ฉบับที่ 134 ฉลากอาหารกับความเข้าใจของผู้บริโภค

“ฉลากอาหาร” เปรียบเสมือนหน้าต่างของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในภาชนะบรรจุได้ โดยเป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการในการสื่อสารข้อมูลแก่ผู้บริโภคและเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ เป็นเครื่องมือของหน่วยงานรัฐในการติดตามตรวจสอบคุณภาพอาหารและให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพบว่า มีการละเมิดสิทธิผู้บริโภคจากกรณีการแสดงฉลากอาหารไม่ถูกต้องอยู่พอสมควร เช่น การไม่แสดงวันผลิต-วันหมดอายุ หรือแสดงแล้วแต่หาไม่เจอ ไม่แสดงชื่อผู้ผลิต-ผู้จำหน่าย การใช้ข้อความกล่าวอ้างคุณค่าให้เข้าใจผิดในสรรพคุณไปจากความเป็นอาหาร และการใช้คำแสดงส่วนประกอบที่ทำให้เข้าใจผิดถึงส่วนประกอบของอาหาร เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่น่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบฉลากอาหารโดยทำให้เป็นมิตรต่อผู้บริโภคโดยทำให้เห็นชัด น่าอ่าน อ่านง่าย และเข้าใจง่ายมากขึ้น แต่ก่อนที่จะมีการปรับปรุงรูปแบบฉลากอาหารได้จะต้องมีการสำรวจข้อมูลการแสดงฉลากอาหารในปัจจุบันกันเสียก่อน ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้นำข้อมูลผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากอาหารมาฝากคุณผู้อ่านกัน   ข้อมูลการสำรวจ ฉลาดซื้อได้ร่วมกับโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภคดำเนินการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากอาหารในสามประเด็น 1. รูปแบบฉลากโภชนาการ 2. วันผลิต/วันหมดอายุของอาหาร และ 3. ประเด็นการโฆษณาบนฉลากอาหาร การสำรวจนี้ได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากผู้บริโภคจำนวน 474 คนในทุกช่วงอายุ คละกลุ่มอาชีพและคละฐานการศึกษาจากแปดจังหวัดในสี่ภูมิภาคคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น เชียงใหม่ พะเยา สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ระหว่างช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2554   ผลการสำรวจ 1 การรับรู้ฉลากโภชนาการ ร้อยละ 83.5 ต้องการให้อาหารทุกประเภทต้องแสดงฉลากโภชนาการ ฉลากโภชนาการ คือ การแสดงข้อมูลคุณค่าทางอาหารของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ บนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหารรวมไปถึงการใช้ข้อความ กล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น โปรตีนสูง เสริมวิตามินซี เป็นต้น การใช้ฉลากโภชนาการในปัจจุบันอยู่ในลักษณะการแสดงโดยสมัครใจสำหรับอาหารทุกชนิดทั่วไป แต่จะบังคับให้ อาหารที่มีการกล่าวอ้าง ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ซึ่งหมายความว่า ไม่ใช่อาหารทุกชนิดต้องมีฉลากโภชนาการ เราถามผู้บริโภคเกี่ยวกับความเข้าใจฉลากโภชนาการ (ข้อมูลแสดงคุณค่าของอาหาร) ในสามรูปแบบคือ แบบการแสดงตัวเลขเป็นร้อยละโดยมีสีเดียวที่ อย. เพิ่งนำมาใช้ (Guideline Daily Amount: GDA)     แบบสีสัญญาณไฟจราจร เขียว เหลือง แดง (Traffic Light Labeling) และ แบบตารางแสดงคุณค่าโภชนาการตามปกติ   ผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 49.6 มีความพอใจในฉลากโภชนาการแบบ GDA ขณะที่ความพอใจที่มีต่อฉลากสีสัญญาณไฟจราจรนั้นอยู่ที่ร้อยละ 84.8 และเมื่อถามเปรียบเทียบระหว่างการใช้ฉลากทั้งสองรูปแบบพบว่าร้อยละ 24.3 ชื่นชอบ GDA ร้อยละ 64.8 ชื่นชอบแบบสีสัญญาณไฟจราจร และร้อยละ 5.7 ไม่ชอบทั้งสองแบบ โดยให้ข้อเสนอแนะว่าน่าจะนำทั้งสองรูปแบบมารวมกัน(มีผู้ไม่ตอบในข้อนี้อีกจำนวนร้อยละ 5.3) เมื่อถามว่าถ้ามีการใช้รูปแบบฉลากโภชนาการแบบใหม่ไม่ว่าจะเป็น GDA หรือ สีสัญญาณไฟจราจรแล้วจะต้องใช้รูปแบบฉลากโภชนาการแบบเดิมหรือไม่ ได้รับคำตอบว่าจำเป็น แต่ต้องปรับรูปแบบให้เข้าใจง่ายขึ้นจำนวนร้อยละ 62.2 และมีผู้ที่ตอบว่าไม่จำเป็นจำนวนร้อยละ 33.5 โดยให้เหตุผลสองข้อคือ 1) เพราะไม่เคยอ่านฉลากโภชนาการรูปแบบเดิม จำนวนร้อยละ 67.5 และ 2) เพราะอ่านฉลากโภชนาการแบบเดิมไม่รู้เรื่องจำนวนร้อยละ 32.5 คำถามสุดท้ายในประเด็นนี้ ได้ถามถึงความจำเป็นในการแสดงฉลากโภชนาการในอาหาร พบว่า ร้อยละ 83.5 ต้องการให้อาหารทุกประเภทต้องแสดงฉลากโภชนาการ ร้อยละ 10.3 ให้แสดงเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างคุณค่าทางโภชนาการ และ ร้อยละ 1 ต้องการให้แสดงในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก โดยที่มีผู้ไม่ตอบในข้อนี้อีกจำนวนร้อยละ 5.7   2 ความเข้าใจเรื่องการโฆษณาบนฉลากอาหาร ร้อยละ 76.8 ตอบว่า โฆษณาบนฉลากมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยทั่วไป พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารของตนจะต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทุกครั้งแต่สำหรับการโฆษณาบนฉลากอาหารนั้นกลับไม่มีการบังคับทางกฎหมายว่าต้องส่งให้ อย. ตรวจสอบแต่อย่างใด ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนใช้ช่องว่างนี้ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตนซึ่งบางครั้งก็เป็นข้อความที่เกินจริง โอ้อวดสรรพคุณ ทำให้เข้าใจผิดไปจากความเป็นอาหาร อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่บนฉลากทำให้ตัวหนังสือในส่วนอื่น ๆ ของฉลากที่มีความสำคัญมากกว่า เช่น วันผลิต-วันหมดอายุ ตารางโภชนาการ มีขนาดเล็กทำให้ไม่น่าอ่าน ดังนั้นหากมีการควบคุมดูแลด้านฉลากอาหารที่ดี โดยตัดเนื้อหาการโฆษณาที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ออกไปก็จะทำให้มีเนื้อที่บนฉลากมากขึ้นเพียงพอที่จะทำให้ฉลากอาหารน่าอ่านและอ่านง่าย   เมื่อส่งผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ตอบแบบสอบถามและให้หาโฆษณาบนฉลากอาหาร ร้อยละ 24.5 ตอบว่าไม่มีโฆษณา ขณะที่ร้อยละ 71.3 ตอบว่ามี อย่างไรก็ตาม จากการให้ผู้ตอบแบบสอบถามเขียนคำโฆษณาที่ตนเห็นลงในแบบสอบถามด้วย พบว่า กว่าครึ่งเข้าใจได้ถูกต้องถึงสิ่งที่ตนเขียนมา ขณะที่อีกกลุ่มใหญ่ไม่เข้าใจว่าการโฆษณาบนฉลากอาหารคืออะไร โดยที่กว่าครึ่งของผู้ที่ตอบว่ามีโฆษณาบนฉลากเข้าใจว่าการใช้คำกล่าวอ้างทางโภชนาการตามที่ อย. อนุญาต คือการโฆษณา บ้างคิดว่าชื่ออาหารเป็นโฆษณา และบางส่วนสับสนระหว่างการแสดงส่วนประกอบของอาหารกับการโฆษณา เมื่อถามว่าโฆษณาที่เห็นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อหรือไม่ ร้อยละ 76.8 ตอบว่ามี ร้อยละ 18.6 ตอบว่าไม่มีผล และร้อยละ 4.6 ไม่แสดงความคิดเห็น ซึ่งหมายความว่าคำบรรยายต่าง ๆ ที่เห็นบนฉลากไม่ว่าจะเป็นการกล่าวอ้างทางโภชนาการทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง และทั้งการโฆษณาโดยตรงบนฉลาก มีผลต่อการตัดใจของผู้บริโภคค่อนข้างสูง คำถามสุดท้ายของประเด็นว่าเห็นด้วยกับการมีโฆษณาบนฉลากอาหารหรือไม่ ร้อยละ 69 ตอบว่า เห็นด้วย และ ร้อยละ 26.8 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามจากเหตุผลของผู้ที่เห็นด้วยที่บอกว่าการโฆษณาทำให้รู้สรรพคุณและส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าผู้ที่ตอบว่าเห็นด้วยบางส่วนนั้นยังคงมีความสับสนและไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือคำกล่าวอ้างทางโภชนาการที่ อย. อนุญาต และอะไรคือการโฆษณาซึ่งเป็นสิ่งที่มิได้ระบุไว้ให้แสดงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลาก 3 การรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ ร้อยละ 49.2 อยากเห็นฉลากอาหารแสดงทั้งวันผลิตและวันหมดอายุ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- “ในทางกฎหมายคำว่า “วันหมดอายุ” ถือเป็นสัญญาที่ผู้ประกอบการให้กับผู้บริโภค ส่วนคำว่า “ควรบริโภคก่อน” ถือเป็นคำแนะนำของผู้ประกอบการที่มีต่อผู้บริโภค” นายอิฐบูรณ์  อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   เมื่อถามผู้ตอบแบบสอบถามว่าเห็นวันผลิต-วันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในมือหรือไม่ ร้อยละ 57.6 ตอบว่าเห็น ร้อยละ 7.4 ตอบว่า ไม่เห็น ร้อยละ 30.6 ตอบว่า เห็นแต่ใช้เวลาในการหานาน และส่วนที่เหลือไม่แสดงความคิดเห็น ซึ่งสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมากของทั้งสามคำตอบและเมื่อรวมผู้ที่ตอบว่าไม่เห็นกับผู้ที่ตอบว่าเห็นแต่ใช้เวลาในการหานานแล้วนั้นสัดส่วนขยับมาเป็นร้อยละ 57.6 ต่อ ร้อยละ 38 สำหรับคำถามที่ว่าพอใจกับการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุที่เห็นอยู่แค่ไหน ได้รับคำตอบว่า พอใจ ร้อยละ 52.7 ไม่พอใจ ร้อยละ 42.8 และไม่แสดงความคิดเห็นอีกร้อยละ 4.4 จากการตอบแบบสอบถาม แสดงว่าการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุบนบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันค่อนข้างมีปัญหา และควรที่จะมีการปรับปรุงรูปแบบ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อถามความเข้าใจเรื่องวันหมดอายุว่า คำว่า “วันหมดอายุ” เหมือนหรือต่างอย่างไรกับคำว่า “ควรบริโภคก่อน” พบว่า ร้อยละ 47.3 ตอบว่า เหมือนกัน ร้อยละ 48.1 ตอบว่า ต่างกัน และร้อยละ 4.6 ไม่ตอบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจเรื่องวันผลิต-วันหมดอายุของผู้บริโภคยังคงเป็นปัญหาและตามมาซึ่งคำถามว่าปัญหานี้เกิดจากอะไร ระหว่าง การใช้คำที่สร้างความสับสนให้เหมือนว่าใช้แทนกันได้ทั้งที่ควรจะมีการบังคับทางกฎหมายต่างกัน หรือความเข้าใจพื้นฐานของผู้บริโภคน้อย หรือ ระบบไม่ต้องการให้คนเข้าใจได้ กันแน่ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงรูปแบบการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุที่อยากเห็น เราได้รับคำตอบว่า ร้อยละ 49.2 อยากเห็นการแสดงทั้งวันผลิตและวันหมดอายุโดยให้มีแต่คำว่า “วันหมดอายุ” เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีคำว่า “ควรบริโภคก่อน” มาเป็นตัวเลือกของผู้ประกอบการ ขณะที่ร้อยละ 29.5 ต้องการแบบเดียวกับข้อแรกแต่ให้เปลี่ยนจากคำว่า “วันหมดอายุ” มาเป็น “ควรบริโภคก่อน” แต่อย่างเดียว ซึ่งจากสัดส่วนที่ออกมาเห็นได้ชัดเจนว่าผู้บริโภคไม่อยากเห็นการแสดงคำที่สร้างความสับสนอย่างคำว่าว่า “วันหมดอายุ” และ “ควรบริโภคก่อน” ไว้ด้วยกันโดยให้เป็นตัวเลือกของผู้ประกอบการ หากแต่ต้องการความชัดเจนอย่างใดอย่างหนึ่งไปเลย --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ความหมายและความสำคัญของฉลากอาหาร “ฉลากอาหาร” คืออะไร? บางคนตอบว่ากระดาษ/พลาสติกที่มีตัวหนังสือพิมพ์ติดอยู่ข้างขวด บ้างก็ตอบว่าลวดลายและตัวอักษรที่ติดอยู่บนซองขนม และอีกหลายคนตอบว่าข้อความบรรยายสรรพคุณของอาหาร ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ คือ ถูกทุกข้อ โดยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ให้คำนิยามไว้ว่าคือ “รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุอาหารหรือหีบห่อของภาชนะบรรจุอาหาร” และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 194 พ.ศ. 2543 เรื่องฉลากอาหารได้กำหนดให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะบรรจุ โดยกำหนดให้แสดงข้อมูลที่สามารถแบ่งกลุ่มตามวัตถุประสงค์การแสดงได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่ ข้อมูลความปลอดภัย ประกอบด้วย วันที่ผลิต/หมดอายุ วิธีการเก็บรักษา วิธีปรุง และคำเตือนต่างๆ ข้อมูลความคุ้มค่า ประกอบด้วย ชื่อ/ประเภทของอาหาร ส่วนประกอบซึ่งเรียงลำดับตามปริมาณที่ใช้จากมากไปน้อย และปริมาณอาหาร (น้ำหนักหรือปริมาตร) ในภาชนะบรรจุ ข้อมูลเพื่อการโฆษณา ได้แก่ รูปภาพและข้อความกล่าวอ้างต่าง ๆ  และ ข้อมูลเพื่อแสดงความเชื่อมั่น ได้แก่ ยี่ห้ออาหาร ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า เครื่องหมาย อย.  และตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 น้ำแร่ดีกว่าแน่หรือ ??

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำถึงร้อยละ 70 ดังนั้นเพื่อให้ระดับน้ำในร่างกายสมดุล ทำให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ มนุษย์จึงขาดน้ำไม่ได้  แต่น้ำสะอาดธรรมดาถึงมีค่ามากแล้ว ก็ยังไม่ไฮโซพอ ต้องมีการเชียร์ให้ดื่ม น้ำแร่ นัยว่าเพื่อประโยชน์ที่สมบูรณ์กว่า ด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบต่าง ๆ น้ำแร่ในความเข้าใจของคนทั่วไปจึงกลายเป็นสินค้าสุขภาพที่มีราคาแพงมากเมื่อวัดเป็นปริมาณต่อซีซี และผู้บริโภคหลายคนก็ยอมจ่ายเงินในราคาที่สูงลิ่วเพื่อจะได้ดื่มมันเป็นประจำ  อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่มีแต่คุณประโยชน์โดยไม่มีโทษ แร่ธาตุบางกลุ่มบางชนิดสามารถให้โทษต่อร่างกายได้และโดยมากไม่ได้ถูกระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ฉลาดซื้อเลยขอขันอาสานำข้อมูลการทดสอบแร่ธาตุที่เป็นโทษต่อร่างกายในน้ำแร่มาแจ้งให้แก่ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ทราบ ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างน้ำแร่จำนวน 24 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 1 ยี่ห้อ ส่งห้องปฏิบัติการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อเดือนมกราคม 2554 เพื่อทดสอบหาแร่ธาตุที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 4 กลุ่ม ได้แก่ ตะกั่วและแคดเมียมในกลุ่มโลหะหนัก กับไนเตรทและไนไตรท์ซึ่งสามารถกลายสภาพเป็นไนโตรซามีน หนึ่งในสารก่อมะเร็ง ผลการทดสอบมีดังนี้  ตะกั่ว1. ไม่พบการตกค้างของสารตะกั่วในน้ำแร่จำนวน 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 83) 2. พบการตกค้างของสารตะกั่วในน้ำแร่จำนวน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17) ที่ปริมาณระหว่าง 0.0002 – 0.003 มิลลิกรัม/ลิตร อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดมีปริมาณตะกั่วตกค้างสูงเกินมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ ที่ปริมาณไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัม/ลิตร  แคดเมียม1. ไม่พบการตกค้างของแคดเมียมในน้ำแร่จำนวน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 17)2. พบการตกค้างของแคดเมียมในน้ำแร่จำนวน 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 83) ที่ปริมาณระหว่าง 0.0002 – 0.0075 มิลลิกรัม/ลิตร และเมื่อนำมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดให้มีการตกค้างของแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.003 มิลลิกรัม/ลิตร มาประกอบการพิจารณา พบว่ามีน้ำแร่จำนวน 2 ตัวอย่างที่เกินมาตรฐานไปเล็กน้อย ได้แก่ น้ำแร่ฟิจิ ของบริษัท เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ นำเข้าโดย บ.ซี.วี.เอส ซินดิเคท จำกัด ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 0.0075 มิลลิกรัม/ลิตร และน้ำแร่อควอเร่ ของ บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ปริมาณ 0.0032 มิลลิกรัม/ลิตร  ไนเตรท1. ไม่พบไนเตรทในน้ำแร่จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 8) ได้แก่ น้ำแร่ไอยริน ของบริษัท วี แอนด์ พี สยาม วอเตอร์ โปรดักส์ จำกัด และน้ำแร่ วิทเทล ของ บริษัท เปอริเอ้ วิทเทล (ฝรั่งเศส) 2. พบไนเตรทในน้ำแร่จำนวน 22 ตัวอย่าง (ร้อยละ 92) ที่ปริมาณระหว่าง 0.027 – 14.229 มิลลิกรัม/ลิตร แต่ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดให้มีไนเตรทได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/ลิตร  ไนไตรท์1. ไม่พบไตรท์เลยในน้ำแร่จำนวน 23 ตัวอย่าง (ร้อยละ 96)2. พบไนไตรท์จำนวน 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 4) ปริมาณที่พบเท่ากับ 0.004 มิลลิกรัม/ลิตร ในน้ำแร่มิเนเร่ของบริษัทบ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเนื่องจากไม่สูงเกินมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติที่กำหนดไว้ให้มีได้ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม/ลิตร   ข้อสังเกต1. การทดสอบกลุ่มโลหะหนัก ตะกั่วและแคดเมียม  มีน้ำแร่ 4 ตัวอย่าง ที่ไม่พบเลย ได้แก่ ไอโอ มองต์เฟลอ เทสโก้ และไอซ์แลนด์สปริง  ขณะเดียวกันก็มีน้ำแร่ 4 ตัวอย่างที่ตรวจพบโลหะหนักทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ ท็อปส์ โฮมเฟรชมาร์ช ฟิจิ และอควอเร่ แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย 2. การทดสอบ ไนเตรทและไนไตรท์ มีน้ำแร่จำนวน 2 ยี่ห้อที่ไม่พบไนเตรทและไนไตรท์เลย คือ ไอยรินกับ วิทเทล ขณะที่ตัวอย่างที่พบทั้งไนเตรทและไนไตรท์ ได้แก่ มิเนเร่ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย3. เมื่อเทียบผลการทดสอบกับการตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีการระบุแร่ธาตุที่เป็นอันตรายกับร่างกายไว้บนฉลาก และมีการแสดงฉลากไม่สมบูรณ์ตามประกาศฯ ฉบับที่ 199 เรื่องน้ำแร่ จำนวน 3 ตัวอย่าง แบ่งเป็นไม่แสดงชนิดของแร่ธาตุที่สำคัญ 2 ตัวอย่าง คือ  โอเชี่ยน ดีฟ ของบ.ไต้หวัน เยส ดีฟ โอเชี่ยน วอเตอร์ จำกัด และ วาย อี เอส ของ บ.ยัง เอ็นเนอจี ชอร์ส จำกัด เมืองโถวเฉิน จ.อี้เหลิง ประเทศไต้หวัน กับไม่แสดงแหล่งที่มาของน้ำแร่จำนวน 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ฟิจิ ของบ. เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ   สรุป จากการทดสอบตัวอย่างน้ำแร่จำนวน 24 ยี่ห้อ โดยมีหนึ่งตัวอย่างเป็นน้ำดื่มโมเลกุลเล็ก และหนึ่งตัวอย่างเป็นน้ำดื่มที่มาระบุว่ามาจากใต้ทะเลลึก ผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะได้รับตะกั่วเข้าสู่ร่างกายที่ร้อยละ 17 แคดเมียมที่ร้อยละ 83 ไนเตรทที่ร้อยละ 92 และไนไตรท์ที่ร้อยละ 4 โดยพบแคดเมียมเกินมาตรฐานจำนวน 2 ตัวอย่าง ในยี่ห้อฟิจิและอควอเร่ เนื่องจากราคาขายน้ำแร่โดยเฉลี่ยสูงกว่าน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญค่อนข้างมากและยังมีแร่ธาตุที่เป็นโทษตามที่ได้ทดสอบไปประกอบอยู่ตามธรรมชาติ  ที่ถึงแม้ปริมาณที่พบส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคแต่หากบริโภคติดต่อกันเป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้นั้น ฉลาดซื้อขอแนะนำว่าบริโภคเป็นทางเลือกได้ แต่ไม่เหมาะสมที่จะบริโภคทดแทนน้ำดื่มปกติ สำหรับคำโฆษณาที่บอกว่าน้ำแร่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายนั้น จากการศึกษาฉลากพบว่าปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำแร่นั้นมีปริมาณที่น้อยมาก (หน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมหรือไมโครกรัม) เมื่อเทียบกับความต้องการตามปกติของร่างกายต่อวัน น้ำแร่จึงไม่ใช่แหล่งแร่ธาตุที่เหมาะสมกับร่างกาย หากต้องการแร่ธาตุต่าง ๆ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยที่ครึ่งหนึ่งของปริมาณบริโภคเป็นผักและผลไม้จะทำให้ได้รับแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการได้ครบถ้วนและดีกว่า ตารางแสดงผลทดสอบแร่ธาตุในน้ำแร่   ชื่อสินค้า บริษัทผู้ผลิต / จัดจำหน่าย แร่ธาตุที่ระบุบนฉลาก แหล่งน้ำธรรมชาติที่อ้างถึง เลขที่ อย. ระบุ ว/ด/ป ที่ผลิต – หมดอายุ ราคา ตะกั่ว Lead (มก./ ลิตร) แคดเมียม Cadmium (มก./ลิตร) ไนเตรท Nitrate (มก./ลิตร) ไนไตรท์ Nitrite (มก./ลิตร) 1.มิเนเร่ บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต ต.โพธิ์สามต้น จ.พระนครอยุธยา 14-2-00336-2-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 13.50 บ. ไม่พบ 0.0002 0.192 0.004 2.ออรา บ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฟลูออไรด์ โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ไบคาร์บอเนต ซิลีก้า คลอไรด์ ซัลเฟต พุจากใต้เทือกเขาสูง อ.แม่ริน จ.เชียงใหม่ 50-2-00850-2-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 16.50 บ. ไม่พบ 0.0008 4.829 ไม่พบ 3.ไอโอ บ.บุญรอดเอเซียเบเวอเรซ จำกัด ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต ต.พระงาม จ.สิงห์บุรี 17-2-00141-2-002 ระบุ 1.5 ลิตร / 13 บ. ไม่พบ ND 0.422 ไม่พบ 4.มองต์ เฟลอ ผลิตโดย บจ.ทิพย์วารินวัฒนา แคลเซียม โซเดียม โปตัสเซียม ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต สังกะสี ผ่านกรรมวิธีเติมโอโซน แหล่งน้ำพุร้อนลึกใต้ผิวโลก ต.พบพระ จ.ตาก 63-2-00540-2-001 ระบุ 1.5 ลิตร / 18.75 บ. ND ND 0.027 ไม่พบ 5.คาร์ฟูร์ สั่งผลิตและจัดจำหน่าย บ.เซ็นคาร์ จำกัด ผลิตโดย บ.ทีทีซี น้ำดื่มดื่มสยาม จำกัด ฟลูออไรด์ ไนเตรท ไบคาร์โบเนต ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม จากแหล่งน้ำลึก 200 เมตร อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0006 ระบุ 1.5 ลิตร / 9 บ. ไม่พบ 0.001 0.085 ไม่พบ 6.บิ๊กซี บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม โซเดียม สังกะสี ฟลูออไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0007 ระบุ 1.5 ลิตร / 13 บ. ไม่พบ 0.001 0.05 ไม่พบ 7.เทสโก้ บ.ทีทีซี น้ำดืม สยาม จำกัด ฟลูออไรด์ แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม โปแตสเซียม ไบคาร์บอเนต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0005 ระบุ 1.5 ลิตร / 10 บ. ไม่พบ ไม่พบ 0.112 ไม่พบ 8.ท๊อปส์ บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด ฟลูออไรด์ ไนเตรท ซัลเฟต ไอโอดีน แคลเซียม แมกนีเซียม จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-00441-2-0032 ระบุ 1.5 ลิตร / 15 บ. 0.003 0.002 0.14 ไม่พบ 9.โฮม เฟรช มาร์ท บ.ทีทีซี น้ำดืมสยาม จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปตัสเซียม ไอโอดีน คลอไรด์ ซัลเฟด ไบคาร์บอเนต จากแหล่งสามโคก จ.ปทุมธานี 13-2-0041-2-0082 ระบุ 1.5 ลิตร / 15 บ. 0.0002 0.0002 0.077 ไม่พบ 10.โอเชี่ยน ดีฟ ผลิตโดย บ.ไต้หวัน เยส ดีฟ โอเชี่ยน วอเตอร์ จำกัด (น้ำจากทะเลน้ำลึกมหาสมุทรแปซิฟิก) ประเทศไต้หวัน นำเข้าโดย บ.ทีมเทคเวิลด์ไวด์ จำกัด   น้ำจากทะเลน้ำลึกมหาสมุทรแปซิฟิก 10-3-02152-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 58 บ. ไม่พบ 0.0006 0.211 ไม่พบ 11.เอเวียง ผลิตโดย เอส เอ เอเวียง ประเทสฝรั่งเศส นำเข้าโดย บจก. ซีโน-แปซิฟิก เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) ไบคาร์บอเนต โซเดียม แคลเซียม ไนเตรท แมกเนเซียม คลอไรด์ ซัลเฟต โปตัสเซียม ซิลิกา น้ำแร่ธรรมชาติจากคาซาต เทือกเขาแอลป์ ฝรั่งเศส 10-3-11523-1-0518 ระบุ 1.5 ลิตร / 76.75 บ. ไม่พบ 0.0013 3.37 ไม่พบ 12.สโนวี่เมาท์เทน ผลิตโดย บ.สโนวี่ เมาท์เทน บอทเทิ้ล จำกัด ประเทศออสเตรเลีย นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บ.โกลบอล ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต โปตัสเซียม ซิลิกา น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขาเดเลสฟอร์ด 10-3-34148-1-0646 ระบุ 1.5 ลิตร / 50 บ. ไม่พบ 0.0002 14.229 ไม่พบ 13.ไอซ์แลนด์สปริง นำเข้าและจัดจำหน่าโดย บ.เอช ทู โอ-ไฮโดร จำกัด คลอไรด์  แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต โปตัสเซียม เหล็ก น้ำแร่ธรรมชาติจากประเทศไอซ์แลนด์ 10-3-14052-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 96 บ. ไม่พบ ไม่พบ 0.589 ไม่พบ 14.ราดิโอซ่า ผลิตโดย คาสเทลเดลซี  บาคูรา เอส.อาร์.แอล. ประเทศอิตาลี นำเข้าโดย บจก.อิตาเลี้ยน สตาร์ ไบคาร์บอเนต แคลเซียม แมกนีเซียม ไนเตรท ซิลิกา โซเดียม โพแทสเซียม ซัลเฟรต คลอไรด์ ฟลูออไรด์ น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขาฟูไบโอไล 10-3-21652-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 44 บ. ไม่พบ 0.001 1.159 ไม่พบ 15.ไพน์วอเตอร์ (น้ำดื่มโมเลกุลเล็ก) 3P2M Co., Ltd. แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟต ฟลูออไรด์ เหล็ก โพแทสเซียม ซิง โซเดียม น้ำดื่มโมเลกุลเล็ก ด้วยนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี 10-1-09549-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 40 บ. ไม่พบ 0.0013 0.162 ไม่พบ 16.วอลวิก ผลิตโดย โซซิเอเต้ เดโอเดอ วอลวิก ประเทศฝรั่งเศส นำเข้าโดย บจก.ซีโน-แปซิฟิก เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โปแตสเซียม คลอไรด์ ไนเตรต ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต น้ำแร่ธรรมชาติจากอูเวิร์น 10-3-11523-1-0683 ระบุ 1.5 ลิตร / 59 บ. ไม่พบ 0.0006 6.317 ไม่พบ 17.ซุยไซ โนะ โมริ ผลิตโดย โมริยามะ นิวเงียว จำกัด เมืองคานากาวา ประเทศญี่ปุ่น นำเข้าโดย บ.โกเบ-ยา ไชกุอิน โตเงียว จำกัด เป็นภาษาญี่ปุ่น น้ำแร่ธรรมชาติจากเมืองคุโรมาสึไนเกะ ฮอกไกโด 10-3-07132-1-4993 ระบุ 2 ลิตร / 60 บ. ไม่พบ 0.0007 0.085 ไม่พบ 18.แพนนา ผลิตโดย แพนนา เอส.พี.เอ. ซูกาโน โอร์เวียโต ประเทศอิตาลี นำเข้าโดย บ.วานิชวัฒนา (กรุงเทพฯ) จำกัด ไบคาร์บอเนต แคลเซียม คลอไรด์ ฟูลออไรด์ แมกนีเซียม ไนเตรด ซัลเฟต น้ำแร่จากแหล่ง แพนนา ทีโอนี 10-3-05246-1-0001 ระบุ 89 บ. ไม่พบ 0.0016 3.383 ไม่พบ 19.โอ เดอ เปอริเอ้ ผลิตโดย Nestle water’s Supply Sud, France นำเข้าโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด จำหน่ายโดย บ.อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติชนิดมีฟองน้อยจากแหล่งเปอริเอ้ 10-3-03439-1-0003 ระบุ 750 มล. / 77 บ. ไม่พบ 0.001 5.63 ไม่พบ 20.ฟิจิ ผลิตโดย บ.เนเชอรัล วอเตอร์ ออฟ วิติ ลิมิเต็ด สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ นำเข้าโดย บ.ซี.วี.เอส ซินดิเคท ซิลิกา แคลเซียม ไบคาร์บอเนต โซเดียม แมกนีเซียม คลอไรด์  โพแทสเซียม ไนเตรท ซัลเฟต   10-3-23251-1-0001 ระบุ 1 ลิตร / 69 บ. 0.0001 0.0075 1.321 ไม่พบ 21.ไอยริน ผลิตโดย บ.วี แอนด์ พี สยาม วอเตอร์ โปรดักส์ จำกัด  จัดจำหน่ายโดย บ.โชคมหาชัย เบเวอร์เรจ จำกัด บ.เครื่องดื่ม ซันสปาร์ค จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โปตัสเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ ซัลเฟต ไนเตรท คลอไรด์ น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งหินเพิง 30-2-02246-2-0018 ระบุ 500 มิลลิตร / 20 บ. ไม่พบ 0.0008 ND ไม่พบ 22.วิทเทล ผลิตโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ฝรั่งเศส) ประเทศฝรั่งเศส นำเข้าโดย บ.เปอริเอ้ วิทเทล (ประเทศไทย) จำกัด แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งบอนน์ ฝรั่งเศส 10-3-03439-1-0001 ระบุ 1.5 ลิตร / 50.25 บ. ไม่พบ 0.0004 ไม่พบ ไม่พบ 23.วาย อี เอส ผลิตโดย บ.ยัง เอ็นเนอจี ชอร์ส จำกัด ประเทศไต้หวัน นำเข้าโดย บ.ทีมเทคเวิลด์ไวดื จำกัด (มหาชน)   น้ำแร่ธรรมชาติจากเทือกเขา สโนว์เมาท์เทน 10-3-02152-1-0003 ระบุ 700 มิลลิลิตร / 25 บ. ไม่พบ 0.0012 0.139 ไม่พบ 24.อควอเร่ บ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฟลูออไรด์ โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ ซัลเฟต น้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งโป่งแยง 50-2-00850-2-0007 ระบุวันหมดอายุ   0.0002 0.0032 4.654 ไม่พบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 118 จัดกระเช้าผลไม้ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพ

จัดกระเช้าผลไม้ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพโดย พชร  แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณที่ดี (นสธ.)  ใกล้ปีใหม่แล้ว เริ่มคิดจัดกระเช้าผลไม้ต้อนรับเทศกาลกันหรือยัง ถ้าตัดสินใจเลือกกระเช้าผลไม้เป็นของขวัญของฝาก เราก็ขอฝากข้อมูลไว้ให้พิจารณาเพิ่มด้วย ปีใหม่นี้จะได้แฮปปี้กันทั้งผู้ให้และผู้รับครับ  ผลไม้นั้นได้ชื่อว่าเป็นของดีต่อสุขภาพ แต่กระบวนการผลิตปัจจุบันอาจมีการแอบแฝงเข้ามาของสารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เหลือตกค้างอยู่ ดังนั้นก่อนรับประทานก็ต้องเลือกให้ดี และล้างให้สะอาด ถ้ายังไงลองนำข้อมูลที่นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ทำสำรวจไว้เป็นแนวทางในการพิจารณานะครับ แต่อย่าถึงขนาดเป็นทุกข์มากจนไม่รับประทานนะครับยังไงผลไม้ก็ดีต่อสุขภาพมากกว่าขนมครับ  ผมหยิบข้อมูลมานำเสนอสองชุด ข้อมูลชุดแรกเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลไม้นำเข้าจาก โครงการศึกษาระบบการจัดการอาหารนำเข้าที่ด่านอาหารและยาในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ปี 2552 - 2553 ซึ่งได้ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพตัวอย่างผักสดและผลไม้สดนำเข้ารวม 44 ตัวอย่าง (เป็นผลไม้สด 14 ตัวอย่าง) จากด่านอาหารและยาเชียงแสน (เชียงของ) ผลการวิเคราะห์พบยาฆ่าแมลง จำนวน 16 ตัวอย่าง โดยมี 7 ตัวอย่าง เป็นผลไม้สด ได้แก่ 1) องุ่น จำนวน 1 ตัวอย่าง พบแลมป์ดา-ไซแฮโลทริน (แอล-ไซแฮโลทริน) ยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ ที่ปริมาณ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (มก./กก.) 2) ทับทิม จำนวน 2 ตัวอย่าง พบยาฆ่าแมลง 2 ชนิดคือคลอร์ไพริฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ที่ปริมาณ 0.02 – 0.09 มก./กก. และ ไซเพอร์เมทรินในกลุ่มไพรีทอยด์ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. 3) สาลี่ จำนวน 1 ตัวอย่าง พบพิริมิฟอสเมทิล    ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่ปริมาณ 0.21 มก./กก. 4) ลูกพลับ จำนวน 3 ตัวอย่าง พบคลอร์ไพริฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. และไซเพอร์เมทริน กับ แอล-ไซแฮโลทริน ในกลุ่มไพรีทอยด์ที่ปริมาณ 0.02 และ 0.01 มก./กก. ตามลำดับ โดยสรุปจากข้อมูลชุดแรก ผลไม้นำเข้าทั้ง 4 ชนิดที่ทดสอบมีความเสี่ยงประมาณร้อยละ 50 ที่จะพบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตร แต่ทุกตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเป็นสารเคมีที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ในผลไม้ชนิดนั้น ๆ ทั้งมาตรฐานในประเทศและมาตรฐานสากล ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละชนิดในผลไม้ต่าง ๆ นั้นเป็นอันตรายหรือ ไม่อย่างไร   ผลไม้จากโครงการเฝ้าระวังฯ ชุดนี้เป็นข้อมูลผลไม้สดที่จำหน่ายในประเทศ และทางโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ ได้นำมาทดสอบ ได้แก่ ส้ม ส้มจีน แอ๊ปเปิ้ล สาลี่ ลูกพลับ เพื่อหาการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร 4 ประเภทประกอบด้วย ยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (สารเลียนแบบโครงสร้างโมเลกุลจากสาร Pyrethrins ที่สกัดได้จากดอกไม้พวกดอกเบญจมาศ) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (สารอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) และกลุ่มคาร์บาเมต (สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล โดยเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 4 ครั้ง ครั้งละ 2-3 ชนิด แบ่งเป็น 2 ครั้งในปี 52 คือเดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน 2552 และอีก 2 ครั้งในปี 53 คือเดือนมกราคมและเดือนมีนาคม 2553 ส่วนผลการทดสอบการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้างทางการเกษตรในผลไม้แต่ละชนิดเป็นอย่างไรกันบ้าง ไปดูกันเลยครับ   ส้ม เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 1 ครั้ง (ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า) จำนวน 8 ตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้แก่ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส และคาร์ฟูร์ ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดเมื่อเดือนกันยายน 2552 เพื่อส่งทดสอบหา การตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่ม ไพรีทอยด์ และยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ผลการทดสอบพบว่า 1) มีการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ37.5 ที่ปริมาณ 0.07 – 0.24 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยพบในตัวอย่างของ บ.เซนคาร์ จำกัด จากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ บ.เอกชัยดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด จากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม และ บมจ. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จากห้างบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ที่ระบุให้มีคาร์เบนดาซิมในส้มได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   2) พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในต้วอย่างจำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75 โดยพบการตกค้างของยาฆ่าแมลงตั้งแต่ 1 – 4 ชนิด ในแต่ละตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.004 – 0.64 มก./ กก.  ยาฆ่าแมลงที่พบประกอบด้วย คลอร์ไพริฟอส อีไทออน โพรฟิโนฟอส ไดเมโธเอต ไดอาซินอน และมาลาไธออน เมื่อนำมาตรฐานมาประกอบการพิจารณาจะพบว่าทั้ง 6 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้และมี 3 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม และตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม พบโพรฟิโนฟอสเกินมาตรฐานที่ปริมาณ 0.64 0.47 และ 0.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ   3) พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยมี 3 ตัวอย่างที่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ ได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี มหาสารคาม ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ชนิดของยาฆ่าแมลงที่พบในแต่ละตัวอย่างมีตั้งแต่ 1 – 5 ชนิด ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.03 – 0.54 มก./กก. ประกอบด้วย ไซเพอร์เมทริน เดลทาเมทริน แอล-ไซฮาโลทริน ไซฟลูทริน และเฟนวาเลท   ข้อสังเกต 1. มีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 25) ที่พบการตกค้างในทุกกลุ่มของสารเคมีที่ทำการทดสอบได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ และตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะตัวอย่างจากจังหวัดกรุงเทพฯ พบการตกค้างในปริมาณที่สูงกว่าจังหวัดอื่น ๆ แต่ยังไม่เกินมาตรฐานยกเว้นโพรฟิโนฟอสที่ตกค้างสูงเกินมาตรฐาน และสารอื่นที่ไม่มีมาตรฐานกำหนด 2. และมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่างเช่นกัน ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรเลยนอกจากนี้ทั้ง 2 ตัวอย่างเป็นตัวอย่างจากพื้นที่ภาคใต้ได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล และ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปความเสี่ยงจากสารเคมีทางการเกษตรในส้มและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงในภาพรวมต่อการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ประมาณร้อยละ 60) และมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารเคมีแต่ละชนิดที่ตกค้างโดยเฉพาะ โพรฟิโนฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมาก (เกินครึ่งกิโลกรัมต่อวัน)     ส้มจีนเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 ตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2553 จากตลาดสดหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัด จังหวัดละ 1 ตัวอย่างโดยทดสอบหาสารตกค้างทางการเกษตร 3 กลุ่มเช่นเดียวกับที่ทดสอบในส้ม คือคาร์เบนดาซิม ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทอยด์ มีผลการทดสอบดังนี้ 1. พบยากันรา-คาร์เบนดาซิม จำนวน 3 ตัวอย่างได้แก่ตัวอย่างจาก ตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.05 มก./ และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคเนื่องจากไม่สูงเกินกว่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ซึ่งระบุไว้ที่ไม่เกิน 1 มก./กก. 2. พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 4 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 50 และ 3 จาก 4 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุไว้ให้ใช้ได้ ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส และไตรอะโซฟอส ปริมาณสารเคมีที่พบในทั้ง 4 ตัวอย่างอยู่ระหว่าง 0.006 – 0.14 มก./กก. 3. พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ ได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาฟอร์จูน กรุงเทพฯ พบฟลูไซทริเนตที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา พบ แอล-ไซฮาโลทริน และ ไซฟลูทรินที่ปริมาณ 0.14 – 0.16 มก./กก. ตามลำดับ ข้อสังเกต 1. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาฟอร์จูน กรุงเทพฯ พบการตกค้างของสารเคมีเมทิดาไธออน (Methidathion) ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส ซึ่งผ่านมาตรฐาน CODEX แต่เป็นสารเคมีที่อยู่ในรายการเฝ้าระวังการใช้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องจากมีอันตรายสูง อีกทั้งยังพบการตกค้างของสารเคมี ฟลูไซทริเนต (Flucythrinate) ซึ่งเป็นสารเคมีมีพิษร้ายแรงตามการจัดลำดับของ EPA (US Environmental Protection Agency) อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบถือว่าไม่สูงนัก (ต่ำกว่า 0.02 มก./กก.) จึงไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันเมื่อบริโภค 2. มีเพียงตัวอย่างจากตลาดรถไฟ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มใด ๆ เลย   สรุปความเสี่ยงของสารตกค้างในส้มจีนมีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีทางการเกษตรตกค้างอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง (ร้อยละ 35 – 50) และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการได้รับสารเคมีตกค้างเข้าสู่ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างปลอดภัย (ปริมาณที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่า 0.1 มก./กก.) แต่ไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นประจำ   แอ็ปเปิ้ล  เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 15 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกันยายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หรือตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง/ครั้ง เพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารเคมี 3 กลุ่มคือคาร์เบนดาซิม ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทอยด์ ผลการทดสอบพบว่า 1. มีการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมจำนวน 4 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 27) เป็นตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน 52 จำนวน 1 ตัวอย่างคือแอ็ปเปิ้ลเขียวของ หจก. สยาม เอส ซี ที จากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. และเป็นตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม 53 จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ตัวอย่างจากตลาดรถไฟ จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.09 มก./กก. ตัวอย่างจากตลาดสดหาดใหญ่ใน จังหวัดสงขลา ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. อย่างไรก็ตามไม่สามารถระบุได้ว่าสารเคมีที่พบเป็นอันตรายแค่ไหนหากบริโภคเนื่องจากไม่มีมาตรฐานใดระบุไว้ให้ใช้ได้หรือไม่และมากน้อยเพียงใดหากให้ใช้ในผลไม้ชนิดนี้ 2. มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20) จากการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยในเดือนกันยายน 52 พบ 2 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่พบอีไทออน และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา พบคลอร์ไพริฟอส และอีก 1 ตัวอย่างในเดือนมกราคม 53 พบสารเคมีชนิดคลอร์ไพริฟอสในต้วอย่างของบ.วิตี้เฟรชฟรุ๊ต จากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากจนแทบจะตรวจไม่พบโดยเฉพาะตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ที่เก็บเมื่อเดือนมกราคม 53 จึงไม่น่าเป็นอันตรายแต่อย่างใดต่อการบริโภค   3. มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 40) แบ่งออกเป็น 4 ตัวอย่างในตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนกันยายน 2552 ได้แก่ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปริมาณรวม 0.73 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ที่ปริมาณรวม 0.08 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณรวม 0.04 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์สาขาลาดพร้าว กรุงเทพฯ ที่ปริมาณรวม 0.03 มก./กก. กับอีก 2 ตัวอย่างในตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนมกราคม 2553 ได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคามที่ปริมาณรวม 0.02 มก./กก. และตัวอย่างจากตลาดรถไฟ จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. โดยพบสารเคมีตั้งแต่ 1 – 5 ชนิดได้แก่ แอล-ไซฮาโลทริน ไซเปอร์เมทริน เฟนวาเลท ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน และมีเพียงแค่ 2 ชนิดคือไซฟลูทรินและเดลทาเมทรินที่มีมาตรฐานกำกับการใช้ (มาตรฐานอาหารสากล-CODEX)   ข้อสังเกตมีตัวอย่างอย่างจาก 2 จังหวัดที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในแอ๊ปเปิ้ลเลยจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้งได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงครามและตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล   สรุปความเสี่ยงในแอ๊ปเปิ้ลและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับน้อยถึงเกือบปานกลาง และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีในระดับต่ำยกเว้นสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์บางชนิด คำแนะนำในการบริโภค ควรปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 117 สำรวจคุณภาพผักในประเทศ (2)

  “ฉลาดซื้อ” ฉบับที่แล้วนำเสนอได้เพียงแค่ คะน้ากับบร็อคโคลี่ คราวนี้เรามาต่อกัน อีกสามชนิด  ได้แก่  กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำและถั่วฝักยาว ครับ เป็นการสำรวจในครั้ง เดียวกันกับผักคะน้าและบร็อคโคลี่จาก 8 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล   ดอกกะหล่ำ ตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน52สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)  ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ : 1.พบยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง(1) อย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ ที่ปริมาณ 0.59 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.14 มก./กก. 2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 2 ตัวอย่าง(1) อย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ พบสารคลอร์ไพริฟอสที่ปริมาณ 0.024 มก./กก.(2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา พบสารคลอร์ไพริฟอสเช่นกัน ที่ปริมาณ 0.0138 มก./กก.อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบอยู่ในปริมาณที่ต่ำและไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายกับการบริโภค 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 4 ตัวอย่าง แต่เมื่อนำมาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 288 มาใช้ประกอบการพิจารณาจะพบว่ามีเพียง 3 ตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐาน สารเคมีที่พบได้แก่แลมป์-ดาไซฮาโลทริน เปอร์เมทริน ไซฟลูทริน เฟนวาเลอเรท และเดลทาเมทริน ปริมาณที่พบแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.01 – 0.3 มก./กก. โดยมีปริมาณรวมของสารเคมีตกค้างสูงสุดตามลำดับดังนี้(1) ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ ที่ปริมาณ 0.5 มก./กก. (2) ต้วอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ที่ปริมาณ 0.4 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.มหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก.  สรุปความเสี่ยงของสารเคมีตกค้างในดอกกะหล่ำ มีความเสี่ยงกับการได้รับอันตรายจากยากันรา-คาร์เบนดาซิม สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ ดังนั้นหากจะรับประทานต้องทำการล้างให้สะอาดเรียบร้อยก่อนนำมาปรุงอาหาร ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Carbendazim (มก./กก.) Organophosphate (มก./กก.) Pyrethiod (มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552 กรุงเทพ ฟู้ดแลนด์หลักสี่ - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ มหาสารคาม บิ๊ก-ซี กิตติพงษ์ ไม่พบ ไม่พบ Cypermethrin  0.15 Deltamethrin 0.01 สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ Cypermethrin 0.08 สงขลา ตลาดกิมหยง - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ เชียงใหม่ คาร์ฟูร์ คาร์ฟูร์ 0.59 Chlorpyrifos 0.024 Cyhalothrin 0.0216 Permethrin 0.068   Cyfluthrin 0.078 Cypermethrin 0.101 Fenvalerate 0.03 Deltamethrin 0.311 พะเยา เทสโก้ โลตัส - 0.14 Chlorpyrifos 0.0138 Cyhalothrin 0.02 Permethrin 0.11    Cypermethrin 0.05 Fenvalerate 0.265 Deltamethrin 0.024   กะหล่ำปลีตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน 52สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)   ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในกะหล่ำปลี :  1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิม จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ โดยตัวอย่างที่พบ การปนเปื้อนได้แก่ (1) ตัวอย่างห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.24 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโคร จ.เชียงใหม่ ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.16 มก./กก.  2.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่(1) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จากจ.พะเยามี 2 ชนิดคือ เมทามิโดฟอส (Methamidophos) และคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) ที่ปริมาณเท่ากันคือ 0.009 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโครจ.เชียงใหม่พบการตกค้างของสารเคมี 4 ชนิดได้แก่ เมทามิโดฟอส(Methamidophos) คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) โพรทิโอฟอส (Prothiofos) และ อีพีเอ็น (EPN) ปริมาณของสารเคมี ที่พบทั้ง 4 ชนิดไม่มีชนิดใดสูงเกินกว่า 0.01 มก./กก.แม้ว่าจะพบสารเคมีมากกว่า 1 ชนิดในทั้งสองตัวอย่างแต่เนื่องจากปริมาณของสารเคมีที่พบแต่ละชนิดอยู่ในจำนวนที่จัดได้ว่าน้อยมากทำให้ถึงจะนำปริมาณสารทั้งหมดที่พบมารวมกัน (ไม่เกิน 0.03 มก./กก.) ก็ยังเป็นปริมาณที่ต่ำและไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเมื่อบริโภค  3.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง โดยเป็นตัวอย่างจาก (1) ตัวอย่างจากห้างแมคโคร จ.เชียงใหม่ และ (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ที่มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างไม่ได้ระบุให้ใช้ได้จำนวน 5 ชนิดเท่ากัน ได้แก่ แลมป์ดา ไซแฮโลทริน (Lambda- Cyhalothrin)เปอร์เมทริน (Permethrin) ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) เฟนวาเลอเรท (Fenvalerate) และ เดลทาเมทริน (Deltamethrin)โดยตัวอย่างจากห้างแมคโคร  จังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณรวมของสารเคมีสูงกว่าตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัสจังหวัดพะเยาเกือบสี่เท่าที่ปริมาณ 1.73 มก./กก. ขณะที่ตัวอย่างจากจังหวัดพะเยามีปริมาณของสารเคมีตกค้างรวมเท่ากับ 0.45 มก./กก.(3) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.มหาสารคาม พบสารเคมีตกค้างเพียงชนิดเดียวคือเดลทาเมทริน ที่ปริมาณ 0.03 มก./กก.   ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในกะหล่ำปลี จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Carbendazim(มก./กก.) Organophosphate(มก./กก.) Pyrethiod(มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552 กรุงเทพ ฟู้ดแลนด์หลักสี่ - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ มหาสารคาม บิ๊ก-ซี วุฒิ อำนวยชัยผลกิจ ไม่พบ ไม่พบ Deltamethrin 0.03 สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สงขลา ตลาดกิมหยง นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ เชียงใหม่ แม็คโคร แม็คโคร 0.16 Methamidophos 0.0059 Chlorpyrifos 0.0107  Prothiofos 0.0044            EPN* 0.0044 Cyhalothrin 0.216 Permethrin 0.068  Cyfluthrin 0.057 Cypermethrin 0.027 Fenvalerate 0.539 Deltamethrin 0.881 พะเยา เทสโก้ โลตัส - 0.24 Methamidophos 0.0087 Chlorpyrifos 0.0089 Cyhalothrin 0.0217 Permethrin 0.11    Cyfluthrin 0.099 Cypermethrin 0.142 Fenvalerate 0.082 Deltamethrin 0.045 * = สารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน   ถั่วฝักยาว ตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากห้างค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ ได้แก่ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส คาร์ฟู และ แมคโครหรือตลาดสดของพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง เมื่อเดือนมีนาคม 2553 สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารเคมีปนเปื้อน 3 กลุ่ม คือ ออร์กาโนฟอสเฟต ไพรีทอยด์ และคาร์บาเมต ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ : 1.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง แต่เมื่อนำมาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างฉบับที่ 288 มาประกอบการพิจารณาจะพบตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 4 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดได้แก่ โพรฟิโนฟอส (Profenofos), คลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) และ เมทิดาไทออน (Methidathion) กับอีพีเอ็น (EPN) ซึ่ง 2 ตัวหลังเป็นสารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน ตัวอย่างตกมาตรฐานที่พบการปนเปื้อนสูงสุดคือตัวอย่างจากตลาดสด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบ อีพีเอ็น ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายที่เฝ้าระวังการใช้งานที่ปริมาณ 0.48 มก./กก.   2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่าง แต่เมื่อพิจารณากับมาตรฐานจะพบว่าเกินมาตรฐานจำนวน 3 ตัวอย่าง สารเคมีที่พบนอกเหนือหรือไม่ผ่านตามมาตรฐานกำหนดประกอบด้วย ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin)แลมป์ดา ไซฮาโลทริน (Lambda-Cyhalothrin) ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) เดลทาเมทริน (Deltamethrin) และเปอร์เมทริน (Permethrin) ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ และตัวอย่างจากห้างเทสโก โลตัส จ.พะเยา พบสารเคมีปนเปื้อนทั้ง 4 ชนิด 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมตเกินมาตรฐานจำนวน 1 ตัวอย่างคือตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสมุทรสงครามของผู้ผลิตคือร้านสมพิศ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สารเคมีที่พบได้แก่ คาร์โบฟูราน*(ฟูราดาน : สารเคมีทางการเกษตรที่หลายประเทศยกเลิกการใช้ไปแล้วเนื่องจากมีอันตรายสูงแต่ประเทศจัดให้อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวังการใช้งาน) ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. สรุปความเสี่ยงของสารเคมีตกค้างในถั่วฝักยาวถั่วฝักยาวถือว่าเป็นผักที่เราผู้บริโภคต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะปกติเรามักจะทานเป็นผักแกล้มกับน้ำตก ส้มตำซึ่งเราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าร้านที่เราไปทานได้ล้างทำความสะอาดเรียบร้อยดีหรือเปล่า ถ้าไม่ไว้ใจยังไงก็ควรหลีกเลี่ยงหรือทานแต่น้อย หรือเลือกซื้อมาทานที่บ้านล้างผักเองแบบนี้น่าจะอุ่นใจกว่า ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในถั่วฝักยาว จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Organophosphate  (มก./กก.) Pyrethiod (มก./กก.) Carbamate (มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนมีนาคม 2553 กรุงเทพ ตลาดซอยอารีย์ - Dimethoate 0.58 Cypermethrin 0.1 Methomyl* 0.02 สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส ร้านสมพิศ Methidathion* 0.01 ไม่พบ Carbofuran

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 116 สำรวจคุณภาพผักในประเทศ(1)

ใครๆ ก็รู้ว่าทาน “ผัก” นั่นดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย กินแล้วสุขภาพดี ผิวพรรณดี แต่หน้าตาจะดีด้วยหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เดี๋ยวก่อน!? คนที่รักการกินผักอย่าเพิ่งมีความสุขกับการกินผักจนมองข้ามเรื่องความปลอดภัย เพราะเดี๋ยวนี้โลกของเราเปลี่ยนไป ผักดีๆ ก็อาจกลายเป็นวายร้ายทำลายสุขภาพเราได้ ก็จะเพราะอะไรซะอีกละ ถ้าไม่ใช้บรรดาสารเคมีตกค้างจากการเพราะปลูก ที่ใส่เพื่อให้ผักโตไว ไล่แมลง และจะได้มีใบสวยๆ แต่ถ้าเรารับประทานเข้าไปรับรองชีวิตนี้ไม่สวยแน่ๆ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้เราจึงมีผลทดสอบสารเคมีตกค้างในผักยอดนิยม 3 ชนิด ได้แก่ คะน้า บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี จาก 8 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล มานำเสนอ   บร็อคโคลี่ตัวอย่างที่ทดสอบ : 16 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง คือ เดือนกันยายน 2552 กับเดือนมกราคม 2553 สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)  ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในบร็อคโคลี่ :1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของคาร์เบนดาซิมได้แก่(1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.92 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.43 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.สตูล เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.005 มก./กก.  2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 7 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดที่ไม่ใช่มาลาไธออน (Malathion) ซึ่งมาตรฐาน มกอช. และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 288 ระบุให้ใช้ได้ สารเคมีที่พบได้แก่ อะซีเฟต (Acephate) โพรฟิโนฟอส (Profenofos) เมทามิโดฟอส (Methamidophos) และคลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) และมีปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.005 – 0.09 มก./กก. ตัวอย่างที่พบสารเคมีสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างที่เก็บจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบ เมทามิโดฟอส (Methamidophos) ที่ปริมาณ 0.09  มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กทม. เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบอะซีเฟต (Acephate) ที่ปริมาณ 0.08 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาพระราม 1 กทม. และ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 พบคลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. ทั้ง 2 ตัวอย่าง 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดได้แก่ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) แลมป์ดา-ไซแฮโลทริน (Lambda-cyhalothrin) เฟนวาเลอเรต (Fenvalerate) และไซฟลูทริน (Cyfluthrin) และมีปริมาณสารเคมีที่พบในแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.01 – 0.97 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนมากในปริมาณที่ต้องระวังได้แก่ (1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบสารเคมีทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นในปริมาณรวมกันเท่ากับ 1.61 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. พบสารเคมีทั้ง 5 ชนิดเช่นเดียวกับตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ที่ปริมาณรวมกันเท่ากับ 0.59 มก./กก.   สรุปความเสี่ยงของสารเคมีในบร็อคโคลี่จากผลการทดสอบจะเห็นว่าบร็อคโคลี่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมีหลายชนิดโดยเฉพาะตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยาเช่นเดียวกับผักคะน้าแต่อยู่ในอัตราความเสี่ยงที่น้อยกว่าเนื่องจากปริมาณสะสมของสารเคมีที่พบมีน้อยกว่า     คะน้า ตัวอย่างที่ทดสอบ : 24 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง คือ เดือนกันยายน 2552 เดือนมกราคม 2553 และเดือนมีนาคม 2553  สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่ม   ออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod) ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในคะน้า :1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง (*มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช. – 2551) มีระบุไว้ว่ายากันรา-คาร์เบนดาซิมจะพบมากในของแห้ง เครื่องเทศ และผลไม้ แต่ในผักคะน้าไม่มีระบุไว้ (ซึ่งน่าจะหมายความว่าไม่ควรพบสารดังกล่าวตกค้างในผักคะน้า) 3 ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ (1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขามหาสารคาม จ.มหาสารคาม เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 2.41 มก./กก. (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโครสาขาหาดใหญ่ จ.สงขลา เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 ปริมาณของสารเคมีที่พบเท่ากับ 1.93 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยาเก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.48 มก./กก.  2.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่พบการปนเปื้อนของสารเคมี 2 – 3  ชนิดในตัวอย่างเดียว โดยมีชนิดของสารเคมีที่พบ ได้แก่ เมทามิโดฟอส (Methamidophos), โพรฟิโนฟอส (Profenophos) และ ไดโครโทฟอส (Dicrotrophos) กับ อีพีเอ็น (EPN) ซึ่ง 2 ตัวหลังเป็นสารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน โดยสารเคมีทั้งหมดไม่อนุญาตให้ใช้ในผักคะน้า สำหรับตัวอย่างที่พบสารเคมีปนเปื้อนสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 พบสารเคมีร่วมกันหลายชนิดแต่อยู่ในปริมาณน้อยมากยกเว้นเพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณสูงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ โพรฟิโนฟอส ที่ปริมาณ 0.67 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 พบสารเคมีชนิด อีพีเอ็น (EPN) ที่ปริมาณ 0.38 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 พบสารเคมีชนิด ไดโครโทฟอส (Dicrotrophos)* ที่ปริมาณ 0.36 มก./กก.   3.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod) ในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่พบยาฆ่าแมลงสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 สารเคมีที่พบคือ ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 8.54 มก./กก. [จัดอยู่ในเกณฑ์อันตรายเพราะหากเทียบกับผักตระกูลกะหล่ำแล้ว ปริมาณสารเคมีที่พบสูงกว่าที่มาตรฐานมกอช. กำหนดไว้ถึง 8 เท่า] คู่กับ แลมป์ดาไซแฮโลทริน (lambda-cyhalothrin) ที่ปริมาณ 0.04 มก./กก. คิดเป็นปริมาณสารเคมีรวมเท่ากับ 8.58 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 สารเคมีที่พบคือ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ที่ปริมาณ 4.22 มก./กก. [จัดอยู่ในเกณฑ์อันตรายเพราะปริมาณสารเคมีที่พบสูงกว่าที่มาตรฐาน มกอช. ระบุให้ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 มก./กก. ไปเกือบ 9 เท่า] ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.1 มก./กก. ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) ที่ปริมาณ 0.09 มก./กก. และ เปอร์เมทริน (Permethrin) ที่ปริมาณ 0.03 มก./กก. คิดเป็นปริมาณสารเคมีรวมเท่ากับ 4.44 มก./กก. (หมายเหตุ: สารเคมีที่มาตรฐานอนุญาตให้ใช้ได้และมีการใช้ไม่เกินมาตรฐานจะไม่ถูกนำมารวมคำนวนด้วย) (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 สารเคมีที่พบคือ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ที่ปริมาณ 0.97 มก./กก. ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.43 มก./กก. และ แลมป์ดาไซแฮโลทริน ((lambda-cyhalothrin) ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. รวมปริมาณสารเคมีทั้งหมดเท่ากับ 1.42 มก./กก.   สรุปความเสี่ยงของสารเคมีในผักคะน้าคะน้าถือเป็นผักยอดฮิตนิยมนำมาทำเป็นอาหารหลายเมนู จากปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละประเภทในการทดสอบ สามารถสรุปได้ว่าผักคะน้าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างทางการเกษตร ดังนั้นควรต้องมีการล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนรับประทาน เวลาซื้อมาทำอาหารก็ควรเลือกที่ใบมีรอยกัดกินของแมลงบ้าง ถ้าเลือกแต่ที่ใบสวยงามเรียบร้อยรับประกันได้เลยว่าได้รับสารเคมีมาเพียบแน่นอน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 106 กระแสต่างแดน

ยิ่งสุข ยิ่งหวาดระแวงมีข้อค้นพบจากงานวิจัยว่า คนเราซื้อระยะประกันเพิ่มสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายด้วยสองสาเหตุ หนึ่ง คือเราไม่สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง สองสภาวะจิตใจของเราในขณะที่ซื้อนั้นมันสุขเกินไปยิ่งเรามีความสุขมากเท่าไร เราก็จะยิ่งอยากหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมากเท่านั้นปกติแล้วก่อนที่เราจะลงมือซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ราคาแพงสักชิ้นเรามักจะต้องทำการศึกษามาดีพอใช้ น้อยคนนักที่จะหาข้อมูลเรื่องการซื้อเวลารับประกันเพิ่ม แต่การประกันแบบนี้กลับมีคนตัดสินใจซื้อมากมายคนขายก็มักให้เหตุผลกับเราว่า เราอาจพลั้งเผลอทำอุปกรณ์เหล่านี้ตกหล่นเมื่อไรก็ได้ และซื้อการประกันนั้นก็ง่ายมาก ประหยัดเวลา คิดแล้วถูกกว่าออกไปกินข้าวนอกบ้านหนึ่งมื้อเสียอีก ทำนองนี้เป็นต้นเหตุที่ทางร้านพยายามอย่างยิ่งที่จะขายการรับประกันเพิ่มให้กับลูกค้าก็เพราะ บริการดังกล่าวสามารถทำเงินมหาศาลให้กับทางร้านนั่นเอง ลองคิดดูว่าประกันเพิ่มสำหรับเน็ตบุ๊คราคา 400 เหรียญนั้นเท่ากับ 130 เหรียญ (เกือบ 1ใน 3) เลยทีเดียวSquareTrade เป็นบริษัทที่ขายการรับประกันให้กับสินค้าที่ซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตเป็นต้น เชื่อหรือไม่บริษัทนี้สามารถขายการรับประกันให้กับเน็ทบุ๊คตัวเดียวกันในราคา 60 เหรียญเท่านั้น ซีอีโอ ของ SquareTrade บอกว่าบริการประกันแบบนี้มันไม่ใช่บริการที่ไม่ดีนะ เพียงแต่ร้านต่างๆ มักขายในราคาที่แพงเกินกว่าเหตุเท่านั้นเองในทางกลับกัน หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคจะแนะนำว่าเราไม่ควรเสียเงินกับการเพิ่มระยะรับประกันเหล่านั้นเลยจะดีกว่า เพราะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องซ่อมหรือถ้าจะซ่อม มันก็อยู่ในงบประมาณเดียวกับค่าซื้อการรับประกันเพิ่มนั่นแหละเรามักคิดว่าอย่างไรเสียค่าซื้อประกันเพิ่มมันก็ยังน้อยกว่าค่าซื้อสินค้าใหม่ แต่ยังไม่มีใครรู้เลยว่าอัตราการเสียของสินค้าเหล่านี้เป็นเท่าไร แต่ขอบอกว่ามันต่ำกว่าที่คุณคิดแน่นอนคอนซูเมอร์รีพอร์ต นิตยสารเพื่อผู้บริโภคของอเมริกา ได้ทำการสำรวจกับผู้อ่าน แล้วทำการคำนวณอัตราการเสียของอุปกรณ์เหล่านี้ในระยะ 3 ถึง 4 ปี และพบว่าอัตราการเสียของเครื่องเล่นโทรทัศน์ มีเพียงร้อยละ 3 (จากเครื่องเล่นโทรทัศน์ทั้งหมด 10 ยี่ห้อ) ในขณะที่อัตราการเสียของกล้องถ่ายรูปมีร้อยละ 10อัตราสูงที่สุดได้แก่ โน๊ตบุ้ค (ร้อยละ 43) แต่นั่นเป็นการเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุและการมีของเหลวหกใส่คีย์บอร์ด ซึ่งโดยทั่วไปก็ไม่อยู่ในเงื่อนไขรับประกันอยู่แล้ว ... นั่นสิ แล้วคนเราซื้อประกันเพิ่มเพราะอะไรนักวิชาการให้ทัศนะว่า เราซื้อประกันพวกนี้เพราะเราอยู่ในอารมณ์ที่ดีเกินไปขณะที่กำลังจะได้มาซึ่งสินค้าที่เราเฝ้าฝันถึงมานาน สถิติบอกว่าคนเรานิยมซื้อระยะเวลารับประกันเพิ่มให้กับสินค้าประเภทที่ให้ความสุข มากกว่าสินค้าที่ซื้อเพราะต้องใช้ประโยชน์จากมัน (อย่างเครื่องซักผ้าหรือตู้เย็น)ฟังดูคล้ายเราควรหาเรื่องให้ตัวเองอารมณ์เสียสักเล็กน้อยก่อนออกไปซื้อของ จะได้ตัดสินใจอย่างมีสติขึ้นนะนี่จัดระเบียบเนื้อสดเชื่อหรือไม่ว่าประเทศที่ส่งออกเนื้อวัวมากเป็นอันดับสองของโลกอย่างออสเตรเลีย ไม่มีระบบการติดฉลากระบุคุณภาพสำหรับเนื้อวัวที่ขายในประเทศของตนเอง ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงไม่สามารถรู้ได้ว่า เนื้อที่ตนเองกำลังจะซื้อไปทำอาหารรับประทานนั้นเป็นเนื้อที่มีคุณภาพในระดับใดว่ากันว่าปัจจุบัน ร้อยละ 3 ของเนื้อวัวที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในออสเตรเลีย เป็นเนื้อโคแก่ ที่แพ็คขายโดยติดฉลากว่าเป็นเนื้อ “คุณภาพเยี่ยม” หรือที่เรียกติดปากในภาษาฝรั่งว่า “พรีเมี่ยม” นั้นแลทุกวันนี้ออสเตรเลียไม่มีระบบการคัดแยกแบบบังคับสำหรับเนื้อวัวที่ขายในประเทศ มีเพียงโครงการแบบสมัครใจ ซึ่งก็มีเพียงเจ้าของไร่ปศุสัตว์เพียง 12,500 ไร่ จากทั้งหมด 160,000 ไร่ เท่านั้นที่สมัครเข้าร่วมโครงการให้การรับรองขององค์กร Meat and Livestock Australiaภายใต้ระบบรับรองที่ว่านี้ เนื้อจากโคเนื้อที่มีอายุสามปีครึ่งขึ้นไป หรือเนื้อโคนมที่พ้นวัยให้นมแล้วจะถูกจัดเข้าประเภทที่เหมาะกับการบริโภคในรูปแบบของเนื้อบดเท่านั้น แต่มีอีกข้อตกลงดั้งเดิมที่ระบุว่า เนื้อโคอายุมากเหล่านั้นสามารถนำมาขายในรูปแบบของสก็อตช์ฟิลเล่ท์ หรือ ทีโบนได้ ถ้ามีการระบุที่ฉลากว่าเป็นเนื้อโค “ราคาประหยัด”ทำไปทำมาบางห้างก็เลยทำมึนๆ ติดฉลากบรรดาเนื้อโคแก่เหล่านั้นว่า “พิเศษ” ไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าได้ของดีราคาถูก (ซึ่งความจริงแล้ว มันคือของไม่ดี ราคาถึงได้ถูก)รัฐบาลนิวเซาท์เวลส์ก็เลยแก้ปัญหาด้วยการเสนอให้มีระบบการรับรองแบบเดียวกับ AUS-Meat ที่ใช้ในการรับรองและคัดแยกประเภทของเนื้อวัวที่ส่งออกจากออสเตรเลียไปขายทั่วโลกนั้นแลPenFriend เพื่อนใหม่ใช้อ่านฉลากหลายคนรู้จักสิ่งที่เรียกว่า PenFriend ที่คุณครูภาษาอังกฤษสมัยประถมเคยให้เราฝึกเขียนจดหมายภาษาอังกฤษถึงเพื่อนต่างชาติ (นี่ถือเป็นการเช็คอายุคนอ่านไปในตัว เด็กเดี๋ยวนี้คงใช้ MSN Hi5 หรือ Facebook กันแล้ว)แต่ PenFriend นาทีนี้ คือ อุปกรณ์หน้าตาคล้ายปากกาชนิดใหม่ที่ทำให้ผู้พิการทางสายตา สามารถอ่านฉลากบนสินค้าต่างๆ ได้ อุปกรณ์ดังกล่าวใช้ระบบบาร์โค้ด ซึ่งเมื่อสแกนด้วยปากกาดิจิตัลแล้วจะไปเปิดไฟล์ เอ็มพี3 ที่บันทึกเสียงเอาไว้นั่นเองอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมาในโครงการร่วมระหว่างสถาบันผู้พิการทางสายตาแห่งชาติของอังกฤษและบริษัทลิงกัว มันตรา มีราคาประมาณ 60 ปอนด์ (ประมาณ 3,200 บาท) และสามารถใช้ในการทำฉลากตั้งแต่ อาหาร เสื้อผ้า ดีวีดี หรือ อัลบั้มเพลงต่างๆ ได้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Optical Identification (OID) นี้จะพิมพ์จุดเล็กๆ ลงไปบนแผ่นสติกเกอร์ ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยสแกนเนอร์ที่อยู่ตรงปลายของปากกา และขณะที่มันสแกน ก็จะเปิดไฟล์เสียงที่บันทึกไว้เพื่อบอกว่า ของที่อยู่ในขวดนั้นเป็นอะไร ซึ่งหมายความว่าจะบันทึกวันหมดอายุหรือคำแนะนำในการประกอบอาหารไว้ด้วยได้ ประกาศ! ห้ามใช้ทีวีกินไฟคณะกรรมาธิการด้านพลังงานของรัฐแคลิฟอร์เนียลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า ต่อไปนี้โทรทัศน์ขนาดไม่เกิน 58 นิ้ว ที่ขายในรัฐดังกล่าว จะต้องลดอัตราการกินไฟลงอย่างน้อยร้อยละ 33 ภายในปี พ.ศ. 2554 และจะต้องลดลงร้อยละ 49 ภายในปีพ.ศ. 2556ร้อยละ 10 ของการบริโภคพลังงานไฟฟ้าในรัฐแคลิฟอร์เนียเกิดจากการเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ (ยิ่งเป็นโทรทัศน์จอพลาสมานั้น ก็จะยิ่งกินไฟมากกว่าโทรทัศน์ธรรมดาถึง 3 เท่า)ถ้าทุกคนในรัฐเปลี่ยนมาใช้โทรทัศน์ที่สามารถใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ก็จะประหยัดค่าไฟได้ 30 เหรียญต่อเครื่อง ต่อปีเลยทีเดียวอุตสาหกรรมผู้ผลิตโทรทัศน์ว่าอย่างไรน่ะหรือ บ้างก็โวยวายว่านี่มันเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นการแทรกแซงกลไกตลาด ซึ่งกำลังทำให้เกิดการผลิตสินค้าที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว (ขณะนี้มีโทรทัศน์ประหยัดไฟขายอยู่ในท้องตลาดประมาณ 1,000 รุ่นแล้ว)ในแต่ละปี คนแคลิฟอร์เนียซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ 4 ล้านเครื่องหนี้ศัลยกรรมขณะนี้ประเทศเวเนซูเอล่ากำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หลังจากที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปีแม้เศรษฐกิจจะไม่เป็นใจแต่คนเวเนซูเอล่าก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำหน้าเด้ง ดูดไขมัน และเสริมหน้าอกกันต่อไป สถิติการทำศัลยกรรมที่นี่ไม่เคยลดลงเลย ไม่เค้ย ไม่เคย ที่เขาจะคิดหยุดทำ เพียงแต่คิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะได้ทำเท่านั้นทางออกคือการรูดปรึ๊ด หรือไม่ก็หาเงินกู้นั่นเองแพทย์ศัลยกรรมคนหนึ่งบอกว่า ยิ่งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนก็ยิ่งอยากจะใช้จ่ายเพื่อการปลอบประโลมตัวเองมากขึ้น บ้างก็งัดเอาเงินเก็บออกมาทำสวย ที่ไม่มีก็กู้ยืมกันมาทีเดียว แพทย์คนเดิมบอกว่าลูกค้าบางรายยอมย้ายออกมาอยู่ในห้องเช่าที่เล็กลงเพื่อจะได้มีเงินเหลือไปทำการแปลงโฉม ส่วนอีกรายเอารถไปขายเพื่อหาเงินมาดึงหน้านักจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเวเนซูเอล่าบอกว่าเรื่องนี้มันเกิดกับคนส่วนน้อย เพราะผู้หญิงกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำนั้น มักไม่มีเงินเก็บให้ถอนออกมาใช้ หรือมีทรัพย์สินอะไรที่จะเอาไปขายได้อย่างนั้นหรอกแต่ถ้าดูจากโฆษณาของคลินิกศัลยกรรมตามสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะเห็นว่า คลินิกเหล่านี้นั่นแหละที่เสนอปล่อยเงินกู้ให้เพื่อการศัลยกรรม หรืออีกนัยหนึ่งอุตสาหกรรมนี้กำลังทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนเองมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องในทุกสภาพเศรษฐกิจคนที่นี่จำนวนไม่น้อยมองว่าการทำศัลยกรรมไม่ใช่เรื่องฟุ่มเฟือย พวกเขาเชื่อว่าคนเราจำเป็นจะต้องสวย ถึงคุณไม่อยากจะสวยแต่แรงกดดันจากสังคมก็ทำให้คุณอยากจะไปพึ่งมีดหมออยู่นั่นเอง ร้อยละ 60 ของผู้หญิงที่นั่นทำการผ่าตัดเพิ่มขนาดหน้าอก และหลายคนก็ทำมากกว่าหนึ่งครั้งด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 ใครๆ ก็อยากมีรถโดยสารที่มีคุณภาพ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค 24 จังหวัด โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะประจำทางในท้องถิ่นเส้นทางภายในจังหวัดและเส้นทางระหว่างจังหวัด ในช่วงระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 8 เมษายน 2554 พบว่า ผู้บริโภคมีปัญหาเรื่องพนักงานขับรถ ขับเร็ว หรือขับรถหวาดเสียว และพนักงานขับรถโดยสารใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สนทนาระหว่างปฏิบัติหน้าที่สูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่า เวลาที่ผู้บริโภคจะคืนตั๋วเมื่อไม่สามารถเดินทางได้ เกือบ 50 % ไม่ได้เงินคืน แต่...ผู้บริโภคเกือบ 90 % ไม่เคยใช้สิทธิร้องเรียนเมื่อเกิดปัญหาจากคุณภาพและงานบริการของรถโดยสารเลย   ผลสำรวจความคิดเห็น • รถประจำทางวิ่งในจังหวัด1.บริการยอดนิยม อันดับหนึ่ง รถสองแถว 44.8 % ตามมาด้วย รถทัวร์โดยสารปรับอากาศ 35.4 % รถเมล์(ไม่ปรับอากาศ) 33.9 % และรถตู้ 24.4 %   2.คุณภาพงานบริการ 2.1 ความถี่ในการรับตั๋วหลังจ่ายค่าโดยสาร ใน 100 คน ไม่เคยได้ตั๋วเลย 9 คน ผลสำรวจ ไม่เคยได้รับตั๋วโดยสารหรือไม่มีบัตรอื่นใดให้เลย 35 % ได้รับตั๋วโดยสารทุกครั้ง 34.4 % ได้รับเป็นบางครั้ง 22.1 % และไม่ได้รับตั๋ว แต่ได้รับเป็นบัตรหมายเลขแทน 8.5 %2.2 การระบุราคาและหมายเลขที่นั่งไว้อย่างชัดแจน ใน 100 คน มี 21 คนที่ไม่เคยเห็นราคาและเลขที่นั่งบนตั๋ว ผลสำรวจ มีการระบุราคาและหมายเลขที่นั่ง 37 % มีการระบุราคาแต่ไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 32.3 % ไม่มีการระบุราคาและไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 20.5 % ไม่มีการระบุราคาแต่ระบุหมายเลขที่นั่ง 10.2 %2.3 การเก็บค่าโดยสาร ครึ่งหนึ่ง โอเคและคิดว่าเหมาะสม มี 19 % ที่บอกแพงเกินไปผลสำรวจ เห็นว่า ถูกต้อง เหมาะสม 50.6 % ไม่แน่ใจเพราะ ไม่ทราบว่าอัตราค่าโดยสารเป็นเท่าไหร่ 30.9 % ถูกต้อง แต่ไม่เหมาะสมเพราะแพงเกินไป 18.5 % 2.4 การขอเงินค่าโดยสารคืนเมื่อจ่ายเงินค่าโดยสารแล้ว แต่ไม่สามารถเดินทางได้ มีถึง 46 % บอกว่า ไม่เคยขอคืนได้เลย ผลสำรวจ ขอไม่ได้เลย 46.1 % ขอได้และได้เงินคืนครบถ้วน 30.6 % ขอได้เหมือนกัน แต่ได้เงินคืนไม่ครบ 23.3 %2.5 การติดประกาศแจ้งถึงข้อมูล เงื่อนไขในการให้บริการของรถโดยสาร ณ จุดพักรถ เกือบครึ่งหนึ่ง ไม่เคยเห็นประกาศใดๆ เลยผลสำรวจ ไม่มีการติดประกาศ 43.3 % มีติดประกาศ ในบริเวณที่เห็นได้ในชัดเจน 32.8 % มีติดประกาศ แต่ไม่อยู่ในบริเวณที่จะเห็นได้อย่างชัดชัดเจน 23.9 % 2.6 บริการของพนักงานประจำรถโดยสาร มากกว่าครึ่งหนึ่ง พอรับได้ (สงสัยชิน)ผลสำรวจ พึงพอใจปานกลาง 64.9 % พึงพอใจน้อย 21.3 % พึงพอใจมาก 10.6 % และไม่พึงพอใจเลย3.2 % 2.7 เคยโดยพนักงานประจำรถ แสดงกริยาไม่สุภาพ เช่น ลวนลาม เสียดสี ข่มขู่ กรรโชก ใน 100 คน มี 35 คนที่เคยโดนมาแล้ว ผลสำรวจ เคย 34.8 % ไม่เคย 65.2 %   3. ความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย เรื่องของพนักงานขับรถ 3.1 พนักงานขับรถโดยสาร มีการแสดงป้ายใบอนุญาตการขับขี่ไว้ในรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ใน 100 คน มี 35 คน ตอบว่า ไม่แน่ใจ ผลสำรวจ มี 38.1 % ไม่แน่ใจ 35.2 % ไม่มี 26.7 % 3.2 เคยเห็นพนักงานขับรถเม้าท์มือถือระหว่างขับรถไหม 80 % เห็นมากับตา ผลสำรวจ เคยพบ 80.8 % ไม่เคยพบ 19.2 % เคยพบใช้โทรศัพท์สนทนาโดยใช้มือจับ  53.4 % เคยพบใช้ในขณะที่รถจอด  13.2 % เคยพบใช้โดยเสียบผ่านหูฟัง (Small talk)  11.6 % และ ไม่แน่ใจ 2.7 % 3.3 เคยเจอพนักงานขับรถ ขับเร็ว น่ากลัว หวาดเสียวไหม ผู้บริโภค 75 % มีประสบการณ์ระทึกมาแล้ว ทั้งนั้น โดยมี 28 % เจอประจำ ผลสำรวจ เคย 75.2 % ไม่เคย 20.8 % เคยเป็นบางครั้ง 36.3 % เคยบ่อยมาก 28 % เคยนานๆครั้ง 14.4 % และไม่แน่ใจ  4 % (สงสัยว่าหลับ) 3.4 เคยเจอพนักงานขับรถเมาขณะขับรถไหม 63 % ไม่เคยเห็นคนขับเมาเลย ผลสำรวจ เคยพบ 15.7 % ไม่เคยพบ 62.7 % และไม่แน่ใจ 21.6 % (คงเนียนมาก) 3.5 เคยเจอคนขับรถสูบบุหรี่ขณะขับไหม เกือบ 40 % เคยเจอเหมือนกัน ผลสำรวจ เคยพบ 39 % ไม่เคยพบ 47.4 % ไม่แน่ใจ 13.6 % 3.6 เคยพบพนักงานขับรถมีอาการง่วงหรือหลับในขณะขับรถหรือไม่ มากกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่เคยเจอ (โชคดีจัง) ผลสำรวจ เคยพบ 18 % ไม่เคยพบ 54.2 % ไม่แน่ใจ 27.8 % 3.7 เคยพบรถโดยสารที่จอดรับผู้โดยสารนอกจุดรับส่งที่กำหนดหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 53.3 % ไม่เคยพบ 25.5 % ไม่แน่ใจ เพราะไม่รู้ตำแหน่งจุดจอดที่กำหนด 21.2 % 3.8 เคยพบรถโดยสารที่ขับช้าเกินควรหรือขับกีดขวางทางรถคันอื่นไหม ขับเร็วก็เจอมาแล้ว ขับช้าก็ต้องมีบ้าง เกือบครึ่งหนึ่งก็เจออยู่บ้าง ผลสำรวจ เคยพบ 48.2 % ไม่เคยพบ 51.8 % เรื่องสภาพรถโดยสาร3.9 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการมีเข็มขัดนิรภัย หรือไม่ ผลสำรวจ พบว่า มี 57.6 % ไม่มี 42.4 % 3.10 เข็มขัดนิรภัยอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ ผลสำรวจ เหมาะสม 55.2 % ไม่เหมาะสม (พันไว้หลังที่นั่ง , สายสั้น ,สายขาด , ไม่มีหัวคาด ฯลฯ) 44.8 % 3.11  เคยพบรถโดยสารที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารเพราะไม่มีที่นั่งพอหรือไม่ผลสำรวจ เคย 74.4 % ไม่เคยพบ 25.6 % 3.12 เห็นด้วยหรือไม่ที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารบนรถโดยสารผลสำรวจ ไม่เห็นด้วย 79 % เห็นด้วย 16.5 % และ ไม่แน่ใจ 0.5 % 3.13 รู้ไหมว่า ป้ายทะเบียนของรถโดยสารสาธารณะจะต้องใช้ป้ายทะเบียนสีเหลืองตัวอักษรสีดำตามกฎหมายกำหนดเท่านั้นผลสำรวจ รู้ 60 % ไม่รู้ 40 % 3.14 แล้วรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่เป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง สำหรับขนส่งผู้โดยสารใช่หรือไม่ ผลสำรวจ ใช่ 57.8 % ไม่ใช่ 34.5 % ไม่แน่ใจ 7.7 % 3.15 สภาพรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ผลสำรวจ สภาพมั่นคงแข็งแรง เหมาะสมกับการใช้งาน 70.0 % สภาพเก่า ทรุดโทรม ไม่เหมาะกับการใช้งาน 30.0 % 3.16 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพภายใน สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะสมกับการใช้บริการหรือไม่ ส่วนใหญ่สะอาดใช้ได้เลย ผลสำรวจ สะอาด ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 70.3 % ไม่สะอาด สกปรก ทรุดโทรม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 29.7 %   เรื่องการชดเชยเยียวยาความเสียหาย 3.17 เคยประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารวิ่งในจังหวัดหรือไม่ ผลสำรวจ ไม่เคย 89 % เคย 11 % 3.18 เคยเจอรถเสียระหว่างเดินทางไหม ผลสำรวจ ไม่เคย 59.9 % เคยสิ 40.1 % 3.19 ถ้าเกิดปัญหาจากการใช้บริการ เคยร้องเรียนไหม เกือบ 88 % ไม่เคยใช้สิทธิเลย(เศร้าจัง) ผลสำรวจ ไม่เคย 87.5 % เคย 12.5 % 3.20 ช่องทางที่ผู้บริโภครู้ว่า ถ้าเกิดปัญหาเรื่องรถโดยสารจะร้องเรียนได้ที่ไหน ผลสำรวจ ผู้ประกอบการ  68.6 % บริษัทประกันภัย 45.5 % กรมการขนส่งทางบก 43 %โรงพยาบาล 11.6 % มูลนิธิ องค์กรทางสังคม 10.9 % และสื่อมวลชน 6.8 % 3.21 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือไม่ผลสำรวจ ไม่แจ้ง 60.8 % แจ้ง 39.2 % 3.22 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตามประกันภัยรถเพิ่มเติม หรือไม่ผลสำรวจ ไม่มีแจ้ง 65.9 % มีแจ้ง 34.1 %   4.การกำกับดูแล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 4.1 คิดว่าการกำกับดูแลคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดผลสำรวจ ปานกลาง 52.7 % น้อย 31.5 % มาก 15.8 % 4.2 คิดว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ผลสำรวจ สมควร 94.4 % ไม่สมควร 5.6 % 4.3 คิดว่า ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลด้านคุณภาพและความปลอดภัยของบริการรถโดยสารด้วยช่องทางใดบ้าง ผลสำรวจ จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 75.9 % จัดตั้งหน่วยเฝ้าระวัง และรายงาน พฤติกรรมของผู้ประกอบการเจ้าของรถ พนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน 60.7 % มาร่วมกำหนดนโยบาย มาตรการ เช่น บทลงโทษผู้กระทำความผิดซ้ำ และไม่แก้ไข 53.2 % เป็นอาสาสมัคร ให้ข้อมูลเรื่องสิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 40.4 % --   • รถประจำทางวิ่งระหว่างจังหวัด1.บริการยอดนิยม อันดับหนึ่ง รถทัวร์โดยสารปรับอากาศ 54.3 % รถตู้ 36.2 % รถเมล์ (ไม่ปรับอากาศ) 33.7 %รถสองแถว 17.1 %   2.คุณภาพงานบริการ 2.1 ความถี่ในการรับตั๋วหลังจ่ายค่าโดยสาร ใน 100 คน ไม่เคยได้ตั๋วเลย 13 คน ผลสำรวจ ได้รับตั๋วโดยสารทุกครั้ง  58.6 % ได้รับเป็นบางครั้ง 24.7 % ไม่เคยได้รับตั๋วโดยสารหรือไม่มีบัตรอื่นใดให้เลย 12.3 % ไม่ได้รับตั๋ว แต่ได้รับเป็นบัตรหมายเลขแทน 4.4 %2.2 การระบุราคาและหมายเลขที่นั่งไว้อย่างชัดแจน ผลสำรวจ มีการระบุราคา และหมายเลขที่นั่ง 47.9 % มีการระบุราคา แต่ไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 34.2 % ไม่มีการระบุราคา และไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 11 % ไม่มีการระบุราคา แต่ระบุหมายเลขที่นั่ง 6.9 %2.3 การเก็บค่าโดยสาร ครึ่งหนึ่ง โอเคและคิดว่าเหมาะสม ผลสำรวจ ถูกต้อง เหมาะสม 55.1 % ถูกต้อง แต่ไม่เหมาะสมเพราะแพงเกินไป 15.6 % ไม่แน่ใจเพราะ ไม่ทราบว่าอัตราค่าโดยสารเป็นเท่าไหร่ 29.3 % 2.4 การขอเงินค่าโดยสารคืนเมื่อจ่ายเงินค่าโดยสารแล้ว แต่ไม่สามารถเดินทางได้ มีถึง 40 % บอกว่า ไม่เคยขอคืนได้เลย ผลสำรวจ ขอไม่ได้เลย 39.2 % ขอได้และได้เงินคืนครบถ้วน 31.9 % ขอได้ แต่ได้เงินคืนไม่ครบถ้วน 28.9 % 2.5 การติดประกาศแจ้งถึงข้อมูล เงื่อนไขในการให้บริการของรถโดยสาร ณ จุดพักรถ เกือบครึ่งหนึ่ง เคยเห็นประกาศใดๆ เลยผลสำรวจ มีติดประกาศ ในบริเวณที่เห็นได้ในชัดเจน 42.7 % ไม่มีการติดประกาศ 31.3 % มีติดประกาศ แต่ไม่อยู่ในบริเวณที่จะเห็นได้อย่างชัดชัดเจน 26 % 2.6 บริการของพนักงานประจำรถโดยสาร 72.5 พอรับได้ (สงสัยชิน)ผลสำรวจ พึงพอใจปานกลาง 72.5 % พึงพอใจน้อย 13.8 % พึงพอใจมาก 10.9 % ไม่พึงพอใจเลย 2.8 % 2.7 เคยโดยพนักงานประจำรถ แสดงกริยาไม่สุภาพ เช่น ลวนลาม เสียดสี ข่มขู่ กรรโชก ใน 100 คน มี 35 คนที่เคยโดนมาแล้ว ผลสำรวจ เคย 35 % ไม่เคย 65 % 3. ความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย เรื่องของพนักงานขับรถ 3.1 พนักงานขับรถโดยสาร มีการแสดงป้ายใบอนุญาตการขับขี่ไว้ในรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ใน 100 คน มี 40 คน ตอบว่า ไม่แน่ใจ ผลสำรวจ มี 42.7 % ไม่แน่ใจ 39.9 % ไม่มี 17.4 % 3.2 เคยเห็นพนักงานขับรถเม้าท์มือถือระหว่างขับรถไหม เกือบ 80 % เห็นมากับตา ผลสำรวจ เคยพบ 78.9 % ไม่เคยพบ 21.1 % เคยพบใช้โดยเสียบผ่านหูฟัง (Small talk) 11.9 % เคยพบใช้ในขณะที่รถจอด 10.5 % เคยพบใช้โทรศัพท์สนทนาโดยใช้มือจับ 53 % ไม่แน่ใจ 3.5 % 3.3 เคยเจอพนักงานขับรถ ขับเร็ว น่ากลัว หวาดเสียวไหม ผู้บริโภค 73 % มีประสบการณ์ระทึกมาแล้ว ทั้งนั้น ผลสำรวจ เคย 72.9 % ไม่เคย 27.1 % เคยเป็นบางครั้ง 34.5 % เคยบ่อยมาก 19.5 % เคยนานๆ ครั้ง 14.4 % ไม่แน่ใจ 4.6 % 3.4 เคยเจอพนักงานขับรถเมาขณะขับรถไหม 67 % ไม่เคยเห็นคนขับเมาเลย ผลสำรวจ เคยพบ 14.5 % ไม่เคยพบ 66.8 % ไม่แน่ใจ 18.7 3.5 เคยเจอคนขับรถสูบบุหรี่ขณะขับไหม 33.5 % เคยเจอเหมือนกัน ผลสำรวจ เคยพบ 33.5 % ไม่เคยพบ 56.6 % ไม่แน่ใจ 9.9 % 3.6 เคยพบพนักงานขับรถมีอาการง่วงหรือหลับในขณะขับรถหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 15.9 % ไม่เคยพบ 61.8 % ไม่แน่ใจ 22.3 % 3.7 เคยพบรถโดยสารที่จอดรับผู้โดยสารนอกจุดรับส่งที่กำหนดหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 49.7 % ไม่เคยพบ 30.2 % ไม่แน่ใจ เพราะไม่รู้ตำแหน่งจุดจอดที่กำหนด 20.1 % 3.8 เคยพบรถโดยสารที่ขับช้าเกินควรหรือขับกีดขวางทางรถคันอื่นไหม ขับเร็วก็เจอมาแล้ว ขับช้าก็ต้องมีบ้าง ผลสำรวจ เคยพบ 36.6 % ไม่เคยพบ 63.4 % เรื่องสภาพรถโดยสาร3.9 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการมีเข็มขัดนิรภัย หรือไม่ ผลสำรวจ พบว่า มี 66.4 % ไม่มี 33.4 %3.10 เข็มขัดนิรภัยอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ ผลสำรวจ เหมาะสม 52.8 % ไม่เหมาะสม (พันไว้หลังที่นั่ง , สายสั้น ,สายขาด , ไม่มีหัวคาด ฯลฯ) 47.2 %3.11  เคยพบรถโดยสารที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารเพราะไม่มีที่นั่งพอหรือไม่ผลสำรวจ เคยพบ 71.1 % ไม่เคยพบ 28.9 %3.12 เห็นด้วยหรือไม่ที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารบนรถโดยสารผลสำรวจ ไม่เห็นด้วย 83.5 % เห็นด้วย 11.3 % ไม่แน่ใจ 5.1 %3.13 รู้ไหมว่า ป้ายทะเบียนของรถโดยสารสาธารณะจะต้องใช้ป้ายทะเบียนสีเหลืองตัวอักษรสีดำตามกฎหมายกำหนดเท่านั้นผลสำรวจ ทราบ 62.7 % ไม่ทราบ 37.3 %3.14 แล้วรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่เป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง สำหรับขนส่งผู้โดยสารใช่หรือไม่ ผลสำรวจ ใช่ 59.9 % ไม่ใช่ 8.0 % ไม่แน่ใจ 32.1 %3.15 สภาพรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ผลสำรวจ มั่นคงแข็งแรง เหมาะสมกับการใช้งาน 72.1 % สภาพเก่า ทรุดโทรม ไม่เหมาะกับการใช้งาน 24.2 % 3.16 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพภายใน สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะสมกับการใช้บริการหรือไม่ ส่วนใหญ่สะอาดใช้ได้เลย ผลสำรวจ สะอาด ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 71.8 % ไม่สะอาด สกปรก ทรุดโทรม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 27.1 %   เรื่องการชดเชยเยียวยาความเสียหาย 3.17 เคยประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารวิ่งในจังหวัดหรือไม่ ผลสำรวจ ไม่เคย  89.4 % เคย 10.6 % 3.18 เคยเจอรถเสียระหว่างเดินทางไหม ผลสำรวจ ไม่เคย  59.9 % เคย 40.1 % 3.19 ถ้าเกิดปัญหาจากการใช้บริการ เคยร้องเรียนไหม เกือบ 89 % ไม่เคยใช้สิทธิเลย(เศร้าจัง) ผลสำรวจ ไม่เคย 88.8 % เคย 11.2 % 3.20 ช่องทางที่ผู้บริโภครู้ว่า ถ้าเกิดปัญหาเรื่องรถโดยสารจะร้องเรียนได้ที่ไหน ผลสำรวจ ผู้ประกอบการ 69.1 % กรมการขนส่งทางบก 46.8 % มูลนิธิ องค์กรทางสังคม 7.2 %โรงพยาบาล 6.6 % บริษัทประกันภัย 42 % สื่อมวลชน 4 %3.21 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือไม่ผลสำรวจ ไม่แจ้ง 59.4 % แจ้ง 40.6 %3.22 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตามประกันภัยรถเพิ่มเติม หรือไม่ผลสำรวจ ไม่มีแจ้ง 67.8 % มีแจ้ง 32.2 % 4.การกำกับดูแล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 4.1 คิดว่าการกำกับดูแลคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดผลสำรวจ ปานกลาง 59.1 % น้อย 28.1 % มาก 12.7 % 4.2 คิดว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ผลสำรวจ สมควร 92.8 % ไม่สมควร 7.2 % 4.3 คิดว่า ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลด้านคุณภาพและความปลอดภัยของบริการรถโดยสารด้วยช่องทางใดบ้าง ผลสำรวจ จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 72.6% จัดตั้งหน่วยเฝ้าระวัง และรายงาน พฤติกรรมของผู้ประกอบการ เจ้าของรถ พนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน 68.4 % ร่วมกำหนดนโยบาย มาตรการ เช่น บทลงโทษผู้กระทำวามผิดซ้ำ และไม่แก้ไข 51.6 % เป็นอาสาสมัคร ให้ข้อมูลเรื่องสิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 35.8 %   วิธีการสำรวจ เนื้อหาของแบบสำรวจส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 คุณภาพบริการและมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะส่วนที่ 3 สิทธิเรื่องความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย ส่วนที่ 4 การกำกับดูแล และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  โดยผู้ตอบจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเป้าหมายที่ทำการสำรวจ และเป็นผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ  จังหวัดที่ทำการสำรวจจำนวน 24 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง เชียงราย แพร่ เพชรบูรณ์ พิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร ภาคใต้ 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล สงขลา พัทลุง ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก รวม 7 จังหวัด คือสระบุรี ตราด สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และกาญจนบุรี  ทำการสำรวจทั้งสิ้นจำนวน 1,310 ชุด โดยเป็นการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทางที่วิ่งในจังหวัดจำนวน 562 คน และเป็นเส้นทางระหว่างจังหวัด 748 คน -------------------------------------------------------------------- สิทธิของผู้บริโภคบริการรถสาธารณะ1. ผู้โดยสารมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องร้องเพื่อให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เยียวยา หรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น 2. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายจากการประกันภัยโดยไม่มีการประวิงเวลา หรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ 3. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายทั้งทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน และสิทธิอื่น ๆ ที่ถูกละเมิด 4. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายด้วยหลักแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด 5. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของตนและของผู้อื่น 6. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการรถโดยสาร 7. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการบริการจากรถโดยสารและผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน 8. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพเกี่ยวกับบริการรถโดยสาร รวมทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ถูกต้องเป็นจริง ครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้บริการ 9. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในด้านสัญญา และราคาค่าบริการ 10. ผู้โดยสารมีอิสระในการเลือกใช้บริการรถโดยสารด้วยความสมัครใจ และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม --------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point