ฉบับที่ 227 นมดิบ...ดีหรือไม่

        เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 มีข่าวหนึ่งกล่าวว่า ชายสูงวัยคนหนึ่งและทีมงานหลายร้อยชีวิตเดินทางไปยังสหกรณ์โคนมหนึ่งในจังหวัดราชบุรี เพื่อชมกระบวนการผลิตนมและทดลองรีดนมวัว ก่อนจะพลั้งปากกล่าวประมาณว่า “ต่อไปไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะกินนมบูดอีก ให้เอาแม่วัวไปให้เด็กที่โรงเรียน จากนั้นช่วงเช้าก็รีดนมให้เด็กกิน”          ทันทีที่ข่าวตีพิมพ์ขึ้นสู่โลกออนไลน์ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ก็มีข่าวต่อเนื่องว่า นักวิชาการหนุ่มซึ่งเป็นอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยหนึ่งได้ให้ความเห็นใน facebook ถึงเรื่องการดื่มนมดิบว่า "ไม่ควรดื่มน้ำนมดิบ เพราะอาจมีอันตรายจากเชื้อโรค” พร้อมข้อมูลสรุป ซึ่งคนที่เรียนด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพรู้กันทั้งนั้นว่า นมดิบนั้นเป็นนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อก่อโรคด้วยความร้อนในระดับที่เรียกว่า พาสเจอร์ไรซ์ จึงเสี่ยงรับเชื้อโรคอันตรายซึ่งอาจจะปนเปื้อนในนมหลายชนิด เช่น บรูเซลล่า (Brucella), แคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter), คริปโตสปอริเดียม (Cryptosporidium), อีโคไล (E. coli), ลิสทีเรีย (Listeria) และซาลโมเนลล่า (Salmonella) ซึ่งก่ออันตรายร้ายแรงได้ในหลายระดับต่อผู้ดื่ม และต่อมาในวันที่ 14 พฤศจิกายน รองโฆษกพรรคการเมืองหนึ่งก็ได้ให้ข่าวทำนองเดียวกัน เพื่อตอกย้ำความไม่รู้ของชายสูงวัย         ปัจจุบันคนไทยบางคนเริ่มนิยมกินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปที่ปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่างๆ หรือแม้ผ่านการแปรรูปก็ผ่านแต่น้อยซึ่งเรียกว่า Green และถ้าเป็นไปได้ก็ต้องการให้สิ่งที่ Green นั้นเป็น Organic (อาหารอินทรีย์) ด้วย หนักไปกว่านั้นบางคนยังชอบให้ของกินเป็น Raw คือ อาหารพวกผักและผลไม้สด ต้นอ่อนของพืช เมล็ดพืช เนื้อสัตว์ ปลา ฯลฯ ที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง ไม่มีการเติมแป้งและน้ำตาล โดยใช้ความร้อนไม่เกิน 49 องศาเซลเซียสในการปรุง         ในเรื่องการกินอาหารสดไม่ผ่านการปรุงนั้น มีบทความเรื่อง “Raw-milk fans are getting a raw deal” ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ The Globe and Mail ฉบับวันที่ 24 กันยายน 2010 ให้ข้อมูลว่า พระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรทรงชอบเสวยนมดิบ (raw milk) ที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนใด ๆ และทรงสนับสนุนว่า นมดิบนั้นป้องการอาการแพ้และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่านมที่ผ่านการพาสเจอไรซ์ นอกจากนี้ยังมีข่าวกล่าวกันว่า ในอดีตนั้นเคยทรงให้รีดนมดิบของวัวเลี้ยงในพระราชวังวินเซอร์ส่งไปให้พระราชนัดดา (เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮรี่) เสวยในสมัยที่ทั้งสองศึกษาที่ Eton College การที่พระราชินีและพระราชนัดดาไม่เคยทรงป่วยทั้งที่เสวยนมดิบนั้นผู้เขียนเข้าใจว่า คงเป็นเพราะวัวทรงเลี้ยงนั้นได้รับการดูแลอย่างดีในโรงวัว ซึ่งสะอาดพร้อมภักษาหารปลอดจากภัยร้าย ต่างจากวัวชาวบ้านที่นอนกลางดินกินหญ้ากลางทราย และอาบน้ำที่มักได้จากแหล่งน้ำสาธารณะหรือบ่อบาดาล        ในหลายประเทศมีกฎหมายห้ามการจำหน่ายนมดิบ เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางเดินอาหาร เพราะในตำราจุลวิทยาทางอาหารทั่วไปมักกล่าวถึงนมดิบว่า เป็นปัจจัยเสี่ยงของผู้ดื่มต่อการรับเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะเชื้อหลายชนิดนั้นสร้างสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหารได้ ในขณะที่เชื้อบางชนิดก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารด้วยตัวมันเอง         สมัยที่ผู้เขียนเรียนอยู่ชั้นประถมต้น ราว 60 ปี มาแล้ว ผู้เขียนจำได้ว่า น้าสาวชอบซื้อนมสดจากแขก (อินเดีย) ซึ่งถีบจักรยานมาส่งที่บ้านเป็นประจำ น้าของผู้เขียนทำการต้มนมสดจนเดือดแล้วทิ้งให้เย็นก่อนดื่ม ซึ่งเป็นพฤติกรรมเฉพาะของคนทางเอเชียบางกลุ่ม ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะเพื่อนร่วมหอพักในมหาวิทยาลัยสมัยที่ผู้เขียนเรียนที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นชาวจีนฮ่องกงนั้น ก็ต้มนมสดที่ซื้อจากซูเปอร์มาเก็ตก่อนดื่มเป็นประจำโดยให้เหตุผลว่า เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยและชอบกลิ่นของนมที่ผ่านการต้มแล้ว         ความชอบกลิ่นนมที่ต้มแล้วของคนไทยนี้ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำนมวัวบรรจุกระป๋องโลหะที่ผ่านการสเตอริไลซ์ยี่ห้อหนึ่งของสวิสเซอร์แลนด์ขายได้ดีในไทย แต่กลับหาดื่มไม่ได้ในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะคนอเมริกันชินต่อการดื่มนมพาสเจอไรซ์ และคนอเมริกันส่วนมากไม่เคยรู้เลยว่า มีการต้มนมให้เดือดเพื่อดื่มบนโลกนี้         ในนิวซีแลนด์นั้นกำหนดว่า ผู้บริโภคสามารถซื้อนมที่รีดสดจากเต้าวัวของเกษตรกรที่ลงทะเบียนกับรัฐเท่านั้น โดยที่เกษตรกรเหล่านี้ต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดว่า มีความสามารถในการตรวจสอบสิ่งเป็นพิษในนม เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค มีการเก็บข้อมูลการขายและทำฉลากติดสินค้า ซึ่งต้องบอกวันผลิต คำแนะนำในการเก็บรักษา และข้อควรระวังในการดื่มนมดิบสำหรับผู้ดื่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย แต่สิ่งที่สำคัญในการซื้อขายนั้นคือ ต้องเป็นการขายตรงจากเกษตรกรสู่มือผู้บริโภค (ผู้ซื้อและผู้ขายจึงรู้จักกันดี) ห้ามขายผ่านจุดรวบรวมสินค้าเช่น ร้านของสหกรณ์ อีกทั้งผู้ซื้อต้องให้ข้อมูลที่พักอาศัยแก่เกษตรกรผู้ขาย เพื่อให้สามารถติดต่อได้อย่างทันทีทันใด ในกรณีที่ภายหลังการขายนมไปแล้วเกิดตรวจพบว่า นมนั้นไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยเกี่ยวกับการปนเปื้อน ที่น่าสนใจคือ มีข้อมูลจากบทความชื่อ Raw milk ในเว็บ www.consumer.org.nz เมื่อ 30 มิถุนายน 2016 กล่าวว่า เมื่อปี 2014 มีผู้ติดเชื้อจากการดื่มนมดิบ 41 คน ซึ่ง 9 คน อายุต่ำกว่า 15 ปี แล้วผู้ป่วย 2 คน มีอาการร้ายแรงถึงขั้นไตวาย และต่อมาในปี 2015 ก็มีรายงานของผู้ป่วยจากการดื่มนมดิบอีก 13 คน         ประเทศอื่นที่มีการตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตสำหรับผู้ที่สามารถทำตามข้อกำหนดเพื่อขายนมดิบนั้นคือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา (ซึ่งมีกฏหมายประจำรัฐที่ยอมให้มีการขายได้ด้วยข้อกำหนดที่ต่างกันไปในแต่ละรัฐ) อย่างไรก็ดีหน่วยงานด้านสาธารณสุขของรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาคือ CDC (Centers for Disease Control and Prevention) ได้พยายามเตือนว่า มันเสี่ยงต่อหายนะที่มีอันตรายถึงชีวิตของผู้ดื่มนมดิบเพราะมีข้อมูลว่า ตั้งแต่ปี 1993 ในการระบาดของโรคครั้งใหญ่ในประเทศ 55 ครั้งนั้น ร้อยละ 75 ของการระบาดเกิดในรัฐที่มีการอนุญาตให้ซื้อขายนมดิบได้ตามกฎหมาย ที่น่าสังเกตคือ การเกิดโรคเนื่องจากการกินเนยแข็งในรัฐที่มีกฏหมายอนุญาตให้ขายเนยที่ทำจากนมดิบนั้นสูงเป็น 6 เท่าเมื่อเทียบกับรัฐที่ไม่อนุญาต          ผู้เขียนได้มีโอกาสดูข้อมูลวันที่ 27 มิถุนายน 2011 ของเว็บ เสียงจากอเมริกา (www.voathai.com) ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดื่มนมดิบว่า ในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกานั้น การขายนมสดที่ไม่ผ่านกรรมวิธีเพื่อฆ่าเชื้อเป็นเรื่องผิดกฎหมาย จึงทำให้มีการชุมนุมประท้วงที่กรุงวอชิงตันดีซีหลังจากมีการจับเกษตรกรที่นำนมสดไม่ผ่านการฆ่าเชื้อในรัฐที่มีกฎหมายอนุญาตข้ามไปขายในรัฐที่ไม่มีกฏหมายอนุญาต โดยผู้ประท้วงรายหนึ่งถึงกับนำวัวมารีดนมและให้บริการดื่มในการชุมนุมประท้วงนั้นด้วย แต่ข่าวไม่ได้กล่าวต่อว่า หลังจากการประท้วงแล้วมีคนท้องเสียหรือไม่         อย่างไรก็ดีการเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารระบาดนั้น ไม่ได้มีนมดิบเป็นปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียว เพราะปัจจัยอื่นเช่น การสัมผัสเชื้อจากสัตว์ต่างๆ หรือแม้แต่การสัมผัสน้ำจากปศุสัตว์ที่ไม่ได้รับการบำบัดให้สะอาดก่อนทิ้งก็ก่อให้เกิดโรคระบาดได้ ดังนั้นงานวิจัยต่างๆ จึงไม่สามารถระบุว่า ในการระบาดของโรคนั้นมีนมดิบเป็นสาเหตุหลักของโรคและที่สำคัญคือ ทุกครั้งที่เกิดปัญหาก็ไม่มีใครสามารถหาข้อมูลได้ว่า นมดิบที่ขายตรงต่อผู้บริโภคนั้นมีเชื้อก่อนการบริโภคหรือไม่ ที่สำคัญนมที่ผลิตเพื่อบริโภคในช่วงที่เกิดปัญหามักถูกดื่มหรือทิ้งส่วนที่เหลือไปแล้ว         ข้อมูลจากเว็บของ เสียงจากอเมริกา นั้นกล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้นิยมดื่มนมดิบหลายคนในรัฐที่ไม่มีการอนุญาตให้มีการซื้อขาย ได้เลี่ยงอุปสรรคดังกล่าวด้วยการร่วมทุนเข้าหุ้นกันเลี้ยงวัวที่ฟาร์มนอกเมืองเสียเอง ตัวอย่างคือ ฟาร์มที่เฮดจ์บรูคซึ่งอยู่นอกกรุงวอชิงตันนั้น มีการขายหุ้น 25 หุ้นสำหรับวัวตัวหนึ่ง ซึ่งเจ้าของหุ้นแต่ละรายได้รับนมจากเต้าของวัวตัวนั้นซึ่งสดใหม่สมใจ (ในการเสี่ยงโรค) สัปดาห์ละราว 4 ลิตร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 ตลกร้ายรับปีใหม่ ของขวัญแด่คนกรุงเทพ

        รถเมล์สามพันคันประกันหมด        ถอนหายใจสามเฮือก ขสมก.คิดทำอะไรอยู่ รู้ทั้งรู้ว่าประกันภัยจะหมดสิ้นปี แต่ยังปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น อ้างยังไม่สามารถจัดหาบริษัทประกันภัยรายใหม่ได้ทัน เนื่องจากความล่าช้าของการอนุมัติโครงการ เหตุเพราะผิดขั้นตอนจึงถูกตีตกไปจัดทำใหม่         ถ้าว่ากันเรื่องมาตรฐานองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว เรื่องแบบนี้ไม่ใช่แค่ออกมาขอโทษหรือแก้ตัว หน้าที่องค์กรของรัฐอย่าง ขสมก.ควรมีความรับผิดชอบและมาตรฐานการจัดการที่ดีมากกว่านี้ แค่ตั้งใจปล่อยข่าวออกมาให้ประชาชนรู้หลังประกันภัยหมดหลายวัน ก็ไม่จริงใจต่อกันแล้วหลายคนรับไม่ได้แล้ว แต่องค์กรอย่าง ขสมก.ก็ยังอยู่ได้ปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น         แม้ว่าภายหลัง ขสมก.จะออกมาแก้ข่าวว่า ขสมก.จะรับผิดชอบดูแลความเสียหายหากเกิดอุบัติเหตุ โดยพนักงานขับรถไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะถือเป็นความรับผิดชอบของ ขสมก. แต่สิ่งที่ออกมาบอกก็เป็นหน้าที่ที่ต้องทำอยู่แล้วมิใช่หรือ การรับผิดชอบประชาชนที่ใช้รถเมล์กว่าล้านคนต่อวันไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ยังไม่รวมถึงจริยธรรมและความรับผิดชอบที่ดีที่ต้องมีมากกว่านี้        หากกรณีนี้เป็นรถร่วมเอกชนที่ออกมาบอกว่า รถประกันหมดนะ ขอวิ่งไปก่อนจนกว่าจะหาประกันภัยใหม่ได้ คงโดนเล่นงานสาปส่งลงโทษสถานหนักแล้ว เพราะการนำรถที่ไม่มีประกันออกมาวิ่งรับส่งคนโดยสารเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย แต่พอเป็น ขสมก.ที่ออกมาบอกหน้าตาเฉยว่าประกันหมด ตอนนี้กำลังรีบหาประกันภัยใหม่อยู่ บอกแบบนี้ คือให้ทุกคนต้องดูแลตัวเองอย่างนั้นหรือ ความปลอดภัยของประชาชนและความเชื่อมั่นต่อองค์กรหนี้แสนล้านนี้อยู่ที่ไหน ตรงนี้ประชาชนถามเยอะมาก แต่ก็ไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ออกมาจาก ขสมก. ความผิดพลาดแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นและควรต้องมีคนรับผิดชอบ         เรื่องรถเมล์ว่าแย่แล้ว ปัญหาเรื่องรถตู้โดยสารก็ยังไม่จบ         ประมาณเดือนมีนาคมนี้คงได้คำตอบจากกระทรวงคมนาคมว่า ที่ขอขยายเวลาไปศึกษาแนวทางการยืดอายุรถตู้โดยสารประจำทางหมวด 1 และ 4 ที่อายุสิบปีไม่ให้ต้องเปลี่ยนเป็นไมโครบัสนั้น ทิศทางข้างหน้าจะเป็นยังไง         เรื่องนี้กระทรวงคมนาคมต้องคิดให้รอบคอบ เพราะกว่าที่ทุกฝ่ายจะผลักดันมาตรฐานความปลอดภัยให้รถตู้โดยสารประจำทางมาจนถึงจุดนี้ ที่ผ่านมาต้องแลกมาด้วยชีวิตของผู้สูญเสียมากมาย บทเรียนจากอดีตเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และแก้ไข เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่การวิ่งใกล้หรือวิ่งไกลอย่างที่ผู้ประกอบการโต้แย้ง แต่ประเด็นอยู่ที่สภาพโครงสร้างของรถตู้ไม่ได้ถูกออกแบบให้มาวิ่งรับส่งคนโดยสาร การเอาชีวิตรอดจากโครงสร้างรถตู้ที่ไม่ปลอดภัยต่างหากคือเรื่องสำคัญ การเปลี่ยนผ่านรถตู้เป็นรถไมโครบัสที่ปลอดภัยกว่าจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ ควบคู่ไปกับการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยินยอมเปลี่ยนรถ ขณะที่มาตรฐานความปลอดภัยด้านคนขับและการบังคับใช้กฎหมายต้องไม่ลดลง         อย่างไรก็ดีต้องให้ความเป็นธรรมกับกลุ่มรถตู้โดยสารประจำทางกันสักนิด ที่หลังจากกระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดมาตรการความปลอดภัยในหลายส่วน รวมถึงการทำความเข้าใจและความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการ มีผลทำให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถตู้โดยสารประจำทางลดน้อยลงอย่างน่าพอใจ         กลับกันรถตู้ส่วนบุคคลหรือที่เรียกกันว่า รถตู้ป้ายฟ้า และรถตู้โดยสารไม่ประจำทางกลับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราการเกิดเหตุสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางกับกลุ่มรถตู้โดยสารประจำทางอย่างชัดเจน และโดยเฉพาะกลุ่มรถตู้ส่วนบุคคลที่นำมาวิ่งรับจ้างรับส่งคนโดยสารอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งรถกลุ่มนี้จะไม่ถูกกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เช่น ไม่ต้องติด GPS ไม่ถูกควบคุมความเร็ว ไม่บังคับทำประกันภัยค้ำจุน ไม่ต้องมีสมุดประจำรถ ไม่ต้องเดินรถด้านซ้าย ฯลฯ เนื่องจากเป็นการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ที่เป็นรถส่วนบุคคลห้ามนำมาวิ่งรับจ้าง         แต่ในทางปฏิบัติกลับมีรถกลุ่มนี้ออกมาวิ่งรับส่งคนตามท้องถนนอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ที่ผ่านมามีเพียงคำขู่จากกรมการขนส่งทางบก แต่จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่เห็นถึงมาตรการเด็ดขาดที่จะหยุดรถกลุ่มนี้ไม่ให้ออกมาวิ่งรับจ้างแต่อย่างใด         เหตุผลสำคัญคือ นอกจากสภาพโครงสร้างรถจะไม่ปลอดภัยแล้ว รถกลุ่มนี้อาจจะไม่จัดทำประกันภัยค้ำจุน เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทำให้หากเกิดอุบัติเหตุความรุนแรง เจ้าของรถก็จะไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อชดเชยเยียวยาผู้โดยสารที่จ้างเหมาได้ ทุกคนอาจจะต้องเจ็บตัวฟรี เหมือนกับหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้น         และปัญหาใหญ่ที่เริ่มกันแล้วในตอนนี้ คือ การชุมนุมประท้วงของกลุ่มรถตู้โดยสารไม่ประจำทางทั้งประเภททะเบียน 30 และ 36 ที่ออกมาเรียกร้องปลดแอกไม่ให้ถูกเหมารวมเป็นกลุ่มเดียวกับรถตู้โดยสารประจำทาง อ้างว่าเพราะเป็นกลุ่มรถรับจ้างเช่าเหมา จึงไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกับกลุ่มรถตู้โดยสารประจำทาง รวมถึงการเรียกร้องยกเลิกข้อปฏิบัติต่างๆ เช่น ไม่เอา GPS ที่ควบคุมความเร็ว ไม่เอาความเร็วที่บังคับ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขอคืนป้ายทะเบียนรถรับจ้างเพื่อกลับมาใช้ป้ายรถส่วนบุคคล ไม่ต้องทำประกันภัยค้ำจุนเพิ่ม (ภาคสมัครใจ) เพราะจ่ายค่า GPS ไปแล้ว และอีกหลายข้ออ้างเหตุผลที่เข้าข้างตัวเอง         หากกระทรวงคมนาคมเห็นด้วยตามข้อเสนอของคนกลุ่มนี้ เห็นผลประโยชน์ของผู้ประกอบการเป็นที่ตั้ง จนละเลยความปลอดภัยของประชาชนผู้บริโภค คงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดความปลอดภัยต่อทั้งผู้บริโภคที่ใช้บริการและกลุ่มผู้ประกอบการเอง ถ้ายอมให้คืนป้ายกลับไปใช้ป้ายส่วนบุคคลได้ รถผีรถเถื่อนจะเกลื่อนเมือง หรือ ถ้ายอมยกเลิก GPS ยอมเพิ่มความเร็ว เชื่อเลยว่าอุบัติเหตุที่รุนแรงจะกลับมา การบังคับใช้กฎหมายจะล่มสลาย คำถามคือ แล้วกระทรวงคมนาคมจะรับผิดชอบไหวได้อย่างไร

อ่านเพิ่มเติม >

“ฉลาดซื้อ” เผยผลตรวจ สารกันบูดในกะทิ พร้อมแนะรัฐฯ ออกมาตรฐานกะทิ และแก้ปัญหามะพร้าวราคาถูกอย่างยั่งยืน

        ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ เผยผลตรวจ สารกันบูดในกะทิปลอดภัย เตือนผู้บริโภคต้องตกอยู่ในความเสี่ยงหากบริโภคอาหารสะดวกซื้อ พร้อมแนะรัฐฯ ออกมาตรฐานกะทิเพราะเป็นอาหารคู่ครัวไทย และแก้ปัญหามะพร้าวราคาถูกอย่างเป็นระบบและยั่งยืน         จากการที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับการร้องเรียนจากชาวสวนมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่ากะทิสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดนั้นไม่ใช่กะทิแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ดังนั้น ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ภายใต้โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ จึงสุ่มเก็บผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จรูป 3 แบบ คือ กะทิยูเอชที, กะทิพาสเจอร์ไรซ์ ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด และ กะทิคั้นสด จากตลาดในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบปริมาณกรดไขมัน วัตถุกันเสีย (ซอร์บิก, เบนโซอิก) และสารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์) รวมทั้งหมด 11 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) กะทิแท้ 100% ชาวเกาะ, 2) กะทิสูตรหัวกะทิ ชาวเกาะ, 3) กะทิแท้ พร้าวหอม, 4) กะทิ 100% อัมพวา, 5) กะทิแท้ 100% รอยไทย, 6) กะทิ 100% เรียลไทย, 7) กะทิ เอโร่, 8) กะทิ 100% หัวกะทิ อร่อย-ดี, 9) ร้านกะทิสด จากตลาดคลองเตย, 10) กะทิพาสเจอร์ไรส์ ชาวเกาะ (บรรจุถุง) และ 11) กะทิสำเร็จรูป (บรรจุถุง) สมุย        ผลการวิเคราะห์แบ่งเป็น กะทิยูเอชที, กะทิพาสเจอร์ไรซ์ และกะทิสด         ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ กองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ข้อสังเกตจากผลวิเคราะห์น้ำกะทิ  11 ตัวอย่าง พบว่า          ปริมาณสารกันเสีย (กรดเบนโซอิก : ปริมาณที่อนุญาตให้มีได้ในผลิตภัณฑ์ประเภทอิมัลชั่น 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) มีการตรวจพบใน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) กะทิพาสเจอร์ไรส์ ชาวเกาะ (บรรจุถุง) 776.62 มก./กก., 2) กะทิสำเร็จรูป (บรรจุถุง) สมุย 804.24 มก./กก. 3) กะทิสดจากร้านในตลาดคลองเตย ในปริมาณ325.09 มก./กก. และ 4) กะทิ 100% หัวกะทิ อร่อย-ดี (AROY-D) ที่ระบุในฉลากว่าไม่ใช้วัตถุกันเสีย แต่พบปริมาณสารกันเสีย 2.19 มก./กก.        ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่ากะทิสดที่สุ่มเก็บตัวอย่างจากตลาดคลองเตยนั้น ตรวจพบวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกปริมาณ 325.09 มก./กก.         กรดไขมัน : จากผลการวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันพบว่า ปริมาณกรดไขมันที่พบในน้ำกะทิ จากตลาดคลองเตย มีปริมาณสูงที่สุดในทุกชนิดกรดไขมันที่ตรวจพบ (กราฟเส้นสีน้ำเงินในรูป) โดยกรดไขมันที่พบมากที่สุดคือ Lauric acid ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวชนิดหนึ่งที่อยู่ในน้ำกะทิตามธรรมชาติ        ดร.แก้ว กล่าวอีกว่า ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า อาหารสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไปนั้น ผู้บริโภคต้องยอมรับความเสี่ยง เพราะความสะดวกนั้นมากับพร้อมความเสี่ยงและการได้รับความอร่อยที่ลดลง อีกทั้งทุกวันนี้กระบวนการผลิตอาหารมักใช้วัตถุเจือปนอาหาร และใช้กระบวนการผ่านความร้อนที่ทำให้ความหอมและรสอร่อยของอาหารลดลง เช่น กะทิ เมื่อนำมาผ่านความร้อนบรรจุลงกล่องหรือขวด จะมีคุณภาพลดลงไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บอาหารนั้น จะสังเกตว่าเมื่อเราจะนำกะทิสำเร็จรูปมาปรุงอาหาร ในส่วนคุณภาพของกะทิ เช่น ความหอมและรสชาติจะถูกลดทอนไปมากแล้ว          “ผมคิดว่ากะทิเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในส่วนผสมของอาหารไทยเกือบทุกเมนู ฉะนั้นจึงเสนอให้ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เห็นถึงความสำคัญของอาหารประเภทกะทิ เร่งออกมาตรฐานคุณภาพของกะทิในบ้านเรา เพื่อทำให้กะทิของไทยมีคุณภาพดี รสชาติเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมการใช้มะพร้าวภายในประเทศในการผลิตอีกด้วย” ดร.แก้วกล่าว         ด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนว่าทำไมคนญี่ปุ่นต้องกินข้าวจากดินในประเทศญี่ปุ่น ผู้บริโภคไทยก็เช่นเดียวกัน เวลาเราใช้น้ำกะทิหรือกินแกงกะทิ เราต้องการข้อมูลที่จะบอกเราว่า กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์กล่องนี้ทำมาจากมะพร้าวที่มาจากไหน ในประเทศ หรือต่างประเทศใช้สารเคมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อลดการขนส่ง ลดการนำเข้า ลดการใช้พลังงานในการบริโภค โดยมีเป้าหมายในการเป็นผู้บริโภคที่ดี บริโภคอย่างยั่งยืน          “ในส่วนของฉลากบรรจุภัณฑ์ของกะทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรให้ผู้ผลิตระบุด้วยว่าใช้มะพร้าวจากในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อระบุแหล่งที่มาของอาหารและเพื่อให้ผู้บริโภคมีบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงและความปลอดภัยของอาหาร สนับสนุนเกษตรกร รวมถึงสร้างทางเลือกสำหรับผู้บริโภคด้วย” นางสาวสารีกล่าว         ในส่วนของราคามะพร้าวที่ผู้ประกอบการรับซื้อจากชาวสวนนั้น หากยอมรับในคุณภาพของมะพร้าวในประเทศ ทุกฝ่ายต่างต้องการราคาที่เป็นธรรม การรับซื้อตรงจากเกษตรกร น่าจะทำให้เกษตรกรได้ราคาเพิ่มขึ้น หากเราคิดและยอมรับว่า เกษตรกรเป็นผู้อุปการคุณต่อผู้บริโภค เกษตรกรทำงานหนัก สินค้าเกษตรมีราคาถูกเกินไปจนเกษตรกรไม่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ การกำหนดราคาสินค้าจึงต้องมีราคาที่เป็นธรรม ไม่ใช่เกษตรกรขายสินค้าในราคาถูก ซึ่งเป็นปัญหาดึกดำบรรพ์ที่ยังมีอยู่จนถึงวันนี้ รัฐควรมีการแก้ปัญหา ควรมีข้อมูลปริมาณผลผลิตในประเทศที่ชัดเจน ทันสมัย เปิดเผย การส่งเสริมการตลาดสำหรับเกษตรกร หรือ การจำหน่ายตรงสำหรับเกษตรกร การกำกับพ่อค้าคนกลาง หรือรัฐบาลต้องมีนโยบายประกันรายได้เกษตรกรให้ชัดเจน ซึ่งในทางปฏิบัติ จะทำอย่างไรให้ใช้มาตรการนี้เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่เกษตรอินทรีย์ให้มากที่สุด รวมทั้งมีเป้าหมายในการขยายเกษตรอินทรีย์ หรือมุ่งไปสู่การเกษตรกรรมยั่งยืนต่อไปด้วย          ส่วน นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ตัวแทนเครือข่ายชาวสวนมะพร้าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้มาจากการพูดคุยของตัวแทนเครือข่ายมะพร้าวกับผู้ประกอบการทำให้ได้รับทราบว่ากะทิกล่อง 100 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทยมีการผสมน้ำมันแบะแซผสมลงไปด้วย ซึ่งน่าจะผิดกฎหมายที่อ้างว่า กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์นั้น ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ใช่หรือไม่ จึงได้นำเรื่องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อทำการทดสอบ         “ผมคิดว่าบ้านเรามีมะพร้าวจำนวนมากและมีมะพร้าวคุณภาพดี แต่ขณะที่ผู้บริโภคในประเทศไม่ได้บริโภคมะพร้าวที่มีคุณภาพดี แต่กลับต้องไปบริโภคมะพร้าวนำเข้า ที่ผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคก็ได้ นอกจากนี้ ผมอยากเห็นการทำกะทิจากมะพร้าวที่สามารถปลูกได้ในประเทศไทยเพื่อทำให้ผู้บริโภคได้รับกะทิที่มีคุณภาพ มีน้ำมันมะพร้าวที่มีคุณค่า แล้วราคาที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย อีกทั้งยังช่วยจำกัดปริมาณการนำเข้าจากต่างประเทศได้อีกด้วย” นายพงษ์ศักดิ์กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 การตกค้างของ ‘ไกลโฟเสต’ ใน ซีเรียลบาร์

        ซีเรียลบาร์ (Cereal Bar), กราโนลาบาร์ (Granola Bar) หรือ ธัญพืชอัดแท่ง บางครั้งถูกเรียกว่า เอนเนอร์จีบาร์ (Energy Bar) เป็นอาหารเช้าหรือขนมทานเล่น ซึ่งทำจากกราโนลาที่ถูกอัดแท่งแล้วนำไปอบ เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับช่วงเวลาเร่งรีบเพราะสามารถรับประทานได้ง่าย อีกทั้งยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์หลายชนิดทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน น้ำตาล ใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ          ความน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับสารไกลโฟเสตคือ ในการเพาะปลูกธัญพืช เกษตรกรส่วนหนึ่งมีการใช้สารกำจัดแมลงและศัตรูพืชในปริมาณมาก หรืออาจมีการตกค้างของสารเคมีดังกล่าวอยู่ในดินเพาะปลูก ซึ่งอาจทำให้เมล็ดธัญพืชที่เป็นผลผลิตมีสารพิษตกค้างอยู่ด้วย เมื่อนำธัญพืชมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ซีเรียล ก็มีความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์จะมีสารเคมีตกค้าง         โดยเมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา องค์กร “กลุ่มคนทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม” หรือ Environmental Working Group ในสหรัฐอเมริกา ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซีเรียลที่วางขายในท้องตลาด จำนวน 45 ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์ และพบว่ามีซีเรียลถึง 43 ตัวอย่าง ที่มีสารไกลโฟเสต (Glyphosate) ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชปนเปื้อน โดย 2 ใน 3 ของตัวอย่างซีเรียลที่พบการปนเปื้อนนั้น มีปริมาณของไกลโฟเสตในอัตราสูง ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์ได้         นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ จำนวน 8 ตัวอย่าง จากซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในเดือนพฤศจิกายน 2562  ส่งตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารกำจัดวัชพืช “ไกลโฟเสต (Glyphosate)” เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ซีเรียลที่วางจำหน่ายในประเทศไทยให้กับผู้บริโภค โดยผลวิเคราะห์แสดงไว้ดังตารางหน้าถัดไปสรุปผลการตรวจวิเคราะห์        จากการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารไกลโฟเสตในผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ จำนวนทั้งหมด 8 ตัวอย่าง พบว่า ไม่พบการปนเปื้อนทุกตัวอย่าง  ข้อมูลโภชนาการ         จากการสังเกตฉลากผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ ทั้ง 8 ตัวอย่าง โดยเรียงลำดับตามปริมาณน้ำตาล (กรัม) ต่อ น้ำหนักซีเรียลบาร์ 100 กรัม จากน้อยไปมาก พบว่า         ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ ที่มีปริมาณน้ำตาลต่อน้ำหนัก 100 กรัม น้อยที่สุด คือ Carman's (คาร์แมนส์) ธัญพืชชนิดแท่งผสมอัลมอนด์และเฮเซลนัต กลิ่นวานิลลา มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 11.42 กรัม/น้ำหนักซีเรียลบาร์ 100 กรัม         และ ผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ ที่มีปริมาณน้ำตาลต่อน้ำหนัก 100 กรัม มากที่สุด คือ Kellogg's (เคลล็อกส์) ธัญพืชอบกรอบชนิดแท่งเคลือบโยเกิร์ต ผสมแครนเบอร์รี่อบแห้งและสตรอเบอร์รี่เข้มข้น มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 36 กรัม/น้ำหนักซีเรียลบาร์ 100 กรัมข้อมูลอ้างอิง- ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร  (http://fic.nfi.or.th/)- กราโนล่าคืออะไร ลดความอ้วนได้จริงหรือไม่ สูตรลดความอ้วนด้วยกราโนล่า และวิธีทำกราโนล่าด้วยตัวเอง    (www.honestdocs.co/what-is-a-granola-to-lose-weight-or-not)   (www.honestdocs.co/what-is-a-granola-to-lose-weight-or-not)- สหรัฐฯ เตือนพบอาหารเช้า "ซีเรียล" ผสมยาฆ่าหญ้า  (www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/87584)- www.ewg.org/childrenshealth/glyphosateincereal- https://th.wikipedia.org/wiki/- www.ewg.org/childrenshealth/glyphosateincereal- https://th.wikipedia.org/wiki/ไกลโฟเสต

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 ผลทดสอบกล้องดิจิทัลไฮเอนด์ 2019

        ตามที่สัญญาไว้ในฉบับก่อนหน้า ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบกล้องดิจิทัลสำหรับผู้ที่กำลังมองหากล้องในระดับโปรมาฝากทั้งหมด 24 รุ่น สนนราคา* ระหว่าง 17,000 ถึง 134,980 บาท โดยเกณฑ์การให้คะแนนยังคงเป็นเช่นเดิมจากคะแนนเต็ม 100 เขาแบ่งออกเป็น 4 ด้าน         คุณภาพของภาพนิ่ง                    50 คะแนน        ความสะดวกในการใช้งาน             30 คะแนน        คุณภาพของภาพเคลื่อนไหว       10 คะแนน        จอภาพ/ช่องมองภาพ                 10 คะแนน         กล้องสองรุ่นที่ได้คะแนนสูงกว่า 80 ได้แก่ Nikon Z6 และ Fujifilm XT3 แต่ที่เหลือก็ไม่ได้ขี้เหร่นัก เรายังมีรุ่นที่ได้คะแนนมากกว่า 70 อีก 18 รุ่น โดยกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยที่สุดได้ไป 67 คะแนน            ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่สืบค้นทางอินเทอร์เน็ตในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2019 โปรดตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 226 ธรรมชาติปลอดภัยกว่าหรือดีกว่า...หรือ

        ผู้คนจำนวนมากมีอคติในความเชื่อว่า อาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติย่อมดูดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ต่างจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารสังเคราะห์ซึ่งมักถูกมองว่าไม่ปลอดภัย อคติดังกล่าวนี้เกิดเนื่องจากความไม่รู้ว่า สารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้ในกิจการต่างๆ ที่สัมพันธ์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นมักต้องถูกประเมินความปลอดภัย ด้วยวิธีการที่มีจุดประสงค์ในการเผยศักยภาพของการก่อความเป็นพิษในสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีการใช้สัตว์ทดลองต่างๆ เป็นด่านสุดท้ายก่อนถึงมนุษย์ ในการนำสารสังเคราะห์มาใช้ในการผลิตเป็นสินค้านั้น สารสังเคราะห์แต่ละชนิดจะถูกประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลในสัตว์ทดลองก่อน ว่า ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับใด ตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงในการก่อมะเร็งนั้นมักใช้ระดับว่า ในล้านคนจะมีคนเสี่ยงเป็นมะเร็งเท่าใด แล้วสังคมของผู้บริโภคยอมรับในความเสี่ยงดังกล่าวได้หรือไม่          ในกรณีสารที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์หรือสัตว์ทั่วไปเคยกินมาแล้วในอดีต ส่วนใหญ่มักไม่มีการประเมินความเสี่ยงต่ออันตรายของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่เคยมีข้อมูลว่าก่ออันตรายใดๆ มาก่อน ทั้งที่ความจริงแล้วสารที่ได้จากธรรมชาติบางชนิดอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ถ้ามีการนำมาใช้ในลักษณะที่ต่างจากวิธีการที่ใช้ในเวลาก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นที่ขนาดการใช้หรือรูปแบบการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างที่มีข้อมูลเป็นวิทยาศาสตร์คือ เรื่องอันตรายในการถ่ายพยาธิด้วยสารสกัดจากผลมะเกลือ          ผลมะเกลือนั้น ชาวบ้านใช้ในการย้อมผ้าให้ได้ผ้าสีดำที่คงทนมาแต่โบราณ และได้มีการนำผลสดมาคั้นน้ำแล้วผสมกับกะทิกินทันทีเพื่อถ่ายพยาธิ แต่ปัญหาเกิดขึ้นในผู้ที่ไม่เข้าใจวิธีกินเป็นยานั้นอย่างถูกต้อง จนเกิดพิษทำให้เสี่ยงต่อการที่ตาบอดได้ โดยเมื่อคั้นน้ำไว้แล้วไม่ดื่มทันทีหรือใช้วิธีคั้นด้วยน้ำปูนใส สารสำคัญบางชนิดได้เปลี่ยนไปเป็นสารพิษในกรณีแรก  หรือมีสารบางชนิดถูกดูดซึมได้ดีกว่าปรกติเมื่อถูกสกัดออกมาในน้ำปูนใส การที่คนรุ่นเก่าผสมสารสกัดจากผลมะเกลือกับกะทินั้นเข้าใจว่า เป็นการยับยั้งไม่ให้สารที่อาจก่อพิษถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบโลหิต แต่เคลื่อนลงไปจัดการกับพยาธิในทางเดินอาหารตอนล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ         อคติในความชอบของบุคคลต่อสิ่งที่มาจากธรรมชาติเหนือสิ่งที่ประดิษฐนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เมื่อต้องใช้สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งหลายครั้งก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรง เช่น กรณีของผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่ผสมสารสกัดอัลคาลอยด์จากสมุนไพรชื่อ หมาหวง (Ma Huang หรือ Ephedra) ซึ่งมีการจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยปราศจากการประเมินความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง         หมาหวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ แก้หอบ ข้อมูลที่เป็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพถึงผลกระทบในคนกล่าวว่า สมุนไพรดังกล่าวมีสารอัลคาลอยด์ ephedrine ชึ่งมีผลกระทบหลายประการต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งที่สำคัญสุดคือ การกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญในร่างกายเพิ่มขึ้นและเป็นตัวเร่งในการเผาผลาญไขมัน ผู้ประกอบการบางคนจึงหวังว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสำคัญจากหมาหวงเป็นองค์ประกอบนั้นควรช่วยลดน้ำหนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลข้างเคียงของการใช้สมุนไพรนี้ในขนาดสูงกว่าที่แพทย์แผนจีนกำหนดได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงของอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น (ถึงขั้นอาจหัวใจวายได้) หรือมีอาการทางจิตเวช ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มี ephedrine ผสมนั้นถูกห้ามจำหน่ายโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2004 แต่ตัวสมุนไพรนั้นยังขายได้ในบางรัฐ         ด้วยเหตุที่ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจของผู้บริโภคต่อคำโฆษณาสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นไม่เท่ากัน หน่วยงานด้านการแพทย์ทางเลือกและการบูรณาการเพื่อสุขภาพหรือ The National Center for Complementary and Integrative Health (NCCIH) ซึ่งสังกัดสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health หรือ NIH) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Health and Human Services) ได้มีบทความเรื่อง “Natural Doesn't Necessarily Mean Safer, or Better”เพื่อให้ผู้บริโภคได้สังวรณ์ถึงความแตกต่างในความหมายระหว่างคำว่า ธรรมชาติ และ ปลอดภัย         เนื้อหาของบทความนั้นกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีต่อมนุษย์ ธรรมชาติเอื้อให้มีการผลิตยาแอสไพริน (จากใบหลิว) และมอร์ฟีน (จากฝิ่น) ช่วยบรรเทาอาการปวด นอกจากนี้ยังมียาบำบัดโรคอื่นๆ ที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งมีประวัติการใช้ที่ยาวนาน ส่งผลถึงการปรับปรุงสุขภาพของมนุษย์ แต่ความเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติไม่ได้บ่งบอกว่า มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเสมอไปเพราะมีปัจจัยอื่นมากำหนดด้วย          นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาถึงประสิทธภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรบางชนิดแต่ก็พบว่า ตัวอย่างที่ได้จากท้องตลาดนั้นหลายส่วนล้มเหลวในการแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ดังที่โฆษณา เช่นการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรชื่อ เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) ซึ่งไม่พบหลักฐานว่า มีประโยชน์ในการบำบัดไข้หวัดดังที่โฆษณา แต่กลับมีผลข้างเคียงบางอย่างในผู้บริโภคบางคน เช่น มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง เจ็บคอ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ลิ้นชา วิงเวียน หลับยาก สับสน ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ หรือแม้กระทั่งก่อการอักเสบของตับด้วย อีกตัวอย่างคือ การศึกษาผลของใบแปะก๊วยที่มีอาสาสมัครสูงอายุกว่า 3,000 คน เข้าร่วมแล้วพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีใบแปะก๊วยเป็นองค์ประกอบนั้นไม่ช่วยป้องกันหรือชะลอภาวะสมองเสื่อม         หลายคนคิดว่า ยา“ธรรมชาติ” ไม่ได้มีผลข้างเคียงมากเหมือนยาสังเคราะห์ ซึ่งหลายครั้งแสดงความเป็นพิษได้ และอาจรวมถึงการมีสารก่อมะเร็งปนเปื้อนเนื่องจากการผลิตที่ควบคุมไม่ดี แต่แนวความคิดดังกล่าวนั้นไม่จริงเสมอไป ตัวอย่างเช่น  คาวา (kava) ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ที่มีสารสำคัญคือ “คาวาแลคโตน (kavalactone)” ซึ่งมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและสงบระงับ จึงมีการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดความวิตกกังวล แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า สารธรรมชาติดังกล่าวมีผลข้างเคียงหลายประการและที่น่ากังวลคือ มีความเป็นพิษต่อตับ อีกทั้งยังมีปฏิกิริยากับยาอื่นหลายชนิด ดังนั้นก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากคาวาจึงควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง         มีบทความเรื่อง Adverse Events Reported to the US Food and Drug Administration for Cosmetics and Personal Care Products ในวารสาร JAMA Internal Medicine เมื่อปี 2017 ให้ข้อมูลว่า การดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องสำอาง ซึ่งมักผสมองค์ประกอบธรรมชาตินั้น ควรได้รับการปรับปรุง เพราะสินค้ากลุ่มนี้ขาดการประเมินเกี่ยวกับความปลอดภัยก่อนการออกสู่ตลาด ผู้ผลิตเครื่องสำอางนั้นไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลการเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์เนื่องจากสินค้าไปยัง FDA และ CFSAN (The Center for Food Safety and Applied Nutrition ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับ อาหาร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างจากเครื่องมือแพทย์ ยา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดังนั้นโอกาสเกิดปัญหาด้านสุขภาพที่อาจร้ายแรงเนื่องจากเครื่องสำอางจึงเกิดได้บ่อยครั้ง ดังนั้นวุฒิสมาชิก Diane Feinstein ของรัฐแคลิฟอร์เนียจึงได้เสนอ Personal Care Products Safety Act (PCPSA) สู่วุฒิสภาในปี 2017         ความจริงกฏหมายในลักษณะเดียวกันเคยมีวุฒิสมาชิกท่านอื่นเสนอแล้วในปี 2011 เพื่อให้อำนาจ FDA ในการสั่งให้เจ้าของสินค้าเรียกคืนเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยและต้องรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นต่อผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งต้องทำการทบทวนความปลอดภัยขององค์ประกอบในเครื่องสำอาง อย่างไรก็ดีร่างกฎหมายนี้ไม่ได้กำหนดให้เพิ่มงบประมาณในการทดสอบความปลอดภัยขององค์ประกอบในเครื่องสำอางแก่ National Toxicology Program ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการทดสอบความปลอดภัยของสารเคมีที่ผู้บริโภคต้องสัมผัส อีกทั้งในปี 2019 ร่างกฏหมายดังกล่าวก็ยังวนเวียนเป็นสัมภเวสีไม่ได้คลอดออกมาบังคับใช้ดังปรากฏในข่าว The Introduction of the Personal Care Products Safety Act 2019 in the United States Senate ซึ่งมีข้อมูลที่ท่านที่สนใจสามารถอ่านได้ที่ www.modernsoapmaking.com/personal-care-products-safety-act-2019

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 ทวงหนี้แบบนี้พี่ฟ้อง

        เพราะเป็นลูกหนี้จึงต้องใช้หนี้ แต่ถ้าเจ้าหนี้รุกไล่มากเกินไปจนชีวิตหาความสุขไม่ได้ ถูกประจานให้อับอาย รู้ไว้นะว่าเขามีกฎหมายปกป้องลูกหนี้ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิแบบนี้ ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ทราบและบริษัทที่ประกอบการทวงหนี้หลายแห่งก็ใช้ความไม่รู้กฎหมายของผู้บริโภคมาละเมิดสิทธิ เรามาดูกันว่า รูปแบบไหนเรียกว่าละเมิดสิทธิ ทวงหนี้ผิดกฎหมายและจะรับมืออย่างไร         คุณมานพ ได้ร้องเข้ามายังศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ตนเองนั้นเป็นหนี้บัตรเครดิตธนาคารแห่งหนึ่ง เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ก่อนจะเกิดปัญหาหนี้สินนี้ ที่ผ่านมาคุณมานพสามารถหมุนเงินมาจัดการจ่ายหนี้ได้ แต่ต่อมาขาดสภาพคล่องทำให้ไม่สามารถหาเงินมาใช้หนี้ได้ตามกำหนดเวลา จึงตัดสินใจหยุดพักชำระหนี้ เพื่อเก็บเงินและหวังจะเจรจาต่อรองกับทางธนาคารในภายหลัง ซึ่งหลังจากหยุดชำระหนี้ไปสามเดือน ทราบต่อมาว่าธนาคารได้มอบให้บริษัทบริหารทรัพย์สินแห่งหนึ่งทำหน้าที่ติดตามทวงหนี้กับตน ซึ่งพฤติกรรมของบริษัทฯ ดังกล่าว เข้าข่ายละเมิดสิทธิลูกหนี้ชัดเจน ด้วยการประจานเรื่องการเป็นหนี้ของตนเองต่อเพื่อนร่วมงานว่า ไม่มีปัญญาชำระหนี้ อีกทั้งยังข่มขู่ว่า ถ้าหากตนเองยังไม่ชำระหนี้อีกจะโทรศัพท์ถึงหัวหน้างาน ซึ่งคุณมานพร้อนใจมาก จึงปรึกษาว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้างกับวิธีการทวงหนี้ลักษณะเช่นนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหา         ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 นั้น มีหลักเกณฑ์ที่ควรทราบโดยสรุปดังนี้         การทวงหนี้ หมายถึงการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 เท่านั้น ไม่รวมถึงการทวงหนี้ทั่วไป ผู้ทวงถามหนี้ตามกฎหมายนี้ หมายถึงเจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือคนที่ซื้อหรือรับโอนหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน ที่สำคัญ คือ หนี้นั้นจะเป็นหนี้โดยชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เข้าข่ายทั้งสิ้น ตัวอย่างเจ้าหนี้ตามกฎหมายนี้ เช่น ธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต บริษัทเช่าซื้อ เจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น         กฎหมายระบุจำนวนครั้งในการทวงถามหนี้ 1 ครั้งต่อวัน ส่วนช่วงเวลาในการทวงถามหนี้ ได้แก่ วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ส่วนการทวงหนี้ที่อาจถูกปรับได้ ได้แก่ การประจาน พูดจาดูหมิ่น ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง และทวงถามหนี้เกิน 1 ครั้งต่อวัน         ถ้าเจ้าหนี้ทวงเกินวันละหนึ่งครั้ง มีความผิดทางปกครอง คณะกรรมการทวงหนี้สามารถสั่งให้หยุดได้ ถ้าไม่หยุดก็อาจโดนโทษปรับทางปกครองสูงสุด 100,000 บาท         การติดต่อเพื่อให้ชำระหนี้ ห้ามพูดจาดูหมิ่นลูกหนี้ ห้ามข่มขู่ใช้ความรุนแรง ห้ามประจาน หากละเมิดมีโทษทั้งจำคุกและปรับเงินสูงสุดคือ จำคุก 1 ปี ปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ         หากผู้บริโภคพบพฤติการณ์เข้าลักษณะที่ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งความที่สถานีตำรวจในเขตท้องที่ได้ทันที และเพื่อให้มีหลักฐานการกระทำผิด ควรบันทึกเสียงหรือมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักเช่น หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร พยานบุคคล หรือถ้าไม่มีก็ไม่ต้องกังวลสามารถร้องเรียนได้เช่นกัน        อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดเรื่องวิธีการทวงหนี้เพื่อไม่ให้ลูกหนี้โดนรุกล้ำสิทธิมากเกินไป แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นหนี้แล้วไม่ต้องใช้ ดังนั้นเมื่อเป็นหนี้แล้วควรบริหารจัดการชำระหนี้ให้หมดแต่โดยไว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 สั่งซื้อชุดเครื่องนอนผ่านแอปแล้วผิดหวัง

        ตลาดออนไลน์นั้น ง่าย สะดวก แต่ก็ต้องรอบคอบเพราะไม่ได้เห็นสินค้าจริงหรือจับต้องก่อนจะตัดสินใจซื้อ อีกทั้งผู้ค้าที่หลอกลวงก็มีจำนวนมาก ความไม่พอใจที่เกิดจากการได้รับสินค้าที่ไม่ตรงปกหรือไม่ใช่อย่างที่ตั้งความหวังจึงมีสูง แล้วเราจะสามารถรับมือกับเรื่องนี้ได้อย่างไร        คุณชไมพร อยากได้ชุดเครื่องนอนใหม่ จึงเปิดแอปพลิเคชันร้านค้าออนไลน์ในมือถือ จนพบชุดเครื่องนอนจากร้านค้าแห่งหนึ่งที่สวยถูกใจ เป็นชุดประกอบด้วย ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าห่มในราคา 570 บาท บวกค่าจัดส่ง 80 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 650 บาท คุณชไมพรได้เลือกชำระค่าสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง หรือ COD (Cash on Delivery) เพราะต้องการความมั่นใจว่า จะได้รับสินค้าอย่างแน่นอนก่อนจ่ายเงิน โดยข้อมูลบนแอปฯ แจ้งว่าจะจัดส่งสินค้าให้ภายใน 3 วัน คุณชไมพรจึงทำการสั่งซื้อ และรอการยืนยันจากทางร้าน         เวลาผ่านไป 5 วัน คุณชไมพรยังไม่มีวี่แววยืนยันการจัดส่งสินค้าจากทางร้านค้าดังกล่าว คุณชไมพรจึงได้เข้าไปทำการยกเลิกคำสั่งซื้อในแอปพลิเคชัน เพราะขาดความมั่นใจและได้หาซื้อชุดเครื่องนอนใหม่จากร้านค้าอื่นแทน         แต่เมื่อผ่านไปอีกสามวัน คุณชไมพรได้รับการติดต่อจากพนักงานของร้านค้าที่ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อไปแล้วว่า ได้จัดส่งชุดเครื่องนอนให้คุณชไมพรเรียบร้อยแล้ว คุณชไมพร จึงตอบกลับไปว่า ตนได้สั่งซื้อชุดเครื่องนอนจากที่อื่นไปแล้ว พนักงานคนดังกล่าวก็แจ้งกลับว่า “ไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะได้จัดส่งสินค้าไปให้แล้วค่ะ” แม้ว่าคุณชไมพรจะเสนอว่าจะจัดส่งสินค้ากลับไปให้ทางไปรษณีย์ โดยรับผิดชอบค่าส่งให้ แต่พนักงานก็ยังคงยืนยันว่าไม่รับคืนสินค้า         คุณชไมพรไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการต่ออย่างไร จึงขอคำปรึกษากับ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำพูน เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหา        ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำพูน ได้ติดต่อไปยังร้านค้าดังกล่าวและปรึกษาเรื่องการคืนสินค้าของคุณชไมพร ซึ่งเป็นสิทธิผู้บริโภคที่กระทำได้ ซึ่งทางผู้จัดการร้านกล่าวขอโทษ ที่พนักงานของตนปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงดำเนินการเรียกคืนสินค้าที่คุณชไมพรได้ยกเลิกการสั่งซื้อ ทั้งนี้ผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ อีกทั้งทางร้านได้ฝากขอโทษคุณชไมพรด้วยที่สร้างความกังวลใจให้และจะอบรมพนักงานของตนต่อไป          คำแนะนำสำหรับผู้บริโภค         กรณีซื้อสินค้าออนไลน์แล้วไม่ได้รับสินค้าภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้  ถือว่าทางร้านค้าได้ทำผิดเงื่อนไข ผู้บริโภคมีสิทธิขอยกเลิกคำสั่งซื้อได้ โดยทำการแจ้งยกเลิกในระบบเว็บไซต์ห้างออนไลน์ และไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจากการจัดส่งสินค้าที่ได้แจ้งยกเลิกไว้แล้ว         ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ได้กำหนดหลักประกันความพึงพอใจ ไม่ว่าสินค้าจะชำรุดหรือไม่ หากผู้รับสินค้าเกิดความไม่พอใจ ก็สามารถคืนได้ภายใน 7 วัน (มาตรา 33) และผู้ขายต้องคืนเงินให้กับผู้ซื้อภายใน 15 วัน (มาตรา 36)         นอกจากนี้ การที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ ที่จดทะเบียนถูกต้องกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการประกอบธุรกิจขายตรงและการตลาดแบบตรงเป็นการเพิ่มความมั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้า และปลอดภัยจากการถูกหลอกถูกโกงมากขึ้น         หากผู้บริโภคต้องคำปรึกษาหรือร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภค ในพื้นที่ภาคเหนือท่านสามารถติดต่อที่ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำพูน เลขที่ 9 ถนนรถแก้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000 หรือ ติดต่อผ่านเฟสบุ๊คwww.facebook.com/consumerslamphun/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 นมข้นหวานและบรรจุภัณฑ์ที่ชวนข้องใจ

เคยทานนมข้นหวานกันหรือไม่ ? แล้วนมข้นหวานที่ท่านรู้จักบรรจุอยู่ในภาชนะแบบไหน ? เมื่อก่อนนมข้นหวานจะบรรจุในกระป๋องโลหะเคลือบดีบุก เวลาใช้งานต้องเจาะรูสองข้าง หรือเจาะฝาทั้งหมด แต่เดี๋ยวนี้นมข้นหวานมีชนิดที่บรรจุในหลอดพลาสติกแบบบีบ เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน แต่ว่าผู้บริโภคหลายคนก็กังวลเมื่อเจอปัญหานมข้นหวานในบรรจุภัณฑ์แบบใหม่นี้           คุณภูผาซื้อนมข้นหวานชนิดบีบยี่ห้อหนึ่งมารับประทาน ทั้งรู้สึกชอบใจที่บรรจุภัณฑ์แบบใหม่นี้วิธีการใช้ง่ายดี บีบรับประทานได้สะดวก เมื่อใช้ไม่หมดในครั้งแรกเขาก็เก็บส่วนที่เหลือเข้าตู้เย็นและนำออกมารับประทานอีกหลายครั้ง จนนมใกล้จะหมดหลอด คราวนี้เมื่อบีบออกมาก็พบว่า นมมีกลิ่นแปลกๆ และมีจุดดำๆ ออกมาด้วย         เมื่อสงสัยก็ต้องพิสูจน์ คุณภูผาจึงผ่าหลอดออกดู เขาพบว่าในหลอดมีสิ่งปนเปื้อนจุดดำๆ หลายจุดลักษณะคล้ายเชื้อรา ตกใจในสิ่งที่เห็นมากมายเขาจึงแจ้งไปยังบริษัทผู้ผลิตเพื่อขอให้บริษัทฯ นำสินค้าไปตรวจสอบว่า สิ่งปนเปื้อนที่พบเป็นอะไรกันแน่ เมื่อมอบสินค้ากับเจ้าหน้าที่แล้ว เขาก็รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อให้คลายกังวล  แต่แพทย์ไม่ได้ทำอะไร เนื่องจากเขาไม่มีอาการผิดปกติ ซึ่งคุณภูผาก็ยังกังวลเพราะไม่ทราบว่า กินสิ่งที่คล้ายเชื้อราไปตั้งแต่เมื่อไหร่ และในอนาคตไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีอาการผิดปกติหรือไม่         ต่อมาพนักงานของบริษัทฯ แจ้งกลับมาว่า สิ่งที่คุณภูผาพบนั้นเป็นเชื้อราจริง แต่ไม่สามารถให้ผลการตรวจได้ โดยก่อนมารับตัวอย่างพนักงานของบริษัทเคยรับปากว่า จะนำผลการตรวจสอบส่งให้เขา ซึ่งไม่เป็นไปตามที่ตกลงก่อนมอบสินค้า คุณภูผาจึงขอคุยกับคนที่มีอำนาจตัดสินใจ แต่พนักงานคนดังกล่าวบ่ายเบี่ยง พร้อมส่งเอกสารแจ้งมาว่า “ไม่สามารถสรุปสาเหตุได้แน่ชัด” เขาจึงกังวลว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย และสงสัยว่ากรณีแบบนี้ บริษัทผู้ผลิตต้องรับผิดชอบอะไรหรือไม่ อย่างไร จึงสอบถามมาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค  แนวทางการแก้ไขปัญหา         ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มีหนังสือถึงบริษัทผู้ผลิตขอเชิญประชุมเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างคุณภูผาและบริษัทฯ โดยตัวแทนบริษัทฯ ได้ชี้แจงว่า ปกติเชื้อราที่พบในนมไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา เพราะร่างกายจะสามารถกำจัดออกได้เอง ไม่เหมือนเชื้อราอะฟลาทอกซินในถั่วที่อาจทำให้เป็นมะเร็งได้ ตัวแทนบริษัทได้แสดงการขอโทษด้วยการมอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้ผู้ร้องหนึ่งกระเช้าและเงินค่าเสียเวลาจำนวนหนึ่ง คุณภูผาเองเมื่อได้ทราบข้อมูลเรื่องความปลอดภัย ก็ไม่ติดใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เพียงแค่ขอให้บริษัทปรับปรุงการให้ข้อมูลของฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์         อย่างไรก็ตามศูนย์ฯ ได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ตรวจสอบสถานที่ผลิตของบริษัทนมข้นหวานนี้เพิ่มเติมด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 เพิ่งมารู้ทีหลังว่า.. คลินิกไม่มีใบอนุญาต

        ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ไปใช้บริการคลินิกแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วต่อมาพบว่า เป็นคลินิกเถื่อน ผู้บริโภคจะทำอะไรได้บ้างมาติดตามกัน         คุณอัจฉรา ป่วยเป็นหวัด มีอาการไข้และเจ็บคอ จึงตัดสินใจเข้าพบ “แพทย์” ในคลินิกใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ด้วยเห็นว่าสะดวกและน่าจะรวดเร็วกว่าการไปโรงพยาบาลใหญ่ เมื่อไปถึงคลินิก ก็มีคนเข้ารอรับบริการจำนวนพอสมควร คุณอัจฉรารับบัตรคิวแล้วก็นั่งรอเพื่อรับการตรวจจากแพทย์ หลังจากตรวจเป็นที่เรียบร้อย คุณอัจฉราออกมานั่งรอรับยาหน้าเคาน์เตอร์ด้านหน้าคลินิก ด้วยความเป็นคนช่างสังเกต คุณอัจฉราเห็นความผิดปกติบางอย่างคือ คลินิกดังกล่าวไม่มีการแสดงป้ายใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลแสดงไว้ มีเพียงรูปถ่ายของแพทย์ในใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ติดอยู่บนผนัง และไม่ใช่คนเดียวกันกับที่ทำการตรวจรักษาให้ตนเองเมื่อสักครู่ คุณอัจฉราจึงลังเลว่าคลินิกแห่งนี้ จะได้รับการอนุญาตถูกต้องหรือไม่ รวมถึงผลการวินิจฉัยที่ได้รับ ยาต่างๆ จะช่วยให้ตนเองหายจากอาการหวัดหรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหา        เบื้องต้นคุณอัจฉราได้เข้าปรึกษากับ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อขอให้ช่วยดำเนินการตรวจสอบสถานพยาบาลดังกล่าว ต่อมาเมื่อทางศูนย์ฯ อยุธยาได้ทำการติดตามข้อมูลกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ได้ข้อเท็จจริงว่า คลินิกดังกล่าวเป็นคลินิกที่ไม่ได้จดทะเบียนเพื่อประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือเป็นคลินิกเถื่อนนั่นเอง ดังนั้นทาง สสจ.พระนครศรีอยุธยาจึงดำเนินการแจ้งความและสั่งปิดคลินิกดังกล่าว         ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคในการเข้าใช้บริการสถานพยาบาล         1.ขอให้ตรวจสอบเลขใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล กับเว็บไซต์กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อความมั่นใจในการเข้าใช้บริการ ทั้งนี้สถานพยาบาลทุกแห่งจะต้องแสดงใบอนุญาตฯ ไว้ในที่ ที่ผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นได้ชัดเจน รวมถึงแพทย์ที่ทำการรักษาจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมแสดงเอาไว้ด้วย         กรณีผู้กระทำผิดหลอกลวงว่าตนเองเป็นแพทย์ จะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ซึ่งมีบทกำหนดโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ        ส่วนสถานพยาบาลที่ไม่ได้จดทะเบียน นั้นมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มีบทกำหนดโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 คดีรถชน ผู้ตายมีแอลกอฮอล์ คนขับที่เป็นคู่กรณีต้องรับผิดไหม

        สวัสดีครับ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงและเริ่มหนาวกันแล้ว ต้องดูแลสุขภาพกันให้ดีๆ  อย่าประมาทนะครับ เดี๋ยวจะป่วยเป็นภูมิแพ้  เมื่อพูดถึงเรื่องความประมาท ประกอบกับใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว ก็อยากหยิบยกเรื่องราวน่าสนใจของคดีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุรถชนมาเล่าสู่กันฟัง หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุรถชนก็มักพบว่า สาเหตุมาจากคนขับที่ไม่ได้ระมัดระวังให้ดี  ซึ่งในคดีนี้ ฝ่ายจำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อด้วยความเร็ว ระหว่างที่ขับตามหลังรถกระบะคันหนึ่ง อยู่ดีๆ รถกระบะคันดังกล่าวก็หยุด เพราะมีรถอีกคันออกมาจากปั๊มน้ำมัน ทำให้จำเลยที่ขับรถสิบล้อหักรถไปทางขวาไปชนกับรถผู้ตาย ต่อมาก็พบว่าผู้ตายมีแอลกอฮอล์ 0.239 กรัมเปอร์เซ็นต์ จำเลยจึงอ้างว่าผู้ตายก็มีส่วนประมาทด้วย  ซึ่งต่อมาศาลฏีกาก็ได้ตัดสินว่าแม้ผู้ตายจะมีแอลกอฮอล์ แต่เมื่อจำเลยขับรถประมาท จำเลยก็ไม่พ้นความรับผิด         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2550         จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกทรายเต็มคันรถในเขตชุมชนใกล้ทางแยกเข้าหมู่บ้านกฤษดานคร ตามหลังรถยนต์กระบะไปตามถนน ควรใช้ความเร็วต่ำและเว้นระยะให้ห่างมากพอที่จะหยุดรถได้ทันโดยไม่ให้ชนรถคันหน้ายิ่งมีฝนตกและเป็นเวลากลางคืน ควรต้องระมัดระวังเว้นระยะให้ห่างมากขึ้น การที่จำเลยที่ 1 ต้องหักหลบไปทางขวาเมื่อรถยนต์กระบะต้องหยุดรถเพราะมีรถยนต์ออกจากปั๊มน้ำมัน ก็เกิดจากจำเลยที่ 1 เกรงว่าจะหยุดไม่ทันเนื่องจากบรรทุกของหนักเป็นเครื่องแสดงอยู่ในตัวว่ารถยนต์บรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 1 ขับจะต้องใช้ความเร็วสูงทั้งไม่เว้นระยะให้ห่างรถยนต์กระบะ ซึ่งขับอยู่ข้างหน้าให้อยู่ในระยะที่สามารถหยุดรถได้ทันโดยไม่ต้องหักหลบเช่นนั้น รถของจำเลยที่ 1 จึงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถที่ผู้ตายขับรถยนต์สวนมาและเกิดเหตุชนกับรถที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการขับรถโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จึงเป็นการขับรถโดยประมาทและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 และ ป.อ. มาตรา 291 แม้จะมีรถยนต์บรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 2 ขับตามหลังมาไม่สามารถหยุดรถได้ทัน ก็หามีผลให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดและการขับรถยนต์ประมาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวไม่ตัดความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่ผู้ตาย ส่วนกรณีที่ตรวจพบแอลกอฮอล์ 0.239 กรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดระดับนี้มีผลต่อร่างกาย ทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้นั้น ก็ถือว่าผู้ตายมิได้มีส่วนประมาทก่อให้เกิดเหตุชนกันขึ้น ไม่อาจทำให้ผู้ตายหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุชนกันได้ จึงไม่อาจทำให้จำเลยที่ 1 พ้นผิดไปได้ และกรณีไม่อาจรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้          จากคดีนี้ นอกจากเรื่องแอลกอฮอลล์แล้ว เราจะเห็นได้ว่าศาลฏีกาก็มองว่า เมื่อผู้ตายไม่ได้มีส่วนประมาทกับจำเลย จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ         อีกประเด็นที่อยากฝากไว้คือ กรณีที่เมาแล้วขับกับขับรถประมาทจนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลวางหลักไว้ว่า เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อตัดสินลงโทษ ต้องใช้บทลงโทษที่หนักที่สุด คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 “มาตรา 291  ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4067/2550         การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถโดยประมาทแซงรถที่อยู่ข้างหน้าไปในหน้าไปในช่องเดินรถขวามือในขณะที่ผู้ตายขับสวนมา เป็นเหตุให้ชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายเสียหายและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด         สุดท้ายนี้ ขอฝากถึงทุกท่านที่จะใช้รถใช้ถนน ขอให้มีความระมัดระวัง เอื้อเฟื้อต่อกัน บางเรื่องหากเราไม่ใชอารมณ์ เคารพกฎหมาย ถ้อยทีถ้อยอาศัย คดีความก็จะไม่เกิดขึ้นครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจยา

        “ช่วงนี้ชิคุนกุนย่ากำลังระบาด เรามียาดีจำหน่าย สนใจสั่งซื้อด่วน”          ข้อความประกาศขายผลิตภัณฑ์  Air Herba นี้กำลังถูกส่งต่อๆ ในสื่อโซเชียล จากการติดตามข้อมูลของเครือข่ายเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ เป็นผลิตภัณฑ์จากมาเลเซียระบาดเข้ามาทางชายแดนใต้ เมื่อมีการแจ้งข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังและติดตามหาแหล่งจำหน่าย ก็พบว่ามีการโฆษณาขายยาแถวๆจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อรักษาโรคชิคุนกุนย่าเหมือนกัน  โดยอ้างว่าเป็นยาสมุนไพรจากพม่า จากการติดตามข้อมูลพบว่าผู้ป่วยหลายรายที่นำมารับประทานกลับมีอาการบวม         เครือข่ายเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้ติดตามสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบจากมาเลเซียและพม่าพบว่า ผลิตภัณฑ์  Air Herba ที่มาจากมาเลเซียนั้น เป็นยาสมุนไพรแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เนื่องจากพบส่วนผสมของสารสเตอรอยด์  เช่นเดียวกับยาสมุนไพรพม่า ก็เป็นยาที่ถูกยกเลิกทะเบียน เนื่องจากผสมยาแผนปัจจุบัน (diclofenac) ซึ่งขณะนี้เครือข่ายเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้ติดตามเพื่อดำเนินงานจัดการต่อแล้ว         โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่ติดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการคล้ายไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่จะไม่มีอาการรุนแรงมากจนถึงช็อก โรคนี้พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ต่างจากไข้เลือดออกที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา จะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน  มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคือ อาการปวดข้อ จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อซึ่งจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ  บางคนอาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ และอาการจะหายภายใน 1 - 12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี           ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง จะรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ เช่น ให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน โปรดอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 ข้อคิดจากการสวยตามเทรนด์

                รูปแบบของความสวยงามนั้น อันที่จริงแล้วมันไม่มีนิยามตายตัว ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคมและยุคสมัย ดังนั้นแต่ละปีก็จะมีคนมาบอกเราว่า ปีหน้าเขาจะนิยมรูปแบบความงามแบบไหน เราต้องดูแลหรือเตรียมการอย่างไร เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ซึ่งปีหน้า 2563 นี้หลายกูรูยังฟันธงว่า เทรนด์สวยธรรมชาติและเครื่องสำอางจากส่วนผสมธรรมชาติยังคงความแรงต่อเนื่อง         ผิวพรรณแบบกระจ่างใสดังกระจกหรือ Glass Skin ยังคงได้รับความนิยม         ผิวแบบ Glass Skin  คือผิวพรรณที่ผุดผ่องมีน้ำมีนวล บ่งบอกถึงสุขภาพดีจากภายใน ผิวแบบ Glass Skin นั้น  ขอให้ลองคิดถึงซีรีย์เกาหลี ที่สาวๆ ในเรื่องจะมีผิวใสๆ ดูอิ่มเอิบฉ่ำวาวดังแก้ว แบบนั้นแหละที่เรียกว่า Glass Skin ซึ่งผู้ก่อกระแสนี้คือ บิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดังชาวเกาหลีนั่นเอง เมื่อฮิตขึ้นมาแล้วก็ฮิตต่อกันไปยาวๆ ข้ามปี หลักๆ ของเทรนด์ผิวใสดั่งแก้วนี้ คือ เน้นที่การทำความสะอาดให้หมดจด บำรุงผิวทั้งจากภายนอกและภายในเพื่อให้ผิวเปล่งประกายอย่างคนที่สุขภาพดี และเสริมด้วยการแต่งหน้าให้ดูกระจ่างใสโชว์ความเปล่งปลั่งสดใสของผิว         อย่างไรก็ตามเมืองไทยนั้นสภาพอากาศต่างจากเกาหลีจะให้ทันกับเทรนด์นี้ ก็ต้องปรับให้เหมาะสมจะสำเนามาทั้งหมดคงไม่เหมาะ ส่วนที่สามารถทำได้เลยและดีมากเสียด้วย คือ หลักของการทำความสะอาดและการบำรุง         ขั้นตอนที่แนะนำหลักๆ คือ เมื่อแต่งหน้าแล้วต้องไม่ละเลยการทำความสะอาดอย่างหมดจด ให้เกิดการตกค้างของสารเคมีบนผิวน้อยที่สุด ดื่มน้ำให้มาก รับประทานอาหารที่ดี และบำรุงผิวด้วยครีมบำรุงที่เหมาะกับสภาพผิว ซึ่งผู้นำเทรนด์เสนอว่าควรสครับ(ขัดถูหน้าเพื่อให้เกิดการผลัดผิวที่เร็วขึ้น) และมาสก์หน้าเมื่อว่างจากกิจกรรมปกติ   และหากจะให้เป๊ะสำหรับอากาศร้อนและแดดแรงๆ แบบเมืองไทย การปกป้องผิวด้วยครีมกันแดดคือสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน                เทรนด์ความเป็นธรรมชาติที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพผิวที่ดี        เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในลุคธรรมชาติและเครื่องสำอางที่ปกป้องคุณจากมลภาวะ คือสิ่งที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2563 สารสกัดจากธรรมชาติที่ถูกผสมในเครื่องสำอางหรือนำมาเป็นอาหารเสริมนั้น ยังคงจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ต้องเพิ่มขึ้นคือ ความต้องการสินค้าแบบเฉพาะกลุ่มและตอบโจทย์เรื่องมลภาวะ         สิ่งที่ต้องระวังในกรณีของสินค้าที่เคลมเรื่องสุขภาพผิวสวยคือ กรณีของเครื่องสำอาง ทางหน่วยงานที่กำกับดูแลจะไม่ได้มีการทดสอบเรื่องความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพียงรับจดแจ้งเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปสำหรับผู้บริโภคเท่านั้น ดังนั้นการเสี่ยงกับอาการแพ้ยังคงต้องได้รับความสนใจเป็นอันดับแรกๆ โดยควรทดสอบกับผิวในบริเวณที่ไม่ใช่เป้าหมายหลักก่อนใช้ และอย่าคาดหวังกับสินค้าจนเกินไป นอกจากนี้การช่วยกันเฝ้าระวังสินค้าที่ไม่ปลอดภัยโดยการแจ้งต่อหน่วยงานที่กำกับดูแลจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในวงกว้าง         ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในหลักการคือ การทำความสะอาดและปกปิดเสริมแต่ง ดังนั้นไม่ควรคาดหวังถึงขนาดแก้ไขหรือฟื้นฟูสภาพผิว        กรณีของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาจมีการโฆษณาจนเกินเลย ให้สรรพคุณที่มากกว่าการบำรุง แต่เป็นโชว์สรรพคุณรักษาโรค ซึ่งถือว่าผิด และเราไม่ควรตกเป็นเหยื่อของสินค้าเหล่านี้ ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางผลิตภัณฑ์ผลิตขึ้นมาเพื่อสร้างการตลาดแบบ แชร์ลูกโซ่ ไม่ได้มีสรรพคุณอะไรมากไปกว่าอาหารธรรมดา ผู้บริโภคต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้ความโลภชักนำให้ขาดความรอบคอบในการใช้สินค้า         การพยายามสวยตามแฟชั่นหรือเทรนด์ไม่ได้เป็นสิ่งผิดปกติ ใครๆ ก็อยากจะได้ชื่อว่าทันสมัย แต่เราควรรอบคอบไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ไม่มีความรับผิดชอบ ทำสินค้าที่ไม่ปลอดภัยหรือฉาบฉวยเพียงเพื่อจะหาผลประโยชน์ทางการเงิน สวยตามเทรนด์ได้แต่ต้องเท่าทันข้อมูลด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 ช่วยต่อชีวิตให้ผู้อื่นผ่านแอปพลิเคชันบริจาคอวัยวะ

        เมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสได้ไปเดินงานกาชาด ทำให้ได้เห็นซุ้มรับบริจาคอวัยวะของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ซึ่งถือว่าเป็นซุ้มที่เดินเข้าไปแล้วจะทำให้รู้สึกว่าได้ทำบุญช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ฉบับนี้จึงอยากเชิญชวนผู้อ่านมาบริจาคอวัยวะกันเพื่อช่วยต่อชีวิตให้ผู้อื่น         อย่างแรกขออธิบายว่าการบริจาคอวัยวะนั้นทำเพื่ออะไร การบริจาคอวัยวะเป็นการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อนำอวัยวะเหล่านั้นมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่ต้องการ ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคม 2562 มีจำนวนผู้รอปลูกถ่ายอวัยวะอยู่ที่ 6,176 คน และมีผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายแล้วจำนวน 577 คนเท่านั้น         การบริจาคอวัยวะภายในร่างกายจะสามารถบริจาคได้ 4 ส่วน ได้แก่ ปอด ตับ หัวใจ ไต นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่สามารถปลูกถ่ายได้ เช่น ลิ้นหัวใจ หลอดเลือด ผิวหนัง กระดูก เส้นเอ็น กระจกตา โดยการที่จะนำอวัยวะไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยได้นั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียชีวิตแล้วว่ามีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะส่วนใด และเบื้องต้นต้องเป็นผู้เสียชีวิตจากสมองตายเท่านั้น         ทั้งนี้การบริจาคอวัยวะไม่เหมือนกับการอุทิศร่างกายให้เป็นอาจารย์ใหญ่ เพราะการบริจาคอวัยวะนั้นจะผ่าตัดแค่อวัยวะที่ทำเรื่องประสงค์บริจาคไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยเท่านั้น โดยหลังการผ่าตัดแพทย์จะทำการตกแต่งร่างกายให้เหมือนเดิมเพื่อมอบร่างกายผู้เสียชีวิตให้กับญาติสามารถนำไปประกอบพิธีตามศาสนาต่อไปได้         หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการบริจาคอวัยวะไม่ได้มีความยุ่งยากเหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะปัจจุบันศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยได้จัดทำแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “บริจาคอวัยวะ” ไว้ให้ผู้ที่ประสงค์จะบริจาคอวัยวะสามารถแจ้งความจำนงค์ขอบริจาคอวัยวะง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันนี้ได้อีกช่องทางหนึ่ง          แอปพลิเคชันใช้งานได้ง่าย ขั้นแรกต้องสมัครเป็นสมาชิกในระบบโดยให้กรอกเมลและรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่เมนูบริจาคอวัยวะ แอปพลิเคชันจะปรากฎขั้นตอนขึ้นมา 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแจ้งคุณสมบัติผู้บริจาค ขั้นตอนกรอกข้อมูล ขั้นตอนยืนยันข้อมูล และขั้นตอนลงทะเบียนเสร็จสิ้น         ขั้นตอนแจ้งคุณสมบัติผู้บริจาคจะแจ้งรายละเอียดว่าผู้บริจาคต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี ปราศจากโรคติดเชื้อ โรคมะเร็ง ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ ไม่ติดสุรา และปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสเอดส์ ฯลฯ ต่อจากนั้นไปที่ขั้นตอนกรอกข้อมูลผู้บริจาค ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน ชื่อนามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด หมู่เลือด เบอร์มือถือ เมล อาชีพ ที่อยู่สำหรับจัดส่งบัตรประจำตัวผู้บริจาค อวัยวะที่ต้องการบริจาค ข้อมูลญาติที่สามารถติดต่อได้กรณีฉุกเฉิน ต่อจากนั้นกดบันทึกชั่วคราวและไปสู่ขั้นตอนยืนยันข้อมูล         หลังจากนั้นศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยจะดำเนินการส่งบัตรประจำตัวผู้บริจาคตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ในแอปพลิเคชัน และแอปพลิเคชันนี้ยังมีข้อมูลช่องทางการบริจาคเงินผ่านธนาคารต่างๆ ข้อมูลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ ข่าวกิจกรรมต่างๆ เรื่องราวแห่งความดีซึ่งเป็นการแสดงความรู้สึกของผู้บริจาคและผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะเรียบร้อยแล้ว         สำหรับผู้อ่านที่อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการบริจาคอวัยวะ สามารถติดต่อศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยได้ที่เบอร์ 1666         มาร่วมบริจาคอวัยวะให้ผู้ป่วยที่ยังรอคอยด้วยความหวัง เพื่อเป็นสะพานบุญช่วยเหลือในการต่อชีวิตให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตอยู่บนโลกได้ต่อไปกันนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 ‘ค่ารถไฟฟ้าแพง’ เรื่องเล่าจากพนักงานออฟฟิศสู่ระบบขนส่งมวลชนที่รอวันปฏิรูป

                ถ้าคุณต้องเดินทางไปทำงาน ไป-กลับ ด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทตั้งแต่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จนถึงสถานีเคหะฯ คุณต้องชำระเงินค่าบัตรโดยสารรวม 118 บาท         ถ้าคุณต้องเดินทางไปทำงาน ไป-กลับ ด้วยรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีตั้งแต่สถานีคลองบางไผ่จนถึงสถานีหลักสอง คุณต้องชำระเงินค่าบัตรโดยสารรวม 140 บาท         เมื่อคิดจากค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ 331 บาทซึ่งเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 หมายความว่าค่าเดินทางของคุณจะเท่ากับประมาณ 1 ใน 3 ของค่าแรงต่อวัน         แน่นอน นี่เป็นอัตราส่วนที่สูงมากจนน่าตกใจ         ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงไปหรือเปล่า? เป็นคำถามที่ดังกึกก้องมากเมื่อกลางปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ คำถามนี้ยังคงดังอยู่และเป็นไปได้ว่าจะดังขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโครงการรถไฟฟ้าเริ่มเปิดดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น วันที่เครือข่ายรถไฟฟ้าทุกสายเปิดให้บริการ ค่าโดยสารจากสถานีปลายทางหนึ่งไปยังอีกปลายทางหนึ่งจะสูงขึ้นถึงเพียงไหน         ระบบขนส่งมวลชนจะกลายเป็นระบบของคนจำนวนหนึ่งที่มีกำลังซื้อมากพอเท่านั้นหรือเปล่า? ว่าด้วยการเดินทางของพนักงานออฟฟิศคนหนึ่ง         เรามาสำรวจการเดินทางมาทำงานของพนักงานออฟฟิศคนหนึ่ง วิภาพร ฟักอินทร์ ว่าจากบ้านถึงที่ทำงานและจากที่ทำงานถึงบ้าน เธอต้องไปจ่ายไปเท่าไหร่         วิภาพร เล่าว่า เธอนั่งรถไฟฟ้าบีทีเอสจากสถานีเคหะถึงสถานีสำโรง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการคิดค่ารถในส่วนนี้ แต่จากสถานีสำโรงมาสถานีอ่อนนุชเธอต้องจ่ายเงินสดซื้อบัตรโดยสาร 15 บาท เนื่องจากเป็นส่วนต่อขยายที่ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบัตร 25 เที่ยวต่อเดือน ราคา 725 บาทที่เธอใช้อยู่ เมื่อตีเป็นตัวเงิน การเดินทางจากสถานีอ่อนนุชถึงสถานีอโศกจึงเท่ากับ 29 บาทต่อเที่ยว หมายความว่าค่าโดยสารจากสถานีเคหะถึงสถานีอโศกเท่ากับ 44 บาท         ที่ทำงานของวิภาพรอยู่ห้วยขวาง เธอต้องนั่งรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีจากสถานีสุขุมวิทมาลงสถานีห้วยขวางอีก 23 บาท เธอบอกว่าบัตรเติมเงินของเอ็มอาร์ทีไม่มีการลดค่าโดยสาร คิดเต็มราคา เฉพาะค่าโดยสารรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินของเธอต่อเที่ยวเท่ากับ 67 บาท เมื่อรวมไปและกลับเท่ากับ 134 บาท         แต่ไม่ใช่แค่นั้น วิภาพรแจงรายละเอียดอีกว่า เธอต้องนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างจากหน้าโรงเรียนของลูกไปรถไฟฟ้าบีทีเอส 10 บาท และขากลับจากรถไฟฟ้าบีทีเอสกลับบ้านอีก 40 บาท รวมส่วนนี้เข้าไปด้วย ค่าเดินทางไป-กลับระหว่างบ้านและที่ทำงานของเธอจะเท่ากับ 184 บาทต่อวัน         ตีคร่าวๆ ว่า 1 เดือน มี 30 วัน หักวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ออก 8 วัน เหลือวันทำงาน 22 วัน วิภาพรจะมีค่าเดินทางต่อเดือน 4,048 บาท เมื่อถามว่าคิดเป็นอัตราส่วนเท่าไหร่ของเงินเดือน เธอตอบว่าประมาณร้อยละ 13 ดูตัวเลขนี้อาจให้ความรู้สึกว่าไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้ แต่เธอบอกว่าในอดีตที่เธอยังเงินเดือนไม่มากนัก เธอก็ต้องจ่ายค่าเดินทาง 4,048 บาทเช่นกัน เธอบอกว่าจ่ายได้เพื่อแลกกับเวลาในการเดินทาง แต่         “เราว่ามันแพงไปและไม่สะดวกในเรื่องที่คิดอัตราค่าโดยสารแบบเที่ยวแล้วยังมาตัดเงินสดอีก เทียบกับค่ารถเมล์มันแพงมาก สำหรับเราค่าโดยสารพอจ่ายได้ แต่ควรทำให้มันไม่เสียบ่อยและมาบ่อยๆ ไม่ใช่อัดแน่นมากช่วงเร่งด่วน         “แล้วบัตรเดียวควรใช้ได้ทั้งบีทีเอสและเอ็มอาร์ที เพราะเราชอบหยิบบัตรผิด แต่เอ็มอาร์ทีไม่มีส่วนลดนะ ไม่มีแบบเที่ยว ตัดเงินอย่างเดียว อยากให้จัดการให้ระบบมันลิงค์กัน ควบคุมราคาค่าโดยสารโดยให้คนที่ฐานเงินเดือนแบบจบใหม่มีเงินเหลือไปทำอย่างอื่น และควบคุมคุณภาพ แต่ถ้าถูกได้กว่านี้เราก็ชอบ”        วิภาพรบอกว่า ปัจจุบันเธอไม่ขึ้นรถเมล์แล้วเพราะรถติด แต่ถ้ามีทางเฉพาะให้รถเมล์วิ่งและปรับปรุงคุณภาพรถเมล์ เธอก็เห็นว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ค่าโดยสารรถไฟแพง หรือค่าแรงเราต่ำ หรือทั้งสองอย่าง?         คราวนี้ ลองเปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้ากับค่าแรงขั้นต่ำของไทยที่ 300 บาทกับประเทศอื่นๆ ที่ทีดีอาร์ไอทำออกมาจะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น บอกก่อนว่าค่าแรงขั้นต่ำในที่นี้ถูกคิดเป็น ‘ชั่วโมง’ ไม่ใช่ ‘รายวัน’        ค่าแรงขั้นต่ำของไทย 37.50 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้าตกราว 16-70 บาท        ค่าแรงขั้นต่ำของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 221 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้าตกราว 37-96 บาท        ค่าแรงขั้นต่ำของสิงคโปร์ 250 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้าตกราว 17-60 บาท        ค่าแรงขั้นต่ำของนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐฯ 250 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 91 บาทตลอดสาย        ค่าแรงขั้นต่ำของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 279 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้าตกราว 39-913 บาท        ค่าแรงขั้นต่ำของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ 331 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้าตกราว 119-253 บาท        ค่าแรงขั้นต่ำของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส 370 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 71 บาทตลอดสาย         ค่าแรงขั้นต่ำของออสเตรเลีย 457 บาท ค่าโดยสารรถไฟฟ้าตกราว 85-256 บาท         จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำรายชั่วโมงถือว่าสูงมาก         และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายระบบขนส่งสาธารณะรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังพบว่า เมื่อวัดตามอำนาจดัชนีการซื้อ ค่ารถไฟฟ้ามีราคาค่อนข้างสูงเฉลี่ย 28.30 บาท/คน/เที่ยว ขณะที่สิงคโปร์เฉลี่ยอยู่ที่ 13.3 บาท/คน/เที่ยว เรียกว่าของไทยสูงกว่าสิงคโปร์ถึงร้อยละ 50 ส่วนฮ่องกงอยู่ที่ 16.78 บาท/คน/เที่ยว นอกจากนี้ ค่าโดยสารระบบรางของไทยยังสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ทั้งยังมีส่วนต่างค่าโดยสารระหว่างรถไฟฟ้ากับรถเมล์สูงที่สุด ของไทยอยู่ที่ 67.4 บาท ส่วนสิงคโปร์อยู่ที่ 25.73 บาท และฮ่องกงอยู่ที่ 46.5 บาททำไมค่าโดยสารรถไฟฟ้าถึงแพง                 น่าจะเป็นคำถามคาใจที่สุดของใครหลายๆ คน ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ จากทีดีอาร์ไอ คือผู้ที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุด         ดร.สุเมธอธิบายว่า สาเหตุหลักมาจากเรื่องรูปแบบของการลงทุน เนื่องจากรัฐมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ดังนั้นโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เกือบทั้งหมดจึงต้องอาศัยเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งรูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทางก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป รถไฟฟ้าสายแรกของบีทีเอสเป็นรูปแบบที่รัฐให้ใช้ที่ดินฟรีเพียงอย่างเดียว แต่โครงสร้างพื้นฐานและระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดเอกชนเป็นผู้ลงทุน ทำให้มีความจำเป็นต้องเก็บค่าโดยสารให้สอดคล้องกับต้นทุนและสามารถคืนทุนได้         “พอเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าต่อๆ มา รัฐก็เริ่มเห็นข้อจำกัดว่าถ้าปล่อยให้เอกชนลงทุนเพียงฝ่ายเดียว โดยที่รัฐช่วยเหลือน้อย ค่าโดยสารก็คงถีบตัวสูงกว่านี้หรืออาจจะไม่มีเอกชนมาร่วมลงทุนเลย รัฐก็เลยมีการเปิดรูปแบบอื่นๆ ในเส้นทางอื่นๆ เช่น รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เอกชนมาเดินรถ แต่ทีนี้จะเริ่มเห็นว่าทั้งหมดทั้งปวงรัฐก็ยังมีความจำเป็นให้เอกชนเข้ามาดำเนินงานและร่วมลงทุนค่อนข้างเยอะ เมื่อร่วมลงทุนค่อนข้างเยอะ ทำให้อัตราค่าโดยสารต้องสะท้อนต้นทุนก็เลยมีอัตราค่าโดยสารค่อนข้างสูง”        ขณะที่รูปแบบการลงทุนในต่างประเทศมีความแตกต่างออกไป ดร.สุเมธยกตัวอย่างสิงคโปร์ที่เริ่มสร้างรถไฟฟ้าก่อนไทยเพียงไม่กี่ปี โดยรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แล้วให้เอกชนเข้ามาดำเนินงานเดินรถเพียงอย่างเดียว วิธีการนี้ทำให้ภาครัฐของสิงคโปร์ต้องแบกรับต้นทุนค่อนข้างสูง แต่ก็สะท้อนออกมาในค่าโดยสารที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเอกชนของสิงคโปร์ที่เข้ามาเดินรถไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนเพียงแค่เดินรถ จ่ายค่าดำเนินงาน ค่าบุคลากร ค่าไฟ ค่าบำรุงรักษา และคิดค่าโดยสารเฉพาะส่วนที่เป็นการเดินรถ จะเห็นได้ว่าการกำหนดรูปแบบการลงทุนและการสนับสนุนจากรัฐจะส่งผลต่อค่าโดยสารอย่างมีนัยสำคัญ         ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งคือรัฐไม่มีมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะมาตรการเชิงบังคับจำกัดรถยนต์วิ่งเข้าเมืองอย่างการจัดเก็บค่าเข้าเมืองในอัตราสูง ซึ่งในต่างประเทศ เช่น กรุงลอนดอนหรือสิงคโปร์ต่างก็ใช้มาตรการนี้ ทำให้คนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น อย่างในลอนดอนพบว่ามีคนใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50  ความซับซ้อนของผู้โดยสาร ต้นทุน และสัญญาสัมปทาน         ดร.สุเมธอธิบายเพิ่มเติมอีกว่าในหลายกรณียิ่งปริมาณผู้โดยสารมาก อัตราค่าโดยสารอาจจะต่ำลงได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ ผู้โดยสารครึ่งคันกับเต็มคันไม่ได้ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นมากนัก เพราะฉะนั้นยิ่งจำนวนผู้โดยสารมากเท่าไหร่ต้นทุนเฉลี่ยต่อคนยิ่งต่ำลงเท่านั้น ในวงวิชาการจึงมีการถกเถียงกันในระดับหนึ่งว่า ค่าโดยสารถูกแล้วทำให้จำนวนผู้โดยสารมากหรือจำนวนผู้โดยสารมากทำให้ค่าโดยสารถูก         ทางฉลาดซื้อถามต่อว่า ในกรณีบีทีเอสถือว่ามีจำนวนผู้โดยสารมากหรือยัง?        “บีทีเอสถือว่าผู้โดยสารเยอะแล้ว แต่ capacity ของระบบยังเพิ่มได้อีก คือปกติ capacity มันอยู่ที่จำนวนขบวนต่อคันกับความถี่ ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณคนที่สามารถบรรทุกได้ ณ ปัจจุบัน บีทีเอสวิ่งอยู่ที่ 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน แต่ตัวโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบไว้สามารถรองรับได้ถึง 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน เพราะฉะนั้นการเพิ่มตู้เป็น 6 ตู้ต่อ 1 ขบวนจะเพิ่ม capacity ของระบบได้         “ประเด็นที่ 2 คือถ้าต้องการวิ่งถี่ ตอนนี้ที่เขาทำได้คือ 2 นาทีหรือ 1 นาทีกว่าๆ ยิ่งวิ่งถี่ก็ยิ่งขนคนได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ตอนนี้บีทีเอสน่าจะเข้าใกล้จุดที่ถี่มากที่สุดแล้ว ถี่มากกว่านี้ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นทางเลือกก็น่าจะเป็นการขยายขบวน ซึ่งทางบีทีเอสก็มีการดำเนินการมาอยู่เป็นระยะๆ เช่น เริ่มต้นเป็น 3 ตู้ต่อ 1 หนึ่งขบวน แต่ห้าถึงสิบปีที่แล้วขบวนใหม่ที่สั่งเข้ามาเปลี่ยนเป็น 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน และอีกเจ็ดแปดปีจากนี้ที่มีส่วนต่อขยายแล้ว เขาก็จะสั่ง 6 ตู้ต่อ 1 ขบวนเข้ามาเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น”         แต่เมื่อผู้โดยสารเพิ่มจำนวนขึ้นแล้วเหตุใดค่าโดยสารจึงยังสูงอยู่ ดร.สุเมธตอบว่าการเพิ่มขึ้นของความจุจะส่งผลต่อต้นทุนด้วย วิ่งถี่ขึ้น ค่าซ่อมบำรุงอาจจะขึ้นบ้างแต่ไม่ได้มาก ถ้าวิ่งถี่ขึ้นและรับผู้โดยสารได้เต็มที่ต้นทุนต่อคนก็อาจจะถูกลง แต่พอคนมากขึ้นต้องเพิ่มตู้ เพิ่มขบวน ตรงนี้จะเริ่มมีการลงทุน คำถามต่อมาคือถ้าลงทุนซื้อตู้ ณ วันนี้ สัญญาสัมปทานของบีทีเอสเหลือเพียง 10 ปี อีกทั้งสัญญาสัมปทานระบุชัดเจนว่าเมื่อหมดสัญญาสัมปทานทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐ เพราะฉะนั้นการซื้อตู้ในช่วงนี้ เพิ่มผู้โดยสารได้ แต่ใช้ได้แค่ 10 ปี ซึ่งอาจจะไม่คุ้มทุน จึงไม่มีแรงจูงใจให้เอกชนขยาย capacity เมื่อภาครัฐขยับตัว         ภายหลังที่ผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอออกมา ทางกรมขนส่งทางรางก็ได้เตรียมเสนอ 7 มาตรการให้กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลใหม่ (ตอนนั้นยังไม่มีการตั้งรัฐบาล) พิจารณา ประกอบด้วยเปลี่ยนรูปแบบสัญญาสัมปทานจาก PPP net cost เป็น PPP gross cost (PPP gross cost หมายความว่ารัฐเป็นผู้จ้างเอกชนเดินรถ โดยรัฐจะแบกภาระความเสี่ยงไว้เองด้วยการนำรายได้จากเส้นทางที่มีกำไรมาชดเชยให้กับเส้นที่ขาดทุน) กำหนดกรอบราคาขั้นสูงของระบบ กำหนดเงื่อนไขการเชื่อมต่อเพื่อให้ค่าโดยสารไม่สูงเกินไป จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างหน่วยงาน ด้านเศรษฐกิจและด้านคมนาคมทำหน้าที่หลักในการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าบริการ ยกเว้นเก็บค่าแรกเข้ากรณีเดินทางข้ามระบบโดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิด มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า และอุดหนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า         อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน สราวุธ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวกับสื่อว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. มีมติลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีม่วงจาก 12-42 บาท เป็น 14-20 บาท หรือไม่เกิน 20 บาทตลอดสายในทุกช่วงเวลา รวมระยะเวลาลดค่าครองชีพประชาชน 3 เดือน คาดว่าจะช่วยลดค่าครองชีพประชาชนจากการโดยสารรถไฟฟ้าเป็นมูลค่า 38.7 ล้านบาทต่อเดือน         ดร.สุเมธ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า ปัญหาใหญ่ของไทยคือรายได้เฉลี่ยของคนในเมืองค่อนข้างต่ำ ถ้าค่าโดยสารราคาสูงจะยิ่งส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงตลาดงาน เมื่อทำการแบ่งแต่ละกลุ่มรายได้แล้วดูค่าเฉลี่ยพบกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกลุ่มที่ 1 2 3 และ 4 จากข้างล่าง ค่าเฉลี่ยการเดินทางต่อวันจะอยู่ไม่เกิน 40-50 บาท เมื่อเทียบต่อวันต่อเที่ยว คนกลุ่มนี้จะเดินทางต่อเที่ยวได้ไม่เกิน 25 หรือ 28 บาท ซึ่งหมายถึงขึ้นรถไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถขึ้นสุดสาย 40 กว่าบาทได้         “ถ้าต่อไปรถไฟฟ้าที่ต่อหลายสายขึ้นเป็นประมาณ 70-100 บาท ถ้าคุณต่อหลายสาย คนกลุ่มรายได้นี้อาจจะไม่สามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้ทุกวัน นั่นหมายถึงว่าเขาอาจไม่มีงานประจำที่อยู่ในเมืองหรือมีการเดินทางจากชานเมืองเข้ามาในเมืองด้วยรถไฟฟ้าได้ แล้วเขาอาจต้องหารูปแบบการเดินทางแบบอื่นที่มีความสะดวกสบายน้อยกว่า” ระบบขนส่งมวลชนไม่ได้มีแค่รถไฟฟ้า ต้องมองทั้งระบบ         ในส่วนมาตรการ 7 ข้อข้างต้น ดร.สุเมธ เห็นว่าน่าจะช่วยลดค่าเดินทางได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สุด ถามว่าถ้าต้องทำให้สุดควรเป็นอย่างไร?         “ถ้าเอาแนวของสิงคโปร์ มีจังหวะหนึ่งเขาซื้อคืนรถไฟฟ้ากลับมาหมดเลย เขาคล้ายๆ ของไทยในช่วงแรกคือให้เอกชนลงทุน แล้วก็มีสินทรัพย์ มีโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนเดินรถ มีจุดหนึ่งที่เขาไหวตัวทัน เป็นจุดที่รถไฟฟ้ายังไม่เยอะสายมาก เขาซื้อคืนกลับมาหมดเลยให้เป็นของรัฐ แต่มันต้องใช้เงินเยอะ ซึ่งเราคงไม่สามารถทำได้”         สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งต้องไม่ดึงออกจากสมการคือรถเมล์         “ถ้าเราส่งเสริมรถเมล์ได้ อย่างสิงคโปร์ที่ค่อนข้างชัดที่ทำให้รถเมล์กับรถไฟฟ้ามีค่าโดยสารที่เชื่อมต่อกัน และอาจจะสร้างแรงจูงใจในการใช้ขนส่งมวลชน เช่น คุณใช้รถเมล์แล้วมาต่อรถไฟฟ้าคุณจะได้ส่วนลดเพิ่มเติม ซึ่งของเราคงไปถึงจุดนั้นยาก เพราะรถเมล์เรายังไม่พัฒนา แต่หวังว่าอีกสองสามปีข้างหน้า รถเมล์เริ่มปฏิรูปแล้ว มีสายใหม่ มีเอกชนเข้ามา แล้วก็จะมีเอกชนที่สามารถเชื่อมโยงกันเองได้ หมายถึงเอกชนที่เดินรถเมล์กับเอกชนที่เดินรถไฟฟ้าอาจจะมีปฏิสัมพันธ์กันในระดับหนึ่ง แล้วก็จะเริ่มทำตั๋วเชื่อมกันได้และอาจมีส่วนลดที่ช่วยกระตุ้น รถเมล์ก็จะเปลี่ยนเป็น feeder ในอนาคต น่าจะออกไปในแนวนั้นได้”         หากจะสรุปก็คงได้ประมาณว่า ใช่, ค่ารถไฟฟ้าของไทยแพงและต้องแก้ไข แต่เราจะมองแค่รถไฟฟ้าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนไปพร้อมๆ กัน หมายเหตุ ทางนิตยสาร ‘ฉลาดซื้อ’ ได้ติดต่อขอสัมภาษณ์ผู้บริหารบีทีเอสเพื่อรับฟังข้อมูล แต่ทางผู้บริหารบีทีเอสไม่สามารถจัดเวลาให้ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 รู้เท่าทันโปรตีนผงกับการสร้างกล้ามเนื้อ

        ตอนนี้กระแสการมีหุ่นล่ำ มีกล้ามเนื้อหน้าท้องกำลังเป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาว เพราะได้รับอิทธิพลจากดาราทั้งไทยและเทศว่า ผู้ชายต้องมีหุ่นล่ำ มีซิกแพค ทำให้คนที่รักสุขภาพพากันไปออกกำลังกายและเพาะกล้ามเนื้อกันอย่างจริงจัง จนเกิดกระแสการกินโปรตีนผงกันอย่างแพร่หลายเพื่อเร่งการสร้างกล้ามเนื้อให้เป็นมัดๆ ประมาณการว่า ในปี ค.ศ. 2020 โปรตีนผงจะมีมูลค่าการตลาดถึง 7.5 พันล้านดอลล่าร์ ผงโปรตีนสร้างกล้ามเนื้อได้จริงหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะ โปรตีนผงคืออะไร         โปรตีนผงคือโปรตีนเข้มข้นที่ทำจากสัตว์หรือพืชเช่น นม ไข่ หรือถั่ว นิยมใช้กันในกลุ่มผู้ออกกำลังกายเพื่อเพาะกล้ามเนื้อ สร้างรูปร่างให้แข็งแรง สามารถหาซื้อได้ทางร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือทางเน็ต เมื่อออกกำลังกายเสร็จก็จะเอาผงโปรตีนมาผสมน้ำ เขย่าและดื่ม เนื่องจากได้รับความนิยมมาก มีการทำเป็นเครื่องดื่มพร้อมดื่มขายในห้างสะดวกซื้อทั่วไป         โปรตีนผงมีหลายรูปแบบ ที่นิยมมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ เวย์ (whey)  ถั่วเหลือง และเคซีน (casein)  โดยเวย์ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรตีนจากนมที่ละลายน้ำได้ดี (เวย์เป็นโปรตีนจากน้ำนมโดยแยกเอาไขมันออก มีโปรตีนสูงแต่ยังคงมีแลคโตส ทำให้คนที่แพ้นมจะย่อยเวย์ยาก เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว มีกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิดอยู่ครบ) โปรตีนจากถั่วเหลือง เหมาะสำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติ แต่ละลายไม่ค่อยดีในน้ำ ส่วนเคซีนเป็นโปรตีนในน้ำนม แต่จะย่อยและดูดซึมช้ากว่าเวย์มากร่างกายต้องการโปรตีนวันละเท่าไหร่               วิทยาลัยเวชศาสตร์กีฬาและโรงเรียนโภชนาการและอาหารแห่งอเมริกาแนะนำว่า ผู้ใหญ่ทั่วไปต้องการโปรตีน 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน        นักกีฬาแข่งขัน นักเพาะกาย ต้องการโปรตีน 1.2 - 2.0 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน         ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่เพาะกาย น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ต้องการโปรตีนต่อวัน 140 กรัม หรือ 1.4 ขีด ดูเหมือนมาก แต่เพียงแค่เรากินข้าวขาหมู ข้าวผัดกะเพราไข่ดาว ข้าวมันไก่ 1 จาน จะได้โปรตีน 20-25 กรัม อกไก่ 100 กรัมมีโปรตีน 31 กรัม นมสด 100 ซีซี. มีโปรตีน 4 กรัม นมถั่วเหลือง 100 ซีซี. มีโปรตีน 3.3 กรัม         การดื่มโปรตีนผงต่อครั้งให้โปรตีน 80 กรัม ซึ่งร่างกายไม่ต้องการทั้งหมด ร่างกายต้องเผาผลาญเพื่อสร้างเป็นพลังงาน การดื่มโปรตีนมากเกินไปมีผลต่อสุขภาพ เช่น คลื่นไส้ ตะคริว ปวดศีรษะ ท้องอืด ไตและตับต้องทำงานมากขึ้น การดื่มโปรตีนผงมีความจำเป็นจริงหรือ         จากการทบทวนการศึกษาวิจัยต่าง ๆ จาก Google Scholar, PubMed, and National Center for Biotechnology Information พบว่า มีทั้งความเห็นที่เห็นด้วยและคัดค้าน  มีงานวิจัยจำนวนน้อยที่มีหลักฐานเพียงพอ โปรตีนผงนั้นเป็นสารประกอบที่ผ่านการแปรรูป และมักไม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อลีลาชีวิตที่มีสุขภาพดี ข้อแนะนำคือ ควรได้โปรตีนจากแหล่งอาหารธรรมชาติ การกินโปรตีนเสริมนั้นควรใช้สำหรับกรณีที่อาหารปกติประจำวันนั้นไม่มีโปรตีนเพียงพอเท่านั้น สรุป  เราควรกินโปรตีนจากอาหารธรรมชาติ สำหรับนักเพาะกายที่ต้องการใช้โปรตีนผง ควรคำนวณปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องใช้ต่อวัน และกินเสริมส่วนที่ยังขาดเท่านั้นก็พอ จะประหยัดและป้องกันตับกับไต

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 ฤกษ์สังหาร : ความรู้ ความเป็นกลาง และการขับเคลื่อนดวงเมือง

        ย้อนกลับไปในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปรากฏการณ์ซึ่งเกิดขึ้นและชวนสะเทือนขวัญ จนนำมาซึ่งบาดแผลอันยากเกินเยียวยามาจวบถึงทุกวันนี้ คงหนีไม่พ้นเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวนับล้านๆ ชีวิต โดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมนีและพรรคนาซีที่เรืองอำนาจอยู่ในขณะนั้น         เงื่อนไขหนึ่งที่เป็นปัจจัยให้อิทธิพลของนาซีและฮิตเลอร์แผ่ไพศาลจนนำไปสู่โศกนาฏกรรมดังกล่าว ก็คือ การเล่นบทบาทอันผิดเพี้ยนของนักวิชาการที่ก้มยอมสวามิภักดิ์หรือขายจิตวิญญาณความรู้ให้กับผู้นำนาซี จนมองข้ามแม้แต่ชีวิตและเลือดเนื้อในความเป็นมนุษย์ของชาวยิวผู้ต่างชาติพันธุ์         ด้วยบาดแผลที่สลักลึกไว้ตั้งแต่เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นักคิดทางสังคมกลุ่มหนึ่งที่มีพื้นเพเป็นคนยิว ซึ่งรู้จักกันในชื่อของนักทฤษฎีแห่งสำนักแฟรงค์เฟิร์ต จึงเป็นหัวหอกที่ผลักดันและทบทวนบทบาท “ความเป็นกลาง” ของนักวิชาการ หรือบรรดากุนซือผู้ทำหน้าที่ผลิตความรู้แห่งศาสตร์ต่างๆ ในสังคม         ภายหลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลง นักคิดกลุ่มนี้ที่หนีรอดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่างก็ชี้ไปในทางเดียวกันว่า หากความรู้คืออำนาจ นักวิชาการคือผู้ที่ผลิตความรู้นั้น และนักวิชาการขาดซึ่ง “ความเป็นกลาง” แต่ทว่าแปดเปื้อนไปด้วยอคติและผลประโยชน์เสียแล้ว อำนาจแห่งความรู้ก็จะกลายมาเป็น “มนต์ดำ” ที่ประหัตประหารมนุษยชาติด้วยกันในที่สุด         เกินกว่ากึ่งศตวรรษผ่านไป คำถามต่อจุดยืนความเป็นกลางของนักวิชาการก็ได้ถูกหยิบยกมาทบทวนหวนคิดกันอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านเรื่องราวและเรื่องเล่าที่อยู่ในละครโทรทัศน์เรื่อง “ฤกษ์สังหาร” ซึ่งถูกวางเส้นเรื่องให้เป็นแนวละครสืบสวนสอบสวน ที่เปิดฉากขึ้นด้วยภาพเหตุการณ์ฆาตกรรมหญิงสาวคนหนึ่ง โดยศพของเธอเสมือนหนึ่งถูกทำพิธีกรรมบางอย่าง และฝังเอาไว้อยู่ในดิน         ด้วยภาพเหตุการณ์ฆาตกรรมอันดูแปลกประหลาด ได้ดึงดูดความสนใจของพระเอกหนุ่มอย่าง “มหากะทิง” หมอดูชื่อดังผู้มีความรู้โหราศาสตร์ และต้องการใช้องค์ความรู้ของเขาเพื่อเข้าร่วมสืบหาและคลี่คลายปมคดีการสังหารเหยื่อสาวเคราะห์ร้ายดังกล่าว         จากนั้น ความจริงก็ค่อยๆ เผยออกมาว่า การฆาตกรรมหญิงสาวเป็นจุดเริ่มต้นของพิธีกรรมฤกษ์สังหารตามตำราแก้เคล็ดดวงเมือง ด้วยเพราะมีใครบางคนต้องการจะเปลี่ยนแปลงดวงเมือง และใช้พิธีกรรมนี้ในการเปลี่ยนวงโคจรของดวงดาวให้มาเสริมบารมีของเขา เพื่อก้าวขึ้นสู่อำนาจและความยิ่งใหญ่         ตามตำราดังกล่าวเชื่อว่า ในปีใดที่มีอาเพศใหญ่เกิดขึ้น 4 ครั้งในบ้านเมือง และในแต่ละครั้งของอาเพศ หากมีการใช้ชีวิตของหญิงสาวตามฤกษ์มาสังเวยทำบัดพลีบูชาธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ ให้สัมฤทธิ์ได้แล้ว ผู้ประกอบพิธีกรรมแก้เคล็ดดวงเมืองก็จะก้าวขึ้นเป็นใหญ่ในแผ่นดินด้วยมิจฉาวิชชาที่ว่านี้         เมื่อโจทย์ของมหากะทิงคือการคลี่คลายปมว่า ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังฆาตกรรมตามฤกษ์สังหาร และการขัดขวางพิธีกรรมแก้เคล็ดดวงเมือง เราจึงได้เห็นภาพการเดินจับมือฟั่นเกลียวกันไประหว่างการใช้องค์ความรู้แบบโหราศาสตร์และการคำนวณฤกษ์ดวงดาวแบบดั้งเดิม กับองค์ความรู้นิติวิทยาศาสตร์และอาชญวิทยาสมัยใหม่ ที่จะว่าไปแล้ว ทั้งศาสตร์ความรู้เก่าและใหม่ที่ไขว้ประสานกันเยี่ยงนี้ ก็ถือเป็นเรื่องปกติและยอมรับได้อยู่แล้วในสังคมไทย         แต่ในอีกด้านหนึ่ง เราก็จะเริ่มเห็นบทบาทของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกกันว่า “นักวิชาการ” หรือปัญญาชน ผู้เป็นประหนึ่ง “think tank” หรือ “คลังสมอง” ซึ่งใช้ศาสตร์ความรู้ เพื่อขับเคลื่อนทิศทางความเป็นไปของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศ         หากมหากะทิงและมิตรสหายของเขาอีกหลายคน รวมทั้ง “ศรีล” สารวัตรตำรวจมือสะอาด กับ “ชิงดวง” คุณหมอนักนิติวิทยาศาสตร์สาว เป็นตัวละครที่เลือกยืนอยู่ฝั่งคุณธรรมความดี ละครก็ได้สร้างให้เห็นขั้วความแตกต่างอีกฝั่งของ “อุทธิ” หมอดูโหราจารย์ที่เลือกใช้ความรู้ด้านมืดเสริมดวงของฝ่ายอธรรม         เนื่องจากโหราศาสตร์เป็นศาสตร์ความรู้ที่ปัจจุบันกลายเป็นที่ยอมรับไม่ต่างจากแขนงความรู้ของศาสตร์อื่นๆ แล้ว ทั้งมหากะทิงและอุทธิก็คือปัญญานักวิชาการผู้เป็น “คลังสมอง” ของศาสตร์วิชาดังกล่าว ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้องค์ความรู้เพื่อไปขับเคลื่อนดวงเมืองและความเป็นไปในเศรษฐกิจสังคมไทย         แต่เพราะจิตใจของอุทธิอาบเจือปนเปื้อนไปด้วยอคติและผลประโยชน์ส่วนตนที่ต้องการเอาชนะมหากะทิง แบบที่อุทธิเคยกล่าวว่า “กูต้องชนะ กูทำมาขนาดนี้แล้ว ยังไงกูก็ต้องชนะ กูใช้เวลาทั้งชีวิต ยอมไม่มีเพื่อน ยอมเรียนดูดวง ยอมไปดูดวงคนเป็นพันๆ หมื่นๆ ที่อยากเจอหมอดูที่เก่ง กูทำพิธีนี้เพราะต้องการชนะมึง กูต้องเป็นอันดับหนึ่ง กูต้องอยู่เหนือมึง...” ดังนั้นอุทธิจึงเป็นนักวิชาการที่สละจุดยืนอัน “เป็นกลาง” แต่เลือกสมาทานความรู้โหราศาสตร์ของเขาเข้าสู่ด้านมืดแห่งอวิชชา         ด้วยกิเลสที่ต้องการเอาชนะคุกรุ่นอยู่ในใจ อุทธิจึงใช้ความรู้แบบ “มนต์ดำ” เพื่อประกอบพิธีฤกษ์สังหารแก้เคล็ดดวงเมือง ที่จะเสริมส่งให้นักการเมืองใจซื่อมือคดอย่าง “รวี” ก้าวขึ้นสู่ผู้นำประเทศ พร้อมๆ กับบรรดาโครงข่ายอำนาจของท่านรวี ที่มีตั้งแต่คนในเครื่องแบบแต่เล่นบทบาทเป็นตำรวจกังฉินอย่าง “ผู้การดำริห์” ไปจนถึงนายทุนใหญ่ที่จิตใจเต็มไปด้วยโลภจริตอย่าง “เจ้าสัวพิพัฒน์”         และที่สำคัญ เพื่อก้าวขึ้นสู่บัลลังก์อำนาจเช่นนี้ อุทธิและพรรคพวกจึงมีความพยายามเปลี่ยนแปลงดวงเมืองให้ได้ โดยที่ไม่ตระหนักเห็นถึงคุณค่าในชีวิตมนุษย์อย่างบรรดาผู้หญิงที่ถูกคัดเลือกมาทำบัดพลีเซ่นสังเวยฤกษ์สังหาร ซึ่งไม่ต่างอันใดกับที่ครั้งหนึ่งฮิตเลอร์ก็สามารถขึ้นสู่อำนาจโดยสังหารชาวยิวนับล้านๆ คน          ด้วยพล็อตของละครแนวสืบสวนสอบสวนแบบนี้ ผู้ชมก็อาจจะเดาได้ไม่ยากว่า เราจะได้เห็นภาพการสัประยุทธ์แก้กลเกมระหว่างฝ่ายธรรมะกับอธรรม โดยที่ต่างฝ่ายต่างใช้วิชาความรู้มาปะทะต่อกรกันและกัน และในท้ายที่สุด ความรู้แบบอวิชชาก็ต้องปราชัย และฝ่ายมหากะทิงก็สามารถยุติการแก้เคล็ดดวงเมือง โดยช่วยเหลือนางเอก “รันหณ์” ให้รอดพ้นจากการเป็นเหยื่อคนสุดท้ายของพิธีฤกษ์สังหารเอาไว้ได้         และในเวลาเดียวกัน เพราะความรู้เองก็มีกฎในการใช้งาน เมื่อพิธีฤกษ์สังหารไม่อาจทำจนสัมฤทธิ์ได้ คนเล่นของก็เลยต้องถูกคุณไสยย้อนมาเล่นใส่เสียเอง ภาพของอุทธิและพรรคพวกของท่านรวีที่ถูกลงโทษเซ่นสรวงสังเวยในฉากจบ จึงชวนดูสยดสยองไม่ต่างจากภาพหญิงสาวที่ถูกทำบัดพลีบูชาธาตุทั้ง 4 เท่าใดนัก         จากบทเรียนจากบาดแผลทางประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และจากพิธีกรรมฤกษ์สังหารแก้เคล็ดดวงเมืองในละครโทรทัศน์เช่นนี้ คงถึงเวลาอีกครั้งแล้วที่เราน่าจะต้องหันกลับมาทบทวนเรียกร้อง “ความเป็นกลาง” ในหมู่ปัญญาชนนักวิชาการ เพราะคลังสมองของชาติเหล่านี้ก็คือผู้มีบทบาทสำคัญที่จะขับเคลื่อนชะตากรรมสังคม หรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงวงโคจรของดวงเมือง จนอาจนำสู่โศกนาฏกรรมได้นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 อาสาสมัคร มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย

“พ.ศ.2509 ท่านธรรมาจารย์ เจิ้งเหยียน อาศัยจิตวิญญาณ “ยับยั้งชั่งใจ อุตสาหะ มัธยัสถ์ ฟันฝ่าอุปสรรค” จนสามารถก่อตั้งมูลนิธิฉือจี้ขึ้น ณ เมือง    ฮวาเหลียน ไต้หวัน ในยุคแรกลูกศิษย์ซึ่งเป็นภิกษุณี 6 รูป ต่างช่วยกันเย็บรองเท้าเด็กเพิ่มวันละหนึ่งคู่ และแม่บ้าน 30 คน ต่างช่วยกันออมเงินลงในกระบอกไม้ไผ่ ออมบุญวันละ 50 สตางค์ เพื่อดำเนินงานการกุศลของฉือจี้ ปัจจุบันมูลนิธิฉือจี้มีสำนักงานและจุดติดต่อรวมทั้งสิ้น 56 ประเทศ โดยให้การช่วยเหลือผู้คนทั่วโลกไปแล้ว 92 ประเทศ” ที่ประเทศไทย สุชน แซ่เฮง อาสาสมัคร มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย ได้เล่าให้เราฟังว่า จุดเริ่มต้นการเป็นอาสาสมัคร         สมัยเรียน ผมเรียนหลักคิดของท่านขงจื้อ อันนี้หมายถึงที่ไต้หวันนะ   ชอบมากสังคมแบบนั้น ตอนหลังผมมาพบว่ามันมีหลายส่วนคล้ายๆ กับสังคมไทยในอดีต มีหลายส่วนคล้าย แต่เหมือนว่ามันไกลจากตัวเรา ในสมัยท่านขงจื้อ 2,600 ปีก่อน หรืออย่างสมัยพุทธกาลก็เหมือนกัน เหมือนเป็นอุดมการณ์อย่างหนึ่งที่ไกลมาก แล้วเราจะเดินไปถึงได้อย่างไรกับอุดมการณ์และสังคมแบบนั้น พอผมมามีเพื่อนเป็นชาวคริสต์ เขาเรียกผมไปพบที่มูลนิธิฉือจี้ประเทศไทยซึ่งที่ตั้งเดิมที่อยู่รัชดาซอย 3 ผมก็ไป         “เขาบอกว่ามูลนิธินี้เปิดใหม่ เป็นมูลนิธิที่ดีควรเข้าร่วม ตอนนั้นจะไม่มีหนังสือไทยเลย โปสเตอร์ต่างๆ ก็เป็นภาษาจีนหมด ผมไปยืนอ่าน แล้วก็ดูภาพ และก็อ่านข้อความข้างใน แค่ตรงนั้นเอง  ผมบอกว่าอันนี้น่าสนใจมาก” มันมาเชื่อมต่อกับตอนที่เราเป็นหนุ่มๆ ที่บอกว่ามันทำให้สังคมนี้เกิดได้ ตอนนั้นผมก็ไม่รู้ว่าอะไรคือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พอเขาเอามาแปลเป็นเรื่องการกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษาและวัฒนธรรม ผมเห็นการกุศลอย่างเดียวเท่านั้น การทำของฉือจี้ก็จะทำให้สังคมของท่านขงจื้อเกิดได้ระดับหนึ่งแล้ว เฉพาะแค่หนึ่งภารกิจ แล้วภารกิจต่อๆ ไปมันเป็นภารกิจที่ผมเห็น แก้ปัญหาสังคมไทย แค่ดูกับอ่านอันนี้มันไม่พอ         หลังจากนั้นก็มีการลงมือปฏิบัติ สัมผัสคนไทย การสัมผัสเป็นการพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า ใช่หรือไม่คนไทยในอดีตเป็นแบบนั้น ถึงแม้ว่าตอนนี้มันไม่ค่อยเหมือน แต่ว่ายังมีหลงเหลืออยู่หรือเปล่า ใกล้ยี่สิบปีแล้ว ไปหลายๆ จังหวัดและไปอยู่ตามบ้านนอกเลยยิ่งมั่นใจเลยว่าใช่ สังคมของคนไทยในอดีตคล้ายมาก การทำงานจิตจอาสาแบ่งเวลาอย่างไร สิ่งที่ทำให้เรื่องนี้ยั่งยืน         ตรงนี้สำคัญที่สุดเลย ที่ศาสนาพุทธพูดถึงคือ ทางสายกลาง อย่าเกินและอย่าขาดเกินไป คนเราไม่ว่าคุณจะยุ่งขนาดไหนคุณจะมีเวลากับสิ่งนั้นๆ ถ้าคุณคิดว่าสิ่งนั้นมีคุณค่า อันนี้สำคัญมาก แต่ถ้าบอกว่าไม่มีเวลาแปลว่าสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในหัวใจเรา    อันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด เป็นเรื่องปกติ หมายถึงอย่างนี้ ฉะนั้นผมก็เห็นหลายๆ ท่าน ชาวฉือจี้ปัจจุบันยุ่งมากแต่เขาก็เจียดเวลามาช่วย เฉพาะคนไทยหลังๆ นี่ เป็นแพทย์ พยาบาล ใครจะมีเวลายุ่งมากกว่าแพทย์ พยาบาล เหนื่อยก็เหนื่อยงานก็หนักเวลาส่วนตัวก็น้อย แต่เวลาที่เหลืออยู่เทให้ฉือจี้หมด เขาเห็นคุณค่าถ้าไม่เห็นคุณค่าเขาก็จะมองว่าแค่เป็นมูลนิธิฉือจ         อันที่หนึ่งคำว่ามูลนิธิเราถูกตีกรอบแล้ว เหมือนอย่างที่เรา  คุ้นชินกัน อันที่สองพอเป็นชื่อมูลนิธิฉือจี้ คนเราถูกบ่มเพาะมาแล้วในเรื่องความแตกต่าง การแยกแยะให้เป็นสองส่วน โดยเฉพาะพวกเก่งวิทยาศาสตร์มันจะต้องมีสองอย่างมาชนกัน พอมองฉือจี้ว่าเป็นมูลนิธิถึงเวลาเอาข้าวสารเอาเงินมาให้อะไรต่างๆ  ก็มองเป็นแบบนี้ไป มันก็ถูกนิดหน่อยถูกส่วนหนึ่ง แต่เขาไม่รู้ว่าเป็นมูลนิธิองค์กรศาสนาพุทธ พอเป็นศาสนาพุทธก็จะเป็นเรื่องของหลักธรรม พอเป็นเรื่องหลักธรรม อิสลาม ศริสต์  ก็เข้ามาได้ คำว่าหลักธรรมเป็นของทุกศาสนา ขงจื้อไม่ใช่ศาสนา เพราะปัญญาของศาสดาเหล่านี้ ขออนุญาตใช้คำว่าศาสดา ท่านขงจื้อท่านก็ไม่ได้บอกว่าท่านเป็นศาสดา แต่ท่านเป็นครูท่านมีปัญญาสูงแบบนี้ เวลาพูดออกมาหลักธรรมใกล้เคียงกันมาก เช่น เราพูดเรื่องความจริง ความดี ความงาม อะไรคือความจริง ความจริงคือสิ่งที่ไม่ตาย คนไทยบอก อะไรคือสิ่งที่ไม่ตาย หมายถึงว่าเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ เวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนมันจะมีคุณค่าของมัน อันนี้เป็นนามธรรมมากๆ อย่างทองคำแท่งหนึ่งตู้เย็น กับโอ่งน้ำหนึ่งโอ่ง ให้เลือกๆ อะไรตอนนี้ในใจเลือกอะไร เลือกทองโดยไม่ต้องคิดเลย เพราะเราคิดว่าทองมีค่า ถ้าเปลี่ยนสถานที่ให้ไปอยู่ที่ทะเลทรายกำลังหลงทาง เราก็อยากได้น้ำมากกว่า แสดงว่าทองก็ไม่จริง พอเปลี่ยนสถานที่มันก็ไม่จริง         เราบอกความจริง ความดี ความงาม แล้วอะไรคือความจริง ในทางหลักธรรมทางสายกลาง ท่านขงจื้อก็พูด พระพุทธองค์ก็พูด พระพุทธองค์พูดเอาเรื่องพิณมาเปรียบเทียบ ถ้าสายหย่อนมันไม่เป็นเพลง ถ้าตึงเกินมันจะขาด มันต้องพอดี  มันถึงจะเป็นเพลง ชาวจีนเขาจะบอกว่า ชาหนึ่งถ้วยมันจะกลมกล่อมน้ำต้องพอดี  ชาต้องพอดี ความร้อนต้องพอดี ระยะแช่ต้องพอดี นี่คือทางสายกลาง ถ้าขาดไปมัน  ก็จืด ถ้านานไปมันก็ขม นี่คือความจริง หลักธรรมอันที่สองคือความดี ความดีเยอะเลย พูดจาเพราะก็ความดี ช่วยเหลือคนก็ความดี แล้วอะไรดีเลิศประเสริฐที่สุด ดีที่สุด ท่านขงจื้อบอกว่าสิ่งที่ดีเลิศประเสริฐที่สุดก็คือความกตัญญู ส่วนพระพุทธองค์บอกว่าความกตัญญูเป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งหลาย อะไรคือความงาม เรื่องความงามท่านขงจื้อบอกว่ามนุษย์เราเกิดมาบนโลกใบนี้เป็นพี่เป็นน้องกัน ทัดเทียมกันทุกชีวิต แต่พระพุทธองค์ไม่ได้พูดเรื่องมนุษย์อย่างเดียว พูดเรื่องสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย ตัวที่มองไม่เห็นเขาก็มีค่าเหมือนกับมนุษย์ เขาเรียกว่าหลักธรรม ท่านขงจื้อกับพระพุทธองค์อยู่ในยุคเดียวกันต่างกันแค่ 5 ขวบ ท่านหนึ่งอยู่ที่อินเดียท่านหนึ่งอยู่ที่จีน ท่านคิดตรงกัน เขาเรียกว่าหลักธรรม ถ้าสามอย่างนี้เรายอมรับว่าใช่ สามอย่างนี้ในบ้านเมืองเรามีไหม ยังมีอยู่          ถ้าเรายอมรับ พระพุทธเจ้าและท่านขงจื้อก็เสริมหนุนบอกว่าคำสอนตรงนี้ใช่ แล้วเราทำไมปล่อยปละละเลยโดยเฉพาะเรื่องความกตัญญู มันเกี่ยวกับเรื่องชีวิตเลย คนที่ไม่กตัญญูเขาเรียกว่าคนที่ไม่รู้บุญคุณคน ลองคิดดูคนที่ไม่รู้บุญคุณคนอันตรายนะ ถ้าเราไปมอบชีวิตให้กับเขาหรือเราไปอยู่กับเขาเหมือนอยู่ใกล้เสือ มันจะกัดเมื่อไหร่ก็ได้ ความกตัญญูมันไปหลายเรื่อง มันก็ไปเรื่องความซื่อสัตย์ด้วย คนที่ไม่กตัญญูต่อพ่อแม่    คุณเชื่อไหมว่าเขาจะซื่อสัตย์ ถ้าเขาไม่ซื่อสัตย์เขาก็ไม่ซื่อสัตย์ต่องานที่ทำ ไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเขาเอง ไม่ซื่อสัตย์ต่อคนอื่น ถ้าเขาสูงขึ้นๆ เป็นผู้ปกครองแผ่นดินเขาก็ไม่ซื่อสัตย์ต่อประชาชน ฉะนั้นความกตัญญูเป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งหลายที่พุทธองค์ปรารภเอาไว้ เราขยายความเอาไว้ พอเราขยายความมันใช่ มันเป็นเรื่องสัจธรรมที่แท้จริง ต้องแก้ตรงนี้ ไม่แก้ตรงนี้แล้วจะไปแก้ตรงไหน แล้วบ้านเมืองเราจะสงบ เมื่อมาเป็นจิตอาสา ฉือจี้ให้อะไรบ้าง         ฉือจี้ทำให้ผมเห็น ผมเห็นเฉพาะเรื่องการกุศลที่เขาไปช่วยเหลือคน ตอนนี้เราต้องยอมรับว่าความกตัญญูเราหายไปเยอะแล้ว เราต้องเรียกกลับมา เอามาท่องเป็นบทความนี่ไม่กลับมานะ เพราะไม่ได้สัมผัสไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็นพ่อแม่ตัวเองกตัญญูกับปู่ย่าตายาย เขาก็ไม่รู้ว่าหน้าตาความกตัญญูมันเป็นอย่างไร ภาพนั้นเป็นภาพกตัญญูหรือเปล่า มองภาพไม่ออก อันที่สองคือตัวเองไม่ได้ไปสัมผัส พอไม่ได้สัมผัสมันเข้าไม่ถึงใจ พอเข้าไม่ถึงใจในที่สุดพอรุ่นลูกร่นหลานของคนไทยก็หายหมดแล้ว ความกตัญญูหายไปหมด มันเกิดอย่างนี้คือด่าคนเขาไปทั่ว ไม่รู้ว่าคนนั้นมีบุญคุณกับเราขนาดไหน ยังไม่รู้เลยก็ด่าไปแล้วคุณไปด่าเขาได้อย่างไร ถ้าไม่มีคนนี้คุณไม่ได้อยู่บนแผ่นดินนี้แล้ว บรรพบุรุษคุณก็ไม่ได้มาที่นี่ ดีไม่ดีไปตกทะเลตายไปแล้ว อะไรอย่างนี้ไม่รู้แต่ด่าไปแล้ว เหตุผลที่ด่าไปแล้ว เพราะตัวเองไม่มีความกตัญญู ไม่ได้ไปโทษว่าเขาเลวร้ายนะ แต่เพราะเขาไม่เห็นว่ามันเป็นอย่างไรนึกภาพไม่ออก    พ่อแม่เขาไม่ได้ทำให้เห็น         การกุศลมันฟื้นฟูความกตัญญูได้อย่างไร เราก็พาลูกๆ หลานๆ ขึ้นเครื่องไปดูแลพ่ออุ้ยแม่อุ้ยที่ตกยาก ฉือจี้จะไปทำให้เห็น ไปเช็ดตัว ช่วยอะไรได้ก็จะช่วย คนนี้เดิมทีเขาอาจจะไม่สนใจเอามือล้วงกระเป๋า แต่พอนานๆ ไปเขาก็ทำเพราะเห็นว่าคนอื่นเขาทำงานแล้วเรามายืนดูเขาเฉยๆ เขาก็อาจจะเอาไม้กวาดมากวาด หรือมาช่วยตัดเล็บก็ได้ เอาผ้ามาเช็ดตัว ไปหลายๆ ครั้งก็ทำได้มากขึ้น วันหนึ่งได้คิดว่าคนที่บ้านปู่ย่าตายาย พ่อแม่ คนนี้เป็นคนอื่นเราทำได้ แล้วคนที่บ้านเราล่ะ  ก็กลับไปทำ นี่คือพฤติกรรมของความกตัญญู กตัญญูแปลว่ารู้คุณคน พอรู้คุณคน  คุณจะลงมือทำ ไม่ใช่รู้คุณอย่างเดียว พอรู้คุณคนก็ต้องตอบแทนบุญคุณ อันนี้เป็นพฤติกรรมตอบแทนบุญคุณ การเช็ดตัว การตัดเล็บ การอุ้มไปอาบน้ำอะไรต่างๆ   พอเป็นอย่างนี้ความกตัญญูฟื้นแล้ว ลองคิดดูว่าถ้าไม่ใช้วิธีนี้แล้วเราจะเอาวิธีไหนมาสอนได้ หนังสือศีลธรรมก็ไม่มีแล้ว เอาหนังสือศีลธรรมมาท่องก็ทำไม่ได้ เพราะว่าภาพนั้นมันไม่ปรากฏ มันไม่เหมือนสมัยพ่ออุ้ยแม่อุ้ยจะมีภาพเหล่านี้อยู่ ลูกหลานเราไม่ต้องสอนเขาเห็น รู้ว่าต้องไปวัด ต้องรู้ไม่ต้องสอน รู้ว่าเห็นพระต้องไหว้ เพราะว่าภาพเหล่านี้มันสอนเรา คือรุ่นบรรพบุรุษเขาสอนด้วยภาพทำให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี         ตอนนี้บ้านเมืองเราเจริญรุ่งเรืองต่างๆ เต็มไปหมด แต่เรื่องจิตใจตกต่ำถอยหลังจะเป็นคนป่าคนดงแล้วก็ว่าได้ เราจะเอาอย่างไรดี เป็นคนป่าคนดงก็ดีขับเครื่องบิน คนป่าคนดงขับรถยนต์ก็ไม่ว่าอะไร ก็แล้วแต่ แต่ถ้าเราคิดว่าคนไทยน่าจะเป็นชนเผ่าที่ดีงามที่สุดในโลก ถ้าเราตีความแบบนี้ ผมคิดว่ามันน่าทุ่มมาก ทำให้ฟื้นขึ้นมา แล้วบ้านเมืองเราจะไม่ต้องไปกังวลเรื่องกินเรื่องอยู่เลย มันสมบูรณ์มาก ทำไมเราต้องไปแข่งกับคนอื่นเขา แข่งอะไร ของเรามีน้ำที่ดี มีดินที่สมบูรณ์ มีอากาศที่ดีๆ อย่างเราว่าหนาวลองไปอีกที่ๆ หิมะตกทั้งเดือน เลยประเทศเกาหลีไปก็ไม่น่าอยู่แล้ว ประเทศไทยดีที่สุดแล้วผมเชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่พอดี ทางสายกลางดีมากๆ ในทุกๆ เรื่องแม้กระทั่งตัวคนไทยเอง ประเทศไม่ใหญ่ประชากรก็ไม่มาก ทุกอย่างมันพอดีหมดเลย วัด โบสถ์ มัสยิด สวยงามไปหมด พอภาพเป็นอย่างนี้ ถามว่าเกิดมาเป็นคนไทยทำไม ทำไมต้องอยู่ในผืนแผ่นดินไทย ต้องคิดแล้วนะครับ บางทีเราก็คิดว่าเราเป็นคนไทยทำไม ก็ไม่รู้ ก็เกิดมาเป็นคนไทยก็เป็นคนไทย แล้วเกิดมาเป็นคนไทยแล้วต้องทำอะไรเพื่อบำเพ็ญตน  ถ้าคนไทยทุกคนค่านิยมเกี่ยวกับเรื่องชีวิต การบำเพ็ญตนมาที่หนึ่งจะทำอะไรก็มีความสุข จะอยู่ที่ไหนก็มีความสุขได้ ยกตัวอย่างเช่น ใครบอกว่าอยากเกิดมาเพื่อเป็นหมอ ใครอยากเกิดมาเพื่อเป็นนายก ไม่มีนะ แต่ถ้าหากว่าไม่รู้จักหลักธรรม แล้วเป็นหมอนี่มันมีความสุขจริงไหม เป็นนายกแล้วมีความสุขจริงไหม แต่เราก็รู้ว่าเป็นยามนี่ทุกข์แน่ แต่ถ้าคนไทยที่บอกว่าเกิดมาเพื่อบำเพ็ญตนไม่ว่าจะเป็นยามเป็นหมอเป็นนายก คุณจะมีความสุขเหมือนๆ กัน เพราะว่าคุณค่าของคุณไม่ได้วัดว่าที่แบงค์ คุณมีจำนวนเงินเท่าไหร่ มันวัดอยู่ที่หัวใจของคุณว่ามีความปีติขนาดไหน ถ้าเราทำแล้วใจเรามีความสุขนั่นคือมีความสุขแล้ว ถ้าคนไทยเราเกิดมาเพื่อบำเพ็ญตน พอรู้ตรงนี้แล้วเอาอะไรมาบำเพ็ญ เอางานที่ทำมาขัดเกลาจิตใจตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ  ตรงนี้ของผมมาได้ที่ฉือจี้ ถ้าทุกคนมีค่านิยมแบบนี้ ค่านิยมทางตะวันตกที่บ้าบอคอแตกทำอะไรเราไม่ได้ แต่เราไม่ได้ปฏิเสธความเจริญรุ่งเรือง ไม่ได้ปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เรายอมรับที่สุดคือเรื่องจิตใจ พัฒนาจิตใจท่ามกลางความเป็นอยู่ที่พัฒนาต่อไป มีอะไรมาทำๆ เอาสิ่งนั้นมาขัดเกลาจิตใจตนไม่ใช่ไปเป็นทาสมัน เอามาเป็นเครื่องมือเรา  มาทำให้ใจเราสะอาดขึ้น ดีขึ้น งานของฉือจี้มีอะไรบ้าง         ภารกิจด้านต่างๆ มันขัดเกลาจิตใจเรา เรามีทั้งหมด 4 ภารกิจ อาจารย์เรา ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนต้องการขัดเกลาจิตใจมนุษย์ด้วยศาสตร์ เพราะเป็นเป้าหมายเดียวและเป็นเป้าหมายสุดท้าย แล้วเอาอะไรมาขัดเกลา มันต้องมีวิธีการ ก็ใช้หลักพรหมวิหารสี่ อันนี้พุทธใช่ไหม พรหมวิหารสี่คืออะไร เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้วหน้าตามันเป็นอย่างไร คนไทยผมคิดว่าส่วนมากไม่รู้นะ หรือว่าให้อธิบายก็อธิบายได้ แต่ไม่รู้ว่าทำอย่างไร อย่างผมนี่ลูกศิษย์ขงจื้อ หลายๆ คนไม่มีศาสนา อาจารย์ท่านบอกทำ 4 อย่างนี้ การกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา และก็วัฒนธรรมที่ดีงาม อันนี้ก็คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะฉะนั้นถ้ามันเป็นอย่างนี้ อิสลามมาอยู่ด้วย  ได้ไหม อยู่ได้ ศาสนาคริสต์ก็มาอยู่ด้วยได้ การกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา วัฒนธรรมที่ดีงาม         การกุศลก็คือการบำบัดทุกข์การบำรุงสุข คนเขาทุกข์มาก เราก็ไปบำรุงสุขให้เขา ขาดเงินเอาเงินให้ ขาดของเอาของให้ ขาดอะไรให้อะไรเพื่อให้เขาสุขขึ้นมา บำรุงสุข นี่ใช่การกุศลไหม ใช่การกุศล เมตตา กรุณา บำบัดทุกข์เป็นอย่างไร เจ็บป่วยทำอย่างไรให้เขาทุกข์น้อยลงก็คือการรักษาพยาบาล ต่อมาก็คือมุทิตา มุทิตาตรงนี้ก็คือทำอย่างไรให้เกิดความปีติยินดีอยู่เรื่อยๆ ผมยังไม่อยากจะใช้คำว่าตลอดเวลาเพราะเรายังเป็นปุถุชนคนธรรมดา ไม่ว่าเราจะเป็นยาม หรือคนขายผักที่หน้าตลาดหรืออะไรก็ช่าง แต่ถ้าเรามีความยินดีอยู่ตลอด คืออยู่บ่อยๆ เกิดความสุขไหม แน่นอนอยู่ดีๆ จะมีความสุขไม่ได้หรอก มันต้องเกิดจากการขัดเกลาจากการบำเพ็ญ เขามาผิดกับเรา เราให้อภัยเขา ยกตัวอย่างเช่น เขาทำผิดเราทำถูก เราอภัย หรือว่าเราทำผิดเราไปขอโทษ อะไรต่างๆ เหล่านี้ พออย่างนี้ พอปมต่างๆ มันไม่มีในหัวใจ มันมีความยินดี คนเราถ้าไม่มีปมหัวใจมันมีความยินดีไหม คือไม่ไปโกรธไปเคืองใครมันก็ตลอดเวลา มันไม่ทุกข์ อันนี้คือการศึกษา อันที่สี่วัฒนธรรมที่ดีงามอันนี้หัวใจเลย วัฒนธรรมที่ดีงาม เรื่องการแยกขยะ เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจด้วยไหม         เราบอกมีสี่ภารกิจใช่ไหม มันมีลำดับของมันนะครับ เมื่อกี้บอกการกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา วัฒนธรรม หนึ่งภารกิจท่านธรรมาจารย์ผู้ก่อตั้งใช้เวลา 10 ปี หนึ่งภารกิจสิบปี สิบปีที่สอง การรักษาพยาบาล สิบปีที่สามการศึกษา 10 ปี ที่สี่วัฒนธรรมที่ดีงาม พอเวลาผ่านไปคนเยอะขึ้น อาสาสมัครเยอะขึ้น ผ่านไปเกือบสี่สิบปีแล้ว อาสาสมัครมีทั่วแล้ว อาจารย์ก็บอกว่าอาจารย์ไปสะดุดตาเดินผ่านตลาดมีแต่ขยะ เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อนโน้น พอไปเที่ยวเก็บ  ก็บอก คนจีนพอพระเทศน์ดีเขาปรบมือนะเขาไม่พนมมือสาธุนะ อาจารย์บอกว่าอย่าปรบมือนะเอาสองมือนี้ไปแยกขยะ ได้ครับๆ เป็นลูกศิษย์อาจารย์ เป็นอาสาสมัครทำไมไม่ได้เพราะศรัทธา ท่านมีวิสัยทัศน์แต่ตอนนั้นไม่ได้บอกว่าทำไม         แต่ด้วยความศรัทธาเรารู้ว่าเป็นพระที่มีวิสัยทัศน์และมีปัญญามาก ก็ไปแยกที่ไหนแยกที่บ้าน ทำที่บ้านก่อนเสร็จแล้วบ้านผมอยู่ในหมู่บ้านมันมีที่ว่าง ว่างอยู่ที่หนึ่งก็ทำก่อนแล้วบังเอิญคุณก็เป็นเพื่อนผมแล้วรู้จักกันแล้วเป็นชาวฉือจี้ด้วยกัน บอกว่าให้ใช้บ้านผมแล้วกันเอามากองๆ รวมกันแล้วมาแยก เริ่มจากตรงนี้ แล้วค่อยๆ ไปบอกชาวบ้าน มีไหมหนังสือพิมพ์เก่าๆ มีไหมขวดพลาสติก มีไหม พอนานๆ เข้ามันโต ชุมชนนี้ก็มานัดกันบอกว่าทุกวันพุธ  มันจะมีโรงแยกขยะใหญ่จะมารับจุดย่อย ตรงนี้สำคัญ เริ่มต้นที่ไหนก่อนเริ่มที่บ้านที่ครอบครัว บทนำจาก บทความ “รู้จักมูลนิธิฉือจี้” https://www.tzuchithailand.org/th

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 ปัญหาของการทำประมงในอียู และบทบาทของผู้บริโภค

สำหรับประชาชนที่อยู่ในประเทศไทย มักได้ยินข่าวเกี่ยวกับเรื่องปัญหาการทำประมงในบ้านเรา ที่เคยถูกอียูแบนสินค้าประมงที่เรียกว่า IUU (Illegal, Unreported und Unregulated ) ซึ่งเป็นมาตรการและนโยบายของทางอียู ในการที่จะรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเล ให้มีความยั่งยืนไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีมีชีวิตในทะเล ซึ่งนโยบายของอียูที่เคยให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทย ในอดีตเมื่อไม่นานมานี้จนกระทั่งรัฐบาลไทย ได้แสดงความเจตจำนงและตั้งใจในการแก้ปัญหาดังกล่าวจนกระทั่งสามารถแก้ปัญหาได้ลุล่วงได้ในที่สุด         ถึงแม้ว่าอียูจะมีมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดการขูดรีดทรัพยากรจากท้องทะเลมากเกินไปก็ตาม แต่สถานการณ์เรื่องนี้ในกลุ่มประเทศอียูก็ไม่ได้ดีขึ้น องค์กรผู้บริโภค ต่างก็ยังคงมีข้อกังวลในเรื่องนี้ ในกรณีของประเทศเยอรมนี โดยเฉพาะปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และปลาแฮริง ที่เป็นที่นิยมของบริโภคชาวเยอรมัน สถิติการบริโภคปลาและอาหารทะเลของคนเยอรมัน คือ 13.7 กิโลกรัมต่อประชากร 1 คน และมีแนวโน้มว่าจะมีสัดส่วนการบริโภคที่เพิ่มขึ้นทุกปี ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมานี้ ปลาทุกชนิดได้ถูกจับขึ้นมาในอัตราความเร็วที่สูงกว่าจนการเกิดและการเติบโตของปลาไม่ทันกับการบริโภค         เมื่อสถานการณ์เป็นอย่างนี้ทางคณะกรรมาธิการยุโรป อียู จึงได้กำหนดมาตรการ และจำกัดปริมาณการจับปลาในทะเลแอตแลนติก เหนือ และแอตแลนติกตะวันออก (North- East Atlantic Sea)  ทะเลเหนือ (North Sea) และทะเลตะวันออก (East Sea) ปริมาณที่กำหนดในการจับมาจากคำแนะนำขององค์กรทางวิชาการระดับนานาชาติอย่าง International Council for the Exploration of the Sea: ICES) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะให้ปริมาณสัตว์น้ำ ฟื้นตัวได้ทันก่อนปี 2020 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่คาดว่าไม่สามารถบรรลุได้ทันตามคำคาดการณ์ของที่ปรึกษานโยบายการประมงของสหภาพยุโรป องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF)1         (1https://www.test.de/Ratgeber-Fischkauf-Arten-schuetzen-Qualitaet-erkennen-1746195-0/) มีปลาหลายชนิดที่องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง กรีนพีซและWWF แนะนำให้ผู้บริโภคสามารถรับประทานได้ และบางชนิดควรหลีกเลี่ยง เพราะจะไปสนับสนุนการจับปลาแบบทำลายล้าง ซึ่งได้ทำเป็นคู่มือ2 และ application ให้กับผู้บริโภคที่ใส่ใจในเรื่อง การบริโภคที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (2https://issuu.com/greenpeacede/docs/greenpeace_fischratgeber_2016)         ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สร้างผลกระทบกับปริมาณปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเล ก๊าซเรือนกระจกส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และเกิดสภาพความเป็นกรดมากขึ้นส่งผลให้ปะการังตาย ซึ่งปะการังเป็นแหล่งอาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตในทะเลที่สำคัญ การตายของปะการังเป็นสัญญาณเตือนภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นกับระบบนิเวศน์ในทะเล และแน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อปริมาณอาหารของมนุษย์ที่มีแหล่งกำเนิดจากท้องทะเลที่ลดลง         การทำประมงแบบ Aqua Culture (การเลี้ยงปลาในทะเล) จะมีบทบาทที่สำคัญในการทำประมงยุคใหม่ จากรายงานล่าสุดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ระบุว่า ปลาที่ขายอยู่ในท้องตลาด ปัจจุบันนี้ครึ่งหนึ่งเป็นปลาที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยง แบบ Aqua Culture และมีอัตราการขยายตัวของการเลี้ยงปลาแบบนี้ ปีละ 6 % การเลี้ยงปลาในทะเลแบบนี้ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการทำลายป่าชายเลนหรือการทำลายสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่จำเป็นในการดำรงชีพของสัตว์น้ำบางชนิด ทำให้เกิดความเสียหายในประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ และ มีปัญหาในด้านสารเคมีตกค้างหรือการตกค้างของยาปฏิชีวนะในสิ่งแวดล้อม         จากกรณีปัญหาเรื่องการประมงนี้ในฐานะผู้บริโภค คงต้องกลับมามีสติและบริโภคทรัพยากรอย่างมีเหตุมีผลและต้องช่วยกันรณรงค์บริโภคทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่ออนุรักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่นี้  เพื่อส่งมอบให้กับลูกหลานของเราต่อไป (แหล่งข้อมูล วารสาร Test 12/2019)

อ่านเพิ่มเติม >