ฉบับที่ 107 “ไฮสปีดกลายเป็นโลว์สปีด”

ปัญหาของอินเตอร์เน็ตที่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคมากที่สุดในขณะนี้คือ เน็ตช้า ความเร็วไม่เป็นไปตามที่โฆษณา อารมณ์สะเทือนใจของชาวเน็ตเป็นอย่างไรบ้างลองอ่านดูกันครับ“ที่บ้านดิฉันใช้บริการอินเตอร์เน็ต แบบ 3Mb ค่ะ ใช้มาสองปีแล้ว แต่เพิ่งเปลี่ยนแพคเกจเป็น 3MB เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาและเมื่อเปลี่ยนแล้ว ความเร็วไม่เต็มสปีดสักเท่าไหร่ ที่สำคัญ หลุดบ่อยมากค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่ฝนตก และตอนกลางคืนใช้ได้ 5-10 นาที เน็ตก็ตัดแล้วทำอะไรไม่ได้เลยโทรศัพท์ไปแจ้งกับทางศูนย์บริการก็รับเรื่องแบบแกนๆ เคยโทรไปหลายครั้งแล้วรอสายนานมาก แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขสักทีตอนนี้ใช้งานที่ราชบุรีค่ะ ศูนย์บริการปิดตอนห้าโมงเย็น แต่ปัญหาเกิดตอนกลางคืนค่ะ เคยโทรไปฝากเรื่องตอนกลางคืน เพราะอินเตอร์เน็ตใช้ไม่ได้ตอนเช้าพนักงานเพิ่งจะโทรมา ปัญหาก็หายไปแล้ว ทำแบบนี้ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรจริงมั้ยคะ?? จ่ายเต็มราคาทุกครั้งแต่เจอสภาพอินเตอร์เน็ตแบบนี้สมควรเรียกร้องมั้ยล่ะคะ”หรืออีกกรณีหนึ่ง“ผมทำสัญญาใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน ความเร็ว 3 เม็ก แต่ความเร็วจริงต่างกับที่โฆษณาเอาไว้มากครับน่าจะโฆษณาว่าเน็ต 2.5 เม็กมากกว่า ต้องจ่ายเงินให้ทีโอทีทุกเดือน แต่ก็มีความรู้สึกเหมือนโดนเอาเปรียบอยู่ทุกเดือน ต่างกับของ ทีทีแอนด์ที มากครับ 3 เม็กเต็ม บางวันก็จะตกมาอยู่ที่ 2.9 หรือ 2.8 ดาวน์โหลดทุกอย่างเร็วทันใจ ผมใช้เน็ตของทีโอทีดาวน์โหลดไฟล์ให้ลูกค้า บางไฟล์ ต้องรอถึงสามวันกว่าจะโหลดเสร็จ ทั้งๆ ที่ เคยใช้ของทีทีแอนด์ทีใช้เวลาแค่ 8 ชั่วโมง เก็บค่าใช้บริการเท่ากันแท้ๆ แต่ทีโอทีกลับเอาเปรียบผู้บริโภคไม่ดีเลยครับ” “ดูหนัง ฟังเพลงได้ช้ามากๆ กระตุกหยุดโหลดทุกสามวินาที ทั้งที่เป็น 3 เม็ก เช็คความเร็วดูปรากฏว่าไม่ถึง 3 เม็ก โทรไปร้องเรียนที่ 1100 คอนแทคเซ็นเตอร์ก็ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย โทรไปกี่ครั้งก็ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย มีแต่เสียงตอบรับอัตโนมัติว่าคู่สายบริการเต็มให้โทรมาใหม่เสียความรู้สึกมากๆ รบกวนช่วยรับเรื่องร้องเรียนของฉันด้วยค่ะ มันไม่ยุติธรรมเลยที่ต้องเสียค่าบริการเต็ม แต่ได้รับบริการห่วยๆแบบนี้” ฯลฯ “มีปัญหาสัญญาณหลุดบ่อย อีกทั้งมีความล่าช้าในการแก้ไข และไม่ได้รับความเร็วตามที่กำหนด 3 เม็กแต่ใช้งานได้เพียงไม่ถึง 1 เม็ก แต่ก็ยังเก็บค่าบริการรายเดือนเต็มจำนวนอีกด้วยทุกเดือน โดยที่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขให้เสร็จสมบูรณ์”แนวทางแก้ไขปัญหาบรรดาสารพันปัญหาอินเตอร์เน็ตล่าช้า ไม่เป็นไปตามสัญญา สามารถดำเนินการได้ 4 แนวทางนะครับ 1. สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้จัดทำโครงการทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตของผู้ให้บริการร่วมกับ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย บนเว็บไซต์ www.speedtest.or.th ให้ไปเช็คความเร็วอินเตอร์เน็ตและแจ้งไว้เป็นหลักฐานที่นี่ ปกติแล้วถ้าได้ความเร็วสัก 80% ขึ้นไปก็ถือว่าเป็นคุณภาพที่พอรับได้ครับ2. ถ้าโทรแจ้งที่คอลเซนเตอร์แล้วไม่ได้ผล ผู้บริโภคทำหนังสือร้องเรียนโดยตรงที่บริษัทผู้ให้บริการ โดยเรียนถึงกรรมการผู้จัดการ เรื่องขอให้แก้ไขปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานการบริการ และขอให้คืนเงินค่าบริการในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานไปหักลบกลบหนี้ของบิลรอบเดือนถัดไป ดังนั้นควรระบุให้ชัดเจนว่าเน็ตช้ามากในช่วงไหนถึงไหนจากหลักฐานที่เราได้เช็คจากwww.speedtest.or.th3. หากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไม่แก้ไขปัญหา หรือยังไม่ยอมคืนเงินในช่วงที่ไม่ได้ใช้บริการหรือใช้บริการแล้วแต่ได้ความเร็วไม่เป็นไปตามโฆษณาหรือสัญญา ให้ทำหนังสือร้องเรียนพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนส่งถึงผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. ส่งไปที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) 404 อาคารพหลโยธินเซนเตอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.02-2790250 โทรสาร 02-2790251 หรือจะเดินทางไปร้องเรียนด้วยตนเองก็ได้4. การร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สิ่งที่เราจะดำเนินการให้คือ ออกจดหมายเรียกร้องให้บริษัทปรับปรุงคุณภาพบริการ หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆ อีก คุณสามารถขอให้มูลนิธิฯ ดำเนินการเขียนคำฟ้องเพื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นคดีผู้บริโภคได้ครับ ความผิดของผู้ให้บริการคือ การให้บริการที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานไม่เป็นไปตามที่โฆษณาหรือสัญญาไว้ครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 แม็กซ์เนต ของทีทีแอนด์ทีจ่ายเต็มเดือนแต่ใช้ได้แค่ครึ่งเดือน

สวัสดีค่ะ ดิฉันเปิดใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ Maxnet หมายเลข 038-727-000 แต่ในทุกๆ เดือนจะเกิดปัญหาค่ะ“ทุกๆ เดือนจะเกิดปัญหาคืออินเทอร์เน็ตจะใช้ไม่ได้ประมาณ 2 อาทิตย์ จนมาถึงเดือนนี้(กรกฎาคม 2552) ทุกวัน ดิฉันโทรแจ้งทางศูนย์ เขาบอกดิฉันเดี๋ยวทางเราจะแจ้งช่างให้ไปดูแล แต่จนป่านนี้ยังไม่มีใครมาสนใจ แล้วทุกเดือนดิฉันเขียนเรื่องขอลดยอด แต่ใบแจ้งค่าใช้บริการยังคงเรียกเก็บในราคาเต็มคือ 1,166.30 บาท/เดือน การที่อินเทอร์เน็ตใช้ได้ 2 อาทิตย์แล้วปัญหาเกิด 2 อาทิตย์ ดิฉันไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ทำไมเขายังกล้าเก็บเงินกับลูกค้าอยู่อีก...”เป็นเนื้อหาจากจดหมายที่คุณอุไรส่งมาบอกเล่าเรื่องร้องเรียนในปัญหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ให้บริการโดยบริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด(มหาชน) เราได้รับจดหมายฉบับนี้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยความอยากรู้ว่าบริการอินเทอร์เน็ตของแม็กซ์เนตเป็นอย่างไร จึงได้ท่องเข้าไป www.maxnet.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเจ้านี้ พบข้อความโฆษณาที่เกี่ยวกับคุณภาพของอินเตอร์เน็ตที่จัดให้บริการกับลูกค้าหลายจุด ตัวอย่าง“ทีทีแอนด์ทีรุกตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เปิดตัวแคมเปญใหม่ "ติด Maxnet ติดสปีดให้ชีวิต" หวังเจาะ 3 กลุ่มเป้าหมายหลักทั้งนักเรียน คนวัยทำงาน และธุรกิจขนาดเล็ก หวังขยายฐานลูกค้าทั่วประเทศ ตั้งเป้าผู้ใช้บริการสิ้นปี 2549 ที่ 300,000 ราย และจะขยายเป็น 500,000 รายภายในปี 2550นายประจวบ ตันตินนท์ กรรมการ บริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัทในเครือ บมจ. ทีทีแอนด์ทีกล่าวว่า "แนวคิดของการออกแคมเปญใหม่ "ติด Maxnet ติดสปีดให้ชีวิต" คือการทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และสามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นว่าแม็กซ์เน็ตจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่มได้อย่างลงตัว โดยเราได้นำเสนอผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุด Run ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าแม็กซ์เน็ตช่วยขจัดความล่าช้าและข้อจำกัดต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างราบรื่น"ที่มา :ข่าวเด่น TT&T “TT&Tรุกเน็ตไฮสปีด ส่ง Maxnet เจาะกลุ่มผู้ใช้ทั่วประเทศ” วันที่ 10/11/2549แต่ไม่ว่าจะโฆษณาอย่างไร ไฮสปีดยี่ห้อนี้ก็ยังมีเงื่อนไขในการให้บริการไม่ต่างจากไฮสปีดยี่ห้ออื่น1. บริการ Hi Speed Internet เป็นบริการแบบแชร์สปีด ความเร็วที่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการในขณะนั้น (Non Guarantee Speed)2. ความเร็วในการเชื่อมต่อ คือ ความเร็วของคอมพิวเตอร์กับโครงข่ายของ ทีทีแอนด์ที ไม่ใช่ความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล ความเร็วในการดาว์นโหลดที่แท้จริงอาจต่ำกว่าความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อที่ผู้ใช้บริการเลือกไว้ โดยเฉพาะเว็บไซด์ที่อยู่ต่างประเทศ อาจมีผลมาจากหลายปัจจัย เช่น สภาพของคอมพิวเตอร์ สภาพและระยะทางของสายโทรศัพท์คู่สายภายในของผู้เช่า และการติดขัดของข้อมูลอินเทอร์เน็ต รวมถึงอุปกรณ์ Server และ Router ของเว็บไซด์ที่เข้าชม และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ ที่มา : ข้อควรรู้ http://www.maxnet.co.th/knowledge.phpคำถามคือว่าจะนำข้ออ้างดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดชอบกับลูกค้าได้หรือไม่คำตอบคือ ไม่ได้ครับ เพราะว่าประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคม พ.ศ.2544 กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้ให้บริการ(โทรคมนาคมทั้งหมด เช่น โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออินเทอร์เน็ต) มีหน้าที่ต้องให้บริการโทรคมนาคมตามมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการตามที่ได้โฆษณาหรือแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ โดยมาตรฐานและคุณภาพ การให้บริการดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ประกาศกำหนด ดังนั้นเกณฑ์คุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมจึงมิใช่เกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะมานึกเอาตามใจชอบได้ส่วนกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องขึ้นกับการให้บริการโทรคมนาคมของผู้ให้บริการจนทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ กฎหมายฉบับเดียวกันกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถกลับมาใช้บริการได้โดยเร็ว และผู้ให้บริการไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการในช่วงเวลาที่เกิดเหตุขัดข้องดังกล่าวได้ เว้นแต่ผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าเหตุขัดข้องนั้นเกิดจากผู้ใช้บริการหากผู้ให้บริการยังคงเรียกเก็บค่าบริการอยู่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่เกิดขึ้นได้กับผู้ให้บริการหรือผ่านทางสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โทร.สายด่วน 1200 หรือจะให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคเรียกค่าเสียหายและดอกเบี้ยด้วยก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 86 แอบดูร้านเน็ต รอบรั้วโรงเรียน

ปัจจุบันธุรกิจอีกหนึ่งชนิดที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็นในบริเวณรอบๆสถาบันการศึกษา ได้แก่ร้านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นเพิ่มขึ้นแน่นอน ข้อมูลจากสถาบันรามจิตติก็ระบุว่าร้อยละ 25 ของเด็กไทย เข้าอินเทอร์เน็ตทุกวันหลายคนเห็นว่าการมีร้านดังกล่าวเป็นสิ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้เด็กสามารถค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งมาทำการบ้านตามที่อาจารย์สั่ง ทั้งได้เปิดโลกทัศน์จากเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ต่างๆ แต่บางคนก็วิตกว่าจะเป็นแหล่งชุมนุมของเด็กๆที่นิยมเกมออนไลน์ เข้าไปดูภาพลามกอนาจาร หรือสนทนากับคนแปลกหน้าผ่านโปรแกรมแชทต่างๆ อย่างที่เคยได้ยินข่าวกันเสียมากกว่า จะนั่งสงสัยอยู่ก็ใช่ที่ ฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ภาคประชาชน ในจังหวัด ลำปาง เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ลพบุรี ตราด สมุทรสงคราม สตูล และยะลา จึงส่งสายสืบไปคุยกับเด็กๆที่เข้าใช้บริการในร้านอินเทอร์เน็ตบริเวณรอบๆ โรงเรียน ว่าพวกเขาใช้เงิน ใช้เวลาในนั้นอย่างไรสายสืบของเรา หลอก เอ้ย สอบถามข้อมูลจากเด็กนักเรียน 346 คน จากจังหวัดต่างๆ เป็นเด็กชายและเด็กหญิงอย่างละครึ่ง และในกลุ่มที่เราสำรวจนั้น มีถึงร้อยละ 20 เป็นเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า รองลงมาได้แก่เด็กใน มัธยมสี่และสามเข้าร้านเน็ตกันบ่อยไหม ?เกือบร้อยละ 30 ของเด็กกลุ่มนี้ เข้าร้านเน็ตสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ประมาณร้อยละ 20 เข้าเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ที่เข้าทุกวันมีร้อยละ 13 ช่วงเวลาที่เด็กๆ เข้าใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดได้แก่ 4 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม (ร้อยละ 47) รองลงมาคือช่วงบ่ายโมง ถึง 4 โมงเย็น (ร้อยละ 19) ตามด้วยช่วง 8 โมงเช้า ถึงเที่ยง (ร้อยละ 15)ใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไรกันบ้าง ?กิจกรรมที่ทำมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียน เช่นหาข้อมูลทำรายงาน  รองลงมาคือการเล่นเกมส์ออนไลน์และการสนทนาออนไลน์ หาข้อมูลทำรายงาน          ร้อยละ 68เล่นเกมส์ออนไลน์             ร้อยละ 54สนทนาออนไลน์*              ร้อยละ 48หาข้อมูลเพื่อความบันเทิง (เช่น หาข้อมูลดารา/นักร้องที่ชอบ)    ร้อยละ 30ดาวน์โหลดเพลง            ร้อยละ 26*ในกลุ่มที่เราสำรวจ โปรแกรม/เว็บสนทนาที่นิยมใช้มากที่สุดได้แก่ MSN (ร้อยละ 59) ตามด้วย Hi5 เว็บที่เป็นข่าวฮือฮากันอยู่ขณะนี้ (ร้อยละ 20)>> และเมื่อถามเด็กๆว่า สิ่งพวกเขาใช้ประโยชน์มากที่สุดจากอินเทอร์เน็ตได้แก่อะไร คำตอบคือ เพื่อการศึกษาและเพื่อเล่นเกมส์ในระดับที่พอๆกัน (ร้อยละ 41 และ 40 ตามลำดับ) กลุ่มที่ใช้เพื่อการศึกษานั้น 1 ใน 4 เป็นเด็กชั้นมัธยมปีที่ 5 กลุ่มที่ใช้เพื่อเล่นเกม ร้อยละ 18 เป็นเด็กชั้นมัธยมปีที่ 1 อยู่ในร้านกันนานแค่ไหนเด็กๆส่วนใหญ่ (ร้อยละ 47) ตอบว่าใช้เวลาในการเข้าอินเทอร์เน็ตแต่ละครั้ง ประมาณ 2 ชั่วโมงมีประมาณ ร้อยละ 18 ที่ใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมงต่อครั้งกลุ่มที่ใช้เวลา 2 ชั่วโมง นั้น ร้อยละ 47 ใช้เพื่อการศึกษา ที่เหลือใช้เพื่อเล่นเกม แชท หรือ ดูข่าวบันเทิงกลุ่มที่ใช้เวลา 3 ชั่วโมง นั้น ร้อยละ 51 ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเล่นเกมกลุ่มที่อยู่นานกว่า 5 ชั่วโมงนั้น เกือบร้อยละ 70 ใช้เพื่อเล่นเกมเช่นกัน แล้วเล่นเกมอะไรกันบ้างเกมยอดนิยมในหมู่เด็กๆที่เราไปสำรวจ ได้แก่เกมแนวต่อสู้ (ร้อยละ 41) รองลงมาได้แก่เกมกีฬา (ร้อยละ 20) ตามด้วยเกมทำครัวและแฟชั่น (ร้อยละ 12)เอาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายที่ร้านเน็ตร้านอินเทอร์เน็ตเหล่านี้คิดค่าบริการ 10/15/20 บาท ต่อชั่วโมง เกือบร้อยละ 60 ของเด็กๆเหล่านี้ บอกว่าขอเงินจากพ่อแม่มาใช้บริการ อีกประมาณร้อยละ 39 บอกว่าใช้เงินที่เก็บสะสมไว้ ส่วนที่เหลืออีกไม่กี่คนนั้นได้เงินจากญาติหรือเพื่อนส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น เกือบครึ่งหนึ่งของเด็กๆ บอกว่าใช้ไม่เกิน  50 บาทต่อสัปดาห์ ร้อยละ 32 ใช้ไม่เกิน 100 บาทต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17 ใช้ระหว่าง 100 – 300 บาท เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกัน หรือไม่กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษานั้นเป็นเด็กหญิงร้อยละ 62 เด็กชายร้อยละ 38กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเล่นเกมส์นั้นเป็นเด็กชายร้อยละ 67 เด็กหญิงร้อยละ 33กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตไม่เกิน 2 ชั่วโมงนั้น จะเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย แต่ในกลุ่มที่อยู่ในร้าน 3 ชั่วโมงขึ้นไป จะเป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ======>>> ตามกฎหมายแล้ว ร้านจะต้องไม่ให้เด็กเข้าใช้บริการหลังเวลาสี่ทุ่ม แต่สายสืบของเราพบว่าร้อยละ 19 ของร้านอินเทอร์เน็ตในบริเวณรอบๆโรงเรียนในเขตที่เราไปสำรวจนั้นยังมีเด็กๆเข้าใช้บริการอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดตราด มีร้านที่ยังให้บริการกับเด็กหลังสี่ทุ่มถึง 9 ร้าน จากทั้งหมด 20 ร้าน ที่เราไปสังเกตการณ์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 สัญญาที่ไม่เป็นธรรมของบริการผ่านอินเตอร์เน็ตโปรแกรม SKYPE

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปัจจุบันการใช้บริการโทรศัพท์ติดต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะสะดวก และประหยัด เช่น การใช้ บริการผ่านโปรแกรมของบริษัทไมโครซอฟท์ ที่มีชื่อว่า SKYPE ซึ่งเป็นบริการที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ ผ่านทางอินเตอร์เนต และมีโปรโมชันให้เลือกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีก็ได้ทำหนังสือเตือนไปยังผู้ให้บริการของ SKYPE เนื่องจากมีสัญญา 20 ข้อที่เข้าข่าย เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิและเอาเปรียบผู้บริโภค  ยกตัวอย่างเช่น “การที่ผู้ให้บริการ SKYPE สามารถยกเลิก และเปลี่ยนแปลงสัญญาการให้บริการได้ทุกกรณี และตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้บริโภคยินยอม” “วงเงินเครดิตในการใช้โทรศัพท์ ก็จะมีอายุเพียง 6 เดือน นับจากวันที่ผู้บริโภคได้ชำระเงินซื้อบริการ” “กรณีการฟ้องร้องต่อศาล ก็ต้องไปขึ้นศาลที่ประเทศลักเซมเบิร์ก และใช้กฎหมายของประเทศลักเซมเบิร์กเป็นฐานในการดำเนินคดี” “บริษัทจะไม่รับผิดใด ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทางบริษัทไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม”   นอกจากนี้ทางผู้ให้บริการก็สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราค่าโทรศัพท์ได้ฝ่ายเดียว ซึ่งข้อความดังกล่าวได้ระบุไว้เป็นอักษรที่มีขนาดเล็ก ที่ผู้บริโภคมักมองข้ามไป การทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังบริษัทผู้ให้บริการนั้น นับว่าประสบความสำเร็จในเบื้องต้น ทางไมโครซอฟท์ ก็ได้เปลี่ยนแปลงสัญญาการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นในประเด็นเรื่องการบอกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาที่ต้องแจ้งล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการก็ต้องแจ้งล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วันเช่นกัน และยกเลิกการหมดอายุของวงเงินเครดิตในการใช้งาน การเปลี่ยนแปลงสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าวนั้น ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเองก็ได้ชื่นชมผู้ให้บริการที่ ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เพราะถ้าเป็นคดีความฟ้องร้องกว่าที่จะมีคำตัดสินของศาลเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคนั้นก็จะกินเวลาหลายปีทีเดียว สำหรับการให้บริการประเภทนี้ ทางหน่วยงาน กำกับดูแลทางด้านโทรคมนาคม คือ กสทช. คงจะต้องลงไปดู รายละเอียดของสัญญา ผู้ให้บริการรายอื่นๆ ด้วยว่าเข้าข่ายละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคไทยหรือไม่ เพราะปัจจุบันการให้บริการหลายๆ ประเภท จะเป็นการดำเนินธุรกรรมผ่านทางโลกออนไลน์ที่ไร้พรมแดน แต่ถ้าเกิดคดีฟ้องร้องกัน นั้น คงเกิดปัญหาขึ้นแน่นอนว่าจะใช้กฎหมายของประเทศอะไร ในเบื้องต้น ทาง กสทช. ก็คงต้องรีบตรวจสอบสัญญาการให้บริการ เพื่อที่จะป้องกันการละเมิดสิทธิผู้บริโภคคนไทยครับ ที่มา http://www.vzbv.de/12564.htm วันที่ 5.12.2013   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point