ฉบับที่ 153 คดีความเรื่องดอกเบี้ยบัตรเครดิต : ศาลต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนในยุคบริโภคนิยม

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการเรื่องที่ผมจะนำเสนอในฉบับนี้ จะเป็นลักษณะ “เสียงจากผู้บริโภค” โดยนำคดีเกี่ยวกับการฟ้องร้องเรื่องการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่เอาเปรียบผู้บริโภคในเยอรมนี และในประเทศไทยเองผู้บริโภคจำนวนมากก็ผจญกับปัญหาหนี้บัตรเครดิต ที่นับวันปัญหาก็จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสังคม เรื่องก็มีอยู่ว่า นายยิลดิซ เป็นนักศึกษานิติศาสตร์ อยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ได้ทำสัญญา เปิดบริการใช้บัตรเครดิตกับธนาคาร Barclay Card ของ Barclay เยอรมนี ในปี ค.ศ. 2000 โดยสามารถชำระเงินคืนบางส่วนได้ คล้ายๆ กับเงื่อนไขการชำระเงินของบัตรเครดิตรในประเทศไทยของเรานั่นเอง แต่อัตราดอกเบี้ย ตอนที่เริ่มทำสัญญานั้น  อยู่ที่ 14.84 % ต่อปี และในสัญญาบัตรเครดิตก็ยังได้ระบุไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ในปี ค.ศ. 2007 อัตราดอกเบี้ยได้ถีบตัวสูงขึ้นไป ถึง 19.99 % ต่อปีและไม่มีทีท่าว่าจะลดตามสภาวะของตลาดที่อัตราดอกเบี้ยโดยรวมลดต่ำลงมากเพราะเศรษฐกิจเป็นช่วงขาลง และการที่ผู้บริโภคสามารถแบ่งชำระจ่ายได้บางส่วน ทำให้วงเงินที่เป็นหนี้บัตรเครดิตสูงขึ้นๆ อันเนื่องมาจากดอกเบี้ยที่สูงมากนั่นเอง และทำให้นายยิลดิซ ไม่สามารถชำระหนี้จำนวน 8,000 ยูโรได้ จนกระทั่งทางธนาคารให้บริษัททวงหนี้เข้ามาทำการไกล่เกลี่ยกับนายยิลดิซ แต่นายยิลดิซ ไม่ตกลงยินยอม คดีจึงเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมตั้งแค่ปี ค.ศ. 2009  ในกรณีนี้ศาลตัดสินว่า ในข้อสัญญาที่ระบุว่าให้ธนาคารสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาดได้นั้น เป็นข้อสัญญาที่เอาเปรียบผู้บริโภคอย่างไม่ต้องสงสัย "unzweifelhaft unwirksam" เพราะฉะนั้นสัญญาในข้อนี้จึงเป็นโมฆะและสั่งให้ธนาคารกลับไปคิดอัตราดอกเบี้ยใหม่โดยให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตอนเริ่มทำสัญญา ผลของคำตัดสินในคดีนี้ส่งผลต่อ ผู้บริโภครายอื่น ที่ทำสัญญาบัตรเครดิตในลักษณะเดียวกันนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลทางเวบไซต์พบว่า มีบัตรเครดิตภายใต้สัญญาที่เป็นโมฆะดังกล่าวเป็นจำนวนถึง 1.3 ล้านใบ และอาจต้องคืนเงินให้กับผู้บริโภคทุกรายด้วย แต่อย่างไรก็ตามคดีนี้ยังไม่จบ โดยจะดำเนินการพิพากษาคดีต่อในเดือนมีนาคม 2014 แต่ถึงแม้ว่าคดียังไม่จบ ทางธนาคาร Barclay ก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาที่เป็นโมฆะใหม่แล้วตั้งแต่ปี 2011   ปัจจุบันนี้นายยิลดิซ ได้เรียนจบแล้ว และได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมือง CDU ที่นายกหญิงเหล็ก แองเจลา แมร์เคิลเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ เรื่องที่เล่ามานี้เกิดขึ้นจริง ในประเทศเยอรมนี ที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในอียู ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ศาลได้ทำหน้าที่ดำรงความยุติธรรม เพื่อรักษาความเป็นนิติรัฐ นิติธรรมของประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญและเป็นที่พึ่งของคนเล็กคนน้อยมิให้ถูกธนาคาร ที่เป็นองคาพยพหนึ่งในระบอบทุนนิยมเอารัดเอาเปรียบมากจนเกินไป  และหวังว่าจะได้เห็นองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรในเร็ววันนี้ เพื่อมาเป็นปากเสียงให้กับประชาชน ผู้บริโภคไทยตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญครับ (ที่มา www.welt.de วันที่ 12.11.2013) รูปแสดงอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในประเทศเยอรมนีตั้งแต่ปี 2010-2013: ที่มา Deutsche Bundesbank

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 97 บัตรเครดิตยอดเยี่ยม ยอดแย่

ความเดิมตอนที่แล้ว ฉลาดซื้อฉบับที่ 95 ได้นำเสนอผลการสำรวจบางส่วนเกี่ยวกับสัญญาบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ไปบ้างแล้วโดยเน้นที่ประเด็นการทวงหนี้ ที่เราพบว่ามีผู้ประกอบการ หลายเจ้าที่ระบุในสัญญาว่า เรายินยอมให้เขาไปทวงหนี้กับบุคคลอื่นได้ การสำรวจของฉลาดซื้อเป็นการเก็บข้อมูลจากแผ่นพับที่สถาบันการเงิน แจกจ่ายให้กับลูกค้า และจากการโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก เจ้าหน้าที่ของบริษัท งานนี้มีบัตรเครดิตลงแข่งทั้งหมด 17 ใบ (รวมเจ้าที่เป็นบัตรเครดิตพ่วงสินเชื่อด้วย 1 ใบ) และบัตรสินเชื่ออีก 6 ใบคราวนี้ลองมาดูกันเต็มๆ ว่า บัตรเครดิต/สินเชื่อ เจ้าไหน น่าใช้ (หรือไม่น่าใช้) กว่ากัน บัตรเครดิต/สินเชื่อ ที่ฉลาดซื้อชอบ ...* มีขนาดตัวอักษรในสัญญาไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร* ผู้ถือบัตรจะได้รับแจ้งล่วงหน้ากรณีมีการเปลี่ยนแปลง เรื่องอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ฯลฯ* ผู้ถือบัตรจะได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน* ไม่มีข้อความที่ระบุให้ผู้ถือบัตร ยินยอมผูกพันตามข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ จะมีเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงในภายหน้า* ไม่มีข้อความระบุว่าผู้ถือบัตรจะไม่เพิกถอนความยินยอม และไม่เรียกร้องค่าตอบแทน* ไม่มีข้อความระบุว่าผู้ถือบัตร ยินยอมให้ธนาคารใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลได้ (เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด)* ไม่มีข้อความระบุว่าเจ้าของบัตรไม่สามารถเพิกถอนความยินยอมที่ให้ไว้แม้จะยกเลิกบัตร* ไม่มีข้อความที่ระบุว่ายินยอมให้บริษัทนำข้อมูลที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์* ไม่มีข้อความระบุให้เจ้าหนี้สามารถทวงหนี้กับบุคคลอื่นได้* ไม่มีข้อความระบุว่าข้อตกลงการใช้บัตรเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา* ไม่มีข้อความว่าบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า* ผู้ถือบัตรสามารถโทรไปอายัดบัตรได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่ต้องรอเฉพาะเวลาทำการ) บัตรเครดิตTop 3ลำดับ 1. บัตรเครดิตกสิกรไทยลำดับ 2. บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพลำดับ 3. บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ Bottom 4ลำดับ 14. บัตรเครดิต กรุงศรี จีอีลำดับ 15. บัตรเครดิตเซ็นทรัลการ์ดลำดับ 16. บัตรเครดิตเทสโก้ วีซ่าลำดับ 17. (คะแนนน้อยที่สุด). บัตรเครดิตเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า สินเชื่อ (เรียงตามลำดับคะแนนได้ดังนี้)สินเชื่อบุคคล เคทีซี แคชบัตรกดเงินสดยูเมะ พลัสสินเชื่อบุคคล กรุงศรี สไมล์ แคช สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้สินเชื่อหมุนเวียนสปีดี้แคช / สินเชื่อบุคคลสปีดี้โลน สินเชื่อเงินสด เพาเวอร์บาย ดาวโหลด File รายละเอียด ผลการสำรวจ บัตรเครดิต และสินเชื่อ ตัวอย่างค่าธรรมเนียมต่างๆ ของบัตรเครดิต บัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรหลัก ค่าธรรมเนียมแรกเข้า บัตรเสริม ค่าธรรมเนียมรายปี บัตรหลัก ค่าธรรมเนียมรายปี บัตรเสริม ค่าธรรมเนียมการขอตรวจสอบรายการ ค่าธรรมเนียมการขอบัตรใหม่ บัตรเครดิตกสิกรไทย 600 -- 2,000 ฟรี 1,050 -- 3,500 1,050 -- 3,500 ไม่มี 200 - 500 บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ ฟรี -- 4,000 ไม่ระบุ ฟรี -- 4,000 ไม่ระบุ 100/ครั้ง 200 บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ฟรี -- 4,000 ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ บัตรเครดิตทหารไทย 500 -- 1,500 500 -- 1,500 600 -- 1,500 600 -- 1,500 ไม่ระบุ 100 -200 บัตรเครดิตพร้อมสินเชื่อบ้าน ฟรี ยกเว้นบัตรวีซ่าแพลทินัม อีลีท บัตรมาสเตอร์การ์ด แพลทินัม บัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ บัตรมาสเตอร์การ์ด ไททาเนียม 15,000 บาท ฟรี 1,600 - 4,000 1,000 -- 1,500 ฟรีถ้าไม่ต้องการสำเนา 200 บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ ฟรี และฟรีปีต่อไปถ้าใช้จ่ายตามที่กำหนด ไม่ระบุ ฟรี และฟรีปีต่อไปถ้าใช้จ่ายตามที่กำหนด ไม่ระบุ ไม่ระบุ 150 บัตรเครดิตธนาคารนครหลวงไทย 500 -- 1,000 500 -- 1,000 650 -- 1,200 500 -- 1,000 100/รายการ 250 บัตรเครดิตธนาคารยูโอบี 500 - 750 (ฟรีสำหรับแพลทินัม) ฟรี 600 -- 3,000 300 - 600 (ฟรีบัตรแพลทินัม) 100/ครั้ง ไม่ระบุ บัตรเครดิตอิออน ฟรี ฟรี ฟรี 100 ไม่มี 200 บัตรเครดิตเอชเอสบีซี ฟรี - 500 ฟรี 500- 3,800 ฟรี - 800 ไม่ระบุ 200 บัตรเครดิตโรบินสัน วีซ่า ฟรี ไม่ระบุ 100 200 ไม่ระบุ 200 บัตรบิ๊กซีมาสเตอร์การ์ด ฟรี ไม่ระบุ 199 ไม่ระบุ 150/ครั้ง 150 บัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย ฟรี ไม่ระบุ ฟรี ไม่ระบุ ไม่มี ไม่มี บัตรเครดิต กรุงศรี จีอี ฟรี ไม่ระบุ ฟรี ไม่ระบุ ไม่ระบุ 200 บัตรเครดิตเซ็นทรัลการ์ด ไม่ระบุ ไม่ระบุ 100 - 300 50 -- 150 200/ครั้ง 200 บัตรเครดิตเทสโก้ วีซ่า ไม่ระบุ ไม่ระบุ 600 100 200/ฉบับ 200 บัตรเครดิตเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า ฟรี ไม่ระบุ 300 -500 150 - 250 200/ครั้ง 100 - 200 อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน สำหรับสินเชื่อ สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย (% ต่อปี)/ วันที่เริ่มคิด ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน (% ต่อปี) /วันที่เริ่มคิด ค่าธรรมเนียมการขอตรวจสอบรายการ ต่อครั้ง ค่าธรรมเนียมการขอบัตรใหม่ สินเชื่อบุคคล เคทีซี แคช 15% ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มคิด สูงสุดไม่เกิน 13% ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มคิด ไม่มี ไม่มี บัตรกดเงินสดยูเมะ พลัส สูงสุด 28% 100 บาท/ครั้ง 100 บาท/ครั้ง สินเชื่อบุคคล กรุงศรี สไมล์ แคช 26% ต่อปี สำหรับวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 30,000-44,999 บาท 21% ต่อปี สำหรับวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 45,000-100,000 บาท ไม่ได้ระบุวันเริ่มคิด รวมกับดอกเบี้ยแล้ว สูงสุดไม่เกิน 28% ต่อปี ไม่ได้ระบุวันเริ่มคิด ไม่มี ไม่ได้ระบุ สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ ไม่เกิน 28% ขึ้นอยู่กับวงเงินสินเชื่อ 28% (5,000-99,000 บาท) 21.25% (100,000-399,999 บาท) 19.16% (400,000-499,999 บาท) 17.06%(ตั้งแต่ 500,000บาทขึ้นไป) 200 บาท/ครั้ง 200 บาท/ใบ สินเชื่อหมุนเวียนสปีดี้แคช / สินเชื่อบุคคลสปีดี้โลน สูงสุด 28% - ไม่มี ไม่มี สินเชื่อเงินสด เพาเวอร์บาย สูงสุดไม่เกิน 15% ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มคิด สูงสุดไม่เกิน 13% ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มคิด ไม่ระบุ 100 บาท/ครั้ง                                                             ความปลอดภัยในการใช้บัตรบัตรเครดิตหรือสินเชื่อทุกบัตรที่เราสำรวจนั้น การอายัดบัตรสามารถทำได้ภายใน 5 นาที และแน่นอนเราต้องเสียค่าธรรมเนียม ในการทำบัตรใหม่อันเนื่องมาจากการขออายัดบัตรเก่าด้วย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 97 บัตรเครดิต ใช้อย่างไรไม่เป็นหนี้

กองบรรณาธิการบัตรเครดิต ใช้อย่างไรไม่เป็นหนี้การใช้บัตรเครดิต ว่าไปแล้วก็คือการนำเงินในอนาคต (ของเรา) มาใช้จ่าย ณ เวลาปัจจุบัน จัดเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่ง ถ้าผู้ใช้บัตรมีวินัยในการใช้จ่ายดีพอ เรียกว่า ฉลาดใช้ กล่าวคือ ไม่จ่ายจนเกินความสามารถในการจ่ายหนี้คืนได้เต็มจำนวนเมื่อครบกำหนด บัตรเครดิตก็มีประโยชน์เพราะช่วยให้จับจ่ายใช้สอยได้สะดวกขึ้นโดยไม่ต้องพก พาเงินสดเป็นจำนวนมากๆ เรียกว่า เอาเงินของธนาคารมาใช้ก่อนโดยไม่มีดอกเบี้ยกวนใจแต่คงต้องยอมรับกันล่ะว่า คนส่วนหนึ่ง(อาจเป็นส่วนใหญ่) ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการจับจ่ายของตัวเองได้ อาจเพราะถูกโปรโมชั่นต่างๆ ล่อใจ หรืออาจเพราะคิดว่าสามารถผ่อนจ่ายได้เรื่อยๆ สบายๆ เนื่องจากบัตรเครดิตมีบริการให้จ่ายคืนขั้นต่ำได้ (ร้อยละ 10) จนอาจลืมไปว่า ดอกเบี้ยของสินเชื่อบัตรเครดิตนั้นสูงมาก คือสูงถึงร้อยละ 20 ต่อปี (ลองคิดเทียบกับเงินฝากหรือเงินกู้ประเภทอื่น) ดังนั้นหากยิ่งมีจำนวนเงินค้างชำระมากเท่าไร จำนวนดอกเบี้ยก็จะยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว รวมถึงค่าธรรมเนียมยิบย่อยเป็นต้นว่า ค่าทวงถาม ค่าธรรมเนียมรายปี ฯลฯ สุดท้ายก็พัวพันเป็นหนี้สินก้อนโต ผ่อนใช้กันไม่รู้จักจบสิ้น ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีอย่างนี้ โอกาสที่จะสูญเสียรายได้หรือตกงาน จนหมดความสามารถจ่ายหนี้คืนได้อาจมาถึงโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนคิดมีบัตรเครดิตหรือก่อนใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตทุกครั้ง ต้องรอบคอบและมั่นใจว่า ไม่ได้ใช้จ่ายจนเกินตัวและมีเงินมากพอที่จะจ่ายคืนได้ครบเมื่อถึงรอบกำหนด จ่ายคืน ถ้าทำได้เช่นนี้บัตรเครดิตก็จะไม่เป็นปัญหาอะไรกับชีวิตเลยปี 2552 แนวโน้มบัตรใหม่ลดลง ธนาคารก็กลัวหนี้เสียเหมือนกันข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ภาพรวมปริมาณบัตรเครดิตทั้งระบบ ณ สิ้นปี 2552 น่าจะมีปริมาณบัตรเครดิตอยู่ที่ประมาณ 13,650,000 บัตร ซึ่งถือว่าเป็นภาวะชะลอตัว เมื่อเทียบกับปริมาณบัตรเครดิตในปัจจุบัน (สิ้นปี 2551) คือ 12,987,073 บัตร เหตุเพราะปี 2552 ฝ่ายผู้ประกอบการจะอนุมัติบัตรยากขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคเองส่วนใหญ่อาจจะประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งการตกงาน ขาดรายได้ หรือการยกเลิกบัตรเพื่อลดภาระการใช้จ่ายลงทิศ ทางที่ทำให้เห็นว่า ผู้ประกอบการจะคัดคุณภาพผู้ถือบัตรมากขึ้นคือ ธนาคารบางแห่งได้ปรับฐานเงินเดือนของผู้ที่จะขอทำบัตรเครดิตจากที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดคือ ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็น 18,000 – 20,000 บาท ไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2551 กล่าวคือป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบสินเชื่อนั่นเอง บัตรเครดิตทั้งระบบ ณ สิ้นปี 2551 คาดการณ์ ณ สิ้นปี 2552 ปริมาณบัตรเครดิต 12,987,073 บัตร 13,650,000 บัตร ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 799,717ล้านบาท 879,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิต 189,227 ล้านบาท 201,900 ล้านบาท ผู้บริโภคต้องรอบคอบกับแคมเปญกระตุ้นการใช้จ่ายเมื่อคัดคุณภาพของผู้ที่จะถือครองบัตรรายใหม่อย่างเข้มงวด ผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัวเน้นการทำยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรกับผู้ถือบัตรเดิม ให้มากขึ้น เราจึงเห็นแคมเปญต่างๆ ออกมามากมาย ทั้งการสะสมแต้มรับรางวัลพิเศษเป็นของรางวัลต่างๆ หรือการบินไปต่างประเทศ การนำเงินคืนเข้าบัญชีผู้ใช้บัตร(Cash Back) หรือการให้สิทธิพิเศษในการผ่อนซื้อสินค้าในอัตราดอกเบี้ย 0 ฯลฯ ถ้าผู้บริโภคไม่รอบคอบในการใช้จ่าย อาจส่งผลเสียหายในอนาคตได้ดังนั้นต้องระวังให้มากเช่น การให้สิทธิในการซื้อตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษ ลองถามตัวเองก่อนว่า เดินทางได้ตามเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการกำหนดหรือไม่ หากทำได้ก็ถือว่าคุ้ม แต่ถ้าไม่มีทางทำได้อย่างเงื่อนไข การใช้จ่ายหนักมือก็คือภาระที่ต้องแบกรับหนักขึ้นเมื่อถึงกำหนดจ่ายชำระคืน หรือการคืนเงินสดกลับบัญชี ประเภท “จ่ายมากสะสมมาก” ลองพิจารณาเงื่อนไขให้ดีก่อน หากจ่ายแล้วต้องมาเดือดร้อนหาเงินจ่ายหนี้คืนให้ทันรอบบัญชีเพื่อไม่ให้เกิด ดอกเบี้ย สู้ไม่ใช้ดีกว่าไหม เพราะถึงเงินในบัญชีไม่เพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ลดลงล่ะน่าฉลาดใช้บัตรเครดิต1.การที่ผู้ประกอบการแข่งขันกันให้สิทธิพิเศษมากมายแก่ผู้ใช้บัตร มองให้ดีก็ดี มองให้ร้ายก็ได้ เพราะเท่ากับกระตุ้นให้ใช้จ่ายเกินตัว ดังนั้นควรพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ให้รอบคอบเสียก่อน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์และประเมินตัวเองแล้วว่า มีเงินสดพอที่จะจ่ายคืนได้ทันกำหนดโดยไม่เสียดอกเบี้ย ถือว่าเป็นสิทธิประโยชน์ที่น่าพิจารณา เช่น การผ่อนชำระเมื่อซื้อสินค้าได้ถึง 6 เดือนไม่มีดอกเบี้ย นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ควรเป็นสินค้าที่สามารถสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เท่านั้น ไม่ควรนำเงินไปใช้จ่ายกับสินค้าฟุ่มเฟือยหรือหรูหราเกินตัว2.ควรใช้บัตรเครดิตเฉพาะการชำระค่าสินค้าหรือบริการเท่านั้น อย่าใช้เบิกเงินสดล่วงหน้า เพราะท่านต้องเสียทั้งค่าธรรมเนียมเบิกเงินสดล่วงหน้าระหว่างร้อยละ 3 - 5 และดอกเบี้ยอีกร้อยละ 20 เมื่อนำมารวมกันแล้วกลายเป็นดอกเบี้ยที่สูงมาก (ประมาณร้อยละ 33) แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ ที่ต้องใช้เงินสดจำนวนมาก ควรหารูปแบบสินเชื่อประเภทอื่นดีกว่า3.การใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของรายได้ต่อเดือน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตสะสมเป็นวงเงินที่สูงเกิน กว่ารายได้ต่อเดือน การชำระเงินคืนควรจ่ายให้ทันรอบบัญชีเพื่อมิให้มีดอกเบี้ยเกิดขึ้น หรือไม่ไหวจริงๆ ก็ให้จ่ายเท่าที่จ่ายได้แต่ไม่ควรเป็นขั้นต่ำ เพราะจะถูกคิดอัตราดอกเบี้ยในรอบบัญชีถัดไป เงินคงค้างเหลือมากเท่าไร ดอกเบี้ยก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น4.อย่ามีบัตรเครดิตหลายใบ จำนวนที่เหมาะสมคือ 1 – 2 ใบ หากเกินกว่านี้จะทำให้เกิดภาระหนี้สินได้ไม่รู้ตัวระลึกไว้เสมอ การใช้บัตรเครดิตจะเกิดประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ใช้บัตรเครดิตมีการวาง แผนและมีวินัยทางการเงินที่ดี หากเผลอรูดเพลินจนลืมตัวเมื่อไรแล้วล่ะก็ ได้กลายเป็นสมาชิกชมรมหนี้บัตรเครดิตไปอีกยาวเลยเชียว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point