ฉบับที่ 276 ความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ตำรวจไซเบอร์ แนะวิธีสังเกตเพจหลอกจองที่พัก ขายของออนไลน์        ตำรวจไซเบอร์ระบุ  ปัจจุบันมีผู้เสียหายจำนวนมากจากการหลอกลวงของมิจฉาชีพในออนไลน์ ทั้งการใช้วิธีการสร้างเพจปลอมเป็นโรงแรมที่พักหรือการขายของออนไลน์หลอกลวงประชาชน จากข้อมูลสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ 1 มี.ค.65 – 28 มิ.ย. 66 พบว่า มีการหลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการมากถึง 108,383 ครั้ง         ตำรวจไซเบอร์ (บช.สอท.) จึงแนะนำวิธีการสังเกตเพจปลอมต่างๆ ดังนี้             1. เพจต้องได้รับยืนยันเครื่องหมายรับรองตัวตน (Verified badge)             2.ตรวจสอบรายละเอียดเพจได้ วันที่สร้างเพจ เคยเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนหรือไม่? หากเพจสร้างขึ้นมาไม่นานแต่มีการเปลี่ยนชื่อเพจเสี่ยงต่อการเป็นเพจปลอม             3. ยอดผู้กดถูกใจโพสต์ เนื่องจากเพจปลอมจะมีผู้ติดตามน้อย มิจฉาชีพมักสร้างยอดผู้ติดตามปลอมไว้ มองผ่านๆ จะคล้ายจำนวนผู้ติดตามจริง            4. ชื่อเพจสะกดถูกต้องหรือไม่ มิจฉาชีพมักทำเลียนแบบหากไม่สังเกตอาจทำให้ถูกหลอกลวง              5. โพสต์เนื้อหาและโต้ตอบในเพจ จำนวนคนกดถูกใจ คอมเมนต์ จะมีการโต้ตอบน้อย และคอมเมนต์เชิงตำหนิ เช่น สั่งสินค้าไปไม่ได้รับของเลย             6. สังเกตที่ URL ของ มักเป็นคำแปลกๆ ไม่มีความหมาย พบข้อมูลคนไทยโดนประกาศขายดาร์กเว็บ 20 กว่าล้านบัญชี        จากกรณี Resecurity บริษัทความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ จากรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รายงานว่าเมื่อเดือนมกราคม ปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่ามีข้อมูลของคนไทยรั่วไหลและถูกนำมาประกาศขายในบนเว็บไซต์ข้อมูลผิดกฎหมายกว่า 27 ล้านบัญชี โดยกลุ่มข้อมูลที่มาจากกรมกิจการผู้สูงอายุ รั่วไหลมากถึง 19.7 ล้านบัญชีนั้น         นายประเสริฐ จันทรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวว่า สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ตรวจพบตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ แล้ว พร้อมทั้งแจ้งไปยังกรมกิจการผู้สูงอายุให้รับทราบถึงกรณีข้อมูลของหน่วยงานรั่วไหลเกือบ 20 ล้านบัญชี แต่ยังหาสาเหตุของการรั่วไหลไม่ได้ ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้เตรียมเข้าตรวจสอบเกี่ยวกับลักษณะการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าวแล้ว  สั่งค่ายมือถือ “ระงับซิมไม่ยืนยันตัวตน” กรณีมีเกิน 100 เบอร์         จากกรณีที่ กสทช. ได้ออกมาตรการบังคับใช้ เมื่อ 16 มกราคม 2567 สำหรับผู้ที่ใช้บริการซิมมือถือต้องทำการยืนยันตัวตนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้กับผู้ที่ถือซิม 6-100 เบอร์ ต้องยืนยันตัวตนภายใน 180 วัน และ 101 หมายขึ้นไป ภายใน 30 วันนั้น         15 กุมภาพันธ์ 2567  กสทช. ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึงบริษัทผู้ให้บริการ ถึงมาตรการยืนยันตัวตนของซิมการ์ด  และข้อมูลการใช้บริการของผู้ถือครองซิม หลังพ้นกำหนดระยะเวลายืนยันตัวตนสำหรับผู้ถือครอง 101 เบอร์ ขึ้นไป ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กสทช. จึงได้มีคำสั่งเร่งรัดให้ค่ายมือถือ ดำเนินการตามเงื่อนไขระงับการใช้บริการรวมถึงการโทรออก ส่งข้อความ SMS และการใช้งานอินเทอร์เน็ต และจะอนุญาตเพียงเบอร์โทรฉุกเฉินเท่านั้น            “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” ไม่มีฉลากระวังอันตราย        หลังจากที่บนโลกออนไลน์มีการรีวิวขนม “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” อย่างมากมาย ทำให้เป็นขนมยอดฮิตในกลุ่มเด็กและคนทั่วไป จนมีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และวางขายตามหน้าโรงเรียนเกลื่อน         ภก. เลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้เปิดเผยว่า พบขนมเลียนแบบเยลลี่องุ่นที่มีจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี โดยมีการนำมารีวิวผ่านโซเชียลออนไลน์ ซึ่งลักษณะบรรจุในถุงคล้ายถุงมือยางหรือลูกโป่งลูกกลมๆ และมีวิธีการกินคือใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มให้ถุงแตกออกมาแล้วจึงนำมารับประทานได้ มีหลายรสชาติ แต่ไม่มีเลขอย. และฉลาก จึงขอเตือนว่า ไม่ควรซื้อมารับประทานเพราะอาจลักลอบนำเข้าหรือผลิตเพื่อขายในสถานที่ต่างๆ และไม่มีฉลาก ไม่มีข้อมูลเกี่ยวอาหาร อาจเสี่ยงได้รับสารอันตรายที่เป็นผลต่อสุขภาพได้ เช่น สี วัตถุกันเสีย วัตถุแต่งกลิ่นที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด การบรรจุอาหารในถุงมือยางหรือบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อบรรจุอาหาร ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ หากผลิต นำเข้าเพื่อขายสถานที่ต่างๆ ไม่มีฉลาก มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท  มพบ.เสนอการบินพลเรือนเร่งจัดการปัญหาเที่ยวบินเทผู้โดยสาร         หลังจากสายการบิน  Air Japan ได้มีการยกเลิกเที่ยวบิน NQ2 เส้นทางสุวรรณภูมิ - นาริตะ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา เวลา 00.15 น.  ซึ่งเป็นการยกเลิกแบบกะทันหัน (ก่อนหน้ามีการดีเลย์กว่า 3 ชั่วโมง) หลังจากนั้นทางสายการบินได้รับผิดชอบผู้โดยสารเพียงแค่คืนค่าตั๋วเดินทาง แต่ไม่ได้ชดเชยเยียวยาความเสียหายในส่วนอื่นๆ เช่น ค่าโรงแรมที่พักของผู้โดยสารที่ได้ทำการจองไว้อีกด้วย         23 กุมภาพันธ์ นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ ได้กล่าวว่า จากประเด็นดังกล่าวที่ให้ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบและต้องการเรียกร้องค่าชดเชยไปดำเนินการยื่นเรื่องเองกับทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นั้น ไม่ควรผลักให้เป็นภาระของผู้โดยสาร เพราะสำนักงานการบินพลเรือน อยู่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งควรออกมาตรการกำหนดให้สายการบินจ่ายเงินชดเชยเยียวยาผู้โดยสาร ซึ่งจะเป็นการผลักภาระให้ต้องไปเรียกร้องที่ สคบ. และการยกเลิกเที่ยวบินแล้วคืนเฉพาะค่าโดยสารถือเป็นการเอาเปรียบผู้โดยสารที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งสายการบินควรต้องชดเชยค่าใช้จ่ายที่เสียหายจริงทั้งหมด เช่น ค่าตั๋วใหม่ ค่าโรงแรม ค่ารถที่ได้ทำการจองไปแล้ว รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ         อีกประเด็น คือ ทางสายการบินมีเครื่องบินให้บริการเพียง 1 ลำ ถือเป็นเรื่องที่สำนักงานการบินพลเรือนต้องตรวจสอบรับผิดชอบ เนื่องจากเป็นหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล ทั้งนี้ ที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยเรียกร้องไปยังสำนักงานการบินพลเรือนให้ออกประกาศคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินในเส้นทางบินต่างประเทศอีกด้วย เนื่องจากยังไม่มีประกาศฉบับดังกล่าว แต่กลับไม่เป็นผล จนกระทั่งมาเกิดเหตุซ้ำซากแบบเดิม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 120 องุ่นกับแตงโม เขาว่าสารเคมีเยอะจริงหรือ

ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกที คราวนี้ว่าด้วยองุ่นกับแตงโม ผลไม้ที่ใครต่อใครต่างก็ว่า มีสารเคมีการเกษตรตกค้างเยอะ ให้ระวังเวลากิน ก็เลยต้องพาไปพิสูจน์ครับ  องุ่นนั้น มีวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 และเกลือแร่อย่างเหล็ก แคลเซียม มาก และเพราะน้ำตาลในองุ่นเป็นน้ำตาลกลูโคส ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย กินองุ่นจึงทำให้รู้สึกสดชื่น อีกทั้งช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกาย ช่วยล้างและสร้างเม็ดเลือดกระตุ้นตับให้ทำหน้าที่ฟอกเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นยาระบายอ่อนๆ  แต่จากการทดสอบหาปริมาณสารเคมีตกค้างในทุกหน่วยงาน องุ่นจัดว่าเป็นผลไม้ที่ติดอันดับท็อปห้าตลอดเรื่องมีการตกค้างของสารเคมีสูง ถึงขนาดมีคนบอกว่า ถ้ารักกันจริงต้องปอกเปลือกองุ่นให้กิน  ส่วนแตงโม จำไม่ได้แล้วว่าเป็นข้อมูลปีไหน แต่ว่ากันว่า แตงโม จะมีสารเคมีตกค้างอยู่มากถึง 11 ชนิด อันนี้ก็เป็นที่ล้อกันเล่นๆ ว่า ถ้าแตงโมไม่หวาน ก็ถือว่าดี เพราะลดสารเคมีลงไปได้ 1 ชนิด(ฮา)  ที่จริงแตงโมเป็นผลไม้ที่เหมาะกับเมืองร้อนเป็นที่สุด เพราะมีน้ำมาก กินแล้วช่วยให้เย็นและสดชื่นในขณะอากาศร้อนจัด แตงโมมีไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนมาก ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ผักผลไม้มีสีแดง คาดว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งได้บางชนิด ส่วนเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ   ฉลาดซื้อทดสอบ องุ่น (ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ) เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 16 ตัวอย่าง (ครั้งละ 8 ตัวอย่าง) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมีนาคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล เพื่อทดสอบหาสารเคมีตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือ ยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)   ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.5) ที่พบการตกค้างของสารเคมีทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนพฤศจิกายน 2552 และตัวอย่างจากตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดสตูลจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนมีนาคม 2553  2. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ เลยจากการเก็บสินค้าทดสอบทั้ง 2 ครั้งในเดือนพฤศจิกายน2552 และเดือนมีนาคม 2553 ได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส และจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม และตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสังขลา   สรุปความเสี่ยงขององุ่น มีความเสี่ยงระดับปานกลาง (50 – 50) ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่สำคัญว่าจะซื้อจากแหล่งจำหน่ายใดทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ และตลาดสด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่ พื้นที่ภาคเหนือจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีตกค้างมากกว่าหนึ่งชนิดในแต่ละกลุ่มมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ  ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเสี่ยงเท่าๆ กันในระดับปานกลาง ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่สารพิษตกค้าง ยกเว้นจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมือง) และ จังหวังสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมาก ส่วนความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากปริมาณสารเคมีที่พบส่วนใหญ่ไม่สูงมากนัก (ไม่เกิน 1 มก./กก.   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 Carbendazim Organophosphate group Pyrethiod group   (พฤศจิกายน 2552)   (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   องุ่น (1)   ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ         สารพิษตกค้าง 288         3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2   จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX   กรุงเทพ เดอะมอลล์งามวงศ์วาน บ.เดอะมอลล์กรุ๊ป ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.05*   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.08*   ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02* ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน < 0.005* ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดกิมหยง องุ่นอเมริกา ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.0061* Cyhalothrin 0.045**  Cyfluthrin 0.028** Cypermethrin 0.205** Fenvalerate 0.293**   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ < LOD (0.025)* Chlorpyrifos 0.0107* Cyhalothrin 0.127** Cypermethrin 0.032** Fenvalerate 0.121** Deltamethrin 0.037*         MRL มกอช.     3 มก./กก.       *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้         ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่าง Carbendazim Organophosphate Pyrethiod     ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)         ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ     องุ่น (2)   สารพิษตกค้าง 288       3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2     จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX     กรุงเทพ บิ๊กซี สะพานควาย บมจ. บิ๊กซี ไม่พบ Chlopyrifos  0.04* ไม่พบ     สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ Chlopyrifos  0.91*** ไม่พบ     ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ Prothiophos 1.01** ไม่พบ     มหาสารคาม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สงขลา ตลาดกิมหยง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ 4.047*** Prothiophos 0.17** Cypermethrin 0.05**     เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ห้างบิ๊กซี (สาขาหางดง) ไม่พบ ไม่พบ Cyhalothrin 0.017** Permethrin 0.028*  Cyfluthrin 0.038** Cypermethrin 0.026** Deltamethrin 0.007*     พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Chlopyrifos  0.0211* Prothiofos 0.3086** Profenophos < LOD* Cyhalothrin 0.021** Cyfluthrin 0.012** Cypermethrin 0.006**           MRL มกอช. 3 มก./กก.         *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด         LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้       คำแนะนำในการบริโภคองุ่น – ควรล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเป็นเครื่องดื่มทั้งแบบคั้นสดและแบบปั่นหากไม่ได้ทำกินเอง เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงตกค้างหากไม่มีการล้างทำความสะอาดที่ดีพอได้   แตงโม เก็บตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 1 ครั้ง เป็นจำนวน 8 ตัวอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2553 เพื่อทดสอบหาการตกค้างของยาฆ่าแมลง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มไพรีทอยด์ และกลุ่มคาร์บาเมต โดยเก็บตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่ง และจากตลาดสด จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัดเช่นเดียวกันกับองุ่น ผลการทดสอบปรากฏว่า   สรุปความเสี่ยงของแตงโมและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมดไม่พบการปนเปื้อนเลย ยกเว้นพื้นที่เขตภาคเหนือคือเชียงใหม่ และพะเยาที่มีโอกาสได้รับผลิตภัณฑ์ที่มียาฆ่าแมลงตกค้างสูงโดยเฉพาะสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ที่พบมากกว่า 4 ชนิดในหนึ่งผลิตภัณฑ์   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 4 Organophosphate Pyrethiod Carbamate   มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   แตงโม ไม่ระบุ ไม่ระบุ Methomyl 0.2   สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288   AZINPHOS-METHYL 0.2 Fenvalerate 0.5 Methomyl 0.2   จังหวัด สถานที่เก็บ บริษัทผู้ผลิต/จำหน่าย MRL CODEX   กรุงเทพ คาร์ฟูร์ บางบอน บ. เซ็นคาร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี บมจ.บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดหาดใหญ่ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ Methomyl 0.12*   สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.039** Cypermethrin 0.159** Fenvalerate 1.705*** Deltamethrin 0.241** ไม่พบ   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.077** Permethrin 0.062**  Cyfluthrin 0.14** Cypermethrin 0.15** Fenvalerate 1.68*** Deltamethrin 0.214** ไม่พบ   *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด           ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่   คำแนะนำต่อการบริโภคกรุงเทพมหานครได้แถลงข่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ระบุไว้ว่ากว่าหนึ่งในสามของผลไม้รถเข็นไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ก่อโรค ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการซื้อแตงโมจากร้านผลไม้รถเข็นที่ดูไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่มีฝาครอบปิดมิดชิด หรือมีแต่ไม่ครอบปิด หรือไม่มีน้ำแข็งรักษาความเย็นของอาหาร (ชะลอการเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค) แนะนำให้ซื้อเป็นลูกใหญ่มาผ่ากินเองดีกว่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point