ฉบับที่ 181 สารในโรลออนเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริงหรือ?

เพราะเหงื่อมักออกมากในบริเวณใต้วงแขนหรือรักแร้ ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหากลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์ คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยระงับเหงื่อหรือกลิ่นกายอย่าง “โรลออน” เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ในทุกครั้งที่เราปาดหรือทาลงใต้วงแขน เรามั่นใจหรือเปล่าว่าจะไม่มีสารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมะเร็งเต้านมได้


แม้ว่าการถกเถียงหรือความสงสัยในประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาเคยมีข่าวว่าสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท (Aluminum chlorohydrate) ที่เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โดย รศ.ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยระบุไว้ในคอลัมน์สวยอย่างฉลาด นิตยสารฉลาดซื้อว่า กลไกการระงับเหงื่อของสารดังกล่าวคือ ตัวสารจะเข้าไปอุดรูขุมขนเพื่อไม่ให้เหงื่อไหล ซึ่งหากมีการใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำ จะมีผลทำให้เกิดการสะสมและตกค้างของสารในบริเวณใต้วงแขนเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นเป็นรอยด่างดำ และจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พบว่า สารตกค้างเหล่านี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาเหตุที่เกิดมะเร็งเต้านมในหญิงหรือชายบางรายได้ เนื่องจากท่อและต่อมต่างๆ ของบริเวณเต้านมมีส่วนเชื่อมต่อกับต่อมเหงื่อและรูขุมขนใต้วงแขน โดยเฉพาะเกลือโลหะหนักอลูมิเนียมจะไปจับกับดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์ทำให้เกิดความผิดปกติ และมีการตรวจพบสารตกค้างของอลูมิเนียมในเนื้อเยื่อมะเร็งจากเต้านมของคนไข้ ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีหลายสถาบันที่วิจัยเกี่ยวกับด้านมะเร็ง ออกโรงคัดค้านงานวิจัยนี้ โดยย้ำว่าการใช้เครื่องสำอางระงับกลิ่นกายไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม


อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ได้มีกรณีที่น่าสนใจของสุภาพสตรี จากเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ที่ใช้แป้งเด็กยี่ห้อจอห์นสันทาบริเวณจุดซ่อนเร้นมาตลอดกว่า 30 ปีแล้วตรวจพบภายหลังว่าเธอเป็นมะเร็งรังไข่ โดยแพทย์ระบุสาเหตุว่ามาจากแป้งดังกล่าวที่มีส่วนประกอบของแร่หินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทัลค์ (Talc) หรือเรียกว่า "แป้งทัลคัม" (Talcum Powder) ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ภายหลังการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ทางบริษัทแป้งดังกล่าวก็ยินดีจ่ายเงินชดเชยให้ พร้อมยังคงโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ต่อไป และยืนยันว่าส่วนผสมที่ใช้มีความปลอดภัย


ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านร่วมเฝ้าระวัง สารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทในโรลออนกันอีกครั้ง ซึ่งถึงตรงนี้เราอาจยังมีข้อสงสัยในสารดังกล่าวว่า มีหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะมะเร็งเต้านม ฉลาดซื้อจึงขออาสาพาไปดูฉลาก “ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นใต้วงแขน” ทั้งหมด 20 ยี่ห้อ ว่ายี่ห้อไหนมีส่วนประกอบของสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท บ้าง


*หมายเหตุ ราคาอาจแตกต่างกันตามแหล่งซื้อต่างๆ
**เก็บตัวอย่าง กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2559

 

ผลทดสอบฉลาก

 


"ไม่มีบนฉลาก"  คือ ไม่แสดงว่ามีส่วนผสมหรือไม่
"ไม่แจ้งส่วนประกอบ" คือ ไม่มีรายละเอียดบนขวดว่าผสมอะไร
"มีแสดงบนฉลาก" คือ แสดงส่วนประกอบว่ามีสารดังกล่าว 

ทั้งนี้  "ไม่มีบนฉลาก" และ  "ไม่แจ้งส่วนประกอบ"  ทางเราไม่สามารถบอกได้ว่ามีหรือไม่มี เพราะการเสนอครั้งนี้เราสำรวจจากฉลาก ที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผู้บริโภคตัดสินใจในซื้อมาใช้ และการมีฉลากที่แจ้งข้อมูลก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค


ผลจากการเปรียบเทียบฉลาก
- โรลออนทุกยี่ห้อเกือบทุกยี่ห้อที่สำรวจมีสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทเป็นส่วนประกอบ แต่มี 3 ยี่ห้อ คือ Nivea Rexona และ Dove ที่ไม่ระบุส่วนประกอบบนฉลาก
- สารส้มแบบแท่งและแบบโรลออน ไม่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าว
- ทุกยี่ห้อจะมีคำโฆษณาคล้ายกัน โดยเน้นเรื่องการระงับเหงื่อ ให้กลิ่นกายหอมสดชื่นยาวนาน และบางยี่ห้ออาจเพิ่มเติมว่าปราศจากแอลกอฮอล์ 

รู้จักสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทกันอีกสักหน่อย
สารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท มีชื่อพ้องหรือชื่อเรียกอื่นที่อาจพบได้อีกคือ Aluminum hydroxychloride, Aluminium chlorhydroxide, Aluminium chloride basic, Aluminium chlorohydrol, Polyaluminium chloride เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายอย่างโรลออน จะสามารถช่วยลดเหงื่อหรือทำให้เหงื่อออกน้อยลงได้ เพราะทำให้ผิวหนังและรูขุมขนในบริเวณที่ทาหดตัว ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและกลิ่นกาย มักจะมีส่วนประกอบของสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท ที่เข้มข้นสูงถึง 30-50% เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ จึงเป็นผลให้เกิดเป็นรอยด่างดำที่ใต้วงแขนเนื่องมาจากการสะสมของสารชนิดนี้ แม้ในส่วนโรลออนที่เป็นแบบไวท์เทนนิ่ง (whitening) หรือช่วยให้ผิวใต้วงแขนดูกระจ่างใสขึ้น ก็พบว่ามีสารตัวนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน แต่จะมีสารตัวอื่นๆ ผสมเข้ามาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยด่างดำที่เป็นผลมาจากสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

300 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผลิตภัณฑ์ ใต้วงแขน กลิ่น สุขภาพ ทดสอบ ประสิทธิภาพ

ฉบับที่ 278 สำรวจฉลาก “แป้งเย็น”

        เมื่อสภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นโลกเดือดอยู่ในตอนนี้ ดวงอาทิตย์แผดแสงจ้ามาแบบไร้ความปราณีอากาศร้อนอบอ้าวจนเหงื่อไหลไคลย้อยไม่สบายตัว บางคนเกิดผดผื่นคันบนผิวหนังชวนให้หงุดหงิดใจไปอีก เวลาร้อนๆ หลายคนมักจะอาบน้ำประแป้งเย็นๆ ช่วยให้สดชื่นขึ้น แป้งเย็นจึงเป็นสินค้าที่อยู่คู่คนไทยมานาน และไม่ต้องแปลกใจว่าตลาดแป้งโรยตัวที่มีมูลค่าทางการตลาด 3,900 ล้านบาท ตลาดแป้งเย็นจะเป็นเซ็กเมนต์หลักที่มีสัดส่วนในตลาดสูงถึง 42% (ข้อมูลจาก Nielsen Dec’21) ซึ่งนอกจากจะมีสูตรเย็นธรรมดาแล้ว ยังมีสูตรเย็นสุดขั้ว พ่วงเพิ่มความหอมนาน ลดเหงื่อ ลดกลิ่นกาย และลดผดผื่นคัน มาให้เลือกใช้อีกด้วย         ส่วนประกอบหลักของแป้งเย็นคือ ทัลค์(Talc) [ทัลคัม (Talcum) หรือไฮเดรต แมกนีเซียม ซิลิเกท (Hydrated Magnesium Silicate)] แร่หินธรรมชาติที่มีคุณสมบัติดูดความชื้น เมนทอล (Menthol) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาททำให้เมื่อทาผิวแล้วจะรู้สึกเย็น(แต่อุณหภูมิร่างกายไม่ได้ลดลง) และ/หรือ การบูร(Camphor) ที่ให้กลิ่นหอมเย็นสดชื่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสารเหล่านี้มีทั้งประโยชน์และโทษ ต้องระวังว่าหากใช้แป้งเย็นในปริมาณที่มากเกินไปและใช้ไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้ผิวระคายเคือง หรือถ้าสูดดมฝุ่นแป้งที่ฟุ้งเข้าไปบ่อยๆ อาจเกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจได้ ดังนั้นแม้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานแล้วก็ยังต้องใช้ให้ถูกวิธีด้วย         นิตยสารฉลาดซื้อ ได้สุ่มเลือกแป้งเย็น จำนวน 14 ตัวอย่าง 12 ยี่ห้อ เมื่อเดือนมีนาคม 2567 มาสำรวจฉลากว่าแสดงข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วนหรือไม่ พร้อมเปรียบเทียบราคา เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจเลือกซื้อแป้งเย็นให้ตอบโจทย์ทั้งความต้องการ ความคุ้มค่าและความปลอดภัยได้ต่อไป    ผลสำรวจ- ทุกตัวอย่างมีเลขที่ใบรับจดแจ้งจาก อย.ถูกต้อง และยังมีสถานะคงอยู่ ยกเว้น ยี่ห้อทรอส ฟรีซคูล แอนด์ โพรเทคชัน คูลลิ่ง ทัลคัม ที่หมดอายุไปแล้วเมื่อ 7/06/66 (ตัวอย่างที่นำมาสำรวจครั้งนี้ผลิตเมื่อ 18/05/66)- ทุกตัวอย่าง ยกเว้น ยี่ห้อเต่าเหยียบโลก แป้งระงับกลิ่นกาย คูลเฟรช มีระบุคำเตือนบนฉลากว่า “ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และระวังอย่าให้แป้งเข้าจมูกและปาก” ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแสดงไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีทัลค์เป็นส่วนประกอบ- ทุกตัวอย่างมีทัลค์ (Talc /Talcum/ Hydrated Magnesium Silicate) อยู่ในส่วนประกอบ - ทุกตัวอย่างมีเมนทอล(Menthol) อยู่ในส่วนประกอบ ยกเว้น ยี่ห้อเอเวอร์เซ็นส์ เอ็กซ์ตรีมลี่ คูล เซนต์ พาวเดอร์- ทุกตัวอย่างมีการบูร(Camphor) อยู่ในส่วนประกอบ ยกเว้น ยี่ห้อเต่าเหยียบโลก แป้งระงับกลิ่นกาย คูลเฟรช- เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ยี่ห้อเต่าเหยียบโลก แป้งระงับกลิ่นกาย คูลเฟรช แพงสุด คือ 1.82 บาท ส่วนยี่ห้อเอเวอร์เซ็นส์ เอ็กซ์ตรีมลี่ คูล เซนต์ พาวเดอร์ และ เอ็กซิท เป็ปเปอร์มินต์ ฟิลล์ สูตรรีเฟรชชิ่ง ถูกสุด คือ 0.14 บาท  ข้อสังเกต- ยี่ห้อเทียร่า ป็อป คันทรี  เป็นตัวอย่างเดียวที่ระบุปริมาณเมนทอล(0.95%) และการบูร(0.74) ในส่วนประกอบ- ยี่ห้อไอโอเดิมร์ กลิ่นคลาสสิคคูลลิ่ง เป็นตัวอย่างเดียวที่มีมีข้อความ “เครื่องสำอางควบคุม” บนฉลาก และระบุเฉพาะวันเดือนปีที่ผลิต- มี 13 ตัวอย่าง ระบุทั้งวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ โดยส่วนใหญ่จะมีอายุ 3 ปี - มี 8 ตัวอย่าง ระบุว่าผ่านการทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง- ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นแป้งเย็นสูตรเย็นสุดขั้ว เย็นสูงสุด เย็นเต็มแมกซ์ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการใส่ส่วนผสมที่ให้ความเย็นเพิ่มมากขึ้นกว่าสูตรเย็นธรรมดา ดังนั้นคนที่ผิวแพ้ง่ายจึงควรเลี่ยงการใช้แป้งเย็นสูตรนี้  - ระดับความเย็นที่ระบุบนฉลากเป็นการเปรียบเทียบเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นยี่ห้อเดียวกัน  ฉลาดซื้อแนะ- อ่านฉลากอย่างละเอียดทุกครั้ง เพื่อดูว่าในส่วนประกอบมีสารที่แพ้หรือเปล่า และควรมีการทดสอบอาการแพ้ก่อนเริ่มใช้ เนื่องจากสารให้ความรู้สึกเย็น หรือสารให้ความหอมต่าง ๆ ในแป้งเย็นไม่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย- เลือกระดับความเย็นที่ใช่ กลิ่นที่ชอบ และคุณสมบัติอื่นๆ ที่ต้องการ เช่น หากต้องออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือทำงานนอกบ้านในวันที่ร้อนๆ อาจเลือกสูตรเย็นมาก หอมนาน ลดเหงื่อ ลดกลิ่นกาย ที่ช่วยให้เย็นแล้วยังเพิ่มความมั่นใจได้อีกด้วย- ลองซื้อแป้งเย็นกระป๋องเล็กมาใช้ก่อน เมื่อเลือกได้ยี่ห้อที่ถูกใจแล้วค่อยซื้อกระป๋องใหญ่แบบแพ็คคู่จะคุ้มกว่า   - ควรปฏิบัติตามคำเตือนอื่นๆ ที่ระบุไว้ด้วย เช่น สำหรับใช้ภายนอกเท่านั้น ห้ามใช้กับผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือมีแผลเปิด หากใช้แล้วมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นต้องหยุดใช้และปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร - ทัลค์เป็นสารอนินทรีย์ ไม่ถูกย่อยสลายตามธรรมชาติ ดังนั้น ถ้าโรยแป้งในปริมาณมาก ผงแป้งจะลอยฟุ้งกระจายในอากาศ หากสูดดมเข้าไปเป็นเวลานาน จะเกิดการสะสมเป็นก้อนในปอด ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้ ฉะนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการโรยแป้งไปที่ตัวโดยตรง แต่ควรเทใส่มือในปริมาณน้อย ๆ และลูบไล้ที่มือก่อนทาบางๆ บนตัว  หรือหยดน้ำนิดๆ ทำเป็นแป้งน้ำแล้วมาประตามตัวก็ได้ ส่วนคุณผู้หญิงนั้นไม่ควรโรยแป้งบริเวณจุดซ่อนเร้น (มีเคสที่พบว่าทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่)- ทั้งเมนทอนและการบูรเป็นสารฤทธิ์เย็นที่ส่งผลต่อระบบประสาท หากเทแป้งเย็นทาแบบฟุ้งๆ จนสูดดมฝุ่นแป้งเข้าไปมากๆ บ่อยๆ อาจทำให้บางคนติดกลิ่นแป้งคล้ายกับติดยาดม หรือระคายเคืองเยื่อบุโพรงจมูกได้- ไม่ควรทาแป้งเย็นที่มีเมนทอนในปริมาณที่เยอะเกินไป เพราะหากผิวหนังสัมผัสกับเมนทอลในปริมาณที่มากๆ ก็อาจจะทำให้ผิวหนังเกิดผื่นแดง เกิดอาการแสบและคันขึ้นมาได้ - หลีกเลี่ยงการทายาแป้งเย็นที่มีการบูรบริเวณรอบดวงตา ปาก และตรงที่มีแผลเปิด เพราะการบูรดูดซึมผ่านผิวหนังได้ง่าย และอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ แหล่งข้อมูลอ้างอิงhttps://th.my-best.com/23699https://oryor.com/https://worldchemical.co.thhttps://www.pobpad.com/https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/judprakai

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 277 ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวหน้า

        ต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวหน้าที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 50+ จำนวน 26 ผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบไว้โดยองค์กรสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) เช่นกัน โดยคะแนนแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้         ร้อยละ 65       ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA/UVB และ UVA ratio (ทดสอบในห้องปฏิบัติการ)         ร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น เปิดใช้ง่าย ทาง่าย ซึมลงผิวเร็ว ไม่เหนียว ไม่ทิ้งคราบ         ร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น เปิดใช้ง่าย ทาง่าย ซึมลงผิวเร็ว ไม่เหนียว ไม่ทิ้งคราบ         ร้อยละ 10       ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ส่วนผสมที่ไม่ทำลายธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดมากเกินไป สามารถนำไปรีไซเคิลได้ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้หมด ไม่มีตกค้าง เป็นต้น)         ร้อยละ 5         ฉลากที่ถูกกฎหมายและเป็นมิตรต่อผู้บริโภค           ร้อยละ 5         ฉลากที่ถูกกฎหมายและเป็นมิตรต่อผู้บริโภค          ในภาพรวมเราพบว่าประมาณสองในสามของผลิตภัณฑ์ที่เราทดสอบมีประสิทธิภาพการกันแดดในระดับดี และที่โดดเด่นในเรื่องนี้มากที่สุดด้วยคะแนน 5 ดาวคือ Reimann P20 Sensitive Face SPF50 แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่ามีถึง 8 ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพการป้องกันแดดในระดับต่ำ และที่น่าเป็นห่วงคือ 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวหน้ามีค่า SPF ต่ำกว่าที่แจ้งบนฉลาก         ด้านคะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้ มีสองผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนระดับ 5 ดาว ได้แก่ Eucerin Sun Hydro Protect fluide ultra-leger SPF50+ และ Biotherm Waterlover face sunscreen SPF50+ อย่างไรก็ตามเราพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ “ถูกใจ” เพราะกลิ่นหอม ทาง่าย ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้เร็ว อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันแดดต่ำมากจนน่าตกใจ และเช่นเคย เรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตต้องปรับปรุงอีกมาก         หมายเหตุ  ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในร้านค้าออนไลน์ และคำนวณจากหน่วยเงินในประเทศต้นทาง เช่น ยูโร หรือปอนด์  โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 276 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม(ชาย)

        จัดทรงง่าย อยู่ทรงนาน เผยลุคหล่อ เท่ เนี้ยบ หรือทรงอย่างแบดได้ตามใจหนุ่มๆ นี่คงเป็นคุณสมบัติหลักๆ ที่คุณผู้ชายทั้งหลายใช้เลือกซื้อเจล แว๊กซ์ หรือโพเมด มาเซ็ตผมในทุกๆ วัน เพื่อส่งเสริมบุคลิกและสร้างความมั่นใจในสไตล์ของตน แต่รู้หรือไม่ว่า ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่อยู่ในรูปแบบใช้แล้วไม่ล้างออกเหล่านี้ มักนิยมใช้สารเคมีในกลุ่มที่ไม่ย่อยสลาย ซึ่งอาจทิ้งสารตกค้างบนหนังศีรษะ อุดรูเส้นผม จนเกิดอาการแพ้ คัน มีรังแค และเป็นสาเหตุของผมร่วงได้ นอกจากนี้ บางยี่ห้อยังมีสารกันเสียชนิดที่หากใช้ต่อเนื่องนานๆ อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์อีกด้วย         นิตยสารฉลาดซื้อได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม(ชาย) ในรูปแบบเนื้อเจล แว๊กซ์ และโพแมด จำนวน 10 ตัวอย่าง 7 ยี่ห้อ ทั้งจากร้านค้าปลีกและร้านค้าออนไลน์ เมื่อเดือนมกราคม 2567 เพื่อสำรวจฉลากว่ามีสารเคมีหรือสารกันเสียที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่ ซิลิโคน พาราเบน และพีน็อกซี่เอทานอล รวมถึงเปรียบเทียบราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ คุ้มค่าและปลอดภัยได้ต่อไป ผลการสำรวจ         · พบสารซิลิโคน ใน 5 ตัวอย่าง คิดเป็น 50% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแกสบี้ สไตล์ลิ่ง แวกซ์ พาวเดอร์ แอนด์ สไปคัส, แกสบี้ มูฟริ่ง รับเบอร์ สไปค์กี้ เอดจ์, ออด๊าซ สไตล์ลิ่ง แว๊กซ์ ไชน์ แอนด์ ฮาร์ด,โลแลน เฮด อัพ สตรอง แว๊กซ์ และดีแคช แกลมเมอไรซ์ เคลย์ แว๊กซ์        · พบพาราเบน ใน 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 30% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแกสบี้ สไตล์ลิ่ง โพเมด เพอร์เฟค เรส,  แคริ่ง แฮร์ แว็กซ์ เซ็ท สไปค์ และชวาร์สคอฟ ทัฟท์ แม็กซ์ ลุค พาวเวอร์ แวกซ์ โฮลด์ 5+        · พบพีน็อกซี่เอทานอล ใน 7 ตัวอย่าง คิดเป็น 70% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแกสบี้ สไตล์ลิ่ง แวกซ์ พาวเดอร์ แอนด์ สไปคัส, แกสบี้ สไตล์ลิ่ง โพเมด เพอร์เฟค เรส, แกสบี้ มูฟริ่ง รับเบอร์ สไปค์กี้ เอดจ์, ชวาร์สคอฟ ทัฟท์ แม็กซ์ ลุค พาวเวอร์ แวกซ์ โฮลด์ 5+, ออด๊าซ สไตล์ลิ่ง แว๊กซ์ ไชน์ แอนด์ ฮาร์ด, โลแลน เฮด อัพ สตรอง แว๊กซ์ และเดวิด เดส ร็อค แมท แม็ก โฮลด์ โพเมด         · เมื่อคำนวณเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่ายี่ห้อเดวิด เดส ร็อค แมท แม็ก โฮลด์ โพเมด แพงที่สุด คือ 7.45 บาท  ส่วนยี่ห้อออด๊าซ สไตล์ลิ่งแว๊กซ์ ไชน์ แอนด์ ฮาร์ด ถูกที่สุด คือ 0.75 บาท ข้อสังเกต        · สารกลุ่มซิลิโคนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น Dimethicone รองมาคือ Cyclomethicone         · สารกลุ่มพาราเบนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้เป็น Methylparaben, Propylparaben และ Ethylparaben         · ทุกตัวอย่างระบุวันผลิตไว้ในปี 2023  ยี่ห้อดีแคช แกลมเมอไรซ์ เคลย์ แว๊กซ์ ระบุอายุไว้นานสุดคือ 5 ปี ส่วนยี่ห้อโลแลน เฮด อัพ เจล กัม และโลแลน เฮด อัพ สตรอง แว๊กซ์ ระบุอายุไว้น้อยสุดคือ 2 ปี         · ยี่ห้อแกสบี้ มูฟริ่ง รับเบอร์ สไปค์กี้ เอดจ์ และยี่ห้อชวาร์สคอฟ ทัฟท์ แม็กซ์ ลุค พาวเวอร์ แวกซ์ โฮลด์ 5+ ระบุเฉพาะวันผลิตไว้ (อย.ให้เครื่องสำอางที่มีอายุมากกว่า 30 เดือน ไม่จำเป็นต้องระบุวันหมดอายุ)        · ยี่ห้อแคริ่ง แฮร์ แว๊กซ์ เว็ต สไปค์ ไม่ระบุวิธีใช้บนฉลาก ส่วนยี่ห้อแกสบี้ สไตล์ลิ่ง แว๊กซ์ พาวเวอร์ แอนด์ สไปคัส และชวาร์สคอฟ ทัฟท์ แม๊กซ์ ลุค พาวเวอร์ แว๊กซ์ โฮลด์ 5+ ไม่ระบุคำเตือนหรือข้อควรระวังกำกับไว้บนฉลาก        · ระยะเวลาในการจัดผมให้อยู่ทรงที่มีระบุไว้คือ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง โดยยี่ห้อดีแคช แกลมเมอไรซ์ เคลย์ แว๊กซ์ มีระยะเวลาอยู่ทรงนานที่สุด         · เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม ราคาแพงสุดมากกว่าราคาถูกสุดเกือบ 10 เท่า          · ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตอยู่ในประเทศไทย (6 ตัวอย่าง) นอกนั้นมีผลิตจากอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และจีน ฉลาดซื้อแนะ        · เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย และมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนด คือ ชื่อผลิตภัณฑ์ เลขที่จดแจ้ง ส่วนประกอบ วิธีใช้ ชื่อและสถานที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ รวมทั้งต้องซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานด้วย         · ควรเช็กเลขที่จดแจ้งบนฉลากว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบแอบสวมทะเบียนปลอม         · หากไม่แน่ใจว่าจะเลือกแบบไหนดี ให้ลองซื้อไซส์เล็กมาทดลองใช้ก่อนก็ได้         · ควรอ่านและทำความเข้าใจวิธีใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่อาจมีขั้นตอนแตกต่างกัน และปฏิบัติตามคำเตือนที่ระบุไว้ เช่น ไม่ควรเก็บสินค้าในที่มีอุณหภูมิสูง ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ควรหยุดใช้ทันทีเมื่อมีอาการแพ้ เป็นต้น        · หลังใช้ 1-2 วันควรสระผมทำความสะอาด ไม่ควรปล่อยให้สารเคมีเกาะเคลือบอยู่บนผมนานเกินไป เพื่อไม่ให้สารเหล่านั้นตกค้าง และสะสมมากจนเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้        · คำศัพท์น่ารู้ สังเกตคุณสมบัติเบื้องต้นจากชื่อผลิตภัณฑ์ได้ เช่น Spike = เซ็ตให้ผมตั้งหรือล็อกให้แข็งอยู่ทรง  Matt = ใช้แล้วผมไม่ขึ้นเงา เส้นผมดูมีน้ำหนัก เหมาะกับช่วงเร่งรีบ และ Clay Wax = ต้องวอร์มให้เนื้อนิ่มโดยขยี้บนมือก่อน ใช้เซ็ตผมให้อยู่ทรงแลดูเป็นธรรมชาติ ในลุคสบายๆ เป็นต้น                          ข้อมูลอ้างอิงhttps://www.pobpad.comhttps://bestreview.asia/hair-styling-for-men/https://thestandard.co/hairstyling-products-for-men/

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับ “เด็ก”

        ฤดูร้อนไม่เคยหายไปจากบ้านเรา แม้ในวันที่มีเมฆมากก็ไม่ได้แปลว่าเราจะรอดพ้นจากรังสียูวี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ผู้ปกครองพาไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงปิดเทอม ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับเด็กที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 50+         องค์กรที่ส่งตัวอย่างเข้าทดสอบในครั้งนี้คือองค์กรผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ในยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน หลายยี่ห้อมีจำหน่ายในบ้านเราหรือสั่งซื้อได้ออนไลน์  คราวนี้เรามีมาให้เลือก 20 ผลิตภัณฑ์ ทั้งแบบโลชัน สเปรย์ และแบบแท่ง เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมา เราแบ่งคะแนนการทดสอบออกเป็น 4 ด้านดังนี้        ร้อยละ 65       ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA/UVB และ UVA ratio (ทดสอบในห้องปฏิบัติการ)        ร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น เปิดใช้ง่าย ทาง่าย ซึมลงผิวเร็ว ไม่เหนียว ไม่ทิ้งคราบ         ร้อยละ 10       ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ส่วนผสมที่ไม่ทำลายธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดมากเกินไป สามารถนำไปรีไซเคิลได้ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้หมด ไม่มีตกค้าง เป็นต้น)         ร้อยละ 5         ฉลากที่ถูกกฎหมายและเป็นมิตรต่อผู้บริโภค          ในภาพรวมเราพบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ต่างกันมากนักในเรื่องประสิทธิภาพการป้องกันแดดและความพึงพอใจของผู้ใช้ (ส่วนใหญ่ได้คะแนนระดับสี่ดาวขึ้นไป ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนรวมน้อยกว่า 50) เมื่อเทียบกับครั้งก่อน ผู้ผลิตมีการปรับปรุงเรื่องของฉลากดีขึ้นมาก อย่างน้อยร้อยละ 50 มีการแสดงฉลากที่ดีขึ้น แต่ยังต้องปรับปรุงอีกมากในเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่ยังได้คะแนนเพียงหนึ่งหรือสองดาวเท่านั้น            “ข่าวดี” คือเราไม่พบพาราเบนหรือสารเคมีที่รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (EDCs) และมีเพียงสามผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่มีค่า SPF ต่ำกว่าที่ระบุในฉลาก นอกจากนั้นเรายังพบว่าราคาของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ยืนยันประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีเสมอไป ตัวที่ได้คะแนนสูงที่สุดสามอันดับแรกมีราคาไม่เกิน 5 บาทต่อหนึ่งมิลลิลิตร ในขณะที่ตัวที่มีราคามิลลิลิตรละ 16 บาทนั้นเข้ามาที่อันดับเก้า อีกข้อสังเกตคือมีความเป็นไปได้ที่ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายเดียวกันจะมีประสิทธิภาพในระดับที่ต่างกันด้วย         หมายเหตุ  ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในร้านค้าออนไลน์ และคำนวณจากหน่วยเงินในประเทศต้นทาง เช่น ยูโร หรือปอนด์  โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ความคิดเห็น (0)