ฉบับที่ 206 หลักสูตรไม่ตรงกับที่สมัคร

เป็นเรื่องธรรมดา ที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยินดีจ่ายค่าเทอมราคาสูง เพื่อให้บุตรหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนชื่อดัง หรือมีหลักสูตรที่สามารถพัฒนาทักษะของเด็กได้ดีที่สุด แต่หากสมัครเรียนไปแล้วกลับพบว่า ไม่เป็นไปตามที่โรงเรียนโฆษณาไว้ เราจะสามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูกันคุณสมพลพาลูกสาวเข้าเรียนที่โรงเรียนโยธินบูรณะ ในหลักสูตรของโครงการนานาชาติ เนื่องจากได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านงาน Open House ของโรงเรียนว่า มีชื่อเสียงด้านการจัดการเรียนการสอนที่ดี ทั้งหลักสูตรดังกล่าวได้ใช้แนวทางการเรียนการสอน ตามหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามหลังลูกสาวเข้าเรียน และชำระเงินค่าเทอมไปแล้วกว่า 200,000 บาท กลับพบปัญหาหลายอย่างที่ไม่เป็นไปตามเอกสารประชาสัมพันธ์ที่แจ้งไว้ เช่น ไม่มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Lab) ขาดอุปกรณ์เครื่องดนตรี ขาดครูผู้สอนชาวตะวันตกหลายวิชา หรือการเปลี่ยนแปลงตารางเรียนกะทันหันเนื่องจากครูไม่พอ ส่งผลให้คุณสมพลและผู้ปกครองท่านอื่น พยายามสอบถามถึงวิธีแก้ปัญหาไปยังผู้อำนวยการของโรงเรียน แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ปัญหาใดๆจนกระทั่งเปิดภาคเรียนถัดมาและถึงเวลาชำระเงิน ซึ่งแน่นอนว่าคุณสมพลได้จ่ายเพิ่มไปอีกเกือบ 200,000 บาท เขาก็พบว่าเหล่าปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการแก้ไข และแม้จะมีการรวมตัวของผู้ปกครองเพื่อเรียกร้องให้ทางโรงเรียนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ ทำให้ภายหลังมีนักเรียนลาออกกว่า 20 คนจากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้คุณสมพลไม่พอใจอย่างมาก และรู้สึกไม่มั่นใจคุณภาพการศึกษาของโครงการ จึงย้ายลูกสาวออกจากโรงเรียนกลางคัน โดยในเวลาต่อมาเขาก็ได้ส่งลูกสาวไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกในราคาที่เกือบจะเท่ากับที่สมัครเรียนไปรอบแรกเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณสมพลจึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ โดยต้องการสอบถามว่าสามารถขอเงินคืนจากโรงเรียนดังกล่าวทั้งหมดได้หรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามที่โรงเรียนได้ประชาสัมพันธ์ไว้แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำผู้ร้องว่า ในกรณีนี้ผู้ร้องสามารถทำหนังสือขอเงินคืนจากโรงเรียนดังกล่าวได้ โดยใช้เอกสารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนเป็นหลักฐาน เพราะตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา(วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค) พ.ศ. 2522 (มาตรา 11) กำหนดไว้ว่า ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของบริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำ หรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตามอย่างไรก็ตามหากฟ้องร้องคดี ผู้ร้องอาจไม่ได้รับเงินคืนทั้งหมด เพราะเกิดการเรียนการสอนไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่แน่นอนว่าทางโรงเรียนต้องมีการชดเชยเยียวยา ในกรณีที่ผิดสัญญาดังกล่าวทั้งนี้ศูนย์ฯ จะช่วยทำจดหมายถึงเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับ ควบคุม ดูแล โรงเรียนดังกล่าว เพื่อให้ตรวจสอบหลักสูตรโครงการนานาชาติว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ขออนุญาตหรือไม่ ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวยังไม่ปิดเพียงเท่านี้ และจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ยังคงต้องติดตาม

อ่านเพิ่มเติม >