ฉบับที่ 139 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 2555 อย.ก็ตรวจสารเคมีในผัก หลังจากที่ฉลาดซื้อของเราได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างผักสดที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง แล้วพบว่ามีการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกินมาตรฐานในหลายตัวอย่าง ซึ่งหลังจากฉลาดซื้อนำผลวิเคราะห์ลงในนิตยสารพร้อมทั้งเปิดแถลงข่าวจนเกิดเป็นกระแสตื่นตัวถึงอันตรายของสารเคมีในผักและการขายสินค้าไม่ปลอดภัย โดยหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงอย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ก็ได้มีการจัดเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบคุณภาพผักผลไม้ที่จำหน่ายในท้องตลาดโดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) โดยเป็นการสุ่มเก็บตัวอย่างผัก – ผลไม้ในเขตกทม.จำนวน 1,987 ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์ ผลที่ได้พบว่ามีจำนวนตัวอย่างไม่ผ่านเกณฑ์ 69 ตัวอย่าง แบ่งเป็นตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสด 60 ตัวอย่าง ตัวอย่างผักสดที่พบสารพิษตกค้างมากที่สุดคือ 1. คะน้า 2. กะหล่ำดอก 3. ต้นหอม ส่วนอีก 9 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเป็นตัวอย่างที่เก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ต โดยคะน้ายังคงเป็นผักที่พบสารตกค้างมากที่สุด รองลงมาคือ มะเขือพวง และ พริกไทย ซึ่งทาง อย. ก็ได้ตักเตือนไปกับทางผู้จำหน่าย พร้อมทั้งจะทำการสุ่มตรวจซ้ำต่อเนื่อง หากพบการทำผิดซ้ำจะมีบทลงโทษตามกฎหมาย ----------------------------------------------------------------------------------------     ไม่ใช่แค่คนขับ...คนนั่งก็มีสิทธิถูกปรับถ้าเมาบนรถ นักดื่มทั้งหลายรู้กันหรือยัง ตอนนี้มีกฎหมายออกมาแล้วว่าไม่ว่าจะเป็นคนขับรถหรือเป็นผู้โดยสารถ้าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือว่ามีความผิด ตาม “ประกาศตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เรื่อง การห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางสาธารณะ ขณะขับขี่หรือขณะโดยสารอยู่ในรถหรือบนรถทุกประเภท” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคมเป็นต้นไป โดยบทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำผิดคือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหน่วยงานที่รณรงค์เรื่องปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เชื่อว่ากฎหมายนี้น่าจะช่วยลดสถิติการเสียชีวิตและบาดเจ็บที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสถิติทุกวันนี้จะอยู่ที่เฉลี่ย 30 รายต่อวัน ยิ่งถ้าจะเป็นช่วงเทศกาลจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นนั้น บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เคยออกมารับผิดชอบแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้กฎหมายอีก 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กำลังรอการบังคับใช้ ประกอบด้วย ร่างประกาศ “ห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงานอุตสาหกรรม” ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน และ ร่างประกาศ “ห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ” ที่ยังไม่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ---------------------------------------------------------------------------------------     เรื่องร้อนๆ ของ “ผ้าเย็น” “ผ้าเย็น” ถือเป็นสินค้าที่หลายคนใช้โดยมองข้ามเรื่องความปลอดภัย ทั้งที่ความจริงแล้ว ผ้าเย็นจัดเป็นสินค้าในกลุ่ม “เครื่องสำอางควบคุม” ตามประกาศของ อย. ต้องมีการแสดงคำเตือนบนฉลาก เช่น “ห้ามใช้บริเวณรอบดวงตา” พร้องทั้งข้อมูลสำคัญอื่นๆ เช่น ชื่อ – ที่อยู่ผู้ผลิต เลขที่จดแจ้งกับทาง อย. แต่ปัจจุบันเรายังพบเห็นผ้าเย็นที่มีปัญหาเรื่องการแสดงข้อมูลบนฉลากเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผ้าเย็นที่ได้รับแจกตามร้านอาหาร โต๊ะจีน บนรถโดยสาร ซึ่งอันตรายของผ้าเย็นที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือหากถูกบริเวณก็อาจทำให้แสบตาได้ เนื่องจากสารที่ต้องห้ามในเครื่องสำอางอย่าง เมททิลแอลกอฮอล์ และรวมถึงอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ โดยล่าสุด กองบังคับการปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ได้ตรวจยึดผ้าเย็นที่เสี่ยงอันตราย จำนวนกว่า 100,000 ชิ้น มูลค่ากว่า 500,000 บาท ของบริษัทไทยโทเวล หลังจากได้รับการร้องเรียน โดยตรวจสอบพบว่าผ้าเย็นทั้งหมดไม่มีการแสดงฉลาก ---------------------------------------------------     “พาสต้า” น่าเป็นห่วง ใครที่ชอบทานอาหารอิตาเลียนชื่อดังอย่าง “พาสต้า” อ่านข่าวนี้แล้วอาจจะตกใจ เพราะมีการเปิดเผยผลการศึกษาวิจัยในการประชุมวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 20 เกี่ยวกับสิ่งแปลกปลอมในพาสต้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยศึกษาสิ่งแปลกปลอมชนิดต่างๆ ในตัวอย่างพาสต้านำเข้าช่วงเดือนตุลาคม 2548-2552 จำนวน 142 ตัวอย่าง พบสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กในทุกตัวอย่าง เช่น ชิ้นส่วนของแมลง ตัวหนอน ตัวไร มด ขนสัตว์ต่าง ๆ ไข่แมลง เป็นต้น ฟังแล้วน่าตกใจ งานนี้ อย. จึงต้องออกมาสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยได้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างพาสต้าเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสารพิษจากเชื้อราและวัตถุกันเสีย ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบตัวอย่างที่มีการปนเปื้อน พาสต้าจัดเป็นอาหารทั่วไปกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้ง ไม่มีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานเป็นการเฉพาะไว้ แต่ก็มีข้อกำหนดด้านความปลอดภัย เช่น ต้องไม่มีสารปนเปื้อนและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค แต่ปกติพาสต้าต้องมีการปรุงด้วยความร้อนก่อนทาน ก็น่าจะช่วยฆ่าเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหากใครที่ซื้อพาสต้ามาทานแล้วพบเจอสิ่งแปลกปลอมน่าสงสัยให้รีบแจ้งหรือส่งไปให้ทาง อย. ตรวจสอบต่อไป ------------------------------------------------------------------------------------     ระวังสูญเงินฟรีเพราะซอฟต์แวร์เถื่อน ใครที่ใช้งานซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ต้องระวัง โดยเฉพาะคนที่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อาจมีความเสี่ยงต่อการสูญเงินแบบไม่รู้ตัว เนื่องจากโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์มักขาดระบบป้องกันที่ได้มาตรฐาน ทำให้บรรดาอาชญากรคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ต้องใช้ความระมัดระวังในการให้ข้อมูลที่สำคัญๆ โดยเฉพาะหมายเลขบัญชีธนาคาร และรวมถึงรหัสผ่านต่างๆ นอกจากนี้หากมีการติดต่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงินผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิก ก่อนการตอบรับหรือติดต่อกลับต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าถูกส่งมาจากธนาคารจริง ป้องกันการหลอกลวงจากมิจฉาชีพที่หวังข้อมูลด้านการเงินของเรา หากไม่แน่ใจหรือมีข้อสงสัยในขั้นตอนใดๆ ของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ต้องโทรสอบถามกับทางธนาคาร สำหรับอันตรายของการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ คือการส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะระบบป้องกันข้อมูลต่างๆ มีประสิทธิภาพจะด้อยลง และบ่อยครั้งที่มัลแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยมักจะถูกโหลดมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ที่ไม่ถูกกฎหมายโดยที่ผู้บริโภคไม่รู้ตัว  ที่สำคัญคือผู้บริโภคเองก็ต้องรู้จักที่จะปกป้องข้อมูลของตัวเอง อย่างเช่นการเปิดระบบ Firewalls และทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่มีประสิทธิภาพไว้ในคอมพิวเตอร์ของตัวเอง หมั่นล้างประวัติการใช้งานอินเตอร์เน็ต และเปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้ในการทำธุรกรรมการเงินเป็นประจำ ยิ่งเดี๋ยวนี้หลายคนใช้เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าง Facebook และ Twitter การแสดงข้อมูลสำคัญต่างๆ ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะอาจมีผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นแล้วนำไปใช้ประโยชน์จนเกิดความเสียหายกับเราได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 เพราะคุณไม่คู่ควร

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอพาคุณย่ำยุโรปเพื่อสังเกตการณ์การทดสอบหาสารเคมีรบกวนฮอร์โมน ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางยอดนิยมของคนแถวนั้นดูบ้าง โครงการนี้เป็นความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคในยุโรป European Environment and Health Initiative (EEHI) และองค์กรทดสอบสากล (International Consumer Research & Testing) เขาอยากรู้ว่าในบรรดาสารเคมีต่างๆที่เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางนั้น ความจริงแล้วมีในปริมาณเท่าใด แต่ละตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ และถ้าคิดรวมๆกันแล้วผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีสารที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคในปริมาณเท่าใด ผลทดสอบที่ได้จะเป็นข้อมูลสนับสนุนข้อเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรป ทบทวนนโยบายการจัดการกับสารรบกวนฮอร์โมนและการนำมาใช้ในเครื่องสำอางนั่นเอง งานนี้ใช้ต้นทุนในการทดสอบ (ค่าซื้อสินค้าและค่าห้องปฏิบัติการ) ไปถึง 45,500 ยูโร (ประมาณ 1,700,000 บาท) การทดสอบครั้งนี้ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม 2555 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องสำอางขายดีในอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งหมด 66 ผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วยแชมพู ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัว ครีมทาหน้า ครีมทาผิว รองพื้น ยาทาเล็บ ลิปสติก ครีมกันแดด ทีมทดสอบเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงเป็นหลัก เพราะผู้หญิงมีแนวโน้มจะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้บ่อยครั้งกว่าและยังมีความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในช่วงตั้งครรภ์ด้วย -------------------------------------------------------------------------------------------------   โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางวันละ 10 - 20 ชนิด แต่ละผลิตภัณฑ์ก็ประกอบขึ้นด้วยส่วนผสมของสารเคมีจำนวนไม่น้อย แม้จะมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าการได้รับสารเคมีบางตัวอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อถูกรบกวน  แต่ทุกวันนี้ยังไม่งานวิจัยว่าด้วยผลกระทบต่อสุขภาพหรือต่อสิ่งแวดล้อมจากการได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าไปพร้อมๆกัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน นั่นหมายความว่า แม้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นจะมีสารเคมีรบกวนฮอร์โมนแต่ละตัวในปริมาณที่ไม่เกินกฎหมายกำหนด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปลอดภัย 100% ------------------------------------------------------------------------------------------------- ตัวอย่างสารเคมีที่มีหลักฐานยืนยันว่าส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมน คุณสมบัติ 1. ไซโคลเตตราไซโลเซน (ซิลิโคน) เป็นตัวทำละลาย ปรับสภาพผิว/ผม 2. โพรพิลพาราเบน สารกันเสีย 3. บิวทิลพาราเบน สารกันเสีย 4. ไอโซโพรพิลพาราเบน สารกันเสีย 5. ไอโซบิวทิลพาราเบน สารกันเสีย 6. บิวทิล ไฮโดรไซยานิโซล (BHA) สารต้านอนุมูลอิสระ 7. เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 8. เบนโซฟีโนน-1 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 9. เบนโซฟีโนน-2 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 10. เบนโซฟีโนน-3 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 11. เบนโซฟีโนน-4 สารกรอง/ดูดซับรังสียูวี 12. ไตรโคลซาน สารกันเสีย/ดับกลิ่น หมายเหตุ: เอททิลพาราเบน และ เมททิลพาราเบน กฎหมายกำหนดให้ใช้ในปริมาณต่ำมาก จึงไม่น่าจะเป็นอันตราย ผลทดสอบในภาพรวม ย้ำอีกทีว่า สารรบกวนฮอร์โมนไม่ได้มีอยู่ในเครื่องสำอางทุกชนิด เพราะฉะนั้นผู้หญิงไม่จำเป็นต้องหยุดสวย แต่ต้องไม่ลืมเรายังมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารรบกวนฮอร์โมนจากแหล่งอื่นรอบๆตัวได้อีก ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้ง 66 ผลิตภัณฑ์นั้น ไม่พบผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรบกวนฮอร์โมนในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายของยุโรปกำหนดเลย แต่จากการทดสอบและคำนวณปริมาณการใช้เฉลี่ยในแต่ละวันของผู้บริโภค (ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์วันละมากกว่าหนึ่งชนิด) พบว่ามีความเป็นไปได้ที่ร่างกายจะได้รับสารเคมีดังกล่าวมากพอที่จะส่งผลรบกวนฮอร์โมนในร่างกายได้  โดยสารที่ต้องระวังให้มากคือ เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท และโพรพิลพาราเบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสาวๆที่ใช้ทั้งเครื่องสำอางร่วมกับครีมกันแดด สารที่พบมากที่สุดได้แก่ เมททิลพาราเบน ซึ่งพบใน 40 ผลิตภัณฑ์ ตามด้วยโพรพิลพาราเบน ใน 38 ผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สารเคมียอดฮิตอันดับ 3 และ 4 ได้แก่ ฟีโนซีเอทานอล และ บีเอชที (BHT)  ในขณะที่ไตรโคลซานดูเหมือนจะได้รับความนิยมน้อยลง พบเพียงใน 2 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น เราพบสารเคมีที่อยู่ผิดที่ผิดทางด้วยเช่นกัน เช่น สารกรองแสงยูวี  เอททิลเฮ็กซิล เมทโทไซซินนาเมท พบใน 18 ผลิตภัณฑ์ (ซึ่งในนั้นมีสบู่ และโรลออนด้วย) แต่ที่น่าสนใจคือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารนี้มากที่สุดกลับเป็นครีมบำรุงผิวหน้า ไม่ใช่ครีมกันแดด บางครั้งเราพบสารเคมีที่ไม่ได้ระบุไว้บนฉลาก เช่น พบฟีโนซีเอทานอล ใน Dettol nettoyant savon liquide pour les mains และ  Nivea Diamond Touch และพบบิวทิลพาราเบนใน Max factor ageless elixir 2 in 1  และบางครั้งก็ไม่พบสารที่ระบุไว้บนฉลาก เป็นต้น รองพื้น ครีมทาผิวกาย และครีมบำรุงผิวหน้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารดังกล่าวหลายตัวด้วยกันเป็นส่วนประกอบ รองพื้นและครีมบำรุงผิวหน้า มักจะมีทั้งสารกันเสียและสารกรองรังสียูวี ที่เป็นสารรบกวนฮอร์โมน -------------------------------------------------------------------------------------------------   ห้ามรบกวน DO NOT DISTURB! แม้ฮอร์โมนจะเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการและผลิตขึ้นในปริมาณเพียงน้อยนิด (บางครั้งเพียง 1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน เท่านั้น) แต่มันมีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการรักษาสมดุลทางเคมีที่ละเอียดอ่อนมากๆ ในร่างกาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่มีอะไรไปรบกวนมัน แต่โชคร้ายที่เราถูกแวดล้อมด้วยสารเคมีหลายตัวที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อ บางตัวอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้แม้จะได้รับเพียงปริมาณเล็กน้อย ที่สำคัญคือมีหลักฐานว่าการได้รับสารดังกล่าวในวัยเด็ก (ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเกิดพัฒนาการ) แม้ในปริมาณไม่มากก็อาจทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงได้ และผลของสารรบกวนฮอร์โมนสามารถถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้ด้วย อันตรายของมันอาจไม่แสดงออกอย่างเฉียบพลัน แต่การได้รับสารดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ การพัฒนาสมอง ทำให้เด็กสมาธิสั้น มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น แขน ขา  หรือการเบี่ยงเบนทางเพศ และการเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น ล่าสุดมีการศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับสารเหล่านี้กับการเกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวานด้วย สารเหล่านี้ บางตัว “รบกวน” การทำงานของฮอร์โมน บางตัว “เลียนแบบ” ฮอร์โมน และบางตัวก็ “ขัดขวาง” การทำงานของฮอร์โมน บางตัวสามารถย่อยสลายไปเองอย่างรวดเร็วและชนิดที่ไม่ยอมสลายไปโดยง่าย และสารเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเท่านั้น -------------------------------------------------------------------------------------------------   พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง เมื่อ 3 ปีก่อน ฉลาดซื้อ ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิกอีก 12 ประเทศ (มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน เกาหลีใต้ อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย) ทำการสำรวจฉลากเพื่อดูส่วนประกอบของเครื่องสำอางที่มีขายในประเทศเหล่านั้น เราพบว่ามากกว่าร้อยละ 70 ของเครื่องสำอาง (ทั้งหมด 259 ตัวอย่าง) มีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งพาราเบนส์เป็นสารที่องค์การอาหารและยาในประเทศต่างๆ อนุญาตให้ใช้ เพราะร่างกายสามารถกำจัดได้ ------------------------------------------------------------------------------------------------- ฉลาดซื้อ TIPS -     ในฐานะผู้บริโภค คุณมีสิทธิเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้ ผลิตภัณฑ์ใดๆก็ได้ -         อย่าลืมให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ล้างออก เช่น ครีมทาผิว ครีมทาหน้า ฯลฯ -        ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงสารรบกวนฮอร์โมน เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีโพรพิลพาราเบน (propylparaben) และบิวทิลพาราเบน (butylparaben) และถ้าคุณไม่ได้ต้องเผชิญแสงแดดก็ไม่จำเป็นต้องใช้ครีมบำรุงผิวหน้าหรือรองพื้นที่มีสารกรองแสง เป็นต้น -         หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทาผิวหลายๆ ชนิดในวันเดียวกัน (เช่น ครีมกันแดด ครีมทาผิว ครีมบำรุงผิวหน้า) -         ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรนำผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ไปใช้กับเด็ก -         แม้ผลิตภัณฑ์นั้นจะระบุว่า “ปราศจากสาร ..xx..” แต่เราก็ควรอ่านดูส่วนผสมให้ละเอียด เพราะอาจมีสารที่เราต้องการหลีกเลี่ยงอยู่ในรายการส่วนประกอบบนฉลากด้านหลังของผลิตภัณฑ์   ตัวอย่างของครีมทาผิวกาย ครีมบำรุงผิวหน้า และครีมรองพื้น ที่มีพาราเบนเป็นส่วนประกอบ (ตัวเลขที่แสดงมีหน่วยเป็นกรัม/กิโลกรัมของเอสเทอร์ของกรดเบนโซอิก) แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีการใช้พาราเบนส์ร่วมกันมากกว่าหนึ่งตัวซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ที่น่าสนใจคือบางครั้งผู้ผลิตก็ใช้ทั้งพาราเบนส์และสารทดแทนพาราเบนด้วย   Body Lotion Nivea Lait hydratant douceur - peaux très sèches - Smooth milk เมททิลพาราเบน               2.43 เอททิลพาราเบน             

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 142 คอตตอน 100%

  คงไม่มีใครในโลกที่ไม่มีเสื้อยืดในครอบครอง หลายคนชอบเสื้อยืดเพราะมันนุ่ม ใส่สบาย ไม่ร้อน ให้ความรู้สึกลำลอง แถมยังแอบอ้วนได้โดยไม่อึดอัด เสื้อยืดนั้นผลิตจากเส้นใยหลายชนิด บ้างก็ทำจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ผสมเส้นใยฝ้ายเพื่อลดการยับยู่ยี่ บ้างก็ทำจากเส้นใยฝ้ายทั้งหมดอย่างที่พนักงานขายเรียกว่า “ผ้าค้อตตอน 100” ซึ่งแม้จะยับง่าย แต่ระบายอากาศได้ดีเพราะเส้นใยมีรูพรุน แต่ว่า... ฉลากที่เขียนว่า “100%” Cotton” นั้นเชื่อถือได้แค่ไหน มีใครแอบทำเสื้อยืดมาหลอกขายเราหรือเปล่า ฉลาดซื้อ สงสัยจึงสุ่มซื้อเสื้อที่มีการระบุว่าเป็นฝ้าย 100% มา 10 ยี่ห้อ รวมถึงเสื้อยืดรณรงค์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอีก 1 ตัว แล้วส่งไปศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ เพื่อหาคำตอบ ข่าวดีนะพี่น้อง เสื้อยืดที่เราส่งไปตรวจสอบนั้นผลิตจากเส้นใยฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ระบุในฉลากจริงๆ ไม่มีเส้นใยชนิดอื่นผสม     CHIC FORD ราคา          95         บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย: บริษัท ดี.แอล. เจ คอมเมอร์เชี่ยล จำกัด                     ZEG ราคา          135       บาท ผู้ผลิต:       บริษัทไทยกุลแซ่ จำกัด ผู้จำหน่าย:  ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด                     TEN & CO BASIC ราคา          390       บาท (ราคาลด 295 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)   แตงโม ราคา          195       บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย บริษัทสยามแฮนดส จำกัด     Pena House ราคา          590       บาท (ราคาลด 295 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย    บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)                       Rosso ราคา          99         บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย    บริษัท รอซโซ่ จำกัด                       U-FO ราคา          390       บาท (ราคาลด 195 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)                     DOUBLE GOOSE (ห่านคู่) ราคา          119       บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย บริษัทไทยแลนด์นิตติ้ง จำกัด                     F&F BODYWEAR ราคา           159      บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทเอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเท็ม จำกัด                     UNIQLO ราคา           590      บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย ผลิตในประเทศจีน                     เสื้อยืดรณรงค์ Please wear me out ราคา           180       บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย     มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค               ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ผ้าฝ้ายได้จากนำปุยฝ้ายมาปั่นให้ได้เป็นเส้นด้าย แล้วทอเป็นผืนผ้า  เทคนิคในการทอนี้เองที่เป็นตัวแปรชี้ว่าเสื้อที่เราซื้อมาจะหดหรือไม่ เสื้อยืดที่ผลิตจากผ้าฝ้ายจะมีราคาแตกต่างกันไปตามขนาดเส้นด้าย เสื้อที่ทำจากผ้าที่ทอด้วยเส้นด้ายขนาดเล็ก (เช่นเสื้อผ้าสำหรับเด็กอ่อน หรือเสื้อแบรนด์เนมบางรุ่น) จะมีราคาสูงกว่า  เพราะเส้นด้ายขนาดเล็กมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนกว่าเส้นด้ายขนาดใหญ่ ยิ่งต้องการให้เล็กมากก็ต้องสั่งทอเป็นพิเศษ จึงทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ฝ้ายเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่เราใช้ร้อยละ 2.3 ของพื้นที่การเกษตรบนโลกในการปลูก และกว่า 1 ใน 6 ของสารเคมีทางการเกษตรที่ใช้กันอยู่ ก็ใช้เพื่อการปลูกฝ้ายนั่นเอง   เพื่อให้ได้ผลผลิตใยฝ้าย 1 กิโลกรัม (สำหรับการผลิตเสื้อยืด 1 หนึ่งตัว และกางเกงยีนส์ 1 ตัว) เราอาจต้องใช้น้ำมากถึง 20,000 ลิตร ------------------------------------------------------------------------------------------------------------   การปลูกฝ้าย ในระดับเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกกันด้วยวิธีธรรมดาจะได้ผลผลิตฝ้ายดิบประมาณ 400 -600 กิโลกรัมต่อเฮคตาร์ แต่ถ้าเป็นไร่ฝ้ายในระดับอุตสาหกรรม อาจได้ผลผลิตมากถึง 3,000 กิโลกรัมต่อเฮคตาร์ ผลผลิตฝ้ายรวมทั่วโลกอยู่ที่ 25 ล้านตันต่อปี ปริมาณนี้สามารถผลิตเป็นเสื้อได้ 60,000 ล้านตัว ผู้ผลิตฝ้าย 5 อันดับแรกของโลกได้แก่ จีน อเมริกา อินเดีย ปากีสถาน และบราซิล ตามลำดับ โดยมีบราซิลเป็นประเทศที่มีผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด ส่วนประเทศที่มีการบริโภคฝ้ายมากที่สุด 10 อันดับแรกได้แก่ จีน อินเดีย ปากีสถาน อเมริกา ตุรกี บราซิล อินโดนีเซีย เม็กซิโก ไทย และรัสเซีย จีนคือประเทศที่ผลิต นำเข้า และบริโภคฝ้ายมากที่สุดในโลก ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ราคาฝ้ายในตลาดโลกลดลงอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา ด้วยสองสาเหตุหลักคือ จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าฝ้ายดิบในปริมาณมากมีความต้องการฝ้ายลดลง และเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ฝ้ายมีราคาสูง เกษตรกรจึงหันมาปลูกฝ้ายมากขึ้น ผลผลิตฝ้ายในตลาดจึงเพิ่มขึ้น   เมื่อฝ้ายราคาถูกลง เราก็น่าจะซื้อเสื้อยืดได้ถูกลง ... ซะที่ไหน  เรายังคงจ่ายในราคาเท่าเดิม ในขณะที่ร้านค้าปลีกจะได้กำไรจากส่วนต่างตรงนี้มากขึ้น ถ้าผู้บริโภคอย่างเราจะได้ประโยชน์ก็น่าจะมาจากกระบะเสื้อผ้าที่ทำจากฝ้าย ที่ทางร้านเขาเลือกนำมาลดราคานั่นเอง   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ มนุษย์เรารู้จักการนำฝ้ายมาแปรเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมา 5,000 ปีแล้ว และเรายังคงพึ่งพาฝ้ายเสมอมา ทุกวันนี้เส้นใยที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้ามากเป็นอันดับหนึ่งก็ยังคงเป็นเส้นใยฝ้าย แต่อาจเป็นเช่นนั้นอีกไม่นาน ด้วยข้อจำกัดทางปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่ใช้ในการปลูกฝ้าย บวกกับความพยายามในการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ผู้ผลิตหันมาใช้เส้นใยประดิษฐ์ (เส้นใยสังเคราะห์และเส้นใยกึ่งสังเคราะห์) กันมากขึ้น เช่นผสมไลคราลงไปในเนื้อผ้ายีนส์ หรือผสมสแปนเด็กซ์ลงไปในผ้ายืดให้มากขึ้น เป็นต้น   สำหรับคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของฝ้าย วางใจกันได้ว่าจะยังมีเสื้อที่ทำจากเส้นใยฝ้ายอยู่และการปลูกฝ้าย (น่า) จะทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง ปัจจุบันมีความพยายามที่จะผลักดันให้เกษตรกรหันมาปลูกฝ้ายโดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม แม้ราคาเสื้อยืดที่ทำจากฝ้ายออกานิกจะมีราคาแพงขึ้น แต่ผู้บริโภคจะได้ทั้งเสื้อยืดและได้สนับสนุนให้เกษตรกรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ เสื้อยืดหนึ่งตัวต้องใช้ทรัพยากรในการผลิตไม่น้อยทีเดียว จึงเป็นเรื่องน่าภูมิใจสุดๆ ถ้าเราสามารถใส่เสื้อยืดที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเต็มอายุขัยของมัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 ยีนส์ไฮเอนด์เจ้าไหน ใส่ใจสังคมกว่ากัน

  เดี๋ยวจะหาว่าฉลาดซื้อไม่มีเรื่องตรงใจแฟชั่นนิสต้าเหมือนนิตยสารขายดีเล่มอื่นๆ คราวนี้เราเลยเอาใจบรรดาสาวกบลูยีนส์ กันด้วยการนำเสนอผลสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทผู้ผลิตยีนส์เจ้าใหญ่ระดับอินเตอร์ที่คนไทยส่วนใหญ่ก็รู้จักกันดี (และอาจจะเคยควักกระเป๋า หรือแคะกระปุก อุดหนุนไปบ้าง) เช่น ลีวายส์ แรงเลอร์ ลี หรือดีเซล เป็นต้น   สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่ากว่าจะได้กางเกงยีนส์หนึ่งตัวนั้น มันได้ทำให้เกิดการใช้สารเคมีมากมายเพียงใด ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกผ้าย มาจนถึงการกัด/ย้อมสี และการฟอก นี่ยังไม่นับกระบวนการทำให้ยีนส์ดูเหมือนผ่านการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ซึ่งต้องใช้แรงงานคนและเทคนิควิธีการที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสักเท่าไร   แล้วสารเคมีที่ว่านี้ถูกจัดการอย่างไร ได้รับการบำบัดก่อนที่มันจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำหรือไม่ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การนำผ้าเดนิมม้วนมหึมามาตัดตามแบบ เย็บประกอบเป็นกางเกง รีดตะเข็บ ฟอก ย้อม ทำให้เก่า /ยับ/ ขาด (และอื่นๆ ตามความต้องการของดีไซเนอร์) ไปจนถึงการบรรจุส่งไปยังร้านค้าปลีกนั้น เขาได้รับการดูแลอย่างไร ได้หยุดพักผ่อนบ้างหรือไม่   ที่สำคัญบริษัทข้ามชาติที่ทำกำไรได้มากมายในแต่ละปีจากการจำหน่ายยีนส์มีราคาเหล่านี้มีความจริงใจที่จะรับผิดชอบต่อสังคม และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ให้สังคมได้รับรู้มากน้อยเพียงใด คำตอบมีอยู่ในผลการสำรวจซึ่งจัดทำโดยองค์การทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ในหน้าถัดไป   การเก็บข้อมูลการสำรวจ รวมถึงการเยี่ยมชมโรงงานและสัมภาษณ์พนักงาน (สำหรับบริษัทที่ให้ความร่วมมือ)ครั้งนี้ทำในระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2554ทีมสำรวจส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิตยีนส์ทั้งหมด 15 แห่ง   มี 7 บริษัทที่ตอบกลับมาและยินดีให้เข้าเยี่ยมชมโรงงาน ได้แก่ คิก  ลีวายส์  นูดียีนส์  เอชแอนด์เอ็ม  แจ็คแอนด์โจนส์  จีสตาร์ รอว์  และซารายีนส์   อีก 8 บริษัทที่ไม่ส่งคำตอบกลับมาได้แก่  ดีเซล  ลี  แรงเลอร์  ฮิวโก้ บอส  ซาลซ่า  กูยิชิ (ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการผลิตยีนส์จากฝ้ายออกานิก) ฟริตซ์ยีนส์ และเซเว่นฟอร์ออลแมนคายนด์ น้ำหนักในการให้คะแนนมีดังนี้ ร้อยละ 35 นโยบายด้านสังคม ในเรื่องสายการผลิต เช่นแรงงานสัมพันธ์  ชั่วโมงทำงาน การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น ร้อยละ 25 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในสายการผลิต เน้นการจัดการกับมลภาวะของบริษัทที่รับจ้างผลิต ร้อยละ 15 นโยบายของบริษัทโดยรวมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายและเงื่อนไขการจ้างผลิต ข้อปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยีนส์ ร้อยละ 15 ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลต่อสังคม ได้แก่การให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามและอนุญาตให้เยี่ยมชมโรงงานร้อยละ 5 การดูแลพนักงานภายในบริษัท        ร้อยละ 5 ผู้บริโภคและสังคม ในการสำรวจ ครั้งนี้ มีการเก็บตัวอย่างกางเกงยีนส์ของแต่ละยี่ห้อไปตรวจหาสารเคมีตกค้างด้วยเราพบสารหนูในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายใน ตัวอย่างกางเกงยีนส์จาก 3 ยี่ห้อ ได้แก่  ลี ลีวายส์ และเอชแอนด์เอ็มแต่พบทองแดงในปริมาณที่เกินมาตรฐานสำหรับเสื้อผ้าที่ต้องสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับผู้ใหญ่ ในตัวอย่างกางเกงยีนส์ยี่ห้อแรงเลอร์ อาจจะเกิดจากการกำจัดไม่หมดในขั้นตอนการซัก  ทองแดงนั้นถ้าได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อตับ   แต่นี่คือการทดสอบจากยีนส์ที่ออกจากโรงงานมาแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิต ----  กว่าจะได้เป็นยีนส์ 1. การปลูก อย่างที่รู้กันว่าขั้นตอนนี้ต้องใช้น้ำ ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงปริมาณไม่น้อย ร้อยละ 10 ของสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ใช้ทั้งหมดในโลก ใช้ในการปลูกฝ้ายนั่นเอง   2. การขนส่ง ฝ้ายนั้นจัดเป็นนักเดินทางตัวยงเลยทีเดียว ตั้งแต่จากไร่ฝ้ายไปยังโรงปั่น โรงทอ โรงงานเย็บ จนเข้าไปเก็บตัวในโกดัง และอาจจะต้องขึ้นเครื่องบินหรือลงเรือข้ามประเทศ ไปพักในโกดังต่างชาติ จากนั้นไปโชว์ตัวในร้านค้าปลีก จนกระทั่งผู้บริโภครับกลับบ้านไปอยู่ด้วย   3. การปั่นด้าย ขั้นตอนนี้ก็มีการบริโภคพลังงานและทำให้เกิดมลภาวะซึ่งมีผลต่อชั้นโอโซน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แถมยังต้องใช้สารเคมีปริมาณมากเพื่อทำความสะอาดเมล็ดฝ้ายให้สะอาดเอี่ยมไม่มีหญ้าหรือทรายปะปนแต่สิ่งทอมักมีการปนเปื้อนของ พาราฟิน ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน และกาว ซึ่งเป็นตัวช่วยในการปั่นด้าย โดยทั่วไปมันควรหลุดออกไปเมื่อผ่านการซักล้างนอกจากนี้ยังต้องมีสารเคมีบางชนิดที่ต้องใส่ลงไปเพื่อช่วยให้ผ้านุ่มและติดสีได้ดีขึ้นอีกด้วย   4. การทอเป็นผืนผ้า ด้ายจะถูกย้อมเป็นสีครามด้วยสีสังเคราะห์ ขั้นตอนการย้อมนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แม่น้ำในเมืองทวากันในเม็กซิโกที่เคยเป็นศูนย์กลางการผลิตยีนส์ในยุค 90 นั้นได้กลายเป็นสีน้ำเงินไปแล้วการย้อมผ้านั้น มักทำในประเทศที่กฎหมายไม่ค่อยเข้มงวดในอัฟริกา อเมริกาใต้ และจีน น้ำเสียจากโรงงานมักจะถูกปล่อยลงในแม่น้ำโดยไม่ผ่านการบำบัดสีย้อมทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นสารก่อมะเร็ง และในประเทศเหล่านี้คนที่ทำงานย้อมผ้ามักจะไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดีพอ   5. ขั้นตอนการเย็บประกอบขึ้นเป็นยีนส์ (รวมการตกแต่ง ตอกหมุด การทำซับในด้วย) ขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้ทั้งไฟฟ้า น้ำและมีส่วนทำให้เกิดน้ำเสียได้เช่นกันการทำให้มันดูเก่า ซีด ยับ ถลอก ขาด หรือเปื้อน ล้วนแล้วแต่ต้องทำด้วยฝีมือมนุษย์เท่านั้น ขั้นตอนนี้จึงอาจเป็นอันตรายต่อตัวคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วยเมื่อยีนส์มาถึงเราแล้ว เราก็ยังต้องใช้พลังงานในการซัก ปั่นแห้ง และรีดต่อไป นอกจากนี้เราก็มีส่วนในการสร้างมลภาวะด้วยการใช้ผงซักฟอกสำหรับเครื่องซักผ้าที่มักจะมีไนเตรตและฟอสเฟตซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ในน้ำสุดท้าย เมื่อยีนส์หมดอายุขัย มันก็มักจะถูกนำไปเผาหรือนำไปถมดิน   การผลิตกางเกงยีนส์หนึ่งตัวใช้น้ำประมาณ 2,866 แกลลอน ซึ่งเป็นสองเท่าของปริมาณน้ำที่ใช้ในการซักยีนส์ตัวดังกล่าวเดือนละครั้งเป็นเวลา 5 ปี  - ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง The Green Blue Book  โดย Thomas M. Kostigen   ปัจจุบันหลายแบรนด์ดังเริ่มหันมาใช้ฝ้ายที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี หรือที่เรียกกันว่าฝ้ายออกานิกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าแล้ว ราคาไม่ถูกนักแต่ถือว่าเราได้แสดงความรับผิดชอบในส่วนของผู้บริโภค แทนที่จะมีหลายตัวเราก็อาจจะซื้อยีนส์จากฝ้ายออกานิกเพียงตัวเดียว เป็นต้น   เล็กๆน้อยๆ เพื่อความเก๋าอย่างพอเพียง  • เชิดใส่ ! ยีนส์ที่ดูเก่ายับเยินตั้งแต่อยู่ที่ร้าน เพราะคุณอยากเป็นคนทำให้มันเก่าไปเองมากกว่า และเพราะขั้นตอนการทำให้มันดูเซอร์นั้น ต้องขอบอกว่ามันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเลยจริงๆ • ไม่ซื้อยีนส์ใหม่เพียงเพราะมันติดป้ายลดราคา คุณจะใส่ตัวเดิมจนกว่ามันจะเก่าไปพร้อมกับตัว เบื่อขึ้นมาก็เอาไปแลกกันใส่กับเพื่อน หรือบริจาคก็ได้• ใส่กางเกงยีนส์มากกว่าหนึ่งครั้งก่อนจะนำมันไปซัก• ซักยีนส์ที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา รวมกับกางเกงผ้าหนาอีกหลายตัวให้พอดีโหลดซักของเครื่องซักผ้า• ใช้ผงซักฟอก เน้นว่าผง เพราะมันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอกสูตรน้ำ และไม่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม• ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์เสมอ เพราะมันทำให้กางเกงยีนส์ตัวเก่งทั้งแห้งและหอม• หาซื้อกางเกงยีนส์มือสองมาใส่ เพื่อจะได้ลุคเก่าๆ เซอร์ๆ เพราะมันถูกดีแถมนุ่มอีกด้วย • ซักเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ทุกครั้งก่อนสวมใส่ นอกจากจะไม่โดนเพื่อนล้อว่าบ้าเห่อแล้ว ยังจะไม่ต้องคันยุบยิบเพราะแพ้สารเคมีที่ยังติดค้างอยู่บนเนื้อผ้าด้วย ___   เศรษฐศาสตร์ยีนส์  เรามาดูโครงสร้างราคาของยีนส์กันใกล้ๆ ว่าเงินที่ออกจากกระเป๋าเรา ไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง 50% > ร้านค้าปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่ม 24%  > แบรนด์ การจัดการและการโฆษณา13%  > การขนส่ง บรรจุหีบห่อ12%  > ผ้าและโรงงานผลิต1% > แรงงาน----   ข่าวล่ามาเร็ว เขาบอกว่าด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นและฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักนั้นหาได้ยากขึ้น จะทำให้ยีนส์มีราคาแพงขึ้น แม้แต่ของเมดอินไชน่าก็จะไม่ถูกเหมือนเดิม ผู้เชี่ยวชาญด้านยีนส์ที่ฮ่องกงให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะเทเลกราฟ ของอังกฤษว่า ราคาฝ้ายได้ถีบตัวขึ้นมาถึงปอนด์ละ 60 บาทเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากราคาปอนด์ละ 20 บาทในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว  ----  ภูมิศาสตร์ยีนส์ ศูนย์กลางการผลิตยีนส์ของโลกอยู่ที่เมืองซินตัง เรียกว่าถ้ายีนส์ที่คุณสวมอยู่ไม่ได้ผลิตมาจากที่นี้ก็ต้องทำจากผ้าเดนิมที่ทอออกมาจากที่นี่อยู่ดี ที่นี่มีตั้งแต่อุตสาหกรรมครอบครัวไปจนถึงโรงงานที่ผลิตยีนส์ออกมาได้วันละ 60,000 ตัว แต่ละปีมีกางเกงยีนส์เดินทางออกจากเมืองนี้ไปไม่ต่ำกว่า 260 ล้านต้ว (ไม่มากมาย แค่ 1/3 ของยีนส์ที่ผลิตได้ทั้งหมดในโลกเท่านั้น)   ฉลาดซื้อได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ 2 ท่าน เลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆมาฝากกัน  --- คุณกุศล หนูเดช  อายุ 54 ปี อดีตคนเคยเย็บยีนส์ฟอก ในโรงงานย่านดินแดง ปัจจุบันรับงานเย็บเสื้อแบบขายประตูน้ำ เริ่มตั้งแต่สร้างแพทเทิร์น ตัดผ้า เย็บต้นแบบ และกระจายงานให้คนในซอย โรงงานของเถ้าแก่เป็นตึกแถวสองชั้น ชั้นล่างทำหน้าที่ตัดผ้าออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของยีนส์ คุณกุศลทำงานอยู่ชั้นสอง ทำหน้าที่เย็บประกอบให้เป็นตัวยีนส์ เคยเย็บได้ประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 10 ตัว (ทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม) จากนั้นจะมีรถมารับไปที่โรงงานฟอก ซึ่งบางครั้งจะมีการส่งกลับมาซ่อมหูเข็มขัดอีกเพราะบางครั้งด้ายจะขาดหลังการฟอก  ปัจจุบันค่าตอบแทนในการเย็บกางเกงยีนส์หรือกางเกงนักศึกษา อยู่ที่ประมาณตัวละ 30 – 40 บาท   ผลข้างเคียงจากการทำงานคือมีอาการแพ้ตามมือบ้างจากฝุ่นผ้า แต่ที่หนักเลยคือสีจากผ้าจะติดตามมือตามเสื้อผ้าทำให้เขียวปี๋กันหมด ในฐานะคนเคยเย็บยีนส์ เชื่อว่าการลงทุนสำหรับยีนส์ที่ตัดเย็บดีๆ ผ้านุ่มๆ สักตัว น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท ที่สำคัญ อย่าลืมดูตะเข็บ โดยเฉพาะตะเข็บเอวและส่วนที่เป็นหูเข็มขัดด้วยโดยส่วนตัวแล้วคุณกุศลไม่ชอบใส่ยีนส์เพราะรู้สึกอึดอัด เนื่องจากตัดเสื้อผ้าได้ เลยชอบตัดกางเกงใส่เองมากกว่า ขี้เกียจซักด้วย แต่ไฮไลท์มาอยู่ตรงลูกชายที่เป็นสาวกกางเกงยีนส์ และนิยมใส่หลายๆ เดือนก่อนซัก มีเรื่องเล่าว่ากางเกงที่ใส่ไม่ซักอยู่หลายเดือนนั้นมีร้านยีนส์ที่ตะวันนามาขอซื้อด้วยการแลกกับยีนส์ใหม่ 2 ตัวด้วย คุณสมชาย คำปรางค์   อายุ 61 ปี เคยดูแลการผลิตยีนส์ทุกขั้นตอนในโรงงานยีนส์สัญชาติไทยอยู่ 8 ปี ปัจจุบันทำธุรกิจครอบครัวซึ่งเคยรับผลิตเสื้อยีนส์แต่เปลี่ยนเป็นมาเป็นผ้ายืดแล้ว คุณลุงสมชายเคยทำเสื้อและแจ็คเก็ตยีนส์ ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดผ้าและเย็บเสร็จเป็นตัวเสื้อ (แต่ส่งฟอกไปฟอกที่โรงงาน) เหตุที่เลิกเย็บผ้ายีนส์ไปเพราะมันหนัก ช่างที่บ้านไม่ค่อยถนัด เลยเปลี่ยนมาเป็นผ้ายืดดีกว่า ถามความเห็นเรื่องยีนส์ถูกจากจีนที่เข้ามาตีตลาดบ้านเรายีนส์จีนคุณภาพต่ำกว่า ลุงบอกว่าแบบอาจจะดูสวยแต่ต้องลองใส่ดูแล้วจะรู้ว่า ทรงไม่สวย เนื้อผ้า ด้ายทอ ไม่ดีเท่ายีนส์ไทย (แต่แกยอมรับยีนส์จากเกาหลี เพราะออกแบบได้ดี และ “ผ้าเขาดีกว่าเราจริงๆ” ยีนส์ขึ้นห้างโดยทั่วไป ต้นทุนค่าผ้ากับค่าแรง ตัวละไม่เกิน 350 บาท ยกเว้นยีนส์ที่เป็นของบริษัทต่างประเทศส่งวัตถุดิบเข้ามาตัดเย็บในเมืองไทย อาจจะมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 500 บาท  ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่เวลาเลือกให้จับดูเนื้อผ้า ผ้ายีนส์ที่ดีจะต้องทอมาแน่น มีความละเอียดมาก ลองสวมดู ว่ากระชับ เข้ารูป เข้าทรงกับตัวเราดีหรือยัง   ลุงสมชายให้ข้อสังเกตว่า ยีนส์โรงงานเดียวกัน ถ้าทำมาคนละล็อตก็ไม่เหมือนกัน เพราะผ้าที่เข้าโรงงานมานั้นมากจากการทอคนละล็อตกัน บางล็อตทอมาแน่นดี บางล็อตพันด้ายมาหลวมไป บวกกับทอไม่ครบ 200 เส้นต่อหนึ่งตารางนิ้วอีก ซึ่งทำให้ยีนส์หดหลังการซักครั้งแรกนั่นเอง   ที่ลือกันมาว่ามียีนส์ปลอมนั้น เป็นเรื่องของ “ยีนส์ลดเกรด” คืออาจจะใช้แบรนด์เดิม แต่ในขั้นตอนต่างๆ มีการ “ลดต้นทุน” เช่น ลดเกรดของด้ายทอ จากฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ (Cotton 100%) ก็เปลี่ยนมาผสมโพลีเอสเตอร์ลงไปประมาณร้อยละ 20 - 30 หรือแทนที่จะทอด้วยเส้นใย 200 เส้นต่อตารางนิ้ว ก็ลดเหลือเพียง 180 เส้นหรือไม่เช่นนั้นก็ลดเกรดสีย้อม เป็นต้นส่วนขั้นตอนการใช้กระดาษทรายขัดให้ยีนส์ดูเก่านั้น ลุงบอกว่าเมื่อก่อนแถวบ้านก็มีแม่บ้านที่อยู่บ้านเฉยๆ รับงานมาทำกัน แต่ตอนนี้ก็เลิกไปหมดแล้วเพราะเขาทนฝุ่นกันไม่ไหว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 169 สารเคมีในผลิตภัณฑ์สำหรับทารก

ฉลาดซื้อฉบับนี้พาคุณไปดูสถานการณ์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สำหรับทารกกันบ้าง งานนี้เป็นความร่วมมือขององค์กรผู้บริโภคใน 8 ประเทศได้แก่ UFC Que Choisir (ฝรั่งเศส) Forbrugerradet Taenk (เดนมาร์ก) Altroconsumo (อิตาลี) DECO (สเปน) OCU (โปรตุเกส) Test‐Achats (เบลเยี่ยม) Consumentenbond (เนเธอร์แลนด์) และ D‐Test (สาธารณรัฐเช็ค) ที่ส่งผลิตภัณฑ์ยอดนิยมสำหรับเด็กในวัย 0 – 3 ปี เข้ามารับการตรวจวัดปริมาณสารเคมีที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เด็กนำเข้าปากหรือมีการสัมผัสกับผิวหนังเด็กเป็นเวลานาน ได้แก่ จุกนมหลอก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ชุดเด็ก แผ่นรองนั่ง/นอน (แบบผืนและแบบจิ๊กซอว์) รวม 61 ผลิตภัณฑ์ สารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทจะแตกต่างกันไป สารเคมีในกลุ่มพทาเลต (DEHP, DIDP, DIBP) ในเสื้อผ้าเด็ก แผ่นรองนั่งจิ๊กซอว์ แผ่นปูรองนอน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ในผ้าอ้อมสำเร็จรูป สาร Bisphenol A (หรือ BPA) ในจุกนมหลอก และอื่นๆ เช่น สีย้อม Azo  ฟอร์มัลดีไฮด์ รวมถึงโลหะหนัก เช่น นิเกิล แคดเมียม และดีบุก อันตรายของสารเคมีเหล่านี้มีตั้งแต่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง รบกวนการทำงานของระบบฮอร์โมนและเป็นสารก่อมะเร็ง ยุโรปมีกฎค่อนข้างเคร่งครัดอยู่แล้วเรื่องปริมาณสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ แต่องค์กรผู้บริโภคในยุโรปยังมองว่าผู้บริโภคควรได้รับความคุ้มครองที่ดีขึ้นในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาองค์กรเหล่านี้ได้รณรงค์เรื่องการงดใช้สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเล็กมาอย่างต่อเนื่อง และเคยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ห้ามใช้สารพทาเลทในของเล่นเด็ก การทดสอบครั้งนี้ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท จากการลงขัน ขององค์กรที่กล่าวมาแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการรณรงค์และการสร้างความรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคทั้งในยุโรปและที่อื่นๆ ทั่วโลก  ขอบอกเลยว่าสินค้าเหล่านี้มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มีส่วนน้อยมากที่ยังมีสารเคมีปนเปื้อนแต่ก็ไม่เกินกำหนด รายละเอียดติดตามได้ในหน้าถัดไป                              

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 156 รู้ เลือก น้ำยาล้างห้องน้ำ

  แค่ราดทิ้งไว้ แป๊บเดียวก็สะอาด เป็นคำที่คุ้นๆ กันดีในโฆษณาผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อมาก และในแต่ละยี่ห้อยังมีหลายสูตรให้เลือกอีกด้วย เล่นเอา งง เวลาไปเลือกที่ชั้นวาง ฉลาดซื้อเลยหยิบผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันค่อนข้างกว้างขวางมาแกะรอย “สารเคมี” ที่ใช้ในแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อจะได้เลือกใช้งานกันได้อย่างเหมาะสม ไม่เอะอะๆ ก็ราดไปเรื่อย เพราะบางผลิตภัณฑ์ราดทิ้งไว้ก็ไม่ออกนะจะบอกให้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด สามารถแบ่งกลุ่มของสารเคมีที่ใช้ได้ใหญ่ 2 กลุ่ม คือ กรดและด่าง ตอนนี้ในตลาดส่วนใหญ่จะเป็น กรดเกลือ หรือชื่อทางเคมีว่ากรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid) กรดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง และสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความเข้มข้นที่นำมาผลิต ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำพบกรดเกลือความเข้มข้นตั้งแต่ 8% - 20% ข้อดี คือ พลังกำจัดคราบรอยเปื้อนสูง โดยเฉพาะคราบฝังแน่น ข้อเสีย คือ กลิ่นฉุนแสบจมูกจากไอของกรด ใช้บ่อยครั้งจะกัดยาแนวกระเบื้อง ทำให้ผิวหน้าของพื้นห้องน้ำผุกร่อน ขรุขระ (ยิ่งทำให้สะสมคราบสกปรกเพิ่มขึ้น) ไอของน้ำยายังทำให้อุปกรณ์บางชิ้นในห้องน้ำเป็นสนิมด้วย   กรดอีกตัวที่ใช้คือ กรดซิตริก(citric acid) มีฤทธิ์กัดกร่อนพอตัว แต่ไม่รุนแรงเท่ากรดเกลือ และกลิ่นไม่ฉุนมาก ส่วนสารออกฤทธิ์ที่เป็นด่าง มียี่ห้อไม่หลากหลายเท่ากรดเกลือ ตัวที่นิยมใช้เป็นกลุ่มเดียวกับพวกสารฟอกขาว (Chlorine Bleach) ที่เรารู้จักดีในผลิตภัณฑ์ซักผ้า ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (sodium hypochlorite) และกลุ่มคลอรีน บีช ที่กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำตัวล่าสุดคือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) คุ้นๆ ใช่ไหม ตัวเดียวกับที่เคยใช้เป็นยาล้างแผลนั่นเอง แต่ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำจะมีความเข้มข้นสูงกว่า คือ 5% ข้อดีและเป็นจุดขายสำคัญของกลุ่มคลอรีน บีช คือ การกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและตัวที่สร้างปัญหาในห้องน้ำมากสุดคือ เชื้อรา ข้อเสีย มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงไม่แพ้กรดเกลือ(ระดับฟอกผ้าขาวได้) และมีข้อต้องระวังในการใช้หลายอย่าง เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์ ห้ามเจอกรด(หรือใช้ร่วมกับน้ำยาที่เป็นกรด)และสารประกอบแอมโมเนียเด็ดขาด เพราะจะกลายเป็นก๊าซพิษ(ก๊าซคลอรีน) ก่อให้เกิดอันตรายจากการสูดดมไอพิษ ทั้งกรดและด่างที่นำมาใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ ส่วนใหญ่จะไม่มาเพียวๆ แต่จะผสมพวกสารลดแรงตึงผิว (Surfactant)   เพื่อช่วยในการแทรกซึมของน้ำยาเข้าสู่พื้นผิวได้อย่างทั่วถึง สารลดแรงตึงผิวที่นิยมได้แก่ Diethylene glycol butyl ether  , Linear Alkylbenzene Sulfonate,  Linear Alkylbenzene Sulfonate , Sodium Salt  ,  Ethoxylate Alcohol  ( 7 EO ) แต่ถ้าไม่ชอบพวกกรดและด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง แพ้หรือกลิ่นแสบจมูก ให้เลี่ยงมาใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ใช้แต่เฉพาะ  ตัวทำละลายอินทรีย์(Organic Solvent)และสารลดแรงตึงผิวแทน ต่อไปความต้องการผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำของผู้บริโภคจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในรูปแบบใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จะใช้สารเคมีตั้งต้นที่คล้ายๆ กัน ในกระบวนการผลิต แตกต่างกันในส่วนของสารเติมแต่งต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นสารเคมีสังเคราะห์ทั้งสิ้น สารเคมีบางอย่างก็มีอันตรายต่อร่างกายทั้งในลักษณะของการแพ้อย่างเฉียบ พลันหรืออาจสะสมความเป็นพิษในร่างกายได้ ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงต้องพิจารณาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนชนิดและปริมาณที่ใช้ เพื่อให้เหมาะกับสภาพการใช้งานและมีความปลอดภัย   ฉลาดซื้อแนะ 1.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำให้ตรงกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวและลักษณะของพื้นผิว(วัสดุที่ใช้เป็นพื้นห้องน้ำหรือตัวสุขภัณฑ์ เช่น กระเบื้อง เซรามิก หินอ่อน หินขัด) 2. คราบสกปรกที่ล้างออกได้ง่าย เช่น คราบสบู่ คราบสกปรกทั่วไป ไม่ควรใช้ส่วนผสมของกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ใช้แค่สูตรที่เป็นสารลดแรงตึงผิวก็เพียงพอในการกำจัดคราบ 3.พวกมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ควรใช้เฉพาะกับคราบฝังแน่นเท่านั้น 4.กรดที่ผสมในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำมีให้เลือกหลายชนิดตามความเข้มข้น อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดที่มีความเข้มข้นต่ำก็จะปลอดภัยกว่าชนิดเข้มข้นสูง 5.สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำยาซักผ้าขาว(ไฮเตอร์ ไฮยีน) ล้างห้องน้ำแทนสูตรโซเดียมไฮโปคอลไรท์ได้ โดยเฉพาะการกำจัดเชื้อรา เนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก 6..อ่านวิธีการใช้และคำเตือนให้ละเอียด เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งานผิดพลาดหรือเผอเรอ   ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ                   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 138 เราพบอะไรในชุดชั้นในสีดำ

หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวว่าในต่างประเทศมีการทดสอบเสื้อชั้นในสีดำและพบสารก่อมะเร็งในปริมาณสูง และอาจสงสัยว่าเสื้อชั้นในสีดำที่ขายอยู่ในบ้านเรามีสารดังกล่าวหรือไม่ ฉลาดซื้อเก็บตัวอย่างเสื้อในชั้นสีดำทั้งจากตลาดบน ตลาดกลาง และตลาดล่าง* ทั้งหมด 10 ตัวอย่าง (ราคาตั้งแต่ 50 - 790 บาท ทั้งหมดผลิตในประเทศไทย ยกเว้นยูนิโคล่ รุ่นไวร์เลส ที่ผลิตจากประเทศจีน) ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แล้วส่งเข้าทดสอบในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อไขข้อข้องใจในประเด็นเหล่านี้ ชนิดของเส้นใยที่ใช้เป็นไปตามที่แจ้งบนฉลากหรือไม่ มีฟอร์มาลดีไฮด์ (สารที่ใช้เพื่อป้องกันผ้าย่น หรือยับ) หรือไม่ ค่าความเป็นกรด-ด่างเกินมาตรฐานหรือไม่ สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง จากผลทดสอบในภาพรวม เสื้อชั้นในส่วนใหญ่ผลิตจากเส้นใยตามที่ได้แจ้งไว้ มีเพียงยี่ห้อ Princess ที่ระบุบนฉลากว่าเป็น “ฝ้าย 100%” แต่ทดสอบแล้วพบว่าเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ส่วนชุดชั้นในอีก 3 ยี่ห้อที่ไม่ระบุเส้นใยที่ใช้ก็เป็นโพลีเอสเตอร์ หรือโพลีเอสเตอร์ผสมฝ้าย ซึ่งเรื่องของเส้นใยนั้นต้องแล้วแต่ความชอบของผู้บริโภคแต่ละคน ใครเน้นสวมใส่สบาย ระบายอากาศดีก็เลือกที่เป็นเส้นใยจากฝ้าย แต่ถ้าใครเน้นซักง่ายแห้งเร็วก็คงจะเลือกเส้นใยโพลีเอสเตอร์ สำคัญตรงที่ผู้ผลิตมีการแจ้งต่อต่อผู้บริโภคอย่างตรงไปตรงมาเพื่อการพิจารณานั่นเอง ------------------------------------------------------------------------------- ตลาดชุดชั้นในสตรีในบ้านเราซึ่งมีมูลค่าการตลาดไม่ต่ำกว่า 12,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ : ข้อมูลจากงานวิจัยปี พ.ศ. 2552 โดย ผุสดี ใจแก้วทิ  เรื่อง กลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อชุดชั้นในสตรีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ลิขสิทธิ์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ------------------------------------------------------------------------------- จากงานวิจัยเดียวกัน สีเสื้อชั้นในที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือสีเนื้อ (ร้อยละ 37.5) ตามด้วยสีขาว (ร้อยละ 32) สีชมพู (ร้อยละ 13.5) และสีดำ (ร้อยละ 10.5) -------------------------------------------------------------------------------   เสื้อชั้นใน Ne’s bra รุ่น 8802 ราคา 50 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.52 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Princess รุ่น 191 ราคา 79 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก Cotton 100% ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.72 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Sister hood รุ่น Sport 072 ราคา 89 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ / ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.09 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Jintana รุ่น Jina Teen JB 2850 ราคา 260 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.16 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Sabina รุ่น SBN Sport SBB 374 BK ราคา 440 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.44 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน POP line รุ่น WL 1799 ราคา 450 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไนลอน ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 6.10 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Wacoal รุ่น WH 2M03 T-Shrunk ราคา 550 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 7.95 สารก่อมะเร็งในสีย้อม 4-chloroaniline 15.35 มก./กก.     เสื้อชั้นใน Elle รุ่น LB 8502 ราคา 650 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไนลอน ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ไนลอน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.16 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน UNIQLO รุ่น Wireless Bra Light ราคา 790 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก โพลีเอสเตอร์ ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             โพลีเอสเตอร์ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.85 สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ     เสื้อชั้นใน Triumph รุ่น Sloggi Organic Cotton ราคา 790 บาท ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย ชนิดเส้นใยที่ทดสอบได้             ฝ้าย ค่าความเป็นกรดด่าง 6.84 สารก่อมะเร็งในสีย้อม 4-chloroaniline 15.09 มก./กก.   ------------------------------------------------------------------------ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ชุดชั้นในสตรี มผช. 837/ 2554 กำหนดไว้ว่า ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ ต้องน้อยกว่า 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ค่าความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 5 ถึง 7.5 สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว ต้องไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลการวิเคราะห์ ในการทดสอบคราวนี้เราไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์ในทั้ง 10 ตัวอย่าง และค่าความเป็นกรดด่างของเสื้อชั้นในส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ ยกเว้นวาโก้ WH 2M03 T-Shrunk ที่มีค่า pH สูงเกินเกณฑ์ไปเล็กน้อย   นอกจากนี้เรายังพบสาร 4-คลอโรแอนิลีน (4-chloroaniline) ในชุดชั้นใน 2 รุ่นได้แก่ วาโก้ WH 2M03 T-Shrunk และ ไทรอัมพ์ Sloggi Organic Cotton ในปริมาณ 15.35 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม และ 15.09 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ตามลำดับ ปริมาณดังกล่าวถือว่าไม่เกินมาตรฐานที่ประเทศไทย หรือเกณฑ์เบื้องต้นของยุโรปกำหนดให้มีได้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม)   อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวเป็นหนึ่งในสารอะโรแมติกแอมีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ถ้าอ้างอิงเกณฑ์ของฉลากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของยุโรป จะต้องไม่มีสารดังกล่าวในผลิตภัณฑ์   ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ ผศ.ดร.จันทร์ทิพย์ ซื่อสัตย์ ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่า “สีย้อมประเภทเอโซเป็นสีกลุ่มที่แตกตัวให้สาร Aromatic amine เมื่อย้อมติดบนผลิตภัณฑ์ ไม่ควรก่อให้เกิดสาร Aromatic amine ชนิดที่อยู่ในข่ายสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติในมนุษย์ ในปริมาณเกินกว่า 30 ppm สำหรับสาร 4-chloroaniline ที่ตรวจพบในผลิตภัณฑ์เสื้อชั้นในข้างต้น เป็นสารที่ห้ามใช้หรือไม่ควรพบตกค้างในผลิตภัณฑ์สิ่งทอเลยเนื่องจากเป็นสารอันตราย ดังนั้นจึงถือว่าผลิตภัณฑ์เสื้อชั้นในที่ตรวจพบสารดังกล่าวอยู่ในข่ายที่สามารถก่ออันตรายต่อผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสผิวหนังโดยตรงเช่นนี้”   วลัยพร มุขสุวรรณ รองผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารเคมี ระบุว่า “ตามเอกสารขององค์การอนามัยโลกและกฎหมายของสหภาพยุโรปที่ออกตามกฎหมาย REACH นั้น สหภาพยุโรปจำกัดการใช้สีย้อมประเภทเอโซ (ซึ่งสาร 4-chloroaniline รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย) คือห้ามใช้สีย้อมเอโซที่อาจปล่อยสารแอมีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งออกมาจากผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเข้าสู่ผู้ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นเอโซที่ไม่ปล่อยสารแอมีน จะยอมให้มีในแต่ละส่วนประกอบได้ไม่เกิน 30 พีพีเอ็ม สำหรับเอโซที่ปล่อยสาร 4-chloroaniline ออกมานั้นอยู่ในรายการห้ามใช้เลย ------------------------------------------------------------------------   เรื่องจากคนเย็บชุดชั้นใน -          ปัจจุบันนี้ เสื้อชั้นในหนึ่งตัว มีชิ้นส่วนประมาณ 20 ชิ้น และมีขั้นตอนการเย็บประมาณ 50 ขั้นตอน -          ถ้าเป็นเสื้อชั้นในแบบธรรมดาๆ พนักงาน 50 คน จะสามารถเย็บได้ วันละ 2,000 ตัว แต่ปัจจุบันเริ่มมีชิ้นงานแบบหรูหรา ที่ขายปลีกตัวละ 7,000 – 8,000 บาท พนักงานกลุ่มเดิมสามารถเย็บได้เพียงวันละไม่เกิน 400 ตัว -          ชิ้นงานสีดำหรือสีเข้มอื่นๆ ค่อนข้างลำบากต่อคนทำงาน เพราะมองไม่ค่อยเห็น จึงต้องส่องไฟเพิ่มซึ่งทำให้เกิดแสงสะท้อนเข้าตา -          ก่อนหน้านี้เคยมีผู้บริโภคร้องเรียนว่าพบปลายเข็มในเสื้อชั้นใน ซึ่งน่าจะเกิดจากเข็มที่หักในขั้นตอนการตัดเย็บ ในสายการผลิตจึงมีข้อกำหนดว่าจะต้องหาปลายเข็มที่หักให้เจอก่อนเสมอเมื่อเกิดกรณีที่เข็มหัก นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้พนักงานนำโลหะชิ้นเล็กๆ เช่นลวดเย็บ หรือดินสอกด เข้าไปบริเวณที่ทำงาน -          ขั้นตอนที่มีความเสี่ยง ขั้นตอนการประกอบลูกไม้/ผ้า เข้ากับฟองน้ำด้วยเครื่องพ่นกาว การขึ้นรูปผ้ากับฟองน้ำให้เป็นรูปโค้งตามขนาดคัพ ของเสื้อชั้นใน -          ครึ่งหนึ่งของราคาชุดชั้นในที่เราจ่าย คือค่าแบรนด์ -          เสื้อชั้นในที่เราเห็นนำมาลดราคาตามห้างนั้น ความจริงแล้วก็เป็นไปตามราคาขั้นต่ำที่เขากำหนดไว้แต่แรก บางครั้งการลดราคาก็เพื่อเคลียร์พื้นที่ให้กับรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะผลิตออกมา หรือของค้างที่เก็บไว้ก็มีแต่จะเสื่อมราคาจึงต้องรีบขายออกไป อีกกลุ่มที่นำมาลดราคาคือสินค้าที่มีขนาดไม่ครบนั่นเอง -          ส่วนเสื้อชั้นในที่นำมาขายลดราคาให้กับพนักงงานในโรงงานนั้นอาจมาจากสินค้าตกเครื่องบิน (หรือตกเรือ) เพราะส่งไม่ทันเวลา บางครั้งเป็นสินค้ามีตำหนิ หรือสินค้าตัวอย่าง หรือสินค้าที่ไม่ผ่านคุณภาพส่งออก (เช่นมีสารก่อมะเร็ง) เป็นต้น ขอบคุณ คุณจิตรา คชเดช และคุณวิภา มัจฉาชาติ ผู้ประสานงานและผู้จัดการฝ่ายผลิตชุดชั้นในทางเลือก Try Arm ผู้ให้ข้อมูล  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 120 องุ่นกับแตงโม เขาว่าสารเคมีเยอะจริงหรือ

ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกที คราวนี้ว่าด้วยองุ่นกับแตงโม ผลไม้ที่ใครต่อใครต่างก็ว่า มีสารเคมีการเกษตรตกค้างเยอะ ให้ระวังเวลากิน ก็เลยต้องพาไปพิสูจน์ครับ  องุ่นนั้น มีวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 และเกลือแร่อย่างเหล็ก แคลเซียม มาก และเพราะน้ำตาลในองุ่นเป็นน้ำตาลกลูโคส ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย กินองุ่นจึงทำให้รู้สึกสดชื่น อีกทั้งช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกาย ช่วยล้างและสร้างเม็ดเลือดกระตุ้นตับให้ทำหน้าที่ฟอกเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นยาระบายอ่อนๆ  แต่จากการทดสอบหาปริมาณสารเคมีตกค้างในทุกหน่วยงาน องุ่นจัดว่าเป็นผลไม้ที่ติดอันดับท็อปห้าตลอดเรื่องมีการตกค้างของสารเคมีสูง ถึงขนาดมีคนบอกว่า ถ้ารักกันจริงต้องปอกเปลือกองุ่นให้กิน  ส่วนแตงโม จำไม่ได้แล้วว่าเป็นข้อมูลปีไหน แต่ว่ากันว่า แตงโม จะมีสารเคมีตกค้างอยู่มากถึง 11 ชนิด อันนี้ก็เป็นที่ล้อกันเล่นๆ ว่า ถ้าแตงโมไม่หวาน ก็ถือว่าดี เพราะลดสารเคมีลงไปได้ 1 ชนิด(ฮา)  ที่จริงแตงโมเป็นผลไม้ที่เหมาะกับเมืองร้อนเป็นที่สุด เพราะมีน้ำมาก กินแล้วช่วยให้เย็นและสดชื่นในขณะอากาศร้อนจัด แตงโมมีไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนมาก ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ผักผลไม้มีสีแดง คาดว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งได้บางชนิด ส่วนเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ   ฉลาดซื้อทดสอบ องุ่น (ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ) เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 16 ตัวอย่าง (ครั้งละ 8 ตัวอย่าง) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมีนาคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล เพื่อทดสอบหาสารเคมีตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือ ยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)   ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.5) ที่พบการตกค้างของสารเคมีทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนพฤศจิกายน 2552 และตัวอย่างจากตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดสตูลจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนมีนาคม 2553  2. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ เลยจากการเก็บสินค้าทดสอบทั้ง 2 ครั้งในเดือนพฤศจิกายน2552 และเดือนมีนาคม 2553 ได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส และจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม และตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสังขลา   สรุปความเสี่ยงขององุ่น มีความเสี่ยงระดับปานกลาง (50 – 50) ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่สำคัญว่าจะซื้อจากแหล่งจำหน่ายใดทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ และตลาดสด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่ พื้นที่ภาคเหนือจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีตกค้างมากกว่าหนึ่งชนิดในแต่ละกลุ่มมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ  ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเสี่ยงเท่าๆ กันในระดับปานกลาง ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่สารพิษตกค้าง ยกเว้นจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมือง) และ จังหวังสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมาก ส่วนความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากปริมาณสารเคมีที่พบส่วนใหญ่ไม่สูงมากนัก (ไม่เกิน 1 มก./กก.   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 Carbendazim Organophosphate group Pyrethiod group   (พฤศจิกายน 2552)   (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   องุ่น (1)   ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ         สารพิษตกค้าง 288         3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2   จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX   กรุงเทพ เดอะมอลล์งามวงศ์วาน บ.เดอะมอลล์กรุ๊ป ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.05*   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.08*   ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02* ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน < 0.005* ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดกิมหยง องุ่นอเมริกา ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.0061* Cyhalothrin 0.045**  Cyfluthrin 0.028** Cypermethrin 0.205** Fenvalerate 0.293**   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ < LOD (0.025)* Chlorpyrifos 0.0107* Cyhalothrin 0.127** Cypermethrin 0.032** Fenvalerate 0.121** Deltamethrin 0.037*         MRL มกอช.     3 มก./กก.       *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้         ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่าง Carbendazim Organophosphate Pyrethiod     ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)         ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ     องุ่น (2)   สารพิษตกค้าง 288       3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2     จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX     กรุงเทพ บิ๊กซี สะพานควาย บมจ. บิ๊กซี ไม่พบ Chlopyrifos  0.04* ไม่พบ     สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ Chlopyrifos  0.91*** ไม่พบ     ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ Prothiophos 1.01** ไม่พบ     มหาสารคาม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สงขลา ตลาดกิมหยง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ 4.047*** Prothiophos 0.17** Cypermethrin 0.05**     เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ห้างบิ๊กซี (สาขาหางดง) ไม่พบ ไม่พบ Cyhalothrin 0.017** Permethrin 0.028*  Cyfluthrin 0.038** Cypermethrin 0.026** Deltamethrin 0.007*     พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Chlopyrifos  0.0211* Prothiofos 0.3086** Profenophos < LOD* Cyhalothrin 0.021** Cyfluthrin 0.012** Cypermethrin 0.006**           MRL มกอช. 3 มก./กก.         *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด         LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้       คำแนะนำในการบริโภคองุ่น – ควรล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเป็นเครื่องดื่มทั้งแบบคั้นสดและแบบปั่นหากไม่ได้ทำกินเอง เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงตกค้างหากไม่มีการล้างทำความสะอาดที่ดีพอได้   แตงโม เก็บตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 1 ครั้ง เป็นจำนวน 8 ตัวอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2553 เพื่อทดสอบหาการตกค้างของยาฆ่าแมลง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มไพรีทอยด์ และกลุ่มคาร์บาเมต โดยเก็บตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่ง และจากตลาดสด จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัดเช่นเดียวกันกับองุ่น ผลการทดสอบปรากฏว่า   สรุปความเสี่ยงของแตงโมและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมดไม่พบการปนเปื้อนเลย ยกเว้นพื้นที่เขตภาคเหนือคือเชียงใหม่ และพะเยาที่มีโอกาสได้รับผลิตภัณฑ์ที่มียาฆ่าแมลงตกค้างสูงโดยเฉพาะสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ที่พบมากกว่า 4 ชนิดในหนึ่งผลิตภัณฑ์   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 4 Organophosphate Pyrethiod Carbamate   มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   แตงโม ไม่ระบุ ไม่ระบุ Methomyl 0.2   สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288   AZINPHOS-METHYL 0.2 Fenvalerate 0.5 Methomyl 0.2   จังหวัด สถานที่เก็บ บริษัทผู้ผลิต/จำหน่าย MRL CODEX   กรุงเทพ คาร์ฟูร์ บางบอน บ. เซ็นคาร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี บมจ.บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดหาดใหญ่ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ Methomyl 0.12*   สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.039** Cypermethrin 0.159** Fenvalerate 1.705*** Deltamethrin 0.241** ไม่พบ   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.077** Permethrin 0.062**  Cyfluthrin 0.14** Cypermethrin 0.15** Fenvalerate 1.68*** Deltamethrin 0.214** ไม่พบ   *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด           ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่   คำแนะนำต่อการบริโภคกรุงเทพมหานครได้แถลงข่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ระบุไว้ว่ากว่าหนึ่งในสามของผลไม้รถเข็นไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ก่อโรค ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการซื้อแตงโมจากร้านผลไม้รถเข็นที่ดูไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่มีฝาครอบปิดมิดชิด หรือมีแต่ไม่ครอบปิด หรือไม่มีน้ำแข็งรักษาความเย็นของอาหาร (ชะลอการเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค) แนะนำให้ซื้อเป็นลูกใหญ่มาผ่ากินเองดีกว่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 52 รายชื่อผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่มีผงชูรสหรือสารเคมีอื่น ๆ

รายชื่อผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่มีผงชูรสหรือสารเคมีอื่นๆ เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยอย่าไปเลือก แม้ข้อถกเถียงเรื่องอันตรายของผงชูรสจะยังไม่ลงตัว ณ เวลานี้ แต่จากข้อมูลที่ฉลาดซื้อได้นำเสนอไปในเรื่องเด่นของฉบับนี้ ก็ทำให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ต่อสุขภาพของคนเราโดยเฉพาะ เด็ก สตรี และผู้ป่วย การใช้เกณฑ์ปลอดภัยไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องเหมาะสมสำหรับสุขภาพของเราในยุคที่มีสารพิษอยู่รอบตัวเต็มไปหมด การหลีก การเลี่ยงผงชูรสจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ ยุคที่เรารักและห่วงสุขภาพ และไม่อยากให้ภัยใด ๆ มาแย่งชิง ............................................................. จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ที่ฉลาดซื้อได้ไปเก็บมาพบว่ามีผู้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนเพื่อการจำหน่ายวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหารมากถึง 190 เลขทะเบียน รายชื่อ 89 เลขทะเบียนที่ฉลาดซื้อนำมาเสนอนี้ส่วนใหญ่เป็นผงชูรส มีส่วนน้อยที่อาจเป็นสารเคมีเพื่อใช้ในการปรุงรสชนิดอื่น ๆ แต่ทั้งหมดถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมอาหารและจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป ผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต วัตถุเคมีที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหารได้ แต่จัดอยู่ในกลุ่มอาหารควบคุมเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิต-ผู้นำเข้า จะต้องได้รับใบอนุญาตผลิต/นำเข้า และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร โดยต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค นั่นย่อมหมายถึงว่าผงชูรสไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัยเต็มร้อย แม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็เคยมีประกาศให้ผงชูรสต้องกำหนดคำเตือนบนซองผงชูรสว่า "ไม่ควรใช้ผสมอาหารสำหรับทารกหรือหญิงมีครรภ์"  แต่คำเตือนนี้ได้สูญหายไปในช่วงเวลาที่ยอดขายของผงชูรสเติบโตขึ้นมาแทนที่ คำเตือนจึงเหลือเพียงแต่การโฆษณาสรรพคุณ และชื่อยี่ห้อที่เต็มไปด้วยคำโอ้อวดว่าทำให้รสชาติของอาหารอร่อยอย่างล้ำเลิศ การหลีกเลี่ยงผงชูรสหรือหยุดบริโภคจึงเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้บริโภค และไม่เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อสุขภาพหรือรสชาติอาหารแบบไทย ๆ ของเรา ความหมายอักษรย่อของเลขทะเบียนวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 รถเข็นเด็ก: อันตรายจากสารเคมีที่แอบแฝง

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการรายการข่าวหลายช่องได้นำเสนอข่าวอุบัติเหตุสุดช็อคที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย กรณีที่รถเข็นเด็กไถลจากชานชาลาและคว่ำลงในรางรถไฟจังหวะเดียวกับที่รถไฟวิ่งเข้าชานชาลาพอดี เดชะบุญเด็กน้อยไม่เป็นอะไรมากนอกจากหัวโน เนื่องจากคุณแม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัยไว้ทำให้เด็กไม่กระเด็นหลุดออกมานอกรถเข็นขณะโดนกระแทก (ตามข่าววันที่ 16 ตุลาคม 2552)  ไม่ว่าคุณแม่คนดังกล่าวจะเลือกใช้รถเข็นเด็กยี่ห้ออะไร แต่ถือว่ารถเข็นยี่ห้อดังกล่าวใช้ได้ครับ เพราะมีความแข็งแรงมากพอจนสามารถป้องกันเด็กจากอุบัติเหตร้ายแรงได้ พูดถึงเรื่องของรถเข็นเด็ก ในเยอรมนีก็ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เป็นอย่างมาก มีการทดสอบสินค้าประเภทนี้เฉลี่ยแล้วปีละครั้ง แต่ละครั้งที่ทดสอบก็จะพบข้อบกพร่องมากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งทางผู้ทดสอบก็จะแจ้งให้ผู้ผลิตรับทราบ ซึ่งผู้ผลิตของเยอรมนีเองก็ไม่เคยเพิกเฉย และไม่เคยโต้แย้งเกี่ยวกับผลการทดสอบเลยสักครั้ง ทั้งๆ ที่มาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิตของเยอรมนีเองก็ขึ้นชื่อว่ามีมาตรการควบคุมและบังคับอย่างเข้มข้น สำหรับเมืองไทยของเรานั้น หากมีการร้องเรียนหรือการแจ้งข้อมูลจากผู้บริโภค/สื่อสารมวลชน ผู้ประกอบการและผู้ผลิตควรมีมาตรการรับผิดชอบหากพบข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ หากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปไม่เกิน 7 วัน แล้วพบว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถใช้ได้ เกิดข้อบกพร่องเสียหายซึ่งมาจากการผลิต ก็ควรจะเปลี่ยนสินค้าอันใหม่ให้เลย หลายครั้งที่ผู้เขียนมีประสบการณ์จากเพื่อนฝูง พี่น้องมาปรารภเกี่ยวกับการซื้อสินค้ามาใช้ไม่นานแล้วพบว่าสินค้าดังกล่าวไม่สมบูรณ์ ชิ้นส่วนบางอย่างเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ซื้อเองต้องการจะเปลี่ยนสินค้าเป็นชิ้นใหม่แต่ผู้ขายไม่สามารถเปลี่ยนได้ ทำได้แค่เพียงส่งซ่อมและแก้ไขให้เท่านั้น บางกรณีอ้างว่า ไม่สามารถเปลี่ยนสินค้าชิ้นใหม่ได้ เนื่องจากผู้ซื้อไม่ได้ซื้อเงินสด (ใช้บริการผ่อนชำระ 0% ทำให้เสียสิทธิ!!!) ซึ่งการเปลี่ยนสินค้าให้แบบไม่มีเงื่อนไขคงไม่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปิดกิจการเพราะโอกาสเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ (หากเกิดขึ้นหลายๆ ครั้ง สินค้าชิ้นนั้นควรได้รับการตรวจสอบ เพราะอาจจะผลิตไม่ได้มาตรฐานจริงๆ) ลองติดตามดูข่าวคราวเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ประกอบการในบ้านเรายังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องดังกล่าวเลยครับ แต่เรื่องลักษณะนี้ก็มีเกิดขึ้นในสังคมอยู่เป็นประจำ สำหรับผมนั้นก็จะนำข่าวเหล่านี้มาเสนอให้เพื่อนสมาชิกทราบเป็นระยะๆ ครับ และหวังว่าการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีผลต่อความรับผิดขอบของผู้ผลิตในเมืองไทย ตามมาตรฐานสากล สมกับที่ได้ตรามาตรฐาน ISO ซึ่งผู้ผลิตบ้านเราพยายามทำหรือหาวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งมาตรฐานนี้ สำหรับมาตรฐานของฝรั่งที่ไม่ได้ออกเป็น ISO แต่เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ผลิตคือ การรับผิดชอบสินค้าที่ผลิตขึ้นและพบข้อบกพร่อง โดยการรับเปลี่ยนสินค้าแบบไม่มีเงื่อนไข และหากผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ก็ต้องยอมรับเงื่อนไขจริยธรรมแบบฝรั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทยเมื่อไหร่ คงต้องดูกันต่อไปครับ กลับมาเรื่องของเราดีกว่า ฉบับนี้ผมนำเรื่องผลการทดสอบรถเข็นเด็กของนิตยสาร Test เยอรมนี ฉบับเดือนกันยายน 2552 มานำเสนอครับ ผลการทดสอบพบสารเคมีอันตรายในรถเข็นเด็กถึง 10 ยี่ห้อ จากจำนวนยี่ห้อที่นำมาทดสอบทั้งหมด 14 ยี่ห้อ ชิ้นส่วนที่มีการตรวจพบสารเคมีอันตราย ได้แก่ บริเวณที่จับ (Handle) เข็มขัดนิรภัย เบาะคลุม และที่กันฝน ชิ้นส่วนดังกล่าวมีปริมาณสารเคมีประเภท Plasticizer หรือ Phatalate และ สารเคมีประเภท Polycyclic Aromatic Hydro Carbon (PAHC) สารเคมีกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง และทำให้เป็นหมันได้ สารเคมีดังกล่าวถูกตรวจพบในกลุ่มสินค้าหลายอย่าง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเด็กอ่อน (baby article) ได้แก่ เก้าอี้เสริมของเด็ก เก้าอี้หัดเดิน และเครื่องเขียน เป็นต้น ในการทดสอบครั้งนี้ยังพบสารเคมีอันตรายชนิดอื่นด้วย อาทิ Chlorinated paraffin, สารป้องกันการติดไฟ (flame retardant) สารเคมีกลุ่ม Organozine กลุ่ม Phenol และFormaldehyde ผลการทดสอบสะท้อนให้เห็นว่าผู้ผลิตยังไม่ตระหนักถึงอันตรายที่หลบซ่อนอยู่ในผลิตภัณฑ์ ถึงแม้ว่าสารเคมีที่กล่าวมานี้จะไม่ทำให้เกิดอันตรายแบบปัจจุบันทันด่วน แต่หากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดการสะสม สามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเด็กในอนาคตได้ ดังนั้น ผู้ผลิตควรต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐาน เพื่อให้ปลอดภัยจากสารเคมีอันตรายทั้งหลายเหล่านี้ สำหรับยี่ห้อที่ตรวจพบสารเคมีอันตรายดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่สามารถดูได้จากข้อมูลที่เรานำมาลง และหากพบสินค้ายี่ห้อดังกล่าวมีวางจำหน่ายในประเทศไทย ก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่เลือกมาใช้งานและแจ้งมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยนะครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 96 ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีอันตราย และบทบาทของภาครัฐในการคุ้มครองผู้บริโภค (2)

ช่วง ฉลาด ช้อปดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค บทความในฉบับนี้ มาว่ากันต่อเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีอันตราย ปนเปื้อนซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันแทบทุกวัน ดูว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้าน มีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างที่เราควรระมัดระวัง  ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายจานชามที่ทำมาจากพลาสติก จานชามประเภทนี้จะพบสาร Bisphenol A สารเคมีตัวนี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และจะทำให้เกิดความผิดปรกติทางพฤติกรรม (Behavioral disorder) อีกด้วย สารตัวนี้สามารถปนเข้ามากับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป หากใช้ภาชนะพลาสติกที่มีสารดังกล่าวอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติก โดยใช้ภาชนะที่ทำจากกระเบื้อง เซรามิกส์ หรือแก้วแทนพลาสติกคลุมโต๊ะรับประทานอาหารที่ทำจาก พีวีซี (PVC: Poly Vinyl Chloride) สินค้าตัวนี้มีสารพลาสติไซเซอร์ (Plastisizer) ผสมอยู่ด้วย อันตรายของสารเคมีดังกล่าว คือ อาจก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและทำให้ปริมาณของเชื้ออสุจิลดลงครีมทาผิวและโลชั่น ต้องระวังที่มีส่วนผสมของพลาสติไซเซอร์ (Plastisizer) และกลิ่นมัสค์สังเคราะห์ (Musk Fragrance) ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นและเกิดอาการคันจากการแพ้ได้ เวลาเลือกซื้อครีมทาผิวควรอ่านที่ฉลากดูว่าส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์มีสารเคมีเหล่านี้อยู่หรือไม่ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากสารเหล่านี้ โดยเฉพาะคนที่เป็นภูมิแพ้ บทบาทของภาครัฐในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงตัวอย่างองค์กรเอกชนและบทบาทในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในยุโรปไปแล้ว ฉบับนี้ ขอยกตัวอย่างบทบาทภาครัฐโดยเฉพาะของสหภาพยุโรปในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคกันบ้าง เป็นที่ทราบกันแล้วว่า สหภาพยุโรป (EU) มีคณะกรรมการที่ดูแลด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะนโยบายด้านการใช้สารเคมีในการผลิตสินค้า ที่ปัจจุบันมีสารเคมีที่ใช้ประมาณ 70,000 ชนิด และกว่า 70% ของสารเคมีนั้น ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของมนุษย์ แต่กลับไม่มีข้อมูลในด้านผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งสารเคมีดังกล่าว มีการตรวจพบในเสื้อผ้าจากใยสังเคราะห์ จอคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือทางการแพทย์ ดังที่เคยเขียนเล่าให้เพื่อนๆ สมาชิกทราบไปแล้ว สาเหตุที่ทางกรรมการดูแลทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (EU commissioner for consumer protection) และองค์กรภาคประชาชนต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้ เนื่องจากตามสถิติ พบว่าคู่สามีภรรยามากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถมีบุตรได้เพราะได้รับสารเคมีอันตราย ที่มีผลต่อระบบการสืบพันธุ์ ทำให้ระบบการสืบพันธุ์บกพร่อง มีเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น คนงานในยุโรปกว่า 23% ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เพราะเกิดจากการทำงานในโรงงานที่มีสารเคมีอันตรายเป็นเวลานาน จึงต้องหามาตรการในการป้องกันปัญหาดังกล่าว นโยบายการควบคุมสารเคมีอันตราย (REACH)ขณะนี้สหภาพยุโรปจะผลักดันมาตรการที่สำคัญ ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจาณาร่างกฎหมายที่จะออกบังคับใช้ คือ การบันทึกเก็บข้อมูล (Registration) การตรวจสอบ (Evaluation) และการออกใบอนุญาต (Authorization of Chemicals) ซึ่งมีชื่อย่อว่า REACH โดยภายในระยะเวลา 10 ปี สหภาพยุโรปจะทำการศึกษาสารเคมีกว่า 30,000 ชนิด ว่ามีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะหาสารเคมีทดแทนสารเคมีที่เป็นอันตราย หรือสามารถจัดการและควบคุมการใช้สารเคมีเหล่านี้ได้ดีขึ้น เนื้อหาสาระของ REACH คือ สารเคมีต้องถูกตรวจและทดสอบถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะออกสู่ตลาด และถ้าสารเคมีใดก็ตามที่วางอยู่ในตลาดแล้ว ก็สามารถทำการทดสอบย้อนกลับไปได้อีกด้วย หากผู้ผลิตสารเคมีละเลยในการกระทำตามมาตรการดังกล่าว จะโดนอาญัติสินค้าไม่ให้จำหน่าย นอกจากนี้ในปี 2009 ผู้ผลิตและผู้ขายจะต้องให้ข้อมูลกับลูกค้า ว่าสินค้าของผู้ผลิตนั้นมีสารเคมีที่เป็นพิษ ปนเปื้อนหรือผสมมาในสินค้าหรือเปล่า ซึ่งผู้ผลิตจะต้องตอบและให้ข้อมูลกับลูกค้าภายใน 45 วัน โดยถือเป็นบริการของผู้ผลิตและไม่สามารถไปเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากลูกค้าได้ มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลเพิ่มเติม ในด้านความปลอดภัยจากสารเคมี และจากมาตรการนี้จะมีผลทำให้งบประมาณทางด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะงบประมาณที่ใช้ในการเยียวยารักษาคนป่วย และผู้บริโภค ลดลง จากการประมาณของสหภาพยุโรป เมื่อมาตรการ REACH ออกเป็นกฏหมายบังคับใช้แล้วจะสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 50,000 ล้านยูโร ภายในระยะเวลา 30 ปี แต่ที่สำคัญก็คือ สุขภาพและสวัสดิภาพภาพของประชาชนในยุโรปที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้นั้น จะเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล และกฏหมายนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้ขายที่ไม่ได้อยู่ในยุโรปด้วย เพราะสินค้าที่จะนำไปขายในยุโรปทุกชนิดจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 มาเป็นแม่บ้านไร้สารกันเถอะค่ะ

“ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้นำเรื่องดีๆ มาฝากคุณผู้อ่านอีกแล้วค่ะ แต่ครั้งนี้เราขอเอาใจคุณแม่บ้านเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบรรดาคุณแม่บ้านที่รักการทำความสะอาดบ้าน (และที่ทำเพราะหน้าที่) “ฉลาดซื้อ” อยากชวนคุณแม่บ้านทุกท่านมาลองคิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการทำให้บ้านอันแสนอบอุ่นของทุกคนเป็นบ้านปลอดสาร(พิษ) สะอาดอย่างปลอดภัย แถมยังห่วงใยโลก สมกับเป็นแม่บ้านยุคใหม่หัวใจสีเขียว ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านไร้สารพิษ สารเคมีใกล้ตัวไม่กลัวไม่ได้นะแค่พูดถึง “สารเคมี” ทุกคนก็คงรู้สึกไม่ดีกันแล้วใช่ไหมคะ คุณแม่บ้านหลายคนอาจจะคิดว่าสารเคมีแม้จะเป็นอะไรที่ดูน่ากลัวแต่ก็เป็นเรื่องไกลตัวคงไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ซึ่งถือเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะอันตรายจากสารเคมีอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ มากขนาดที่เราทุกคนใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับสารเคมีในบ้านของเราเองตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเวลาเข้านอน ซึ่งสารเคมีที่เราต้องสัมผัสพบเจอในชีวิตประจำวันของเราก็ไม่ได้มาจากที่ไหนไกลมาจากข้าวของเครื่องใช้หลายๆ อย่างรอบตัวเรา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เราใช้ภายในบ้านนี่แหละ ทั้งผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ และอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านที่วางขายทั่วไปอยู่ในท้องตลาด ล้วนแล้วแต่มีสารเคมีเป็นส่วนผสมหลักทั้งนั้น สำรวจบ้านหาจุดเสี่ยงสารเคมี!!!ตอนนี้คุณแม่บ้านลองเดินสำรวจในบ้านของตัวเองดูนะคะ ลองดูซิว่าข้าวของเครื่องใช้ที่เราซื้อเข้าบ้านมีอะไรที่เป็นตัวนำสารเคมีเข้ามาบ้าง เริ่มจากบริเวณรอบๆ บ้านของคุณแม่บ้านก่อนเลยค่ะ หลายๆ บ้านคงจะใช้บริเวณด้านนอกของบ้านเป็นโซนซักล้าง ซึ่งที่นี่เราจะได้พบสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เราซื้อมาจากร้านค้า ทั้งผงซักฟอก น้ำยาซักผ้าขาว น้ำยาซักแห้ง น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือถ้าคุณแม่บ้านมีรถ ก็จะเจอสารเคมีได้อีกในน้ำยาทำความสะอาดรถยนต์ น้ำยาขัดเงา น้ำมันเครื่อง เข้ามาในบ้าน ที่ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น ในนี้จะมีสารเคมีที่เราคิดไม่ถึงซ่อนอยู่เยอะเลย ทั้งในพรมสังเคราะห์ ที่มักผลิตมาจากโพลียูริเทนโฟมซึ่งมีสารบางตัวที่อาจถูกปล่อยออกมาก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบหายใจ นอกจากนี้อาจมีสารเคมีตกค้างจากน้ำยาทำความสะอาดพรมด้วย วอลเปเปอร์ ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ที่ทำจากพลาสติกก็อาจปนเปื้อนอยู่ด้วยเหมือนกันค่ะ นี่ยังไม่พูดถึงบรรดาน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ รวมทั้งแร่ใยหินจากกระเบื้องที่อยู่เหนือศีรษะเรา มาต่อกันที่ห้องครัว ที่ที่เราใช้ปรุงอาหารรับประทาน ถ้ามีสารเคมีอยู่ด้วยแบบนี้น่ากลัวนะคะ แต่ว่ายังไงก็หนีไม่พ้นค่ะ เพราะในห้องนี้เราอาจเจอสารเคมีได้ทั้งใน เตาอบไมโครเวฟ เครื่องครัวเคลือบเทฟลอน รวมถึงในน้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดคราบสกปรก น้ำยาขจัดสิ่งอุดตันในท่อ และยาฆ่าหนูและแมลงต่างๆ ปิดท้ายที่ห้องน้ำ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าทั้ง สบู่ ยาสีฟัน แชมพู ครีมนวด โฟมล้างหน้า ล้วนแล้วมีส่วนผสมของสารเคมีทั้งนั้น แม้จะไม่อันตรายมาก แต่อาจมีบ้างบางคนที่แพ้ผลิตภัณฑ์บางตัวบางยี่ห้อ สารเคมีที่ต้องใช้อย่างระมัดระวังในห้องน้ำน่าจะเป็น น้ำยาขัดพื้นห้องน้ำ น้ำยาทำความสะอาดโถส้วม และน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพราะพวกนี้มักมีสารที่เป็นกรดซึ่งมีฤทธิ์รุนแรง คุณแม่บ้านที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้คงเคยสังเกตว่าเวลาหยดผลิตภัณฑ์พวกนี้ลงพื้นก็จะเกิดฟองขึ้นทันที ซึ่งเป็นฤทธิ์ของการกัดกร่อนของสารเคมี ขนาดพื้นปูนพื้นกระเบื้องยังขนาดนี้ ถ้าโดนตรงๆ กับผิวหนังของเราก็คงดูไม่จืดแน่ๆ นอกจากนี้ยังมีข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ภายในบ้านที่อาจเสี่ยงสารเคมี ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้พลาสติก ตู้ไม้อัด ยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บ สเปรย์ใส่ผม ยาย้อมผม สีทาบ้าน ยาฉีดยุง ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพีวีซี อย่าง ท่อน้ำ กระเบื้องยางปูพื้น ของเล่นเด็ก ฯลฯ แม้จะดูเยอะจนน่าตกใจ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงและลดการใช้สารเคมีในบ้านของเราได้ค่ะ อะไรที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ก็อย่าซื้อหาเข้ามาเก็บไว้ในบ้าน คือใช้เท่าที่จำเป็น ใช้แต่พอดี อันไหนที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ และรู้สึกว่าอาจต้องเสี่ยงกับสารเคมีก็ต้องศึกษาข้อมูลวิธีการใช้ คำแนะนำ คำเตือนต่างๆ ให้ดี หรืออะไรที่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทดแทนได้ อย่างน้ำยาทำความสะอาดบ้านต่างๆ ก็หามาใช้หรือถ้าทำใช้ได้เองก็ยิ่งดีค่ะ ซึ่งนอกจากจะดีกับสุขภาพของคุณแม่บ้านและคนในครอบครัว ยังดีต่อโลกของเราด้วยเพราะไม่มีสารเคมีตกค้างไปทำร้ายสิ่งแวดล้อม แถมยังถูกกว่าประหยัดกว่า และการลองทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติด้วยตัวเอง อาจช่วยให้การทำความสะอาดบ้านเป็นงานที่สนุกมากขึ้นก็ได้ค่ะ คำแนะนำเพื่อทำให้บ้านปลอดสารพิษจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด1.ควรเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของสารเคมีให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นระบบ คือให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นชนิดเดียวกันหรือทำหน้าที่เหมือนกันเก็บไว้ด้วย เช่นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้าก็ไว้รวมกัน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำก็แยกกลุ่มออกมาให้ชัดเจน 2.ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนอกเหนือจากหน้าที่ของมัน คือไม่เอาผงซักฟอกไปล้างจาน หรือเอาน้ำยาขัดพื้นห้องน้ำมาขัดพื้นห้องรับแขกหรือห้องครัว 3.ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่จะซื้อเข้ามาในบ้าน ต้องเลือกที่มีฉลากแสดงข้อมูลต่างๆ ชัดเจน วิธีการใช้ คำเตือนของอันตรายที่อาจจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และวิธีการรักษาอาการแพ้เบื้องต้นเมื่อได้รับสารพิษ 4.เมื่อคุณแม่บ้านอ่านข้อความวิธีการใช้และคำเตือนต่างๆ บนฉลากข้างผลิตภัณฑ์แล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดด้วยเช่นกัน ทั้งสวมเสื้อผ้ามิดชิด ไม่สัมผัสโดยตรง หรือใช้ผลิตภัณฑ์ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก 5.ควรเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดให้ห่างจากมือเด็กมากที่สุด 6.ซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแค่เท่าที่จำเป็นต้องใช้ ไม่ควรซื้อมาเก็บตุนไว้มากๆ เพราะแบบนั้นก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงสารเคมีให้กับตัวเอง 7.ลองหาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นธรรมชาติหรือมีอันตรายน้อยกว่ามาทดแทน อย่างเช่น ผงฟู หรือน้ำส้มสายชู ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดคราบสกปรกต่างๆ ได้ไม่แพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่วางขายอยู่ตามร้านค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ต-------------------------------------------------- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใกล้ตัว ใช้แล้วไม่ต้องกลัวสารพิษ ผงฟู : ผู้พิชิตผงฟู หรือที่บางคนเรียก เบคกิ้งโซดา หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต นอกจากจะใช้ทำให้ขนมฟูดูน่ากินแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ความสะอาดบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่างหาก เพราะความที่มีอนุภาคเล็กและมีรูปทรงผลึกอ่อนนุ่ม จึงดีต่อการใช้ขัดถูทำความสะอาด มีสรรพคุณปรับค่าความเป็นกรดด่างและฆ่าเชื้อโรค แถมยังช่วยดูดซับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย เรียกว่าเราสามารถนำผงฟูไปเป็นสูตรทำความสะอาดได้ตั้งแต่ เสื้อผ้า จานชาม พื้นบ้าน อุปกรณ์เครื่องครัว ขจัดกลิ่นตู้เสื้อผ้า รองเท้า ไปจนถึงใช้แทนยาสีฟันก็ยังได้ น้ำส้มสายชู : คุณค่าคู่ครัวไม่เพียงแค่ใช้ปรุงอาหารเท่านั้น แต่น้ำส้มสายชูยังเป็นผู้ช่วยชั้นดีในการทำความสะอาดคราบต่างๆ ได้ด้วย น้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งช่วยกัดกร่อนคราบหินปูนที่เกาะอยู่ตามพื้นห้องน้ำ พื้นกระเบื้อง หรือคราบสนิทอยู่เกาะอยู่ตามก๊อกน้ำ ฝักบัว หรือเครื่องครัวต่างๆ ทั้งแบบที่ทำจากอลูมิเนียม อย่าง กาต้มน้ำ ที่เมื่อใช้ไปนานๆ มักเกิดคราบจากตะกอน คราบเขม่า และเครื่องครัวที่เป็นแก้วหรือคริสตัล น้ำส้มสายชูก็สามารถทำความสะอาดให้กับมาใสปิ๊งเหมือนใหม่ได้ด้วย น้ำมะนาว : เราทำได้นอกจากจะเพิ่มความเปรี้ยวให้กับชีวิตแล้ว น้ำมะนาวยังเป็นน้ำยาขัดขาวสูตรธรรมชาติปลอดภัยไร้สารอีกต่างหาก น้ำมะนาวใช้ขัดทำความสะอาดได้ทั้งข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นทองเหลืองและทองแดง ช่วยขจัดคราบสนิมและคราบสกปรกจากอาหารที่ติดอยู่บนเสื้อผ้า และยังช่วยขจัดคราบกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ติดอยู่ตามอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวอย่าง เขียงและมีด สบู่ : สู้ความสกปรกสบู่ที่เราใช้อาบน้ำมักจะเหลือค้างเป็นก้อนเล็กๆ เพราะมันเล็กจนจับไม่ถนัดมือเราจึงไม่ได้ใช้มันต่อ และเหมือนจะหมดประโยชน์ไปโดยปริยาย แต่สบู่ก้อนเล็กๆ เหล่านี้จะมีกลับมามีประโยชน์อีกครั้ง โดยการเก็บรวบรวมนำมาผสมกับน้ำร้อนใช้เป็นน้ำยาล้างจานได้ เพราะสบู่มีคุณสมบัติของสารลดแรงตึงผิวเหมือนกัน แต่มีความเข้มข้นน้อยกว่า ปลอดภัยกับผิวเรามากกว่า น้ำ : ทำได้หมดวัตถุดิบพื้นฐานสุดๆ ที่เราใช้ทำความสะอาดทุกๆ อย่าง ทั้ง ซักผ้า ล้างจาน ถูบ้าน ทำความสะอาดนู้นนี้ เราใช้น้ำช่วยในการชำระล้างคราบสกปรกต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าประสิทธิภาพของน้ำเปล่าๆ อาจไม่เข้มข้นพอที่จะขจัดคราบสกปรกบางอย่างชนิดที่เกาะติดแน่นมากๆ แต่บางครั้งแค่น้ำเปล่าธรรมดาบวกกับการออกแรงขัดถูนิดน้อย คราบสกปรกที่เราหวั่นใจก็อาจหลุดออกได้ง่ายๆ แบบที่เราอาจคาดไม่ถึง สูตรน้ำยาทำความสะอาดบ้านไร้สารพิษน้ำยาล้างห้องน้ำแม่บ้านหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่า น้ำยาล้างห้องน้ำมีฤทธิ์รุนแรง ถึงขนาดกัดกร่อนคราบสกปรกต่างๆ ได้ง่ายๆ แบบที่ไม่ต้องเปลืองแรงขัด นั้นก็เพราะในน้ำยาล้างห้องน้ำมีส่วนผสมของกรดหลายชนิด ที่นิยมมากที่สุดก็คือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) ซึ่งขนาดคราบสกปรกบนพื้นปูนหรือพื้นกระเบื้องยังขจัดออกได้ แล้วถ้าโดนเข้ากับผิวหนังของเราก็ไม่ต้องเดาว่าผลลัพธ์จะเป็นยังไง ถ้าโดนผิวหนัง เข้าตา หรือหายใจสูดเอากลิ่นของมันเข้าไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้ -ใช้แอมโมเนียและน้ำส้มสายชูอย่างละครึ่งถ้วย ผสมกับผงฟู ¼ ถ้วย นำไปเทลงบนพื้นแล้วใช้แปรงขัดคราบสกปรกที่ติดอยู่ ใช้เป็นน้ำยาทำความสะอาดพื้นกระเบื้อง -ใช้น้ำส้มสายชูเทลงในโถส้วม ทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้แปรงขัด ใช้ขจัดคราบสกปรกที่ติดอยู่ได้ -ใช้น้ำยาฟอกขาวกับน้ำมะนาว ¼ ถ้วย ผสมกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค สำหรับขัดตามอ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ ฝักบัว ผงซักฟอกไขข้อข้องใจสำหรับแม่บ้านที่ซักผ้าด้วยมือ ผงซักฟอกเป็นสารเคมีพวกกรดด่าง สารละลายอินทรีย์ และอาจมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสิ่งสกปรก เมื่อผิวหนังเราสัมผัสสารเหล่านี้เป็นเวลานานอาจเกิดผลเสียขึ้นได้ ทั้งผิวหนังขาดความชุ่มชื้น เกิดการอักเสบ ระคายเคือง ผิวแห้งและแตก อีกเรื่องที่อยากฝากเตือนคุณแม่บ้านคือ ไม่ควรนำผงซักฟอกไปล้างทำความสะอาดอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นล้างจานชาม หรือล้างมือ เพราะถ้ามีสารตกค้างเข้าสู่ร่างกาย อาจเกิดอาการท้องเสีย อาเจียน หรือถึงขั้นช็อคเลยก็ได้ ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-นำผงสบู่ที่ได้จากการสบู่ก้อนบริสุทธิ์ไม่มีส่วนผสมของสีและกลิ่นมาขูดให้เป็นผงประมาณ 1 ถ้วย ผสมกับน้ำ 3 ถ้วยที่ใส่หม้อตั้งไฟปานกลาง ใส่บอแรกซ์ 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น เป็นสบู่เหลวซักผ้า -นำผงสบู่ผสมน้ำร้อนอย่างละ 2 ถ้วย ทำให้ผงสบู่ละลายแล้วเติมแอลกอฮอล์ 1 ถ้วย น้ำมันยูคาลิปตัส 2 ช้อนโต๊ะ ใช้เป็นหัวเชื้อน้ำยาปรับผ้านุ่ม เวลาใช้ให้ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มนี้ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร เมื่อปรับผ้านุ่มแล้วให้ซักด้วยน้ำอุ่นอีกหนึ่งครั้ง -ผงฟูช่วยทำให้ผ้านุ่มและขจัดกลิ่นเหม็นติดเสื้อผ้าได้ โดยการเทผงฟูประมาณ ½ ถ้วยลงในน้ำสุดท้ายของการซักผ้าน้ำยาล้างจานส่วนผสมหลักๆ ของน้ำยาล้างจานคือ สารสังเคราะห์ในกลุ่มสารลดแรงตึงผิว (surfactant) รวมทั้งยังผสมสารที่เป็นกรดซึ่งมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนเพื่อทำหน้าที่กำจัดคราบไขมันและสิ่งสกปรก นอกจากนี้ยังมีการผสมสารต่างๆ อีกหลายชนิด สารที่ให้กลิ่นหอม สารฟอกสี ซึ่งสารสังเคราะห์เหล่านี้ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้ผงสบู่ 1 ถ้วย ผสมน้ำตั้งไฟจนเดือดคนจนละลาย ผสมน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย ใช้เป็นน้ำยาล้างจาน -น้ำส้มสายชูและน้ำมะนาว ใช้เช็ดถูทำความสะอาดคราบบนภาชนะต่างๆ เช่น หม้อ กาต้มน้ำ และใช้ขัดคราบและกลิ่นบนเครื่องครัวที่ทำจากไม้ อย่าง เขียง ได้ด้วย น้ำยาเช็ดกระจกส่วนใหญ่จะผสมสารที่ชื่อว่า ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol) ซึ่งเป็นของเหลวใส ไม่มีสี แต่ไวไฟ และมีกลิ่นฉุนมาก มีคุณสมบัติในการทำความสะอาด ซึ่งถ้าจะใช้ฆ่าเชื้อต้องใช้ที่ความเข้มข้นสูงถึง 60 – 70% หากเราหายใจเอาเจ้าสารนี้เขาไปในปริมาณมากๆ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอและจมูก เป็นอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ ปวดหัว วิงเวียน อาจถึงขั้นหมดสติ ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำในปริมาณเท่ากัน ชุบด้วยผ้านุ่มใช้เช็ดทำความสะอาดกระจก แต่หากใช้น้ำส้มสายชูเช็ดกระจกแล้วเกิดคราบ ให้ใช้แอลกฮอล์เช็ดที่กระจกก่อน -ใช้ผ้าเปียกถูกับสบู่ก้อน เช็ดบนกระจก ล้างออกแล้วเช็ดด้วยผ้าแห้ง ช่วยทำให้กระจกที่เป็นฝ้ามัวกลับมาใสเหมือนใหม่น้ำยาขัดเงาเฟอร์นิเจอร์ทำมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม แว็กซ์ และน้ำมัน ไม่ควรสูดดม สัมผัส หรือนำเข้าสู่ร่างกาย หากได้รับสารดังกล่าวเข้า อาจมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ แนะนำว่าเวลาใช้น้ำยาขัดเงาเฟอร์นิเจอร์ควรทำในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้น้ำมันพืช 1 ถ้วย ผสมกับน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย ใช้ผ้าชุบเช็ดทำความสะอาด ซึ่งสูตรนี้ช่วยลบรอยขีดข่วนได้ด้วย -ใช้น้ำมันทานตะวัน ½ ถ้วย ผสมกับสบู่เหลวและน้ำอย่างละ ¼ ถ้วย ใช้เช็ดทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ -น้ำ 1 ถ้วย สบู่เหลว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู ½ ถ้วย ผสมเข้าด้วยกัน ใช้เช็ดทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์หนัง -น้ำมันจมูกข้าวสาลี ½ ถ้วย ผสมกับน้ำมันละหุ่ง ¼ ถ้วย ใช้เป็นสูตรผสมสำหรับเคลือบเงาเฟอร์นิเจอร์หนัง น้ำยาทำความสะอาดพรมส่วนประกอบของน้ำยาทำความสะอาดพรมคือ น้ำยาซักแห้ง และ แนพทาลีน (Naphthalene) ซึ่งเป็นสารเคมีที่อยู่ในลูกเหม็น อันตรายคงสารนี้ก็คือ เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ จะทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร นานเข้าก็จะไปทำร้ายปอด รวมทั้งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งด้วย ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้ผงฟูหรือเกลือป่น โรยทิ้งไว้บนพรม 1 – 2 ชั่วโมง แล้วดูดฝุ่นออก ช่วยในการดับกลิ่น - บริเวณที่เปื้อนคราบสกปรกให้ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำสบู่หยดลงไป แล้วเช็ดเบาๆ ด้วยแปรงขนอ่อน เสร็จแล้วซับด้วยผ้าให้แห้ง ผลิตภัณฑ์กำจัดสิ่งอุดตันสารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์กำจัดสิ่งอุดตันส่วนใหญ่คือ โซดาไฟ ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง ถ้าถูกผิวหนังอาจเกิดการระคายเคือง เป็นแผลไหม้ ถ้าเข้าตาอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอด ถ้าเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมเข้าไปอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจเสียหาย ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปจะทำให้ ปาก คอ และช่องท้องเกิดแผลอย่างรุนแรง ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้ผงฟู 3 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู ½ ถ้วยผสมในน้ำร้อนแล้วเทลงไปในท่อ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วเทน้ำตาม ช่วยทำให้ท่อระบายได้เร็วขึ้นและลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ -ถ้าท่อระบายน้ำตันให้ใส่เกลือลงในท่อ ½ ถ้วย แล้วเทน้ำเดือดตามลงไป ที่มา : บทความเรื่อง “แม่บ้านไร้สารพิษ”. คมสัน หุตะแพทย์, วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 1/2552 “กรีนคอนซูเมอร์”. กรรณิกา พรมเสาร์. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “10 วิธีทำความสะอาดด้วยวิธีธรรมชาติ” มูลนิธิสุขภาพไทย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point