ฉบับที่ 224 กระแสต่างแดน

Shonky Awards 2019        ทุกปีองค์กรผู้บริโภคออสเตรเลีย CHOICE จะประกาศรายชื่อผู้ประกอบการยอดแย่โดยคัดเลือกจากผลสำรวจความเห็น ผลทดสอบผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมเอาเปรียบผู้บริโภค หรือเรื่องร้องเรียนต่อผู้ประกอบการ และในปีนี้ “ผู้โชคดี” ได้แก่...         ·  ห้างออนไลน์ Kogan ที่โฆษณาว่าตนเองเป็น “ผู้นำด้านการบริการลูกค้า” แต่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีกลับมีเรื่องร้องเรียนมากกว่า 300 เรื่อง (เฉพาะในรัฐนิวเซาท์เวลส์) ลูกค้าหลายรายต้องเสียเวลาวุ่นวายอยู่นานกว่าจะได้เงินคืนกรณีที่สั่งซื้อสินค้ามาแล้วเกิดความชำรุดบกพร่อง อดีตพนักงานคนหนึ่งของห้างบอกว่าเคยเห็นยื้ออยู่สามสี่รอบ ทั้งๆ ที่ลูกค้าควรได้เงินคืนตั้งแต่รอบแรก นอกจากนี้บริษัทยังถูก ACCC องค์กรที่ดูแลด้านการแข่งขันฟ้องเพราะถูกจับได้ว่าแอบเพิ่มราคาสินค้าขึ้นร้อยละ 10 ก่อนที่จะทำโปรโมชั่น “ลด 10 เปอร์เซนต์” ...สายช้อปออนไลน์ต้องระวัง         ·  อีกรายคือผลิตภัณฑ์อาหารเช้าสำหรับเด็ก XO Crunch ที่ติดฉลากอวดอ้างว่าเป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับเด็กๆ CHOICE คำนวณแล้วพบว่าถ้าจะกินให้ได้ครบความต้องการของร่างกายของเด็ก ลูกๆ ของคุณจะต้องกินถึง 8 ถ้วย และรับน้ำตาลเข้าไป 62 กรัมหรือ 14 ช้อนชาด้วยและที่น่าสงสัยคือ ผลิตภัณฑ์นี้ได้ “4 ดาวสุขภาพ” มาได้อย่างไร ทั้งที่มีน้ำตาลมากกว่าร้อยละ 22 ความจริงเมื่อคำนวณจากปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายต้องการต่อวัน XO Crunch ควรจะได้แค่ 1.5 ดาวเท่านั้น (ร้อยละ 5 ของพลังงานที่ต้องการต่อวัน)         ·  AMP ที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุนเจ้าดังในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็คว้ารางวัลนี้ไปเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ซับซ้อนเกินเข้าใจว่าทำไมถึงแนะนำให้ลูกค้ายกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เคยมี แล้วขายแผนการคุ้มครองใหม่ให้ด้วยเบี้ยประกันที่สูงขึ้น รายนี้คิดค่าธรรมเนียมการให้คำปรึกษาแพงลิ่วโดยไม่ได้ให้อะไรตอบแทนลูกค้า และฝ่ายที่ได้รับเสียงบ่นจากลูกค้ามากที่สุดคือฝ่ายดูแลกองทุนเงินเกษียณ บริษัทมีบัญชีที่ไม่มีความเคลื่อนไหว AMP Retirement Trust และ Super Savings Trust อยู่ประมาณหนึ่งล้านบัญชี ในปี 2018 เอาไว้กินค่าธรรมเนียมสบายๆ         ·  นอกจากตู้ โต๊ะ เตียงแบบประกอบเอง และสินค้าเครื่องใช้ในบ้านอื่นๆ อิเกีย ยังทำตู้เย็นขายด้วย ทีมทดสอบของ CHOICE ซึ่งทดสอบตู้เย็นมาอย่างโชกโชนพบว่าตู้เย็นรุ่น Nekyld ของเจ้านี้มีข้อบกพร่องมากจนไม่น่าเชื่อ         ตู้เย็นแบบ “มินิมอลลิสต์” นี้ใช้พลังงานมากกว่าที่ระบุบนฉลากประหยัดไฟถึงร้อยละ 8.9 และเพื่อให้ราคาถูก เขาจึงตัดฟีเจอร์ที่ “ไม่จำเป็น” ออกไปหลายอย่าง ส่งผลต่อประสิทธิภาพและทำให้อาหารเสียเร็วขึ้น ตู้เย็นรุ่นนี้ได้คะแนน 39 เต็ม 100 ถ้าเป็นการสอบก็เรียกว่า “ตก” สินะ         ·  โดยรวมแล้วผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพของออสเตรเลียถือว่าไม่คุ้มค่าเงินนัก การสำรวจโดย CHOICE ก็พบว่าผลิตภัณฑ์การเงินที่คนออสซี่กังวลมากที่สุดคือเรื่องนี้ คนรุ่นใหม่ก็ให้ความสนใจซื้อน้อยลง เพราะนอกจากเบี้ยจะสูงขึ้นทุกปี ความคุ้มค่ากลับลดลง มีผู้ประกอบการไม่น้อยที่เสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสิทธิประโยชน์นอกเหนือไปจากที่ทุกคนได้ฟรีอยู่แล้วในระบบประกันสุขภาพ แต่เจ้าที่โดดเด่นจนต้องได้รับรางวัลไปได้แก่ เมดิแบงก์ ที่ขายแผนประกันแบบ “เบสิก” ในราคาที่แพงกว่าแบบ “บรอนซ์” ของเจ้าอื่นๆ         ·  CHOICE ออกตัวชัดเจนให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อประกันสำหรับสัตว์เลี้ยงไว้ก่อน จากการสำรวจกรมธรรม์ประกันสัตว์เลี้ยงเขาพบว่าเงื่อนไข ข้อยกเว้น ข้อจำกัด มันมากมายจนเวียนหัว เช่น ไม่รวมค่าหมอถ้าสัตว์เลี้ยงของเรามีอาการป่วยแบบเดิมซ้ำ หรือไม่รวมค่าตรวจนอกเวลาทำการ ที่สำคัญถ้าจะซื้อก็ต้องซื้อตั้งแต่สัตว์เลี้ยงยังอายุน้อยๆ ซึ่งดูเหมือนต้องเริ่มจ่ายเร็วขึ้นโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าไม่ซื้อไว้ก่อน ก็จะมีข้อยกเว้นมากมายเรื่องสุขภาพของสัตว์ก่อนการทำประกัน ราคาเบี้ยมีตั้งแต่ปีละ 180 ถึง 4,500 เหรียญ (3,700 ถึง 93,000 บาท) และจะเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เลี้ยงอายุมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 ลดโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

        เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักกับคำว่าภาวะโลกร้อน ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนนั้นมีหลายอย่าง เช่น ธารน้ำแข็งละลายทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์ ความเสี่ยงที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง น้ำท่วม และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้น         และการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศของทั่วโลกก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างที่เป็นอยู่         จากการรายงานข่าวเมื่อสิ้นปี 2561 ที่ระบุว่าทั่วโลกมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่า 37,100 ล้านตัน ซึ่งถือว่ามีปริมาณมากที่สุดตั้งแต่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมา และจากข้อมูลจาก Greenpeace เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 รายงานว่าอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมปีนี้สูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยในต้นศตวรรษที่ 19         จะเห็นได้ว่าระบบนิเวศบนโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทุกประเทศทั่วโลกจึงต้องกระตือรือร้นและพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของมนุษย์ในขณะนี้         สำนักพัฒนาธุรกิจ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า CF Calculator ที่มีคุณสมบัติในการช่วยคำนวณข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ หมายถึง ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก) โดยผู้ที่ใช้แอปพลิเคชันนี้จะสามารถทราบถึงปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมประจำวัน และจะทำให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันเรียนรู้ในการเปลี่ยนรูปแบบการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ และเปลี่ยนวิธีการบริโภค เพื่อช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนได้         ภายในแอปพลิเคชันจะให้ระบุพลังงานที่ใช้ในบ้านตั้งแต่ปริมาณของผู้อยู่อาศัยในบ้าน จำนวนหลอดไฟทุกชนิด จำนวนเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้าน รวมถึงพลังงานที่ใช้ในการเดินทางในชีวิตประจำวันและสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละปี โดยจะให้ระบุระยะทางไปกลับและชนิดของรถที่โดยสาร และยังให้ระบุการบริโภคอาหารในแต่ละมื้ออีกด้วยหลังจากนั้นแอปพลิเคชันจะคำนวณข้อมูลออกมาว่าผู้ใช้แอปพลิเคชันมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาในปริมาณเท่าไร และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร เพื่อให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนลดน้อยลง         ที่น่าสนใจมากกว่านี้ก็คือ ถ้าประชาชนคนใดต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีสัญลักษณ์ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน (มีลักษณะเป็นตัว C ตัวใหญ่และเลข 2) ทดแทนการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่ได้ใส่ใจต่อการเกิดภาวะโลกร้อนได้เช่นกัน         ทั้งนี้ขณะนี้ทั่วโลกกำลังพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศแล้วหันมาใช้พลังงานสะอาดและมีความยั่งยืน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น เข้ามาแทนที่ ที่ในทุกด้าน แม้ว่าประชาชนอย่างเราจะเป็นแค่ฟันเฟืองเล็กๆ แต่ก็สามารถช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งถือว่าได้มีส่วนช่วยให้บรรยากาศของโลกดีขึ้นได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 ใบไม้ที่ปลิดปลิว : จากความแตกต่าง...ก่อร่างเป็นความเกลียดชัง

                มนุษย์เราแต่ละคนต่างถือกำเนิดมาและมี “ความแตกต่าง” ระหว่างกันเป็นเรื่องปกติ คนเรามีความแตกต่างกันตั้งแต่รูปร่าง นิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิด ไปจนถึงไลฟ์สไตล์และวิถีปฏิบัติทางสังคมที่ผิดแผกกันไป         อันที่จริงแล้ว ความผิดแผกแตกต่างกันแบบนี้หาใช่จะเป็นปัญหาใดๆ ไม่ จนกว่าความแตกต่างดังกล่าวจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายว่า วิถีปฏิบัติของใครอยู่สูงกว่าใคร อะไรเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับชอบธรรม และอะไรคือความเบี่ยงเบนหรือถูกตีตราว่านอกรีตนอกขนบของสังคม การจำแนกขั้วความแตกต่างซึ่งกลายเป็นข้ออ้างแห่งการเลือกปฏิบัติเยี่ยงนี้ต่างหาก ที่จะนำไปสู่ความเกลียดชังระหว่างมนุษย์ด้วยกัน         ไม่ต่างไปจากชีวิตของ “ชนันธวัช” ที่เป็นประหนึ่งใบไม้ที่แตกยอดอ่อนมาบนความเกลียดชังของผู้เป็นบิดาอย่าง “ชมธวัช” เพียงเพราะเขาเลือกจะมีเพศวิถีที่แตกต่างไปจากที่พ่อคาดหวังจะให้เป็น ชีวิตของชนันธวัชจึงล่องลอยเฉกเช่น “ใบไม้ที่ปลิดปลิว” ห่างไกลไปจากต้นไม้ที่ให้กำเนิดเขาเอง         โครงเรื่องของละคร “ใบไม้ที่ปลิดปลิว” นั้น เริ่มเปิดฉากให้เราได้เห็นภาพของชนันธวัชที่ทบทวนหวนคิดไปถึงความเจ็บปวดที่ฝังตรึงเป็นปมในใจตั้งแต่วัยเยาว์ เพราะแม้เพศธรรมชาติจะเป็นชายโดยกำเนิด แต่หัวใจอันเป็นหญิงที่หลบเร้นอยู่ก็ทำให้เขาปฏิเสธเพศทางกายภาพที่ฟ้าลิขิตเป็นโครโมโซมมาให้กับตน         ยิ่งเมื่อภาพในอดีตฉายให้เห็นตัวละครชนันธวัช ซึ่งเติบโตมาในบรรยากาศที่คนใกล้ชิดในครอบครัวมีท่าทีรังเกียจต่อเพศสภาพที่เขาเลือกจะเป็น เช่นที่ “รังรอง” ผู้เป็นอาสาวแท้ๆ ได้กล่าวว่า “อะไรก็ได้ ขออย่าให้เป็นกะเทยก็พอ” หรือแม้กระทั่งชมธวัชผู้เป็นพ่อก็มักพูดจาดูถูกลูกชายของตนด้วยวลีสั้นๆ ว่า “อีกะเทย” การถูกกระทำทั้งกายวาจาและใจเยี่ยงนี้เองได้สั่งสมเป็นบาดแผลในจิตใจของชนันธวัชมาตั้งแต่วัยเยาว์        แม้ชมธวัชจะได้ชื่อว่าเป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อเสียงและฐานะมั่งคั่งด้วยสินทรัพย์นับพันๆ ล้าน แต่ความสำเร็จในกิจการค้าขายบ้านในฝันให้กับคนอื่นๆ ก็ย้อนมาเสียดสีตัวเขาเองว่า สำหรับสถาบันบ้านที่เขาเป็นผู้ถือครองในฐานะหัวหน้าครอบครัวจริงๆ นั้น ความเกลียดชังต่อเพศสภาพของบุตรชายก็ทำให้เขาล้มเหลวในชีวิตครอบครัวโดยสิ้นเชิง         ดังนั้น เพื่อหลบหนีไปจากสภาพแวดล้อมแห่งการเลือกปฏิบัติที่พ่อมีต่อตน ชนันธวัชจึงตัดสินใจ “ปลิดปลิว” โบยบินจากบ้านไปใช้ชีวิตยังต่างแดนตั้งแต่เด็ก พร้อมกับ “นิรมล” อดีตนางแบบผู้เป็นมารดา ซึ่งเข้าใจและยอมรับเพศสภาพที่ลูกชายเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอง         และเพราะได้รับแรงสนับสนุนจากมารดา ในเวลาต่อมาชนันธวัชก็ตัดสินใจผ่าตัดแปลงเพศที่ต่างประเทศ เพื่อรื้อสร้างรูปลักษณ์ทางกายภาพให้กลายเป็นสาวสวยในชีวิตเพศสภาพที่เลือกเอง รวมทั้งเปลี่ยนชื่อเสียงเรียงนามเสียใหม่ว่า “นิรา คงสวัสดิ์” เพื่อปกปิดและลบเลือนปมบาดแผลจากอดีตที่มีอยู่เดิม         แต่อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะได้เริ่มต้นชีวิตและอัตลักษณ์ทางเพศแบบใหม่ นิราก็ต้องสูญเสียมารดาในอุบัติเหตุรถคว่ำ โดยที่ส่วนหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิตก็มาจากชมธวัชที่ยังตามคุกคามเธอกับแม่อีกเช่นกัน         ภายใต้แรงขับที่มาจากการบีบคั้นของบิดาและการสูญเสียมารดาที่คอยยืนเคียงข้างนิรามาตลอด ละครได้ให้คำอธิบายว่า เฉพาะร่างทางกายภาพของคนเราเท่านั้นที่อาจจะ “รื้อถอน” และ “สร้างใหม่” ให้ต่างไปจากเพศโดยกำเนิดได้ แต่ทว่า กับบาดแผลความเกลียดชังที่ฝังลึกอยู่ในห้วงจิตไร้สำนึกของมนุษย์อย่างนิรานั้น หาใช่จะเป็นไฟล์ที่ถูกลบทิ้งไปจากโปรแกรมความทรงจำได้โดยง่าย         ด้วยเหตุดังกล่าว นิราจึงตัดสินใจกลับมาเมืองไทย มาแก้แค้นบิดาและอาผู้หญิงเพื่อชดเชยความเจ็บปวดและความสูญเสียต่างๆ ที่เธอได้รับมาในชีวิต พร้อมกับเสียงก้องที่อยู่ในห้วงคำนึงและหยาดน้ำตาของตัวละครว่า “ทุกคนจะต้องได้รู้ว่าความเจ็บปวดมันเป็นเช่นไร...ทุกคนต้องได้รู้ว่าเราเจ็บปวดแค่ไหน...”         พลันที่กลับมาถึงเมืองไทย นิราก็มาเริ่มต้นอาชีพเป็นช่างแต่งหน้าหญิง ก่อนที่ภายหลังเธอจะหันเหมาเป็นดารานางแบบที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง แต่ไม่ว่าจะเป็นช่างแต่งหน้าหรือนางแบบ ก็มีนัยสะท้อนตัวตนของหญิงข้ามเพศแบบนิราซึ่งมีสองด้านในความเป็นมนุษย์ ที่มีทั้งหน้าฉากและหลังฉาก มีด้านที่เปิดเผยและปกปิด และมีด้านที่เจ็บปวดภายใต้ใบหน้าที่ถูกตกแต่งหรือท่วงท่าเดินเหินอยู่บนเวทีแคทวอล์กนั้น         และที่สำคัญ การได้กลับมาพบกับ “ชัชวีร์” อาเขยที่เป็นรักแรกในวัยเด็กของชนันธวัช และค่อยๆ ก่อกลายมาเป็นรักครั้งใหม่ของนิรา ซึ่งต้องคอยปิดบังอำพรางเพศทางกายภาพอันแท้จริงของตน ก็คือความขัดแย้งระหว่างเหรียญสองด้านที่มีทั้งต้องปกปิดแต่ก็รอคอยวันเปิดเผยความลับของตัวละครนั่นเอง         ในเวลาเดียวกัน เพราะ “ความแตกต่าง” เคยถูกใช้เป็นกลไกและอำนาจความชอบธรรมที่ใช้เลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีเพศวิถีเบี่ยงเบนไปจากขนบจารีตที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับ ดังนั้น คู่ขนานไปกับการปลูกต้นรักครั้งใหม่ของนิรากับชัชวีร์ อีกด้านหนึ่งเธอก็เดินเกมให้ท่ายั่วยวนชมธวัช โดยที่เขาก็ไม่รู้ระแคะระคายเลยว่านิราตัวจริงก็คือบุตรชายแท้ๆ ที่ผ่าตัดแปลงเพศมาแล้ว          กระทั่งมาถึงจุดพลิกผันสุดขั้นของเรื่อง เมื่อนิราจัดฉากให้ชมธวัชถูกมอมยาและเข้าใจผิดว่าเขาได้มีความสัมพันธ์เกินเลยกับกะเทย ผู้ชมก็ได้เห็นภาพการกรีดร้องอย่างคับแค้นของผู้ชายคนหนึ่งอย่างชมธวัชซึ่งถูกเหยียบย่ำความเป็นบุรุษเพศ โดยผู้ชายอีกคนที่มีเพศสภาพเป็นกะเทยซึ่งเขาทั้งแสนจะเกลียดและกลัว         แต่ในทางกลับกัน ฉากการกรีดร้องข้างต้นก็สะท้อนให้เห็นด้วยว่า ในขณะที่ชมธวัชเคยใช้ความเกลียดชังเป็นอำนาจกดทับบุตรชายที่มีความแตกต่างทางเพศวิถีมาก่อน แต่เพราะอำนาจไม่เป็นปฏิบัติการที่ “ไม่เข้าใครออกใคร” นิราจึงได้แปลงความเกลียดชังดังกล่าวมาย้อนเป็นอำนาจที่จะให้บทเรียนว่า ความเกลียดกลัวในจิตใจนั้นไม่เคยให้คุณกับผู้ใดได้จริงๆ                  จนมาถึงฉากโศกนาฏกรรมที่นิรากระทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อความลับเรื่องเพศสภาพถูกเปิดเผยมาในตอนจบ โดยมีตัวละครรอบข้างถูกดึงมารับรู้สถานการณ์ดังกล่าว ละครโทรทัศน์ก็ได้สรุปเป็นนัยๆ ว่า ความเกลียดชังเพียงเพราะวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันของคนเรา ไม่เพียงแต่จะสร้างบาดแผลให้กับผู้ที่ถูกเกลียดกลัวเท่านั้น หากแต่ยังมาซึ่งความเจ็บปวดในใจของผู้ที่เลือกปฏิบัติความเกลียดชังต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน                  และแม้ภายหลังนิราจะรอดพ้นจากความตาย พร้อมกับมีเสียงก้องความในใจที่กล่าวว่า “…ก่อนที่คนเราจะตาย เราจะรู้สึกว่าชีวิตมีค่ามาก ในนาทีที่ทุกอย่างกำลังจะดับลง เราจะอยากกลับไปทำทุกอย่างให้ดีที่สุด อยากกลับไปยกโทษให้คนที่เราเคยโกรธเคยเกลียด...” แต่นั่นก็เป็นเสียงก้องเพื่อสะท้อนย้อนคิดไปด้วยว่า หากมนุษย์จะลดละเลิกความเกลียดชังต่อเพศวิถีหรือวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันได้ตั้งแต่ฉากเปิดเรื่อง เราก็คงไม่ต้องรอให้ตัวละครมายกโทษให้อภัยกันและกันในฉากจบเช่นนี้หรอก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 กว่าจะมาเป็นเรื่องราวของภาษีความหวาน

               การจัดเก็บภาษีจากค่าความหวาน ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมานั้น พบว่าผู้ประกอบการที่ไม่ปรับตัวหรือปรับลดปริมาณความหวาน ตามที่กำหนด ต้องรับภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นทุก 2 ปี (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 และ 1 ตุลาคม 2566) เช่น ปัจจุบันเสียภาษี 50 สตางค์ต่อลิตร หากไม่ปรับตัว จะเสียภาษีเพิ่ม 1 เท่าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีผู้ประกอบการทยอยปรับตัวไปบ้างแล้ว ทำให้ภาระภาษีลดลง แต่บางรายปรับราคาเพิ่มตามต้นทุนที่เพิ่มด้วย ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และผู้อำนวยการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ย้อนความให้ฉลาดซื้อฟัง ก่อนมาเป็นเรื่องภาษีน้ำตาล        เราเริ่มดูสถานการณ์การบริโภคของคนไทยมาตั้งแต่ปี 2548 แล้วเข้าไปสืบค้นข้อมูลว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลอย่างไร เราเห็นว่าตั้งแต่ปีนั้นที่เราไปสืบค้นข้อมูลได้ ตลอดระยะเวลาในช่วงนั้นเราเห็นว่าอัตราการบริโภคน้ำตาลของคนไทยจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นธรรมดาเพราะบ้านเราเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลของโลก อ้อยและน้ำตาล เพราะฉะนั้นเนื่องจากว่าตนเองเป็นทันตแพทย์ ก็เริ่มกังวลเพราะว่า เราคุมเรื่องอัตราการเกิดโรคฟันผุไม่อยู่แล้ว         ในขณะเดียวกันเรื่องอ้วนก็เริ่มเป็นปัญหาเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็คุยกับทางนักโภชนาการกับกุมารแพทย์ว่า ถึงเวลาที่เราจะต้องมีขบวนการที่จะรณรงค์ใช้มาตรการที่จะทำให้คนไทยลดการบริโภคลงมาได้ ทำเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ.2548 ก่อน 2548 แถวๆ ปี 2546 – 2547 เราก็ค่อยๆ ทำมาเรื่อยๆ ก็เริ่มจากหนึ่งเอาน้ำตาลออกจากนมสูตร 2 ซึ่งเราก็โชคดีที่ทาง อย. ตอนนั้นก็ให้ความร่วมมือกับเรา แล้วก็ออกประกาศเรื่องนี้ให้เราด้วย แล้วก็เป็นระเบียบฉบับแรกที่เราแก้ไขเชิงนโยบาย         เรารู้มานานแล้วว่าแหล่งบริโภคของน้ำตาล แหล่งรับน้ำตาลของคนไทยเรามาจากเครื่องดื่ม รู้มานานแล้วจากการที่เราเฝ้าดูการบริโภคเพียงแต่ว่ามาตรการที่เราจะดำเนินการคือ เราเห็นว่าหนึ่งเริ่มจากเด็กไม่ให้ติดหวาน สองคือเราจะจัดการอย่างไรให้สิ่งแวดล้อมนั้นเอื้ออำนวยให้คนเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรืออะไรก็ได้ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเราก็พยายามใช้กลไกการรณรงค์ ตั้งแต่ดูว่าจะทำอย่างไรกับ setting ของโรงเรียน เพราะเรามีข้อมูลว่าเด็กไทยตอนนั้นก็ดื่มน้ำอัดลม เอาแค่เฉพาะน้ำอัดลมนั้นอยู่ที่ประมาณ 250 ซีซีต่อวัน ในน้ำอัดลมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคประมาณ 250 ซีซีที่ว่าจะมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 10-15 ช้อนชาแล้วแต่รสชาติของมัน         ก็เริ่มต้นว่าจะทำอย่างไรที่จะขอความร่วมมือจากโรงเรียนในการจัดการ คือพยายามให้มีเรื่องโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมขึ้นมา ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างมากจากกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี 2550 มีนโยบายออกมาแต่ค่อยๆ ทำมาเรื่อย ยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมันเป็นนโยบายที่ประกาศเฉยๆ ไม่ได้ออกเป็นกฎ ซึ่งยากมากที่จะไปออกเป็นกฎระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ตอนนั้นเรายังไม่สำเร็จเรื่องนี้ แต่ว่าเราก็ทำต่อเนื่องมา ถัดมาก็ทำเรื่อง Healthy Meetings ที่พูดมาทั้งหมดนี้ คือมาตรการที่ไม่เกี่ยวกับภาษีหมดเลย เราคิดว่าเราก็ค่อยๆ ทำไปเป็นกระบวนการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทย พร้อมๆ กันก็มีกระบวนการสื่อสารให้ความรู้อย่างทั่วถึงเรื่องของน้ำตาลที่มากเกินไป  เริ่มต้นด้วยการทบทวนวรรณกรรม มีนักวิชาการช่วยเราทบทวนเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นอย่างไรตั้งแต่ปี 2552         หลังจากปี 2553 ตอนนั้นได้มติสมัชชาสุขภาพเรื่องโรคอ้วน ซึ่งหนึ่งในมตินั้นก็มีการพูดถึงในเรื่องของโรคอ้วนในเด็ก เรื่องของน้ำอัดลม เรื่องของการจัดการด้วยระบบของภาษี พอเป็นตรงนี้เราก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการ ได้โอกาสได้ทีมงานมาเพิ่มขึ้นเป็นนักวิชาการในส่วนของมูลนิธิ ISBP ระหว่างประเทศเขามาช่วยเรา แนวคิดเก็บภาษีน้ำตาลเริ่มขึ้นตอนไหน         ประมาณปี 2552-2553 ปี 2553-2554 อาจารย์เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขจากจุฬาฯ มาช่วยเราดูมันมีกระบวนการทางภาษีจะกระทบกับเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ก็มีการสำรวจ ล่าสุดเลยที่เราใช้การขับเคลื่อนตัวนโยบายก็คือ เราสำรวจว่าคนไทยอายุ 10 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมดื่มน้ำอย่างนี้อย่างไร แล้วเขามีแนวโน้มจะเปลี่ยนพฤติกรรมไหม สิ่งที่เราพบจากการสำรวจก็คือว่า สำหรับคนไทยเราแล้ว หากราคาต้องปรับขึ้นไปประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์สำหรับคนที่ดื่มพวกนี้เป็นประจำเขาจะเปลี่ยน คือคิดที่จะดื่มอย่างอื่นแทน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ตอบมาเขาคิดจะเปลี่ยนไปดื่มน้ำเปล่าซึ่งอันนั้นดี        แล้วก็เป็นจังหวะที่โชคดีที่ตอนนั้นมีสภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้นมาแล้ว ซึ่งมีคณะกรรมการปฏิรูปด้านการเงินการคลังสาธารณสุข มีอาจารย์แพทย์หญิงพรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์ เป็นประธาน เครือข่ายมีการรณรงค์ต่อเนื่องท่านก็ได้ทราบข่าวสาร ท่านได้ทราบถามว่าใครกำลังทำเรื่องนี้(ภาษีน้ำตาล) ก็เลยเรียกว่าโอกาสเปิด ทางอาจารย์พรพันธุ์ท่านแอคทีฟ(active) มาก พูดว่าเรื่องนี้ต้องทำให้สำเร็จ        ตั้งแต่ปี 2559 ที่เริ่มต้น เราก็ได้ข้อเสนอออกมาจากทาง สปช.หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติให้ทำเรื่องนี้เข้าไป รอว่ากระทรวงสาธารณสุขจะว่าอย่างไร พอดีท่านอาจารย์แพทย์หญิงพรพันธุ์ กลับมาใหม่ในหน้าที่และตำแหน่งเดิมท่านก็ตามเรื่องนี้ต่อ  ประมาณเดือนเมษายนปี 2559 ก็เร็วมาก เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมเขาโต้แย้งเยอะแล้วทางสภาปฏิรูปเองก็ให้โอกาสทุกภาคส่วนจัดประชุมในชุดเดียวกันเลย สิ่งที่พบเจอก็คือว่าข้อมูลเป็นชุดเดียวกัน เขาเองก็รู้ว่าคนไทยนั้นได้น้ำตาลมาจากแหล่งนี้มากที่สุด(เครื่องดื่ม) เพียงแต่เขาก็รู้สึกว่าตัวนี้ไม่ใช่คำตอบที่จะทำให้คนลดอ้วน หรือลดโรค NCDs ได้ แต่เราบอกว่าตัวนี้มันเป็น good buy คือเป็นมาตรการแนะนำขององค์การอนามัยโลกเลยนะ ซึ่งทั่วโลกเขาพยายามทำแล้วให้ผลค่อนข้างจะมาก จึงได้มีกระบวนการพูดจา เจรจากัน ทำความเข้าใจกันทั้งหมดแล้วก็ผ่านขั้นตอนในการออกกฎหมาย แล้วก็ผ่านไปจนผ่าน ครม. จนไปผ่านสภาปฏิรูปเพื่อที่จะกลับไปที่ ครม.ใหม่ สุดท้ายกฎหมายฉบับนี้มันก็เลยสามารถออกมาได้ เพราะว่ามันก็ถูกใส่เข้าไปแก้ไขได้เลยใน พ.ร.บ.สรรพสามิตฉบับปี พ.ศ. 2560 ซึ่งเขาจะประกาศใช้        ต้องบอกว่าเครือข่ายโชคดี อาจจะโชคดีเนื่องจากว่าเราก็พยายามทำข่าวอย่างต่อเนื่อง นิตยสารฉลาดซื้อก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ช่วยเราในการเคลื่อนข่าว เราก็ออกข่าวเป็นระยะๆ ได้ทั้ง ศ.เกียรติคุณพญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ พากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมาช่วยออกข่าว เราก็ได้ติดต่อทางองค์การอนามัยโลกประเทศไทยให้มาช่วยให้ข่าวด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่องค์การอนามัยโลกยอมออกมาพูดเรื่องเหล่านี้ หลังจากนั้นพอมีกระบวนการเหล่านี้ ก็มีข้อต่อรองจากทางอุตสาหกรรมขอเวลา 5 ปี ในการปรับตัวซึ่งเราไม่ยอม ทางเราก็บอกว่า 5 ปีนานไปเพราะว่า 5 ปีนั้นไม่รู้ว่าคนไทยจะเป็นเบาหวานไปอีกนานเท่าไหร่ เด็กจะอ้วนไปอีกเท่าไหร่มันเพิ่มไปเรื่อยมันไม่ลดสักทีเราก็บอกไม่ได้        “ทางกระทรวงการคลังเอง สรรพสามิตเขาก็เลยบอกว่าเอาอย่างนี้ละกันไม่ต้องมี 5 ปีไม่ต้องมี 10 ปี เขาจะประกาศทันที แต่เขาจะพยายามจัดระบบการจัดเก็บตามแนวทางที่เราเสนอ เพราะเราทำข้อเสนอว่าให้จัดเก็บเป็นอัตราก้าวหน้า สำหรับปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในเครื่องดื่มให้จัดเก็บเป็นอัตราก้าวหน้า เขาบอกเขาจะจัดเก็บอัตราก้าวหน้า แต่ว่าระดับเปอร์เซ็นต์เป็นเท่าไหร่เขาขอพิจารณาเอง เราได้เท่านี้เราก็โอเคแล้วละค่ะ”         สรุปออกมาเป็นข้อตกลงร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนของกระทรวงการคลังเองที่จะดูเรื่องนโยบาย เขาก็ทำอัตราภาษีมาให้เห็นเมื่อภาษีสรรพสามิตประกาศก็เกิดขึ้นทันที แต่ว่าสองปีที่ผ่านมาคือปี 2561 และ 2562 อัตราภาษีที่ขึ้นน้อยมาก การขึ้นน้อยก็เป็นการให้ภาคอุตสาหกรรมตื่นตัว ขึ้นน้อยมากแทบไม่กระทบต่อราคา ถ้าเราสังเกตนะคะเขาขึ้นน้อย เพราะจริงๆ เป็นช่วงปรับตัวให้คุณ แล้วก็มาขึ้นที่ระยะที่ 2 ซึ่งเริ่มมาแล้วเมื่อวานนี้ (วันที่ 1 ตุลาคม)        ระยะที่ 2 นี้ถ้าไปสังเกตอัตราภาษีจะขึ้นเท่าตัวเลย ซึ่งรอบนี้คือการขึ้นจริงแล้ว แต่ว่าถ้าถามโดยส่วนตัวยังรู้สึกว่า เรายอมเขาเพราะว่าเรายอมเขาส่วนหนึ่ง เราขอเขาที่ 6 เปอร์เซ็นต์น้ำตาลในการเริ่มอัตราจัดเก็บ แต่อุตสาหกรรมขอต่อรอง เราก็มาสรุปจบกันที่ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรอบนี้ยัง 10 เปอร์เซ็นต์น้ำตาลอยู่นะคะ เพราะฉะนั้นเรายังมีระยะที่ 3 อีก หมดปี 2564 จะขึ้นระยะที่ 3 ซึ่งระยะที่ 3 นั้นใครที่ยังคง 10 เปอร์เซ็นต์จะถูกเก็บมากขึ้นไปอีกเท่าตัว เพราะฉะนั้นเราก็ได้ข้อเสนอตามที่เราเสนอจริงๆ คือเปอร์เซ็นต์น้ำตาลปี 2564 เป็นต้นไป โดยรวมสถานการณ์ปัจจุบันก็เป็นแบบนี้ ตอนที่คุยกับภาคอุตสาหกรรมเขามีท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างไร         เขาพอจะรู้กระแสนี้มานานแล้วว่าเราทำเรื่องนี้แน่แล้ว เขาก็จับตามองเครือข่ายคนไทยไม่กินหวานมานานแล้ว เพราะเราไม่ได้เพิ่งทำเรื่องนี้เรื่องแรก สิ่งที่เราเป็นกังวลก็คือว่า เขาจะมีข้อมูลชุดอื่นที่มันพิเศษไปกว่าเราไหม หรือแหล่งข้อมูลอะไรที่มันมากกว่าเราไหม ปรากฏว่าทุกคนก็ใช้แหล่งข้อมูลชุดเดียวกัน ตัวเลขที่ได้จากฝั่งที่เราคำนวณกับจากฝั่งที่เขาได้ก็ไม่ได้ต่างกัน เขารู้อยู่แล้วว่าน้ำตาลไปจากตรงนี้มากที่สุดแล้วสำหรับทั่วโลก จริงๆ คนเราวันหนึ่งๆ ได้น้ำตาลจากเครื่องดื่มมากที่สุด        เพราะฉะนั้นคุยกับเขาแบบตรงๆ ว่าเราคาดหวังที่จะให้อะไรเกิดขึ้นบ้าง ถ้ามีการขึ้นภาษีน้ำตาลจริงๆ ก็คือว่าเราคาดหวังว่าจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มันดีต่อสุขภาพ healthy มากขึ้น จะสอดคล้องกับเรื่อง Healthy Choice ที่เราช่วยกันทำ เราต้องการให้ผลิตภัณฑ์ดีขึ้น มีส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น คนมีโอกาสเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพราะธรรมชาติมนุษย์เห็นอะไรเยอะก็ซื้ออย่างนั้น การตลาดดีก็ซื้ออันนั้น ระยะยาวก็จะสามารถเปลี่ยนได้เอง เราคาดหวังข้อแรกคือเรื่องนี้ เรื่องที่สองที่เราบอกเขาก็คือว่าถ้าคุณไม่อยากโดนเก็บภาษี คุณก็มีวิธีการเดียวคือคุณต้องปรับสูตร ถ้าคุณไม่ปรับสูตรคุณก็ลดขนาดลง จากเดิมเคยขาย 325 มล. คุณก็ลดลงให้แพคเก็จลดลง ฟังก์ชันเล็กลง คนก็กินน้อยลง เพราะว่าข้อมูลเรามีนะคะ คนบริโภคเขาซื้อเป็นแก้ว เป็นขวด เป็นกระป๋อง เหมือนเราซื้อน้ำเราไม่ค่อยรู้สึกเท่าไหร่ เราเสีย 5 บาทจากเดิม 10 บาทขวดใหญ่มาก ลดลงมาเหลือขวดเล็กก็ไม่ได้ว่าอะไรก็กินหมด แต่ก็ยังไม่เป็นไรก็เพราะว่าเราก็ไม่ได้กินเข้าไปเยอะ เพราะฉะนั้นคุณก็มีทางเลือกขนาดเป็นขวด คุณก็จะเสียภาษีน้อยลงก็คุยกันว่าแบบนี้ เพราะว่านั่นคือสิ่งที่เราอยากได้ เสียงจากผู้บริโภคทั่วไป        ถ้าโดยรวมช่วงที่เราทำเราไม่ค่อยได้รับกระแสต้านแบบตรงๆ แต่มีตั้งกระทู้ใน pantip ว่าให้คนช่วยดู ซึ่งก็ไม่ได้แรงมาก ไม่มีการออกมาเดินขบวนหรืออะไรทั้งสิ้น น้ำตาลที่บอกจะมีผลกระทบแทบไม่กระทบเลยค่ะ แล้วเราก็ชี้แจงให้เห็นด้วยว่าใครเข้าใจเรื่องของโควต้าน้ำตาลในประเทศ การทำตรงนี้บางทีอาจจะไม่ได้กระทบเชิงลบด้วย บางทีเขาก็ได้ประโยชน์ด้วย ซึ่งจริงๆ ส่วนตัวก็ไม่ได้เข้าใจเรื่องพวกนี้เยอะแต่วันนั้นเขาอธิบายให้ฟัง เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ได้กระทบเราเลย สังเกตว่ามาตรการนี้พวกอ้อยและน้ำตาลไม่ได้รุกมาต่อต้านเท่าไหร่ เพราะเราเชิญเขามาประชุมด้วยค่ะ เขาอยู่ในคณะกรรมการเราด้วย สิ่งที่ตกลงกันทำก็คือทางภาคอุตสาหกรรมเขาจะพยายามช่วยให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งลดน้ำตาล สัญญาเป็นแต่ละปีเลยว่ากี่ SBU กี่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งสองปีผ่านไปเขาทำได้ดีมากนะคะ เขาทำได้มันมีผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาในท้องตลาดมากกว่าที่ตั้งใจเกือบ 200 เปอร์เซ็นต์จากเดิม ถ้าเราไปสังเกตในท้องตลาดเดี๋ยวนี้แม้กระทั่ง 3 in 1 เขาก็เริ่มบอกให้ลดลงมา        นอกจากนี้ข้อมูลที่ออกมาจากการสำรวจพบว่า คนก็ยังเลือกเครื่องดื่มแบบสำเร็จรูปเยอะกว่าอยู่ดีเพราะว่าจริงๆ คนไทยไม่ได้รวย การดื่มเครื่องดื่มแบบแก้วจริงๆ ราคามันแพงนะคะ ณ ขณะนี้เราก็มีโพลล์ เราก็พยายามรณรงค์ให้คนสั่งเครื่องดื่มเวลาคุณไปสั่งเป็นแก้วที่เป็นไซส์ทั้งหมดว่า “คุณต้องสั่งหวานน้อยหรืองดน้ำตาล” เราก็มีโพลล์ของเราเป็นระยะล่าสุดเพิ่งเก็บกันเองเมื่อสัปดาห์ที่ ในกลุ่มคนทำงานเริ่มมีการสั่งแบบหวานน้อย อ่อนหวานลงบ้างไหม เราได้ตัวอย่างมาไม่มากประมาณ 1,138 คน ส่วนใหญ่เป็นคนทำงาน ประชาชนทั่วไปจริงๆ 83 เปอร์เซ็นต์ตอบว่าตัวเองรู้และเริ่มสั่งให้เติมน้ำตาลน้อยลงหรือสั่งอ่อนหวาน ซึ่งจริงๆ อันนี้เป็นผลกระทบจากกระแสข่าวของเรื่องภาษีน้ำตาล ทำให้เขาเริ่มรู้ว่าการกินน้ำตาลเยอะมันไม่ดีอย่างไร        ตอนนี้ในส่วนของเครือข่ายเองเราก็หันมาทำข้อมูลเผยแพร่ โดยในแต่ละจังหวัดทำเป็นร้านกาแฟอ่อนหวาน ซึ่งเขาจะขึ้นเลยสูตรเมนูน้ำตาลของเขาสูตรไหนน้ำตาลเท่าไหร่ หรือถ้าคุณอยากสั่งหวานขั้นที่ 1 น้ำตาลเท่าไหร่ หวานขั้นที่ 2 น้ำตาลเท่าไหร่  มีมากเลยหลายจังหวัด อย่างที่สิงห์บุรีเขาลงทุนทำ Map คล้ายๆ Google Map ให้ดูว่าจะไปหาได้ตรงไหน ซึ่งเรื่องนี้เราทำมานานมากแล้ว ในเครือข่ายพยายามมี connection กับร้านกาแฟ ตอนนี้กรมอนามัยลุกขึ้นมาทำตรงนี้เป็นนโยบาย ก็ทำเป็นกลุ่มร้านกาแฟ คือเป็นประเด็นเรื่องของการลดน้ำตาลซองที่ชาวบ้านเติมเอง จากเดิมที่มาตรฐานคนไทยเราจะใช้กันอยู่ที่ซองละ 6 กรัม เราขอให้เป็นแค่ 4 กรัม ซึ่งมีร้านกาแฟที่เข้าร่วมกับเราอย่าง แบล็คแคนยอน อเมซอน ณ ขณะนี้จะวางซองแค่ 4 กรัม หรือไม่เขาก็ไม่วางซองเลย ก็ลดไปโดยไม่รู้ตัว ลดไปแล้วทันที 25 เปอร์เซ็นต์ หรือรู้ตัวโดยการต้องตักเอง เขาก็ไม่แจกเป็นซองให้ลูกค้าตักเอง ร้านกาแฟเราส่วนใหญ่ที่ไม่ใช้ซองขนาด 4 กรัม เขาก็ให้ตักเอง ข้อมูล Website www.sweetenough.in.th  , Facebook ชื่อเพจ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 การซื้อขายออนไลน์(ทั่วโลก) ต้องเป็นมิตรกับผู้บริโภค

   จากการติดตามดูนโยบายเรื่องการซื้อสินค้าออนไลน์ของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี มีการนำเสนอหลักการ 3 ข้อ        ·    การซื้อขายสินค้าออนไลน์ ผู้บริโภคต้องได้รับการคุ้มครองไม่น้อยไปกว่าการซื้อของแบบออฟไลน์        ·    กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคของอียู จำเป็นต้องคงไว้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่ เพิ่มความคุ้มครองให้กับผู้บริโภค        ·    ความปลอดภัยของสินค้า เป็นนโยบายที่สำคัญอันดับแรก ในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างชาติ         สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอด ในเวทีการค้า WTO ของสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนจากรัฐบาล 76 ประเทศ ซึ่งมีกลุ่มประเทศ อียู เข้าร่วมเพื่อพิจารณา รอบการเจรจาการค้าระหว่างชาติ ว่าด้วยข้อตกลงการค้า e commerce โดยเป้าประสงค์ของกลุ่มอียู คือ เสริมสร้างสิทธิแก่ผู้บริโภค มีสิทธิในการกำหนดมาตรฐานของตนเองและขยายวงเวทีในการเจรจาต่อรองในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค         ซึ่งผลการเจรจาการค้าในครั้งนี้จะส่งผลต่อผู้บริโภคทั่วโลก เนื่องจากการเจรจาการค้ารอบนี้จะมีกฎเกณฑ์ระเบียบการค้าออนไลน์ เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำธุรกรรมการซื้อขายออนไลน์ ด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในการทำธุรกรรมออนไลน์ทั่วโลกนั้น มีมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต่ำกว่าเกณฑ์ของมาตรฐาน อียู ยกตัวอย่างผู้บริโภคที่ไม่ได้อยู่ในอียู ซื้อสินค้าออนไลน์และได้รับสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่องหรือเกิดปัญหาในขั้นตอนการส่งมอบสินค้า ส่งผลให้ ผู้บริโภคได้รับความยากลำบากในการเรียกร้องสิทธิ ในการคืนสินค้า หรือสิทธิในการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น และบ่อยครั้งที่ผู้บริโภคประสบปัญหา กรณีได้รับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยจากประเทศต้นทางสินค้านอกอียู ผลการศึกษานี้ เผยแพร่โดยวารสารผู้บริโภค Which ? ของประเทศอังกฤษ        ผู้แทนการเจรจาประเด็น e commerce ของ กลุ่มประเทศอียู ได้วางเป้าหมายการเจรจา โดยเน้นไปที่ 4 ประเด็นสำคัญ คือ        ·   มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีกว่า ในการค้าระบบ e commerce ในระดับนานาชาติ        ·   การคงไว้ของมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในอียู        ·   การมีกลไกในการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และ        ·   การต่อสู้กับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ที่โฆษณา Online         อย่างไรก็ตามการเจรจาการค้าในประเด็นนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่เช่นกัน ซึ่งในมุมมองของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคในอียู เห็นว่ายังมีอีกหลายประเด็น ที่ยังไม่ได้มีการบรรจุไว้ในวาระการเจรจาในประเด็นที่สำคัญๆ หลายประเด็น ได้แก่ เรื่อง Artificial Intelligence(ปัญญาประดิษฐ์) Cybersecurity(ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์) Data Protection(การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) Data Transfer(การส่งผ่านข้อมูล) และ Network Neutrality(ความเป็นกลางของระบบเครือข่ายเชื่อมต่อข้อมูล)         ตัวอย่างล่าสุดคือ การตกลงการค้าระหว่าง สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้นำไปสู่การใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในการควบคุมและเฝ้าระวังการค้าแบบดิจิทัล(Digital Trade) ซึ่งประเด็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการควบคุมและเฝ้าระวังการค้าในรูปแบบ Digital Trade เพิ่งจะเริ่มต้นอภิปรายสาธารณะในกลุ่มประเทศอียูเท่านั้น และจุดยืนขององค์กรผู้บริโภคอย่างสหพันธองค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีนั้น เห็นว่าข้อตกลงในการเจรจาทางการค้า ไม่ควรที่จะใช้มาเป็นข้ออ้างในการจำกัด หรือละเลยมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีประเทศไทย        เมื่อย้อนกลับมาดูปัญหาของผู้บริโภคในบ้านเราในการซื้อสินค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถูกหลอกลวง และการถูกฉ้อโกง การได้รับสินค้าที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ครบถ้วน ส่งมอบสินค้าผิดจากที่ตกลงสั่งซื้อ ปัญหาบริการหลังการขาย ปัญหาการโฆษณาเกินจริง เป็นเท็จหรือ ผิดกฎหมาย และปัญหาผู้บริโภคขาดความรู้ ฯลฯ ทางคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีข้อเสนอ “การกำกับตลาดออนไลน์ให้เป็นธรรม” ไปยังหน่วยงานภาครัฐ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น สำนักงานพัฒนาธุรกกรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตลอดจนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปแล้วนั้น มีความคืบหน้าหลายประการในการร่วมมือกันทำงาน โดยเฉพาะกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีในการคุ้มครองผู้บริโภคของผู้บริโภคชาวไทย         แต่อย่างไรก็ตามการซื้อขายสินค้าออนไลน์ปัจจุบันเป็นการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้อง ติดตามและเฝ้าระวังการเจรจาการค้าเสรีรอบต่างๆ ที่จะมีขึ้นตามมา ดังนั้นผมคิดว่า ทางองค์กรผู้บริโภคโดยเฉพาะ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นภาคประชาชน จำเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมและรับรู้ ประเด็นต่างๆ ที่จะมีการเจรจาการค้าเสรี ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากการเกิดขึ้นของสภาองค์กรผู้บริโภคขณะนี้ยังอยู่ในช่วงที่ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้   แหล่งข้อมูลเวบไซต์สหพันธองค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (Federation of German Consumer Organizations)https://www.vzbv.de/meldung/online-handel-verbraucherfreundlich-gestaltenวันที่ 24 กันยายน 2562

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 ความเสียหาย 400,000 ล้านบาท ที่เงียบเชียบ

        มูลค่าความเสียหายสูงถึง 400,000 ล้านบาท  ที่รัฐควรจะได้รับประโยชน์จะหายไป หากมีการต่ออายุสัญญาสัมปทานรอบที่ 2  ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยอ้างแลกกับการยุติการฟ้องคดีทั้งที่มีมูลค่าคดีเพียง 4,300 ล้านบาท และการลงทุนทางด่วนชั้นที่ 2 (double deck) ส่วนผู้บริโภคเสียประโยชน์มากมายจากงานนี้ ต้องจ่ายเงินค่าทางด่วนแพงขึ้นทุก 5 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2600          สมาชิกฉลาดซื้อจะช่วยกันหาทางยุติการต่อสัญญาสัมปทานที่อ้างเหตุผล เพื่อให้บริษัทยกเลิกการฟ้องคดี 17 คดี ทั้งที่ทุกคนทราบดีว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีหลักประกันว่า จะสามารถยุติคดีได้จริง ดังกรณีตัวอย่างของกรมทางหลวงกับบริษัทดอนเมืองโทลเวย์ ที่บริษัทยุติคดีแล้ว แต่บริษัทวอลเตอร์ บาว ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดอนเมืองโทลเวย์ได้ฟ้องคดีกรมทางหลวง และคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีคำสั่งให้ประเทศไทยจ่ายเงินจำนวน 29.2 ล้านยูโรเป็นค่าชดเชย พร้อมทั้งค่าละเมิดสัญญาเป็นเงิน 1.98 ล้านยูโร ในปี 2552         นอกจากนี้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา การทางพิเศษฯ ได้ชนะคดี 1 คดี ส่วนคดีที่เหลือมีโอกาสชนะคดี มีคดีที่สู้ได้และควรสู้ หรือหากแพ้คดี ควรหาคนที่กระทำผิดมาลงโทษ          ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ปี 2563 ทางด่วนมหานครทั้งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ของบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้า กรุงเทพจำกัด(มหาชน) หมดสัญญาสัมปทานลง ทรัพย์สินทั้งหลายต้องส่งคืนให้กับการทางพิเศษ ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่สำคัญ จะมีเพียงค่าบำรุงรักษาทางและค่าบริหารจัดการเก็บค่าผ่านทางเท่านั้น การต่อสัญญาสัมปทานใหม่ ควรมีเป้าหมายทำให้ค่าผ่านทางด่วนถูกลงหรือทำให้รัฐได้รับเงินมากขึ้นจากการดำเนินการ          อีกเหตุผลในการขยายเวลาเพื่อลดการลงทุนของรัฐในการก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 โดยความเห็นของกรรมาธิการวิสามัญ ชุดพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน ที่กรรมาธิการให้ขยายระยะเวลาส่วนละ 15 ปี เป็น 30 ปี ทั้งที่การต่อสัญญาสัมปทานควรต่อด้วยวาระปกติ ไม่ควรผูกกับการฟ้องคดี หรือผนวกรวมกับการลงทุนโครงการทางด่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะทำให้รัฐเสียหาย มีอำนาจต่อรองน้อยลงหรือรักษาผลประโยชน์สาธารณะได้จำกัด         ทางออกเรื่องนี้ นอกจากจะต้องยุติการต่อสัญญาสัมปทานทันที การก่อสร้างทางพิเศษ หรือรถไฟฟ้าในอนาคต ควรจะต้องกำหนดให้รัฐเป็นผู้ได้ประโยชน์จากค่าผ่านทางเองทั้งหมด แล้วใช้เงินชำระหนี้ภาคเอกชนในการลงทุนคืน เพื่อป้องกันปัญหาพิพาทหรือฟ้องคดีเรื่องการขึ้นค่าผ่านทางเช่นในอดีตจนถึงปัจจุบัน          กระบวนการยุติธรรมที่ต้องมีระยะเวลาที่ชัดเจน รวดเร็วในการพิจารณาคดี เพื่อลดความเสียหายของทุกฝ่าย เช่น มูลค่าความเสียหายในการฟ้องคดีเมื่อเริ่มต้นมีเพียง 730 ล้านบาท แต่เมื่อคดีถึงที่สุดทำให้มูลค่าความเสียหายรวมดอกเบี้ยสูงถึง 4,300 ล้านบาท        เมื่อไม่มีคนรักษาผลประโยชน์ให้ผู้บริโภค ขณะที่เรามีกฎหมายสภาองค์กรผู้บริโภค ควรเปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้บริโภค เข้าไปมีส่วนร่วม ให้ข้อมูล ข้อคิดเห็นในการดำเนินการเรื่องนี้เพื่อลดความเสียหายต่อผู้บริโภค รวมทั้งรัฐต้องสามารถตอบคำถาม โปร่งใส เอกชนต้องโปร่งใส เปิดเผยสัญญาให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น        ที่สำคัญหากใช้วิธีการแบบนี้ในการขยายสัญญาสัมปทาน อาจมีปัญหาความชอบด้านกฎหมาย และสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการทำสัญญามั่วๆ เพื่อขยายเวลา นับเป็นแนวทางเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนในอนาคตได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 วิ่งเพื่อ เหยื่อรถโดยสาร

        รู้หรือไม่แต่ละปีทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 1.3 ล้านคน และบาดเจ็บอีกกว่า 50 ล้านคน หรือเท่ากับมีคนเสียชีวิตวันละ 3,700 คนทุกวัน หากนึกไม่ออกว่ารุนแรงขนาดไหน ลองนึกภาพเรือสำราญขนาดใหญ่ที่มีผู้โดยสารเต็มความจุของเรือ แล้วเรือลำนั้นเกิดล่มและผู้โดยสารทั้งหมดเสียชีวิต!!! เป็นแบบนี้ทุกวันทุกวันวันละ 3,700 คน         หากเป็นเหตุการณ์ปกติถ้ามีเรือสำราญขนาดใหญ่ล่มจมน้ำ เพียงแค่ครั้งเดียวก็คงเป็นข่าวใหญ่ที่ทำให้คนทั้งโลกต้องตกใจ และมีคำถามตามมาว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ขณะที่มีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากเท่ากับจำนวนผู้โดยสารบนเรือสำราญขนาดใหญ่ที่เสียชีวิตทุกวันแบบนี้ ก็ยังไม่สามารถทำให้คนทั้งโลกรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางถนนในส่วนนี้ได้เลย         สำหรับประเทศไทยนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของความสูญเสียดังกล่าวเช่นกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เผยรายงาน Global Status Report on Road Safety 2561 เรื่องรายงานความปลอดภัยทางถนนระดับโลก ระบุว่า ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้เป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในลำดับที่ 9 มีอัตราผู้เสียชีวิต 32.7 รายต่อแสนประชากร หรือเสียชีวิต 22,491 คนต่อปี  หรือเฉลี่ยมีผู้เสียชีวิต 62 คนบนถนนทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนคนวัยทำงาน ขณะที่มีผู้พิการรายใหม่เพิ่มมากขึ้นกว่า 40,000 คนต่อปี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี        แม้ว่าในรอบ 5 ปีหลังสุดตัวเลขอย่างเป็นทางการขององค์การอนามัยโลกจะบ่งชี้ว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตของประชากรจากอุบัติเหตุทางถนนลดน้อยลง แต่การที่คนไทยต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยถึงวันละ 62 คน นั้นนับเป็นเรื่องที่ทุกคนควรตระหนักและยอมรับไม่ได้ เพราะเป็นสถิติการเสียชีวิตที่มากกว่าโรคภัยร้ายแรงเสียอีก        ทั้งนี้อุบัติเหตุทางถนนแต่ละครั้งไม่ได้จบแค่มีผู้เสียชีวิต ขณะที่ทุกๆ ปีมีผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2 แสนคน ทั้งครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บพิการ สิ่งที่เหลือไว้จากอุบัติเหตุ คือ ความทุกข์ของคนที่ยังอยู่ หลายครอบครัวไม่ได้จบแค่การสูญเสียญาติพี่น้องที่จากไปเท่านั้น แต่การต้องดิ้นรนต่อสู้กับสภาพชีวิตสังคมหลังเกิดเหตุนั่นแหละ คือหัวใจของการต้องมีชีวิตอยู่ให้ได้        หลายคนต้องเจ็บปวดซ้ำซ้อน เจ็บตัวแล้วยังต้องเจ็บใจ เสียคนรักไปไม่พอ ยังโดนยัดเยียดการชดเชยเยียวยาที่ไม่เป็นธรรมเข้าไปด้วย จากระบบการช่วยเหลือผู้เสียหายที่ล้มเหลว โดนวลีเด็ดที่หลายคนเจอ คือ “อยากได้มากกว่านี้ให้ไปฟ้องเอา” หลายคนต้องมีคดีฟ้องต่อศาลเสียเงินจ้างทนายความ ต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ บางครอบครัวต้องสู้คดีกันถึงสามศาล จบคดีได้เงินก็โชคดีไป บางครอบครัวได้มาแต่คำพิพากษา กลายเป็นปัญหาซ้ำเติมความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับครอบครัวพวกเขาเหล่านั้น         ขณะที่ยังมีผู้พิการจากอุบัติเหตุทางถนนอีกจำนวนมากที่ขาดโอกาสจากสังคม แม้ภาครัฐจะให้ความช่วยเหลือในหลายส่วน แต่เรื่องสำคัญและจำเป็น เช่น การเดินทางซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์นั้น ยังมีคุณภาพไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ ดูแลตัวเองและประกอบอาชีพเพื่อการพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่มีคุณภาพได้         ด้วยปัจจัยและปัญหาที่สะสมอย่างต่อเนื่องยาวนาน จากกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่อยากจะทำงานใหญ่ ว่าจะทำอย่างไรดี ที่จะทำให้คนส่วนใหญ่เห็นถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางถนน เพื่อช่วยให้คนที่เสียโอกาสทางสังคมกลุ่มนี้ได้กลับเข้ามามีที่ยืนและพร้อมที่จะลุกขึ้นมาช่วยกัน         ทำให้การเยียวยาความเสียหายรวดเร็วไม่เป็นภาระของทุกคน และหาทางเร่งรัดให้มีบริการขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพรถและความปลอดภัยมากขึ้น เพราะชีวิตไม่ใช่ชิ้นส่วนรถยนต์ ต้องไม่ยอมจำนนกับรถถนนที่ไม่ปลอดภัย         จากจุดเริ่มต้นของกลุ่มผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเมาไม่ขับ ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและความปลอดภัยทางถนนมากกว่า 20 องค์กร        จึงได้ร่วมกันจัด เดิน – วิ่ง กับกิจกรรม หยุดซิ่งมาวิ่งกันเถอะ “Run For Road Traffic Victims” ภายใต้เป้าหมาย รณรงค์รวมพลังลดอุบัติเหตุหยุดเหยื่อรายใหม่ และจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2562  ณ สวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์ (สวนบางกะเจ้า) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ         กิจกรรมดีๆ กับค่าสมัครเพียง 500 บาทเท่านั้น กับการวิ่ง 2 ระยะ ได้แก่ เดิน-วิ่งระยะสั้น Fun Run 5 กิโลเมตร และวิ่งมินิมาราธอน 10 กิโลเมต         หยุดซิ่ง... แล้วมาวิ่งกันที่สวนบางกะเจ้า ผู้สนใจสามารถมาสมัครกันเลย ที่ https://rtv.regist.co ตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 2562 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ : https://www.facebook.com/SafeThaibus หรือ โทร : 094-4869598        

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 ปัญหาจากการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ

                โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ โดยนิตยสารฉลาดซื้อร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสายการบินต้นทุนต่ำ(low cost Airline) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,204 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 30 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2562 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง ความคิดเห็นของประชาชนต่อสายการบินต้นทุนต่ำ(low cost Airline) โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ความรู้ทั่วไปเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์         พบว่า คนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยทราบว่าตนเองมีสิทธิอะไรบ้างเมื่อเกิดปัญหาเช่น กรณีเครื่องบินดีเลย์ กฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ หรือทราบว่าเมื่อเกิดปัญหาควรติดต่อหน่วยงานใด แต่รายละเอียดเชิงลึกส่วนใหญ่จะไม่ทราบ เช่น กรณีเครื่องบินดีเลย์ กว่าครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 53.8 ทราบว่า หากเที่ยวบินเลื่อนการเดินทางล่าช้า 2-3 ชั่วโมง มีสิทธิได้รับอาหาร เครื่องดื่ม ฟรี  แต่ร้อยละ 53.7 ยังไม่ทราบว่า หากเที่ยวบินเลื่อนการเดินทางล่าช้า 5-6 ชั่วโมง สิทธิได้รับอาหาร เครื่องดื่ม ฟรี  ถ้าไม่ต้องการเดินทางก็สามารถติดต่อก็ขอคืนค่าโดยสารได้ และสามารถขอเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม พร้อมค่าชดเชยจำนวน 600 บาท และร้อยละ 59.1 ไม่ทราบว่า หากเที่ยวบินเลื่อนการเดินทางล่าช้ามากกว่า 6 ชั่วโมง หรือ ยกเลิกเที่ยวบิน สิทธิได้รับอาหาร เครื่องดื่ม ฟรี  ถ้าไม่ต้องการเดินทางก็สามารถติดต่อก็ขอคืนค่าโดยสารได้ และสามารถขอเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม พร้อมค่าชดเชยจำนวน 1200 บาทและที่พักจำนวน 1 คืน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 คลินิกเสริมสวยเปิดใหม่เซลล์ขายแหลกแต่ทำไม่ได้จริง

        ได้ชื่อว่าเซลล์ตำแหน่งนี้วัดกันที่การขาย ใครหาลูกค้าได้มากรายได้ก็มากตามขึ้นไป ผู้บริโภคหลายคนจึงถูกเซลล์ปั่นจนหวั่นไหว เสียเงินไปแบบคิดไม่ทันจนเจ็บใจมาก็เยอะ ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีเรื่องมาเล่าให้ฟัง         คุณพบรัก เผอิญไปพบเจอเซลล์หรือพนักงานขายของคลินิกเสริมความงามแห่งใหม่เข้าอย่างจังในระหว่างเดินเที่ยวในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง พนักงานหญิงสองคนประกบหน้าหลัง ชักชวนให้ตรวจหน้าแบบฟรีๆ เพื่อดูสภาพผิวว่าเป็นอย่างไรบ้าง คุณพบรักไม่ทันคิดอะไรนัก คิดว่าฟรีก็ดีเหมือนกันไม่ได้ตรวจสภาพผิวหน้าตัวเองนานแล้ว ลองดูสักหน่อยไม่เสียหาย         โอ้ สุขภาพผิวคุณดีจังเลย ไม่ใช่คำตอบที่คุณพบรักได้รับแต่เป็นผลตรงกันข้าม พนักงานแจ้งว่า สุขภาพผิวหน้าแย่มากๆ ทางคลินิกของเราขอรับอาสามาเป็นผู้ดูแลปัญหานี้ให้ พอถามไปว่าต้องทำอย่างไร พนักงานก็ขอบัตรเครดิตพร้อมแนะนำคอร์สหนึ่งให้ในราคา 7,000 บาท จากนั้นก็รูดบัตรเสร็จสิ้นกระบวนการ คุณพบรักได้สลิปบัตรมาพร้อมใบเสร็จชั่วคราวอย่างงงๆ พร้อมคำสัญญาของพนักงานว่า ระหว่างนี้คลินิกยังไม่พร้อมให้บริการ คุณพบรักต้องรอ 3 เดือนจึงจะไปใช้บริการได้         ผ่านมาเกือบสามเดือนพนักงานที่ขายคอร์สให้ได้โทรมานัดให้ไปที่คลินิกเพื่อตรวจสภาพผิวอีกครั้ง แต่พอใกล้วันจริง “นางบอกว่า อย่าเพิ่งมาดีกว่าเพราะกลิ่นสียังไม่ทันจาง และทางหน่วยงานรัฐยังเข้ามาตรวจสอบไม่เสร็จ ไว้เป็นสัปดาห์หน้านะคะ” คุณพบรักจึงได้แต่รอต่อไป         ในวันนัดจริงเมื่อคุณพบรักมาถึงคลินิกก็พบเรื่องน่ารำคาญใจหลายเรื่อง ตั้งแต่มีการนัดคนมาใช้บริการในวันดังกล่าวจำนวนมาก คุณพบรักต้องรอถึง 1 ชั่วโมงกว่าจะถึงคิวของตัวเอง พอกำลังจะเริ่มรับบริการ ก็ยังต้องรอเครื่องมือจากห้องอื่น แม้จะเห็นว่ามันไม่ค่อยถูกต้องเพราะเครื่องมืออาจติดเชื้ออะไรก็ได้จากคนที่ใช้บริการก่อนหน้าตนเอง แต่นอนบนเตียงไปแล้วจะร้องเรียนอะไรก็ทำไม่ได้ จึงต้องปล่อยเลยตามเลย แถมระหว่างนวดหน้าอยู่ เซลล์ยังโทรเข้ามาขอโทษที่ให้ลูกค้ารอนาน “มันใช่เวลาไหม” คุณพบรักหงุดหงิดอยู่ในใจ        เมื่อใช้บริการนวดหน้าเสร็จ พนักงานแจ้งให้ไปรออีกห้องหนึ่งก่อน เมื่อมาที่ห้องนี้ก็กลายเป็นห้องสำหรับการขายโปรโมชั่น(อีกแล้ว) คุณพบรักมีความขยาดอยู่จึงไม่สนใจโปรที่พนักงานเสนอ จนพนักงานงัดทีเด็ดบอกว่า โปรนี้พิเศษมากๆ ลูกค้าจ่ายเพียง 23,000 บาท รวมกับของเดิม 7,000 บาท เท่ากับ 30,000 บาท แต่จะได้รับบริการในระดับเดียวกับการจ่ายคอร์ส 90,000 บาท และจะมอบบริการพิเศษให้คุณพบรักสามารถผ่อนบัตรเครดิต 0% ได้อีกด้วย โอ้ คุ้มมากคุณพบรักคิดจึงตอบตกลงไป พร้อมรูดเงินไป 13,000 บาท เนื่องจากวงเงินวันนั้นไม่พอ จึงค้างไว้ก่อน 10,000 บาท         อย่างไรก็ตาม การผ่อนชำระ 0% นั้น พนักงานแจ้งภายหลังว่า ไม่สามารถทำได้ ขั้นต่ำคือคุณพบรักต้องผ่อนกับบัตรเครดิตที่ดอกเบี้ย 0.89%         คุณพบรักตอนนี้เริ่มพบว่า ไม่ไหวจะเคลียร์แล้ว พนักงานขายทำไม่ได้จริงสักอย่างที่สัญญาไว้ จึงทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาไปที่คลินิกและทำหนังสือปฏิเสธการจ่ายเงินกับธนาคารเจ้าของบัตร ทางธนาคารแจ้งว่าอย่างไรก็ตามจะต้องให้ทางคลินิกยกเลิกสัญญาก่อนจึงจะปิดหนี้บัตรเครดิตให้ คุณพบรักจึงไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ และดำเนินการติดต่อกับคลินิกเพื่อขอยกเลิกสัญญาพร้อมขอเงินคืน แนวทางแก้ไขปัญหา         คุณพบรักดำเนินการแจ้งร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพร้อมๆ กัน ต่อมา ทางคุณพบรักแจ้งกับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิว่า  ได้ไปเจรจากับทางคลินิกที่ สคบ.แล้ว บริษัทฯ จะคืนเงินให้ 70% ในส่วนของ 13,000 บาท คือ 9,100 บาท ส่วนที่เหลือ คือ 7,000 บาทแรกนั้น เนื่องจากมีการรับบริการไปแล้ว 1 ครั้ง จึงขอให้คุณพบรักไปใช้บริการต่อในส่วนนั้น บริษัทฯ อ้างว่า ส่วนที่หัก 30% คือค่าดำเนินการที่จะขยายคอร์สจาก 30,000 เป็น 90,000 บาท ส่วน 7,000 ก่อนหน้าตามเงื่อนไขของบริษัทฯ หากมีการใช้บริการไปแล้วจะไม่คืนเงินส่วนที่เหลือต้องใช้บริการไปจนจบคอร์สนั้นๆ         คุณพบรักไม่อยากยุ่งยากจึงรับข้อเสนอดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 ข้อคิดชีวิตนักช้อปออนไลน์

        ยุคนี้กระแสช้อปปิ้งออนไลน์มาแรง บรรดาร้านช้อปออนไลน์ทั้งหลายต่างหาโปรโมชั่นมาล่อตาล่อใจขาช้อปอย่างเราๆ ทั้งลดราคา 30 – 80%, ซื้อ 1 แถม 1, บางร้านก็ทั้งลดทั้งแถม จัดโปรโมชั่นกันขนาดนี้ ขาช้อปจะทนไหวได้อย่างไร อย่างเช่นเดือนที่ผ่านมาก็มี โปรโมชั่น 9.9 วันที่ 9 เดือน 9 ก็ทำให้บรรดาขาช้อปออนไลน์ทั้งหลายกระเป๋าเบาไปตามๆ กัน แต่เดี๋ยวก่อนการจัดโปรโมชั่นทั้งลดทั้งแถม ร้านค้าก็ถือเป็นโอกาสการระบายสินค้าใกล้หมดอายุอีกทางหนึ่งด้วย ต้องระวังกันไว้ให้ดี อย่างเช่นร้านค้าออนไลน์เจ้านี้         ภูผาหนุ่มออฟฟิศที่รักสินค้าลดราคาเป็นชีวิตจิตใจ ในมือถือของเขามีแอปพลิเคชันร้านค้าออนไลน์เพียบ ช่วงเดือนสิงหาคมเขาได้เข้าไปในแอปวัตสันออนไลน์ เห็นว่ากำลังจัดโปรโมชั่น สินค้าครีมบำรุงผิวยี่ห้อดัง ซึ่งลดราคา 30 – 70% ดูไปดูมาเห็นภาพโฆษณาโลชั่นทาผิวขนาด 600 ml ราคาถูกมาก รู้สึกไม่ไหวแล้วต้องจัด คุณภูผาคิดว่าอย่างไรเสียโลชั่นก็เก็บไว้ใช้นานๆ ได้ จึงสั่งไปจำนวน 10 ขวด รวมเป็นเงิน 1,240 บาท          ปัญหาอยู่ตรงที่เมื่อสินค้ามาส่งเขาเปิดสินค้าดูพบว่าเป็นโลชั่นที่ขวดยังเป็นรุ่นเก่า แต่ภาพโฆษณาในแอปตอนสั่งเป็นขวดรุ่นใหม่ที่ขายในปัจจุบัน และเมื่อดูวันหมดอายุก็พบว่า สินค้าจะหมดอายุภายในเดือนกันยายนนี้ เขารู้สึกว่าถูกร้านค้าหลอกและถูกเอาเปรียบ เพราะว่าได้สินค้าไม่ตรงกับโฆษณา ภาพในแอปใช้สินค้าขวดใหม่โฆษณาแต่ส่งสินค้าขวดเก่ามาให้ ทั้งสินค้ายังจะหมดอายุภายในเดือนกันยายนนี้ด้วย สั่งไปตั้ง 10 ขวด เดือนเดียวใช้อย่างไรก็ไม่หมด 10 ขวด         คิดจนปวดหัวจึงติดต่อไปยังคอลเซนเตอร์  02-2178899 เล่าเรื่องให้พนักงานฟัง พนักงานแจ้งว่าสามารถนำสินค้าไปเปลี่ยนได้ที่สาขาใกล้บ้าน แต่เมื่อนำไปเปลี่ยนที่วัตสัน สาขา โลตัสสุขุมวิท 50 พนักงานที่สาขากลับไม่ทราบเรื่อง(ไม่เป็นนโยบาย) จึงไม่รับเปลี่ยนสินค้า คุณภูผาจึงโทรศัพท์ไปยังคอลเซนเตอร์อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พนักงานแจ้งว่ายังไม่ได้รับรายงานเรื่องที่คุณภูผาเคยร้องเรียนเลย  คุณภูผารู้สึกว่าถูกเอาเปรียบและบริษัทฯ ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจน จึงแจ้งมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอให้ช่วยเหลือดำเนินการต่อไป แนวทางการแก้ไขปัญหา        ศูนย์พิทักษ์สิทธิแนะนำว่าการกระทำของร้านค้าอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดเรื่องโฆษณาเป็นเท็จ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และบทลงโทษอยู่ในมาตรา 47 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ        ดังนั้นศูนย์ฯ จึงได้ติดต่อไปยังคอลเซนเตอร์ของวัตสัน พนักงานอธิบายว่าผู้ร้องได้ร้องเรียนในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุด พนักงานคอลเซนเตอร์วันนั้นจึงเพียงรับเรื่องไว้เท่านั้น เรื่องของผู้ร้องยังไม่ถูกส่งต่อให้บริษัท ทำให้บริษัทยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ร้อง สาขาที่ผู้ร้องไปคืนสินค้าและขอเงินคืน ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เพราะยังไม่มีต้นเรื่องคำสั่งจากบริษัทแจ้งเข้ามา         ศูนย์พิทักษ์จึงขอให้บริษัทฯ เร่งแก้ไขปัญหาโดยด่วนและเมื่อสอบถามถึงเรื่องการจัดโปรโมชั่นลดราคา พนักงานแจ้งว่า ปกติสินค้าช่วงโปรโมชั่นลดราคา ผู้ซื้อจะทราบอยู่แล้วว่าเป็นสินค้าเก่า บริษัทจะนำสินค้าเก่าใกล้หมดอายุมาลดราคาอยู่แล้วเป็นปกติ เพราะเป็นการลดล้างสต็อค อย่างไรก็ตามปัญหาของผู้ร้องรายนี้บริษัทดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ร้องภายใน 1 วัน หลังจากศูนย์พิทักษ์เร่งให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา         การกระทำของร้านค้าออนไลน์เจ้านี้เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างมาก และยังผลักภาระการรับรู้ให้ผู้บริโภคด้วย การจำหน่ายสินค้าออนไลน์เป็นการจำหน่ายโดยไม่เห็นสินค้า ร้านค้าควรแจ้งวันหมดอายุให้ผู้บริโภคทราบไม่ใช่อ้างว่าเป็นสินค้าลดราคาผู้บริโภคต้องทราบเอง ยิ่งกรณีของผู้ร้องรายนี้ถ้าผู้ร้องทราบก่อนว่าสินค้าจะหมดอายุภายในเดือนกันยายน ซึ่งในขณะซื้อสินค้าเป็นเดือนสิงหาคม ผู้ร้องคงไม่ซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากแบบนี้         บรรดาขาช้อปทั้งหลายที่ถูกใจโปรโมชั่นลดราคา และของแถมทั้งหลาย อาจจะภาคภูมิใจที่ซื้อสินค้ามาได้ในราคาถูก แต่หารู้ไม่ว่าตนเองอาจจะตกเป็นช่องทางการระบายสินค้าอายุโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่นพ่อหนุ่มภูผาที่รักสินค้าลดราคาเป็นชีวิตจิตใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 แค่สระไดร์ ทำไมแพงจัง

สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคท่านหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว จึงนำมาเสนอฝากเป็นเรื่องเตือนใจถึงผู้บริโภคท่านอื่น ดังนี้         คุณศรีสมรไปประชุม ณ โรงแรมแห่งหนึ่งใน จ.ขอนแก่น ช่วงเย็นหลังเลิกงานประชุมแล้ว คุณศรีสมรแวะเข้าไปใช้บริการสระไดร์จากร้านเสริมสวยแห่งหนึ่งที่เปิดบริการอยู่ใกล้ๆ โรงแรม เท่าที่สังเกตคือ ร้านเสริมสวยดังกล่าวไม่ได้ติดป้ายแสดงราคาค่าบริการเอาไว้ ส่วนคุณศรีสมรเองตอนนั้นก็ไม่คิดอะไรมาก จึงไม่ได้สอบถามค่าบริการก่อนแต่แรก คิดว่าแค่สระไดร์คงไม่เกิน 150 บาท เพราะเคยทำในราคานี้         หลังจากรับบริการเสริมสวยเป็นที่เรียบร้อย คุณศรีสมรก็ต้องตกใจ เมื่อเจ้าของร้านเรียกเก็บค่าบริการเป็นเงินจำนวน 340 บาท ซึ่งผิดจากที่คาดการณ์ไว้มาก คุณศรีสมรจึงสอบถามเจ้าของร้านไปว่า ทำไมค่าบริการถึงแพงจัง ?  ซึ่งเจ้าของร้านได้ตอบกลับมาว่า “ ผมสั้น 200 บาท ผมยาว 340 บาท ค่ะ ”         คุณศรีสมรนำเรื่องมาปรึกษากับสมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น ถึงปัญหาการคิดค่าบริการสระไดร์ของร้านเสริมสวยดังกล่าวว่าแพงเกินไปหรือไม่ ทางสมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น ได้แจ้งกับคุณศรีสมรไปว่า การที่ทางร้านไม่ติดป้ายแสดงราคานั้นถือว่าผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 40 ผู้ใดไม่แสดงราคาหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 28 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ดังนั้นทางสมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น จะทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป แนวทางการแก้ไขปัญหา        1. หากผู้บริโภคเจอปัญหาเช่นนี้ ให้ถ่ายภาพสถานที่ร้านเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยอาจถ่ายภาพจากระยะห่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโต้เถียงกัน        2. ร้องเรียนไปยัง กรมการค้าภายใน สายด่วน 1569 เพื่อขอให้หน่วยงานเข้าไปตรวจสอบ ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภค        - ควรเลือกใช้บริการร้านค้าที่ติดป้ายแสดงราคาสินค้า/บริการที่ชัดเจน  หากเลี่ยงไม่ได้ ให้สอบถามและตกลงค่าบริการกันก่อนใช้บริการ         สำหรับผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น สามารถขอคำแนะนำหรือร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องผู้บริโภคได้ที่ สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น  เลขที่ 686/5 ซอยวุฒาราม ถนนหน้าเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000  โทร.065 052 5005  หรือ อีเมล cakk2551@gmail.com หรือเฟสบุ๊คแฟนเพจ www.facebook.com/Cakk2551

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 กำลังเช็กเอ้าต์ ทำไมจะกลายเป็นเช็กอิน

        การเข้าใช้บริการแอปพลิเคชันทั้งหลาย เราควรมีความระมัดระวัง อย่ามือลั่น โดยเฉพาะหากต้องมีการจ่ายเงินเพราะหากมันไม่ใช่ กว่าที่จะทำเรื่องขอเงินกลับมันจะใช้เวลานานทำให้เดือดเนื้อร้อนใจ  แต่บางทีเราไม่ได้ประมาทแต่อย่างใด เพียงแค่เลื่อนดูรายการบางอย่างกลับกลายเป็นเงินหายไปไม่เสียอย่างนั้น แล้วจะทำอย่างไรดี         ขอนำเรื่องของคุณพรทวี ซึ่งกำลังมีความสุขอยู่ดีๆ กับการเที่ยวพักผ่อนในช่วงวันที่ 13 และ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา และขณะกำลังเช็กเอาต์ออกจากโรงแรม A ในวันที่ 14 คุณพรทวีได้เข้าไปดูรายการในแอปพลิเคชันของ agoda โดยกดดูราคาห้องพักที่โรงแรม A ขณะที่กดดูรายละเอียดของห้องพักหน้าถัดไป กลับกลายเป็นการยืนยันการจองห้องพักของโรงแรม A ในวันที่ 14 พฤษภาคม พร้อมกับยืนยันการชำระเงินโดยตัดบัตรเครดิตของคุณพรทวีจำนวน 2,476 บาท แบบรวดเร็ว โดยที่คุณพรทวีไม่ได้กดทำรายการจองห้องพักใดๆ เลย         ด้วยความตกใจจึงแจ้งให้พนักงานโรงแรมทราบทันที แต่ทางโรงแรมบอกว่า ไม่สามารถยกเลิกได้ คุณพรทวีต้องติดต่อกับ agoda โดยตรง พอคุณพรทวีติดต่อไปที่ agoda แจ้งเรื่องผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทางพนักงานของ agoda ได้ระบุว่ารับเรื่องร้องเรียนไว้แล้วและจะยกเลิกรายการจองดังกล่าวให้ พร้อมคืนเงินเข้าระบบบัตรเครดิต         “ตอนนั้นก็คิดว่า เรื่องคงเคลียร์แล้ว แต่ต่อมาได้ใบแจ้งหนี้จากบัตรเครดิตว่า ค้างชำระและต้องชำระเงินภายในวันที่ 1 กรกฎาคม พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 18.7 ไม่เข้าใจเลยว่า ทำไม agoda จึงไม่ทำเรื่องของตนให้เรียบร้อย ทั้งที่แจ้งให้ดำเนินการแก้ไขทันทีที่เกิดเรื่องแล้ว”         จึงขอคำปรึกษามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางการแก้ไขปัญหา         การติดต่อกับ agoda ซึ่งเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันและแอปฯ มีการทำรายการผิดพลาดเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่คุณพรทวีควรทำเพิ่มคือ การติดต่อกับคอลเซนเตอร์ของบัตรเครดิตเพื่อแจ้งเรื่องดังกล่าว และปฏิเสธการจ่ายเงินที่ตนเองไม่ได้ใช้บริการคือ การจองห้องพักของวันที่ 14 พฤษภาคม เพื่อให้ทางบัตรเครดิตกับ บ.agoda ได้ประสานงานเรื่องการคืนเงินกันให้เรียบร้อย ไม่สร้างภาระให้กับผู้บริโภค เรื่องนี้อยู่ระหว่างเจรจาให้ทาง agoda ดูแลแก้ไขปัญหาให้กับคุณพรทวี   ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคเห็นว่าน่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้บริโภคท่านอื่นจึงนำมาเสนอไว้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 ของเด็กเล่นต้องปลอดภัย

ของ “เด็ก” เล่น        ของเล่น ในความเข้าใจของคนทั่วไปคือ สิ่งของที่มีไว้สำหรับ “เล่น” ของเด็ก เพื่อให้สนุกและเพลิดเพลิน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงนัก เพราะ ”ของเล่น” นั้น คนทุกวัยสามารถสนุกและเพลิดเพลินได้ ซึ่งมนุษย์รู้จักนำสิ่งของทั่วไปจากธรรมชาติหรือประดิษฐสิ่งของขึ้นเพื่อเล่นมาตั้งแต่อดีตกาล มีหลักฐานสืบค้นได้จากวัฒนธรรมเก่าแก่โบราณคือ ว่าว ลูกดิ่ง(โยโย่) ลูกบอล เป็นต้น         อย่างไรก็ตามการเล่นสิ่งของของเด็กมีความพิเศษต่างไปจากวัยอื่น เพราะของเล่นถือเป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสุขและพัฒนาการในด้านต่างๆ สำหรับเด็กด้วย  โดยพื้นฐานแล้วของเล่นทุกประเภทนั้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายที่ดี ของเล่นที่ต้องใช้กำลังและการเคลื่อนไหวของร่างกาย สามารถช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรงเพื่อช่วยควบคุมการทรงตัวและรองรับการเติบโตของร่างกายในแต่ละช่วงวัย ขณะที่การเล่นของเล่นที่ใช้การสัมผัสหยิบจับและอาศัยนิ้วมือในการควบคุม เช่น การปั้นดินน้ำมัน การเล่นตัวต่อประเภทต่างๆ สามารถช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ช่วยควบคุมนิ้วมือให้ทำงานที่มีความละเอียดอย่างการวาดรูป เขียนหนังสือ ได้เป็นอย่างดี ส่วนในด้านของพัฒนาการทางสติปัญญา ของเล่นช่วยให้เด็กเพิ่มความสามารถในการคิด การวางแผน การวางลำดับขั้นตอน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อีกทั้งยังเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ด้วย         ของเล่นนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งประดิษฐเสมอไป แค่กิ่งไม้ ดิน ทราย กระดาษ ก็เป็นของที่เด็กนำมาเล่นได้ แต่สำหรับโลกปัจจุบันของเล่นในรูปแบบสิ่งประดิษฐนั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งผลิตและจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีทั้งสินค้าของเล่นที่ผลิตในประเทศและสินค้าของเล่นที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองจำเป็นต้องมีความรู้และความใส่ใจในการเลือกซื้อของเล่นให้ลูกได้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัย เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความอ่อนไหวเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากของเล่นได้ง่ายและรุนแรงถึงขนาดก่อผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวหรือถึงแก่ชีวิตได้  ในเกือบทุกประเทศของเล่นจึงเป็นสินค้าที่ถูกควบคุมด้วย กฎ ระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าในระดับสูง ในส่วนของประเทศไทย “ของเล่น” สำหรับเด็ก ถือเป็นสินค้าที่ถูกควบคุมมาตรฐานโดยกระทรวงอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้เด็กๆ ได้รับความปลอดภัยและรอดพ้นจากอันตรายเมื่อเล่นของเล่นทำไมไทยจึงยังมีปัญหาจากของเล่นไม่ได้มาตรฐาน        แม้มีการกำหนดให้ของเล่นเป็นสินค้าที่ต้องมีตรา มอก.หรือมาตรฐานบังคับ แต่เมื่อพิจารณาจากข่าวสารและงานวิจัยหลายฉบับพบว่า ยังคงมีสินค้าของเล่นที่ไม่ได้มาตรฐานวางจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่        1.ผู้บริโภคนิยมซื้อของเล่นที่วางจำหน่ายในตลาดที่เน้นราคาถูก และนิยมของเล่นที่เป็นสินค้าเลียนแบบสินค้าลิขสิทธิ์(ของปลอม) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไม่มีสัญลักษณ์มาตรฐาน มอก. หรือมีตราสัญลักษณ์ที่ปลอมขึ้นมา สินค้าประเภทนี้มักพบในร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าราคาประหยัดทุกชิ้นราคาเดียว ซึ่งร้านค้าประเภทนี้มีการกระจายตัวไปทั่วประเทศในเกือบทุกชุมชน ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยากที่จะเข้าไปตรวจสอบและดำเนินคดีได้ทั่วถึง และยังรวมไปถึงร้านค้าที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายแต่ยากแก่การกำกับดูแล        2.ช่องโหว่ของกฎหมายในการตรวจสอบโรงงานผู้ผลิต เพราะ “ของเล่น” จำนวนมากในตลาดไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นของเล่นตามกฎหมาย ทำให้หน่วยงานที่กำกับดูแลไม่อาจเข้าไปดำเนินการตรวจสอบได้นิยาม “ของเล่น” ตาม มอก.685-2540 คือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ใช้เล่น        ของเล่นโดยนิยามนี้คือ “ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบให้เด็กเล่น” และ “เด็กหมายถึงผู้มีอายุไม่เกิน 14 ปี” ดังนั้นหากเป็นสินค้าที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไม่แสดงเจตนาว่าเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภควัยใด สินค้านั้นจะไม่จัดเป็นของเล่นตามนิยามนี้ แต่ในส่วนของการวางจำหน่าย ส่วนใหญ่ผู้ขายจะจงใจนำสินค้าที่ไม่เข้านิยามของเล่นไปจำหน่ายให้แก่เด็ก เช่น การวางขายปะปนในชั้นวางของเล่น หรือจำหน่ายในร้านที่ขายเฉพาะของเล่นที่มีเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย        3.การขาดระบบการตรวจสอบหลังการวางจำหน่าย การกำหนดให้ของเล่นได้มาตรฐาน มอก. ทำให้ผู้ผลิตของเล่นสำหรับเด็กตามนิยามกฎหมายต้องผลิตให้ได้มาตรฐาน โดยจะมีการตรวจสอบโรงงานและนำสินค้าไปทดสอบก่อนได้รับมาตรฐานและวางจำหน่าย เช่นเดียวกันกับการนำเข้าเจ้าหน้าที่จะตรวจดูเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและเก็บตัวอย่างไปทดสอบกับหน่วยตรวจ จึงจะได้รับใบอนุญาต แต่เมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว กฎหมายมิได้กำหนดอายุของใบอนุญาต ทำให้ภายหลังจากการได้รับอนุญาตของเล่นเด็กหรือการนำเข้าของเล่นเด็กแล้ว ของเล่นที่ได้รับการอนุญาตจะไม่ได้รับการติดตามตรวจสอบควบคุมคุณภาพอย่างเหมาะสม         แม้กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีการติดตามตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตรามาตรฐานบังคับ แต่ในทางปฏิบัติกฎหมายฉบับนี้มีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจำนวนมากที่อยู่ในการกำกับดูแลความปลอดภัย  ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่จะติดตามตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก็ต่อเมื่อได้รับการร้องเรียนหรือเมื่อพบว่าความเป็นอันตรายของสินค้าได้เกิดขึ้นแล้ว นอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจเอง กฎหมายมิได้กำหนดหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบของเล่นเด็กที่วางจำหน่ายในท้องตลาดแต่อย่างใด        4.ข้อกำหนดสำหรับการกำกับดูแลความปลอดภัยในของเล่นในระดับสากลมีแนวโน้มเข้มงวดขึ้น ในขณะที่มาตรการกำกับดูแลของไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มากและไม่ทันสถานการณ์ โดยเฉพาะข้อกำหนดด้านความปลอดภัย เช่น ยังมิได้กำหนดห้ามสารในกลุ่มทาเลต(Phthalates) นำมาเป็นส่วนประกอบในของเล่นเด็ก ซึ่งในมาตรฐานสากลที่เกี่ยวกับของเล่นเด็กอย่าง EN 71 (มาตรฐานสหภาพยุโรป) และ ASTM F 963 (มาตรฐานสหรัฐอเมริกา) ได้กำหนดห้ามไว้นานแล้วข้อมูลนลินี ศรีพวงและคณะ. การศึกษาวิจัยพิษและอันตรายในของเล่นเด็กและมาตรการความปลอดภัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2551. “มาตรการทางกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในของเล่นเด็ก” ศรารัตน์ อิศราภรณ์.วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2561)“มหาภัยของเด็กเล่น” http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?h=119&s_id=30&d_id=24&page=1&start=1“วันเด็กกับสถานการณ์อันตรายของเล่นในประเทศไทย” http://www.csip.org/csip/autopage/print.php?h=119&s_id=153&d_id=153&page=1

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 ผลทดสอบสารทาเลตในของเล่น/ ของใช้พลาสติก

ทาเลต (Phthalates) เป็นกลุ่มของสารที่ใช้ผสมในพลาสติกชนิดโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) เพื่อเพิ่มภาวะการคืนรูป ลดความหนืด โดยทำให้เกิดความอ่อนนิ่มมากขึ้น ทาเลตไม่มีพันธะเคมีที่เชื่อมต่อกับพีวีซี จึงสามารถเคลื่อนย้ายออกจากผลิตภัณฑ์พีวีซีไปเกาะติดกับส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะของเล่นเด็กและของใช้พลาสติกที่อาจมีส่วนประกอบของทาเลต เมื่อเด็กใช้มือหยิบจับสัมผัสของเล่นของใช้ ก็อาจได้รับสารทาเลตได้        ทาเลตบางชนิดจัดว่าเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย โดยกลไกการออกฤทธิ์ต้านแอนโดรเจน ซึ่งขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ทาเลตบางชนิดจึงมีข้อจำกัดในของเล่นและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่นในสหรัฐอเมริกาได้ประกาศระเบียบภายใต้กฎหมาย PUBLIC LAW 110-314 มาตรา 108 เพื่อควบคุมปริมาณทาเลตในของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ให้มีทาเลตได้ไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก ซึ่งในสหภาพยุโรปและแคนาดาก็มีการออกกฎหมายควบคุมเช่นกัน         เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการควบคุมปริมาณทาเลตในสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กอย่างชัดเจน ด้วยเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ นิตยสารฉลาดซื้อ ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สุ่มเก็บตัวอย่างของเล่นเด็ก ของคล้ายของเล่นที่เด็กอาจนำมาเป็นของเล่น และของใช้ประเภทพลาสติกชนิดโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) จากร้านค้าในห้างสรรพสินค้า ท้องตลาด และบริเวณหน้าโรงเรียน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และในเว็บไซต์ห้างออนไลน์ ซึ่งมีคุณลักษณะผิวสัมผัสนิ่ม สามารถกด ยืด หรืองอได้ จำนวน 51 ตัวอย่าง ในเดือนพฤษภาคม 2562 ส่งห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อนุพันธ์ทาเลตทั้งหมด 6 ชนิด (ที่สกัดได้จากพลาสติก ยาง และสารเคลือบ ในบริเวณหรือส่วนที่สัมผัสถึง) ได้แก่         1) บิส-2-เอทิลเฮกซิลทาเลต  bis-(2-ethylhexyl) phthalate (DEHP)         2) ไดนอร์มอลบิลทิลทาเลต  di-n-butyl phthalate (DBP)           3) เบนซิลบิวทิลทาเลต  Benzyl butyl phthalate (BBP)          4) ไดไอโซโนนิลทาเลต  di-iso-nonyl phthalate (DINP)          5) ไดไอโซเดซิลทาเลต  di-iso-decyl phthalate (DIDP)         และ 6) ไดนอร์มอลออกทิลทาเลต  di-n-octyl phthalate (DNOP)          เพื่อเปรียบเทียบกับข้อกำหนดในกฎหมายเกี่ยวกับทาเลตในของเล่นของสหภาพยุโรป และมาตรฐานอุตสาหกรรม (ฉบับร่าง)โดยเกณฑ์กำหนดสูงสุดของปริมาณรวมของอนุพันธ์ทาเลตในตัวอย่างของเล่น แสดงดังตารางต่อไปนี้ซึ่งผลทดสอบปริมาณอนุพันธ์ทาเลตทั้ง 7 ชนิด จากตัวอย่างของเล่น/ของใช้  แสดงดังตารางต่อไปนี้ตารางแสดงผลทดสอบปริมาณอนุพันธ์ทาเลต จากตัวอย่างของเล่น/ของใช้ ทั้งหมด 51 ตัวอย่างสรุปผลการสำรวจ        ผลการตรวจของเล่น/ของใช้ จำนวนทั้งหมด 51 ตัวอย่าง พบสารทาเลต (phthalates) เกินกว่าค่ามาตรฐานสากล จำนวน 18 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 35.29 โดยชนิดของอนุพันธ์ทาเลตที่ตรวจพบมากที่สุด คือ บิส-2-เอทิลเฮกซิลทาเลต  bis-(2-ethylhexyl) phthalate (DEHP)แผนภูมิผลการทดสอบปริมาณทาเลตในตัวอย่างของเล่น/ ของใช้ 51 ตัวอย่าง        และยังพบว่า ของเล่นที่ตรวจพบค่าทาเลตรวมสูงสุด 3 อันดับแรก เป็นของเล่นประเภทตุ๊กตาบีบได้ รูปสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่        1)  ยางบีบหมู จาก ตลาดบางพลัด (หน้าเมเจอร์ปิ่นเกล้า) ตรวจพบปริมาณทาเลตรวมกันเท่ากับ  37.86 (หน่วยเป็นร้อยละเศษส่วนโดยมวล) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ (ต้องไม่เกิน 0.1) ประมาณ 378 เท่า         2)  แรคคูณสีเหลือง จาก ร้านค้าเช่น ชั้น 2 ห้างเซ็นจูรี่ฯ อนุสาวรีย์ชัยฯตรวจพบปริมาณทาเลตรวมกันเท่ากับ  36.42 (หน่วยเป็นร้อยละเศษส่วนโดยมวล)                 และ 3)  พะยูนสีเขียว จาก ร้านค้าเช่าขายของเล่น แฟลตคลองจั่น ตรวจพบปริมาณทาเลตรวมกันเท่ากับ  35.739 (หน่วยเป็นร้อยละเศษส่วนโดยมวล)         โดยผลทดสอบจากตัวอย่างของเล่น/ของใช้ที่สุ่มซื้อจากห้างสรรพสินค้า จำนวน 20 ตัวอย่าง พบสารทาเลตสูงกว่ามาตรฐานสากล 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 45         ส่วนตัวอย่างของเล่น/ของใช้ที่สุ่มซื้อนอกห้างสรรพสินค้า จำนวน 25 ตัวอย่าง พบสารทาเลตสูงกว่ามาตรฐานสากล จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 36        ทั้งนี้ จากการสังเกตสัญลักษณ์เครื่องหมาย มอก. พบว่า        ตัวอย่างของเล่น/ของใช้ ที่สุ่มเก็บทั้งหมด 45 ตัวอย่าง (ไม่รวมของเล่นที่สั่งซื้อออนไลน์ 6 ตัวอย่าง) มีสัญลักษณ์เครื่องหมาย มอก. 19 ตัวอย่าง และ ไม่มีเครื่องหมาย 32 ตัวอย่าง        ซึ่งของเล่น/ของใช้ที่มี มอก. 19 ตัวอย่างข้างต้น ตรวจพบสารทาเลตสูงกว่ามาตรฐานสากล จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 36.84        ส่วนที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. 26 ตัวอย่าง ตรวจพบสารทาเลตสูงกว่ามาตรฐานสากล จำนวน 11 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 42         และตัวอย่างของเล่นที่สั่งซื้อจากร้านค้าออนไลน์ ทั้งหมด 6 ตัวอย่าง จากร้านค้าในเว็บไซต์ Shopee และ Lazada เป็นของเล่นที่นำเข้าจากต่างประเทศ ไม่มีคำอธิบายภาษาไทย ไม่มีสัญลักษณ์เครื่องหมาย มอก. ซึ่งไม่พบสารทาเลตสูงเกินค่ามาตรฐานสากล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 โอ้ละหนอ ... ดวงตาเอย

        ปัจจุบันเราใช้สายตาผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกันมาก ทำให้หลายคนอาจเกิดปัญหาต่างๆ ทางสายตามากขึ้น  จึงเป็นโอกาสทองของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จะเข้ามาแทรกตรงนี้เพื่อให้ผู้บริโภคเคลิบเคลิ้มจนเสียเงินอย่างไม่จำเป็น โดยสารสำคัญล่าสุดที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยกมาอ้างถึงประโยชน์คือ “ลูทีน”         ในเว็บขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต พบว่ามีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ที่แจ้งว่ามีส่วนผสมของลูทีนและวิตามินต่างๆ แต่ที่เหมือนๆ กันคือ ทุกชนิดจะอ้างว่าตนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงรักษาดวงตา บางผลิตภัณฑ์มีการนำผลการวิจัยที่มีตัวเลขต่างๆ มาอ้างอิงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการรักษา เหมือนว่าเพิ่มความขลัง แรกๆ ก็อ้างว่าสามารถรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ แต่ลองอ่านไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามีการอ้างว่ารักษาโรคต่างๆ มากขึ้นไปอีก ประหนึ่งว่ามันคือ อาหารเทวดา เช่น ความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ  อาการหลอดเลือดแข็ง ลดไขมัน ทำให้ผิวพรรณสดใส ฯลฯ แต่ที่หาไม่เจอคือ ข้อมูลแสดงที่มาของการวิจัยว่าเป็นหน่วยงานทางวิชาการที่ไหนทำ หรือพูดภาษาบ้านๆ คือ ยกเมฆเอาข้อมูลมาอวดอ้าง แต่ไม่บอกแหล่งที่มาว่าใครวิจัย ดีที่ไม่อ้างว่าเทวดาวิจัย(ฮา)         เมื่อตามเข้าไปดูในเฟซบุ๊คของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ยิ่งหนักขึ้นไปอีก มีการนำภาพผ้สูงอายุมาประกอบการโฆษณา โดยมีข้อความชวนตะลึงเข้าไปอีก เช่น “ทานต่อเนื่อง 3 กล่อง ต้อเนื้อหลุด ตาพร่ามัวดีขึ้น มองชัด” ผลิตด้วยเทคโนโลยีนาโน และยังแทคข้อความแฝงสรรพคุณต่างๆ เช่น #แสบตา #เคืองตา #น้ำตาไหล #ตาพร่ามัว #แพ้แสง #แพ้ลม #มองไม่ชัด#ภาพซ้อน #หยากไย่ลอยไปลอยมา #ตาบอดกลางคืน #ต้อลม #ต้อกระจก#ต้อเนื้อ #ต้อหิน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีภาพกล่องพัสดุที่เตรียมส่งไปรษณีย์กองใหญ่ รวมทั้งโชว์ภาพใบส่งของไปรษณีย์ที่ยาวเหยียดมากมาย เหมือนโชว์ว่าสินค้านี้มีผู้สั่งซื้อจำนวนมาก         อันที่จริง ลูทีน เป็นสารอาหารในกลุ่มเดียวกับ เบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ พบได้มากในผักและผลไม้หลายชนิด เช่น ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ คะน้า ข้าวโพด กีวี องุ่น ส้ม ฯลฯ ดังนั้นไม่จำเป็นเลยที่จะต้องไปเสียเงินเสียทองซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแพงๆ มากิน หากใครติดตามข่าวจะพบว่าแม้กระทั่งจักษุแพทย์ เช่น ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังเคยออกมาเตือนผ่านทางสื่อต่างๆ ว่า โรคตาแต่ละชนิดมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเป็นต้อกระจกต้องผ่าตัดต้อกระจก หากเป็นต้อหินก็ต้องให้ยาลดความดันลูกตา ไม่สามารถใช้วิตามินกินแล้วบอกว่ารักษาทุกโรคได้         สารลูทีนและซีแซนทีน เป็นกลุ่มวิตามิน ซึ่งมีการศึกษาที่พิสูจน์ว่าได้ประโยชน์เฉพาะผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุบางประเภท “ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ก่อน” จึงจะสามารถใช้ยาได้ “ดังนั้นการโฆษณาว่ารักษาโรคตาได้ทุกโรคนั้นไม่เป็นความจริง เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ หนำซ้ำจะทำให้เกิดอันตราย ขาดโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้โรครุนแรงขึ้นจนถึงขั้นตาบอดได้” เช่น ถ้าเป็นต้อเนื้อ ก็จะลุกลามจนบังการมองเห็น ถ้าเป็นต้อกระจกก็จะทำให้อาการรุนแรงเกิดผลแทรกซ้อนกลายเป็นต้อหินและตาบอดในที่สุด ยิ่งถ้าเป็นต้อหินอยู่เดิมแล้วไม่ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันลูกตาอาจจะทำให้ตาบอดได้ บางคนอาจจะใช้เวลาเพียง 1-2 เดือนก็ทำให้ตาบอดได้        ทราบข้อมูลขนาดนี้แล้ว ช่วยๆ กันเตือนคนที่เรารัก ให้เท่าทัน หากมีปัญหาเรื่องตา ควรไปหาจักษุแพทย์ตรวจรักษาอย่างถูกวิธีดีกว่า อย่าไปหลงเป็นเหยื่อ ให้ผลิตภัณฑ์พวกมา...โอ้ละหนอ หลอกดวงตาจนอาจจะบอดเอย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 สิทธิของผู้ซื้อที่ดินที่เป็นที่สาธารณประโยชน์

        เช่นเคยผมมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกฎหมายใกล้ตัวทุกท่านมาบอกเล่า โดยจะขอหยิบยกเรื่องของสิทธิในที่ดินมาพูดถึงอีกสักครั้ง เพราะเห็นว่าทุกวันนี้ก็ยังมีปัญหากันไม่น้อย เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน  สิทธิผู้บริโภคกำหนดว่าผู้บริโภคต้องได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา อย่างไรก็ตามผู้บริโภคก็ต้องระมัดระวัง ไม่ใช่ตรวจสอบเพียงข้อสัญญา แต่ต้องตรวจถึงทรัพย์สินที่ซื้อขายด้วย         อย่างกรณีตัวอย่างคดีที่ยกมาให้ดูกันนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อไปซื้อที่ดินซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่งกฎหมายวางหลักไว้ว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ ประเด็นคือถ้าทำสัญญาซื้อขายกันแล้วจะมีผลใช้บังคับได้แค่ไหน และหากสัญญาเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ ผู้ซื้อมีสิทธิขอเงินค่าที่ดินคืนได้เพียงใด ประเด็นดังกล่าว มีคดีขึ้นสู่ศาล และศาลฏีกาได้วางหลักไว้ว่าการที่โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่กัน เป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยย่อมตกเป็นโมฆะ และหากโจทก์ผู้ซื้อรู้อยู่ขณะทำสัญญาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ ถือว่าชำระนี้ไปโดยรู้อยู่ว่าตนเองไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้เงินค่าที่ดินคืน         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2555        ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 บัญญัติว่า ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่กัน จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150 และมีผลเป็นการเสียเปล่าเท่ากับโจทก์จำเลยมิได้ทำสัญญาซื้อขายกันและต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมแก่กันโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตามมาตรา 172        แต่การที่โจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ถือว่าเป็นการกระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 407 และมาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับคืนราคาที่ดินที่ชำระแก่จำเลยดังกล่าว        นอกจากนี้ แม้เป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น  ผู้ใดจะอยู่มาช้านานเท่าใดก็ ไม่ได้กรรมสิทธิ์            คำพิพากษาฎีกาที่ 1642/2506        ที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ผู้ใดจะอยู่มาช้านานเท่าใดก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ แต่ถ้าหากบุคคลอื่นเข้ามากั้นรั้วปลูกเรือนแพและสิ่งอื่นๆ กีดขวางหน้าที่ดินของเจ้าของที่ดินที่ติดกับที่ชายตลิ่งเต็มหมด จนไม่สามารถใช้สอยชายตลิ่งเข้าออกสู่ลำแม่น้ำได้แล้ว ย่อมถือว่าเจ้าของที่ดินนั้นได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ มีสิทธิฟ้องขับไล่ได้          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์        มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของ แผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น        (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมา เป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน        (2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ        (3) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อม และโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์         มาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กัน มิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา        มาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินใน เรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน        มาตรา 1307 ท่านห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ว่าทรัพย์สินนั้น จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 ผู้สูงวัยดูแลผิวแห้งลอกเป็นขุยอย่างไรดี

        พอเลขอายุเริ่มสูงขึ้น สุขภาพผิวก็เสื่อมลงเป็นธรรมชาติอันยากจะเอาชนะ ผิวที่แห้งแตกลอกเป็นขุยในผู้สูงวัยเกิดจากการผลัดผิวของชั้นหนังกำพร้าที่ช้าลงไปเรื่อยๆ (ปกติผิวชั้นหนังกำพร้าจะเปลี่ยนเซลล์ใหม่ในเวลา 4 สัปดาห์)  ทำให้ผิวแตก เกิดขุยและคัน บางคนเกาจนกลายเป็นแผลอักเสบติดเชื้อ  ฉลาดซื้อจึงขอนำแนวทางการดูแลผิวแห้งมาฝากเพื่อช่วยให้อาการคันและอักเสบต่างๆ บรรเทาลง         ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง        ถ้าสภาพผิวแห้งมากควรอาบน้ำโดยงดเว้นการใช้สบู่ ทั้งสบู่ก้อนและสบู่เหลว เพราะสบู่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะสบู่เหลวมีสารชำระล้างที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิว หากจะเลือกใช้ควรเปลี่ยนเป็นสบู่เด็กหรือสบู่ที่ผลิตแบบธรรมชาติไม่ได้ใช้ไขมันสัตว์ ไม่ใส่สารชำระล้างที่แรง(สังเกตจากฟอง ฟองมากมักเกิดจากสารชำระล้าง) ไม่มีวัตถุกันเสียหรือแอลกอฮอล์         ครีมบำรุงผิว/โลชั่น        หลังอาบน้ำ ควรทาครีมบำรุงผิว โดยเลือกที่เนื้อครีมหนักเน้นให้ความชุ่มชื้น เลือกที่ไม่มีส่วนผสมของสารกันเสียอย่างพาราเบน แอลกอฮอล์ หรือเลือกใช้เป็นเบบี้ออยล์ชโลมผิว อาจรู้สึกเหนอะหนะแต่จะช่วยลดอาการผิวลอกเป็นขุยได้         เลี่ยงการอาบน้ำอุ่น        หลายท่านชอบอาบน้ำอุ่นหรือแช่น้ำอุ่นเพราะรู้สึกผ่อนคลาย แต่น้ำอุ่นสร้างความแห้งให้แก่ผิวโดยตรง ยิ่งสัมผัสนานผิวยิ่งแห้งดังนั้นควรเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น หรือหากต้องการผ่อนคลายควรแช่เฉพาะบางส่วนเช่น มือ เท้า         ใช้ครีมกันแดด        เมื่อต้องออกไปเผชิญแดดจัดจ้าควรปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยครีมกันแดด หรือสวมใส่เสื้อผ้าปิดบังผิวบริเวณที่มักลอกเป็นขุยเช่น แขน หน้าแข้ง หรือใช้ร่ม หมวกเพื่อลดความเสี่ยงจากแสงแดดแรงที่ส่งผลต่อผิวหนัง         ดูแลเรื่องอาหาร         ดื่มน้ำให้มาก งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่                 ไม่ใช้ยาประเภทคาลาไมน์                      เวลาเกิดผดผื่น บางคนนิยมใช้ยาคาลาไมน์หวังทาลดอาการคัน แต่รู้ไหมว่าผลข้างเคียงคือทำให้ผิวยิ่งแห้งตึง         สังเกตความผิวปกติของไฝหรือก้อนเนื้อบนผิว         หากไฝหรือตุ่มนูนบนผิวมีการขยายใหญ่ขึ้น หรือเกิดการอักเสบมีเลือดออก สีเปลี่ยนไป ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อหาสาเหตุและรักษาทันที         ผิวแห้งกร้านในผู้สูงอายุ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เพราะเป็นเรื่องของผิวที่เสื่อมลงไปตามกลไกธรรมชาติ แต่สามารถดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอาการที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ ผู้สูงอายุบางท่านอาจไม่สามารถจดจำหรือดูแลตัวเองได้ ลูกหลานควรใส่ใจและช่วยดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของท่าน   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 รู้จักใช้เงินให้เป็นกับ Money Manager

     หลายคนอาจคิดว่าการออมเงินเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ซึ่งมันก็จริงตามนั้น แต่อยากให้มองเห็นถึงความสำคัญของการออมเงิน เพราะเงินที่ออมนั้นจะสามารถนำมาใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินที่เกิดการเจ็บป่วยเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นเงินเก็บเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือเพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณ วัยที่ไม่สามารถทำงานได้ โดยเฉพาะวัยที่เริ่มทำงานที่ยังไม่มีภาระควรออมเงินบางส่วนไว้สำหรับอนาคต แนะนำว่าควรนำรายได้หักลบจากเงินออม ส่วนเงินที่เหลือก็ค่อยไว้ใช้จ่าย        แต่เชื่อได้เลยว่าคนส่วนใหญ่มักใช้จ่ายเกินเงินที่ควรใช้และต้องมาเอาเงินในส่วนที่ออมไว้ไปใช้จ่ายเพิ่มเติม ผู้อ่านได้มีโอกาสไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่งได้ให้ข้อคิดไว้ว่า แค่ขจัดความอยาก ความไม่จำเป็นออกไป เมื่อเกิดความอยากสิ่งที่ตามมาคือการหาเหตุผลในการใช้จ่าย แต่บางครั้งเหตุผลดังกล่าวอาจเป็นแค่ข้ออ้างในความอยากได้เท่านั้น ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้ดีว่าสิ่งที่ต้องใช้จ่ายนั้นเป็นแค่ความอยากหรือเป็นความจำเป็น ก่อนที่เงินในกระเป๋าจะหมดเกลี้ยงไปอย่างไม่รู้ตัว         วิธีที่ดีที่สุดนั่นคือการทำบันทึกรายรับรายจ่ายการใช้จ่ายเงินของตนเองในแต่ละวัน เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่ให้เกินตัว นอกจากนี้ควรวางแผนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ตั้งงบประมาณรายจ่ายค่าอาหารต่อเดือนไว้ประมาณ 3,000 บาท เป็นต้น         การทำบันทึกรายรับรายจ่ายอาจจะใช้วิธีการจดบันทึกลงสมุด หรืออาจจะบันทึกผ่านแอปพลิเคชันก็ได้เช่นกัน ฉบับนี้ขอแนะนำแอปพลิเคชัน Money Manager         ภายในแอปพลิเคชันจะแบ่งเป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวดรายรับรายจ่าย, หมวด Stats, หมวด Accounts และหมวด settings โดยสามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว เพียงแค่เข้าไปที่หมวดรายรับรายจ่ายเป็นหลัก เพื่อที่จะเพิ่มข้อมูลจากการเลือกว่าเป็นรายรับหรือรายจ่ายเท่าใด หลังจากนั้นให้เลือกรูปแบบการใช้เงิน เช่น เงินสด บัตรเครดิต เป็นต้น เลือกหมวดค่าใช้จ่ายของสินค้า ระบุตัวเลขที่ใช้จ่าย และกดบันทึก         ทั้งนี้ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถเลือกดูรูปแบบการสรุปการใช้จ่ายเงินเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ หรือถ้าต้องการใช้แอปพลิเคชันช่วยสรุปเปอร์เซ็นต์การใช้จ่ายในแต่ละเดือนออกมาเป็นสถิติรูปวงกลมก็ให้ไปดูได้ที่หมวด Stats หรือถ้าต้องการใช้แอปพลิเคชันช่วยแบ่งตามรูปแบบการใช้จ่ายว่าการใช้จ่ายเงินสดใช้เงินไปทั้งหมดเท่าใดและใช้ผ่านบัตรเครดิตไปจำนวนเท่าใดก็สามารถดูได้เช่นกัน         ประโยชน์ของการใช้แอปพลิชัน Money Manager นี้จะช่วยสรุปค่าใช้จ่ายเพื่อทำให้รู้ว่าในแต่ละช่วงสัปดาห์ได้ใช้จ่ายไปในเรื่องใดมากที่สุด และพิจารณาว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นได้หรือไม่ ซึ่งเป็นการบริหารการใช้เงินและควบคุมการใช้จ่ายไม่ให้เกินตัวได้ทางหนึ่ง         อย่าลืมท่องเอาไว้ว่า “เงินจะไม่หมด ถ้ารู้จักใช้เงินให้เป็น”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 222 รู้เท่าทันพลังกับสุขภาพ

        เป็นเรื่องฮือฮามากเมื่อสองสามเดือนก่อน จากกรณีที่ชาวบ้านในหลายจังหวัดหลงเชื่อและซื้อ “บัตรพลังงาน” โดยอ้างสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆ เช่นอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย วิธีการรักษา คือให้นำบัตรไปแตะบริเวณที่ปวด หรือนำแก้วน้ำไปวางบนบัตร หรือนำเอาบัตรไปจุ่มในแก้วแล้วดื่ม จนมีการเปิดโปงและจับกุม เรามารู้เท่าทันบัตรพลังงานกันเถอะ ความเชื่อเรื่องพลังกับสุขภาพ        ถ้าเราอ่านข่าวครั้งแรก เราคงรู้สึกว่า ทำไมชาวบ้านถึงหลงเชื่อง่ายๆ ว่า บัตรคล้ายบัตรโทรศัพท์มีพลังงานที่จะรักษาโรค ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้  จริงๆ แล้ว ความเชื่อเรื่องพลังในวัตถุต่างๆ นั้นมีในทุกวัฒนธรรม ทุกยุค ทุกสมัย ในการแพทย์ดั้งเดิมเชื่อว่า หิน วัตถุบางชนิดมีพลังในตัว และสามารถส่งผลต่อสุขภาพ จนการแพทย์ทางเลือกจัดเรื่องพลังเป็นประเภทหนึ่งของการแพทย์ทางเลือก การแพทย์จีนเชื่อเรื่องพลังชี่ การแพทย์แผนไทยเชื่อเรื่องพลังที่วิ่งตามเส้นประธานทั้งสิบ โฮมีโอพาธีย์เชื่อเรื่องพลังจากพืช สัตว์ โลหะ ที่นำมาเจือจางและกระแทก เขย่าในน้ำหรือสารละลาย หลายวัฒนธรรมเชื่อเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ ดังนั้น บัตรพลังงานจึงสอดคล้องกับความเชื่อเรื่อง พลังในวัตถุและพลังกับสุขภาพได้ง่าย มีระบบธุรกิจรองรับ         บัตรพลังงานนี้มีชื่อว่า ‘Kartu Sakti’ พบว่าต้นตอมาจากประเทศอินโดนีเซีย ทางเว็บไซต์ต้นทางของบัตรระบุว่า มียอดขายแล้วกว่า 5 แสนใบทั่วโลก          นอกเหนือจากความเชื่อเรื่องพลังงานในบัตรแล้ว ยังต้องมีระบบธุรกิจรองรับ เพื่อให้เกิดความนิยมและขยายตัว  สามารถทำกำไรได้เป็นจำนวนมาก จึงมีการโฆษณาในโลกออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องบัตรพลังงาน หรือบัตรพลัง หรือการ์ดวิเศษ ว่ามีคุณสมบัติพิเศษ สามารถช่วยค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส LPG NGV และน้ำมัน ได้เพียงแค่นำไปแปะไว้ที่อุปกรณ์ไฟฟ้า ถังน้ำมัน หรือถังแก๊สนั้น(กระทรวงพลังงานของประเทศไทยได้ออกมายืนยันแล้วว่า ไม่เป็นความจริง ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และอย่าตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพจนทำให้ต้องสูญเสียเงินทองโดยไม่จำเป็น)         นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรม และสาธิตสรรพคุณของบัตร มีการรับสมัครเป็นสมาชิกเพื่อจะได้บัตรพลังงานไปใช้ โดยมีการจ่ายเงินซื้อบัตร และจำหน่ายบัตรให้คนที่สนใจ เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย หากขายได้และมีสมาชิกเพิ่ม ก็จะได้เงินจากการขาย ไม่มีงานวิจัยรองรับ         ปกติแล้ว ธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพจะอ้างอิงงานวิจัยในวารสารที่น่าเชื่อถือ เพื่อสนับสนุนว่าผลิตภัณฑ์แต่ละตัวมีประสิทธิผลที่น่าเชื่อถือ  แต่สำหรับบัตรพลังงานนั้นใช้การสาธิตกับบุคคล และบุคคลนั้นยืนยันว่าบัตรพลังงานใช้ได้ผลจริง ทำให้ชาวบ้านเชื่อถือ  จริงๆ แล้ว ต้องใช้หลักกาลามสูตร อย่าเพิ่งเชื่อง่ายๆ ตามคำบอกเล่า ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะกลายเป็นตัวแทนจำหน่ายบัตรพลังงาน พลังงานของบัตรกลายเป็นกัมมันตรังสี         คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยผลตรวจสอบบัตรพลังงานล่าสุด พบมีสารกัมมันตรังสี และโลหะหนัก เสี่ยงก่อมะเร็ง เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ “บัตรพลังงาน” บัตรไม่มีกระแสไฟฟ้า หรือพลังงานตามที่บริษัทผู้จำหน่ายกล่าวอ้างสรุป     จะมีผลิตภัณฑ์สุขภาพเกิดขึ้นอีกมากที่ใช้ความเชื่อของประชาชนมาเป็นเครื่องมือ  ร่วมกับระบบธุรกิจที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทน จึงควรวิเคราะห์หาข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจใช้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรีดไขมัน สร้างกล้ามเนื้อ

หุ่นที่ไร้ไขมัน มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าท้อง ดูจะเป็นกระแสนิยมกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาวที่รักสุขภาพและรักความงาม ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รีดไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อจึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมและส่งเสริมกันในสถานออกกำลังกาย ผู้ที่อยากมีรูปร่างสวยงามจึงยินดีควักเงินในกระเป๋าโดยไม่ลังเล โดยที่ไม่รู้ถึงอันตรายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้ และไม่รู้ว่าคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะ แอลคาร์นิทีนกำลังมาแรง        ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อมีหลายชนิด แต่เห็นที่โฆษณากันมากก็คงไม่พ้นแอลคาร์นิทีนที่กำลังเป็นที่สนใจและบริโภคกันมาก มีขายในเว็บไซต์จำนวนมากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  มีการโฆษณาว่า ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ลดมวลไขมันออกจากร่างกาย และยังช่วยลดความเหนื่อยล้าอีกด้วย ทำให้การออกกำลังกายอย่างเดียวเพื่อลดไขมันนั้นไม่ดีพอ ต้องกินแอลคาร์นิทีนร่วมด้วย จะรีดไขมันได้ดีกว่า แอลคาร์นิทีนคืออะไร         แอลคาร์นิทีนเป็นสารประกอบที่พบได้ในเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายโดยเฉพาะในกล้ามเนื้อลาย แอลคาร์นิทีนถูกสังเคราะห์ขึ้นที่ตับจากกรดอะมิโนไลซีน(lysine)  ซึ่งมีส่วนสำคัญในกระบวนการสลายไขมัน  โดยทำหน้าที่ในการขนส่งกรดไขมันอิสระเพื่อสร้างเป็นพลังงานสำหรับร่างกายเอาไว้ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ถ้าขาดคาร์นิทีน ร่างกายจะไม่สามารถนำไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ทำให้เกิดการสะสมไขมัน ทำให้อ้วน         ความจริงแอลคาร์นิทีนมีอยู่ในอาหารต่างๆ ตั้งแต่ ปลา สัตว์ปีก เนื้อแดงของหมู และนม ดังนั้นจึงเป็นสารประกอบที่ร่างกายสร้างขึ้นหรือได้รับจากอาหารต่างๆ ที่กินเข้าไป โดยทั่วไปจึงไม่มีความจำเป็นต้องกินแอลคาร์นิทีน แอลคาร์นิทีนลดมวลไขมันได้จริงหรือไม่         จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกล่าวว่า แอลคาร์นิทีนจะต้องใช้คู่กับการออกกำลังกายเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ถ้ากินแอลคาร์นิทีนอย่างเดียวโดยไม่ออกกำลังกายก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย การออกกำลังกายชนิดเต้นแอโรบิคเป็นเวลา 30 นาทีหรือถ้าต้องการให้ได้ผลมากกว่านี้ควรออกกำลังกายเกิน 60 นาที กรดไขมันจึงถูกนำมาใช้ได้สูงสุดถึงร้อยละ 70 ซึ่งจะทำให้ไขมันที่สะสมในร่างกายถูกนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่         แม้ว่าจะมีงานวิจัยของต่างประเทศที่สรุปว่า การกินแอลคาร์นิทีนนั้นมีส่วนช่วยลดน้ำหนักได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่กิน แต่ปริมาณน้ำหนักที่ลดก็จะน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อใช้เป็นเวลานานขึ้น ผลข้างเคียงของแอลคาร์นิทีน             ราคาของแอลคาร์นิทีนที่ขายนั้นค่อนข้างสูง ตกแคปซูลละเกือบ 10 บาท และใช้วันละ 3-4 แคปซูล ดังนั้น การออกกำลังกายที่มากพอน่าจะเป็นการประหยัดและได้ผลดีกว่าการหวังพึ่งผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว        นอกจากนี้ การกินแอลคาร์นิทีนปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัวสรุป     การรีดไขมันและการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อที่ดีที่สุด ประหยัดที่สุด ปลอดภัยที่สุด ก็คงไม่พ้นการออกกำลังกาย และการกินอาหารสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม >