ฉบับที่ 211 เป็นไปได้ไหม หนอนในปลากระป๋อง

     ปลากระป๋องเป็นอาหารสำเร็จรูป ดังนั้นเมื่อเปิดฝาจึงนำมาทานได้ทันที และยังใช้เป็นวัตถุดิบทำได้อีกหลายเมนู เช่น ยำปลากระป๋อง ต้มยำปลากระป๋อง คะน้าผัดปลากระป๋อง เป็นต้น  พูดแล้วหลายคนอาจน้ำลายสออยากรับประทานขึ้นมาทันที แต่ช้าก่อนลองอ่านเรื่องราวของผู้ร้องรายนี้ดูก่อน     เย็นวันหนึ่งในหน้าร้อนของเดือนเมษายน คุณภูผาอยากทานยำปลากระป๋อง และนึกขึ้นได้ว่าซื้อปลากระป๋องไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคม จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งยังเหลืออยู่หลายกระป๋อง จึงไปหยิบมาเพื่อเตรียมทำอาหาร โดยคุณภูผาได้เปิดฝากระป๋องแล้ววางพักไว้ก่อน แล้วจึงหันไปซอยพริก ซอยหอมแดง เด็ดใบโหระพาเตรียมไว้ จากนั้นจึงหันกลับมาจะเอาปลากระป๋องเทใส่จาน เตรียมคลุกเคล้ากับวัตถุดิบที่เตรียม   แล้วพลันสายตาอันว่องไว ก็สังเกตเห็นว่ามีสิ่งผิดปกติอยู่ในปลากระป๋อง มีลักษณะตัวเรียวยาวสีขาว คล้ายหนอนผุดขึ้นมาจากเนื้อปลากระป๋อง เมื่อเขย่ากระป๋องก็ผุดออกมาเป็นตัว จึงโทรศัพท์ไปตามหมายเลขที่อยู่ข้างกระป๋องทันที เพื่อแจ้งเรื่องที่พบ และหวังให้บริษัทผู้ผลิตตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วยังได้รีบไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจใกล้บ้านไว้อีกด้วย  ซึ่งคุณตำรวจแนะนำให้คุณภูผาแจ้งร้องเรียนไปที่ สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) ด้วยอีกทางหนึ่ง ประจวบเหมาะพอดี ในขณะลงบันทึกประจำวันมีนักข่าวอยู่ในสถานีตำรวจด้วย จึงทำข่าวเรื่องพบสิ่งปนเปื้อนในปลากระป๋องยี่ห้อดัง ทำให้คุณภูผากลายเป็นคนในข่าวไปทันที  ตอนสายๆ ของวันรุ่งขึ้น คุณภูผาเดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตามคำแนะนำของคุณตำรวจ โดยนำปลากระป๋องที่พบสิ่งปนเปื้อนไปด้วย เจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องร้องเรียนไว้ และแนะว่า ต้องไปให้ทาง อย. ตรวจสอบ ดังนั้นตอนบ่ายของวันเดียวกันจึงเดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้ตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนและตรวจสอบกระบวนการผลิต แต่เจ้าหน้าที่ของ อย. ได้แจ้งว่าไม่ต้องร้องเรียนแล้ว เพราะทาง อย.ไปตรวจโรงงานผู้ผลิตแล้วเมื่อเช้า ตามข่าวและทาง อย.ไม่พบสิ่งผิดปกติอันใด  ส่วนตัวขาวๆ ที่พบนั้น น่าจะเป็นหนอนแมลงวัน และได้อธิบายวงจรชีวิตหนอนแมลงวันให้คุณภูผาฟัง ซึ่งรับฟังแล้วผู้ร้องยังไม่เข้าใจดีนักและค้างคาใจอยู่  จึงโทรศัพท์มาขอคำปรึกษาจากศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอคำแนะนำ เบื้องต้นทางศูนย์ฯ จึงได้ขอให้เจ้าหน้าที่ อย. รับเป็นเรื่องร้องเรียนไว้ก่อน และให้ผู้ร้องตักแบ่งตัวอย่างปลากระป๋องครึ่งหนึ่งไว้ให้กับ อย. เพื่อให้ตรวจสอบว่าสิ่งผิดปกติที่พบคืออะไรตอนนั้นคุณภูผาได้แอบสงสัยและตั้งคำถามในใจว่า ทำไม อย.สรุปผลการตรวจโรงงานได้รวดเร็ว เนื่องจากเพิ่งเป็นข่าวเมื่อวานช่วงค่ำเอง หลังจากร้องเรียนกับหน่วยงานทั้งสองผ่านไป ผู้ร้องได้นำตัวอย่างปลากระป๋องที่เหลือมามอบให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ เพื่อหาทางตรวจสอบว่าหนอนที่พบหรือสิ่งปนเปื้อนนั้นคืออะไรกันแน่แนวทางแก้ไขปัญหา   เบื้องต้นศูนย์พิทักษ์สิทธิ ได้แนะนำข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่า ร้านค้าผู้จำหน่ายปลากระป๋องอาจเข้าข่ายจำหน่ายอาหารปนเปื้อน ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (1) เรื่องอาหารไม่บริสุทธิ์นั้น มีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 58 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ    ขณะเดียวกันเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ศูนย์พิทักษ์ฯ ได้ปรึกษานักวิชาการเพื่อหาวิธีการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนในปลากระป๋อง นักวิชาการแนะนำว่าให้ผู้ร้องสอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า ตรวจสอบอะไร และใช้วิธีไหนตรวจสอบ เพื่อการตรวจสอบจะได้ไปในทิศทางเดียวกันและไขข้อข้องใจของทุกฝ่าย ผู้ร้องได้ติดต่อ อย. เพื่อสอบถาม และแจ้งกลับมายังศูนย์พิทักษ์ฯ ว่า อย.แจ้งว่าไม่ทราบจะตรวจอะไรเหมือนกัน ศูนย์พิทักษ์ฯ จึงปรึกษานักวิชาการอีกครั้ง และส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจพบว่าสิ่งปนเปื้อนที่พบเป็นหนอนแมลงวันหัวเขียว การฟักตัวของไข่ต้องอาศัยอากาศในการเจริญเติบโต หนอนจึงไม่สามารถอยู่ในปลากระป๋องที่ปิดสนิทโดยไม่มีอากาศได้ หนอนแมลงวันที่ผู้ร้องพบจึงไม่สามารถพบในกระบวนการผลิตได้ ซึ่งกระป๋องอาจมีรอยรั่วหลังจากที่ซื้อสินค้ามา   เมื่อทราบผลการตรวจสอบศูนย์พิทักษ์ฯ ได้แจ้งให้คุณภูผาทราบ  และแจ้งว่า สคบ. ได้นัดผู้ร้องให้เจรจากับบริษัทผู้ผลิตปลากระป๋อง ซึ่งอาจฟ้องร้องคุณภูผาที่ทำให้เกิดข่าวสร้างความเสียหาย อย่างไรก็ตามผลการเจรจาคือ คุณภูผากับบริษัทต่างฝ่ายต่างไม่ฟ้องคดีกันและทำบันทึกกันไว้ที่ สคบ.     เพื่อให้ครอบคลุม เนื่องจากสถานที่เก็บปลากระป๋องก่อนจำหน่ายอาจไม่มีการดูแลที่ดี ทางศูนย์พิทักษ์ฯ ได้ทำหนังสือขอทราบผลการดำเนินการกรณีร้องเรียนที่คุณภูผา ร้องไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดย อย. ได้แจ้งผลการดำเนินการว่า ได้สุ่มเก็บตัวอย่างจากห้างค้าปลีกที่ผู้ร้องได้ซื้อสินค้ามาตรวจสอบแล้ว ไม่พบสิ่งผิดปกติ อีกทั้งได้ตรวจสถานที่ผลิต  ซึ่งผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 174 “เอ๊ะ ทำไมปลากระป๋องนี้ดูเหมือนมีพยาธิ”

เชื่อว่าใครหลายคนอาจติดใจในรสชาติปลากระป๋อง เพราะไม่ว่าจะนำไปใส่ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทำเป็นยำแซ่บ หรือกินคู่กับข้าวเปล่าร้อนๆ ก็อร่อยไปหมด ซึ่งหลักการสำคัญในการเลือกปลากกระป๋องมารับประทานก็เป็นเรื่องทั่วไป เช่น การดูวันเดือนปีที่ผลิต หมดอายุ กระป๋องอยู่ในสภาพดี อย่างไรก็ตามหากเราเลือกแล้วอย่างรอบคอบ แต่กลับพบว่าเมื่อเปิดมารับประทาน ปลากระป๋องนั้นมีสิ่งแปลกปลอม ที่ดูคล้ายกับพยาธิอยู่ด้วย เราจะทำอย่างไรคุณนกได้ซื้อปลากระป๋องยี่ห้อ อะยัม (AYAM) มารับประทาน จากห้างสรรพสินค้าเทสโกโลตัส สาขาปิ่นเกล้า ราคากระป๋องละ 32 บาท ซึ่งหลังจากรับประทานก็รู้สึกว่ารสชาติผิดปกติไปจากที่เคยกิน และเมื่อตรวจสอบปลาชิ้นนั้นดีๆ ก็พบสิ่งแปลกปลอมที่มีลักษณะเป็นเส้นๆ อยู่ในน้ำซอส จึงคาดเดาไปว่าเจ้าสิ่งนี้มันคือพยาธิแน่ๆ ถึงจุดนี้บางคนอาจจะนำไปทิ้งอย่างรวดเร็วด้วยความขยะแขยง แต่คุณนกผู้ร้องได้เก็บชิ้นส่วนที่น่าตกใจนั้นไว้ และนำมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อหาความเป็นธรรมแนวทางการแก้ไขปัญหาหลังจากศูนย์พิทักษ์สิทธ์ได้รับเรื่องร้องเรียน จึงส่งตัวอย่างที่ผู้ร้องนำมาให้กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง ช่วยตรวจสอบหาข้อเท็จจริงว่าใช่พยาธิหรือไม่ พร้อมเชิญทุกฝ่ายมาร่วมฟังผลการทดสอบ ซึ่งผลปรากฏว่า ตัวอย่างดังกล่าวไม่มีลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นกลุ่มพยาธิ แต่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อปลาที่เปื่อยยุ่ยเท่านั้น พอได้ฟังอย่างนี้หลายฝ่ายต่างก็พากันโล่งใจ อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีนี้ทางบริษัทผู้ผลิตก็ไม่ได้นิ่งเฉย โดยมีการชี้แจงเพิ่มเติมว่า ชิ้นเนื้อที่เปื่อยยุ่ยนั้นอาจเกิดจากคุณภาพและขนาดปลาแต่ละรอบที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งได้ประสานงานไปยังบริษัทใหญ่ที่ประเทศอินโดนีเซีย ให้ควบคุมดูแลปลาแต่ละรอบให้มีความสมบูรณ์เท่ากันมากขึ้น นอกจากนี้ยังชดเชยผู้ร้องด้วยปลากระป๋องใหม่อีกด้วย ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นผู้ผลิตไม่ละเลยเรื่องทุกข์ร้อนของผู้บริโภค ซึ่งต้องขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ และตัวผู้บริโภคเองที่ไม่ละเลยสิทธิของตัวเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 โซเดียมในปลากระป๋อง

  ปลากระป๋องถือเป็นอีกหนึ่งอาหารที่อยู่คู่ครัวคนไทย ยิ่งในยุคที่ข้าวยากหมากแพง หมูแพง ผักแพง น้ำมันก็แพง จะซื้อหาอะไรมาทำกับข้าวก็ปวดหัวปวดใจ จะกินอะไรก็ต้องคิดแล้วคิดอีกเป็นห่วงเงินในกระเป๋า ปลากระป๋องนี่ล่ะ เป็นทางเลือกสำหรับคนงบน้อยแต่อร่อยแล้วก็อิ่มด้วย ในยามยากปลากระป๋องยังเป็นที่พึ่งพาสำหรับผู้ประสบภัยต่างๆ  ในเวลาที่บ้านเมืองเจอภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วม ดินถล่ม หรือแม้แต่คนที่เดินทางไกล เข้าป่าฝ่าดง ซึ่งการหุงหาอาหารกินเองเป็นเรื่องลำบาก ปลากระป๋องและรวมถึงอาหารกระป๋องชนิดอื่นๆ นับเป็นตัวช่วยที่ดี เพราะจะเปิดกินเมื่อไหร่ก็ได้สะดวกสบาย แถมเก็บไว้ได้นานเป็นปี ที่สำคัญคือราคาไม่แพงมาก แต่ปลากระป๋องก็คืออาหารแปรรูปชนิดหนึ่ง คุณค่าทางอาหารที่มีก็ต้องสูญเสียไปตามขั้นตอนการผลิต เรียกว่าเทียบไม่ได้กับอาหารที่ทำสดๆ ใหม่ๆ แถมถ้ากินมากเกินไปร่างกายของเราก็มีสิทธิเสี่ยงโรคร้ายทั้ง โรคไต โรคหัวใจ ความดัน จาก “โซเดียม” ที่มีอยู่ในปลากระป๋อง   ปลากระป๋องถือเป็นอาหารที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรม ผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งขายออกไปทั่วโลก โรงงานผลิตปลากระป๋องในบ้านเราก็จะตั้งอยู่ในจังหวัดที่อยู่ใกล้หรือติดกับทะเล โดยเฉพาะหลายจังหวัดในภาคใต้ รวมถึงจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใกล้กับทรัพยากรในการผลิต ส่วนประกอบหลักๆ ในการผลิตปลากระป๋องก็คือ ปลา ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาทูน่า แต่ผู้ผลิตบางรายก็เลือกใช้ปลาทูแขกหรือปลาทูลังแทนปลาซาร์ดีน เพราะปลาซาร์ดีนหายากมากในทะเลบ้านเรา ซึ่งปลาทูแขกหรือปลาทูลังก็จัดอยู่ในสายพันธุ์เดียวกันกับปลาซาร์ดีน ส่วนประกอบถัดมาที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ซอสปรุงรส ที่นิยมกันมากๆ ก็คือ ซอสมะเขือเทศ น้ำมัน หรือน้ำกลือ แต่เดี๋ยวนี้ก็พัฒนาดัดแปลงทำเป็นสูตรแกงต่างๆ ทั้ง พะแนง มัสมั่น แกงเขียวหวาน ฉู่ฉี่ เป็นการเพิ่มรสชาติใหม่ๆ ไม่จำเจอยู่แค่ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ และอย่างสุดท้ายก็คือ กระป๋อง ทำจากดีบุกหรืออะลูมิเนียมซึ่งกระป๋องที่ใช้สำหรับบรรจุอาหารส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี----------------------------------------------- ผลทดสอบปริมาณโซเดียมในปลากระป๋อง +ฉลาดซื้อสุ่มตัวอย่างปลากระป๋องที่ขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดจำนวน 18 ยี่ห้อ แบ่งเป็น ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ 12 ยี่ห้อ และปลาแมคเคอเรลในซอสมะเขือเทศอีก 6 ยี่ห้อ + Thai RDI (Thai Recommended Daily Intakes) แนะนำปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมกับการบริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม  +ซูเปอร์ซีเชฟ ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ พบมีปริมาณโซเดียมต่อ 1 กระป๋องมากที่สุดคือ 823.05 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณที่แนะนำในการบริโภคต่อวัน ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง เพราะอย่าลืมว่าอาหารเกือบทุกอย่างที่รับประทานในแต่ละวันที่โซเดียมเป็นส่วนประกอบเกือบทุกชนิดมากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอาหารจานหลักต่างๆ ที่ต้องมีการเติมเครื่องปรุงรส ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา ซีอิ้ว ให้โซเดียมสูง น้ำปลาหรือซีอิ้ว 1 ช้อนชามีโซเดียมประมาณ 350 – 500 มิลลิกรัม นี่ยังไม่รวมพวกขนมขบเคี้ยวต่างๆ ที่หลายๆ ชอบรับประทานเป็นอาหารว่าง ซึ่งมีโซเดียมอยู่สูงเช่นกัน  +ส่วนประกอบหลักของปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศก็คือ ปลาและซอสมะเขือเทศ ซึ่งในซอสมะเขือเทศนั่นแหละที่เป็นแหล่งของโซเดียม นอกจากนี้ผู้ผลิตเค้ายังมีการเติมทั้งเกลือและโมโนโซเดียมกลูตาเมต ที่ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งของโซเดียมอีกด้วย +เพราะคนไทยเราพิถีพิถันในเรื่องอาหารการกิน ปลากระป๋องก็เลยต้องเอามาปรุงใหม่เพื่อให้อร่อยถูกใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่นำปลากระป๋อ งมาอุ่นร้อนก่อนรับประทาน เมนูยอดฮิตก็ต้องให้ต้มยำปลากระป๋อง แต่ต้องระวังเวลาปรุงรสด้วยนะอย่าให้เค็มเกินไป เพราะปลากระป๋องก็มีโซเดียมสูงอยู่แล้ว เติมโซเดียมจากน้ำปลาเข้าไปอีกจะยิ่งอันตราย  +อีกเมนูปลากระป๋องสุดโปรดของหลายๆ คนก็คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกับปลากระป๋อง เพราะแค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง ก็มีโซเดียมอยู่ถึง 1,500 – 1,800 มิลลิกรัม ถ้ารวมกับปลากระป๋องเข้าไปอีก รับรองโซเดียมพุ่งปี๊ดแน่นอน โปรดระวัง+อายุของปลากระป๋องจะอยู่ที่ 2 ปี แต่ปลากระป๋องที่เก็บไว้นานๆ หรือใกล้วันหมดอายุก็ไม่ควรรับประทาน เพราะยิ่งนานๆ เนื้อปลาก็จะยิ่งเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ   วิธีเลือกซื้อปลากระป๋อง+ต้องมีฉลากแสดงข้อมูล ชื่ออาหาร ชื่อ - ที่อยู่ผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ส่วนประกอบ ข้อมูลโภชนาการ ที่สำคัญที่สุดคือฉลากต้องเป็นภาษาไทย  +ดูความเรียบร้อยของกระป๋อง ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ กระป๋องต้องไม่บุบหรือบวม หรือมีรอยขีดข่วน ต้องเช็คดูตามตะเข็บของกระป๋องว่าไม่มีรอยรั่วซึม ซึ่งอาจทำให้อากาศและเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปในกระป๋องทำให้อาหารเน่าเสีย ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากขั้นตอนการขนส่งหรือจัดเก็บ ส่วนการที่กระป๋องบวมอาจมีสาเหตุจากขั้นตอนการไล่อากาศออกไม่หมด ทำให้ยังมีออกซิเจนหลงเหลืออยู่ในกระป๋องซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับสารเคลือบในกระป๋องทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนทำให้กระป๋องบวม  +ลักษณะของกระป๋องที่ดีต้องมีลักษณะมันแวววาว ไม่มีรอยผิดปกติบนพื้นผิวกระป๋องทั้งภายนอกและภายใน +เมื่อเปิดกระป๋องแล้ว กลิ่นและสีของอาหารต้องอยู่ในลักษณะปกติ ไม่ผิดเพี้ยน สีไม่คล้ำ ไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้าหากเปิดกระป๋องออกมาแล้วดูน่าสงสัยก็ไม่ควรรับประทาน +ปลากระป๋องควรนำไปใส่ในภาชนะอุ่นให้ร้อนอีกครั้งก่อนรับประทาน หรือถ้าเปิดแล้วกินไม่หมด ควรเทเปลี่ยนใส่ในภาชนะอื่น แล้วนำไปแช่ในตู้เย็น ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศทำปฏิกิริยากับสารเคลือบที่อยู่ในกระป๋อง +ส่วนเรื่องการเก็บรักษานั้นต้องเก็บในอุณหภูมิห้อง อย่าเก็บในที่ที่มีอากาศร้อน เพราะจะทำให้อาหารที่อยู่ในกระป๋องเน่าเสียได้ ยิ่งถ้าอากาศร้อนหรืออยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูงมากๆ กระป๋องอาจระเบิดได้---------------------------------------------------------   ปลาซาร์ดีน เป็นชื่อเรียกของปลาขนาดเล็กมีหลากหลายสายพันธุ์ คำว่าซาร์ดีนมาจากชื่อเกาะซาร์ดีเนียซึ่งอยู่ในทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปลาซาร์ดีนอุดมสมบูรณ์ ปลาซาร์ดีนเป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก มีโอเมก้า – 3 ที่ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ แถมยังมีวิตามินดี วิตามินบี 12 และโปรตีน ส่วน ปลาแมคเคอเรล เป็นปลาที่อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลาซาร์ดีนแต่ว่าจะมีขนาดใหญ่กว่า ปลาทูก็อยู่ในสายพันธุ์เดียวกันกับปลาแมคเคอเรล ทั้งปลาซาร์ดีนและปลาแมคเคอเรลถือเป็นสัตว์ลำดับแรกๆ ในห่วงโซ่อาหาร ทำให้การปนเปื้อนของปรอทที่มักพบในอาหารทะเลมีค่อนข้างน้อย   คนไทยชอบกินปลากระป๋องอะไรกัน?ปลาซาร์ดีน 67%ปลาแมคเคอเรล 18%ปลาทูน่า 12% อื่นๆ 3% ข้อมูลจาก บทความเรื่อง “ผลวิจัย Most Admired & Why We Buy 2008” นิตยสาร brandage มกราคม 2551   ชื่อสินค้า ปริมาณ ราคา ผู้ผลิต ส่วนประกอบ ปริมาณโซเดียม / 1 กระป๋องตามที่แจ้งในฉลาก (มิลลิกรัม) ผลทดสอบ ข้อมูลโภชนาอื่นๆ ที่ระบุบนฉลาก มีที่เปิดแบบฝาดึง ปริมาณโซเดียม / 100 กรัม(มิลลิกรัม) ปริมาณโซเดียม เมื่อเทียบ / 1 กระป๋อง (มิลลิกรัม) ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ 1.ซูเปอร์ซีเชฟ น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไอ.เอส.เอ.แวลู จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศเข้มข้น 35% เกลือแกง 2.5% น้ำมันถั่วเหลือง 1.5% น้ำ 1% 780 มก. 531 มก. 823.05 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 2.รูปสามเหลี่ยม น้ำหนักเนื้อ 75 กรับ น้ำหนักสุทธิ 125 กรัม 14 บ. บ.เจริญอุตสาหกรรม จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 32% อื่นๆ 8% ไม่ระบุ 497 มก. 621.25 มก. เจือสี ไม่มี 3.ซูมาโก น้ำหนักเนื้อ 75 กรับ น้ำหนักสุทธิ 125 กรัม 15 บ. บ.เจริญอุตสาหกรรม จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 32% อื่นๆ 8% ไม่ระบุ 494 มก. 617.5 มก. เจือสี ไม่มี 4.บิ๊กซี น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 37% น้ำมันถั่วเหลือง 2% เกลือ 1% 700 มก. 443 มก. 686.65 มก. ไม่ระบุ ไม่มี 5.ตราแฮปปี้มาก น้ำหนักเนื้อ 87 กรัม น้ำหนักสุทธิ 145 กรัม   บ.ทูพลัส ฟู้ด อินดัสเตรียล จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทส 38% น้ำตาล 1% เกลือ 1% ไม่ระบุ 430 มก. 623.5 มก. เจือสีธรรมชาติ ไม่มี 6.ซีเล็ค น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 37% น้ำมันถั่วเหลือง 2% เกลือ 1% ไม่ระบุ 424 มก. 657.2 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 7.แม็กกาแรต น้ำหนักเนื้อ 90 กรัม น้ำหนักสุทธิ 140 กรัม 11 บ. บ.วี เค แฟคตอรี่ จำกัด ปลาซาร์ดีน 65% ซอสมะเขือเทศ 30% น้ำมันถั่วเหลือง 4.6% ผงชูรส 0.1% ไมระบุ 394 มก. 551.6 มก. ไมระบุ ไม่มี 8.ซีคราวน์ น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 14.50 บ. บ.สมุยฟูดส์ จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 27% เกลือ 1% 760 มก. 392 มก. 607.6 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต มี 9.ท๊อปส์ น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 15 บ. บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 39.95%   700 มก. 378 มก. 585.9 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต, ไดโซเดียม 5 กัวไนเลต, ไดโซเดียม 5 ไอโนชิเดต มี 10.สามแม่ครัว น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.รอยัลฟู้ดส์ จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศเข้มข้น 36.47% เกลือ 1.14% น้ำตาล 0.72% 800 มก. 374 มก. 579.7 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต มี 11.โฮม เฟรช มาร์ท น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 13.50 บ. บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 37% น้ำมันถั่วเหลือง 2% เกลือ 1% ไม่ระบุ 348 มก. 539.4 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 12.อะยัม น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 28 บ. บ.ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องสยาม จำกัด ปลาซาร์ดีน 60% ซอสมะเขือเทศ 36% น้ำมันถั่วเหลือง 2.9% เกลือ 1% 700 มก. 330 มก. 511.5 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย, ผงชูรส ไม่เจือสี มี ปลาแมคเคอเรลในซอสมะเขือเทศ 13.ไฮคิว น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ปลาแมคเคอรเล 65% ซอสมะเขือเทศ 30% เกลือ 2.50% น้ำมันปาล์ม 2.50% 600 มก. 484 มก. 750.2 มก. ไม่เจือสี ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 14.ตราคุ้มค่า เทสโก้ น้ำหนักเนื้อ 87 กรัม น้ำหนักสุทธิ 145 กรัม   บ.สมุยฟู้ดส์ จำกัด ปลาแมคเคอเรล 60% ซอสมะเขือเทศ 6% เกลือไอโอดีน 1% 620 มก. 456 มก. 661.2 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมท เจือสีธรรมชาติ ไม่มี 15.โรซ่า น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม   บ.ไฮคิว แคนนิ่ง (ปัตตานี) จำกัด ปลาแมคเคอเรล 65% ซอสมะเขือเทศ30% เกลือ 2.5% น้ำมันปาล์ม 2.5% 540 มก. 447 มก. 692.85 มก. ไม่เจือสี ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 16.นกพิราบ น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 13.50 บ. บ.สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958) จำกัด ปลาแมคเคอเรล 60% ซอสมะเขือเทศ 38% เกลือแกง 1.1% กัวร์กัม 0.5% 490 มก. 444 มก. 688.2 มก. ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี 17.ปุ้มปุ้ย   น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 13 บ. บ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ปลาแมคเคอเรล 60% ซอสมะเขือเทศ 37% น้ำมันถั่วเหลือง 1.6% เกลือ 1.4% 680 มก. 438 มก. 678.9 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่ใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร มี 18.ทีซีบี น้ำหนักเนื้อ 93 กรัม น้ำหนักสุทธิ 155 กรัม 14.25 บมจ.ทรอปิคอล เคนนิ่ง (ประเทศไทย) ปลาแมคเคอเรล 66% ซอสมะเขือเทศ 30.8% น้ำมันถั่วเหลือง 2.6% เกลือ 0.6% 580 มก. 360 มก. 558 มก. ไม่ใช้วัตถุกันเสีย มี   ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น ทดสอบโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

อ่านเพิ่มเติม >