ฉบับที่ 105 กระแสต่างแดน

มือถือรุ่นสกัดบริการเสริมปัญหาเรื่องค่าธรรมเนียมบริการเสริมในโทรศัพท์มือถือนี่ไม่ใช่มีแต่ในเมืองไทยกันนะพี่น้อง ผู้บริโภคชาวออสซี่เขาก็สุดทนกับรายจ่ายอันไม่คาดฝันที่โผล่มาพร้อมบิลค่าบริการโทรศัพท์มือถือเหมือนกันล่าสุดทางการเขาก็คิดทางเลือกกันขึ้นมาสองทาง หนึ่งคือออกข้อบังคับให้เครื่องรับโทรศัพท์ทุกเครื่องถูกตั้งมาให้ไม่สามารถรับบริการเสริม (ที่คิดเงินเพิ่ม) จนกว่าเจ้าของจะไปแจ้งว่าตนเองต้องการใช้บริการดังกล่าว หรืออย่างที่สอง คือ ไม่ต้องไปทำอะไรกับเครื่องโทรศัพท์ แต่ให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายแจ้งมาเองถ้าต้องการให้เครื่องรับของตนเองบล็อกบริการสิ้นเปลืองดังกล่าวท้ายสุดคณะกรรมาธิการการแข่งขันและคุ้มครองผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission: ACCC) เห็นด้วยอย่างยิ่งกับทางเลือกที่หนึ่งที่จะมีโทรศัพท์ชนิดที่ “ไม่รับ” บริการเสริมออกมาจำหน่าย และถ้าผู้บริโภคสนใจบริการเสริมใดๆ ก็โทรไปแจ้งขอเปิดรับบริการ ซึ่งจะดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายและการเข้าถึงสื่อของลูกๆACCC ฟันธงแล้วว่าจะนำเสนอรูปแบบนี้ต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ในขณะที่วิจารณ์ว่าทางเลือกที่สองนั้นค่อนข้างจะอ่อนไปหน่อย เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจไม่รู้ว่าพวกเขาสามารถโทรไปขอให้มีการบล็อคโทรศัพท์ได้   เมื่อขยะเดินทางไกลปัจจุบันขยะอิเล็กทรอนิกส์ในยุโรปนิยมเดินทางไปต่างประเทศกันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังปลายทางอย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย หรืออัฟริกา นั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเหตุที่ขยะเหล่านั้นต้องเดินทางกันมากขึ้นก็เพราะกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้นของยุโรปนั่นเอง ตั้งแต่การรีไซเคิลหรือการกำจัดอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นภาคบังคับ การเก็บภาษีการเผาขยะ (ซึ่งแพงมากๆ) ไปจนถึงการห้ามเด็ดขาดเรื่องการเอาขยะไปถมที่ยกตัวอย่างเช่น การเผาขยะในเนเธอร์แลนด์นั้น แพงกว่าการส่งขยะลงเรือไปประเทศจีนถึง 4 เท่า นี่คิดเทียบกับการส่งออกขยะแบบถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ความจริงแล้วสามารถถูกลงกว่านั้นได้อีกถ้าเป็นการดำเนินการแบบใต้ดิน (หรือจะเรียกว่าใต้น้ำดี) ที่คุณสามารถส่งขยะของคุณไปยังประเทศอันห่างไกลแล้วทำให้มันสาบสูญไร้ร่องรอยไปโดยไม่ต้องใช้ทุนมากข่าวบอกว่าในบรรดาขยะที่ส่งออกไปจากยุโรปนั้น มีถึงร้อยละ 16 ที่เป็นการส่งไปแบบผิดกฎหมาย แต่ขยะที่ไม่มีทั้งพาสปอร์ตและวีซ่าเหล่านี้สามารถผ่านออกไปได้ฉลุยเพราะท่าเรือส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้มงวดกับสินค้าที่ส่งออกมากเท่ากับสินค้านำเข้า ที่สำคัญยังมีเรือที่นำเสื้อผ้าราคาถูกเข้ามาส่งในยุโรปแล้วไม่อยากกลับบ้านเรือเปล่าอีกจำนวนไม่น้อยด้วยปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในยุโรปนั้นลดลงมากกว่าครึ่งจากที่คาดการณ์ไว้ แต่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของยุโรป (European Environment Agency) บอกว่า ดูท่าแล้วคงจะลดลงเพราะถูกลักลอบส่งออกไปมากกว่าปัจจุบันท่าเรือร็อตเตอร์ดัม ซึ่งเป็นท่าเรือที่จอแจที่สุดในยุโรป ทำหน้าที่เป็นชุมทางเรือบรรทุกขยะไปโดยปริยาย ขยะกระดาษ พลาสติก หรือโลหะจากยุโรปจะถูกส่งไปยังประเทศจีน ในขณะที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะไปที่ปลายทางในอัฟริกาที่ กาน่า อียิปต์ และไนจีเรียณ ประเทศปลายทางของเรือที่ออกจากท่านี้จะมีเด็กๆ คอยทำหน้าที่แยกชิ้นส่วนต่างๆ (ซึ่งเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะมีสารพิษ) ที่สามารถนำกลับไปใช้ได้ ส่วนขยะอีกจำนวนหนึ่ง (ที่กฏหมายยุโรประบุว่า ต้องนำไปรีไซเคิล) ก็จะถูกเผาหรือปล่อยไว้ให้ผุพังไปตามอัธยาศัยที่ท่าเรือร็อตเตอร์ดัมนั้นมีการใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ และการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อหาตู้สินค้าน่าสงสัยและจัดการปรับผู้กระทำผิด และส่งขยะเหล่านั้นกลับไปยังประเทศต้นตอ แต่ฝ่ายที่แอบส่งขยะไปประเทศที่สามอย่างผิดกฎหมายนี้มองว่าค่าปรับแค่ 22,000 เหรียญ (เจ็ดแสนกว่าบาท) นั้นถือว่าคุ้มมาก ซึ่งยังถือว่าเป็นอัตราที่ผู้ลักลอบส่งขยะเหล่านั้นมองว่าน่าเสี่ยงไปไม่พ้น จีเอ็มโอผู้บริโภคทั่วโลกนั้นชัดเจนมานานแล้วว่าไม่ต้องการอาหารที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม แต่ดูเหมือนว่า แม้ในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ปฏิเสธอาหารดัดแปรพันธุกรรมอย่างเป็นทางการไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วอย่างประเทศอังกฤษก็กำลังเผชิญกับปัญหา หนีไม่พ้นจีเอ็มโอปัจจุบันสองในสามของถั่วเหลือง 2.6 ล้านตันที่อังกฤษนำเข้านั้น เป็นถั่วเหลืองที่ดัดแปรพันธุกรรมที่ส่วนใหญ่ส่งมาจากประเทศในทวีปอเมริกาและระบุว่าใช้เพื่อเป็นอาหารสัตว์ นอกจากนี้น้ำมันจากถั่วเหลืองที่ดัดแปรพันธุกรรม ก็ใช้กันแพร่หลายในธุรกิจอาหารในประเทศด้วยเมื่อดูจากปริมาณการนำเข้าแล้วก็ดูจะเชื่อได้ยากเหลือเกินว่าอาหารที่วางขายอยู่ทั่วไปในอังกฤษนั้นจะปลอดจากพืชดัดแปรพันธุกรรม และการตรวจสอบต้นตอที่มาของมันก็ยากขึ้นทุกที เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่าถ้านำอาหารพวกนั้นไปตรวจก็มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะพบพืชดัดแปรพันธุกรรมเป็นส่วนผสมปัญหาอีกอย่างหนึ่งของพืชพันธุ์จีเอ็มโอก็คือ การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ จะว่าไปแล้ว อำนาจของธุรกิจในการควบคุมเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าและการผลิตสารเคมีการเกษตรไม่เคยมากเท่านี้มาก่อน ปัจจุบันร้อยละ 82 ของเมล็ดพันธุ์ในตลาดโลกเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ “มีเจ้าของ” ที่สำคัญเกือบครึ่งหนึ่งของเมล็ดพันธุ์อันมีลิขสิทธิ์ในตลาดโลกซึ่งมีมูลค่าถึง 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น ถูกยึดครองโดยสามบริษัทใหญ่ ได้แก่ มอนซานโต และดูปองท์ จากสหรัฐฯ และ ซินเจนต้าจากสวิตเซอร์แลนด์ เท่านั้นและสามบริษัทที่กล่าวมารวมกับ Bayer BASF และ DowAgro Sciences ก็ครองตลาดสารเคมีการเกษตรไปถึง 3 ใน 4 ของโลกแล้วเช่นกัน เอาอะไรมาแลก ก็ไม่ยอมสองในสามของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ไม่เห็นด้วยกับการถูกบริษัทโฆษณาเฝ้าติดตามพฤติกรรมออนไลน์ แม้ว่ามันจะหมายถึงการได้คูปองส่วนลดหรือการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ตนเองสนใจก่อนใครโดยอัตโนมัติก็ตามการสำรวจครั้งนี้พบว่าร้อยละ 66 ของผู้ตอบคำถาม (ซึ่งได้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ท ที่อยู่ในวัยระหว่าง 18 ถึง 24 ปี ทั้งหมด 1,000 คน) ไม่เห็นด้วยกับการที่บริษัทต่างๆ ส่งโฆษณามาให้ โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ทในการหาข้อมูลของตนเองก่อนหน้านั้น และเมื่อได้ทราบถึงวิธีการต่างๆ ที่เว็บไซต์ใช้ในการติดตามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทั้งทางออนไลน์ และออฟไลน์ (เช่น ณ จุดขาย) อัตราส่วนของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ทเหล่านี้ ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเรื่องนี้ค้านกับข้อสรุปของนักการตลาดที่ทึกทักเอาว่าการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคทางอินเตอร์เน็ทเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ต้องเกรงใจ เพราะบรรดาวัยรุ่นใน Facebook นั้นไม่มีปัญหากับการเปิดเผยข้อมูลของตนเองให้คนทั่วไปได้รับรู้แต่อย่างใด และโฆษณานี่แหละคือสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 70 ของผู้ตอบบอกว่าเห็นด้วยกับการมีกฎหมายที่ให้สิทธิกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ทได้รับรู้ว่าเว็บไซต์รู้อะไรเกี่ยวกับพวกเขาบ้าง ในขณะที่มีเสียงอีกท่วมท้น (มากกว่าร้อยละ 90) บอกว่าน่าจะมีกฎหมายที่ระบุให้ทางเว็บไซต์ลบข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งทันทีที่ได้รับการร้องขอที่สำคัญการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามน้อยกว่าครึ่งที่เข้าใจถูกต้องว่าถึงแม้เว็บไซต์จะมีสิ่งที่เรียกว่า “นโยบายเรื่องความเป็นส่วนตัว” แต่ก็ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของเว็บตัวเองกับบริษัทอื่นๆ ได้อยู่ดี 

อ่านเพิ่มเติม >