ฉบับที่ 107 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนธันวาคม 2552 2 ธ.ค. 52บุกจับอาหารเสริมปลอม กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ร่วมกับคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันจับกุมและยึดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแอลคาร์นิทีน ตราหมอจุฬา ผลิตภัณฑ์อาหารลดน้ำหนัก ตรา SHAPE MINUS และกาแฟ 7 รายการ กว่า 2,000 ชิ้น มูลค่าประมาณ 1.5 ล้านบาท ของบริษัท ยินดีเนเจอร์โปรดักส์ จำกัด ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตจาก อย.   โดยการบุกเข้าจับกุมและยึดผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ พบ นาง นพธีรา ยินดี เจ้าของบริษัท ยินดีเนเจอร์โปรดักส์ จำกัด พร้อมกับสินค้าของกลาง ซึ่งตรวจสอบพบว่ามีการปลอมเลข อย. และแสดงเลขสารบบอาหารไม่ถูกต้อง จึงยึดไว้เป็นหลักฐาน เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีฉลากเพื่อลวง จัดเป็นอาหารปลอม สำหรับของกลางที่ตรวจยึดมาได้จะนำส่งให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจสอบสารที่ใช้เป็นส่วนผสม หากพบว่ามีการใช้สารอันตรายจะพิจารณาแจ้งข้อหาเพิ่มเติมกับผู้ต้องหาต่อไป +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 14 ธ.ค. 52 พบเฝือกคอเก๊ในรถฉุกเฉินของสาธารณสุข นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ได้สั่งห้ามนำเข้าชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อนหรือเฝือกคอของ บริษัท สุพรีม โพรดักส์ จำกัด และบริษัท FIEU Corporation .co.ltd ตัวแทนจำหน่าย PHILADELPHIA COLLAR ในประเทศไทย ซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินในรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพจำนวน 232 คัน หลังพบความผิดปกติของหมายเลขลิขสิทธิ์สินค้าที่ไม่ตรงกัน ระหว่างเลขบนสติกเกอร์กับเลขตัวนูนบนชุดป้องกันกระดูก และบางชิ้นเลขที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ เป็นเลขของผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน จึงเข้าข่ายอุปกรณ์การแพทย์ปลอม ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน ที่บริษัท สุพรีม นำเข้ามายังไม่มี Certificate of Free Sales หรือการแจ้งขอผ่อนผันการนำเข้า ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 6) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 2.5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่ง อย.จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 19 ธ.ค. 52 กิน “ปลาร้า” ระวัง! เจอยาฆ่าแมลง นพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครราชสีมา เปิดเผยว่า จากการออกตรวจสอบและสุ่มเก็บตัวอย่างปลาร้า ปลาแห้ง และอาหารทหารแห้งที่ตลาดย่าโม เขตเทศบาลนครนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผลตรวจสอบเบื้องต้นพบสารฆ่าแมลงในสินค้าดังกล่าวจำนวน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 32 ซึ่งได้แจ้งตักเตือนผู้จำหน่ายถึงผลการตรวจสอบไปแล้วพร้อมให้หยุดการจำหน่ายทันที และจะขยายผลหาที่แหล่งผลิตเพื่อติดตามผู้ผลิตมาดำเนินคดีต่อไป สำหรับผู้บริโภคแนะให้ควรสังเกตดูว่า หากอาหารที่จำหน่ายใกล้เคียงมีแมลงวันตอม แต่ไม่ตอมปลาร้าก็ให้สงสัยว่าปลาร้านั้นปนเปื้อนสารฆ่าแมลงและควรปรุงสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ โฆษณาแฝงครองเมือง มีเดียมอนิเตอร์ ” เผยผลสำรวจ “ โฆษณาตรงโฆษณาแฝง ” พบ 3-5-7-9 โฆษณาตรงเกินกฎหมาย ขณะที่โฆษณาแฝงลามทุกรายการ เว้นข่าวพระราชสำนัก ประชุมรัฐสภา แย่สุดใช้เด็กเป็นร่างทรงโชว์สินค้าในรายการ นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการเฝ้าระวังสื่อฯ กล่าวว่า แม้ไทยใช้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการวิทยุโทรทัศน์ พ . ศ . 2551 เพื่อ ควบคุมการโฆษณา แต่ยังพบปัญหาข้อกฎหมายตามไม่ทันกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ เนื่องจากปัจจุบันมีการโฆษณาแฝงมาก ไร้กฎหมายควบคุมที่ชัดเจน อีกทั้งมีการใช้วิธีเปลี่ยนแปลงรูปแบบและการโฆษณา ขณะที่กรมประชาสัมพันธ์ ไม่มีอำนาจในการออกประกาศ ระเบียบ การโฆษณาเพื่อบังคับใช้กับสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ นายธาม กล่าวว่า จากการศึกษาโฆษณาตรงทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 25-27 ก.ย. 2552 ตลอด 24 ชั่วโมง พบว่า มี 4 ช่องที่โฆษณาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ 1. ช่อง 9 รวม 3 วัน มีการโฆษณาเกิน 192 นาที หรือเฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง 2. ช่อง 3 โฆษณาเกิน 149 นาที 3. ช่อง 7 โฆษณาเกิน 111 นาที และ 4. ช่อง 5 โฆษณาเกิน 106 นาที ขณะที่ช่อง 11- สทท . ไม่พบการโฆษณาตรงเกินกว่าที่กำหนด นอกจากนี้เมื่อวัดจากจำนวนที่มีการโฆษณาแฝง พบมากที่สุด คือ ช่อง 5 มีการโฆษณาแฝงถึง 85.8% ช่อง 9 มีการโฆษณาแฝง 83.3 % ช่อง 7 โฆษณาแฝง 74.8% ช่อง 3 โฆษณาแฝง 68.7% และช่อง 11 โฆษณาแฝง 48.1% วิธีการโฆษณาแฝงที่พบบ่อยที่สุด คือ 1 . โฆษณาแฝงสปอตสั้นหรือวีทีอาร์ โดยใช้ภาพโฆษณาสินค้า ประมาณ 4-7 วินาที ในช่วงเข้าเนื้อหารายการ 2 .โฆษณาแฝงวัตถุ โดยตั้งใจจัดฉากให้เห็นสินค้าชัดเจน โดยเฉพาะฉากละครซิทคอมที่ร้านขายสินค้าจะเป็นจุดหลักของการโฆษณา ส่วนรายการข่าวจะนิยมใช้แก้วกาแฟ กล่องนม ซองขนมปัง และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ค 3.การโฆษณาแฝงภาพกราฟฟิก มีความถี่บ่อย ฉายเวียนซ้ำกันในระหว่างเบรก และ4. การโฆษณาแฝงไปกับเนื้อหา แม้จะพบในระดับที่ไม่มาก แต่มีลักษณะที่แนบเนียน “ การโฆษณาดังกล่าว ถือว่าผิดกฎหมาย ตามพรบ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 มาตรา 23 ว่าด้วยสัดส่วนการโฆษณาธุรกิจ เนื่องจากการโฆษณาตรงต้องออกอากาศในช่วงที่ไม่ใช่เนื้อหารายการ โดยใช้เกณฑ์การโฆษณาธุรกิจ เฉลี่ยทั้งวันต้องไม่เกิน 10 นาทีต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตามมีหลายช่องที่โฆษณาแฝงแทบทุกรายการ ยกเว้นการถ่ายทอดสดการประชุมรัฐสภา ข่าวพระราชสำนัก นอกจากนี้ยังพบว่ารายการเด็กและเยาวชน มีการใช้กลยุทธโฆษณาแฝงที่แนบเนียน จัดฉากให้เด็กมีส่วนร่วมในการโชว์สินค้า เด็กหรือผู้ร่วมรายการเป็นเหมือนร่างทรง ทั้งที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ ” +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ค้านหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ หวั่นกระทบวงการสาธารณสุข น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ไม่เห็นด้วยที่โรงเรียนแพทย์ผลักดันหลักสูตรแพทย์นานาชาติ เพื่อผลิตแพทย์ไทยให้สามารถรักษาผู้ป่วยต่างชาติ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลกระทบกับวงการสาธารณสุข ทั้งการแย่งชิงทรัพยากรบุคคลหรืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค “แพทยสภาควรปลดล็อกการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากภาษาไทยเพียงอย่างเดียวให้เป็นภาษาอังกฤษด้วย แล้วเปิดให้แพทย์ต่างชาติเข้ามาสอบโดยระบุให้แพทย์ต่างชาติต้องรักษาผู้ป่วยของชาติตัวเองในสถานพยาบาลเอกชนเท่านั้น ผู้ป่วยชาติใดมากก็แบ่งเป็นสัดส่วนกันไป น่าจะทำให้การที่ไทยจะเป็นเมดิคัลฮับยังคงเดินหน้าต่อไปได้ ขณะเดียวกันในส่วนของอาจารย์แพทย์คนไทยที่เก่งๆ ก็จะมีเวลากลับมารักษาคนไทยด้วย” น.ส.สารี กล่าวในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นวันที่ 16-18 ธันวาคม ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ในหัวข้อการประชุมวิชาการในเรื่อง สองแพร่ง หลักสูตรแพทย์นานาชาติทางเลือกระหว่างโลกาภิวัตน์กับสุขภาพคนไทย ด้าน นพ.เสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะดูแลเรื่องการจัดสรรกำลังคนด้านสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังมีความต้องการบุคลากรในวิชาชีพสาธารณสุขโดยเฉพาะแพทย์เป็นอย่างมาก นโยบายของสธ.ยังมีการขยายงานให้มีแพทย์บริหารจัดการโรงพยาบาลระดับอำเภอทุกแห่งด้วย ดังนั้นถือว่าประเทศยังขาดแคลนแพทย์อยู่ การผลิตแพทย์หลักสูตรนานาชาติเพื่อรองรับผู้ป่วยต่างชาติจึงไม่เหมาะสมในช่วงเวลานี้ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ องค์กรผู้บริโภคคัดค้านการขึ้นค่าโทลล์เวย์โหด เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สถาบันพัฒนานักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) ออกมาคัดค้านการขึ้นค่าโทลล์เวย์ จากกรณีที่บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ประกาศขึ้นราคาค่าโทลล์เวย์ตลอดสาย จาก 55 บาทเป็น 85 บาท ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2552 เพราะเป็นการขึ้นราคาที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค และไม่สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพของประชาชน แม้จะเป็นการทำตามสัญญาสัมปทาน แต่ต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคต้องการให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจทางปกครองสั่งการให้กรมทางหลวงยุติการอนุมัติให้ขึ้นราคาค่าโทลล์เวย์ ไม่เช่นนั้นจะดำเนินการฟ้องร้องต่อคณะรัฐมนตรีที่ดำเนินการโดยไม่รักษาผลประโยชน์สาธารณะ เพราะประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณะในอัตราที่อิงกับต้นทุน มิใช่อัตราการคืนทุนตามที่กำหนดโดยสัญญาตามที่เจ้าของทุนต้องการ การอ้างของคณะรัฐมนตรีว่าเป็นไปตามสัญญาสัมปทานนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่ทำลายความชอบธรรมของการมีรัฐบาลเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ เพราะหากให้สัญญาที่ทำกับเอกชนซึ่งมุ่งหวังผลตอบแทนจากการลงทุนมาใช้ปิดปากอำนาจของรัฐในการกำหนดอัตราค่าบริการซึ่งเรียกเก็บจากประชาชนผู้ใช้บริการ ย่อมเป็นสัญญาทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยหลักของกฎหมายและเป็นสัญญาสัมปทานที่ไม่เป็นธรรม เพราะเป็นสัญญาที่อนุญาตให้เอกชนทำบริการสาธารณะแทนรัฐ ที่สำคัญสัญญานี้ไม่ได้เกี่ยวพันเพียงแค่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากที่ต้องรับผลจากสัญญาดังกล่าว"

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 106 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2552 22 พ.ย. 52โพลชี้ชัด! ผู้บริโภคไม่อยากดูโฆษณาแฝงนางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยข้อมูลผลสำรวจ “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโฆษณาแฝง” พบว่ากว่าร้อยละ 72 ไม่เห็นด้วยกับร่างแนวทางที่ สคบ. กำลังพิจารณาว่าการปรากฏให้เห็นของสินค้าในรายการโทรทัศน์ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณาแฝง ทำให้มีโฆษณาแฝงเกิน 12.30 นาทีต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายระบุไว้ จากการสำรวจส่วนใหญ่เห็นว่าโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์รุกล้ำสิทธิของผู้บริโภค และคิดว่าควรมีการเปิดเผยข้อมูลรายได้จากโฆษณาแฝงและให้มีการตรวจสอบระบบการเสียภาษีให้กับรัฐให้ถูกต้อง นางอัญญาอร กล่าวว่า “ร่างฯ นี้ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา แต่กลับจะยิ่งทำให้โฆษณาแฝงมีความถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมาย เพราะร่างแนวทางระบุให้การปรากฏของสินค้าในรายการโทรทัศน์ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณา ซึ่งจะยิ่งทำให้มีโฆษณาแฝงในรายการทีวีเพิ่มมากขึ้น” 26 พ.ย. 52องค์กรผู้บริโภคจี้ ก.อุตสาหกรรมเลิกใช้ “แร่ใยหิน” เหตุเป็นสารก่อมะเร็งแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเวทีปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคการประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ครั้งที่ 2 เรื่อง “ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก” โดยมีผู้แทนองค์กรผู้บริโภคจากทั่วประเทศ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอ เพื่อส่งต่อไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนินการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินหรือสารแอสเบสตอส ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โดยพบได้ในผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวไม่ว่าจะเป็นหลังคาบ้าน กระเบื้องปูพื้น ผ้าเบรก หรือแม้กระทั่งในเครื่องสำอาง องค์กรผู้บริโภคมีข้อเสนอ 10 ข้อยื่นต่อกระทรวงอุตสาหกรรมโดยมีประเด็นสำคัญคือ ให้กำหนดมาตรการยกเลิกการนำเข้าภายใน 3 เดือน และยกเลิกการผลิต การจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินที่สามารถใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ภายใน 1 ปี พร้อมทั้งยกเลิกภาษีวัตถุดิบที่ไม่เป็นอันตรายที่สามารถใช้ทดแทนแร่ใยหิน และควรมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและชนิดของสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน 27 พ.ย. 52อย. ออกคำสั่ง! ห้ามใช้ยาแอสไพรินกับเด็กสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีคำสั่งให้ผู้ผลิตยาแอสไพรินแก้ไขทะเบียนตำรับยา ไม่ให้ใช้ แก้ปวด ลดไข้ ในเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการรายย์ ซินโดรม (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงเนื่องจากตับถูกทำลาย ทำให้สมองบวม ชัก หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการ อย. เปิดเผยว่า มียาแอสไพรินที่ขึ้นทะเบียนโดยเป็นยาสำหรับเด็กเท่านั้น จำนวน 29 ตำรับ และตำรับที่มีข้อบ่งใช้ทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ 55 ตำรับ ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องมีหน้าที่แก้ไขฉลากและเอกสารกำกับยา โดยให้ตัดข้อความที่แสดงสรรพคุณที่ใช้สำหรับเด็กออกไป ซึ่งคำสั่งนี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2552 หากไม่ปฏิบัติตามประกาศจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย 29 พ.ย 2552“นมหวาน” ทำร้ายเด็ก ทันตแพทย์หญิงจันทนา อึ้งชูศักดิ์ ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ระบุว่ายังมีผู้ปกครองซื้อนมหวานให้เด็กบริโภคเป็นประจำถึงปีละ 9,924 พันตัน ผลเสียทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้นทันทีจากการดื่มนมรสหวานโดยใช้ขวดนม คือเด็กจะฟันผุตั้งแต่ฟันน้ำนมยังขึ้นไม่เต็มปาก ส่งผลให้เด็กเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ปวดฟัน นอนหลับไม่สนิท การกินนมรสหวาน จะนำไปสู่พฤติกรรมติดหวานและทำให้เด็กอ้วน จึงมีโอกาสสูงที่จะเป็นเบาหวานในอนาคต “แม้เครือข่ายด้านสุขภาพร่วมกับ อย. ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 286 ระบุไม่ให้มีการเติมน้ำตาลซูโครสลงในนมผงสูตรต่อเนื่องสำหรับเด็ก ตั้งแต่เดือนเมษายน 2549 ทำให้แนวโน้มการใช้นมรสหวานเลี้ยงเด็กทารกลดลงอย่างมาก ปีละประมาณ 1,000 ตัน แต่ประกาศดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมถึงนมผงครบส่วนสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป จึงทำให้ยังมีทั้งนมผงรสหวานและรสจืดวางขายในท้องตลาดอีกจำนวนมาก  ร้องนายก ให้ กฟผ. คืนเงินคนใช้ไฟฟ้ามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม เครือข่ายติดตามผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต.เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา และกลุ่มพลังงานทางเลือก ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ เพื่อขอให้ยุติการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และนำเงินที่เรียกเก็บโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายส่งคืนให้แก่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า เพราะการจัดตั้งกองทุนเพื่อเรียกเก็บเงินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายถือเป็นการเอาเปรียบประชาชน ทั้งนี้ กฟผ. ได้เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนฯ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 โดยเรียกเก็บเงินจากค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) ซึ่งเป็นการเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ เครือข่ายประชาชนยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1.ให้ กฟผ. ยุติการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนฯ จากค่าเอฟทีโดยทันที 2.ให้นำเงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนฯ ไปแล้วทั้งหมดส่งคืนให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยเร็ว 3.ให้หามาตรการที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อการเรียกเก็บเงินสำหรับดำเนินการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าทั้งหมดโดยตรง ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการตามที่ได้เรียกร้องจะถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด กลุ่มองค์กรและเครือข่ายประชาชนก็จะนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลเพื่อดำเนินการต่อไป เร่ง คลัง – พลังงาน ทวงเงินชาติคืนจากปตท.เครือข่ายผู้บริโภคและเครือข่ายประชาชน ยื่นหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้บังคับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คืนทรัพย์สินส่วนที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินกลับคืนให้กับประเทศ หลังจากศาลพิพากษาให้ ปตท. ต้องทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ซึ่งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มีมติมอบหมายให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง รับไปดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและสิทธิตามหลักการดังกล่าว โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง แต่จากรายงานสรุปการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2551 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้โอนทรัพย์สินเพียงเฉพาะที่ดินเวนคืนมูลค่า 1.45 ล้านบาท สิทธิการใช้ที่ดินมูลค่า 1,125.11 ล้านบาท และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่อยู่บนที่ดินเวนคืนและที่ดินรอนสิทธิเพียง 3 โครงการ (โครงการท่าบางปะกง-วังน้อย โครงการท่อจากชายแดนไทยและพม่า-ราชบุรี และโครงการท่าราชบุรี-วังน้อย) รวมเป็นมูลค่าทรัพย์สินที่แบ่งแยกกลับไปเป็นของรัฐทั้งสิ้นเพียง 16,176.22 ล้านบาท โดยไม่มีการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ขณะที่ตามรายงานของผู้สอบบัญชีต่อมูลค่าทรัพย์สินที่แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รายงานว่า ทรัพย์สินที่จะต้องดำเนินการคืนให้กระทรวงการคลัง มีมูลค่าทางบัญชีสุทธิ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2544 จำนวน 52,393,498,180.37 ล้านบาท นอกจากนี้ จากการตรวจสอบทรัพย์สินโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายประชาชน พบว่ายังมีทรัพย์สินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาเพิ่มเติมหลังการแปลงสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย รวมมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ต้องแบ่งแยกและคืนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอีกจำนวนทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 205,891 ล้านบาทมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายจึงต้องการเรียกร้องให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน ให้ ปตท. คืนทรัพย์สินส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ครบถ้วนโดยเร็วที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2552 21 ต.ค. 52 ระวัง!!! อาหารกระป๋องของ “บ.กิ่งแก้วฟู้ดส์” และ “บ.ไทย เอ ดี ฟู้ดส์ เทรดดิ้ง” นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่าจากการเฝ้าระวังสถานการณ์ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง ยังคงพบผลิตภัณฑ์ ลิ้นจี่กระป๋อง ตราชาวดอย เน่าเสียก่อนหมดอายุ และพบผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องลำไยในน้ำเชื่อมตราชาวดอย ผลิตโดย หจก.ไทย เอ ดี ฟู้ดส์เทรดดิ้ง จ.เชียงราย วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งบริษัทดังกล่าวยกเลิกใบอนุญาตผลิตอาหารไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา รวมทั้งบริษัททองกิ่ง-แก้วฟู้ดส์ จำกัด จ.สมุทรสาคร ได้ขาดการต่ออายุใบอนุญาตไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2552 ซึ่งมีผลให้เลขทะเบียนตำรับอาหารทั้งหมดของบริษัทสิ้นสภาพไปด้วย ดังนั้น อย.จึงประกาศเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากทั้ง 2 บริษัทนี้มารับประทาน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์อาหารของบริษัทดังกล่าววางจำหน่าย สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. โทร.1556 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ   27 ต.ค. 52ทดสอบ “เน็ต” เร็วแค่ 70% ของโฆษณาหลังจากที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ร่วมกับสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดตัวโครงการสำรวจและทดสอบคุณภาพความเร็วอินเตอร์เน็ต ปี 2552 หรือ ‘สปีดเทสต์’ ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. – 25 ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาข้อมูลการให้บริการอินเตอร์เน็ตของผู้ประกอบการ (ไอเอสพี) ผ่านเว็บไซต์หลักของโครงการคือ www.speedtest.or.th จากผลการทดสอบที่ความเร็วต่ำกว่า 12 เมกะบิตต่อวินาทีลงมา และเป็นการให้บริการผ่านเทคโนโลยี ADSL คิดเป็นจำนวน 7.5 แสนราย พบว่าความเร็วที่ได้ประมาณ 70% จากที่โฆษณา โดยอินเตอร์เน็ตในเครือสามารถ คอร์ปอเรชั่น ให้บริการได้ดีที่สุด นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสบท.กล่าวว่า หากไอเอสพีต้องการใช้ความเร็วเป็นจุดขาย ก็ควรปรับคุณภาพให้ได้ตามที่โฆษณาจริงๆ แต่หากทำไม่ได้จริงก็ควรลดค่าบริการลงให้เหมาะกับคุณภาพพ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า สิ่งที่สมาคมฯ กับสบท.เปิดเผยในครั้งนี้ เป็นข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุงแก้ไขซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้บริการควรให้ความสำคัญกับการตรวจวัดความเร็ว หมั่นตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ใช้อยู่เป็นประจำ  29 ต.ค. 52มายังไง?! “เศษลวด” ในยาพารานายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการที่มีผู้บริโภคพบเศษลวดในยาพาราเซตามอลขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งหลังจากตรวจสอบเศษลวดดังกล่าว คาดว่าน่าจะเกิดจากตะแกรงหรือแร่งสำหรับร่อนยา รวมทั้งการตั้งระบบการไหลของยาที่ผลิตเสร็จแล้วเร็วเกินไป จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาด อย่างไรก็ตามได้เรียกเก็บยาล็อตดังกล่าวจากทั่วประเทศแล้ว ส่วนจะให้บริษัทเอกชนผลิตยาพาราเซตามอลต่อหรือไม่ อยู่ที่องค์การเภสัชจะพิจารณาต่อไป ขณะเดียวกันหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ของสหรัฐอเมริกา ได้มีการทบทวนเพื่อลดปริมาณพาราเซตามอลในตัวยา จากเดิมคือ 500 มล./เม็ด ให้เหลือเพียง 325 มล./เม็ด เพื่อช่วยลดความแรงของฤทธิ์ยาลง ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่ายังคงประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดได้ ทำให้อย.ของไทยเร่งทบทวนการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างเหมาะสม 31 ต.ค. 52อย.เตือนอย่าเชื่อโฆษณากาแฟลดความอ้วนปัจจุบันมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปจำนวนมากที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงว่ามีผลในการลดน้ำหนัก ผิวสวย รูปร่างดี ฯลฯ นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า แม้ที่ฉลากจะระบุส่วนประกอบว่า มีไฟเบอร์ คอลลาเจน แอลคาร์นีทีน หรือโครเมียม แต่ยังไม่มีข้อมูลทางการวิจัยยืนยันว่า สารดังกล่าวมีผลในการลดน้ำหนัก ทำให้ผิวสวย หรือเพิ่มความงามแต่อย่างใด ส่วนเลขสารบบอาหารที่แสดงบนฉลากอาหารนั้นเป็นเพียงการประเมินความปลอดภัยเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต และส่วนประกอบเท่านั้น ไม่ได้รับรองการโฆษณาใดๆ และอย.ก็ไม่อนุญาตให้กล่าวอ้างสรรพคุณลดความอ้วนหากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์กาแฟที่โอ้อวดเกินจริง สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.โทร.1556  สภาผู้บริโภคฯ ร้องสคบ.คุมบริการมือถือเติมเงินสภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมและเครือข่ายผู้บริโภค ยื่นข้อเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขอให้แก้ไขประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 เพื่อควบคุมโทรศัพท์แบบเติมเงิน โดยประเด็นหลักๆ ที่เครือข่ายผู้บริโภคต้องการให้แก้ไข ประกอบด้วย การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินต้องไม่มีลักษณะบังคับให้ผู้ใช้ใช้ภายในเวลาจำกัด ซึ่งระยะเวลาในการใช้บริการขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 180 วัน และต้องมีระบบคืนเงินส่วนที่เหลือที่ไม่ได้ใช้ให้กับผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ผู้ให้บริการต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการให้บริการเสริมใดๆ บนเครือข่ายของตัวเอง โดยมีการชี้แจงค่าบริการและข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับบริการอย่างชัดเจนซึ่งเหตุผลที่เครือข่ายผู้บริโภคเข้ามาร้องต่อสคบ. ในครั้งนี้เพราะเห็นว่า สคบ. สามารถเอาผิดกับผู้ให้บริการได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งดีกว่าประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ที่มีอำนาจเพียงการบอกเลิกสัญญาผู้ประกอบการเท่านั้นด้าน นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา กล่าวว่า สคบ. ยินดีรับข้อเสนอ และนำไปศึกษาต่อว่าอยู่ในส่วนที่ สคบ. สามารถดำเนินการได้หรือไม่ พร้อมแนะให้ สภาผู้บริโภครวบรวมผู้ใช้โทรศัพท์ที่ถูกเอาเปรียบส่งให้ สคบ. ฟ้องผู้ประกอบการ เพื่อให้เห็นผลที่ชัดเจนในทางปฏิบัติ เมื่อศาลตัดสินจะได้นำมายกเป็นกรณีตัวอย่าง แต่ที่ผ่านมาการฟ้องร้องไม่ค่อยจริงจัง เพราะสามารถไกล่เกลี่ยชดเชยค่าเสียหายกันได้ เครือข่ายผู้บริโภคร่วมพลัง! ส่งตรงข้อเสนอถึง กทช. ก่อนประมูล 3Gมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดโครงการปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศครั้งที่ 1 ในการทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมายรวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีการประมูลคลื่น 3G ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)นางสาวจุฑา สังคชาติ ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ กล่าวถึงประเด็นราคาประมูลและจำนวนใบอนุญาตว่า ต้องมีการออกมาตรการเรื่องการแข่งขัน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการส่งข้อมูลหรือภาพ โดยนำมาตรการดังกล่าวไปเปิดรับฟังความคิดก่อนเปิดประมูล และควรกำหนดคุณสมบัติผู้ประมูลให้ชัดเจน เช่น ต้องเป็นผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยเท่านั้น ต้องทำให้เกิดการแข่งขันในการประมูลใบอนุญาตและผู้ให้บริการควรคิดค่าบริการอย่างเป็นธรรมนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ภาคตะวันตก กล่าวถึงเรื่องเงื่อนไขการประมูลระยะเวลาใบอนุญาตและความครอบคลุมการให้บริการ ในเชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายว่า ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขการประมูลให้ชัดเจน เช่น ต้องจัดบริการให้เข้าถึงอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น คนพิการ ต้องแจ้งโครงสร้างต้นทุนการให้บริการ เพื่อกำหนดราคาการให้บริการที่มีมาตรฐาน กทช.ต้องดูแลสัดส่วนของกองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้ามาในตลาดการแข่งขัน และสัมปทานต้องไม่มีข้อกำหนดที่ปิดโอกาสในการขอสัมปทานในระบบอื่นในครั้งต่อไปดร.เรืองชัย ตันติยนนท์ สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคสงขลา เสนอประเด็นการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามใบอนุญาตหรือเงื่อนไขการให้บริการว่า จะต้องมีกลไกการติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ทั้งก่อนและหลังการประมูล อีกทั้งต้องมีกติกากำกับการดำเนินงานของผู้ประกอบการอย่างเข้มแข็งและจริงจัง มีบทลงโทษที่สามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ กทช. ต้องสนับสนุนให้องค์กรผู้บริโภคเป็นกลไกเฝ้าระวังเพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน และรัฐบาลต้องเร่งให้มีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61ด้านนายสวัสดิ์ เฟื่องฟู ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวถึงประเด็นกลไกการกำกับเนื้อหาในระบบ 3G ว่า ต้องจัดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลระดับประเทศ มีองค์ประกอบจากทั้ง 3 ฝ่าย คือ ผู้ให้บริการ ผู้กำกับดูแล ผู้บริโภค เข้าไปกำกับดูแลและมีบทบาททั้งเชิงการให้คุณและให้โทษ โดยทำงานร่วมกับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคประชาชน รวมทั้งผู้ได้รับใบอนุญาตต้องกำหนดหรือสร้างเงื่อนไข สำหรับผู้ให้บริการเสริม ทั้งเนื้อหา ภาพ ข้อมูลให้ชัดเจนขณะที่ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า จะนำข้อเสนอ ไปยื่นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อเร่งผลักดันให้มีการออกกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 61 หลังจากนั้นจะนำเสนอข้อมูลให้กับคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติในวันที่ 12 พ.ย. และจะส่งข้อเสนอต่อคณะกรรมการไอซีที สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค และนักสิทธิมนุษยชนของวุฒิสภา เพื่อตรวจสอบว่าข้อเสนอดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กทช. เกี่ยวกับกรณี 3G ให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้หากข้อเสนอไม่ได้รับการปฏิบัติและดำเนินการ หรือการประมูลเกิดความไม่ชอบมาพากล อาจจะใช้ มาตรา 11 ตามพระราชบัญญัติฮั้วการประมูลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกันยายน 255213 กันยายน 2552ระวังหมอฟันเถื่อนเกลื่อนเมือง!กรณีที่มีหญิงสาวคนหนึ่งออกมาร้องเรียนกับสื่อมวลชนว่าถูกหมอฟันในคลินิกแห่งหนึ่งย่านรามคำแหงทำอนาจาร พร้อมทั้งตั้งข้อสงสัยว่าภรรยาของหมอฟัน ที่แต่งชุดและทำงานคล้ายกับทันตแพทย์นั้น จริงๆ แล้วอาจไม่ได้เป็นทันตแพทย์จริง ศาสตราจารย์พิเศษ พลโท พิศาล เทพสิทธา นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสำหรับกรณีทันตแพทย์ชายลวนลามคนไข้ ส่วนเรื่องภรรยาของทันตแพทย์ซึ่งตรวจสอบแล้วว่าไม่มีใบประกอบวิชาชีพ หากพบว่ามีการรักษาคนไข้จริง ทันตแพทย์ที่อนุญาตถือว่ามีความผิด ซึ่งกรณีนี้ทันตแพทยสภาสามารถเข้าไปดำเนินการเอาผิดได้ แต่ในกรณีของตัวภรรยานั้น ทันตแพทยสภาไม่สามารถเอาผิดได้ต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจและกองการประกอบโรคศิลปะ แต่ต้องมีคนออกมาร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่จึงจะเข้าไปจัดการได้ “ปัจจุบันมีทันตแพทย์เถื่อนเป็นจำนวนมาก แต่ทางทันตแพทยสภาจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เพราะเมื่อทราบเบาะแสและร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเข้าจับกุม คนกลุ่มนี้จะรู้ตัวและหลบหนีไปทันที ที่ผ่านมาพบบ่อยบริเวณท่าพระจันทร์ล่าสุดกระจายไปทั่วแล้ว” แนะนำหากจำเป็นต้องพบทันตแพทย์ควรเลือกสถานพยาบาลที่เปิดประจำ มีใบอนุญาตให้เปิดบริการและมีใบประกอบวิชาชีพ 19 กันยายน 2552อย.ลงดาบสื่อ! โฆษณายา-อาหารสุขภาพเกินจริงทีวี เคเบิ้ลทีวี วิทยุ หรือแม้แต่นิตยสารต้องระวัง หากเผยแพร่โฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ อาหารเสริมที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ไม่ว่าจะจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีสิทธิถูกลงโทษตามกฎหมายทั้งจำทั้งปรับ อย. เปิดเผยว่า ด้วยมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งที่คิดเอาเปรียบผู้บริโภค อาศัยกระแสการใส่ใจเรื่องสุขภาพของผู้คนมาเป็นช่องทางในการทำธุรกิจ โดยนำผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ทั้ง อาหาร ยา และเครื่องมือแพทย์ ไปโฆษณาตามสื่อต่างๆ ซึ่งถ้าหากมีการตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับใบอนุญาตจาก อย. นอกจากผู้ผลิตจะมีความผิดแล้ว สื่อที่ทำการเผยแพร่โฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็มีความผิดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ อย. ได้ดำเนินคดีกับบรรณาธิการนิตยสาร Gossip Star, นิตยสารทีวีพูล และ นิตยสาร OHO ซึ่งเผยแพร่โฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. โดยเป็นโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงของบริษัท ธัญญาพรสมุนไพร จำกัด และ บริษัท ไบโอพลัส จีเอ็มพี จำกัด ซึ่ง อย. ได้สั่งปรับเงินทั้งบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์และนิตยสารทั้ง 3 ฉบับแล้ว 21 กันยายน 2552ผู้บริโภคอีสานพบเสาโทรศัพท์ใกล้ชุมชนมากไป หวั่นผลกระทบในงานเวทีสภาผู้บริโภคภาคอีสาน ประจำปี 2552 มีการนำเสนอผลการสำรวจ “ข้อมูลพื้นที่ใกล้เคียงเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมที่อาจเกี่ยวข้องกับผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” โดยได้สำรวจเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม จาก 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ดและสกลนคร พบว่าเสาสัญญาณส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งชุมชนไม่ถึง 20 เมตร ซึ่งเสาเจ้าปัญหา 3 อันดับแรก คือ เอไอเอส ทรูมูฟ และดีแทค ตามลำดับ โดย ร้อยละ 48.1 ของเสาสัญญาณที่สำรวจนั้นพบว่า ตั้งอยู่ห่างจากโรงเรียนน้อยกว่า 200 เมตร ร้อยละ 15.2 พบว่า เสาสัญญาณอยู่ใกล้โรงพยาบาลมากไป และร้อยละ 18.4 อยู่ใกล้สถานีอนามัยมาก นายปฏิบัติ เฉลิมชาติ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ยื่นข้อเสนอต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้มีการบังคับใช้ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมอย่างเข้มงวดและจริงจัง กทช.ต้องมีหน่วยติดตามตรวจสอบความเข้มของสนามแม่เหล็กในบริเวณที่มีการตั้งเสาสัญญาณโทรคมนาคม พร้อมทั้งคอยสนับสนุนสถาบันการศึกษา นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาค้นคว้าทำการวิจัยอย่างจริงจัง เกี่ยวกับผลกระทบและอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 22 กันยายน 2552“พริกน้ำปลา” ภัยร้ายใกล้ตัวนางอรพินท์ บรรจง จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจจากการทำโครงการพัฒนาตำรับอาหารท้องถิ่นสำหรับผู้สูงอายุ พบว่าถ้วยพริกน้ำปลาซึ่งไม่ได้จัดเป็นเมนูอาหาร แต่มักจะถูกไว้อยู่บนโต๊ะที่เรารับประทานอาหารเสมอนั้น อาจทำให้ร่างกายของเราได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินความจำเป็น การเติมพริกน้ำปลาเพิ่มลงในอาหารจัดเป็นพฤติกรรมปกติของสังคมไทย แต่การรับประทานอาหารรสเค็มมากๆ และบ่อยๆ ทำให้เกิดมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหัวใจและไตวาย รวมทั้งโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น และผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้จะต้องระมัดระวังอาหารที่มีโซเดียมสูงเป็นพิเศษ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคที่เป็นอยู่ ค่าปกติในการรับประทานทานอาหารที่มีโซเดียม แนะนำว่าบริโภคได้ไม่เกินวัน 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบได้กับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะหรือเกลือประมาณครึ่งช้อนชา ดังนั้นเลี่ยงพฤติกรรมการเติมพริกน้ำปลาตามความเคยชิน ควรชิมก่อนเพื่อตัดสินใจว่าจะปรุงเพิ่มดีหรือไม่ ---------------------------------------------------------------------------------------------- ครบรอบ 1 ปี พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้จัดสัมมนา “1 ปี พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ย้อนมองถึงการทำงานของกฎหมายนี้ตลอดระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่ที่เริ่มประกาศใช้ โดยได้นักวิชาการ นักกฎหมาย และผู้ที่เคยใช้กฎหมายมาร่วมพูดคุยและแสดงความคิดเห็น ศ.จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกล่าวว่า “การมี พ.ร. บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคออกมานั้นถือเป็นเรื่องดี แม้ว่าจะสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการมากขึ้นกว่าเดิมแต่ก็ถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับความปลอดภัยที่ผู้บริโภคพึงได้รับ อย่างไรก็ตามเนื่องจากกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคยังเป็นการนำปัญหาไปวางไว้ที่ศาล ซึ่งอยู่ตอนปลายของกระบวนการยุติธรรม ถึงแม้จะมีการตัดสิน แต่ก็ไม่ได้มีผลในเรื่องการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเน้นอยู่ 3 ด้านหลัก คือ โฆษณา ฉลากและสัญญา ซึ่งถ้าสามารถควบคุมใน 3 ส่วนนี้ให้ถูกต้องได้ เชื่อว่าปัญหาการฟ้องร้องระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการก็จะลดลงไปได้ไม่น้อย” ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภาผู้ที่เคยใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ฟ้องร้องชนะคดีเรียกร้องค่าชดใช้เป็น "รายแรก" ของเมืองไทย หลังกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อ 23 ส.ค.2551 ในกรณีร้องสิทธิผู้บริโภคกับ "นกแอร์" บกพร่องในหน้าที่การให้บริการโดย "ไม่ใช้" เครื่องตรวจสแกนระเบิดวัตถุโลหะแก่ผู้โดยสาร กล่าวว่า "กฎหมายนี้ถือว่าเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคอย่างมาก ซึ่งช่วยลดขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินคดีให้สั้นลง แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายนี้ต้องมีการพัฒนาต่อไปทั้งทางด้านการเผยแพร่ข้อมูล ให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงกฎหมาย และทางศาลเองก็ต้องมีเจ้าพนักงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพราะถึงแม้ว่าการฟ้องคดีนั้นไม่ต้องใช้ทนาย แต่เมื่อต้องขึ้นศาลจริงๆ ตัวผู้บริโภคเองก็ต้องมีข้อมูลและต้องมีความรู้เพื่อไปต่อสู้ในชั้นศาล” นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมถึงบทเรียนการใช้กฎหมายว่า “ปัญหาจากการฟ้องโดยใช้กฎหมายดังกล่าวตามหลักการนั้นมีประโยชน์ แต่เมื่อมาใช้จริงกลับมีความยุ่งยากและล่าช้าทั้งในการฟ้องร้อง การนัดสืบคำร้อง ศาลไม่มีทนายที่มีความรู้ในการอ่านเวชระเบียน และเมื่อมีการสืบพยาน กรณีคดีผู้เสียหายทางการแพทย์ การหาพยานที่อยู่ฝั่งผู้เสียหายทำได้ยากมาก ในขณะที่อีกฝ่ายมีพยานเยอะ รวมถึงเมื่อต้องอยู่ในศาล ฝ่ายจำเลยมีทนาย มีอำนาจ มีทุกอย่าง ขณะที่โจทก์ไม่มีอะไรเลย และการนัดไกล่เกลี่ยของตัวแทนแต่ละฝั่งทำงานไม่สมดุลกัน” นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า “กฎหมายนี้มีประโยชน์ช่วยให้ผู้บริโภคฟ้องร้องดำเนินคดีได้จริง ตอนนี้มีมากกว่า 150 คดีที่อยู่ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและที่ได้ยื่นฟ้องไปแล้วกว่า 100 คดี ซึ่งทำให้เห็นว่าผู้บริโภคเข้าถึงกฎหมายได้มากขึ้น แม้จะยังมีอุปสรรคหลายประการ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเจ้าพนักงานคดียังขาดความเข้าใจต่อกฎหมาย และอยากจะให้ศาลมีกลไกในการรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมายฉบับนี้และต้องทำให้ผู้บริโภคเข้าใจมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ด้าน นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กล่าวว่า “กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคถือว่าเป็นกฎหมายที่พัฒนาการมาก แต่ก็ยังต้องมีการพัฒนาต่อไป คดีผู้บริโภคมี 2 ด้าน คือด้านที่ผู้ประกอบการฟ้องกับด้านที่ผู้บริโภคฟ้อง ซึ่งก่อนหน้านี้จะเป็นคดีที่ผู้ประกอบการฟ้องผู้บริโภคซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เชื่อว่าในอนาคตข้างหน้าผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้สินค้าและบริการต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้เพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องอาศัยความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจาก สคบ. หรือองค์กร มูลนิธิที่คอยดูแลในเรื่องนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ในศาลที่ต้องช่วยเหลือผู้บริโภคในการเขียนคำฟ้อง และตัวผู้บริโภคเองก็ต้องเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วนและมากที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- รุมค้าน อย. ปล่อยบริษัทยาต่างชาติขายยาโดยไม่ต้องตรวจคุณภาพในไทยกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมออกประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนยาสามัญ การศึกษาชีวสมมูลของยาสามัญ พ.ศ. ... ตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศอาเซียนว่า ด้วยการจัดระเบียบการขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยบริษัทยาสามารถใช้รายงานผลการศึกษาชีวสมมูลของยาสามัญที่ดำเนินการศึกษาในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์และคุณภาพมาตรฐานที่ อย.กำหนดเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องนำมาศึกษาชีวสมมูลในประเทศไทยอีก รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า “ประกาศนี้เอื้อต่อบริษัทยาสามัญของต่างชาติที่ต้องการนำเข้ายา ซึ่งขณะนี้รอคิวขึ้นทะเบียนยาอยู่เป็นจำนวนมาก หากใช้รายงานศึกษาชีวสมมูลที่บริษัทแม่ในต่างประเทศศึกษามาใช้ขึ้นทะเบียนได้ทันทีก็ทำให้บริษัทเหล่านี้ได้ประโยชน์ แม้ว่าการไม่ต้องศึกษาชีวสมมูลใหม่จะช่วยลดทอนขั้นตอนระยะเวลาการขึ้นทะเบียนยาสามัญ ทำให้ขึ้นทะเบียนยาได้รวดเร็วขึ้นแต่บริษัทยาไทยจำเป็นต้องมีการศึกษาชีวสมมูลอยู่ดี เท่ากับเป็นกลยุทธ์ในการตัดกำลังศักยภาพการผลิตยาของไทย “การออกประกาศดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นจากคณะกรรมการยา โดย อย.เห็นว่าเป็นเรื่องการปฏิบัติงานภายในของอย.จึงไม่จำเป็นต้องผ่านคณะกรรมการยาทั้งที่เรื่องดังกล่าวนี้ จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องเชิงปฏิบัติการแต่เป็นเรื่องเชิงนโยบายที่เป็นทิศทางของยาสามัญในประเทศไทยในอนาคต ซึ่งต้องเข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการยาด้วยเช่นกัน” ด้าน ภญ.ศศิธร กิตติวรวิทย์กุล ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมไทยอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนปัจจุบัน กล่าวว่า “ในร่างประกาศฯ ระบุว่า บริษัทยาสามัญข้ามชาติสามารถใช้รายงานการศึกษาชีวสมมูลจากประเทศต้นทางได้โดยไม่ต้องมาศึกษาชีวสมมูลในไทยอีก แต่ศูนย์ที่ศึกษาในต่างประเทศจะต้องมีมาตรฐาน ซึ่งอย.สามารถขอไปตรวจสอบได้หากมีข้อสงสัยแต่ไม่ใช่ทุกกรณี การให้บริษัทยาสามัญข้ามชาติที่จะนำยาสามัญเข้าประเทศจะต้องศึกษาชีวสมมูลในประเทศอีกครั้งถือว่าเป็นการตรวจสอบที่ทุกประเทศในโลกนี้ทำกัน เพื่อป้องกันไม่ให้อุตสาหกรรมยาในประเทศตาย แต่การออกประกาศฉบับนี้ของ อย.นอกจากจะเอื้อต่อบริษัทยาข้ามชาติแล้วยังเป็นการลดทอนศักยภาพอุตสาหกรรมยาและศูนย์ศึกษาชีวสมมูลในประเทศไทยอีกด้วย”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 255219 สิงหาคม 2552อันตราย! อย่าซื้อยาต้านหวัด 2009 ผ่านเน็ตนายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาขายยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทางอินเทอร์เน็ต โดยที่แพทย์ไม่ได้เป็นผู้จ่ายยา เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงทั้งจากการได้รับยาปลอม ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต รวมถึงการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมต่อร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการดื้อยา   ยาต้านไวรัสดังกล่าวจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ และมีเงื่อนไขให้ใช้เฉพาะโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล จะไม่มีจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการกระจายยาต้านไวรัส (โอเซลทามิเวียร์) ไปยังโรงพยาบาลและคลินิกที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น 25 สิงหาคม 2552เชิญร่วมทดสอบความไวเน็ต เร็วจริงหรือแค่คำโฆษณาสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) จับมือกับสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดโครงการ "สปีดเทสต์" (Speed Test) เพื่อเก็บข้อมูลเรื่องความเร็วในการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผู้ร้องเรียนเข้ามามากว่าความเร็วต่ำกว่าที่มีการโฆษณา โดยหวังใช้ผลทดสอบครั้งนี้เป็นแนวทางแก้ไขและเอาผิดผู้ให้บริการที่เอาเปรียบผู้บริโภค นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. กล่าวว่า “โครงการนี้มีชื่อว่า "โครงการสำรวจและทดสอบคุณภาพความเร็วอินเตอร์เน็ตปี 2552" โดยที่มาของโครงการนี้เนื่องจากทาง สบท. ได้รับเรื่องร้องเรียนตั้งแต่เดือนม.ค.- มิ.ย. 2552 จำนวน 622 เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตถึง 90% ซึ่งเรื่องที่ร้องเรียนเป็นเรื่องของประสิทธิภาพของความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ไม่เป็นไปตามที่ผู้ให้บริการโฆษณา จุดมุ่งหมายของการสำรวจข้อมูลนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลมาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ผู้บริโภค ซึ่งหากมีผู้ประกอบการรายได้มีข้อร้องเรียนเกินกว่า 50% ก็จะแจ้งให้ กทช.ดำเนินการต่อไป แต่เพื่อให้พัฒนาบริการไม่ใช่เพื่อปิดการให้บริการ” ผู้บริโภคสามารถเข้าทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ตัวเองใช้ผ่านเว็บไซต์ได้ที่ www.speedtest.or.th ซึ่งระบบจะทดสอบความเร็วของผู้ให้บริการรายนั้นทันที และเก็บข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจะนำผลที่ได้มาทำการประมวลและแจ้งผลให้ทราบในวันที่ 30 พ.ย. 2552 27 สิงหาคม 2552อย. ยันยังไม่พบสาหร่ายปลอมกรณีพบฟอร์เวิร์ดเมลเรื่องสาหร่ายปลอม ซึ่งสร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคว่า สาหร่ายที่นำเข้ามาจากต่างประเทศจะมีการปลอมปนพลาสติกนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ตรวจสอบการนำเข้าและการจำหน่าย พร้อมเก็บตัวอย่างสาหร่ายอบแห้งส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อวิเคราะห์หา DNA ของสิ่งมีชีวิตและพิสูจน์ว่าเป็นพลาสติกหรือไม่ โดยตรวจสอบสาหร่ายอบแห้งที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจำนวน 5 ยี่ห้อ ซึ่งจากการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูลักษณะทางกายภาพ ปรากฏว่าสามารถเห็นเซลล์สาหร่ายได้อย่างชัดเจน ซึ่งยืนยันได้ว่าเป็นสาหร่ายจริง อย. แนะผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย ระบุรายละเอียดครบถ้วน ย้ำผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านการตรวจสอบจากด่าน อย. ปลอดภัยแน่นอน สธ. รับกลับไปใช้ชื่อ “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ” ตามเดิมหลังเจรจาเครือข่ายภาคประชาชนสธ. มอบคำมั่นกับภาคประชาชน ยืนยันใช้ชื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ตามเดิม พร้อมรับพิจารณาเรื่องสัดส่วนคณะกรรมการต้องเท่าเทียม ส่วนเรื่องตั้งเป็นองค์กรอิสระให้ครม.ตัดสินใจ เร่ง รมว.สธ. ทำข้อสรุปยื่นเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป เครือข่ายภาคประชาชน ได้แก่ เครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ชมรมเพื่อนโรคไต ฯลฯ กว่า 100 คน ได้เดินทางเข้ากระทรวงสาธารณสุขเพื่อไปเรียกร้อง ติดตามและหาข้อสรุป เรื่องร่าง “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...” โดยมีนายพิเชฐ พัฒนโชติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการเจรจา โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้เข้าพบนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร้องเรียนถึงปัญหาของการเปลี่ยนแปลงแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งในการพิจารณาของกฤษฎีกามีการแก้ไขในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของกฎหมายโดยเป็นไปตามที่ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขนำเสนอ ทั้งในส่วนของชื่อร่าง พ.ร.บ. ที่ถูกเปลี่ยนเป็น ร่าง พ.ร.บ.เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ต้องการช่วยเหลือในเรื่องการดูแลชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งจะช่วยลดการฟ้องร้องระว่างแพทย์และคนไข้ได้อีกด้วย เรื่องการตั้งสำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่ควรเป็นอิสระและเรื่องสัดส่วนของคณะกรรมการตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่พบว่ามีไม่เท่าเทียมกันระหว่าง สภาวิชาชีพกับภาคประชาชน จึงต้องการให้มีการพิจารณาแก้ไข หลังจากการประชุมหารือ นายพิเชฐ ได้กล่าวสรุปเห็นด้วยว่าให้เปลี่ยนชื่อร่าง พ.ร.บ.กลับไปใช้ชื่อตามร่างเดิม ส่วนประเด็นการตั้งสำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งร่างเดิมไม่มีความชัดเจนว่าจะตั้งเป็นองค์กรในลักษณะใด ดังนั้นในการพิจารณาชั้นกฤษฎีกาจึงให้สำนักงานดังกล่าวขึ้นกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แต่เมื่อภาคประชาชนเห็นว่า สำนักงานน่าจะเป็นองค์กรอิสระหรืออยู่ภายใต้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดังนั้นจะทำข้อสรุปให้กับนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเรื่องนี้ให้ที่ประชุมครม. ทบทวนว่าจะจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะมีมติให้อยู่ภายใต้ สปสช.หรือ สบส.ถือเป็นการตัดสินใจของ ครม. ส่วนเรื่ององค์ประกอบคณะกรรมการตาม ที่ประชุมยังคงมีความเห็นที่ขัดแย้งกันแต่มีแนวโน้มที่จะใช้ข้อกำหนดตามร่างเดิม คือ ให้มีตัวแทนภาคประชาชนและตัวแทนสภาวิชาชีพฝ่ายละ 3 คน แต่เนื่องจากการประชุมหารือครั้งนี้ ไม่มีตัวแทนภายในสภาวิชาชีพอยู่ด้วย จึงมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ โดยทั้งนี้จะทำสรุปข้อเสนอต่างๆ ของที่ประชุมให้ รมว.สาธารณสุข เสนอไปยังกฤษฎีกาอีกครั้ง สู่มาตรฐาน รถโดยสารสาธารณะในงานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง อุบัติเหตุจราจร ครั้งที่ 9 ที่ไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 52 ได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “เวทีติดตามนโยบาย : สู่มาตรฐาน รถโดยสารสาธารณะ” โดยมีผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเรื่องรถโดยสารสาธารณะหลายท่านร่วมเป็นวิทยากร ผศ.ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี จากสำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำเสนอปัญหามาตรฐานตัวถังรถที่มักมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงพอ ซึ่งมักเป็นสาเหตุทำให้ผู้เสียชีวิตเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น เก้าอี้หลุด หลังคายุบ ยางรถไม่มีดอกยาง ไม่มีเข็มขัดนิรภัย ขณะที่คนขับรถโดยสารสาธารณะมักขาดคุณสมบัติและขาดการฝึกอบรมที่ดี ขณะที่สภาพถนนในหลายจุดของประเทศก็สร้างความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย ด้าน ดร.สุเมธ องกิตติกุล จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นำเสนอประเด็นเรื่องนโยบายการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะในเชิงเศรษฐศาสตร์ ในการควบคุมการให้บริการ ควบคุมราคา ซึ่งเมื่อรัฐเข้ามาดูจัดการตรงนี้อย่างจริงจังก็น่าจะช่วยพัฒนาศักยภาพการให้บริการและความปลอดภัยของรถโดยสารให้เพิ่มขึ้นได้ นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้พูดถึงปัญหาของผู้ประสบภัยซึ่งนำไปสู่การฟ้องคดีที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุทั้งการเตะถ่วงดึงเวลาจากบริษัทรถและบริษัทประกัน การไม่ได้รับค่าชดเชยที่เป็นธรรมและการที่ผู้เสียหายไม่ทราบสิทธิของตัวเอง โดยปกติผู้โดยสารจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แต่ก็จะมีการจำกัดวงเงินการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยหนักหรือทุพพลภาพที่ต้องรักษาต่อเนื่องมักถูกผลักภาระให้ไปอยู่ในระบบสุขภาพอื่นๆ หรือกรณีที่มีคู่กรณีชัดเจนก็ต้องรอการพิสูจน์ความผิดเสียก่อน ทำให้กระบวนการชดเชยค่าเสียหายล่าช้า หากเสียชีวิตก็ได้รับเงินเพียง 1 แสนบาท ซึ่งเป็นอัตราต่ำมากในปัจจุบัน ทางออกที่เห็นว่าเหมาะสม คือการผลักดัน พ.ร.บ.กองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. … ขึ้นมาทดแทน พ.ร.บ. ฉบับเดิม ซึ่งจะช่วยเรื่องการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนตามจริง ด้วยขั้นตอนที่รวดเร็วและเป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ลดภาระประชาชน และลดภาระความยุ่งยากในการเข้าถึงสิทธิของผู้ประสบภัย "ปฏิญญาเชียงราย" มาตรการคุ้มครองสิทธิด้านโทรคมนาคมสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) สภาองค์กรผู้บริโภคอาเซียน (Southeast Asian Consumer Council) สหพันธ์ผู้บริโภคสากล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดการประชุมเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมแห่งภูมิภาคอาเซียนขึ้น เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ณ โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย ถือเป็นเวทีการประชุมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมของกลุ่มอาเซียนที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเป็นเวทีคู่ขนานกับการประชุมสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ การประชุมดังกล่าว มีผู้แทนจากองค์กรเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจาก 8 ประเทศ ร่วมรายงานสถานการณ์และแบ่งปันประสบการณ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจโทรคมนาคม ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ สเปน และไทย โดยสถานการณ์ปัญหาที่สำคัญของโทรคมนาคมที่กระทบต่อผู้บริโภคคือ ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง ระบบการเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่เที่ยงตรง การโทร.และส่งข้อความรบกวน การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว การไม่รู้เท่าทันกฎหมาย ความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงบริการ และผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการใช้โทรคมนาคม เป็นต้น ผลจากการประชุมทำให้ได้ร่างปฏิญญาเชียงรายที่มีเนื้อสำคัญดังนี้ (1) ทำงานอย่างแข็งขันและต่อเนื่องร่วมกับภาคีในกิจการโทรคมนาคม (2) กำหนดมาตรฐานพื้นฐานว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (3) ตระหนักว่ากิจการโทรคมนาคมเป็นบริการจำเป็นพื้นฐาน (4) ตระหนักว่าการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นพิมพ์เขียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้แนวทาง "คนเป็นศูนย์กลาง"(5) จัดตั้งหน่วยงานกิจการโทรคมนาคมในภูมิภาคโดยใช้กลไกที่จัดตั้งขึ้นแล้วเป็นหลัก (6) จัดประชุมทุกปี โดยจัดทำประเด็นรณรงค์ร่วมกันทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบของการใช้บริการโทรคมนาคมต่อสุขภาพ หรือการบริโภคอย่างยั่งยืน (7) ดำเนินการวิจัย/สำรวจเปรียบเทียบระหว่างประเทศในกิจการโทรคมนาคม โดยมีหัวข้อหลักคือการเข้าถึงเท่าเทียม ระบบการจ่ายเงินล่วงหน้า (Pre-paid) ระบบการเรียกเก็บค่าบริการที่เที่ยงตรง และความปลอดภัย (8) สร้างเว็บไซต์เพื่อการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (9) เรียกร้องให้รัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียนเข้าร่วมและสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรปกป้องผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (10) ผลักดันให้บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมใช้หลักบริการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 102 กระแสในประเทศ

ประมลเหตุการณ์เดือนกรกฎาคม 255215 กรกฎาคม 2552จุดจบ “ลวดดัดฟันแฟชั่น” สคบ. สั่งห้ามขายแบบเด็ดขาด “ลวดดัดฟันแฟชั่น” หลังจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ คคบ. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 36 ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ออกคำสั่งห้ามจำหน่ายลวดดัดฟันแฟชั่นเป็นการถาวรแล้ว พ่อค้า – แม้ค้าคนไหนยังฝืนขายลวดดัดฟันแฟชั่นถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย แจ้งจับได้ทันที มาตรา 36 ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ระบุว่าหากพบสินค้าใดต้องสงสัยว่าเป็นอันตราย คณะกรรมการผู้บริโภคสามารถสั่งให้ตรวจพิสูจน์สินค้านั้นได้ ซึ่งในกรณีของลวดดัดฟันแฟชั่นไม่มีผู้ประกอบการรายใดขอทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า ซึ่งคณะกรรมการผู้บริโภคพิจารณาแล้วสินค้าดังกล่าวเป็นอันตราย จากคำยืนยันของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์บริการ หลังจากตรวจพบสารปนเปื้อนโลหะหนัก ทั้งตะกั่ว พลวง ซีลีเนียม โครเมียม และสารหนู รวมทั้งยังมีข้อมูลจาก อย.ว่าวัสดุที่ใช้ทำลวดดัดฟันไม่มีมาตรฐาน และลักษณะการนำมาคล้องที่ฟันด้วยลวดนั้นไม่แข็งแรงมีโอกาสล่วงหลุดลงคอจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 17 กรกฎาคม 2552ทลายโรงงาน “ซีอิ้วปลอม” ส่งขายตลาดนัดกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี หรือ ปศท. ได้ออกกวาดล้างโรงงานผลิตซีอิ้วปลอมและน้ำปลาปลอม ซึ่งสามารถตรวจพบแหล่งผลิตได้ถึง 3 หลาย ในเขตทวีวัฒนาและบางขุนเทียน โดยเจ้าหน้าที่สามารถยึดได้ทั้งอุปกรณ์การผลิตและบรรจุขวดซีอิ้วขาว พร้อมกับซีอิ้วขาวปลอม น้ำปลาปลอม ฝาขวด ขวดเปล่า ฉลากปลอม รวมทั้งสิ้นกว่า 190,000 ชิ้น ซึ่งรวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 9 ล้านบาทการเข้าตรวจค้นจับกุมครั้งนี้เนื่องจากมีตัวแทนบริษัทหยั่นหว่อหยุ่น จำกัด เข้าแจ้งความว่า สินค้าของบริษัทถูกปลอมแปลงออกจำหน่ายตามตลาดนัดและพื้นที่ทั่วไปในราคาถูก สำหรับสินค้าที่ตรวจยึดมานั้นพบว่ามีการวางขายตามตลาดนัดในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสินค้าปลอมเหล่านี้ไม่ได้คุณภาพ มีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ใช้วิธีการใส่เกลือ แต่งสี และปรุงแต่งรสขึ้นมา จากนั้นจะนำมากรอกใส่ขวดขาย หากซื้อมารับประทานอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย 23 กรกฎาคม 2552ชัวร์หรือมั่วนิ่ม? “ไข่ปลอมจากจีน” สร้างความตื่นตกใจให้กับผู้บริโภคไม่น้อย กับข่าวที่มีการพบไข่ไก่ปลอมวางจำหน่ายที่ประเทศจีน ซึ่งแม้จะมีการตรวจสอบยืนยันชัดเจนแล้วว่ายังไม่มีไข่ไก่ปลอมที่เป็นข่าววางขายในประเทศไทย แต่ อย. รับประกันมีการตรวจสอบเรื่องการลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนอย่างเคร่งครัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ยืนยันยังไม่มีการตรวจพบไข่ไก่ปลอมวางจำหน่ายในประเทศไทย เพียงแต่เป็นกระแสจากการเผยแพร่ภาพของไข่ปลอมส่งต่อกันทางอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.อาหารระบุไว้ชัดเจนว่าหากมีการปลอมอาหารและจำหน่ายเพื่อบริโภค ให้ถือเป็นอาหารปลอม มีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งในเนื้อข่าวจากจีนระบุว่าไข่ปลอมใช่เจลาตินเป็นส่วนผสมในการทำไข่ขาว ส่วนไข่แดง จะถูกย้อมสีด้วยเกลือหรือเอสเตอร์ของกรดทาร์ทาริค เอซิด ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมถ่ายรูปและฟอกหนัง ขณะที่เปลือกไข่ทำจาก แคลเซียม คาร์บอเนต และพาราฟินแวกซ์ผสมกับน้ำ ซึ่งนอกจากจะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมือนไข่จริงแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย 30 กรกฎาคม 2552โสมสกัด “เต็มพลัง” ห้ามดื่ม-ห้ามขาย ไม่มี อย.อย. ลงพื้นที่ภาคอีสาน จับกุมแหล่งผลิตเครื่องดื่มชื่อ “เต็มพลัง” ที่มีลักษณะเหมือนน้ำสมุนไพรแต่กลับมีรสชาติคล้ายผสมแอลกอฮอลล์ โดยบรรจุอยู่ในขวดขนาดเท่าขวดน้ำปลา ปิดปากขวดด้วยฝาเบียร์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว ฉลากที่ขวดเขียนว่าเป็นสินค้าโอท็อปแต่ไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ   เมื่อนำมาตรวจสอบพบสารไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ที่มีฤทธิ์ข้างเคียงกระตุ้นให้เจริญอาหาร โดยเครื่องดื่มดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตผลิตยา และไม่มีการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา แต่อวดอ้างในคำบรรยายสรรพคุณว่าให้พลังงานสูง แสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตมีเจตนาผลิตเป็นยา ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา ผู้ใดผลิตมีโทษทางกฎหมาย เตือนร้านค้าห้างวางจำหน่าย เพราะมีความผิดด้วยเช่นกัน โทรคมนาคมไทยยังมีปัญหา ต้องร่วมกันร้องเรียนเพื่อการพัฒนาปัจจุบันปัญหาด้านโทรคมนาคม ถือเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนไม่พอใจให้กับผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โทรศัพท์มือถือ บัตรเติมเงิน sms สัญญาณโทรศัพท์ รวมทั้งเรื่องของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งหน่วยงานที่คอยดูแลแก้ปัญหาในเรื่องนี้ให้กับเราก็คือ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) องค์กรอิสระภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. ได้เปิดเผยตัวเลขเรื่องร้องเรียนที่มีเข้ามาในหน่วยบริการประชาชนในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 662 เรื่อง มากกว่าปี 2551 ทั้งปีที่มีการร้องเรียน 334 เรื่อง แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคตระหนักในสิทธิของตัวเองมากขึ้น ซึ่งเรื่องที่ถูกร้องเรียนเข้ามามากที่สุด คือเรื่องคุณภาพของการให้บริการ เช่น ความเร็วอินเตอร์เน็ตต่ำกว่าที่โฆษณา ใช้แล้วสัญญาณหลุดบ่อย และเรื่องปัญหาโทรศัพท์โทรข้ามเครือข่ายติดยาก รวมทั้งเรื่องการแก้ไขปัญหาล่าช้า จำนวน 146 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 22.1 ปัญหาอื่นๆ ที่ถูกร้องเรียนรองลงมามีดังนี้ การคิดค่าบริการผิดพลาด จำนวน 137 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 20.7 การเรียกเก็บเงิน 107 บาท ค่าต่อคู่สายโทรศัพท์หลังถูกตัดสัญญาณ จำนวน 78 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.8 และการกำหนดระยะเวลาใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินล่วงหน้า จำนวน 75 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.3 ซึ่งในจำนวนเรื่องร้องเรียน 662 เรื่อง ทาง สบท. ได้ดำเนินการแก้ไขลุล่วงไปแล้ว 272 เรื่อง สำหรับเรื่องที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องในระดับนโยบาย เช่น การคิดค่าบริการผิดพลาด การกำหนดระยะเวลาใช้โทรศัพท์แบบเติมเงินล่วงหน้า หรือแม้แต่เรื่องความปลอดภัยจากเสารับ-ส่งสัญญาณ ซึ่งต้องมีการหารือเพื่อวางแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อไป หวังว่าการใส่ใจ เข้าใจ และตระหนักในสิทธิของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น คงมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น  ภาคประชาชน ค้านพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยรถยนต์ แนะรัฐฯ ตั้งกองทุน-ยกเลิกประกันเอกชนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาคมคนพิการ และมูลนิธิเมาไม่ขับ เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายผู้ประสบภัยจากรถ พร้อมแนะให้ตั้งกองทุนสินไหมผู้ประสบภัยจากรถแทน เพื่อแก้ปัญหาการบริหารงานซับซ้อน และลดภาระให้กับประชาชน   ตามที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพิ่มความคุ้มครองหลักในส่วนค่าสินไหม กรณีได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร จากเดิม 15,000 บาท เป็น 35,000 บาท และกรณีเสียชีวิตก็เพิ่มค่าสินไหมจาก 1 แสนบาท เป็น 2 แสนบาท รวมถึงเพิ่มค่าชดเชยรายวันให้วันละ 200 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 20 วันนั้น แม้มาตรการดังกล่าวดูเหมือนจะเอาใจใส่ผู้ประสบภัยรถยนต์ แต่ในความเป็นจริงเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะแก้ปัญหาพื้นฐานของระบบ ซึ่งขาดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย   จากการสำรวจผู้ประสบภัยรถยนต์ ใน 48 จังหวัดพบว่า ผู้ประสบภัยรถยนต์มากกว่าร้อยละ 55 ไม่ได้ใช้สิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ มีเพียงร้อยละ 42 ที่ใช้สิทธิ โดยผู้ประสบภัยเกือบทั้งหมดประสบปัญหาเมื่อใช้สิทธิ อาทิ การเบิกจ่ายยุ่งยากใช้เวลานาน บริษัทประกันบ่ายเบี่ยงไม่จ่ายค่าทดแทน ทำให้ผู้ประสบภัยต้องใช้สิทธิบัตรทองและประกันสังคมควบคู่ไปด้วยแทน ทั้งนี้ ในปี 2551 บริษัทประกันภัยเอกชน ใช้เงินเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการมากถึง 4,785 ล้านบาท หรือร้อยละ 47 ซึ่งมากกว่าการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่มีเพียง 4,534 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการจ่ายค่าตอบแทนผู้ขายประกัน หรือส่งเสริมการขายที่สูงถึงร้อยละ 45-50 ของค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ทั้งที่เป็นการประกันแบบบังคับ และจากการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพของ คปภ. ดังที่กล่าวมา ทำให้กลุ่มประชาชนรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขปี พ.ศ. 2551 โดยให้ประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุ รับการรักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพของตนเอง เพราะประชาชนทุกคนได้รับการคุ้มครองด้วยระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แล้ว และให้ออกกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อจัดตั้งกองทุนสินไหมผู้ประสบภัยจากรถ ที่คุ้มครองกรณีทุพพลภาพและเสียชีวิต โดยใช้งบประมาณในการบริหารกองทุนไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งจะทำให้ประชาชนจ่ายเบี้ยประกันตามกฎหมายจัดตั้งกองทุนฉบับใหม่ประมาณ 200 บาทสำหรับรถยนต์ และ 100 บาทสำหรับรถจักรยานยนต์ เป็นการช่วยลดภาระของประชาชน และทำให้ระบบโดยรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากลดความซ้ำซ้อนของกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ และกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 101 กระแสในประเทศ

กระแสในประเทศ ฉบับที่ 1012 มิถุนายน 2552 เรดบูลโคล่าพบโคเคน ขายต่างประเทศไทยคนละสูตร นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงข่าวสำนักงานความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงอาหาร การเกษตร และคุ้มครองผู้บริโภค ประเทศเยอรมนี ตรวจพบร่องรอยของสารโคเคนในเครื่องดื่มเรดบูลโคล่าและไต้หวันอายัดเครื่องดื่ม Red Bull Energy Drink เพราะตรวจพบร่องรอยของสารโคเคนเจือปนอยู่เล็กน้อยหลังจากให้กองควบคุมอาหารเก็บตัวอย่างสินค้าเครื่องดื่มกระทิงแดงโคล่าที่ผลิตในประเทศไทยไปตรวจสอบอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม เรดบูลโคล่าในเยอรมนีถูกพัฒนาสูตรโดยบริษัท Red Bull GmbH ประเทศออสเตรีย และผลิตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับเครื่องดื่ม Red Bull Energy Drink ที่จำหน่ายในประเทศไต้หวัน ผลิตและส่งออกจากบริษัทในออสเตรีย ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผลการตรวจวิเคราะห์ในรุ่นการผลิตเดียวกันของประเทศออสเตรียไม่พบโคเคน ซึ่งจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป "กระทิงแดงโคล่าที่จำหน่ายในประเทศไทย เป็นคนละสูตรกับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในต่างประเทศ ไม่ได้ใช้แหล่งการผลิตเดียวกัน ขอให้ประชาชนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนก อย.ได้เฝ้าระวังเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ให้มีการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกด้วย ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการดำเนินงานของ อย. เมื่อพบผลิตภัณฑ์ใดมีปัญหาจะเร่งตรวจเฝ้าระวังดำเนินการและชี้แจงให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลโดยเร็ว”   15 มิ.ย. 52ห้ามขาย-ห้ามทาน น้ำหวาน “แคนดี้ ไซรับ” นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้รับข้อมูลว่าพบร้านค้าบริเวณหน้าโรงเรียนใน จ.ราชบุรี มีการนำขนมที่มีชื่อว่า “แคนดี้ ไซรับ” ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำหวานบรรจุในขวดสเปรย์ เวลารับประทานจะใช้วิธีการฉีดพ่นเข้าปาก มาจำหน่ายให้กับเด็กนักเรียน ทาง อย. จึงรีบออกมาแจ้งให้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภท “น้ำหวานในขวดสเปรย์” ไม่มีการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้า และเตือนให้เด็กๆ อย่าซื้อมารับประทานเป็นอันขาด อย. ได้ประสานต่อไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี พบว่า เลขเอกสารบนฉลากอาหารดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม ไม่ใช้ของหวานในขวดสเปรย์ นอกจากนี้ยังไม่พบข้อมูลผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อย. ฝากให้สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดช่วยตรวจตาและเฝ้าระวังการผลิต นำเข้า ทั้งผลิตภัณฑ์แคนดี้ ไซรับ และผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยและอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 29 มิ.ย. 52เลิกบุหรี่อาจถึงตาย! อย่าใช้ “นิโคตินเจล”กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกโรงเตือนผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ ว่าอย่าซื้อ “นิโคตินเจล” มาใช้เด็ดขาด เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก อย. ผู้ที่ใช้อาจได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต การพิสูจน์ทางการแพทย์ระบุว่า การใช้นิโคตินทดแทนมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงในการเลิกบุหรี่ ซึ่งในต่างประเทศมีอยู่ด้วยกัน 6 วิธี คือ หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคติน, แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน, นิโคตินชนิดสูบพ่นทางปาก, นิโคตินชนิดสเปรย์พ่นจมูก, ยาอมนิโคติน และนิโคตินชนิดเม็ดอมใต้ลิ้น แต่สำหรับในเมืองไทยได้มีการขึ้นทะเบียนไว้เพียง 3 รูปแบบ คือ หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคติน, แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน และยาอมนิโคติน โดยผลิตภัณฑ์เพื่อการเลิกบุหรี่เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเสียก่อน สำหรับ “นิโคตินเจล” ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน เนื่องจากยังต้องตรวจสอบเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยจาก อย. เพราะการใช้ยานิโคตินทดแทนที่ไม่ได้มาตรฐานอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นแรง และทำให้แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้หายช้า ผู้ที่มีประวัติการป่วยเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และผู้เป็นโรคแผลในทางเดินอาหาร ต้องพิจารณาให้ดีในการใช้ยานิโคตินเพื่อเลิกบุหรี่ ใครที่ต้องการเลิกบุหรี่และอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม โทร.ไปได้ที่ “สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600” 29 มิ.ย. 52ห้ามหักเงินในบัญชีใช้หนี้บัตรเครดิตนายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เผยว่า สคบ.เตรียมออกประกาศห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์หักบัญชีเงินฝากของผู้บริโภคเพื่อนำมาชำระหนี้บัตรเครดิต หากยังเป็นกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือยังไม่มี ข้อยุติใดๆ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย สคบ.เนื่องจากธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ทั้งนี้ สคบ.ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมากว่า ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีที่ธนาคารพาณิชย์หักเงินในบัญชีของผู้ฝากเงินเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาบัตรเครดิตโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม “การที่สถาบันการเงินกำหนดข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตไว้ในสัญญาและกำหนดให้ผู้ถือบัตรทำหนังสือยินยอมให้ธนาคารมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่ผู้ถือบัตรมีอยู่กับธนาคารมาชำระหนี้บัตรเครดิตในทันที ถือเป็นข้อสัญญาที่มีผลให้คู่สัญญาต้องรับภาระเกินกว่าที่บุคคลธรรมดาจะสามารถคาดหมายได้ตามปกติ เพราะการไม่ชำระหนี้บัตรเครดิตอาจเกิดได้หลายกรณี โดยที่เจ้าของบัตรไม่มีเจตนาหรือจงใจ เช่น กรณีบัตรสูญหาย บัตรถูกลักขโมย ซึ่งยังไม่ได้พิสูจน์ความรับผิด นอกจากนี้ สคบ.ยังเห็นว่าเป็นการใช้ข้อสัญญาที่เลี่ยงกระบวนการยุติธรรมโดยไม่ไปใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลเพื่อพิสูจน์ความผิดให้เสร็จสิ้นเสียก่อน” เทสโก้ แพ้คดีเรียก 1000 ล้าน ศาลอาญาสั่งยกฟ้องคดีที่ เทสโก้ โลตัส ฟ้อง ว่าที่ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในกรณีหมิ่นประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและรายได้ โดยทาง เทสโก้ โลตัส ได้เรียกร้องค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินถึงหนึ่งพันล้านบาท ซึ่งศาลสั่งยกฟ้องด้วยเหตุผลว่าการติชมเป็นการทำหน้าที่โดยสุจริตที่มาของการฟ้องร้องเกิดขึ้นเมื่อ ว่าที่ร.อ.จิตร์ ให้สัมภาษณ์ในหัวข้อข่าว “ค้ากำไรบนซากโชวห่วย เทสโก้สูบไทย 37% จากยอดขายทั่วโลก” ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการรายวัน” ฉบับวันที่ 1 ต.ค.50 โดยเนื้อข่าวระบุว่า เทสโก้ โลตัส ดูดเงินจากผู้บริโภคชาวไทยส่งกลับไปยังบริษัทแม่ที่อังกฤษหลายหมื่นล้าน ทำให้เทสโก้ฯไต่ทะยานขึ้นเป็นบริษัทร่ำรวยที่สุดอันดับ 4 ของโลก มียอดขายรวมทั่วโลก 79,978 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมาจากไทยมากถึง 37% สวนทางกับผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยของไทย ที่ล้มตายอย่างรวดเร็วเหลือรอดไม่ถึงครึ่ง โดยที่ต่อมา ทาง “ผู้จัดการรายวัน” ได้แก้ไขตัวเลขยอดรายได้ของเทสโก้ฯในไทย จาก 37% เป็น 3.7% ตามที่ผู้บริหารของเทสโก้ฯแจ้งมาในภายหลัง ซึ่งทาง เทสโก้ฯ ไม่ได้ฟ้องหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยในคดี แต่ได้ฟ้อง ว่าที่ร.อ.จิตร์ โดยเรียกค่าเสียหายพันล้านบาท และฟ้องคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คือนายกมล กมลตระกูล นักสิทธิมนุษยชน และนางนงนาถ ห่านวิไล บรรณาธิการน.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ เรียกค่าเสียหายรายละ100 ล้าน ซึ่งเผยแพร่เนื้อหาว่า เทสโก้ฯ ขยายกิจการจนส่งผลกระทบต่อร้านค้าปลีกรายย่อยในชุมชนล่มสลาย สำหรับคำพิพากษาของศาลอาญา สรุปได้ว่า วันที่ 16 มิ.ย. 52 ความอาญาระหว่างบริษัทเอก–ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด เป็นโจทก์ฟ้อง ว่าที่ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ เป็นจำเลยฐานความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ละเมิด เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำบรรยายของว่าที่ร.อ.จิตร์ ที่พูดถึงปัญหาค้าปลีกในประเทศไทย มีฐานข้อมูล ในฐานะหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับจำเลยมาก่อน ส่วนเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์เลี่ยงภาษี เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งประชาชนสามารถทำได้ ส่วนคำพูดที่ว่า โจทก์ใช้เล่ห์เหลี่ยมในการขายสินค้าโดยวิธีต่ำกว่าทุน จึงมิใช่จำเลยกล่าวอย่างเลื่อนลอย ไม่มีมูลความจริง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ ส่วนที่โจทก์กล่าวว่า “โลตัสเปรต” เป็นเพียงการเรียกความสนใจของผู้ฟัง เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สมควรตามวิสัยสันดานของแต่ละคน เป็นเพียงการใช้ถ้อยคำเกินเลยไป เมื่อฟังว่า คำบรรยายของจำเลยในงานสัมมนาไม่เป็นความผิด ในส่วนข้อความติชมนั้น ไม่ว่าจะให้สัมภาษณ์ในฐานะกรรมาธิการพาณิชย์ หรือไม่ก็ตาม จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยอ้างข้อมูลเท็จ อันจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจโจทก์ผิด คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ส่วนในคดีแพ่ง เมื่อจำเลยมิได้ทำผิดตามฟ้อง โจทก์จึงไม่เสียหาย การที่โจทก์ขอคิดค่าเสียหายโดยอ้างว่าทำให้ยอดขายสินค้าลดลงมา 1,000 ล้านบาทนั้น เป็นว่าส่อแสดงเจตนาเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต พิพากษายกฟ้อง ยกเลิกบัตรทอง ใช้แค่บัตรประชาชน!นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศเตรียมยกเลิก “บัตรทอง” ทั่วประเทศปลายเดือน ก.ย. นี้ โดยจะเปลี่ยนมาใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวเพื่อความสะดวก โดยจะเริ่มจากการใช้รักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิ พร้อมเตรียมให้ 8 จังหวัดนำร่องใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกโรงพยาบาลในจังหวัด เพื่อศึกษาข้อดี-ข้อเสียก่อนปรับใช้ทั่วประเทศ “กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการในการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรทองมาแล้ว 37 จังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ใน 13 จังหวัด และ 1 มิ.ย. อีก 24 จังหวัด และในเดือน ต.ค.นี้ จะนำร่องใน 8 จังหวัด ให้ใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ภายในจังหวัดนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิประกันตนที่ระบุในแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ได้ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดูความพร้อมของแต่ละโรงพยาบาลและพิจารณางบประมาณ ก่อนดำเนินการใช้ให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 255220 พฤษภาคม 2552หน่อไม้ปี๊บยุคใหม่ อย.รุกเข้มเรื่องความปลอดภัยอย. ออกมาตรการป้องกันปัญหาหน่อไม้ปี๊บไม่ได้มาตรฐาน โดยขอความร่วมมือไปยังส่วนภูมิภาค ให้เร่งกวดขันดูแลควบคู่ไปกับการอบรมให้ความรู้ในด้านเทคโนโลยีการผลิต เนื่องจากหวั่นซ้ำรอยปี 49 ที่มีชาวจังหวัดน่านกว่า 200 ราย ป่วยด้วยอาการอาหารเป็นพิษ “โบทูลิซึม” จากการบริโภคหน่อไม้ปี๊บที่ใช้วิธีการผลิตไม่ถูกต้อง ซึ่งในขั้นแรกนี้จะคัดเลือกจังหวัดที่มีผู้ผลิตหน่อไม้ปี๊บเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ชัยภูมิ เชียงราย และจันทบุรี เป็นจังหวัดนำร่อง วิธีเลือกซื้อหน่อไม้ปี๊บที่ได้มาตรฐานง่ายๆ ด้วยตัวเอง คือ ซื้อหน่อไม้ปี๊บที่แสดงฉลากถูกต้อง โดยต้องมีชื่อที่อยู่ผู้ผลิต มีเลข อย. 13 หลัก แสดงส่วนประกอบ ระบุวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ นอกจากนี้ผู้บริโภคควรนำหน่อไม้ปี๊บมาต้มในน้ำเดือดประมาณ 20 – 30 นาที ก่อนบริโภคเพื่อความปลอดภัย พร้อมทั้งยังช่วยลดความเปรี้ยวของหน่อไม้ลงได้ด้วย22 พฤษภาคม 2552ระวัง มิจฉาชีพออกหลอกลวงเงินแบบขายตรง หาสมาชิกร่วมลงทุนกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพโฆษณาชักชวนประชาชนให้นำเงินมาลงทุนเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และเก็งกำไรจากราคาน้ำมันระหว่างประเทศ ด้วยการชักชวนให้สมัครสมาชิกแอบอ้างการขายสินค้าต่างๆ บังหน้า การหลอกลวงประชาชนในลักษณะดังกล่าว ได้แพร่หลายออกไปในจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้น จึงขอเตือนว่า พฤติกรรมเหล่านี้เข้าข่ายการระดมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและเข้าข่ายกระทําความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 จึงแจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อกลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคลดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจลักษณะชักชวนประชาชนให้สมัครสมาชิก และร่วมลงทุนซื้อขายสินค้าทางเว็บไซต์ โดยอ้างว่าเป็นบริษัทจากต่างประเทศ และผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนสูงหากแนะนำคนมาสมัครเป็นสมาชิกและซื้อสินค้าทุกเดือน สมาชิกผู้แนะนำจะได้รับเงินค่าแนะนำสมาชิกในอัตราที่สูงด้วยเช่นกัน ข้อสังเกตคือ ธุรกิจประเภทนี้จะไม่ได้มุ่งเน้นการขายสินค้า แต่มีลักษณะเป็นการระดมเงินจากประชาชน และจัดคิวเงินโดยนำเงินของสมาชิกรายใหม่มาจ่ายหมุนเวียนให้กับสมาชิกรายเก่าต่อกันไปเรื่อยๆ เมื่อไม่สามารถหาคนมาเป็นสมาชิกเพิ่มหรือหาคนมาร่วมลงทุนเพิ่ม จะไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนได้อีก จากนั้นจะปิดบริษัทหนีไป ซึ่งอาจทำให้ประชาชนที่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ได้รับความเสียหายจากการนำเงินไปลงทุน และสมัครสมาชิกกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวหากพบพฤติกรรมเหล่านี้ ให้แจ้งที่กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ โทร. 0-2273-9021 ต่อ 2627-35 หรือ ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ โทร. 1359 หรือ ตู้ปณ.1359 ปณจ.บางรัก กรุงเทพฯ 10500 หรือ www.mof.go.th/fincrime2004 สํานักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ โทร 02-831-9888 หรือ www.dsi.go.th กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี สํานักงานตํารวจแห่งชาติ โทร. 0-2237-1199 โทรสาร 0-2234-6806 หรือ www.ecotecpolice.com สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โทร.1166 หรือ www.ocpb.go.th สํานักงานสรรพากรพื้นที่จังหวัดในท้องที่เกิดเหตุ และสถานีตํารวจท้องที่เกิดเหตุทุกแห่งเครื่องทำน้ำเย็นใน ร.ร. กทม.ต้องปลอดตะกั่วกทม.ห่วงใยอนามัยนักเรียน เร่งตรวจเครื่องทำน้ำเย็นและคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนต้อนรับเปิดเทอม โดยจัดดำเนินการภายใต้โครงการ “โรงเรียนกรุงเทพมหานคร น้ำดื่มปลอดสารตะกั่ว” ซึ่งจะเดินหน้าตรวจดูแลและป้องกันสารตะกั่วปนเปื้อนในน้ำดื่มจากเครื่องทำน้ำเย็นตามโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกทม.จำนวน 435 แห่ง การปนเปื้อนของสารตะกั่วในเครื่องทำน้ำเย็น อาจเกิดจากการบัดกรีด้วยตะกั่ว ตามจุดหรือบริเวณที่มีโอกาสสัมผัสน้ำดื่ม เช่น บริเวณมุมขอบภายในของเครื่อง การเชื่อมถังน้ำดื่ม การขึ้นรูปเครื่องทำน้ำเย็นส่วนที่เก็บน้ำ การเชื่อมลูกลอยกับก้านส่วนที่สัมผัสกับน้ำดื่ม หากพบเครื่องลักษณะดังกล่าวต้องรีบเปลี่ยนทันทีเพื่อความปลอดภัยของนักเรียน  27 พฤษภาคม 2552สเต็มเซลล์ไม่ผ่าน อย. ผิดกฎหมาย ใครใช้ ใครผลิต มีสิทธิติดคุก!น.พ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกแถลงข่าวเตือนผู้บริโภค ว่าอย่าหลงเชื่อคำโฆษณา หรือคำอวดอ้างสรรพคุณเรื่องการรักษาโรคของสเต็มเซลล์และผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์ เนื่องจากเป็นยาตามกฎหมายการผลิตและนำเข้าต้องได้รับการอนุญาตจาก อย.จากกรณีที่มีข่าวว่าโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนบางแห่ง เปิดให้บริการรักษาโรคด้วยสเต็มเซลล์ โดยที่ไม่ได้ผ่านการรับรองจาก อย. รวมทั้งความเข้าใจที่ผิดในกรณีที่ว่า หากใช้สเต็มเซลล์โดยแพทย์ที่รักษาเฉพาะรายไม่จำเป็นต้องผ่าน อย. นั้น ไม่เป็นความจริง น.พ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี กล่าวชี้แจงว่า สเต็มเซลล์และผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์ทุกชนิด ทั้งเพื่อการรักษา หรือป้องกันโรคของมนุษย์หรือมุ่งหมายให้เกิดผลแก่สุขภาพใดๆ จัดเป็นยา ตามพ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 จะต้องขออนุญาตจาก อย. ก่อนทั้งสิ้นรวมทั้งใช้เพื่อการศึกษาวิจัย เช่น การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคมะเร็ง อัมพาต ต้องมีหนังสือแสดงความรับรอง ผ่านความเห็นชอบให้ทำการวิจัยจากสถาบันที่เกี่ยวข้องนั้นๆ หากมีผู้ใดทำการผลิต ขาย หรือนำเข้าสเต็มเซลล์และผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์โดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่ามีความผิด ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และหากผลิตภัณฑ์ไมได้รับการขออนุญาตจาก อย. ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ“อย.ควอลิตี้ อะวอร์ด” รางวัลสำหรับผลิตภัณฑ์ปลอดภัยกระทรวงสาธารณสุข นำโดยรัฐมนตรีว่าการประจำกระทรวง นายวิทยา แก้วภราดัย จัดงานมอบรางวัลให้กับผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการได้อย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการผลิตภัณฑ์และบริการ มีมาตรฐานที่ดีในเรื่องความปลอดภัย รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยได้ตั้งชื่อผลรางวัลนี้ว่า “อย.ควอลิตี้ อะวอร์ด ประจำปี 2552” หรือ “อย.Quality Award 2009” ภายใต้คำขวัญที่ว่า “คุณภาพ ปลอดภัย ใส่ใจสังคม” การมอบรางวัลในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีแรก แต่จากนี้ไปก็จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งในครั้งนี้มีผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 22 รางวัล จาก 5 ประเภทผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งรายชื่อของ 22 ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล มีดังต่อไปนี้ 1.บริษัท โชติวัฒน์อุตสาห-กรรมการผลิต จำกัด 2.บริษัท เทพผดุงพร มะพร้าว จำกัด 3.บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) 4.บริษัท ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) 5.บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด 6.บริษัท สุรพลนิชิเรฟู้ดส์ จำกัด 7.บริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 8.บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด 9.บริษัท ไบโอแลป จำกัด 10.บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ จำกัด 11.บริษัท โรเดีย ไทย อินดัสตรีส์ จำกัด 12.บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด 13.บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ แอนด์ เฮลท์แคร์ จำกัด 14.บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 15.บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด 16.บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด 17.บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรี่ จำกัด 18.บริษัท คาวาซูมิ ลาบอราทอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด 19.บริษัท สยามเซมเพอร์เมด จำกัด 20.บริษัท ไบรด์ บิวตี้ แคร์ คอสเมติก จำกัด 21.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรี และ 22.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามัคคีโพธิ์ประทับช้างฉลาดซื้อชวนมากินเปลี่ยนโลก วารสารฉลาดซื้อ จัดกิจกรรมร่วมรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ภายใต้สโลแกน “กินเปลี่ยนโลก” ร่วมกับกลุ่มกิจกรรม มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิสุขภาพไทย โดยใช้ชื่องานครั้งนี้ว่า “สินค้าปลอดสาร อาหารเปลี่ยนโลก..กับคนฉลาดซื้อ” โดยนำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการช่วยแนะนำผู้บริโภคให้รู้จักการกินเพื่อสุขภาพด้วยๆ วิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งงานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 52 บริเวณลานที่ว่างใต้สถานีรถไฟฟ้า พญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิงานนี้ได้รับเกียรติจาก นายชัยภัทร เจริญพร ผอ.เขตราชเทวี เป็นประธานเปิดงาน ก่อนจะต่อด้วยกิจกรรมสาธิตการทำข้าวกล้องงอกแบบง่ายๆ ทำได้เองที่บ้าน เรียกว่าทั้งสะอาดและได้คุณค่า ต่อจากนั้นก็เป็นการทำครีมพอกหน้าจากมะขามเปียก ซึ่งทั้งสองกิจกรรมได้รับความสนใจจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาในบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก ก่อนจะปิดท้ายด้วยการแสดงสนุกๆ จากคณะนักแสดงละครคนหน้าขาว แถมเมื่อจบงานยังมีการแจกพืชผักสวนครัวหลากหลายพันธุ์แบบยกกระถางให้กับคนที่มาร่วมงาน เรียกว่ามางานนี้ได้ทั้งความรู้และยังได้ของติดไม้ติดมือกับบ้านไปด้วยคุณ กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการ มูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงกิจกรรม “กินเปลี่ยนโลก” ว่า เป็นการร่วมรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินของคนเมืองในปัจจุบัน โดยจะเน้นให้เลือกรับประทานอาหารท้องถิ่นตามฤดูกาล เลิกเดินเข้าตลาดสดใกล้บ้านแทนการเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ยิ่งถ้าสามารถปลูกผักกินเองได้ก็ยิ่งถือเป็นเรื่องดี ซึ่งถ้าเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้เป็นไปดังที่กล่าวมาได้ จะส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพตัวเองและยังช่วยสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อย ไม่ให้เกิดการผูกขาดของนายทุนรายใหญ่ๆ ในเรื่องการผลิตอาหาร”ใครที่สนใจกิจกรรมร่วมรณรงค์ “กินเปลี่ยนโลก” อยากเป็นอาสาสมัครที่มาร่วมเผยแพร่แนวคิดนี้สู่คนรอบข้าง หรืออยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตัวเอง สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.food4change.in.th

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 กระแสในประเทศ

ฉบับที่ 99 กระแสในประเทศประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 25521 เมษายน 2552ผู้บริโภคโล่งใจ ถั่วพิสตาซิโออันตรายไม่มีขายในไทยจากการที่สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ประกาศเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารทุกชนิดที่มี ถั่วพิสตาซิโอ เป็นส่วนผสม หลังจากมีการตรวจสอบพบเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลาในถั่วชนิดนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคทางเดินอาหาร งานนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ของไทยจึงได้เร่งมือตรวจสอบ พร้อมประกาศให้คนไทยเราเบาใจได้ว่าไม่มีการตรวจพบถั่วพิสตาซิโอชนิดที่เป็นอันตรายแบบที่พบในสหรัฐฯ ในประเทศไทย ซึ่งจากตรวจสอบต้นต่อของถั่วพิสตาซิโอเจ้าปัญหา พบว่ามีผลิตมาจากบริษัท เซตตัน ฟาร์ม ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งประเทศไทยไม่มีการนำเข้าถั่วชนิดนี้จากบริษัทดังกล่าว แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค อย. จึงทำการติดตามเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างถั่วชนิดดังกล่าว ไม่ว่าจะนำเข้าจากบริษัทใด หากพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา จะรีบแจ้งให้ผู้บริโภคทราบทันที รวมทั้งเก็บผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกจากท้องตลาดและระงับการนำเข้าโดยด่วน 2 เมษายน 2552เพนต์ “เฮนนา” ระวัง!หายนะถามหาผิวภญ. วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ออกโรงเตือนวัยรุ่นที่ชื่นชอบการตกแต่งลวดลายลงบนร่างกายด้วย “เฮนนา” อาจได้รับอาการแพ้ทางผิวหนังแถมมาพร้อมกับความสวยงาม สาเหตุจากการตรวจสอบพบว่ามีการลักลอบเติมสาร p-phenylenediamine (PPD) หรือพีพีดี ลงในเฮนนา เพื่อทำให้สีที่วาดมีความเข้มขึ้นและติดทนนานกว่าปกติ โดยจะเรียกกันว่า แบล็กเฮนนา (Black Henna) หรือบลูเฮนนา (Blue Henna) ซึ่งเฮนนาเป็นสารจากพืชชนิดหนึ่ง ให้สีน้ำตาลอมส้ม นิยมมาใช้ตกแต่งผิวหนังและนำมาย้อมผม สำหรับสารพีดีพีเป็นสารเคมีที่มีความเสี่ยงสูง อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ซึ่ง อย. กำหนดให้ใช้สารพีพีดีได้เฉพาะในผลิตภัณฑ์ย้อมผมเท่านั้น โดยกำหนดอัตราส่วนสูงสุดไว้ไม่เกิน 6% และต้องระบุคำเตือนไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเน้นย้ำให้ทราบว่าสารชนิดนี้มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง และก่อให้เกิดอาการแพ้ ที่สำคัญคือห้ามนำไปย้อมขนคิ้วหรือขนตาเด็ดขาด เพราะหากเข้าตาอาจเป็นอันตรายถึงขั้นตาบอดได้ 29 เมษายน 2552สคบ. เตรียมติดดาบยุบกิจการขายตรงนอกระบบเพราะผลจากการที่มีผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงมาร่วมประชุมสัมมนาผู้ประกอบการขายตรง ในจำนวนไม่ถึงครึ่งจากจำนวนที่คาดการว่ามีธุรกิจขายตรงในระบบกว่า 500 บริษัท ซึ่งมีสาเหตุมาจากธุรกิจขายตรงบางบริษัทได้ปิดกิจการไปแล้ว แต่การปิดกิจการไม่ได้แจ้งนายทะเบียน ทำให้ยังคงความเป็นบริษัทขายตรงอยู่ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีมากกว่า 200 บริษัท ที่ไม่ได้ดำเนินกิจการ แต่ไม่มีการแจ้งปิดกิจการของธุรกิจขายตรงเหล่านั้น การประชุมสัมมนาครั้งนี้จัดโดยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อชี้แจงนโยบายและทำความเข้าใจในตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงไปแล้ว เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการที่พบความคลุมเครือของสถานภาพทางบริษัทขายตรงกว่า 200 บริษัทดังที่กล่าวมา ทำให้สคบ.เตรียมศึกษาแก้ไขกฎหมายขายตรงและตลาดแบบตรง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กำกับและส่งเสริมธุรกิจขายตรง โดยการเสนอให้มีการเพิ่มอำนาจของนายทะเบียน ในการยุบ หรือเลิกธุรกิจขายตรงที่ไม่มีการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเกรงธุรกิจที่อยู่นอกระบบเหล่านี้จะอาศัยช่องทางกลายพันธุ์กลายเป็นแชร์ลูกโซ่ เด็กไทยจมน้ำตาย1,500คน/ปี สธ.จับเด็กเข้าคอร์สเอาชีวิตรอดกระทรวงสาธารณสุข นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในงาน "เปิดโครงการทดลองหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด" ภายใต้การสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยใช้เวลาเรียน 15 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ว่า ขณะนี้การจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั่วโลกเสียชีวิตปีละ 230,000 คน มีจำนวนมากกว่าเด็กที่ตายจากโรคไอกรน โรคหัด โรคคอตีบ โรคอหิวาตกโรค โรคไข้เลือดออก และโรคไทฟอยด์รวมกัน ซึ่งมีไม่ถึงปีละ 200,000 คน และเป็นสาเหตุอันดับแรกของการเสียชีวิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุดเป็นอันดับ 1 เสียชีวิตปีละประมาณ 1,500 คน เฉลี่ยวันละ 4 คน โดยพบเด็กอายุ 5-9 ปี เสียชีวิตมากที่สุด โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กปิดภาคเรียน มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากถึง 112 คนจากเด็กไทย 13 ล้านคน พบว่ามีเด็กว่ายน้ำเป็นเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น จึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อเป็นการป้องกันและลดจำนวนเด็กเสียชีวิตนายมานิตกล่าวว่า โดยในช่วงปิดภาคเรียนนี้ สธ.ได้ทำโครงการนำร่องจัดหลักสูตรฝึกสอนการว่ายน้ำให้กับเด็กอายุระหว่าง 4-7 ปี ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี สุรินทร์ เพชรบูรณ์ และนครศรีธรรมราช เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดในแต่ละภาค คือ สุรินทร์ 45 ราย ราชบุรี 33 ราย เพชรบูรณ์ 29 ราย และนครศรีธรรมราช 19 ราย โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานกับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อคัดเลือกโรงเรียนว่ายน้ำ และครูผู้ฝึกสอนที่ผ่านการอบรมแล้ว โดยจะสอนเรื่องการเอาชีวิตรอด พื้นฐานการว่ายน้ำ และความปลอดภัยทางน้ำ โดยตั้งเป้าภายใน 10 ปี เด็กอายุครบ 7 ปีจะมีทักษะในการว่ายน้ำเป็นครบทุกคน ซึ่งจะสามารถลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้อย่างน้อยปีละ 100 คน ผลโหวตผลิตภัณฑ์ บริการ โฆษณายอดเยี่ยม ยอดแย่วารสารฉลาดซื้อเปิดผลโหวต “ผลิตภัณฑ์-บริการ-โฆษณา” ยอดเยี่ยมและยอดแย่ในความรู้สึกประชาชนทั่วประเทศ พบ “ปตท.-รถโดยสารสาธารณะ-โฆษณาขายตรงผ่านทีวี” ติดอันดับยอดแย่ โดยเฉพาะรถโดยสารเกิดอุบัติเหตุปีละ 3-4 พันครั้ง 26 เมษายน ในงานเปิดบ้าน “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” ที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานเปิดบ้านใหม่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงสิทธิการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันว่า ในโลกที่เป็นอยู่เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีคนเอาเปรียบ ซึ่งคนที่มีความแข็งแรงในวิชาชีพ มีรายได้ ก็มักจะต่อสู้ได้ แต่สังคมไทยในปัจจุบันมีคนอยู่ในสภาพที่เรียกว่าหากไม่มีคนช่วยคงไม่สามารถรักษาสิทธิได้ จึงเกิดแนวคิดสร้างกระบวนการประชาสังคมเพื่อช่วยเหลือ “ผมรู้สึกดีใจที่ขณะนี้มีความตื่นตัวในการรักษาสิทธิผู้บริโภค แต่เรื่องสิทธิผู้บริโภคยังอีกไกล และต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่รู้ในสิทธิของตนเอง เพราะตอนนี้เรายังไปไม่ถึงก้าวที่สองที่ทำให้ประชาชนรู้ตระหนักและรู้สิทธิของตนเอง” นายอานันท์ กล่าวต่อว่า อยากเห็นกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นปึกแผ่นโดยไม่ต้องอาศัยองค์กรนี้ และให้องค์กรนี้ทำหน้าที่เคียงข้างกับสภา เพราะปัญหาการเอารัดเอาเปรียบเกิดขึ้นได้เนื่องจากอาศัยช่องว่างของกฎหมาย หากนักการเมืองไม่ดูแลประชาชน ก็เป็นหน้าที่เรากันเองที่ต้องทำงานกับฝ่ายกฎหมายเพื่อแก้ไขความอยุติธรรมในสังคมไทยที่มีอยู่ หรือผลักดันกฎหมายใหม่ๆ เพื่อดูแลให้เรื่องสิทธิผู้บริโภคมีความมั่นคงและยังยืนยิ่งขึ้น ในงานดังกล่าว ยังมีการแถลงข่าว ผลโหวต “ผลิตภัณฑ์-บริการ-โฆษณา ยอดเยี่ยมและยอดแย่ประจำปี 2551” ด้วย โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจผลิตภัณฑ์ บริการ และโฆษณายอดเยี่ยมและยอดแย่ในรอบปีที่ผ่านมา โดยสอบถามความเห็นประชาชนจำนวน 2,993 คน พร้อมเปิดให้มีการโหวตผ่านหน้าเว็บไซต์ของกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล และเว็บไซต์ www.consumerthai.org วารสารฉลาดซื้อ รายการกระต่ายตื่นตัว สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 ไปนั้นทางคณะกรรมการพิจารณารางวัล ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา คือ ต้องเป็นสินค้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยในส่วนของการโหวตยอดเยี่ยม ต้องไม่มีชื่อโหวตอยู่ในอันดับยอดแย่ ไม่ทำร้ายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่มีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิ และไม่เป็นที่ถกเถียงในสังคม ดังนั้นผลการโหวตที่เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ได้แก่   ผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม แป้งเด็กเบบี้มายด์ บริการยอดเยี่ยม บริการของธนาคารไทยพาณิชย์ โฆษณายอดเยี่ยม โฆษณาของบริษัทไทยประกันชีวิต ชุดแม่ต้อย ผลิตภัณฑ์ยอดแย่ แก๊สและน้ำมันของบริษัท ปตท บริการยอดแย่ บริการรถโดยสารสาธารณะ โฆษณายอดแย่ การโฆษณาขายตรงผ่านทีวี น.ส.สารี ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า บริการรถโดยสารสาธารณะถือเป็นบริการยอดแย่ที่ได้รับการโหวตในอันดับต้นๆ และที่ผ่านมาจากงานวิจัยของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) พบว่า ในแต่ละปีมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะเฉลี่ยปีละ 3,000-4,000 ครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะเข้าไปดูในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท โดยเป็นแผนงานในปี 2553 นี้ เนื่องจากเป็นบริการที่มีประชาชนใช้บริการจำนวนมาก และมีปัญหาการร้องเรียนบ่อยครั้ง ซึ่งมูลนิธิฯ ไม่เพียงแต่จะเข้าไปดูในเรื่องมาตรฐานรถและบริการเท่านั้น แต่จะดูถึงผู้ให้บริการ คือ ผู้ขับรถโดยสารสาธารณะด้วย เนื่องจากพบว่ามักมีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว โดยเฉพาะรถสาธารณะที่เป็นบริการร่วมกับเอกชน เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องรายได้ ต้องแข่งขัน ซึ่งรัฐบาลอาจต้องเข้ามาสนับสนุนในเรื่อง “รายการสุขภาพในทีวี” ให้ประโยชน์หรือหวังโฆษณา?โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้แถลงผลการศึกษาในหัวข้อ "รายการสุขภาพในฟรีทีวี" โดยนายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อฯ ได้ทำการศึกษาพบว่า รายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพส่วนใหญ่ เลือกนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้ชมเท่าที่ควร คือนำเสนออาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยแต่นำไปสู่โรคร้ายแรง ทำให้ผู้ชมเกิดความกลัว วิตกกังวล ส่วนเนื้อหาที่เป็นการแนะนำให้ผู้ชมดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ลดการพึ่งพาแพทย์กลับมีให้ชมในสัดส่วนที่น้อยมาก ขณะที่เนื้อหาเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกและเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยแทบไม่มีให้เห็นนอกจากนี้ ผลการตรวจสอบการเฝ้าระวังทางสื่อ พบว่ามีโฆษณาอยู่ในรายการเป็นจำนวนมาก ทั้งการโฆษณาตรงและโฆษณาแฝงในรายการ ซึ่งสินค้าที่โฆษณาส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารเสริม ยา ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย สถานพยาบาลเอกชน ซึ่งแฝงอยู่ในรายการทั้งในรูปแบบ กราฟิกรายการ โลโก้บริการและสินค้า รองลงมาคือ สปอตโฆษณาสั้นๆ แฝงเนื้อหา แฝงวัตถุผลิตภัณฑ์ และแฝงบุคคลที่มีการสวมเสื้อที่มีตราสัญลักษณ์ผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งรายการที่มีโฆษณาแฝงมากที่สุดคือ รายการตะลุยโรงหมอ (ปัจจุบันเป็นรายการ ชิดหมอ) และสโมสรสุขภาพ รองลงมาเป็น รายการชูรักชูรส รายการชีวิตชีวา Daily และ อโรคาปาร์ตี้ รศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า การมีรายการเพื่อสุขภาพมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าคนในสังคมปัจจุบันใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น แต่การโฆษณาในรายการยังถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะรายการประเภทนี้เป็นรายการที่มีลักษณะผ่อนคลายสมอง ทำให้เกิดการโน้มน้าวจิตใจคล้อยตามได้ง่าย ซึ่งการสอดแทรกการโฆษณาสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพ อาจเป็นการสร้างพฤติกรรมการบริโภคสินค้าด้านสุขภาพที่ฟุ่มเฟือย และสินค้าหลายๆ ตัวยังเป็นในลักษณะชวนเชื่อ คือยังไม่มีการตรวจสอบรับรองถึงเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย น.พ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา ย้ำถึงปัญหาการโฆษณาแฝงในรายการสุขภาพว่า เป็นเรื่องที่ทางแพทยสภากำลังจับตาดูอยู่ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แต่ทางแพทยสภามีอำนาจเพียงขอบเขตดูแลเฉพาะตัวแพทย์เท่านั้น ไม่รวมถึงสถานประกอบการที่เป็นหน้าที่ของกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีคณะกรรมการจริยธรรมควบคุมดูแลว่าการนำเสนอเนื้อหาเป็นไปในระดับใด ทั้งนี้การร้องเรียนที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของโฆษณาเรื่องจริยธรรมแพทย์ แต่มักเป็นการฟ้องร้องจากคู่แข่งทางการตลาดด้วยกันเองด้าน พ.ญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้จัดการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อฯ เสนอแนวคิดว่าควรมีการออกกฎหมายควบคุมการโฆษณาแฝง พร้อมทั้งจัดตั้งองค์กรเพื่อดูแลสิทธิผู้บริโภคด้านสื่อโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันมีการโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ในละครก็มักถ่ายภาพให้เห็นด้านหน้าหรือป้ายโรงพยาบาลอยู่ตรงหัวเตียงผู้ป่วยในเนื้อหาละคร ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นการยัดเยียดในสิ่งที่ผู้บริโภคไม่ต้องการ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 กระแสในประเทศ

กระแสในประเทศประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 255217 มีนาคม 52ก่อนกิน สังเกตป้าย “ก๋วยเตี๋ยวอนามัย” ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ โดยนายสมโภช ศรีอัสดร นักวิชาการสาธารณสุข กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ร่วมกันจัดโครงการ “ก๋วยเตี๋ยวอนามัย” เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวใส่ใจเรื่องสุขลักษณะของอาหารที่ปลอดภัยและไร้สารพิษและกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการควบคุมดูแลร้านก๋วยเตี๋ยวให้ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น   จากผลสำรวจของกรมอนามัยพบว่า มีร้านก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศทั้งในแบบร้านค้า แผงลอย รถเข็น จนถึงที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า จำนวนรวมกันมากถึงกว่า 75,500 ร้าน เฉลี่ยมีคนไทยบริโภคก๋วยเตี๋ยวถึง 4 ล้านคนต่อวัน แต่ปัญหาคือ ร้านก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่มีการใช้สารกันเสียชนิด “เบนโซอิก” ในเส้นเกินมาตรฐานถึงร้อยละ 22 ส่วนผักที่ใช้เป็นส่วนประกอบ ก็มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนร้อยละ 4–11 ในส่วนเครื่องปรุงก็พบว่ามีการใช้น้ำส้มสายชูที่ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 26 รวมทั้งยังพบสารพิษอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงและพริกป่นร้อยละ 19 ซึ่งหากสะสมพิษดังกล่าวไว้ในร่างกายเป็นจำนวนมาก อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ โครงการก๋วยเตี๋ยวปลอดภัยนี้ กรมอนามัยจะเฝ้าติดตามพัฒนาและประเมินผลร้านก๋วยเตี๋ยวที่ร่วมโครงการ ซึ่งหากร้านก๋วยเตี๋ยวใดผ่านการประเมินความปลอดภัยจะได้รับป้ายก๋วยเตี๋ยวอนามัย เพื่อการันตีเรื่องความสะอาดปลอดภัยให้กับผู้บริโภค 20 มีนาคม 2552ยอดผ่าตัดไส้ติ่งรพ.ชุมชนลดฮวบ เหตุแพทย์กลัวถูกฟ้องผลสำรวจโรงพยาบาลชุมชนเผยว่า แพทย์กว่าร้อยละ 50 ไม่กล้าผ่าตัดผู้ป่วย เพราะกลัวถูกฟ้อง ขณะที่ยอดผ่าตัดไส้ติ่งในโรงพยาบาลชุมชนในรอบ 4 ปีลดลงถึงร้อยละ 25 โดย นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจากการสำรวจโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 187 แห่ง ซึ่งสาเหตุของการลดลงของตัวเลขการผ่าตัดพบว่า โรงพยาบาลชุมชนกว่าครึ่งหรือ 94 แห่งระบุว่า กลัวการฟ้องร้องแล้วแพทย์ถูกดำเนินคดี ส่วนโรงพยาบาลชุมชน 87 แห่งหรือร้อยละ 46 ระบุว่าระยะทางระหว่างโรงพยาบาลชุมชนใกล้กับโรงพยาบาลใหญ่ จึงเลือกที่จะส่งต่อในกรณีที่อาจจะเกิดความเสี่ยงสูง ขณะที่อีก 80 แห่งหรือร้อยละ 42.8 ระบุว่าไม่มีวิสัญญี แพทย์ และเครื่องมือไม่พร้อม ส่วนความเห็นที่ว่าหากมี พ.ร.บ.ชดเชยความเสียหายจากบริการทางการแพทย์จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้มากน้อยเพียงใดร้อยละ 55 ตอบว่า ช่วยได้บ้างดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ขณะที่ร้อยละ 15.5 บอกว่าไม่ช่วยเท่าใดนัก ซึ่งพ.ร.บ.นี้ยังอยู่ในขั้นตอนที่รัฐบาลต้องพิจารณาและผลักดันให้เกิดขึ้นต่อไป 21 มีนาคม 52คนเป็นภูมิแพ้ระวัง อาจตายเพราะแมลงทอดนพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยตัวเลขของผู้ป่วยจากการรับประทานแมลงทอดที่เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 24 ธ.ค. 2550 – 7 ม.ค. 2551 พบว่ามีจำนวนถึง 118 คน จาก 7 จังหวัด คือ สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา สุราษฏร์ธานี ชัยนาท และนครราชสีมา ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วยส่วนใหญ่มีทั้ง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะรุนแรง พูดไม่ได้ ตัวสั่น เหงื่อออก ใจสั่น บางรายมีอาการชาตามร่างกาย ซึ่งจากการตรวจในห้องปฏิบัติการ ไม่พบสารพิษปนเปื้อนอย่างยากำจัดศัตรูพืชหรือสารอันตรายใดๆ ในตัวอย่างของแมลงทั้งที่ทอดและยังไม่ได้ทอด ใบเตย น้ำมันที่ใช้ทอดแมลง และอาเจียนของผู้ป่วย แต่ตรวจพบสารฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ตกค้างอยู่ โดยพบมากที่สุดในดักแด้หนอนไหมทอด ที่เก็บตัวอย่างจาก จ.สุราษฏร์ธานี ตรวจพบสารฮีสตามีน 875 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่ปริมาณฮีสตามีนในอาหารของไทยกำหนดไว้ให้มีได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โฆษกกระทรวงสาธารณสุขกล่าวเสริมว่า อาการหลังได้รับสารฮีสตามีนจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับประทานเข้าไป แต่ในกลุ่มที่มีประวัติภูมิแพ้หรือหอบหืด จะตอบสนองได้เร็วกว่ากลุ่มบุคคลอื่น ซึ่งอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จากการตรวจสอบแหล่งที่มาของแมลงทอดที่มีรายงานผู้ป่วยจาก 7 จังหวัด พบรับดักแด้หนอนไหมมาจากแหล่งเดียวกันคือ ตลาดโรงเกลือ จ.สระแก้ว คาดว่ากระบวนการเก็บรักษาไม่ดีพอกว่าจะถึงมือแม่ค้ารายย่อย ทำให้เกิดการสะสมของสารฮิสตามีนที่ก่อภาวะเจ็บป่วยให้กับผู้บริโภค พบสารก่อมะเร็งในแก๊สโซฮอล์นางเดซี่ หมอกน้อย นักวิจัยด้านอากาศจากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องปริมาณการแพร่กระจายของสารประกอบคาร์บอนิลในอากาศในเขตกรุงเทพฯ ระหว่างปี 2549 – 2551 หลังจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินและดีเซล ว่าจากผลการวิจัยพบ อากาศในกรุงเทพฯ มีปริมาณสารพิษกลุ่มคาร์บอนิลซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้เก็บตัวอย่างสารกลุ่มคาร์บอนิลในอากาศครอบคลุมพื้นที่ริมถนน 49 จุดในเขตกรุงเทพฯ ที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งตรวจพบค่าความเข้มข้นของสารกลุ่มคาร์บอนิล 10 ชนิด โดยเฉพาะในถนนที่มีการจราจรหนาแน่นอย่าง ริมถนนอนุสาวรีย์ชัย พระราม 5 รัชดาภิเษก สุขุมวิท และดอนเมือง มีค่าความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์ 10.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงเกินเกณฑ์ระดับความเสี่ยงของอเมริกาถึง 5 เท่า ส่วนสารที่พบอีกตัวคืออะเซทัลดีไฮด์มีปริมาณความเข้มข้นอยู่ในช่วง 3.31 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งในอเมริกากำหนดมาตรฐานไว้ที่ 2.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แก๊สโซฮอล์มีสารพิษดังกล่าวเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ออกมาแล้วเจอกับแสงในบรรยากาศจะส่งผลให้มลพิษตัวอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งสารฟอร์มัลดีไฮด์และอะเซทัลดีไฮด์ยังไม่มีการกำหนดมาตราฐานในเมืองไทย อย่างไรก็ตามหลังจากข่าวนี้เผยแพร่ออกไป ทางด้านผู้เกี่ยวข้องอย่างนายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลว่า “ยอมรับว่าแก๊สโซฮอล์ มีผลเกี่ยวเนื่องกับการเกิดสารประกอบคาร์บอนิล หากกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดไอเสียที่มีสารดังกล่าวปะปนกับไอเสีย อาจมากหรือน้อยแล้วแต่สภาพของเครื่องยนต์ ทั้งนี้หากรถยนต์เก่าดูแลไม่ดีมีโอกาสเกิดไอเสียที่มีสารพิษปะปนมาก และไม่ว่ารถชนิดนั้นจะใช้น้ำมันชนิดใดก็ตามจะมีไอเสียที่เป็นสารพิษออกมา เช่น จากน้ำมันดีเซลมีสารกำมะถันมาก น้ำมันเบนซินมีสารอะโรมาติกส์ และสารเบนซีน ที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง เป็นอันตรายมากกว่าสารกลุ่มคาร์บอนิล หากดูในภาพรวมแล้วแก๊สโซฮอล์จะเกิดมลพิษน้อยกว่าน้ำมันเบนซิน” ไม่อยากให้ผู้ที่ได้รับข่าวสารกลัวว่าใช้แก๊สโซฮอล์แล้วจะเป็นมะเร็ง ในตัวของน้ำมันเองไม่มีสารที่ก่อมะเร็ง แต่หากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งผู้ที่ใช้รถควรหมั่นนำรถตรวจสภาพ และจูนอัพเครื่องยนต์เสมอ เพราะรถยนต์เมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งชิ้นส่วนจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม แต่นิสัยคนไทยไม่เสียไม่ซ่อมจึงทำให้มลพิษเพิ่มขึ้น และไปโทษว่าแก๊สโซฮอล์ผิดอีกแล้วเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง” อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อย่าโยนภาระค่าไฟให้ประชาชนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคคัดค้าน กกพ. ขึ้นค่าผ่านท่อ หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติอนุมัติปรับขึ้นอัตราค่าผ่านท่อก๊าซให้กับ ปตท.จากเดิมที่จัดเก็บในอัตรา 19.74 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 21.76 บาทต่อล้านบีทียู หรือเพิ่มขึ้น 2.02 บาท ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2552 นั้น ด้านเครือข่ายผู้บริโภคที่มองเห็นถึงความไม่โปร่งใสและไม่เหมาะสมในเรื่องผลประโยชน์ที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะได้รับ พร้อมๆ กับที่จะผลักภาระมาให้ประชาชน จึงรวมพลังกันออกมาคัดค้านทันที นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงเรื่องอัตราค่าผ่านท่อก๊าซนี้ว่า ความจริงราคาที่ใช้อยู่ก่อนหน้านี้ก็ถือว่าไม่ถูกต้องอยู่แล้ว เพราะคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้กำหนดให้ค่าผ่านท่อเป็นค่าคงที่ตลอดอายุโครงการ ทำให้ในแต่ละปี ปตท. ได้กำไรส่วนเกินไปปีละกว่า 2,500 ล้านบาท และที่ผ่านมาได้มีการประมาณการตัวเลขการใช้ก๊าซที่น้อยกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้การกำหนดราคาค่าผ่านท่อสูงเกินจริง ซึ่งหากจะมีปรับราคาจริงควรเป็นการปรับลดมากกว่า ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลักสองข้อคือ ปตท.คิดอัตราผลตอบแทนการลงทุน (Return of Equality : ROE)สูงกว่าค่ามาตรฐาน คือคิดถึงร้อยละ 18 ทั้งที่ควรจะคิดเพียงเป็นร้อยละ 14 เท่านั้น และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว 40 ปีไว้ในอัตราคงที่สูงถึงร้อยละ 10.5 ทั้งที่ความเป็นจริงอัตราดอกเบี้ยมีการปรับลดตลอดเวลา การคิดค่าผ่านท่ออยู่บนฐานอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินจริงขนาดนี้ ทำให้ปตท.ได้ผลประโยชน์ไปมาก เลขาธิการ มพบ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ได้มีการคำนวณกันไว้ว่า หากมีการปรับลดค่า ROE เป็นร้อยละ 14 และอัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็นคือร้อยละ 5.75 มูลค่าก๊าซจะลดลงมากถึง 3,800 ล้านบาท และค่าบริการต้นทุนคงที่ (Demand Charge) ซึ่งเป็นสัดส่วนส่วนใหญ่ของราคาค่าส่งท่อก๊าซจะสามารถลดลงจากเดิม 19.40 บาทเป็น 13.13 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น นอกจากนี้ ปตท.ยังมีความผิดเรื่อง ไม่คืนทรัพย์สินที่ใช้อำนาจมหาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติและนับเป็นการนำทรัพย์สินประชาชนมาหากำไรกับประชาชน เรื่องนี้ถือเป็นการเอาเปรียบประชาชนที่สุดถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ หากการปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านท่อก๊าซมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน คือค่าเอฟที (Ft) จะเพิ่มขึ้นทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ซึ่งทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคจะเข้ายื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครองและจะขอให้มีการคุ้มครองให้มีการระงับการอนุมัติปรับขึ้นอัตราค่าผ่านท่อก๊าซดังกล่าวของ กกพ.เพราะถือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เอาเปรียบประชาชนผู้บริโภคและจะดำเนินการเรื่องนี้ให้ถึงที่สุดต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 กระแสในประเทศ

สุมาลี พะสิม ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 255211 ก.พ. 52 5 ปีผ่านไป ยังพบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางเพียบ นิยายเรื่องยาวของเครื่องสำอางผิดกฎหมายยังไม่จบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยังตรวจวิเคราะห์พบเครื่องสำอางผิดกฎหมายเพียบตลอดช่วงปี 2547-2551 โดยสารห้ามใช้ที่ตรวจพบมากที่สุด คือ ปรอทแอมโมเนีย รองลงมา คือ สารไฮโดรควิโนนรวมกับกรดเรทิโนอิก และพบตัวอย่างที่มีสารไฮโดรควิโนนหรือพบกรดเรทิโนอิกอย่างเดียว รองลงมาตามลำดับ อย่างไรก็ตามขณะนี้มีกฎหมายใหม่ด้านเครื่องสำอางของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายเครื่องสำอางอาเซียน กำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ดังนั้นผู้ประกอบการต้องแจ้งและจัดทำแฟ้มข้อมูลของผลิตภัณฑ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงานสาธารณสุขหวัด (สสจ.) ก่อนผลิตหรือนำเข้า ซึ่งจะช่วยให้การติดตาม กำกับดูแลและแก้ปัญหาการใช้สารห้ามใช้ในเครื่องสำอางได้อย่างครอบคลุม สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการชุดทดสอบเครื่องสำอางนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 99499, 99926 หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ รุมค้านประกาศสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายจากกรณีคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ประกาศให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด ประกอบด้วย สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และ หนอนตายยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข และมี ผลบังคับใช้แล้วนั้น นพ.ประพจน์ เภตรากาศ รองอธิบดี กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกล่าวว่า การบังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมหาศาลแน่นอน เพราะพืชทั้ง 13 ชนิด เป็นพืชสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทยมานาน หากมีการกำหนดเป็นวัตถุอันตรายแล้ว ถ้ามีครอบครอง หรือครอบครองไว้เพื่อจำหน่ายจะต้องมีการจดแจ้งหรือขออนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งส่วนนี้จะมีผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะชาวบ้านที่ปลูกหรือขายพืชเหล่านี้ ตามตลาดสดต่างๆ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อม เช่น วิสาหกิจชุมชน ที่นำพืชสมุนไพรไทยมาดัดแปลงทำเป็นยาสมุนไพรด้วย 13 ก.พ. 2552 ก.สาธารณสุขขอให้ถอนประกาศพืช 13 ชนิดออกจากวัตถุอันตรายจากการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศให้สมุนไพรไทย 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีตัวแทนจากหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมมากมายนั้น ต่างก็เห็นด้วยให้ถอนสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดออกจากการเป็นวัตถุอันตราย นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า “จากการรับฟังความเห็นต่างเห็นตรงกันว่า ควรมีการถอนประกาศที่ให้สมุนไพรไทย 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย เนื่องจากมีผลกระทบ โดยเฉพาะการสร้างความกังวลในการใช้และบริโภคสมุนไพรดังกล่าว ทั้งในรูปแบบอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้ว่าการออกประกาศฉบับนี้ทำไปเพื่อเจตนาคุ้มครองผู้บริโภค แต่ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า น่าจะใช้วิธีอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดกว่า เช่น การส่งเสริมเกษตรกรให้ใช้สมุนไพรในการควบคุมแมลงและศัตรูพืช การจัดตั้งกองทุนที่จัดเก็บภาษีจากการนำเข้าสารฆ่าแมลงเพื่อนำมาใช้ในการลดผลกระทบจากการใช้สารยาฆ่าแมลงรวมทั้งดูแลสุขภาพประชาชน ทางกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ จะสรุปความเห็นจากที่ประชุมนี้เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประสานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรมในการหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป” ขณะที่ นางสาวทัศนีย์ วีระกันต์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ ทางเครือข่ายภาคประชาชน และเครือข่ายเกษตรกรรม จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งมีนางรสนา โตสิตระกูล สว.กทม. เป็นประธาน เพื่อให้มีการตรวจสอบวิธีการกระบวนการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกประกาศฉบับนี้ว่ามีความไม่ชอบพากลหรือไม่ เพราะสันนิษฐานว่าจะมีผลประโยชน์จากบริษัทผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งการที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกมาชี้แจงเหตุผลโดยระบุว่าเกิดผิดพลาดนั้นไม่เพียงพอ ควรจะมีหน่วยงานอื่นเข้าไปตรวจสอบและหาผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย กรมวิชาการเกษตรยอมถอนประกาศพืช 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย กรมวิชาการเกษตรยอมถอนประกาศพืช 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย ขอปรับเนื้อหาใหม่ รับทำสังคมสับสน ยันหวังดี ป้องกันเกษตรกรถูกหลอกใช้สารสกัดปราบศัตรูพืชไม่มีคุณภาพ ส.ส.ปชป.เรียกร้องให้ยกเลิก เผย"อภิสิทธิ์-สุเทพ"หนุนให้ทบทวน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แถลงว่า “ผมจะทำหนังสือไปถึงคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อขอให้ถอนประกาศฉบับนี้ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อความบางส่วน อาทิ เพิ่มเติมชื่อสารนำหน้าชื่อพืชสมุนไพร พร้อมระบุว่าใช้สำหรับการผลิตสารปราบศัตรูพืชไว้ด้านหลัง เพื่อให้สังคมเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น และจะถอนร่างประกาศของกรมฯ ที่ระบุถึงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกันด้วย" 16 ก.พ. 52สปสช.เสนอ ครม.ขยายสิทธิครอบคลุมคนไร้สัญชาตินพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้ประชาชนประชาชนที่เกิดในประเทศไทยแต่ยังไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้และอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานซึ่งมีอยู่ประมาณ 370,000 คน ให้มีหลักประกันสุขภาพ โดยจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวครอบคลุมบุคคลกลุ่มดังกล่าว โดยเริ่มในงบเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับ ปี 2552 ในอัตรา 2,202 บาทต่อประชากร ซึ่งเป็นไปตามตามจำนวนที่มีการขึ้นทะเบียนจริง ที่ผ่านมา รพ.ในถิ่นทุรกันดารโดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ตาก แม่ฮ่องสอน ต้องรับภาระด้านงบประมาณคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือตามมนุษยธรรม โดยก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพยังพอมีงบประมาณช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยมาดูแล แต่ปัจจุบันสิทธิด้านการรักษาครอบคลุมคนไทยทุกคน คนที่รอการพิสูจน์สัญชาติจึงไม่มีงบใดๆ มาช่วยเหลือ และหากไม่ดูแลคนกลุ่มนี้ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด หรือเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ทำให้สถานพยาบาลต้องรับภาระหนักขึ้นในการดูแล 26 ก.พ.52 เครื่องสำอางทำให้ขาวไม่มีสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษเรื่อง “ขาวอันตราย ...ขาวอย่างปลอดภัย” โดย รศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ ประธานวิชาการ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตผู้ขายที่นำผงไข่มุก ไข่ปลาคาร์เวีย หรือน้ำลายหอยทาก ทั้งที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและใช้โดยตรง โดยอ้างว่าเพื่อบำรุงผิวพรรณนั้น ขอยืนยันว่า ทางการแพทย์ ไม่พบว่ามีสรรพคุณในการบำรุงผิวพรรณแต่อย่างใด รวมถึงสารกลูตาไธโอนที่เป็นยารักษาโรคมะเร็ง แต่นิยมนำมาทำให้ผิวขาว ก็ยังไม่พบว่ามีการวิจัยทางการแพทย์ในมนุษย์ยืนยันสรรพคุณดังกล่าวเช่นกัน จึงไม่สามารถตอบได้ว่าได้ผลจริงหรือไม่ ดีหรือไม่ดี ในส่วนของทองคำ พบว่า มีงานวิจัยยืนยันว่ามีประสิทธิภาพในการสมานผิว ลดการอักเสบของผิวหนัง รวมถึงรักษาโรคปวดข้อ แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ อนุภาพของเงินกับทองที่มีขนาดเล็กมาก อาจเข้าไปสะสมตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆของร่างกายทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ส่วนที่มีการโฆษณามากๆ อีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องของเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ โดยมีครีมที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์สำหรับทา เพื่อให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริง เพราะสเต็มเซลล์จะใช้วิธีฉีดเท่านั้น อีกทั้งการใช้สเต็มเซลล์ทางการแพทย์รับรองแต่เพียงการใช้เพื่อการรักษาโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ดังนั้นเครื่องสำอางที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์นั้นไม่เป็นความจริง อย่างมากก็แค่มีสารในน้ำเลี้ยงสเต็มเซลล์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เรื่องสเต็มเซลล์อาจเป็นคำตอบของการรักษาในอนาคต วิธีที่ทำให้ผิวขาวทำได้แต่ก็คงไม่ขาวเกินกรรมพันธุ์ของแต่ละคน วิธีการคือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด ไม่ว่าจะเป็นการกางร่ม ใส่แว่นดำ รวมถึงการใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟเหมาะสม และมีการใช้ที่ถูกวิธี ผู้บริโภคยื่น 12,000 รายชื่อ เสนอ กม.องค์การอิสระผู้บริโภคต่อประธานรัฐสภา19 กุมภาพันธ์ 2552 เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคฟันธง...ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของรัฐบาลไม่ อิสระจริง เดินหน้า ยื่น 12,000 รายชื่อเสนอกฎหมายฉบับของประชาชนต่อประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อนำไปพิจารณาผลักดันให้เป็นกฎหมายของประชาชนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จากภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กลุ่มคนคอนโด ชมรมเพื่อนโรคไต ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากปัญหาที่อยู่อาศัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค รวมจำนวน 120 คน ได้เดินทางมาเข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เพื่อยื่นรายชื่อของประชาชนจำนวน 12,208 รายชื่อเพื่อเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระผู้บริโภค พ.ศ.....ฉบับของภาคประชาชนเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการที่รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับปี 2540 จนถึงฉบับปัจจุบันในมาตรา 61 ที่ได้บัญญัติให้มีองค์การคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตรา และการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระนี้ด้วย ซึ่งขณะนี้มี (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาลอยู่อีก 1 ฉบับ ซึ่งนำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคได้จัดประชุมพิจารณาสาระกฎหมายของรัฐบาลเปรียบเทียบกับร่างฉบับประชาชนไปเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่ามีหลายประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ร่างกฎหมายของรัฐบาลไม่ได้ให้คณะกรรมการองค์การอิสระทำงานอย่างเต็มที่เต็มเวลา แต่เน้นความสำคัญไปที่ผู้อำนวยการสำนักงานที่จะเป็นผู้ชงเรื่องส่งขึ้นไปให้ คณะกรรมการพิจารณา ซึ่งรูปแบบเช่นนี้ไม่ต่างจากโครงสร้างการทำงานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ยังไม่สามารถทำงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในปัญหาที่หลากหลายได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของภาคประชาชนนั้นจะให้ความสำคัญกับคณะกรรมการองค์การอิสระฯ โดยให้ทำงานในลักษณะเต็มเวลา และให้มีเลขาธิการสำนักงาน ทำหน้าที่เป็นเพียงเลขานุการของคณะกรรมการและบริหารกิจการในสำนักงานเท่านั้น ส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในฉบับของภาคประชาชนนั้นจะเขียนอย่างชัดเจน ที่จะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดองค์กรผู้บริโภคขึ้นอย่างน้อยในทุกจังหวัด และที่สำคัญคือการสนับสนุนการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งการฟ้องแทนผู้บริโภคเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งร่างของรัฐบาลไม่มีในส่วนนี้ หรือการไม่เขียนอย่างชัดเจนว่า งบที่รัฐบาลจะส่งเสริมสนับสนุนเพื่อการดำเนินการขององค์การอิสระนั้นจะเป็นจำนวนเท่าไร แต่กลับปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของรัฐบาล ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้องค์การอิสระผู้บริโภคไม่อิสระอย่างแท้จริง เพราะถูกควบคุมกำกับด้วยงบประมาณ ในขณะที่ร่างกฎหมายของประชาชนนั้นจะกำหนดชัดเจนว่ารัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณ ไม่น้อยกว่า 5 บาทต่อจำนวนประชากรทั้งประเทศต่อปี หรือตกปีละ 300-400 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นงบประมาณที่ไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการกระจายงบของรัฐบาลตามโครงการต่างๆ ในปัจจุบันนอกจากนั้นนางสาวสารี คาดหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ประชาชนผู้บริโภคมีที่ปรึกษา เป็นจุดให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ มีการทำงานเชิงรุกไม่ตามแก้ปัญหา เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้บริโภคในการให้ความเห็นต่อการดำเนินการทั้งที่เป็นประโยชน์และเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค อย่างเช่น การออกประกาศวัตถุอันตรายที่เป็นสมุนไพร 13 รายการ การออกกฎกระทรวงยกเว้นยาและเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตและใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพไม่เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคว่าคิดเห็นอย่างไรไม่น่าจะกระทำได้“พวกเราเล็งเห็นว่าหากปล่อยให้ร่างกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคของรัฐบาลถูกนำมาบังคับใช้ในอนาคต เราก็อาจเห็นคณะกรรมการองค์การอิสระผู้บริโภค เป็นเพียงแค่คณะอนุกรรมการชุดหนึ่งเท่านั้นของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจึงได้ช่วยกันรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเข้าชื่อ เสนอกฎหมายที่เป็นร่างของประชาชน โดยสามารถรวบรวมรายชื่อได้ทั้งหมด 12,208 รายชื่อ ซึ่งได้ยื่นให้ท่านประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกที่ดูแลรับผิดชอบ งานด้านคุ้มครองผู้บริโภคได้นำไปเข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมายต่อไป และหวังว่าร่างกฎหมายองค์การอิสระของภาคประชาชนจะถูกบังคับใช้ในรัฐบาลสมัย นี้” นางสาวสารีกล่าว เครือข่ายผู้บริโภค ร้อง กทช.สะสางปัญหา 107 บาท12 กุมภาพันธ์ 2552 เครือข่ายผู้บริโภค 7 ภูมิภาค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเข้ายื่นหนังสือต่อ กทช.ให้ออกคำสั่งยกเลิกเงื่อนไขวันหมดอายุบัตรเติมเงิน และขอให้บังคับไม่ให้เรียกเก็บค่าต่อสัญญาณ 107 บาท จี้ให้ยกเลิกใบอนุญาตผู้ประการที่เรียกเก็บ 107 บาทด้วยเครือข่ายผู้บริโภคกว่า 200 คน นำโดยนางปฐมมน กันหา เครือข่ายผู้บริโภคภาคกลาง เดินขบวนจาก สถานีรถไฟฟ้า อารีย์ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เพื่อ ยื่นหนังสือเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ บังคับใช้ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยยกเลิกบทเฉพาะกาล ข้อ 36 วรรคสุดท้าย เพราะเครือข่ายผู้บริโภคเห็นว่าเป็นช่องโหว่ที่ถูกนำมาอ้างว่าสัญญาใหญ่ยัง อยู่ระหว่างการพิจารณาของ กทช.พร้อมทั้งขอให้ทาง กทช.มีคำสั่งที่ชัดเจนให้ผู้ประกอบการยกเลิกเงื่อนไขวันหมดอายุของระบบบัตรเติมเงิน และยกเลิกการเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณ ส่วนผู้ประกอบการที่เอาเปรียบผู้บริโภค และละเมิดสิทธิโดยการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการต่อบุคคลอื่น ขอให้ยกเลิกใบอนุญาต หรือกำหนดมาตรการการลงโทษขั้นเด็ดขาด รวมทั้งขอให้ กทช.เร่งดำเนินการคงสิทธิเลขหมาย โดยควบคุมการเรียกเก็บค่าบริการให้เกิดความเป็นธรรม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 96 กระแสในประเทศ

กระแสในประเทศกองบรรณาธิการ ประมวลเหตุการณ์เดือนมกราคม 25523 มกราคม 2552กรมวิทย์มุ่งธนาคารสเต็มเซลล์ ปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกรามารุ่ง นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้การนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้รักษาโรคยังเป็นการศึกษาวิจัยทางคลินิกยังไม่ได้รับการยืนยันมาตรฐานทางการแพทย์ แต่ต้องยอมรับว่า เป็นการศึกษาวิจัยที่ได้ผลการรักษาค่อนข้างดี โดยที่ผ่านมากรมวิทย์ฯ ได้ทำโครงการความร่วมมือกับสถานพยาบาลในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาโรคแล้ว 2 โครงการ โดยประสบความสำเร็จ 1 โครงการ คือความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศึกษาการปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกผ่านหลอดเลือดโคโรนารี่ เพื่อทดแทนกล้ามเนื้อและหลอดเลือดฝอยที่ตายจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานบกพร่องในผู้ป่วยเด็กจำนวน 2 ราย ส่วนอีก 1 โครงการ คือ ความร่วมมือกับโรงพยาบาลเลิดสิน ศึกษาการปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเทียม แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ในอนาคต กรมวิทย์ฯ จะพัฒนาการเพาะเซลล์ต้นกำเนิดใช้รักษาโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคเลือดต่างๆ ธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาว เบาหวาน กระจกตา เป็นต้น และอาจจะพัฒนาเป็นธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อสาธารณประโยชน์เช่นเดียวกับสภากาชาดไทย 6 มกราคม 2552แพทย์เตือนพ่อแม่ซื้อของเล่น ระวังสารปนเปื้อนทำลายลูกนพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า ในปี 2551 ได้เก็บตัวอย่างของเล่นในศูนย์พัฒนาเด็ก กทม. 23 แห่ง ตรวจหาสารตะกั่ว พบว่าของเล่นเด็กจาก 4 แห่ง มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน คือ 600 มล./กก. นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างของเล่นที่มีการวางขายหน้าโรงเรียนในกรุงเทพฯ 26 แห่ง พบ 4 แห่ง มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน และจากการซื้อของเล่นจากห้างและตลาดทั่วไปในกรุงเทพฯ พิจิตร บุรีรัมย์ สระแก้ว และชลบุรี 126 ชิ้น ส่งตรวจคุณสมบัติทางกายภาพ 50 ชิ้น พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 9 ชิ้น สภาพปัญหาที่พบคือ มีเสียงดังเกิน 75-85 เดซิเบล ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ประสาทการได้ยิน มีเส้นสายยาวเกินกว่า 30 ซม. ซึ่งเสี่ยงต่อการพันรัดคอเด็ก มีช่องรูที่กว้างระหว่าง 5-12 มล. เสี่ยงต่อนิ้วเด็กติดค้างในช่องรู และมีขอบแหลมคมที่ทำอันตรายเด็กได้ และจากผลการตรวจคุณสมบัติทางเคมีของของเล่น 80 ชิ้น พบว่ามีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน 6 ชิ้น ซึ่งมีผลให้ไอคิวต่ำ "พ่อแม่ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ให้เด็ก ที่มีตรา มอก.รับรอง แม้จะไม่ปลอดภัย 100% แต่ก็พอที่จะบรรเทาอันตรายได้ในระดับหนึ่ง" 9 มกราคม 2552วิจัยพบเด็กโตขึ้นไอคิวยิ่งต่ำลงพญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงเรื่องระดับสติปัญญา (ไอคิว) และระดับความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ของเยาวชนไทย เนื่องจากในโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 เก็บข้อมูลทุกปีจากพื้นที่ตัวอย่างนำร่องจำนวน 1,500 คน 15 จังหวัดมาศึกษาพบว่า ต้นทุนของเด็กไทยในช่วงทารกหรือแรกเกิดอยู่ในระดับสากล คือมีไอคิวประมาณ 100 แต่เมื่อมาอยู่ระดับประถมศึกษาประมาณ 9-10 ขวบ กลับมีระดับไอคิวเหลือเพียง 97-98 แต่เมื่อโตมาในช่วงวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษาจะมีค่าไอคิวเฉลี่ยเหลือเพียง 90 ต้นๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่ง ที่น่าสนใจคือ ปัจจัยแวดล้อมใดที่มีผลต่อการพัฒนาการทางสมองของเด็กไทย เพราะจากระดับไอคิวของเด็กแรกเกิดไทยแสดงให้เห็นว่าเรื่องของพันธุกรรมไม่ได้เป็นปัจจัยหลักเกี่ยวกับการพัฒนาไอคิวเด็ก"วิธีที่จะกระตุ้นให้พัฒนาการของลูกดีคือการที่พ่อแม่เอาใจใส่สนใจในการตั้งคำถามของลูก ไม่ด่าว่า ส่งเสริมให้เด็กตั้งคำถาม เอาใจใส่ต่ออาหารและการออกกำลังกาย การอ่านหนังสือ รวมถึงได้ทำกิจกรรมร่วมกับลูกในช่วงวันหยุด เพราะการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างการเล่นกับลูกให้เหมาะตามวัยจะช่วยให้พ่อแม่ได้รู้จักลูกตัวเองดีขึ้นด้วย อาทิ เกมหมากรุก เกมต่อคำภาษาอังกฤษ จิ๊กซอว์ เกมคอมพิวเตอร์พวกเกมซิมที่เป็นการสร้างเมืองวางแผนต่างๆ ซึ่งระหว่างการเล่นพ่อแม่สามารถสอนลูกไปพร้อมกันได้ ซึ่งเด็กจะซึมซับและนำมาใช้ในชีวิตจริงได้" อย.ชี้อันตราย"คุกกี้เสริมอึ๋ม" ใช้กวาวเครือขาวผิดวิธีเจอดีอย. เตือนอันตรายคุกกี้ผสมกวาวเครือขาว ชื่อผลิตภัณฑ์ F Cup Cookie ขายเกลื่อนเน็ต โอ้อวดสรรพคุณเพิ่มอึ๋ม นอกจากเสียเงินมากแล้วอาจเจออันตรายจากผลข้างเคียงของการใช้กวาวเครือขาวโดยผิดวิธี เนื่องจากจะรบกวนระบบฮอร์โมนเพศ อีกทั้งเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย แสดงฉลากไม่ถูกต้อง และกวาวเครือเป็นพืชสมุนไพรควบคุมที่ยังไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่มีการขออนุญาตนำเข้ากับ อย. เพื่อนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคแต่อย่างใด ซึ่งในกรณีของผู้นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากจำหน่ายอาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หากผู้บริโภคพบเห็นการจำหน่ายและโฆษณาผลิตภัณฑ์คุกกี้ดังกล่าว และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่คาดว่าจะผิดกฎหมาย โปรดแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย.1556 29 มกราคม 2552หมอเตือนภัยฉีด"คาร์บ็อกซี่" หลุมพรางของคนคลั่ง"ผอม"นพ.ชลธิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม กล่าวถึงกระแสความนิยมของคาร์บ็อกซี่ (Carboxy) ว่า มีโฆษณาชวนเชื่อว่าสามารถสลายไขมันและเซลลูไลท์เฉพาะส่วนได้ในระยะเวลาไม่นาน และขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ไม่รู้ว่าคาร์บ็อกซี่กำลังเป็นภัยเงียบที่คุกคามผู้บริโภค หากไม่ศึกษาถึงผลกระทบให้ดีก่อนตัดสินใจเข้ารับบริการ การใช้ก๊าซคาร์บอนฉีดยังเป็นการทดลอง ยังไม่มีผลรับรองออกมาอย่างเป็นทางการ ทางที่ดีผู้บริโภคควรรอให้มีรายงานทางการแพทย์รับรอง 10 ฉบับขึ้นไป จึงนับว่าปลอดภัย รศ.นพ.นิยม ตันติคุณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการทำคาร์บ็อกซี่ว่า ฝรั่งเศส คือประเทศแรกที่นำมาใช้ และขยายความนิยมสู่อิตาลี ในปี 2533 จากนั้นได้รับการยอมรับและนิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในเอเชียและยุโรป คาร์บ็อกซี่ เป็นนวัตกรรมความงามเพื่อใช้ลดไขมันเฉพาะที่ด้วยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ละลายน้ำได้ดี สลายตัวได้เร็ว เมื่อฉีดเข้าไปยังชั้นไขมันใต้ผิวหนังจะช่วยเพิ่มการขยายตัวของเส้นเลือดและทำให้เซลล์ไขมันสลายตัวและถูกกำจัดออกไป เช่น หน้าท้อง ใต้ท้องแขน สะโพก น่อง ต้นขา ฯลฯ ทั้งนี้ ในวงการแพทย์มีการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้อยู่ก่อนแล้ว เช่น การฉีดเข้าช่องท้องขณะส่องกล้องตรวจอวัยวะภายใน ถ้าใช้เหมาะสมไม่ส่งผลอันตรายใดต่อร่างกาย ที่สำคัญผู้ที่ให้การรักษาควรเป็นแพทย์เท่านั้น ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงการฉีดคาร์บ็อกซี่ ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเลือด โรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เพราะหากก๊าซบางส่วนผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดอาจทำให้อาการดังกล่าวแย่ลง ในปัจจุบันข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่รับรองว่าการทำคาร์บ็อกซี่ปลอดภัยนั้นยังมีน้อย เท่าที่ทำการสืบค้นรายงานทางการแพทย์พบว่า มีเพียง 2 ฉบับเท่านั้น ที่รับรองว่าการทำคาร์บ็อกซี่ได้ผลและส่งผลข้างเคียงน้อย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถถึงเวลาต้องยกเลิก?พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำลังมาถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า การรักษาพยาบาลที่ได้รับสิทธิคุ้มครองจากบริษัทประกันในช่วงแรก เมื่อรักษาหมดวงเงินประกัน ก็ต้องกลับเข้ามารักษาตามสิทธิของแต่ละบุคคล ซึ่งถือว่าไม่ได้รับการดูแลจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้อย่างเต็มที่ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่อง "พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในบริบทของการประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ของ นพ.ดร.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรและคณะ ระบุว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นการประกันภัยภาคบังคับมีหลักไม่กำไร ไม่ขาดทุน แต่ผลกำไรของบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้จากประกันภัยประเภทนี้กลับมีสูงถึง 3.3 พันล้านบาทใน 4 ปี บวกกับปัจจุบันคนไทยมีหลักประกันสุขภาพทุกคน พ.ร.บ.นี้ไม่น่าจะมีความจำเป็นอีกต่อไป จึงต้องพิจารณาทางเลือกในการปรับปรุงระบบเพื่อให้คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีประกัน" นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แนวคิดในการเปลี่ยนระบบ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็นเพราะขณะนี้กองทุนผู้ประสบภัยจากรถเปลี่ยนแปลงไปจากวัตถุประสงค์เดิมที่ออกกฎหมายไว้ให้มีกองทุนเพื่อช่วยเหลือประชาชนเพราะไม่มีกองทุนใดคอยดูแล แต่ขณะนี้คนไทยทุกคนได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เมื่อเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งได้ อย่างไรก็ตาม หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ควรจะให้เวลาในการหารือและตัดสินใจ เนื่องจากอาจจะกระทบกระเทือนหลายฝ่าย โดยเฉพาะธุรกิจการประกันภัย “ขณะนี้ได้มอบหมายให้ทีมที่ปรึกษาระดมความคิด พูดคุย ศึกษาว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ปัจจุบันรายละเอียดต่างๆ ในสิทธิการรักษาพยาบาลเปลี่ยนไปมากจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ยอมรับว่ามีข้อร้องเรียนเข้ามาเสมอๆ โดยเฉพาะเรื่องความล่าช้าในการจ่ายเงินของบริษัทประกันภัย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นการโยนหินถามทางว่า สังคมจะมีความคิดเห็นอย่างไร ส่วนจะดำเนินการทันทีหรือไม่นั้น กระทรวงสาธารณสุขมีหลายเรื่องที่ต้องทำขณะนี้ คงจะต้องทำทีละเรื่อง เดือนละเรื่องและแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา" นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.ประกันภัยรถยนต์อีก เพราะคนไทยทุกคนมีระบบหลักประกันสุขภาพรองรับแล้ว หากรัฐบาลนำมาเป็นนโยบายและดำเนินการจริงจัง สปสช.ก็พร้อมดูแลรับผิดชอบผู้ประสบภัยอุบัติเหตุอย่างเต็มที่ แต่ สปสช.คงไม่เป็นต้นเรื่องในการให้ยกเลิก พ.ร.บ.ดังกล่าวเอง ซึ่งหากยกเลิก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว รัฐสามารถจัดเก็บภาษีอื่นทดแทนได้ เช่น การคิดภาษีจากน้ำมันเชื้อเพลิง 1 สตางค์ต่อลิตร หากยานพาหนะเติมน้ำมันเต็มถัง 50 ลิตร สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปีจะเสียค่าภาษีเพียง 104 บาทต่อคันต่อปีเท่านั้น ถูกกว่าจ่ายเบี้ยประกันภัยในปัจจุบันหลายเท่า ผู้เสียหาย “ซานติก้า” และนักวิชาการ วอนผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 30 มกราคม 2552 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับกลุ่มแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเสวนา “ซานติก้า…ปัญหาและทางออกของผู้บริโภค” ขึ้น โดยเชิญผู้เสียหายในเหตุการณ์ และนักวิชาการร่วมหาทางออก นายสันติสุข มะโรงศรี ผู้เสียหายในเหตุการณ์ ไฟไหม้ร้านซานติก้า เมื่อคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องผู้ถือหุ้นร้านซานติก้า ได้แก่ นายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ และนายสุริยา ฤทธิ์ระบือ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ ตามลำดับ รวมทั้งหมด 31 คน ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้ บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา กล่าวว่า สาเหตุหลักของการเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากการออกแบบอาคารและการก่อสร้างที่ผิดแบบ หากมีการก่อสร้างที่ถูกต้อง มีระบบดังเพลิงที่ดี เหตุการณ์ร้ายๆ คงจะไม่เกิดขึ้น “การที่ผมออกมาฟ้องเรื่องนี้ เพื่อจะยกระดับมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย และเพื่อขอความเป็นธรรมให้กับตัวผมเอง และอยากจะใช้กฎหมายตัวนี้เป็นบรรทัดฐานให้ผู้บริโภคต่อไป และผมอยากให้ผู้ที่เสียหายต่อเหตุการณ์นี้ ได้ลุกขึ้นมาทวงสิทธิของตัวเอง” นายสันติสุขกล่าวนายชัยรัตน์ แสงอรุณ ตัวแทนจากสภาทนายความ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าวขณะนี้ ได้มีผู้ไปขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความจำนวน 18 รายแล้ว สภาทนายความยินดีให้ความช่วยเหลือทุกท่าน“จากการทำงานที่ผ่านมา กรณีเกิดเหตุไฟไหม้เช่นนี้ซึ่งถือว่าเกิดเหตุโดยประมาท ผู้ประกอบการมักจะหลุดจากข้อหา เพราะภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับผู้บริโภค จึงค่อนข้างลำบาก แต่การฟ้องด้วย กม.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะภาระการพิสูจน์จะตกอยู่กับผู้ประกอบการว่า สถานประกอบการถูกต้องอย่างไง ผมคิดว่าข้อเท็จจริงของคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีผู้บริโภคต่อไป และอยากให้ผู้เสียหายออกมาใช้สิทธิของตัวเองและเพื่อให้กฎหมายผู้บริโภคที่ออกมาและมีอยู่ได้ถูกใช้โดยผู้บริโภค” นายชัยรัตน์ กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 93 กระแสในประเทศ

17 ตุลาคม 2551 สธ.โวยมีคนแอบใช้นมผลิตอาหารสัตว์ทำ "เบเกอรี่" จี้ คลัง-เกษตรฯ ส่งตรวจซ้ำ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อขอความร่วมมือให้ด่านศุลกากรทั่วประเทศตรวจสอบการนำเข้านมจากประเทศจีน ที่แจ้งวัตถุประสงค์เพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ โดยขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรแจ้งข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ของ อย.ประจำด่านอาหารและยา เพื่อสุ่มตรวจนมที่มีการนำเข้าทุกลอตซ้ำ เนื่องจากพบว่า มีการนำนมดังกล่าวมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารเมลามีนในผลิตภัณฑ์จากนม ที่คนนำมาบริโภค เช่น เบเกอรี่ต่างๆ อย.ได้กำชับเจ้าหน้าที่ประจำด่านอาหารและยาทั่วประเทศ ประสานกับเจ้าหน้าที่ของด่านศุลกากรและด่านปศุสัตว์ เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์จากนมต่างประเทศ โดยเฉพาะของจีนอย่างเข้มงวด และให้รอผลการตรวจหากการปนเปื้อนสารเมลามีนจากกรมวิทย์ฯ ก่อนที่จะนำสินค้าออกจากด่านทั้ง 32 ด่าน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------- 22 ตุลาคม 2551“หยินจี้หวง” ยาสมุนไพรทำเด็กจีนตาย ไม่พบในไทย ข่าวกระทรวงสาธารณสุขจีน สั่งให้โรงพยาบาลทั่วประเทศงดการใช้ยา “หยินจี้หวง” ที่ใช้รักษาโรคตับและโรคดีซ่านในทารก ซึ่งมีส่วนประกอบของสมุนไพร ดอกพุด และต้นสายน้ำผึ้ง ผลิตโดยบริษัท ไทฮั่ง ฟาร์มาซูติคอล เนื่องจากทำให้ทารกเสียชีวิตแล้ว 1 ราย และป่วยอีก 3 รายนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยได้เร่งตรวจสอบเป็นการด่วนแล้วพบว่า ไม่มียาดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย และไม่มีการผลิตหรือนำเข้ายาสมุนไพรจีน ที่มีส่วนประกอบของดอกพุดและต้นสายน้ำผึ้งในตำรับอื่นเข้าในประเทศไทยอีกด้วย ขอให้ประชาชนไทยมั่นใจได้ “สำหรับประชาชนที่นิยมใช้สมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วย แนะนำให้ซื้อจากร้านขายยาสมุนไพรที่มีใบอนุญาตถูกต้อง ถ้าเป็นยาแผนโบราณหรือยาสำเร็จรูป ต้องสังเกตว่ามีเลขทะเบียนตำรับยา หากพบข้อน่าสงสัยหรือไม่มั่นใจว่าเป็นยาสมุนไพรที่ปลอดภัย สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อ อย.จะได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบต่อไป” นักโภชนาการหนุนดื่มนมแม่ เลี่ยงเมลามีน นางสุจิต สาลีพัน นักโภชนาการ 8 กรมอนามัย กล่าวว่า การพบการปนเปื้อนสารเมลามีนในผลิตภัณฑ์นม นมผง อาหาร ขนมขบเคี้ยวที่มีส่วนผสมของนมนั้น อาจทำให้ผู้ปกครองห่วงใยบุตรหลาน และอาจหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อน หรือระมัดระวังจนทำให้ร่างกายของเด็กขาดโปรตีนและแคลเซียม ซึ่งความจริงผู้ปกครองควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้มาเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยนมแม่แทน เพราะในน้ำนมแม่มีโปรตีน แร่ธาตุ และสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากกว่านมวัวและนมอื่นๆ ทั้งยังส่งผลให้เด็กมีภูมิคุ้มกันโรค ร่างกายแข็งแรง มีไอคิว อีคิวดี และเป็นการเสริมสร้างใยรักจากแม่สู่ลูกด้วยการสัมผัส ซึ่งเด็กสามารถดื่มนมแม่ได้ถึงอายุ 2 ขวบ และหากแม่ต้องเดินทางไปทำงาน ในปัจจุบันก็มีถุงเก็บน้ำนมที่แม่สามารถปั๊มเก็บไว้ให้ลูกดื่มได้ และยังอาจเสริมด้วยผลไม้บด เช่น กล้วยน้ำว้าบด เป็นต้น 29 ตุลาคม 2551ทั่วโลกร่วมร่างกฎคุมบุหรี่เถื่อน ห้ามดิวตี้ฟรีขายบุหรี่ปลอดภาษี รายงานจากการประชุมของสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคตินและยาสูบภาคพื้นเอเชีย ครั้งที่ 1 ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า สมาชิกสมาคม 160 ประเทศทั่วโลกได้ร่วมกันหารือในประเด็น การกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อน โดยห้ามขายบุหรี่ปลอดภาษี โดยเฉพาะในร้านสินค้าปลอดภาษีของสนามบินต่างๆ ที่สามารถขายบุหรี่ได้แต่ต้องเป็นบุหรี่ที่จัดเก็บภาษีแล้วเท่านั้น เนื่องจากช่องทางนี้เป็นสาเหตุสำคัญในการมีบุหรี่เถื่อนเล็ดลอดออกมาจำหน่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังห้ามโฆษณาขายบุหรี่ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มาตรการห้ามโฆษณาบุหรี่ 100% จึงสามารถลดการสูบบุหรี่ได้เต็มที่ โดยเรื่องดังกล่าวนี้ยังจะต้องมีการประชุมอีก 2-3 ครั้ง จึงจะได้ข้อสรุป เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีประเด็นเหล่านี้บรรจุในกฎหมายของประเทศสมาชิกอนุสัญญาฯ มาก่อน 30 ตุลาคม 2551“อัมมาร” เซ็งนักการเมืองหัวหดไม่เก็บภาษี รพ.เอกชนที่ทุ่มรักษาชาวต่างชาติเต็มที่ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า กรณีที่ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีแนวคิดจะเสนอให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผลักดันมาตรการการจัดเก็บภาษีสถานพยาบาลเอกชนที่ให้บริการรักษาโรคกับชาวต่างชาตินั้น ตนเองได้เสนอแนวคิดในการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมานานแล้ว และสนับสนุนให้มีการดำเนินการอย่างเต็มที่ 100% ซึ่งในทางปฏิบัติยังไม่มีการจัดเก็บภาษีนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ในการขับเคลื่อนแนวคิดนี้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงยังเป็นเรื่องยาก เพราะยังไม่มีหน่วยงานใดให้ความสำคัญ“แม้ สปสช.จะเล็งเห็นถึงความสำคัญ แต่ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนให้เป็นนโยบายของภาครัฐได้สำเร็จ เพราะ สปสช.ไม่มีอำนาจเพียงพอ เรื่องนี้จะต้องใช้อำนาจของกระทรวงการคลังหรือรัฐบาล เป็นเจ้าภาพดำเนินการเท่านั้น แต่ขณะนี้เมื่อพูดถึงเรื่องการจัดเก็บภาษี นักการเมืองก็หัวหด ไม่มีใครใจถึงกล้าทำสักคน ขณะนี้จึงยังคงเป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น หากจะนำไปบังคับใช้จริง จะต้องมีการศึกษาผลกระทบทั้งข้อดี เสีย และอัตราการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเพียงพอ” ดร.อัมมาร กล่าว“เมดิเคิลฮับ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แพทย์ในระบบราชการถูกซื้อตัวไปอยู่ภาคเอกชนที่มีรายได้จาการรักษาชาวต่างชาติเป็นมูลค่าที่สูงมาก ซึ่งจากข้อมูลสถานพยาบาลเอกชนกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ ที่ให้บริการรักษาชาวต่างชาติเมื่อปี 2550 พบว่า มีชาวต่างชาติมารักษาโรคในประเทศไทย ประมาณ 1.5 ล้านบาท มีรายได้ประมาณ 60,000 ล้านบาท” ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง หัวหน้าโครงการติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทีดีอาร์ไอ กล่าว กิน “ปลา” ต้านเบาหวาน คนในยุคปัจจุบันมีความเสี่ยงกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น จนต้องรณรงค์เพื่อลดปัญหาดังกล่าวกันขนานใหญ่ ล่าสุดมีการรณรงค์ “กินปลาไร้พุงต้านโรคเบาหวาน” ขึ้นเนื่องใน “วันเบาหวานโลก” 14 พ.ย. 2551 นี้ ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา คณะกรรมการกองทุน สสส. ให้ข้อมูลว่า องค์การอนามัยโลกได้มีการประเมินว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกอย่างน้อย 194 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 300 ล้านคน ในอีก 17 ปีข้างหน้า และจากการสำรวจในไทยที่ผ่านมาพบคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานกว่า 3 ล้านคน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีการชี้ให้เห็นด้วยว่า โรคเบาหวานนั้นมีความอันตรายสูงกว่าโรคเอดส์ เพราะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ถึงปีละกว่า 3.2 ล้านคน ส่วนเอดส์นั้นเสียชีวิตเพียง 3 ล้านคนต่อปี “เบาหวานที่พบบ่อย คือ เบาหวานชนิดที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่อ้วน หรือคนอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นคนที่ออกแรง หรือออกกำลังกายน้อยเกินไป อีกทั้งในปัจจุบันนี้ยังพบมากในเด็ก ซึ่งเป็นการกินอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง และวิธีหนึ่งที่จะสามารถลดปัญหาโรคอ้วนและโรคเบาหวาน คือการหันมาส่งเสริมการกินอาหารแบบไทยโดยการเน้นการบริโภคปลาให้มากขึ้น เพราะปลานั้นเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีราคาถูก ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานได้” พญ.ชนิกาอธิบายด้าน นพ.ฆนัท ครุธกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและโภชนวิทยาคลินิก โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลเสริมว่า ไม่ว่าจะเป็นปลาน้ำจืด หรือปลาน้ำเค็มก็มีคุณค่าไม่แตกต่างกันมาก แต่ที่เห็นได้ชัดคือ ปลาน้ำเค็มนั้นจะมีไอโอดีนสูง แต่ก็จะมีคอเลสเตอรอลสูงเช่นกัน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารตกค้างในทะเลอย่าง สารปรอท สารตะกั่ว ดื่ม “กาแฟ” ไม่ทำให้ผอมเพรียว ศ.นพ.สุรัตน์ โคมินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนวิทยาคลินิกและโรคเบาหวาน กล่าวว่า ขณะนี้มีการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า การดื่มกาแฟแล้วจะทำให้รูปร่างผอมเพรียว ซึ่งต้องบอกว่าไม่เป็นความจริงทั้งหมด แม้ว่ากาแฟจะมีส่วนต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย แต่หากดื่มเป็นปริมาณมาก โดยหวังว่าจะให้ร่างกายผอม หุ่นดีนั้นอาจเกิดอันตรายกับร่างกายได้ แทนที่จะผอม เพราะกาเฟอีนจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานดีขึ้น แต่หากทานมากไปจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ“เป็นไปไม่ได้ที่กาแฟจะทำให้ลดน้ำหนักได้ เพราะไม่มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ยืนยันเช่นนั้น ทั้งนี้ ถ้าหากกินกาแฟสูตรใดสูตรหนึ่งแล้วสามารถลดน้ำหนักได้จริงคงเป็นการเติมสารอะไรบางอย่างทำให้มีผลต่อร่างกาย อาจเป็นยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก นอกจากนี้ หากดื่มกาแฟมากกว่าวัน 2 แก้วต่อวัน ก็อาจมีผลเสียกับร่างกายได้ เพราะหากร่างกายได้รับปริมาณกาเฟอีนเกินไปก็อาจเป็นอันตรายได้” นายสง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการระดับ 9 กรมอนามัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้บริโภคตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ต้านการละเมิดสิทธิของธุรกิจโทรคมนาคม4 พ.ย.51 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคจับมือสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดตัวศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคภาคประชาชน กรุงเทพมหานคร รวมกว่า 31 ศูนย์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมเดินหน้ารับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคมบางรายยังมีพฤติกรรมเอารัดเอาเปรียบลูกค้า โดยเฉพาะการกำหนดวันหมดอายุการใช้งานของซิมแบบเติมเงิน รวมทั้งการเก็บค่าต่อสัญญาณใหม่ 107 บาท นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้กล่าวในเวทีเสวนาหัวข้อ “เราจะหยุดการเอาเปรียบของธุรกิจโทรคมนาคมได้อย่างไร” ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการดังกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคในหลายๆ ปัญหาที่พบมาก คือการถูกเรียกเก็บค่าบริการรายเดือนทั้งที่ไม่ได้เปิดใช้บริการใช้ซิมฟรีที่ได้รับแจกมา การใช้ซิมแบบเติมเงินแต่ถูกกำหนดวันหมดอายุการใช้งานต้องเติมเงินเพิ่มทั้งๆ ที่มีเงินเหลืออยู่ อีกปัญหาที่มีการร้องเรียนมาโดยตลอดคือ กรณีลูกค้าขอเปิดใช้งานโทรศัพท์หลังโดนระงับสัญญาณเพราะค้างชำระค่าบริการ แทนที่ผู้ให้บริการจะคิดค่าปรับตามอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดแต่กลับใช้วิธีเรียกเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณใหม่ ในอัตรา 107 บาทตายตัว และบางเจ้าก็เรียกเก็บในอัตรา 214 บาท ซึ่งเป็นการขัดกับข้อกำหนดในเรื่องของค่าธรรมเนียมและค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมตามพระราชบัญญัติการประกบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่ห้ามไม่ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการนอกเหนือหรือเกินกว่าอัตราขั้นสูงที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) กำหนด แต่ในทางปฏิบัติยังมีการละเมิดสิทธิในเรื่องนี้อยู่ แต่เมื่อลูกค้าร้องเรียนหรือขอให้มีการยกเว้นก็จะมีการคืนเงินในส่วนนี้ให้ และเป็นการให้เฉพาะรายไม่ใช่ทุกรายเสมอไป “ในขณะนี้แม้กฎหมายจะกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีหน้าที่เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและห้ามคิดค่าโทรในการร้องเรียน แต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบอย่างเต็มที่จากผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ จึงถือเป็นหน้าที่ของ สบท. ที่นอกจากจะมีศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของตนเองแล้ว ยังจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนรวมตัวกันเพื่อปกป้องพิทักษ์สิทธิของตนเอง การจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิภาคประชาชนจะช่วยทำให้ประชาชนได้รับรู้และตระหนักในสิทธิของตนเองได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ด้าน รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า จากปัญหาหลากหลายที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องเร่งให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้บริโภคเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนจัดตั้ง “ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคภาคประชาชนในกิจการโทรคมนาคม” ขึ้น โดยจะเริ่มต้นในเขต กรุงเทพมหานครเป็นลำดับแรก โดยจะมีทั้งหมด 31 ศูนย์ มีพื้นที่ให้บริการประชาชนครอบคลุมทุกเขตของกรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นองค์กรประสานงานกลาง โดยปัญหาเร่งด่วนที่วางเป้าว่าจะต้องมีข้อยุติภายในปีนี้คือ การกำหนดวันหมดอายุการใช้งานของโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน และการคิดค่าต่อสัญญาณโทรศัพท์ใหม่ที่ไม่ใช่ลักษณะของการคิดค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องทำไม่ได้กับผู้บริโภคทุกรายไม่ใช่รายที่มีการร้องเรียนเข้ามาเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 French Pressed Coffee กาแฟ(ระ)คายคอ

ผู้เขียนกินกาแฟมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผู้ใหญ่สมัยก่อนกล่าวห้ามไว้ เนื่องจากเด็กที่กินกาแฟแล้วมักนอนไม่หลับ แต่ในความเป็นจริงสำหรับผู้เขียนแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะถ้าได้เข้านอนก่อน 22.00 น.โดยไม่มีความกังวลใจเรื่องใด ต่อให้เพิ่งดื่มกาแฟก็หลับได้ เพียงแต่ต้องตื่นกลางดึกเพื่อใช้ห้องน้ำ เพราะแคฟฟีอีนในกาแฟนั้นเป็นสารกระตุ้นการถ่ายปัสสาวะมาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่กาแฟเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นและหนุ่มสาว การถือถ้วยกาแฟเย็นราคาไม่ต่ำกว่า 35 บาทดื่มในที่สาธารณะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ในขณะที่ผู้เขียนได้เปลี่ยนพฤติกรรมการชงกาแฟดื่มแบบโบราณที่ใช้ถุงผ้าไปเป็นการดื่มกาแฟสำเร็จรูปที่เรียกว่า 3 in 1 เพื่อวัตถุประสงค์เพียงเพื่อคงระดับแคฟฟีอีนในร่างกาย โดยไม่ยึดติดกับรสชาติของกาแฟและไม่ดื่มกาแฟสด(ใส่นมและน้ำตาล) แบบที่ขายในปัจจุบันเพราะเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงมากจนไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการคุมน้ำหนักท่านผู้อ่านหลายท่านที่ดื่มกาแฟเป็นประจำอาจได้เคยเห็นโฆษณาเปิดตัวกาแฟแบบ 3 in 1 หลายยี่ห้อ ซึ่งมีข้อความประมาณว่า “ดื่มแล้วคล้ายการดื่มกาแฟสด” คำกล่าวนี้ทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่า ควรลองซื้อยี่ห้อที่ถูกที่สุดมาชิมดู เพราะเมื่อคำนวณราคาแล้วตกเพียงซองละ 5.40 บาท แต่ถ้าไปดื่มตามร้านกาแฟ คงต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกสัก 5-10 เท่าในประเด็นของกาแฟสดนั้น คอกาแฟทั้งหลายคงพอทราบว่า คนฝรั่งเศสนั้นมีกาแฟสดชงในแบบที่เรียกว่า French Pressed Coffee หรือเรียกสั้นๆ ในสหรัฐอเมริกาว่า Pressed Coffee ซึ่งว่าไปแล้วเป็นวิธีการชงกาแฟที่ผู้บริโภคชงได้เองและปัจจุบันมีผู้นำอุปกรณ์การชง(แก้วชง) แบบนี้เข้ามาขายแล้วในประเทศไทยด้วยราคาที่ไม่แพงนักคือ 200-600 บาท ตามขนาดของอุปกรณ์ French Press นั้นเป็นวิธีชงกาแฟง่ายๆ เพียงแค่เลือกชนิดกาแฟตามที่ชอบแล้วชั่งน้ำหนัก(ซึ่งขึ้นกับขนาดแก้วชง) ตามที่คู่มือของเครื่องชงกาแฟให้ไว้ใส่ลงในแก้วชง(ที่ลวกด้วยน้ำเดือดก่อน) จากนั้นจึงเทน้ำเดือดตามปริมาตรที่คู่มือกำหนดไว้ลงในแก้ว ชงรอประมาณ 5-6 นาทีก็กดก้านที่ดันกากกาแฟลงไปอยู่ก้นแก้วชง แล้วรินแยกน้ำกาแฟออกมา เติมนมสดหรือครีมและน้ำตาลตามชอบ (คำเตือน: น้ำหนักกาแฟคั่ว ปริมาตรน้ำ และอุณหภูมินั้นเป็นตัวกำหนดรสชาติของน้ำกาแฟ ซึ่งต้องปฏิบัติตามคู่มือ ทางผู้ผลิตอุปกรณ์ไม่รับผิดชอบถ้ากาแฟไม่อร่อยอย่างที่คิดเนื่องจากไม่ทำตามข้อแนะนำ)ลักษณะเฉพาะของกาแฟสดชนิด French Pressed Coffee คือ การมีกากกาแฟเหลืออยู่ที่ก้นแก้วชง ซึ่งผู้ดื่มอาจรู้สึกถึงความสากคอ(ของกากกาแฟขนาดเล็กมากที่ลอยอยู่ในน้ำกาแฟ) แลกกับความรู้สึกที่เขาว่ากันว่า ผลิตให้ผู้บริโภคได้ฟินเหมือนดื่มกาแฟสด (ฟินมาจากคำว่า ฟินาเล่ ซึ่งแปลว่า จบแบบสมบูรณ์แบบ) รสสัมผัสหลังการดื่มกาแฟ 3 in 1 ที่เคลมว่าคล้ายกาแฟสด อึกแรกทำให้ผู้เขียนพบว่า มันมีความสากคออยู่ ในตอนแรกไม่รู้ว่าเป็นอะไรจึงได้แต่นึกในใจว่า กาแฟซองนี้มันตกสเปคหรือไรจึงสากคอ แต่หลังจากหยิบซองกาแฟมาอ่านฉลากก็พบว่า องค์ประกอบหนึ่งของกาแฟในซองคือ ผงกาแฟบดละเอียด (microground coffee) ผสมกับกาแฟสำเร็จรูปและอื่น ๆ การเติมผงกาแฟบดละเอียดนี้เองที่คงทำให้ให้กาแฟ 3 in 1 ชนิดนี้มีลักษณะสัมผัสและรสชาติหลังการชงละม้ายคล้ายกาแฟสดแบบ French Pressed Coffee ของจริง อย่างไรก็ดีสิ่งที่ผู้เขียนระลึกได้หลังจากการดื่มกาแฟดังกล่าวนั้นคือ รสสัมผัสที่ไม่ต่างจากการดื่มกาแฟสดที่ชงด้วยถุงผ้าแบบโบราณของอาโก ซึ่งให้กากละเอียดลอยอยู่ในน้ำกาแฟเช่นกันความรู้เกี่ยวกับ French Pressed Coffee ที่ผู้เขียนตั้งใจนำมาฝากคือ มีบทความเรื่อง Pressed coffee is going mainstream — but should you drink it? เขียนโดย Heidi Godman เมื่อ 29 เมษายน 2016 ใน www.health.harvard.edu ซึ่งมีประเด็นที่ผู้เขียนสนใจว่าทำไมถึงมีคำถาม เราควรดื่มกาแฟที่ชงแบบนี้หรือไม่Heidi Godman เกริ่นว่า กาแฟชงด้วยเครื่องชงแบบฝรั่งเศสนี้กำลังเป็นที่นิยมมากในสหรัฐอเมริกา เพราะซื้อหาได้ง่ายในราคาถูก แถมวิธีชงก็ไม่ต้องการทักษะนัก ไม่ต้องเปลืองกระดาษกรองเหมือนวิธีชงด้วยเครื่องแบบอื่น แต่การไม่มีกระดาษกรองแล้วมีกากกาแฟผสมออกมากับน้ำกาแฟนั้น Heidi กล่าวว่ามันอาจก่อปัญหาบางอย่างได้โดยอธิบายดังนี้น้ำกาแฟแบบ  French Pressed Coffee นี้มีสารเคมีธรรมชาติที่ละลายในไขมันชนิดหนึ่งเรียกว่า ไดเทอร์ปีน(diterpene) มากกว่าการชงกาแฟแบบทั่วไป(อย่างน่าจะมีนัยสำคัญ) ซึ่งทำให้นักดื่มกาแฟมืออาชีพแซ่ซ้องว่า มันทำให้กาแฟอร่อยขึ้นกว่าเดิม แต่ปรากฏว่ามีอาจารย์แพทย์ชื่อ Dr. Eric Rimm ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาและโภชนาการของ Harvard T.H. Chan School of Public Health ได้ทำลายบรรยากาศการดื่มกาแฟลักษณะนี้ โดยกล่าวว่า การดื่มกาแฟแบบ French Pressed Coffee ราว 5-7 แก้วต่อวันอาจทำให้ไขมันชนิด LDL (ซึ่งคนไทยรู้กันในชื่อ ไขมันตัวเลว) ในเลือดสูงขึ้นได้ เท่ากับว่ายิ่งเป็นการเพิ่มความกังวลให้กับคอกาแฟ จากเดิมที่นักดื่มกาแฟ(สมัครเล่น) กังวล กล่าวคือ ผู้ดื่มคออ่อนๆ มักนอนไม่หลับ กระส่ายกระสับและหัวใจเต้นแรงผิดปรกติพร้อมความดันโลหิตที่สูงขึ้น เนื่องจากการดื่มกาแฟสด จะทำให้ได้รับแคฟฟีอีนเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อเลิกดื่มกาแฟ อย่างไรก็ดีงานวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับกาแฟโดยทั่วไปยังคงสรุปว่า การดื่มกาแฟแบบคนธรรมดาที่ไม่เข้มข้นดุเดือดอย่างสบายๆ วันละแก้วสองแก้วนั้น ยังก่อประโยชน์ต่อร่างกายอยู่บ้าง เพราะอย่างน้อยผู้ดื่มจะมีความตื่นตัวสดชื่นขึ้น แคฟฟีอีนในกาแฟเป็นตัวกระตุ้นให้เอ็นซัมของระบบทำลายสารพิษในเซลล์ตับทำงานดีขึ้น กาแฟให้แร่ธาตุคือ แมกนีเซียม โปแตสเซียม และวิตามินคือ ไนอาซิน รวมทั้งสารต้านออกซิเดชั่นต่างๆ อีกทั้งมีข้อมูลว่า การดื่มกาแฟ อาจช่วยชะลอการเป็นเบาหวานแบบที่สอง ด้วยซ้ำดังนั้นสิ่งที่น่าจะเป็นคำแนะนำสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟแบบ French Pressed Coffee คือ เมื่อไปตรวจสุขภาพประจำปีควรถามแพทย์ที่อ่านผลเลือดของท่านว่า ระดับไขมัน LDL และโคเลสเตอรอลนั้นเพิ่มขึ้นจนเกินระดับมาตรฐานหรือไม่ พร้อมกับคอยสังเกตว่า กาแฟในถ้วยที่ดื่มต้องขมแบบที่กาแฟควรเป็น ไม่หวานจ๋อยด้วยน้ำตาลและไม่มันจนเลี่ยนด้วยครีมนม เพราะความหวานและมันในกาแฟนั้นมักเป็นสาเหตุทำให้แพทย์ ซึ่งดูแลสุขภาพท่านท้อใจในชีวิตการเป็นแพทย์ เนื่องจากแนะนำอย่างไรๆ ไขมันตัวเลวในเลือดคนไข้ก็ไต่ระดับขึ้นเอาๆ เพราะคนไข้ชอบดื่มกาแฟที่หวานและมัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 185 คอเลสเตอรอล..อาจไม่เลวอย่างที่คิด

ทุกครั้งก่อนกินข้าวผู้เขียนมักสำรวจอาหารในจานว่า ครบห้าหมู่หรือไม่ ถ้าเป็นการกินที่บ้านส่วนใหญ่มักครบ แต่ถ้าต้องกินนอกบ้านแล้วส่วนใหญ่ต้องกำหนดว่า เมื่อกลับถึงบ้านควรไปกินอะไรเพิ่มบ้าง นอกจากจำแนกอาหารว่าครบห้าหมู่หรือไม่แล้ว สิ่งหนึ่งที่พยายามสังเกตคือ อาหารจานนั้นน่าจะมีคอเลสเตอรอลมากหรือน้อย โดยดูจากองค์ประกอบส่วนที่เป็นไขมันและส่วนที่เป็นหนังเช่น หนังหมู ทั้งนี้เพราะเราถูกสอนมาให้เลี่ยงไขมันชนิดนี้เพื่อลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดเกี่ยวกับเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจและสมองอย่างไรก็ดีในระยะหลังนี้ข่าวคราวเกี่ยวกับปัญหาของคอเลสเตอรอลต่อสุขภาพของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไป ทั้งนี้เพราะข้อมูลจากการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของนักวิทยาศาสตร์ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาการนั้นต่างไปจากเดิมคือ มีมุมมองในการทำวิจัยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลที่กว้างไกลกว่าเดิม ผู้เขียนจึงขอนำมาเล่าต่อดังนี้ข้อมูลจากอินเตอร์กล่าวว่า ทุกๆ 5 ปี หน่วยงานรัฐการของสหรัฐอเมริกาคือ กระทรวงเกษตร (US. Department of Agriculture หรือ USDA )และกระทรวงสาธารณสุข (US. Department of Health and Human Services หรือ USHHS ) มีความร่วมมือในการสร้าง ข้อแนะนำในการกินอาหารของคนในชาติ หรือ Nation's dietary guidelines ซึ่งเป็นการระบุชนิดของอาหารและวิธีการบริโภคที่ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี ทั้งในด้านน้ำหนักตัวและการป้องกันโรค ข้อแนะนำนี้มีการนำไปใช้ประยุกต์กับโครงการต่างๆของรัฐที่เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพของประชาชน เช่น โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน โครงการอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น สำหรับข้อแนะนำของปี 2015 เพื่อใช้ในช่วงปี 2016-2020 นั้นเป็นการแนะนำในกรอบกว้างๆ ที่หวังลดการได้รับสารอาหารบางชนิดที่มากเกินพอดีของคนอเมริกัน โดยรายงานของกรรมการที่สร้างข้อแนะนำนี้ยังยึดโยงกับข้อแนะนำในปี 2010 เป็นหลัก ซึ่งกล่าวถึงความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยของอาหารต่างๆ เช่น ความปลอดภัยของกาแฟ คาเฟอีนและน้ำตาลเทียมชนิดแอสปาเตม แต่มีสิ่งซึ่งค่อนข้างสำคัญเกิดขึ้นในคำแนะนำใหม่นี้คือ การไม่กล่าวถึงการจำกัดปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารที่คนอเมริกันกินในแต่ละวัน จากเอกสาร Scientific Report of the 2015 Dietary Guidelines Advisory Committee ของสหรัฐอเมริกานั้นกล่าวว่า ข้อแนะนำในการกินอาหารของคนอเมริกันแต่เดิมนั้น ได้เคยแนะนำให้กินคอเลสเตอรอล ซึ่งอยู่ในอาหารต่างๆ รวมกันไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน(ซึ่งเท่ากับกินไข่ได้สองฟองต่อวันเท่านั้น) เพราะระดับความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้นในระบบไหลเวียนโลหิต เป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการตีบตันของเส้นเลือด ถ้าเกิดขึ้นที่หัวใจอาจทำให้คุณหัวใจวายตาย (heart attack) หรือถ้าเกิดที่หลอดเลือดสมอง(stroke ) อาจนำสู่การเป็นอัมพาตบางส่วนของร่างกาย ดังนั้นข้อแนะนำในการบริโภคอาหารของคนอเมริกันเก่าในปี 2010-–2015 จึงมุ่งเน้นให้ประชาชนมองเห็นถึงอันตรายที่เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลสูงในระบบเลือดกว่าคนปรกติทั่วไป ทว่าในข้อแนะนำใหม่ที่จะใช้ต่อไปอีก 5 ปีนั้น ไม่จัดคอเลสเตอรอลเป็นสารอาหารที่ต้องกังวลในการกินเกินแล้ว เพราะคณะกรรมการผู้สร้างข้อแนะนำกล่าวว่า ข้อมูลทางวิชาการใหม่ๆ ไม่ได้แสดงว่าปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารนั้นมีความสัมพันธ์กับคอเลสเตอรอลในเลือด จริงๆ แล้วร่างกายเราเองสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นเพื่อใช้เองทุกวัน ซึ่งอาจมากกว่าปริมาณที่กินจากอาหาร ทั้งนี้ขึ้นกับข้อกำหนดทางพันธุกรรมว่า ร่างกายของแต่ละคนต้องการใช้คอเรสเตอรอลเท่าไรและกำจัดได้ดีเพียงใด ทั้งนี้เพราะอนุพันธ์ของคอเลสเตอรอลนั้น เป็นสารที่ร่างกายใช้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดดช่วงเช้าและเย็น นอกจากนี้คอเลสเตอรอลยังถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนบางชนิดและเปลี่ยนเป็นเกลือน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยไขมันจากอาหารที่เรากินเข้าไป อีกประการหนึ่ง ซึ่งสำคัญมากๆ คือ คอเลสเตอรอลนั้น เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นที่ต้องมีสอดแทรกในชั้นไขมันที่ทำหน้าที่เป็นผนังเซลล์ หรือผนังออร์กาเนล (คือเอ็นโดพลาสมิคเร็ทติคิวลัม) ของเซลล์ซึ่งเป็นบริเวณสร้างโปรตีนในเซลล์และทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงสารพิษก่อนถูกกำจัดออกจากร่างกายอาหารที่สามารถเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกาย ได้แก่ ไข่แดง หนังสัตว์ต่างๆ(โดยเฉพาะหนังของขาหมูพะโล้) เนื้อติดมัน หอยนางรม กุ้ง นม เนย เป็นต้น ส่วนการสร้างขึ้นเองในร่างกายนั้น ร่างกายเราสร้างได้จากไขมันธรรมดาที่กินเข้าสู่ร่างกาย โดยเซลล์ตับนั้น เป็นเซลล์ที่รับผิดชอบงานนี้ราวร้อยละ 20-25 ดังนั้นการกินอาหารไขมันสูงจึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการสร้างคอเลสเตอรอลของร่างกายสู่ระดับสูงสุดได้ประเด็นที่น่าสนใจคือ บางขณะที่เราต้องการอาหารไขมันสูง เพื่อให้ได้พลังงานเนื่องจากต้องอยู่ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น อาจมีไขมันส่วนที่กินเกินไปเพิ่มการสร้างคอเลสเตอรอลได้ ดังนั้นประชาชนจึงควรทราบวิธีการลดปริมาณคอเลสเตอรอล   วิธีการลดปริมาณคอเลสเตอรอลโดยหลักการแล้วทำได้โดยการเพิ่มอาหารที่มีใยอาหารกลุ่มเพคตินเข้าไปในมื้ออาหาร เพื่อเร่งให้มีการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลไปเป็นสารอื่น อาหารที่มีใยอาหารกลุ่มเพคตินสูง ได้แก่ แตงต่างๆ มะม่วง แอปเปิ้ล ถั่วหลายชนิดมีเพคตินสูง สำหรับผลไม้นั้นเป็นที่รู้กันว่า ส้มต่างๆ เป็นแหล่งสำคัญของเพคติน ที่น่าสนใจมากคือ ขนมเปลือกส้มโอซึ่งเป็นการสกัดเอาเพคตินจากส่วนสีขาวของเปลือกมาผสมน้ำตาลแล้วทิ้งให้แข็งตัว ดังนั้นถ้าทำให้ขนมนี้มีปริมาณน้ำตาลต่ำ ขนมเปลือกส้มโอก็จะเป็นแหล่งที่ดีของเพคตินในราคาไม่แพงนัก บทบาทของเพคตินในการลดคอเลสเตอรอลคือ เพคตินสามารถจับเกลือน้ำดีในลำไส้ใหญ่แล้วพาเกลือน้ำดีออกจากร่างกายไปกับอุจจาระ ซึ่งเป็นการลดการดูดซึมเกลือน้ำดีกลับไปยังถุงน้ำดี(เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่) การลดปริมาณเกลือน้ำดีนี้เป็นการบังคับให้ตับต้องนำเอาคอเลสเตอรอลในเลือดที่ไหลผ่านตับไปสร้างเป็นเกลือน้ำดีใหม่ จึงทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดลดลง ประเด็นสำคัญของคอเลสเตอรอลที่เกี่ยวกับสุขภาพของท่านประเด็นสำคัญคือ คอเลสเตอรอลเป็นองค์ประกอบของไลโปโปรตีนสำคัญในเลือด ซึ่งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า low density lipoprotein (LDL มีองค์ประกอบเป็นโปรตีนร้อยละ 25 คอเลสเตอรอลร้อยละ 50 และฟอสโฟไลปิดร้อยละ 21) ซึ่งควรมีในเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (หรือ 10 มิลลิลิตร) และ high density lipoprotein (HDL มีองค์ประกอบเป็นโปรตีนร้อยละ 33 คอเลสเตอรอลร้อยละ 30 และฟอสโฟไลปิดร้อยละ 29) ซึ่งควรมีในเลือดไม่ต่ำกว่า 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไขมันทั้งสองนี้ได้ถูกแปลให้เข้าใจง่ายว่าเป็น คอเลสเตอรอลเลวและคอเลสเตอรอลดี ตามลำดับ เพราะว่าไลโปโปรตีนชนิดแรกนั้น ถ้ามีมากในเลือดแล้วจะเป็นดัชนีว่า หัวใจมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสูง ส่วนไลโปโปรตีนชนิดหลัง ถ้ามีมากในเลือด ก็หมายความว่า หัวใจมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่ำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังขึ้นกับปัจจัยทาง พันธุกรรมและการใช้พลังงานในแต่ละวันด้วยอย่างไรก็ดีแม้ว่านักวิทยาศาสตร์สุขภาพชาวอเมริกันจะเห็นพ้องต้องกันในปัจจุบันว่า ความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในเลือดนั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่าไรแล้ว ท่านผู้บริโภคอย่าละเลยหลักการสำคัญทางโภชนาการที่ว่า ไม่พึงกินอะไรให้อิ่มมากเกินจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารมันๆ นั้นควรกลัวเข้าไว้ มิเช่นนั้นเวลาไปตรวจสุขภาพแล้วผลเลือดออกมาว่า คอเลสเตอรอลสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป คุณหมอที่ดูแลสุขภาพท่านอาจมีเคืองได้ในฐานที่ท่านไม่ใส่ใจในคำแนะนำ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 184 อารมณ์บูดกับสารกันบูด

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้แถลงข่าวในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ว่า ขนมจีนที่ขายในท้องตลาดมีการใส่สารกันบูดชื่อเกลือเบนโซเอตทุกตัวอย่าง งานนี้ทำให้ผู้เขียนเดาว่า การแถลงข่าวแก่สาธารณะชนของมูลนิธินั้นอาจหวังให้มีการทำอะไรสักทีโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคอาหารดีขึ้นความจริงข้อมูลเกี่ยวกับขนมจีนในลักษณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงนี้ สถาบันอาหารก็ได้แถลงไว้ก่อนแล้วในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับพิมพ์เมื่อ 24 กรกฎาคม 2558 ซึ่งสามารถค้นข้อมูลได้ในไทยรัฐออนไลน์ภายใต้หัวข้อ สารกันบูดในขนมจีน โดยที่เนื้อหานั้นก็เป็นไปในทำนองเดียวกับที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าวทุกประการ จะเห็นได้ว่าเพียงช่วงเวลาไม่ถึงปี ข่าวเกี่ยวกับขนมจีนมีสารกันบูดนั้นปรากฏขึ้นถึงสองครั้ง (เป็นอย่างน้อย) และถ้าท่านผู้อ่านสนใจอยากทราบว่า มีข่าวลักษณะนี้มากน้อยเท่าใดในสังคมไทย ท่านสามารถอาศัย google โดยใช้คำช่วยในการค้นว่า “สถิติ การตรวจพบ สารกันบูด อาหารไทย” ท่านก็จะได้ข้อมูลที่ดูไม่จืดสำหรับชีวิตการบริโภคอาหารประจำวันข้างถนนหรือศูนย์การค้าของท่านทำไมผู้ผลิตจึงต้องใส่สารกันบูดในอาหาร คำตอบหล่อๆ ง่ายๆ คือ เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายเนื่องจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนได้ระหว่างการผลิต เก็บ และขนส่งอาหาร ทั้งนี้เพราะเป็นที่รู้กันว่า สภาพภูมิอากาศของไทยนั้นเป็นสวรรค์ของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ดังนั้นการป้องกันการเจริญของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุนั้นจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งไม่บังควรแก้ปัญหาโง่ๆ ง่ายๆ ด้วยสารกันบูด เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตในการเก็บรักษาและขนส่งเมื่อผู้เขียนยังเด็ก สิ่งที่พบเห็นทั่วไปในการขนส่งอาหารที่บูดเสียง่ายเช่น ลูกชิ้นและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ต่างๆ คือ การบรรจุสินค้าในภาชนะที่มีน้ำแข็งหล่อเย็น แต่ในระยะหลังที่เรียนจบกลับมาเมืองไทย(พ.ศ. 2525)ได้พบว่า รถกระบะที่ใช้ขนอาหารที่บูดเสียง่ายรวมทั้งลูกชิ้นต่างๆ นั้น ไม่ได้มีการใช้น้ำแข็งในการป้องกันการบูดเสีย แถมยังสามารถปล่อยให้อาหารตากแดดอยู่ในกระบะของรถได้โดยไม่ต้องมีการปกคลุมด้วยผ้าใบกันแสงแดด โดยที่อาหารนั้นยังคงสภาพดีได้ทั้งวัน อีกทั้งยังสังเกตได้จากการที่ร้านขายก๋วยเตี๋ยวปัจจุบันว่า แม้ไม่มีระบบแช่เย็นสำหรับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ เขาก็สามารถขายสินค้าได้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าร้อนที่อุณหภูมิบนท้องถนนเกิน 37 องศาเซลเซียส ปัญหาอาหารที่ขายตามถนนได้เช้าจรดเย็นโดยไม่เสียนั้น ได้รวมไปถึงอาหารตระกูลเส้นซึ่งมีความชื้นสูง เช่น ก๋วยเตี๋ยวและขนมจีน ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับสารกันบูดในผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงได้ทยอยเปิดเผยสู่สาธารณะชนเป็นระยะๆ ไม่มีที่สิ้นสุดสารกันบูดจำเป็นไหมสำหรับคำถามว่า สารกันเสียหรือสารกันบูดนั้นจำเป็นแก่ผู้บริโภคหรือไม่นั้น คำตอบง่าย ๆ คือ จำเป็น ตราบใดที่ระบบการบริโภคอาหารของคนไทยหลายส่วนยังอยู่ในลักษณะไม่เป็นที่เป็นทางเช่นปัจจุบัน กล่าวคือหาอาหารกินได้ทุกที่ ที่เป็นแหล่งชุมชน เสมือนหนึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่สนใจ หรือไร้ความรู้ในการบังคับให้มีการจัดการสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นที่เป็นทางแบบถูกสุขลักษณะ ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2543 ผู้เขียนเคยได้ยินผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่ง ให้ข่าวทางโทรทัศน์ว่า มีนโยบายที่จะจัดบริเวณสำหรับขายอาหารข้างถนนให้เป็นที่เป็นทาง มีระบบอำนวยความสะดวกเช่น เต้นท์ ระบบน้ำประปาเพื่อล้างภาชนะ ไฟฟ้าเพื่อตู้เย็นเก็บอาหารสด และอื่นๆ(ทำนองเดียวกับสิงค์โปร์) โดยใช้พื้นที่ในส่วนของสถานที่ราชการที่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรเช่น สนามหญ้าหน้าหน่วยงานราชการซึ่งมีแต่เสาธงโด่เด่ โดยหวังว่าเป็นการยกระดับสุขอนามัยของอาหารข้างถนน แต่น่าเสียดายที่นโยบายนี้ไม่ได้นำมากระทำให้เป็นจริง เหตุผลนั้นท่านผู้อ่านต้องหาคำตอบเองจากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เก่าๆ ผู้เขียนได้แต่บอกว่า เขาผู้หาเสียงได้ตายไปแล้วพร้อมกับอาหารที่ขายข้างถนน ก็ยังมีคุณสมบัติในการทนอากาศร้อนของเมืองไทยได้โดยไม่บูดเสีย ดังนั้นท่านผู้อ่านคงพอเข้าใจได้ไม่ยากว่า สารกันบูดน่าจะเป็นทางเลือกทางรอดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคที่ผู้ประกอบการมักแถมให้ฟรี ด้วยเหตุนี้ท่านผู้อ่านที่ต้องกินอาหารข้างถนนจึงต้องทำใจยอมรับการกินสารกันบูด ในเมื่อท่านอยู่ในสถานการณ์ที่มีสตางค์ไม่มากนักและต้องหาอะไรใส่ท้อง สำหรับผู้เขียนนั้นมิได้มีความเห็นด้วยต่อการปฏิบัติแก้ปัญหาของผู้ประกอบการดังกล่าว จึงพยายามเลี่ยงการต้องใช้บริการอาหารข้างถนน โดยยอมหิ้วท้องกลับบ้าน(ถ้าทำได้)การใช้สารกันบูดนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้ได้ตามกฎหมายในอาหารเกือบทุกชนิด ไม่ว่าเป็นอาหารที่ผลิตทางอุตสาหกรรม หรือชนิดที่แม่ค้าทำที่บ้านแล้วขายตรงสู่ผู้บริโภค แต่ในความเหมือนนั้นก็มีความต่างกัน อาหารที่ผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นต้องทำการขึ้นทะเบียนก่อน จึงต้องใช้สารกันบูดได้ในปริมาณที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตกำหนด ในขณะที่สินค้าชนิดเดียวกันแต่ขายตรงสู่ผู้บริโภคนั้นหน่วยงานที่มีหน้าที่คงไม่ค่อยได้ดูแล ด้วยเหตุผลที่อ้างประจำว่า คนน้อย งานเยอะ ฯลฯในกรณีการใช้สารกันบูด(ซึ่งหมายรวมถึงสารเจือปนในอาหารอื่นๆ ด้วย)นั้น หน่วยงานทางการของทุกประเทศมักกำหนดให้ใช้ได้ในปริมาณที่ไม่(ควร)ก่อปัญหาต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยขึ้นกับข้อมูลว่า อาหารชนิดนั้นว่า ถูกกินด้วยปริมาณมากหรือน้อยในหนึ่งครั้งของการกิน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาหารชนิดใดถูกกินในปริมาณมากต่อครั้ง ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ก็จะน้อย ในทางกลับกันถ้าอาหารใดถูกกินในปริมาณน้อยต่อครั้งก็อาจได้รับอนุญาตให้ใส่ได้มากขึ้นได้จนถึง 1000 ส่วนในล้านส่วน ตัวเลขที่ใช้ในอาหารแต่ละประเภทนั้นหน่วยงานทางการมักใช้น้อยกว่าหรือเท่ากับที่ Codex(หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่ผู้ผลิตอาหารจำต้องเชื่อฟัง)เป็นผู้กำหนดปริมาณของสารเจือปนที่ถูกผู้บริโภคกินจากอาหารชนิดต่างๆในหนึ่งวันนั้น ในทางทฤษฎีแล้วต้องไม่เกินค่าซึ่งทางวิชาการเรียกว่า ADI หรือ acceptable daily intake ซึ่งเป็นตัวเลข (จากการคำนวณเมื่อได้ผลการศึกษาในสัตว์ทดลอง) ที่หมายถึง ปริมาณสารเจือปนต่อน้ำหนักตัวผู้บริโภคกินทุกวันจนวันตายก็ไม่เกิดอาการผิดปรกติเอาล่ะ กลับมาพิจารณาถึงเหตุที่ผู้ผลิตมักใส่สารกันบูดในขนมจีน คำตอบนี้ที่ผู้เขียนได้หลังจากการเข้าไปศึกษากระบวนการผลิตขนมจีน ซึ่งมีการอธิบายในอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะใน YouTube นั้นมีการแสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่ใส่สารนี้โอกาสที่จะมีคนเป็นโรคทางเดินอาหารเพิ่มนั้นสูงมาก เพราะขั้นต้อนการผลิตนั้นค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลาและเอื้ออำนวยต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียการทำขนมจีน (www.pschsupply.com) โดยสรุปนั้น เริ่มจากการนำข้าวเจ้าไปแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน ซึ่งเป็นกระบวนการหมักข้าว ด้วยแลคติคแอซิดแบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ข้าวหมักที่ได้นั้นถูกนำไปบดให้ละเอียดแล้วนำไปกรองแป้งด้วยผ้าขาวบาง 1 คืน ให้ตกตะกอนจึงนำไป นอนนํ้าแป้ง ในถุงผ้าทิ้งอีก 1 คืน โดยมีวัตถุที่มีน้ำหนักกดทับแป้งเพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออก ก่อนนำไปนึ่งให้สุกบางส่วนแล้วจึงตีแป้งให้แป้งดิบและแป้งสุกผสมกันดี ก่อนนำไปผ่านกระบวนการ ครูดแป้ง โดยเทแป้งใส่ในผ้าขาวบางแล้วหมุนผ้าบิดบีบเพื่อให้แป้งไหลผ่านออกมา แป้งที่ได้มีเนื้อละเอียดพร้อมนำไปโรยเส้นด้วยภาชนะเจาะให้มีรูขนาดเหมาะสมลงในหม้อที่มีน้ำเดือดอยู่ ได้เส้นสุกลอยขึ้นมาจึงใช้กระชอนช้อนขึ้นไปแช่น้ำเย็นก่อน จับเส้น ตามต้องการ ขนมจีนแบบนี้เรียกว่า ขนมจีนแป้งหมัก ซึ่งหากินได้ยากแล้วสำหรับขนมจีนประเภทที่ทำได้เร็วกว่าคือ ขนมจีนแป้งสดซึ่ง Arthit ได้โพสต์ในเว็บhttp://farmfriend.blogspot.com อธิบายขั้นตอนการผลิตพร้อมรูปประกอบว่า ให้นำแป้งข้าวเจ้ามานวดกับน้ำให้เหนียวนุ่มแล้วปั้นเป็นก้อน ก่อนนำไปต้มหรือนึ่งให้สุกเพียงด้านนอก จากนั้นจึงนำไปบี้แล้วตำทั้งร้อนๆ ในครกจนเหนียวหนืด แล้วนำไปบีบโดยเครื่องบีบเส้น(ซึ่งอาจเป็นกระป๋องเจาะรูง่ายๆ) ลงไปในหม้อที่มีน้ำเดือด จนได้เส้นลอยขึ้นมาให้ตักไปแช่น้ำเย็นทันที แล้วจับเป็นหัวให้สวยงามน่ากิน โดย Arthit ไม่ได้ระบุว่าทำแล้วก็ต้องกินให้หมดในวันนั้นเลยหรือไม่ ดังนั้นในโลกแห่งความเป็นจริงของการผลิตเพื่อขายให้ลูกค้า ขนมจีนแป้งสดต้องการใช้เบนโซเอทในการผลิตเพื่อป้องกันการบูดเสียขณะเก็บไว้ขายในวันอื่น ถ้าจำไม่ผิด นานมาแล้วเมื่อสถานีโทรทัศน์ที่ดำเนินงานด้วยภาษีบาปในช่วงเพิ่งตั้งสถานีใหม่ๆ ได้เคยเสนอสารคดีวิธีทำขนมจีนแป้งสดระดับโรงงานแถวฉะเชิงเทรา ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังอธิบายข้างบน แต่ขั้นตอนที่ผู้เขียนสนใจมากคือ การใช้น้ำจากแม่น้ำบางประกง ซึ่งผ่านการแกว่งสารส้มให้ใสมาเป็นน้ำสำหรับทำให้เส้นขนมจีนเย็นลง โดยมีผู้ให้เหตุผลในอินเทอร์เน็ตว่า ในการทำขนมจีนนั้นใช้น้ำประปา ซึ่งมีคลอรีนไม่ได้เพราะคลอรีนทำให้ได้เส้นขนมจีนที่ไม่ดี (จึงมักใช้น้ำบ่อหรือน้ำท่าที่ดูสะอาด)  ดังนั้นถ้าปัจจุบันการทำขนมจีนยังใช้น้ำบ่อหรือน้ำท่าเป็นขั้นตอนในการผลิตเหมือนเดิม การใช้สารกันบูดจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 ข้อมูลไม่มั่ว เรื่องน้ำมันหมู

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปบรรยายให้สมาชิกของชมรมหนึ่งซึ่งทำกิจกรรมด้านโภชนาการ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเมื่อต้นเดือนเมษายน ในหัวข้อเกี่ยวกับ ผลของน้ำมันปรุงอาหารต่อการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อ ซึ่งทางผู้จัดประชุมได้กำหนดให้มีผู้บรรยาย 3 คน รับผิดชอบคนละหัวข้อ โดยบรรยายคนละ 1 ชั่วโมง ซึ่งว่าไปแล้วช่วงเวลาน่าจะพอในการให้ความรู้แก่ผู้เข้าฟัง แต่หลังจากผู้เขียนเตรียมการบรรยายเสร็จปรากฏว่า มีข้อมูลหลายประการซึ่งไม่สามารถนำเสนอได้ ทั้งที่เป็นเรื่องน่าจะสำคัญเพราะเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนพบจากอินเตอร์เน็ทเกี่ยวกับน้ำมันที่ใช้ในการปรุงอาหาร ซึ่งดูเพี้ยนไปจากความจริง ดังนั้นจึงขอให้ท่านผู้อ่านลองพิจารณาว่า คิดอย่างไรกับข้อมูลดังกล่าว เหมือนที่ผู้เขียนคิดหรือไม่ ผู้เขียนขอไม่ระบุถึงแหล่งที่มาของประเด็นปัญหาเพื่อตัดความรำคาญใจที่อาจเกิดแก่บรรณาธิการของฉลาดซื้อประเด็นหนึ่ง ซึ่งได้มีการเผยแพร่ในเว็บออนไลน์ของหนังสือพิมพ์บางฉบับประมาณว่า “น้ำมันหมูนั้นกินดีกว่าน้ำมันพืชจริงหรือ?” จากนั้นก็มีเนื้อความที่อ่านแล้วผู้เขียนกังวลใจว่า ถ้าผู้อ่านไม่ได้เรียนด้านวิทยาศาสตร์อาจติดใจสงสัยคือ ข้อความที่ว่า “....น้ำมันพืชที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่น้ำมันพืชที่ได้จากการสกัดแบบธรรมชาติ….” คำพูดนี้ถูกต้องไม่ผิด เพราะการสกัดน้ำมันพืชมักใช้ตัวทำละลายไขมันคือ เฮ็กเซน ซึ่งสามารถระเหยออกได้หมด กรรมวิธีการสกัดน้ำมันพืชทางเคมีนี้ นักเคมีทุกคนต้องเคยเรียนผ่านมาและรู้ว่าวิธีนี้ดีกว่าการบีบอัดธรรมดา ส่วนการที่ต้องระเหยเฮ็กเซนออกให้หมดเพราะตัวทำละลายนี้ ถ้าเป็นระดับที่มีคุณภาพใช้กับอาหารได้เป็นสารอันตรายถ้าตกค้าง อีกทั้งราคาค่อนข้างแพง ทางโรงงานจึงต้องทำการเก็บคืนมาเพื่อใช้ใหม่จากนั้นก็ตามด้วย “…..แต่เป็นน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี โดยการเติมไฮโดรเจนเข้าไป ฟอกสีให้ดูสะอาด สดใส แวววาว....” ประเด็นนี้เป็นข้อมูลที่ผิดพลาด ซึ่งถ้าไม่ใช่ความเข้าใจผิดของคนให้ข้อมูลก็คงเป็นของนักข่าว เพราะการฟอกสีน้ำมันพืชให้ใสนั้นไม่มีการใช้ไฮโดรเจน(แต่ใช้วิธีการอื่น) การเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) นั้นมีจริง แต่เป็นการทำให้น้ำมันพืชที่มีความไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลืองกลายเป็นไขมันอิ่มตัวที่เรียกว่า Shortening ซึ่งคนไทยมักเรียกว่า เนยขาว เพื่อใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ขนมอบ เนยขาวนั้นเป็นไขมันชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายของหัวใจผู้บริโภค เพราะในกระบวนการเติมไฮโดรเจนนั้นมักเกิดข้อเสียที่ทำให้ได้ไขมันทรานส์ และข้อความ“.....พร้อมกับแต่งกลิ่นจึงเป็นโทษ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะกลายเป็นกาวเหนียวๆ เข้าไปเกาะเคลือบผนังลำคอ ลำไส้ กระเพาะ ทำให้ผนังลำไส้เล็กไม่สามารถดูดซึมสารอาหารต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้....” ข้อมูลส่วนนี้เจ้าของข้อความมโนเอาเอง เพราะไม่ถูกต้องทางวิชาการ เนื่องจากไขมันนั้นไม่ว่าจะดีหรือเลวอย่างไรก็เท่าเทียมกันในการที่จะถูกน้ำดีจากตับ ซึ่งหลั่งออกมาในลำไส้เล็ก ทำให้ไขมันที่เรากินเข้าไปเกิดการแตกออกเป็นกลุ่มของโมเลกุลเล็กๆ ที่เรียกว่า ไมเซลล์(micelles) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ให้น้ำย่อยชนิดไลเปส(lipase) ได้เข้าไปย่อยก่อนการดูดซึม ดังนั้นโอกาสที่ไขมันจะไปเกาะหรือเคลือบผนังลำไส้น่าจะไม่เกิด ยกเว้นกับผู้บริโภคที่มีผนังลำไส้ผิดปรกติ ซึ่งผู้เขียนไม่เคยพบข้อมูลลักษณะนี้ในตำราสรีรวิทยาเล่มใดแล้ว“.....อีกทั้งไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันพืช หากใช้ทอดหรือผัดในอุณหภูมิที่สูงมากเกินไป เป็นระยะเวลานานหรือใช้ซ้ำก็เป็นอันตราย เพราะไปเพิ่มสารอนุมูลอิสระทำร้ายเซลล์ในร่างกาย นำไปสู่โรคร้ายสารพัดในปัจจุบัน ตรงข้ามกับน้ำมันหมูที่เป็นไขมันอิ่มตัว แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไม่เป็นไข และละลายกับน้ำได้…….” ข้อมูลส่วนนี้มีส่วนถูกผสมผิด ดังที่ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ในบทความที่เกี่ยวกับไขมันที่ตีพิมพ์ในฉลาดซื้อก่อนหน้าแล้วว่า การเกิดอนุมูลอิสระนั้น เกิดได้กับกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น แต่อนุมูลอิสระที่เกิดตามธรรมชาติในกระทะนั้นมักมีอายุสั้นมากแล้วเปลี่ยนไปเป็นสารอื่น ซึ่งมักเป็นสาเหตุของกลิ่นหืน กรณีอนุมูลอิสระที่เกิดจากกรดไขมันในน้ำมันพืชแล้วทำอันตรายต่อหน่วยพันธุกรรมของเซลล์ได้นั้น ต้องเกิดเมื่อกรดไขมันนั้นอยู่ในเซลล์ เพราะเมื่อเกิดแล้วจะอยู่ใกล้กับเป้าหมายการทำลายคือ ดีเอ็นเอ นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับน้ำมันหมูนั้น จริงอยู่ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นไข(น้ำมันพืชก็ไม่เป็นไขในร่างกาย) แต่ก็ไม่มีน้ำมันชนิดใดละลายน้ำได้เพราะมันเป็นคุณสมบัติทั่วไปของน้ำมันที่ไม่ละลายน้ำและประโยคที่ส่อถึงความไม่รู้ของผู้เขียนข้อความนี้คือ “....เดือดร้อนถึงคนหัวใสที่ไม่ประสงค์ดี จัดการแปลงน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อไม่ให้เหม็นหืนด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลหรือที่เรียกว่า “โฮโมจีไนซ์” คือ การใส่ไฮโดรเจน ลงไปทำปฏิกิริยากับน้ำมันพืช เพราะเมื่อน้ำมันถั่วเหลือง ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเรียบร้อยแล้ว ก็จะไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอีกต่อไป ….” ข้อความดังกล่าวอาจดูไม่ผิดในภาพรวม แต่ศัพท์วิชาการนั้นผิดแน่ๆ เพราะการทำให้น้ำมัน(ซึ่งมีสถานะของเหลว) กลายเป็นไขมัน(ซึ่งมีสถานะของแข็ง) นั้นเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ไฮโดรจีเนชั่น (hydrogenation) ซึ่งเป็นการเติมอะตอมไฮโดรเจนเพื่อเปลี่ยนพันธะคู่ของกรดไขมันให้เป็นพันธะเดี่ยว โดยมีสารที่เรียกว่า catalyst ช่วยให้ปฏิกิริยาเกิดได้ ดังนั้นประเด็นที่ผู้อ่านควรสนใจคือ ผู้ให้ข่าวหรือสิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าวนี้ไม่ใส่ใจในความถูกต้องทางวิชาการนัก (ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมากในอินเตอร์เน็ท)ผู้(ไม่)รู้ที่ชอบเขียนเรื่องไขมันนั้น บางครั้งก็ไม่ใส่ใจในการอ่านตำราชีวเคมีหรือสรีรวิทยา ที่กล่าวเช่นนี้เพราะมีบางคนเขียนข้อความในเน็ทว่า “....นอกจากน้ำมันหมูจะอร่อยกว่าโดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายมนุษย์ก็มีวิธีการกำจัดออกได้โดยอัตโนมัติ เพราะว่าเป็นน้ำมันหมูจากธรรมชาติซึ่งร่างกายรู้จักดี เนื่องจากได้พัฒนาระบบย่อยมานานกว่าล้านปี แต่กับน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีนั้น ร่างกายมนุษย์ไม่เคยรู้จัก จึงไม่มีวิธีการนำไปใช้หรือแม้แต่กระทั่งวิธีการขจัดน้ำมันพืชเหล่านั้น ให้ออกจากร่างกายไปได้....” ข้อความนี้ดูไม่เกรงใจอิสลามิกชนเลยประการหนึ่ง แต่ที่สำคัญกว่าคือ ไม่ว่าน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์นั้น ตำราชีวเคมีทุกเล่มที่ใช้ในมหาวิทยาลัยที่ได้มาตรฐานทางวิชาการนั้นต่างก็บรรยายว่า เซลล์ของร่างกายสามารถใช้กระบวนการที่เรียกว่า เบต้าออกซิเดชั่น (beta-oxidation) เดียวกันในการย่อยทั้งน้ำมันจากพืชหรือสัตว์อีกประเด็น ซึ่งดูจะมั่วไปหน่อยคือ การบอกว่าเมื่อกินน้ำมันพืชแล้ว “…..ร่างกายจึงรักษาตัวเองด้วยวิธีรักษาตามอาการไปก่อน โดยการนำไปทิ้งไว้ในหลอดเลือด เพราะพื้นที่ทั้งหมดของเส้นเลือดในร่างกายมนุษย์ที่โตเต็มวัย สามารถนำมาแผ่เพื่อคลุมสนามบาสได้ทั้งสนาม ถือว่าเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่มากที่สุดในร่างกายมนุษย์ เมื่อกำจัดไม่ได้ ร่างกายก็เลยเอาไปใว้ในเส้นเลือด เพราะไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน พอกินเติมเข้าไปอยู่เรื่อยๆ สักวัน เส้นเลือดซึ่งมีพื้นที่ขนาดนั้นก็เอาไม่อยู่ ในที่สุดเกิดเป็นไขมันอุดตันในเส้นเลือดจากน้ำมันพืช เป็นโรคอันเกิดจากสิ่งที่ร่างกายไม่สามารถขจัดออกไปได้….” ข้อความดังกล่าวคงพยายามสื่อว่า การกินน้ำมันพืชแล้วทำให้มีไขมันเกาะผนังหลอดเลือด ซึ่งอ่านดูแล้วเป็น ตลกทางวิชาการ ทั้งนี้เพราะสาเหตุการสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือดในปัจจุบันนั้นสรุปว่า การที่ไขมันจะพอกส่วนใดของผนังหลอดเลือดนั้นมักต้องมีปรากฏการณ์ที่เกิดความเสียหายของบริเวณเซลล์เยื่อบุ(epithelial cell) ในลักษณะของการอักเสบ (inflammation) จนเกิดรอยขรุขระที่เรียกว่า plaque ก่อน ดังนั้นเราจึงสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการกินสารต้านออกซิเดชั่นที่อยู่ในผักและผลไม้สีเข้มในแต่ละมื้ออาหารให้มากพอ ไม่ใช่ว่ากินน้ำมันพืชแล้วจะเกิดการเกาะผนังเส้นเลือดได้โดยอัตโนมัติ สำหรับประเด็นที่มีการกล่าวว่า “น้ำมันหมูสามารถเก็บได้นานเพราะไม่เหม็นหืน เนื่องจากเป็นไขมันที่อิ่มตัวอยู่แต่แรกแล้ว จึงไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนให้เกิดกลิ่นหืนได้อีก” ดูเหมือนไม่มีอะไรผิด ถ้าคำกล่าวนี้เป็นเมื่อ 40-50 ปีก่อน ซึ่งเป็นสมัยที่หมูไทยยังกินหยวกกล้วยหรือผักตบชวาสับผสมรำข้าว อาหารสัตว์ลักษณะนี้ทำให้มันหมูมีไขมันอิ่มตัวสูง แต่ปัจจุบันหมูฟาร์มนั้นกินอาหารที่มีกากถั่วเหลืองหรือข้าวโพดผสมในอาหารสัตว์ ดังนั้นโอกาสที่ไขมันไม่อิ่มตัวจากอาหารจะไปสะสมในมันหมูจึงสูงขึ้น ซึ่งกล่าวโดยทั่วไปแล้วไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันหมูหรือ Lard นั้นมักไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 แต่ถ้ามีการจัดการอาหารสัตว์ให้มีถั่วหรือข้าวโพดสูงขึ้น ไขมันไม่อิ่มตัวก็จะเพิ่มได้อย่างไม่น่าเชื่อกว่าร้อยละ 50 ดังนั้นน้ำมันหมูที่สกัดใช้เอง ถ้ามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เมื่อเวลาผ่านไปจึงมีโอกาสเหม็นหืนได้เร็วกว่าสมัยโบราณจึงเรียนมาถึงผู้อ่านเพื่อโปรดพิจารณาทราบข้อมูลที่ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มั่ว มา ณ ที่นี้ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 กิน อยู่ คือ อย่างอเมริกัน

ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านวิชาการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพนั้น รัฐบาลมักสร้างข้อแนะนำในการบริโภคอาหาร (Dietary Guidelines) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านโภชนาการและสุขภาพซึ่งรวมถึงผู้วางนโยบายตลอดจนบุคลากรในวงการการศึกษานำไปเผยแพร่ (แบบที่เข้าใจง่าย ๆ) สู่ประชาชน โดยหวังว่าเมื่อคำแนะนำเหล่านี้ถูกถ่ายทอดถึงประชาชน แล้วประชาชนเชื่อจนทำตามจริง ๆ ประโยชน์จะกลับสู่รัฐโดยตรงเป็นมูลค่ามหาศาล ในการที่ไม่ต้องจ่ายเงินสนับสนุนการรักษาพยาบาลประชาชนที่ป่วยเป็นโรคที่ป้องกันได้   จากเว็บ www.hhs.gov/about/budget/fy2015/budget-in-brief ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณประจำปีของสหรัฐอเมริกานั้นพบว่า จากงบประมาณทั้งหมดในปี 2015 ที่ผ่านไปแล้วซึ่งมีตัวเลขเท่ากับ $1,010 Billion dollars (1,010,000,000,000 ดอลลาร์อเมริกัน) นั้น ร้อยละ 33 ถูกใช้เป็นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Medicaid) ที่ให้แก่กระทรวงด้านสาธารณสุขคือ Department of Health and Human Services ซึ่งทำงานทั้งด้านการบริการ วิจัย และอื่น ๆ ปัจจุบันคนอเมริกันมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่ไม่ติดต่อค่อนข้างสูง โดยปรากฏการนี้เป็นแบบต่อเนื่องทุกปี (www.cdc.gov/nchs/hus/healthrisk.htm) โรคที่ว่าคือ ติดเหล้า ติดบุหรี่ มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง (เนื่องจากกินอาหารมันมาก) ความดันโลหิตสูง ติดยาเสพติด สุขภาวะเลวเนื่องจากขาดการออกกำลังกาย และน้ำหนักเกิน ด้วยข้อมูลลักษณะนี้จึงทำให้รัฐบาลจำต้องสร้างข้อเสนอแนะในการกินเพื่อสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนทุก 5 ปี โดยแอบตั้งความหวังว่าคนอเมริกันจะเชื่อ เหมือนอย่างที่กรมอนามัยบ้านเราหวังว่าคนไทยจะขยับตัววันละเยอะๆ เพื่อลดพุง เมื่อราวปลายปี 2015 คณะกรรมการของผู้สร้างข้อแนะนำการบริโภคอาหารสำหรับคนอเมริกันซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ส่งรายงานให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาในวันที่ 7 มกราคม 2016 ข้อแนะนำดังกล่าวก็ได้ถูกพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่บุคลากรของรัฐและเป้าหมายที่เหมาะสม พร้อมทั้งจำหน่ายแก่ผู้สนใจ ส่วนผู้ที่ไม่ประสงค์จะซื้อแต่ประสงค์จะอ่าน สามารถอ่านฟรีได้ที่ http://health.gov/dietaryguidelines/2015/guidelines/full/   ในข้อแนะนำใหม่(ซึ่งปรับปรุงจากของเก่า) นี้ คณะกรรมการผู้สร้างยังคงแนะนำให้คนอเมริกันเลี่ยงการกินอาหารที่ผ่านการปรุงแบบสลับซับซ้อนทางอุตสาหกรรม (ซึ่งใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการผลิตหลากหลายชนิด) รวมทั้งลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและบริโภคแป้งที่ถูกป่นเป็นผง (ซึ่งคงไม่พ้นขนมปัง) แต่ให้หันไปกินอาหารที่มีพืชผักเป็นหลัก ซึ่งคณะกรรมการใช้ศัพท์ว่า plant-based foods (เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชทั้งเมล็ด ถั่วเปลือกอ่อน ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่าง ๆ) อีกทั้งคนอเมริกันควรกินอาหารมีพลังงานรวมต่ำ และกินเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงในลักษณะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่น ไม่ปล่อยก๊าซที่ทำให้โลกร้อน ใช้น้ำ ดินและพลังงานต่ำ (กรณีเนื้อสัตว์นี้คงลำบากมากสำหรับคนอเมริกัน เพราะระบบผลิตของฟาร์มใหญ่ในสหรัฐฯนั้นล้วนแต่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดแทบทั้งสิ้น) นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยว่า ในกรณีเนื้อสัตว์ที่กินควรเป็นเนื้อที่ไม่แดงนัก(ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากสัตว์ปีกและปลา ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนว่าเป็นเนื้อขาวคือ อกไก่ ในขณะที่ส่วนน่องและสะโพกไก่น่าจะจัดว่าเป็นเนื้อแดง ซึ่งสังเกตได้หลังการต้มเนื้อเหล่านี้จะเห็นสีแดง) เพราะมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่า เนื้อแดงนั้นเพิ่มความเสี่ยงในภาพรวมของการเป็นมะเร็ง เนื้อจากอวัยวะของสัตว์ที่มีสีออกแดงนั้น เป็นเพราะอวัยวะนั้นมีการใช้กล้ามเนื้อทำงานสูง จึงมีสารชีวเคมีที่เรียกว่า มัยโอกลอบิน (myoglobin) ในความเข้มข้นสูง สารชีวเคมีนี้ช่วยในการนำออกซิเจนมาใช้ในการสันดาปสร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อนั้น แต่ข้อเสียที่เกิดจากการมีมัยโอกลอบินสูงคือ สารชีวเคมีนี้มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ(ทำนองเดียวกับฮีโมกลอบินในเลือด) จึงทำให้ผู้ที่กินเนื้อแดงได้เหล็กสูง เหล็กนั้นเป็นธาตุโลหะที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย ตามหลักการทางเคมีที่เรียกว่า Fenton reaction(ซึ่งหาความรู้เพิ่มเติมได้จาก Wikipedia) ประเด็นซึ่งเป็นที่ฮือฮาในข้อแนะนำใหม่นี้คือ ยกเลิกคำแนะนำให้จำกัดปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร ทั้งนี้เพราะมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สรุปว่า ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการกินโคเลสเตอรอลจากอาหารทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะร่างกายของแต่ละคนต้องการโคเลสเตอรอลในระดับหนึ่ง ซึ่งตามปรกติต้องสร้างขึ้นมาเองเพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการได้โคเลสเตอรอลจากอาหารในประมาณที่ปรกติคนทั่วไปที่กินเพื่ออยู่นั้นจึงไม่น่ากังวลอะไร โคเลสเตอรอลนั้นเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ เป็นสารตั้งต้นในการสร้างวิตามินดี สร้างเกลือน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยไขมันในลำไส้เล็ก เป็นต้น ดังนั้นถ้ากินอาหารที่ไม่ได้มีไขมันสูงเกินปรกติแล้ว ประมาณโคเลสเตอรอลในอาหารจะไปช่วยลดการสร้างเองของร่างกาย ยกเว้นกรณีผู้ที่มีทัศนคติ อยู่เพื่อกิน ที่ไขว่คว้าหาอาหารไขมันสูงมาก (เช่น ขาหมูพะโล้ ขาหมูเยอรมัน หรืออาหารอื่นที่มันมากๆ) มากินจนโคเลสเตอรอลสูงเกินความต้องการของร่างกาย พฤติกรรมลักษณะนี้จะทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอันตรายที่เกี่ยวกับหัวใจเพิ่มขึ้น และอันตรายจะมากขึ้นถ้าเป็นคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือใช้แรงงานประจำวัน คำแนะนำในการกินเพื่อสุขภาพดีของคนอเมริกันที่คณะกรรมการย้ำแล้วย้ำอีกทุกครั้งที่มีการเสนอทุก 5 ปีคือ ไม่กินเค็ม ซึ่งเป็นลดการได้รับธาตุโซเดียมซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อไตและทำให้เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ที่สำคัญนอกจากความเค็มแล้วยังก็ต้องเลี่ยงหวาน(มากเกินไป) ด้วย ข้อแนะนำที่ต้องขอให้ลดการกินเค็มคงเป็นเพราะ คนอเมริกันนั้นเสพติดมันฝรั่งทอดอย่างหนัก เนื่องจากเป็นอาหารที่ยิ่งกินยิ่งมัน และถ้าได้กินแกล้มเบียร์ในวันที่ได้ดูอเมริกันฟุตบอลทางโทรทัศน์แล้ว ไม่หมดถุงยักษ์เป็นไม่หยุด ส่วนความหวานนั้นเป็นที่รู้กันว่า ขนมและเครื่องดื่มที่ทำในสหรัฐฯนั้นออกหวานนำ ซึ่งต่างจากขนมที่ทำในฝั่งยุโรปที่มีความมันนำและไม่หวานนัก(แต่ก็ทำให้ลงพุงได้เช่นกัน) สำหรับประเด็นของการดื่มกาแฟซึ่งเป็นเครื่องดื่มหลักในมื้ออาหารของคนอเมริกันนั้น ข้อแนะนำกล่าวว่า การดื่มเพียง 3 ถึง 5 ถ้วย ต่อวันซึ่งทำให้ได้แคฟฟีอีนไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวันนั้น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ดื่ม แต่มีประเด็นหนึ่งที่คณะกรรมการเตือนไว้คือ ไม่พึงเติมสารอาหารที่ทำให้กาแฟนั้นมีแคลอรีสูง เช่น ครีม นม หรือน้ำตาล ดังนั้นข้อแนะนำนี้จึงใช้ยากยกกำลังสองกับคนไทยเพราะหนุ่มสาวชาวไทยปัจจุบันได้กลายเป็นผู้เสพติดกาแฟเข้มข้นทั้งหวานทั้งมันไปแล้ว สังเกตจากการสั่งกาแฟแต่ละครั้งมักเป็นแก้วใหญ่ขนาดเกือบครึ่งลิตรเสียทุกคราว คณะกรรมการผู้ทำข้อแนะนำได้เอ่ยถึงน้ำตาลเทียมชนิดหนึ่งซึ่งขายมากที่สุดในโลกของผู้จำเป็นต้องใช้ว่า น่าจะปลอดภัยในการบริโภค แต่ก็ขอกั๊กไว้ว่า ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ดังนั้นขอให้ผู้บริโภคเผื่อใจไว้บ้าง เผื่อวันหนึ่งในอนาคตอาจมีข้อมูลด้านร้ายเกี่ยวกับน้ำตาลเทียมชนิดนี้ออกมา ก็จะได้ไม่ตกใจมากนัก สำหรับกรณีความหวานที่มาจากน้ำตาลนั้น ข้อแนะนำกล่าวว่า ควรลดลงและไม่ควรแทนที่ด้วยน้ำตาลเทียม และที่แนะนำสุดหัวใจก็คือ ถ้าเป็นไปได้ควรดื่มน้ำเปล่าในมื้ออาหารแทนน้ำหวานต่างๆ เรื่องนี้น่าสนับสนุนมากเมื่อกินอาหารที่บ้าน แต่ในกรณีที่กินอาหารนอกบ้านหลายคนอาจมีความรู้สึก(คล้ายผู้เขียน) ว่า เราขาดทุนเมื่อต้องดื่มน้ำเปล่าตามร้านอาหารซึ่งราคาเกือบหรือเท่าน้ำอัดลม (ซึ่งอร่อยและแก้เลี่ยนอาหารมันบางอย่างที่ขอแอบกินนิดหน่อย) ส่วนที่น่าสนใจที่สุดคือ ข้อแนะนำนี้ได้รวมไปถึงการงด (หรือลด) เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ที่ชาวโลกเป็นทาสอยู่ ซึ่งสามารถคาดการได้ว่า ข้อแนะนำสุดท้ายนี้คงไม่ได้ผลแน่ในประเทศไทย…ถ้าไม่ใช้ ม.44  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 181 เรื่องง่วงๆ กับกาแฟ

การดำเนินชีวิตของคนไทยตามเมืองใหญ่ในปัจจุบันต่างไปจากเมื่อ 30-40 ปีก่อนอย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือคนไทยมีสภาพคล้ายหุ่นคอหักเมื่อใช้สมาร์ทโฟนตามที่สาธารณะ นัยว่าเพื่อปลีกวิเวกเข้าสู่โลกส่วนตัว (แบบว่ามากันสามคนเพื่อนฝูงแล้วต่างคนต่างคุยกับคนอื่น ไม่ใยดีกับคนที่มาด้วย) และการที่คนไทยชอบถือถ้วยกาแฟขนาดครึ่งลิตรขึ้นไปเพื่อดื่มมันทุกสถานที่ ในลักษณะที่บรรพบุรุษซึ่งตายไปหมดแล้วระบุว่า เสียมรรยาทมากที่กินดื่มไม่เป็นที่เป็นทาง ผู้เขียนนั้นดื่มกาแฟมาตั้งแต่เล็กซึ่งเป็นพฤติกรรมไม่ดี ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ใช่เพราะกาแฟทำให้นอนไม่หลับ(เนื่องจากดื่มเมื่อใดก็หลับได้ถ้าไม่มีเรื่องใดให้กังวล) แต่เป็นเพราะมันทำให้เด็กต้องเสียสตางค์ที่ควรนำไปซื้อของกินที่มีประโยชน์มากกว่าการดื่มกาแฟ สมัยก่อน(ราว 50 ปีมาแล้ว) กาแฟที่ขายมีประมาณ 4 แบบคือ กาแฟร้อนและกาแฟเย็น ทั้งใส่น้ำตาลทรายพร้อมนมข้นหวานและน้ำตาลทรายอย่างเดียว(ชนิดหลังนี้เรียกว่า โอวเลี้ยง เมื่อเติมน้ำแข็งและ โอวยัวะ เมื่อไม่เติมน้ำแข็ง) ซึ่งต่างจากในปัจจุบันที่กาแฟถูกดัดแปลงให้มีหลายแบบมากมายจน (ถ้าคนที่ตายไปแล้วฟื้นกลับมาคง) งงเต็ก และส่วนใหญ่มีจำนวนแคลอรีในขนาดที่สูงจนขนหัวลุกคู่ขนานไปกับราคาที่ถ้วยหนึ่งต้องใช้เงินเท่ากับหรือมากกว่าข้าวราดแกงทีเดียว กาแฟนั้นมีประโยชน์ถ้าดื่มอย่างฉลาด เพราะเป็นเครื่องดื่มที่มี แคฟฟีอีน ซึ่งออกฤทธิ์หลังดื่มแล้วราว 1 ชั่วโมง สารเคมีนี้ช่วยให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ตาสว่างได้แม้นอนน้อยไปหน่อย ซึ่งคำอธิบายเชิงวิชาการกล่าวว่า แคฟฟีอีนในกาแฟไปขัดขวางการที่สารชีวเคมีในร่างกายคือ อะดีโนซีน ที่ทำให้เราง่วง (adenosine เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในดีเอ็นเอ ซึ่งแคฟฟีอีนนั้นมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับอะดีโนซีนมาก) แต่เป็นการขัดขวางเพียงชั่วคราวเท่านั้น หลังจากแคฟฟีอีนหมดฤทธิ์ (กินเวลาราว 3-4 ชั่วโมง) ผู้ดื่มกาแฟอาจหลับยาวจนตกงาน หรือถ้าดื่มระหว่างการขับรถตอนกลางคืน ก็อาจได้ไปตื่นอีกทีในโลกหน้าทีเดียว แม้ว่าแคฟฟีอีนได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทุกประเทศทั่วโลกว่า ปลอดภัยสุดๆ แต่ก็เป็นการยอมรับแบบมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่รับเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป โดยมีการประเมินแบบจำง่ายๆ ว่า ไม่ควรดื่มกาแฟมากถึง 50 แก้วขึ้นไป เพราะนั่นเป็นการถามหาความตายทีเดียว แคฟฟีอีนในกาแฟนั้นเป็นสารที่ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยเอ็นซัมในตับ เพื่อการขับทิ้งออกจากร่างกาย ดังนั้นจึงส่งผลสืบเนื่องของการดื่มกาแฟต่อสารก่อมะเร็ง(ชนิดที่โดยปรกติแล้วถูกขับออกจากร่างกายด้วยกระบวนการเดียวกันที่ใช้กำจัดแคฟฟีอีนในตับ) กล่าวคือ การดื่มกาแฟทำให้สารก่อมะเร็งอยู่ในร่างกายด้วยเวลาที่สั้นลง เพราะแคฟฟีอีนได้ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เอ็นซัมในกระบวนการกำจัดสารพิษนั้นๆ ทำงานดีขึ้น นักวิชาการจึงมักกล่าวว่า กาแฟเป็นอาหารต้านมะเร็ง (ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนเคยได้ยินจากการประกาศผ่านลำโพงขณะเดินซื้อสินค้าในห้างขายส่งที่มีคำขวัญว่า คู่คิดสำหรับธุรกิจคุณ) เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้กระบวนการทำลายสารก่อมะเร็งทำงานดีขึ้นนั่นเอง ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจมีประสบการณ์ที่เลวร้ายในการดื่มกาแฟ ในลักษณะที่ทุกครั้งที่ดื่มจะมีอาการมือสั่น ใจสั่น เครียดจนนอนไม่หลับ (จนอาจนำไปเป็นข้ออ้างว่า เป็นปมด้อยทางร่างกายจึงต้องหันไปดื่มสุราแทนเพราะไม่รู้จะเข้าสังคมอย่างไร) ทำให้มีคำถามว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สำหรับคำตอบพื้นๆ นั้นมีมานานแล้วว่า มันเป็นกรรมตามพันธุ์หรือพูดให้ถูกทางวิชาการคือ เป็นตามพันธุกรรมของคนที่ต่างกันที่ทำให้บางท่านดื่มได้น้อยหรือไม่ได้เลย แต่บางท่านดื่มอร่อยได้โดย (แทบจะ) ไม่เสพติดเสียด้วยซ้ำ เป็นที่ทราบกันดีว่า กาแฟเป็นแหล่งหลักของแคฟฟีอีนในอาหารมนุษย์ ดังนั้นมันจึงได้รับความสนใจจากนักวิชาการเกี่ยวกับประโยชน์หรือโทษต่อร่างกาย ได้มีกลุ่มนักวิจัยนำทีมโดย Dr.Marilyn Cornelis (ผู้ซึ่งมีข้อมูลในเน็ทว่าไม่ดื่มกาแฟ) จาก Harvard School of Public Health และ Brigham and Women’s Hospital และเพื่อน ๆ ที่สังกัด 116 หน่วยงานในหลายประเทศได้ทำงานวิจัยขึ้นและตีพิมพ์ผลงานชื่อ Genome-wide meta-analysis identifies six novel loci associated with habitual coffee consumption ในวารสาร Molecular Psychiatry ชุดที่ 20 หน้าที่ 647–656 ของปี 2014 Dr.Marilyn Cornelis ได้รายงานถึงความแตกต่างทางพันธุกรรมของคนอเมริกันที่มีบรรพบุรุษมาจากยุโรปและที่มีบรรพบุรุษมาจากอัฟริการวมแล้ว 120,000 คน โดยพิจารณาข้อมูลจำนวนแก้วของการดื่มกาแฟในแต่ละวัน พร้อมรายละเอียดอื่นๆ งานวิจัยของด๊อกเตอร์สาวนี้ เป็นการใช้ข้อมูลของการศึกษาที่ทีมงานของฮาร์วาร์ดได้ทำไว้ก่อนแล้วและเธอได้กล่าวว่า ในมนุษย์นั้นมียีนเกี่ยวกับการดื่มกาแฟที่แตกต่างกันในกลุ่มตัวอย่างถึง 6 ลักษณะ โดยสองยีนทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการแคฟฟีอีนในร่างกาย อีกสองยีนทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับผลต่อจิตประสาท และอีกสองยีนมีความเกี่ยวในการใช้น้ำตาลกลูโคสและไขมัน ซึ่งเป็นการค้นพบเพิ่มจากเดิมที่พบก่อนแล้ว 2 ลักษณะ(ซึ่งในข่าวไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร) จึงรวมเป็น 8 ลักษณะ สิ่งที่ได้จากงานวิจัยนี้คือ ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของยีนในแต่ละกลุ่มคนต่อการจัดการกับแคฟฟีอีนที่เข้าสู่ร่างกายว่า สามารถกำจัดออกเร็วหรือช้าอย่างไร ซึ่งโดยปรกติแล้วคนที่กำจัดแคฟฟีอีนออกจากร่างกายเร็วมักมีความสุขในการดื่มกาแฟ แถมด้วยพฤติกรรมที่มีแนวโน้มต่อการติดบุหรี่และเป็นโรคอ้วนได้ ผู้เขียนเห็นด้วยกับผลการวิจัยเพราะสังเกตจากภาพยนตร์ต่างประเทศส่วนใหญ่พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟมักแกล้มด้วยบุหรี่ โดยมีผลรวมว่า สามารถตาค้างและทำงานต่อได้ในสภาวะเครียด จึงอนุมานว่า พฤติกรรมดังกล่าวนำไปสู่การคลายเครียดด้วยการกินทุกอย่างที่อยู่ในตู้เย็น ซึ่งเป็นตามคำสอนที่อาจารย์ด้านสรีระวิทยาสอนผู้เขียน จากความรู้ที่ว่า รูปแบบความแตกต่างของยีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับกาแฟนั้นเกี่ยวพันกับการเรียนรู้ การควบคุมความดันโลหิตและการเสฟติดกาแฟนั้น อาจทำให้อธิบายได้ว่า ทำไมคนคนหนึ่งเมื่อดื่มกาแฟหนึ่งแก้วต่อวันแล้วสดชื่นได้ทั้งวัน ในขณะที่อีกคนต้องดื่มเป็นระยะๆ รวมสี่แก้วต่อวันจึงจะตาสว่างได้ และในทางตรงกันข้าม คนที่ดื่มเพียงวันละแก้วแล้วทำงานได้ดี ถ้าดื่มถึงสี่แก้วกลับเกิดอาการเครียดขึ้นมาจนทำงานไม่ได้ จากความรู้นี้อาจมีการประยุกต์ใช้ในอนาคต เพื่อนำไปสู่การจัดการด้านสุขภาพของแต่ละคนที่นิยมดื่มกาแฟเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดเช่น การมีสมาธิในการทำงาน ท่องบ่นตำรา และอื่นๆ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะดื่มมากไปจนมือและใจสั่น โดยใช้ข้อมูลจากการพิเคราะห์(พิเคราะห์มีความหมายว่า ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ) ถึงความแตกต่างของยีนที่ต่างกันว่า ใครสามารถกำจัดแคฟฟีอีนได้ดีหรือไม่ ควรดื่มกาแฟเท่าใดจึงจะเหมาะสม ในบทความนี้ผู้อ่านอาจสังเกตได้ว่า ในการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ 2 คำนั้น ผู้เขียนขออนุญาตไม่ใช้กรรมวิธีของราชบัณฑิต ตัวอย่างเช่น Caffeine นั้น โดยทั่วไปมีการเขียนทับศัพท์ว่า กาเฟอีน ซึ่งอ่านออกเสียงแล้วมันฟังดูไม่ตรงกับสำเนียงจากภาษาอังกฤษซึ่งถ้าทับศัพท์ว่า แคฟฟีอีน น่าจะออกเสียงสบายปากมากกว่า (ดิคชันนารีที่พูดได้ออกเสียงคล้าย แคฟ-ฟีน) จึงขอใช้เพื่อความสบายใจของผู้เขียนเอง ส่วนคำที่สองซึ่งเป็นคำที่ผู้เขียนรำคาญใจมานานแล้วคือคำว่า enzyme ซึ่งมักเขียนทับศัพท์ว่า เอนไซม์ ทั้งที่คำว่า en ควรอ่านว่า เอ็น เหมือน entrance ที่ออกเสียงว่า เอ็น-ทรานซ์ ไม่เคยได้ยินใครออกเสียงว่า เอน-ทรานซ์ ส่วนคำว่า ไซม์ ที่ใช้ทับศัพท์ zyme นั้นเมื่อ ม (ม้า) มีเครื่องหมาย ทัณฑฆาต หรือ การันต์ แล้วต้องไม่ออกเสียง ดังนั้นถ้าอ่านให้ถูกตามการทับศัพท์เดิมนั้นต้องอ่านว่า เอน-ไซ ซึ่งทะแม่งหูมาก (โดยเฉพาะเมื่อได้ยินจากปากพิธีกรและนักข่าวทางโทรทัศน์) ผู้เขียนจึงขอใช้การทับศัพท์เฉพาะในบทความนี้ว่า เอ็น-ซัม ซึ่งทำให้ผู้เขียนสบายใจกว่า ส่วนคำว่า กาแฟ ซึ่งเป็นคำเขียนทับศัพท์มาจากคำว่า Coffee นั้นดูอย่างไร ๆ มันก็ไม่ควรถูกทับศัพท์ว่า กาแฟ แต่น่าจะเป็น ค็อฟฟี มากกว่านั้น แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ คำทับศัพท์นี้มีมาแต่โบราณก่อนผู้เขียนเกิดจึงจนด้วยเกล้าที่ต้องจำใจใช้ต่อไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 180 อย่าวางใจ “ธรรมชาติ” บนฉลากอาหาร

ท่านผู้อ่านที่มีโอกาสเดินตามห้างสรรพสินค้าใหญ่หน่อยอาจเคยสงสัยว่า สินค้าที่มีวิตามินขนาดสูงๆ หรือเป็นสารสกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาตินั้น ถูกนำมาวางขายบนหิ้งในห้างได้อย่างไร มันปลอดภัยแล้วหรือ ผู้เขียนเคยพบคลิปใน YouTube ให้ข้อมูลว่า ครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันปัจจุบันนั้น ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งรวมถึงสารสกัดจากใบแปะก๊วยและรากวาเลอเรี่ยนมากินเอง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้รู้เช่น แพทย์ เภสัชกร หรือนักโภชนาการ สารสกัดจากใบแปะก๊วย(Ginkgo Biloba extract) เป็นสารสกัดที่ใช้ลดความเสี่ยงหรือแก้ปัญหาอาการความจำเสื่อม แต่สารสกัดนี้ไม่ได้ช่วยให้ความจำดีขึ้นในคนปรกติ กล่าวคือ ฉลาดหรือโง่เพียงใดก็เป็นได้แค่นั้น การกินสารสกัดนี้เองอาจก่อปัญหาถ้าต้องเข้ารับการผ่าตัด เพราะสารนี้ทำให้เลือดหยุดไหลช้าจนอาจถึงตายได้) ส่วนสารสกัดจากรากวาเลอเรี่ยน (valerian root extract) นั้น การแพทย์ทางเลือกใช้ช่วยแก้ปัญหาหลับยาก แต่อาจมีผลข้างเคียงในการทำลายตับเมื่อกินมากไป ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำในการใช้สารสกัดเหล่านี้ว่า ให้ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่รู้จริง ท่านผู้อ่านจึงควรถามตนเองในเรื่องความจำเป็น และสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ก่อนซื้อมาบริโภคทุกครั้ง แต่ปัญหาสำคัญที่มักเกิดขึ้นกับบางท่านคือ จะถามใครหรือหาข้อมูลได้จากที่ไหน มีข้อสังเกตว่า ผู้ขายสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติต่างๆ มักกล่าวอ้างแบบปากต่อปากถึงสรรพคุณของสินค้าว่า มีฤทธิ์ในการบำบัดอาการหรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะเป็นสินค้าจากธรรมชาติ ประเด็นที่น่าสนใจคือ คำว่า ธรรมชาติ นั้นไม่ได้หมายความหรือแปลว่า ปลอดภัย แค่ดูตัวหนังสือที่ใช้เขียนก็เห็นความต่างแล้ว ผู้เขียนขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านลองเข้าไปดูคลิปของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เรื่อง ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ปลอดภัยกว่าสารเคมีจริงหรือ ใน YouTube ( ลิงค์ยูทูปกดดูได้ )ก็คงเข้าใจได้ดีขึ้น ตัวอย่างที่คนอเมริกันซาบซึ้งใจดีเกี่ยวกับคำว่าธรรมชาติคือ การใช้สมุนไพรจีนชื่อ มาฮวง (Ma Huang ซึ่งรู้จักกันทั่วโลกในชื่อ Ephedra โดยมีชื่อเล่นว่า yellow horse) ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก แต่สุดท้ายปรากฏว่า ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงคือ เพิ่มความดันโลหิตให้สูงกว่าปรกติพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น (ซึ่งทั้งสองอาการนี้นำไปสู่อาการหัวใจวาย) ก่อปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกจึงทำให้ถูกห้ามใช้อย่างเด็ดขาดในสตรีมีครรภ์ ข้อมูลจาก Wikipedia กล่าวว่า อย.มะกันได้ห้ามขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารอัลคาลอยด์ซึ่งเป็นสารสำคัญในมาฮวงชื่อ อีฟีดรีน (ephedrine alkaloids) ตั้งแต่ปี 2004 แต่ไม่ได้ห้ามการขายมาฮวงหรือสารสกัดจากมาฮวงที่มีอีฟีดรีนไม่มากเกินปริมาณที่ อย.กำหนด ในรัฐยูทาห์มีการชงชาที่ใช้ใบมาฮวงแทนใบชาจีนเพราะไม่มีคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารห้ามกินในศาสนานี้ จึงมีผู้เรียกชานี้ว่า Mormon tea จากตัวอย่างความหมายของคำว่า “ธรรมชาติ” ที่ยกให้เห็นเกี่ยวกับมาฮวงในสหรัฐอเมริกานั้น จะเห็นได้ว่าเมื่อคำนี้ปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์ใดๆ โดยเฉพาะบนฉลากอาหารนั้น มัก เป็นคำที่ดูไร้สาระ ในความนึกคิดของชาวอเมริกันที่มีการศึกษาดี ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของสหรัฐอเมริกาจึงได้เริ่มขยับที่จะทำให้คำๆ นี้มีความหมายเป็นเรื่องราวเสียที ดังปรากฏในบทความชื่อ FDA Wants You to Define ‘Natural’ on Food Labels ซึ่งปรากฏในเว็บ www.care2.com เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2015 ใจความสำคัญในบทความนั้นกล่าวว่า องค์กรเอกชนในสหรัฐอเมริกาได้พยายามรวบรวมข้อเสนอแนะจากสาธารณะชน เพื่อขอ(กดดัน)ให้ อย.กำหนดความหมายที่ชัดเจนหรือห้ามการใช้คำๆ นี้บนฉลากอาหาร ประจวบกับทางหน่วยงานนี้ได้ถูกศาลของรัฐบาลกลางขอร้องให้ข้อแนะนำเพื่อการตัดสินคดีว่า สินค้าที่มีวัตถุดิบที่เป็นจีเอ็มโอ หรือใช้น้ำเชื่อมฟรัคโตสที่ทำจากข้าวโพดนั้น ใช้คำว่าธรรมชาติได้หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วนักการตลาดที่ไร้เดียงสาในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มักมโนว่า ธรรมชาตินั้นมีความหมายเกี่ยวข้องเพียงสีธรรมชาติหรืออะไรประมาณนั้น ซึ่งบางครั้งการมโนแบบนี้ก็ได้กลายเป็นภาพลวงที่มักเกิดได้กับผู้ซื้อสินค้า(นักช็อป)มืออาชีพ จากรายงานการสำรวจของ Consumer Reports ในบทความเรื่อง Say no to 'natural' on food labels (โดย Deborah Pike Olsen ซึ่งถูกตีพิมพ์เมื่อ 16 มิถุนายน 2014 ใน www.consumerreports.org) กล่าวว่า กว่าร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม 1000 คน พยายามมองหาคำว่าธรรมชาติบนฉลากเมื่อต้องการซื้ออาหารสำเร็จรูป โดยที่สองในสามตีความสินค้าที่มีคำว่าธรรมชาติหมายถึงสินค้านั้นไม่มีองค์ประกอบที่เป็นสิ่งสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง และจีเอ็มโอ ในการสำรวจเดียวกันนั้นยังพบว่า 9 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นควรให้ติดฉลากอาหารที่มีองค์ประกอบที่เป็นจีเอ็มโอตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยที่กว่า 3 ใน 4 กล่าวว่าเรื่องนี้สำคัญมากสำหรับประชาชนที่ต้องหลีกเลี่ยงองค์ประกอบอาหารที่มาจากจีเอ็มโอ ในขณะที่ประเด็นนี้ทาง อย.มะกันไม่ได้รู้สึกร้อนรู้สึกหนาวในการจะบังคับให้มีการติดฉลากหรือสร้างมาตรฐานความปลอดภัย พฤติกรรมของ อย.มะกันเกี่ยวกับจีเอ็มโอนั้นเป็นที่สงสัยกันมาตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าไปดูบทความเรื่อง Monsanto Controls both the White House and the US Congress ที่ www.globalresearch.ca/monsanto-controls-both-the-white-house-and-the-us-congress/5336422 แล้วใช้วิจารณญานของแต่ละบุคคลคิดเองว่ามันเป็นอย่างไร สำหรับประเด็นความหมายของคำว่า ธรรมชาติ สำหรับ อย.มะกันแล้ว มันมีอะไรมากกว่าที่มนุษย์ธรรมดาคิด กล่าวคือ อย.ได้พิจารณาว่า คำๆ นี้น่าจะหมายถึง การไม่มีของเทียมหรือสารสังเคราะห์(ซึ่งรวมถึงสีที่ใช้ใส่ในอาหาร โดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่มาของสี ทำให้น่าจะหมายความว่า แม้แต่แตงโมที่ถูกเอาสีจากกระเจี๊ยบทาให้ดูแดงฉ่ำกว่าเดิม แตงโมนั้นก็ไม่เรียกว่าเป็นอาหารธรรมชาติแล้ว) เป็นองค์ประกอบหรือถูกเติมลงไปในอาหารนั้น อย่างไรก็ดี ความหมายของธรรมชาติที่ อย.มะกันมองนั้น ไม่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตว่าใช้หรือไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช หรือขั้นตอนการผลิตใช้หรือไม่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ หรือการฉายรังสี อีกทั้ง อย.มะกันก็ไม่ได้มองคำว่า ธรรมชาติ นั้นมีอะไรเกี่ยวข้องกับคุณค่าทางโภชนาการหรือสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดังนั้นในปัจจุบัน อย.มะกันจึงพยายามมองหาผู้ร่วมอุดมการมาช่วยคิดว่า มันถึงเวลาแล้วในการกำหนดความหมายที่แน่นอนของคำว่า ธรรมชาติ และควรกำหนดด้วยวิธีใด อีกทั้งหน่วยงานนี้ก็ยังต้องการความเห็นว่า การใช้คำว่าธรรมชาติบนฉลากอาหารนั้นควรเป็นอย่างไรด้วย ความเห็นของผู้สนใจ(ชาวอเมริกัน)นั้นสามารถส่งให้ อย.มะกันได้ตั้งแต่ 12 พฤศจิกายน 2015 ถึง 10 กุมภาพันธ์ 2016 ซึ่งหลังจากนั้นก็คงรอกันอีกนานพอควรกว่าจะได้ข้อสรุปออกมาเป็นเรื่องเป็นราวให้ อย.ประเทศอื่นได้สำเนาไปใช้กัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point