ฉบับที่ 133 การกำหนดค่าธรรมเนียมตายตัว คือต้นเหตุของปัญหา ?

  ฉลาดซื้อฉบับนี้ต้อนรับวันผู้บริโภคสากล ด้วยประเด็นการเงินการธนาคาร ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อํานวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ  มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในการให้มุมมองเรื่อง ค่าธรรมเนียมธนาคารในประเทศไทยของเรา ที่หลายคนรู้สึกว่า “ทำไมแพงจัง” ดิฉันคิดว่าเรามีแบงค์เยอะมากในประเทศไทย แต่แข่งราคา ไม่ค่อยแข่งกัน เพราะฉะนั้นผู้บริโภคก็จะไม่ได้ประโยชน์ ฉะนั้นจะเห็นว่าบริการอะไรที่เขาออกมา ราคาจะเหมือนๆ กันหมด เดินไปกี่แบงค์ก็เหมือนกันหมด หลังๆ ดีขึ้น หลังๆ จะเริ่มมีคนโน้นไม่เก็บค่าบริการ ตอนนี้ชักจะฉีกๆ ออกมาบ้าง แต่ก่อนนั้นจะเหมือนกันเด๊ะ ธปท. ปรับอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการทางการเงินผ่าน เครื่อง ATM ของธนาคารพาณิชย์ นั่นคือ 1).การโอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต ให้โอนเงินฟรีครั้งแรกของเดือน ส่วนครั้งต่อไปคิดไม่เกิน 15 บาท   2).การถอนเงินในธนาคารเดียวกันข้ามเขต ค่าธรรมเนียมใหม่ ไม่เกิน 15 บาท ต่อรายการ  3).การทำธุรกรรมถอน และ สอบถามยอดผ่าน ATM ต่างธนาคารในจังหวัดเดียวกัน ให้ใช้บริการฟรี 4 ครั้ง ต่อเดือน ส่วนครั้งที่ 5 ขึ้นไปคิดไม่เกิน 10 บาท เหมือนกันทั้งในกทม. และ จังหวัดอื่น  4).การถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 20 บาท ต่อรายการ   โดยระบุว่าในการคิดค่าธรรมเนียมการทำรายการข้ามธนาคารผ่านระบบ ATM ธนาคารจะแสดงเงื่อนไขการคิดค่าธรรมเนียมการทำรายการดังกล่าวบนหน้าจอ ATM เพื่อให้ลูกค้าทราบก่อนตัดสินใจทำรายการ (ที่มา...ข่าวประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย  27 ก.ย. 53)   สาเหตุของค่าธรรมเนียมแสนแพง สาเหตุที่การประกอบธุรกรรมในการโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์แพง ทั้งที่ต้นทุนถูกมากเพราะส่วนหนึ่งเอากำไรจากส่วนนี้มาโปะในส่วนที่ธนาคารขาดทุน ตอนนี้ต้นทุนสูงที่สุดที่เราควรหลีกเลี่ยงคือ “การใช้เงินสด” เพราะการขนเงินสดมันต้องมีความปลอดภัย เอาเงินไปใส่ตู้เอทีเอ็มทีหนึ่ง ก็ต้องมีบริษัทซีเคียว ฯ คอยเอาไป ... ปัญหาของแบงค์ตอนนี้ก็คือว่ากรุงเทพฯ เป็นลักษณะที่เป็นแหล่งสร้างรายได้ ต่างจังหวัดเป็นแหล่งที่มีการโอนรายได้ออกไป ดังนั้นการขนเงิน มันเหมือนเป็นไปในทางทิศเดียว ก็คือ คนกรุงเทพฯ โอนเงินไปให้ต่างจังหวัด แล้วต่างจังหวัดก็ถอนๆ ดังนั้นการขนเงินจากกรุงเทพฯไปต่างจังหวัด มันก็ต้องมีเกิดขึ้น เพราะว่ากรุงเทพฯ โอนไปต่างจังหวัด แต่ก็อย่างว่า ต่างจังหวัดก็ใช้ ถ้าเกิดต่างจังหวัดใช้เงินสดในพื้นที่ มันก็อาจจำเป็นต้องหมุนเวียนอยู่ แต่ตอนนี้ที่ธนาคารเขาชี้แจงว่าทำไมเก็บแพง เพราะว่าเขาคิดค่าถอนเงินฝังเข้าไปในค่าโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย หมายความว่า เขาคิดว่า เมื่อคุณโอนไปแล้ว ค่าโอนคุณอาจจะแค่  2-3 บาท แต่ค่าที่คนที่ได้รับเงินไปถอนออก มันสูง(มันไม่บาลานซ์กัน) ...ใช่ แล้วเขาบอก ส่วนมากถอนออกหมดเลย เหมือนเราทำงานได้ 30,000 โอนเงินไปให้พ่อแม่ที่ต่างจังหวัด 30,000 พ่อแม่ก็ถอนออกหมดเลย ต้นทุนตรงนั้นล่ะสูง ดังนั้นตอนนี้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การใช้เงินสดแทบจะหายไปแล้ว เพราะว่ามีต้นทุนสูงมาก แต่สำหรับประเทศไทย เราก็ยังใช้เงินสดกันอยู่ค่อนข้างมาก เพราะว่าส่วนหนึ่งก็คือเรื่องเครดิตการ์ดในต่างจังหวัดส่วนมาก หลายคนก็ยังไม่มีเครดิตการ์ดหรือเดบิตการ์ด คือคนนี้ไม่ต้องมีเครดิต แต่จ่ายตามที่มีจริงหักตรงจากบัญชี โดยที่ไม่ต้องหอบเงินสดไป เดบิตการ์ดนี่ประเทศไทยพยายามจะเอามาใช้ รู้สึกทางแบงค์ชาติเองก็พยายามเอามาใช้ คือ คุณมีการ์ดใบหนึ่ง แล้วคุณมีรหัส 4 ตัว แล้วคุณจะไปซื้ออะไร ร้านค้าก็จะสามารถให้คุณเสียบเข้าไปได้ โดยที่ไม่ต้องถือเงินสด ดีอีกไม่ต้องถูกขโมย แล้วก็ประหยัดค่าใช้จ่าย ในต่างประเทศ คุณไม่มีเครดิตการ์ดก็ไม่เป็นไร ก็ใช้เดบิตการ์ด ก็คือคล้ายๆ บัตรที่หักโดยตรงจากบัญชีตัวเอง ซึ่งตรงนี้ก็จะประหยัดเงินได้ แต่ต้องมีการออกแบบทั้งระบบ คือทุกแบงค์จะต้องเชื่อมกันได้ ถ้าเกิดมีตรงนี้มาเมื่อไหร่ ดิฉันคิดว่าเราน่าจะใช้เงินสดน้อยลงเยอะ แต่ตอนนี้หลักการก็คือให้ผู้บริโภคทราบว่า ค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในด้านการเงินนั้น คือการเดินไปใช้บริการที่สาขา ถ้าเผื่อท่านไม่จำเป็นต้องใช้ ก็อย่าไปใช้ เพราะบริการตอนนี้หลายๆ อย่างทำได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ คือตัดก็ได้ ฝากบัญชีก็ได้ อัพเดตบัญชีก็ได้ ถ้าเผื่อคนไทยเราใช้ตรงนี้เยอะขึ้น อย่างน้อยสาขาก็คงไม่ต้องมีเพิ่ม แล้วก็จะประหยัดได้เยอะ   ผู้บริโภคยังรู้สึกว่าการใช้เงินสดสะดวกกว่า ก็จริง แต่ประเทศอื่นๆ แทบจะไม่มีการใช้เงินสดแล้ว ประเทศไทยใช้เงินสดเยอะมาก จำไม่ได้สัดส่วนเท่าไหร่ แต่สูงมากอย่างฟิลิปปินส์ ที่รายได้เขาต่ำกว่าเรา ก็เป็นเพราะว่าโครงสร้างอัตราค่าบริการยังไงมันก็จูงใจให้ใช้เงินสดอยู่ ก็คือเรื่องการถอนเงิน อย่างน้อยในกรุงเทพฯ มันก็ไม่ใช่ข้ามเขต มันก็ไม่มีค่าใช้จ่าย คนก็ถอนกันได้ทีละ 20,000-30,000 กดกันไป ก็ไม่รู้สึกว่ามีต้นทุนอะไร แต่จริงๆ แล้วมันมี แล้วคนที่รับภาระต้นทุนก็คือพวกที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ พวกที่ใช้โอนเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นคนรับภาระไป ตรงนี้ดูในเชิงสังคมก็อาจจะบอกว่า ไม่เป็นไร คนที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ก็คือคนมีเงิน มีปัญญารับก็รับไป อันนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่แบงค์กำหนดราคาตามขีดความสามารถในการจ่าย เพราะเห็นว่าผู้ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นผู้ที่มีสตางค์ ก็จ่ายแพงหน่อย คนชาวบ้าน ถ้าเผื่อจะไปเก็บเขาทุกที เขาไม่มีเงิน ไปจิ้มๆ เอา แล้วก็แพงอย่างนี้ คือการเบิกครั้งหนึ่งมีค่าใช้จ่าย ก็เสียประโยชน์ ตรงนี้ในทางสังคมก็เข้าใจได้ แต่ปัญหาคือเวลาโครงสร้างมันเป็นอย่างนี้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือประเทศไทยก็ไม่สามารถเดินไปสู่เส้นทางเหมือนประเทศอื่นได้ เราก็ยังกอดเงินสดอยู่ อันนี้ก็เลยเป็นประเด็น ทีนี้สิ่งที่ดิฉันคิดว่าทางออกที่ดีเป็นยังไง เราจะสุดโต่งในทางเศรษฐศาสตร์เป๊ะเลย เอาทุกอย่างเป็นต้นทุนหมด ชาวบ้านในต่างจังหวัดอาจจะเดือดร้อน คือทุกครั้งที่เดินเข้าไปในสาขา คุณยาย คุณป้า ใช้อิเล็กทรอนิกส์ไม่เป็น ก็ต้องมานั่งคำนึงว่าเราไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ ที่ทุกคนมีปัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ เราต้องรู้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์ในครัวเรือนเรามีอัตรา น่าจะ 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 3 นะ ยังมีจำนวนมากที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ หรือใช้เป็น ดังนั้นถ้าเกิดเราเอาเงื่อนไขนี้มาครอบปุ๊บ มันก็จะดูเหมือนไม่เป็นธรรม เพราะจริงๆ เขาไม่มีทางเลือก ไม่ใช่ว่าเขาไม่เลือกที่จะใช้อิเล็กทรอนิกส์ แต่เขาไม่มีทางเลือก เพราะว่าเขาใช้ไม่เป็น หรือบ้านเขาอยู่ในถิ่นกันดาร   ทางออกที่ควรเป็นคืออะไรตัวอิเล็กทรอนิกส์มันแพงเกินไป สิ่งที่ดิฉันได้เสนอกับแบงค์ชาติ บอกว่า ยังไงเราต้องลดค่าใช้จ่ายในด้านอิเล็กทรอนิกส์ ดิฉันไม่เชื่อว่าถ้าไปบีบค่าใช้จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ลงแล้ว ค่าบริการของชาวบ้านทั่วไปจะเพิ่มขึ้น ดิฉันว่า หนึ่ง แบงค์เขาสามารถหาทางออกของเขาได้ คือเราไม่ต้องไปคิดแทนแบงค์ว่ากำไรส่วนเกินของคุณ หายไปไหม แล้วคุณจะไปเพิ่มไหม แบงค์ชาติไม่ต้องไปบอกเขาหรอกว่า จะขึ้นค่าโน่นนี่ ดิฉันคิดว่าแบงค์เขารู้ว่า หนึ่ง เขามีกำไรส่วนเกินหรือเปล่า ถ้ามีกำไรส่วนเกิน แล้วไปกดค่าอิเล็กทรอนิกส์ลง เขาก็รับไป สมมติที่ผ่านมา เขามีกำไร เขาก็ต้องรับกำไรน้อยลงเอง เราไม่ต้องไปบอก เราบังคับให้เป็นไปตามต้นทุน เพราะตอนนี้มันสูงมาก แล้วมันไม่ดีต่อประเทศ ดังนั้นถ้าเผื่อตัวอิเล็กทรอนิกส์ถูกกดไปตามต้นทุนแล้ว หรือค่อยๆ ปรับลง แบงค์ก็ต้องไปหารายได้ทางอื่น ซึ่งมันมีหลายทาง เดี๋ยวนี้แบงค์ทำหลายอย่าง มันไม่ต้องแบบวิ่งไปปุ๊บ ไปเพิ่ม แหม เหมือนกับว่าลดอิเล็กทรอนิกส์จะต้องไปเพิ่มบริการพื้นฐาน ดิฉันคิดว่ามันไม่จำเป็นนะ แล้วคิดว่าถ้าธนาคารคิดว่าอยากรักษาลูกค้าอยู่ เขาก็คงไม่ทำอย่างนั้น เพราะคิดว่าลูกค้าส่วนหนึ่งมีความจำเป็นที่ต้องใช้ถอนเงินสด แล้วที่สำคัญคือต้องปล่อยให้แบงค์แข่งกัน คุณจะกล้าขึ้นค่าเอทีเอ็มเวลากดถอนเงินเหรอ ถ้าเกิด สิบกว่าแบงค์ หรืออีกยี่สิบกว่าแบงค์ เขาไม่ขึ้น คุณจะกล้าเหรอ สิ่งที่ดิฉันวิเคราะห์มา ธุรกิจแบงค์เป็นธุรกิจที่แข่งขันกันได้เยอะนะคะ เพราะมี 20 กว่าราย แต่ปัญหาที่เกิดก็คือ แบงค์ชาติไปกำหนดราคามันทุกอย่าง ค่าโอนเงิน ค่าทุกอย่าง ไปดูสิคะ ฟิกซ์หมดเลย ค่าเอทีเอ็มรายปี 200 มันเป็นตารางออกมาเลย ถ้าเกิดเป็นอย่างนั้น แบงค์ก็พูดง่ายๆ ว่าฮั้วกัน โดยที่ถูกกฎหมาย ก็คือฮั้วกันโดยมีแบงค์ชาติเป็นคนบอกเรต อย่างนั้นมันก็ไม่ผิดกฎหมาย จริงๆ จะบอกว่าไม่ผิดกฎหมาย ก็ไม่แน่ใจนะ เพราะแบงค์ชาติบอกว่าเป็นอัตราสูงสุด ไม่ได้บอกว่าเป็นอัตราที่ธนาคารต้องเก็บ ดังนั้นถ้าเกิดธนาคารทุกแห่งบอกว่า อัตราสูงสุดที่แบงค์ชาติกำหนดเป็นอัตราที่เขาเรียกเก็บ มันก็ชักสงสัยว่าคุณฮั้วกันหรือเปล่า แต่การกระทำของเขาอย่างนี้ เนื่องจากแบงค์ชาติมีอัตราที่ลอยอยู่ ให้เขาฮั้วกันง่ายๆ เขาก็ไม่ต้องคุยกัน กฎหมายแข่งขันทางการค้า มันต้องมีพิสูจน์ว่าคุณฮั้วกัน คือคุณมาประชุมร่วมกันแล้วบอกว่าค่าอิเล็กทรอนิกส์เราจะเอา 35 บาทนะ มันต้องคุยกันสิ ไม่อย่างนั้น ราคามันจะเป๊ะๆ อย่างนั้นได้ยังไง ถ้าเกิดคุยกัน คุณเข้าตาราง แต่อย่างนี้คุณไม่ต้องคุยกัน เพราะแบงค์ชาติออกมาบอกแล้วนี่ ว่าอย่างนี้ๆ ทุกคนก็ไม่ต้องทำอะไร แค่มองตากันแล้วก็รู้ ใช่ไหม ถ้าเผื่ออย่างนี้ ไม่แน่ใจบางประเทศก็ถือว่าผิด บางประเทศก็ถือว่าไม่ผิด เขาไม่เรียกว่าการกำหนดราคาร่วมกัน เขาเรียกว่า เพอชันนอล ไพร์ซิ่ง หรือ การกำหนดราคาประสานกันไป คือมีจุดร่วมอยู่สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเขาไม่ได้กำหนดขึ้นมา ใครจะกำหนดขึ้นมาก็ตาม ดังนั้นดิฉันคิดว่าธุรกิจนี้ มันยังไม่แข่งขันกันเต็มที่ ทั้งที่มันมีโอกาสที่จะแข่งกันได้นะคะดิฉันคิดว่าเรามีแบงค์เยอะมากในประเทศไทย แต่แข่งราคา ไม่ค่อยแข่งกัน เพราะฉะนั้นผู้บริโภคก็จะไม่ได้ประโยชน์ ฉะนั้นจะเห็นว่าบริการอะไรที่เขาออกมา ราคาจะเหมือนๆ กันหมด เดินไปกี่แบงค์ก็เหมือนกันหมด หลังๆ ดีขึ้น หลังๆ จะเริ่มมีคนโน้นไม่เก็บค่าบริการ ตอนนี้ชักจะฉีกๆ ออกมาบ้าง แต่ก่อนนั้นจะเหมือนกันเด๊ะ ...ตอนนี้มีใครช้อปปิ้งอะราวด์ เอ ตอนนี้ฉันจะถือบัตรเอทีเอ็มสัก 1 บัตร แบงค์ไหนดีที่สุด ก็ไม่ค่อยมีคนหา ดูเหมือนปัจจุบันเราก็ต้องยอมจำนนให้ธนาคาร..คือมันไม่มีทางออก สิ่งที่ดิฉันเรียกร้องก็อย่างน้อยในกรณีตู้เอทีเอ็ม อย่างน้อยต้องบอกกับเราก่อนว่าเขาเก็บค่าธรรมเนียมแค่ไหน ไม่ใช่กดไปแล้ว เพิ่งรู้ว่าเสียไปตั้งเยอะ คือ อย่างแรกคุณต้องบอกหน้าตู้เลย ค่าธรรมเนียมคุณเสียให้ใครบ้าง บางทีโอนไปแล้วถึงเพิ่งรู้ว่าโดนค่าโอน 25 บาท มันไม่ถูกหลัก จริงๆ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค สินค้ายังต้องติดฉลากเลย แล้วบริการทำไมไม่รู้ล่ะ มันก็เป็นสินค้า ดังนั้นขั้นตอนที่หนึ่ง ผู้บริโภคควรที่จะเรียกร้องสิทธิของตัวเองที่จะได้รับรู้ว่าเขาจ่ายให้ใครบ้าง   เรียกร้องกับแบงค์ชาติได้ไหมเขาบอกว่าเขาคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว เขาก็กำหนดราคาเพดาน ดิฉันก็บอกให้เขาเลิก เขาบอกไม่ได้ เดี๋ยวเขา(ธนาคารพาณิชย์)จะขึ้นไปอีก ดิฉันไม่เชื่อ ก็บอกลองเลิกดูสิ แล้วลองขึ้นไปเป็น 15 บาทกันทุกคนสิ เข้าตารางแน่เลย เพราะว่าคุณไม่มีราคาร่วมกันแล้ว แต่คุณดันมีราคาเหมือนกัน แสดงว่าคุณต้องฮั้วกันพันเปอร์เซ็นต์เลยใช่ไหม ถ้าเผื่อคุณไม่มีเกณฑ์ แล้วคุณปุ๊บ 15 บาทหมดทุกคน คือถ้าเกิดจะขึ้นต้องขึ้นกันหมดนะ ไม่ใช่ขึ้นเจ้าเดียวนะ คุณขึ้นเจ้าเดียว ลูกค้าคุณเทออกหมดเลย ปัญหาคือคุณมี 22 เจ้า คุณจะทำยังไง คุณคิดเหรอว่าเขาจะกล้าขึ้น ใครจะกล้าขึ้น ทุกอย่างต้องปล่อยให้แข่งกัน ดิฉันถึงได้ค้านเรื่องที่จะมาจำกัดจำนวนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะคนต่างชาติ คนก็มองว่าดิฉันโปรต่างชาติ ไม่ใช่เลย ดิฉันไม่สนใจจะต่างชาติหรือไทย ขอให้มันมีมากที่สุดในตลาด เพราะดิฉันพูดเสมอว่าไม่ว่าไทยหรือต่างชาติจะเอาเปรียบผู้บริโภคถ้ามีโอกาส ไทยก็เอาเปรียบไม่น้อยกว่าฝรั่งเลย ฝรั่งถ้ามีโอกาสมันก็ผูกขาดเหมือนกัน เป็นสัญชาติญาณของธุรกิจ ต้องสร้างรายได้ให้มากที่สุด ถ้าคุณให้โอกาสเขา เขาก็จะเอาเปรียบผู้บริโภค สำหรับดิฉัน เราไม่มีธุรกิจไทยโดยเฉพาะใหญ่ๆ ไม่พูดถึงเอสเอ็มอีนะพวกโทรคมนาคม พวกนี้ ทำอะไรให้เรา ธุรกิจใหญ่ๆ ของไทยอย่าง ปตท. ทำอะไรให้เรา แล้วคุณภูมิใจในความเป็นไทยของบริษัท ดิฉันเสียใจที่ถูกขูดรีดอยู่ทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นจะให้ต่างชาติเข้ามาก็เปิดให้เข้า ไม่ต้องไปกักเขาไว้ เพราะว่าการที่เราไปกักเขาไว้ ก็เป็นการที่เราทำให้คนไทยเราเอาเปรียบคนไทยเราเอง ดังนั้นธุรกิจต้องพยายามเปิดไว้ เพราะจะมีคนพยายามปิด อย่างโทรคมนาคม ที่เขาพยายามปิด เพราะว่ามันมีไม่กี่เจ้า ปิดไปเจ้าหนึ่งก็หวานหมูแล้ว ดิฉันคิดว่า เรื่องแบงค์ถ้าเราปลดล็อกเรื่องนี้(การกำหนดราคาค่าธรรมเนียมตายตัวโดยแบงค์ชาติ) ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์เยอะ เลิกไปเลย

อ่านเพิ่มเติม >