ฉบับที่ 140 Social TV เมื่อผู้บริโภค มีช่องทางในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการตอนนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตัล และ มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตัล พร้อมให้นำร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่าสังคมกำลังเดินหน้าไปสู่การสื่อสารยุคดิจิตัล การให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้บริโภค เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตัลเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้ผมขอนำสถานการณ์เกี่ยวกับ เรื่อง Social TV ของเยอรมนี ที่อยู่ในยุคทีวีดิจิตัลมานำเสนอครับ การบริโภคสื่อโดยเฉพาะการดูโทรทัศน์ในเยอรมนี ได้เปลี่ยนรูปแบบการรับชมเนื่องมาจาก การเข้ามามีบทบาทของ Social Network ได้แก่ Facebook และ Twitter ตลอดจนการขยายตัวของ smart phone ที่ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารของผู้บริโภค   คำว่า Social TV เกิดขึ้นจากการหลอมรวมของเทคโนโลยีระหว่าง โทรทัศน์ และ Social Media จากผลสำรวจของบริษัท Viacom Media Network ของเยอรมนี ซึ่งได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรม การบริโภคสื่อในรูปของ Social TV ผลการสำรวจกิจกรรมที่ผู้บริโภคนิยมมากที่สุดมีดังต่อไปนี้ รับชมรายการพร้อมกับเพื่อนๆ 85 % สืบค้นเนื้อหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายการทีวี 61% ดูวิดิโอบันทึกรายการ ผ่าน Social Media 58 % โดยผู้บริโภคที่รับชมรายการ Social TV ให้ความสำคัญกับ สามเรื่องดังนี้ การติดต่อสื่อสาร (Communication) สำรวจความเห็น (Check Comment) และ เนื่อหาของรายการ (Consume Content ) เรียกว่า เป็นสามเหลี่ยม สามซี ของการเสพสื่อของผู้บริโภคในยุคนี้ที่เดียว การที่ผู้บริโภครับชม รายการผ่าน Social TV ก็เนื่องจากต้องการข้อมูลและเนื้อหาเพิ่มเติม ที่ไม่ใช่เนื้อหาทั่วๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น Behind the scene material, Episode หรือ Clip ที่เป็น Highlight  และด้วยความสามารถของ Smart Phone ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในยุคดิจิตัล จึงสามารถใช้เครื่องมือนี้ ผ่านโปรแกรม ที่เรียกว่า Second Screen App ที่สามารถไปควบคุมการทำงานของโทรทัศน์ในบ้าน (First TV) สืบค้นเนื้อหาข้อมูล และแนะนำรายการต่อๆ ไปได้ นอกจากนี้ หัวใจของ Social TV คือ พฤติกรรมลักษณะ Socialize ได้แก่ การแลกเปลี่ยน ถกเถียง อภิปรายและแสดงความรู้สึกนึกคิดในสังคมออนไลน์เป็นวงกว้างได้  และที่สำคัญสำหรับในภาคธุรกิจที่สำคัญก็คือ การสั่งซื้อสินค้าและเล่นเกมส์ได้อีกด้วย ตัวอย่างของ App ที่เป็น Social TV คือ Zeebox, GetGlue Shazam และ Tweek (เป็น App ของเยอรมนี) IntoNow เป็น App ที่ทำหน้าที่ของ Social TV ที่มีอยู่ในตลาดขณะนี้ มีฟังค์ชัน ให้คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคในราย (TV Guide) และสามารถจัดเก็บสถิติต่างๆ ไว้ด้วย บทสรุป Social TV เป็นความท้าทายของรายการทีวีที่มีจำนวนผู้เข้าชมรายการเป็นจำนวนมาก เช่น Academy Fantasia, Thailand Got Talent หรือ การแข่งขันกีฬาแมตช์สำคัญๆ ว่าจะใช้ Social TV เป็นเครื่องมือสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างรายการทีวีและผู้บริโภคสื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงตัวตนได้อย่างไร  เพราะปัจจุบันช่องทางที่ผู้บริโภคใช้ในการสื่อสารไปยังรายการต่างๆ คือ SMS ซึ่งยังเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวอยู่ ยังมีข้อจำกัดมากในเรื่องของการเข้ามาร่วมเล่นในรายการที่เป็น Social Event ในขณะนี้ และที่สำคัญ ส่ง SMS มันครั้งละสามบาทครับ ในโลกออนไลน์และยุคดิจิตัล ถือว่ามันยังแพงเกินไปครับ แหล่งข้อมูล Guido Bülow, Das Fernsehen im Wandel- Second Screen Apps für das Social TV, 21. Symposium Deutsche TV-Plattform, 2012  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 สะระแหน่ แก้ปวด

ใบอะไรเอ่ย...กลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว แต่มีรสชาติคล้ายกับตะไคร้หอม คำตอบนั่นก็คือ ใบสะระแหน่ นี้นี่เอง ใบเล็กๆ เขียวเข้ม ขอบย่นๆ หยักๆ อยู่ในพล่า ยำ นั้น เห็นหลายคนชอบเขี่ยออกไปไม่ยอมกิน เห็นแล้วให้นึกเสียดาย เพราะสะระแหน่นั้นมีสรรพคุณที่ช่วยเพิ่มความหอมให้กับอาหาร นั่นเป็นเพราะว่า ใบสะระแหน่มีน้ำมันหอมระเหยมาก น้ำมันหอมระเหยของสะระแหน่นี้ ประกอบด้วยสารเมนทอล (Menthol) ไลโมนีน (Limonene) นีโอเมนทอล (Neomenthol) อยู่มาก จึงไม่เพียงช่วยให้อาหารมีความหอมยังช่วยดับกลิ่นปากได้ดีอีกด้วย   สารเมนทอล(รสเย็นซ่า) ในสะระแหน่มีคุณสมบัติเย็นจึงใช้รักษาอาการอ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน หลอดลมอักเสบ และหอบหืดได้ นอกจากนี้หลายสำนักวิจัยเรื่องสมุนไพรยังยกย่องให้สะระแหน่เป็นเจ้าแห่งการบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ทั้งปวดศีรษะ ปวดฟัน โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง หรือปวดท้อง จากบิด ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ เมนทอลของสะระแหน่นั้นเขาสรรเสริญกันว่าสุดยอด มีการนำใบสะระแหน่มาสกัดทำหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น นำไปผสมในยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หมากฝรั่ง ลูกอม เจลอาบน้ำ สบู่ ยาแก้ไอ หรือแม้แต่ครีมลดการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ก็เพราะเมนทอลในสะระแหน่นี่เอง ปัจจุบันได้มีการสกัดสารจากสะระแหน่ในรูปแบบของลูกอมสะระแหน่ไว้ใช้อม หรือที่เรียกว่า ลูกอมมินต์ ที่ทำให้เราทั้งรู้สึกสดชื่น และระงับเชื้อแบคทีเรียในปากได้ สะระแหน่ยังปลูกง่าย เป็นพืชสวนครัวที่แทบไม่ต้องดูแลอะไรมาก เคยได้ยินไหมที่เขาพูดเปรียบรถเก่าๆ ว่าน่าจะเอาไปปลูกสะระแหน่ได้แล้ว แสดงถึงความนิยมในเรื่องของการปลูกทั้งเป็นไม้ประดับและพืชสวนครัว พืชนี้ชอบน้ำชุ่ม คนโบราณจะปลูกไว้ใกล้ครัวและมักใช้น้ำคาวปลา(น้ำล้างปลา)รดสะระแหน่ เชื่อว่าจะทำให้แตกยอดและใบงาม สะระแหน่ขยายพันธุ์โดยใช้ไหลแยกไปปลูก(ปักชำ) ในบริเวณที่ต้องการได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร นอกจากหยิบจับใช้ทำอาหารแล้ว เวลาฉุกเฉินแมลงสัตว์กัดต่อย ขอให้รีบหยิบใบสะระแหน่มาขยี้หรือตำให้ละเอียดพอกบริเวณที่โดนกัด จะแก้พิษ บรรเทาอาการปวดแผลได้ผลชะงัดนัก รู้อย่างนี้แล้ว ถ้ามีสะระแหน่ประดับในจานอาหารขออย่าได้เขี่ยทิ้ง มันเสียของ จงกินมันเข้าไป และหากได้ไหลของต้นสะระแหน่ติดมือกลับมาบ้านก็ให้ปักชำทำเป็นพืชสวนครัวเสีย มีประโยชน์มากๆ เลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 วิตามินสารพัดเรียว

อิทธิพลของค่านิยมต่างๆ ที่เกี่ยวกับความสวยความงาม ทำให้ผู้หญิงหลายคนต้องตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาหลอกลวง ยิ่งในยุคหลังๆ ที่สังคมพยายามยัดเยียดค่านิยมว่า หากจะสวยอย่างแท้จริงก็จะต้องผอมเพรียวด้วย ยิ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมจะหลอกลวงต่างๆ ผุดขึ้นมามากมาย ผลิตภัณฑ์ที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ คือผลิตภัณฑ์ “วิตามินสารพัดเรียว” วิตามินชนิดนี้มีการนำไปเสนอขายทางอินเตอร์เน็ต โดยหลังจากสั่งซื้อแล้ว จะส่งสินค้าให้ทางไปรษณีย์ เน้นกลุ่มวัยรุ่นที่ต้องการความเรียวทุกประเภท มีทั้ง วิตามินแขนเรียว วิตามินแขนเรียว วิตามินหน้าเรียว วิตามินลดหน้าท้อง ราคาเม็ดละประมาณ 8 บาท โดยแนะนำว่า “ให้รับประทานวันละ 1 - 2 เม็ด ก่อนอาหารมื้อแรก 30 นาที สำหรับลูกค้าท่านใดไม่เคยรับประทานยาลดน้ำหนักมาก่อนเลย ให้รับประทานวันละ 1 เม็ด แล้วดื่มน้ำตามเยอะๆ” มีผิดสังเกตตรงที่ในโฆษณานั้นย้ำว่าหลังทานยาอย่าลืมทานข้าวทุกมื้อ (ไม่รู้ว่ากลัวคนกินเกิดอาการผิดสำแดงอย่างไร?) นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่านำเข้ามาจากเกาหลี ทั้งผลิตภัณฑ์ Slimming  Diet ที่อ้างว่ารับประทานแผงเดียวลดได้ 5 กิโลกรัม และผลิตภัณฑ์ กลูต้าหิมะ Gluta 100000 Super   Whitening Snow ที่โฆษณาว่าจะทำให้ผิวขาวเนียนนุ่มดุจหิมะ ผิวขาวใสอมชมพู ขาวเปล่งประกายอย่างมีมีออร่า ลบริ้วรอย จุดด่างดำ จากสิวฝ้า กระ ช่วยเร่งให้ผิวขาวขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ แถมยังอ้างว่าจะ Detox ตับ และป้องกันการเกิดมะเร็ง ทั้งๆที่ส่วนประกอบที่แสดงบนฉลากคือ แอล กลูต้าไธโอน (L-Glutathione 100000 mg) ซึ่งเคยมีรายงานว่ามีผู้ป่วยได้รับอันตรายต่อตับจากการใช้อย่างไม่ถูกต้องมาแล้ว และที่เสมอต้นเสมอปลายคือ ภาพจากโฆษณาเหล่านี้ไม่มีเลขทะเบียนยา หรืออาหารแต่อย่างใด แต่ฉลากที่แสดงเป็นภาษาไทยน่าจะเชื่อได้ว่าแอบลักลอบผลิตในประเทศนี่เอง ใครมีลูกหลานวัยรุ่น วัยที่รักสวยรักงาม รีบไปเตือน “อย่าไปเสี่ยงเรียวเชียวนะหนู” และใครทราบแหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย ขอให้รีบแจ้งเบาะแสให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทราบด้วยนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 วิธียื่นฎีกาต่อศาลฎีกาในคดีผู้บริโภค

ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ได้เปลี่ยนแปลงระบบการฎีกาสำหรับคดีผู้บริโภคโดยให้ศาลฎีกามีอำนาจกลั่นกรองเฉพาะคดีผู้บริโภคที่มีความสำคัญหรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะขึ้นสู่ศาลฎีกาเท่านั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการฎีกาจากเดิมในคดีแพ่งสามัญ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.พ.)มาตรา 248 ที่ใช้ “ ระบบสิทธิ” ซึ่งถือหลักว่า การฎีกาเป็นสิทธิของคู่ความ การห้ามฎีกาเป็นข้อยกเว้นมาเป็น “ ระบบอนุญาต “ ซึ่งถือว่า การฎีกาเป็นสิ่งที่กฎหมายห้าม คู่ความจะสามารถฎีกาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา เหตุผลก็เนื่องจากระบบการฎีกาแบบเดิมคู่ความที่แพ้คดีมักใช้สิทธิฎีกาเป็นช่องทางในการประวิงคดี ทั้งๆ ที่คดีนั้นไม่เป็นสาระอันควรขึ้นสู่ศาลฎีกา ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาเกิดความล่าช้าโดยไม่จำเป็นและก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่คู่ความที่สุจริต ดังนั้น มาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ จึงได้กำหนดให้คู่ความที่ประสงค์จะยื่นฎีกาต้องขออนุญาตจากศาลฎีกาก่อนคดีนั้นจึงจะขึ้นสู่ศาลฎีกาได้ ส่วนวิธีการยื่นฎีกาต่อศาลฎีกานั้นจะต้องทำอย่างไรนั้นก็ศึกษาได้จากกรณีศึกษาดังนี้   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2554 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ ได้บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยฎีกา และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภคฯ ได้บัญญัติไว้ในหมวด 8 ว่าด้วยฎีกา ไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น ในการยื่นฎีกาคดีผู้บริโภคจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเหล่านั้น บทบัญญัติใน มาตรา 248 แห่ง ป.วิ.พ. จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีผู้บริโภคได้ และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้คดีที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินสองแสนบาทหรือในปัญหาข้อกฎหมายภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค โดยในวรรคสองได้บัญญัติไว้อีกว่า การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้คู่ความยื่นฎีกาไปพร้อมกับคำร้องนั้นด้วย โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นแล้วให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องพร้อมฎีกาดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาโดยเร็ว กับมาตรา 52 บัญญัติว่า ศาลฎีกาอาจอนุญาตให้ฎีกาตาม มาตรา 51 ได้ เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย จากบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว คู่ความจะยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คดีนั้นต้องมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาทหากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินกว่าสองแสนบาท คู่ความก็ไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เลย ส่วนฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนั้น ไม่ว่าคดีนั้นจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียงใดก็ตาม คู่ความสามารถยื่นฎีกาได้เสมอ ไม่มีข้อจำกัดห้ามฎีกาแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้คดีที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถยื่นฎีกาได้ คู่ความที่ฎีกาต้องยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาพร้อมกับฎีกาด้วย ศาลชั้นต้นจะด่วนมีคำสั่งรับฎีกาของคู่ความโดยที่คู่ความมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวเสียก่อนให้ครบถ้วนหาได้ไม่ คดีนี้แม้โจทก์จะฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและในปัญหาข้อกฎหมายโดยทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาทก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาดังกล่าวโดยที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาพร้อมกับฎีกา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฎีกาโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการรับฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หมายเหตุ ต่อมามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5359/2554 วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 กรณีทีวี “จอดำ”(ตอนที่ 3 “ฟ้องทั้งที ต้องทำให้ดัง”)

เจอกันอีกครั้ง กับกรณีทีวี “จอดำ” จากเดิม ที่มาถึงตอนที่ ผู้บริโภคตัดสินใจ ปฏิบัติการ “สิบล้อชนตึก” นั่นคือต้องฟ้อง แต่ใครล่ะ! ที่จะฟ้อง   และจะฟ้องศาลไหน?   ที่สำคัญคือเรื่องนี้ช้าไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเด่นประเด็นร้อน  และมีเวลากระชั้นชิด  เพราะนัดการถ่ายทอดก็ลดลงทุกวัน  จากการตั้งวงคุยก็ได้ข้อสรุปว่ากรณีจอดำเป็นการละเมิดสิทธิ การเข้าถึงฟรีทีวีของผู้บริโภคอย่างชัดเจน  เป้า.....การฟ้องก็หนีไม่พ้นการฟ้องให้เป็นคดีผู้บริโภค ภายใต้กฎหมาย วิธีพิจารณาความผู้บริโภค  แต่การฟ้องด้วยกฎหมายนี้ฟ้องแทนไม่ได้  ต้องให้ผู้เสียหายมาเป็นผู้ฟ้องด้วยตนเอง   และด้วยระยะเวลาที่จำกัด เราหาผู้ร่วมฟ้องได้ 5 คน  คือ(ภายในไม่กี่ชั่วโมง) 1. นางสาวสารี   อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  2. นางสาวบุญยืน  ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค 3. นางสาวเรณู  ภู่อาวรณ์   ประธานศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม  4. นายขวัญมนัส  ภูมินทร์   ตัวแทนศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดราชบุรี  5. นายเฉลิมพงศ์  กลับดี  หัวหน้าศูนย์ทนายอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค     ซึ่งต้องบอกว่าการตัดสินใจครั้งนี้   มีทั้งเสียงชื่นชม   และเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ อื้ออึง... ทั้งว่าคนฟ้องเป็นพวกอยากดูฟุตบอลจนขึ้นสมอง   ไม่ยอมลงทุน(ซื้อกล่อง) ดูไม่ได้แล้วออกมาตีโพย  ตีพาย ...(ว่าไปนั่น..)  บ้างก็ว่า ประเด็นนี้เป็นแค่เรื่องเล็กๆ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มาทำเรื่องเล็กๆ อย่างนี้ทำไม  มีเรื่องใหญ่ๆ กว่านี้มากมาย  ทำไมไม่ไปทำ   แต่หลายเสียงก็ชื่นชมบอกขอบคุณที่ช่วยออกมาส่งเสียงต่อสังคมว่าคนส่วนใหญ่กำลังถูกเอาเปรียบ  มีทั้งโทรมาเชียร์  จดหมายมาร้องทุกข์ เมื่อคนทำงานอย่างเรา เจอทั้งกองเชียร์ และคนที่ตั้งคำถาม ก็ทำให้มึนๆ ดีเหมือนกัน   แต่ที่แน่ๆ คือต้องเดินหน้าฟ้องสถานเดียว   เพราะเรื่องนี้กระทบกับผู้บริโภคมากกว่า 11 ล้านครัวเรือน   ที่สำคัญการฟ้องครั้งนี้ ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ลุกขึ้นมาทำหน้าที่(ที่ต้องทำ)  โดยกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคประเด็นนี้ให้ชัดเจน   ให้เป็นบรรทัดฐานการให้บริการฟรีทีวีในประเทศไทย     เพื่อป้องปรามมิให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ  ที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคมากขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเริ่มตั้งแต่กลุ่มผู้ฟ้องร่วมกันเขียนคำฟ้อง  และเตรียมพยานส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ   ต้องทำเองทุกขั้นตอนเพื่อความรอบคอบของคดี   เมื่อคดีนี้กระทบผู้บริโภคจำนวนมาก    การฟ้องคดีก็ต้องฟ้องให้ดังๆ ดังนั้นก่อนฟ้องจริง  กลุ่มผู้ฟ้องได้จัดเวทีแถลงข่าว  เพื่อให้ฝ่ายธุรกิจรู้ว่าผู้บริโภค “สู้โว้ย...แล้วนะ...” ที่มากไปกว่านั้นคือพวกเรานัดหมายศาลออกอากาศกันเลย......ว่าเราจะไปฟ้องกันวันไหน เพื่อให้ศาลเตรียมการ  หลักจากการแถลงข่าวของพวกเรา (ได้ผลมากกก........)  เพราะสามารถทำให้นักการเมืองที่กำกับดูแลการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง   แสดงตัวออกมาเป็นเจ้าภาพเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้บริหารแกรมมี่มาหารือเพื่อแก้ปัญหา “จอดำ” อย่างเร่งด่วน...(ทั้งที่เดิมหลับอยู่) กำลังเข้มข้น  เจอกันเล่มหน้านะจ๊ะ

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 140 เสียงจากผู้บริโภค

ช่วยบอกหน่อยว่าเมล็ดพันธุ์เป็นหมัน “เมล็ดพันธุ์คุณภาพ ผ่านการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์จนได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ก่อนจัดจำหน่ายไปยังลูกค้า ทุกขั้นตอนได้มาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์” ใครที่เคยซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ ถ้าเพ่งพินิจหน้าซอง มักจะเห็นข้อความโฆษณาเลิศหรูแบบนี้ แต่มันไม่จะไม่มีข้อความส่วนไหนที่บอกให้คุณรู้เลยว่า มันเป็นหมัน คุณดาลิน เป็นนักวิทยาศาสตร์เคมี และเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2555 ที่ผ่านมานี่เอง เธอไปออกบูทงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ครั้งล่าสุด มีเกษตรกรรายหนึ่งเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ของบริษัทด้านเกษตรข้ามชาติยักษ์ใหญ่ว่า เมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ซื้อมา เพาะปลูกไปแล้วไม่สามารถเก็บพันธุ์ไว้เพาะปลูกอีกครั้งได้  เช่น พริกก็เป็นหมัน  เอามาทำพันธุ์เพาะปลูกต่อไม่ได้   แม้กระทั่งตัวคุณดาลินเองที่เป็นนักวิทยาศาสตร์แต่มีใจรักด้านการเกษตร ลงทุนร่วมกับพี่ชายไปซื้อที่ทำนาในพื้นที่ภาคเหนือ แล้วไปซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากบริษัทข้ามชาติมาปลูก เมื่อปลูกและได้ผลผลิตข้าวแล้ว จะเก็บพันธุ์ข้าวเพื่อเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์อีก  ปรากฏว่าเสียรู้  เพาะปลูกไม่ขึ้นในฤดูกาลถัดไป หรือปลูกได้ก็ได้ผลผลิตแย่มากไม่เหมือนปลูกครั้งแรก   คุณดาลินเธอบอกว่า เคยติดต่อสอบถามไปที่หน่วยงานด้านเกษตรหลายหน่วยงานอย่าง กรมวิชาการเกษตร สหกรณ์การเกษตร รวมไปถึงกรมวิชาการพันธุ์พืชได้คำตอบจากข้าราชการไทยเป็นเสียงเดียวกันว่า “เกษตรกร รู้อยู่แล้ว ทำไมไม่ไปร้องเรียน ....ที่อื่น” คุณดาลินเห็นว่า หากเกิดความเสียหายด้วยความไม่รู้ของเกษตรกรแล้วมาร้องทุกข์ ก็จะโดนภาษาจากข้าราชการ อย่างนี้เช่นเดียวกัน และ อาจโดนคำพูดปลอบใจว่า เค้ารู้กันทั่วบ้านเมือง ... ดิฉันวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี เคมี ยังไม่รู้เลยค่ะ ว่าคำว่า OP ที่อยู่หน้าซอง แปลว่า หมัน คำว่า S1 ที่อยู่หน้าซอง แปลว่า หมัน หรือคำว่า เมล็ดพันธุ์ลูกผสม ที่อยู่หน้าซอง แปลว่า หมัน “ข้อความแบบนี้เป็นภาษาที่ไม่สื่อ ไม่มีความหมาย หรือมีความหมายไม่ชัดเจน กำกวม และทำให้ เกษตรกรเข้าใจผิด หรือเป็นเหตุให้เกิดการหลงเชื่อไปในทางเข้าใจผิดได้ อยากจะขอให้มีการเพิ่มข้อความ ระบุบนซองเมล็ดพันธุ์  ที่ขึ้นชื่อว่า OP, S1, เมล็ดพันธุ์ลูกผสม  หรือเมื่อมีแนวโน้มเอียงไปในทางไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป  ให้มีถ้อยคำเพิ่มเติม  ดังนี้ 1.ให้ระบุฉลากให้มีคำว่า  เมล็ดพันธุ์ “ หมัน “ บนหน้าซอง 2.ให้ระบุฉลาก ให้มีข้อควรระวังว่า “ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป“ บริเวณด้านหลังซอง เพื่อป้องกัน  ความเข้าใจผิด  หรือลดการหลงผิดแก่เกษตรกรรายใหม่  และช่วยทำให้เกษตรกรที่มีการศึกษาน้อย วุฒิการศึกษาขั้นประถมศึกษา สามารถอ่านภาษาไทย  แม้เขียนภาษาไทยไม่ได้ ได้รู้ถึงความหมาย เมื่อแรกที่หยิบซองเมล็ดพันธ์ขึ้นมาอ่าน  และเข้าใจได้ทันที  ด้วยภาษาที่ง่าย หรือเป็นภาษาที่ใช้งานกันบ่อยในชีวิตประจำวัน   และแปลความหมายเข้าใจได้ง่ายกว่า  คำว่า  พันธ์ลูกผสม  (ซึ่งข้าพเจ้า วุฒิการศึกษาปริญญาตรี สาขาเคมี ยังไม่รู้เลยว่า  ผลคือ หมัน ) แล้วจะคาดหวังเกษตร หลงเข้าใจได้อย่างไร แนวทางแก้ไขปัญหา นายอำพล เสนาณรงค์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุวิศวกรรมการเกษตร ได้เคยกล่าวถึงพันธุ์พืชที่เรียกว่าพันธุ์ลูกผสมไว้ว่า พันธุ์ลูกผสม  หมายถึง  ลูกผสมชั่วที่  ๑  (F1) ของพันธุ์สองพันธุ์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกัน พ่อแม่ของพันธุ์ลูกผสมอาจจะเป็นพันธุ์ผสมเปิด ประชากร หรือพันธุ์บริสุทธิ์  ปัจจุบันพันธุ์ลูกผสมเป็นพันธุ์พืชที่ใช้มากในการอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ เพราะลูกผสมมักมีผลิตผลสูงและคุณภาพดีกว่าพ่อแม่ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เรียกว่า "ความดีเด่นของลูกผสม" (Hybrid vigor  หรือ Heterosis)   และเกษตรกรผู้ใช้จำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ลูกผสมใหม่ทุกฤดูปลูก  เนื่องจากลูกชั่วต่อไปของลูกผสมจะมีผลิตผลลดลง  และคุณสมบัติอื่น ๆ ปรวนแปร และไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เองเนื่องจากไม่มีเมล็ดพันธุ์พ่อแม่ เพราะบริษัทผู้ผลิตจะหวงพันธุ์และเก็บไว้เป็นความลับ พืชที่ใช้ลูกผสมปลูกเป็นการค้าอยู่ในปัจจุบันได้แก่ ข้าวโพด ผัก และไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ เห็นด้วยกับข้อเสนอของคุณดาลิน ที่อยากจะเห็นข้อความที่ให้สารสาระบ่งชี้ชัดเจนเข้าใจโดยไม่คลาดเคลื่อนว่า เมล็ดพันธ์ลูกผสมใช้ได้แค่ครั้งเดียว เมล็ดที่ได้จากการปลูกครั้งแรกไม่สามารถนำมาเพาะปลูกได้อีก หรือปลูกได้แต่ผลผลิตก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เพื่อให้เกษตรกรได้มีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการเลือกเมล็ดพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกที่เหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะได้มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พิจารณาปรับปรุงการแสดงฉลากบนซองเมล็ดพันธุ์ให้มีความชัดเจนนี้ต่อไป   ซื้อจักรยานราคาแพง ได้ยางแตกลายงา “จักรยานของพี่ราคาไม่กี่ร้อยบาท...” ยอดรัก สลักใจ สมัยยังหนุ่มเคยร้องเพลง “จักรยานคนจน” บอกราคาไว้ในเนื้อเพลงเสร็จสรรพ  แสดงว่าจักรยานสมัยก่อนราคาไม่แพงมาก แต่ตอนนี้ราคาจักรยานเปลี่ยนไปมากแล้ว จักรยานที่คุณสุรัตน์ไปซื้อที่ร้านแห่งหนึ่ง แถวสบตุ๋ย จ.ลำปาง  เป็นจักรยานของ LA  รุ่น ELILE ราคา 7,000 บาท ซึ่งคุณสุรัตน์ไม่ได้ติดใจในเรื่องราคามากนัก แต่ที่เป็นปัญหาคือ หลังซื้อมาได้เพียง 6 เดือน สังเกตเห็นว่าขอบยางล้อจักรยานมีรอยแตกลายงาโดยรอบทั้งสองเส้น ก็ไม่รู้ว่าไปเลียนแบบปัญหาป้ายทะเบียนรถยนต์แตกลายงาด้วยหรือเปล่า คุณสุรัตน์บอกว่า จักรยานถูกใช้งานน้อยมากส่วนใหญ่จอดอยู่ในโรงรถ วันต่อมาจึงนำรถจักรยานไปให้เจ้าของร้านที่ขายจักรยานดูเพื่อขอเปลี่ยนยางใหม่ คิดว่ายางไม่น่าจะหมดอายุไวขนาดนี้ ร้านน่าจะช่วยรับผิดชอบได้ แต่เจ้าของร้านกลับพูดว่า รับผิดชอบให้ไม่ได้เพราะเป็นจักรยานรุ่นที่บริษัทโละมาขาย “ตอนที่เราซื้อมา ร้านไม่ได้พูดแบบนี้ และยังท้าให้เราไปฟ้อง สคบ. ใช้กิริยาที่ไม่สมควรหลายอย่าง เช่น บอกว่าจะต่อโทรศัพท์ให้เราคุยกับตัวแทน แต่พอต่อได้ กลับคุยกันเรื่องอื่นหลายเรื่อง เช่น เรื่องเป้าของบริษัท เรื่องการไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่สนใจว่าเรารอคำตอบอยู่” สุดท้ายในการเจรจาวันนั้น ร้านตัวแทนจำหน่ายให้ข้อเสนอว่า จะรับผิดชอบด้วยการจ่ายค่ายาง 2 เส้นใหม่ให้ในราคารวมสองร้อยบาท พอคุณสุรัตน์ได้เห็นยางใหม่ที่เจ้าของร้านเอามานำเสนอ ก็ต้องส่ายหน้าเพราะเป็นยางคุณภาพต่ำ คุณสุรัตน์ยืนยันขอเปลี่ยนเป็นยางยี่ห้อเกรดเดียวกับที่ขายมากับรถ แต่ทางร้านบอกจัดให้ไม่ได้ แถมแนะนำให้ไปฟ้อง สคบ. เสียอีก เรื่องนี้คุณสุรัตน์ไม่ได้ไปที่ สคบ. แต่ร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแทน   แนวทางแก้ไขปัญหา ปัญหาความรับผิดเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้า กฎหมายกำหนดว่าให้ผู้ซื้อเรียกร้องให้ผู้ขายต้องรับผิดได้ภายในหนึ่งปี พ้นจากนี้ไปจะเรียกร้องบังคับกันไม่ได้ นี้คือหลักพื้นฐานของกฎหมายที่ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นแนวทางในการเจรจาเรียกร้องต่อผู้ขายให้รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวสินค้า เราได้แนะนำให้คุณสุรัตน์มีหนังสือไปถึงบริษัท แอลเอ ไบซิเคิ้ล(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเปลี่ยนยางเส้นใหม่รุ่นเดิมให้ หลังคุณสุรัตน์ส่งหนังสือไปไม่นานเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ จึงได้ติดตามเรื่องให้อีกทางกับฝ่ายการตลาดของบริษัท ซึ่งได้ขอให้คุณสุรัตน์ช่วยส่งภาพถ่ายรถ และยางที่เกิดปัญหาให้กับบริษัทได้ตรวจสอบเพิ่มเติม ซึ่งในที่สุดบริษัทฯ ได้แสดงความรับผิดชอบตามที่คุณสุรัตน์ร้องขอ ด้วยการส่งยางจักรยานเกรดเดียวกับที่คุณสุรัตน์ต้องการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ถามว่าเรื่องนี้ทำไมผู้บริโภคถึงสามารถเรียกร้องสิทธิของตัวเองได้ผล พอกลับมาดูเนื้อจดหมายที่คุณสุรัตน์เขียนถึงบริษัทก็เลยถึงบางอ้อ คุณสุรัตน์ทิ้งท้ายไว้ว่า “ขอให้ทางบริษัทอย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แล้วไม่เอาใจใส่ เพราะอาจกระทบถึงชื่อเสียงของบริษัท หากไม่มีความรับผิดชอบ และขอให้บริษัทพิจารณาคุณภาพการบริการของตัวแทนจำหน่ายด้วย” อย่างนี้ต้องเรียกว่ามีลูกอ้อนลูกประณามลูกฟ้องครบครัน      หากบริษัทไม่รับผิดชอบก็ไม่ไหวแล้ว     สารพันปัญหามือถือต้อนรับ 3G การประมูลใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G ในกลางเดือนตุลาคมนี้ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตคงไม่พ้นผู้ให้บริการ 3 เจ้าใหญ่ คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรู แน่นอนว่าการประมูลครั้งนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะได้ใช้ระบบมือถือทันสมัยแบบใหม่เสียทีหลังจากที่แคล้วคลาดกันมานาน แต่คำถามสำคัญที่ผู้บริโภคควรตระหนักไปพร้อมกัน คือเรื่องคุณภาพบริการที่ปัจจุบันแนวทางการแก้ไขจาก กสทช. ยังไม่ค่อยคืบหน้านัก เพื่อไม่หลงปลื้มกับโทรศัพท์ระบบใหม่จนลืมความจริงในปัญหาการดูแลผู้บริโภค เลยขอนำเรื่อง “เจ็บแล้วต้องจำ” เอามาให้อ่านเตือนสติต้อนรับระบบ 3G กัน   เรื่องเจ็บแล้วต้องจำของบริการมือถือ 1.ซิมแจกฟรี ระวังโดนดีถูกเก็บรายเดือน มีร้องเรียนเข้ามากันเยอะ อย่างรายนี้บอกว่า ช่วยหน่อยนะคะ พอดีไปเดินอนุสาวรีย์ชัย เจอซุ้มแจกซิมทรูมูฟ มีพนักงาน 4-5 คน เดินเข้ามาหาและบอกว่าถ้าบัตรประชาชนมีเลข 0 มารับซิมฟรีได้เลย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ขอดูบัตรประชาชนด้วย แล้วเค้าก็เอาบัตรประชาชนไป แล้วเอาซิมมาให้โดยให้เซ็นชื่อรับซิมบอกว่าแค่เซ็นรับซิมเฉยๆ ไม่มีอะไร และถ้าไม่เปิดใช้ซิมก็ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร พอได้ซิมมาก็ไม่ได้เปิดใช้ เพราะซิมเป็นรายเดือนและเป็นไมโครซิม ต่อมามีใบแจ้งหนี้มาที่ที่อยู่ตามบัตรประชาชน และต้องชำระก่อนวันสิ้นเดือน เลยโทรติดต่อที่ศูนย์บริษัทมือถือเจ้าของซิม พนักงานบอกว่าเป็นซิมรายเดือนถึงไม่เปิดก็มีค่าใช้จ่ายให้ชำระยอดนี้ก่อนถึงจะปิดเบอร์ให้ได้ ถ้าไม่ชำระก็จะมีการเรียกเก็บต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน ถ้ายังค้างชำระอยู่จะตัดเบอร์แต่จะต้องติด Black list  ต่อไปจะทำธุรกรรมอะไรไม่ได้     2. เอสเอ็มเอสขยะ ขยะที่กำจัดยากที่สุดในโลก ขอบอก...! เป็นลูกค้า DTAC ค่ะ ในช่วงบิลสองเดือนที่ผ่านมา มีค่าบริการที่ไม่เคยสมัครรับบริการ ในใบแจ้งหนี้ ตรวจดูแล้วเป็น “ค่าบริการข้อมูลข่าวสารบันเทิง ผ่าน SMS” โทรไปคอลเซ็นเตอร์ว่ามีค่าใช้จ่ายนี้มาได้อย่างไร ได้รับคำอธิบายว่า เป็นลักษณะของการ ส่ง sms เข้าโทรศัพท์ แล้ว DTAC ก็คิดเงินกับลูกค้าเลย เราร้องทุกข์ไปว่า ไม่ต้องการ ไม่รับ ไม่สมัคร ป้องกัน ลบ SMS ดังกล่าวออกไปให้หมด แต่คำตอบที่ได้รับคือ “ไม่สามารถป้องกันได้ 100% เนื่องจากผู้ให้บริการมีค่อนข้างเยอะและมีรูปแบบบริการที่หลากหลาย” วิธีป้องกันที่ผู้ให้บริการให้คำแนะนำคือ หากได้รับข้อความลักษณะดังกล่าวอีก สามารถแจ้ง ลักษณะข้อความ กลับไปที่ DTAC ได้ เฮ้อ...จะหาหนทางอย่างไรดีคะ ที่ไม่ต้อง โทรไปรบกับ call center ทุกๆ ครั้งที่ได้รับใบแจ้งหนี้ เพราะทางลูกค้าเองก็ยืนยันว่า ไม่ต้องการ ไม่รับ ไม่สมัคร บล็อค SMS ดังกล่าวออกไปให้หมด ทำไมบริษัทมือถือถึงช่วยลูกค้าไม่ได้   3.สั่งซื้อสินค้าทางเน็ต เจ้าของเว็บไม่รับผิดชอบ ผมสั่งซื้อกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวีจากเว็บไซต์ขายสินค้าแห่งหนึ่ง  จำนวนเงิน 4,000 บาท ใช้งานได้ไม่ถึง 24 ชม.สินค้ามีปัญหา ชี้แจงอาการไป ผู้ขายแจ้งให้ส่งกลับเพื่อเคลมของใหม่ แล้วผู้ขายก็ทวงถามเรื่องค่าส่ง EMS ผมปฏิเสธเพราะผู้ขายควรจะรับผิดชอบ และผมก็เสียค่าส่ง EMS กลับไปให้ 97 บาท จึงเห็นว่าต่างคนต่างรับผิดชอบค่าส่ง แต่ผู้ขายพยายามผลักภาระค่าส่งมาให้ผม พยายามบอกว่าเป็นภาระของผู้ซื้อ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขการเคลมสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ ผมเห็นว่าคุยกันไม่รู้เรื่องและไม่ประทับใจในการให้บริการ จึงขอยกเลิกและขอเงินคืน แต่กลับมาบอกว่าไม่มีนโยบายคืนเงิน เงื่อนไขนี้ในหน้าเว็บไซต์ก็ไม่มีระบุ เหตุการณ์เกิดขึ้นและผ่านมากว่า 45 วันแล้ว ผมเขียนไปทวงถามเรื่องเงินคืนหลายครั้ง ก็เงียบ ล่าสุดผมเขียนไปบอกว่ายินดีรับสินค้าคืน แต่ขอเปลี่ยนรุ่น ก็ยังคงเงียบอีกเห็นว่าถูกโกงแน่แล้ว จึงต้องมาขอคำแนะนำครับ ควรทำอย่างไรครับ   แนวทางแก้ไขปัญหา ปัญหาทั้ง 3 เรื่องที่ยกมายังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวทางการแก้ไขปัญหาของ กสทช. ก็ยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากการออกประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องยังไม่คืบหน้ามากนัก ผู้บริโภคจึงต้องรู้วิธีการช่วยเหลือตัวเองไปพลางๆ ก่อน ปัญหาในเรื่องที่ 1 และ 2 สามารถจัดการได้โดยผู้บริโภคควรมีหนังสือไปถึงผู้ให้บริการมือถือ กรณีที่เป็นเรื่องหนี้ค่าโทรศัพท์ที่ไม่เคยเปิดใช้บริการ หรือถูกหลอกให้เปิดใช้บริการมือถือโดยที่ไม่ทราบว่ามีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน เมื่อได้รับใบเรียกเก็บหนี้ค่ามือถือรายเดือน ไม่ต้องไปตกใจ หรือต้องไปที่ศูนย์บริการ เพราะเจรจามักไม่ได้หมายความตามตัวอย่างเรื่องที่ยกมาให้เห็น วิธีที่ดีที่สุดและจบเรื่องได้ไว คือ ให้มีหนังสือปฏิเสธตอบกลับไป ว่าเราไม่เคยเปิด ไม่เคยใช้ และไม่มีความต้องการที่จะใช้มาแต่แรกแล้ว ดังนั้นอย่าส่งจดหมายทวงหนี้ค่าโทรศัพท์มารังควานอีก ไม่เช่นนั้นจะขอเรียกค่าเสียหายฐานก่อความเดือดร้อนรบกวนรำคาญ กรณีเรื่องเรียกเก็บค่าเอสเอ็มเอสขยะ หรือเอสเอ็มเอสที่เผลอสมัครเข้ารับบริการโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ให้ใช้วิธีการเดียวกัน ส่วนคนที่ต้องการโทรศัพท์มือถือของตัวเองสะอาดมากๆ ไม่มีข้อความแปลกปลอมเข้ามาเลย ตามจริงมีเทคโนโลยีสามารถทำได้แต่ผู้ให้บริการเมืองไทยเรายังไม่ริเริ่มทำ วิธีแก้ก็ให้เขียนจดหมายเสนอไปที่บริษัทมือถือว่า หากจะปล่อยให้มีข้อความแปลกปลอมเข้ามาที่มือถือเราอีก ขอคิดค่าเสียหายครั้งละ 100 บาท 1,000 บาท หรือจะสูงต่ำไปกว่านี้ก็พิจารณากันดู ขึ้นอยู่กับเส้นความรำคาญใจของแต่ละคน ยื่นข้อเสนอไปที่บริษัทมือถือให้พิจารณาดู ใครใช้วิธีนี้ได้ผลช่วยกลับมาเล่าให้ฟังกันด้วย   กรณีที่ 3 มีข้อแนะนำอย่างเดียว อย่าไปซื้อมัน ตราบใดที่เราไม่รู้ตัวตนว่ามันเป็นใคร บ้านช่องห้องหออยู่ที่ไหน คำโบราณสอนไว้ คนไม่มีหัวนอนปลายตีนไม่น่าคบ เอามาใช้กรณีพวกขายของทางเน็ตได้ จะซื้อสินค้าผ่านเน็ตรอแป๊บครับ ทราบข่าวว่าภาครัฐตอนนี้กำลังมีการวางมาตรการออกประกาศให้ผู้ขายสินค้าผ่านเน็ตต้องมาลงทะเบียนเสียก่อน แต่เหตุผลสำคัญคือรัฐบาลอยากจะเก็บภาษีคนพวกนี้ ไม่ได้หวังคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง ทราบแล้วเปลี่ยน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 ช่วยบอกหน่อยว่าเมล็ดพันธุ์เป็นหมัน

“เมล็ดพันธุ์คุณภาพ ผ่านการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์จนได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ก่อนจัดจำหน่ายไปยังลูกค้า ทุกขั้นตอนได้มาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์”ใครที่เคยซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ ถ้าเพ่งพินิจหน้าซอง มักจะเห็นข้อความโฆษณาเลิศหรูแบบนี้ แต่มันไม่จะไม่มีข้อความส่วนไหนที่บอกให้คุณรู้เลยว่า มันเป็นหมันคุณดาลิน เป็นนักวิทยาศาสตร์เคมี และเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2555 ที่ผ่านมานี่เอง เธอไปออกบูทงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ครั้งล่าสุด มีเกษตรกรรายหนึ่งเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ของบริษัทด้านเกษตรข้ามชาติยักษ์ใหญ่ว่า เมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ซื้อมา เพาะปลูกไปแล้วไม่สามารถเก็บพันธุ์ไว้เพาะปลูกอีกครั้งได้  เช่น พริกก็เป็นหมัน  เอามาทำพันธุ์เพาะปลูกต่อไม่ได้   แม้กระทั่งตัวคุณดาลินเองที่เป็นนักวิทยาศาสตร์แต่มีใจรักด้านการเกษตร ลงทุนร่วมกับพี่ชายไปซื้อที่ทำนาในพื้นที่ภาคเหนือ แล้วไปซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากบริษัทข้ามชาติมาปลูก เมื่อปลูกและได้ผลผลิตข้าวแล้ว จะเก็บพันธุ์ข้าวเพื่อเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์อีก  ปรากฏว่าเสียรู้  เพาะปลูกไม่ขึ้นในฤดูกาลถัดไป หรือปลูกได้ก็ได้ผลผลิตแย่มากไม่เหมือนปลูกครั้งแรกคุณดาลินเธอบอกว่า เคยติดต่อสอบถามไปที่หน่วยงานด้านเกษตรหลายหน่วยงานอย่าง กรมวิชาการเกษตร สหกรณ์การเกษตร รวมไปถึงกรมวิชาการพันธุ์พืชได้คำตอบจากข้าราชการไทยเป็นเสียงเดียวกันว่า “เกษตรกร รู้อยู่แล้ว ทำไมไม่ไปร้องเรียน ....ที่อื่น”คุณดาลินเห็นว่า หากเกิดความเสียหายด้วยความไม่รู้ของเกษตรกรแล้วมาร้องทุกข์ ก็จะโดนภาษาจากข้าราชการ อย่างนี้เช่นเดียวกัน และ อาจโดนคำพูดปลอบใจว่า เค้ารู้กันทั่วบ้านเมือง ...ดิฉันวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี เคมี ยังไม่รู้เลยค่ะ ว่าคำว่า OP ที่อยู่หน้าซอง แปลว่า หมัน คำว่า S1 ที่อยู่หน้าซอง แปลว่า หมัน หรือคำว่า เมล็ดพันธุ์ลูกผสม ที่อยู่หน้าซอง แปลว่า หมัน “ข้อความแบบนี้เป็นภาษาที่ไม่สื่อ ไม่มีความหมาย หรือมีความหมายไม่ชัดเจน กำกวม และทำให้ เกษตรกรเข้าใจผิด หรือเป็นเหตุให้เกิดการหลงเชื่อไปในทางเข้าใจผิดได้ อยากจะขอให้มีการเพิ่มข้อความ ระบุบนซองเมล็ดพันธุ์  ที่ขึ้นชื่อว่า OP, S1, เมล็ดพันธุ์ลูกผสม  หรือเมื่อมีแนวโน้มเอียงไปในทางไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป  ให้มีถ้อยคำเพิ่มเติม  ดังนี้1.ให้ระบุฉลากให้มีคำว่า  เมล็ดพันธุ์ “ หมัน “ บนหน้าซอง2.ให้ระบุฉลาก ให้มีข้อควรระวังว่า “ ไม่สามารถเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป“ บริเวณด้านหลังซองเพื่อป้องกัน  ความเข้าใจผิด  หรือลดการหลงผิดแก่เกษตรกรรายใหม่  และช่วยทำให้เกษตรกรที่มีการศึกษาน้อย วุฒิการศึกษาขั้นประถมศึกษา สามารถอ่านภาษาไทย  แม้เขียนภาษาไทยไม่ได้ ได้รู้ถึงความหมาย เมื่อแรกที่หยิบซองเมล็ดพันธ์ขึ้นมาอ่าน  และเข้าใจได้ทันที  ด้วยภาษาที่ง่าย หรือเป็นภาษาที่ใช้งานกันบ่อยในชีวิตประจำวัน   และแปลความหมายเข้าใจได้ง่ายกว่า  คำว่า  พันธ์ลูกผสม  (ซึ่งข้าพเจ้า วุฒิการศึกษาปริญญาตรี สาขาเคมี ยังไม่รู้เลยว่า  ผลคือ หมัน ) แล้วจะคาดหวังเกษตร หลงเข้าใจได้อย่างไร แนวทางแก้ไขปัญหานายอำพล เสนาณรงค์อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุวิศวกรรมการเกษตร ได้เคยกล่าวถึงพันธุ์พืชที่เรียกว่าพันธุ์ลูกผสมไว้ว่าพันธุ์ลูกผสม  หมายถึง  ลูกผสมชั่วที่  ๑  (F1) ของพันธุ์สองพันธุ์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกัน พ่อแม่ของพันธุ์ลูกผสมอาจจะเป็นพันธุ์ผสมเปิด ประชากร หรือพันธุ์บริสุทธิ์  ปัจจุบันพันธุ์ลูกผสมเป็นพันธุ์พืชที่ใช้มากในการอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ เพราะลูกผสมมักมีผลิตผลสูงและคุณภาพดีกว่าพ่อแม่ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เรียกว่า "ความดีเด่นของลูกผสม" (Hybrid vigor  หรือ Heterosis)   และเกษตรกรผู้ใช้จำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ลูกผสมใหม่ทุกฤดูปลูก  เนื่องจากลูกชั่วต่อไปของลูกผสมจะมีผลิตผลลดลง  และคุณสมบัติอื่น ๆ ปรวนแปร และไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เองเนื่องจากไม่มีเมล็ดพันธุ์พ่อแม่ เพราะบริษัทผู้ผลิตจะหวงพันธุ์และเก็บไว้เป็นความลับ พืชที่ใช้ลูกผสมปลูกเป็นการค้าอยู่ในปัจจุบันได้แก่ ข้าวโพด ผัก และไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆเห็นด้วยกับข้อเสนอของคุณดาลิน ที่อยากจะเห็นข้อความที่ให้สารสาระบ่งชี้ชัดเจนเข้าใจโดยไม่คลาดเคลื่อนว่า เมล็ดพันธ์ลูกผสมใช้ได้แค่ครั้งเดียว เมล็ดที่ได้จากการปลูกครั้งแรกไม่สามารถนำมาเพาะปลูกได้อีก หรือปลูกได้แต่ผลผลิตก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เพื่อให้เกษตรกรได้มีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการเลือกเมล็ดพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกที่เหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะได้มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พิจารณาปรับปรุงการแสดงฉลากบนซองเมล็ดพันธุ์ให้มีความชัดเจนนี้ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 ซื้อจักรยานราคาแพง ได้ยางแตกลายงา

“จักรยานของพี่ราคาไม่กี่ร้อยบาท...”ยอดรัก สลักใจ สมัยยังหนุ่มเคยร้องเพลง “จักรยานคนจน” บอกราคาไว้ในเนื้อเพลงเสร็จสรรพ  แสดงว่าจักรยานสมัยก่อนราคาไม่แพงมาก แต่ตอนนี้ราคาจักรยานเปลี่ยนไปมากแล้วจักรยานที่คุณสุรัตน์ไปซื้อที่ร้านแห่งหนึ่ง แถวสบตุ๋ย จ.ลำปาง  เป็นจักรยานของ LA  รุ่น ELILE ราคา 7,000 บาท ซึ่งคุณสุรัตน์ไม่ได้ติดใจในเรื่องราคามากนัก แต่ที่เป็นปัญหาคือ หลังซื้อมาได้เพียง 6 เดือน สังเกตเห็นว่าขอบยางล้อจักรยานมีรอยแตกลายงาโดยรอบทั้งสองเส้น ก็ไม่รู้ว่าไปเลียนแบบปัญหาป้ายทะเบียนรถยนต์แตกลายงาด้วยหรือเปล่า คุณสุรัตน์บอกว่า จักรยานถูกใช้งานน้อยมากส่วนใหญ่จอดอยู่ในโรงรถวันต่อมาจึงนำรถจักรยานไปให้เจ้าของร้านที่ขายจักรยานดูเพื่อขอเปลี่ยนยางใหม่ คิดว่ายางไม่น่าจะหมดอายุไวขนาดนี้ ร้านน่าจะช่วยรับผิดชอบได้ แต่เจ้าของร้านกลับพูดว่า รับผิดชอบให้ไม่ได้เพราะเป็นจักรยานรุ่นที่บริษัทโละมาขาย“ตอนที่เราซื้อมา ร้านไม่ได้พูดแบบนี้ และยังท้าให้เราไปฟ้อง สคบ. ใช้กิริยาที่ไม่สมควรหลายอย่าง เช่น บอกว่าจะต่อโทรศัพท์ให้เราคุยกับตัวแทน แต่พอต่อได้ กลับคุยกันเรื่องอื่นหลายเรื่อง เช่น เรื่องเป้าของบริษัท เรื่องการไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่สนใจว่าเรารอคำตอบอยู่” สุดท้ายในการเจรจาวันนั้น ร้านตัวแทนจำหน่ายให้ข้อเสนอว่า จะรับผิดชอบด้วยการจ่ายค่ายาง 2 เส้นใหม่ให้ในราคารวมสองร้อยบาท พอคุณสุรัตน์ได้เห็นยางใหม่ที่เจ้าของร้านเอามานำเสนอ ก็ต้องส่ายหน้าเพราะเป็นยางคุณภาพต่ำ คุณสุรัตน์ยืนยันขอเปลี่ยนเป็นยางยี่ห้อเกรดเดียวกับที่ขายมากับรถ แต่ทางร้านบอกจัดให้ไม่ได้ แถมแนะนำให้ไปฟ้อง สคบ. เสียอีกเรื่องนี้คุณสุรัตน์ไม่ได้ไปที่ สคบ. แต่ร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแทน แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาความรับผิดเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้า กฎหมายกำหนดว่าให้ผู้ซื้อเรียกร้องให้ผู้ขายต้องรับผิดได้ภายในหนึ่งปี พ้นจากนี้ไปจะเรียกร้องบังคับกันไม่ได้ นี้คือหลักพื้นฐานของกฎหมายที่ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นแนวทางในการเจรจาเรียกร้องต่อผู้ขายให้รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวสินค้าเราได้แนะนำให้คุณสุรัตน์มีหนังสือไปถึงบริษัท แอลเอ ไบซิเคิ้ล(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเปลี่ยนยางเส้นใหม่รุ่นเดิมให้ หลังคุณสุรัตน์ส่งหนังสือไปไม่นานเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ จึงได้ติดตามเรื่องให้อีกทางกับฝ่ายการตลาดของบริษัท ซึ่งได้ขอให้คุณสุรัตน์ช่วยส่งภาพถ่ายรถ และยางที่เกิดปัญหาให้กับบริษัทได้ตรวจสอบเพิ่มเติม ซึ่งในที่สุดบริษัทฯ ได้แสดงความรับผิดชอบตามที่คุณสุรัตน์ร้องขอ ด้วยการส่งยางจักรยานเกรดเดียวกับที่คุณสุรัตน์ต้องการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายถามว่าเรื่องนี้ทำไมผู้บริโภคถึงสามารถเรียกร้องสิทธิของตัวเองได้ผล พอกลับมาดูเนื้อจดหมายที่คุณสุรัตน์เขียนถึงบริษัทก็เลยถึงบางอ้อ คุณสุรัตน์ทิ้งท้ายไว้ว่า“ขอให้ทางบริษัทอย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แล้วไม่เอาใจใส่ เพราะอาจกระทบถึงชื่อเสียงของบริษัท หากไม่มีความรับผิดชอบ และขอให้บริษัทพิจารณาคุณภาพการบริการของตัวแทนจำหน่ายด้วย”อย่างนี้ต้องเรียกว่ามีลูกอ้อนลูกประณามลูกฟ้องครบครัน      หากบริษัทไม่รับผิดชอบก็ไม่ไหวแล้ว  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 สารพันปัญหามือถือต้อนรับ 3G

การประมูลใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G ในกลางเดือนตุลาคมนี้ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตคงไม่พ้นผู้ให้บริการ 3 เจ้าใหญ่ คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรูแน่นอนว่าการประมูลครั้งนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะได้ใช้ระบบมือถือทันสมัยแบบใหม่เสียทีหลังจากที่แคล้วคลาดกันมานาน แต่คำถามสำคัญที่ผู้บริโภคควรตระหนักไปพร้อมกัน คือเรื่องคุณภาพบริการที่ปัจจุบันแนวทางการแก้ไขจาก กสทช. ยังไม่ค่อยคืบหน้านัก เพื่อไม่หลงปลื้มกับโทรศัพท์ระบบใหม่จนลืมความจริงในปัญหาการดูแลผู้บริโภค เลยขอนำเรื่อง “เจ็บแล้วต้องจำ” เอามาให้อ่านเตือนสติต้อนรับระบบ 3G กันเรื่องเจ็บแล้วต้องจำของบริการมือถือ1.ซิมแจกฟรี ระวังโดนดีถูกเก็บรายเดือนมีร้องเรียนเข้ามากันเยอะ อย่างรายนี้บอกว่า ช่วยหน่อยนะคะ พอดีไปเดินอนุสาวรีย์ชัย เจอซุ้มแจกซิมทรูมูฟ มีพนักงาน 4-5 คน เดินเข้ามาหาและบอกว่าถ้าบัตรประชาชนมีเลข 0 มารับซิมฟรีได้เลย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ขอดูบัตรประชาชนด้วย แล้วเค้าก็เอาบัตรประชาชนไป แล้วเอาซิมมาให้โดยให้เซ็นชื่อรับซิมบอกว่าแค่เซ็นรับซิมเฉยๆ ไม่มีอะไร และถ้าไม่เปิดใช้ซิมก็ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร พอได้ซิมมาก็ไม่ได้เปิดใช้ เพราะซิมเป็นรายเดือนและเป็นไมโครซิม ต่อมามีใบแจ้งหนี้มาที่ที่อยู่ตามบัตรประชาชน และต้องชำระก่อนวันสิ้นเดือน เลยโทรติดต่อที่ศูนย์บริษัทมือถือเจ้าของซิม พนักงานบอกว่าเป็นซิมรายเดือนถึงไม่เปิดก็มีค่าใช้จ่ายให้ชำระยอดนี้ก่อนถึงจะปิดเบอร์ให้ได้ ถ้าไม่ชำระก็จะมีการเรียกเก็บต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน ถ้ายังค้างชำระอยู่จะตัดเบอร์แต่จะต้องติด Black list  ต่อไปจะทำธุรกรรมอะไรไม่ได้ 2. เอสเอ็มเอสขยะ ขยะที่กำจัดยากที่สุดในโลก ขอบอก...!เป็นลูกค้า DTAC ค่ะ ในช่วงบิลสองเดือนที่ผ่านมา มีค่าบริการที่ไม่เคยสมัครรับบริการ ในใบแจ้งหนี้ ตรวจดูแล้วเป็น “ค่าบริการข้อมูลข่าวสารบันเทิง ผ่าน SMS” โทรไปคอลเซ็นเตอร์ว่ามีค่าใช้จ่ายนี้มาได้อย่างไร ได้รับคำอธิบายว่า เป็นลักษณะของการ ส่ง sms เข้าโทรศัพท์ แล้ว DTAC ก็คิดเงินกับลูกค้าเลยเราร้องทุกข์ไปว่า ไม่ต้องการ ไม่รับ ไม่สมัคร ป้องกัน ลบ SMS ดังกล่าวออกไปให้หมด แต่คำตอบที่ได้รับคือ“ไม่สามารถป้องกันได้ 100% เนื่องจากผู้ให้บริการมีค่อนข้างเยอะและมีรูปแบบบริการที่หลากหลาย”วิธีป้องกันที่ผู้ให้บริการให้คำแนะนำคือ หากได้รับข้อความลักษณะดังกล่าวอีก สามารถแจ้ง ลักษณะข้อความ กลับไปที่ DTAC ได้เฮ้อ...จะหาหนทางอย่างไรดีคะ ที่ไม่ต้อง โทรไปรบกับ call center ทุกๆ ครั้งที่ได้รับใบแจ้งหนี้เพราะทางลูกค้าเองก็ยืนยันว่า ไม่ต้องการ ไม่รับ ไม่สมัคร บล็อค SMS ดังกล่าวออกไปให้หมด ทำไมบริษัทมือถือถึงช่วยลูกค้าไม่ได้3.สั่งซื้อสินค้าทางเน็ต เจ้าของเว็บไม่รับผิดชอบผมสั่งซื้อกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวีจากเว็บไซต์ขายสินค้าแห่งหนึ่ง  จำนวนเงิน 4,000 บาท ใช้งานได้ไม่ถึง 24 ชม.สินค้ามีปัญหา ชี้แจงอาการไป ผู้ขายแจ้งให้ส่งกลับเพื่อเคลมของใหม่ แล้วผู้ขายก็ทวงถามเรื่องค่าส่ง EMS ผมปฏิเสธเพราะผู้ขายควรจะรับผิดชอบ และผมก็เสียค่าส่ง EMS กลับไปให้ 97 บาท จึงเห็นว่าต่างคนต่างรับผิดชอบค่าส่ง แต่ผู้ขายพยายามผลักภาระค่าส่งมาให้ผม พยายามบอกว่าเป็นภาระของผู้ซื้อ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขการเคลมสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ ผมเห็นว่าคุยกันไม่รู้เรื่องและไม่ประทับใจในการให้บริการ จึงขอยกเลิกและขอเงินคืน แต่กลับมาบอกว่าไม่มีนโยบายคืนเงิน เงื่อนไขนี้ในหน้าเว็บไซต์ก็ไม่มีระบุเหตุการณ์เกิดขึ้นและผ่านมากว่า 45 วันแล้ว ผมเขียนไปทวงถามเรื่องเงินคืนหลายครั้ง ก็เงียบ ล่าสุดผมเขียนไปบอกว่ายินดีรับสินค้าคืน แต่ขอเปลี่ยนรุ่น ก็ยังคงเงียบอีกเห็นว่าถูกโกงแน่แล้ว จึงต้องมาขอคำแนะนำครับ ควรทำอย่างไรครับ แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาทั้ง 3 เรื่องที่ยกมายังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวทางการแก้ไขปัญหาของ กสทช. ก็ยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากการออกประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องยังไม่คืบหน้ามากนัก ผู้บริโภคจึงต้องรู้วิธีการช่วยเหลือตัวเองไปพลางๆ ก่อนปัญหาในเรื่องที่ 1 และ 2 สามารถจัดการได้โดยผู้บริโภคควรมีหนังสือไปถึงผู้ให้บริการมือถือกรณีที่เป็นเรื่องหนี้ค่าโทรศัพท์ที่ไม่เคยเปิดใช้บริการ หรือถูกหลอกให้เปิดใช้บริการมือถือโดยที่ไม่ทราบว่ามีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน เมื่อได้รับใบเรียกเก็บหนี้ค่ามือถือรายเดือน ไม่ต้องไปตกใจ หรือต้องไปที่ศูนย์บริการ เพราะเจรจามักไม่ได้หมายความตามตัวอย่างเรื่องที่ยกมาให้เห็น วิธีที่ดีที่สุดและจบเรื่องได้ไว คือ ให้มีหนังสือปฏิเสธตอบกลับไป ว่าเราไม่เคยเปิด ไม่เคยใช้ และไม่มีความต้องการที่จะใช้มาแต่แรกแล้ว ดังนั้นอย่าส่งจดหมายทวงหนี้ค่าโทรศัพท์มารังควานอีก ไม่เช่นนั้นจะขอเรียกค่าเสียหายฐานก่อความเดือดร้อนรบกวนรำคาญกรณีเรื่องเรียกเก็บค่าเอสเอ็มเอสขยะ หรือเอสเอ็มเอสที่เผลอสมัครเข้ารับบริการโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ให้ใช้วิธีการเดียวกัน ส่วนคนที่ต้องการโทรศัพท์มือถือของตัวเองสะอาดมากๆ ไม่มีข้อความแปลกปลอมเข้ามาเลย ตามจริงมีเทคโนโลยีสามารถทำได้แต่ผู้ให้บริการเมืองไทยเรายังไม่ริเริ่มทำ วิธีแก้ก็ให้เขียนจดหมายเสนอไปที่บริษัทมือถือว่า หากจะปล่อยให้มีข้อความแปลกปลอมเข้ามาที่มือถือเราอีก ขอคิดค่าเสียหายครั้งละ 100 บาท 1,000 บาท หรือจะสูงต่ำไปกว่านี้ก็พิจารณากันดู ขึ้นอยู่กับเส้นความรำคาญใจของแต่ละคน ยื่นข้อเสนอไปที่บริษัทมือถือให้พิจารณาดู ใครใช้วิธีนี้ได้ผลช่วยกลับมาเล่าให้ฟังกันด้วยกรณีที่ 3 มีข้อแนะนำอย่างเดียว อย่าไปซื้อมัน ตราบใดที่เราไม่รู้ตัวตนว่ามันเป็นใคร บ้านช่องห้องหออยู่ที่ไหน คำโบราณสอนไว้ คนไม่มีหัวนอนปลายตีนไม่น่าคบ เอามาใช้กรณีพวกขายของทางเน็ตได้ จะซื้อสินค้าผ่านเน็ตรอแป๊บครับ ทราบข่าวว่าภาครัฐตอนนี้กำลังมีการวางมาตรการออกประกาศให้ผู้ขายสินค้าผ่านเน็ตต้องมาลงทะเบียนเสียก่อน แต่เหตุผลสำคัญคือรัฐบาลอยากจะเก็บภาษีคนพวกนี้ ไม่ได้หวังคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง ทราบแล้วเปลี่ยน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 จิระชัย มูลทองโร่ย สคบ.ยุคนี้ จะไม่มองแบบม้าลำปาง

“...ภาครัฐมักมองทางตรงมากกว่าการมองข้าง เดี๋ยวนี้ต้องมอง 360 องศา เราจะไม่มองแบบม้าลำปาง จะต้องมีการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ถ้าผู้บริโภคมีปัญหาขึ้นมาหน่วยงานภาครัฐจะต้องระดมสรรพกฎหมาย ระดมสรรพกำลังในการแก้ไขปัญหา...” ฉลาดซื้อฉบับนี้พาคุณไปทำความรู้จักคนคุ้นเคย ที่ทำงานคู่ขนานกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาตลอด ท่าน “จิระชัย มูลทองโร่ย” เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 55 หากแต่คลุกคลีอยู่ใน สคบ.มากว่า 12 ปีแล้ว ไปดูแนวคิดการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในยุคของเลขาฯ สคบ.ท่านนี้กันค่ะ ประเด็นใดในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ถือเป็นความท้าทายของ สคบ. งานคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องทำต่อก็คือ ต้องผลักดันประเด็นในการคุ้มครองผู้บริโภคให้เป็นรูปธรรม ทุกวันนี้เราซื้อสินค้าด้วยความเสี่ยง ซื้อไปแล้วเกิดปัญหาใครจะรับผิดชอบ ผู้บริโภคเองก็ต้องมาร้องที่ สคบ. ซึ่งนั่นเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคแบบเดิมๆ เราจึงจัดทำเครื่องหมายของ สคบ.แสดงไว้บนผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ว่าเมื่อไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการแล้วจะไม่ถูกเอาเปรียบ ไม่ถูกหลอกลวง หรือเมื่อไปซื้อสินค้าและใช้บริการแล้วเกิดปัญหา ผู้ประกอบการต้องแสดงความรับผิดชอบ หรือชดใช้อย่างชัดเจน แต่ที่ยังไปไม่ได้ก็คือการรับผิดชอบของผู้ประกอบการ นั่นก็คือถ้าหากเกิดความเสียหายขึ้นมาจะมีหลักการรับประกันอย่างไร ยังอยู่ในการทำความเข้าใจกันอยู่ ซึ่งตอนนี้มีสินค้าและบริการที่ต้องทำตรา สคบ.แล้ว 26 รายการ 8 หมวด นั่นก็คือทั้งอสังหาริมทรัพย์ สินค้า สุขภาพ ฯ   อีกความท้าทายก็คือการเป็นศูนย์กลางในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค สคบ.เป็นหน่วยงานเดียวที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคทั้ง 5 ข้อนี้ การประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และภาคประชาชนในการทำงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีความสำคัญ เพราะภาครัฐมักมองทางตรงมากกว่าการมองข้าง เดี๋ยวนี้ต้องมอง 360 องศา เราจะไม่มองแบบม้าลำปาง จะต้องมีการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ถ้าผู้บริโภคมีปัญหาขึ้นมาหน่วยงานภาครัฐจะต้องระดมสรรพกฎหมาย ระดมสรรพกำลังในการแก้ไขปัญหา ในต่างจังหวัดนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีคนแค่เพียง 10 ล้านกว่าคน ในต่างจังหวัดอีกกว่า 75 จังหวัดล่ะ “ใครดูแลเขา” ในอดีต สคบ.อาจจะไม่มีการประสานความร่วมมือทางหนังสือเท่าไรนัก แต่ต่อจากนี้ไปจะประสานความร่วมมือและพบปะพูดคุยกันให้มากยิ่งขึ้น ประสานส่วนผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการผมถือว่าเป็นต้นน้ำของการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ต้องประสานก่อนเลยก็คือสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ สคบ.เข้าไปรับฟังขอบเขตงานด้วย และจะร่วมมือกันในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างไร นั่นก็คือต้องดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มีการติดฉลาก ดูการโฆษณา ดูสัญญาก่อน ต่อไปก็ไปดูเรื่องความรับผิดชอบว่าถ้าเกิดความเสียหาย จะเยียวยาหรือให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างไร สินค้าที่มีปัญหามีหลักเกณฑ์อย่างไรในการเยียวยา ประสานส่วนภาคประชาชน ที่มีการรวมกลุ่มกันชัดเจนแล้ว อย่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ก็จะมีเครือข่ายผู้บริโภค ในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเรามีจุดหมายเดียวกัน ก็คือการคุ้มครองผู้บริโภค แต่การทำงานของมูลนิธิฯ อาจจะง่ายและกระชับกว่า ก็จะได้ผนวกไปด้วยกัน หรืออาจจะเชิญตัวแทนองค์กรผู้บริโภคเข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ สคบ. รวมไปถึงการทดสอบสินค้า การรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบผู้ประกอบการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ก็อยู่ระหว่างการตั้งคณะทำงานขึ้นมาในช่วงปี 2556 อยากจะทำงานด้วยไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนต่างจังหวัด มีแผนงานอะไรก็บอกกันให้รู้ สคบ.จะได้ส่งคนเข้าไปช่วยดำเนินการด้วย การทำงานร่วมกัน?...จะเป็นลักษณะแบบไหน จะเป็นคล้ายๆ ระบบสั่งการเหมือนภาครัฐทำกับภาครัฐหรือเปล่า ไม่เหมือนแน่นอน การสั่งการในภาครัฐก็อาจจะทำได้เป็นเรื่องๆ ที่เป็นนโยบายร่วมกัน เราใช้คำว่า “ประสานงาน หรือบูรณาการเข้าด้วยกัน” ร่วมกันทำงาน “สคบ.จะไม่ใช่ One man show” แต่จะประสานงานร่วมกัน สคบ.จัดการกับผู้ประกอบการอย่างไร อีกหน้าที่ที่ต้องทำก็คือการตรวจสอบผู้ประกอบการ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องทำตามหน้าที่ที่ระบุไว้ในกฎหมาย อย่างไปสำรวจเต็นท์รถยนต์มือสอง ว่ามีการจัดทำฉลาก ทำหลักฐานการรับเงินหรือเปล่า ในห้างสรรพสินค้ามีสินค้าหมดอายุมาขายไหม ฉลากถูกต้องหรือเปล่า สำรวจเสร็จ สคบ.ในฐานะมีหน้าที่และอำนาจทางกฎหมาย ก็จะเข้าไปดำเนินการจัดการกับผู้ประกอบการ ซักถามเรื่องกฎหมาย ตักเตือน ก็ว่ากันไป ในเรื่องการจัดการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ส่วนนี้มีปัญหาและได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ว่ามีความล่าช้า ไม่ทันใจประชาชน แต่ก็ต้องยอมรับว่าการแก้ปัญหาของ สคบ.ในชั้นการเจรจาไกล่เกลี่ย สามารถจบลงได้ 80 % ซึ่งการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นประโยชน์ของคู่กรณีทั้งคู่ ผมยังให้ความสำคัญอยู่ ก่อนที่จะยื่นเรื่องฟ้องศาล ผมไม่ตามใจผู้ร้องนะ อย่างซื้อรถยนต์ใหม่มาแล้วมีปัญหา จะขอเปลี่ยนคันเลย ก็ต้องให้บริษัทชี้แจง แก้ไขจุดบกพร่องก่อน ให้เวลาผู้ประกอบการบ้าง เรื่องร้องเรียนที่ยังค้างอยู่ เป็นจำนวนมากที่ผู้ร้องไม่ยินยอมรับการชดเชยความเสียหายตามที่บริษัทนำเสนอ หรือตามที่ สคบ.เห็นว่าสมควรแล้ว แต่ผู้ร้องยังเรียกร้องตามอำเภอใจ ซึ่งผมเองมั่นใจว่าจะใช้อำนาจในการบริหารยุติเรื่องและให้ผู้ร้องไปฟ้องศาลด้วยตนเอง การดำเนินคดีในชั้นศาลผมถือว่าไม่เป็นประโยชน์ส่วนรวม การจะฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ผมมีองค์ประกอบ 3 เหตุผล 1.ต้องเป็นผู้บริโภค 2.ต้องถูกละเมิดสิทธิ 3.ต้องเป็นประโยชน์ส่วนรวม สคบ.ฟ้องแทนผู้บริโภค จะฟ้องรวมหมู่ได้ไหม เรื่องการฟ้องแทนเราฟ้องให้อยู่แล้ว ถ้าฟ้องแล้วเป็นประโยชน์กับส่วนรวมเราก็ฟ้องแทนให้ อย่างผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องซื้อหมามาเลี้ยงผ่านไป 2 วัน แล้วหมาตาย สคบ.ก็รับเรื่องแล้วชวนมาไกล่เกลี่ย เจ้าของฟาร์มเสนอไม่ชดเชยให้ แต่ถ้าซื้อตัวใหม่จะลดให้ครึ่งราคา ส่วนผู้ร้องไม่รับข้อเสนอ จะให้ชดเชยเป็นค่าสุนัข 10,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลอีก 9,000 บาทรวมค่าเสียเวลา ฟาร์มบอกว่าตั้งแต่ขายมาไม่มีปัญหาอะไรเลย กรณีแบบนี้เราก็ฟ้องให้นะครับ เพราะเราถือว่าตลาดนัดจตุจักร มีคนเข้าออกประจำ อาจจะพบปัญหาเหมือนกับกรณีรายนี้ด้วยก็ได้ เพราะเราเห็นถึงประโยชน์ส่วนรวม แต่ถ้ามาเกี่ยงกันในเรื่องการชดเชยที่ต่างกันแค่ 500 หรือ 1,000 บาท แบบนี้เราไม่ฟ้องให้ แต่ถ้าผู้ประกอบการมีการโกงผู้บริโภคแค่ 1 บาท เราก็ฟ้องให้ เพราะสินค้าผลิตมาเท่าไร...มากมาย เราก็เปรียบเทียบตัวเลขผู้ประกอบการกับตัวเลขผู้ร้องว่าเป็นอย่างไร ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์กับส่วนรวมเราก็ฟ้องแทนผู้บริโภคได้   สคบ.มีบทลงโทษผู้ประกอบการ แต่การไม่เปิดเผยชื่อผู้ที่ถูกลงโทษ ถูกปรับทำให้ผู้บริโภคยังถูกละเมิดต่อ วิธีการแบบนี้ยกเลิกได้ไหม อือ...หลายคนตำหนิ สคบ.อย่างนี้ว่าลงโทษผู้ประกอบการ แต่ไม่บอกว่าใคร ความจริงเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย มาตรา 10 อนุ3 บอกให้ สคบ.เปิดเผยรายชื่อผู้ประกอบการรวมถึงสินค้า ว่ามีผู้ประกอบการรายใดที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ สคบ.เองก็ปรับปรุงว่าเราต้องมีสื่อที่จะลงข่าวเหล่านี้ ก็อยู่ระหว่างการจัดทำสื่อ แล้วก็เผยแพร่สู่สื่อมวลชน เครือข่ายผู้บริโภคและพี่น้องประชาชน เพราะการจะเปิดเผยชื่อได้นั้น ต้องผ่านมติคณะอนุกรรมการก่อนถึงจะเปิดเผยรายชื่อได้ จะเปิดเผยรายชื่อทันทีก็ไม่ได้ ไม่งั้น สคบ.เองนั้นละจะถูกฟ้อง   องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 61 จะช่วยหนุนการทำงานของ สคบ.อย่างไรบ้าง และมีความคิดเห็นต่อ กม.นี้อย่างไร เป้าหมายการทำงานของ สคบ.กับ องค์กรผู้บริโภค มีเป้าหมายเดียวกันคือการคุ้มครองผู้บริโภค จะแตกต่างกันก็แค่ภารกิจ วิธีการ มีอะไรที่เราทำร่วมกันได้ก็มาแชร์กัน อย่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถ้ามีโอกาสเข้าไปเป็นกรรมการองค์การอิสระฯ ก็เข้าไปทำงานเลย แบบนี้มูลนิธิฯ ก็จะมีแนวทางในการขยายความร่วมมือต่อไปได้ แล้วถ้าถามต่อว่า สคบ.จะอยู่อย่างไร ผมก็ต้องอยู่เพราะเป็นหน่วยงานภาครัฐ แต่องค์การอิสระฯ รัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างไร ก็ควรที่จะทำอย่างนั้น เช่นรัฐธรรมเขียนอำนาจหน้าที่ไว้ 3 แต่กลับไปเพิ่มเป็น 4 5 6 นั้นเป็นการก้าวก่ายแล้ว ไม่ได้ต่อต้านนะ เห็นด้วยที่ให้มีเพราะต้องมีหน่วยงานกลางขึ้นมาเพื่อบูรณาการทุกเรื่อง เข้ามาเสริม เข้ามาหนุนงาน ให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมมากกว่า ควรจะมีกรอบอย่างนั้น เรื่องการจัดสรรงบประมาณดำเนินการ สคบ.ตั้งมา 30 กว่าปีแล้ว ยังได้งบไม่ถึง 200 ล้านเลย แล้วองค์การนี้เพิ่งจะร่างขึ้นมาไปเอาค่าหัวดำเนินการ 3 บาท 5 บาท ไปเอาเกณฑ์อะไรมา ทำไมไม่ให้ สคบ. เพราะถือว่าเป็นหน่วยงานหลักด้วยซ้ำ ปีหนึ่งได้ 100 ล้านบาท ก็ส่งงบลงพื้นที่ กระจายทุกจังหวัดที่ ให้กับประชาชนที่มีโครงการมากมาย บุคลากรก็ต้องให้ความรู้ทุกเรื่อง ยังได้ไม่ถึง 200 ล้านเลย แล้วนี่องค์การนี้เพิ่งจะเกิด มีคณะกรรมการ 15 คน ภารกิจหนักหนาขนาดไหน ต้องเอาค่าหัว 3 บาท 5 บาท แต่ผมไม่ได้คัดค้านนะ แต่ควรที่จะเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย @.

อ่านเพิ่มเติม >