ฉบับที่ 85 อาหารแผงลอย อีกหนึ่งที่พึ่งของคนกรุงเทพฯ

แม้กรุงเทพฯ จะไม่ใช่เมืองน่าอยู่ติดอันดับโลกอย่าง เมลเบิร์น เวียนนา หรือ แวนคูเวอร์ แต่ข้อดีอย่างหนึ่ง ที่คนกรุงเทพฯ หรือผู้ที่มาเยี่ยมเยียนปฏิเสธไม่ได้เลยคือ  ความมั่นใจว่าดึกดื่นแค่ไหน ซอยจะลึกเพียงใด ก็จะมีอาหารให้เราสามารถซื้อรับประทานได้ เพราะเรามีแผงลอย/รถเข็นขายอาหารที่คอยบริการผู้บริโภคอยู่ทุกตรอกซอกซอย ในระยะทางที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ด้วยสนนราคาที่เป็นมิตรต่อกระเป๋าเงินของคนส่วนใหญ่ด้วย สำหรับหลายๆคน อาหารแผงลอย/ รถเข็น เป็นเหมือนที่พึ่ง ให้เราได้ฝากท้องกัน ลองมาดูกันว่าคนกรุงเทพฯ มีความคิดอย่างไรกันบ้างในเรื่องการบริโภคอาหารจากแผงลอย วารสารฉลาดซื้อร่วมกับ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ต่อการใช้บริการอาหารจากร้านแผงลอย / รถเข็น ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ผลที่สรุปได้ดังต่อไปนี้•    แชมป์อาหารรถเข็น ยอดฮิตได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว และส้มตำ โดยมีอาหารประเภท ของปิ้ง/ทอด ตามมาติดๆ •    แผงลอย/รถเข็นอาหาร ยังคงเป็นที่ฝากท้องของคนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างซื้อทุกวัน และอีกเกือบร้อยละ 40 แม้จะไม่ซื้อทุกวันแต่ก็ซื้อสัปดาห์ละหลายครั้ง•    เหตุผลที่ซื้ออาหารจากแผงลอย/รถเข็น อันดับหนึ่งคือ เพราะหาซื้อได้ง่าย  รองลงมาได้แก่เรื่องของราคา และเวลาที่มีจำกัดของคนเมืองนั่นเอง  •    ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารจากแผงลอย / รถเข็น ครั้งละ 50 - 100 บาท อีกประมาณร้อยละ 40 ใช้น้อยกว่า 50 บาท •    ประมาณร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่าง ค่อนข้างพอใจในความสะอาดของแผงลอย/รถเข็นอาหาร ในขณะที่ ร้อยละ 25 คิดว่ายังต้องมีการปรับปรุง•    ปัญหาที่เคยประสบจากการรับประทานอาหารแผงลอย / รถเข็น มากที่สุดได้แก่ สถานที่ขายสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก  รองลงมาเป็นปัญหาอาหารไม่สด / มีกลิ่น  และการพบสิ่งแปลกปลอมในอาหาร•    มีถึงร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่าง ที่เคยมีอาการเจ็บป่วยจากการรับประทานอาหารจากแผงลอย / รถเข็น ในขณะที่ร้อยละ 36 ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยเลยความเปลี่ยนแปลงที่ผู้บริโภคต้องการเห็นจากร้านแผงลอย/รถเข็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คาดหวังมากที่สุดสามอันดับต้นในเรื่องของบริเวณขายอาหารของแผงลอย / รถเข็น ได้แก่ เรื่องความสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี  การตั้งจุดขายในบริเวณที่ไกลจากถังขยะหรือท่อระบายน้ำ และการอยู่ในบริเวณที่ไม่มีฝุ่นละอองเรื่องของสุขอนามัยของผู้ขายนั้น  ประมาณร้อยละ 60 ค่อนข้างพอใจ อีกร้อยละ 30 ยังไม่พอใจเท่าไรนัก ส่วนในเรื่องบุคคลิกลักษณะของผู้ปรุงอาหารและผู้ช่วยนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความคาดหวังเรื่อง เล็บตัดสั้นและสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือเรื่องเสื้อผ้าที่สะอาดเรียบร้อย และการไม่ใส่เครื่องประดับ ความคาดหวังในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ณ ร้านแผงลอย สามอันดับต้นได้แก่ การมีสถานที่ล้างมือ รองลงมาคือการมีน้ำล้างจานพอเพียง และโต๊ะ เก้าอี้ ที่สะอาดสะอาด   นอกจากนี้ลูกค้าเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และสิ่งที่ต้องการเห็นมากที่สุดสามอันดับต้นได้แก่ การปิดคลุมอาหาร  รองลงมาคือภาชนะที่สะอาด และไม่มีกลิ่นความจริงแล้วหาบเร่แผงลอยอาหารเหล่านี้ สะท้อนให้เราเห็นอะไรที่นอกเหนือไปจากวัฒนธรรมการกินของคนเมือง งานวิจัยชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ทำไว้เมื่อปี 2547 ก็พบว่ากิจการอาหารแผงลอยนั้นมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างรายได้กับคนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เข้ามาหางานทำในกรุงเทพ ฯ เพราะร้อยละ 90 ของผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร  

อ่านเพิ่มเติม >