตรวจสอบของธนาคารพบว่า  มีรายการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ติดต่อกันในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2554 เป็นเงินประมาณ 120,000 กว่าบาท ซึ่งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการใช้จ่ายที่ต้องใช้บัตรเดบิตพร้อมกับการลงลายมือชื่อของเจ้าของบัตรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถชำระด้วยการโอนเงินโดยใช้บัตรเดบิตพร้อมกับรหัสประจำตัวได้ ปัญหาอยู่ตรงที่ รายการใช้จ่ายซื้อสินค้าดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เจฟฟรียังพำนักพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย และบัตรเดบิตก็อยู่กับตัวเขาตลอดเวลา เจฟฟรีจึงมีหนังสือถึงธนาคารปฏิเสธรายการใช้บัตรเดบิตและเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานทันทีที่ทราบเรื่อง ต่อมาธนาคารกรุงไทยได้แจ้งผลการตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต และปฏิเสธการคืนเงินให้กับเจฟฟรี อ้างว่าเป็นการใช้บัตรซื้อสินค้าและบริการตามปกติ ไม่ใช่การทำธุรกรรมของมิจฉาชีพ   แนวทางแก้ไขปัญหา หลังได้รับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ส่งอาสาสมัครขึ้นไปที่ จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเจฟฟรีและภรรยาชาวไทย และพยายามนัดเจรจากับ ธ.กรุงไทย แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าใดนัก ด้วยข้ออ้างว่าธนาคารมีประสบการณ์ในการแยกแยะการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตของคนธรรมดาทั่วไปกับมิจฉาชีพ หากเป็นการใช้จ่ายของมิจฉาชีพจริง เมื่อปลอมบัตรหรือได้รหัสผ่านแล้วจะรีบนำเงินออกจากบัญชีให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ใช้บัตรเดบิตเดินช้อปปิ้งซื้อของเล็กบ้างใหญ่บ้าง แถมยังใช้บัตรเดบิตจ่ายค่าแท๊กซี่ปรากฏอยู่ด้วย เป็นสภาพของการซื้อใช้สินค้าและบริการตามปกติของผู้คนทั่วไปที่ใช้บัตรเดบิตของตัวเอง จึงยืนกระต่ายขาเดียวปฏิเสธการคืนเงินให้แก่เจฟฟรี เมื่อหมดหนทางการพูดคุยในทางปกติ เราจึงถามใจเจฟฟรีว่าจะสู้กับธนาคารต่อหรือไม่ เจฟฟรีบอก ผมอยากได้รับความเป็นธรรม ผมไม่ได้เป็นคนซื้อสินค้าเหล่านี้ ธนาคารต้องคืนเงินให้กับผม วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 จึงเป็นวันที่เจฟฟรีเข้ายื่นฟ้องธนาคารกรุงไทย เป็นคดีผู้บริโภค กล่าวหาธนาคารกรุงไทยมีความผิดฐานผิดสัญญาการใช้บัตรเดบิต เรียกค่าเสียหาย 125,357 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในวันที่  7  พฤศจิกายน  2555   ศาลแขวงพระนครใต้ พิพากษาให้ ธนาคาร กรุงไทย จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับเจฟฟรี เป็นเงินตามจำนวนที่ฟ้อง พร้อมกับสั่งให้ธนาคารกรุงไทย จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เนื่องจากพบว่ามีการกระทำที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม เพิ่มอีก 120,599.35 บาท  รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 245,956.46 บาท เหตุที่ศาลชั้นต้นให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี เพราะว่าเมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงแล้วฟังได้ว่า กรณีนี้ธนาคารกรุงไทยยอมรับว่ามีผู้นำบัตรเดบิตที่ออกให้กับนายเจฟฟรี ไปใช้ในต่างประเทศจริงและทราบด้วยว่าใช้ที่ไหนบ้าง ซึ่งในการให้บริการดังกล่าวจะต้องมีเซลล์สลิปการใช้บริการหรือลายมือชื่อลูกค้าเป็นหลักฐาน แต่ธนาคารกลับไม่นำหลักฐานที่ว่ามาแสดงต่อศาล อีกทั้งพยานของธนาคารเองยังเบิกความย้ำว่า จากประสบการณ์ทำงานที่ยาวนานสันนิษฐานได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการถูกขโมยบัตรเดบิตไปใช้จริง ซึ่งหากมีกรณีบัตรถูกขโมยไปใช้นั้น ธนาคารจะไม่ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัญญาให้บริการ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้ออ้างของเจฟฟรีที่ยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรในช่วงขณะดังกล่าว ดังนั้นเมื่อธนาคารไม่มีหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ว่าผู้บริโภคเป็นผู้ใช้เองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นนำไปใช้ ธนาคารจึงไม่มีสิทธินำรายการดังกล่าวมาหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้า เมื่อธนาคารหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้าไปแล้ว ธนาคารจึงต้องคืนเงินที่หักไปจากบัญชีของลูกค้าทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยหักเงินไปจากบัญชี และการที่ธนาคารทราบอยู่แล้วว่า กรณีนี้เกิดจากการมีบุคคลอื่นขโมยบัตรเดบิตของลูกค้าไปใช้ เมื่อลูกค้าทวงถามแล้ว แต่ธนาคารกลับปฏิเสธไม่คืนเงินให้กับลูกค้า จึงถือว่าธนาคารมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินชดเชยความเสียหายทั้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและเงินในเชิงลงโทษให้กับเจฟฟรีตามจำนวนที่กล่าวมา และยังสั่งให้ธนาคารชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลรวมทั้งค่าทนายความจำนวน 5,000 บาทแทนนายเจฟฟรีอีกด้วย “ผมรู้สึกพอใจกับคำพิพากษาของศาลไทยเป็นอย่างมาก ผมดีใจที่ได้ความยุติธรรมกลับคืนมา เนื่องจากการจ่ายเงินคืนของธนาคารเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคมาก ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวมีความจำเป็น แม้จะไม่มากมายแต่ก็เป็นเงินเพื่อใช้ในการยังชีพของผมที่อายุมากและภรรยา  ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ต้องเจอแบบนี้เหมือนกัน อยากให้ธนาคารให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากกว่านี้” เจฟฟรี กล่าว นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า กรณีนี้เป็นคดีตัวอย่างสำหรับผู้บริโภค ที่ถูกธนาคารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบและจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะการกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษกับธนาคาร  ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการป้องปรามหรือยับยั้งไม่ให้ผู้ประกอบการทำเช่นนี้กับใครอีก โดยเฉพาะการที่จำเลยในคดีนี้เป็นรัฐวิสาหกิจควรต้องมีการประกอบการที่สุจริตเป็นที่น่าเชื่อถือต่อนานาชาติ “ในคดีนี้กระบวนพิจารณาของศาลก็รวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทำให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอนาน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย  ทั้งนี้ศูนย์ทนายความอาสาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะนำผลของคดีนี้ไปศึกษา เพื่อขยายผลและสร้างให้เป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไป ” นายเฉลิมพงษ์กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 สวัสดีปีใหม่ แก๊สหุงต้มจะปรับขึ้นราคา ?

เรื่องนี้ยังไม่มีใครร้องเรียน เพราะหลายคนยังไม่รู้ว่า แก๊สหุงต้มกำลังนับถอยหลังดีเดย์ปรับขึ้นราคา ในเดือนมกราคม ปี 2556 หน้าค่อนข้างแน่นอนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้สรุปแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) เสนอนายพงษ์ศักดิ์  รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน โดยอาศัยการคาดการณ์ราคา LPG ในตลาดโลกปี 2556-2557 เฉลี่ยอยู่ที่ 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาใช้อ้างอิง ซึ่งจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้ราคา LPG ขึ้นไปอยู่ที่ 36 บาท/กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 18 บาท/กก. สำหรับก๊าซที่ใช้ในครัวเรือนสนพ. ได้มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่า เมื่อราคาตลาดโลกสูงขึ้นอย่างนี้ราคาก๊าซที่ขายในประเทศก็ต้องสูงตามไปด้วย แต่เพื่อมิให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกตกใจ จึงเสนอให้ใช้วิธีขึ้นราคาแบบนวดคลึง คือค่อยๆปรับ ค่อยๆเจ็บ สู่ราคาเป้าหมายที่ 36 บ./กก. ภายใน 2 ปี จากเดือนมกราคม 2556-ธันวาคม 2557โดยภาคครัวเรือนจะทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. จากราคาปัจจุบันอยู่ที่ 18.13 บ./กก. ภาครถยนต์จะปรับขึ้นเดือนละ 1.20 บ./กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 21.38 บ./กก. และภาคอุตสาหกรรมทั่วไปจะปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 30.13 บ./กก.คาดว่ารัฐบาลจะลดแรงต้านด้วยการเสนอมาตรการบรรเทาความด้วยร้อนด้วยการแบ่งแยกกลุ่มประชาชน ผ่านกลไกบัตรเครดิตพลังงานที่จะให้ส่วนลดแก่ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 6 ล้านครัวเรือน และร้านค้า หาบเร่ แผงลอย อีกราว 2 แสนกว่าราย ซึ่งจะมีลักษณะให้ไปลงทะเบียนคล้ายกับบัตรเครดิตพลังงานที่ใช้กับกลุ่มรถแท๊กซี่และวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในช่วงที่ผ่านมา   ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ผลกระทบโดยตรง สำหรับบ้านที่ใช้แก๊สถังขนาด 15 กิโลกรัม ในเดือนที่ 1 หลังปรับขึ้นราคา 50 สต./กก.ราคาแก๊สจะขยับจากถังละ 290 บาท ขึ้นเป็น (0.50 x 15) + 290 = 297.50 บาท/ถังหลังปรับขึ้นราคาครบปีที่ 1ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (0.50 x 15 x 12) + 290 = 380 บาท/ถัง (สูงขึ้น 31%)หลังปรับราคาครบสองปีราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (0.50 x 15 x24) + 290 = 470 บาท/ถัง (สูงขึ้น 62%)หมายเหตุ : ราคายังไม่รวมค่าบริการส่งก๊าซถึงที่อยู่อาศัย   สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงราคาแก๊สปัจจุบันอยู่ที่21.38 บ./กก. หรือ 11.56 บ./ลิตร (LPG 1 กก. = 1.85 ลิตร)ในเดือนที่ 1 หลังปรับขึ้นราคา 1.20 บ./กก.ราคาแก๊สจะขยับจาก21.38 บ./กก. ขึ้นเป็น (21.38 + 1.20 ) = 22.58บ./กก. (12.20 บ./ลิตร)หลังปรับขึ้นราคาครบ 1 ปีราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (1.20 x 12) + 21.38 = 35.78 บ./กก. (19.34 บ./ลิตร) หรือ สูงขึ้น 67.35%หลังปรับขึ้นครบสองปีราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (1.20 x 24) + 21.38 = 50.18 บ./กก. (27.12 บ./ลิตร) หรือสูงขึ้น 134.7% ผลกระทบโดยอ้อม ประชาชนอาจจะใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือนและในรถยนต์น้อยลง แต่ในทางเดียวกันประชาชนก็ไม่มีทางเลือกการใช้พลังงานมากขึ้น ป่าไม้อาจถูกทำลายมากขึ้น จากการที่ประชาชนหันกลับมาใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ไม่มีหลักประกันใดว่า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์จะสามารถดูแลราคาสินค้าเครื่องใช้อุปโภค บริโภค ต่างๆ ให้มีความเป็นธรรมกับผู้บริโภคได้ เพราะจากอดีตที่ผ่านมาในการปรับขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ NGV แม้รัฐบาลจะมีมาตรการบัตรเครดิตพลังงานให้ส่วนลดค่าเชื้อเพลิง มาตรการเปิดร้านค้าธงฟ้าที่ต้องใช้งบประมาณมากมาย หรือมาตรการประกาศราคาแนะนำข้าวแกงขึ้นมา แต่ปรากฏว่าไม่สามารถทำให้ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นไปแล้วทยอยลดราคากลับคืนมาแต่อย่างใด แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาก๊าซ LPG ขาดแคลน โดยอ้างว่ามีการใช้ผิดประเภทในภาครถยนต์และในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป จนทำให้มีการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปจ่ายชดเชยราคาส่วนต่างของราคานำเข้า LPG ตลาดโลก นับแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันรวมเกือบ 1 แสนล้านบาทนั้น เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนแก่ประชาชน เนื่องจากในขณะที่ภาคครัวเรือนใช้ก๊าซ LPG ในราคาประมาณ 18 บ./กก. ส่วนผู้ใช้รายอื่นใช้ในราคาที่สูงกว่านี้อีก แต่ปรากฏว่าภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมของตนกลับใช้ LPG ในราคาเพียง 16 บ./กก. เท่านั้น และมีสัดส่วนการใช้มากถึง 33-34% ของกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมด (รถยนต์ใช้เพียง 14% )และยังเป็นการใช้ก๊าซโดยตรงจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาผลิต จึงมีราคาถูกที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน หรือก๊าซนำเข้าด้วยเรื่องนี้เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับประชาชนทั้ง 70 ล้านคน  จึงน่าจะมีกระบวนการประชาพิจารณ์ ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเปิดรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนทั่วไปเสียก่อน หากตรวจสอบแล้วว่า มีข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือมีการจัดการทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม จะได้มีมาตรการจัดการปัญหาที่เหมาะสมต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 การเรียกความเสียหายในอุบัติเหตุรถโดยสาร

ตีหนึ่งครึ่ง ของคืนวันที่ 11 ตุลาคม 2554รถทัวร์สองชั้นของบริษัท ทรัพย์ไพศาลทัวร์ รับผู้โดยสารรวม 40 ชีวิต จาก จ.พัทลุง มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ แล่นมาถึงเขต อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ผู้โดยสารที่ยังไม่หลับเห็นว่าข้างหน้าเป็นทางแยก อ.ท่าแซะ มีรถบรรทุก รถทัวร์หลายคันจอดติดไฟแดงอยู่ แต่แทนที่รถทัวร์ที่โดยสารมา ซึ่งกำลังแล่นเข้าโค้งลงเนินก่อนถึงทางแยกจะชะลอความเร็วของรถลง และดูเหมือนว่าคนขับพยายามเบรกรถแต่รถกลับไม่เบรกดังใจ จึงตัดสินใจหักพวงมาลัยหลบรถด้านหน้า ทำให้รถทัวร์ขนาดสองชั้นพุ่งขึ้นเกาะกลางถนนพลิกคว่ำในชั่วพริบตาผู้โดยสารที่อยู่ในรถ ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเด็ก ต่างร้องขอความช่วยเหลือระงม หลายรายได้รับบาดเจ็บ แขนขาหัก ศีรษะแตก เนื้อตัวมีบาดแผลถลอก เจ้าหน้าที่กู้ภัยได้เร่งเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารออกจากตัวรถที่ล้มคว่ำตะแคง บางรายยังติดอยู่ในตัวรถ เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องใช้เครื่องตัด ถ่าง ตัดตัวถังรถเพื่อช่วยชีวิตของผู้โดยสารอย่างทุลักทุเลกรรณิการ์ เป็นหนึ่งในผู้โดยสาร เธอได้รับบาดเจ็บเจียนตายหากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงที หลังเข้ารับการรักษาพยาบาล แพทย์ตรวจพบอาการบาดเจ็บหลายแห่ง กระดูกซี่โครงหัก 5 ซี่ แทงปอดฉีกขาด ต้องใส่สายระบายของเสีย กระดูกเบ้าตาขวาแตก ต้องแย็บแผลรอบดวงตา 3 เข็ม กระดูกสะบักขวาและกระดูกแขนขวาหักสะบั้น เส้นประสาทโดนทำลาย 3 เส้น จนไม่สามารถใช้แขนและมือหยิบจับสิ่งของได้ตามปกติ เขียนหนังสือหรือพิมพ์ดีดไม่ได้ เวลานอนต้องนอนหงายอย่างเดียว  เธอรู้สึกว่า ร่างกายเหมือนถูกบดแทบจะเป็นผุยผง นี้เป็นภาพชีวติหนึ่งของผู้โดยสาร 40 ชีวิต อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในดึกคืนนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บ 33 ราย และเสียชีวิตถึง 7 ราย แนวทางแก้ไขปัญหากรรณิการ์ ติดต่อร้องขอความช่วยเหลือมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอเรียกความเสียหายจากบริษัทรถและบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรเมื่อเกิดขึ้นอุบัติเหตุ ใครหลายคนมักทำอะไรไม่ถูก มีคำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้ผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แม้จะมีสิทธิบัตรทอง บัตรข้าราชการ หรือสิทธิอื่นใด อย่าเพิ่งไปใช้ให้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. รถฯ) ก่อนเป็นลำดับแรก ความคุ้มครองที่จะได้รับ คือ1. ค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นจริงรายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท เงินส่วนนี้โรงพยาบาลที่ผู้ประสบภัยไปรับการรักษาจะเป็นผู้ทำเรื่องรับแทน2. ค่าปลงศพ กรณีที่มีการเสียชีวิต ให้ทายาทโดยธรรม เช่น พ่อ-แม่ หรือคู่สมรส ติดต่อขอรับจากบริษัทประกันภัยซึ่งรถที่เกิดเหตุแต่ละคันทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.รถ) เช่นเดียวกัน จำนวนรายละ 2 แสนบาท (ทั้งนี้รวมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนเสียชีวิตด้วยหากมี) ค่าใช้จ่ายจำนวนนี้รวมไปถึงกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวรด้วย3. เงินชดเชยรายวันกรณีต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ  200 บาท  รวมกันไม่เกิน 20 วัน (ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ตัวแทนบริษัทประกันมักไม่บอกให้ทราบ และโรงพยาบาลไม่ได้ยุ่งเกี่ยวด้วย ผู้ป่วยจึงควรเบิกเสียให้ครบ อย่างน้อยๆ ก็มีมูลค่าถึง 4,000 บาท )ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. รถฯ) ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นตัวผู้โดยสารเองหรือทายาท สามารถติดต่อขอเบิกได้จากบริษัทประกันภัยซึ่งรถโดยสารที่เกิดเหตุแต่ละคันจะต้องทำประกันภัยนี้ไว้เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับ หากมีปัญหาสะดุดติดขัดประการใด ให้ติดต่อไปที่สายด่วนประกันภัย 1186 หรือติดต่อ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โทร 0-2100-9191ทีนี้ ยังมีความเสียหายอื่นๆ อีก ที่ผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุควรได้รับการชดเชยจากบริษัทรถและบริษัทประกันภัย แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ดูแลเฉพาะค่ารักษาและค่าปลงศพซึ่งจำกัดวงเงินไว้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้จากกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคสมัครใจที่รถโดยสารคันนั้นมีอยู่ หากไม่มีกรมธรรม์ในส่วนนี้ก็ให้เรียกร้องโดยตรงกับบริษัทเจ้าของรถโดยสารและบริษัทขนส่งจำกัดได้ ความเสียหายที่สามารถเรียกได้จากประกันภัยรถภาคสมัครใจหรือจากบริษัทรถ กรณีบาดเจ็บ กรณีเสียชีวิต - ค่ารักษาพยาบาลที่เกินจาก พ.ร.บ.รถ- ค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานในอนาคต- ค่าเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงิน- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ระหว่างเจ็บป่วย - ค่าความเสียหายต่อทรัพย์สิน - ค่าขาดไร้อุปการะ - ค่าปลงศพ- ค่าใช้จ่ายอันจำเป็น- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย- ค่าขาดการงานในครัวเรือน ข้อควรระวัง ให้ระมัดระวังการลงลายมือชื่อรับค่าสินไหมทดแทนเบื้องต้นจากบริษัทรถยนต์หรือบริษัทประกันภัย หากมีเงื่อนไขในเอกสารการรับเงินหรือเอกสารข้อตกลงใด ๆ ว่า ให้ยินยอมรับเงินค่าเสียหายโดยไม่ติดใจเอาความกับบริษัทรถยนต์ เจ้าของบริษัทรถยนต์ บริษัทประกันภัย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ในกรณีที่การเจรจาค่าเสียหายยังไม่เป็นที่ยุติ แต่หากผู้เสียหายได้ลงลายมือชื่อยินยอมไปแล้ว จะทำให้ไม่สามารถนำเรื่องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับศาลได้ ในกรณีของคุณกรรณิการ์ มูลนิธิฯได้แนะนำให้รวบรวมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดและตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงิน คุณกรรณิการ์ได้สรุปรวมตัวเลขที่ต้องการเรียกร้องกับบริษัทประกันภัยเป็นจำนวนเงินรวม 5 แสนบาท และยื่นข้อเสนอไปที่บริษัทประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยเจรจาต่อรองลดเหลือ 450,000 บาท คุณกรรณิการ์ตกลง เรื่องจึงเป็นอันยุติในขั้นตอนการเจรจาไกล่เกลี่ย ไม่ต้องเสียเวลาเทียวไปเทียวมาที่สถานีตำรวจหรือไปฟ้องร้องต่อศาล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 ฝรั่งออสเตรเลีย ฟ้อง ธ.กรุงไทย หลังโดนหักเงินในบัตรเดบิตไม่ทราบเหตุ

ฝรั่งออสเตรเลียฟ้องธนาคารกรุงไทย ฐานหักค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 1.25 แสน ศาลพิพากษาธนาคารผิดจริงให้จ่ายค่าเสียหายตามที่เรียกพร้อมค่าเสียหายเชิงลงโทษอีก 120,000 บาทเจฟฟรี ชายชราชาวออสเตรเลีย เข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลายอาศัยอยู่ในเมืองไทยที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณปี 2548 เขาเปิดบัญชีออมทรัพย์ กับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียง เพื่อฝากเงินที่ได้รับจากสวัสดิการผู้สูงอายุประเทศออสเตรเลีย และเปิดใช้บริการบัตรเดบิตผ่านบัญชีดังกล่าวต่อมาราวปลายปี 2554 เจฟฟรี ใช้บัตรเดบิตเบิกเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม พบความผิดปกติว่าเงินในบัญชีลดลงอย่างมาก จึงติดต่อกับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียงเพื่อให้ตรวจสอบการหักเงินจากบัญชีเงินฝาก ผลการตรวจสอบของธนาคารพบว่า  มีรายการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ติดต่อกันในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2554 เป็นเงินประมาณ 120,000 กว่าบาท ซึ่งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการใช้จ่ายที่ต้องใช้บัตรเดบิตพร้อมกับการลงลายมือชื่อของเจ้าของบัตรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถชำระด้วยการโอนเงินโดยใช้บัตรเดบิตพร้อมกับรหัสประจำตัวได้ปัญหาอยู่ตรงที่ รายการใช้จ่ายซื้อสินค้าดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เจฟฟรียังพำนักพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย และบัตรเดบิตก็อยู่กับตัวเขาตลอดเวลา เจฟฟรีจึงมีหนังสือถึงธนาคารปฏิเสธรายการใช้บัตรเดบิตและเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานทันทีที่ทราบเรื่อง ต่อมาธนาคารกรุงไทยได้แจ้งผลการตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต และปฏิเสธการคืนเงินให้กับเจฟฟรี อ้างว่าเป็นการใช้บัตรซื้อสินค้าและบริการตามปกติ ไม่ใช่การทำธุรกรรมของมิจฉาชีพ   แนวทางแก้ไขปัญหาหลังได้รับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ส่งอาสาสมัครขึ้นไปที่ จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเจฟฟรีและภรรยาชาวไทย และพยายามนัดเจรจากับ ธ.กรุงไทย แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าใดนัก ด้วยข้ออ้างว่าธนาคารมีประสบการณ์ในการแยกแยะการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตของคนธรรมดาทั่วไปกับมิจฉาชีพ หากเป็นการใช้จ่ายของมิจฉาชีพจริง เมื่อปลอมบัตรหรือได้รหัสผ่านแล้วจะรีบนำเงินออกจากบัญชีให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ใช้บัตรเดบิตเดินช้อปปิ้งซื้อของเล็กบ้างใหญ่บ้าง แถมยังใช้บัตรเดบิตจ่ายค่าแท๊กซี่ปรากฏอยู่ด้วย เป็นสภาพของการซื้อใช้สินค้าและบริการตามปกติของผู้คนทั่วไปที่ใช้บัตรเดบิตของตัวเอง จึงยืนกระต่ายขาเดียวปฏิเสธการคืนเงินให้แก่เจฟฟรีเมื่อหมดหนทางการพูดคุยในทางปกติ เราจึงถามใจเจฟฟรีว่าจะสู้กับธนาคารต่อหรือไม่ เจฟฟรีบอก ผมอยากได้รับความเป็นธรรม ผมไม่ได้เป็นคนซื้อสินค้าเหล่านี้ ธนาคารต้องคืนเงินให้กับผมวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 จึงเป็นวันที่เจฟฟรีเข้ายื่นฟ้องธนาคารกรุงไทย เป็นคดีผู้บริโภค กล่าวหาธนาคารกรุงไทยมีความผิดฐานผิดสัญญาการใช้บัตรเดบิต เรียกค่าเสียหาย 125,357 บาท พร้อมดอกเบี้ยในวันที่  7  พฤศจิกายน  2555   ศาลแขวงพระนครใต้ พิพากษาให้ ธนาคาร กรุงไทย จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับเจฟฟรี เป็นเงินตามจำนวนที่ฟ้อง พร้อมกับสั่งให้ธนาคารกรุงไทย จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เนื่องจากพบว่ามีการกระทำที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม เพิ่มอีก 120,599.35 บาท  รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 245,956.46 บาทเหตุที่ศาลชั้นต้นให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี เพราะว่าเมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงแล้วฟังได้ว่า กรณีนี้ธนาคารกรุงไทยยอมรับว่ามีผู้นำบัตรเดบิตที่ออกให้กับนายเจฟฟรี ไปใช้ในต่างประเทศจริงและทราบด้วยว่าใช้ที่ไหนบ้าง ซึ่งในการให้บริการดังกล่าวจะต้องมีเซลล์สลิปการใช้บริการหรือลายมือชื่อลูกค้าเป็นหลักฐาน แต่ธนาคารกลับไม่นำหลักฐานที่ว่ามาแสดงต่อศาล อีกทั้งพยานของธนาคารเองยังเบิกความย้ำว่า จากประสบการณ์ทำงานที่ยาวนานสันนิษฐานได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการถูกขโมยบัตรเดบิตไปใช้จริง ซึ่งหากมีกรณีบัตรถูกขโมยไปใช้นั้น ธนาคารจะไม่ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัญญาให้บริการ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้ออ้างของเจฟฟรีที่ยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรในช่วงขณะดังกล่าวดังนั้นเมื่อธนาคารไม่มีหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ว่าผู้บริโภคเป็นผู้ใช้เองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นนำไปใช้ ธนาคารจึงไม่มีสิทธินำรายการดังกล่าวมาหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้า เมื่อธนาคารหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้าไปแล้ว ธนาคารจึงต้องคืนเงินที่หักไปจากบัญชีของลูกค้าทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยหักเงินไปจากบัญชี และการที่ธนาคารทราบอยู่แล้วว่า กรณีนี้เกิดจากการมีบุคคลอื่นขโมยบัตรเดบิตของลูกค้าไปใช้ เมื่อลูกค้าทวงถามแล้ว แต่ธนาคารกลับปฏิเสธไม่คืนเงินให้กับลูกค้า จึงถือว่าธนาคารมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินชดเชยความเสียหายทั้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและเงินในเชิงลงโทษให้กับเจฟฟรีตามจำนวนที่กล่าวมา และยังสั่งให้ธนาคารชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลรวมทั้งค่าทนายความจำนวน 5,000 บาทแทนนายเจฟฟรีอีกด้วย“ผมรู้สึกพอใจกับคำพิพากษาของศาลไทยเป็นอย่างมาก ผมดีใจที่ได้ความยุติธรรมกลับคืนมา เนื่องจากการจ่ายเงินคืนของธนาคารเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคมาก ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวมีความจำเป็น แม้จะไม่มากมายแต่ก็เป็นเงินเพื่อใช้ในการยังชีพของผมที่อายุมากและภรรยา  ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ต้องเจอแบบนี้เหมือนกัน อยากให้ธนาคารให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากกว่านี้” เจฟฟรี กล่าวนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า กรณีนี้เป็นคดีตัวอย่างสำหรับผู้บริโภค ที่ถูกธนาคารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบและจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะการกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษกับธนาคาร  ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการป้องปรามหรือยับยั้งไม่ให้ผู้ประกอบการทำเช่นนี้กับใครอีก โดยเฉพาะการที่จำเลยในคดีนี้เป็นรัฐวิสาหกิจควรต้องมีการประกอบการที่สุจริตเป็นที่น่าเชื่อถือต่อนานาชาติ“ในคดีนี้กระบวนพิจารณาของศาลก็รวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทำให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอนาน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย  ทั้งนี้ศูนย์ทนายความอาสาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะนำผลของคดีนี้ไปศึกษา เพื่อขยายผลและสร้างให้เป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไป ” นายเฉลิมพงษ์กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 142 เสียงผู้บริโภค (2)

สวัสดีปีใหม่ แก๊สหุงต้มจะปรับขึ้นราคา ? เรื่องนี้ยังไม่มีใครร้องเรียน เพราะหลายคนยังไม่รู้ว่า แก๊สหุงต้มกำลังนับถอยหลังดีเดย์ปรับขึ้นราคา ในเดือนมกราคม ปี 2556 หน้าค่อนข้างแน่นอน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้สรุปแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) เสนอนายพงษ์ศักดิ์  รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน โดยอาศัยการคาดการณ์ราคา LPG ในตลาดโลกปี 2556-2557 เฉลี่ยอยู่ที่ 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาใช้อ้างอิง ซึ่งจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้ราคา LPG ขึ้นไปอยู่ที่ 36 บาท/กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 18 บาท/กก. สำหรับก๊าซที่ใช้ในครัวเรือน สนพ. ได้มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่า เมื่อราคาตลาดโลกสูงขึ้นอย่างนี้ราคาก๊าซที่ขายในประเทศก็ต้องสูงตามไปด้วย แต่เพื่อมิให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกตกใจ จึงเสนอให้ใช้วิธีขึ้นราคาแบบนวดคลึง คือค่อยๆปรับ ค่อยๆเจ็บ สู่ราคาเป้าหมายที่ 36 บ./กก. ภายใน 2 ปี จากเดือนมกราคม 2556-ธันวาคม 2557โดยภาคครัวเรือนจะทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. จากราคาปัจจุบันอยู่ที่ 18.13 บ./กก. ภาครถยนต์จะปรับขึ้นเดือนละ 1.20 บ./กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 21.38 บ./กก. และภาคอุตสาหกรรมทั่วไปจะปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 30.13 บ./กก.   คาดว่ารัฐบาลจะลดแรงต้านด้วยการเสนอมาตรการบรรเทาความด้วยร้อนด้วยการแบ่งแยกกลุ่มประชาชน ผ่านกลไกบัตรเครดิตพลังงานที่จะให้ส่วนลดแก่ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 6 ล้านครัวเรือน และร้านค้า หาบเร่ แผงลอย อีกราว 2 แสนกว่าราย ซึ่งจะมีลักษณะให้ไปลงทะเบียนคล้ายกับบัตรเครดิตพลังงานที่ใช้กับกลุ่มรถแท๊กซี่และวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในช่วงที่ผ่านมา   ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ผลกระทบโดยตรง สำหรับบ้านที่ใช้แก๊สถังขนาด 15 กิโลกรัม ในเดือนที่ 1 หลังปรับขึ้นราคา 50 สต./กก. ราคาแก๊สจะขยับจากถังละ 290 บาท ขึ้นเป็น (0.50 x 15) + 290 = 297.50 บาท/ถัง หลังปรับขึ้นราคาครบปีที่ 1 ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (0.50 x 15 x 12) + 290 = 380 บาท/ถัง (สูงขึ้น 31%) หลังปรับราคาครบสองปี ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (0.50 x 15 x24) + 290 = 470 บาท/ถัง (สูงขึ้น 62%) หมายเหตุ : ราคายังไม่รวมค่าบริการส่งก๊าซถึงที่อยู่อาศัย   สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง ราคาแก๊สปัจจุบันอยู่ที่21.38 บ./กก. หรือ 11.56 บ./ลิตร (LPG 1 กก. = 1.85 ลิตร) ในเดือนที่ 1 หลังปรับขึ้นราคา 1.20 บ./กก. ราคาแก๊สจะขยับจาก21.38 บ./กก. ขึ้นเป็น (21.38 + 1.20 ) = 22.58บ./กก. (12.20 บ./ลิตร) หลังปรับขึ้นราคาครบ 1 ปี ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (1.20 x 12) + 21.38 = 35.78 บ./กก. (19.34 บ./ลิตร) หรือ สูงขึ้น 67.35% หลังปรับขึ้นครบสองปี ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (1.20 x 24) + 21.38 = 50.18 บ./กก. (27.12 บ./ลิตร) หรือสูงขึ้น 134.7%   ผลกระทบโดยอ้อม ประชาชนอาจจะใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือนและในรถยนต์น้อยลง แต่ในทางเดียวกันประชาชนก็ไม่มีทางเลือกการใช้พลังงานมากขึ้น ป่าไม้อาจถูกทำลายมากขึ้น จากการที่ประชาชนหันกลับมาใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ไม่มีหลักประกันใดว่า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์จะสามารถดูแลราคาสินค้าเครื่องใช้อุปโภค บริโภค ต่างๆ ให้มีความเป็นธรรมกับผู้บริโภคได้ เพราะจากอดีตที่ผ่านมาในการปรับขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ NGV แม้รัฐบาลจะมีมาตรการบัตรเครดิตพลังงานให้ส่วนลดค่าเชื้อเพลิง มาตรการเปิดร้านค้าธงฟ้าที่ต้องใช้งบประมาณมากมาย หรือมาตรการประกาศราคาแนะนำข้าวแกงขึ้นมา แต่ปรากฏว่าไม่สามารถทำให้ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นไปแล้วทยอยลดราคากลับคืนมาแต่อย่างใด   แนวทางแก้ไขปัญหา ปัญหาก๊าซ LPG ขาดแคลน โดยอ้างว่ามีการใช้ผิดประเภทในภาครถยนต์และในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป จนทำให้มีการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปจ่ายชดเชยราคาส่วนต่างของราคานำเข้า LPG ตลาดโลก นับแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันรวมเกือบ 1 แสนล้านบาทนั้น เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนแก่ประชาชน เนื่องจากในขณะที่ภาคครัวเรือนใช้ก๊าซ LPG ในราคาประมาณ 18 บ./กก. ส่วนผู้ใช้รายอื่นใช้ในราคาที่สูงกว่านี้อีก แต่ปรากฏว่าภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมของตนกลับใช้ LPG ในราคาเพียง 16 บ./กก. เท่านั้น และมีสัดส่วนการใช้มากถึง 33-34% ของกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมด (รถยนต์ใช้เพียง 14% )และยังเป็นการใช้ก๊าซโดยตรงจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาผลิต จึงมีราคาถูกที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน หรือก๊าซนำเข้า ด้วยเรื่องนี้เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับประชาชนทั้ง 70 ล้านคน  จึงน่าจะมีกระบวนการประชาพิจารณ์ ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเปิดรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนทั่วไปเสียก่อน หากตรวจสอบแล้วว่า มีข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือมีการจัดการทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม จะได้มีมาตรการจัดการปัญหาที่เหมาะสมต่อไป     การเรียกความเสียหายในอุบัติเหตุรถโดยสาร ตีหนึ่งครึ่ง ของคืนวันที่ 11 ตุลาคม 2554 รถทัวร์สองชั้นของบริษัท ทรัพย์ไพศาลทัวร์ รับผู้โดยสารรวม 40 ชีวิต จาก จ.พัทลุง มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ แล่นมาถึงเขต อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ผู้โดยสารที่ยังไม่หลับเห็นว่าข้างหน้าเป็นทางแยก อ.ท่าแซะ มีรถบรรทุก รถทัวร์หลายคันจอดติดไฟแดงอยู่ แต่แทนที่รถทัวร์ที่โดยสารมา ซึ่งกำลังแล่นเข้าโค้งลงเนินก่อนถึงทางแยกจะชะลอความเร็วของรถลง และดูเหมือนว่าคนขับพยายามเบรกรถแต่รถกลับไม่เบรกดังใจ จึงตัดสินใจหักพวงมาลัยหลบรถด้านหน้า ทำให้รถทัวร์ขนาดสองชั้นพุ่งขึ้นเกาะกลางถนนพลิกคว่ำในชั่วพริบตา ผู้โดยสารที่อยู่ในรถ ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเด็ก ต่างร้องขอความช่วยเหลือระงม หลายรายได้รับบาดเจ็บ แขนขาหัก ศีรษะแตก เนื้อตัวมีบาดแผลถลอก เจ้าหน้าที่กู้ภัยได้เร่งเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารออกจากตัวรถที่ล้มคว่ำตะแคง บางรายยังติดอยู่ในตัวรถ เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องใช้เครื่องตัด ถ่าง ตัดตัวถังรถเพื่อช่วยชีวิตของผู้โดยสารอย่างทุลักทุเล กรรณิการ์ เป็นหนึ่งในผู้โดยสาร เธอได้รับบาดเจ็บเจียนตายหากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงที หลังเข้ารับการรักษาพยาบาล แพทย์ตรวจพบอาการบาดเจ็บหลายแห่ง กระดูกซี่โครงหัก 5 ซี่ แทงปอดฉีกขาด ต้องใส่สายระบายของเสีย กระดูกเบ้าตาขวาแตก ต้องแย็บแผลรอบดวงตา 3 เข็ม กระดูกสะบักขวาและกระดูกแขนขวาหักสะบั้น เส้นประสาทโดนทำลาย 3 เส้น จนไม่สามารถใช้แขนและมือหยิบจับสิ่งของได้ตามปกติ เขียนหนังสือหรือพิมพ์ดีดไม่ได้ เวลานอนต้องนอนหงายอย่างเดียว  เธอรู้สึกว่า ร่างกายเหมือนถูกบดแทบจะเป็นผุยผง นี้เป็นภาพชีวติหนึ่งของผู้โดยสาร 40 ชีวิต อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในดึกคืนนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บ 33 ราย และเสียชีวิตถึง 7 ราย   แนวทางแก้ไขปัญหา กรรณิการ์ ติดต่อร้องขอความช่วยเหลือมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอเรียกความเสียหายจากบริษัทรถและบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เมื่อเกิดขึ้นอุบัติเหตุ ใครหลายคนมักทำอะไรไม่ถูก มีคำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้ ผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แม้จะมีสิทธิบัตรทอง บัตรข้าราชการ หรือสิทธิอื่นใด อย่าเพิ่งไปใช้ให้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. รถฯ) ก่อนเป็นลำดับแรก ความคุ้มครองที่จะได้รับ คือ 1. ค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นจริงรายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท เงินส่วนนี้โรงพยาบาลที่ผู้ประสบภัยไปรับการรักษาจะเป็นผู้ทำเรื่องรับแทน 2. ค่าปลงศพ กรณีที่มีการเสียชีวิต ให้ทายาทโดยธรรม เช่น พ่อ-แม่ หรือคู่สมรส ติดต่อขอรับจากบริษัทประกันภัยซึ่งรถที่เกิดเหตุแต่ละคันทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.รถ) เช่นเดียวกัน จำนวนรายละ 2 แสนบาท (ทั้งนี้รวมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนเสียชีวิตด้วยหากมี) ค่าใช้จ่ายจำนวนนี้รวมไปถึงกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวรด้วย 3. เงินชดเชยรายวันกรณีต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล วันละ  200 บาท  รวมกันไม่เกิน 20 วัน (ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ตัวแทนบริษัทประกันมักไม่บอกให้ทราบ และโรงพยาบาลไม่ได้ยุ่งเกี่ยวด้วย ผู้ป่วยจึงควรเบิกเสียให้ครบ อย่างน้อยๆ ก็มีมูลค่าถึง 4,000 บาท ) ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. รถฯ) ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นตัวผู้โดยสารเองหรือทายาท สามารถติดต่อขอเบิกได้จากบริษัทประกันภัยซึ่งรถโดยสารที่เกิดเหตุแต่ละคันจะต้องทำประกันภัยนี้ไว้เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับ หากมีปัญหาสะดุดติดขัดประการใด ให้ติดต่อไปที่สายด่วนประกันภัย 1186 หรือติดต่อ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โทร 0-2100-9191 ทีนี้ ยังมีความเสียหายอื่นๆ อีก ที่ผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุควรได้รับการชดเชยจากบริษัทรถและบริษัทประกันภัย แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ดูแลเฉพาะค่ารักษาและค่าปลงศพซึ่งจำกัดวงเงินไว้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้จากกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคสมัครใจที่รถโดยสารคันนั้นมีอยู่ หากไม่มีกรมธรรม์ในส่วนนี้ก็ให้เรียกร้องโดยตรงกับบริษัทเจ้าของรถโดยสารและบริษัทขนส่งจำกัดได้   ความเสียหายที่สามารถเรียกได้จากประกันภัยรถภาคสมัครใจหรือจากบริษัทรถ กรณีบาดเจ็บ กรณีเสียชีวิต - ค่ารักษาพยาบาลที่เกินจาก พ.ร.บ.รถ- ค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานในอนาคต- ค่าเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงิน- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ระหว่างเจ็บป่วย - ค่าความเสียหายต่อทรัพย์สิน - ค่าขาดไร้อุปการะ - ค่าปลงศพ- ค่าใช้จ่ายอันจำเป็น- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย- ค่าขาดการงานในครัวเรือน ข้อควรระวัง ให้ระมัดระวังการลงลายมือชื่อรับค่าสินไหมทดแทนเบื้องต้นจากบริษัทรถยนต์หรือบริษัทประกันภัย หากมีเงื่อนไขในเอกสารการรับเงินหรือเอกสารข้อตกลงใด ๆ ว่า ให้ยินยอมรับเงินค่าเสียหายโดยไม่ติดใจเอาความกับบริษัทรถยนต์ เจ้าของบริษัทรถยนต์ บริษัทประกันภัย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ในกรณีที่การเจรจาค่าเสียหายยังไม่เป็นที่ยุติ แต่หากผู้เสียหายได้ลงลายมือชื่อยินยอมไปแล้ว จะทำให้ไม่สามารถนำเรื่องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับศาลได้ ในกรณีของคุณกรรณิการ์ มูลนิธิฯได้แนะนำให้รวบรวมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดและตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงิน คุณกรรณิการ์ได้สรุปรวมตัวเลขที่ต้องการเรียกร้องกับบริษัทประกันภัยเป็นจำนวนเงินรวม 5 แสนบาท และยื่นข้อเสนอไปที่บริษัทประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยเจรจาต่อรองลดเหลือ 450,000 บาท คุณกรรณิการ์ตกลง เรื่องจึงเป็นอันยุติในขั้นตอนการเจรจาไกล่เกลี่ย ไม่ต้องเสียเวลาเทียวไปเทียวมาที่สถานีตำรวจหรือไปฟ้องร้องต่อศาล         ฝรั่งออสเตรเลีย ฟ้อง ธ.กรุงไทย หลังโดนหักเงินในบัตรเดบิตไม่ทราบเหตุ   ฝรั่งออสเตรเลียฟ้องธนาคารกรุงไทย ฐานหักค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 1.25 แสน ศาลพิพากษาธนาคารผิดจริงให้จ่ายค่าเสียหายตามที่เรียกพร้อมค่าเสียหายเชิงลงโทษอีก 120,000 บาท เจฟฟรี ชายชราชาวออสเตรเลีย เข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลายอาศัยอยู่ในเมืองไทยที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณปี 2548 เขาเปิดบัญชีออมทรัพย์ กับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียง เพื่อฝากเงินที่ได้รับจากสวัสดิการผู้สูงอายุประเทศออสเตรเลีย และเปิดใช้บริการบัตรเดบิตผ่านบัญชีดังกล่าว ต่อมาราวปลายปี 2554 เจฟฟรี ใช้บัตรเดบิตเบิกเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม พบความผิดปกติว่าเงินในบัญชีลดลงอย่างมาก จึงติดต่อกับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียงเพื่อให้ตรวจสอบการหักเงินจากบัญชีเงินฝาก ผลการตรวจสอบของธนาคารพบว่า  มีรายการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ติดต่อกันในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2554 เป็นเงินประมาณ 120,000 กว่าบาท ซึ่งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการใช้จ่ายที่ต้องใช้บัตรเดบิตพร้อมกับการลงลายมือชื่อของเจ้าของบัตรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถชำระด้วยการโอนเงินโดยใช้บัตรเดบิตพร้อมกับรหัสประจำตัวได้ ปัญหาอยู่ตรงที่ รายการใช้จ่ายซื้อสินค้าดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เจฟฟรียังพำนักพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย และบัตรเดบิตก็อยู่กับตัวเขาตลอดเวลา เจฟฟรีจึงมีหนังสือถึงธนาคารปฏิเสธรายการใช้บัตรเดบิตและเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานทันทีที่ทราบเรื่อง ต่อมาธนาคารกรุงไทยได้แจ้งผลการตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต และปฏิเสธการคืนเงินให้กับเจฟฟรี อ้างว่าเป็นการใช้บัตรซื้อสินค้าและบริการตามปกติ ไม่ใช่การทำธุรกรรมของมิจฉาชีพ   แนวทางแก้ไขปัญหา หลังได้รับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ส่งอาสาสมัครขึ้นไปที่ จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเจฟฟรีและภรรยาชาวไทย และพยายามนัดเจรจากับ ธ.กรุงไทย แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าใดนัก ด้วยข้ออ้างว่าธนาคารมีประสบการณ์ในการแยกแยะการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตของคนธรรมดาทั่วไปกับมิจฉาชีพ หากเป็นการใช้จ่ายของมิจฉาชีพจริง เมื่อปลอมบัตรหรือได้รหัสผ่านแล้วจะรีบนำเงินออกจากบัญชีให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ใช้บัตรเดบิตเดินช้อปปิ้งซื้อของเล็กบ้างใหญ่บ้าง แถมยังใช้บัตรเดบิตจ่ายค่าแท๊กซี่ปรากฏอยู่ด้วย เป็นสภาพของการซื้อใช้สินค้าและบริการตามปกติของผู้คนทั่วไปที่ใช้บัตรเดบิตของตัวเอง จึงยืนกระต่ายขาเดียวปฏิเสธการคืนเงินให้แก่เจฟฟรี เมื่อหมดหนทางการพูดคุยในทางปกติ เราจึงถามใจเจฟฟรีว่าจะสู้กับธนาคารต่อหรือไม่ เจฟฟรีบอก ผมอยากได้รับความเป็นธรรม ผมไม่ได้เป็นคนซื้อสินค้าเหล่านี้ ธนาคารต้องคืนเงินให้กับผม วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 จึงเป็นวันที่เจฟฟรีเข้ายื่นฟ้องธนาคารกรุงไทย เป็นคดีผู้บริโภค กล่าวหาธนาคารกรุงไทยมีความผิดฐานผิดสัญญาการใช้บัตรเดบิต เรียกค่าเสียหาย 125,357 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในวันที่  7  พฤศจิกายน  2555   ศาลแขวงพระนครใต้ พิพากษาให้ ธนาคาร กรุงไทย จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับเจฟฟรี เป็นเงินตามจำนวนที่ฟ้อง พร้อมกับสั่งให้ธนาคารกรุงไทย จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เนื่องจากพบว่ามีการกระทำที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม เพิ่มอีก 120,599.35 บาท  รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 245,956.46 บาท เหตุที่ศาลชั้นต้นให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี เพราะว่าเมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงแล้วฟังได้ว่า กรณีนี้ธนาคารกรุงไทยยอมรับว่ามีผู้นำบัตรเดบิตที่ออกให้กับนายเจฟฟรี ไปใช้ในต่างประเทศจริงและทราบด้วยว่าใช้ที่ไหนบ้าง ซึ่งในการให้บริการดังกล่าวจะต้องมีเซลล์สลิปการใช้บริการหรือลายมือชื่อลูกค้าเป็นหลักฐาน แต่ธนาคารกลับไม่นำหลักฐานที่ว่ามาแสดงต่อศาล อีกทั้งพยานของธนาคารเองยังเบิกความย้ำว่า จากประสบการณ์ทำงานที่ยาวนานสันนิษฐานได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการถูกขโมยบัตรเดบิตไปใช้จริง ซึ่งหากมีกรณีบัตรถูกขโมยไปใช้นั้น ธนาคารจะไม่ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัญญาให้บริการ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้ออ้างของเจฟฟรีที่ยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรในช่วงขณะดังกล่าว ดังนั้นเมื่อธนาคารไม่มีหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ว่าผู้บริโภคเป็นผู้ใช้เองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นนำไปใช้ ธนาคารจึงไม่มีสิทธินำรายการดังกล่าวมาหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้า เมื่อธนาคารหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้าไปแล้ว ธนาคารจึงต้องคืนเงินที่หักไปจากบัญชีของลูกค้าทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยหักเงินไปจากบัญชี และการที่ธนาคารทราบอยู่แล้วว่า กรณีนี้เกิดจากการมีบุคคลอื่นขโมยบัตรเดบิตของลูกค้าไปใช้ เมื่อลูกค้าทวงถามแล้ว แต่ธนาคารกลับปฏิเสธไม่คืนเงินให้กับลูกค้า จึงถือว่าธนาคารมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินชดเชยความเสียหายทั้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและเงินในเชิงลงโทษให้กับเจฟฟรีตามจำนวนที่กล่าวมา และยังสั่งให้ธนาคารชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลรวมทั้งค่าทนายความจำนวน 5,000 บาทแทนนายเจฟฟรีอีกด้วย “ผมรู้สึกพอใจกับคำพิพากษาของศาลไทยเป็นอย่างมาก ผมดีใจที่ได้ความยุติธรรมกลับคืนมา เนื่องจากการจ่ายเงินคืนของธนาคารเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคมาก ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวมีความจำเป็น แม้จะไม่มากมายแต่ก็เป็นเงินเพื่อใช้ในการยังชีพของผมที่อายุมากและภรรยา  ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ต้องเจอแบบนี้เหมือนกัน อยากให้ธนาคารให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากกว่านี้” เจฟฟรี กล่าว นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า กรณีนี้เป็นคดีตัวอย่างสำหรับผู้บริโภค ที่ถูกธนาคารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบและจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะการกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษกับธนาคาร  ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการป้องปรามหรือยับยั้งไม่ให้ผู้ประกอบการทำเช่นนี้กับใครอีก โดยเฉพาะการที่จำเลยในคดีนี้เป็นรัฐวิสาหกิจควรต้องมีการประกอบการที่สุจริตเป็นที่น่าเชื่อถือต่อนานาชาติ “ในคดีนี้กระบวนพิจารณาของศาลก็รวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทำให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอนาน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย  ทั้งนี้ศูนย์ทนายความอาสาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะนำผลของคดีนี้ไปศึกษา เพื่อขยายผลและสร้างให้เป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไป ” นายเฉลิมพงษ์กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 คลอดบุตรตายในโรงพยาบาลของรัฐ ใครรับผิดชอบ? ตอนที่ 1

โรงพยาบาล ของรัฐในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีสังกัดดังนี้ 1.กระทรวงสาธารณสุข 2.มหาวิทยาลัยของรัฐ 3.หน่วยงานตามกฎหมายเฉพาะ เช่น  กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา 4.หน่วยงานทหาร ตำรวจ 5.รัฐวิสาหกิจ เช่น โรงพยาบาลรถไฟ โรงพยาบาลยาสูบ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2538  มาตรา 4 บัญญัติว่า “ ในพระราชบัญญัตินี้ “ เจ้าหน้าที่ “ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด “   “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย“ และตาม มาตรา 5 บัญญัติว่า “หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เข้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่  ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง  แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดชอบตามวรรคหนึ่ง“ มาตรา 6 บัญญัติว่า “ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้ “ มีปัญหาต่อไปว่าผู้เสียหายจะต้องฟ้องยังศาลไหน ศาลปกครอง หรือ ศาลยุติธรรม ? มีหลักดังนี้ กรณีต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรม คือ 1.เป็นการกระทำละเมิดที่ไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ( เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ ) 2.เป็นการกระทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ แต่มิใช่เกิดจาก  การใช้อำนาจตามกฎหมายปกครอง , การออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น  ,  จากการละเลยต่อหน้าที่ที่กฏหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ , จากการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร  กรณีต้องฟ้องต่อศาลปกครอง คือ 1. การกระทำละเมิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ 2.การกระทำละเมิดตาม (1) เกิดจาก การใช้อำนาจตามกฏหมายปกครอง , การออกกฏ คำสั่งทางปกครอง หรือ คำสั่งอื่น , จากการละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ , จากการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การที่แพทย์โรงพยาบาลของรัฐผ่าตัด/รักษาโรคแก่คนไข้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในทางปกครองหรือไม่นั้น ศาลปกครองสูงสุดและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานไว้แล้วว่า  การปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ประจำโรงพยาบาล  ถือว่าเป็นการให้บริการสาธารณะเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยตามปกติ เป็นการกระทำทางกายภาพ มิใช่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่   68/2544 , 70/2544, 213/2545, 250/2545,566/2545,546/2547   คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ (2/2545, 14/2548) ครั้งหน้า เราจะมีกรณีศึกษาเรื่องนี้มานำเสนอครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 YellowPages Live ติดตามตัว

ผู้อ่านจำหนังสือเล่มหนาๆ ปกเหลืองๆ ที่ถูกแจกจ่ายไว้ตามบ้านทุกหลังคาเรือนได้ไหมค่ะ คุณสมบัติของเล่มนี้จะช่วยค้นหาเบอร์ติดต่อร้านค้า สำนักงาน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ หรือแม้แต่เบอร์โทรศัพท์บ้านของเราก็มีระบุไว้ สมุดเล่มนี้มีชื่อว่า “สมุดหน้าเหลือง” หรือเรียกว่า เยลโล่เพจเจส (YellowPages) เป็นชื่อที่ผู้เขียนและผู้อ่านรู้จักเป็นอย่างดี  ซึ่งเป็นหนังสือขนาดเล่มหนา มีปกสีเหลือง โดยได้รวบรวมรายชื่อธุรกิจ สินค้า และบริการ มาเรียบเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อแจกจ่ายไปตามบ้านเรือน บริษัท ห้างร้าน และแหล่งธุรกิจ  ภายหลังสมุดหน้าเหลืองได้ถูกพัฒนาเป็นรูปแบบออนไลน์ บน  http://www.yellowpages.co.th แต่ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยีบนสมาร์ทโฟนในโลกปัจจุบัน  สมุดหน้าเหลือง จึงถูกพัฒนามาเป็น YellowPages Live Application และสามารถรองรับทุกระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็น iOS (iPhone หรือ iPad), Android OS, BlackBerry OS, Windows Phone, Windows Mobile และ สมาร์ทโฟน หรือฟีเจอร์โฟน ที่รองรับ J2ME  จะสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนี้จาก http://www.typlive.com/mobile  มาติดตั้งใช้งานได้ทันที แอพพลิเคชั่น YellowPages Live มีอยู่ 5 ส่วน คือ ส่วนแรก Highlight เป็นส่วนที่อัพเดทข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ ส่วนที่สอง Search จะเป็นส่วนค้นหาหมายเลขสำคัญ เบอร์ฉุกเฉิน คำค้นยอดนิยม ส่วนลดร้านอาหาร และโปรโมชั่นต่างๆ โดยสามารถคลิกรับโปรโมชั่นที่ต้องการได้ทันที ส่วนที่สาม Map สามารถค้นข้อมูลและให้แสดงผลในรูปแบบแผนที่ได้ เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการทราบเส้นทางการเดินทาง ส่วนที่สี่ Content อัพเดทราคาน้ำมัน ราคาทอง อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน เลขหมายน่าสนใจ 4 หลัก รวมถึงสลากกินแบ่งรัฐบาล ส่วนที่ห้า Member เป็นส่วนของการ log in สำหรับสมาชิก ผู้อ่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกกับแอพพลิเคชั่น YellowPages Live ได้ทันที ผู้อ่านลองดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนี้มาใช้กันนะคะ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับการค้นหาเบอร์ติดต่อในกรณีเหตุสุดวิสัยและสามารถพกพาไปได้ทุกสถานที่ แถมแอพพลิเคชั่น YellowPages Live ยังสามารถรองรับได้ทุกระบบปฏิบัติการได้ขนาดนี้ มีแอพฯ นี้ไว้ในมือถือก็ดีไม่น้อยนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >