ฉบับที่ 183 การติชมโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของผู้บริโภค ไม่ถือเป็นความผิด

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลส์ จำกัด ผู้จำหน่ายรถตู้ยี่ห้อโฟตอน จากประเทศจีน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้บริโภคจำนวน 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ซื้อรถตู้โฟตอน จำนวน 19 ราย  และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอีก 1 ราย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและแจ้งความเท็จ  หลังผู้บริโภคซื้อรถตู้ดังกล่าวมาใช้แล้วเกิดปัญหา ได้รับความเสียหาย และบริษัทฯ ไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของรถ จึงนำข้อเท็จจริงมาเปิดเผยกับสาธารณชน  และแจ้งร้องเรียนขอความช่วยเหลือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) นั้น ที่สุดศาลได้ตัดสินยกฟ้องผู้บริโภคทุกราย เนื่องจากเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เป็นการติชมโดยสุจริต เพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน จึงไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง        กรณีนี้ถือเป็นคดีตัวอย่างอีกหนึ่งคดี ที่จะทำให้ผู้บริโภคท่านอื่นที่กำลังเผชิญปัญหาจาการถูกละเมิดสิทธิ   มีกำลังใจที่จะเดินหน้าในการพิทักษ์สิทธิของตนเองได้ เพราะถ้าเราสามารถยืนยันและให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริงได้อย่างละเอียดชัดเจน ปัญหาก็จะได้รับการแก้ไขได้ในที่สุด  ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงจะพาไปพบกับตัวแทนของผู้บริโภคกลุ่มคดีรถตู้โฟตอน ว่าพวกเขาต้องฝ่าฟันกับเรื่องใดมาบ้างนายบังเอิญ  เม่นน้อย  “สมัยก่อนผู้บริโภคไม่กล้าส่งเสียงเพราะกลัวว่าจะถูกฟ้อง  แต่ตอนนี้อยากให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า การออกมาใช้สิทธิคือสิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคมีกระบวนการดูแลไม่เคยทอดทิ้งให้เราต่อสู้เพียงลำพัง”ปลายปี 2551 ผมเห็นโฆษณาประชาสัมพันธ์ของ บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ว่ามีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  เป็นผู้ให้เช่าซื้อ มีบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยทั้งภาคบังคับ(พ.ร.บ.)และประกันภัยภาคสมัครใจ (ชั้น 1) ที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ตู้ยี่ห้ออื่นก็ราคาไม่สูง จึงตัดสินใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อโดยคาดหวังว่าจะยึดอาชีพพนักงานขับรถตู้โดยสารสาธารณะ เพื่อเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวช่วงแรกได้ให้พ่อตาเป็นคนขับ แต่ก็พบปัญหาหลังจากซื้อมาได้ไม่ถึง 15 วัน คือ ไม่สามารถเหยียบครัช หรือเข้าเกียร์ได้ตามปกติ มีปัญหาของเครื่องยนต์ ต้องเปลี่ยนยกเครื่องใหม่ในเวลาไม่ถึง 3 เดือน พ่อตาไม่สามารถขับต่อไปได้ ผมจึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมาขับเอง แต่ก็เป็นการขับไปซ่อมไป “แทนที่จะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวตามที่ตั้งใจไว้ก็กลายเป็นว่า ครอบครัวของเราต้องเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาซ่อมรถ ผมและภรรยาจึงตกลงกันว่าเราจะนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องพิทักษ์สิทธิของตัวเองโดยการร้องทุกข์ไปที่หน่วยงานที่ไว้ใจ เชื่อใจได้ เลยตกลงมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และพยายามรวบรวมกลุ่มเพื่อนผู้เสียหายได้ประมาณ 30 คน จนในที่สุดก็เป็นกลุ่มก้อนที่เข้มแข็งมาร่วมกับเรียกร้องความถูกต้องให้ตัวเอง ”นางประทิน  ซื่อเลื่อม“ป้าซื้อรถตู้คันนี้ด้วยเงินสด ที่เก็บหอมรอบริบมาเกือบทั้งชีวิต เพราะหวังว่าจะยึดเป็นอาชีพในบั้นปลาย แต่ที่ไหนได้ซื้อมายังไม่ทันได้สามเดือนรถพัง แถมไม่มีอะไหล่เปลี่ยนให้อีก กัดฟันซ่อมแทบจะวันเว้นวัน สุดท้ายไม่ไหวต้องตัดสินใจขายต่อให้คนอื่น ได้เงินคืนไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ”ป้าซื้อรถยนต์ประเภทรถตู้ ยี่ห้อ โฟตอน รุ่น VIP 14 ที่นั่ง ราคาประมาณ 1,365,000 บาท  เริ่มใช้งานรถตู้ประมาณ 1 เดือน จึงเริ่มเกิดปัญหาของคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน และความชำรุดบกพร่องของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมเพรสเซอร์แอร์เสีย  ท่อแอร์รั่ว ไดชาร์ทเสีย คันเร่งค้าง เข้าเกียร์ไม่ได้  ประตูรถเสีย  เลี้ยวแล้วพวงมาลัยมีเสียงดัง    รวมทั้งระบบโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงสังเกตจากช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ มีความพยายามแก้ไขตามขั้นตอน ทั้งติดต่อไปที่บริษัทเพื่อส่งเข้าศูนย์ซ่อมแต่ก็ไม่มีบริการ มีเพียงแห่งเดียว ช่างชำนาญงานก็ไม่มี อะไหล่ก็ไม่มี ต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรายวัน จนในที่สุดต้องตัดสินใจขายในราคาที่ถูกมาก และเข้ามาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะต้องการเรียกค่าเสียหายกับทางบริษัท ที่เหมือนว่าจงใจนำรถที่ไม่ได้คุณภาพมาขาย แต่ท้ายที่สุดก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 19“ที่ต้องสู้ต่อเพราะป้าคิดว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด พูดความจริงทุกอย่าง ไม่เคยแจ้งความเท็จกับหน่วยงานไหน ที่สำคัญถ้าป้าไม่ลุกขึ้นมาสู้เพื่อตัวเอง ใครเขาจะมาช่วยป้าได้ ”นางสาวนภัสนันท์  ปิ่นหอมระหว่างการต่อสู้ทางคดีจำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน เพื่อทำสัญญากับ กรมคุ้มครองสิทธิกระทรวงยุติธรรม เธอจึงตัดสินใจยอมเป็นผู้ค้ำประกันให้กับจำเลยทั้ง 20 ราย ทั้งที่สามีของเธอคือ คุณบังเอิญ ก็เป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้“ รู้สึกเศร้าใจไม่คิดว่าผู้ประกอบการจะเอาเปรียบผู้บริโภคขนาดนี้  พวกเขาเดือดร้อนกันจริงๆ  ไม่เคยคิดกลั่นแกล้งใคร เงินที่ลงทุนซื้อรถไปก็อยากมีอาชีพ เลี้ยงดูตัวเองได้ สาเหตุที่ตัดสินใจเป็นนายประกันให้จำเลยทั้งยี่สิบคนก็เพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว และเชื่อมั่นว่าต่อสู้ร่วมกันมาขนาดนี้ อะไรที่ช่วยกันได้ก็อยากจะช่วย เพื่อนย่อมไม่ทอดทิ้งกันแน่นอน ” ---------------------------------------------------------------------------------------------ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2559 นั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความเครียดบ้างในส่วนของการดูแลความรู้สึกของผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดี เพราะเราต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจผิดพลาดที่มาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วต้องถูกฟ้องร้องทางคดี แต่นี่คือความกล้าหาญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการแสดงพลังของคนเล็กคนน้อยให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเองนางสาวสวนีย์  ฉ่ำเฉลียวหลังจากรับเรื่องร้องเรียน ในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคก็ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงจนได้ความว่า ผู้ร้องเดือดร้อนจริงจากการเช่าซื้อรถยนต์ตู้จากบริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้พากลุ่มผู้ร้องฯ ไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ขอให้พิจารณาช่วยเหลือผู้บริโภค กรณีได้รับความเสียหายจากการซื้อรถตู้ยี่ห้อ โฟตอน แล้วพบปัญหาชำรุดบกพร่อง และพาไปร่วมออกรายการโทรทัศน์ ช่องเนชั่นทีวีผ่านทาง “รายการระวังภัย 24 ชั่วโมง” ในหัวข้อ ซื้อรถไม่ได้ใช้ แต่ต้องใช้หนี้   นำรถไม่มีคุณภาพเข้ามาจำหน่ายและไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของรถ สวนีย์  ฉ่ำเฉลียว(จำเลยที่ 20) รับหน้าที่เป็นพิธีกรร่วมในรายการ และได้ทำหน้าที่ให้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้อง รวมทั้งซักถามในประเด็นปัญหาต่าง ๆ กับทางผู้ร้องร่วมกับพิธีกรในรายการอีกท่าน การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวถือว่า อยู่ในความรับผิดชอบในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ พิธีกรร่วมในรายการ ไม่ได้มีเจตนาสร้างความเสียหายให้กับโจทก์ หรือมีความโกรธแค้นโจทก์เป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด เป็นข้อมูลความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น“ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2559 นั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความเครียดบ้างในส่วนของการดูแลความรู้สึกของผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดี เพราะเราต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจผิดพลาดที่มาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วต้องถูกฟ้องร้องทางคดี แต่นี่คือความกล้าหาญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการแสดงพลังของคนเล็กคนน้อยให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเอง เพราะเราเชื่อว่า หน่วยงานของเรา คือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นที่พึ่งสุดท้ายของพวกเขาแล้ว และภารกิจของมูลนิธิก็คือ รับเรื่องร้องเรียน แก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค อยู่แล้ว การที่ดิฉันในฐานะเจ้าหน้าที่ถูกฟ้องจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ หรือแปลกประหลาด แต่ถือว่าเป็นการย้ำจุดยืนของหน่วยงานว่า เป็นอิสระจริง และทำงานจริงไม่ใช่แค่เสือกระดาษ” ---------------------------------------------------------------------------------------------ในช่วงปลายปี 2551 บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนนำเข้ารถตู้ ยี่ห้อ “ โฟตอน ” จากประเทศจีน เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย  โดยโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสมาคมรถตู้โดยสารต่างจังหวัดแห่งประเทศไทย  เพื่อเชิญชวนให้สมาชิกเข้ามาทำสัญญาเช่าซื้อ  โดยมีเอกสารแผ่นพับ  แสดงรูปแบบรายละเอียด พร้อมราคาตัวรถตู้ คันละ 1,365,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนหกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  ซึ่งมีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้เช่าซื้อ และบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เช่าซื้อไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อรถตู้คันดังกล่าวได้ เช่น รถหาย รถชำรุดบกพร่อง เป็นต้น  สมาชิกที่เข้าทำสัญญาในคราวเดียวกันนี้มีทั้งสิ้นกว่า 70  ราย หลังจากสมาชิกเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถตู้โดยสารยี่ห้อดังกล่าวแล้วกลับพบว่า เกิดความชำรุดบกพร่องนับแต่ใช้งาน คือขณะขับรับส่งผู้โดยสารเครื่องยนต์ดับกะทันหัน เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ระบบความร้อน ระบบแอร์ รวมถึงระบบเครื่องยนต์ มีปัญหาไม่ทำงานบ่อยครั้ง รวมทั้งระบบโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงสังเกตจากช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ  รวมทั้งปัญหาด้านการบริการซึ่งก่อนเช่าซื้อทางบริษัทฯได้โฆษณาว่า  จะมีศูนย์บริการหรืออู่ให้การบริการซ่อมอยู่ทั่วประเทศ  แต่ในความเป็นจริงกลับมี 1 แห่ง และไม่มีอะไหล่ของบริษัทโฟตอนโดยตรงเป็นอู่ซ่อมรถทั่วไป  ดังนั้นผู้เสียหายแต่ละรายจึงต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรถ ค่างวดเช่าซื้อรถ โดยมิได้ใช้ประโยชน์จากตัวรถเต็มที่ บางรายต้องจอดทิ้งไว้ที่อู่เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อม ภายหลังจากพบปัญหาผู้ร้องได้ติดต่อ สอบถามไปยังผู้ให้เช่าซื้อคือ บริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด(มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อขอคืนรถยนต์ตู้โดยสารคันดังกล่าวแต่ได้รับการปฏิเสธโดยต่อมาทางผู้ให้เช่าซื้อได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อกับผู้ร้องกว่า 10 ราย มีเพียงบางส่วนได้ทำการคืนรถให้กับทางผู้ให้เช่าซื้อก่อนที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ร้องจำนวน 20 ราย จึงติดต่อมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เพื่อขอคำปรึกษา ร้องเรียน ให้ช่วยแก้ไขปัญหาให้ โดยความเสียหาย แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ค่าเช่าซื้อรถและค่าซ่อมแซม มูลค่ากว่าสามสิบล้านบาท แต่ภายหลังปรากฏว่าทาง บริษัท แพล็ททินัมฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ฐานความผิด ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา, แจ้งความเท็จ จำนวนทุนทรัพย์ 5,000,000.-บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) กับจำเลยจำนวน 20 ราย เป็นผู้ร้องเรียน 19 ราย และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 1 ราย  

อ่านเพิ่มเติม >