ฉบับที่ 187 กระแสต่างแดน

เราจะไม่ทนชาวเมืองอัมฮุลท์ ประเทศสวีเดนตัดสินใจฟ้องร้องต่อศาลที่ดินและสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการกับห้างอิเกีย ต้นเหตุของกลิ่นเหม็นที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้พวกเขามาตลอด ตั้งแต่เปิดดำเนินกิจการเมื่อ 4 ปีก่อนเทศบาลได้รับจดหมาย/อีเมล์ร้องเรียนจากชาวบ้านมาโดยตลอดเรื่องกลิ่น “เหม็นเหมือนส้วม” ที่ดูเหมือนจะมีที่มาจากห้างดังกล่าว เทศบาลไม่ได้นิ่งเฉยแต่อย่างใด เขาเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจหลายครั้ง ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ รวมถึงสั่งปิดบ่อน้ำเสีย แต่กลิ่นที่ว่าก็ยังไม่จางลงเมื่อต้นปีเทศบาลมีคำสั่งให้อิเกียตรวจสอบระบบกำจัดเศษอาหารและถังดักไขมัน ซึ่งก็พบว่าขาดการบำรุงรักษามาได้พักใหญ่ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็รายงานว่า อิเกียได้ปล่อยน้ำเสียและไขมันลงในระบบน้ำทิ้งเกินโควต้าแล้วเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาห้างอิเกียได้นำระบบกำจัดกลิ่นมาใช้ แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ... เรามากลั้นใจรอดูกันต่อไปว่าศาลจะตัดสินเรื่องนี้อย่างไร เร็วแต่ไม่ระวังในปี 2014 ฝรั่งเศสมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์มากเป็นประวัติการณ์  รัฐบาลจึงเริ่มนำมาตรการความปลอดภัยใหม่ๆ มาใช้ เช่น ลดขีดจำกัดความเร็วบนทางหลวงชนบทจาก 90 กม. /ชม.เหลือ 80 กม./ชม. กำหนดให้ระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจของผู้ขับขี่ต้องเป็นศูนย์ และติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มขึ้นอีก 500 ตัว แถมด้วยกล้องหลอกอีก 10,000 ตัวแต่บริษัท Sanef เจ้าของกิจการมอเตอร์เวย์ในฝรั่งเศสได้เฝ้าสังเกตรถยนต์จำนวน 140,000 คันบนทางพิเศษหมายเลข A13 ระหว่างกรุงปารีสและเมืองก็อง แล้วพบว่า...ปีนี้ความเร็วเฉลี่ยในการขับรถของคนฝรั่งเศสอยู่ที่ 129 กม./ชม.(เพิ่มขึ้น 2 กม.จาก 4 ปีก่อน) และมีถึงร้อยละ 43 ที่ขับรถด้วยความเร็วเกิน 130 กม./ชม. นอกจากนี้จำนวนคนที่ใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถก็เพิ่มขึ้นด้วยพูดง่ายๆ คือผู้คนขับรถเร็วขึ้นในขณะที่มีสมาธิในการขับขี่น้อยลง ที่สำคัญคืออัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนก็เพิ่มสูงขึ้น โดย 7 ใน 10 ของอุบัติเหตุเหล่านั้นมีสาเหตุจากการขับรถเร็วมันยังไม่ตรงใจทุกๆ ปี สหภาพยุโรปจะทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคเรื่องความพึงพอใจในสินค้า อาหารและบริการ ปีนี้เขาพบว่าจาก 30 ประเทศที่สำรวจ นอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้คนไม่พอใจกับตัวเลือกด้านอาหาร(เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) มากที่สุด อีกสองประเทศได้แก่ โครเอเชียและบัลเกเรียNortura หรือสหกรณ์การเกษตรของนอร์เวย์ถึงกับแสดงความประหลาดใจออกสื่อ เป็นไปได้อย่างไรกัน   คุณภาพอาหารของเราดีเลิศขนาดนี้ ผู้บริโภคนอร์เวย์ควรจะเป็นกลุ่มที่มีความพึงพอใจสูงที่สุดในยุโรปด้วยซ้ำไปทางด้าน Forbrukerradet องค์กรเฝ้าระวังเรื่องผู้บริโภคของนอร์เวย์ บอกว่าผลสำรวจนี้น่าจะทำให้หลายฝ่ายได้สำนึกกันเสียที และไม่ใช่แค่อาหารเท่านั้น ความพึงพอใจในบริการด้านร้านอาหาร ร้านกาแฟ และบาร์ของคนนอร์เวย์ก็ลดลงด้วยส่วนเรื่องที่คนประเทศนี้มีความพึงพอใจมากกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรปคือ น้ำประปา บริการธนาคาร และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคุณหลอก (ด้วย) ดาว นิวซีแลนด์มีระบบ Health Star Rating เพื่อติดดาวให้กับอาหารสำเร็จรูปสำหรับเด็กเพื่อแสดงระดับความ “เป็นมิตรต่อสุขภาพ”แต่เมื่อทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอ้คแลนด์ลองนำผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13,066 ชนิด ที่ได้ตั้งแต่ “3.5 ดาว” ขึ้นไป(หมายถึงดีต่อสุขภาพในระดับหนึ่งและสามารถโฆษณาได้) มาเทียบด้วยเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก เขาได้ข้อสรุปว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลนิวซีแลนด์จะทบทวนนโยบายเรื่องนี้ ถ้าดูในภาพรวม ร้อยละ 36 เข้าข่ายอาหารที่ดีต่อสุขภาพตามระบบดาว แต่มีเพียงร้อยละ 29 ที่ผ่านเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO)ถ้าแยกประเภทจะพบว่า ร้อยละ 77 ของอาหารเช้าซีเรียล “ดีต่อสุขภาพ” ตามระบบดาว ในขณะที่มีร้อยละ 34 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ของ WHOร้อยละ 12 ของขนมปังกรอบเข้าข่ายอาหารที่ดีตามระบบดาว แต่เพียงร้อยละ 0.3 ผ่านเกณฑ์ของ WHOที่น่าตกใจที่สุดคือประเภทผลไม้อบแห้ง ที่ร้อยละ 44 เข้าข่ายอาหารที่ดีต่อสุขภาพตามระบบดาว แต่มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ WHOตัดไฟแต่ต้นลม ปีที่ผ่านมาอินโดนีเซียเผชิญกับไฟป่าที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ประเทศข้างเคียงอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยต่างก็ได้รับผลกระทบจากหมอกควันที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก รัฐบาลอินโดนีเซียจึงหยุดให้สัมปทานการปลูกปาล์ม รวมถึงไล่ล่าฟ้องร้องบริษัทต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดไฟป่าครั้งก่อน เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาบริษัทหนึ่งถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าปรับเป็นเงินถึง 2,800 ล้านบาทนอกจากนี้ยังจริงจังกับการพัฒนาพื้นที่ป่าพรุ เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงต่อการติดไฟหรือฮอทสปอตด้วย  เท่านั้นยังไม่เพียงพอ สื่ออินโดนีเซียเรียกร้องให้ภาคธุรกิจเกษตรในประเทศออกมาแสดงความรับผิดชอบให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ เสียงจากผู้บริโภคที่จะบอกกับผู้ประกอบการว่า เราไม่ต้องการไฟป่าหรือหมอกควัน ด้วยการเลือกสนับสนุนเฉพาะผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำมันปาล์มหรือกระดาษด้วยกรรมวิธีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2555 ใบจองต้องเป๊ะ ซื้อรถคันแรก หลังจากที่รัฐบาลออกนโยบายรถคันแรกซึ่งเอื้อให้ประชาชนสามารถมีรถยนต์เป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น จากเงื่อนไขที่ภาครัฐที่จ่ายภาษีคืนให้กับผู้ซื้อ ทำให้ยอดการจองรถยนต์มีอัตราสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยการทำสัญญาจองรถยนต์นั้นผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญกับ “ใบจอง” เพราะเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคถูกหลอก โดยทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เคยทำหนังสือถึงผู้ประกอบการจำหน่ายรถยนต์ทุกค่ายพิจารณาการออกใบจองรถยนต์ให้ลูกค้าให้มีมาตรฐาน เป็นประโยชน์กับผู้ซื้อ โดยต้องแสดงรายละเอียดสำคัญให้ครบถ้วน ตั้งแต่รายละเอียดของรถยนต์ สี รุ่น ราคา ระยะเวลาการผลิตรถ ขนาดของเครื่องยนต์ และกำหนดเวลาส่งมอบรถ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ หากค่ายรถยนต์ใดไม่แสดงรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วน ถือว่าอาจเข้าข่ายการหลอกลวงผู้บริโภค จากข้อมูลของ สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ทั้งสิ้น 889 เรื่อง เป็นกรณีขอเงินจองคืนเนื่องจากไม่ได้รถยนต์ 100 รายการ ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญา 69 รายการ ยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน 53 รายการ ชำรุด 231 รายการ คืนรถ ค้างค่างวด 91 รายการ ยึดรถคืน 40 รายการ ขอชดใช้ค่าเสียหาย 38 รายการ ค่าปรับสูง 31 รายการ ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ 31 รายการ ขอคำปรึกษา 30 รายการ     ที่พักแพงแจ้ง สคบ. ปีใหม่นี้หลายๆ คนคงเตรียมตัวไปเที่ยวตามที่ต่างๆ ซึ่งสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องคิดและวางแผนเลือกกันอย่างดีก่อนที่จะออกไปเที่ยวก็คือ “ที่พัก” แม้จะมีให้เลือกมาก แต่รูปแบบและราคาก็แตกต่างกันมากด้วยเช่นกัน ที่สำคัญยิ่งถ้าเป็นช่วงหน้าท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่น บรรดาที่พักต่างๆ ก็มักจะฉวยโอกาสขึ้นราคา ถือว่าไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภค หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงจับมือกันเพื่อหาทางช่วยเหลือผู้บริโภค โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับกรมการค้าภายใน กรมการท่องเที่ยว สมาคมโรงแรมไทย ฯลฯ โดยหนึ่งในมาตรการที่อยากขอร้องกับให้ผู้ประกอบการ รวมถึงบริษัททัวร์ ก็คือ ให้จัดทำโบรชัวร์แสดงราคาของที่พักที่ต้องมีความชัดเจน แจ้งทั้งราคาช่วงไฮซีซั่นและโลว์ซีซั่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นและตัดสินใจได้ ซึ่งความจริงแล้วบริษัททัวร์ ที่พัก หรือสถานที่ท่องเที่ยว จัดอยู่ในกลุ่ม 26 สินค้าที่ สคบ. มีโครงการจะมอบตราสัญลักษณ์ให้ด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้หากผู้นักท่องเที่ยวคนใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องราคาทั้งที่พัก สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน สคบ. 1166 บะหมี่สำเร็จรูปเกาหลีไม่มีสารก่อมะเร็ง หลังจากมีที่มีข่าวออกมาว่า มีการตรวจพบสารก่อมะเร็งในบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้อดังจากประเทศเกาหลี “นองชิม” (nongshim)  ที่วางจำหน่ายในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งส่งผลมาถึงประเทศไทยเราเพราะบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้อดังกล่าวก็มีวางขายในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยงานนี้ทางคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง จึงออกมาตรการด่วนด้วยการสุ่มเก็บตัวอย่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนองชิมที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้และฮ่องกง จำนวน 20 ตัวอย่าง พร้อมกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย จำนวน 3 ตัวอย่าง รวม 23 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนอันตราย ซึ่งผลวิเคราะห์ที่ได้พบว่าทุกตัวอย่างปลอดภัยจากสารก่อมะเร็ง ผู้บริโภคสามารถหาซื้อมารับประทานได้อย่างสบายใจ โดยการตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นการตรวจหาสารก่อมะเร็ง (สารเบนโซ (เอ) ไพรีน) ที่อยู่ในเครื่องปรุงรสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเต้าเจี้ยว, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสปลาหมึก, บะหมี่  กึ่งสำเร็จรูปรสอาหารทะเล และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ด ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบสารก่อมะเร็งในเครื่องปรุงรสแต่อย่างใด คปภ. แนะซื้อประกันภัยสุขภาพอย่างถูกต้อง คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แนะนำผู้ที่จะซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนเลือกซื้อ อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่าระหว่างการประกันชีวิตและการประกันภัยสุขภาพนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร สำหรับการประกันชีวิตนั้น เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านชีวิตโดยตรง บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินสินไหมทดแทนเนื่องจากการเสียชีวิต (จากทุกกรณี) หรือเนื่องจากการมีชีวิตอยู่รอดตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับสัญญาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองการเสียชีวิตและการอยู่รอดเต็มจำนวนผลประโยชน์ที่ซื้อจากทุกๆ กรมธรรม์ประกันชีวิต ส่วนการประกันภัยสุขภาพ ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ซื้อเพิ่มจากกรมธรรม์ประกันชีวิตจะให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้เนื่องจากนอนพักรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่ว่าการรักษาพยาบาลนั้น จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งการพิจารณารับประกันภัยของบริษัทประกันภัย จะขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครอง “โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย” เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย และโรคเอดส์ และหากผู้ขอเอาประกันภัย มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัวหลายอย่าง บริษัทประกันภัยอาจจะพิจารณารับประกันภัยด้วยเบี้ยประกันภัยที่สูงกว่าคนปกติ หรืออาจจะไม่รับประกันภัยเลยก็ได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาและควรรู้สำหรับผู้ที่จะทำประกันสุขภาพก็คือ การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากการทำประกันภัยสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริงเท่านั้น ดังนั้น การซื้อประกันภัยสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องซื้อหลายๆ กรมธรรม์ แต่ควรพิจารณาว่าค่ารักษาพยาบาลที่ได้ทำอยู่แล้วครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่ผู้เอาประกันภัยต้องการหรือไม่ และควรศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยทุกครั้ง ว่าตรงกับที่บริษัทประกันภัยเสนอขาย     รถทัวร์เตรียมใช้ “จีพีเอส” ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป รถโดยสารสาธารณะเตรียมนำระบบจีพีเอสมาใช้ เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร โดยจะเริ่มต้นที่รถของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กว่า 800 คัน ก่อนจะขยายผลไปยังรถร่วมบริการของ บขส. และรถตู้โดยสาร ซึ่งระบบจีพีเอสน่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุของรถโดยสารที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในปัจจุบัน ระบบจีพีเอสมีเป็นระบบสื่อสารกับดาวเทียม สามารถรู้จุดตำแหน่งของรถที่ติดตั้ง การใช้ความเร็ว สามารถควบคุมให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎหมาย และเกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จของผู้บริโภค หลังจากที่องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยบนท้องถนนหลากหลายภาคส่วน ได้เข้ายื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้จัดตั้ง “ศูนย์ควบคุมการเดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางตลอด 24 ชั่วโมง” และให้มีการติดตั้งระบบจีพีเอสและกล่องเก็บข้อมูลในรถโดยสารสาธารณะประจำทาง เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา เห็นหรือยังว่าพลังของผู้บริโภคมีความสำคัญอย่างมากในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆ ของผู้บริโภคในสังคม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 12 อาหารสำเร็จรูปที่ต้องระวัง

โดย : รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ สถาบันโภชนาการ  มหาวิทยาลัยมหิดล  ไม่ว่าท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่กับวลีที่นักวิชาการชอบพูดว่า กินแบบไหนก็เป็นแบบนั้น ผู้เขียนคิดว่า สำหรับคนที่มีวิถีชีวิตในสังคมที่วุ่นวาย ซึ่งต้องการประหยัดเวลา เพื่อให้ได้เขี่ยสมาร์ทโฟนติดตามข่าวร้อยแปดพันประการได้ทัน มักไม่ค่อยสนใจวลีนี้ เพราะเขาทั้งหลาย (They) นิยมบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งเขาทั้งหลายจะได้ความหวานเป็นพิเศษและก็เสพติดรสชาติของไขมัน โดยไม่รู้ว่ามันเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว อาหารปรุงสำเร็จ “ถูกสร้างภาพ”  ให้เป็นอาหาร "สำหรับคนรุ่นใหม่" และอาหารเหล่านี้มีช่วงเวลา “ลด แลก แจก แถม” ตามหลักการโฆษณาสมัยใหม่ จนยากที่หลายคนจะต่อต้านและพร้อมที่จะลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายแฝงที่ตามมาภายหลังกินอาหารปรุงสำเร็จแล้วคือ สุขภาพของเขาทั้งหลาย ดังนั้นเว็บ http://www.fitnea.com จึงเตือนว่า ผู้ที่พัฒนาพฤติกรรมการบริโภคไปเป็นแบบอเมริกันแล้ว น่าจะทราบข้อมูลต่อไปนี้เพื่อใช้ในการตัดสินชะตากรรมของชีวิตของตนเอง   12 อาหารสำเร็จรูปที่ต้องระวัง 1.ไก่บดทอด (Chicken nuggets) เป็นอาหารที่ถูกคุณชี้เลือกเพื่อสนองความหิวตามร้านอาหารจานด่วน (เช่น ของตาลุงผู้พัน) โดยยอมรับสารเจือปนในอาหารปริมาณสูง เพราะมันเป็นอาหารที่ดูดี กรอบ เหลือง แม้ว่าเค็มด้วยเกลือและไขมันสูง และที่สำคัญถ้าท่านผู้อ่านเข้า YouTube แล้วพิมพ์คำว่า What Are Chicken Nuggets Made Of? แล้ว คุณอาจต้อง อึ้ง ทึ่ง เสียว ในทันใด 2.มันฝรั่งทอด (French Fries) ให้พลังงานสูงพร้อมข้อมูลวิทยาศาสตร์สุขภาพที่กล่าวว่า เมื่อคุณกินมันเข้าไป คุณกำลังเข้าไปทักทายกับโรคเบาหวานและโรคอ้วนโดยรู้ตัว คุณค่าทางโภชนาการของอาหารนี้ต่ำมาก แต่ถ้าคุณถึงภาวะที่รู้สึกว่าต้องการการกินมันฝรั่งทอดเหลือเกิน คุณควรทำเองด้วยการ “อบ” ไม่ใช่ทอดในน้ำมัน  3.ข้าวเกรียบมันฝรั่ง (Potato chips) ญาติสนิทของมันฝรั่งทอด ซึ่งดูคล้ายข้าวเกรียบไทย เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบเห็ด ฯ อาหารชนิดนี้ถูกระบุว่า ทำลายความพยายามของคนที่ลดน้ำหนักให้ย่อยยับลงมานักต่อนักแล้ว มันเพิ่มพลังงานและเกลือแกงพร้อมสารกันบูด เพราะโรงงานอาหารสำเร็จรูปได้เติมสารเจือปนต่างๆ เพื่อให้มันเป็นสินค้าที่มีลักษณะล่อตาผู้บริโภค หลังจากที่ถูกทอดในน้ำมันเดือดจนกลายเป็นอาหารอมน้ำมันสูงที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ครบและขาดใยอาหาร 4.น้ำอัดลม (Soda pop) เป็นตัวอย่างของอาหารที่เรียกว่า empty calories เพราะมันให้แต่พลังงานอย่างเดียวโดยไม่ให้สารอาหารอะไรเลย สุดจะเลวร้าย(ที่เราชอบดื่มจริงๆ ขณะเมื่อจะตายเพราะกระหายน้ำ) ความหวานของน้ำอัดลมมักได้จาก น้ำเชื่อมฟรักโตส(fructose syrup) ซึ่งดูเหมือนไม่มีอันตรายเพราะไม่ต้องการอินซูลินในการนำเข้าเซลล์ของร่างกาย แต่ด้วยสมมุติฐานของนักวิทยาศาสตร์บางท่านที่กล่าวว่า น้ำเชื่อมฟรักโตสที่เข้าสู่ตับอย่างรวดเร็วจะกระตุ้นกระบวนการสร้างไขมัน(lipogenesis) อย่างฉับพลันจนเกิดอาการที่ตับรับไม่ไหวที่เรียกว่า fatty liver ซึ่งในสัตว์ทดลองนั้นถ้าพบการที่ตับมีไขมันสะสมสูงเมื่อไร ก็หมายความว่าตับสัตว์นั้นพังแล้ว 5.ไส้กรอกฝรั่ง หมูแฮมและเบคอน (Fermented meat products) ซึ่งมีการเติมสารปรุงรสเช่น ผงชูรส เกลือดินประสิว และอื่น ๆ เนื่องจากอาหารเหล่ามักใช้วัตถุดิบคุณภาพรองจึงต้อง แต่งกลิ่น แต่งสี ให้เก็บแช่แข็งได้นานก่อนนำมาขายแก่ผู้บริโภค กระบวนการดังกล่าวนี้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเรามีกฎหมายที่ทำให้มันถูกต้อง อย่างไรก็ดีอาหารกลุ่มนี้ถูกยกย่องจากนักพิษวิทยาทั่วไปว่า มีสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรซามีนแน่นอน มากบ้างน้อยบ้าง ดังนั้นเด็กและสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค สำหรับผู้ที่ประสงค์จะบริโภค ควรมีตับแข็งแรงเพื่อทำลายสารพิษนี้และบริโภคพร้อมกับผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง 6.แฮมเบอร์เกอร์จานด่วน (Fast food hamburgers) เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารก่อมะเร็งซึ่งเกิดจากการปิ้งย่างรมควันเนื้อสัตว์ ตลอดจนถึงความเสี่ยงต่อเบาหวานซึ่งมีการศึกษาทางระบาดวิทยาว่า ผู้หญิงที่กินแฮมเบอร์เกอร์มากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์มีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานกว่าผู้ที่ไม่ได้กิน 7.อาหารเช้าธัญพืช (Cereal) เป็นความสะดวกสบายของผู้ต้องการอาหารเช้าที่อยู่ในกล่องสวยงาม เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้น้ำตาลเพิ่มขึ้นจนเสี่ยงต่อเบาหวาน ดังนั้นถ้าต้องกินอาหารชนิดนี้ควรเพิ่มอาหารที่มีเส้นใยสูงเข้าไป หรือมองหาอาหารธัญพืชที่ให้ใยอาหารประมาณ 5 กรัม ขึ้นไป พร้อมทั้งอย่าเลือกชนิดที่มีรสหวานจัดนัก หรือจะให้ง่ายกว่านั้น กินข้าวเม่าไทยดีกว่า ถูกและปลอดภัยไร้สารพิษ 8.กราโนล่า (Granola bars) คือขนม(โคตร) หวานของฝรั่ง เป็นได้ทั้งอาหารเช้าธัญพืชหรือเมื่อเหงาปาก ส่วนประกอบมักมีข้าวโอ๊ต ถั่ว น้ำผึ้ง บางครั้งเพิ่มผลไม้แห้ง ลูกเกด หรืออินทผลัมลงไปด้วยเพื่อเพิ่มความหวานสุดๆ แล้วอบจนกรอบ ขนมนี้ให้พลังงานสูง น้ำหนักเบา เก็บได้นาน ใช้เป็นเสบียงระหว่างการเดินทางหรือระหว่างเกมกีฬาดีๆ เพราะให้พลังงานและอยู่ท้องพอสมควร ในบ้านเราสินค้านี้มักมีเด็กเล็กเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องพุ่งเข้าชน ขนมดังกล่าวมักถูกเติมน้ำเชื่อมฟรักโตสเพื่อความหวานจัด ที่ร้ายกว่านั้นในกระบวนการปรุงแต่งมักทำให้มันเป็นขนมที่มีโซเดียมและไขมันค่อนข้างสูง 9.ขนมอบต่าง ๆ (Store-bought cookies, crackers, cakes and muffins) ที่มีมากมายหลายชนิดซึ่งพบได้ในห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ จัดเป็นอาหารทำลายสุขภาพซึ่งมักให้กันในช่วงวันหยุดเทศกาลเหมือนมีเจตนาร้ายซ่อนไว้ ขนมนี้ให้เกลือและน้ำตาลพร้อมทั้งไขมันทรานส์ซึ่งเป็นผู้ก่อการร้ายต่อสุขภาพของหัวใจอย่างสุดๆ 10.เครื่องดื่ม (ในซอง) พร้อมชง และเครื่องดื่ม (ในขวด) พร้อมดื่ม เป็นเครื่องดื่มที่เตรียมได้ง่ายและราคาถูก เพราะมักทำจากวัตถุดิบราคาต่ำ จากนั้นจึงแต่งกลิ่น สี และรสชาติสังเคราะห์ด้วยสารเคมีเพื่อให้สินค้าดูดี ถ้าองค์ประกอบมีครีมเทียมด้วยก็จะได้ไขมันทรานซ์ ส่วนน้ำตาลนั้นก็อาจเป็นน้ำเชื่อมฟรักโตสซึ่งเมื่อบริโภคมากอาจเกิดปัญหาต่อสุขภาพตับ สินค้านี้ขายได้ด้วยเทคนิกทางการโฆษณาโดยแท้ ไม่เชื่อคุณลองวิเคราะห์ต้นทุนด้วยว่า อะไรคือต้นทุนหลักของสินค้านี้ 11.เนยเทียม (Margarine) เป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในการเตรียมอาหารเช้าของคนไทยจน ๆ เนื่องจากเนยแท้หรือ butter มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ การกินขนมปังทาเนยเทียมจึงดูหรูสุดๆ แล้วสำหรับคนจน เนยเทียมนั้นทำจากน้ำมันพืชที่ถูกนำมาเติมอะตอมของไฮโดรเจนด้วยวิธีการทางเคมีเพื่อให้กลายเป็นไขมันอิ่มตัวที่แข็งพร้อมการแต่งกลิ่น สี และรสด้วยสารเคมีจนละม้ายคล้ายเนยจริง ข้อเสียหลักๆ เกี่ยวกับเนยเทียมคือ ไขมันทรานส์ ซึ่งมีการเชื่อมโยงสู่สุขภาพเลวของผู้บริโภค 12.ข้าวโพคคั่วในถุงไมโครเวฟ (Microwave popcorn) อาหารนี้เป็นที่นิยมของมนุษย์ผู้ไม่ชอบให้ปากว่างระหว่างชมโทรทัศน์ที่บ้าน นอกจากทำลายสุขภาพฟันแล้วยังทำให้คุณเสี่ยงต่อการรับสารไดอะเซ็ตติล ซึ่งเป็นกลิ่นรสเนยสังเคราะห์ที่สามารถทำลายปอดได้ ที่สำคัญสุดๆ คือ ถุงสำหรับใส่ข้าวโพดเพื่อนำไปรับความร้อนในไมโครเวฟนั้นมักถูกเคลือบด้วยสารเทฟลอน(Teflon) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่ใช้เคลือบกระทะ nonstick ซึ่งเมื่อถูกความร้อนสูง ๆ จะสลายตัวให้กรด perfluorooctanoic (เปอร์-ฟลูออ-โร-ออค-ตะ-โนอิค) ซึ่งถูกสงสัยว่าก่อมะเร็ง แต่ที่แน่ ๆ ถ้าสารนี้เกิดจากการตั้งกระทะเคลือบเทฟลอนบนเตาจนร้อนแล้วไม่เติมอาหารลงไป เพราะแม่บ้านมัวแต่คอเอียงโทรศัพท์หรือเขี่ยสมาร์ทโฟนอยู่ นกแก้วที่แม่บ้านฝรั่งชอบเลี้ยงเป็นเพื่อนในครัวมักตายด้วยสารนี้ สนใจข่าวนี้สามารถอ่านได้โดยใช้ google แล้วพิมพ์ว่า Non-Stick Cookware Kills Another Parrot ผู้เขียนให้ข้อมูลแก่ท่านผู้อ่านแล้ว ก็สุดแต่ท่านจะไขว้คว้าเอาอาหารนี้มาทำลายสุขภาพกันตามหลักสำคัญที่บอกว่า ทำอะไรได้ตามใจคือไทยแท้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 161 วัดค่าพลังงานและโซเดียมกับอาหารเช้าสำเร็จรูป

ชีวิตที่เร่งรีบแบบในโฆษณาสารพัดอาหารเช้าสำเร็จรูป อาจสร้างภาพให้ดูสวยงามด้วยวิธีการแก้ไขปัญหาแบบง่าย คือ แค่ฉีกซองเติมน้ำร้อนก็อิ่มท้องสบายๆ แต่อย่าลืมกันนะว่าของสำเร็จรูป  มันไม่ควรเป็นคำตอบสุดท้าย ที่จริงแล้วมันควรจะเป็นแค่ตัวช่วยเฉพาะกิจเท่านั้น เพราะถ้าจัดเต็มกันทุกวัน ท่านมีปัญหาสุขภาพแน่ โซเดียมแทบไม่ต่างจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฉลาดซื้อเคยทดสอบปริมาณโซเดียมทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและโจ๊กซอง เราพบว่ามันมีค่าโซเดียมแทบไม่ต่างกัน จึงควรระวังในการบริโภค เรื่องน่ายินดีคือ การสำรวจครั้งนี้ฉลาดซื้อพบว่า โจ๊กซองหลายแบรนด์มีค่าโซเดียมลดลง เช่น มาม่า โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป รสหมู มีโซเดียม 2826 มก. /100 ก.(ฉลาดซื้อ ฉ.101)  เมื่อสำรวจซ้ำคราวนี้พบว่าลดลงมาที่ 1961 มก./100 ก.   ü ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสม แนะนำให้บริโภคประจำวันคือ ไม่เกิน 2400 มิลลิกรัม//ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ อยู่ที่ประมาณ 1500-2000 มก. ü กินโซเดียมมากๆ ทำให้ไตและหัวใจทำงานหนัก ค่าพลังงาน โซเดียมและน้ำตาลในอาหารเช้ากึ่งสำเร็จรูป         //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 146 อย่าลืมดู “ส่วนประกอบ” ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป

  เมื่อหมูย่างกลายเป็นไก่ย่าง             ในวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีแต่ความเร่งรีบ เรื่องของความสะดวกและรวดเร็ว ถือเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ความต้องการบริโภคอาหารได้เปลี่ยนแปลงไปจากคนรุ่นก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน จากวิถีการบริโภคที่เนิ่นช้า ใช้เวลาในการประดิดประดอย ตกแต่งทั้งรสชาติและรูปร่างหน้าตาของอาหารให้มีความสวยงาม เปลี่ยนมาสู่อาหารที่พร้อมบริโภคได้ทันที เพียงแค่เอาออกจากตู้แช่แล้วผ่านความร้อนแค่ไม่กี่นาที จากเตาไมโครเวฟ โดยเราเรียกมันว่า “อาหารแช่เย็น – แช่แข็ง”    ถ้ามองผ่านๆ รูปร่างหน้าตาบนฉลากสินค้าเหล่านี้จะดูน่ารับประทานและมีความหลากหลายของตัวผลิตภัณฑ์สูง เรียกว่า อยากกินเมนูอะไรก็มีให้เลือกมากมาย แต่เดี๋ยวก่อน ...การมองเฉพาะชื่ออาหารบนผลิตภัณฑ์อาจไม่ใช่อย่างที่คุณคิด เพราะเป็นไปได้ว่า หมูย่างที่คุณกำลังจะกินอาจมีไก่ผสม หรือ ลูกชิ้นกุ้ง ไม่ได้เป็นกุ้งล้วน แต่เป็นเนื้อปลา   ดังนั้น “ฉลาดซื้อ” จึงได้ร่วมกับโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนสุ่มสำรวจตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นและแช่แข็ง จำนวน 76 ตัวอย่าง 3 กลุ่มอาหาร ประกอบด้วย กลุ่มเบอร์เกอร์-ฮอทดอก-แซนวิช กลุ่มติ่มซำ-อาหารเรียกน้ำย่อย และกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูป จากร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โฮมเฟรชมาร์ท บิ๊กซี โลตัส และกูร์เม่ มาร์เก็ต สยามพารากอน เซเว่นอีเลฟเว่น ระหว่างวันที่ 18 – 22 มีนาคม 2556 เมื่อมาพิจารณาเปรียบเทียบการแสดงรายละเอียดของชื่ออาหาร และส่วนประกอบ ว่ามีความสอดคล้องหรือไม่ และอาจจะนำมาซึ่งความสับสนแก่ผู้บริโภคหรือไม่   ผลทดสอบ  ร้อยละ 62 ฉลากควรต้องปรับปรุง            “ฉลาดซื้อ” พบว่า จาก 76 ตัวอย่าง มี 29 ตัวอย่าง (ร้อยละ 38) ที่ฉลากแสดงข้อมูลได้ค่อนข้างดี คือ มีการใช้ชื่ออาหารที่ชัดเจนเข้าใจได้ทันทีเมื่ออ่านชื่ออาหาร มีการแสดงชื่ออาหารที่สอดคล้องกับส่วนประกอบ และมีการแสดงรายการส่วนประกอบที่ค่อนข้างละเอียดและชัดเจน ขณะที่อีก 47 ตัวอย่าง (ร้อยละ 62) มีการแสดงข้อมูลบนฉลากที่สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค บางรายการอาจเข้าข่ายทำให้เข้าใจผิดและเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานแสดงฉลากไม่ถูกต้องได้ (มาตรา 6(10) ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522) โดย แบ่งตามลักษณะการกระทำความผิดได้เป็น 5 ลักษณะ คือ   ชื่ออาหารไม่สอดคล้องกับส่วนประกอบ การแสดงชื่ออาหารไม่สอดคล้องกับส่วนประกอบหลักของอาหาร เช่น ตรา เดลี่ไทย ใช้ชื่ออาหารว่า ข้าวเหนียวหมูย่าง แต่มีส่วนประกอบของหมูและไก่ อีกทั้งปริมาณและสัดส่วนของเนื้อสัตว์ทั้งสองชนิดยังใกล้เคียงกันมากคือ ร้อยละ 10 และ ร้อยละ 9 ตามลำดับ หรือ ไส้กรอกชีสต์หมู ตราเบทเทอร์ฟู้ด ที่ส่วนประกอบไม่มีการระบุว่า มีชีสต์ ทั้งที่ในชื่ออาหารแสดงไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นไส้กรอกชีสต์ กุ้งทอดสอดไส้ชีส ตราสุรพลฟู้ดส์ ที่ชื่อบอกว่ากุ้ง แต่มีส่วนประกอบ ทั้งกุ้งและปลา คือ กุ้ง 23%, เกล็ดขนมปัง 17%, เนื้อปลาบด 15%, ชีส 6% เป็นต้น   การแสดงชื่ออาหารไม่ได้บอกว่าอาหารนั้นทำมาจากอะไร การแสดงชื่ออาหารไม่ได้บ่งชี้ว่าอาหารชนิดนั้นคืออะไร ทำมาจากอะไร เช่น แซนวิชเค้กไส้กรอก ตรา เซเว่น เฟรช ที่ส่วนประกอบระบุว่า ไส้กรอก 41%, ไข่ขาว 13.20%, แป้งสาลี 10.8%... ฯลฯ ซึ่งทั้งชื่ออาหารและส่วนประกอบไม่ได้ให้ข้อมูลกับผู้บริโภคว่า ไส้กรอกนั้น ๆ คืออะไร หรือ WAVE DOG ฮอทดอกซอสพิซซ่า ที่ส่วนประกอบแสดงว่าทำจากไส้กรอกไก่ แต่มิได้แสดงชื่อไส้กรอกไก่ไว้บนฉลาก   การแสดงชื่ออาหารไม่ชัดเจน เมื่อชื่ออาหารไม่ชัดเจน ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าอาหารนั้นทำมาจากอะไรเป็นจริงตามชื่ออาหารที่กล่าวอ้างหรือไม่ รวมถึงมิได้มีการแสดงส่วนประกอบเป็นร้อยละ หากแต่แสดงเพียงรายการวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารเท่านั้น เช่น ลูกชิ้นหมูปิ้ง ตรา เซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ ที่ส่วนประกอบระบุแค่ เนื้อสัตว์ เพียงอย่างเดียว หรือ เกี๊ยวปู ตรา เจด ดราก้อน ที่ระบุส่วนประกอบ เนื้อสัตว์ 49.5%, แผ่นแป้ง 29.5% เครื่องปรุงรส 11.9%, มันแกว 11.5% ยอพริก (ไส้กรอกตราซีเค ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์) ที่ชื่อไม่บอกว่าทำจากสัตว์ โดย ส่วนประกอบ แสดงแค่ว่าทำจากเนื้อสัตว์ + เครื่องปรุงรส แต่บนฉลากกลับมีการแสดงรูปไก่ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นยอไก่ได้ เป็นต้น   มีการแสดงฉลากอาหารสองชุด คือมีฉลากที่สลักติดมากับบรรจุภัณฑ์และฉลากแบบที่เป็นสติ๊กเกอร์ที่แปะมาในภายหลังซึ่งฉลากทั้งสองชุดมีการแสดงรายการส่วนประกอบที่ไม่ตรงกัน เช่น ไส้กรอกคอกเทลรมควัน ตรา ซีพี ซึ่งฉลากที่ติดมากับซองแสดงรายละเอียดว่า เนื้อสัตว์ ขณะที่ ฉลากที่เป็นสติ๊กเกอร์ ระบุว่า ทำมาจาก เนื้อหมู และเนื้อไก่ หรือ ไส้กรอกหมูเวียนนา ตรา บางกอกแฮม รูปหมูตัวเดียว ที่มีฉลาก 2 ชุด ชุดแรกเป็นสติ๊กเกอร์แสดงรายละเอียดว่า ทำจากเนื้อหมูและอื่น ๆ กับ ฉลากชุดที่สองเป็นตัวหนังสือสลักบนซองบอกรายละเอียดว่าทำจากเนื้อสัตว์และอื่น ๆ เป็นต้น   มีชื่ออาหารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ความหมายไม่ตรงกัน ชื่อที่อาจสร้างความสับสน เช่น ลูกชิ้นกุ้งมังกรเทียม (เนื้อปลาบดปรุงรส) ขณะที่ ชื่อภาษาอังกฤษ แสดงคำว่า Lobster Ball ซึ่งหมายถึงว่าทำมาจากกุ้งมังกรแท้ กับ Shrimp Shao – mai ขนมจีบ ตรา S&p ที่ชื่อภาษาอังกฤษแสดงว่าเป็นขนมจีบกุ้ง ขณะที่ชื่อภาษาไทยบอกแค่ขนมจีบ เป็นต้น   ข้อควรระวัง สีของซองกับตัวอักษรบนซองกลืนกัน อ่านได้ยาก เช่น กุ้งทิพย์ ตรา พี.เอฟ.พี (เนื้อปลาผสมกุ้งปรุงรส) ที่ทำสีซองและตัวหนังสือเป็นสีเหลืองกลืนกับสีพื้น ชื่ออาหารตัวเล็กอ่านได้ยากเนื่องจากมีชื่ออาหารที่ยาวเกินไป เช่น เนื้อปลาบดปรุงรสผสมกลิ่นไก่และกลิ่นชีส รมควันรูปแองกรี้เบิร์ดส์ ตรา TVI ทวีวงษ์ Angry Birds Fish Cake การแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบบางครั้งยังไม่ละเอียดเพียงพอ ไม่สามารถทราบได้ว่าอาหารนั้นทำมาจากอะไร เช่น เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่นสำเร็จรูป ไส้กุ้งทรงเครื่อง ตรา โออิชิ เกี๊ยวซ่า ที่ส่วนประกอบหลักระบุเพียงแค่ว่าทำจาก ไส้กุ้งทรงเครื่อง 57% ขณะที่เกี๊ยวหมูซอสญี่ปุ่น ตรา ซีพี ที่มีการแสดงส่วนประกอบคล้าย ๆ กัน กลับแสดงรายละเอียดเป็นวงเล็บไว้ว่าไส้หมูสูตรญี่ปุ่นทำจาก เนื้อหมู ผัก และเครื่องปรุงรส การแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่อาจมีผลต่อการก่อภูมิแพ้สำหรับผู้แพ้อาหารยังคงเป็นการแสดงโดยสมัครใจ (ผู้ผลิต เป็นผู้อาสาแสดงรายละเอียดเองโดยไม่มีกฎหมายบังคับ) และยังไม่โดดเด่นพอที่จะเป็นจุดสังเกตให้ผู้บริโภคต้องระวังเมื่ออ่านฉลาก ส่วนใหญ่ของอาหารที่ฉลาดซื้อนำมาสำรวจในครั้งนี้ใช้ ผงชูรส (msg-โมโนโซเดียมกลูตาเมต) และวัตถุปรุงแต่งรสอาหารชนิดอื่น ๆ ประกอบอาหารด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ ทำให้ผู้บริโภคที่มีปัญหาโรคไตหรือมีปัญหากับผงชูรส ไม่มีตัวเลือกเท่าไหร่นัก กว่าหนึ่งในสามของตัวอย่างที่ทดสอบจะมีการใช้เนื้อสัตว์อื่นนอกจากเนื้อสัตว์ที่เป็นชื่ออาหารมาผสมเป็นอาหาร ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาแพ้อาหารหรือไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์บางประเภทได้ด้วยปัญหาด้านสุขภาพส่วนตัว (เช่น เป็นโรคแพ้กุ้ง หรือเป็นโรคเก๊าท์ ทานเนื้อไก่ไม่ได้ เป็นต้น) จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจจะได้เนื้อสัตว์อื่นที่ไม่ต้องการเป็นของแถมเมื่อบริโภคอาหารในกลุ่มนี้   ฉลาดซื้อแนะนำ 1.อ่านฉลากอาหารโดยละเอียด อย่าดูเพียงแค่วันผลิต – วันหมดอายุ โดยให้อ่านทั้งชื่ออาหาร ส่วนประกอบของอาหาร รวมถึงข้อมูลโภชนาการ ว่าสอดคล้องกับชื่ออาหารที่แสดงไว้หรือไม่ และอย่าลืมดูชื่อผู้ผลิต-ผู้จัดจำหน่ายด้วย เนื่องจากหากต้องการร้องเรียนหรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงข้อผิดพลาด จะได้ดำเนินการได้โดยตรง 2.ให้ดำเนินการร้องเรียน เมื่อพบอาหารที่มีปัญหาการแสดงฉลาก หรือสงสัยว่าจะมีปัญหากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยทำหนังสือเป็นทางการพร้อมส่งภาพฉลากอาหารที่สงสัยให้กับ อย. เพื่อให้วินิจฉัย พร้อมดำเนินการทางกฎหมายหากพบว่าเป็นการกระทำความผิดจริงตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 3.ควรซื้อหรือรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ และ/หรือปรุงอาหารรับประทานเองบ้าง อาหารแช่แข็งควรเป็นเพียงแค่ตัวเลือกหนึ่งเท่านั้น อย่าจำกัดชีวิตตัวเองมากเกินไป   ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่การแสดงฉลากควรปรับปรุง   ชื่ออาหาร ส่วนประกอบสำคัญ ที่แสดงบนฉลาก สถานที่ผลิต/จัดจำหน่าย เลขสารบบอาหาร (เครื่องหมาย อย.) ข้าวเหนียวหมูย่าง ตรา เดลี่ไทย ข้าวเหนียว 71.4%, เนื้อหมู 10.6%, เนื้อไก่ 9.1% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0347 เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูย่าง ตรา เดลี่ไทย ข้าวเหนียว 67.7%, เนื้อหมู 14.0%, เนื้อไก่ 12.0% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0726 เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวลาบหมู ตรา 7 เฟรช ข้าวเหนียว 67.7%, เนื้อหมู 12.7%, เนื้อไก่ 7.5% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0611 แซนวิชเค้กไส้กรอก ตรา เซเว่นเฟรช Sausage Cake Sandwitch ไส้กรอก 41%, ไข่ขาว 13.20% แป้งสาลี 10.80%... ฯลฯ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด 12-2-01653-2-0002 เกี๊ยวหมูซอสสุกี้ ตราซีพี แผ่นเกี๊ยว 31%, เนื้อหมู 26%, ผัก 23 %, เนื้อไก่ 14% บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 24-2-02255-2-0029 เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่น ไส้หมู ตรา สุรพลฟู้ดส์ Pork Gyoza ผัก 27.1%, แป้งเกี๊ยว 22.8% เนื้อหมู 21.3%, เนื้อไก่ 15.4% บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ 11-1-21429-2-0353 ขนมจีบกุ้ง ตรา เทสโก้ Shrimp Shumai กุ้ง 39%, มันแกว 27%, ปลาบด 10% บริษัท พัฒนาซีฟู้ดส์ จำกัด (สำนักงานใหญ่) 74-2-00644-2-0068 Shrimp Shao – mai ขนมจีบ ตรา S&p กุ้ง, หมู, แป้งสาลี, เครื่องปรุงรส บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ต.เทพารักษ์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 11-1-21429-2-0056 กุ้งบอมบ์ ตรา สามสมุทร Sea Shrimp Bomb ขนมปังหั่นเต๋า 40%, เนื้อปลา 35% กุ้ง 12%, … ฯลฯ บริษัท เค. แอล. ห้องเย็นจำกัด 74-2-03448-2-0075 เกี๊ยวปู ตรา เจด ดราก้อน Crab Dumpling เนื้อสัตว์ 49.5%, แผ่นแป้ง 29.5% เครื่องปรุงรส 11.9%,มันแกว 11.5% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0693 ลูกชิ้นหมูปิ้ง ตราเซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ เนื้อสัตว์ บริษัท ที.เอ.ซี คอนซูเมอร์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 14-2-01552-2-0001 ลูกชิ้นปลาหมึก (cuttlefish ball) ตราแต้จิ๋ว เนื้อปลา 58% ปลาหมึก 15% บริษัท มหาชัยฟู้ดโปรเซสซิ่ง จำกัด 74-2-00637-2-0001 ลูกชิ้นกุ้งมังกรเทียม (เนื้อปลาบดปรุงแต่งรส) Lobster Ball เนื้อปลา 60% น้ำ 35% แป้ง 6% ผลิตโดย บริษัท ลัคกี้ ยูเนี่ยน ฟู้ดส์ จำกัด 74-1-28034-2-0010 ชิกเก้นแฟรงค์ (ไก่) ตรา ซีพี มีฉลาก 2 ชุดแสดงข้อมูลต่างกันเล็กน้อย ชุดแรกป้ายแปะบนซอง : เนื้อไก่, เกลือเสริมไอโอดีน, น้ำตาล, เครื่องเทศ ชุดที่สองตัวอักษรสลักบนซองอาหาร: เนื้อสัตว์ เกลือเสริมไอโอดีน น้ำตาล เครื่องเทศ ผลิต/บรรจุโดย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)   10-1-05649-1-0678 ไส้กรอกชีสไก่ Halal ตรา บีเคพี มีฉลาก 2 ชุด แสดงข้อมูลตรงกัน คือ เนื้อไก่, เกลือเสริมไอโอดีน, น้ำตาล, เครื่องเทศ (ไม่มีการแสดงชีสในส่วนประกอบ) ผลิตโดย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)   19-2-01155-2-0031 ไส้กรอกไก่-หนังกรอบ ตรา SSP (ฉลากบนซองไม่ระบุชนิดของไส้กรอก บอกเพียงแค่ ไส้กรอก SSP) เนื้อสัตว์ 80%, ไขมัน 12% น้ำ 2%, แป้ง 4%, เครื่องปรุง 2% ผลิตโดย บริษัท เจพีเอ็ม ซอสเซส จำกัด 26-2-00250-2-0022 ไส้กรอกจูเนียร์ไก่ ตรา โชคุ-ดี เนื้อสัตว์ 85%, ไขมัน 10%, เกลือ-น้ำตาล 4%, เครื่องเทศ 1% บริษัท ทีดี มีท โปรดักส์ จำกัด 30-2-03153-2-0001 ไส้กรอกชีสหมู ตราเบทเทอร์ฟู้ด เนื้อสัตว์อนามัย ไขมัน น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด โรงงาน: อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 16-2-01746-2-0271 ไส้กรอกหมูเวียนนา ตรา บางกอกแฮม รูปหมูตัวเดียว มีฉลาก 2 ชุดแสดงข้อมูลต่างกันเล็กน้อย ชุดแรกเป็นป้ายแปะบนซอง : เนื้อหมู น้ำตาล เครื่องเทศ เกลือเสริมไอโอดีน ชุดที่สองเป็นตัวอักษรสลักบนซองอาหาร: เนื้อสัตว์ เกลือ น้ำตาล เครื่องเทศ บริษัท บางกอกแฮม โปรดักส์ ซัพพลาย จำกัด 11-2-10747-2-0037 ยอพริก (ไส้กรอกตราซีเค ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์) เนื้อสัตว์อนามัย ไขมัน วิตามิน น้ำตาล เครื่องเทศ บริษัท แอดวานซ์ มีท โปรดักส์ จำกัด 13-2-06647-2-0072 ตับบด (ก้อน) ตรา ทีจีเอ็ม Liver Sausage เนื้อหมู 60%, ตับหมู 15%, มันหมู 15%, น้ำ 5%,… ผลิตโดย บริษัท ไทย-เยอรมัน มีท โปรดักส์ จำกัด 24-2-00936-2-0102       ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่แสดงฉลากชัดเจน ชื่ออาหาร ส่วนประกอบสำคัญ ที่แสดงบนฉลาก สถานที่ผลิต/จัดจำหน่าย เลขสารบบอาหาร (เครื่องหมาย อย.) เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่ ตรา เซเว่นเฟรช Hat Yai Fried Chicken Sticky Rice Burger ข้าวเหนียว 61.5%, เนื้อไก่ 22.5%, เครื่องปรุงรส 6.9% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0836 ข้าวเหนียวไก่ทอด ตรา พรานไพร Fried Chicken with Sticky Rice ข้าวเหนียว 70% เนื้อไก่ 24.5%...ฯลฯ บริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซนโปรดักส์ จำกัด 74-2-01249-2-0221 หมูปิ้งสูตรนมสด ตราเซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ เนื้อหมู 73%, เครื่องปรุง 11.26% (พริกไทย,…ฯลฯ), นมข้นจืด 1.50% บริษัท ที.เอ.ซี คอนซูเมอร์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 14-2-01552-2-0014 แซนวิชกุ้งชีส ตรา I-Bake Sandwich Shrimp & Cheese ขนมปังแซนวิชนมสด 40% เบอร์เกอร์กุ้ง 32%, แซนวิช สเปรด 22%, ชีสสไลด์ 6% บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด   12-2-01653-2-0043 เบรก แอนด์ ฟาสต์ แซนวิช ไส้หมูอบซอสญี่ปุ่นและชีส ตรา โออิชิ ขนมปังแซนวิช 54%, มายองเนสซอสญี่ปุ่น 24%, หมูอบ 18%, เชดด้าชีส 4% บริษํท โออิชิเทรดดิ้ง จำกัด 13-2-02746-2-0416 เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่นสำเร็จรูป ไส้หมู ตรา โออิชิ เกี๊ยวซ่า เนื้อหมู 45%, แป้ง 35% กะหล่ำปลีและหอมใหญ่ 20% เครื่องปรุงรส 3% บริษํท โออิชิเทรดดิ้ง จำกัด 13-2-02746-2-0055 เกี๊ยวหมูลุยสวน ตรา ซีพี ไส้หมูลุยสวน (เนื้อหมู, ผัก และเครื่องปรุงรส) 48%, แผ่นเกี๊ยวผัก 30%, น้ำจิ้มลุยสวน 22% ผลิตโดย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)   24-2-02255-2-0017 กุ้งทิพย์ ตรา พี.เอฟ.พี (เนื้อปลาผสมกุ้งปรุงรส) เนื้อปลาบด 64.08% น้ำแข็ง 17.68% เนื้อกุ้งบด 8.59% เกล็ดขนมปัง 6.71% ผู้ผลิต บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด   90-1-22129-2-0004 กุ้งระเบิด Shrimp Bomb เนื้อปลาบดปรุงรส ผสมกุ้งชุบเกล็ดขนมปัง เนื้อปลาบด 30%, น้ำ 23%, เกล็ดขนมปัง 15%, เนื้อกุ้ง 12%, … ฯลฯ บริษัท อุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด   74-1-01029-2-0007 นักเก็ตกุ้ง ตรา ซีพี CP Appetizer แป้งทอด 50% กุ้ง 48% เครื่องปรุงรส 2% ผลิต/บรรจุโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 74-2-00348-2-0029 หมูพันสาหร่าย ตรา เจด ดราก้อน Seaweed Pork Roll   เนื้อหมู 60%, เครื่องปรุงรส 16%, โปรตีนถั่วเหลือง 12%, น้ำกรอง 6%, สาหร่ายทะเลอบแห้ง 4%, น้ำมันงา 2% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด   13-1-19233-20004 ขนมจีบไก่สับ ตรา เปาสตาร์ Chicken Shu Mai เนื้อไก่ 58.4%, มันแกว 13.3%, เครื่องปรุง 12.9%, แป้งสาลี 10%, …ฯลฯ ผลิตโดย บริษัท บีดีซี สเปเชียลตี้ฟู้ดส์ จำกัด 13-2-00549-2-0022 ไส้กรอกพ๊อคจูเนียร์ ตรา ทีจีเอ็ม Junior Pork Sausage เนื้อหมู 80%, น้ำ 15%, เครื่องปรุงรส 5% ผลิตโดย บริษัท ไทย-เยอรมัน มีท โปรดักส์ จำกัด 24-2-00936-2-0267 ไส้กรอกเวียนนาหมู ตรา บิ๊กซี Pork Vienna Sausage เนื้อหมู 85%, น้ำ 10%, เครื่องปรุงรส 5% บริษัท พลายฟู้ดส์ จำกัด 74-2-02551-2-0010 ไส้กรอกหมูกระเทียมพริกไทย ตรา S&p Premo Pepper and Garlic Pork Sausage เนื้อหมู, เครื่องเทศ, น้ำตาล, เกลือ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)   10-1-07036-1-0250 ลูกชิ้นหมู ปิ้ง – ทอด ตรา โฮเด้ง เนื้อหมู 70%, แป้งมัน 20%, พริกไทยและอื่น ๆ 6%... บริษัท บิ๊กบอล ฟู้ดส์ จำกัด 73-2-06146-2-0012 เนื้อปลาบดปรุงรสผสมกลิ่นไก่และกลิ่นชีส รมควันรูปแองกรี้เบิร์ดส์ ตรา TVI ทวีวงษ์ Angry Birds Fish Cake เนื้อปลาบด 50% น้ำ 34.8% แป้งมันฝรั่ง 10% บริษัท อุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด   74-1-01029-2-0181 มูส เดอ ฟัว (ตับหมูบดนึ่ง) ตราคาสิโน ตับหมู 30%, ไขมัน 30%, หนังหมู 10%, …. ฯลฯ ผลิตโดย Madrange La Valoine ประเทศฝรั่งเศส นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) 10-3-07554-1-0112  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 124 ตรวจฉลากบะหมี่สำเร็จรูป(อีกสักครั้ง)

  ตามที่สัญญาไว้ในฉบับที่แล้วว่า จะพาท่านผู้อ่านไปดูการให้ข้อมูลบนฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปแบบซองเดี่ยวชนิดซองต่อซอง ยี่ห้อต่อยี่ห้อของผู้ประกอบการในตลาด ฉลาดซื้อจึงได้เก็บตัวอย่างอาหารกึ่งสำเร็จรูปในตลาดเท่าที่หาได้จากห้างบิ๊กซีสาขาสะพานควาย และร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่นสาขาต่าง ๆ  รวมจำนวน 37 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 1 รสชาติ แบ่งตามตราสินค้าได้เป็น 12 ยี่ห้อ   ผลการทดสอบผู้ประกอบการกว่าครึ่งแสดงข้อมูลที่ต้องแสดงครบถ้วน ยกเว้นคำแนะนำในการเก็บรักษา (ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปิดช่องไว้ให้ใส่หรือไม่ก็ได้เพราะใช้คำว่า “ถ้ามี”) ที่ผู้ประกอบการหลายตราสินค้าไม่ได้แสดง ได้แก่ ตราสินค้าไวไว ไวไวควิก ซื่อสัตย์ ฮาร์โมนีไลฟ์ และอินโดหมี่   สำหรับการเปรียบเทียบการแสดงข้อมูลรายการต่อรายการนั้นฉลาดซื้อขอนำเสนอใน 2 ประเด็นคือ การแสดงวันผลิต/วันหมดอายุ และฉลากโภชนาการ   วันผลิต/วันหมดอายุพบว่า การแสดงข้อมูลในส่วนของวันผลิต/วันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อน ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การแสดงฉลากค่อนข้างสับสนและมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในผู้ประกอบการแต่ละตราสินค้า เช่น บางรายแสดงทั้งวันผลิต/วันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อนโดยใช้คำภาษาไทยกำกับให้ดูบนซองแล้วใช้เลขหกหลักโดยไม่มีจุดหรือไม่เว้นวรรค เช่น มาม่า บางรายใช้เลขหกหลักกับจุดคั่นเพื่อให้รู้ว่าเป็นวัน/เดือน/ปี เช่น ยำยำ บางรายใช้เว้นวรรค เช่น อินโดหมี่ บางรายแสดงปีก่อนแล้วค่อยแสดงวันกับเดือน เช่น บะหมี่ผักอบแห้งโมโรเฮยะรสเห็ดหอมตราฮาโมนีไลฟ์  อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า แม้แต่ตราสินค้าเดียวกันแต่ต่างประเภทเส้นก็ยังมีการแสดงรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรสต้มยำกุ้งกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับต้มยำน้ำข้นตรามาม่า ที่ตัวอย่างแรกแสดงคำว่าควรบริโภคก่อนเป็นภาษาไทย แล้วแสดงเลขหกตัวซึ่งน่าจะเป็น วัน/เดือน/ปี พร้อมด้วยล็อตผลิตเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ขณะที่ตัวอย่างหลังแสดงคำว่า “วันที่ผลิต/วันที่ควรบริโภคก่อน ดูบนซอง” แล้วแสดงคำภาษาอังกฤษว่า MFG ตามด้วยเลขหกหลัก (090511) กับตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข (H22) บรรทัดถัดมาแสดงคำภาษาอังกฤษว่า BBE ตามด้วยเลขหกหลัก (091111)   ผู้ประกอบการที่แสดงแต่วันที่ผลิตอย่างเดียวได้แก่ ตราสินค้าไวไว กับ เอฟเอฟ โดยที่รายแรกส่วนใหญ่แสดงเป็นคำภาษาไทยว่า “ผลิต” ตามด้วยเลขหกหลักส่วน รายหลังแสดงคำว่า “ผลิต (MFG)” ตามด้วยเลขหกตัวมีจุดคั่นเพื่อแสดงวัน/เดือน/ปี ในทางกลับกันตราสินค้าของผู้ประกอบการที่แสดงแต่วันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อนเพียงอย่างเดียว ได้แก่ มาม่าประเภทเส้นกึ่งสำเร็จรูปอื่นที่ไม่ใช่เส้นบะหมี่ ซื่อสัตย์ อินโดหมี่ เกษตร และ ฮาโมนีไลฟ์   ข้อเสนอ ควรให้มีการใช้คำเป็นภาษาไทยว่า วันผลิต และ วันหมดอายุ ตามด้วยวัน/เดือน/ปี (ปีที่ใช้ควรเป็นแบบเดียวกัน เลือกเอาอย่างใด อย่างหนึ่งว่าจะใช้ ปี พ.ศ. หรือ ปี ค.ศ.) โดยที่จะมีภาษาอังกฤษเป็นตัวย่อต่อท้ายหรือไม่ก็ได้ และควรแสดงข้อความดังกล่าวไว้ในตำแหน่งเดียวกันบนฉลากในทุกผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคสังเกตได้ง่าย   ฉลากโภชนาการ การแสดงฉลากโภชนาการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลและความรู้ด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแก่ประชาชน อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอาหารและโภชนาการ อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้การแสดงฉลากโภชนาการเป็นไปโดยสมัครใจเว้นแต่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการหรือมีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย (ในกรณีอาหารกึ่งสำเร็จรูป) จากการตรวจสอบข้อมูลบนฉลากอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้ง 37 ตัวอย่างพบว่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ มีเพียง 1 ใน 3 (13 ตัวอย่าง) ที่แสดงข้อมูลโภชนาการ โดยที่ 6 ตัวอย่างเป็นของผู้ประกอบการตราสินค้ามาม่า (มีการกล่าวอ้างคุณค่าบนฉลากอาหาร)  ขณะที่ผลิตภัณฑ์จำนวน 24 ตัวอย่าง (2 ใน 3) ไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการ โดยทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่ไม่แสดงข้อมูลโภชนาการ ได้แก่ ตราสินค้ายำยำจัมโบ้และยำยำช้างน้อย ไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการเลย ถัดมาคือ ไวไวและไวไวควิก ที่มีเพียงตัวอย่างเดียวที่แสดงข้อมูลโภชนาการ ปิดท้ายด้วยตราสินค้ามาม่า ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่ทดสอบ ไม่แสดงข้อมูลโภชนาการ ขณะที่มาม่าบิ๊กแพ็คทั้งหมดไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการ   ถ้าหากนำผลิตภัณฑ์มาให้ฉลากในลักษณะสัญญาณไฟจราจร พบว่าเกือบทั้งหมดมีโซเดียมสูง ติดระดับไฟแดง โดยเฉพาะยี่ห้อ เอฟเอฟที่ให้โซเดียมสูงถึง 2 กรัม (2,000 มิลลิกรัม) คิดเป็นร้อยละ 83 ของความต้องการสารอาหารต่อวัน ส่วนตัวอย่างที่มีระดับคะแนนโดยภาพรวมดีที่สุด ได้แก่ บะหมี่ผักอบแห้งโมโรเฮยะรสเห็ดหอมตราฮาโมนีไลฟ์ ที่ได้เกณฑ์คะแนนเป็นสีเขียวเกือบทั้งหมดยกเว้นโซเดียมที่ได้สีแดง  สรุปในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ควรเลือกจากการให้ข้อมูลบนฉลากเป็นสำคัญ ดูวันผลิต/วันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อน ข้อความเฉพาะของวัตถุเจือปนอาหารเมื่อมีการใช้ และข้อมูลโภชนาการ แนะนำให้สนับสนุนผู้ประกอบการที่แสดงวันผลิตและวันหมดอายุ เป็นภาษาไทยบนฉลาก หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกึ่งสำเร็จรูปของผู้ประกอบการตราสินค้าที่ไม่แสดงข้อมูลโภชนาการ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกึ่งสำเร็จรูปเกินกว่า 1 ซองต่อวันเนื่องจากมีโซเดียมสูงอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ -------------------------------------------------------------------------------- การเก็บสินค้าและเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา เก็บตัวอย่างอาหารกึ่งสำเร็จรูปจากห้างบิ๊กซีสาขาสะพานควาย และร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่นสาขาต่าง ๆ  รวมจำนวน 37 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 1 รสชาติ แบ่งตามตราสินค้าได้เป็น 12 ยี่ห้อ  ได้แก่  มาม่า 12 ตัวอย่าง มาม่าบิ๊กแพ็ค 3 ตัวอย่าง ไวไว 6 ตัวอย่าง ไวไวควิก 3 ตัวอย่าง ยำยำจัมโบ้  5 ตัวอย่าง ยำยำช้างน้อย 2 ตัวอย่าง เทสโก้ เกษตร  ฮาร์โมนีไลฟ์ อินโดหมี่ เอฟเอฟ และ ซื่อสัตย์ อย่างละ 1 ตัวอย่าง   พิจารณาตามเกณฑ์การแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ. 2543 เรื่องฉลากจำนวน 15 รายการ ซึ่งเมื่อจัดกลุ่มรวมจะเหลือ 10 รายการ ได้แก่ ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหาร ส่วนประกอบที่สำคัญ ข้อความเฉพาะของวัตถุเจือปนอาหารเมื่อมีการใช้ วันผลิต/วันหมดอายุ คำแนะนำในการเก็บรักษา วิธีปรุงเพื่อรับประทาน/คำแนะนำในการบริโภค และข้อมูลโภชนาการ (ตามสมัครใจ) --------------------------------------------------------------------------------      

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 123 ตรวจสอบการให้ข้อมูลบนฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปแบบบรรจุห่อรวม

  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นเสบียงคู่ครัวคนไทยสมัยใหม่มาอย่างยาวนาน เท่าที่ผู้เขียนทราบก็ราว ๆ ปี พ.ศ. 2514 – 2515 จนถึงปัจจุบัน โดยมียี่ห้อแรกคือ ซันวา นิตยสารฉลาดซื้อได้เคยลงบทความทดสอบปริมาณโซเดียม (เกลือ และ ผงชูรส) มาแล้ว ครานี้ผมขอนำบทความเกี่ยวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาเสนอผู้อ่านอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เราจะไม่พูดถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องของ ฉลาก และการให้ข้อมูลบนฉลาก ที่ต้องพูดคุยกันมาก ฉบับนี้เลยขอนำเสนอการเปรียบเทียบฉลากภายนอกของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดจัดชุดก่อน และฉบับหน้าจะพาท่านผู้อ่านไปดูรายละเอียดฉลากชนิดซองต่อซอง ยี่ห้อต่อยี่ห้อของผู้ประกอบการรายต่าง ๆ ในตลาดว่าค่ายใดจะให้ข้อมูลกับผู้บริโภคมากกว่ากัน   ฉลากและความสำคัญคำว่า ฉลาก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง  ส่วนคำว่า ฉลากอาหาร นั้น พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ระบุว่าหมายรวมถึง รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร หรือหีบห่อของภาชนะที่บรรจุอาหาร  ฉลากอาหารเป็นแหล่งข้อมูลของผู้บริโภค ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ทราบข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับอาหารนั้น ๆ ในการแสดงข้อมูลบนฉลากอาหาร ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ. 2543 เรื่องฉลาก ได้กำหนดไว้ว่า “ฉลากของอาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้…” สำหรับข้อมูลที่ประกาศฉบับนี้ระบุให้แสดงนั้นมีทั้งหมด 15 รายการ   ในปัจจุบันสินค้าหลายชนิดถูกวางขายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และห้างสรรพสินค้าในลักษณะแพ็กชุดใหญ่ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่มชงชนิดต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขายให้มากขึ้น เพราะการซื้อแบบแพ็กชุดราคาจะถูกลงเมื่อเทียบเป็นจำนวนชิ้น ในกรณีฉลากสำหรับบรรจุภัณฑ์ภายนอกของอาหารชนิดจัดชุดนั้น ตามหลักการควรที่จะมีการแสดงข้อมูลในระดับเดียวกันกับการแสดงข้อมูลที่อยู่ในซองย่อยที่อยู่ภายในซองบรรจุภัณฑ์รวม เพราะไม่เช่นนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่า ผลิตภัณฑ์ข้างในเป็นอย่างไร เนื่องจากไม่สามารถแกะแยกห่อออกมาดูได้  ฉลาดซื้อจึงได้ลองใช้เกณฑ์ขั้นต่ำที่พึงแสดงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลากที่ต้องแสดงจำนวน 4 รายการ ได้แก่ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก (น้ำหนักสุทธิ-กรัมหรือกิโลกรัม/ ปริมาตรสุทธิ-มิลลิลิตรหรือลิตร) และวันเดือนและปีที่ผลิต วันเดือนและปีที่หมดอายุการบริโภค หรือ วันเดือนและปีที่อาหารยังมีคุณภาพดี โดยมีข้อความว่า “ผลิต” “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับไว้ด้วยแล้วแต่กรณี มาใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณากับตัวที่บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มสินค้าชนิดแพ็กชุด  โดยตัวอย่างทดสอบชุดแรก มาจากกรณีร้องเรียนของผู้บริโภครายหนึ่งที่ ร้องเรียนกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคเมื่อกลางเดือนเมษายน เรื่องซื้อสินค้าหมดอายุเนื่องจากการไม่เห็นวันผลิต – วันหมดอายุ บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ 3 ห่อได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งน้ำข้น ตรามาม่า ชนิดห่อแบบจัดชุด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ ตรายำยำ จัมโบ้ ชนิดจัดชุด 10 ซอง ที่ผู้ร้องซื้อจากห้างบิ้กซี สาขาสะพานควายเมื่อเดือนมีนาคม   จากการตรวจสอบหลักฐานเบื้องต้นที่ผู้ร้องส่งมา พบว่าซองภายนอกของผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ห่อ ไม่มีการระบุ วันผลิต – วันหมดอายุ แต่มีการระบุวัน เวลา ดังกล่าวไว้ในบรรจุภัณฑ์ย่อยแต่ละซองที่อยู่ภายในซองใหญ่ ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมผู้เขียนจึงได้ไปเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 จากห้างที่ผู้ร้องไปใช้บริการจำนวน 3 ตัวอย่าง และจากร้านท็อปซูเปอร์มาเก็ต สาขาโรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่ จำนวน 5 ตัวอย่าง รวม 8 ตัวอย่างได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับต้มยำ ตราไวไว ชนิด 10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราไวไว ชนิด10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสกุ้งนึ่งมะนาว ตราไวไวควิก ชนิด 5 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำหมูสับ ตรา ยำยำจัมโบ้ ชนิด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำทะเลหม้อไฟ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ตรามาม่า ชนิด 10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ชนิด 6 ซอง และวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราเกษตร ชนิด 4 ซอง แล้วนำมารวมกับตัวอย่างเก่าที่ผู้ร้องส่งมาให้รวมทั้งหมด 11 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบลักษณะการแสดงข้อมูลขั้นต่ำแก่ผู้บริโภค จำนวน 4 รายการได้แก่ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก และ วันผลิต – วันหมดอายุ รวมไปถึงตรวจดูลักษณะบรรจุภัณฑ์บนซองภายนอกของผลิตภัณฑ์   ผลการทดสอบพบว่า1. เกือบทุกตัวอย่าง แสดงชื่อสินค้าและตราสินค้าบนซองภายนอกบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าซองที่บรรจุจะเป็นซองใสก็ตาม ยกเว้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ที่ได้แสดงข้อมูลไว้ในห่อภายในของบรรจุภัณฑ์โดยที่ห่อภายนอกเป็นพลาสติกใส สามารถมองทะลุได้อย่างชัดเจน  2. ไม่มีตัวอย่างใดแสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุบนซองภายนอกของบรรจุภัณฑ์ 3. มีตัวอย่างจำนวน 7 ตัวอย่างจาก 11 ตัวอย่างแสดงปริมาณของอาหารไว้บนห่อรวมบรรจุภัณฑ์ โดยที่ 3 ตัวอย่างแสดงไว้ด้านหลังบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับชนิด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟชนิด 6 ซอง และไวไวรสต้มยำกุ้งชนิด 10 ซอง อีก 4 ตัวอย่างแสดงไว้ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ได้แก่ มาม่ารสต้มยำชนิด 10 ซอง มาม่ารสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิด 10 ซอง มาม่ารสต้มยำกุ้งน้ำข้นชนิด 6 ซอง และยำยำจัมโบ้รสหมูสับชนิด 10 ซอง  4. ไม่มีตัวอย่างใดแสดงวันผลิต-วันหมดอายุบนห่อรวมบรรจุภัณฑ์ หากแต่มีการแสดงข้อมูลวันผลิต วันหมดอายุ หรือวันบริโภคก่อน ภายในบรรจุภัณฑ์ย่อยในทุกผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่างที่ไม่สามารถเห็นวันผลิต – วันหมดอายุในผลิตภัณฑ์ด้านในซอง ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากซองรวมบรรจุภัณฑ์มีลักษณะปิดทึบทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ได้แก่ รสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิด 10 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟ ชนิด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับ ชนิด 6 ซอง  5. ลักษณะของบรรจุภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกใสทั้งหมดหรือใสบางส่วนแต่สามารถเห็นได้ครบทุกด้านทั้งซ้าย ขวา หน้า และหลัง บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มี 3 ตัวอย่าง คือ ซื่อสัตย์รสไก่กระเทียม ชนิดจัดชุด 6 ซอง ไวไวควิกรสกุ้งนึ่งมะนาว ชนิดจัดชุด 5 ซอง และ วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง (2) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกประกอบลวดลายด้านหน้าและหลังแต่เปิดพื้นที่ว่างด้านซ้ายและขวาให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างในได้ บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มี 4 ตัวอย่าง ได้แก่ มาม่ารสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดห่อ 10 ซอง มาม่ารสต้มยำกุ้งน้ำข้น ชนิดจัดชุด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสหมูสับ ชนิดจัดชุด 10 ซอง และไวไวรสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดชุด 10 ซอง (3) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกประกอบด้วยรูปหรือลวดลายปิดหมด 3 ด้านเปิดพื้นที่ใสให้เห็นด้านในเพียงด้านเดียวหรือปิดทั้ง 4 ด้านจนไม่สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ด้านในได้ บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มีทั้งหมด 4 ตัวอย่าง ได้แก่ มาม่ารสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิดจัดชุด 10 ห่อ ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟ ชนิดจัดชุด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับ ชนิดจัดชุด 6 ซอง และไวไวรสหมูสับต้มยำชนิดจัดชุด 10 ซอง   ข้อสังเกต1. ถึงแม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นตราสินค้าเดียวกันแต่หากต่างรสกัน ไม่เสมอไปที่การแสดงข้อมูลจะเป็นแบบเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ไวไวรสหมูสับต้มยำชนิดจัดชุด 10 ซอง กับ ไวไวรสต้มยำกุ้งชนิดจัดชุด 10 ซอง ที่ตัวอย่างแรกมีการแสดงข้อมูลเพียงชื่อและตราสินค้าร่วมกับตัวอักษรขนาดใหญ่ว่าจัดชุด 10 ซอง ขณะที่ตัวอย่างหลังมีการแสดงข้อมูลสำคัญทุกอย่างเกือบครบถ้วนรวมไปถึง ข้อมูลโภชนาการด้วย 2. มีเพียง 2 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีการแสดงคำว่า ผลิต หรือ ควรบริโภคก่อน เป็นภาษาไทยอยู่ในบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง และ ไวไวรสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดชุด 10 ซอง  3. ไม่มีรูปแบบตายตัวของการแสดงข้อมูลสำคัญของผู้ผลิตบนห่อใหญ่ของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันผลิต วันหมดอายุ หรือ ควรบริโภคก่อน อีกทั้ง เมื่อมองเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ย่อย ยังพบว่าหน่วยปีที่ใช้ก็ยังมีความแตกต่างกัน ขณะที่ส่วนใหญ่ใช้ปี ค.ศ. แต่ก็ยังมีบางรายใช้ปี พ.ศ. ในการอ้างอิง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียมตราซื่อสัตย์ เป็นต้น  สรุป การแสดงฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดจัดชุดอยู่ในระดับไม่น่าพอใจเนื่องจากมีการแสดงข้อมูลสำคัญที่จำเป็นไม่เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันผลิต วันหมดอายุ หรือ ควรบริโภคก่อน   ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ หรือ มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย เช่น มาม่ารสต้มยำกุ้ง ชนิดบรรจุ 10 ซอง ระบุว่ามีธาตุไอโอดีน เหล็ก และวิตามินเอ บนฉลากทั้งซองรวมภายนอกและซองเล็กภายในแต่บนซองรวมกลับไม่มีการระบุฉลากโภชนาการไว้ จริงอยู่ว่ามีการแสดงข้อมูลโภชนาการไว้ภายในซองเล็ก และลักษณะซองภายนอกอาจจะมีลักษณะใสมองเห็นด้านในได้บางส่วน แต่การจัดวางบรรจุภัณฑ์ทำให้มองไม่เห็นข้อมูลเหล่านี้  ดังนั้น ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นี้ชนิดจัดชุด ควรดูที่การแสดงข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ภายนอก หากไม่มีการแสดงข้อมูลวันผลิต-วันหมดอายุ ที่เห็นได้ชัดเจน ผู้บริโภคไม่น่าจะสนับสนุน ผู้ประกอบการรายนั้นๆ และควรส่งเสริมผู้ประกอบการที่ทำดี ทำฉลากชัดเจนจะดีกว่า   ตารางเปรียบเทียบการแสดงข้อมูลบนฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดบรรจุห่อรวม ผลิตภัณฑ์/ยี่ห้อ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหาร วันผลิต – วันหมดอายุ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งน้ำข้น ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายทั้งด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์ ซองมีสีชมพูถึงชมพูเข้มทั้งซอง มีการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวมแต่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งของด้านในได้อย่างชัดเจน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับต้มยำ ตราไวไว ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้หนึ่งด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราไวไว ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและการแสดงข้อมูลชื่ออาหาร ตราสินค้า เลขสารบบอาหาร (เลขอย.) ด้านหน้าของซองรวม ด้านหลังแสดงข้อมูลโภชนาการ วิธีปรุง ส่วนประกอบสำคัญ และคำแนะนำในการบริโภค และเปิดพื้นที่ด้านข้างทั้งสองข้างให้มองเห็นวันผลิต-วันหมดอายุที่อยู่ภายในซองย่อย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสกุ้งนึ่งมะนาว ตราไวไวควิก ชนิดจัดชุด 5 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใสมีลายเล็กน้อยตรงกลางด้านหน้าซอง ซึ่งเป็นที่ระบุข้อมูลชื่อและชนิดอาหารพร้อมบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุอยู่ในซองย่อยแต่มองได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากสีสันของบรรจุภัณฑ์ภายในมีมากเกินไป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำหมูสับ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ และมีสีทึบ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้เพียงเล็กน้อยหนึ่งด้าน โดยมีลวดลายมากจนมองเห็นการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย ได้ไม่ชัดเจนหรือไม่เห็นเลย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำทะเลหม้อไฟ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ และมีสีทึบ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้เพียงเล็กน้อยหนึ่งด้าน โดยมีการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย แต่ไม่สามารถเห็นได้เนื่องจากตำแหน่งของวันผลิต-วันหมดอายุที่อยู่ในซองย่อยไม่ตรงกับช่องที่เปิดไว้ให้เห็นด้านในเพียงเล็กน้อย วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใส มีข้อมูลชื่อและชนิดอาหารพร้อมบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุ อยู่ในซองย่อย สามารถมองเห็นได้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ชนิดจัดชุด 6 ซอง ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใสมีลายเล็กน้อยตรงกลางด้านหน้าซอง ระบุตราสินค้าแต่ไม่ระบุชื่อสินค้า มีบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุอยู่ในซองย่อยสามารถมองเห็นได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 101 โจ๊ก – ซุปกึ่งสำเร็จรูป อร่อยง่ายๆ แต่แฝงอันตราย

เรื่องทดสอบ กองบรรณาธิการ ชีวิตที่เร่งรีบ บีบคั้นทำให้บรรดาอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้งหลายทำมาค้าขายกันคึกคัก อย่างผลิตภัณฑ์ประเภทบะหมี่ โจ๊ก ข้าวต้ม และซุป ที่หาซื้อง่ายๆ จากชั้นวางในร้านค้าและซูเปอร์มาเก็ตทั่วไป ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบหลักคือ แป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต อาจจะมีสารอาหารประเภทอื่นๆ อย่าง โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุบางชนิดผสมอยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. จะกำหนดให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต้องมีปริมาณโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 8.5 ของน้ำหนัก ส่วนโจ๊กและข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูปกำหนดปริมาณโปรตีนไว้ที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 ของน้ำหนัก ซึ่งโปรตีนในอาหารกึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ก็จะมีอยู่ในเนื้อสัตว์อบแห้ง โปรตีนถั่วเหลืองและโปรตีนจากข้าว แต่ก็จัดว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากยิ่งเมื่อเปรียบเทียมกับปริมาณต่อการบริโภค 1 ซอง แต่ส่วนประกอบที่พบมากในบรรดาอาหารกึ่งสำเร็จรูปแทบทุกชนิดคือ เกลือหรือโซเดียม ที่มีอยู่ทั้งในรูปของผงชูรส และในผงปรุงรส ซึ่งมีส่วนทำให้รสชาติของอาหารกึ่งสำเร็จรูปมีรสชาติที่เข้มข้นอร่อยถูกปากถูกใจใครหลายๆ คน เรียกว่าทำก็ง่าย รับประทานก็สะดวก จึงไม่น่าแปลกใจที่อาหารกึ่งสำเร็จรูปจึงเป็นที่พึ่งพาเวลาหิวของใครหลายๆ คน แต่อย่ามัวเพลิดเพลินอยู่กับความอร่อย เพราะอันตราย! อาจจะถามหา โดยเฉพาะเจ้าโซเดียมที่มาพร้อมกับอาหารกึ่งสำเร็จรูปนั้นมีมากเกินไปโซเดียมพอๆ กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป“ฉลาดซื้อ” เราเคยทดสอบเรื่องความเสี่ยงของปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาแล้ว (ฉบับที่ 68 สิงหาคม – กันยายน 2548) ซึ่งผลที่ออกมาก็ต้องชวนให้ผู้นิยมรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต้องตกใจ เพราะเราพบปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูงมากกว่าร้อยละ 50 – 100 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุไว้ในบัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ว่าปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมคือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน) คราวนี้เราออกตามล่าหาโซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปอีกครั้ง โดยเป้าหมายของเราคือ โจ๊ก ข้าวต้ม และซุปกึ่งสำเร็จรูป แม้ความนิยมในการเลือกซื้อหามารับประทานของผู้บริโภคยังไม่สูงเทียบเท่ากับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่อาหารกึ่งสำเร็จรูปกลุ่มนี้ก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มของโจ๊กและข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูป ที่มีทั้งแบบที่แค่ใส่น้ำร้อนก็สามารถรับประทานได้ กับแบบที่ต้องนำไปต้มกับน้ำร้อนก่อน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้โจ๊กและข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูปขยายตัวเพิ่มมากขึ้นก็มาจากพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมการกินเน้นไปที่ความสะดวกรวดเร็ว ไม่ค่อยได้คำนึงถึงเรื่องสุขภาพมากนัก รวมทั้งผู้ผลิตเองก็ผลิตตัวสินค้ารสชาติใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคตลอดเวลาส่วนซุปกึ่งสำเร็จรูปแม้ยังไม่ได้รับความสนใจมากในตลาด เนื่องจากซุปไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย ยังมีการบริโภคอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้มีรายได้สูงและในร้านอาหารต่างประเทศเท่านั้น จึงทำให้ยังไม่มีผู้ผลิตรายใดที่ลงมือทำตลาดกับผลิตภัณฑ์ชนิดนี้อย่างจริงจัง และซุปกึ่งสำเร็จรูปส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้มีราคาค่อนข้างสูง แต่ในอนาคตข้างหน้ามีแนวโน้มที่ตลาดจะขยายตัวขึ้น ตามพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป บวกกับกระแสการบริโภคอาหารตะวันตกซึ่งรวมถึงอาหารจากเกาหลีและญี่ปุ่นซึ่งมีซุปเป็นอาหารเป็นหลักกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆไม่ว่าคุณจะชอบกินโจ๊ก ข้าวต้ม และซุปกึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารเช้า หรืออาจเลือกเป็นอาหารอ่อนๆ สำหรับเวลาเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเลือกอย่างไร อย่าลืมว่าความอร่อยแบบง่ายๆ อาจเป็นภัยร้ายที่แฝงมากับอันตรายจากโซเดียมสูงผลทดสอบปริมาณโซเดียมโจ๊ก ข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูป- คนอร์ โจ๊กต้มรสหมู (โซเดียมที่ทดสอบพบ 1949 มก./น้ำหนัก 70 ก), ม่ามา ข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูปรสหมู (1569 มก./50 ก.), ม่ามา โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสหมู (1364 มก./50 ก.) และ เกษตร โจ๊กรสหมู (1132.6 มก./42 ก.) ทดสอบพบว่ามีปริมาณโซเดียมต่อซองมากที่สุดตามลำดับ ซึ่ง คนอร์ โจ๊กต้มรสหมู ระบุว่าสำหรับ 4-5 ที่, ม่ามา ข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูปรสหมู ระบุว่าสำหรับ 2 ที่, ม่ามา โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสหมู ระบุว่าสำหรับ 3-4 ที่ ขณะที่ เกษตร โจ๊กรสหมู ไม่ได้ระบุ ซึ่งเมื่อคำนวณตามจำนวนเสิร์ฟต่อ 1 ที่จะพบว่า เกษตร โจ๊กรสหมู มีมากที่สุด (1132.6 มก.) รองลงมาคือ ม่ามา ข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูปรสหมู (784.5 มก.), คนอร์ โจ๊กต้มรสหมู (389.8 มก.) และ ม่ามา โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสหมู (341 มก.)- ลูกเต๋า ข้าว 7 นาที และ ลูกเต๋า ข้าวตุ๋นผสมฟักทอง ทดสอบพบโซเดียมในปริมาณที่น้อย เพราะลักษณะของข้าวตุ๋นที่เป็นข้าวบดอบแห้ง ไม่มีการผสมเครื่องปรุงรสใดๆ ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่อยากเลือกปรุงรสด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณโซเดียมไม่ให้มีมากเกินไป- ลูกเต๋า โจ๊กข้าวกล้องหอมมะลิ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต ลูกเต๋า ข้าว 7 นาที และ ลูกเต๋า ข้าวตุ๋นผสมฟักทอง ซึ่งก็ทดสอบพบปริมาณโซเดียมในระดับที่ค่อนข้างน้อยเช่นเดียวกัน แม้จะใช้ชื่อว่าโจ๊กแต่เชื่อว่ามีกรรมวิธีแบบเดียวกับข้าวตุ๋น คือ ไม่มีการผสมเครื่องปรุงรสใดๆ ซึ่งวิธีทำด้านหลังซองเองก็ระบุไว้ชัดเจนว่าเมื่อต้มข้าวเสร็จแล้วให้เติมเครื่องปรุงตามชอบใจ และอีกเหตุผลที่ทำให้ ลูกเต๋า ข้าว 7 นาที, ลูกเต๋า ข้าวตุ๋นผสมฟักทอง และ ลูกเต๋า โจ๊กข้าวกล้องหอมมะลิ มีปริมาณโซเดียมน้อยน่าจะมาจากทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ไม่ใส่ผงชูรส ตามที่ระบุไว้บนซองซุป กึ่งสำเร็จรูป ในกลุ่มของซุปกึ่งสำเร็จรูปทั้ง 3 ยี่ห้อ คือ โวโน ซุปครีมรสเห็ดพร้อมขนมปังกรอบกึ่งสำเร็จรูป, เลดี้แอนนา ซุปครีมเห็ดกึ่งสำเร็จรูป และ แคมเบล์ ซุปข้าวโพดกึ่งสำเร็จรูป ทดสอบพบปริมาณโซเดียมอยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกัน คือ 465.3 มก., 574.6 มก. และ 619.7 ตามลำดับ แคมเบล์ ซุปข้าวโพดกึ่งสำเร็จรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ข้อมูลทั้งหมดบนกล่องเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นเพียงส่วนประกอบสำคัญที่ระบุไว้ว่า ข้าวโพด 20% ครีม 25% และน้ำตาล 10%, ที่อยู่ผู้ผลิตและผู้นำเข้า น้ำหนักสุทธิ และเครื่องหมายรับรองของ อย.ข้อสังเกต1. แม้โจ๊กและข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูปทุกยี่ห้อที่นำมาทดสอบ จะมีการระบุข้อมูลว่า ควรเติม เนื้อสัตว์ ไข่ หรือผัก เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร ไว้บนซอง แต่ส่วนใหญ่ก็ถูกจัดวางอยู่ในบริเวณที่มองไม่ค่อยเห็นและมีขนาดเล็ก เช่น ม่ามา โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสหมู และ ม่ามา ข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูปรสหมู ที่ตัวอักษรข้อความที่มีขนาดเล็กและกลืนไปกับสีพื้นหลังของซองยากต่อการสังเกต2. ลูกเต๋า โจ๊กข้าวกล้องหอมมะลิ มีปริมาณโปรตีนไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่ อย. กำหนดไว้ (ร้อยละ 8 ของน้ำหนัก) โดยพิจารณาจากข้อมูลโภชนาการที่ให้ไว้บนซองผลิตภัณฑ์ คือ ลูกเต๋า โจ๊กข้าวกล้องหอมมะลิ โปรตีน 3 ก./น้ำหนัก 40 ก. คิดเป็นร้อยละ 7.5 ต่อน้ำหนัก     โจ๊กและข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูป - คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้าวสารบดที่ผ่านกรรมวิธีทำความสะอาดและอบเพื่อลดความชื้น พร้อมกับทำลายเชื้อจุลลินทรีย์บางชนิด ส่วนใหญ่มักนิยมเติมส่วนผสมจากธรรมชาติชนิดอื่นๆ ลงไป เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารและเป็นจุดขายเพื่อดึงความสนใจจากผู้บริโภค ซึ่งส่วนผสมอื่นๆ ที่เพิ่มลงไปได้แก่ แป้งถั่วเหลือง ฟักทอง แครอท สาหร่าย หรือธัญพืชนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีการเติมเครื่องปรุงรสหรือเนื้อสัตว์อบแห้งเพิ่มลงไป เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการปรุง และเพิ่มรสชาติให้ชวนรับประทานข้าวตุ๋น – คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้าวสารบด แบบเดียวกับ โจ๊กและข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูป เพียงแต่ไม่มีการปรุงแต่งหรือใส่เครื่องปรุงรสเพิ่มเติมซุปกึ่งสำเร็จรูป – คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเนื้อสัตว์หรือพืช เช่น ผัก ถั่ว เต้าหู้ ธัญพืช ผสมเข้ากับเครื่องปรุงรส หรืออาจเพิ่มเติมด้วยส่วนประกอบอื่นๆ เช่น แป้ง เส้นบะหมี่ แล้วนำมาผ่านกรรมวิธีทำให้แห้งหรือใช้ส่วนประกอบที่ทำให้แห้งแล้วนำมาผสมกัน โดยยังคงรักษาคุณภาพและกลิ่นรสของส่วนประกอบไว้ โซเดียม เป็นสารอาหารในกลุ่มเกลือแร่ที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป ก็ส่งผลร้ายกลับมาด้วยเช่นกัน ซึ่ง อย. กำหนดไว้ว่าไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวันโซเดียมกับผลกระทบต่อไตไต ทำหน้าที่ปรับโซเดียมให้กับร่างกาย รักษาปริมาณโซเดียมไว้ใช้ในเวลาที่ร่างกายต้องการหรือขาดโซเดียม รวมทั้งขับโซเดียมที่มากเกินไปออกจากร่างกายออกทางปัสสาวะและเหงื่อ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าไตอยู่สภาพที่ทำงานได้เป็นปกติ แต่หากไตเสื่อมสมรรถภาพหรือทำงานผิดปกติ ผลเสียจากการที่ได้รับโซเดียมมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราได้ทันที เมื่อไตไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกินออกไปได้ จะทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ระดับเลือดในร่างกายสูงขึ้นด้วย ทำให้เลือดต้องวิ่งผ่านไปยังเส้นเลือดมากขึ้น เกิดเป็นความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักเพราะต้องสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้น เป็นผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นหัวใจวาย ผู้ป่วยโรคไตและโรคอื่นๆ ดังที่กล่าวมาจึงจำเป็นต้องใส่ใจระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมเป็นอย่างมากเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 100 น้ำตาลในอาหารเสริมสำเร็จรูปของเด็กเล็ก

  “อาหารเสริม” เวลาที่พูดถึงคำๆ นี้มักจะชวนให้คิดถึง บรรดาผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณว่ากินแล้วดีต่อสุขภาพ ทำให้สวย ขาว หรือแข็งแรงเว่อร์ๆ อะไรประมาณนั้น ซึ่งในทางกฎหมายเขามีชื่อที่นิยามไว้เฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมานี้ว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ไม่ใช่ “อาหารเสริม” เพราะอาหารเสริม โดยแท้จริงแล้วจะหมายถึง อาหารที่ให้เด็กรับประทานเสริมจากนมแม่หรือนมผสม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมขึ้นเอง หรือบางครั้งก็เลือกใช้ผลิตภัณฑ์แบบสำเร็จรูปที่ขายในท้องตลาดแทน จากงานวิจัยของกองทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551 พบว่า เด็กอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปเริ่มมีการบริโภคอาหารเสริมถึงร้อยละ 52.7 ปัญหาคือ เป็นอาหารเสริมปรุงสำเร็จ หรือกึ่งสำเร็จรูป ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักในปริมาณสูง ซึ่งมันมีผลต่อการ “ติดรสหวาน” ของเด็กในอนาคต ฉลาดซื้อได้ทดลองหยิบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่วางขายทั่วไป และมียอดขายลำดับต้นๆ มาทดสอบหาปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ว่าจะ “หวาน” กันสักแค่ไหน ผลปรากฏว่า หวานมากเมื่อคิดว่าเป็นอาหารที่ป้อนให้ลูกน้อยรับประทานเสริมในช่วงปีแรกของชีวิต เรียงลำดับ 3 อันดับหวานมาก ได้แก่ 1. เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผสมน้ำผึ้ง ปริมาณน้ำตาล 19.9 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 5 ช้อนชา2. เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผลไม้รวม ปริมาณน้ำตาล 18.8 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 4 ช้อนชาครึ่ง 3. เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าวโอ๊ต&ลูกพรุน ปริมาณน้ำตาล 18.2 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 4 ช้อนชา อย่าปล่อยให้เด็กติดหวาน การดูแลเรื่องอาหารการกินในวัยต้นของชีวิต โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรกถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากพ่อแม่คิดจะสร้างความแข็งแรง ความมีสุขภาพดีให้แก่ลูกรักที่จะเติบโตต่อไปเป็น “เด็กฉลาด แข็งแรง” และ “ผู้ใหญ่สุขภาพดี” หลังคลอดอาหารที่ดีที่สุดคือ นมแม่ ซึ่งสามารถให้ได้ถึง 6 เดือน โดยไม่ต้องกินอย่างอื่น จากนั้นจึงค่อยๆ เสริมด้วยอาหารอื่นเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอสมวัย หรือหากไม่ได้กินนมแม่ตลอดมีการให้นมผงผสมผสานในการเลี้ยงดู ก็จำเป็นต้องให้อาหารอื่นเสริมไวขึ้น  อาหารเสริมที่คุ้นเคยกันดี ก็เช่น กล้วยน้ำว้าบด ข้าวบด ไข่แดงบด และอาจรวมไปถึงเนื้อสัตว์ผัก และปลา ซึ่งเตรียมเองได้ง่ายๆ ในครัวเรือน แต่ด้วยสภาพสังคมที่อาจจะไม่เอื้อต่อคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน ส่งผลให้พ่อแม่ไม่มีเวลามากพอในการจัดเตรียมอาหารเสริมแบบปรุงเองเพื่อป้อนให้ลูกน้อยได้ ก็จำเป็นต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ปรุงสำเร็จรูปมาป้อนเข้าปากลูกแทน ซึ่งจุดนี้อาจถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง “ติดรสหวาน” จากการศึกษา พบว่า เด็กไทยอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 52.7 เริ่มบริโภคอาหารเสริมสำเร็จรูป นั่นเท่ากับว่า เด็ก 1 ใน 2 คน มีโอกาสได้ลิ้มรสชาติ “น้ำตาล” ตั้งแต่อายุเพียง 6 เดือนเท่านั้น เพราะอาหารเสริมปรุงสำเร็จส่วนใหญ่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติ ติดรสหวานไม่ดีอย่างไร เรื่องนี้พิสูจน์ได้ด้วยสถานการณ์สุขภาพเด็กไทยในปี พ.ศ.2545 ที่พบเด็กฟันผุมากถึงร้อยละ 72 จนหน่วยงานทั้งหลายต้องเร่งออกมาศึกษาและหาทางแก้ไขกันยกใหญ่ ซึ่งจุดหนึ่งของปัญหาคือ พบว่า เด็กไทยเริ่มกินนมสูตรต่อเนื่องที่มีน้ำตาลผสมในปริมาณสูง ทำให้น้ำตาลสะสมในช่องปากก่อให้เกิดฟันผุ แต่หลังจากที่หลายองค์กรทางด้านสุขภาพได้ช่วยกันรณรงค์ผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ สธ.ที่ 286 ห้ามไม่ให้เติมน้ำตาลในนมสูตรต่อเนื่องสำหรับเด็ก รวมทั้งเร่งให้การศึกษาพ่อแม่ให้ดูแลสุขภาพภายในช่องปากของลูก ทำให้พบว่า เด็กไทยมีแนวโน้มฟันผุน้อยลงมาหน่อย คือ ร้อยละ 62.8 ในปี พ.ศ. 2550 ติดรสหวานไม่เพียงทำให้ฟันผุ (ซึ่งอาจแก้ได้ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธี) แต่ยังทำให้เด็กปฏิเสธอาหารรสชาติธรรมชาติ ตลอดจนอาหารอื่น โดยเรียกร้องแต่จะกินอาหารที่หวานด้วยน้ำตาลเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยว ขนมถุง น้ำหวานหรือน้ำอัดลม ส่งผลให้เด็กมีภาวะน้ำหนักเกิน ขาดสารอาหาร และมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ควรเกิดในเด็กเล็ก อย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ดังนั้นหากไม่อยากให้ลูกติดรสหวาน ถ้าจำเป็นต้องเลือกอาหารเสริมสำเร็จรูป ก็ควรเลี่ยงที่มีส่วนผสมของน้ำตาล พยายามทำอาหารให้ลูกกินเองให้ได้มากที่สุด ใช้อาหารเสริมเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่ให้ลูกของคุณกลายเป็นเด็กที่อ้วนแต่อ่อนแอ และหากพ่อแม่คนไหนยังมีความเชื่อว่าอาหารเสริมกึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็กเป็นอาหารที่ดี มีประโยชน์มากกว่าอาหารปกติ ขอให้ข้อคิดว่า อาจไม่เป็นเรื่องจริงก็ได้ เพราะความจริงคือ ไม่น่าจะมีอะไรวิเศษไปกว่าอาหารสดที่เราหาซื้อได้จากตลาดและนำมาปรุงเอง อาหารที่เตรียมเองไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิต การบรรจุขวด ซึ่งผ่านขั้นตอนที่ทำลายคุณค่าอาหารและยังอาจมีสารกันบูดผสมด้วย ดังนั้นในยุคเศรษฐกิจฝืดๆ แบบนี้ อาหารเสริมสำเร็จรูปจากต่างประเทศ “ราคาแพงเกินไป” ทำเองดีกว่า ถูกกว่าและปลอดภัยกว่าแน่นอน ผลทดสอบปริมาณน้ำตาลในอาหารเสริมกึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็ก   ผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก (กรัม) ราคาต่อหน่วย (บาท) วันผลิต – วันหมดอายุ น้ำตาล (กรัมต่อ 100 กรัม) เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผสมน้ำผึ้ง 120 38.75 10-11-08 09-02-10 19.9 เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผลไม้รวม 120 38.75 19-11-08 18-02-10 18.8 เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าวโอ๊ต&ลูกพรุน 150 120.75 16-05-08 15-08-09 18.2 เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าว แอปเปิลและแครนเบอรี่ 150 120.75 29-05-08 28-08-09 16.2 ไฮนซ์ แอปเปิ้ลผสมบลูเบอร์มูสลี่ 110 41.25 01-07-08 01-07-10 7.8 ไฮนซ์ คัสตาร์ด กลิ่นวานิลลา 110 41.25 04-06-08 04-06-10 6.7 ไฮนซ์ คัสตาร์ด รสไข่ 110 41.25 06-06-08 06-06-10 5.8   อายุ อาหารเสริม ครบ 4 เดือน ข้าวบดใส่น้ำแกงจืด สลับกับกล้วยน้ำว้าสุกครูด ข้าวบดกับไข่แดงต้มสุก ข้าวบดกับตับ หรือข้าวบดกับถั่วต้มเปื่อย ครบ 5 เดือน เริ่มอาหารปลา และควรเติมฟักทองหรือผักบดละเอียดในข้าวด้วย ครบ 6 เดือน ให้อาหารเสริมเป็นอาหารหลัก 1 มื้อ และให้กล้วย มะละกอสุก องุ่น มะม่วงสุก เป็นอาหารว่างอีก 1 มื้อ โดยตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ถ้วยให้ลูกหยิบรับประทานเองได้ และให้เริ่มดื่มน้ำส้มได้โดยผสมกับน้ำสุก 1 เท่าตัว ควรเริ่มทีละน้อยก่อน เช่น 1 ช้อนชา ครบ 7 เดือน เริ่มเนื้อสัตว์บดผสมในข้าว เริ่มให้ไข่ทั้งฟองได้ แต่ต้องต้มสุก ครบ 8-9 เดือน อาหารมื้อหลัก 2 มื้อ ถ้าลูกน้ำหนักตัวน้อย อาหารอาจเป็นของทอดที่มีน้ำมันด้วย ครบ10-12 เดือน อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และเปลี่ยนจากบด หรือสับละเอียดมาเป็นอาหารอ่อนนิ่มธรรมดาได้แล้ว   ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็กมีมูลค่าตลาดราว 427 ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์ภายใต้เนสท์เล่ เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 97% หลักเกณฑ์ทั่วไปการให้อาหารเสริมแก่ทารก      1) เริ่มให้อาหารเสริมทีละอย่าง ไม่ควรให้พร้อมกันหลายอย่าง เพราะถ้าเด็กเกิดอาการแพ้ จะได้ทราบว่าเกิดจากอาหารอะไร     2) การเริ่มให้อาหารเสริมแต่ละชนิด ควรเว้นห่างกัน 1-2 สัปดาห์ เพื่อคอยสังเกตดูว่าเด็กมีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่น มีผื่นตามผิวหนัง ร้องกวนมาก ไอ หอบ     3) เริ่มให้ทีละน้อยจากครึ่งช้อนชา แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น     4) เตรียมอาหารให้เหมาะกับอายุและพัฒนาการของเด็ก     5) ต้องระวังสนใจเรื่องความสะอาดให้มาก ผู้ปรุงต้องล้างมือให้สะอาดก่อนปรุง ภาชนะต้องต้มฆ่าเชื้อให้สะอาด แยกต่างหากจากของผู้อื่น อาหารต้องใหม่สด และต้มให้สุกอย่างทั่วถึง และเมื่อปรุงเสร็จแล้วต้องมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงวันตอม     6) อาหารของทารกต้องรสไม่จัด ปรุงรสเพียงเจือจาง และไม่ใส่ผงชูรส     7) ให้เด็กรับประทานอาหารเป็นเวลา เป็นที่เป็นทาง ไม่เล่นไปด้วย ควรสร้างบรรยากาศให้เพลิดเพลินสนุกสนาน และหากเด็กปฏิเสธให้หยุดไปก่อน แล้วค่อยเริ่มใหม่ในอีก 3-4 วัน     8) ให้เด็กหัดช่วยตัวเอง หัดถือช้อนเอง หัดหยิบอาหารเข้าปากเอง โดยทั่วไป เด็ก 6-7 เดือนจะนั่งได้ และเริ่มอยากจะช่วยตัวเอง นำอาหารเข้าปากเอง     9) ไม่ควรให้น้ำหวาน กลูโคส น้ำอัดลม เพราะไม่มีประโยชน์ ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหารอื่นที่มีประโยชน์(ข้อมูล ภญ. อ. ดร. สุญานี พงษ์ธนานิกร ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)   วิเคราะห์โดย สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดลผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point