ฉบับที่ 206 โซเดียม และพลังงาน น้ำตาล จากบิสกิต-แซนวิช-แครกเกอร์

ขนมห่อเล็กๆ ที่เด็กมักจะเลือกหยิบฉวยเมื่อมีโอกาสได้เดินเข้าร้านสะดวกซื้อกับผู้ปกครอง โดยเฉพาะขนมอบกรอบ ตลอดจนขนมประเภทบิสกิต แซนวิช และแครกเกอร์ ที่มีบรรจุภัณฑ์สีสันสวยงาม รสชาติอร่อย และราคาไม่แพง ขนมเหล่านี้ล้วนสร้างความพึงพอใจและรอยยิ้มให้กับเด็กๆ ไม่น้อย ไม่เพียงแต่เด็ก ผู้ใหญ่อย่างเราบางครั้งเวลาเดินช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า แล้วยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้ออะไรติดไม้ติดมือกลับบ้าน ขนมประเภทนี้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ หรือแม้แต่จะซื้อไปทำบุญใส่บาตร ก็รู้สึกเข้าท่าดีเหมือนกัน อย่างไรก็ตามขนมประเภทนี้แม้เห็นว่าห่อเล็กๆ หน่วยบริโภคไม่ถึง 30 กรัม แต่ก็ให้พลังงานที่สูง และที่สำคัญมีปริมาณโซเดียมสูงด้วย การรับประทานจึงต้องเพิ่มความระวัง ซึ่งวิธีหนึ่งที่เราจะเลือกรับประทานให้ได้อย่างเหมาะสม ก็คือการพิจารณาฉลาก โดยเฉพาะฉลากโภชนาการ ซึ่งฉลาดซื้อฉบับนี้อาสานำข้อมูลบนฉลากโภชนาการของขนมประเภทนี้ มานำเสนอไว้เป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ  ข้อสรุปจากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ เมื่อพิจารณาที่ฉลากของผลิตภัณฑ์ทั้ง 35 ตัวอย่าง พบว่า หน่วยบริโภคที่น้อยที่สุดคือ ยี่ห้อ แซนวิชเค้กสอดไส้ครีมคัสตาร์ด ตราฟันโอ คือ 1 ชิ้น 13 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี ปริมาณโซเดียม 40 มก. ขณะที่หน่วยบริโภคซึ่งมากสุด คือ ยี่ห้อ  เลมอน ครีมแซนวิซ ตราเบลลี่ คือ 1 ชิ้น 100 กรัม ให้พลังงาน 498 กิโลแคลอรี ปริมาณโซเดียม 390.2 มก.   ส่วนผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นๆ ส่วนใหญ่น้ำหนัก 1 หน่วยบริโภคจะอยู่ที่ประมาณ 30-35 กรัม  และหากลองนำผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มาคำนวณในหน่วยบริโภคที่เท่ากันหรือใกล้เคียง(30 กรัม) จะพบว่า ขนมอบที่นำมาดูฉลาก จะมีค่าพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ 150-160 กิโลแคลอรี สำหรับปริมาณโซเดียมนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของขนม โดยผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคสูง(หน่วยบริโภคไม่เกิน 42 กรัม) คือ 1.แครกเกอร์สอดไส้ช็อคโกแลต ตรา มอลคิสท์  โซเดียม 200 มก. ต่อหน่วยบริโภค 42 กรัม 2.แครกเกอร์ไส้ครีม กลิ่นวานิลลา ตรา ไวโอเลต โซเดียม 160 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม3.คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต ตรา เพรสโต้ ครีมโอ โซเดียม  150 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม4.โอรีโอ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลตสอดไส้ครีมกลิ่นวานิลลา โซเดียม 150 มก. ต่อหน่วยบริโภค 29 กรัม5.คุกกี้สตัฟ รสคุกกี้และครีม ตราวอยซ์ โซเดียม 130 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม อย่างไรก็ตาม หากดูจากฉลากที่นำมาเปรียบเทียบทั้งหมด ยี่ห้อ เลมอน ครีมแซนวิซ (ตราเบลลี่) ซึ่งมีหน่วยบริโภคที่ 100 กรัม(ชิ้นใหญ่) จะให้ปริมาณโซเดียมมากถึง 390.2 มก/100 กรัม ดังนั้นจึงควรแบ่งรับประทานในสัดส่วนที่เล็กลงมา ความสำคัญของฉลากโภชนาการนอกจากฉลากสินค้าจะบ่งบอกปริมาณหรือน้ำหนัก ให้เราได้เทียบความคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายจริงแล้ว ฉลากบนสินค้ายังมีประโยชน์มากกว่านั้นอีก โดยเฉพาะฉลากข้อมูลโภชนาการ ที่สามารถบอกเราได้ว่า หนึ่งหน่วยของอาหารที่เราบริโภคนั้น ได้มอบคุณค่าทางโภชนาการอะไรแก่ร่างกายเราบ้าง ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งหน่วยบริโภคของขนมแครกเกอร์ 1 ห่อ (คำแนะนำว่า เราควรบริโภคเพียงครั้งละกี่ชิ้น คิดเป็นน้ำหนักกี่กรัม), จำนวนหน่วยบริโภคต่อบรรจุภัณฑ์ (แครกเกอร์ 1 ห่อ ควรแบ่งกินกี่มื้อ) หรือบอกว่าในหนึ่งหน่วยบริโภค (ปริมาณที่เราบริโภค 1 มื้อ) นั้นให้พลังงานต่อร่างกายเราทั้งหมดเท่าใดหากผู้บริโภคสังเกตบริเวณด้านหน้าของห่อขนม จะเห็นฉลากพื้นสีขาวที่มีลักษณะคล้ายปล้องไม้ไผ่ ถูกแบ่งเป็น 4 ช่อง ได้แก่ พลังงาน, น้ำตาล, ไขมัน และโซเดียม ซึ่งเรียกว่า ฉลากหวานมันเค็ม หรือ ฉลากจีดีเอ (Guideline Daily Amount; GDA) ซึ่งเป็นฉลากที่บอกให้ทราบว่าเมื่อกินขนมเข้าไปทั้งถุงหรือซอง จะได้รับพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมปริมาณทั้งหมดเท่าไหร่ ถ้าเราดูเฉพาะตัวเลขในช่องพลังงาน จะเป็นตัวเลขค่าพลังงานของขนมทั้งซอง ถ้าสมมติว่าเป็นขนมห่อใหญ่ที่สามารถแบ่งกินได้ 4 ครั้ง ก็จะต้องนำค่าพลังงานจากฉลากจีดีเอ ไปหาร 4 จึงจะได้ค่าพลังงานที่ได้ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่ฉลากแนะนำ ในความเป็นจริง ผู้บริโภคสามารถพลิกดูบนฉลากข้อมูลโภชนาการได้เลย ว่าขนมแต่ละซองได้แนะนำให้แบ่งกินกี่ครั้ง ครั้งละกี่ชิ้น และในการกินแต่ละครั้งตามคำแนะนำบนฉลาก จะได้รับพลังงานทั้งหมดเท่าใด ซึ่งง่ายต่อการสอนให้เด็กๆ รู้จักการแบ่งขนมห่อใหญ่รับประทานแต่พอดี ตามความเหมาะสมที่ฉลากแนะนำไว้ โดยร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI)* โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี (kcal), ไขมันทั้งหมดไม่เกิน 65 กรัม, โซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม และร่างกายของคนเรามีความต้องการน้ำตาลต่อวันประมาณ 6 ช้อนชา (ประมาณ 23-25 กรัม) หรือ สูงสุดไม่เกิน 10 ช้อนชา (40 กรัม) ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุเอาไว้การใช้ข้อมูลฉลากโภชนาการทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกกินอาหารได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันขนมหลายยี่ห้อมีการบรรจุในหีบห่อขนาดใหญ่วางจำหน่ายในร้านค้า ซึ่งขนมห่อใหญ่เหล่านี้ สามารถแบ่งกินได้มากกว่า 1 ครั้ง การบริโภคในปริมาณมากเกินพอดี หรือกินหมดทั้งห่อ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงาน ไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมเกินความจำเป็นของร่างกายในหนึ่งวัน อาจก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไต และโรคอื่นๆ อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 โซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย

หลังจากที่ผ่านมาเราเคยทดสอบปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกันไปแล้ว และพบว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกือบทั้งหมดในท้องตลาดมีปริมาณโซเดียมสูง โดยการรับประทานหนึ่งห่อจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูงถึง 50-100% ของความต้องการในแต่ละวัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต ได้เรากลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้เราตามไปดูกันที่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย ที่เพียงแค่เปิดฝาเติมน้ำร้อนก็พร้อมรับประทานทันที ซึ่งได้รับนิยมมาก โดยเฉพาะตามร้านสะดวกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อในสถานที่ชุมชนทั่วไป ในย่านการศึกษา และร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน จะมีบริการบะหมี่ถ้วยให้เลือกจำนวนมากพร้อมมีน้ำร้อนให้บริการเสร็จสรรพ เราจึงเห็นภาพคนยืนซดเส้นซดน้ำกันอย่างเป็นเรื่องปกติ   ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปชมผลทดสอบ ปริมาณโซเดียมและโปรตีนในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จากตัวอย่าง 15 ยี่ห้อยอดนิยม โดยตรวจสอบจากข้อมูลโภชนาการที่ระบุไว้บนฉลาก ซึ่งยี่ห้อไหนจะมีปริมาณโปรตีน/โซเดียมสูงหรือต่ำที่สุด ลองไปดูกันเลย------------------------------------------สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำความตกลงกับผู้ผลิต ให้มีการจัดทำฉลากโภชนาการ เพื่อแสดงปริมาณโซเดียมให้ผู้บริโภคได้ใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ และบริโภคในปริมาณที่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่ควรได้รับต่อวัน คือ สูงสุดไม่เกิน 2,400 มก./วัน (ผู้ชายควรบริโภค 475-1,475 มก. และผู้หญิงควรอยู่ที่ 400-1,200 มก./วัน) ข้อมูลการตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่าตลาดปี 2558 : 15,800 ล้านบาทส่วนแบ่งการตลาด: มาม่า 51% ยำยำ 20% ไวไว 20% อื่นๆ 9%สัดส่วนการตลาด: ซอง 71% ถ้วย 29%อ้างอิงข้อมูล: http://marketeer.co.th/archives/51518สรุปผลการเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมจากตัวอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 15 ยี่ห้อที่นำมาทดสอบ พบว่า1. มีเพียง 7 ยี่ห้อที่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ ยี่ห้อ 1. เอฟเอฟ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ 2. เซเว่นซีเล็ค บะหมี่ชามกึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 3. จายา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ 4. เกษตร วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป รสยำวุ้นเส้นทะเล 5. ซื่อสัตย์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งน้ำข้น 6. ลิตเติ้ลกุ๊ก บะหมี่ต้มยำทะเล และ 7. มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า 2. จากข้อมูลโภชนาการ พบว่า - ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมเยอะที่สุดคือ เอฟเอฟ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ มีปริมาณโซเดียม 2,160 มก./น้ำหนัก 65 ก. และยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดคือ มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า มีปริมาณโซเดียม 1,000 มก./น้ำหนัก 26 ก. - ยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนเยอะที่สุดคือ ซื่อสัตย์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งน้ำข้น มีปริมาณโปรตีน 7 ก./น้ำหนัก 65 ก. และยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนน้อยที่สุดคือ มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า มีปริมาณโปรตีน 3 ก./น้ำหนัก 26 ก.3. มี 8 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1. พรานทะเลนู้ดเดิ้ลโบวล์ รสต้มยำรวมมิตรทะเล 2. นิสชิน ชิลลี่นู้ดเดิ้ล รสต้มยำกุ้งน้ำข้น 3. ไวไว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 4. ยำยำ บะหมี่ถ้วยกึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 5. เซเว่น ซีเล็ค-นิสชิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทะเลน้ำข้นคิงคัพ 6. นิสชินคัพนูดเดิ้ล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งแซ่บ 7. ควิก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง 8. มาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง โดยจากการตรวจสอบส่วนประกอบสำคัญ พบว่า  ยี่ห้อที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ เช่น ปลา กุ้ง หอย มากที่สุดคือ พรานทะเลนู้ดเดิ้ลโบวล์ รสต้มยำรวมมิตรทะเล มีส่วนประกอบของรวมมิตรทะเล 25%/น้ำหนัก 80 ก. และยี่ห้อที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์น้อยที่สุดคือ นิสชิน ชิลลี่นู้ดเดิ้ล รสต้มยำกุ้งน้ำข้น มีส่วนประกอบของกุ้งอบแห้ง 0.47%/ น้ำหนัก 60 ก.ข้อสังเกตการแสดงข้อมูลโภชนาการ พบหลายยี่ห้อไม่มีฉลากโภชนาการแม้ อย.ได้ดำเนินการพิจารณาให้อาหารกึ่งสำเร็จรูปทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ หรือในเบื้องต้นให้แสดงปริมาณโซเดียม เพื่อให้ข้อมูลด้านโภชนาการแก่ผู้บริโภค ด้วยการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 374) พ.ศ.2559 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมันและโซเดียมแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts; GDA) บนฉลากอาหาร เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและสนับสนุนมาตรการป้องกันปัญหาด้านโภชนาการ โดยอาหารกึ่งสำเร็จรูปอย่าง ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น ไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ก็ตาม พร้อมซองเครื่องปรุง และข้าวต้มปรุงแต่ง และโจ๊กที่ปรุงแต่ง จำเป็นต้องมีฉลากดังกล่าว ซึ่งหากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ จัดว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศโดยมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท แต่เรายังพบว่าจากตัวอย่างที่นำมาทดสอบ มี 8 ยี่ห้อที่ไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการตามประกาศฉบับนี้ข้อมูลอ้างอิง :1.http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P374.PDF2. http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_fda/No.374_Food_nutrition_labels.pdf

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 ซอสหอยนางรม ปริมาณหอยนางรมและโซเดียม

ซอสหอยนางรมหรือน้ำมันหอย ถือเป็นเครื่องปรุงรสคู่ครัวไทยมานาน เพราะเชื่อว่าช่วยทำให้อาหารอร่อย รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น และมีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยโปรตีนจากหอยนางรม โดยอาหารยอดนิยมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัด คะน้าหมูกรอบ ผัดผักหรือหมูปิ้ง ส่วนใหญ่มักใช้ซอสหอยนางรมเป็นส่วนหนึ่งของการปรุงรส อย่างไรก็ตามปัจจุบันซอสหอยนางรมมีมากมายหลายยี่ห้อและมีราคาแตกต่างกัน ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่แน่ใจว่าควรตัดสินใจเลือกซื้ออย่างไรดี ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเปรียบเทียบปริมาณหอยนางรม และโซเดียม รวมทั้งโปรตีนในซอสหอยนางรมจาก 23 ยี่ห้อยอดนิยมโดยดูจากฉลากข้างขวด ผลจะเป็นอย่างไรเราลองมาดูกัน         ตารางผลทดสอบ 2 ปริมาณโซเดียม ทดสอบด้วยการดูจากฉลากโภชนาการ และเรียงลำดับจากยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุด ไปยังยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด เมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยบริโภค(หนึ่งหน่วยบริโภคประมาณ 15-17 กรัม) หมายเหตุ มีเพียง 13 ยี่ห้อที่มีฉลากโภชนาการ   สรุปผลทดสอบ จากซอสหอยนางรม 23 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบพบว่า 1. ซอสหอยนางรม 23 ตัวอย่าง ทุกยี่ห้อระบุว่ามีหอยนางรมเป็นส่วนประกอบ โดยยี่ห้อที่มีปริมาณหอยนางรมเป็นส่วนประกอบมากที่สุดคือ ลี่กุมกี่ (โอลด์แบรนด์) 55% ต่อน้ำหนัก 255 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณหอยนางรมเป็นส่วนประกอบน้อยที่สุดคือ โฮม เฟรช มาร์ท 9% ต่อน้ำหนัก 770 กรัม2. จากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ 13 ยี่ห้อ ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคน้อยที่สุดคือ เทสโก้ เอฟเวอรี่ เดย์ แวลู 240 มก. ต่อน้ำหนัก 675 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคมากที่สุดคือ นกแพนกวินสามตัว 1,110 มก. ต่อน้ำหนัก 700 มล.3. จากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ 13 ยี่ห้อ มีเพียงยี่ห้อเดียวที่ฉลากโภชนาการระบุว่ามีโปรตีนคือ ยี่ห้อ ไก่แจ้ มีปริมาณโปรตีน 2 กรัม 4. มี 10 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณโปรตีนหรือโซเดียมได้ ได้แก่ ยี่ห้อ 1.แฮปปี้บาท 2.เด็กสมบูรณ์ (สูตรดั้งเดิม) 3.พันท้ายนรสิงห์ 4.เด็กสมบูรณ์(สูตรเข้มข้น) 5.ป้ายทอง 6. ลี่กุมกี่ แพนด้า 7.ลี่กุมกี่ ชอยซัน 8.เอช แอนด์ เอ็ม 9.ลี่กุมกี่ (โอลด์แบรนด์) และ 10.ท็อปเกรดออยสเตอร์ซอสข้อสังเกต 1. ปริมาณโซเดียมในซอสหอยนางรมโซเดียมในอาหารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของโซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงที่ใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร ให้มีรสเค็มและใช้ในกระบวนการถนอมอาหาร อย่างไรก็ตามนอกจากการใช้เกลือในรูปของเกลือแล้ว เกลือยังมีอยู่มากในเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติเค็ม เช่น นํ้าปลา ซีอิ๊ว หรือซอสปรุงรสต่างๆ ซึ่งในซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ จะมีปริมาณโซเดียม 450-610 มก. หรือเฉลี่ยที่ 518 มก. แต่จากผลทดสอบจะเห็นได้ว่าบางยี่ห้อมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าค่าเฉลี่ย หรือมากทีสุดอยู่ที่ 1,110 มก./1 ช้อนโต๊ะ การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไป หรือตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดให้ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือป่นประมาณ 6 กรัม(1 ช้อนชา)ต่อวัน โดยสำหรับผู้ที่ต้องจำกัดปริมาณโซเดียมควรบริโภคไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน หลอดเลือดสมองแตก รวมทั้งไตวายได้ 2. ปริมาณโปรตีนในซอสหอยนางรมแม้ตามมาตรฐานของมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในอาหารประเภทซอสหอยนางรม ไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานปริมาณโปรตีนไว้ แต่หอยนางรมก็เป็นอาหารทะเลที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อย่างไรก็ตามเมื่อนำมาแปรรูปเป็นซอสหอยนางรม กลับพบว่ามีเพียงยี่ห้อเดียวที่พบปริมาณโปรตีนในฉลากโภชนาการ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เกร็ดเล็กๆ ของซอสหอยซอสหอยนางรม คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเนื้อหอยนางรมมาบดให้ละเอียดแล้วทำให้สุก หรือใช้หอยนางรมสกัดหรือใช้หอยนางรมย่อยสลาย มาผสมกับเครื่องปรุงรสเช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำตาลและส่วนประกอบอื่น เช่น แป้งดัดแปร ต้มให้เดือด บรรจุในภาชนะบรรจุขณะร้อน แล้วทำให้เย็นทันทีแนะวิธีเลือกซื้อซอสหอยนางรมนอกจากเราจะสามารถเลือกซื้อหอยนางรม โดยดูจากปริมาณหอย โปรตีน หรือโซเดียมได้แล้ว ยังสามารถพิจารณาได้จากยี่ห้อที่ภาชนะบรรจุสะอาด มีฝาปิดสนิท มีสีน้ำตาลสม่ำเสมอ หรือมีฉลากภาษาไทย ซึ่งควรมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อผลิตภัณฑ์, ส่วนประกอบ, น้ำหนักสุทธิ หรือปริมาตรสุทธิ, วัน/เดือน/ปีที่หมดอายุคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้และการเก็บรักษา รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและสถานที่ตั้งข้อมูลอ้างอิง 1.http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/8_44_1.pdf      2. http://www.thaihypertension.org/files/237_1.LowSalt.pdf  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 161 วัดค่าพลังงานและโซเดียมกับอาหารเช้าสำเร็จรูป

ชีวิตที่เร่งรีบแบบในโฆษณาสารพัดอาหารเช้าสำเร็จรูป อาจสร้างภาพให้ดูสวยงามด้วยวิธีการแก้ไขปัญหาแบบง่าย คือ แค่ฉีกซองเติมน้ำร้อนก็อิ่มท้องสบายๆ แต่อย่าลืมกันนะว่าของสำเร็จรูป  มันไม่ควรเป็นคำตอบสุดท้าย ที่จริงแล้วมันควรจะเป็นแค่ตัวช่วยเฉพาะกิจเท่านั้น เพราะถ้าจัดเต็มกันทุกวัน ท่านมีปัญหาสุขภาพแน่ โซเดียมแทบไม่ต่างจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฉลาดซื้อเคยทดสอบปริมาณโซเดียมทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและโจ๊กซอง เราพบว่ามันมีค่าโซเดียมแทบไม่ต่างกัน จึงควรระวังในการบริโภค เรื่องน่ายินดีคือ การสำรวจครั้งนี้ฉลาดซื้อพบว่า โจ๊กซองหลายแบรนด์มีค่าโซเดียมลดลง เช่น มาม่า โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป รสหมู มีโซเดียม 2826 มก. /100 ก.(ฉลาดซื้อ ฉ.101)  เมื่อสำรวจซ้ำคราวนี้พบว่าลดลงมาที่ 1961 มก./100 ก.   ü ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสม แนะนำให้บริโภคประจำวันคือ ไม่เกิน 2400 มิลลิกรัม//ปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ อยู่ที่ประมาณ 1500-2000 มก. ü กินโซเดียมมากๆ ทำให้ไตและหัวใจทำงานหนัก ค่าพลังงาน โซเดียมและน้ำตาลในอาหารเช้ากึ่งสำเร็จรูป         //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 154 ขนมปังกรอบ โซเดียมที่คาดไม่ถึง

ขนมปังกรอบ หรือเรียกอย่างฝรั่งว่า แครกเกอร์(Cracker) นั้น  เป็นขนมอบกรอบอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันมากพอสมควร นิยมกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะรับประทานกับชีสต่างๆ ร่วมกับการดื่มชาหรือกาแฟ หรือเวลาจัดงานเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงค็อกเทลก็จะเห็นมีการนำมาจัดวางกับพวกผักสลัด ชีส แฮม/ไส้กรอก ทำเป็นของกินเล่นได้อีกด้วย ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มขนมปังกรอบและแครกเกอร์ในประเทศไทยมีการขยายตัวทางการตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า ปัจจุบันมูลค่าตลาดขนมปังกรอบในไทยโดยรวมปี 2554 อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วน แครกเกอร์ 38%, คุกกี้ 32% และเวเฟอร์ 30% โดยมีอัตราการเติบโตที่ 13%  แน่นอนว่าเราจะพบเห็นโฆษณาที่มากขึ้นของขนมชนิดนี้ในสื่อต่างๆ และความหลากหลายของยี่ห้อที่พบวางอยู่บนชั้นวางในซูเปอร์มาร์เก็ต เมื่อพิจารณาจากส่วนประกอบในแครกเกอร์ ซึ่งมีแป้งสาลี ไขมัน น้ำตาลและเกลือ เป็นหลักแล้ว คงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมหลายๆ คนจึงชอบแครกเกอร์ ทั้งนี้คงเพราะติดใจในรสชาติเค็มๆ มันๆ แบบ ชิ้นเดียวไม่เคยพอ แต่เมื่อลองหยิบฉลากมาดู โอ้ แคลอรีกับโซเดียมไม่เบาเลยแฮะ เห็นแผ่นบางๆ แค่ไม่กี่แผ่น ถ้าเผลอกินเพลินไปล่ะก็ ได้รับโซเดียมกระฉูดแน่   ดังนั้นก่อนหยิบแครกเกอร์กินในครั้งต่อไป โปรดเช็คฉลากสักนิดว่า พลังงานและปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าจะดูรายละเอียดก่อนไปหยิบฉวยในซูเปอร์มาร์เก็ต ฉลาดซื้อมีมาฝากในฉบับนี้ค่ะ   แครกเกอร์(ขนมปังกรอบ) บิสกิต           ความต่างของคุกกี้ บิสกิตและแครกเกอร์ ทั้งหมดต่างเป็นขนมอบ ส่วนใหญ่ทำจากแป้งสาลีลักษณะกรอบ แห้ง คุกกี้ ได้จากการแบ่งแป้งขนมเค้กที่ผสมแล้วออกมาส่วนหนึ่ง จากนั้นแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำเข้าเตาอบ (เดิม)เพื่อทดสอบอุณหภูมิที่จะใช้อบขนมเค้ก คำว่า "คุกกี้" (cookie) ใช้กันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกขนมแบบเดียวกันนี้ว่า "บิสกิต" (biscuit) ส่วน แครกเกอร์ (cracker) จะเป็นขนมปังกรอบแผ่นบางๆ แห้งๆ รสเค็มเอาไว้กินกับชีส ครีมชีส หรือทำเป็นขนมชีสเค้กต่างๆ     ความเสี่ยงของขนมปังกรอบ คุกกี้ บิสกิต แครกเกอร์ นอกจากเรื่องแคลอรีและโซเดียมที่สูง ก็คือ ไขมันทรานส์ และสารอะคริลาไมด์ (AA) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในอาหารประเภทแป้งที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนสูง   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 154 พิสูจน์ “โซเดียม” ในพิซซ่าหน้าซีฟู้ด

พิซซ่า เป็นหนึ่งในอาหารฟาสต์ฟู้ดที่นักโภชนาการออกมาเตือนอยู่เสมอๆ ว่าเป็นเมนูทำลายสุขภาพ เพราะให้ทั้งพลังงานและไขมันที่เกินความจำเป็นของร่างกาย แถมยังมีปริมาณโซเดียมสูงปรี๊ด ถือเป็นอาหารบั้นทอนสุขภาพอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในความเป็นจริง ข้อมูลงานวิจัยทั้งหลายที่พูดถึงอันตรายแฝงในพิซซ่า แทบไม่มีผลต่อความนิยมที่หลายๆ คนมีต่อเมนูอาหารสัญชาติอิตาลี ดูได้จากจำนวนร้านพิซซ่าที่เปิดขายอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่แบรนด์ดังที่แข่งขันกันขยายสาขามากมายไม่ได้หยุดหย่อน หรือจะเป็นร้านเล็กร้านน้อย ร้านรายย่อยอื่นๆ ที่นำเสนอเมนูพิซซ่ารสชาติใหม่ๆ มาเอาใจเหล่าพิซซ่าเลิฟเวอร์กันอย่างคึกคัก ตามประสาชาวฉลาดซื้อ ที่ชอบแกล้งคนอ่านด้วยการหาข้อมูลน่าตกใจมานำเสนอ เราจึงไปตระเวนเก็บ“พิซซ่า หน้าซีฟู้ด” มาทดสอบดูปริมาณโซเดียม จาก 8 ร้าน ที่เป็นที่รู้จักและนิยมของคนส่วนใหญ่ ทั้งจากร้านแบรนด์ดัง และร้านพิซซ่าสไตล์โฮมเมด เลือกตัวอย่างพิซซ่าหน้าซีฟู้ด เพราะเป็นหน้าที่ได้รับความนิยม และมีให้เลือกสั่งทุกร้าน   แสดงผลวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมในตัวอย่างพิซซ่าหน้าซีฟู้ด   *หมายเหตุ ผลการทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น   ผลทดสอบ - ค่าเฉลี่ยโซเดียมของพิซซ่าที่ทดสอบอยู่ที่ 300 – 600 มิลลิกรัมต่อพิซซ่า 100 กรัม (พิซซ่า 1 ถาด สามารถแบ่งได้ 6 – 8 ชิ้น พิซซ่า 1 ชิ้น จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 100 – 150 กรัม) ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูง เพราะหลายคนมักรับประทานพิซซ่ามากกว่าครั้งละ 1 ชิ้น (ในปริมาณที่กิน 1 มื้อ) หากนำไปรวมกับโซเดียมที่ได้จากการรับประทานอาหารมื้ออื่นๆ ใน 1 วัน ย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับโซเดียมสูงเกินความต้องการของร่างกาย - ตัวอย่างพิซซ่าที่มีปริมาณโซเดียมสูงที่สุด คือ พิซซ่าหน้าซีฟู้ดเลิฟเวอร์จากร้าน พิซซ่า พิซซ่า บาย ญาณี ที่พิซซ่าขนาด 100 กรัม มีปริมาณโซเดียมสูงถึง 759.51 มิลลิกรัม ฉะนั้นถ้าเรากินพิซซ่าแค่เพียง 1 ชิ้น (ประมาณ100 กรัม) เท่ากับเราได้รับโซเดียมไปแล้วเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนที่พอเหมาะกับร่างกายควรได้รับใน 1 วัน คำเตือน คนที่ชอบรับประทานพิซซ่า คือ ไม่ใช่แค่เฉพาะพิซซ่าเท่านั้นที่ให้ปริมาณโซเดียมสูงจนต้องรับประทานอย่างระมัดระวัง แต่ยังมีอีกหนึ่งความเสี่ยง นั้นคือ ซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสที่หลายคนคู่กับพิซซ่า ซอสมะเขือเทศอุดมไปด้วยโซเดียม ที่ฉลาดซื้อเราเคยทดสอบไว้ พบว่า ซอสมะเขือเทศ 100 กรัม มีปริมาณโซเดียมมากถึง 600 – 1,000 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ลองคิดดูซิว่า ถ้าเรากินพิซซ่า 1 ชิ้น แป้งหนาๆ หน้าเน้นๆ ที่ราดด้วยมะเขือเทศชุ่มๆ ปริมาณโซเดียมจะเข้าไปสะสมในร่างกายเรามากสักขนาดไหน   ปริมาณโซเดียมที่สะสมในร่างกายมากเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดสภาวะบวมน้ำ              มีผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือด   และการทำงานของไตปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมสำหรับคนไทย คือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน   อย่าเลย ซื้อ 1 แถม 1 คนละชิ้นก็พอ เหตุผลหนึ่งที่ทำให้พิซซ่ากลายมาเป็นเมนูอาหารฟาสต์ฟู้ดยอดนิยมของคนไทย ก็คือยุทธวิธี “ซื้อ 1 แถม 1” ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับบริการพร้อมส่งบ้าน ยิ่งทำให้ยอดขายพิซซ่าเพิ่มขึ้นแบบถล่มทลาย ส่งผลให้คนไทยเรายิ่งดื่มด่ำกับพิซซ่ากันมากขึ้น เวลาที่สั่งพิซซ่า ก็ไม่ได้มีเฉพาะเมนูพิซซ่าเท่านั้นที่เราสั่ง แต่ยังพวงเมนูอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สปาเก็ตตี้ ลาซานญ่า ผักโขมอมชีส ขนมปังกระเทียม ฯลฯ ซึ่งเกือบทุกอันอุดมด้วยไขมันและโซเดียมถ้าหากรับประทานพร้อมๆ กัน คาดว่าน่าจะเกินปริมาณที่ควรบริโภคต่อวันไปมากแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ายังรักสุขภาพของตัวเอง สัก 1 ชิ้นเวลาอยากรับประทานก็น่าจะเพียงพอ   พิซซ่า กินแล้วอ้วน ผลการวิจัยเรื่องคุณค่าสารอาหารในพิซซ่าหน้าซีฟู้ดขอบชีสไส้กรอกและแฮม โดย ผศ.ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช และคณะ เมื่อปี 2549 พบว่า พิซซ่า 1 ชิ้น (139 กรัม) ให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 38.7 พลังงานจากโปรตีน ร้อยละ 22.3 พลังงานจากไขมัน ร้อยละ 39 แต่สัดส่วนพลังงานที่แนะนำใน 1 วัน คือ คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 55-65, โปรตีน ร้อยละ 10-15 และไขมัน ร้อยละ 25-30 มูลค่าการตลาดของพิซซ่าในบ้านเรา ปัจจุบันสูงถึง 6,400 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7 – 8% โดยเจ้าที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด คือ เดอะพิซซ่า คอมปะนี ที่ 70% รองลงมาคือ พิซซ่าฮัท 20% อีก 10% ที่เหลือเป็นเจ้าอื่นๆ ที่มา : “สงครามราคา "พิซซ่า" ระอุ "โดมิโน่ส์" ท้าชิง "พิซซ่าฮัท”” ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 20 ก.พ. 56, “เดอะพิซซ่าทั่วไทยอีก 3 ปี เพิ่มงบแคมเปญเด็ด 20%” ผู้จัดการออนไลน์ 22 ก.พ.56   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 127 โซเดียมในปลากระป๋อง

  ปลากระป๋องถือเป็นอีกหนึ่งอาหารที่อยู่คู่ครัวคนไทย ยิ่งในยุคที่ข้าวยากหมากแพง หมูแพง ผักแพง น้ำมันก็แพง จะซื้อหาอะไรมาทำกับข้าวก็ปวดหัวปวดใจ จะกินอะไรก็ต้องคิดแล้วคิดอีกเป็นห่วงเงินในกระเป๋า ปลากระป๋องนี่ล่ะ เป็นทางเลือกสำหรับคนงบน้อยแต่อร่อยแล้วก็อิ่มด้วย ในยามยากปลากระป๋องยังเป็นที่พึ่งพาสำหรับผู้ประสบภัยต่างๆ  ในเวลาที่บ้านเมืองเจอภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วม ดินถล่ม หรือแม้แต่คนที่เดินทางไกล เข้าป่าฝ่าดง ซึ่งการหุงหาอาหารกินเองเป็นเรื่องลำบาก ปลากระป๋องและรวมถึงอาหารกระป๋องชนิดอื่นๆ นับเป็นตัวช่วยที่ดี เพราะจะเปิดกินเมื่อไหร่ก็ได้สะดวกสบาย แถมเก็บไว้ได้นานเป็นปี ที่สำคัญคือราคาไม่แพงมาก แต่ปลากระป๋องก็คืออาหารแปรรูปชนิดหนึ่ง คุณค่าทางอาหารที่มีก็ต้องสูญเสียไปตามขั้นตอนการผลิต เรียกว่าเทียบไม่ได้กับอาหารที่ทำสดๆ ใหม่ๆ แถมถ้ากินมากเกินไปร่างกายของเราก็มีสิทธิเสี่ยงโรคร้ายทั้ง โรคไต โรคหัวใจ ความดัน จาก “โซเดียม” ที่มีอยู่ในปลากระป๋อง   ปลากระป๋องถือเป็นอาหารที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรม ผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งขายออกไปทั่วโลก โรงงานผลิตปลากระป๋องในบ้านเราก็จะตั้งอยู่ในจังหวัดที่อยู่ใกล้หรือติดกับทะเล โดยเฉพาะหลายจังหวัดในภาคใต้ รวมถึงจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใกล้กับทรัพยากรในการผลิต ส่วนประกอบหลักๆ ในการผลิตปลากระป๋องก็คือ ปลา ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาทูน่า แต่ผู้ผลิตบางรายก็เลือกใช้ปลาทูแขกหรือปลาทูลังแทนปลาซาร์ดีน เพราะปลาซาร์ดีนหายากมากในทะเลบ้านเรา ซึ่งปลาทูแขกหรือปลาทูลังก็จัดอยู่ในสายพันธุ์เดียวกันกับปลาซาร์ดีน ส่วนประกอบถัดมาที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ซอสปรุงรส ที่นิยมกันมากๆ ก็คือ ซอสมะเขือเทศ น้ำมัน หรือน้ำกลือ แต่เดี๋ยวนี้ก็พัฒนาดัดแปลงทำเป็นสูตรแกงต่างๆ ทั้ง พะแนง มัสมั่น แกงเขียวหวาน ฉู่ฉี่ เป็นการเพิ่มรสชาติใหม่ๆ ไม่จำเจอยู่แค่ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ และอย่างสุดท้ายก็คือ กระป๋อง ทำจากดีบุกหรืออะลูมิเนียมซึ่งกระป๋องที่ใช้สำหรับบรรจุอาหารส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี----------------------------------------------- ผลทดสอบปริมาณโซเดียมในปลากระป๋อง +ฉลาดซื้อสุ่มตัวอย่างปลากระป๋องที่ขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดจำนวน 18 ยี่ห้อ แบ่งเป็น ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ 12 ยี่ห้อ และปลาแมคเคอเรลในซอสมะเขือเทศอีก 6 ยี่ห้อ + Thai RDI (Thai Recommended Daily Intakes) แนะนำปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมกับการบริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม  +ซูเปอร์ซีเชฟ ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ พบมีปริมาณโซเดียมต่อ 1 กระป๋องมากที่สุดคือ 823.05 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณที่แนะนำในการบริโภคต่อวัน ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง เพราะอย่าลืมว่าอาหารเกือบทุกอย่างที่รับประทานในแต่ละวันที่โซเดียมเป็นส่วนประกอบเกือบทุกชนิดมากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอาหารจานหลักต่างๆ ที่ต้องมีการเติมเครื่องปรุงรส ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา ซีอิ้ว ให้โซเดียมสูง น้ำปลาหรือซีอิ้ว 1 ช้อนชามีโซเดียมประมาณ 350 – 500 มิลลิกรัม นี่ยังไม่รวมพวกขนมขบเคี้ยวต่างๆ ที่หลายๆ ชอบรับประทานเป็นอาหารว่าง ซึ่งมีโซเดียมอยู่สูงเช่นกัน  +ส่วนประกอบหลักของปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศก็คือ ปลาและซอสมะเขือเทศ ซึ่งในซอสมะเขือเทศนั่นแหละที่เป็นแหล่งของโซเดียม นอกจากนี้ผู้ผลิตเค้ายังมีการเติมทั้งเกลือและโมโนโซเดียมกลูตาเมต ที่ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งของโซเดียมอีกด้วย +เพราะคนไทยเราพิถีพิถันในเรื่องอาหารการกิน ปลากระป๋องก็เลยต้องเอามาปรุงใหม่เพื่อให้อร่อยถูกใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่นำปลากระป๋อ งมาอุ่นร้อนก่อนรับประทาน เมนูยอดฮิตก็ต้องให้ต้มยำปลากระป๋อง แต่ต้องระวังเวลาปรุงรสด้วยนะอย่าให้เค็มเกินไป เพราะปลากระป๋องก็มีโซเดียมสูงอยู่แล้ว เติมโซเดียมจากน้ำปลาเข้าไปอีกจะยิ่งอันตราย  +อีกเมนูปลากระป๋องสุดโปรดของหลายๆ คนก็คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกับปลากระป๋อง เพราะแค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง ก็มีโซเดียมอยู่ถึง 1,500 – 1,800 มิลลิกรัม ถ้ารวมกับปลากระป๋องเข้าไปอีก รับรองโซเดียมพุ่งปี๊ดแน่นอน โปรดระวัง+อายุของปลากระป๋องจะอยู่ที่ 2 ปี แต่ปลากระป๋องที่เก็บไว้นานๆ หรือใกล้วันหมดอายุก็ไม่ควรรับประทาน เพราะยิ่งนานๆ เนื้อปลาก็จะยิ่งเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ   วิธีเลือกซื้อปลากระป๋อง+ต้องมีฉลากแสดงข้อมูล ชื่ออาหาร ชื่อ - ที่อยู่ผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ส่วนประกอบ ข้อมูลโภชนาการ ที่สำคัญที่สุดคือฉลากต้องเป็นภาษาไทย  +ดูความเรียบร้อยของกระป๋อง ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ กระป๋องต้องไม่บุบหรือบวม หรือมีรอยขีดข่วน ต้องเช็คดูตามตะเข็บของกระป๋องว่าไม่มีรอยรั่วซึม ซึ่งอาจทำให้อากาศและเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปในกระป๋องทำให้อาหารเน่าเสีย ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากขั้นตอนการขนส่งหรือจัดเก็บ ส่วนการที่กระป๋องบวมอาจมีสาเหตุจากขั้นตอนการไล่อากาศออกไม่หมด ทำให้ยังมีออกซิเจนหลงเหลืออยู่ในกระป๋องซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับสารเคลือบในกระป๋องทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนทำให้กระป๋องบวม  +ลักษณะของกระป๋องที่ดีต้องมีลักษณะมันแวววาว ไม่มีรอยผิดปกติบนพื้นผิวกระป๋องทั้งภายนอกและภายใน +เมื่อเปิดกระป๋องแล้ว กลิ่นและสีของอาหารต้องอยู่ในลักษณะปกติ ไม่ผิดเพี้ยน สีไม่คล้ำ ไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้าหากเปิดกระป๋องออกมาแล้วดูน่าสงสัยก็ไม่ควรรับประทาน +ปลากระป๋องควรนำไปใส่ในภาชนะอุ่นให้ร้อนอีกครั้งก่อนรับประทาน หรือถ้าเปิดแล้วกินไม่หมด ควรเทเปลี่ยนใส่ในภาชนะอื่น แล้วนำไปแช่ในตู้เย็น ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศทำปฏิกิริยากับสารเคลือบที่อยู่ในกระป๋อง +ส่วนเรื่องการเก็บรักษานั้นต้องเก็บในอุณหภูมิห้อง อย่าเก็บในที่ที่มีอากาศร้อน เพราะจะทำให้อาหารที่อยู่ในกระป๋องเน่าเสียได้ ยิ่งถ้าอากาศร้อนหรืออยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูงมากๆ กระป๋องอาจระเบิดได้---------------------------------------------------------   ปลาซาร์ดีน เป็นชื่อเรียกของปลาขนาดเล็กมีหลากหลายสายพันธุ์ คำว่าซาร์ดีนมาจากชื่อเกาะซาร์ดีเนียซึ่งอยู่ในทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปลาซาร์ดีนอุดมสมบูรณ์ ปลาซาร์ดีนเป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก มีโอเมก้า – 3 ที่ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ แถมยังมีวิตามินดี วิตามินบี 12 และโปรตีน ส่วน ปลาแมคเคอเรล เป็นปลาที่อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลาซาร์ดีนแต่ว่าจะมีขนาดใหญ่กว่า ปลาทูก็อยู่ในสายพันธุ์เดียวกันกับปลาแมคเคอเรล ทั้งปลาซาร์ดีนและปลาแมคเคอเรลถือเป็นสัตว์ลำดับแรกๆ ในห่วงโซ่อาหาร ทำให้การปนเปื้อนของปรอทที่มักพบในอาหารทะเลมีค่อนข้างน้อย   คนไทยชอบกินปลากระป๋องอะไรกัน?ปลาซาร์ดีน 67%ปลาแมคเคอเรล 18%ปลาทูน่า 12% อื่นๆ 3% ข้อมูลจาก บทความเรื่อง “ผลวิจัย Most Admired & Why We Buy 2008” นิตยสาร brandage มกราคม 2551   ชื่อสินค้า ปริมาณ ราคา ผู้ผลิต ส่วนประกอบ ปริมาณโซเดียม / 1 กระป๋องตามที่แจ้งในฉลาก (มิลลิกรัม) ผลทดสอบ ข้อมูลโภชนาอื่นๆ ที่ระบุบนฉลาก มีที่เปิดแบบฝาดึง ปริมาณโซเดียม / 100 กรัม(มิลลิกรัม) ปริมาณโซเดียม เมื่อเทียบ / 1 กระป๋อง (มิลลิกรัม) ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ 1.ซูเปอร์ซีเชฟ น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไอ.เอส.เอ.แวลู จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศเข้มข้น 35% เกลือแกง 2.5% น้ำมันถั่วเหลือง 1.5% น้ำ 1% 780 มก. 531 มก. 823.05 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 2.รูปสามเหลี่ยม น้ำหนักเนื้อ 75 กรับ น้ำหนักสุทธิ 125 กรัม 14 บ. บ.เจริญอุตสาหกรรม จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 32% อื่นๆ 8% ไม่ระบุ 497 มก. 621.25 มก. เจือสี ไม่มี 3.ซูมาโก น้ำหนักเนื้อ 75 กรับ น้ำหนักสุทธิ 125 กรัม 15 บ. บ.เจริญอุตสาหกรรม จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 32% อื่นๆ 8% ไม่ระบุ 494 มก. 617.5 มก. เจือสี ไม่มี 4.บิ๊กซี น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 37% น้ำมันถั่วเหลือง 2% เกลือ 1% 700 มก. 443 มก. 686.65 มก. ไม่ระบุ ไม่มี 5.ตราแฮปปี้มาก น้ำหนักเนื้อ 87 กรัม น้ำหนักสุทธิ 145 กรัม   บ.ทูพลัส ฟู้ด อินดัสเตรียล จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทส 38% น้ำตาล 1% เกลือ 1% ไม่ระบุ 430 มก. 623.5 มก. เจือสีธรรมชาติ ไม่มี 6.ซีเล็ค น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 37% น้ำมันถั่วเหลือง 2% เกลือ 1% ไม่ระบุ 424 มก. 657.2 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 7.แม็กกาแรต น้ำหนักเนื้อ 90 กรัม น้ำหนักสุทธิ 140 กรัม 11 บ. บ.วี เค แฟคตอรี่ จำกัด ปลาซาร์ดีน 65% ซอสมะเขือเทศ 30% น้ำมันถั่วเหลือง 4.6% ผงชูรส 0.1% ไมระบุ 394 มก. 551.6 มก. ไมระบุ ไม่มี 8.ซีคราวน์ น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 14.50 บ. บ.สมุยฟูดส์ จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 27% เกลือ 1% 760 มก. 392 มก. 607.6 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต มี 9.ท๊อปส์ น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 15 บ. บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 39.95%   700 มก. 378 มก. 585.9 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต, ไดโซเดียม 5 กัวไนเลต, ไดโซเดียม 5 ไอโนชิเดต มี 10.สามแม่ครัว น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.รอยัลฟู้ดส์ จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศเข้มข้น 36.47% เกลือ 1.14% น้ำตาล 0.72% 800 มก. 374 มก. 579.7 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต มี 11.โฮม เฟรช มาร์ท น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 13.50 บ. บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 37% น้ำมันถั่วเหลือง 2% เกลือ 1% ไม่ระบุ 348 มก. 539.4 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 12.อะยัม น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 28 บ. บ.ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องสยาม จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 36% น้ำมันถั่วเหลือง 2.9% เกลือ 1% 700 มก. 330 มก. 511.5 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย, ผงชูรส ไม่เจือสี มี ปลาแมคเคอเรลในซอสมะเขือเทศ 13.ไฮคิว น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ปลาแมคเคอรเล 65% ซอสมะเขือเทศ 30% เกลือ 2.50% น้ำมันปาล์ม 2.50% 600 มก. 484 มก. 750.2 มก. ไม่เจือสี ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 14.ตราคุ้มค่า เทสโก้ น้ำหนักเนื้อ 87 กรัม น้ำหนักสุทธิ 145 กรัม   บ.สมุยฟู้ดส์ จำกัด ปลาแมคเคอเรล 60% ซอสมะเขือเทศ 6% เกลือไอโอดีน 1% 620 มก. 456 มก. 661.2 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมท เจือสีธรรมชาติ ไม่มี 15.โรซ่า น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไฮคิว แคนนิ่ง (ปัตตานี) จำกัด ปลาแมคเคอเรล 65% ซอสมะเขือเทศ30% เกลือ 2.5% น้ำมันปาล์ม 2.5% 540 มก. 447 มก. 692.85 มก. ไม่เจือสี ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 16.นกพิราบ น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 13.50 บ. บ.สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958) จำกัด ปลาแมคเคอเรล 60% ซอสมะเขือเทศ 38% เกลือแกง 1.1% กัวร์กัม 0.5% 490 มก. 444 มก. 688.2 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 17.ปุ้มปุ้ย   น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 13 บ. บ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ปลาแมคเคอเรล 60% ซอสมะเขือเทศ 37% น้ำมันถั่วเหลือง 1.6% เกลือ 1.4% 680 มก. 438 มก. 678.9 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่ใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร มี 18.ทีซีบี น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 14.25 บมจ.ทรอปิคอล เคนนิ่ง (ประเทศไทย) ปลาแมคเคอเรล 66% ซอสมะเขือเทศ 30.8% น้ำมันถั่วเหลือง 2.6% เกลือ 0.6% 580 มก. 360 มก. 558 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี   ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น ทดสอบโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 91 ปลาเส้นปรุงรส รสยิ่งเข้มยิ่งมีปัญหา

ปลาเส้นปรุงรส เป็นอาหารว่างอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันมาก โดยเฉพาะเด็กๆ และสาวกลัวอ้วนทั้งหลาย เพราะนักโฆษณาเขานำจุดขายไขมันต่ำ โปรตีนสูงมาเรียกความสนใจจากผู้บริโภค เพื่อให้แทนที่ขนมขบเคี้ยวที่มีทั้งแป้ง น้ำตาลและไขมัน ซึ่งล้วนส่งเสริมความอ้วนและโดนโจมตีหนักว่าทำให้เด็กไทยกลายเป็นเด็กอ้วน แต่…ข้อด้อยสำคัญของปลาเส้นปรุงรส ที่ถูกละเลยไปจากโฆษณาคือ ปริมาณโซเดียมที่สูงจนน่าเป็นห่วง ยิ่งประเภทรสจัดจ้าน รสเข้มข้นยิ่งมีปัญหา หลายคนอาจมองว่า ปลาเส้นก็เป็นอาหารว่างประเภทหนึ่ง มันคงไม่มีอะไรนักหนา อย่าประมาทไปนะ ถ้าลองพลิกดูฉลากด้านหลังซองแล้วเพ่งมองดูปริมาณโซเดียมตรงฉลากโภชนาการสักนิด จะรู้สึกถึงความไม่ธรรมดาของมัน เพราะอาหารชนิดนี้มีปริมาณโซเดียมสูงมากๆ ความจริงแล้วถ้ามีการระบุทุกฉลากก็น่าจะดีใช่ไหมคะ เพราะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจให้ผู้บริโภคได้ แต่บางฉลากก็ละเลยไม่มีรายละเอียดอะไรเลย นอกจากแสดงวิธีกินและการดัดแปลงเป็นอาหารแบบต่างๆ ฉลาดซื้อเลยนำผลิตภัณฑ์ปลาเส้นปรุงรส ยี่ห้อยอดนิยมบวกด้วยยี่ห้อของห้างสรรพสินค้าที่เรียกว่า โลคอลแบรนด์ มาทดสอบหาปริมาณโซเดียม พร้อมกับปริมาณโปรตีนที่อ้างว่ามีสูง และแถมด้วยผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันได้แก่ ปลาหมึกปรุงรส อีก…  ตัวอย่างเพราะเห็นว่ามีคนนิยมชมชอบไม่แพ้กัน ผลทดสอบปริมาณโปรตีนและโซเดียมในผลิตภัณฑ์ ปลาเส้นปรุงรสและปลาหมึกปรุงรส 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 สาหร่ายทะเลอบกรอบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านนิตยสารฉลาดซื้อทุกท่าน พบกันอีกครั้งกับหนังชีวิตเรื่องยาวของการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภค ฉบับก่อนผมนำเสนอข้อมูลผลการทดสอบนมโรงเรียนไป ก็ปรากฎว่ายังมีปัญหาอยู่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะนมโรงเรียนประเภทพาสเจอร์ไรส์ และจนถึงขณะนี้เราได้เก็บตัวอย่างเพิ่มอีกสองครั้งแล้ว ไว้คอยติดตามผลกันนะครับ ส่วนในฉบับนี้ผมขอนำเสนอทุกท่านด้วยเรื่อง สาหร่ายอบกรอบ ของกินเล่นอาหารว่างเทรนด์ใหม่มาแรง สาหร่ายทะเลอบกรอบ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ด้วยว่ามีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ที่มากมาย จัดเป็นแหล่งอาหารที่มีไอโอดีนและแร่ธาตุอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูง แต่ว่าไม่มีอะไรดีไปทั้งหมด สาหร่ายทะเลพบแร่ธาตุอาหารที่ดีมากก็จริง แต่ก็พบสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพด้วยครับ จากการเฝ้าระวังเรื่องการปนเปื้อนของสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในสาหร่ายทะเลในอดีตพบว่า ปัญหาสำคัญที่พบในสาหร่ายทะเลกินเล่นก็คือ การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายในปริมาณที่น่ากังวลครับ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลอบกรอบครั้งนี้ จึงเน้นที่การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ตะกั่ว อะฟลาท็อกซินและปริมาณของโซเดียมครับ การเก็บตัวอย่าง เราสุ่มเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 21 ตัวอย่าง 18 ยี่ห้อ จากพื้นที่ 8 จังหวัดดำเนินงาน โดยมีรายชื่อยี่ห้อสินค้าดังนี้ ซาลิมิ รสเข้มข้น (2 ตัวอย่าง), ซีเฟรนด์, แมกซ์, เทสโก้, ซันวา, ชนิชา, คุณฟิล์ม (2 ตัวอย่าง คือรสดั้งเดิมและรสต้มยำ), ตะวันแดง, โชกุเนะ (รสต้มยำ), ซีลีโกะ (รสต้นตำรับ), แม่โจ้, เถ้าแก่น้อย ( 2 ตัวอย่าง, Japanese panda, ชุมชนวัดแจ้ง, คาบูกิ, BI-NO ZAMBAI, A.JINTSUKE NORI, และ ยังบัน   ผลการทดสอบ1. พบเชื้อ อะฟลาท็อกซินเล็กน้อย ในผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากจังหวัดสงขลา 2 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ A.JINTSUKE NORI ที่ปริมาณ 0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อ ยังบัน ที่ปริมาณ 0.11 ไมโครกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 2. สาหร่ายเกือบทุกตัวอย่างที่ตรวจหาสารตะกั่ว (19 ตัวอย่าง) พบว่ามีตะกั่วสะสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.162 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีสาหร่ายยี่ห้อใดมีค่าเฉลี่ยสูงเกินค่าตะกั่วสูงสุดที่รับได้ตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม :ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 3. พบแคดเมียมปนเปื้อนในทุกตัวอย่างที่ตรวจ (19 ตัวอย่าง) และทุกตัวอย่างมีค่าแคดเมียมสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานสากล (CODEX) 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบอยู่ที่ 2.323 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และมีตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง (7 ยี่ห้อ) มีค่าแคดเมียมสูงกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 6.91 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เถ้าแก่น้อย 5.368 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, A.JINTSUKE NORI 4.551 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เทสโก้ 3.99 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, แมกซ์ 3.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ซันวา 2.95 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, และ ซาลิมิรสเข้มข้น จำนวน 2 ตัวอย่าง พบค่าแคดเมียมที่ 2.91 และ 2.399 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ข้อสังเกตจากการทดสอบเราได้ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในผลิตภัณฑ์สาหร่ายที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และ จังหวัดเชียงใหม่ โดยพบสารเคมีกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต ชนิด Ethion ในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเถ้าแก่น้อยที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังพบสารเคมีและกลุ่ม Organophosphorus ชนิด Triazophos กับ Triphenyl phosphate ในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบในตัวอย่างทั้งสองที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงใหม่ นั้นถือว่าอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก คือไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ สาหร่ายทะเลอบกรอบ อย่างไรก็ยังจัดว่าเป็นของกินเล่นที่ดี เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ให้ระวังอย่ารับประทานมากเกินไป กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ นะครับ เพราะหนึ่ง รสชาติเค็ม จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูง สองจากการทดสอบจะเห็นว่า มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณค่อนข้างสูง แม้เมื่อเทียบในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอาจจะถือว่าเล็กน้อย แต่เราก็ไม่ควรสะสมสารโลหะหนักในร่างกายให้มากไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในภายหลังครับ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เรื่องน่ารู้เกี่ยวแคดเมียมแคดเมียม คือโลหะที่เป็นเงาวับใช้ทำสิ่งของต่างๆ เช่น เส้นลวด กันชนรถยนต์ และกิจการอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มีประมาณร้อยละ 50 ใช้ในการเคลือบเงาด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electroplated coating จะได้ผิวโลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมเป็นเงางามและทนต่อการกัดกร่อนไม่เป็นสนิม โลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมจะใช้ในอุปกรณ์รถยนต์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนของเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ รวมไปถึงน๊อตและสกรูด้วย นอกจากนั้นโลหะเคลือบแคดเมียมยังใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น และอื่นๆ อีกมากมาย จากการใช้อย่างกว้างขวางทำให้พบโลหะแคดเมียมปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และในอาหารที่คนเรากินโดยทั่วไป ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้รับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายได้หลายทางโดยไม่รู้ตัว เช่น คนงานที่ทำงานใช้โลหะแคดเมียมจะได้รับทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วๆ ไปจะได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย ขึ้นกับความสะอาดของอากาศ แต่คนที่สูบบุหรี่จะได้รับโลหะแคดเมียมจากบุหรี่มากพอสมควร แคดเมียมในอาหาร จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตอาหารและการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อมซึ่งเข้าไปปนอยู่ในน้ำและในดิน บริเวณใดที่มีโลหะแคดเมียมในดินสูงและมีการปลูกพืชบริเวณนั้น จะมีปริมาณแคดเมียมในพืชนั้นสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณตอนใต้ของการทำเหมืองแร่ จะมีโลหะแคดเมียมถูกชะลงมาตามน้ำและสะสมในดิน เมื่อปลูกข้าวในบริเวณนั้นจะพบว่ามีปริมาณของแคดเมียมในข้าวสูงมาก จนทำให้คนญี่ปุ่นที่รับประทานข้าวจากบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคพิษจากแคดเมียม กันมากมาย เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นตัวพาแคดเมียมไปสะสมในที่ต่างๆ ถ้ายิ่งน้ำฝนที่เป็นกรดด้วยก็จะเพิ่มปริมาณการสะสมแคดเมียมในดิน พืชจึงดูดไปสะสมได้มากขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยในการได้รับแคดเมียมไว้ว่า คนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกิน สัปดาห์ละ 0.40 - 0.50 มิลลิกรัม ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   พิษของ แคดเมียมและโรคที่เกิดขึ้นการได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้ เกิดพิษเฉียบพลันได้ แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง โดยการได้รับแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคที่เกิดอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ผู้ที่มีความเสี่ยงมากคือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก 2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไตซึ่งจะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไตก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ว่าจะไม่ได้รับแคดเมียมต่อไปแล้ว แต่ไตก็ยังไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาดังเดิมได้ 3. โรคกระดูก แคดเมียมทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมออกมาในปัสสาวะสูง และอาจมีแคดเมียมเข้าไปสะสมในกระดูกทำให้กระดูกพรุน และมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการปวดกระดูกสะโพก เช่นที่เกิดกับชาวญี่ปุ่นที่เมืองฟูซู ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเรียกโรคนี้ว่า อิไตอิไต (itai itai) หรือ เอาซ์ เอาซ์ (ouch ouch) 4. โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ พบว่าแคดเมียมทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นมากและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมกันกับโรคไตดังที่กล่าวมาแล้ว 5. โรคมะเร็ง มีข้อมูลการศึกษาติดตามคนงานที่ทำงานสัมผัสกับแคดเมียม เช่น โรงงานทำแบตเตอรี่แห้งขนาดเล็ก พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด สูงกว่าคนทั่วไปและอาจมีผลต่อการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งของต่อมลูกหมากด้วย   ตารางผลทดสอบสาหร่ายอบกรอบกินเล่น   มาตรฐาน Aflatoxin  (µg/kg) < 20 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Lead (mg/kg) < 1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Cadmium (mg/kg) ประเทศไทยยังไม่กำหนด ส่วนมาตรฐานของโคเด็กซ์ กำหนดไว้ ไม่เกิน 0.2 mg/kg     สาหร่ายอบกรอบปรุงรส     วันผลิต/ วันหมดอายุ % Salt Aflatoxin Lead Cadmium Yeast Mold     (µg/kg) (mg/kg) (mg/kg) (cfu/g) (cfu/g)   ซาลิมิ รสเข้มข้น 03-08-2009/03-08-2010 5.27 Not detected 0.363 2.91 < 10 3 X 10 กรุงเทพ ซีเฟรนด์ 25-03-2010 2.88 Not detected 0.074 0.342 < 10 < 10   แมกซ์ 30-09-2010 4.35 Not detected 0.245 3.04 < 10 < 10   เทสโก้ 09-09-09/09-10-10 4.74 Not detected 0.287 3.99 < 10 < 10   ซันวา ไม่ทราบ 5.28 Not detected 0.221 2.95 < 10 < 10 สมุทร ชนิชา ไม่ทราบ 1.51 Not detected 0.097 1.26 < 10 < 10 สงคราม คุณฟิลม์ ไม่ทราบ 1.01 Not detected 0.032 1.32 < 10 < 10   ตะวันแดง ไม่ทราบ 4.72 Not detected 0.078 1.17 < 10 < 10   คุณฟิล์ม (รสต้มยำ) 16/07/09 16/01/10 1.41 Not detected 0.2 0.65 < 10 13 ขอนแก่น โชกุเนะ (รสต้มยำ) 8/5/2009 08/03/10 1.46 Not detected 0.07 0.54 13 10   ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 11/4/2009 11/04/10 2.94 Not detected 0.16 6.91 < 10 10 เชียงใหม่ แม้โจ้ ไม่แสดงวันหมดอายุ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 15 พะเยา เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 < 10   Japanese panda ไม่ทราบ 0.7 Not detected Not detected 1.33 < 10 สตูล เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ 3.34 Not detected 0.297 5.368 < 10   ชุมชนวัดแจ้ง ไม่ทราบ 2.32 Not detected 0.053 1.238 < 10   คาบูกิ ไม่ทราบ 2.85 Not detected 0.2 1.872 < 10   BI-NO  ZAMBAI ไม่ทราบ 3.01 Not detected 0.113 1.565 < 10   A.JINTSUKE NORI ไม่ทราบ 2.74 0.08 0.203 4.551 < 10 สงขลา ยังบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 กระแสต่างแดน

รับประกันความเหนียว ในครึ่งแรกของปี 2013 ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร ที่คนอังกฤษร้องเรียนบ่อยที่สุดคือเรื่องที่เกี่ยวกับ “การประกันเงินกู้” ธนาคารและบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่อังกฤษนิยมขายบริการเงินกู้พ่วงกับการประกัน ด้วยเงื่อนไขว่าจะรับผิดชอบจ่ายหนี้ให้ในกรณีที่ผู้กู้ไม่สามารถทำงานได้ แต่เมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยกลับไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไร เพราะบรรดาข้อยกเว้นยุบยิบที่แนบท้ายมาในกรมธรรม์นั่นเอง ผู้ตรวจการด้านการเงินการธนาคารของอังกฤษบอกว่า ในบรรดาเรื่องร้องเรียน 327,000 เรื่องที่ส่งเข้ามา มีถึงร้อย 86 ที่เป็นกรณีธนาคารเบี้ยวเงินชดเชย หรือไม่ก็ถ่วงเวลาให้ผู้เอาประกันต้องรอโดยไม่จำเป็น   รายงานดังกล่าวระบุว่า 1 ใน 3 เป็นการร้องเรียนพฤติกรรมของสถาบันการเงินในกลุ่ม Lloyds Banking Group โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารแห่งสกอตแลนด์ ที่มีคนร้องเรียนมากกว่า 58,000 ราย และที่ถูกร้องเรียนมากเป็นอันดับสองได้แก่ บาร์เคลย์ ด้วยเรื่องร้องเรียนกว่า 44,000 เรื่อง ผู้ตรวจการฯ พบว่าบริษัทเหล่านี้ตั้งเงินสำรองสำหรับการประกันเหล่านี้ไว้ถึง 18,000 ล้านปอนด์ แต่ก็ยังปฏิเสธการให้เงินชดเชยกับผู้เอาประกันแม้ในกรณีที่สมควรจ่าย และที่สำคัญ 1 ใน 3 ของกรณีขอรับการชดเชยที่ถูกปฏิเสธไปนั้น เมื่อตรวจสอบดูแล้วพบว่าเข้าข่ายการได้รับเงินชดเชยด้วย ยังดีตรงที่ในการยื่นเรื่องกับผู้ตรวจการนั้น เขากำหนดให้ธนาคาร/บริษัทที่ขายประกัน เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย 550 ปอนด์ต่อเรื่องร้องเรียน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะได้รับผลการพิจารณาว่าธนาคาร/บริษัทต้องรับผิดชอบหรือไม่ ค่อยยังชั่ว ... นึกว่าต้องซื้อประกันเพื่อความมั่นใจว่าประกันเงินกู้ที่ซื้อไว้จะจ่ายค่าชดเชยให้เราอีกด้วยนะนี่   ถูกไป..ไม่กล้าซื้อ ในห้างเมโทรของเวียดนาม ส้มนำเข้าจากออสเตรเลียขายในราคาเพียงกิโลกรัมละ 50,999 ดอง(75 บาท) แอปเปิ้ลจากอเมริกาก็กิโลกรัมละ 44,900 ดอง(66 บาท) เท่านั้น แต่กลับไม่เป็นที่นิยมเพราะผู้บริโภคไม่แน่ใจว่ามันมาจากไหนกันแน่ เป็นที่รู้กันทั้งประเทศว่าเวียดนามมีกฎระเบียบการนำเข้าผลไม้ที่เข้มงวด ซึ่งกำหนดให้มีการตรวจสอบเพื่อหาแมลง โรคระบาด หรือสารเคมีตกค้างต่างๆ ราคาผลไม้นำเข้าที่นั่นจึงค่อนข้างแพง กระทรวงการเกษตรและการพัฒนาชนบท ยืนยันว่าปัจจุบันผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศตะวันตกนั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่เห็นขายกันอยู่ตามท้องถนนส่วนใหญ่เป็นการลักลอบนำเข้า ที่สำคัญข่าวเขาบอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของผลไม้นำเข้า เพราะแม้แต่สมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนามเองก็แสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลไม้ส่งออกเท่านั้น ถ้าอยากรู้ก็ต้องอาศัยข้อมูลจากภายนอก แอปเปิ้ลส่วนใหญ่ที่ขายในเวียดนามมาจากจีน โดยอ้างอิงตัวเลขของจีนที่ระบุว่ามูลค่าการส่งออกแอปเปิ้ลมาเวียดนามในระหว่างปี 2008 -2010 อยู่ที่ 53 ล้านเหรียญ ในขณะที่ตัวเลขจากอเมริกามีเพียง 8 ล้านเหรียญเท่านั้น   แบรนด์นั้นสำคัญแต่ ... การสำรวจความเห็นของคน 134,000 คน ทั่วโลก โดย Havas Media Group พบว่า ผู้บริโภคไม่รู้สึกอาลัยอาวรณ์นัก ถ้าร้อยละ 73 ของแบรนด์ต่างๆ ที่มีอยู่นั้นจะหายไปจากโลกนี้ และพวกเขาเชื่อว่ามีเพียง 1 ใน 5 ของแบรนด์เหล่านี้เท่านั้นที่ทำให้คุณภาพชีวิตผู้บริโภคดีขึ้นจริงๆ ถ้าเจาะดูเฉพาะคนยุโรป จะเห็นว่าค่อนข้างโหดทีเดียว พวกเขาเชื่อว่ามีเพียงร้อยละ 5 ของแบรนด์เท่านั้นที่ทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้น และก็ไม่แคร์แม้ว่าร้อยละ 93 ของแบรนด์ที่มีอยู่จะหายไป มีเพียง 1 ใน 5 ของคนยุโรปและ 1 ใน 4 ของคนอเมริกันเท่านั้น ที่เชื่อว่าแบรนด์เหล่านี้สื่อสารกับตนเองด้วยความจริงใจเวลาที่ให้คำมั่นสัญญาหรือประกาศเจตนารมณ์ใดก็ตาม เจ้าของแบรนด์อาจจะอยากทบทวนการใช้งบประมาณหลายพันล้านปอนด์ที่ทุ่มเทให้กับการสร้างแบรนด์ แล้วหันมาเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมแทน เพราะตัวเลขจากตลาดหุ้นยืนยันว่าบริษัทที่แสดงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมได้ชัดเจน จะมีผลประกอบการที่สูงกว่าด้วย ที่น่าสนใจคือผู้บริโภคเชื่อว่าแบรนด์สามารถมีบทบาทในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเพิ่มสุขภาวะของพวกเขา  คนยุโรปและอเมริกากว่าครึ่งก็เห็นด้วย แต่ในปัจจุบันแบรนด์เหล่านี้ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังดังกล่าวได้   เหมือนเดิม .. โซเดียมด้วย ด้วยกระแสกดดันให้ลด ละ เลิก อาหารที่มีไขมัน เกลือหรือน้ำตาลสูง ทำให้เราคิดไปว่าบรรดา ร้านอาหารจานด่วนรายใหญ่ๆ เขาคงจะปรับเปลี่ยนเมนูให้เป็นมิตรต่อสุขภาพมากขึ้น ... หรือเปล่า? งานสำรวจที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of the Academy of Nutrition and Diabetes เปิดเผยว่า ปริมาณแคลอรี่และโซเดียมในอาหารจานหลักของร้านฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาในปี 2011 ก็ไม่ได้ลดลงจากปี 2010 แต่อย่างใด ข้อมูลดังกล่าวเป็นผลจากสำรวจอาหารจากหลัก 26,000 เมนู ในร้านจานด่วน 213 สาขาทั่วอเมริกา ในปี 2010 ค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ได้จากอาหารจานหลัก 1 จานในร้านเหล่านี้อยู่ที่ 670 แคลอรี่ และยังคงเท่ากับค่าในปี 2011 ที่ร้านอาหารเริ่มแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารเมนูต่างๆ แล้ว และแม้จะมีการลดปริมาณแคลอรี่ลงเล็กน้อยในเมนูทั่วไป กลับไม่มีการลดปริมาณแคลอรี่ในเมนูสำหรับเด็ก ส่วนปริมาณโซเดียมโดยเฉลี่ยก็ลดลงเพียง 15 มิลลิกรัมต่อเมนูเท่านั้น ผู้วิจัยยังพบด้วยว่า แม้ร้านเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนเมนูอยู่เป็นประจำ แต่ทุกครั้งที่มีการเพิ่มเมนูเพื่อสุขภาพก็จะมีการใส่เมนูตามใจปากเข้ามาด้วย การสำรวจนี้ฟันธงว่า ผู้ประกอบการยังไม่ได้ปรับปรุงโภชนาการของอาหารในร้านให้ดีขึ้น  มาตรการที่กำหนดให้แสดงข้อมูลโภชนาการเพียงอย่างเดียวจึงน่าจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คนอเมริกามีนิสัยการกินที่ดีขึ้น     พร้อมรับคนสูงวัย การสูงวัยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับประชากรทุกคนอยู่ตลอดเวลา เรามาดูกันว่าประเทศไหนพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุกว่ากัน การสำรวจ Global AgeWatch Index 2013 ที่ทำใน 91 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 89 ของจำนวนประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ได้จัดอันดับให้สวีเดนเป็นประเทศที่ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตและสุขภาวะดีที่สุด แม้จะไม่ได้เป็นที่หนึ่งในแต่ละด้านที่ทำการสำรวจ ซึ่งได้แก่ 1) ความมั่นคงทางรายได้  2) สุขภาพ  3) การจ้างงาน/การศึกษา และ 4) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต  แต่สวีเดนซึ่งมีประชากรวัย 60 ขึ้นไปประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด 9.5 ล้านคน ก็ติดอยู่ในอันดับท็อปเท็นของทุกด้าน ในด้านรายได้ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่มีรายได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยของประชากรนั้นมีเพียงแค่ร้อยละ 9 และคนสวีเดนยังมีอายุคาดหลังวัย 60 ไปอีก 24 ปี อีกทั้งเขายังพบว่ามีประชากรในวัย 50 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 95.6 ที่รู้สึกว่าชีวิตยังมีความหมาย และผู้ที่มีอายุระหว่าง 55 – 64 ปีที่ยังมีงานทำอยู่ก็มีมากกว่าร้อยละ 70 ด้วย ตำแหน่งประเทศที่ผู้สูงอายุมีรายได้ดีที่สุดนั้นเป็นของลักเซมเบิร์ก ด้านสวิตเซอร์แลนด์ได้ครองตำแหน่งประเทศที่ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีที่สุด ส่วนนอร์เวย์รั้งตำแหน่งประเทศที่มีอัตราการจ้างงานผู้สูงอายุสูงที่สุด ในขณะที่ผู้สูงวัยชาวเนเธอร์แลนด์คือกลุ่มคนที่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตได้โดยอิสระมากที่สุด และหากคุณสงสัย ... ประเทศไทยก็ไม่ขี้เหร่ เข้าอันดับที่ 42 ซึ่งเป็นอันดับที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน (งานนี้เขาไม่ได้สำรวจที่สิงคโปร์) และเราได้อันดับที่ 8 ในเรื่องของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุด้วย เพราะมีถึงร้อยละ 89 ที่รู้สึกว่าตนเองสามารถติดต่อเพื่อนหรือญาติได้ในกรณีที่มีปัญหา และมีมากกว่าร้อยละ 80 ที่รู้สึกว่ายังสามารถเดินไปไหนมาไหนในเมืองได้โดยไม่ต้องกลัวอันตราย   //

อ่านเพิ่มเติม >