ฉบับที่ 143 โฆษณาสระอกต้องฟู สระอูต้องฟิต มันผิดกฎหมาย

  วันหนึ่งพี่สาวนักรณรงค์เพื่อสังคมคนเก่ง ออกมาโวยวาย เพราะเธอได้รับอีเมล์โฆษณาผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่อวดอ้างสรรพคุณขยายทรวงอก กระชับช่องคลอด เธอบอกว่ามันโฆษณาบุกถึงอีเมล์ส่วนตัวอย่างนี้ ถือว่าละเมิดสิทธิมากเกินไปแล้ว วันต่อมาน้องสาวอีกคนหนึ่ง แจ้งข่าวมาว่า มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่โฆษณาสรรพคุณทำนองเดียวกันกับข้างต้น ออกมาแข่งแล้ว   ผมจำได้ว่า ในอดีตเคยมีผลิตภัณฑ์กล่องสีชมพูชนิดหนึ่ง โฆษณาขายทางทีวีดาวเทียม โดยสรรพคุณที่เจ้าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้อ้างอวดก็คือ ความสามารถในการทำให้ทรวงอกขยายและกระชับช่องคลอด โดยใช้คำโฆษณาที่ติดหูว่า “อกฟู รูฟิต” และต่อมาก็ถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไล่ตามจับไปลงโทษตามกฎหมาย เพราะตัวผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ดันโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณจนเกินจริง แถมบางครั้งยังโฆษณาจนเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์ยาด้วย แต่ชะรอยว่าอำนาจกฎหมายคงไล่ไม่ทัน เพราะเสียค่าปรับไม่กี่บาท   แต่เจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถทำการโฆษณาทางทีวีดาวเทียมได้มากขนาดนั้น เงินค่าปรับที่เสียคงจิ๊บจ้อยเต็มที ต่อมาเจ้าของผลิตภัณฑ์ดันผิดใจกันเองเลยแตกออกมาเป็นสองค่าย ต่างคนต่างผลิต แต่ใช้ชื่อคล้ายๆ กัน ขายแข่งกัน ต่างฝ่ายต่างบอกว่าของตนของแท้ แต่ที่แน่ๆ ดันขายได้ทั้งคู่   ด้วยความสงสัยว่า ทำไมผลิตภัณฑ์พวกนี้มันถึงขายดิบขายดีกันอย่างนี้ ผมเลยเข้าอินเตอร์เน็ตวานอากู๋ Google ช่วยสืบค้นให้หน่อย เพียงแค่ผมพิมพ์คำว่า “อกฟู รูฟิต” ภาพและข้อมูลของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่โฆษณาว่าสามารถทำให้เป็นดังคำที่พิมพ์ ก็ปรากฏ “ฟู” ต่อสายตาผมหลายสิบชนิด มากมายจนผม “ฟิต” นับแทบไม่ถ้วน   เท่าที่ดูพบว่าบางผลิตภัณฑ์มีเลขทะเบียนตำรับอาหารแล้ว แต่หลายผลิตภัณฑ์ก็ไม่มีเลขทะเบียนอ้างว่านำมาจากเกาหลี  แต่ที่เหมือนกันคือ ต่างโฆษณาสรรพคุณ ในลักษณะที่มีประโยชน์ต่อสตรี “หน้าอกเต่งตึง หุ่นผอมเพรียวดั่งใจ สลายไขมันส่วนเกิน ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล กระชับช่องคลอด ไร้กลิ่น ขับน้ำคาวปลา ช่วยให้ประจำเดือนมาตรงตามปกติ รู้สึกถึงความเป็นสาวกลับมาอีกครั้ง ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ทำให้หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น ลดการหย่อนยานของหน้าท้อง และทำให้ประจำเดือนมาปกติ” จากประสบการณ์ที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคและมีหน้าที่ตามกฎหมายมานานหลายสิบปี ผมฟันธงได้เลยว่าแม้ผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีเลขทะเบียน อย.แล้ว แต่ การโฆษณาในทำนองโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงแบบนี้ ผิดกฎหมายแน่นอน ถ้าดูจากส่วนประกอบก็มีแค่ส่วนผสมของสมุนไพรชนิดต่างๆ ถ้ามีสรรพคุณวิเศษดังที่อ้างจริงมันต้องมาขึ้นทะเบียนเป็นยาให้ได้ด้วยซ้ำ สรุปสั้นๆ ว่าโฆษณาแบบนี้ผิดกฎหมายแน่นอน ใครเห็นแจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยด่วน เขามีสินบนนำจับด้วยนะเออ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 ใช้ประโยชน์จาก Google Maps

  สวัสดีปีใหม่ปีมะเส็งนะคะ ผู้อ่านทุกท่าน เทศกาลปีใหม่ผ่านพ้นไป หลายคนคงได้หยุดพักผ่อนกันอย่างเต็มที่ (แม้ว่าวันหยุดจะน้อยไปนิ๊ด 555) บางคนได้เดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ บางคนก็กลับบ้าน พอเทศกาลปีใหม่ผ่านไป มนุษย์เงินเดือนอย่างเราก็ต้องกลับเข้าประจำโต๊ะทำงานกันต่อไป กลับมาใช้ชีวิตผจญปัญหาจราจรติดขัดในเมืองกรุงเหมือนเดิม   ปัญหาการจราจรบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครติดขัดตลอด ไม่มีใครสามารถแก้ปัญหานี้ไปได้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนนานนับเป็นชั่วโมง จะหลีกเลี่ยงเส้นทางก็ไม่แน่ใจว่าจะติดเหมือนกันหรือไม่ จึงได้แต่ร้องเพลงรอกันต่อไป  ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงลองหาแอพพลิเคชั่นที่มีประสิทธิภาพมาช่วยปัญหาที่เกิดขึ้น (อย่างน้อยก็ช่วยอะไรได้บ้างนะคะ)   แอพพลิเคชั่น Google Maps เป็นบริการแสดงแผนที่ประเทศไทย (รวมถึงทั่วโลก) บอกถึงสภาพการจราจรบนท้องถนน ตำแหน่งที่ยืนอยู่ไปจนถึงค้นหาตำแหน่งจุดหมายที่ต้องการเดินทางไปถึง ระบบขนส่งมวลชน อย่างเช่น สถานีรถไฟฟ้า BTS สายรถเมล์ที่สามารถทำให้จุดหมายปลายทางนั้นได้ โดยแอพพลิเคชั่นจะบอกระยะทางการเดินทาง รวมถึงเวลาที่จะใช้ในการเดินทาง   เมื่อเปิดแอพพลิเคชั่นขึ้นมา Google Maps จะบอกตำแหน่งที่เรายื่นอยู่ปรากฏบน Google Maps จากนั้นให้กรอกสถานที่จุดหมายที่ต้องการเดินทาง โดยจะมีเมนูที่แสดงผลสถานที่ใกล้เคียงบริเวณที่ค้นหา ให้คุณเลือกเพิ่มเติมอีกด้วย ในกรณีที่การแสดงผลไม่ตรงกับสถานที่ที่คุณต้องการ  เมื่อเจอสถานที่นั้นแล้ว คุณสามารถเปลี่ยนมุมมองเป็นแผนที่ 3 มิติหมุน 360 องศา หรืออาจจะเป็นในรูปแบบภาพถ่ายดาวเทียม นอกจากนี้ยังสามารถดูภาพท้องถนน หรือเรียกว่า Google Street View ในช่วงเวลานั้นได้เช่นกัน   บน Google Maps ที่แสดงผลอยู่นั้น คุณสามารถดูสภาพการจราจรไปด้วยในตัว ว่าเส้นทางใดสภาพการจราจรติดขัดควรหลีกเลี่ยง เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกเส้นทางการเดินทางที่ไม่ติดตัดและที่ดีที่สุด และแอพพลิเคชั่นยังคำนวณเวลาในการเดินทางให้ ไม่ว่าจะเป็นรถส่วนตัว หรือขึ้นรถเมล์ โดยจะบอกสายรถเมล์ที่ผ่านบริเวณจุดหมายให้อีกด้วย Google Maps สามารถติดตั้งในรูปแบบแอพพลิเคชั่น โดยผู้ที่ใช้ระบบ  iOS สามารถไปดาวน์โหลดได้ที่ App Store สำหรับผู้ใช้ระบบ Android  สามารถไปดาวน์โหลดได้ที่ Android Market เมื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Google Maps มาใช้งานแล้วมีปัญหา Google Maps ไม่ระบุตำแหน่ง ให้ไปเช็คที่  Settings > Privacy > Location Services   ลองดาวน์โหลดและดึงประโยชน์ของ แอพพลิเคชั่น Google Maps มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อาจจะช่วยแก้ความหงุดหงิดใจในระหว่างที่อยู่บนท้องถนนได้สักเล็กน้อย ^_^

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนธันวาคม 2555 ปัญหาของ “ซิมฟรี” ซิมมือถือแจกฟรียังเป็นปัญหากวนใจของผู้บริโภค เมื่อของที่ว่าแจกฟรีแต่แท้จริงกลับไม่ได้ฟรีอย่างที่โฆษณา เพราะพอเวลาผ่านไปกลับมีใบเสร็จมาเรียกเก็บค่าบริการ ทั้งๆ ที่ซิมฟรีที่ได้รับแจกมายังไม่ได้ถูกใช้งาน กลุ่มงานรับเรื่องราวร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้สรุปตัวเลขการร้องเรียนปัญหากรณีแจกซิมฟรี ช่วงปี 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งมียอดร้องเรียนทั้งหมด 179 เรื่อง โดยบริษัทผู้ให้บริการที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ บริษัท เรียลมูฟ หรือ ทรูมูฟ เอช ที่มีเรื่องร้องเรียนจำนวน 91 เรื่อง รวมเข้ากับบริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกันอย่าง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด อีกจำนวน 10 เรื่อง ส่วนบริษัทผู้ให้บริการอื่นๆ ที่มีเรื่องร้องเข้ามาก็ได้แก่ บริษัท ไอ-โมบาย พลัส จำนวน 74 เรื่อง, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค จำนวน 3 เรื่อง และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จำนวน 1 เรื่อง   ปัญหาการรับแจกซิมฟรีแล้วถูกเรียกเก็บเงินในภายหลังนั้น มักเกิดจากการที่ผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลหรือเงื่อนไขกับลูกค้าหรือผู้ได้รับแจกซิมฟรีไม่ชัดเจน ผู้ที่ได้รับแจกซิมหลายคนเข้าใจสามารถนำซิมไปใช้โทรได้ฟรีหรือมีวงเงินให้สามารถโทรได้โดยไม่ต้องเติมเงินหรือจ่ายรายเดือน   ซึ่งพนักงานที่แจกซิมที่สามารถพบเจอได้ตามแหล่งชุมชนหรือตามตลาดที่มีผู้คนพลุกพล่าน มักไม่ยอมแจ้งข้อมูลทั้งหมด ว่าซิมที่แจกเป็นซิมประเภทไหน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นซิมแบบจดทะเบียน เพราะเงื่อนไขในการแจกมักมีการขอบัตรประชาชน มีการลงลายมือชื่อ ทำให้มีบิลเรียกเก็บค่าบริการส่งไปหาถึงบ้านในภายหลัง แม้ว่าซิมที่ได้รับแจกมาจะยังไม่เคยได้เปิดใช้เลยก็ตาม   ใครที่ประสบปัญหานี้ สามารถติดต่อแจ้งได้ด้วยตัวเองกับบริษัทเจ้าของซิม หรือแจ้งมายัง กสทช. เพื่อแสดงเจตจำนงว่าไม่ได้มีความประสงค์จะขอใช้บริการและขอยุติการเรียกเก็บค่าบริการต่างๆ ทั้งหมด และครั้งต่อไปหากถูกเรียกให้ไปรับแจกซิมฟรี อย่ารับเด็ดขาดถ้าไม่คิดจะนำมาใช้งาน หรือหากอยากได้ก็ขอให้สอบถามข้อมูลประเภทการใช้งานให้เรียบร้อย โดยเฉพาะเรื่องการคิดอัตราค่าบริการ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   เชื่อมั่น “บัญชียาหลักแห่งชาติ” ทุกวันนี้ผู้ที่ถือสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ต่างก็ได้ใช้ยาในระบบ “บัญชียาหลักแห่งชาติ” ซึ่งอาจมีบางคนที่ยังไม่มั่นใจว่ายาเหล่านี้จะสู้ยาราคาแพงๆ ที่ใช้ในโรงพยาบาลเอกชนได้หรือเปล่า คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. วอนให้คนไทยเชื่อมั่นใน “บัญชียาหลักแห่งชาติ” เพราะยาทุกรายการที่อยู่ในบัญชีมีความเหมาะสมและทันสมัย มีรายการยาที่จำเป็นสำหรับคนไทย ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคัดเลือกยาโดยคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 200 คน  โดยยึดหลักในเรื่องประสิทธิภาพของยา ความปลอดภัย และมีความคุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและความสามารถในการจ่ายของสังคม ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 บัญชี คือ 1.บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข 2.บัญชียาจากสมุนไพร และ 3.เภสัชตำรับโรงพยาบาล ปัจจุบันมีรายการยาแผนปัจจุบันอยู่ในบัญชียาหลักประมาณกว่า 800 รายการ บัญชียาจากสมุนไพรประมาณ 71 รายการ ซึ่งความครอบคลุมในการรักษาโรคต่างๆ ของคนไทย สำหรับยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ยามะเร็ง ยาโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ยาโรคระบบทางเดินอาหาร คณะกรรมการฯ ของ อย. จะนำหลักการทางด้านเภสัชศาสตร์กับความสามารถในการจ่ายของรัฐ เพื่อจัดทำข้อเสนอในการต่อรองราคายากับบริษัทผู้ผลิตยา เพื่อให้ยาที่มีความจำเป็นต้องอยู่ในบัญชีหลักแห่งชาติมีราคาที่ถูกลง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและมาตรฐานของยาแต่อย่างใด ใครที่อยากทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบัญชียาหลักแห่งชาติ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ www.nlem.in.th ------------------------------------------------------------------------------------------------------ หมากฝรั่งไฟช้อต มีของเล่นอันตรายมาทำร้ายเด็กไทยกันอีกแล้ว คราวนี้เป็นของเล่นที่ชื่อว่า “หมากฝรั่งไฟช้อต” หรือมีชื่อทางการค้าว่า “Chewing Gum Shock” ของเล่นที่หน้าตาเหมือนหมากฝรั่งแต่มีไว้แกล้งคนอื่น ซึ่งเด็กนักเรียนมักจะซื้อมาแกล้งเพื่อนให้ตกใจ ด้วยการให้ดึงชิ้นส่วนซองบรรจุหมากฝรั่งที่ยื่นออกมา แล้วจะเกิดไฟฟ้าช้อต ซึ่งทำให้มีเด็กนักเรียนได้รับบาดเจ็บ เกิดอาการชาและช้ำบริเวณที่สัมผัสเจ้าของเล่นอันตรายชิ้นนี้ ศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัยของ สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้สุ่มเก็บตัวอย่างหมากฝรั่งไฟช้อตมาทดสอบความแรงของการช้อต ซึ่งผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการของคณะวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าในการดึงแต่ละครั้งจะมีค่ากระแสไฟฟ้าสูงถึง 736 โวลต์ ซึ่งมากกว่าค่ากระแสไฟฟ้าตามบ้านเรือน และกระแสไฟเป็นแบบต่อเนื่องจึงทำให้เกิดการกระตุ้นของกระแสไฟที่ผ่านในร่างกายเป็นระยะๆ ทำให้เกิดอาการชาบริเวณอวัยวะที่สัมผัสเหมือนถูกไฟฟ้าช้อต ยิ่งถ้าดึงค้างไว้นานๆ กระแสไฟฟ้าจะส่งเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากใครเห็นสินค้าชนิดนี้ให้แจ้งไปได้ที่ สคบ .ซึ่งทาง สคบ. เองเตรียมนำเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อห้ามขายสินค้าดังกล่าว ตามมาตรา 36 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 -----------------------------------------------------------------------------------------------------   กองทุนเยียวยาผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตรียมจัดตั้งกองทุนอุดหนุนเงินเยียวยาผู้บริโภค เพื่อชดเชยความเสียหายให้ผู้บริโภคทันที หลังจากที่คณะกรรมการมีมติว่าผู้ประกอบการมีความผิดและผู้บริโภคได้รับความเสียหายจริง จากเดิมที่กว่าผู้บริโภคจะได้รับเงินชดเชยต้องรอให้มีคำตัดสินของศาลออกมาก่อน ซึ่งใช้เวลานาน สำหรับแนวทางการจัดตั้งกองทุน ทาง สคบ. วางไว้ 2 แนวทาง แนวทางแรก สคบ.อาจรับเป็นเจ้าภาพแต่เพียงผู้เดียว โดยใช้งบประมาณจากสำนักงบประมาณ หรืออีกแนวทาง คือ ร่วมมือกับผู้ประกอบการในการจ่ายเงินค้ำประกันเพื่อรับประกันว่าหากเกิดปัญหาก็สามารถตัดเงินก้อนดังกล่าวมาใช้เยียวยาให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งทาง สคบ. จะเร่งให้เกิดกองทุนเยียวยาผู้บริโภคให้ได้เร็วที่สุด เพื่อเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ที่มีดูเหมือนจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ------------------------------------------------------------------   10 สุดยอดนวัตกรรมปี 2555 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ได้คัดเลือก “10 สุดยอดนวัตกรรมประจำปี 2555” จากโครงการนวัตกรรมทั้งหมด 849 โครงการที่ สนช. ให้การสนับสนุน โดยคัดเลือกธุรกิจใหม่ๆ ที่มีความโดดเด่นในด้านของเทคโนโลยีกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดในรูปแบบใหม่ โดย 10 สุดยอดนวัตกรรมประจำปี 2555 จากการคัดเลือกของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมีดังนี้ 1. “ไบโอเวกกี้” วิตามินรวมจากผักเมืองหนาว บริษัท เชียงใหม่ ไบโอเวกกี้ จำกัด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินรวมจากผักเมืองหนาว 12 ชนิด   2. “ฟีนพลัส” หมึกนำไฟฟ้าผสมแกรฟีนสำหรับผลิตลายไฟฟ้า บริษัท อินโนฟิน จำกัด หนึกนำไฟฟ้าผสมแกรฟินที่จะช่วยทดแทนการใช้หมึกน้ำไฟฟ้าที่ผสมสารตัวอื่น เช่น โลหะเงิน ด้วยประสิทธิภาพการใช้งานที่เท่าเทียมกันแต่มีราคาต้นทุนถูกกว่า   3. “ซินนิไพร์” เครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ บริษัท อิมพีเรียลพอทเทอรี่ จำกัด เครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ แทนการใช้ก๊าซหุงต้ม   4. “เอนเนอเร่” เครื่องดื่มให้พลังงานจากข้าว บริษัท บีเอสซีเอ็มฟูดส์ จำกัด เครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวสารเกรดเอได้ถึง 10 เท่า   5. “โดรน” เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู บริษัท ศูนย์การได้ยินดีเมด จำกัด เครื่องช่วยฟังที่มีการประมวลผลแบบดิจิตอล สามารถตัดเสียงรบกวนภายนอก แยกแยะระดับความถี่ของเสียงที่ได้รับเพื่อเพิ่มความดังที่เหมาะสมกับความผิดปกติของแต่ละบุคคล   6. “ชีวาดี” น้ำหวานดัชนีน้ำตาลต่ำจากดอกมะพร้าวอินทรีย์ บริษัท ชีวาดี โปรดักชันส์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ให้ความหวานแต่ดัชนีน้ำตาลต่ำ ทำจากน้ำหวานดอกมะพร้าวหมักที่ยับยั้งการตกผลึกของน้ำตาลมะพร้าวและเชื้อจุลินทรีย์ด้วยมังคุดกับไม้พะยอม   7. “ไอริส” กระเบื้องเคลือบผลึกจากเศษกระจกรีไซเคิล ห้างหุ่นส่วนจำกัด ไอริส อินดัสเทียล กระเบื้องที่มีความสวยงามเฉพาะตัว แถมขั้นตอนการผลิตยังมีการลดการใช้อุณหภูมิในการเผาลงถึง 50 – 100 องศาเซลเซียส   8. “บีที ไฮบริด” สารชีวภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงสำหรับกำจัดหนอนศัตรูพืช บริษัท ภูธนเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกำจัดและลดการระบาดหนอนศัตรูพืชได้มากกว่า 1 ชนิด และเหมาะที่จะนำมาใช้แทนสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต   9. “ซิลค์ แอคเน่” ผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบจากโปรตีน บริษัท เอทิกา จำกัด ผลิตจากรังไหมที่ผ่านกระบวนการสกัดจนได้กาวไหมเธริธินที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มการสร้างคอลลาเจนและยับยั้งการอักเสบ สำหรับแผลอักเสบจากสิวและแมลงกัดต่อย   10. “แดรี่โฮม” บรรจุภัณฑ์โยเกิร์ตอินทรีย์จากพลาสติกชีวภาพ บริษัท แดรี่โฮม จำกัด บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีความแข็งแรงทนทาน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 กระแสต่างแดน

  ของขวัญต้อง “เป็นกลาง” ของขวัญที่เด็กๆ คาดหวังจะได้ในวันคริสต์มาสหรือปีใหม่ คงจะหนีไม่พ้นของเล่น ผู้ใหญ่อย่างเราก็มักจะซื้อหาของขวัญที่นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว ยังต้องเลือกให้เหมาะกับเด็กหญิงหรือเด็กชายด้วย ว่าแต่มันต้องเป็นเช่นนั้นด้วยหรือ? ห้างค้าปลีกแห่งหนึ่งในสวีเดน (ในเครือบริษัททอยส์อาร์อัส) สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการด้วยการนำเสนอภาพเด็กผู้หญิงถือปืนของเล่น และเด็กผู้ชายกอดตุ๊กตา ในแคตาล็อกของเล่นสำหรับเทศกาลคริสต์มาสที่ผ่านมา เพราะเชื่อว่าการตลาดต้องตอบสนองกระแสสังคม องค์กรเฝ้าระวังการโฆษณาและการทำการตลาดสินค้าสำหรับเด็กของสวีเดน ออกมาชื่นชมว่าเป็นก้าวที่สำคัญมาสำหรับสังคมสวีเดนซึ่งส่งเสริมบทบาทและความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชายอยู่แล้ว ถนนหนทางในเมืองใหญ่อย่างสต็อคโฮล์ม หรือโกเตนเบิร์ก คุณจะเห็นบรรดาคุณพ่อเข็นรถเข็นพาลูกออกไปเดินเล่น มากพอๆ กับคุณแม่ เพราะที่นี่พ่อได้รับสิทธิหยุดงานมาเลี้ยงลูกได้ถึง 60 วัน องค์กรดังกล่าวเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าสื่อต่างๆ ไม่ควรตอกย้ำบทบาทหญิงชายแบบที่เป็นการเหมารวม ในโฆษณาหรือในแคตาล็อคสินค้า (เช่น มีแต่เด็กผู้หญิงเท่านั้นที่เล่นแต่งตัวตุ๊กตา หรือเด็กผู้ชายเท่านั้นที่จะเล่นรถหรือปืน เป็นต้น) สื่ออังกฤษและอเมริกันไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์เดอะเทเลกราฟของอังกฤษมีบทความที่ตั้งข้อสังเกตว่าสังคมสวีเดนคงเพี้ยนไปแล้ว และเด็กผู้ชายอาจจะมีความเบี่ยงเบนทางเพศมากขึ้น ขณะเดียวกันคอลัมนิสต์ชาวอเมริกันก็ประชดประชันว่าวิทยาศาสตร์ไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว สวีเดนสามารถใช้กระบวนการ “วิศวกรรมสังคม” ทำให้เด็กชายและเด็กหญิงเหมือนกันได้ ไม่แน่ ... สวีเดนอาจจะมาถูกทางแล้วก็ได้ สมัยนี้อะไรๆ ก็ต้องเป็นกลางไว้ก่อน ... จริงมั้ยพี่น้อง?      อาจไม่มี “วันสิ้นโรค” หลายคนโล่งอกที่เราผ่านพ้น “วันสิ้นโลก” ในปี 2012 มาได้ แต่คุณรู้หรือไม่ว่ายังมีสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นให้เราได้ลุ้นกันอีก ทุกวันนี้เราเชื่อมั่นว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่และกำลังจะมีต่อไปจะช่วยให้เราสามารถผลิตยาออกมารักษาอาการเจ็บป่วยได้ทุกชนิด แต่คุณรู้หรือไม่? งานวิจัยที่คิดค้นยาปราบเชื้อโรคตัวใหม่ๆ นั้น จัดว่าล้าหลังอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี และยาทุกตัวที่มีอยู่ขณะนี้ ยังไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้  ง่ายๆ ก็คือถ้าเราบังเอิญล้มป่วยด้วยแบคทีเรียตัวที่ว่าเข้า มันก็คงจะเป็น “วันสิ้นเรา” สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคใหม่ๆ ยังสามารถรักษาโรคติดเชื้อได้สำเร็จเพียงแค่ 2 ใน 3 ของคนไข้ที่เข้ารับการรักษาเท่านั้น  ส่วนคนไข้ที่เหลือนั้นมีอาการดื้อยา ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพราะยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคตัวดังกล่าวได้ ปัญหาเรื่องเชื้อโรคดื้อยานี้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่มนุษย์ต้องเผชิญในปี 2013 (นอกเหนือจากปัญหาโลกร้อน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ การขาดแคลนน้ำใช้ ภาวะสังคมสูงวัย ภัยจากการเชื่อมต่อในโลกออนไลน์ ฯลฯ) ตามรายงานของ World Economic Forum ประเทศที่ยากจนอาจมีส่วนทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคด้วยปัญหาด้านสุขอนามัย การขาดแคลนน้ำสะอาด ความเป็นอยู่ที่แออัด หรือความขัดแย้งทางการเมือง ในขณะที่ประเทศที่ร่ำรวยก็ยังไม่สามารถแก้ความเข้าใจผิดของประชาชนเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อได้ การสำรวจในยุโรปพบว่าคนฝรั่งเศสมากกว่าครึ่งเข้าใจว่าต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือที่บ้านเรานิยมเรียกว่า “ยาแก้อักเสบ” เพื่อรักษาไข้หวัด หรือในบางประเทศแพทย์จะนิยมสั่งยาให้แบบค็อคเทล (จัดไปหลายๆ ตัวทีเดียวเลย) เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้องจากความล่าช้าในการรักษา เพราะยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือชี้ชัดลงไปไม่ได้ว่าเป็นไวรัสหรือแบคทีเรียชนิดใด ความเสี่ยงนี้สามารถเกิดขึ้นคุณได้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด และมันอาจส่งผลต่อการขาดแคลนอาหาร  เนื่องจากการติดเชื้อที่ไม่สามารถรักษาได้ ในปศุสัตว์ หรือเกิดการกีดกันการนำเข้าอาหาร เพราะกลัวการติดเชื้อจากนอกประเทศ  นอกจากนี้รัฐบาลประเทศต่างๆ อาจจะเพิ่มมาตรการควบคุม/จำกัดการเดินทาง หรือการย้ายถิ่นที่อยู่ของประชากรด้วย ทางที่ดีเราต้องเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อไปให้ถึง “วันสิ้นโรค” ให้จงได้     ค่าธรรมเนียมกำจัดซาก ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง เมื่อรถที่เราใช้ต้องเก่าผุพังเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา แล้วเราจะทำอย่างไรกับขยะรถเหล่านี้? หลายประเทศเริ่มใช้วิธีการเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดซากรถจากผู้ผลิตและผู้นำเข้ารถยนต์ อย่างกรณีของรัสเซียเขาก็เพิ่งจะประกาศกฏหมายใหม่ที่ระบุให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจากรถทุกคันที่ผลิตขึ้นหลังวันที่ 1 กันยายน ปี 2555 สนนราคาสำหรับรถเล็กอยู่ที่ 20,000 รูเบิล (ประมาณ 20,000 บาท) ต่อคันเป็นอย่างต่ำ ส่วนรถบรรทุก รถบัส อย่างต่ำอยู่ที่คันละ150,000 รูเบิล (ประมาณ 150,000 บาท) ทางการบอกว่าเงินที่เก็บมาก็เพื่อใช้ในการสร้างโรงงานรีไซเคิลรถยนต์ ผู้ผลิตเจ้าไหนมีแผน “รับกลับ” สำหรับรถที่ตนเองผลิต ก็ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตมีโรงงานรีไซเคิลรถเก่าในทุกภูมิภาคของประเทศ และในเมืองที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน งานนี้น่าจะหมายถึงราคารถที่สูงขึ้น เพราะผู้ผลิตอาจเลือกวิธีผลักภาระต่อมาที่ผู้บริโภค แต่ตัวแทนอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์เขาบอกว่าไม่น่าเป็นอย่างนั้น  เพราะผู้ผลิตน่าจะเอาไปถัวกับภาษีนำเข้าอะไหล่ที่ลดลงหลังจากรัสเซียเข้าเป็นสมาชิก WTO หรือองค์กรการค้าโลก คนรัสเซียคงอิจฉาเราแย่เลย เพราะนอกจากจะไม่ต้องจ่ายค่ารีไซเคิลรถแล้วรัฐยังคืนภาษีให้อีกต่างหาก   หวานไม่หยุด หลายคนอาจจะตั้งใจแน่วแน่ว่าปีใหม่นี้จะต้องลดน้ำหนักให้ได้ แต่ส่วนใหญ่มักไม่ประสบความสำเร็จ ...อย่าได้ท้อใจเด็ดขาด ทุกอย่างแก้ไขได้ด้วยข้อมูล(เกี่ยวกับน้ำตาล) และทักษะการอ่าน(ฉลาก) นักวิจัยเขาแนะนำให้ระวังส่วนผสมในอาหารแปรรูปและเครื่องดื่ม ตัวที่ชื่อว่า Corn Syrup หรือน้ำเชื่อมข้าวโพดเพราะมันมีน้ำตาลฟรุคโตสสูงการทดลองครั้งนี้ ใช้เครื่องสแกน MRI (magnetic resonance imaging) ติดตามการไหลเวียนของเลือดในสมอง ในคนหนุ่มสาว 20 คน ที่มีน้ำหนักตัวปกติ หลังจากดื่มเครื่องดื่มที่มีกลูโคสหรือฟรุคโตสเข้าไป ภาพสแกนแสดงให้เห็นว่า กลูโคสจะปิดหรือยับยั้งกิจกรรมในบริเวณของสมองที่ควบคุมความอยากรับประทานอาหาร ในขณะที่ฟรุคโตสไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  ความอยากอาหารจึงยังคงมีอยู่ ... และส่งผลให้เรากินอาหารมากเกินไป ภาพสแกนที่ว่านี้สอดคล้องกับความรู้สึกหิวของผู้ที่เข้ารับการทดสอบด้วย ทางออกของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักคือ การทำอาหารทานเองและลดการบริโภคเครื่องดื่มหรืออาหารสำเร็จรูปที่มีฟรุคโตสลง (อย่าลืมพกแว่นขยายไปด้วยล่ะ เดี๋ยวจะหาว่า ฉลาดซื้อ ไม่เตือน) และอย่าลืมป่าวประกาศให้เพื่อนฝูงได้ทราบโดยทั่วกันว่าคุณจะลดน้ำหนักให้ได้กี่กิโลกรัม ภายในเวลาเท่าไร ที่สำคัญอย่าได้นำรูปนางแบบผอมไม่มีใส้ หรือนายแบบซิกซ์แพคมาติดตู้เย็น (หรือที่ไหนก็ตาม) เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการลดน้ำหนักเด็ดขาด งานวิจัยจากเนเธอร์แลนด์เขายืนยันแล้วว่า พวกที่เห็น “รูปสร้างแรงบันดาลใจ” เหล่านี้คืออุปสรรคตัวสำคัญที่ทำให้เราแอบกินจุบจิบ และล้มเลิกความตั้งใจจะลดน้ำหนักไปในที่สุด ในขณะที่พวกที่ไม่ได้เห็นรูปดังกล่าวสามารถลดน้ำหนักได้จริงๆ   วันนี้คุณมีความสุขแล้วหรือยัง? ศาสตราจารย์ชอยอินโชล จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลพร้อมทีมงานได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนในวัยระหว่าง 20 ถึง 39 ปี จำนวน 1,000 คน (หญิง 491 คน ชาย 509 คน) ว่าพวกเขามีความสุขมากน้อยแค่ไหนปรากฏว่า 1 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจบอกว่าพวกเขาไม่รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขเลยแม้เพียงสักครั้งในหนึ่งสัปดาห์ สาเหตุหลักเพราะรายได้ไม่พอใช้เรามาแจกแจงสาเหตุของความทุกข์กันดูบ้าง -- ร้อยละ 3.3 ตอบว่าเป็นทุกข์เพราะเรื่องเพื่อน  ร้อยละ 15.6 บอกว่ามีปัญหาชีวิตรัก และมีถึงร้อยละ 36.8 ตอบว่าทุกข์หนักเพราะปัญหาการเงินรุมเร้า กลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 40 ล้านวอนต่อปี (ประมาณ 1,100,000 บาท) มีความสุขสัปดาห์ละ 3.5 ครั้ง ในขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ ระหว่าง 20 – 40 ล้านวอน (560,000 - 1,100,000 บาท)  มีความสุขสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และกลุ่มที่หาเงินได้ระหว่าง 10 – 20 ล้านวอน ( 280,000 – 560,000 บาท) มีความสุขเพียง 2.8 ครั้งต่อสัปดาห์การศึกษาก็พอช่วยได้บ้าง เขาพบว่าหนุ่มสาวกลุ่มที่จบมหาวิทยาลัยมีความสุข 3.2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มที่จบชั้นมัธยมปลายมีความสุข 2.4 ครั้งต่อสัปดาห์แล้วกันไปนะ ไม่มีความสุขเพราะเงินไม่พอใช้ก็พอเข้าใจได้ นึกว่าเขาจะไม่มีความสุขเพราะหน้าตาไม่เป๊ะเวอร์เหมือนดาราเสียอีก

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 143 แค่ส้มตำปลาร้า ทำให้กระเป๋าฉีกได้

  และแล้วปี 2012 ก็ผันผ่านไป โดยที่โลกยังปลอดภัย “ไม่แตก” ไปตามคำทำนายที่หลายคน  หวาดหวั่น    หลังจากเทศกาลปีใหม่  ที่หลายคนได้หยุดพักผ่อนไป  ลัลลา......  ท้าลมหนาว  กลับไปหาความอบอุ่นกับครอบครัวที่ต่างจังหวัดให้หายคิดถึง เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลชาร์ตพลัง และการเคลื่อนย้ายผู้คนครั้งยิ่งใหญ่   การพักผ่อน การหาความสุขในช่วงสั้นๆ (ที่หาไม่ค่อยได้ในสังคมเมือง) ผู้เขียนจึงขอหยิบยก เรื่องอาหารการกิน ที่คนเมืองอพยพ ได้ไปลิ้มรสชาติ ท่ามกลางบรรยากาศที่สดชื่น     ที่เกริ่นเรื่องนี้มาคืออยากบอกว่า    ผู้บริโภค ที่ต้องบริโภคอะไรก็ตาม ยังคงต้องระมัดระวัง  ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของพวกฉวยโอกาสขายสินค้าราคาเกินจริงด้วยตัวเองอยู่เช่นเดิมๆ ที่ผ่านมา    เพื่อนมาเล่าให้ฟังว่าปีใหม่ ได้เดินทางไปเที่ยวที่เกาะสีชังจังหวัดชลบุรี  ผ่านหาดบางแสนเลยแวะไปนั่งกินข้าวที่ชายหาด เป็นร้านแผงลอยเล็กๆ บริเวณนั้น   สิ่งที่เจอก็คือ หากจะนั่งกินอาหารที่ชายหาดต้องเสียค่าที่นั่งเก้าอี้ตัวละ 30 บาท(โอเคปรกติ) ตามมาด้วยเมนูอาหารที่ไม่บอกราคา  เมื่อถามว่าทำไมไม่เขียนราคา ก็ได้คำตอบว่ามันมีจานใหญ่จานเล็ก ราคาไม่เท่ากัน เลยไม่ได้เขียนราคา    แต่ด้วยกลุ่มที่ไปกินกลัวว่า ราคาอาหารทะเลจะแพงมาก(เพราะไม่มีราคาบอกไว้)   ก็เลยสั่งประเภทส้มตำ หมูน้ำตก  หอยนางรมสด  มากินกัน เพราะเห็นว่าราคาน่าจะเป็นมาตรฐาน   สักพักเพื่อนในทีมที่เดินไปซื้อข้าวกล่องเดินหน้ามุ่ยกลับมา  พร้อมคำบ่นว่าไปซื้อข้าวกินเหมือนโดนปล้นเลย ข้าวกะเพราไข่ดาวกล่องละ 60 บาท หลายคนพูดตรงกัน ”แพงอ่ะ”   เพื่อนในกลุ่มหัวเราะเยาะสมน้ำหน้าที่ไปซื้อของแพง   และแล้วอาหารที่สั่งก็มาส่งทุกคนก็กินกันอย่างครื้นเครง   แต่เมื่อถึงเวลาจ่ายเงิน  ทั้งกลุ่มตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก   เพิ่งตระหนักว่าข้าวของเพื่อนที่ไปซื้อมาไม่แพงเลย   เพราะส้มตำไทยปู ส้มตำปูปลาร้า (ไมใช่ส้มปูม้าดอง) ราคา 60 บาท ทุกจาน  หอยนางรมสดตัวเล็กๆประมาณ 18 ตัว ราคา 150  บาท(ตัวละเกือบ 10 บาท)  หมูน้ำตกจานเล็กนิดเดียวมีหมูไม่กี่ชิ้นจานละ 80 บาท  บวกรวมๆ อาหารไม่กี่จานเกือบ 800 บาท (เหงื่อตกทั้งกลุ่ม) ก่อนจ่ายเงินได้ถามว่าทำไมราคาอาหารถึงแพงมากอย่างนี้คำตอบคือ  “ราคานี้เป็นราคาที่เทศบาลตำบลแสนสุขเป็นผู้กำหนด” ทุกร้านต้องขายแพงอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมด เพื่อนจึงได้โทรประสานไปที่เทศบาลตำบลแสนสุข (038-193500) เพราะอยากทราบว่า เทศบาลฯเป็นผู้กำหนดราคาจริงดังที่แม่ค้ากล่าวอ้างหรือไม่   โทรติดก็มีการโอนสายไปมาหลายครั้งกว่าจะมีคนรับสายก็หมดค่าโทรไปหลายบาท ที่สุดก็ได้คุยกับกองสาธารณสุข   จนได้คำตอบว่าเทศบาลกำหนดราคาจริง คือเป็นส้มตำมะม่วงปูม้าดองให้ขายไม่เกิน 60 บาท  ส้มตำทั่วไปให้ขายไม่เกิน 50 บาท  เราก็ตั้งคำถามว่าราคาที่เทศบาลกำหนดแพงกว่าราคาที่กรมการค้าภายในกำหนดหรือไม่?  คำตอบคือ ไม่ทราบ เพราะราคานี้นายกเทศมนตรีเป็นผู้กำหนด เมื่อข้อมูลไม่ครบก็ต้องหาต่อ  ก็เลยโทรไปที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน   และก็ได้ข้อมูลจริงๆ ว่ากรมการค้าภายในไม่มีการกำหนดราคาอาหารเหล่านี้  ผู้ขายสามารถตั้งราคาได้อย่างอิสระ แต่ต้องเขียนราคากำหนดไว้ เพื่อให้เป็นข้อมูลการตัดสินใจของผู้บริโภค  หากร้านไหนไม่เขียนสามารถสั่งปรับได้ไม่เกิน 10.000 บาท  ดังนั้นผู้บริโภคต้องดูแลตัวเองก่อนซื้อสินค้า “ให้ตรวจสอบราคาก่อน” ได้ฟังข้อมูลแล้วก็ได้แต่สะท้อนใจ     ก็ไหนกระทรวงพาณิชย์ออกมาตีปี๊บโครมๆ ผ่านสื่อ  เรื่องการควบคุมราคาอาหารไม่ให้สูงเกินจริง  แต่สิ่งที่เห็นคือ ดีแต่ตีปี๊บ แต่ “ทำไม่ได้จริง” บางแสนคงเป็นแค่กรณีตัวอย่าง เห็นชัดเจนว่าผู้บริโภคยังไม่มีที่พึ่ง ที่แท้จริง  สิ่งที่ทำได้คือต้อง “พึ่งตัวเองไปก่อน” ทำตัวเป็นผู้บริโภคที่รู้ทัน   ไม่เช่นนั้นก็จะกระเป๋าฉีกเช่นนี้แล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 แค่ส้มตำปลาร้า ทำให้กระเป๋าฉีกได้

 และแล้วปี 2012 ก็ผันผ่านไป โดยที่โลกยังปลอดภัย “ไม่แตก” ไปตามคำทำนายที่หลายคน  หวาดหวั่น    หลังจากเทศกาลปีใหม่  ที่หลายคนได้หยุดพักผ่อนไป  ลัลลา......  ท้าลมหนาว  กลับไปหาความอบอุ่นกับครอบครัวที่ต่างจังหวัดให้หายคิดถึง เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลชาร์ตพลัง และการเคลื่อนย้ายผู้คนครั้งยิ่งใหญ่   การพักผ่อน การหาความสุขในช่วงสั้นๆ (ที่หาไม่ค่อยได้ในสังคมเมือง)ผู้เขียนจึงขอหยิบยก เรื่องอาหารการกิน ที่คนเมืองอพยพ ได้ไปลิ้มรสชาติ ท่ามกลางบรรยากาศที่สดชื่น     ที่เกริ่นเรื่องนี้มาคืออยากบอกว่า    ผู้บริโภค ที่ต้องบริโภคอะไรก็ตาม ยังคงต้องระมัดระวัง  ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของพวกฉวยโอกาสขายสินค้าราคาเกินจริงด้วยตัวเองอยู่เช่นเดิมๆ ที่ผ่านมา    เพื่อนมาเล่าให้ฟังว่าปีใหม่ ได้เดินทางไปเที่ยวที่เกาะสีชังจังหวัดชลบุรี  ผ่านหาดบางแสนเลยแวะไปนั่งกินข้าวที่ชายหาด เป็นร้านแผงลอยเล็กๆ บริเวณนั้น   สิ่งที่เจอก็คือ หากจะนั่งกินอาหารที่ชายหาดต้องเสียค่าที่นั่งเก้าอี้ตัวละ 30 บาท(โอเคปรกติ) ตามมาด้วยเมนูอาหารที่ไม่บอกราคา  เมื่อถามว่าทำไมไม่เขียนราคา ก็ได้คำตอบว่ามันมีจานใหญ่จานเล็ก ราคาไม่เท่ากัน เลยไม่ได้เขียนราคา    แต่ด้วยกลุ่มที่ไปกินกลัวว่า ราคาอาหารทะเลจะแพงมาก(เพราะไม่มีราคาบอกไว้)   ก็เลยสั่งประเภทส้มตำ หมูน้ำตก  หอยนางรมสด  มากินกัน เพราะเห็นว่าราคาน่าจะเป็นมาตรฐานสักพักเพื่อนในทีมที่เดินไปซื้อข้าวกล่องเดินหน้ามุ่ยกลับมา  พร้อมคำบ่นว่าไปซื้อข้าวกินเหมือนโดนปล้นเลย ข้าวกะเพราไข่ดาวกล่องละ 60 บาท หลายคนพูดตรงกัน ”แพงอ่ะ”   เพื่อนในกลุ่มหัวเราะเยาะสมน้ำหน้าที่ไปซื้อของแพง   และแล้วอาหารที่สั่งก็มาส่งทุกคนก็กินกันอย่างครื้นเครง   แต่เมื่อถึงเวลาจ่ายเงิน  ทั้งกลุ่มตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก   เพิ่งตระหนักว่าข้าวของเพื่อนที่ไปซื้อมาไม่แพงเลย   เพราะส้มตำไทยปู ส้มตำปูปลาร้า (ไมใช่ส้มปูม้าดอง) ราคา 60 บาท ทุกจาน  หอยนางรมสดตัวเล็กๆประมาณ 18 ตัว ราคา 150  บาท(ตัวละเกือบ 10 บาท)  หมูน้ำตกจานเล็กนิดเดียวมีหมูไม่กี่ชิ้นจานละ 80 บาท  บวกรวมๆ อาหารไม่กี่จานเกือบ 800 บาท (เหงื่อตกทั้งกลุ่ม) ก่อนจ่ายเงินได้ถามว่าทำไมราคาอาหารถึงแพงมากอย่างนี้คำตอบคือ  “ราคานี้เป็นราคาที่เทศบาลตำบลแสนสุขเป็นผู้กำหนด” ทุกร้านต้องขายแพงอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมดเพื่อนจึงได้โทรประสานไปที่เทศบาลตำบลแสนสุข (038-193500) เพราะอยากทราบว่า เทศบาลฯเป็นผู้กำหนดราคาจริงดังที่แม่ค้ากล่าวอ้างหรือไม่   โทรติดก็มีการโอนสายไปมาหลายครั้งกว่าจะมีคนรับสายก็หมดค่าโทรไปหลายบาท ที่สุดก็ได้คุยกับกองสาธารณสุข   จนได้คำตอบว่าเทศบาลกำหนดราคาจริง คือเป็นส้มตำมะม่วงปูม้าดองให้ขายไม่เกิน 60 บาท  ส้มตำทั่วไปให้ขายไม่เกิน 50 บาท  เราก็ตั้งคำถามว่าราคาที่เทศบาลกำหนดแพงกว่าราคาที่กรมการค้าภายในกำหนดหรือไม่?  คำตอบคือ ไม่ทราบ เพราะราคานี้นายกเทศมนตรีเป็นผู้กำหนดเมื่อข้อมูลไม่ครบก็ต้องหาต่อ  ก็เลยโทรไปที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน   และก็ได้ข้อมูลจริงๆ ว่ากรมการค้าภายในไม่มีการกำหนดราคาอาหารเหล่านี้  ผู้ขายสามารถตั้งราคาได้อย่างอิสระ แต่ต้องเขียนราคากำหนดไว้ เพื่อให้เป็นข้อมูลการตัดสินใจของผู้บริโภค  หากร้านไหนไม่เขียนสามารถสั่งปรับได้ไม่เกิน 10.000 บาท  ดังนั้นผู้บริโภคต้องดูแลตัวเองก่อนซื้อสินค้า “ให้ตรวจสอบราคาก่อน”ได้ฟังข้อมูลแล้วก็ได้แต่สะท้อนใจ     ก็ไหนกระทรวงพาณิชย์ออกมาตีปี๊บโครมๆ ผ่านสื่อ  เรื่องการควบคุมราคาอาหารไม่ให้สูงเกินจริง  แต่สิ่งที่เห็นคือ ดีแต่ตีปี๊บ แต่ “ทำไม่ได้จริง” บางแสนคงเป็นแค่กรณีตัวอย่าง เห็นชัดเจนว่าผู้บริโภคยังไม่มีที่พึ่ง ที่แท้จริง  สิ่งที่ทำได้คือต้อง “พึ่งตัวเองไปก่อน” ทำตัวเป็นผู้บริโภคที่รู้ทัน   ไม่เช่นนั้นก็จะกระเป๋าฉีกเช่นนี้แล

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 143 เสียงผู้บริโภค

เหตุผลที่ “สก๊อต” ไม่แสดงวันหมดอายุ คุณพรทิพย์ร้องเรียนมาว่า เครื่องดื่มสกัดเข้มข้น สก๊อต เพียวเร่ แสดงฉลากระบุเฉพาะวันที่ผลิต แต่ไม่มีการระบุวันหมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อน และการระบุวันที่ผลิตบนฉลากผลิตภัณฑ์บางส่วนพิมพ์ทับอยู่บนรูปภาพเครื่องหมายทางการค้า ขอให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยตรวจสอบให้ด้วย   แนวทางการแก้ไขปัญหา มูลนิธิฯ ได้มีหนังสือแจ้งข้อร้องเรียนข้างต้นไปถึงผู้ประกอบการคือ บริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล(ประเทศไทย) จำกัด และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) บริษัท สก๊อตฯ มีหนังสือตอบกลับมาว่า บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ข้อ 11.2 (ตามจริงคือ ข้อ 3(11.2)) กล่าวคือ  แสดง เดือนและปีที่ผลิต หรือ วันเดือนและปีที่หมดอายุการบริโภคสำหรับอาหารที่เก็บไว้ได้เกิน 90 วัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เข้าข่ายตามข้อกำหนดดังกล่าว จึงเลือกระบุเฉพาะเดือนและปีที่ผลิตลงบนฉลากผลิตภัณฑ์ ส่วนตัวเลขด้านหลังที่ต่อจากเดือนและปีที่ผลิตตามที่ผู้บริโภคร้องเรียนมาว่า เลือนรางนั้น เป็นตัวเลขแสดงรหัสสินค้าการผลิตสำหรับใช้ตรวจสอบภายในบริษัทฯ เท่านั้น     ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า สำนักงานฯ(อย.) ขอความร่วมมือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีตรวจสอบสถานที่ผลิตบริษัทสก๊อตฯ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพรุนสกัดเข้มข้น ตราสก๊อตเพียวเร่ และเครื่องดื่มตราสก๊อตเพียวเร่ เท็นเบอร์รี่ ที่ฉลากไม่มีระบุวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน และวันที่ผลิตมีการระบุไว้แต่ไม่ชัดเจน เนื่องจากพิมพ์ทับบนตราสินค้า แต่อาหารประเภทเครื่องดื่มสกัดเข้มข้น มิได้มีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดงวันหมดอายุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี จึงได้มีหนังสือขอความร่วมมือกับทางบริษัทฯ ให้แสดงวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ และแสดงวันที่ผลิตให้ชัดเจน เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปว่า อาหารที่เก็บไว้ได้เกิน 90 วัน ตามกฎหมายปัจจุบันไม่จำเป็นต้องแสดงวันหมดอายุก็ได้ จะบังคับเฉพาะอาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วันเท่านั้นที่ต้องแสดงวันหมดอายุบนฉลาก คำถามคือว่า แล้วชาวบ้านธรรมดาๆ เขาจะรู้ไหมนะว่า อาหารไหนเก็บได้เกินหรือไม่เกิน 90 วัน อันที่จริงหากจะเก็บได้เกิน 90 วัน ก็ควรจะมีขอบเขตอายุการขายอยู่บ้างน่าจะดีกว่ากระมัง     เชื่อหรือไม่ การโหลดของขึ้นเครื่องบิน อาจทำให้ของด้อยค่าลงได้ เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2554 แม้เวลาผ่านมาได้ 1 ปีแล้ว แต่เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นกับใครอีกก็ได้ ถ้าสายการบินและผู้ดูแลสนามบินไม่มีมาตรการความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิม เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 คุณสุทธิดาเดินทางจากจังหวัดเชียงรายเข้ากรุงเทพมหานคร โดยสายการบินไทยเที่ยวเวลา 10.25 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 11.30 น. มายืนรอรับกระเป๋าที่โหลดขึ้นเครื่องมาพร้อมกันอยู่เป็นนาน กลับไม่เห็นวี่แวว จึงได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของการบินไทยรอประมาณ 1 ชั่วโมงก็ยังไม่ได้กระเป๋าคืน สรุปความได้ว่ากระเป๋าหายแน่แล้วเจ้าหน้าที่การบินไทยจึงให้เธอแจ้งเรื่องกระเป๋าหายไว้ และให้ไปรอที่โรงแรมที่พัก ถ้าได้กระเป๋าแล้วจะติดต่อกลับมา วันนั้นเธอใช้เวลาเดินทางบนเครื่องบินราว 1 ชั่วโมง แต่ต้องมาเสียเวลาติดตามเรื่องกระเป๋าหายข้ามปี คุณสุทธิดาบอกว่า ในวันนั้นเธอต้องรีบมาประชุมที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เวลา 16.00 น. และยังมีการประชุมต่อเนื่องอีก 2 วัน เป็นงานประชุมระดับชาติ แต่เธอไม่มีของใช้ติดตัวอะไรเลย ของในกระเป๋ามีชุดประชุม 4 ชุด ซึ่งตัดใหม่สำหรับใส่ไปงานนี้ 2 ชุด มีทั้งเสื้อสูท ชุดไปรเวท กางเกง เครื่องสำอาง น้ำหอม ชุดชั้นในบอดี้สูท ยกทรง ที่ชาร์ตแบตกล้องถ่ายรูป มือถือ หนังสือ แผ่นซีดี วิตามิน รวมราคาประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท “ลำบากมากๆ และต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของต่างๆ เพื่อใช้ในการประชุมอย่างเร่งด่วน เสียค่าโทรศัพท์เพื่อติดต่อการบินไทย ที่สำคัญเกิดความวิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้พักผ่อนและประชุมด้วยใจที่ไม่ปกติสุข” สำนักงานการบินไทยบอกกับคุณสุทธิดาว่าให้รอครบ 21 วันก่อน ถ้าไม่ได้กระเป๋าจะทำเรื่องเคลมให้ พอถึงกำหนดกระเป๋ายังไม่ได้คืน คุณสุทธิดาจึงได้ทำเรื่องเคลมขอเรียกค่าเสียหายไป “สำนักงานการบินไทยที่เชียงรายโทรมาบอกว่า ทราบเรื่องแล้วจะเคลมให้โดยคิดเป็นกิโลกรัม กิโลกรัมละ 450 บาท กระเป๋าดิฉันหนัก 13 กิโลกรัมรวมแล้วได้ประมาณ 5,850 บาท ซึ่งไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไป และไม่ได้เป็นความผิดของดิฉันด้วย การบินไทยทำแบบนี้ดิฉันรู้สึกยอมรับในเงื่อนไขไม่ได้ค่ะ ขอปรึกษาและขอความช่วยเหลือ ต้องทำอย่างไรต่อไปคะ”   แนวทางแก้ไข หลังได้รับเรื่องร้องเรียน เรารู้สึกหนักใจเพราะกรณีนี้ยากแก่การพิสูจน์ว่ามีรายการทรัพย์สินและมูลค่าทรัพย์สินตามที่ผู้ร้องเรียนกล่าวอ้างจริงมากน้อยแค่ไหน จึงได้ขอให้ผู้ร้องทำรายละเอียดรายการทรัพย์สินที่สูญหายไปพร้อมกับกระเป๋าพร้อมมูลค่าราคาทรัพย์สิน เพื่อแนบส่งไปให้บริษัทการบินไทย ได้พิจารณาอีกครั้ง ต่อมาการบินไทยได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า บริษัทฯ ตระหนักในความเสียหายที่เกิดขึ้นในการขนส่งสัมภาระของสุทธิดา และได้มีจดหมายขออภัยและชี้แจงไปยังคุณสุทธิดาแล้ว ถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลในการชดเชยค่าเสียหายกรณีสัมภาระสูญหาย สำหรับเที่ยวบินในประเทศ พิจารณาจากน้ำหนักจริงของสัมภาระที่สูญหาย กิโลกรัมละ 450 บาท ซึ่งในกรณีนี้ผู้โดยสารเดินทางในชั้นประหยัด พร้อมสัมภาระจำนวน 1 ชิ้น 13 กิโลกรัม ดังนั้นหากพิจารณาตามเกณฑ์ปรกติกรณีสัมภาระสูญหาย ผู้โดยสารจะได้รับค่าชดเชยเป็นเงินจำนวน 5,850 บาท ทั้งนี้ บริษัทฯ โดยสำนักงานเชียงรายได้พิจารณาชดเชยจากน้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตคือ 20 กิโลกรัม ในการคำนวณค่าชดเชยเป็นเงินทั้งสิ้น 9,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดที่บริษัทฯ สามารถให้ได้นอกเหนือจากหลักเกณฑ์การพิจารณาตามปรกติ และขอยืนยันว่าจำนวนเงินค่าชดเชยดังกล่าว บริษัทฯ ได้พิจารณาเป็นกรณีพิเศษแล้ว เราแจ้งคำยืนยันของการบินไทยฯ ให้คุณสุทธิดาพิจารณาอีกครั้งว่า จะตัดสินใจยอมรับในค่าชดเชยใหม่ที่การบินไทยเสนอหรือว่าจะดำเนินการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคต่อไป คุณสุทธิดาตกลงยอมรับในค่าชดเชยใหม่ เพราะหากจะฟ้องร้องต่อ เรื่องก็อาจกินเวลามากขึ้น และอาจได้รับการพิจารณาชดเชยความเสียหายที่ไม่ต่างกันมากนักก็ได้ คติเตือนใจสำหรับเรื่องนี้ เดินทางด้วยเครื่องบิน ถ้าคุณนำโน้ตบุ้คส์น้ำหนัก 1 กิโลกรัมโหลดขึ้นเครื่องแล้วเกิดสูญหาย จำไว้ว่าคุณจะได้เงินคืนเพียง 450 บาทเท่านั้น อยากได้มากกว่านั้นต้องฟ้องสถานเดียว  ทางที่ดีของมีค่าควรเก็บไว้กับตัวเราเป็นดีที่สุด     เป็นหนี้สองแสนเพราะทำสปาแบบไม่ตั้งใจ ศิริวัลย์ อยากบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนจากบริการสปา หลังจ่ายเงินไปร่วมสองแสนบาท แต่อ้อยเข้าปากสปาปากแล้ว เอาออกยากยิ่งกว่าปากช้างเสียอีก ศิริวัลย์บอกว่าเมื่อเดือนตุลาคมปลายปีที่ผ่านมา ได้สมัครสมาชิกสปาและสถานบริการฟิตเนส สปานั้นเป็นสปาหน้าและตัววงเงิน 20,000 บาท ส่วนสถานบริการฟิตเนสวงเงิน 25,000 บาท เราถามว่า กล้าจ่ายเงินมากขนาดนั้นได้ไง เธอบอกว่า มันเริ่มจากการที่พนักงานขายเชิญชวนและให้เช็คสุขภาพ และได้ทดลองเข้าใช้บริการฟรี 1 ครั้ง พอไปเข้าใช้บริการครั้งแรก พนักงานขายก็พยายามเชิญชวนให้ปรับคอร์สขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างเข้ารับบริการพนักงานทำทรีทเมนต์ก็ยังแนะนำเสนอขายเครื่องสำอางอีก 1 ชุด “ทุกครั้งที่รับบริการเสร็จ พนักงานขายและเจ้าหน้าที่ที่พนักงานขายแนะนำว่าเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติบริการจะพูดจาโน้มน้าวให้เราซื้อคอร์สเพิ่มขึ้น จนเราต้องยอมซื้อโดยจ่ายค่าคอร์สวีไอพีเป็นเงินรวม 200,000 บาท เครื่องสำอางอีก 1 ชุด 9,240 บาท รวมจ่ายทั้งสิ้น 209,240 บาท รูดบัตรเครดิตไปทั้งสิ้น 6 ครั้งค่ะ” เธอเล่าเพิ่มเติมว่า ตอนสมัครคอร์สวีไอพี พนักงานขายแจ้งว่า เป็นสมาชิกโดยไม่มีหมดอายุ สามารถให้ผู้ใดมาใช้บริการด้วยก็ได้ ตอนที่ตกลงทำสัญญาไปก็ไม่มีโอกาสได้ศึกษาสัญญาอย่างละเอียดเนื่องจากมีพนักงานขายถึง 3 คนมาช่วยดำเนินการ นอกจากนั้นยังมีการคืนยอดบัตรเครดิตเข้าออกถึง 2 ครั้งจนสับสนไปหมด “เราไม่มีโอกาสได้อ่านสัญญาอย่างถี่ถ้วน มีเพียงทำเครื่องหมายให้เราเซ็นชื่อ พนักงานขายเพียงพูดว่าเป็นไปตามที่เขาพูด” นอกจากนี้เธอยังเล่าอีกว่า ในวันที่สมัครสมาชิกแล้วและได้ทดลองทำสลิม 2 ครั้ง หลังจากที่ทำครั้งแรกแล้วน้ำหนักลดเพียง 2 ขีด และเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กิโลกรัมก่อนทำในครั้งที่สอง เมื่อทำเสร็จก็ลดลง 2 ขีด เสียเงินสองครั้งนั้นไป 11,000 บาท และยังมาเสียเงินทำสปาอีก 2 ครั้งเป็นเงิน 4,500 บาท เพียงแค่วูบเดียวแทนที่น้ำหนักจะถูกรีด กลับกลายเป็นเงินในกระเป๋าถูกรีดไป 15,500 บาท หลังจากที่ได้สมัครไปแล้ว กลับมานั่งทบทวนสัญญาที่บ้าน พบว่ามีสัญญาบางข้อที่ไม่เป็นไปตามที่พนักงานให้ข้อมูล เช่น ระยะเวลาการเป็นสมาชิกที่บอกว่าเป็นตลอดชีพ แต่ในสัญญาระบุว่า สมาชิกมีอายุคงอยู่ได้ 2 ปี และต้องเข้ารับบริการให้ครบถ้วน การต่ออายุต้องมีการสมัครใช้บริการเพิ่ม 15,000 บาท นอกจากนี้เครื่องสำอางยังมีราคาแพงกว่าสินค้าที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต และไม่มีภาษาไทยหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นที่แสดงถึงความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ เมื่อมีโอกาสได้ตรวจดูข้อสัญญาและข้อมูลต่างๆแล้ว ทำให้สติกลับคืนมา อยากจะบอกเลิกสัญญา และขอเงินที่ได้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไปร่วม 2 แสนบาทคืน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด “บริษัทฯ ไม่มีนโยบายคืนเงิน” นั่นคือคำตอบที่เธอได้รับ   แนวทางแก้ไขปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับสัญญาบริการฟิตเนส  คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีประกาศขึ้นมาฉบับหนึ่ง เป็นประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2554 ระบุถึงสิทธิเลิกสัญญาของผู้บริโภคไว้ดังนี้ ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีประเภทอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการอื่นตามที่ได้แจ้งหรือสัญญาไว้กับผู้บริโภค หรือประเภทอุปกรณ์ดังกล่าวชำรุดบกพร่อง หรือให้บริการได้ไม่เหมาะสมและเพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิก และพื้นที่ออกกำลังกาย โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการนั้นๆที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาทดแทนได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับแจ้ง มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ยืนยันว่า การใช้บริการออกกำลังกายต่อไปอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือสภาพร่างกายหรือจิตใจผิดปกติ ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากผู้ฝึกสอนของผู้ประกอบธุรกิจไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่ไม่มีคำเตือนว่า ชำรุดบกพร่อง เมื่อพิจารณาจากเหตุผลที่ผู้ร้องเรียนยกขึ้นมากล่าวอ้างเทียบกับสิทธิเลิกสัญญาของผู้บริโภคตามประกาศข้างต้น จะเห็นว่าไม่เข้ากันหรือไม่สามารถใช้เป็นเป็นสิทธิบอกเลิกสัญญาตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองได้ อย่างไรก็ดี มูลนิธิฯได้ติดต่อไปที่สถานบริการฟิตเนส เพื่อแจ้งถึงความประสงค์ของลูกค้าที่ต้องการขอเลิกสัญญาและขอเงินคืน ได้รับแจ้งกลับมาว่า บริษัทฯไม่มีการคืนเงินให้ลูกค้าทั้งหมด แต่จะคืนเงินให้ 85% หลังหักจากยอดที่ผู้บริโภคได้ใช้บริการไปแล้ว 5 ครั้ง เป็นเงิน 15,500 บาท รวมกับคอร์สที่ผู้บริโภคต้องเข้าใช้บริการเพิ่มเติมอีก 20,000 บาท โดยบริษัทขอหักค่าดำเนินการ 15% เป็นเงิน 26,061 บาท คงเหลือคืนผู้ร้อง 147,679 บาท ศิริวัลย์นั่งคิดคำนวณดูแล้ว ท้ายที่สุดตัดสินใจยอมรับเงื่อนไขที่บริษัทเสนอมา พร้อมทั้งฝากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ช่วยเตือนผู้บริโภคในการเข้าทำสัญญาเสริมความงามหรือสถานบริการออกกำลังกายให้ตรวจสอบราคาค่าบริการให้ดี อ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็น และอย่าสมัครเพราะขัดใจพนักงานขายไม่ได้ “หลังจากเข้าไปรับบริการจนครบคอร์สที่เหลืออีก 20,000 บาท ก็คงไม่ซื้อคอร์สเพิ่มแล้ว คงหยุดซื้อโดยเด็ดขาดแล้วค่ะ” ศิริวัลย์กล่าวด้วยความเข็ดขยาด     ผ่าตัดเกินพอดี นิตยามีอาการปวดใต้ลิ้นปี่ ไปเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่ถือสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ แพทย์ตรวจพบว่ามีนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี จึงทำการผ่าตัดออก และนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่ 6 วันแพทย์จึงให้กลับบ้าน แต่เมื่อกลับไปพักที่บ้านได้ 1 อาทิตย์ เกิดอาการผิดปกติตัวเหลืองตาเหลืองไม่มีแรง นิตยาจึงเข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิอีกครั้ง แพทย์ได้เอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาว่ามีนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดีอีกหรือไม่ และแจ้งว่าหากอาการผิดปกติยังไม่หายจะส่งตัวผู้ร้องไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราชจากนั้นจึงให้เธอกลับไปรอดูอาการที่บ้าน “อาการของดิฉันรู้สึกแย่ลงมาก ตัวเหลือง ตาเหลืองมากขึ้น อีกประมาณ 10 วัน หมอนัดตรวจอาการ แต่เป็นหมอคนใหม่บอกว่ามารักษาแทนหมอคนเดิมที่ทำการผ่าตัด ดิฉันบอกกับหมอที่มารักษาแทนว่า หมอคนเดิมบอกว่าถ้าพบสิ่งผิดปกติจะส่งตัวไปที่โรงพยาบาลศิริราชแล้วทำไมถึงเงียบ หมอถามว่า หมอคนเดิมบอกแบบนั้นหรือ ดิฉันก็ตอบว่าใช่ค่ะ แล้วคุณหมอท่านนั้นก็บอกว่าผมจะส่งคุณไปเอง” นิตยาถูกทำเรื่องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชในเวลาต่อมา แต่ก็พบปัญหาว่าผลเอ็กซเรย์ของโรงพยาบาลเอกชนที่ส่งมานั้นดูผลได้ไม่ชัดต้องเอ็กซเรย์ใหม่ แต่ติดที่ต้องจ่ายค่าเอ็กซเรย์เองหากจะให้ศิริราชดำเนินการ     นิตยาจึงต้องย้อนกลับไปติดต่อที่โรงพยาบาลแห่งเดิม ซึ่งได้แจ้งให้เธอไปเอ็กซเรย์กับโรงพยาบาลในเครืออีกแห่งแล้วถึงได้นำผลเอ็กซเรย์ไปให้โรงพยาบาลศิริราชวินิจฉัยทำการรักษาต่อไป นิตยาใช้เวลาในการเดินเรื่องขั้นตอนนี้กว่า 2-3 เดือน ขณะที่สภาพร่างกายแย่มากขึ้นเรื่อยๆ กว่าจะได้รับการผ่าตัดอีกครั้งจากโรงพยาบาลศิริราช “ก่อนผ่าตัดคุณหมอบอกว่า การผ่าตัดครั้งนี้ต้องตัดไส้มาเย็บต่อน้ำดี เนื่องจากว่าท่อน้ำดีถูกตัดสั้นจนเกินไป(จากการผ่าตัดครั้งที่ผ่านมา) เลยทำให้การเย็บต่อก่อให้เกิดการตีบตันของทางเดินเลือด จึงเป็นสาเหตุทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง น้ำหนักลดจาก 55 เหลือ 44 กิโลกรัม” ปัญหาจากการผ่าตัดครั้งแรกทำให้น้ำหนักตัวของนิตยาลดลงถึง 11 กิโลกรัมภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว จากตัวเหลืองก็กลายเป็นดำและคันตามตัวเป็นอย่างมากและตาก็เหลืองมากขึ้น ด้วยร่างกายที่อ่อนแอลงทำให้เธอไม่สามารถประกอบอาชีพได้เหมือนเดิม ขณะที่ต้องรับภาระส่งลูกเรียกระดับ ปวช. ส่งค่าบ้านที่จำนองไว้กับธนาคารก่อให้เกิดหนี้สินมากมายเพราะไม่สามารถประกอบอาชีพได้ในช่วงรักษาตัวและทำการผ่าตัด ทำให้นิตยาต้องร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือในการเรียกร้องค่าเสียหายจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรก   แนวทางแก้ไขปัญหา กรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติถ้วนหน้า ภายหลังการยื่นเรื่องตามคำแนะนำของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นิตยาได้รับพิจารณาเงินช่วยเหลือจำนวน 50,000 บาท  ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดในครั้งแรก ได้รับคำร้องเรียนของนิตยาและรับที่จะรับผิดชอบเยียวยาในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลได้ทำประกันภัยความเสี่ยงจากการรักษาพยาบาลไว้กับบริษัทประกันภัย ในที่สุดนิตยาได้รับการพิจารณาเยียวยาความเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 240,000 บาท เรื่องจึงเป็นอันยุติโดยมิต้องดำเนินการฟ้องร้องให้เป็นคดีความกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 เหตุผลที่ “สก๊อต” ไม่แสดงวันหมดอายุ

 คุณพรทิพย์ร้องเรียนมาว่า เครื่องดื่มสกัดเข้มข้น สก๊อต เพียวเร่ แสดงฉลากระบุเฉพาะวันที่ผลิต แต่ไม่มีการระบุวันหมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อน และการระบุวันที่ผลิตบนฉลากผลิตภัณฑ์บางส่วนพิมพ์ทับอยู่บนรูปภาพเครื่องหมายทางการค้า ขอให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยตรวจสอบให้ด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ ได้มีหนังสือแจ้งข้อร้องเรียนข้างต้นไปถึงผู้ประกอบการคือ บริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล(ประเทศไทย) จำกัด และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)บริษัท สก๊อตฯ มีหนังสือตอบกลับมาว่า บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ข้อ 11.2 (ตามจริงคือ ข้อ 3(11.2)) กล่าวคือ  แสดง เดือนและปีที่ผลิต หรือ วันเดือนและปีที่หมดอายุการบริโภคสำหรับอาหารที่เก็บไว้ได้เกิน 90 วัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เข้าข่ายตามข้อกำหนดดังกล่าว จึงเลือกระบุเฉพาะเดือนและปีที่ผลิตลงบนฉลากผลิตภัณฑ์ ส่วนตัวเลขด้านหลังที่ต่อจากเดือนและปีที่ผลิตตามที่ผู้บริโภคร้องเรียนมาว่า เลือนรางนั้น เป็นตัวเลขแสดงรหัสสินค้าการผลิตสำหรับใช้ตรวจสอบภายในบริษัทฯ เท่านั้น ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า สำนักงานฯ(อย.) ขอความร่วมมือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีตรวจสอบสถานที่ผลิตบริษัทสก๊อตฯ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพรุนสกัดเข้มข้น ตราสก๊อตเพียวเร่ และเครื่องดื่มตราสก๊อตเพียวเร่ เท็นเบอร์รี่ ที่ฉลากไม่มีระบุวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน และวันที่ผลิตมีการระบุไว้แต่ไม่ชัดเจน เนื่องจากพิมพ์ทับบนตราสินค้า แต่อาหารประเภทเครื่องดื่มสกัดเข้มข้น มิได้มีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดงวันหมดอายุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี จึงได้มีหนังสือขอความร่วมมือกับทางบริษัทฯ ให้แสดงวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ และแสดงวันที่ผลิตให้ชัดเจน เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคสรุปว่า อาหารที่เก็บไว้ได้เกิน 90 วัน ตามกฎหมายปัจจุบันไม่จำเป็นต้องแสดงวันหมดอายุก็ได้ จะบังคับเฉพาะอาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วันเท่านั้นที่ต้องแสดงวันหมดอายุบนฉลาก คำถามคือว่า แล้วชาวบ้านธรรมดาๆ เขาจะรู้ไหมนะว่า อาหารไหนเก็บได้เกินหรือไม่เกิน 90 วัน อันที่จริงหากจะเก็บได้เกิน 90 วัน ก็ควรจะมีขอบเขตอายุการขายอยู่บ้างน่าจะดีกว่ากระมัง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 เชื่อหรือไม่ การโหลดของขึ้นเครื่องบิน อาจทำให้ของด้อยค่าลงได้

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2554 แม้เวลาผ่านมาได้ 1 ปีแล้ว แต่เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นกับใครอีกก็ได้ ถ้าสายการบินและผู้ดูแลสนามบินไม่มีมาตรการความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 คุณสุทธิดาเดินทางจากจังหวัดเชียงรายเข้ากรุงเทพมหานคร โดยสายการบินไทยเที่ยวเวลา 10.25 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 11.30 น. มายืนรอรับกระเป๋าที่โหลดขึ้นเครื่องมาพร้อมกันอยู่เป็นนาน กลับไม่เห็นวี่แวว จึงได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของการบินไทยรอประมาณ 1 ชั่วโมงก็ยังไม่ได้กระเป๋าคืน สรุปความได้ว่ากระเป๋าหายแน่แล้วเจ้าหน้าที่การบินไทยจึงให้เธอแจ้งเรื่องกระเป๋าหายไว้ และให้ไปรอที่โรงแรมที่พัก ถ้าได้กระเป๋าแล้วจะติดต่อกลับมา วันนั้นเธอใช้เวลาเดินทางบนเครื่องบินราว 1 ชั่วโมง แต่ต้องมาเสียเวลาติดตามเรื่องกระเป๋าหายข้ามปีคุณสุทธิดาบอกว่า ในวันนั้นเธอต้องรีบมาประชุมที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เวลา 16.00 น. และยังมีการประชุมต่อเนื่องอีก 2 วัน เป็นงานประชุมระดับชาติ แต่เธอไม่มีของใช้ติดตัวอะไรเลย ของในกระเป๋ามีชุดประชุม 4 ชุด ซึ่งตัดใหม่สำหรับใส่ไปงานนี้ 2 ชุด มีทั้งเสื้อสูท ชุดไปรเวท กางเกง เครื่องสำอาง น้ำหอม ชุดชั้นในบอดี้สูท ยกทรง ที่ชาร์ตแบตกล้องถ่ายรูป มือถือ หนังสือ แผ่นซีดี วิตามิน รวมราคาประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท“ลำบากมากๆ และต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของต่างๆ เพื่อใช้ในการประชุมอย่างเร่งด่วน เสียค่าโทรศัพท์เพื่อติดต่อการบินไทย ที่สำคัญเกิดความวิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้พักผ่อนและประชุมด้วยใจที่ไม่ปกติสุข”สำนักงานการบินไทยบอกกับคุณสุทธิดาว่าให้รอครบ 21 วันก่อน ถ้าไม่ได้กระเป๋าจะทำเรื่องเคลมให้ พอถึงกำหนดกระเป๋ายังไม่ได้คืน คุณสุทธิดาจึงได้ทำเรื่องเคลมขอเรียกค่าเสียหายไป “สำนักงานการบินไทยที่เชียงรายโทรมาบอกว่า ทราบเรื่องแล้วจะเคลมให้โดยคิดเป็นกิโลกรัม กิโลกรัมละ 450 บาท กระเป๋าดิฉันหนัก 13 กิโลกรัมรวมแล้วได้ประมาณ 5,850 บาท ซึ่งไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไป และไม่ได้เป็นความผิดของดิฉันด้วย การบินไทยทำแบบนี้ดิฉันรู้สึกยอมรับในเงื่อนไขไม่ได้ค่ะ ขอปรึกษาและขอความช่วยเหลือ ต้องทำอย่างไรต่อไปคะ” แนวทางแก้ไขหลังได้รับเรื่องร้องเรียน เรารู้สึกหนักใจเพราะกรณีนี้ยากแก่การพิสูจน์ว่ามีรายการทรัพย์สินและมูลค่าทรัพย์สินตามที่ผู้ร้องเรียนกล่าวอ้างจริงมากน้อยแค่ไหน จึงได้ขอให้ผู้ร้องทำรายละเอียดรายการทรัพย์สินที่สูญหายไปพร้อมกับกระเป๋าพร้อมมูลค่าราคาทรัพย์สิน เพื่อแนบส่งไปให้บริษัทการบินไทย ได้พิจารณาอีกครั้งต่อมาการบินไทยได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า บริษัทฯ ตระหนักในความเสียหายที่เกิดขึ้นในการขนส่งสัมภาระของสุทธิดา และได้มีจดหมายขออภัยและชี้แจงไปยังคุณสุทธิดาแล้ว ถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลในการชดเชยค่าเสียหายกรณีสัมภาระสูญหาย สำหรับเที่ยวบินในประเทศ พิจารณาจากน้ำหนักจริงของสัมภาระที่สูญหาย กิโลกรัมละ 450 บาท ซึ่งในกรณีนี้ผู้โดยสารเดินทางในชั้นประหยัด พร้อมสัมภาระจำนวน 1 ชิ้น 13 กิโลกรัม ดังนั้นหากพิจารณาตามเกณฑ์ปรกติกรณีสัมภาระสูญหาย ผู้โดยสารจะได้รับค่าชดเชยเป็นเงินจำนวน 5,850 บาท ทั้งนี้ บริษัทฯ โดยสำนักงานเชียงรายได้พิจารณาชดเชยจากน้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตคือ 20 กิโลกรัม ในการคำนวณค่าชดเชยเป็นเงินทั้งสิ้น 9,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดที่บริษัทฯ สามารถให้ได้นอกเหนือจากหลักเกณฑ์การพิจารณาตามปรกติ และขอยืนยันว่าจำนวนเงินค่าชดเชยดังกล่าว บริษัทฯ ได้พิจารณาเป็นกรณีพิเศษแล้วเราแจ้งคำยืนยันของการบินไทยฯ ให้คุณสุทธิดาพิจารณาอีกครั้งว่า จะตัดสินใจยอมรับในค่าชดเชยใหม่ที่การบินไทยเสนอหรือว่าจะดำเนินการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคต่อไป คุณสุทธิดาตกลงยอมรับในค่าชดเชยใหม่ เพราะหากจะฟ้องร้องต่อ เรื่องก็อาจกินเวลามากขึ้น และอาจได้รับการพิจารณาชดเชยความเสียหายที่ไม่ต่างกันมากนักก็ได้คติเตือนใจสำหรับเรื่องนี้ เดินทางด้วยเครื่องบิน ถ้าคุณนำโน้ตบุ้คส์น้ำหนัก 1 กิโลกรัมโหลดขึ้นเครื่องแล้วเกิดสูญหาย จำไว้ว่าคุณจะได้เงินคืนเพียง 450 บาทเท่านั้น อยากได้มากกว่านั้นต้องฟ้องสถานเดียว  ทางที่ดีของมีค่าควรเก็บไว้กับตัวเราเป็นดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 เป็นหนี้สองแสนเพราะทำสปาแบบไม่ตั้งใจ

ศิริวัลย์ อยากบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนจากบริการสปา หลังจ่ายเงินไปร่วมสองแสนบาท แต่อ้อยเข้าปากสปาปากแล้ว เอาออกยากยิ่งกว่าปากช้างเสียอีกศิริวัลย์บอกว่าเมื่อเดือนตุลาคมปลายปีที่ผ่านมา ได้สมัครสมาชิกสปาและสถานบริการฟิตเนส สปานั้นเป็นสปาหน้าและตัววงเงิน 20,000 บาท ส่วนสถานบริการฟิตเนสวงเงิน 25,000 บาทเราถามว่า กล้าจ่ายเงินมากขนาดนั้นได้ไง เธอบอกว่า มันเริ่มจากการที่พนักงานขายเชิญชวนและให้เช็คสุขภาพ และได้ทดลองเข้าใช้บริการฟรี 1 ครั้ง พอไปเข้าใช้บริการครั้งแรก พนักงานขายก็พยายามเชิญชวนให้ปรับคอร์สขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างเข้ารับบริการพนักงานทำทรีทเมนต์ก็ยังแนะนำเสนอขายเครื่องสำอางอีก 1 ชุด“ทุกครั้งที่รับบริการเสร็จ พนักงานขายและเจ้าหน้าที่ที่พนักงานขายแนะนำว่าเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติบริการจะพูดจาโน้มน้าวให้เราซื้อคอร์สเพิ่มขึ้น จนเราต้องยอมซื้อโดยจ่ายค่าคอร์สวีไอพีเป็นเงินรวม 200,000 บาท เครื่องสำอางอีก 1 ชุด 9,240 บาท รวมจ่ายทั้งสิ้น 209,240 บาท รูดบัตรเครดิตไปทั้งสิ้น 6 ครั้งค่ะ”เธอเล่าเพิ่มเติมว่า ตอนสมัครคอร์สวีไอพี พนักงานขายแจ้งว่า เป็นสมาชิกโดยไม่มีหมดอายุ สามารถให้ผู้ใดมาใช้บริการด้วยก็ได้ ตอนที่ตกลงทำสัญญาไปก็ไม่มีโอกาสได้ศึกษาสัญญาอย่างละเอียดเนื่องจากมีพนักงานขายถึง 3 คนมาช่วยดำเนินการ นอกจากนั้นยังมีการคืนยอดบัตรเครดิตเข้าออกถึง 2 ครั้งจนสับสนไปหมด“เราไม่มีโอกาสได้อ่านสัญญาอย่างถี่ถ้วน มีเพียงทำเครื่องหมายให้เราเซ็นชื่อ พนักงานขายเพียงพูดว่าเป็นไปตามที่เขาพูด” นอกจากนี้เธอยังเล่าอีกว่า ในวันที่สมัครสมาชิกแล้วและได้ทดลองทำสลิม 2 ครั้ง หลังจากที่ทำครั้งแรกแล้วน้ำหนักลดเพียง 2 ขีด และเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กิโลกรัมก่อนทำในครั้งที่สอง เมื่อทำเสร็จก็ลดลง 2 ขีด เสียเงินสองครั้งนั้นไป 11,000 บาท และยังมาเสียเงินทำสปาอีก 2 ครั้งเป็นเงิน 4,500 บาท เพียงแค่วูบเดียวแทนที่น้ำหนักจะถูกรีด กลับกลายเป็นเงินในกระเป๋าถูกรีดไป 15,500 บาทหลังจากที่ได้สมัครไปแล้ว กลับมานั่งทบทวนสัญญาที่บ้าน พบว่ามีสัญญาบางข้อที่ไม่เป็นไปตามที่พนักงานให้ข้อมูล เช่น ระยะเวลาการเป็นสมาชิกที่บอกว่าเป็นตลอดชีพ แต่ในสัญญาระบุว่า สมาชิกมีอายุคงอยู่ได้ 2 ปี และต้องเข้ารับบริการให้ครบถ้วน การต่ออายุต้องมีการสมัครใช้บริการเพิ่ม 15,000 บาท นอกจากนี้เครื่องสำอางยังมีราคาแพงกว่าสินค้าที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต และไม่มีภาษาไทยหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นที่แสดงถึงความมั่นใจในผลิตภัณฑ์เมื่อมีโอกาสได้ตรวจดูข้อสัญญาและข้อมูลต่างๆแล้ว ทำให้สติกลับคืนมา อยากจะบอกเลิกสัญญา และขอเงินที่ได้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไปร่วม 2 แสนบาทคืน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด“บริษัทฯ ไม่มีนโยบายคืนเงิน” นั่นคือคำตอบที่เธอได้รับ แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาเกี่ยวกับสัญญาบริการฟิตเนส  คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีประกาศขึ้นมาฉบับหนึ่ง เป็นประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2554 ระบุถึงสิทธิเลิกสัญญาของผู้บริโภคไว้ดังนี้ ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีประเภทอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการอื่นตามที่ได้แจ้งหรือสัญญาไว้กับผู้บริโภค หรือประเภทอุปกรณ์ดังกล่าวชำรุดบกพร่อง หรือให้บริการได้ไม่เหมาะสมและเพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิก และพื้นที่ออกกำลังกาย โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการนั้นๆที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาทดแทนได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับแจ้ง มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ยืนยันว่า การใช้บริการออกกำลังกายต่อไปอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือสภาพร่างกายหรือจิตใจผิดปกติ ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากผู้ฝึกสอนของผู้ประกอบธุรกิจไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่ไม่มีคำเตือนว่า ชำรุดบกพร่อง เมื่อพิจารณาจากเหตุผลที่ผู้ร้องเรียนยกขึ้นมากล่าวอ้างเทียบกับสิทธิเลิกสัญญาของผู้บริโภคตามประกาศข้างต้น จะเห็นว่าไม่เข้ากันหรือไม่สามารถใช้เป็นเป็นสิทธิบอกเลิกสัญญาตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองได้อย่างไรก็ดี มูลนิธิฯได้ติดต่อไปที่สถานบริการฟิตเนส เพื่อแจ้งถึงความประสงค์ของลูกค้าที่ต้องการขอเลิกสัญญาและขอเงินคืน ได้รับแจ้งกลับมาว่า บริษัทฯไม่มีการคืนเงินให้ลูกค้าทั้งหมด แต่จะคืนเงินให้ 85% หลังหักจากยอดที่ผู้บริโภคได้ใช้บริการไปแล้ว 5 ครั้ง เป็นเงิน 15,500 บาท รวมกับคอร์สที่ผู้บริโภคต้องเข้าใช้บริการเพิ่มเติมอีก 20,000 บาท โดยบริษัทขอหักค่าดำเนินการ 15% เป็นเงิน 26,061 บาท คงเหลือคืนผู้ร้อง 147,679 บาทศิริวัลย์นั่งคิดคำนวณดูแล้ว ท้ายที่สุดตัดสินใจยอมรับเงื่อนไขที่บริษัทเสนอมา พร้อมทั้งฝากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ช่วยเตือนผู้บริโภคในการเข้าทำสัญญาเสริมความงามหรือสถานบริการออกกำลังกายให้ตรวจสอบราคาค่าบริการให้ดี อ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็น และอย่าสมัครเพราะขัดใจพนักงานขายไม่ได้“หลังจากเข้าไปรับบริการจนครบคอร์สที่เหลืออีก 20,000 บาท ก็คงไม่ซื้อคอร์สเพิ่มแล้ว คงหยุดซื้อโดยเด็ดขาดแล้วค่ะ” ศิริวัลย์กล่าวด้วยความเข็ดขยาด

อ่านเพิ่มเติม >