ฉบับที่ 171 ถูกเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน

           เมื่อประมาณปี 2555 ผู้บริโภคสมมติว่า ชื่อ คุณเอได้ทำการสืบทราบว่าจะมีการแบ่งขายที่ดินในบริเวณที่ติดกับที่ดินของมารดา คุณเอจึงต้องการซื้อที่ดินเพื่อจะนำมาก่อสร้างเป็นบ้านพักอาศัยกับครอบครัวคุณเอตัดสินใจขอซื้อที่ดิน จำนวนเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ราคา 160,000 บาท ซึ่งที่ดินดังกล่าวได้รวมอยู่กับที่ดินแปลงใหญ่ ยังไม่ได้มีการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ ซึ่งเจ้าของที่ดินสัญญาว่าถ้าซื้อแล้วไม่เกิน 1 ปีจะได้รับการแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิได้ทันที  ต่อมาผู้ร้องได้มีการตกลงต่อรองราคากับทางเจ้าของที่ดินโดนจะนำเงินสดมาชำระให้ทันทีแต่ขอลดราคาลงเหลือ 80,000 บาท ซึ่งเจ้าของที่ดินก็ตกลงตามนั้น ซึ่งได้มีการมอบเงินและมีการทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดผู้ร้องได้บันทึกคลิปวีดีโอไว้เป็นหลักฐานด้วยในส่วนของการทำสัญญานั้น เจ้าของที่ดินขอไม่ให้มีการแก้ไขตัวเลขโดยอ้างว่ากลัวคนอื่นจะรู้ว่าตนเองขายที่ดินให้กับผู้ร้องถูกกว่าคนอื่น ๆ ทำให้เสียราคาได้  เมื่อตกลงกันแล้วก็มีการนัดวันโอนกรรมสิทธิ เจ้าของที่ดินได้โอนกรรมสิทธิให้แก่ผู้ซื้อเพียง 6 แปลง ไม่ครบตามสัญญา โดยที่ไม่แจ้งเหตุผล  หลังจากนั้นคุณเอก็ได้มีการติดต่อไปหลายครั้งให้โอนกรรมสิทธิให้โดยเสนอเงินเพิ่ม แต่เจ้าของที่ดินก็ยังไม่ยอมโอนให้ประวิงเวลามาโดยตลอดคุณเอเริ่มกังวลใจกลัวว่าเจ้าของที่ดินจะไม่โอนกรรมสิทธิให้ จึงได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานที่ดิน และพบว่าที่ดินที่ซื้อนั้นเจ้าของที่ดินได้นำไปจำนองกับบุคคลภายนอกแล้วและต่อมาได้ทราบว่าได้นำไปขายฝากกับอีกคนหนึ่งเมื่อได้ทราบข้อเท็จจริงผู้ร้องจึงให้ทนายความมีจดหมายทวงถามให้เจ้าของที่ดินโอนกรรมสิทธิให้ ซึ่งจดหมายฉบับดังกล่าวเจ้าของที่ดินก็ได้รับแล้ว แต่ก็ยังปฎิเสธเหมือนเช่นเดิม เมื่อเลยเวลาที่กำหนดไว้แล้วจึงได้ตัดสินใจให้ทนายความฟ้องต่อศาล เมื่อขึ้นศาลแล้วได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในชั้นศาล โดยเจ้าของที่ดินยอมที่จะไถ่ถอนสัญญาขายฝากให้ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่เวลาที่ทำสัญญา ถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ว่ากรณีใดๆ ถือว่าผิดสัญญายินยอมให้ทางผู้ร้องบังคับคดีได้ทันทีบัดนี้ได้เลยเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แต่เจ้าของที่ดินก็ยังไม่ยอมไปไถ่ถอน คุณเอจึงนำเรื่องมาขอปรึกษาว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป แนวทางการแก้ไข  ตามหลักกฎหมาย ถ้าได้มีการประนอมหนี้ในชั้นศาลแล้วฝ่ายที่ประนอมหนี้ผิดนัดไม่ยอมชำระหนี้หรือทำตามสัญญา ให้อีกฝ่ายหนึ่งสามารถบังคับคดีได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องใหม่ ซึ่งคงต้องเสียเงินและเวลาอีกพอสมควร  ดังนั้นถ้าได้มีการตรวจสอบที่ดินที่เราสนใจต้องการซื้อก่อน ทั้งเรื่องกรรมสิทธิในที่ดิน เรื่องภาระผูกพันอย่างการติดจำนอง ฯลฯ ก็จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ ไม่ให้มีผลยุ่งยากในระยะยาว  

อ่านเพิ่มเติม >