ฉบับที่ 149 ไฟฟ้าดับ 14 จังหวัด

หลายท่านคงยังจำเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั้ง 14  จังหวัดในภาคใต้ได้ดี  และหลายคนคงจะยังงงๆ  เหมือนผู้เขียนที่ว่ามันเกิดขึ้นได้ไง?  ก็เลยตามข่าวสารมาเล่าสู่กันฟัง   การเกิดเหตุไฟฟ้าดับ 14 จังหวัดภาคใต้   วันที่  21  พฤษภาคม 2556   ความเข้าใจตามข่าวคือ ดับ 14 จังหวัด แต่เรื่องจริงคือ ดับ 16 จังหวัด เพราะนอกจาก ชุมพร  ระนอง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต กระบี่ สตูล สงขลา   สุราษฎร์ธานี ตรัง และยะลา  แล้วยังมีเพชรบุรีบางส่วน(ตั้งแต่อำเภอบ้านลาดลงไป) และประจวบคีรีขันธ์ทั้งจังหวัดด้วยโอ้โฮ!  มันกว้างขวางใหญ่โตมากนะ ความเดือดร้อนเสียหายจากไฟฟ้าดับงวดนี้   ตามมาด้วยเสียงโหยหวน ของ รมต.พลังงาน และผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต  มันเกิดจากเหตุสุดวิสัย  ฟ้ามันผ่า ไม่มีใครผิด   ก็ยิ่งกระตุ้นต่อมสงสัยให้ขยายกว้างมากขึ้นดังนี้1.ในพื้นที่ภาคใต้มีแหล่งผลิตไฟฟ้าอยู่หลายโรง และมีปริมาณการผลิตจำนวนมาก ทั้งโรงไฟฟ้าขนอม ผลิตได้ 824 เมกกะวัตต์ โรงไฟฟ้ากระบี่ ผลิตได้ 340 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้ารัชประภา ผลิตได้       240  เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าบางลาง  ผลิตได้ 73.3  เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้ากลัฟยะลากรีน ผลิตได้ 20.2 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าจะนะ ผลิตได้  731 เมกะวัตต์  เป็นต้น แต่ทำไมเมื่อเกิดเหตุที่จอมบึงไฟฟ้าในพื้นที่ถึงใช้สำรองไม่ได้  มีการบริหารจัดการอย่างไรจึง ปล่อยให้ให้เกิดความเสียหายร้ายแรงเช่นนี้2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีแผนการซ่อมบำรุงล่วงหน้า แต่ทำไมไม่มีการแจ้งเตือน ไม่มีการเตรียมแผนฉุกเฉินในการรองรับปัญหาในกรณีเกิดไฟฟ้าไม่พอใช้หรือไฟฟ้าดับ  ทั้งนี้จากประสบการณ์ทั้งกรณีไฟฟ้าดับที่จังหวัดภูเก็ต หรือกรณีการหยุดจ่ายก๊าซจากประเทศพม่า  และกรณีไฟฟ้าดับที่เกิดขึ้นที่ เกาะสมุย  น่าจะเป็นบทเรียนที่ชัดเจนสำหรับการเตรียมพร้อม  มิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย แต่กลับปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้พลังงานในวงกว้าง 3. เหตุที่เกิดขึ้น เกิดจากนโยบายการบริหารพลังงานที่ผิดพลาดหรือไม่? การที่บริหารแบบรวมศูนย์อำนาจการสั่งการและการผลิตไว้ที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไว้ในส่วนกลาง  สร้างความมั่นคงในด้านพลังงานได้จริงหรือ?  เพราะทันทีที่ไฟฟ้าดับ  ก็มีผู้มีอำนาจออกมาส่งเสียงว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม ทั้งที่หากเริ่มสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินวันนี้อย่างเร็วต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 4 ปี จึงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้  ดังนั้นการมีเป้าหมาย ในการผลิตไฟฟ้าไว้ที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่  สามารถทำให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าได้จริงหรือไม่?4. การที่ปล่อยให้มีการผูกขาดแผนขาดแผนพลังงานไว้เพียงในส่วนกลาง  ส่งผลให้เมื่อเกิดไฟฟ้าดับ เป็นสาเหตุให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในพื้นที่ท่านผู้อ่านล่ะสงสัยเหมือนเรามั้ย?  หากสงสัยโปรดติดตามตอนต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 148 ไฟใต้ดับ เหตุสุดวิสัยหรือไร้ประสิทธิภาพ

ไฟฟ้าดับเมื่อค่ำคืนของวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ถือเป็นเรื่องใหญ่มากๆ เพราะเป็นปัญหาไฟฟ้าดับทั่วทั้งภาคใต้ ครบถ้วนทั้ง 14 จังหวัดในค่ำคืนนั้นประชาชนที่อยู่อาศัยทางภาคใต้ต้องตระหนกอกสั่นกันถ้วนทั่ว โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่อยู่ในสี่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อพบว่าเมืองทั้งเมืองตกอยู่ในความมืดมิดโดยไม่มีใครรู้ถึงสาเหตุ หลายคนคิดเลิยเถิดว่าเป็นการก่อการร้ายครั้งใหญ่ของผู้ไม่หวังดีเลยทีเดียววันรุ่งขึ้น 22 พฤษภาคม 2556 นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เปิดเผยเป็นทางการว่า เมื่อเวลา 18.52 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เนื่องจากสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมโยงจากภาคกลางไปสู่ภาคใต้ช่วงจอมบึง-บางสะพาน 2 ขัดข้อง ทำให้ กฟผ. ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าจากภาคกลางสู่ภาคใต้ได้ผู้ว่าการ กฟผ. ได้ขยายรายละเอียดเพิ่มเติมว่า สายส่งที่จ่ายไฟฟ้าไปยังภาคใต้มี 4 เส้น คือ สายส่ง 500 KV จำนวน 2 เส้น และสายส่ง 230 KV จำนวน 2 เส้น โดยในช่วงเช้าเวลา 08.00 น. ของวันเกิดเหตุ กฟผ. ได้ปลดสายส่ง 500KV จำนวน 1 เส้น เพื่อทำการซ่อมบำรุง อย่างไรก็ตาม ในเวลา 17.26 น. สายส่ง 500 KV เส้นที่ 2 เกิดการชำรุดคาดว่าเกิดเนื่องจากฟ้าผ่า ทำให้ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าลงภาคใต้ได้ จึงจำเป็นต้องจ่ายไฟฟ้าผ่านสายส่งเส้น 230 KV ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ทำให้สายส่งจ่ายไฟฟ้าเกินกำลังส่งผลให้สายส่งหลุดจากระบบ ประกอบกับจากการที่ภาคใต้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอและต้องพึ่งพาการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางผ่านสายส่งดังกล่าว โดยความต้องการใช้ไฟฟ้า ณ วันที่ 21 พ.ค. 2556 มีสูงถึง 2,200 เมกะวัตต์ ในขณะที่มีโรงไฟฟ้าภาคใต้เดินเครื่องอยู่ 1,600 เมกะวัตต์ ทำให้โรงไฟฟ้าอื่นในภาคใต้ อาทิ โรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้าจะนะ และโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา ถูกปลดออกจากระบบโดยอัตโนมัติเนื่องจากความถี่ไฟฟ้าลดลงต่ำกว่ามาตรฐาน 50 Hz (เฮิร์ต) เพื่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ากฟผ. ได้เร่งแก้ไขสถานการณ์  ด้วยการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าทุกโรงในภาคใต้อย่างเต็มกำลังการผลิต รวมทั้งยังเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซลที่ จ.สุราษฎร์ธานี และทางมาเลเซียได้ส่งไฟมาช่วยอีก 200 เมกะวัตต์ ทำให้สามารถจ่ายไฟให้ประชาชนได้ทั้งหมดเมื่อเวลา 23.00 น.ต่อมากระทรวงพลังงานได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว ซึ่งได้มีผลสรุปออกมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 โดยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ได้เปิดเผยว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของ กฟผ. เนื่องจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าได้พยายามควบคุมการจ่ายไฟตามคู่มือปฏิบัติที่กำหนดไว้ทุกขั้นตอนแล้ว แต่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ สำหรับสาเหตุสรุปได้ 3 ประเด็น คือ 1.สายส่ง 500 เควี จอมบึง-บางสะพาน 2 วงจรที่ 2 ถูกปลดเพื่อบำรุงรักษาฉุกเฉิน (Unplanned) 2. เกิดฟ้าผ่าบนสายส่ง 500 เควี จอมบึง-บางสะพาน 2 วงจรที่ 1 และ 3. ระบบ HVDC ที่ กฟผ. รับไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียเกิดขัดข้องทำให้ระบบไฟฟ้าของภาคใต้ถูกแยกออกจากระบบไฟฟ้าหลักของประเทศ หลังจากนั้นก็เกิดไฟฟ้าดับทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้  ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่สั้นมาก คือประมาณ 5.2 วินาทีทั้งนี้ หลังเกิดเหตุการณ์ กฟผ. เริ่มทยอยนำสายส่งเชื่อมโยงระหว่างภาคกลางกับภาคใต้ ทั้งระบบ 500 เควี และ 230 เควี เข้าใช้งานตามลำดับ เพื่อใช้ในการเริ่มเดินเครื่องโรงไฟฟ้า สามารถเริ่มจ่ายไฟฟ้าให้กับสถานีไฟฟ้าแรงสูงหลังสวน จังหวัดชุมพรเป็นแห่งแรก ตั้งแต่เวลา 19.05 น. และสามารถทยอยจ่ายไฟฟ้าครบทุกสถานีไฟฟ้าแรงสูงในภาคใต้ของ กฟผ. ในเวลา 20.12 น. ซึ่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามคู่มือปฏิบัติที่กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนขณะที่นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ กล่าวว่า การเกิดไฟฟ้าดับที่ภาคใต้ที่ผ่านมาถือเป็นเหตุสุดวิสัย ดังนั้นจึงไม่ต้องมีผู้รับผิดชอบ ส่วนความเสียหายที่เกิดจากการซื้อไฟฟ้าของมาเลเซียมาชดเชยชั่วคราว 380 เมกะวัตต์ คิดเป็นเงิน 13 ล้านบาทนั้น ต้องกลายเป็นภาระที่ประชาชนต้องแบกรับแทน โดยจะมาเกลี่ยเป็นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ในงวดถัดไป (ก.ย.-ธ.ค.2556) ซึ่งคิดเป็นค่าเอฟทีที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มไม่ถึง 1 สตางค์ต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม เรกูเลเตอร์ยังเหลือเงินค่าปรับที่เรียกเก็บจากหลายส่วนในหลายกรณีอีกกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำมาเกลี่ยเป็นค่าเอฟทีของประชาชนในงวดหน้าทั้งหมด จบข่าว. ข้อค้นพบและข้อสังเกตแม้ว่าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกระทรวงพลังงานจะมีผลสรุปว่าเป็นเหตุสุดวิสัย (สื่อบางสำนักบอกว่า เป็นผลสรุปที่เป็นไปตามคาด) แต่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีข้อค้นพบและข้อสังเกตว่าปัญหาไฟฟ้าภาคใต้ดับทั่วทั้งภาคอาจไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แต่จะเป็นความบกพร่องในการบริหารจัดการในการผลิตและการส่งไฟฟ้าหรือไม่นั้น ชวนมาร่วมพิจารณากัน สถานการณ์กำลังผลิตไฟฟ้า...ยืนยันว่า กำลังผลิตไฟฟ้าของภาคใต้มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาค ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้รวบรวมข้อมูลกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของภาคใต้ ทั้งจากเว็บไซต์ของ กฟผ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงงาน และการยืนยันข้อมูลจาก อ.เดชรัต  สุขกำเนิด นักวิชาการที่ติดตามด้านกิจการไฟฟ้าอย่างใกล้ชิด พบว่า กำลังผลิตไฟฟ้าในภาคใต้มีทั้งหมด 2,494 เมกะวัตต์  ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมกำลังไฟฟ้าจากสายส่งภาคกลาง 600 เมกะวัตต์ และจากมาเลเซีย 300 เมกะวัตต์ ซึ่งช่วยทำให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงขึ้น โดยเมื่อรวมกันแล้วจะมีกำลังไฟฟ้าสำรองทั้งหมด 3,394 เมกะวัตต์ เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้ที่ 2,424 เมกะวัตต์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556  เมื่อเวลา 19.30 น.2. แม้ว่ากำลังผลิตไฟฟ้าของภาคใต้จะมีปริมาณที่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2556 ตามที่กล่าวมา แต่นั่นก็เป็นเพียงตัวเลขและต้นทุนที่ประชาชนจ่ายผ่านค่าไฟฟ้าฐาน เพราะจากการรายงานของส่วนประชาสัมพันธ์ กฟผ. ผ่านเฟสบุ๊ค GG News และเอกสารประกอบการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของ กฟผ. ได้ให้รายละเอียดถึงโรงไฟฟ้าที่หยุดซ่อมทั้งตามแผนและซ่อมฉุกเฉิน รวมถึงปัญหาของสายส่งไฟฟ้าจากมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้มีกำลังผลิตไฟฟ้าลดลงไปอย่างมากจนอยู่สถานะที่ไม่มั่นคง โดยก่อนเกิดเหตุการณ์ไฟดับโรงไฟฟ้าในภาคใต้มีการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าหรือมีกำลังผลิตพร้อมจ่ายเพียง 1,662.2 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 67 ของกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดของภาคใต้ และเมื่อมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละวันของภาคใต้ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 2,200 – 2,400 เมกะวัตต์ กฟผ. แก้ปัญหาด้วยการรับไฟฟ้าจากภาคกลางและจากมาเลเซียมาเสริม โดยก่อนเกิดเหตุการณ์ไฟดับได้รับไฟฟ้าจากภาคกลาง 430 เมกะวัตต์ และรับจากมาเลเซียเพียง 30 เมกะวัตต์  รายละเอียดของโรงไฟฟ้าภาคใต้ที่หยุดซ่อมทั้งตามแผนและนอกแผน รวมทั้งปัญหาระบบสายส่งจากมาเลเซีย มีดังนี้ 2.1            โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซขนอม จ.นครศรีธรรมราช ปลดเครื่องบางส่วนออกจากระบบเพื่อซ่อมบำรุงตามแผนตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย. - 13 มิ.ย. 56 กำลังไฟฟ้าที่ผลิตไม่ได้ 100 เมกะวัตต์ 2.2            โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ ปลดเครื่องออกจากระบบเพื่อทำการบำรุงรักษาตามแผน ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. - 25 พ.ค. 56 กำลังผลิตไฟฟ้าหายไป 340 เมกะวัตต์ 2.3            โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซสุราษฎร์ฯ ได้ปลดเครื่องออกจากระบบส่วนหนึ่ง เพื่อทำการบำรุงรักษาฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 56 เป็นต้นมา (ก่อนเกิดเหตุไฟดับเพียง 2 วัน)ทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าหายไปราว 100 เมกะวัตต์ 2.4            โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง จ.ยะลา  จำนวน 1 หน่วยจาก 3 หน่วย ไม่พร้อมเดินเครื่อง ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค. 56 ทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าหายไป 24 เมกะวัตต์ 2.5            การรับซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียผ่าน HVDC 300 เมกะวัต์และ HVAC 85 เมกะวัตต์ ไม่ได้รับเต็มที่ 385 MW ตามที่ทำสัญญาฯ โดยรับ-ส่งเพียงพลังไฟฟ้าขั้นต่ำคือ HVDC 30 MW เท่านั้นต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว GG News ให้ข้อมูลว่าอาจเกิดจาก TNB หรือการไฟฟ้ามาเลเซีย แจ้ง Shortfall (กำลังผลิตไฟฟ้าพร้อมจ่ายไม่พอ) หรือไม่พร้อมขายให้ไทย… 2.6            รายงานของ กฟผ. และกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กเพียงแค่ 20.2 เมกะวัตต์เท่านั้น  โดยไม่ให้รายละเอียดว่า เหตุใดจึงไม่มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่มีกำลังผลิตรวมกันกว่า 128 เมกะวัตต์ เข้ามาใส่ระบบไฟฟ้าของภาคใต้3. เมื่อสถานการณ์กำลังผลิตไฟฟ้าของภาคใต้ขาดความมั่นคง โดยสาเหตุหลักใหญ่มาจากมีโรงไฟฟ้าหยุดซ่อมเป็นจำนวนมาก ตามที่กล่าวมาในข้อ 2 ดังนั้น การถ่ายเทไฟฟ้าจากภาคกลางลงสู่ภาคใต้โดยอาศัยสายส่งไฟฟ้าขนาดใหญ่ จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้มีความมั่นคง โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กฟผ. ได้ทำการปรับปรุงระบบสายส่งจาก 115 กิโลโวลต์เป็น 230 กิโลโวลต์ และเพิ่มสายส่งขนาด 500 กิโลโวลต์(KV) เข้ามาอีก 2 เส้น เพื่อให้สามารถถ่ายเทพลังงานไฟฟ้าภาคกลาง-ภาคใต้ได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามความต้องการใช้  ดังนั้น การปลดและซ่อมสายส่งที่ลงสู่ภาคใต้ขนาด 500 กิโลโวลต์(KV) จำนวน 1 เส้น ในช่วงเช้าเวลา 08.00 น.ของวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 โดยปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งเส้นใหญ่ที่เหลืออยู่โดยไม่มีมาตรการหรือแผนรองรับหากเกิดเหตุฉุกเฉินทั้งโดยมนุษย์หรือธรรมชาติ นับว่าเป็นการปฏิบัติการที่ประมาทเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลดังนี้ 3.1            เป็นที่ทราบกันดีว่า พื้นที่ภาคใต้มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเคยมีการเผาหรือวางระเบิดระบบสายส่งเกิดเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง 3.2            เคยมีประวัติเกิดข้อขัดข้องในระบบส่งไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง จากรายงานประจำปี 2555 ของ กฟผ. ระบุว่า ในปี 2555 เกิดข้อขัดข้องในระบบส่งไฟฟ้า ทำให้เกิดไฟฟ้าดับด้วยสาเหตุต่างๆ ที่เป็น Forced Outage (สายส่งหลุดออกจากระบบ) รวม 73 ครั้ง โดยเป็นเหตุขัดข้องจากสายส่ง 14 ครั้ง 3.3            ที่ภาคใต้มีประวัติเคยเกิดเหตุการณ์ไฟดับใหญ่มาแล้ว จากรายงานประจำปี 2555 ของ กฟผ. ระบุว่า วันที่ 22 พฤษภาคม 2555 เวลา 15.56 น. เกิดเหตุการณ์ Partial Blackout (ไฟดับทั่วทั้งจังหวัดหรือทั้งภาค) ที่ภาคใต้ตอนล่างรวม 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล รวมมีไฟดับทั้งหมด 641.4 เมกะวัตต์ นานที่สุด 26 นาที 3.4            แม้จะมีสายส่งไฟฟ้าขนาด 500 กิโลโวลต์เหลืออยู่ 1 เส้น และมีสายส่งไฟฟ้าขนาด 230 กิโลโวลต์เป็นตัวช่วย แต่สายส่งไฟฟ้าเส้นรองลงมานี้สามารถรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 400 เมกะวัตต์เท่านั้น จึงอาจมีปัญหาแรงดันที่แตกต่างกันได้ อีกทั้งไฟฟ้าที่ป้อนสู่ภาคใต้ในวันที่เกิดเหตุก็สูงกว่าคืออยู่ที่ 430-470 เมกะวัตต์4. เมื่อจะมีการซ่อมสายส่งไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ภาคกลางและอาจทำให้ต้องลดกำลังส่งไฟฟ้าลงมาเพื่อความปลอดภัยของระบบสายส่งไฟฟ้า เหตุใด กฟผ. จึงไม่มีการเตรียมการรับซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียเพิ่มขึ้น กลับยังคงใช้ไฟฟ้าจากมาเลเซียเพียงแค่ 30 เมกะวัตต์ นับเป็นความเสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เรื่องนี้การชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้องยังไม่กระจ่าง  จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปัจจุบันมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับการไฟฟ้ามาเลเซีย (Tenaga Nasional Berhad : TNB) ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนไฟฟ้าผ่านจุดเชื่อมโยงไฟฟ้า 2 จุดด้วยกัน 4.1            ระบบส่งเชื่อมโยง HVAC จำนวน 85 เมกะวัตต์ เป็นการซื้อขายไฟฟ้าในลักษณะที่ทั้งสองฝ่ายตกลงทำข้อเสนอราคาขายไฟฟ้าล่วงหน้าเดือนต่อเดือนที่ 3 ระดับราคา คือ Price A (ราคาต่ำ) Price B (ราคาปานกลาง) และ Price C (ราคาสูง) ในช่วงที่เกิดเหตุ กฟผ. ไม่ได้ใช้จาก HVAC เลย 4.2            ระบบเชื่อมโยง HVDC ปริมาณซื้อขายสูงสุด 300 เมกะวัตต์ โดยเป็นการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Non-Firm ในลักษณะ Bulk Energy โดยอัตรารับซื้อไฟฟ้าคิดเป็น Tier ในปริมาณ Tier ละ 25-30 ล้านหน่วย โดยจะมีราคาลดหลั่นลงตามลำดับ ทำให้การรับซื้อไฟฟ้าปริมาณมากมีราคาเฉลี่ยถูกลง แต่ปัจจุบันรวมถึงตอนที่จะปลดสายส่งเพื่อซ่อมบำรุงในวันที่เกิดเหตุ กฟผ. กลับรับซื้อเพียง 30 เมกะวัตต์เท่านั้น และเมื่อเกิดไฟฟ้าดับทั่วทั้งภาค กฟผ. ต้องย้อนกลับไปขอซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียอย่างฉุกเฉินทำให้ถูกคิดค่าไฟที่ราคาแพงมาก (บางแหล่งข่าวบอกว่าสูงถึง 16 บาท/หน่วย)   บทสรุปแม้ว่าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะมีบทสรุปออกมาเรียบร้อยแล้วว่า เป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯหรือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในฐานะเรกูเลเตอร์ แต่ข้อค้นพบและข้อสังเกตที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่าบทสรุปดังกล่าว ไม่มีการกล่าวถึง ความบกพร่องในการซ่อมระบบสายส่งไฟฟ้าเส้นหลักภาคกลาง-ภาคใต้ ที่ไม่มีมาตรการรองรับหากเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างใดอย่างหนึ่งจากมนุษย์หรือจากธรรมชาติเลย  อีกทั้งยังชี้ให้เห็นจุดโหว่ในการจัดการปัญหาไฟฟ้าดับทั้งภาคหรือทั้งประเทศอย่างเด่นชัด ว่ายังมีความบกพร่องอยู่มากและห่างไกลจากการกล่าวอ้างในโฆษณาประชาสัมพันธ์ค่อนข้างมาก  ปัญหาเหล่านี้หากไม่มีการตรวจสอบแก้ไขกันอย่างจริงจังและจริงใจ แล้วพยายามไปแก้ไขด้วยการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นที่ภาคใต้ แม้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าล้นเหลือแต่หากบริหารจัดการไม่ดี ปัญหาไฟฟ้าดับทั่วทั้งภาคหรือทั้งประเทศก็อาจเกิดขึ้นอีกได้ไม่ยากเย็นนัก  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 ไฟฟ้าตก แต่ต้องจ่ายค่าไฟแพง

พอดีผู้เขียนได้ทำหน้าเป็นประธานคณะกรรมการผู้ใช้พลังงาน(คพข) เขต 10 ราชบุรี  (ตาม พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550)  มีจังหวัดในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ระนอง,ชุมพร,ประจวบ,เพชรบุรี,สมุทรสงครามและราชบุรี  ภารกิจที่สำคัญคือการรับและแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน   มีเรื่องร้องเรียนมามากมายหลายเรื่อง ทั้งเรื่องถูกเก็บค่าต่อเชื่อมมิเตอร์ 107 บาท ทั้งที่ไม่ได้ถูกตัดไฟ(ไฟไม่ดับปรับ 107 ไม่ได้) การถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าราคาไม่เป็นธรรม ถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าแต่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องร้องเรียนกรณีไฟฟ้าตก(ตกติดต่อกันเกิน 6 เดือนแล้ว)  เปิดไฟฟ้าไม่ค่อยติดแต่บิลค่าไฟฟ้าแพงกว่าปกติ เกือบ 2 เท่า(หลักฐานจากประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 6 เดือน)ผู้ร้องแจ้งว่าไฟฟ้าที่บ้านตกมาก  ตกขนาดไฟฟ้าทุกดวงที่บ้านดับหมด ดูทีวีได้อย่างเดียว  เข้าห้องน้ำก็ต้องใช้เทียน จนอ่างน้ำจะเป็นกระถางน้ำมนต์อยู่แล้วเพราะมีน้ำตาเทียนลอยอยู่เต็ม   หรือไม่ก็ต้องกระเสือกกระสนไปซื้อไฟฟ้าฉุกเฉินมาใช้ในเวลากลางคืน  เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งตู้เย็น  พัดลม หม้อหุงข้าว  เสียหมดต้องซื้อใหม่ยกชุด  แต่พอบิลค่าไฟฟ้ามาเก็บถึงกับเข่าอ่อน จากเดิมที่เคยเสียอยู่  1,300 บาท  กลับมีตัวเลขถึง 2,700  บาทเมื่อมีเรื่องร้องเรียนเข้ามา  คพข. ได้ประสานไปยังการไฟฟ้าจังหวัด  ไฟฟ้าได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจตัวเลขที่จดว่าตรงกันไหม  ผลัดกันไปหลายชุด  ปรากฏว่าตัวเลขในบิลเรียกเก็บกับมิเตอร์ตรงกัน  ผู้ใช้ไฟฟ้าก็ไม่ยอมและได้นำคลิปวิดีโอมาให้ดูว่า  เขาเปิดไฟฟ้าทั้งบ้าน  ทุกดวงมีการสตาร์ทไฟแดงๆ แต่ไม่ติด พร้อมคำถาม ไฟฟ้าไม่ได้ใช้ทำไมต้องจ่ายค่าไฟแพงด้วย และยืนยันว่าจะยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ตามตัวเลขที่เคยใช้เท่านั้น  ส่วนที่เกินไปไม่ใช่ความผิดของผู้ใช้ไฟ ดังนั้นไม่ควรโยนภาระมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบ เรื่องนี้ไฟฟ้าได้นำไปหารือในคณะกรรมการเพราะไม่เคยมีใครมาร้องเรียนในประเด็นอย่างนี้  สรุปมาคร่าวๆ คือกำลังไฟฟ้า โวลต์กับแอมแปร์มาไม่เท่ากันทำให้ไฟฟ้าสตาร์ทตลอดเวลา  แต่ไฟฟ้าไม่ติด  และการที่ไฟฟ้าสตาร์ทตลอด มิเตอร์จะเดินเร็วทำให้ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติ   แต่การไฟฟ้าบอกว่าต้องพิจารณาก่อนเพราะไฟฟ้าจังหวัดไม่มีอำนาจตัดสินใจลดค่าไฟฟ้าให้ใคร   ต้องเก็บตามตัวเลขที่ขึ้นตามมิเตอร์  ซึ่งเรื่องนี้ผู้ใช้ไฟยืนยันว่าไม่ยอมจ่าย  ที่สำคัญในขณะที่มีเรื่องร้องเรียนกันอยู่  ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาเตือนให้ไปจ่ายค่าไฟฟ้า  ไม่อย่างนั้นอาจถูกตัดไฟฟ้า  หรือเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าก็โทรมาให้ไปจ่ายค่าไฟก่อนได้ไหมไม่อย่างนั้นฝ่ายบัญชีไม่ผ่านตัวชี้วัดบ้าง  หรือไม่ก็บอกว่าหากผู้ร้องไม่ยอมจ่ายส่วนต่างที่เกินขึ้นมา เจ้าหน้าที่ไฟฟ้าต้องช่วยกันออกเงินแทน(ฟังดูเหมือนผู้ร้องเรียนเป็นมารร้ายยังไงก็ไม่รู้)ขณะเขียนเรื่องนี้ เหตุการณ์ยังไม่จบ แต่ก็นำมาเป็นกรณีศึกษา หากท่านผู้อ่านท่านใดเจอเรื่องแบบนี้สามารถร้องเรียนไปได้ที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)ชั้น 15 ตึกจามจุรีสแควร์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต(สกพ.) ซึ่งมีอยู่ 13 เขตทั่วประเทศ ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่่ 135 เรื่องเพี้ยน ๆ ของค่าไฟฟ้า

ผู้บริโภคเป็นงง ระหว่างหม้อมิเตอร์กับการไฟฟ้า...ไม่รู้ใครเพี้ยนแน่ร้องมิเตอร์ไฟฟ้าเพี้ยน คิดค่าไฟสูงผิดปกติ แจ้งให้มาตรวจสอบ การไฟฟ้าบอกเพี้ยนจริงหม้อคิดค่าไฟฟ้าต่ำไป 3% ต้องเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่ แต่ยอมคิดค่าไฟใหม่เปลี่ยนบิลและลดค่าไฟฟ้าให้ปัญหาเรื่องนี้เกิดขึ้นกับบ้านของคุณเพียรเงิน อยู่ในเขตดูแลรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสน ซึ่งปกติจะใช้ไฟฟ้าอยู่ประมาณเดือนละ 500-600 กว่าหน่วย คิดเป็นเงินตกราวสองพันบาทต้นๆ“ที่บ้านก็มีคุณพ่อวัยแปดสิบ ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่หรอกค่ะ กับเด็กอีกหนึ่งคน เครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่ๆ ก็มีแอร์สองตัว ตู้เย็นสองตัว หม้อข้าว พัดลม ทีวี ก็ใช้ไฟตามปกติ ส่วนใหญ่ใช้ในช่วงเย็นๆ ค่าไฟก็อยู่ราวๆ เดือนละสองพันบาทต้นๆ ไม่เคยขึ้นไปถึงสามพัน”“พอมาในช่วงเดือนธันวาคม ปลายปี 53 ตกใจมากค่ะ ใบแจ้งค่าไฟปาเข้าไปตั้งแปดพันบาท บอกว่าบ้านเราใช้ไฟไปถึง 1,982 หน่วย ไม่อยากจะเชื่อค่ะ เพราะเคยใช้กันแค่ 500-600 หน่วยต่อเดือนเท่านั้น ก็เลยรีบไปแจ้งเรื่องไปที่การไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสน”การไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสน ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและแจ้งผลกลับมาว่า ได้นำเครื่องวัดมาตรฐานมาติดตั้งเปรียบเทียบตั้งแต่ช่วงวันที่ 25 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 พบว่า เครื่องวัดการใช้ไฟฟ้าที่บ้านคุณเพียรเงินแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริง จึงต้องเปลี่ยนเครื่องวัดให้ใหม่ ส่วนค่าไฟฟ้าที่คลาดเคลื่อน การไฟฟ้านครหลวงจะคิดค่าไฟฟ้าเพิ่มเดือนละ 3.03% ของหน่วยการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 จนถึงวันเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่ เจอคำตอบของการไฟฟ้ากลับมาเช่นนี้ คุณเพียรเงินเลยเซ็งไปใหญ่ ร้องเรียนไปว่าค่าไฟฟ้าสูงผิดปกติ แต่มาตรวจสอบแล้วดันบอกว่าค่าไฟฟ้าต่ำเกินจริง เลยไม่รู้จะทำยังไง ปล่อยให้การไฟฟ้าส่งคนมาเปลี่ยนหม้อมิเตอร์ให้ใหม่ ส่วนค่าไฟก็ยังค้างจ่ายกันอยู่เพราะเคลียร์กันไม่ได้ เรื่องล่วงเลยมาจนถึงเดือนพฤษภาคมต่อเดือนมิถุนายน 2554 มีบิลค่าไฟฟ้าแจ้งมาโดยมีหน่วยการใช้อยู่ที่ 848 หน่วยเท่ากันทั้งสองเดือน ก็เลยสงสัยว่าทำไมหน่วยการใช้ไฟฟ้ายังสูงอยู่และเท่ากันทั้งสองเดือนแบบนี้ สอบถามพนักงานการไฟฟ้า ได้ข้อมูลเบื้องต้นว่า การไฟฟ้าใช้วิธีคิดค่าไฟฟ้าแบบประมาณการ เพราะมิเตอร์ที่ติดใหม่อยู่สูงเกินไปไม่สามารถปีนขึ้นไปดูตัวเลขได้คุณเพียรเงินไม่พอใจกับคำตอบที่ไม่กระจ่างชัดดังกล่าว เลยโทรศัพท์มาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องจริงเท็จเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน มูลนิธิฯ จึงได้มีหนังสือสอบถามไปที่ผู้อำนวยการไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสน              และพ่วงจดหมายเนื้อความเดียวกันส่งไปที่ผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง และเลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเมื่อกลางเดือนกันยายน 2554ปลายเดือนกันยายน 2554 การไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสน มีหนังสือชี้แจงกลับมาว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2553 ผู้ใช้ไฟฟ้าได้มาทำเรื่องขอตรวจสอบเครื่องวัดฯ ผิดปกติที่การไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสน และแผนกตั้งเทียบเครื่องวัดฯ การไฟฟ้านครหลวงเขตวัดเลียบ ได้ตั้งเทียบเครื่องวัดฯ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554 ผลจากการตรวจสอบเครื่องวัดฯ ตั้งเทียบ พบว่า เครื่องวัดฯ ชำรุด แสดงค่าคลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนเครื่องวัดฯใหม่และแก้ไขใบแจ้งค่าไฟฟ้าให้ถูกต้อง จาก 1,982 หน่วย เป็น 792 หน่วย  โดยใช้หน่วยเฉลี่ยจากเครื่องวัดฯใหม่ ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงมิถุนายน 2554 และเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2554 การไฟฟ้านครหลวง ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเลขอ่าน พบว่าสภาพเครื่องวัดฯใช้ไฟได้ปกติ จึงขอยืนยันว่า เลขอ่านและหน่วยการใช้ไฟฟ้าดังกล่าว(ของเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน 2554) ถูกต้องแล้วผลของการแก้ไขใบแจ้งค่าไฟฟ้าจาก 1,982 หน่วย เป็น 792 หน่วย  ทำให้เงินค่าไฟที่จะต้องจ่ายในเดือนธันวาคม 2553 จาก 8,080.30 บาท ลดลงเหลือ 3,109.98 บาท หรือลดลงไป 4,970.32 บาทปัญหาการถูกคิดค่าไฟฟ้าคลาดเคลื่อนจากการใช้จริง โดยที่การไฟฟ้าใช้วิธีประมาณการเอาจากเดือนอื่นๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้ามาเรียกเก็บกับผู้ใช้ไฟฟ้า จะยังคงเป็นปัญหาต่อไป เพราะการแก้ไขปัญหาแบบนี้ไม่ใช่วิธีที่เที่ยงตรงและเป็นธรรมกับผู้บริโภค เนื่องจากการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในสภาพอากาศหรือฤดูกาลที่แตกต่างกันก็ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าแตกต่างไปด้วยแม้จะเป็นเครื่องไฟฟ้าชนิดเดียวตัวเดียวกันก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างแท้จริง สมควรที่หน่วยงานอย่างคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จะต้องนำไปพิจารณาสร้างระบบการเก็บค่าไฟฟ้าที่มีมาตรฐานที่ดีกว่านี้ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 135 ทำงานเป็นทีม “กินรวบพลังงานไฟฟ้า”

บรรยากาศที่แสนร้อนของปีนี้ ผ่อนคลายลงได้ เมื่อหลายคนได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้าน และได้สัมผัสความชุ่มเย็นของน้ำที่สาดใส่กัน ณ เทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา   ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาของความสุขสนุกสนาน ซึ่งหลายคนอยากเก็บช่วงเวลานั้นไว้นานๆ   แต่เมื่อเทศกาลจบลง  ชีวิตก็กลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงอีกครั้ง   ณ ช่วงเวลาที่แสนร้อนนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้ไฟฟ้า และการขึ้นราคาค่า Ft นั่นเองหากย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม ก็จะได้เห็นข่าว ผู้บริหารกระทรวงพลังงานออกมาให้ข่าว  เรื่องการใช้ไฟฟ้า ว่ามีการใช้ไฟฟ้ามากทำลายสถิติของปีที่ผ่านถึง 2  ครั้ง ในเดือนมีนาคม  และก็มีข่าวมาจาก กฟผ. ออกมาว่าไฟฟ้าอาจจะไม่พอใช้  เพราะมีโรงไฟฟ้าหลายโรงปิดซ่อมบำรุง ในระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน   จากนั้นก็มีการออกมาให้ข่าวเพิ่มเติมว่า  เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าอาจขาดแคลนเพราะ พม่าจะปิดหลุมก๊าซ เพื่อซ่อมบำรุงช่วงนี้เช่นกัน  คณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.)ก็ออกมารับลูกทันที โดยให้ข่าวว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อาจต้องทบทวนการขึ้นราคาค่า Ft  โอ้โห...เห็นไหมว่าสถานการณ์ไฟฟ้าที่มีการปล่อยข่าวออกมาเป็นระยะๆ มันช่างน่ากลัวจริงๆ   กลุ่มที่คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เกือบจะตกเป็นจำเลยสังคมกันไปตามๆ กันนั่นเป็นข้อมูลที่ฝ่ายพลังงานออกมาให้ข่าวฝ่ายเดียวผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมเวทีเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดทำแผน  PDP 2010  ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ จัดขึ้น โดยมีการเชิญ รมต.ว่าการกระทรวงพลังงาน  ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และกกพ. มาชี้แจงข้อร้องเรียน ซึ่งทุกองค์กรส่งตัวแทนมา(ตัวจริงไม่มีใครมา) ทำให้ความจริงเปิดเผยในหลายเรื่อง เช่น ช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน  เป็นช่วงที่ใช้ไฟฟ้ามากทำไมจึงมาปิดซ่อมบำรุงช่วงนี้  ทำไมไม่ไปซ่อมบำรุงในช่วงที่ใช้ไฟฟ้าปกติ ไม่มีคำตอบ และที่ว่าพม่าปิดหลุมก๊าซเพื่อซ่อมบำรุง เป็นไปได้อย่างไร  ในเมื่อหลุมก๊าซนั้น ปตท.ได้สัมปทานการขุดเจาะจากพม่า(เหมือนบริษัทเชฟล่อนมาเจาะก๊าซ+น้ำมันในบ้านเรา) ดังนั้นการจะปิดซ่อมหรือไม่ซ่อม สิทธิอยู่ที่ ปตท. ไม่ใช่ประเทศพม่า เหมือนที่มีข่าวออกมา ไม่มีคำตอบเช่นกัน ที่น่าแปลกคือหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็รู้ข้อมูลนี้  แต่ไม่มีหน่วยงานใดออกมาให้ข้อมูลจริง  แต่กลับปล่อยให้มีการปล่อยข่าว โยนขี้ให้พม่า โดยที่ ปตท.ซึ่งเป็นตัวการปิดซ่อมในช่วงเวลาคับขัน ลอยนวล  เมื่อถามถึงการปรับปรุงแผนพลังงานไฟฟ้า (PDP 2012) ว่า มีการปรับปรุงอย่างไร ขบวนการเอื้อเรื่องการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนหรือไม่ ก็ไม่ได้คำตอบอะไรที่ชัดเจน (เหมือนเดิม) แต่กระบวนการปั่นข่าวจากฝ่ายบริหารพลังงานก็ยังดำเนินต่อไป  และสุดท้ายวันที่ 25 เมษายน 2555 กกพ.ก็มีมติให้ขึ้นราคาค่าไฟฟ้า(Ft) อีกหน่วยละ 40 สต. โดยที่คนใช้ไฟฟ้าอย่างเราๆ มีหน้าที่ต้องจ่ายอย่างเดียว   โดยที่ไม่รู้ข้อมูลจริงว่าที่ต้องขึ้นราคาไฟฟ้าเพราะเหตุอันใดส่วนฝ่ายการเมืองก็พึ่งไม่ได้  เพราะไม่มีพรรคไหน  หือ....อือ...กับเรื่องนี้   มัวแต่อุตลุดอยู่กับการแก้-ไม่แก้รัฐธรรมนูญ    ผู้เขียนที่พอรู้ข้อมูลบ้างก็รู้สึกอึดอัดคับข้องไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร(คงต้องพึ่งกันเอง)  ก็ได้แต่เขียนระบายเพื่อเล่าสู่กันฟัง  แต่ขอบอกไว้ว่าเราจะไม่นิ่งเฉย  และจะเดินหน้าแฉ...ขบวนการเอาเปรียบผู้บริโภคให้สังคมได้รับรู้ให้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะทำได้  ซึ่งเครือข่ายประชาชนกำลังร่วมกันจัดทำแผน PDP2012 ภาคประชาชน   ขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกับแผนของกฟผ.เพื่อป้องปรามมิให้  กฟผ.กินรวบพลังงานไฟฟ้าอย่างเช่นที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 133 ร้องการไฟฟ้า กระแสไฟตกทำเครื่องไฟฟ้าเจ๊ง

ชาวบ้านลำลูกกา ปทุมธานี ลงชื่อกว่าครึ่งร้อย เรียกร้องการไฟฟ้าลำลูกกาแก้ไขปัญหากระแสไฟไม่เพียงพอ ไฟตกบ่อยครั้งทำเครื่องใช้ไฟฟ้าเจ๊งกันระนาว  ร้องไปร่วม 5 เดือนไม่มีความคืบหน้าเมื่อเดือนมกราคม 2555 คุณอาทิตยาเป็นหนึ่งในชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากกระแสไฟฟ้าตกในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ถึงขั้นต้องไปขอให้ตำรวจช่วยลงบันทึกประจำวันเนื่องจากกระแสไฟตกทำให้จอคอมพิวเตอร์ขนาด 18 นิ้วได้รับความเสียหาย และได้รวบรวมรายชื่อชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนกว่า 50 รายชื่อไปแจ้งให้การไฟฟ้าลำลูกกาให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้รับคำตอบว่าต้องรอหม้อแปลงไฟฟ้า จนถึงเดือนมกราคม 2555 ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จึงต้องร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ  แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาเกี่ยวกับการไฟฟ้าจะอยู่ภายใต้การประกอบการของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แล้วแต่กรณีพื้นที่ และทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งจะมีสำนักงานประจำตามเขตต่างๆ กรณีนี้เกิดขึ้นที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี จึงอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเขต 7 และผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคลำลูกกา โดยระบุไปในจดหมายว่ามีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนถึง 4 หมู่จากปัญหากระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอและมีกระแสไฟฟ้าตกเป็นระยะตั้งแต่ช่วงเวลา 18.00-23.00 น. ซึ่งทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าของชาวบ้านได้รับความเสียหายหลังทำหนังสือร้องเรียนไป การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคลำลูกกา ได้ส่งพนักงานเข้าไปตรวจสอบและได้วัดโหลดปรับปรุงเพิ่มขนาดหม้อแปลงจาก 100 กิโลโวลท์แอมแปร์ เพิ่มเป็น 160 กิโลโวลท์แอมแปร์ และตัดต่อจุดต่อสายใหม่พร้อมจัดโหลดให้สมดุลได้ 220 โวลท์ทุกเฟส หลังจากนั้นจึงได้ติดต่อผู้ใช้ไฟฟ้าที่ร้องเรียนเพื่อสอบถามถึงประสิทธิภาพของไฟฟ้าได้รับคำตอบว่าใช้ไฟฟ้าได้ปกติแล้ว ในอนาคตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคลำลูกกา มีแผนงานปรับปรุงเพิ่ม โดยจะติดตั้งหม้อแปลงเสริมฝั่งตะวันออกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 ตื่นเถิด กกพ.

หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ที่ส่งผลให้มีผู้คนเดือดร้อนเสียหายจำนวนมาก  และที่สำคัญคือมีผู้เสียชีวิต ด้วยเหตุถูกไปช้อตตาย 100 กว่าคน ถือว่ามีคนตายด้วยเหตุนี้มากที่สุดในโลก  พูดถึงไฟฟ้า วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องที่เกี่ยวกับไฟฟ้าที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง  เอาตั้งแต่โครงสร้างไฟฟ้าในบ้านเรา  ประเทศไทยเรามี พรบ. กำกับกิจการพลังงาน(ที่กำกับโครงสร้างทั้งราคาและบริหารน้ำมันไม่ได้เพราะเขียนกฎหมายยกเว้นน้ำมันไม่ให้อยู่ใน พรบ.นี้) เรามีกระทรวงพลังงาน(ที่กำลังวุ่นวายกรณีจะลอยตัวราคาแก๊ส) แต่น่ามหัศจรรย์มาก เพราะกระทรวงพลังงานดูแลได้แค่ ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเท่านั้น    ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยจะไม่ให้ว่ามันมหัศจรรย์ได้อย่างไร  ในเมื่อนโยบายกระทรวงพลังงานเป็นผู้ดูแล  แต่การบริหารจัดการมหาดไทยดูแล  โอ้ย...ยิ่งคิดยิ่งซับซ้อนเอา...มาเข้าเรื่องที่จะคุยวันนี้ดีกว่า   เรื่องมีอยู่ว่ามีกรณีผู้ใช้ไฟฟ้า ที่มีเหตุอันที่ทำให้ไปจ่ายค่าไฟฟ้าไม่ตรงเวลา แล้วถูกตัดไฟ   เมื่อไปจ่ายเงินและขอให้มาต่อมิเตอร์ไฟฟ้า  ผู้ร้องต้องเสียค่าต่อไฟฟ้า 107 บาท(บวกภาษี) ซึ่งเป็นที่รู้กัน แต่ก็มีกรณีซ้อนกรณีเข้ามาอีกนั่นคือ ไฟฟ้ายังไม่โดนตัดแต่ไปจ่ายไฟฟ้าเลยกำหนดก็ถูกเรียกเก็บ 107 บาท เช่นกัน   ซึ่งกรณีนี้มีผู้ร้องเรียนว่าเมื่อไฟฟ้ายังไม่ได้ไปตัดไฟ  ก็ยังไม่มีค่าใช้จ่ายแล้วมาเรียกเก็บเงินเขาค่าอะไร เรื่องนี้มีการร้องเรียนไปถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ(กกพ.)  จนนำไปสู่การทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กกพ.และไฟฟ้า  ว่าไฟฟ้าจะเรียกเก็บ 107 บาทได้เฉพาะกรณีมีการตัดไฟฟ้าจริงแล้วเท่านั้น(ไฟฟ้าไม่ดับปรับ 107 ไม่ได้) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่กลางปี 2554  ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี  แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น   ฝ่ายปฏิบัติ(การเงิน)ของการไฟฟ้าในหลายที่(ตามข้อมูลร้องเรียน)ยังเก็บเงิน107 บาท โดยไม่สนใจว่าไฟฟ้าจะถูกตัดหรือไม่ตัด   ยึดเพียงวันที่ตามบิลเรียกเก็บเงินเป็นหลักหากเลยวันที่กำหนดเรียกเก็บทันทีป้าอ้วน(คนที่มาร้องเรียนและเป็นคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขตด้วย)เล่าให้ฟังว่า “ฉันเถียงเขาว่าฉันออกจากบ้านมาไฟฟ้าที่บ้านฉันยังไม่ถูกตัดเลย ทำไมมาเก็บเงินฉัน  ก็กกพ.มีข้อตกลงกับไฟฟ้าแล้วว่าไฟฟ้ายังไม่ถูกตัดจะไม่เก็บ 107 บาท”   เจ้าหน้าที่ตอบกลับมาว่าไม่สนใจข้อตกลงอะไรทั้งนั้นทำตามหน้าที่ไม่พอใจไปฟ้องร้องเอาผู้เขียนในฐานะประธานผู้ใช้พลังงานเขต  จึงได้ทำหนังสือไปหารือกับ กกพ.ถึงข้อตกลงที่ไฟฟ้าไม่ปฏิบัติตามก็ได้คำตอบว่า กกพ.ได้ทำหนังสือไปถึงการไฟฟ้าแล้ว 3 ฉบับ ในขณะที่มีเรื่องร้องเรียนเรื่องนี้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง   รายใดร้องเรียนก็จะได้เงินคืนรายใดไม่ร้องก็เสียเงินฟรี  เราก็ทำหนังสือกระตุ้นเข้าไปอีก  เพื่อให้ กกพ.ที่มีหน้าที่กำกับดูแลทำงานตามหน้าที่ ที่ต้องทำ  ไม่ใช่เข้ามานั่งเสวยสุขกันไปวันๆขอแรงพวกเราช่วยกันร้องเรียนและเฝ้าระวังให้องค์กรที่มีหน้าที่ ได้ทำงานตามหน้าที่(กันบ้าง?) คิดถึง พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จัง เมื่อไหร่จะคลอดเสียที.. จะได้มาช่วยดันก้น องค์กรเหล่านี้ให้ทำงานได้จริงๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 128 พลังงานไฟฟ้าผลิตมาเพื่อความสุขของใคร

 พอดีผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเวทีเสวนากับ อ.เดชรัตน์  สุขกำเนิด  อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ในหัวข้อเรื่อง พลังงานในประเทศไทย  มีการพูดคุยกันหลายเรื่อง แต่มีข้อมูลชุดหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือการเปรียบเทียบสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า  ระหว่างธุรกิจและประชาชนในหลายจังหวัดข้อมูลการใช้ไฟฟ้าปี 2549 ของ 3  ห้างใหญ่ในกรุงเทพฯ  เช่น ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ใช้ไฟฟ้า 123  ล้านหน่วย  ห้างสรรพสินค้ามาบุญครองใช้ไฟฟ้า 81  ล้านหน่วย ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ใช้ไฟฟ้า 75 ล้านหน่วย  รวม 3 ห้างใช้ไฟฟ้าไป 278 ล้านหน่วย(ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวงปี 2549) หากเปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้าของคนต่างจังหวัด เช่น  จังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้งจังหวัดใน 1 ปี ใช้ไฟฟ้าเพียง 65 ล้านหน่วย จังหวัดมุกดาหาร 128 ล้านหน่วย  จังหวัดหนองบัวลำพูใช้ไฟฟ้า 148 ล้านหน่วย  จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดระนองใช้ไฟฟ้าเท่ากันคือปีละ 278 ล้านหน่วย (ข้อมูลจาก พพ.รายงานการใช้ไฟฟ้าประจำปี 2549)เห็นข้อมูลเหล่านี้แล้วผู้เขียนตกใจมาก  เพราะสามารถชี้ให้เห็นการบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรม  ภาคธุรกิจใช้ไฟฟ้ามากมาย  โดยไม่ต้องคำนึงเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน ไม่ต้องรับผลกระทบอะไรเลย  แต่คนที่รับภาระกลับเป็นพี่น้องเราในหลายจังหวัดที่เป็นเป้าหมายของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว 8  โรง มีกำลังการผลิต 5,800  เมกะวัตต์  จังหวัดราชบุรีใช้เพียง 400 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นภาคครัวเรือน 100  ภาคอุตสาหกรรม 300    ที่หน้าตกใจคือยังมีนโยบายจะก่อสร้างอีกหลายโรงในราชบุรี(น่าจะตั้งชื่อว่าจังหวัดไฟฟ้ามหานครแทนราชบุรีนะเนี่ย...)คนราชบุรีถามผู้เขียนว่า เขาผิดอะไรทำไมเขาต้องมารับกรรม เรื่องมลภาวะด้านสุขภาพและการประกอบอาชีพเกษตรกรรม   ในขณะที่คนเมืองใช้ไฟฟ้ามาก ทำไมไม่สร้างโรงไฟฟ้าที่กรุงเทพฯ  แต่พอพวกเขารวมตัวกันเรียกร้องสิทธิกับถูกภาครัฐมองว่าเป็นพวกถ่วงความเจริญ  ทั้งที่ความเจริญที่ว่านั้นเป็นพิษภัยต่อพื้นที่ ที่ไม่ว่าโรงไฟฟ้านั้นจะใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินหรือก๊าซ หลายพื้นแค่เขารวมตัวกันคัดค้านด้วยเป้าหมายแค่ขอให้เขาได้อยู่อย่างที่เขาเคยอยู่ ไม่ได้เรียกร้องอะไรจากรัฐเพิ่มเลย  สิ่งที่ตอบแทนบางพื้นที่คือต้องมีคนเสียชีวิต เช่น คุณเจริญ  วัดอักษร  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เสียชีวิตจากการคัดค้านโรงไฟฟ้า  คุณทองนาก จังหวัดสมุทรสาคร คัดค้านการขนถ่ายถ่านหินที่เขียนเรื่องนี้ผู้เขียนแค่อยากจะบอกว่า ผู้บริโภคอย่างเราๆ มีอีกหลายเรื่องที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ทั้งเอกชน/รัฐ)เช่น แผน PDP 2011 ของกฟผ. ระบุไว้ชัดเจนว่าต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ 3 โรง และโรงไฟฟ้า ถ่านหินและก๊าซอีก 9 โรงใน 10 ปี  ซึ่ง อ.เดชรัตน์ ให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่าหากมีการบริหารจัดการเรื่องการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถลดการผลิตไฟฟ้าได้ 10,000  เมกะวัตต์ นั้นก็คือสามารยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ 3 โรง และโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซอีก 9 โรง ภายใน10 ปีสรุปคือหากมีการบริหารจัดการไฟฟ้าที่ดี อีก 10 ปีประเทศไทยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเลย  นี่เป็นข้อมูลที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงระหว่าง กฟผ.กับนักวิชาการ   ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้  เพราะไม่มีหน่วยงานใดมาเป็นเจ้าภาพในการหาข้อสรุปในปัญหาเหล่านี้  ทั้งที่เรามี กกพ.(สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน) ที่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้  แต่ยังแบะๆ ทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอยู่เลย   ผู้บริโภคอย่างเราก็ไม่รู้จะพึ่งใครดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 ติดหนี้เพราะเสาไฟฟ้า

เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่เสาไฟฟ้าเป็นเหตุหนึ่งของการเกิดหนี้ได้ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องไปเสาะหาเหตุผลให้ปวดขมองครับ เพราะผู้ร้องรายนี้ดันขับรถไปชนเสาไฟฟ้าของกรมทางหลวงเข้าเลยต้องถูกเรียกค่าเสียหายไปตามระเบียบ แต่ที่หนักหนาสาหัสคือยอดหนี้เป็นแสนนี่สิจะรับผิดชอบอย่างไรดีเหตุเกิดตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2549 ที่คุณพิรมไปพลาดพลั้งขับรถไปชนเสาไฟฟ้า พร้อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแขวงการทางระยอง กรมทางหลวง ซึ่งได้ประเมินเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 123,579 บาท แขวงการทางระยองทำหนังสือแจ้งให้ชดใช้ค่าเสียหายมา 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2550 เรื่อยมาจนถึงปี 2552 เห็นหนังสือทวงหนี้ เห็นค่าเสียหายแต่ละครั้งหัวใจแทบหล่น แต่ก็จนปัญญาอยากเป็นพลเมืองดีก็ไม่รู้ว่าจะหาเงินจากที่ไหนมาชดใช้ได้ นอกจากประกันภัยชั้นหนึ่งที่ได้ทำให้กับรถไว้แต่บริษัทประกันก็ไม่ยอมจ่ายสักทีจึงส่งเรื่องมาขอคำปรึกษาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแนวทางแก้ไขปัญหาคุณพิรมจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับกรมทางหลวง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 437 ถึงแม้ว่าคดีจะขาดอายุความภายใน 1 ปีตามมาตรา 448 แต่หากยังไม่มีการทำเรื่องจากแขวงการทางระยองเสนอขออนุมัติฟ้องไปยังอธิบดีกรมทางหลวงก็ถือว่ากรมทางหลวงในฐานะผู้เสียหายโดยตรงยังไม่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดก็เป็นได้ จึงไม่ควรประมาทในจุดนี้ แต่เมื่อรถของคุณพิรมทำประกันภัยประเภท 1 ไว้กับบริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด ซึ่งสัญญาตามหน้ากรมธรรม์ที่จะรับผิดชอบในความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกจำนวน 2.5 ล้านบาทต่อครั้ง ดังนั้นคุณพิรม จึงควรส่งสำเนาจดหมายของแขวงการทางระยองที่ให้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนแสนกว่าบาทนี้ให้ประกันภัยจ่ายค่าสินไหมแทนตามสัญญาประกันภัย หากมีการประวิงเวลา ไม่จ่ายค่าสินไหมคุณพิรมสามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โทรสายด่วน 1186หากคุณพิรมถูกกรมทางหลวงฟ้องร้องในชั้นศาล ให้เรียกบริษัทประกันภัยเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีทันทีเพื่อให้ไปจ่ายค่าเสียหายแทนในชั้นศาลต่อไปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น และในมาตรา 437 บัญญัติว่า บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใดๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแก่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 “รถเปลี่ยนเป็นเงิน” อันตรายติดเสาไฟฟ้า

“หนูจ๋า ช่วยป้าด้วยจ้ะ...!”“มีอะไรหรือคะป้า” เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถาม“คืออย่างนี้...”ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ได้รับฟังความทุกข์จากป้าอารีย์ที่หลั่งไหลออกมาอย่างไม่ขาดสาย“สามีป้ามีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ป้าต้องทำงานหาเงินคนเดียว ทำทุกอย่างทั้งเย็บมุ้งขาย ทั้งทำสวนอยู่ต่างจังหวัด ยังไม่พอนะหนู แม่สามีของป้าแกก็มาป่วยเข้าอีกคน ป้าแทบหมดหนทางไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายจุนเจือครอบครัว”ที่เล่ามาเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ปัญหาจริง ๆ ของป้าอารีย์เกิดขึ้นเมื่อ...“ป้าต้องใช้เงินมากไม่รู้จะไปกู้ที่ไหน เห็นเบอร์ตามเสาไฟฟ้าที่บอกว่า ให้นำรถไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ พอดีสามีป้ามีรถกระบะอยู่คันหนึ่ง ก็ตัดสินใจวินาทีนั้นล่ะ กะจะเอารถไปจำนำเปลี่ยนเป็นเงินมาใช้กันก่อน มีเงินเมื่อไหร่ค่อยไปไถ่ถอนคืนทีหลัง”ป้าอารีย์จึงโทรไปขอความช่วยเหลือตามเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ในป้ายข้างเสาไฟฟ้าทันที“ตอนนั้นประมาณเดือนกรกฎาคม ปี 2548 เขาบอกคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน ใช้สมุดรถยนต์ค้ำประกัน ก็นัดหมายทำสัญญากันเลย” “ไปทำสัญญากันที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งแถวถนนเพชรเกษม ช่วงบางแค วันนั้นเห็นมีพนักงานแค่ 2 คน ก็เอารถเราไปให้เขาดูด้วย เขาตีราคาบอกว่าได้แค่ 70,000 บาท และให้วางสมุดทะเบียนรถไว้กับเขาแต่รถเอาไปใช้ได้ป้าก็ลังเลอยู่แต่สามีป้า ซึ่งเป็นเจ้าของรถตกลงเซ็นสัญญาทันที ก็ไม่ได้อ่านเอกสารหรอกเพราะตัวเล็กมาก แล้วพนักงานก็ให้ป้าเซ็นกำกับในสัญญานี้ด้วย โดยบอกว่าป้าเป็นเจ้าบ้านต้องเซ็นอนุญาตให้รถที่จำนำทะเบียนนั้นจอดได้ ป้าก็งง ๆ อยู่แต่ก็เซ็นไป”“เมื่อทำสัญญาเสร็จป้ากับสามีได้รับเงินแค่ 64,000 บาท เพราะพนักงานแจ้งว่ามีค่าใช้จ่าย 6,000 บาท หลังจากนั้นเขาก็ให้ป้ากับสามีเดินทางไปโอนทะเบียนรถให้เขา โดยให้พนักงานอีกคนขับรถของสามีป้าตามไปที่ขนส่งเขาเอารถไปทำเรื่องอยู่นานมาก แล้วเมื่อทำเรื่องโอนรถเสร็จป้ายังต้องเสียค่าโอนอีก 1,050 บาท”สรุปว่าวันนั้น ป้าอารีย์กับสามีได้รับเงินเพียงแค่ 62,950 บาท เท่านั้น จากการจำนำรถ 70,000 บาทและไม่ได้รับเอกสารใดๆ กลับบ้านเลยหลังจากนั้นไม่นานป้าอารีย์ได้รับเอกสารสัญญาส่งมาทางไปรษณีย์ เมื่อแกะเปิดดูแบบเต็มๆ ถึงได้รู้ว่าสัญญาที่ได้ทำไปนั้นแทนที่จะเป็นสัญญาจำนำรถกลับเป็นสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของตัวเอง โดยมีหนี้เช่าซื้อรถจำนวน 137,700 บาท ผ่อนงวดละ 3,825 บาท ระยะเวลาผ่อน 36 งวด ได้รับเอกสารสัญญาแล้วป้าอารีย์ก็น้ำตาตกใน แต่ไม่ได้ทักท้วงอะไรตั้งหน้าตั้งตาผ่อนรถของตัวเองไปโดยไม่ปริปาก มีบางงวดที่ขาดส่งหรือล่าช้าไปบ้างจึงถูกเรียกเบี้ยปรับและค่าติดตามทวงถามเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ก็กัดฟันสู้ จนเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2551 คราวนี้ป้าอารีย์และสามีไม่มีเงินกันจริงๆ จึงไม่ได้ชำระเงินค่างวดอีก“พอถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2551 มีคนของไฟแนนซ์มาทวงหนี้ถึงที่บ้านแจ้งว่าให้ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อทั้งหมด 50,000 กว่าบาทไม่เช่นนั้นจะยึดรถทันที แต่อีกไม่กี่วันป้าได้โทรไปถามยอดหนี้ให้แน่ใจอีกครั้งกลับได้รับแจ้งว่ามีหนี้เช่าซื้อถึง 70,000 กว่าบาทและถ้าจ่ายไม่ได้จะถูกยึดรถ”“ป้ากับสามีไม่รู้จะทำอย่างไรจากที่ไปขอกู้เงินเขาแค่ 70,000 บาท จ่ายคืนหนี้มาตั้ง 2-3 ปีก็ยังไม่หมด ตอนนี้เอารถยนต์ไปหลบที่ต่างจังหวัดอยู่ อยากให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือป้าด้วย”แนวทางแก้ไขปัญหาน่าเห็นใจครับกับปัญหาเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่ไม่มีทางออก เมื่อไม่มีแหล่งเงินกู้ในที่สว่างก็ต้องไปหาเก็บเอาตามเสาไฟฟ้ากันอย่างนี้ล่ะครับชีวิตคนไทยเมื่อเสียรู้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถของตัวเองไปแล้วก็คงต้องเดินหน้าต่อไปล่ะครับ เมื่อดูใบเสร็จรับเงินที่ป้าอารีย์จ่ายค่างวดไปแล้วพบว่าค้างเหลืออยู่อีกแค่ 7 งวด เป็นเงิน 26,775 บาท เพื่อไม่ให้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อจึงแนะนำให้ป้าอารีย์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ให้ครบ โดยใช้วิธีโอนเงินเข้าบัญชีไฟแนนซ์ไป ไม่ต้องสนใจว่าใบเสร็จที่ได้รับจะถูกหักเป็นเบี้ยปรับล่าช้าหรือไม่ เพราะธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ถือเป็นธุรกิจที่ถูกคณะกรรมกาคุ้มครองผู้บริโภคเขาควบคุมสัญญาไว้ แม้จะให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิคิดเบี้ยปรับ เบี้ยล่าช้า ได้แต่สัญญาควบคุมก็ห้ามคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลูกค้าชั้นดีรายย่อยของธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) บวกสิบ(MRR. + 10) อย่างที่หลาย ๆ ไฟแนนซ์ชอบเขียนกันไว้ในสัญญา หรือค่าทวงถามก็ให้คิดได้แต่ต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสมสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามนั้นจริง ที่สำคัญสัญญาควบคุมเขาถือว่าเมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่างวดและค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ปรากฏในสัญญาและไม่ขัดต่อสัญญาควบคุมของ สคบ.แล้วถือว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นตกเป็นของผู้เช่าซื้อโดยทันที และผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องดำเนินการโอนทะเบียนรถให้ผู้เช่าซื้อโดยทันทีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวกับการโอนทะเบียนจากผู้เช่าซื้อครบถ้วนดังนั้นเมื่อป้าอารีย์ได้ชำระค่างวดรถไปครบถ้วนหลังจากนั้นมูลนิธิฯ จึงได้ช่วยทำหนังสือแจ้งไฟแนนซ์ให้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ตอนแรกไฟแนนซ์ก็ทำทีอิดเอื้อนจะขอเรียกเก็บเบี้ยปรับอยู่แต่ด้วยไม่มีข้อต่อสู้ทางกฎหมายเนื่องจากสัญญาที่ทำขึ้นได้กำหนดค่าเบี้ยปรับที่ขัดต่อสัญญาควบคุมท้ายที่สุดจึงต้องทำการโอนเปลี่ยนชื่อรถโดยไม่มีเงื่อนไขครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 ประสิทธิภาพเครื่องปั่นและเครื่องบดไฟฟ้า

เครื่องปั่นอาหาร หรือเบลนเดอร์ เป็นอุปกรณ์เครื่องครัวที่จำเป็นพอสมควร เพราะเป็นเครื่องทุ่นแรงชั้นดีของคุณแม่บ้าน พ่อบ้านที่ชมชอบการทำอาหาร  ด้วยความสามารถในการปั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็กละเอียด แทนการสับด้วยมีด ซึ่งต้องออกแรงมาก และใช้ทำน้ำผลไม้ปั่น (ปั่นรวมกับน้ำแข็ง) หรือสมูทตี้ได้อีกด้วย             ในตลาดบ้านเราก็มีผลิตภัณฑ์เครื่องปั่น เครื่องบดไฟฟ้า อยู่หลายยี่ห้อ ฉลาดซื้อจึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จำนวน 9 ตัวอย่าง ซึ่งเลือกซื้อจากห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ส่งให้เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้ทดสอบในเรื่องประสิทธิภาพ การปั่นและการบด จากผลการทดสอบมีรุ่นที่แนะนำอยู่สองตัว ติดตามได้ในหน้าถัดไป                         ฉลาดซื้อแนะ 1.      เครื่องปั่น Philips รุ่น HR 2115 และ 7 Otto รุ่น BE-126 ได้คะแนนการทดสอบรวม เกินครึ่ง คือ 12 คะแนน และ 11 คะแนนตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) 2.      จากการทดสอบการใช้งานของเครื่องปั่นและเครื่องบด สามารถสรุปได้ว่า เครื่องปั่นที่ผ่านการทดสอบ ทุกการทดสอบ คือ Otto รุ่น BE-126 เป็นเครื่องปั่นอเนกประสงค์ที่สามารถปั่นและบดได้ 3.      ในการปั่นน้ำผลไม้ ที่ต้องใช้น้ำแข็งก้อน แนะนำเครื่องปั่น Philips รุ่น HR 2115 4.      ในการใช้เครื่องปั่นและเครื่องบด นั้น โดยทั่วไป ในการปั่นผักผลไม้ และการบดเนื้อ ผู้บริโภคสามารถตัดหรือ ซอย ผัก ผลไม้ และเนื้อให้มีขนาดเล็กลงได้ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการปั่นหรือบด เพิ่มขึ้น แน่นอนว่า ก็เป็นภาระที่ยุ่งยาก และเพิ่มขึ้นอีกด้วยเช่นกัน ยิ่งกำลังไฟฟ้า มีขนาดเล็กเท่าไหร่ ผู้บริโภคก็มีภาระในการ ตัดและ ซอย ให้มีขนาดเล็กลง เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้ความละเอียดในการปั่นและบดเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ เครื่องปั่นที่มีกำลังไฟฟ้าสูงกว่า แต่อย่างไร ก็ตามจากผลการทดสอบจะเห็นว่า เครื่องปั่นที่มีกำลังสูงสุดในการทดสอบครั้งนี้ ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ประกันว่า ความสามารถในการปั่นและการบด จะสูงขึ้นตามกำลังไฟฟ้าที่ระบุไว้   ข้อสังเกต ผลการทดสอบปั่นน้ำแข็ง Philips รุ่น HR 2115 สามารถปั่นน้ำแข็งก้อน ได้ละเอียดมากที่สุด(คะแนน ดีมาก) รองลงมาคือ Electrolux รุ่น CRUZO Serie EBR 2601 SHARP รุ่น EM-ICE POWER และ Panasonic รุ่น  MX-900 M สามารถปั่นน้ำแข็งก้อน ได้ละเอียดมาก(คะแนน ดี) ส่วน Otto รุ่น BE-126 และ Tefal  รุ่น BL 233 สามารถปั่นน้ำแข็งก้อน ได้(คะแนน ผ่านการทดสอบ) สำหรับ HW รุ่น CH1  และ Tefal  รุ่น BL 3001 ไม่สามารถปั่นก้อนน้ำแข็งให้ละเอียดได้เลย และเป็นที่น่าสังเกตว่า กำลังไฟฟ้าของเครื่องปั่น HW รุ่น CH1  ที่มีกำลังสูงสุด คือ 750 วัตต์ ตามที่ระบุไว้นั้น ไม่ได้มีผลต่อความสามารถในการปั่นน้ำแข็ง เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องปั่นที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำกว่า และหากพิจารณาถึงความดังของเครื่องปั่น ในการปั่นน้ำแข็ง จะเห็นว่า Philips AJ SHARP และ Panasonic   มีเสียงดังเกินกว่า 90 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับความดังที่ค่อนข้างสูง   ข้อสังเกต ผลการทดสอบปั่นแครอท การทดสอบนี้ ไม่มีเครื่องปั่นหมายเลขใดเลยที่สามารถปั่นแครอท ให้หมดชิ้นได้ ซึ่งคณะผู้ทดสอบจึงให้คะแนนเพียงแค่ผ่านการทดสอบหรือไม่ผ่านการทดสอบ เท่านั้น เครื่องปั่นที่ผ่านการทดสอบได้แก่ Philips รุ่น HR 2115  Electrolux รุ่น CRUZO Serie EBR 2601 HW รุ่น CH1   และ  Otto รุ่น BE-126 (คะแนนผ่านการทดสอบ) นอกนั้นไม่ผ่านการทดสอบ   ข้อสังเกต ผลการทดสอบปั่นสับปะรด เครื่องปั่น SHARP รุ่น EM-ICE POWER   Panasonic  รุ่น  MX-900 M และ  Tefal  รุ่น BL 233 สามารถปั่นได้ละเอียดมากที่สุด (คะแนน ดีมาก) เครื่องปั่น HW รุ่น CH1  และ  Otto รุ่น BE-126 สามารถปั่นได้ละเอียดพอสมควร (คะแนน ผ่านการทดสอบ) ส่วนเครื่องปั่นที่เหลือ ไม่สามารถปั่นได้เลย ชิ้นงานสับปะรดติดคาใบมีด (ดูรูปที่ 1 ประกอบ)   ข้อสังเกต ผลการทดสอบบดหนังหมู เครื่องบด Philips รุ่น HR 2115 AJ รุ่น BL 001 HW รุ่น CH1  และ Otto รุ่น BE-126 สามารถบดได้ละเอียดมากที่สุด (คะแนน ดีมาก) ส่วนเครื่องบดรุ่นที่เหลือ ไม่สามารถบดได้ละเอียดซึ่งจะเห็นชิ้นของหนังหมู คงอยู่เป็นชิ้นใหญ่ (คะแนน ไม่ผ่าน)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 157 เครื่องโกนหนวดไฟฟ้า

เพื่อสยบข่าวลือในหมู่หนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ๆ ว่า ฉลาดซื้อเป็นหนังสือสำหรับแม่บ้าน ฉบับนี้เราเลยนำผลการทดสอบเครื่องโกนหนวดไฟฟ้าที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing (ซึ่งเราร่วมลงขันเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกับเขาปีละ 3,000 ยูโร) ทำไว้มาฝากสมาชิก คราวนี้มีทั้งหมด 19 รุ่นจาก 4 ยี่ห้อ สนนราคาตั้งแต่ 2,790 ถึง 19,000 บาท รุ่นที่ได้คะแนน 5 ดาวเพียงรุ่นเดียวในการทดสอบครั้งนี้ได้แก่ Braun Series 7 790cc-7 Wet&Dry ที่สนนราคา 15,990 บาท เขาให้คะแนนกับ ประสิทธิภาพการโกน (ร้อยละ 40) ความเป็นมิตรต่อผิว (ร้อยละ 40) และความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 20) ถ้าคุณไม่อยากลงทุนมากขนาดนั้น ก็ลองดูผลทดสอบของรุ่นอื่นๆ ได้ในหน้าถัดไป                                           //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 154 เจาะสว่าน...ไร้สาย

ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบมาเอาใจสมาชิกที่สนใจงานช่าง งานดีไอวายกันบ้าง  ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงบ้านหรือทำงานอดิเรก อุปกรณ์หนึ่งที่ขาดไม่ได้เห็นทีจะเป็นสว่านแบบไร้สายที่ต้องใช้ในการเจาะพื้นผิววัสดุต่างๆ  ในปี 2013 องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ทำการทดสอบสว่านไร้สายจำนวน 14 รุ่น 6 ยี่ห้อ (AEG  BOSCH  MAKITA  RYOBI  SKIL และ BLACK&DECKER) ซึ่งมีกำลังไฟตั้งแต่ 12 ถึง 18 โวลท์  สนนราคานั้นจัดว่าไม่น้อย แต่นิตยสาร Choice ของออสเตรเลีย ซึ่งทำการทดสอบสว่านไร้สายรุ่นที่มีจำหน่ายในออสเตรเลียไปก่อนหน้านี้ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่ามันคุ้มค่าที่จะลงทุนกับสว่านราคาสูง เพราะเขายังไม่พบรุ่นราคาถูกที่สามารถใช้งานได้ดีถูกใจชาวดีไอวายเลย สว่านไร้สายในการทดสอบครั้งนี้ส่วนใหญ่ผลิตในประเทศจีน (ยกเว้น BOSCH ที่ผลิตในฮังการี) ทุกรุ่นได้คะแนนความปลอดภัยในระดับ 4 ดาว แต่ในด้านอื่นๆ เช่น ประสิทธิภาพ ความสะดวกในการใช้งาน ความหลากหลายของฟังก์ชั่น และความทนทานนั้นแตกต่างกันไป โปรดติดตามในหน้าถัดไป หมายเหตุ ราคาที่แสดงเป็นราคาที่ได้จากการสืบค้นในอินเตอร์เน็ตในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2556 กรุณาตรวจสอบอีกครั้งก่อนซื้อ         //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 153 หลอดประหยัดไฟ

ห่างหายไปนานสำหรับผลการทดสอบหลอดประหยัดไฟ ครั้งล่าสุดฉลาดซื้อเคยลงไว้ในฉบับที่ 84 คราวนี้เราขอนำเสนอผลการทดสอบหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้ การทดสอบนี้ทำมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราขอเลือกมาเฉพาะรุ่นที่ได้คะแนนรวมมากกว่า 60 เท่านั้น การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบดูความสว่าง (หลังจากเปิดหลอดไฟทิ้งไว้ 100 ชั่วโมง) ระยะเวลาจากการเปิดสวิทช์จนกระทั่งไฟติด ความสว่างหลังจากเปิดใช้งานไปแล้ว 2,000 ชั่วโมง อายุการใช้งานของหลอดไฟ จำนวนครั้งที่ปิด/เปิดสวิทช์ และความเสี่ยงจากการเกิดไฟฟ้าช็อต โดยรวมแล้วเขาพบว่าหลอดไฟเหล่านี้มีความปลอดภัยระดับ 4 ดาว (ผลจากการทดสอบตามมาตรฐาน EN 60 986 6) แต่คะแนนในด้านอื่นๆ นั้นอาจแตกต่างกันไป ติดตามรายละเอียดได้ในหน้าถัดไป                   ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อหลอดไฟเหล่านี้หมดสภาพการใช้งาน อย่าลืมแยกมันออกจากขยะทั่วไปและใส่ถุงปิดปากให้เรียบร้อยก่อนส่งต่อให้รถเก็บขยะ แต่จะดีที่สุดถ้าเรานำมันไปทิ้งถังขยะสำหรับขยะอันตรายโดยเฉพาะ (อาจเป็นสีเทา ส้ม หรือแดง) เพราะหลอดประหยัดพลังงานเหล่านี้มีปรอทเป็นส่วนผสม ถ้าทิ้งไม่ถูกที่อาจทำให้สารพิษออกมาปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมได้       คะแนนรวม กำลังไฟ (วัตต์) รูปร่างหลอดไฟ ความสว่าง (ลูเมน) ความยาวของหลอดไฟ (มิลลิเมตร) เส้นผ่าศูนย์กลางของขั้วหลอด (มิลลิเมตร) เส้นผ่าศูนย์กลางของหลอด (มิลลิเมตร) น้ำหนัก (กรัม) PHILIPS TORNADO Esaver 8W 80 8 B 510 79 40 46.3 40.9 GE Electronic 8W 73 8 H 470 84 41.4 46.1 48.8 MEGAMAN Spiral 8W 69 8 H 500 84.4 37.8 45.1 34.9 MEGAMAN Liliput SLU208i 62 8 3U 400 87.5 35.3 31 32.7 OSRAM Dulux Superstar CL A 62 9 B 430 107.9 45 56.3 66 PHILIPS Genie Longlife 11W 71 11 U3 600 116 44.2 35.1 60.9 OSRAM Dulux Mini Twist 70 11 B 660 91.7 39.9 44.7 40.4 OSRAM Dulux Superstar 11W 69 11 U3 630 118.3 45.2 37.3 61.5 OSRAM Duluxstar 64 11 B 600 123.4 43.1 33.2 61.6 OSRAM Duluxstar Mini Ball 64 11 B 550 113.7 52.2 60.5 69.7 OSRAM Dulux Superstar Micro Twist 11W 64 11 H 650 91.2 42.4 40 48.6 MEGAMAN Compact Classic 1 Matt 63 11 B 580 115.2 50.3 60.6 74 CARREFOUR 11W 63 11 U3 600 114 44.5 33.2 53.8 GE Electronic 12W 78 12 H 715 96.7 40.2 51.9 51.6 PHILIPS Tornado 12W 77 12 H 745 91.3 40.3 47.9 50.8 SYLVANIA Mini-Lynx compact 76 12 H 630 95.4 40.7 45.4 45.2 PHILIPS Tornado ESaver 12W 71 12 H 745 91.3 40.2 46.5 44.1 PHILIPS Softone 12W Energy SaverB 62 12 B 610 118.8 44.5 46 76.4 OSRAM Dulux Mini Twist 70 13 B 780 117.3 42.2 50 56.4 OSRAM Duluxstar 63 14 U3 750 132.4 43.1 32.9 71.3 MEGAMAN Liliput SLU214i 63 14 3U 800 117.9 37.8 33.5 47.5 MEGAMAN Liliput SLU114 62 14 3U 800 121.2 42.4 33.8 52.6 IKEA ES1002S15 74 15 B 900 114.9 52 59.3 78.2 MEGAMAN Liliput Plus 63 15 U6 920 94.5 45.1 42.4 60.1 MEGAMAN Compact Classic 1 63 15 B 850 138.7 50.7 65 104.3 PHILIPS Tornado 20W 78 20 H 1155 126.7 52.1 61.8 97.6 PHILIPS Tornado Esaver 20W 70 20 B 1250 118.8 46.5 56.3 65.1 PHILIPS T65 Softone 20W 63 20 B 1160 133.1 46.7 65.2 101.9

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 118 ประสิทธิภาพของหลอดประหยัดพลังงาน

เชื่อแน่ว่าสมาชิกฉลาดซื้อทุกท่านคงจะใช้หลอดไฟประเภทที่ช่วยประหยัดพลังงานกันอยู่แล้ว เราลองมาดูกันว่าหลอดประหยัดพลังงานเหล่านี้มีความแตกต่างกันมากน้อยอย่างไรในเรื่องของค่าประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงปริมาณของแสงที่ได้เมื่อเทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตแสงดังกล่าว หรือประสิทธิภาพของหลอดไฟดังกล่าวหลังการใช้งานไปนานๆ ว่ามันจะเข้าสู่ภาวะริบหรี่เร็วช้าต่างกันอย่างไร  คราวนี้ฉลาดซื้อขอนำเสนอผลการทดสอบหลอดประหยัดพลังงานที่จัดอยู่ในประเภท Class A ที่ส่งเข้าทดสอบโดยองค์กรผู้บริโภคในยุโรปที่เป็นสมาชิกของ International Consumer Research & Testing หรือ ICRT เพื่อดูประสิทธิภาพของหลอดไฟดังกล่าวหลังการใช้งาน 3,000 ชั่วโมง โดยเลือกเฉพาะยี่ห้อและรุ่นที่มีจำหน่ายในประเทศไทยจำนวน 20 รุ่น (เมกาแมน ออสแรม ฟิลลิปส์ และซิลเวเนีย) ทั้งหมดเป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนส์ (CFL)  • ทั้งหมดให้แสงสว่างใกล้เคียงกับที่แจ้งบนฉลาก• เมื่อผ่านการใช้งาน 100 ชั่วโมง หลอดไฟส่วนใหญ่ใช้กำลังไฟน้อยกว่าหรือเท่ากับที่ผู้ผลิตระบุ ยกเว้นออสแรม  DULUXSTAR MINI BALL 15 วัตต์ ที่ใช้เพิ่มขึ้นจากที่ระบุ 1 วัตต์• เมื่อเปรียบเทียบค่าประสิทธิผล (ลูเมนต่อวัตต์) หลังจากการเปิด 100 ชั่วโมงพบว่า ออสแรม DULUXSTAR MINI TWIST 13 วัตต์ มีค่าประสิทธิผล หรือใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ที่ 69 ลูเมนต่อวัตต์  โดยมี เมกาแมน compact classic 1 Matt GSU109i เข้ามาอันดับท้ายสุด ด้วยค่าประสิทธิผล 42 ลูเมนต่อวัตต์ • มีหลอดประหยัดพลังงานน้อยกว่าครึ่ง ที่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยเท่ากับที่ผู้ผลิตได้แจ้งไว้  • มากกว่าครึ่งหนึ่งของหลอดไฟที่ทดสอบมีค่าความสว่างมากกว่าที่แจ้งไว้บนฉลาก หลังจากการใช้งาน 100 ชั่วโมง• หลอดไฟที่มีความสว่างลดลงน้อยที่สุดหลังการใช้งาน 3,000 ชั่วโมง ในช่วงอายุการใช้งานคือ ออสแรม  DULUXSTAR MINI  TWIST 11 วัตต์ ซึ่งความสว่างลดลงเพียงร้อยละ 4  ในขณะที่ DULUXSTAR MINI BALL 15W นั้น ความสว่างลดลงไปเกือบ 1 ใน 4• ถ้าคำนวณจากอายุการใช้งานทั้งหมดของหลอดไฟ จะพบว่าออสแรม DULUXSTAR MINI TWIST 11W มีอัตราการลดลงของความสว่างน้อยที่สุด (ร้อยละ 10) ในขณะที่ MEGAMAN  Liliput Plus 11W มีการลดลงของความสว่างมากที่สุด (เกือบร้อยละ 90)   ดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง หลอดประหยัดไฟ ได้ที่คอลัมน์ “ช่วง ฉลาด ช้อป”  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 84 หลอดประหยัดไฟ

ในยุคที่ใครๆ ก็ตื่นตัวเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างนี้ คงไม่ต้องบอกถึงเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรหันมาใช้หลอดประหยัดไฟกัน หลายๆบ้านคงเริ่มซื้อมาเปลี่ยนกันกันบ้างแล้ว สนนราคาก็ใช่ว่าจะแพงเกินเอื้อม (อาจจะซื้อแพงกว่าหลอดไส้ในครั้งแรก แต่เมื่อคำนึงถึงค่าไฟในระยะยาวแล้ว มันก็คุ้มค่ากว่ากัน) มีให้เลือกตั้งแต่ห้าสิบบาทจนถึงร้อยกว่าบาท แล้วใครจะไม่อยากใช้ ทั้งอายุการใช้งานนานกว่า และใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเห็นๆองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำการทดสอบหลอดประหยัดไฟรุ่นต่างๆ ที่ผลิตและจำหน่ายในยุโรป เนื่องจากมีรุ่นคล้ายๆ กับที่ขายอยู่ในเมืองไทย ฉลาดซื้อจึงขอนำเสนอผลการทดสอบมาให้ดูกันว่า หลอดประหยัดไฟรุ่นไหน ยี่ห้อไหน ใช้งานได้คุ้มค่ากว่ากัน และ“ไม่ได้โม้” เรื่องอายุการใช้งานและประสิทธิภาพในการประหยัดไฟด้วยหลอดไฟที่ขายในบ้านเราแม้จะยี่ห้อเดียวกันแต่ผลิตที่นี่หรือไม่ก็เมดอินไชน่ากันเสียเป็นส่วนใหญ่ ปีหน้า(ถ้ามีทุนพอ) ฉลาดซื้อจะส่งตัวอย่างจากประเทศไทยไปให้เขาทดสอบด้วย --------------------------------------------------------------------------------------------ออสเตรเลียประกาศว่าจะเปลี่ยนหลอดไส้แบบเดิม มาเป็นหลอดประหยัดไฟทั้งหมดภายในปี 2553 เพื่อเป็นการลดภาวะการเกิดก๊าซเรือนกระจกอังกฤษก็เช่นกัน รัฐบาลวางแผนว่าจะเลิกใช้หลอดไฟฟ้าแบบเดิมภายในปี 2554รัฐเท็กซัส ของอเมริกาก็ทำเก๋ นอกจากจะมีดอกไม้ประจำรัฐ เพลงประจำรัฐ แล้วเมื่อปี 2550 ก็ประกาศให้ หลอดประหยัดไฟเป็นหลอดไฟประจำรัฐกับเขาด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชากรในรัฐหันมาประหยัดพลังงาน p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px Thonburi; color: #454545} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545; min-height: 14.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545} p.p4 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545; min-height: 15.0px} span.s1 {font: 12.0px 'Helvetica Neue'} --------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 82 เสียบไม่เสียว

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอเรื่องทดสอบผลิตภัณฑ์ใกล้ๆ บ้านกันบ้าง เราเชื่อว่าคงไม่มีบ้านไหนไม่ได้ใช้รางปลั๊กต่อพ่วงสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เราได้รับความร่วมมือจากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ที่ทำการทดสอบรางปลั๊กไฟทั้งหมด 18 ราง ที่เราสุ่มซื้อจากห้างต่อไปนี้:   โฮมโปร โฮมเวอร์ค คาร์ฟู บิกซี และโลตัส รางปลั๊กที่นำมาทดสอบ มีตั้งแต่ราคา 660 บาท (แบบ 6 ฐาน) จนถึง 59 บาท (แบบ 3 ฐาน) โดยฉลาดซื้อเลือกทดสอบโดยเน้นเรื่องของความปลอดภัย ใน 4 ประเด็นต่อไปนี้1.    ความต้านทานของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า*  2.    อุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น* 3.    แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ* 4.    ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ*5.    ความยาวของสายไฟ*   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 1.    เราทดสอบเพื่อดูคุณสมบัติของฉนวน  ว่าสามารถป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้าหรือไม่ พูดง่ายๆ คือสามารถป้องกันโอกาสการเกิดไฟดูดได้หรือไม่นั่นเอง ความต้านทานฉนวนและแรงดันไฟฟ้าคือ ค่าคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการทำเต้ารับ ว่าสามารถเป็นฉนวนที่ดีอย่างไร และทนต่อแรงดันไฟฟ้าเกินได้มากน้อยแค่ไหน เป็นตัวชี้วัดคุณสมบัติสภาพของฉนวนที่ใช้2.    เป็นการตรวจสอบว่า เมื่อเราใช้งานมีความร้อนสะสมเกิดขึ้นจนถึงขั้นสามารถนำไปสู่การติดไฟหรือไม่  เมื่อหน้าสัมผัสของตัวรางปลั๊กไม่มีแรงสปริงกดขาของตัวเสียบมากพอ ทำให้เกิดเป็นความต้านทานหน้าสัมผัสที่สูง เมื่อมีกระแสไหลผ่านจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ทำให้ตัวรางปลั๊กร้อน และฉนวนในบริเวณโดยรอบจะเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการลัดวงจรได้ในที่สุด3.    ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมแล้ว เต้ารับไฟฟ้า จะต้องผลิตให้เสียบเข้าและดึงออกได้ง่าย ไม่หลวมเกินไปจนหน้าสัมผัสของปลั๊กไม่สมบูรณ์และนำไปสู่การอาร์ค (หรือที่เราเรียกกันว่าสปาร์ค)  และไม่แน่นเกินไปจนทำให้ถอดปลั๊กออกยาก และเกิดความเสียหายต่อฉนวนของตัวปลั๊กได้ และถ้าหากขั้วโลหะของเต้ารับหลุดออกมา ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เช่นกัน  การที่ค่าแรงดึงมากสุดไม่ผ่าน แสดงว่าสปริงของเต้ารับ กดตัวขาของเต้าเสียบมากเกินความจำเป็น และกรณีค่าแรงดึงน้อยสุดไม่ผ่าน น่าจะมีผลต่อค่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นด้วยเพราะแรงกดน้อยเกินไป4.    วัสดุฉนวนที่ดีต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อตัวรางปลั๊กเอง และป้องกันการลุกลามไปติดสิ่งของอื่นในบริเวณใกล้เคียง5.    ข้อนี้ทดสอบตามหลักการของฉลาดซื้อ ว่าเป็นไปตามที่เขียนไว้ที่ฉลากหรือไม่ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลการทดสอบโดยย่อ•    ทุกรุ่นที่ทดสอบ ผ่านเกณฑ์ด้านความต้านทานของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า•    มีเต้ารับ 3 รุ่น (จากทั้งหมด 18 รุ่นที่ส่งไปทดสอบ) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบถึง 3 ด้าน•    มีเพียง 1 ใน 3 ของรางปลั๊กที่เราสุ่มทดสอบเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ด้านแรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ•    และมีเพียง 5 รุ่นเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ด้านความคงทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ •    เราพบว่าไม่มีรุ่นไหนที่มีความยาวของสายไฟเท่ากับที่ได้แจ้งไว้บนฉลาก โดยส่วนที่หายไปนั้นมีตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 6.2 เซ็นติเมตร •    จากตัวอย่างที่เราส่งทดสอบ เราพบว่าราคาไม่ใช่ตัวชี้วัดเรื่องความปลอดภัยเสมอไปประเด็นอื่นๆ•    สวิตช์ปิดเปิดบนรางปลั๊ก ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ มีประโยชน์ในการช่วยให้เราไม่ต้องถอดหรือเสียบปลั๊กบ่อยครั้ง (ซึ่งเพิ่มโอกาสในการอาร์ค) แต่ขณะเดียวกันสวิตช์ที่ออกแบบมาไม่เหมาะสมกับกระแสไฟที่ไหลผ่าน ก็จะเป็นจุดอ่อน ที่เกิดความร้อนสะสม และอาจนำไปสู่การติดไฟได้  ดีที่สุด เมื่อเลิกใช้งานให้ถอด ปลั๊กพ่วงออกจากเต้ารับที่ผนังบ้าน •    ควรเลือกรางปลั๊กไฟที่สปริงเป็นทองเหลืองเพราะมันสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าเหล็กหรือสังกะสี  การนำไฟฟ้าที่ไม่ดีทำให้เกิดความร้อนสะสม ซึ่งอาจนำไปสู่การขยายตัวของวัสดุ ทำให้ไม่สามารถเสียบปลั๊กได้แน่นอีกต่อไป หรืออาจนำไปสู่การลุกไหม้ในที่สุด•    วัสดุฉนวนที่ใช้ทำเต้ารับที่ดี ควรทำจากพลาสติกชนิดที่เรียกกันว่า ABS (ซึ่งมีราคาแพงกว่าพลาสติกพีวีซี) -------------------------------------------------------------------------------------------------------- ฉลาดซื้อขอขอบคุณ คำแนะนำจาก อาจารย์ ดร. วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณธีระ ริมปิรังษี จากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  -------------------------------------------------------------------------------------------------------- >>> รุ่นเดียวที่ผ่านเกณฑ์ทุกด้านZircon DPN-41062 ราคา 370 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้า>>> 3 รุ่น ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบด้านอุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ และความคงทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติPaCo MYW-6 TMราคา 115 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้าข้อความบนฉลาก: -PaCo MTW 823ราคา 179 บาทจำนวนเต้ารับ 8 เต้าข้อความบนฉลาก: “เต้าเสียบไฟนี้ใช้ทองเหลืองแท้”GGG UN 6ราคา 99 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้าข้อความบนฉลาก: “ปลอดภัย สายไฟหุ้มฉนวน 2 ชั้นแข็งแร็งทนทาน รองรับขาปลั๊กไฟได้ทั่วโลก ขาปลั๊กเสียบแน่น (ไม่หลวม)”ตารางรวม ยี่ห้อ/ รุ่น จำนวนเต้ารับ ราคา ความต้านทางของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า อุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ ไฟ และการเกิดรอย ความยาวที่หายไป  (เซ็นติเมตร) Zircon DPN-41062 6 370 ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 1.6 TAC PT 24 6 159 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X 1.5 CSC Power 705-3M 6 130 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X 1.15 คุ้มค่า 6 69 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X ไม่ได้ระบุความยาว แต่วัดได้ 2.87 เมตร Won Pro WES4-105 6 660 ผ่าน ผ่าน X ผ่าน ไม่ได้ระบุความยาว แต่วัดได้ 1.89 เมตร Carrefour 960A 6 239 ผ่าน ผ่าน X ผ่าน 1.4 Perfect Technology 554A 3 142 ผ่าน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 102 “เตาแม่เหล็กไฟฟ้า คุ้มค่าแค่ไหน”

“เสน่ห์ปลายจวักผัวรักจนตาย” สุภาษิตไทยโบราณที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำกับข้าวเข้าครัวของฝ่ายหญิงที่ใช้เป็นสิ่ง ผูกมัดใจฝ่ายชายให้อยู่กับบ้านกินกับเรือน ไม่ให้หนีไปหากิ๊กที่อื่นหรือมีข้ออ้างไปหาอาหารกินนอกบ้าน เรื่องดังกล่าวถือเป็นวัฒนธรรมที่ ยกให้ผู้หญิงเป็นใหญ่หรือเป็นคนสำคัญในบ้าน คล้ายกับวัฒนธรรมของชาวอิตาเลี่ยนที่คุณย่าหรือคุณยายมีหน้าที่ทำอาหารเลี้ยงคนใน ครอบครัวและเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในบ้าน เพราะเป็นผู้ที่รักษาความลับในการทำพาสต้าให้คนในครอบครัว รับประทานอย่างเอร็ดอร่อย และเมื่อลูกสะใภ้หรือลูกสาวได้รับการถ่ายทอดเคล็ดลับการทำอาหารจากคุณย่าหรือคุณยายแล้วก็จะเป็นแม่ ครัวประจำบ้านแทนทันที เมื่อนั้นความสำคัญในครอบครัวก็จะตกมาอยู่ที่ลูกสาวหรือลูกสะใภ้ต่อไป   ปัจจุบันการจะทำอาหารรับประทานกินเองในครอบครัวนั้น ถูกจำกัดด้วยสภาพที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ที่ต้องอาศัย อยู่ในอาคารชุด ทำให้มีข้อจำกัดในการทำอาหารรับประทานเองในที่พักอาศัย เนื่องจากอาคารชุดบางแห่งห้ามใช้เตาแก๊สในการประกอบอาหาร ทำให้ “เตาไฟฟ้า” เป็นทางเลือกหนึ่งในการหุงต้มอาหาร ซึ่งเตาไฟฟ้ามีข้อดีหลายอย่าง แต่ใช้เวลานานในการให้ความร้อนเมื่อเทียบกับเตาแก๊ส ในปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับเตาไฟฟ้าเพื่อใช้ประกอบอาหารก้าวหน้าไปมาก “เตาแม่เหล็กไฟฟ้า” ถือได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ใน การปรุงอาหาร ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าให้เลือกใช้หลากหลายยี่ห้อที่วางขายอยู่ในท้องตลาด การทดสอบนี้เป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้บริโภคที่สนใจจะซื้อเตาแม่เหล็กไฟฟ้าได้ทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกซื้อเตาไฟฟ้าให้ตรงกับความต้องการและงบประมาณที่กำหนด ฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้สุ่มซื้อเตาแม่เหล็กไฟฟ้า จำนวน 15 ยี่ห้อ 16 รุ่น จากห้างสรรพสินค้า และไฮเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ราคาตั้งแต่ 999 บาท ถึง 6,000 บาท โดยทดสอบเปรียบเทียบในเรื่องการใช้พลังงาน การใช้งาน และการปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Elektrosmog) แสดงผลตามตาราง  การทดสอบการใช้พลังงานทดสอบโดยต้มน้ำปริมาตร 1.5 ลิตร เปิดฝา จับเวลา และวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้มจนกระทั่งน้ำเดือด ผลจากการทดสอบสามารถแบ่งเตาแม่เหล็กไฟฟ้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กินไฟน้อย ได้แก่ เตายี่ห้อ VZIO, House Worth, Orchid, Nicole, Electrolux และ Toshiba กลุ่มที่กินไฟปานกลาง ได้แก่ AJ, Midea, Hanabishi, Imarflex รุ่น IF-830, Imarflex รุ่น IF- 863, OTTO, Zebra Head, Fagor และ Mamaru กลุ่มที่กินไฟมาก ได้แก่ Oxygen การทดสอบการปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electrosmog)สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากเตาแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดค่าสนามแม่เหล็กแบบดิจิตอล ยี่ห้อ Gigahertz Solution รุ่น ME 3030 B ระหว่างช่วงความถี่ 16 เฮิตร์ซ ถึง 2000 เฮิตร์ซ โดยวางเครื่องมือวัดให้มีระยะห่างจากเตาแม่เหล็กไฟฟ้า 50 เซนติเมตร และเปิดเตาไฟฟ้าที่กำลังสูงสุด จากการทดสอบสามารถอ่านค่าความเข้มสนามแม่เหล็กได้สูงสุด 2000 นาโนเทสลา (nT) สำหรับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้ค่าความเข้มสนามแม่เหล็กมากกว่า 2000 นาโนเทสลา (nT) เครื่องมือวัดฯ ไม่สามารถประเมินในเรื่องความปลอดภัยได้ อย่างไรก็ตาม สถาบัน T?V Rheinland หน่วยงานอิสระที่ทำการทดสอบทางด้านเทคนิคของประเทศเยอรมนี ได้ให้คำแนะนำว่า ค่าความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ควรเกินกว่า 200 นาโนเทสลา (nT) การใช้งาน การใช้งานของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าพิจารณาจากคู่มือการใช้งาน และแผงหน้าปัด คู่มือการใช้งาน ในการจัดทำคู่มือการใช้งานของผลิตภัณฑ์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย คู่มือการใช้งานได้ดีมาก ได้แก่ Toshiba ซึ่งเป็นคู่มือการใช้งานที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ ตัวหนังสือมีขนาดใหญ่ อ่านง่าย สบายตา มีภาพประกอบคำอธิบายชัดเจน คู่มือการใช้งานได้ดี ได้แก่ House Worth, AJ, Zebra Head และ Mamaru ขนาดตัวหนังสือที่ใช้อธิบายมีขนาดใหญ่ อ่านง่าย แต่มีภาพประกอบน้อย คู่มือการใช้งานได้พอใช้ ได้แก่ ยี่ห้อ Electrolux, Fagor, Imaflex รุ่น IF 830 และรุ่น IF 863, Midea และ Hanabishi ตัวหนังสือขนาดใหญ่ มีภาพประกอบน้อย และมีข้อมูลในการใช้งานน้อย คู่มือการใช้งานที่ต้องปรับปรุง ได้แก่ VZiO, Orchid, OTTO, Nicole, และ Oxygen โดยเฉพาะยี่ห้อ VZiO ไม่มีคู่มือที่แปลเป็นภาษาไทย แผงหน้าปัด แผงหน้าปัดควบคุมของผลิตภัณฑ์ แบ่งตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบสัมผัส (Touch screen) ได้แก่ เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ยี่ห้อ Electrolux, House Worth, VZIO, OTTO, Fagor, Zebra Head และ Toshiba แบบปุ่มกด ได้แก่ Orchid, Nicole, AJ, Midea, Hanabishi, Imaflex รุ่น IF 830 และ รุ่น IF 863, Mamaru และ Oxygen แผงหน้าปัดถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการใช้งาน เพราะต้องสื่อสารด้วยสัญลักษณ์หรือภาษาที่เข้าใจง่าย ตัวหนังสือ ต้องมีขนาดใหญ่ เห็นได้ชัดเจน บางยี่ห้อ ปุ่มกดหรือผิวสัมผัส มีขนาดเล็ก ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน โดยเฉพาะผู้ใช้งานสูงอายุ ที่มีความสามารถในการมองเห็นและการได้ยินค่อนข้างจำกัด จากการทดสอบเตาแม่เหล็กไฟฟ้าทุกรุ่น พบว่า ปุ่มกดหรือผิวสัมผัสจะมีเสียงสัญญาณ เพื่อยืนยันการกดใช้งาน นอกจากนี้ยังมีสัญญาณไฟเพื่อบอกการทำงานของเตาด้วย ตัวอย่างแผงหน้าปัดที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ที่มีขนาดใหญ่ ภาพและตัวหนังสือ ชัดเจน และมีภาษาไทยประกอบ คือ Hanabishi, Zebra Head และ AJ ดูรูปที่ภาคผนวก 1 แผงหน้าปัดที่ไม่มีภาษาไทยประกอบคือ Imaflex รุ่น IF- 863, Toshiba, VZiO, Orchid, Nicole, Oxygen, Midea, OTTO, Fagor, และ Electrolux ซึ่ง แผงหน้าปัดมีการใช้สัญลักษณ์ เพียงอย่างเดียวทำให้ผู้ใช้งานสับสนได้ ดูรูปที่ภาคผนวก 2 แผงหน้าปัด ที่มีภาพและตัวหนังสือขนาดเล็ก แป้นกดขนาดเล็ก คือ Imaflex รุ่น IF 830, House Worth, Mamaru ดูรูปที่ภาคผนวก 3ความปลอดภัยเตาแม่เหล็กไฟฟ้าขณะทำงานจะมีการสร้างสนามแม่เหล็กส่งผ่านมายังกระทะสแตนเลส (ใช้ได้เฉพาะโลหะที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก หรือแม่เหล็กถาวรดูดติดเท่านั้น) ขึ้นมาด้านบน ซึ่งมีน้ำหรือน้ำมันอยู่ และย้อนกลับไปยังเตาแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กนี้เองที่เป็นตัวสร้างความร้อนให้เกิดขึ้นที่ก้นภาชนะ และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำหรือน้ำมันในกระทะสแตนเลส ในขณะที่ตัวกระทะด้านบนยังมีความเย็นอยู่และจะร้อนขึ้นจากการถ่ายเทความร้อนมาจากก้นภาชนะขึ้นมา บริเวณแผ่นส่งความร้อนตรงที่ไม่ได้มีภาชนะวาง จะไม่เกิดการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก จึงไม่เกิดความร้อน เพราะฉะนั้นบริเวณรอบๆ ภาชนะ จึงไม่ได้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นข้อดีประการหนึ่งของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่ป้องกันอันตรายจากความร้อนของหัวเตา เตาแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถใช้ได้กับภาชนะที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก หม้อหรือภาชนะที่เป็นอลูมิเนียม หรือกระเบื้อง หรือแก้วไม่สามารถใช้อุ่นหรือปรุงอาหารด้วยเตาแม่เหล็กไฟฟ้าได้ ดังนั้นหากเราต้องการอุ่นอาหารด้วยหม้ออลูมิเนียมแล้วเตาแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวไม่ทำงาน ก็ไม่ได้หมายความว่าเตาแม่เหล็กไฟฟ้าชำรุดแต่ประการใด เตาแม่เหล็กไฟฟ้าขณะที่กำลังทำงานอยู่จะมีการสั่น ซึ่งสามารถทำให้กระทะหรือหม้อมีการเคลื่อนที่ได้ และถ้าโต๊ะหรือที่วางเตาแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ได้ระนาบ กระทะหรือหม้ออาจจะพลิกหรือตกจากเตาได้ ดังรูปที่ 1  รูปที่ 1 ความเสี่ยงจากการใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้าบนโต๊ะที่ ไม่ได้ระนาบ ผลข้างเคียงจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเสี่ยงของมนุษย์ภายใต้สภาวะสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความเข้มข้นสูงนั้น มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังเป็นข้อถกเถียงกันของนักวิชาการฝ่ายที่ทำงานให้กับบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และฝ่ายที่ทำงานในด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จนถึงปัจจุบันนี้ ในยุโรปเองก็ยังไม่มีข้อสรุปในการออกเป็นกฎหมายบังคับ และยังไม่มีงานวิจัยใด ที่สามารถบ่งชี้ถึงผลข้างเคียงต่อผู้บริโภค เพราะการพิสูจน์เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมาก แต่ในฐานะผู้บริโภคเราควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ในด้านลบหากอยู่ภายใต้ความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กสูงๆ เป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ pace maker ไม่ควรที่จะเข้ามาอยู่ใกล้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าขณะเครื่องทำงาน เพราะสนามแม่เหล็กอาจจะไปรบกวนการทำงานของเครื่อง pace maker หรือไปหยุดการทำงานของเครื่อง pace maker ได้เช่นกัน ซึ่งประเด็นเรื่อง electrosmog เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จะหาโอกาสมาเล่าถึงในโอกาสต่อไป เตาแม่เหล็กไฟฟ้ากับการประหยัดพลังงานหลักการโดยทั่วไปในการหุงต้มในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือ ความร้อนที่เกิดจากการใช้ก๊าซธรรมชาติ จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าความร้อนที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า เพราะการใช้พลังงานปฐมภูมิ (เช่น ก๊าซธรรมชาติ) มีประสิทธิภาพดีกว่าพลังงานความร้อนที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่มีการสูญเสียพลังงานโดยรวมมากกว่า แต่ในด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะการหุงต้มในอาคารชุด จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเตาหุงต้มประเภทต่างๆ คือ เตาไฟฟ้า ที่ทำจากเหล็กหล่อ (Cast iron hot plate) เตาอินฟราเรด เตาอินฟราเรดพร้อมเซนเซอร์ เตาฮาโลเจน และเตาแม่เหล็กไฟฟ้า (Induction hot plate) จากรูปสามารถสรุปได้ดังนี้ รูปที่ 2 แผนภูมิแสดงการใช้พลังงานในการทดสอบของ เตาไฟฟ้าประเภทต่างๆ [1] จากผลการทดสอบเปรียบเทียบการต้มน้ำปริมาตร 1.5 ลิตร เตาอินดัคชันใช้พลังงานในการต้มน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเตาชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ในการอุ่นอาหารและรักษาอุณหภูมิอุ่น นาน 45 นาที เตาอินดัคชันใช้พลังงานน้อยที่สุดเช่นกัน ประเภทของเตาไฟฟ้า  รูปที่ 3 รูปแสดงประเภทของเตาไฟฟ้า [2] เตาไฟฟ้าสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะแผ่นส่งความร้อนออกเป็น 2 ประเภทคือ1. เตาไฟฟ้าแบบธรรมดา แผ่นส่งความร้อนเป็นเหล็กหล่อใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำให้เตาเกิดความร้อน มีราคาถูกกว่าเตาไฟฟ้าแบบอื่น (รูปประกอบ 3ก)2. เตาไฟฟ้าแบบแผ่นส่งความร้อนทำจากเซรามิก เตาประเภทนี้สามารถจำแนกพลังงานที่ทำให้เกิดความร้อน ได้ 4 ประเภท คือ 2.1 เตาอินฟราเรด (Infrared hot plate) เป็นเตาที่ให้ความร้อนโดยใช้รังสีอินฟราเรด (รูปประกอบ 3ข) 2.2 เตาฮาโลเจน (Halogen hot plate) เป็นเตาที่ให้ความร้อนโดยขดลวด ภายใต้บรรยากาศก๊าซเฉื่อย) (รูปประกอบ 3ข) 2.3 เตาอินดัคชัน (Induction hot plate) (รูปประกอบ 3 ค) เป็นเตาที่ใช้หลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจากการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งความร้อนดังกล่าวจะเกิดบริเวณก้นภาชนะที่เป็นวัสดุประเภทเฟอโรแมกเนติก (Ferromagnetic- วัสดุที่สามารถใช้แม่เหล็กดูดแล้วติด เช่น เหล็กเหนียว และเหล็กหล่อ) โดยบริเวณอื่นของภาชนะไม่เกิดความร้อนจากการเหนี่ยวนำ แต่เกิดจากการนำความร้อนจากก้นภาชนะ สำหรับบริเวณด้านนอกที่ก้นหม้อหรือกระทะ ไม่ได้สัมผัสกับเตาจะไม่เกิดความร้อนเช่นกัน ทำให้สามารถใช้มือสัมผัสได้ หรือถ้าเราเปิดเตาแต่ไม่ได้วางภาชนะลงไปก็จะไม่เกิดความร้อนขึ้น ถือได้ว่าเตาแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์การทำอาหารที่ค่อนข้างปลอดภัย โดยการให้ความร้อนแบบนี้เรียกว่า (cold cooking) 2.4 เตาแก๊ส ความร้อนได้จากการเผาไหม้ของก๊าซธรรมชาติ (รูปประกอบ 3 ง) ซึ่งการให้ความร้อนของเตาทั้งสามประเภทนี้ หากเราปล่อยให้ความร้อนสูงเกินไปจะทำให้แผ่นส่งความร้อนไหม้ได้ (Overheating) ภาชนะที่เหมาะสมกับเตาอินดัคชันภาชนะที่เหมาะสมที่ใช้กับเตาอินดัคชันต้องเป็นวัสดุที่สามารถดูดติดกับแม่เหล็กได้ และขนาดของภาชนะควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 12 เซนติเมตร ก้นของภาชนะต้องแบนราบ เพราะหากก้นของภาชนะมีลักษณะโค้งเว้าจะทำให้พลิกคว่ำได้ง่าย ในกรณีที่ภาชนะมีขาตั้ง ระยะห่างระหว่างก้นของภาชนะกับแผ่นนำความร้อนไม่ควรจะสูงเกินกว่า 2 มิลลิเมตร การบำรุงรักษาเตาแม่เหล็กไฟฟ้าหลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรตั้งเตาทิ้งไว้สักพัก ให้เย็นตัวลง หลังจากนั้นใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบนน้ำหมาดๆ เช็ดให้สะอาด หากมีคราบน้ำมันติดอยู่ ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำยาล้างจาน เช็ดคราบสกปรกออก และขณะทำความสะอาดควรถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้ง เนื่องจากแผ่นเตาเป็นวัสดุที่ทำจากแก้ว หรือเซรามิก จึงมีความเปราะ เวลาตั้งภาชนะ ไม่ควรกระแทกลงบนเตา และไม่ควรใช้โลหะหรือฝอยขัดหม้อขัดที่ผิวเตา หากผิวเตาแตกชำรุดไม่ควรใช้งานต่อ สรุปผลการทดสอบผลการทดสอบนี้พบว่า เตาแม่เหล็กไฟฟ้าหลายยี่ห้อประหยัดพลังงาน แต่ประเด็นเรื่องการจัดทำคู่มือการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานนั้น พบว่ามีหลายยี่ห้อที่ยังต้องปรับปรุงและให้ความสำคัญในประเด็นนี้เพิ่มมากขึ้น สำหรับแผงหน้าปัดควบคุมการใช้งานควรมีภาษาไทยประกอบ ซึ่งบางยี่ห้อไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้เลย การให้คะแนนผลิตภัณฑ์ที่น่าใช้งาน แบ่งตามเกณฑ์ดังนี้ เกณฑ์การประเมินดังกล่าวผู้บริโภคสามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการตัดสินใจเลือกซื้อเตาแม่เหล็กไฟฟ้าได้ เอกสารอ้างอิง1 วารสาร Test ฉบับที่ 8 ปี 20042 เอกสาร Eco Top Ten for stove and hot plate,Institute for Applied Ecology, 2008 ภาคผนวก รูปที่ 1: ตัวอย่างแผง หน้าปัดเตาแม่เหล็ก ไฟฟ้า ที่มีปุ่มกดมีขนาด ใหญ่ เห็นได้ชัดเจน มี ภาษาไทยประกอบ เข้าใจง่าย รูปที่ 2: ตัวอย่างแผง หน้าปัดเตาแม่เหล็ก ไฟฟ้า ที่ไม่ มีภาษาไทย ประกอบ เน้นการใช้ สัญลักษณ์ เข้าใจยาก ไม่สะดวกในการใช้งาน รูปที่ 3: ตัวอย่างแผง หน้าปัดเตาแม่เหล็ก ไฟฟ้า ที่มีปุ่มกดและตัว อักษรขนาดเล็ก ไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 174 กระแสต่างแดน

ยังไม่พร้อมความพร้อมในการอพยพผู้อยู่อาศัยในบริเวณรอบๆ โรงไฟฟ้าเซนได(ซึ่งคาดว่าจะกลับมาใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม) ยังคงต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยของญี่ปุ่นทั้งประเทศการสำรวจโดยหนังสือพิมพ์อาซาฮีพบว่า มีสถานพยาบาล 2 แห่งจาก 85 แห่ง และศูนย์พักฟื้น 15 แห่ง จาก 159 แห่งในรัศมี  30 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวเท่านั้นที่เตรียมพร้อมแผนอพยพในกรณีฉุกเฉินถ้ารวมความพร้อมในเขตโรงงานนิวเคลียร์ทั้งประเทศจะพบว่า มีเพียงร้อยละ 34 เท่านั้นจัดทำแผนอพยพแล้ว ในปี 2012 รัฐบาลญี่ปุ่นขยายเขตการเตรียมตัวเมื่อเกิดภัยพิบัติ จากรัศมี 8 – 10 กิโลเมตรเป็น 30 กิโลเมตร และกำหนดให้สถานพยาบาลต่างๆ ระบุสถานที่พักสำหรับคนไข้ เส้นทางการอพยพ รูปแบบการเดินทางขนส่งที่จะใช้ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการอพยพผู้ป่วยและชาวบ้านเหมือนเหตุการณ์ที่เมืองฟุกุชิมะนอกจากนี้ยังกำหนดให้เมืองและหมู่บ้าน 135 แห่งในรัศมี 30 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้าทุกโรง รวบรวมรายชื่อผู้ที่ไม่สามารถอพยพด้วยตนเองได้เอาไว้ด้วย แต่การสำรวจพบว่า 1 ใน 4 ของหมู่บ้านเหล่านี้ยังไม่ได้ทำ ปัจจุบันเตาปฏิกรณ์ปรมาณูทุกตัวในญี่ปุ่นถูกพักงาน แต่บริษัทคิวชู อิเล็กทริก พาวเวอร์ กำลังผลักดันให้เซนไดเป็นโรงงานแรกที่เริ่มใช้งานเตาดังกล่าวอีกครั้ง ภายใต้มาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น และในอนาคตอัน โรงไฟฟ้าทากาฮามาและโรงไฟฟ้าอิคาตะก็จะเริ่มเดินเครื่องเตาเหล่านี้เช่นกัน   ระวัง “ของนอก” อาหารปลอมจากจีนระบาดไปหลายประเทศ จึงไม่แปลกที่เราจะได้ยินข่าวว่าคนจีนก็ไม่ไว้ใจอาหารในประเทศตัวเองผู้ประกอบการหลายเจ้าจึงไม่ยอมพลาดโอกาสจัดหาสินค้าแบรนด์นอกเข้ามาสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการอาหาร “ปลอดภัยและมีคุณภาพ”  นมผงสำหรับทารกเป็นหนึ่งในสินค้าที่ว่า บรรดาผู้ผลิตนมผงยี่ห้อที่ได้รับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศต้องกำหนดโควตาการส่งออกไปยังประเทศจีน เพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนในประเทศตัวเอง แม้แต่นักท่องเที่ยวที่ถือโอกาสไปหิ้วมาด้วยตนเองก็เริ่มพบอุปสรรค เพราะต้นทางเขาจำกัดจำนวนซื้อ (ฮ่องกงอนุญาตให้นักท่องเที่ยวจีนซื้อได้คนละ 2 กระป๋อง ออสเตรเลียให้ซื้อได้คนละ 4 กระป๋อง) โอกาสใหม่สำหรับพ่อค้าหัวใสจึงบังเกิด เขาเอาใจผู้นิยมของนอกด้วยการ “จ้าง” โรงงานในประเทศที่มีชื่อเสียงด้านผลิตภัณฑ์นม อย่างออสเตรเลีย เป็นผู้ผลิตให้ บนกระป๋องมีฉลากที่ระบุว่า “มาจากออสเตรเลีย” และ “ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่ดูแลผลิตภัณฑ์นมของออสเตรเลีย” แล้วขายออนไลน์ในราคาถูกจนไม่น่าเชื่อขนาดรวมค่าจัดส่งแล้ว นมผงกระป๋องขนาด 1,800 กรัม ราคาประมาณ 600 บาทเท่านั้นมันเป็นสินค้า “จากออสเตรเลีย” ที่คุณหาซื้อไม่ได้ในออสเตรเลียแน่ๆ แล้วก็ได้แต่สงสัยว่ามัน “ผลิตในออสเตรเลีย” จริงหรือเปล่า  อยากรู้ ต้องได้รู้กฎหมายที่กำหนดให้ไม่ต้องมีการติดฉลากอาหารที่มีส่วนประกอบผ่านการดัดแปรพันธุกรรม หรือ  Safe and Accurate Food Labeling Act กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาโดยวุฒิสภาอเมริกันเร็วๆ นี้ร่างกฎหมายนี้มีคนตั้งชื่อให้ว่า DARK Act หรือ Denying Americans the Right–to-Know Act เพื่อประชดที่กฎหมายดังกล่าวละเมิดสิทธิที่ผู้บริโภคจะได้รู้ว่ามีอะไรอยู่ในอาหารที่พวกเขารับประทาน Just Label It หนึ่งในองค์กรที่คัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวระบุว่า ร้อยละ 90 ของคนที่พวกเขาสอบถาม เห็นด้วยกับการติดฉลาก และยังมีอีกกว่า 200,000 คนที่ลงชื่อออนไลน์ว่าไม่เห็นด้วยกับ “พรบ. มืด” ดังกล่าว ดาราสาวกวินเน็ธ พาลโทรว์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น เธอมาร่วมประท้วงในฐานะคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกๆได้สิ่งที่ดีและสมควรได้รู้ว่าเธอกำลังให้พวกเขารับประทานอะไร  คุณแม่ของเธอก็มาด้วยเพราะเชื่อว่ายังมีเรื่องที่ต้องพิสูจน์อีกมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารดัดแปรพันธุกรรม ด้านอุตสาหกรรมอาหารอ้างว่า การติดฉลากจะทำให้ผู้บริโภคสับสน แถมยังต้องจ่ายเงินมากขึ้นถึงปีละ 500 เหรียญ (17,500 บาท) ต่อครัวเรือน แถมยังแขวะดาราสาวว่าหาเรื่องเกาะกระแสแก้ตกเทรนด์หรือเปล่า    ปัจจุบัน จีน บราซิล รัสเซีย ออสเตรเลีย ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ รวม 64 ประเทศ มีกฎหมายบังคับการติดฉลากระบุว่ามีส่วนผสมที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรมแล้ว    โดนเรียกคุยหลังจากชาวเน็ตในสิงคโปร์พากันแชร์รูปพนักงานร้าน BreadTalk เทนมถั่วเหลืองยี่ห้อ Yeo’s ลงในขวดแบ่งของทางร้าน ที่ติดฉลากว่า “freshly prepared” (ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าทางร้านทำเองทุกวัน)ทางร้านออกมาขอโทษและหยุดขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว BreadTalk ยอมรับว่าเขาแบ่งนมถั่วเหลืองพาสเจอไรส์ยี่ห้อเย่วอี้มาใส่ขวดขายในร้านจริง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่ร้านอาหารนิยมทำ(แต่ร้านอื่นเขาไม่ได้ติดฉลากที่ว่านะคุณ)ร้านให้เหตุผลว่าปกติแล้วขวดเหล่านั้นเป็นขวดสำหรับใส่น้ำผลไม้คั้นสด ไม่ได้ใช้สำหรับนมถั่วเหลือง และจะดูแลไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีก  แต่นั่นยังไม่เพียงพอ สมาคมผู้บริโภคแห่งสิงคโปร์ CASE – Consumers Association of Singapore บอกว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และเรียกร้านขนมปังเจ้าดังสัญชาติสิงคโปร์ (ซึ่งมีสาขาอยู่ในบ้านเราด้วย) เข้ามาพูดคุยปรับความเข้าใจเนื่องจากฉลากทำให้เข้าใจได้ว่าทางร้านเป็นผู้ผลิตนมถั่วเหลืองเองทุกวัน ซึ่งสอดคล้องกับการมีราคาสูงกว่านมถั่วเหลืองที่เทจากกล่อง ผู้บริโภคจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำดังกล่าวได้   บอลลิวูดลดโลกร้อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ไม่ต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้พลังงานมหาศาลและสร้างผลกระทบมากมายต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางของทีมงาน นักแสดง การใช้แสง สี เสียง และเอฟเฟคต่างๆ รวมถึงอาหารการกิน ไหนจะวัสดุต่างๆที่นำมาสร้างฉากอีก ทั้งหมดนี้ล้วนทำให้เกิด “รอยเท้าคาร์บอน” ภาพยนตร์เรื่อง “Aisa Yeh Jahaan” เป็นภาพยนตร์อินเดียเรื่องแรกที่มีการบันทึกข้อมูลรอยเท้าคาร์บอน การถ่ายทำภาพยนตร์ดรามาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเรื่องนี้ สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ 78.47 ตัน คิดจากการใช้พลังงานทั้งทางตรง (ไฟฟ้าที่ใช้) และทางอ้อม (อาหาร การเดินทาง ฯลฯ)  เพื่อเป็นการชดเชยมลพิษที่สร้างขึ้น ผู้สร้างต้องปลูกต้นไม้ทั้งหมด 560 ต้น แนวทางการวัดและจัดการร้อยเท้าคาร์บอนสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ถูกกำหนดขึ้นโดยสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์ BAFTA ของอังกฤษ และ PGA ของอเมริกา ที่ผ่านมาพบว่าหนังค่ายเล็กๆ จะสร้างคาร์บอนฯประมาณ 100 ตัน แต่ถ้าเป็นหนังฟอร์มยักษ์ ก็อาจสร้างคาร์บอนฯ ได้มากถึง 10,000 ตันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของลอนดอนเจ้าเดียวก็ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 125,000 ตัน ต่อปี (เทียบเท่ากับปริมาณจากบ้าน 24,000 หลังเลยทีเดียว)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 กระแสต่างแดน

โบนัสขจัดมลพิษ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของฝรั่งเศสต้องการส่งเสริมให้ผู้คนเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ดีเซลมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า จึงเสนอให้เงิน 10,000 ยูโร (ประมาณ 370,000 บาท) กับผู้ที่ยินดีเปลี่ยน โครงการนี้จะเริ่มในเดือนเมษายนนี้ รมต.สิ่งแวดล้อมบอกว่าถึงเวลาแล้วที่จะหยุดละเมิดสุขภาพของประชาชน เพราะมีเทคโนโลยีที่เป็นทางออกแล้ว แต่เงื่อนไขมีอยู่ว่าคุณต้องเป็นผู้อยู่อาศัยในเขตที่มีมลภาวะสูงที่สุดในประเทศที่นิยมเรียกกันว่า PPA ทั้ง 23 เขต และคุณต้องมีหลักฐานมาแสดงว่าคุณได้นำรถที่อายุเกิน 13 ปีของคุณไปส่งที่สุสานรถเก่าแล้ว สินจ้างรางวัลสำหรับคนรักสิ่งแวดล้อมยังมีอีก เช่น เจ้าของรถไฮบริดทั่วไปจะได้รับโบนัส 1,500 ยูโร (55,900 บาท) แต่ถ้าใครใช้รถไฮบริดแบบชาร์จไฟได้ก็มีโบนัสให้ 2,500 ยูโร (93,000 บาท) ในทางกลับกัน เจ้าของรถที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต้องเสียค่าปรับ ระหว่าง 150 – 3,700 ยูโร (5,600 – 138,000 บาท) ฝรั่งเศสวางแผนติดตั้งสถานีชาร์จแบตฯให้ได้ 7 ล้านจุดทั่วประเทศ ทั้งในบริเวณลานจอดรถทั้งของรัฐและเอกชน สถานีรถไฟ ซูเปอร์มาร์เก็ต และสนามบิน   มีขึ้นต้องมีลง มาเลเซียประกาศลดค่าไฟฟ้าในเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ... ก็ไม่มีอะไรมาก แค่ต้นทุนการผลิตเขาลดลง รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เทคโนโลยีสะอาด และน้ำ ประกาศว่าค่าไฟจะลดลงร้อยละ 3.5 สำหรับครัวเรือนบนคาบสมุทรมาเลย์ ในขณะที่ผู้ใช้ไฟในซาบาห์และลาบวนก็จะเสียค่าไฟน้อยลงร้อยละ 5.8 เช่นกัน เอาเป็นว่าเขาจะประหยัดกันได้เดือนละประมาณ 120 บาท และ 400 บาท ตามลำดับ เขาบอกว่าร้อยละ 70 ของผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากงานนี้ ที่ทำได้เพราะว่าบริษัทเทนากา เนชั่นแนล ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้ารายใหญ่ของมาเลเซียเขาสามารถประหยัดเงินได้ 700 กว่าล้านริงกิต (ไม่ต่ำกว่า 6,600 ล้านบาทไทย) จากค่าเชื้อเพลิงและค่าการผลิตที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ถามว่าทำไมถึงลดแค่เดือนมิถุนายน ก็เพราะมาเลเซียใช้กลไกการคิดอัตราค่าไฟแบบ ICPT (Imbalance Cost Pass Through) ที่ทำให้รัฐสามารถเพิ่มหรือลดอัตราค่าไฟได้ด้วยการคำนวณจากราคาของถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมันดิบ โดยรัฐจะคำนวณอัตราค่าไฟทุกๆ 6 เดือน เอาเป็นว่าเดือนมิถุนายนนี้มาดูกันใหม่อีกที อาจจะถูกหรือแพงกว่านี้ก็ต้องมาลุ้นกัน ... ยังดีที่ได้มีโอกาสลุ้น เครื่องดื่ม 18 + คณะกรรมการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยด้านอาหารกำลังพิจารณาห้ามขายเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เรื่องนี้เรื่องใหญ่ของเขาเพราะร้อยละ 68 ของเยาวชนของเขานิยมดื่มเครื่องดื่มดังกล่าว มีถึงร้อยละ 24 ที่ดื่มถึงสัปดาห์ละ 4 ครั้ง นอกจากนี้งานวิจัยขององค์การความปลอดภัยทางอาหารของยุโรปเขาพบว่า ไม่ว่าจะผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นก็ไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกินกว่าวันละ 3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เครื่องดื่มดังกล่าวในปริมาณ 500 มิลลิกรัม ก็มีคาเฟอีนในปริมาณเกินกว่าที่เด็กอายุ 12 ควรได้รับต่อวันแล้ว และมันยังอันตรายมากสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ เพราะมันอาจเร่งความเร็วในการเต้นของหัวใจ ทำให้ความดันสูงขึ้นและทำให้เสียชีวิตในที่สุด ข่าวนี้เป็นที่สรรเสริญขององค์กรที่รณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัยอย่าง Foodwatch  ในขณะที่เครื่องดื่ม “บำรุงกำลัง” ยี่ห้อที่ขายดีที่สุดในโลกอย่างเรดบูล หรือที่บ้านเราเรียกกระทิงแดง ออกมาโต้ตอบว่า คาเฟอีนที่ผู้คนทุกวันนี้ได้รับส่วนใหญ่นั้นมาจาก ชา กาแฟ และน้ำอัดลม ไม่ได้มาจากเครื่องดื่มชนิดนี้เสียหน่อย   ปรับไม่เลี้ยง ศาลเยอรมันสั่งให้เทศบาลเมืองไลป์ซิกจ่ายค่าชดเชย 15,000 ยูโร (ประมาณ 560,000 บาท) ให้กับสามครอบครัวที่รวมตัวกันฟ้อง พ่อแม่เหล่านี้บอกว่าพวกเขาได้รับความเดือดร้อนลำบากจากการที่เทศบาลมีสถานรับเลี้ยงเด็กไม่เพียงพอสำหรับลูกๆในวัยขวบกว่าของพวกเขา ทำให้ต้องผลัดกันลางานมาเลี้ยงลูกและยอมถูกหักเงินเดือน เพราะตามกฎหมาย รัฐจะต้องจัดหาสถานรับเลี้ยงเด็กสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไปให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เทศบาลเมืองนี้ก็ยืนยันว่าเขากำลังเร่งสร้างศูนย์รับเลี้ยงเด็กเพิ่มเติมอยู่ เพียงแต่มันมีปัญหาขลุกขลักนิดหน่อยในขั้นตอนการวางแผนและการทำสัญญาการก่อสร้างนี่แหละพี่น้อง แต่ศาลถือว่านั่นไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างของการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลได้ ในเยอรมนี พ่อแม่มีสิทธิหยุดงานโดยได้ยังรับค่าจ้าง 15 เดือน(ทั้งนี้แต่ละฝ่ายหยุดได้ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน) และสามารถหยุดงานเพื่อเลี้ยงลูกได้สูงสุดถึง 3 ปี   อย่างนี้ต้องพิสูจน์ มินห์ พบแมลงวันตายหนึ่งตัวในเครื่องดื่มยี่ห้อนัมเบอร์วัน เขาจึงโทรหาบริษัทผู้ผลิตแล้วบอกว่าจะไม่แพร่งพรายเรื่องนี้ให้ใครรู้ถ้าบริษัทยินดีจ่ายค่าเสียหาย 1,000 ล้านดอง(ประมาณ 1,540,000 บาท) ให้กับเขา แต่ถ้าไม่จ่ายเขาจะฟ้องสื่อ บริษัทจึงตกลงจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง(โดยไม่ลืมแจ้งตำรวจไว้ด้วย) ผลคือมินห์ถูกตำรวจรวบตัวได้ขณะที่มารับเงินและถูกดำเนินคดีข้อหาขู่กรรโชกทรัพย์ และขวดเครื่องดื่มที่ว่าก็ถูกตรวจสอบพบว่ามีร่องรอยการเจาะโดยวัตถุมีคม แต่เดี๋ยวก่อน เรื่องนี้ยังจบไม่ได้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กระทรวงอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหารของเวียดนาม ตั้งชุดเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบสายการผลิตของบริษัททัน เฮียบ พัด กรุ๊ป ผู้ผลิตเครื่องดื่มดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้ก็มีการส่งต่อเรื่องราวในอินเตอร์เน็ตว่าด้วยเรื่องเครื่องดื่มของบริษัทนี้ที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนสภาพ หรือมีสิ่งปลอมปนทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงวันหมดอายุ จนกระทั่งเกิดกลุ่มผู้บริโภคที่ชักชวนกันผ่านโซเชียลมีเดียให้บอยคอตผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ด้วย ที่สำคัญเมื่อ 6 ปีก่อน ทางการเคยตรวจพบผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นที่หมดอายุแล้วกว่า 67 ตันในโกดังของบริษัทนี้ทั้งที่เมืองบินห์ดวงและโฮจิมินห์ บริษัทดังกล่าวมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 40 ของตลาดชาพร้อมดื่มในเวียดนาม และร้อยละ 14 ของเครื่องดื่มบำรุงกำลัง  

อ่านเพิ่มเติม >