ฉบับที่ 121 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 25543 กุมภาพันธ์ 2554หอม...อันตราย!?ใครที่ยังมีความเชื่อว่าใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง น้ำยาทำความสะอาดบ้านและฆ่าเชื้อโรค ที่มีกลิ่นหอม หรือไม่มีกลิ่นฉุน แล้วปลอดภัยหรือเป็นอันตรายน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นแรง ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เดี๋ยวนี้โฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุอันตรายสร้างความเข้าใจผิดให้ผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์ที่บอกว่าทำจากธรรมชาติ แต่ในความจริงแล้วกลิ่นหอมเกิดจากการปรุงแต่งกลิ่นด้วยน้ำหอมสังเคราะห์ ซึ่งหากเราสูดดมกลิ่นเข้าไปก็จะทำให้เป็นอันตรายกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้  เพราะฉะนั้นใครที่ยังหลงใหลในกลิ่นหอมของยาฉีดฆ่าแมลงและน้ำยาทำความสะอาด ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เท่าที่จำเป็น ถ้าไม่ใช้ได้ยิ่งดี แต่ถ้าจะใช้ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังศึกษาข้อมูลและคำเตือนบนฉลากก่อนใช้ เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์อันตราย+++++++++++++++++++++++     17 กุมภาพันธ์ 2554“ศูนย์แก้ไขปัญหาสินเชื่อ” เตรียมเปิดถาวร...แก้ปัญหาทวงหนี้โหดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พอใจผลงาน “ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ” (ศปส.) เตรียมจัดตั้งให้เป็นศูนย์ถาวร หลังจากศูนย์ทำหน้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินให้กับผู้บริโภค ซึ่งปัญหาที่ถูกร้องเรียนเข้ามา ธปท. จะนำไปประสานต่อกับสถาบันการเงินที่ถูกร้องเรียนเพื่อให้ชี้แจงและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขบริการต่อไป  โดยปัญหาที่ถูกร้องเรียนเข้ามามากที่สุดคือ เรื่องการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ไม่สุภาพ หรือใช้วิธีรุนแรง รองลงมาคือเรื่องการเข้าไม่ถึงสินเชื่อหรือขอสินเชื่อไม่ได้ ส่วนเรื่องการหลอกลวงให้โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือการถูกหลอกจากคอลเซ็นเตอร์ที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ ขณะนี้ยอดการร้องเรียนลดลงมาก เนื่องจากทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้มีการประชุมร่วมกับ ธปท. และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตั้งศูนย์ร่วมกันเพื่อป้องปรามมิจฉาชีพเหล่านี้โดยเฉพาะ ซึ่งเรื่องร้องเรียนที่เข้ามายัง ศปส. จะอยู่ที่ 100 – 200 เรื่องต่อวัน โดยก่อนหน้าเคยเรื่องเข้ามาสูงสุดถึงวันละ 700 - 800 เรื่อง  ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อของ ธปท.มีการต่ออายุการทำงานของศูนย์มาแล้ว 4 ครั้งแต่เปิดดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.2542 โดยล่าสุด จะครบกำหนดอายุการทำงานในเดือน มิ.ย.2554 ซึ่งขณะนี้กำลังมีการพิจารณาตั้งเป็นศูนย์ถาวรเพื่อช่วยรองรับปัญหาของผู้บริโภค เพราะว่าเห็นประโยชน์ในการเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน ซึ่งนับวันปัญหาเรื่องการเงิน หนี้ และบัตรเครดิต จะกลายเป็นใหญ่ในชีวิตของผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++     22 กุมภาพันธ์ 2554สั่งระงับ!!!...นวดตารักษาต้อหิน ผู้ป่วยโรคต้อหินที่กำลังคิดจะไปรักษาด้วยวิธีการนวดตา คงต้องชั่งใจไตร่ตรองให้ดี เพราะว่าต้องนี้มีคำสั่งจากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะถึงทุกสถานพยาบาล ที่มีการให้รักษาโรคต้อหินด้วยการนวดตาต้องระงับการให้บริการการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวเอาไว้ก่อน หลังจากก่อนหน้านี้มีข่าวกรณีที่จักษุแพทย์โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ออกมาเปิดเผยว่า ใช้วิธีการนวดตาช่วยผู้ป่วยกำลังจะตาบอดกลับมามองเห็นได้เกือบปกติ ทำให้ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ แพทยสภา ต้องเร่งพิจารณาหาข้อเท็จจริงว่าการนวดด้วยตาสามารถรักษาโรคต้อหินได้จริงหรือไม่ รวมทั้งมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายกับดวงตาหรือเปล่า เพราะปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการรักษาพยาบาลด้วยวิธีการดังกล่าว  โดยระหว่างรอความเห็นที่เป็นทางการจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ สถานพยาบาลต้องงดให้บริการการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว นอกจากนี้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพก็เตรียมคุมเข้มการโฆษณาทางการแพทย์ที่มีการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงหรือจงใจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ++++++++++++++++++++++++++     22 กุมภาพันธ์ 2554 ออกฉลากคุมเข้มสินค้านาโนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกประกาศให้ผลิตภัณฑ์นาโนทุกชนิดเป็นสินค้าควบคุมฉลาก หลังจากมีผู้บริโภคหลายคนร้องเรียนผลิตภัณฑ์นาโนที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ นานา แถมตั้งราคาขายสูงกว่าสินค้าทั่วไป โดยที่ผู้บริโภคไม่มีสิทธิรู้หรือมั่นใจได้เลยว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์นาโนจริงหรือเปล่า   ซึ่งจากการสุ่มตรวจสอบของศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าไม่ปลอดภัยของ สคบ. ร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่าสินค้านาโนที่สุ่มตรวจทั้ง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดทำความสะอาดอเนกประสงค์เป็นของปลอม  ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจกับสินค้านาโนกันอย่างมาก โดยเฉพาะพวกสิ่งทอเพราะมีคุณสมบัติพิเศษอย่าง ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันน้ำ ทำความสะอาดง่าย หรือไม่ต้องทำความสะอาด ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นสินค้านาโนปลอม จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดและหากนำไปใช้ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย  สคบ.จึงต้องเร่งออกมาตรฐานควมคุมผลิตภัณฑ์นาโน พร้อมทั้งจะทำฉลากแสดงให้รู้ว่าเป็นสินค้านาโนแท้ โดยจะใช้ชื่อว่า “นาโนคิว”  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคถูกหลอก +++++++++++++++++     “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” กับการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียม ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เรื่องการรักษาพยาบาลให้เป็นมาตรฐานเดียวกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทองเดิม ซึ่งเป็นระบบรักษาพยาบาลฟรีของคนไทยทั้งประเทศ ขณะที่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมซึ่งจ้างงานสมทบเองทุกเดือน กลับได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพที่ด้อยกว่า โดยเสนอให้ผู้ประกันตนได้มีสิทธิไปใช้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แล้วให้นำเงินสมทบที่ต้องจ่ายให้ประกันสังคมไปสบทบเพิ่มในส่วนของเงินประกันการว่างงานหรือเงินชราภาพ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์มากว่า  โดยชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน เรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคม รับฟังและแก้ไขโดยเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างระบบสุขภาพบนมาตรฐานเดียวของ ประเทศ โดยจะให้เวลาประกันสังคม 30 วัน ที่จะต้องทำให้ผู้ประกันตนออกจากจากระบบประกันสังคม ในเรื่องบริการด้านสุขภาพ หากประกันสังคมไม่แก้ไขระบบดังกล่าว ผู้ประกันตนจะงดจ่ายเงินสมทบในส่วนของการรักษาพยาบาล ประมาณคนละ 250 บาท ซึ่งจะดีเดย์หยุดจ่ายวันแรก 1 พฤษภาคม 2554  ***(อ่านเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลในประกันสังคมในเรื่องฉบับนี้)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 116 ยานาโน โถ..หลอกแม้กระทั่งคนยากจน

ยุคนี้อะไรๆ ที่ใหม่ๆ ก็มักจะอ้างคำว่า “นาโน” ไปทั่ว อาจเพราะมันทำให้เพิ่มความมหัศจรรย์ทันสมัยมากยิ่งขึ้นกระมัง แต่คนหลอกลวงมันก็อาจอาศัยช่องทางเหล่านี้ทำมาหากินก็ได้ ผมมีโอกาสไปประชุมร่วมกับน้องเภสัชกร จากโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคอีสาน น้องติ๊ก เภสัชกรสาวสวยคนหนึ่ง(เธอย้ำว่าให้เขียนประโยคนี้ด้วย) จากเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เล่าให้ฟังว่า มีผู้ป่วย 2 ราย ที่อยู่ในพื้นที่ของเธอ ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับและพาร์กินสัน ได้ฟังวิทยุที่ส่งคลื่นมาจากแถวๆ ยโสธร นักจัดรายการ ชื่อคุณน้อง(นามสมมุติ) ที่ตัวจริงอายุประมาณ 50 กว่าๆ แล้ว แนะนำผลิตภัณฑ์ ออกซิเจนนาโน บรรยายสรรพคุณว่า รักษาโรคได้สารพัด เช่น  มะเร็ง  เบาหวาน อัมพฤกษ์  ฯลฯ พร้อมทั้งให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ หากใครสนใจให้ติดต่อกลับ ครั้นเมื่อผู้ป่วยติดต่อกลับไป คุณน้องก็แล่นมาหาถึงบ้าน ดุจดังนางฟ้าผู้อารี แต่นางฟ้าคนนี้ไม่ได้มาพร้อมพรวิเศษสำหรับคนยากไร้นะครับ แต่เธอดันมาพร้อม ผลิตภัณฑ์ออกซิเจนนาโน   ผลิตภัณฑ์ ออกซิเจนนาโนนี้มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายๆJelly บรรจุในขวดพลาสติกคล้ายยาหยอดตา ขายในราคา 2 ขวด 2,960 บาท มีเอกสารแนะนำที่โปรยหัวเรื่องอย่างโดนใจ “คนจนยิ้มได้ คนไข้หัวเราะร่า คนป่วยหาย คนขายได้บุญ” ( ราคาขนาดนี้นะได้บุญ?) ในเอกสารได้บรรยายวิธีกินแบบมหัศจรรย์อีก เพราะให้รับประทานวันละ 4 เวลา โดยหยดผลิตภัณฑ์นี้ตามจำนวนวัน เช่น วันที่ 1 ใช้ 1 หยดผสมน้ำ 1 แก้ว , วันที่ 2 ใช้ 2 หยดผสมน้ำหนึ่งแก้ว เพิ่มเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 8 เป็นต้นไปใช้ 8 หยดผสมน้ำ 1 แก้ว และสำหรับผู้ที่ป่วยหนัก เช่น มะเร็ง ให้ใช้ได้ถึง 15 หยด , นอกจากนี้ยังแนะนำให้ใช้ 3 หยดต่อน้ำ 1 ขวดพ่นทุกๆ 1 ชั่วโมง บริเวณที่เป็นแผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน หรือใส่ตาที่พร่ามัว ตาต้อ (เอากะมันซิ) น้องติ๊กพยายามเพ่งที่ขวดว่ามันเป็นผลิตภัณฑ์อะไร แต่ก็มองแทบไม่เห็น แต่คลับคล้ายคลับคลาเหมือนเป็นเลขสารบบอาหาร 40 (ไม่ค่อยชัดเจน) เห็นน้องๆ เขาบอกว่า คนแถวนั้นถูกหลอกให้ใช้กันมา จนเรียกกันติดปากว่ายานาโน น้องๆ เล่าให้ฟังว่าตอนนี้ไอ้พวกผลิตภัณฑ์หลอกลวงเหล่านี้มันบุกมาถึงหมู่บ้านแล้ว บางคนหลงเชื่อถึงขนาดขายวัว ขายควาย ซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาใช้กันเลย แต่ก็ยังโชคดีที่มีน้องๆ เภสัชกรเหล่านี้ที่ช่วยลงไปดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภคในหน่วยบริการปฐมภูมิในชุมชน ช่วยสอดส่องดูแลให้ น้องๆ เลยพยายามช่วยกันเตือนผู้ป่วยมิให้ถูกหลอก ยังไงก็ขอแรงผู้อ่านช่วยกันเตือนๆ อย่าให้คนใกล้ตัวถูกหลอกนะครับและถ้าพบเห็นอะไรแปลกก็แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการเลยนะครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 นาโนเทคโนโลยี : โอกาสหรือความเสี่ยง (ตอน 2)

เนื่องจากภาคอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และผู้บริโภคเชื่อว่าการใช้งานวัสดุนาโนจะนำไปสู่การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ก่อให้เกิดคำถามว่าผลิตภัณฑ์นาโนใหม่ๆ เหล่านี้จะนำความเสี่ยงที่ยังไม่รู้มาสู่มนุษย์หรือไม่ อนุภาคนาโนบางชนิดที่ปรากฎอยู่ในรูปแบบที่ไม่เกาะเกี่ยวกัน (unbound form) อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพบางประการได้… ทำไมถึงมีการใช้วัสดุนาโนในเครื่องสำอาง ?อนุภาคนาโน เช่น ไททาเนียมไดอ๊อกไซด์และซิงค์อ๊อกไซด์ ถูกนำใช้งานอย่างกว้างขวางในการป้องกันแสงยูวีในผลิตภัณฑ์กันแดด อนุภาคนาโนเหล่านี้ให้ผลในด้านการปกป้องผิวหนังจากรังสียูวีในระดับสูง  วัสดุที่ผลิตด้วยนาโนเทคโนโลยี (หรือที่เรียกว่า โครงสร้างทางชีวภาพ) ส่งเสริมกระบวนการซ่อมแซมฟันตามธรรมชาติของน้ำลาย ในผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ แคปซูลนาโนสามารถป้องกันและขนส่งสารที่ออกฤทธิ์และเพิ่มประสิทธิภาพของพวกมัน ฟูลเลอร์รีน (โมเลกุลที่สร้างจากอนุภาคคาร์บอนที่มีรูปทรงเหมือนลูกฟุตบอล) ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชนิดแรกๆ เพื่อจุดประสงค์นี้ การวิจัยเพื่อพัฒนาสมบัติทางกายภาพ (เช่น การโปร่งใส) ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีความจำเป็นต้องดำเนินต่อไปเพื่อหาความรู้ และข้อมูลเพิ่มเติมจากปัจจุบัน วัสดุนาโนถูกนำใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารหรือไม่ ?มีรายงานว่าวัสดุนาโนถูกนำมาใช้เป็นส่วนเสริมหรือวัตถุเจือปนในอาหาร ยกตัวอย่างเช่น กรดซิลิซิกและสารประกอบที่มีซิลิกอนอื่นๆ ถูกนำมาใช้เป็นสารตัวกรองหรือสารทำให้ข้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผลึกโซเดียมคลอไรด์และอาหารที่มีแป้งเป็นหลักเกิดการติดกันเป็นก้อน และทำให้ซอสมะเขือเทศไหลได้ง่ายยิ่งขึ้น กรดซิลิซิกยังถูกนำใช้เป็นสารจับอนุภาคเพื่อให้ตกตะกอนในไวน์และผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ สำหรับประเด็นในเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่า ควรจะให้เลิกใช้หรือให้มีอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารต่อไป วัสดุนาโนถูกนำใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อจุดประสงค์เฉพาะด้วย มีรายงานการใช้ซิลิกอนไดอ๊อกไซด์ คอลโลดัลซิลเวอร์ แคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยมในรูปอนุภาคนาโน ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าวัสดุเหล่านี้ปรากฎอยู่ในอาหารในรูปอนุภาคนาโนหรือในรูปรวม ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมอาหารกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาอาหารเสริมพิเศษที่ประกอบไปด้วยวิตามิน กรดไขมันโอเมก้า 3 ไฟโตสเตอรอล และกลิ่น เพื่อบรรจุในแคปซูลนาโน วัสดุนาโนถูกนำใช้ในผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคหรือไม่วัสดุนาโนถูกนำมาใช้งานหลากหลายรูปแบบในผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ยกตัวอย่างเช่น วัสดุนาโนในบรรจุภัณฑ์อาหาร สิ่งทอ อุปกรณ์เครื่องครัว วัสดุเคลือบเงาและสี นอกจากนี้ยังใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับการปกปิดพื้นผิวและทำความสะอาดเช่นเดียวกับสารขัดเงาอีกด้วย อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กำลังสนใจการใช้งานอนุภาคนาโนซึ่งเกาะติดกันเหมือนเป็นตัวกรองในพลาสติกและชั้นเคลือบเงา และใช้เป็นตัวเคลือบบนผิวหน้าโพลีเมอร์ (ฟิล์มและภาชนะ) ในบรรจุภัณฑ์อาหาร อนุภาคนาโนป้องกันก๊าซ ไม่ให้เข้าไปในบรรจุภัณฑ์และป้องกันไม่ให้ความชื้นระเหยออกมา การใช้อนุภาคนาโนสามารถปรับปรุงสมบัติด้านกลศาสตร์และความร้อนของบรรจุภัณฑ์อาหารและปกป้องอาหารจากแสงยูวี  ในอนาคตนาโนเทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารซึ่งสามารถระบุได้ว่าขั้นตอนการแช่เย็นต่อเนื่องหรือไม่ หรือว่าเลยวันหมดอายุมาแล้ว ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ เส้นใยชนิดพิเศษถูกพัฒนาขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าที่กันความร้อน หรือพื้นผิวเส้นใยสิ่งทอที่ทำความสะอาดตัวเองได้ ในอนาคตสิ่งทอจะมีสมบัติใหม่ๆ และสามารถป้องกันรังสียูวีหรือทำตัวเสมือนตัวกันน้ำโดยการผลิตสารเคลือบโพลีเมอร์ที่มีโครงสร้างนาโนบนพื้นผิวของสิ่งทออีกด้วย  อนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ต่อต้านจุลชีพมีการใช้งานแล้วในถุงเท้า ด้านในรองเท้า และสิ่งทอที่ใช้ผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม การใช้ผลิตภัณฑ์นาโนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ ?ในการที่จะประเมินว่าผลิตภัณฑ์นาโนก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ สิ่งสำคัญที่ต้องรู้คือว่าวัสดุนาโนที่ใช้เกาะติดกันเป็นเมตริกซ์หรือเป็นวัสดุนาโน ปรากฎในรูปที่ไม่เกาะกัน อนุภาคนาโนที่เป็นอิสระ หลอดนาโนและเส้นใยนาโนสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ เนื่องจากขนาดที่เล็ก รูปทรงที่เล็ก สามารถเคลื่อนไหวได้ง่ายและเกิดปฏิกิริยาได้ดีกว่า อนุภาคนาโนที่ไม่เกาะติดกันสามารถเข้าถึงกลไกของมนุษย์ผ่านสามช่องทางและทำให้เกิดผลกระทบที่เป็นพิษภายใต้สถานการณ์บางอย่าง ได้แก่ ทางการหายใจ ทางผิวหนังและจากการรับประทาน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุดเกิดจากการสูดดมอนุภาคนาโน  การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดลบล้างความเป็นไปได้ที่อนุภาคนาโนจะแทรกซึมเข้าทางผิวหนังของมนุษย์ เรายังไม่รู้แน่ชัดว่ามีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับการได้รับอนุภาคทางการรับประทานหรือไม่ จนถึงขณะนี้ ผลิตภัณฑ์นาโนส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยอนุภาคนาโนที่พัวพันกับเมตริกซ์ที่แข็งแรงหรือสารละลายของเหลว ยิ่งไปกว่านั้น อนุภาคนาโนมีแนวโน้มที่จะเกาะกลุ่มเป็นสิ่งที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งมักจะใหญ่กว่า 100 นาโนเมตร ผลกระทบที่เป็นพิษของอนุภาคนาโนยังไม่มีใครสามารถบอกได้แน่ชัด แต่ตามกฎแล้ว ผู้ผลิตถูกกำหนดให้รับประกันว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาปลอดภัย หมายเหตุ : ล่าสุดมีประเด็นในเรื่องความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้วัสดุนาโน (Nano particle ) โคบอลท์โครเมียม( CoCr- Particle ) ที่เป็นส่วนผสมของยารักษาโรค โดยโคบอลท์โครเมียม( CoCr- Particle ) จะไปทำลาย DNA ในเซลล์ของมนุษย์ โดยที่ เซลล์ยังไม่ตาย จากผลการทดลองนี้ นักวิจัย ได้ตั้งข้อเสนอเพื่อให้มีการประเมินความเสี่ยงในด้านสุขภาพของการใช้ผลิตภัณฑ์นาโน แบบใหม่ที่ต้องคำนึงถึง ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ วัสดุนาโน2 มีการตรวจสอบความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้วัสดุนาโนในสินค้าอุปโภคบริโภคแล้วหรือยัง มีการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับการใช้อนุภาคนาโนในเครื่องสำอาง ยกตัวอย่างเช่น มีการวิจัยมากมายเกี่ยวกับพฤติกรรมของอนุภาคนาโนที่เกิดจากไทเทเนียมไดอ๊อกไซด์และซิงค์อ๊อกไซด์บนผิวหนัง การทดลองหลายชิ้นยืนยันว่าอนุภาคนาโนเหล่านี้ไม่แทรกซึมสู่เซลล์ผิวหนังของมนุษย์ที่แข็งแรงแต่ยังอยู่บนด้านบนของผิวหนัง พวกมันลงไปถึงผิวหนังชั้นที่ลึกกว่าได้ผ่านรูขุมขน ที่ซึ่งพวกมันตกค้างอยู่ระยะหนึ่ง แต่ไม่แทรกซึมลงไปลึกกว่านั้น เมื่อขนยาวขึ้นจะนำพาพวกมันกลับมาสู่ชั้นบนของผิวหนังอีกครั้ง อย่างไรก็ตามในขณะนี้ยังมีคำถามหลายข้อที่ต้องตอบเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอนุภาคนาโน เรามีความรู้น้อยมากเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่คุณสมบัติที่เป็นพิษจะมีความเชื่อมโยงกับขนาดในระดับนาโน และมีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับรายงานเรื่องการที่มนุษย์ได้รับอนุภาคนาโน นักวิทยาศาสตร์กำลังทำงานเรื่องกลยุทธ์การทดสอบที่เหมาะสมเพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เป็นไปได้ เพื่อที่จะตอบคำถามปลายเปิด เคยมีผลิตภัณฑ์ใดที่วัสดุนาโนก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ?เท่าที่ผ่านมาทางสถาบันประเมินความสี่ยงของสหพันธรัฐ ยังไม่ได้รับรายงานกรณีที่เกิดอันตรายต่อสุขภาพโดยตรงอันมีผลมาจากอนุภาคนาโนหรือวัสดุนาโน เราควรหันมาพิจารณาดูอีกด้านของเทคโนโลยีใหม่กันบ้าง เปรียบดังคำพังเพยที่ว่า คุณอนันต์ โทษมหันต์ สำหรับเรื่องการศึกษาผลประทบของนาโนเทคโนโลยีนั้น ที่มีผลต่อสุขภาพนั้น รัฐต้องศึกษา วิจัยในเชิงสุขภาพและความปลอดภัย และให้ความรู้(ความไม่รู้) แก่ประชาชน หากยังไม่สามารถหามาตรการในด้านการป้องกันที่ดีได้ อย่างน้อยรัฐก็ควร บังคับการติดฉลากระบุว่าเป็นสินค้าประเภทนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือก(หรือไม่เลือก) กับเทคโนโลยีที่เรายังมีความรู้ในด้านนี้น้อยมาก และในด้านผลกระทบต่อสุขภาพก็ยังไม่มีใครกล้ารับประกันความปลอดภัยกันเลย ข้อมูลอ้างอิง1 Frequently Ask Question on Nanotechnology, Federal Institute for Risk Assessment, 20062 Nanoparticle can cause DNA damage across a cellular barrier, Bhabra, G. et al., Nature Nanotechnology, p. 1-8, 2009

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 107 นาโนเทคโนโลยี : โอกาสหรือความเสี่ยง (ตอน 1)

นาโนเทคโนโลยีถือว่าเป็นเทคโนโลยี ในอนาคตที่สำคัญ อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากมนุษย์ได้นำมาใช้งานตั้งแต่เมื่อหลายทศวรรษก่อนในผลิตภัณฑ์เคลือบ เงาและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาถึงแม้ว่าในตอนนั้นมันจะไม่ได้ใช้ชื่อนี้ก็ตาม ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในรูปแบบที่กำหนดไว้ในหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค โดยที่ผู้บริโภคไม่ได้มีโอกาสรับรู้เลย และปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อกำหนดว่าต้องมีการติดฉลากแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์นาโน บทความในคราวนี้จึงขออธิบายความรู้และความไม่รู้ ที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี ที่มีผลต่อชีวิตของผู้บริโภคกระแสหลักในบ้านเราครับ โดยขออนุญาตนำข้อมูลจาก สถาบันประเมินความเสี่ยงแห่งของสหพันธรัฐ เยอรมนี (Federal Institute for Risk Assessment) มาลงในคอลัมน์นี้ครับ เนื่องจากภาคอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และผู้บริโภคเชื่อว่าการใช้งานวัสดุนาโนจะนำไปสู่การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ก่อให้เกิดคำถามว่าผลิตภัณฑ์นาโนใหม่ๆ เหล่านี้จะนำความเสี่ยงที่ยังไม่รู้มาสู่มนุษย์หรือไม่ อนุภาคนาโนบางชนิดที่ปรากฎอยู่ในรูปแบบที่ไม่เกาะเกี่ยวกัน (unbound form) อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพบางประการได้ การวิจัยเรื่องความเสี่ยงของนาโนเทคโนโลยี ในบริบทนี้ทางสถาบันประเมินความเสี่ยง ให้ความสนใจเรื่องปฏิกิริยาต่อต้านอนุภาคนาโนที่อาจเกิดขึ้นได้ในร่างกายมนุษย์ ถึงแม้ว่าพบวัสดุนาโนในผลิตภัณฑ์หลายประเภทจะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ประชากรเยอรมันเกินกว่าครึ่งหนึ่งแทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้เลย ประโยชน์ของมันหรือความเสี่ยงที่เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นบทความนี้ จะตอบคำถามในประเด็นที่สำคัญ สำหรับนาโนเทคโนโลยี1 “นาโน” มีขนาดเล็กแค่ไหน ?“นาโน” มาจากภาษากรีก หมายความว่าคนแคระ “นาโน” เป็นคำศัพท์ที่ใช้สำหรับเศษส่วนพันล้านของเมตร (= 1 นาโนเมตร)อนุภาคนาโนหมายถึงอะไร ?อนุภาคนาโนคืออนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 100 นาโนเมตร (nm) เนื่องจากอนุภาคนาโนขนาดเล็กเหล่านี้มีสมบัติทางกายภาพ แตกต่างจากอนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่าในวัสดุประเภทเดียวกัน สิ่งนี้ทำให้มันน่าสนใจสำหรับการนำไปใช้งานที่หลากหลาย แต่ทว่า ในขณะเดียวกันความเล็กของอนุภาคนาโนก็สามารถนำไปสู่ปฏิกิริยาต่อต้านของร่างกายมนุษย์ได้   สถาบันประเมินความเสี่ยง เกี่ยวข้องอย่างไรในการวิจัยเรื่องความเสี่ยงของนาโนเทคโนโลยี ?สถาบัน (FRA) ร่วมมือกับสถาบันกลางความปลอดภัยและสุขภาพในสถานที่ทำงาน (Federal Institute for Occupatioanl Safety and Health) และสำนักงานสิ่งแวดล้อมกลาง (Federal Environment Agency) ได้พัฒนากลยุทธ์ในการวิจัยเพื่อแยกแยะความเสี่ยงที่เป็นไปได้จากนาโนเทคโนโลยี จุดประสงค์ของ กลยุทธ์การวิจัยนี้คือจัดโครงสร้างในเรื่องสาขาการวิจัย เพื่อพัฒนาวิธีการในการวัดผลและแยกแยะอนุภาคนาโน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับอนุภาคและผลกระทบที่เป็นพิษหรือผลกระทบที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการทดสอบความเสี่ยงและกลยุทธ์ในการตรวจสอบ ในขณะเดียวกัน (FRA) จะทำการสำรวจผู้เชี่ยวชาญในสาขานาโนเทคโนโลยี เป้าหมายคือแยกแยะวัสดุนาโนที่กำลังถูกใช้หรืออาจจะถูกใช้ เพื่อจัดกลุ่มพวกมันตามการนำไปใช้งานและเพื่อร่างข้อสรุปเกี่ยวกับการที่ผู้บริโภคได้รับอนุภาคจากข้อมูลเหล่านั้น จากพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ที่มีเรื่องการได้รับสารและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น (FRA) ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ แยกประเภทการใช้งานตามระดับความเสี่ยงที่เป็นไปได้และพัฒนากลยุทธ์สำหรับทำให้ความเสี่ยงลดน้อยลงที่สุด ในตอนที่ 2 ฉบับหน้าจะตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผลิตภัณฑ์จากนาโนเทคโนโลยีครับ   ข้อมูลอ้างอิง1 Frequently Ask Question on Nanotechnology, Federal Institute for Risk Assessment, 2006   นาโนเทคโนโลยีหมายถึงอะไร ?นาโนเทคโนโลยีเป็นศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเทคโนโลยีกว้างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในวิทยาศาสตร์ตามธรรมชาติหลายประเภท เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และการแพทย์ ที่จริงแล้วมันจะถูกต้องมากกว่าถ้าจะเรียกว่ากลุ่มของนาโนเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการวิจัยในเรื่องกระบวนการประมวลผลและการผลิตโครงสร้างและวัสดุที่ด้านอย่างน้อยหนึ่งด้านมีขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร (nm)  วัสดุนาโนมีโครงสร้าง “รูปทรงจุด” (อนุภาคนาโน แคปซูลนาโน กลุ่มก้อนหรือกลุ่มโมเลกุล) โครงสร้าง “เส้นตรง” (เส้นใยนาโน หลอดนาโน เสื้อร่มนาโน) และการเคลือบที่บางมาก โครงสร้างกลับรูป (รู) ก็อยู่ในประเภทนี้ด้วย เนื่องจากมีความเป็นไปได้ในการนำนาโนเทคโนโลยีมาพัฒนาโครงสร้าง เทคนิค และระบบที่มีคุณสมบัติและการทำงานแบบใหม่ จึงเพิ่มความน่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การแพทย์ วิทยาศาสตร์และผู้บริโภค โดยหวังว่าศักยภาพนี้จะนำไปสู่การใช้งานที่มีประโยชน์ เช่น หุ่นยนต์ เทคโนโลยีรับรู้ความรู้สึก วิศวกรรมกระบวนการ ชีวเทคโนโลยี และการแพทย์ รวมไปถึงการพัฒนาต่อไปในอนาคตเกี่ยวกับอาหาร ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค และเครื่องสำอาง ฐานข้อมูลของผลิตภัณฑ์นาโนที่อยู่ในท้องตลาด ณ ปั¬¬¬จจุบันนี้สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.nanotechproject.org/44/consumer-nanotechnology ฐานข้อมูล “คลังผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่ใช้นาโนเทคโนโลยี” เป็นโครงการของ Woodrow Wilson International Centre for Scholars. จะทราบได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นมีวัสดุนาโนอยู่รึเปล่า ?ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้เลยว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีวัสดุนาโนหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีข้อกำหนดว่าต้องติดฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์นาโน ผู้บริโภคสามารถรู้ถึงการใช้วัสดุนาโนได้ก็ต่อเมื่อผู้ผลิตทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของพวกเขาโดยการอ้างถึงนาโนเทคโนโลยี แต่การโฆษณาผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีอนุภาคนาโนหรือวัสดุนาโนอยู่จริงหรือไม่ ผู้บริโภครู้อะไรบ้างเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี ?ถึงแม้ว่าจะมีวัสดุใหม่ๆ ที่ผลิตโดยการใช้นาโนเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค คนจำนวนมากไม่รู้ว่าจริงๆ ว่าสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับอะไร ตามที่มีการสำรวจมา คนเยอรมัน 50% ไม่รู้เลยว่าคำย่อที่เรียกว่า “นาโน” นั้นหมายถึงอะไร คนที่ได้ยินอะไรบางอย่างเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี มักจะมองเทคโนโลยีในทางบวกและชี้ไปที่ประโยชน์ของมัน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนมากอยากให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยการใช้นาโนเทคโนโลยีมีการติดฉลากอย่างชัดเจน  นาโนเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทไหนแล้วบ้าง ?ขณะนี้ผู้บริโภคได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ซึ่งมีส่วนประกอบที่ผลิตด้วยนาโนเทคโนโลยีแล้ว ได้แก่ เครื่องสำอาง อาหารหรือสิ่งทอ ตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นาโนเติบโตอย่างก้าวกระโดด ขนาดในระดับนาโนคือสิ่งเดียวที่จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการที่จะผลิตวัตถุที่มีสมบัติใหม่อย่างสิ้นเชิง เช่น สีรถยนต์ที่ทนต่อรอยขูดขีด เน็คไทที่กันฝุ่น หรือผลิตภัณฑ์กันแดดที่ปกป้องแสงยูวีได้ดีขึ้น  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point