ฉบับที่ 105 ทวงหนี้โหดจาก สนง.กฎหมายของ เอไอเอส

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) เป็นยักษ์ใหญ่แห่งวงการโทรคมนาคม ที่ผู้บริโภคจำนวนมากให้ความไว้วางใจในการเลือกใช้บริการ โดยบริการหลายอย่างต้องถือว่ามีคุณภาพมาก แต่ยกเว้นอยู่อย่าง คือมารยาทในการติดตามทวงถามหนี้ของสำนักงานกฎหมายที่ทำงานให้ต้องถือว่าอยู่ในขั้นด้อยพัฒนาเอามากๆคุณธิติวัฒน์ ได้รับหนังสือติดตามทวงถามหนี้ที่เต็มไปด้วยข้อความ ข่มขู่ คุกคาม จากสำนักงานกฎหมายเซนิท ลอว์ จำกัด ซึ่งทำงานทวงหนี้ให้กับเอไอเอสเริ่มจาก การประทับตราแดงด้วยข้อความขนาดใหญ่ “ด่วนที่สุด” และ “เอกสารสำคัญเลขที่......./2552 และขึ้นหัวจดหมาย เรื่อง “ขอให้ชำระหนี้ก่อนบังคับคดี” (ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีการฟ้องร้อง)สำหรับเนื้อหาในจดหมายทวงหนี้ก็ด้อยพัฒนาเอามากๆ“ตามที่ท่านได้ค้างชำระค่าบริการโทรศัพท์กับบริษัทฯ ทางสำนักงานฯ ขอแจ้งให้ท่านทราบว่า บัญชีรายชื่อของท่านได้ถูกตรวจสอบและพิจารณาให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมส่งรายชื่อเข้าข้อมูลเครดิตกลางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”เท่านี้ยังไม่พอ ข้อความข่มขู่กดดัน ยังสำรอกออกมาอีกหลายขยอก“ท่านต้องถูกบังคับคดี โดยทางสำนักงานจะนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยังบ้านที่ท่านมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านเพื่อทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นของท่านหรือไม่ก็ตาม...และนำทรัพย์สินที่ยึดได้ออกขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ที่ค้างชำระ”พร้อมกับใส่ข้อความในลงเว็บว่า “(ซึ่งถ้าหากทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของท่าน เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงจะต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ไปร้องขัดทรัพย์ที่ศาล)” ที่หนักหนาสาหัสคือการกำหนดเวลาชำระหนี้ด้วยข้อความว่า “หากท่านต้องการระงับข้อพิพาท ทางสำนักงานให้โอกาสสุดท้ายกับท่าน(ดูเหมือนใจดีมาก) โดยท่านต้องชำระหนี้ภายใน 24 ชั่วโมง นับจากวันที่ได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือฉบับนี้...”หากคุณธิติวัฒน์เป็นหนี้จริง ก็ต้องกัดฟันทนคำข่มขู่ คุกคาม ดังกล่าว แล้วพยายามหาเงินมาใช้หนี้ให้ทันตามเวลาที่ถูกกำหนดมาให้ (ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมีใครทำได้หรอกครับ) แต่ข้อเท็จจริงคือว่า คุณธิติวัฒน์ ไม่เคยเปิดใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกทวงหนี้มา จึงเป็นเรื่องที่ต้องร้องเรียนมาให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยจัดการให้แนวทางแก้ไขปัญหาไม่ว่าผู้บริโภคจะเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์จริงหรือไม่ การออกจดหมายทวงหนี้ก็ควรเป็นเพียงการแจ้งยอดหนี้และช่องทางในการชำระหนี้เท่านั้น ไม่ควรจะมีลักษณะเนื้อหาของการข่มขู่กดดันในลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น และเมื่อผู้บริโภคถูกทวงหนี้ค่าโทรศัพท์ที่ตนเองไม่ได้เปิดใช้บริการ หรือเปิดใช้บริการแต่ค่าโทรศัพท์ไม่ถูกต้องตรงตามที่มีการใช้งานจริง ผู้บริโภคไม่ควรใช้วิธีร้องเรียนผ่านทางคอลเซนเตอร์ของบริษัทผู้ให้บริการอย่างเดียวครับ ควรทำเป็นหนังสือทักท้วงการเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าว หากผู้บริโภคไม่ได้เปิดใช้บริการก็ให้ปฏิเสธโดยทันทีว่าตนมิได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ กฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดไว้ว่าถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่าผู้บริโภคเป็นผู้เปิดใช้บริการหรือได้ใช้บริการโทรศัพท์จริงหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อมูลหลักฐานมายืนยันพิสูจน์ได้ก็ไม่สามารถมาเรียกเก็บหนี้กับผู้บริโภคได้หลังจากที่มูลนิธิฯ ได้ช่วยทำจดหมายร้องเรียนไปยังเอไอเอสแล้ว เอไอเอสจึงได้มีหนังสือตอบรับกลับมาโดยทันทีว่ากำลังตรวจสอบข้อมูลหลักฐานอยู่ และหากไม่สามารถหาข้อมูลมายืนยันว่าคุณธิติวัฒน์เป็นผู้เปิดใช้บริการโทรศัพท์รายเดือนหมายเลขนี้จริงภายใน 60 วันนับแต่ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนก็ถือว่าสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บหนี้ส่วนนี้ไปทันที  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 ขออภัย ที่เราติดตามทวงหนี้ด้วยความไม่เคารพ

ขออภัย ที่เราติดตามทวงหนี้ด้วยความไม่เคารพขอแสดงความเสียใจ และขออภัยอย่างสูงตามที่ท่านได้กรุณาให้เกียรติเป็นลูกค้าของบริษัท อีซี่บายจำกัด(มหาชน) เลขที่ 3969-000-000000000 ต่อมาได้มีเหตุการณ์ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น ทำให้ท่านรู้สึกไม่พอใจอย่างมากนั้น บริษัท สยามวรินทร์นิติการ จำกัด รับทราบปัญหาดังกล่าวด้วยความไม่สบายใจ และตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป ทั้งนี้ บริษัทฯ รู้สึกเสียใจต่อท่านอย่างมากต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเรียนมาเพื่อขออภัยอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถืออย่างสูงบริษัท สยามวรินทร์นิติการ จำกัด เป็นหนึ่งในจดหมายขออภัยของสำนักงานติดตามทวงหนี้หลาย ๆ ฉบับที่ทางมูลนิธิฯ เริ่มได้รับทั้งจากลูกหนี้และจากบริษัทสำนักงานทวงหนี้โดยตรงในปริมาณที่มากขึ้นตามลำดับ หลังจากที่ได้ให้คำแนะนำกับลูกหนี้ในการจัดการปัญหาอันเกิดจากพนักงานทวงหนี้ของสำนักงานทวงหนี้ต่างๆ ซึ่งใช้วิธีการทวงหนี้ที่ไร้มารยาทและผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการประจาน การใช้วาจาจาบจ้วง การข่มขู่กดดันทางด้านจิตใจหรือสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าจะมาจากการถูกสั่งสอนหรืออบรม หรือเป็นเองโดยธรรมชาติก็ตาม เราได้ให้ข้อแนะนำว่าการกระทำดังกล่าวเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการที่ผิดกฎหมายอาญาทั้งสิ้น ลูกหนี้ที่ถูกละเมิดสามารถที่จะดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายได้ทั้งกับพนักงานทวงหนี้ สำนักงานทวงหนี้และบริษัทเจ้าหนี้ แต่การไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจก็อาจถูกพิจารณาได้ว่าองค์ประกอบในการกระทำผิดทางอาญายังไม่ครบถ้วนอาจทำให้เสียเวลาไปเปล่าๆ ได้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิผลจึงให้ข้อแนะนำว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นลูกหนี้สามารถใช้เหตุผลในเรื่องของการกระทำผิดกฎหมายอาญาที่ได้กล่าวไปแล้วแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังสำนักงานทวงหนี้และบริษัทเจ้าหนี้ได้โดยตรงเพื่อให้ยุติการกระทำดังกล่าวได้ ซึ่งบริษัทเจ้าหนี้หลายๆ บริษัทไม่อยากให้ตัวเองต้องมาเสียภาพพจน์ในเรื่องนี้ จึงมักจะยุติการติดตามทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายในลักษณะดังกล่าวโดยทันทีปรากฏว่าในขณะนี้ลูกหนี้ที่ถูกละเมิดจากการติดตามทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายและใช้วิธีนี้ปกป้องตัวเองได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในการติดตามทวงหนี้ นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีและควรส่งเสริมให้ปฏิบัติโดยทั่วถึงกันทุกบริษัท ซึ่งจะช่วยให้ลูกหนี้มีทัศนคติที่ดีและตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินเก็บเงินมาชำระหนี้ได้ในเร็ววัน ขอแสดงความนับถืออย่างสูงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >