ฉบับที่ 103 อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ “เรา” ป้องกันได้

เรื่องสถานีขนส่งผู้โดยสารก็เป็นอีกเรื่อง ไม่รู้คิดหรือเปล่าก่อนสร้างน่ะ พอคนลงรถ ขสมก.แล้วเนี่ยจะเดินอีกไกลไหมกว่าจะไปถึงที่ขายตั๋ว ที่ขายตั๋วไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องให้คนภาคอีสานขึ้นไปซื้อตั๋วที่ชั้น 3 ดูข้าวของเขาสิ กลับบ้านทีข้าวของเต็มไปหมด ก็แบกกระเป๋าขึ้นไปซื้อตั๋วแล้วก็แบกกระเป๋าลงมาหรือไม่ก็ต้องจ้างรถเข็น การจะสร้างเราก็ต้องดูพฤติกรรมคนด้วยไม่ใช่สักแต่ว่าสร้าง พอขึ้นรถได้ก็มาเจอรถที่เอาเปรียบอีก  ทราบหรือไม่ว่า แต่ละปีประชากรโลกสังเวยชีวิตด้วยอุบัติเหตุบนท้องถนนกว่า 1.2 ล้านคน รวมทั้งบาดเจ็บสาหัสและทุพพลภาพอีกหลายสิบล้าน เฉพาะในประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตในปี 2550 กว่า 1.3 หมื่นคน การสูญเสียเช่นนี้สามารถลดลงได้ ด้วยมาตรการที่เราคุ้นชิน ได้แก่ การสวมหมวกกันน็อค การคาดเข็มขัดนิรภัย การจำกัดความเร็ว การรณรงค์เมาไม่ขับ เป็นต้น ซึ่ง ผศ.ดร. สมประสงค์ สัตยมัลลี สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ก็เป็นอีกหนึ่งเสียงที่เชื่อว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะ ผศ.ดร. สมประสงค์ สัตยมัลลี จบปริญาเอกด้านวิศวกรรมจราจรและการขนส่ง และทำงานด้านการวางแผนจราจรการขนส่งเป็นหลัก โดยทำงานร่วมกับกรมทางหลวง งานจราจร กรมขนส่ง หลังจากทำไปสักพักก็เริ่มมองเห็นปัญหาการเพิกเฉยต่อความปลอดภัย ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายเป็นจำนวนมาก จึงตั้งหน่วยหน่วยสืบสวนอุบัติเหตุทางถนนขึ้น ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ การเกิดอุบัติเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรเพื่อหาแนวทางในการป้องกัน ซึ่งใครหลายๆ คนอาจมองว่าไม่สำคัญเพราะมักคิดว่าอุบัติเหตุพอเกิดขึ้นแล้ว เกิดการเสียชีวิตแล้วเรื่องก็จบ ความจริงมันไม่ใช่ อุบัติเหตุเราวางแผนล่วงหน้าได้ ป้องกันได้ ทำไมอาจารย์ถึงสนใจเรื่องรถโดยสารสาธารณะเพราะผมใช้รถโดยสารสาธารณะมาตั้งแต่เล็กจนโต จนปัจจุบันก็ยังใช้อยู่เพราะเดินทางจากบ้านที่กรุงเทพฯ ไปสอนที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอยู่โคราช ที่ใช้รถโดยสารสาธารณะก็เพราะคิดว่านั่นคืออาชีพของเขา น่าจะขับได้ดีกว่าที่ผมขับเอง ถ้าเทียบสถิติการขับในระยะทางเท่าๆกัน ระหว่างผมกับคนขับรถโดยสาร อัตราการเกิดอุบัติเหตุของเขาน่าจะน้อยกว่า เพราะเขาขับเส้นทางนี้ประจำ ระบบรถโดยสารสาธารณะของไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไรผมคิดว่าคนให้บริการเองก็ยังไม่เข้าใจการให้บริการ เคยกระโดดขึ้นรถเมล์ไหม ขสมก.ไหม ไม่ใช่ว่าเราอยากกระโดดนะ แต่รถเขาไม่ยอมจอด เขาเพียงชะลอ เพื่อที่จะไปต่อเท่านั้นเอง เขาไม่รู้หรอกว่า การจอดรถอยู่กับที่ให้คนขึ้นลงโดยสะดวกนั้น ใช้เวลาไม่มากหรอก แต่ความปลอดภัยที่ได้จะสูงขึ้น เห็นไหมว่าคนที่ตกรถเมล์ ถูกรถทับ ส่วนหนึ่งก็เพราะคนขับขาดความเข้าใจว่าหน้าที่ หรืออาชีพของเขาคืออะไร นอกจากแค่วันหนึ่งๆ ได้เงินเยอะ ระบบให้ผลตอบแทนกับพนักงานอย่างคนขับรถ บ้านเราไม่เอื้อด้านการบริการ แต่กลับไปเอื้อที่ระบบการแข่งขันมากกว่า ใครทำเงินได้มาก รับผู้โดยสารได้มากถึงได้มาก มันก็ทำให้คนขับแข่งขันกันเอง แข่งกันทำรอบ กลายเป็นว่าไปเน้นที่ความเร็วไปการให้รางวัลหรือค่าแรงจึงไม่สมดุลกัน รถโดยสารบ้านเรายังไม่มีการพัฒนาด้านการผลิตเพื่อยกระดับมาตรฐาน ถ้าไปดูในต่างประเทศผู้ประกอบการจะมีการแข่งขันกันด้านเทคนิค มีระเบียบ มีมาตรการขึ้นมารองรับอย่างชัดเจนในการผลิตรถขึ้นมา การพัฒนาก็จะมีคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ เจ้าของรถก็เลือกรถที่มีคุณภาพดี แต่บ้านเรากลับไปแข่งขันกันที่ราคา ยิ่งถูกเท่าไรยิ่งดี ผู้ประกอบการเองก็พยายามที่จะลดค่าใช้จ่ายตัวเองลงให้เหลือน้อยลงเช่นกัน คือใช้วัสดุอะไรก็ได้ในการทำรถเพื่อให้ต้นทุนต่ำ รถบ้านเราจึงไม่ค่อยสมบูรณ์แบบ ความปลอดภัยก็น้อยลง เรื่องสถานีขนส่งผู้โดยสารก็เป็นอีกเรื่อง ไม่รู้คิดหรือเปล่าก่อนสร้างน่ะ พอคนลงรถ ขสมก.แล้วเนี่ยจะเดินอีกไกลไหมกว่าจะไปถึงที่ขายตั๋ว ที่ขายตั๋วไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องให้คนภาคอีสานขึ้นไปซื้อตั๋วที่ชั้น 3 ดูข้าวของเขาสิ กลับบ้านทีข้าวของเต็มไปหมด ก็แบกกระเป๋าขึ้นไปซื้อตั๋วแล้วก็แบกกระเป๋าลงมาหรือไม่ก็ต้องจ้างรถเข็น การจะสร้างเราก็ต้องดูพฤติกรรมคนด้วยไม่ใช่สักแต่ว่าสร้าง พอขึ้นรถได้ก็มาเจอรถที่เอาเปรียบอีก อย่างเอาเก้าอี้หัวกลมมาวางตรงกลางซึ่งมันไม่มีความปลอดภัยอะไรเลย เข็มขัดนิรภัยซึ่งในกฎกระทรวงกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องมี แต่จะมีเพียงบางคันเท่านั้นที่ผู้ประกอบการมีจิตสำนึกต่อสังคม รู้ไหมว่าการติดเข็มขัดนิรภัยช่วยลดค่าใช้จ่ายเงินค่าชดเชยการบาดเจ็บของคนต่างๆ ได้เยอะ ต้นทุนลดลงได้มากกว่าถ้าเขาลงทุนติดเข็มขัดนิรภัย อีกอย่างที่เป็นปัญหาของระบบขนส่งก็คือการจัดสัมปทานรถ บางรายมีแค่รถไม่กี่คันก็เอารถมาวิ่ง จริงๆ แล้วผู้ถือสัมปทานน่าจะเป็นรายใหญ่เพราะเขามีรถเยอะ แล้วมีงบประมาณที่จะพัฒนาคุณภาพรถให้ดีขึ้น ในต่างประเทศผู้ถือสัมปทานกับบริษัทรถจะเป็นเจ้าเดียวกัน แต่บ้านเราไม่ ผู้ถือสัมปทานเป็นอีกเจ้า แต่รถที่มาวิ่งกลายเป็นอีกผู้ประกอบการไป ก็เก็บกินค่าหัวคิวกันไป ระบบขนส่งบ้านเราจึงยังไม่พัฒนา ยังไม่มีหัวใจของการให้บริการ นอกจากบริการผู้โดยสารแล้วก็ต้องบริการคนของตัวเองด้วย อย่างคนขับรถเวลาถึงที่หมายแล้วก็ต้องมีห้องให้เขาพัก แต่ของไทยนี่นอนอยู่บนรถ อะไรแบบนี้ บริการต่างๆ ของสถานีขนส่ง เช่น ห้องน้ำ ก็เก็บค่าบริการเอากับผู้โดยสาร ทั้งที่ควรไปเก็บกับผู้ประกอบการรถโดยสารโน้นคิดเป็นรายเดือนกันไป หรือแม้แต่ห้องน้ำบนรถก็เถอะ ต้องปรับปรุงเพราะมันเหม็นมาก ต้องให้ผู้บริหารงานหรือผู้คิดแผนงานมานั่งมาใช้บริการแล้วเขาจะรู้ทันทีว่าจะต้องแก้ปัญหาอะไรบ้าง การควบคุมของรัฐเองก็เป็นปัญหา บ้านเราก็กรมการขนส่ง เพราะเมื่อไรที่รัฐยังดูแลค่าโดยสารโดยที่ไม่มองต้นทุนที่แท้จริงก็ลำบากเช่นกัน ผู้ประกอบการเองก็พัฒนาต่อไปได้ยาก แต่ผมเชื่อว่าผู้ประกอบการปัจจุบันก็มีกำไร เพราะไม่งั้นคงเลิกกันไปหมดแล้วล่ะ รถโดยสารที่ดีควรมีลักษณะอย่างไรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หมวดที่ 1 ส่วนที่ 1 เครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 1 มาตรฐาน 2 มาตรฐาน 3 มาตรฐาน 4 มาตรฐาน 6 มาตรฐาน 7 และรถขนาดเล็ก ข้อแรกก็คือ ต้องเป็นคัสซี (chassis) ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกเห็นชอบให้ใช้เป็นคัสซีรถโดยสาร ซึ่งประกอบด้วยโครงคัสซีต้องทำด้วยโลหะแข็งแรงตลอดความยาวของตัวรถ เมื่อต่อตัวถังรถ ต้องมีกันชนทั้งกันชนหน้าและกันชนท้ายที่ติดตั้งเสมอกับหน้ารถและท้ายรถ หรือยื่นจากหน้ารถ และท้ายรถระยะห่างพอสมควร และต้องผ่านขั้นตอนในการทดสอบ 7 ขั้นตอนนั่นคือการบิดตัวของโครงสร้าง การดึงขณะอยู่นิ่ง และเคลื่อนที่ การยก การแขวน และความทนทานของโครงสร้าง ข้อสองจะเป็นการกำหนดเรื่องตัวถังรถ ต้องยึดติดกับโครงคัสซี (Chassis) อย่างมั่นคงแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้ทุกสภาพการใช้งานของรถ รูปร่างภายนอกต้องไม่มีส่วนยื่นที่แหลมหรือคมจนอาจก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งแบบตัวถังของรถก็ต้องเป็นไปตามแบบที่กรมการขนส่งประกาศกำหนด เช่นเรื่อง หลังคาทำด้วยวัสดุที่มั่นคงแข็งแรง สามารถกันแดดกันฝนได้ พื้นรถต้องมั่นคงแข็งแรง หน้าต่างด้านข้างรถ มีขนาด และจำนวนตามสมควร ทำด้วยวัสดุที่ แข็งแรง ที่นั่งผู้โดยสารตรึงแน่นกับพื้นรถซึ่งในบ้านเราพบกว่าหลังเกิดอุบัติเหตุเบาะรถหลุดและมาทับผู้โดยสารเป็นส่วนใหญ่นะ กลายเป็นว่าเป็นส่วนที่ทำให้ผู้โดยสารบาดเจ็บหนักขึ้น อีกส่วนที่ขาดไม่ได้ก็คือเข็มขัดนิรภัย ตามประเภทของรถ และแบบที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดไว้ ซึ่งเข็ดขัดนิรภัยจะช่วยให้ตัวผู้โดยสารยึดติดกับเก้าอี้ ไม่กระเด็นออกนอกตัวรถ และช่วยลดการสูญเสียได้มาก มีแนวทางไหนที่จะพัฒนารถโดยสารสาธารณะให้ดีขึ้นอีกบ้างในความคิดของผมนะ ตราบใดที่คนที่ทำเรื่องระบบรถโดยสารสาธารณะ ไม่ได้เป็นผู้ใช้บริการเอง เขาไม่มีทางรู้หรอกว่าคนที่ใช้รถน่ะเขาลำบากขนาดไหน รถโดยสารสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถวิ่งประจำทาง รถวิ่งไม่ประจำทาง รถรับพนักงาน ถือว่าเป็นรถโดยสารสาธารณะหมดรัฐเองก็ต้องเข้ามาดูแล ทั้งทางด้านอุปกรณ์นิรภัยต่างๆ ร่างแบบรถโดยสารสาธารณะให้ได้มาตรฐาน พร้อมบังคับให้รถทุกคันต้องติดเข็มขัดนิรภัยเพราะจะช่วยลดการบาดเจ็บได้มาก ระยะห่างของเบาะรถก็ต้องได้มาตรฐานเพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดการกระแทกกันของผู้โดยสารได้ ซึ่งแค่กระแทกกันก็อาจตายได้ อู่หรือตัวแทนการตรวจสอบของรัฐมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสภาพของอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยภายในรถโดยสารเป็นประจำอย่างน้อย 6 เดือน/ครั้ง เช่น ตรวจพบน็อตเบาะไม่แน่น 3 ใน 24 เบาะของผู้ประกอบการรายนั้น จะต้องถูกพักใบอนุญาตวิ่งรถกี่วัน จนกว่าจะแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้รถตัวเองพร้อมก่อนจะให้บริการ แค่ดูเบาะกับเข็มขัดนิรภัย ผมว่าให้ดูแลเข้ม 2 เรื่องนี้การสูญเสียก็จะน้อยลง รวมถึงหาทางให้คนพิการเข้าถึงบริการสำคัญกว่า ทำไมบันไดรถเมล์บ้านเราต้องปีนบันไดขึ้นสูงขนาดนั้น อย่าไปคิดว่าคนพิการมีจำนวนน้อย ถึงแม้จะมีมาตรการหรือมีจัดวางแผนการช่วยชีวิตให้เป็นระบบหลังเกิดอุบัติเหตุออกมา แต่ก็ออกมาตรการมาค่อนข้างช้า อย่างเรื่องเข็มขัดนิรภัยประกาศออกไปเลยว่า รถทุกคันต้องมีเข็มขัดนิรภัย เบาะต้องยึดโยงอย่างแน่นหนา และต้องควบคุมดูแลอย่างจริงจัง แม้จะมีการป้องกันต่างๆ แล้วก็ตาม แต่หากเกิดอุบัติเหตุก็ต้องมีการจัดการวางแผนการช่วยชีวิตที่รวดเร็ว รวมถึงจัดให้ผู้ที่รับผิดชอบสั่งการในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหมู่ เช่น หัวหน้าหน่วยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย (ปภ.) ในพื้นที่หรือตำรวจร้อยเวร และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมอุปกรณ์หรือจัดหน่วยงานที่สามารถประสานงานขออุปกรณ์มาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เราจะเลือกนั่งรถโดยสารอย่างไรให้ปลอดภัยเรื่องแบบนี้เราต้องติดตามข่าวด้วยว่ารถบริษัทไหนเกิดอุบัติเหตุบ่อยเราก็ไม่นั่ง ก่อนซื้อตั๋วก็คิดก่อน แล้วเวลาจะขึ้นรถก็ต้องสังเกตดูยางรถยนต์หน่อยว่ามีดอกยางไหม ถ้าไม่มีก็อย่าขึ้นจะดีกว่า ให้ดูหน้าคนขับหน่อยว่าหน้าตาเขาสดชื่นดีหรือเปล่า เพราะเขาคือคนที่จะขับรถ พอไปถึงเบาะก็ให้ดูเข็มขัดนิรภัย แล้วก็ต้องคาดด้วยนะเพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุได้มาก

อ่านเพิ่มเติม >